เทศน์บนศาลา

ธรรมะต้องรู้

๑๖ ธ.ค. ๒๕๕๒

 

ธรรมะต้องรู้
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจฟังธรรม ตั้งใจ การฟังธรรมนะเป็นภาคปฏิบัติที่สำคัญที่สุด เพราะจิตของคนนะมันวอกแวกวอแว มันไม่มีที่พึ่งที่อาศัย แล้วอาศัยตัวเองก็ไม่ได้ แต่เวลาฟังธรรมของครูบาอาจารย์เห็นไหม มันเอาเสียงธรรมนั้นเป็นที่พึ่งอาศัย ผู้ที่ประพฤติปฏิบัตินะเวลาจิตมัน จิตมัน….

(เสียงแตรรถดังขึ้น) ไปดูไป ของใคร รถใคร.. รถใครลุกสิ! ต้องรับผิดชอบหน่อย

เวลาครูบาอาจารย์ท่านเทศน์นะถ้ามีเสียงกระทบท่านเลิกเลยนะ แล้วเราเดินทางมาไกลกันขนาดนี้นะ มันต้องระมัดระวัง..

เวลาฟังเทศน์ เสียงเทศน์เป็นที่พึ่งที่อาศัย เป็นภาคปฏิบัติ การปฏิบัติเห็นไหม เวลาเราปฏิบัติด้วยตัวเราเอง เราต้องพยายามมุมานะเพื่อเอาชนะตนเองให้ได้ แต่เวลาฟังเทศน์เห็นไหม เสียงธรรมนั้นมันจะเป็นที่เกาะของใจไป แล้วขณะที่จิตเราสงบเข้ามาได้ จิตเรามีหลักมีเกณฑ์ เสียงนั้นเห็นไหม เสียงนั้นมันมีเหตุมีผลนะ เสียงนั้นเวลาสงบของเราเอง จิตเราสงบของเรามา เรามีปัญญาของเราขึ้นมา แต่เราใช้ไม่เป็น เราใช้ไม่ถูก เราใช้ไม่ได้

เวลาไปศึกษาธรรมนะ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กว่าที่จะออกประพฤติปฏิบัติขึ้นมาเห็นไหม ความเป็นจริงมันไม่มี มันไม่มีข้อเท็จจริงของมัน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสวงหารื้อค้นขนาดไหนนะ สิ่งนั้นยังไม่เกิดขึ้นมายังไม่มี แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาเห็นไหม ต้องรู้จริง ธรรมะต้องรู้จริงๆ ความเป็นจริงอันนั้นในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ฉะนั้น เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าออกไปเทศนาว่าการกับปัญจวัคคีย์ "เมื่อก่อนอยู่กัน ๖ ปีบอกว่าไม่เป็นพระอรหันต์ ไม่รู้ก็บอกว่าไม่รู้ ในปัจจุบันนี้รู้แล้ว ให้เงี่ยหูลงฟัง" เห็นไหม เพราะเวลาไปเทศน์กับปัญจวัคคีย์ ธรรมจักรเห็นไหม สิ่งที่เทศน์อันนั้น มันเป็นสัจจะ มันเป็นความจริง ความจริงเพราะเหตุใด ความจริงเพราะใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นธรรมขึ้นมา เพราะใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีเหตุมีผล มีข้อเท็จจริงในหัวใจนั้น มันถึงเป็นสัจจะความจริง

แต่ในปัจจุบันเห็นไหม ความจริงในหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เทศนาว่าการไว้เป็นธรรมวินัย พอเป็นธรรมวินัยเราก็ศึกษาขึ้นมา เราก็ว่าเราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่มันเป็นความจำ มันเป็นความจำนะ.. แล้วเวลาเราศึกษา เราอ่านตำรับตำรา กิเลสตัณหาความทะยานอยากของเรามันเต็มหัวใจ แล้วเวลาเราศึกษาไป มันศึกษาด้วยกิเลสตัณหาความทะยานอยากของเราทั้งนั้นน่ะ มันเป็นความจำ! ความจำเพราะอะไร เพราะจิตมันมีกิเลสตัณหาความทะยานอยาก

สิ่งที่มีกิเลสตัณหาความทะยานอยากเห็นไหม ดูสิ เรามีศรัทธาความเชื่อ เพื่อเรามาศึกษาพุทธศาสนา แล้วได้ออกมาประพฤติปฏิบัติ ศรัทธาความเชื่อเห็นไหม ศรัทธาความเชื่อถ้ามันเป็นสัจธรรม มันเป็นธรรม หมายถึงว่า มันเป็นความจริงขึ้นมาในหัวใจ มันประพฤติปฏิบัติไปตามข้อเท็จนั้น มันก็จะเป็นธรรม แต่ศรัทธาความเชื่อ เชื่อโดยกิเลสเห็นไหม เพราะเราเชื่อกิเลส กิเลสตัณหาความทะยานอยากมันพอใจของมัน มันดิ้นรนของมัน มันต้องการแสวงหาของมัน เราก็เชื่อตามมันไปเห็นไหม

ความเชื่อน่ะกิเลสมันเอาไปใช้ เอาไปศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันก็เลยเป็นความจำ แต่ถ้าเป็นความจริง มันต้องมีความจริง “ธรรมะต้องจริง ธรรมะต้องรู้”

ในการประพฤติปฏิบัติของเราอยู่ในปัจจุบันนี้ เรารู้เราปฏิบัติของเรา เรารู้ของเราในข้อเท็จจริงของเรา สิ่งที่เป็นข้อเท็จจริงของเรา มันเป็นปัจจัตตัง มันรู้จำเพาะตนในหัวใจของเรา

เช่น ในการทำดีทำชั่วของเรา “ความลับไม่มีในโลก” เราเป็นคนทำ เราเป็นคนรู้ รู้อยู่เต็มหัวอก เราทำดีทำชั่วเรารู้อยู่เต็มหัวอก แต่เวลามารยาทมารยาสาไถ มารยาททางสังคมเห็นไหม เราต้องแสดงออกไปโดยกลบเกลื่อนเอาไว้ สิ่งที่กลบเกลื่อนไว้ นี่ไง สิ่งที่เป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก มันเป็นในหัวใจ ถ้าหัวใจมันเป็นความจริงขึ้นมา มันจะเป็นความจริงอย่างนั้น

นี้เราศึกษา เราประพฤติปฏิบัติขึ้นมามันเป็นความจริงหรือยังล่ะ ถ้ามันไม่เป็นความจริงนะ เราต้องแสวงหา สิ่งต่างๆ ที่เราประพฤติปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา สติ สมาธิ ปัญญา มันเป็นวิธีการ มันเป็นเครื่องมือที่เข้าไปสู่สัจจะความจริง มันไม่ใช่ธรรม มันเป็นเครื่องมือ

สติเห็นไหม สติ สมาธิ ปัญญา มันเป็นเครื่องมือ แล้วเราหาเครื่องมือของเราไหมล่ะ “มรรคโค ทางอันเอก” ทางอันเอกมันอยู่ที่ไหนล่ะ แล้วเวลาถนนหนทาง เราเห็นถนนไหม รัฐบาลทำไว้ เรามีรถมีรา เราขับไปบนถนนหนทาง สิ่งนี้เป็นสาธารณะสมบัติ

แต่เวลาเป็นทางเอก ทางในหัวใจ แล้วใจมันจะเคลื่อนไปอย่างไรล่ะ แม้แต่วิธีการ แม้แต่เครื่องมือนี้เรายังหามันไม่ได้ มันต้องมีเครื่องมือก่อนนะ แล้วเครื่องมือนี้ถึงจะมีการกระทำของมันขึ้นมา “เครื่องมือ” แล้วยังใช้เครื่องมือนั้นเป็นอีก ถ้าเครื่องมือเรายังหามันไม่ได้ แล้วเครื่องมือเราไม่มี มันเป็นจินตนาการ มันเป็นความจำหมดนะ

ในการประพฤติปฏิบัติของเรา ที่เราประพฤติปฏิบัติกัน ที่มันไม่ได้ผล.. มันไม่ได้ผล.. เห็นไหม เพราะกิเลสตัณหาความทะยานอยากมันชักนำเราไปก่อน มันเลยไม่เป็นธรรม

เราถึงต้องตั้งสติ เราจะตั้งสติ เราพยายามทำความสงบของใจเราเข้ามาให้ได้ สิ่งที่จิตใจมันสงบเข้ามาได้เห็นไหม นั่นน่ะมันจะมีเครื่องมือของมัน เครื่องมือปราบพยศใจ ใจมันพยศ! สิ่งต่างๆ ที่มันพยศ เราศึกษาธรรมเราประพฤติปฏิบัติธรรม เรามีมุ่งหมายมีเจตนาที่ดีที่เราจะพ้นจากทุกข์นะ เรามีเจตนาดีเราหวังที่คุณงามความดี เห็นไหม

ดูสิ ในโลกปัจจุบันนี้ ดูในสังคมนี้เห็นไหม คนที่ปรารถนาดีทั้งนั้นน่ะ แต่มันก็มีคนที่หลอกลวง พาให้คนๆ นั้นเสียคนไปได้เหมือนกัน ดูสิคนล่อลวงฉ้อฉลมันทำของมันโดยความแนบเนียนเห็นไหม คนดีๆ เสียคนไปอย่างนั้นน่ะ

นี่ก็เหมือนกัน เราประพฤติปฏิบัติธรรมๆ สิ่งที่เราประพฤติปฏิบัติธรรมเราว่าเป็นคนดี เราแสวงหาของเรา แล้วมันเป็นความจริงไหมล่ะ ถ้ามันเป็นความจริง เราจะต้องลงทุนลงแรง เราต้องตั้งสติ ตั้งให้เป็นไปตามข้อเท็จจริงนั้น สติก็ต้องให้เป็นสติจริงๆ ถ้าเป็นสติจริงๆ สติมันจะยับยั้งได้หมดนะ

ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า สติมันเหมือนฝ่ามือ ฝ่ามือมันกั้นน้ำกั้นต่างๆ ได้หมดเลย “สติสัมปชัญญะ” ถ้ามันมีสติขึ้นมา สิ่งที่มันคิดไปโดยศรัทธาความเชื่อ โดยกิเลสเอาไปใช้ กิเลสจะใช้ไม่ได้ เพราะมันมีสติมันยับยั้งมันได้หมดล่ะ แต่ถ้าไม่มีสติเห็นไหม ความคิดความเห็นของเรา ขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สังขาร ความคิด ความปรุง ความแต่ง มันเป็นเครื่องมือของกิเลสหมดเลย มันเป็นเครื่องมือของกิเลสเห็นไหม

ทั้งๆ ที่สิ่งนี้ ถ้ามันเป็นสัจจะความจริง มันเป็นกลาง ดูสอุปาทิเสสนิพพาน พระอรหันต์ที่ท่านสิ้นกิเลสแล้ว ท่านก็มีธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ เหมือนกัน ภาราหเว ปัญจักขันธา ขันธ์มันสะอาดได้! ขันธ์มันสะอาดเพราะมันไม่มีกิเลส แต่เพราะมันมีกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ขันธ์นี้ก็เลยเป็นเครื่องมือของกิเลสไง ความคิด ความปรุง ความแต่งก็แต่งเพื่อมันเห็นไหม ขนาดตรึกในธรรม ตรึกในธรรมนะ ถ้าเราพุทโธ พุทโธ เพื่อความสงบของใจ มันสงบเข้ามาได้ มันก็เป็นบุญกุศลของเรา มันเป็นการกระทำของเรา มันเป็นการลงแรงลงมือของเรา

แต่ถ้ามันสงบลงไม่ได้เห็นไหม “ปัญญาอบรมสมาธิ” คำว่าปัญญาอบรมสมาธิ มันก็ใช้ขันธ์ ใช้รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มาเพื่อความสงบใจของมันเข้ามา ถ้ามันสงบใจเข้ามามันปล่อยวางขึ้นมา มันก็เป็นความสงบชั่วคราว

ความสงบชั่วคราวอันนี้มันไม่ได้ชำระกิเลส ตัณหาความทะยานอยากมันอยู่ที่อวิชชา อยู่ที่พลังงานนั้น ภาราหเว ปัญจักขันธา ขันธ์ที่มันสะอาดบริสุทธิ์ได้ แต่ขันธ์ของเราน่ะกิเลสมันใช้ มันสะอาดบริสุทธิ์ไปไม่ได้ มันขันธมาร

สิ่งที่เป็นขันธมาร... มันเป็นมารไง มารมาจากไหนล่ะ มารมาจากหัวใจเพราะหัวใจมันเป็นมาร เครื่องมือใช้สอยกิเลสมันก็เลยเอาไปใช้หมดเลย ขันธ์ ๕ กิเลสมันเอาไปใช้หมด สติ ก็กิเลสเอาไปใช้หมด สมาธิ ก็เป็นสมาธิของกิเลส เป็นสมาธิของกิเลสได้อย่างไรล่ะ

มันเป็นสมาธิของกิเลสเพราะมันไม่เป็นความจริง ถ้ามันเป็นความจริงนะ สติ สมาธิ ปัญญา มันเป็นความจริงขึ้นมา มันเป็นความจริง... ความจริงของใคร ความจริงของสัจธรรม

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า “ธรรมะมันมีอยู่โดยดั้งเดิม” อยู่โดยดั้งเดิมอย่างนี้ ธรรมะมีอยู่โดยดั้งเดิม สัจธรรมมันมีอยู่ แต่คนเข้าถึงสัจธรรมไม่ได้ ดูสิทางวิทยาศาสตร์เห็นไหม.. ทางโลกเขา ทางวิทยาศาสตร์ ทางทฤษฎีของเขา เขาพิสูจน์สารทางวิทยาศาสตร์ เขาต้องทดสอบ เขาต้องทดลองของเขา อันนี้มันเป็นสสาร เป็นวัตถุ เป็นสิ่งที่จับต้องได้

แต่สิ่งที่เป็นนามธรรมที่เราจะพิสูจน์กัน เราจะพิสูจน์กันอย่างไร ถ้าเราไปเที่ยวพิสูจน์จากสัจจะความจริงของเราในหัวใจของเราขึ้นมา มันพิสูจน์เข้ามาด้วยการตั้งสติ ด้วยมีสมาธิ ด้วยมีปัญญา ถ้ามันเป็นกิเลสใช้เห็นไหม มันก็เป็นสิ่งที่ว่า เป็นความว่างๆ มีสติ สติมันจะเกิดขึ้นโดยการการกำหนด การระลึกต่างๆ อย่างนั้น มันเป็นชื่อทั้งนั้นน่ะ

สติมันก็คือสติ สมาธิมันก็คือสมาธิ ปัญญาก็คือปัญญา แต่ปัญญาของโลกกับปัญญาของธรรม สติก็เหมือนกัน สติโลกๆ - สติของธรรม สมาธิก็เหมือนกัน ว่างๆ ว่างๆ มันเป็นสมาธิไหม มันก็บอกเป็นสมาธิได้ เพราะสมาธิมี ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ สมาธิอย่างนี้ ถ้าสมาธิ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ มันเป็นที่เราตั้งสติ แล้วกำหนดพุทโธ มีคำบริกรรมให้จิตนั้นเกาะเกี่ยวเข้าไป จนมันเป็นสมาธิของมันได้

ถ้ามันเป็นสมาธิของมันได้เห็นไหม ข้อเท็จจริงมันเป็นอย่างนี้ ความจริงมันเป็นอย่างนี้ ธรรมะต้องรู้! รู้นะ ถ้าจิตเป็นสมาธิมันก็จะรู้ว่าเป็นสมาธิ แล้วสมาธินี้มันได้มาเพราะเหตุใด ถ้ามันเป็นสมาธิ มันจะลอยมาจากไหนถ้าไม่มีการกระทำ ดูสิ ดูอย่างการเจริญเติบโตของร่างกายเรา เราเป็นเด็กทารกกันมาทั้งนั้น แล้วที่มันเจริญเติบโต มันเจริญเติบโตมาเพราะอะไร มันเจริญเติบโตมาเพราะข้าวปลาอาหารนะ ถ้าไม่มีข้าวปลาอาหารหล่อเลี้ยงชีวิต มันจะมีชีวิตมาอย่างนี้ไม่ได้หรอก

นี่ก็เหมือนกัน สมาธิมันจะเป็นสมาธิเข้าไปในหัวใจ มันมีอะไรเป็นอาหารของมัน มีอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่จะเข้าไปเป็นสมาธิ ถ้ามันมีเหตุมีปัจจัยเข้าไปเป็นสมาธิได้ มันก็เป็นสมาธิได้โดยสัจธรรม

นี่ไงธรรมะมีอยู่โดยดั้งเดิม คือเหตุปัจจัยที่มีการกระทำให้มันเป็นสัจจะความจริง แต่ถ้ามันไม่มีเหตุสัจจะความจริง สติ สมาธิ ปัญญา มันก็โดยกิเลสไง สติก็คือสติที่มันจะเป็นของมันโดยธรรมชาติของมัน สมาธิก็ว่างๆ ว่างๆ ปัญญาขึ้นมายิ่งเป็นสัญญาเลย ปัญญาก็เป็นการจำ จำที่เป็นปัญญาโดยปัจจุบัน

ปัจจุบันนี้มันเป็นโลกียปัญญานะ มันเป็นปัญญาของกิเลสนะ มันกิเลสล้วนๆ นะ เพราะใจเราเป็นกิเลสล้วนๆ เลย แล้วความคิดที่มาจากกิเลสน่ะ ความคิดที่มาจากใจที่มันเป็นกิเลสน่ะ มันจะเป็นธรรมะได้อย่างไรล่ะ ทั้งๆ ที่ศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่องบ่นกันปากเปียกปากแฉะ นกแก้วนกขุนทองมันก็ท่องของมันได้ มันก็พูดของมันได้ นกแก้วนกขุนทองมันพูดภาษาคน แต่เพราะมันศึกษามาจากคน แล้วมันรู้ความเป็นคนไหม มันสัตว์แสนรู้ ไปสื่อสารกับมันได้ มันทำความเข้าใจของมันได้

นี่ก็เหมือนกัน ศีล สมาธิ ปัญญา สติ สมาธิ ปัญญา ถ้าโดยกิเลสมันใช้ขึ้นมา มันมีคุณสมบัติอย่างไร มันเป็นกิเลส มันเป็นเรื่องโลกๆ ไง ปัญญาๆ นี่.. ศาสตราจารย์ดอกเตอร์ขนาดไหน มีปัญญารับรู้ขนาดไหน มันเป็นวิชาชีพ มันเป็นเรื่องโลกๆ หมด มันเป็นเรื่องของโลก แล้วยิ่งมาศึกษาธรรมะเห็นไหม

ดูสิจบพุทธศาสตร์ ดอกเตอร์พุทธศาสตร์เลย ศึกษาธรรมะก็วิจัย วิเคราะห์ วิจารณ์ในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เอาหลักวิชาการในศาสนานี้มาทำการวิจัย เพราะทางวิชาการพูดอย่างไรก็ได้ ใช่.. ยิ่งทางวิชาการมันพูดเท่าไร มันก็ยิ่งออกห่างธรรมะพุทธศาสนาไปมากเท่านั้นน่ะ

ยิ่งวิจัย ยิ่งทำทางวิชาการในพุทธศาสนามากขนาดไหน ก็ยิ่งห่างศาสนาไปเรื่อยๆ แต่ถ้ามันเป็นสัจจะความจริง ถ้ามันเป็นสัจธรรม กำหนดลมหายใจเข้าออก กำหนดอานาปานสติ กำหนดพุทโธๆ เข้ามา มันจะเข้าสู่ตัวศาสนา ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ในเมื่อมีการศึกษามา ศึกษามาแล้วศึกษามาทำไม ศึกษามาเพื่อศึกษา ศึกษามาเพื่อทำการวิจัย ศึกษามาเพื่อปฏิบัติ “ศึกษามาเพื่อปฏิบัติ” เห็นไหม

ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ปริยัติเขาให้ศึกษาแล้วให้ปฏิบัติ ถ้าไม่ปฏิบัติ ไม่เกิดปฏิเวธ ถ้าไม่เกิดปฏิเวธ มันรู้จริงขึ้นมาไม่ได้

ศึกษาคือการจำมา จำธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จำมาขนาดไหนก็คือการจำ ปัญญาทางโลกเห็นไหม จำสภาวะจนมันจำได้ คอมพิวเตอร์มันจำดีกว่าเรา แล้วคอมพิวเตอร์มันได้ประโยชน์อะไรขึ้นมา นี่ความจำ ความจำคือปริยัติ จำทฤษฎี จำต่างๆ มา แล้วต้องวางไว้ให้ได้

เพราะจำมาใช่ไหม วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ ก็คือทำใจให้วิตกขึ้นมา มีวิตก เกิดวิจาร เกิดปีติ เกิดสุข แล้วผมได้อะไรล่ะ... ก็ได้ชื่อมันไง ! ก็ได้ท่องจำไง ! วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ ก็องค์ของสมาธิไง รู้หมดเลย แล้วได้อะไรล่ะ... มันยิ่งห่างศาสนาไปเรื่อยๆ ยิ่งห่างศาสนาไป

ยิ่งวิตกวิจารขึ้นมาขนาดไหนโดยใช้การทำการวิจัย แล้วมันได้อะไรขึ้นมาล่ะ ได้ความไม่เข้าใจไง ได้ความไม่รู้จริงไง เอ้าสมาธิไง ก็ครบแล้ว วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ ก็จิตมันก็มั่นอยู่นี่... มันมั่นอยู่ที่ไหน กิเลสมันหลอก !

เมื่อกิเลสมันหลอกเห็นไหม กิเลสมันเอาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาใช้บังเงา ใช้เป็นประโยชน์ของมันหมดเลย แล้วเราว่าศึกษาธรรม นี่ไงความเชื่อ ความเชื่อ ศรัทธา สติปัญญาที่กิเลสเอาไปใช้ ไม่ใช่ธรรมะเอาไปใช้ ธรรมะมีอยู่โดยดั้งเดิม มีอยู่โดยข้อเท็จจริงที่มันลึกลับซับซ้อน ที่เราเข้ากันไม่ถึง ที่เราเข้ากันไม่ได้ เพราะเราเข้าไม่ถึง เราเข้ากันไม่ได้ เราก็บอกว่าสิ่งที่เป็นปัญญาของเรานี้ คือปัญญา.. ปัญญา.. สิ่งที่เป็นปัญญา ปัญญาโลก ปัญญากิเลส

ถ้ามันจะเป็นสัจธรรม มันเป็นจะปัญญาขึ้นมามันต้องมีสติ สติไม่ใช่สภาวะว่าจำ สติก็คือสติ ความจำคือสัญญา สัญญาเป็นสติไม่ได้ สติก็เป็นสัญญาไม่ได้ สัญญาก็เป็นสติไม่ได้ เป็นไปไม่ได้หรอก ! มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ !

สติก็คือสติ สติคืออะไร ? สติคือความระลึกรู้ ...ก็เท่านั้นน่ะ “สติก็คือความระลึกรู้” สติ สมาธิ ปัญญา มันก็เป็นเครื่องมือ มันเป็นเครื่องมือที่เราจะเอามาหามา เห็นไหม แม้แต่ทางการช่าง เขาให้ไปเอาค้อนมาก็ไปเอาสิ่วมา สิ่วกับค้อนมันแทนกันได้ไหม เขาให้เอาค้อนมาเพื่อจะตีตะปู เขาไม่ได้ให้เอาสิ่วมาตีตะปู มันแทนกันไม่ได้ มันแทนกันไม่ได้หรอก

สติก็คือสติ ไม่มีอย่างอื่นแทนสติหรอก แต่สติมันคืออะไรล่ะ สติมัน ก็คือ ส. เสือ ต.เต่า สระอิ น่ะสิ แต่สติในความรู้สึกของเราล่ะ

ถ้าเป็นสัจธรรมถ้าเป็นความจริง ธรรมะต้องรู้ ! ถ้าใครทำสมาธิได้ มันจะรู้เลยว่าสติมันควบคุมอย่างไรถึงเป็นสมาธิ แล้วเป็นสมาธิขึ้นมาแล้ว ถ้าจิตมันมีกำลังออกรู้มันจะรู้อย่างไรในสัจธรรม พอออกรู้ขึ้นมา โลกุตตรปัญญา ปัญญาการใคร่ครวญที่มันออกไปเป็นประโยชน์กับใจ มันจะเกิดขึ้นมาจากหัวใจดวงนั้น แต่ถ้ามันไม่เกิดขึ้น มันไม่เป็นความจริง ความจริงมันเลื่อนลอย มันรู้ไม่จริง มันรู้จำ...

“ธรรมะต้องรู้” ต้องรู้ ต้องเห็น ต้องมีการกระทำ นี่ธรรมะ ไม่ใช่ธรรมชาติ ถ้าธรรมชาติมันก็ไหลไปตามธรรมชาติไง สสารการเปลี่ยนแปลงของวัฏจักร มันเป็นผลของวัฏฏะ เป็นบุญเป็นกรรมหมุนไปตามธรรม เป็นบุญตามธรรมนะ สัจจะ มันเป็นความจริงอันหนึ่งนะ

บุญกุศล บุญกุศล-บาปอกุศล ใครทำแล้วต้องเป็นอย่างนั้น กรรมคือการกระทำ ผู้ใดทำกรรมดีต้องได้ดี ทำกรรมชั่วต้องได้ชั่ว มันก็หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปตามวัฏฏะ แล้วเวียนตามวัฏฏะมันก็หมุนไปในวัฏฏะ แล้วก็ว่านี่เป็นธรรมชาติ แล้วก็ลอยตามไปกับมัน

เห็นไหม “สวะ” สวะไหลไปตามน้ำ ชีวิตไหลไปตามวัฏฏะ ชีวิตเวียนเกิดเวียนตายไปตามวัฏฏะ มันเป็นธรรมชาติ มันว่าเป็นตามธรรมชาติ แล้วมันก็รอเป็นธรรมชาติ รอไปเท่าไรมันก็หมดโอกาสไปเท่านั้นล่ะ

แต่ถ้ามันจะฝืนล่ะเห็นไหม ถ้ามันจะฝืนน่ะสัจธรรมมันจะเกิด จะเกิดอย่างไร ถ้าคนที่มีสัจจะ มีความจริงในหัวใจ แม้แต่เครื่องมือที่จะใช้ ยังเรียกผิดเรียกถูก เราเป็นช่างกันนะของใช้ของสอย ผู้ที่เป็นช่างน่ะ เขาจะทำช่างเขามีของเขา ยิ่งทางการแพทย์เขามีศัพท์ของเขา

นี่ก็เหมือนกันในเมื่อบัญญัติใช่ไหม สติก็คือสติ สมาธิก็คือสมาธิ ปัญญาก็คือปัญญา ถ้าสติมันจะเป็นของมันเอง ไม่ต้องทำสิ่งใดมันจะลอยมาจากฟ้า เพราะมันเป็นธรรมชาติ มันมีอยู่ของมันอยู่แล้ว แล้วเราว่าปัญญาที่มันเกิดขึ้นมา รู้เท่าขึ้นมา ปัญญามันเป็นอัตโนมัติมันจะเกิดเอง นี่มันไม่มีหรอก

ในทางวิชาการมันทำวิจัยได้ พูดได้ว่าได้นี่เป็นวิชาการ แต่วิชาการนี้ มีการยอมรับมากน้อยแค่ไหน แล้วมีผลตรวจสอบตอบสนองได้มากน้อยแค่ไหน แต่ถ้าเราเอาความจริงของเราเห็นไหม เราต้องแสวงหา ในหน้าที่การงานของโลก ในการทำงานก่อสร้างเขามีพิมพ์เขียวของเขา เขาสั่งวัสดุของเขา เขาประกอบสิ่งต่างๆ ขึ้นมาเป็นบ้านเรือนอาคารต่างๆ ตามที่เขาต้องการ มันมีของมันนะ นี่เรื่องของโลก แต่เรื่องของการปฏิบัติ สติหาซื้อที่ไหน สมาธิเอาเงินที่ไหนไปซื้อมันมา แล้วจะจ้างวานใครให้ทำให้เรา มันเป็นไปไม่ได้ มันเป็นสันทิฏฐิโก มันเป็นปัจจัตตัง มันรู้จำเพาะตน

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาเห็นไหม อยากจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ จะเอาสัตว์ที่ไหนไปรื้อล่ะ อยากจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ ปรารถนามารื้อสัตว์ขนสัตว์ เวลาพุทธกิจ ๕ เช้าขึ้นมาเล็งญาณ เล็งญาณว่าใจดวงไหนมีอำนาจวาสนา “มีอำนาจวาสนา” หมายถึงว่าบรรลุธรรมได้ เพราะมันต้องมีพละ มีกำลัง มีสติ มีปัญญา ที่จิตใจพูดกันรู้เรื่อง ถ้าเราไปพูดกันไม่รู้เรื่อง เหมือนเราพูดกับเด็ก เราไปพูดกับเด็กเราพูดไปทางวิชาการยิ่งเด็กยิ่งไม่รู้เรื่องใหญ่เลย ถ้าเราไปพูดกับเด็กอ่อนนี่นะ เราพูดถึงการเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน เด็กมันยังพอเข้าใจได้ แต่ถ้าพูดทางวิชาการกับเด็ก มันเป็นไปไม่ได้เลย

นี่เหมือนกัน “ธรรมะ” ธรรมที่เหนือโลก ธรรมที่จะพ้นจากกิเลส ธรรมที่จะต่อสู้กับกิเลส จะไปพูดให้ใครฟังถ้าจิตใจเขายังไม่พร้อมเห็นไหม พุทธกิจ ๕ เช้าถึงเล็งญาณ เล็งญาณว่าคนนี้มีโอกาส แล้วอายุเขาสั้นเขาจะเสียโอกาสของเขา ไปเอาคนนั้นก่อน นี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคัดเลือกแล้วคัดเลือกอีก นี่ในการเผยแผ่ในการรื้อสัตว์ขนสัตว์เห็นไหม

ในการรื้อสัตว์ขนสัตว์ นี่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ เพราะธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นธรรมเหนือโลก การรื้อสัตว์ขนสัตว์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเทศนาว่าการ เพราะคนมีโอกาส แต่ใจของเขานี่.. ยังจะต้องไปแสดงธรรม แสดงธรรมเพื่ออะไร เพื่อให้ธรรมะเข้าสู่ใจของเขา

นี่ไง เราฟังธรรมนี้ ธรรมะจะเข้าสู่ใจของเราไหม ธรรมะมันคืออะไรล่ะ ธรรมะก็คือเสียง เสียงก็คือเสียง เสียงลมพัดใบไม้ไหวมันก็ได้ยินเสียงของมันอยู่แล้ว แต่ถ้าจิตใจเป็นธรรมนะ แม้แต่เสียงลมพัดใบไม้ไหว มันก็ยังเป็นประโยชน์กับเราได้นะ เรายังจะเห็นความแปรปรวนของมัน ความเป็นอนิจจังของมัน ถ้ามีจิตใจเป็นธรรมสิ่งนั้นจะเป็นประโยชน์กับเรา ถ้าจิตใจเราไม่เป็นธรรมนะ มันก็ผ่านหูซ้ายทะลุหูขวาเท่านั้นน่ะ จิตใจของคนที่ไม่มีหลักมีเกณฑ์ มันจะเป็นประโยชน์กันไหมล่ะ

ฉะนั้นพอมีหลักมีเกณฑ์ขึ้นมา เขาจะมีความมุ่งมั่นของเขาขนาดไหน เขาจะหาเครื่องมือของเขาได้มากน้อยขนาดไหน สติ สมาธิ ปัญญา เรื่องโลกๆ ทุกคนก็เข้าใจได้ แต่ถ้าทำความสงบของใจเข้ามา พอจิตมันสงบเข้ามานะ ความร่มเย็นเป็นสุขของจิต จิตมันมีกำลังของมัน มันมีวุฒิภาวะของมันเห็นไหม นี่ธรรมะต้องรู้ จิตมันรู้ จิตมันรู้ของมัน จิตคือธรรมชาติรู้ มันรู้ทุกสิ่งไปหมดน่ะ แต่มันรู้สิ่งที่เป็นพิษเป็นภัยกันตลอดเห็นไหม

สังขาร ความคิด ความปรุง ความแต่ง ขันธ์ ๕ ที่รับรู้ต่างๆ กิเลสมันพาใช้ ใช้จนเคยชิน พอใช้จนเคยชินมันก็มีตัณหาความทะยานอยาก มันก็เอาแต่สิ่งที่เป็นตามความพอใจของมันเข้าไปทับถมจิต มันถึงได้มีความเร่าร้อน วันไหนถ้ามันคายพิษออกมาได้ มันคายความยึดมั่นถือมั่นของใจได้ เพราะว่าจิตมันเข้าสมาธิได้ คือมันสงบร่มเย็น มันเป็นเอกเทศ

ความคิดกับจิตมันเป็นสอง คนเรามันมีของคู่อยู่ตลอดเห็นไหม มืดคู่กับสว่าง ทุกข์คู่กับสุข จิตคู่กับความคิด เห็นไหม สัญญาอารมณ์ ความคิด ความปรุง ความแต่ง มันคู่กับจิต

ความคิดมันมาจากไหน ถ้าไม่มีจิตมันจะคิดได้อย่างไร มันเป็นของคู่มาตลอด แล้วเรากำหนดพุทโธ พุทโธ พุทโธหรือปัญญาอบรมสมาธิเข้าไปจนเป็นหนึ่งเห็นไหม วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ จิตที่ตั้งมั่น จิตที่เป็นหนึ่ง ความตั้งมั่นของมันก็มีความสุขในตัวของมันอยู่แล้ว ถ้ามีความชำนาญมากขึ้น มีความตั้งมั่นมากขึ้น ความชำนาญบ่อยครั้งเข้า

“ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ” เหตุที่เป็นสมาธิได้เพราะว่าเรามีสติของเรา แล้วกำหนดพุทโธของเราหรือใช้ปัญญาอบรมสมาธิของเรา มันก็สงบชั่วครั้งชั่วคราว ถ้ามีอำนาจวาสนา แล้วมันเข้าโดยที่เราไม่มีเหตุปัจจัย คำว่าเหตุปัจจัยคือเราไม่มีสติปัญญาตามทัน เห็นไหม มันจะเข้ามันจะรวมเป็นสมาธิได้.. โดยอำนาจวาสนาของเรา เราก็ฝึกฝน โดยอำนาจวาสนานะ มันจะเข้าสมาธิ.. จิตมันจะเข้าไปสงบไง จิตเป็นหนึ่งมีความสุขมาก

ปัจจุบันนี้จิตเป็นสอง สองกับอารมณ์ความรู้สึก จิตของเรามันมีอารมณ์ความรู้สึกนี้เป็นสอง เป็นเพื่อนคู่เคียงกันมาตลอด ความคิดเกิดจากจิตตลอดเวลา แม้แต่นอนหลับมันก็ฝัน แต่ถ้าพอมันคิดจนมันเหนื่อยล้าของมัน บางทีอยู่เฉยๆ มันก็ว่างๆ สบายๆ ของมันเห็นไหม อย่างนั้นจิตมันคิดจนพอแรงแล้ว มันก็วางของมันเหมือนกัน มันวางได้โดยที่ไม่มีเหตุมีปัจจัย ไม่มีใครดูแลรักษา เห็นไหม ว่างๆ ว่างๆ มันสบายๆ สบายโดยการปฏิเสธ โดยการไม่รับผิดชอบ มันจะไม่เป็นประโยชน์สิ่งใดๆ ไหนเลย

แต่ถ้ามันมีสติปัญญาของมัน มีสติแล้วควบคุมเข้ามา โดยใช้กำหนดพุทโธ พุทโธหรือใช้ปัญญาอบรมสมาธิ มันกลับมาเป็นหนึ่งได้ หนึ่งโดยการควบคุม หนึ่งโดยมีสติ มีปัญญารักษามัน พอมีสติปัญญารักษามัน แล้วสงบมาก สงบน้อย เราดูแลของเราไปเรื่อยๆ เห็นไหม ธรรมะต้องรู้ รู้เพราะอะไร รู้เพราะมีสติ รู้เพราะมีคำบริกรรม มันมีเหตุ.. เหตุที่ทำให้จิตมันสงบเข้ามาได้ มันก็มีกำลังของมัน มันมีความสุขของมันเห็นไหม เพราะจิตเป็นหนึ่ง

พอจิตเป็นหนึ่ง รักษาบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า มันจะมีฐานของมัน ฐานของความมั่นคง ฐานของความสงบร่มเย็น เรามีความสุขเห็นไหม เราลุกจากที่นี่ไป เราไปที่ไหนเราก็มีความสุข เพราะจิตเรามีความสุข โห.. มันสุคโต.. ไปไหนก็มีความสุข จิตมันมีความร่มเย็น จิตมันมีความสงบ พอเราออกจากสมาธิมา เรายังมีความสุขติดกับจิตนี้ไปเห็นไหม นี่ฐานของจิต

แล้วถ้าจิตอย่างนี้ มันมีสติปัญญาอย่างนี้ มันจะรักษาจิตอย่างนี้ ให้สงบร่มเย็นได้ง่ายขึ้น ได้ง่ายขึ้นเพราะมันมีสติปัญญาไล่เข้ามา ไล่เข้ามาจน รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมารเป็นพวงดอกไม้แห่งมาร เห็นโทษเห็นภัย เห็นโทษที่ว่า ถ้ามันคิดโดยขาดสติ มันคิดโดยที่ไม่มีการรักษามัน มันจะคิดแบบโลก “ศรัทธา” คิดตรึกธรรมะขนาดไหนก็แล้วแต่ กิเลสตัณหาความทะยานอยากเอาไปใช้ประโยชน์หมดเลย !

แต่ถ้ามีสติ มีสมาธิ มีปัญญาควบคุมเข้ามาเห็นไหม ขันธ์ ๕ เหมือนกัน สิ่งที่ว่าขันธ์ ๕ เหมือนกัน สติ สมาธิ ปัญญาเป็นเครื่องมือ มันเป็นเครื่องมือเหมือนกัน แต่ถ้าคนที่มันใช้เป็น มันจะใช้เป็นประโยชน์ขึ้นมา นายช่างเขามีเครื่องมือของเขา เขาประกอบอาชีพของเขา มันเป็นประโยชน์ของเขา เราไม่ได้เป็นนายช่าง เรามีเครื่องมือขึ้นมา เครื่องมือนั้น ดูสิ ดูอย่างอาวุธเอาไว้ใกล้มือเด็ก เด็กมันเอาไปเล่นเกิดอุบัติเหตุจนเด็กคนนั้นเสียชีวิตไปเลยเห็นไหม

นี่ก็เหมือนกัน ของที่เป็นเครื่องมือ เขาเอาไว้ประกอบสัมมาอาชีพของเขา แต่เราใช้ไม่เป็น เราเอาเครื่องมือนี้มาทำลายเราเห็นไหม ขันธ์ ๕ ความคิด ความปรุง ความแต่ง มันมีอยู่กับจิต มันเป็นอารมณ์สองอยู่แล้ว โดยธรรมชาติของมันกิเลสก็พาใช้อยู่ตลอดเวลา พอมีสติปัญญาขึ้นมา เราก็เอาปัญญาใช้ เราพาใช้ พาขันธ์ ๕ พารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตรึกในธรรม ตรึกในสิ่งที่ดี แล้วมีสติสัมปชัญญะทำตามมันทัน แล้วถ้ามันมีสติสัมปชัญญะ พอมันสงบเข้ามา จิตมันเป็นหนึ่ง.. เป็นหนึ่ง.. มีความสุขเห็นไหม

พอจิตมีความสุขขึ้นมา.. นี่ฐาน เวลาที่จิตออกจากฐานมา มันก็ยังมีความสุขของมัน แล้วเรามีสติปัญญาของเรารักษาบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้าเห็นไหม สติ สมาธิ แล้วเวลา “ออกรู้” ออกรู้อะไร ถ้าออกรู้ขึ้นมา นี่ปัญญามันเกิด...

ถ้าเป็นเจโตวิมุตติ จิตสงบ เห็นกาย เห็นสิ่งต่างๆ มันขนพองสยองขวัญ มันสะเทือนหัวใจมาก มันสะเทือนหัวใจเพราะมันสะเทือนกิเลส

คำว่าสะเทือนกิเลสนะ กิเลสมันโดนเห็นตัวแล้ว กิเลสมันได้แสดงตัวแล้ว จิตมันรื้อค้นจนเห็นกิเลสแล้ว สิ่งที่เห็นกิเลส ถ้าใช้ปัญญาอบรมสมาธิ แล้วจิตมันสงบเข้ามา แล้วจิตมันออกเห็น เห็นจิต เห็นกาย เห็นอาการของจิต เห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันเห็นของมัน แล้วมันจับต้องของมันได้ มันออกแยกแยะ ออกรื้อค้นนี่ ธรรมะต้องรู้ มันจะรู้เลยว่าการออกใช้ปัญญา ปัญญาที่ออกใช้อย่างนี้ มันใช้เข้ามาเพื่ออะไร ใช้เข้ามาเพื่อถอดถอน เพื่อให้จิตมันคายตัณหาความทะยานอยาก มันคายออกไปอย่างไร

เพราะเวลาวิปัสสนาไปแล้ว มันตทังคปหาน มันปล่อยวางชั่วคราว เว้นไว้แต่ขิปปาภิญญา ผู้ที่ตรัสรู้ง่ายต่างๆ เพราะเขาทำของเขา เวลามันถอด มันถอน มันมีการกระทำของมัน มันมีความรู้ที่แตกต่างนะ จากโลกียะไปโลกุตตระ

สิ่งที่เราประพฤติปฏิบัติเริ่มต้นเข้าไป เราปฏิบัติไป เราจะไม่รู้ว่าสิ่งใดผิดสิ่งใดถูกโดยชัดเจน แต่มันรับรู้ด้วยผลของมัน เห็นไหม รับรู้ด้วยผลของมันว่า อื้ม.. มันว่าง มันเบา มันแตกต่าง แต่ยังไม่ชำนาญ... ผู้ที่ชำนาญจนแยกแยะได้ว่าถูกต้อง ว่าสิ่งใดผิดสิ่งใดถูก ต้องเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กับครูบาอาจารย์ที่ท่านประพฤติปฏิบัติผ่านขั้นตอนนั้นไป ผู้ที่ผ่านขั้นตอนนั้นไป ย้อนกลับมาดูมันจะเห็นหมดเลย...

เวลาครูบาอาจารย์ของเรานะ ท่านจะบอกว่าให้เราตั้งสติ ให้เรารักษาอินทรีย์ต่างๆ เพราะท่านบอกว่า ถ้าเริ่มต้นกระบวนการ สิ่งที่ถูกต้อง กระบวนการนี้มันจะพัฒนาไปในทางที่ถูกต้อง กระบวนการเริ่มต้นที่มันไขว้เขว กระบวนการมันเริ่มต้นที่ไม่ถูกต้อง มันจะทำให้การประพฤติปฏิบัติไป.. ไปติด ไปประพฤติไปได้ยาก เช่น หลวงปู่มั่นท่านพูดไว้ “ต้นคดปลายตรงไม่มี” ต้นต้องตรงแล้วปลายมันจะเที่ยงตรงไป “ต้นคดปลายตรงไม่มี” มันคดแต่ต้น ถ้ามันไม่คดแต่ต้น เห็นไหม

ครูบาอาจารย์ที่ประพฤติปฏิบัติแล้วท่านถึงห่วงใย ห่วงใยว่าการปูพื้นฐาน เหมือนลูกหลานเรา ลูกหลานเรานี่นะ การศึกษาเริ่มต้นจากอนุบาล ถ้าเราปูพื้นฐานให้เขามีพื้นมีฐานที่ดี การศึกษาของเขาก็จะสะดวกสบายไปข้างหน้า ถ้าลูกของเรา เรารักลูกของเราจนเกินไป บอกว่าไม่ต้องไปเรียนที่ไหนหรอก พอโตขึ้นมาค่อยไปเรียนทีหลัง มันเรียนไม่ทันเขา เรียนขึ้นมาเห็นไหม

นี่ก็เหมือนกัน “ต้นคดปลายตรงไม่มี” ต้นต้องตรง ก็ศีล สมาธิ ปัญญาไง ศีล สมาธิ ปัญญา เราต้องตรงมาตั้งแต่ต้น เราต้องมีกำลัง มีสติ มีปัญญา มีความวิริยะอุตสาหะ แสวงหาสิ่งนี้ขึ้นมา แสวงหาศีล สมาธิ ปัญญา เห็นไหม ศีลมันเกิดขึ้นมาโดยพื้น ศีลมันมีโดยพื้นฐานถ้าเรารู้จักรักษามัน สมาธิก็เกิดขึ้นมาจากมีสติ มีคำบริกรรม มีการรักษาสิ่งที่ดี สมาธิที่ดีขึ้นมา สมาธิเกิดขึ้นมาแล้วเห็นไหม ความแตกต่างความรับรู้เป็นสมาธิระหว่างมิจฉากับสัมมา มันก็แตกต่าง แล้วพอมันออกรู้ปัญญาเห็นไหม ออกรู้ปัญญา ปัญญามันจะเกิดขึ้นมาจากจิตที่ออกใคร่ครวญ จิตเห็นอาการของจิต จิตเห็นกาย

ถ้าจิตเห็นกาย การแยกแยะการใคร่ครวญของมัน เพราะจิตเห็นอาการของจิต เหมือนกับการทำงานเลย ดูสิ เราทำงานทางวิชาการ เรากว่าจะเสร็จแต่ละโครงการ ทำการวิจัยต่างๆ กว่าจะเสร็จโครงการมันต้องใช้เวลาเท่าไร นี่ก็เหมือนกัน ในการวิปัสสนาในหัวใจ ใจที่มันเกิดการวิปัสสนาขึ้นมาแล้วนี่ มันแยกแยะอย่างไร มันปล่อยวางอย่างไร สิ่งที่ประสบการณ์อย่างนี้ แล้วมีรสของธรรมชนะรสทั้งปวง รสของสัมมาสมาธิ รสของความสงบของใจ

ใจที่สงบกับใจที่เป็นสอง จิตกับสัญญาอารมณ์ จิตกับความใคร่ครวญ แล้วมันปล่อยออกมาเป็นหนึ่ง มันก็เป็นความสุขอันหนึ่ง มีสุขขนาดไหนเวลาออกวิปัสสนาไป ความสุขอย่างนี้มันได้ตักกิเลสตัณหาความทะยานอยากออกจากใจได้มากขึ้นๆ มันมีความสุขอีกอย่างหนึ่ง ความสุขอย่างนี้จนเราเข้าใจว่าสิ่งนี้เป็นโสดาบัน เป็นสกิทาคา เป็นอนาคา

เวลาเราพิจารณาไปนะ ถ้าต้นมันคด.. จำธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา แล้วก็ว่าใช้ปัญญา ใช้การใคร่ครวญ เห็นไหม พอการใคร่ครวญ...

จิต ความมหัศจรรย์ของจิต จิตนี้เป็นสิ่งที่มหัศจรรย์มาก มันยึดสิ่งใด มันยึดมันแบกมันหามจนเป็นทุกข์เป็นยาก เวลามันบอกว่าสิ่งนี้ไม่เป็นความจริงให้มันปล่อย มันก็ปล่อยจากสัญญาอารมณ์ที่มันคิดขึ้นมาเหมือนกัน มันไม่เป็นความจริง เพราะมันไม่มีข้อเท็จจริงรองรับ

เวลาถ้าจิตมันมีกิเลสตัณหาความทะยานอยาก มันเอาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาใช้สอยอย่างนี้เห็นไหม เวลาใช้ปัญญารอบหนึ่ง เวลามันปล่อยวางรอบหนึ่ง... อย่างนี้เป็นโสดาบัน เป็นสกิทาคา เป็นอนาคา มันก็เป็นได้ร้อยหนพันหนน่ะ มันไม่เป็นความจริงของมันขึ้นมา

ถ้าเป็นความจริงของมันขึ้นมาเห็นไหม ตทังคปหาน วิปัสสนาไปแล้วมันปล่อยวางอย่างไร ซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ มันก็มีความชำนาญมากขึ้น มันก็ขึ้นใช้ประสบการณ์ของเรา สิ่งใดที่เราใช้ปัญญาใคร่ครวญของมันไป แล้วถึงที่สุดแล้วมันไม่ปล่อยวาง มันยึด มันกีดมันขวางอยู่ เพราะกำลังของสมาธิมันไม่พอ เราต้องปล่อยสิ่งนั้นแล้วกลับมาทำความสงบของใจ มันจะเห็นคุณค่าเลย คนวิปัสสนาไป คนใช้ปัญญาไปแล้ว ถ้าใช้ปัญญาจนเกินขอบเขต เกินขอบเขตของกำลัง ปัญญาของเรามันจะฟั่นเฟือน ปัญญาของเราจะเป็นสัญญา

ถ้าปัญญาของเราเป็นสัญญา คือวิปัสสนาไป ใช้ปัญญาไปแล้วมันไม่ทะลุปรุโปร่ง มันไม่ปล่อย พอมันไม่ปล่อยมันก็ไปคากัน เพราะเรามีกิเลสตัณหาความทะยานอยากของเรา เราอยากจะได้มรรคผลไวๆ เราก็บอกว่าสิ่งที่ทำนี้แล้วมันถูกต้อง ศีล สมาธิ ปัญญา เราเคยทำแล้วมันได้ผลๆ

ความไม่ได้ผลมันเป็นสัมมาทิฏฐิ เราใช้เครื่องมือที่ถูกต้องกับสิ่งต่างๆ เราทำความสมดุลอย่างไร มันจะเกิดผลประโยชน์อะไรขึ้นมา แต่ถ้าสิ่งใดที่มันเอนเอียง มันไม่ได้สมดุลของมัน เห็นไหม มันจะเป็นบางส่วนเป็นไปไม่ได้

อันนี้ก็เหมือนกัน เราเคยใช้เคยทำได้ก็จริงอยู่ แต่ขณะที่เราทำมันไม่สมดุล คือมันใช้จนฟั่นเฟือน มันใช้กำลังจนมันมากเกินไป เราต้องวางงานนั้นเลย กลับมาพุทโธ พุทโธ วางงานนั้นแล้วกลับมาปัญญาอบรมสมาธิ ต้องวางทันที ! ถ้าไม่วางทันที มันก็จะลากเราไปอย่างนั้น แต่... เพราะความไม่รู้ ในการประพฤติปฏิบัติใหม่ เพราะเราเคยทำได้ เราก็คิดว่าเราทำได้ตลอดไป เพราะนี่เป็นความคิดว่าเราเคยทำได้นะ ความคิดว่าเราเคยทำได้กับความจริงมันคนละเรื่องกัน

ความจริง ความสำรวมของจิตเห็นไหม ดูสิเวลาเราใช้ปัญญาใคร่ครวญของเรา ใช้วิปัสสนาของเรา บางทีเราใช้ปัญญาระดับนี้ทำมันเข้าใจ ทำมันปล่อยได้ล่ะ วันนี้เราใช้ปัญญาเหมือนกัน แล้วปัญญาใช้มากกว่าเดิมอีก แต่ทำไมมันไม่ปล่อยเห็นไหม มันหนักไปทางปัญญา แต่มันไม่มีฐานรองรับ มันไม่มีความสมดุลของมัน แล้วเวลากิเลสมันรู้ทันของมัน มันก็มีลูกล่อลูกชนของมันนะ กิเลสนี้มันฉลาดมาก เพราะกิเลสมันอยู่กับเรา

เราทำสมาธิมาเกือบเป็นเกือบตาย ปัญญากว่าจะเกิดขึ้นมาจะเพื่อชำระล้างมัน เราต้องแสวงหามันตลอดเลย กิเลสไม่ต้องทำอะไรเลย กิเลสเป็นอนุสัยนอนอยู่ในจิต มันเกิดปฏิสนธิจิต มันเกิดมากับเรา แล้วเราศึกษาธรรมะขึ้นมา เวลาเราชนะมัน มันก็หลบเลี่ยง มันหลบหลีก เห็นไหม เราก็ดีใจว่าเราชนะรอบหนึ่งเราปล่อยวางรอบหนึ่ง มันก็รับรู้กับเรานะ มันรับรู้กับเรา... พอเราพิจารณาซ้ำ พิจารณาซ้ำ มันก็มีช่องทางของมันที่จะหาทางหลอกลวง หาทางที่จะพลิกแพลงให้เราล้มลุกคลุกคลานไง พอล้มลุกคลุกคลาน เราก็ใช้ปัญญาแล้วใช้ปัญญาเล่า

จะบอกว่า การวิปัสสนามันเกิดจากกำลังของสมาธิ ความสมดุลของเครื่องมือของเรามันไม่คมกล้า เราต้องกลับมารักษาเครื่องมือเพื่อเป็นประโยชน์กับเรา กับกิเลสตัณหาความทะยานอยากที่เราจะเข้าไปแก้ไข มันก็มีความต้านของมัน

ดูสิ ดูการประพฤติปฏิบัติสิ เราแสวงหามาขนาดไหน เครื่องไม้เครื่องมือที่เราจะใช้ต่อสู้กับกิเลสน่ะ เราหามาเห็นไหม ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นเครื่องมือ ! มรรค ๘ มรรคญาณต่างๆ เป็นเครื่องมือที่จะไปชำระกิเลส

ถ้าเรามีเครื่องมือแล้วใช้ไม่เป็น ใช้แล้วไม่เป็นประโยชน์กับการชำระกิเลส กิเลสมันก็เอามาใช้เห็นไหม ใช้ให้ฟั่นเฟือน ใช้ให้เราเดินไปไม่ได้ เราก็บอกเราก็ใช้แล้ว.. เราก็ประพฤติปฏิบัติแล้ว.. มันสมควรที่จะเป็นธรรม.. ทำไมไม่เป็นธรรมเสียที.. นี่กิเลสมันจะขัดแย้ง มันจะทำให้เราล้มลุกคลุกคลานตลอด กิเลสอย่างหยาบ กิเลสอย่างกลาง กิเลสอย่างละเอียด ข้างหน้ามันยังดักเราตลอดเวลา ประพฤติปฏิบัติไป ล้มลุกคลุกคลานไปตลอดเลย คนที่ต่อสู้กับกิเลสมา เห็นไหม ข้อเท็จจริงของการล้มลุกคลุกคลาน เพราะมันผิดพลาดมามหาศาล

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรวจสอบ มันเป็นการสร้างบุญญาธิการนะ เวลาไปตรวจสอบจากเจ้าลัทธิต่างๆ ๖ ปี ที่ไหนเป็นศาสดา ที่ไหนเขาปฏิญาณตนว่าเป็นพระอรหันต์ ที่ไหนที่เขาเป็นสำนักประพฤติปฏิบัติ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ไปตรวจสอบ ไปทดสอบเขามาหมดแล้ว แล้วมันไม่มี มันไม่มีคือจิตมันฆ่ากิเลสไม่ได้

ความผิดพลาดที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพยายามตรวจสอบมา..ตรวจสอบมาเพื่อเป็นอำนาจวาสนาบารมีด้วย แล้วสิ่งที่จะเป็นความจริง ก็คือความจริงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สร้างสมบุญญาธิการมาเอง สิ่งที่สร้างมา ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย สิ่งนี้มันสร้างมา สิ่งที่สร้างมา มันสร้างภาวะ สร้างกำลัง สร้างต่างๆ ขึ้นมาพร้อมหมดเลย

แต่ธรรมะมีอยู่โดยดั้งเดิม อ้าว... ถ้ามีอยู่ดั้งเดิมมันก็ต้องเป็นพระอรหันต์ไปเลยสิ ทำไมไม่เป็นล่ะ “ธรรมะมีอยู่โดยดั้งเดิม” แต่อยู่ดั้งเดิมที่ว่า ต้องรื้อค้นมัน คือการกระทำมันยังไม่เกิดขึ้นมา พอมันเกิดขึ้นมา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใคร่ครวญขึ้นมาจนถึงที่สุดเห็นไหม นี่มรรคญาณเกิดขึ้นมา กิเลสขาด! เมื่อกิเลสขาดเข้าไป เสวยวิมุติสุข เอาสิ่งนี้มาเป็นพื้นฐาน แล้วเอาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเป็นศาสดาเอก มาเป็นประโยชน์กับเรา

แล้วเราล่ะ เราจะทำอย่างไรของเรา สิ่งที่เราจำมาเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ใช่ไหม พุทธพจน์ๆ ใช่ พุทธพจน์เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่กิเลสเราล่ะ กิเลสมันเชื่อไหม ! ถ้ากิเลสเชื่อทำไมกิเลสมันไม่ยอมจำนน มันไม่ยอมตามความจริงอันนี้ เวลาศาสนธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศาสนธรรม สัจธรรมความจริงอันนั้น เวลาเราประพฤติปฏิบัติไป โอ้ย..ท่องจนปากเปียกปากแฉะนะ แล้วมันเป็นความจริงขึ้นมาไหมล่ะ มันไม่เป็นความจริงขึ้นมาเลย

แต่ถ้ามันเป็นความจริงของเราขึ้นมาเห็นไหม สติมันยับยั้งอย่างไร สมาธิมันลงตัวอย่างไร แล้วปัญญาที่มันออกไปก้าวเดิน มันรู้รอบหนึ่ง วิปัสสนามันปล่อยวางรอบหนึ่ง ปล่อยวางรอบหนึ่ง ซ้ำแล้วซ้ำเล่า.. ซ้ำแล้วซ้ำเล่า.. ครูบาอาจารย์ที่ท่านประพฤติปฏิบัติถูกต้องนะ เวลาลูกศิษย์ลูกหาไปถาม ว่าถูกต้องไหม ถูก.. ถูก.. ที่ทำมานี่ถูกต้องไหม ถูก.. แต่ต้องซ้ำอีก “ซ้ำอีก” เห็นไหม กระบวนการที่เราทำมันถูกต้องไหม ถูก คำว่าถูกคือเราเดินมาถูกทาง แต่มันไม่ถึงที่สุด โครงการกระบวนการนั้นยังไม่จบ มันมีกระบวนการจบของมัน ธรรมะต้องรู้ เราว่าถูก.. ถูก.. แต่เราสงสัยไหม เราสงสัยนะ

แต่ถ้าพูดถึงเวลาครูบาอาจารย์บอกว่าถูกต้องแล้ว ต้องซ้ำ คำว่าต้องซ้ำคือยังมีการดำเนินการต่อไป คำว่าซ้ำแล้วซ้ำเล่านี่มันจะมีการดำเนินการต่อไป แล้วพอมีการดำเนินการต่อไปเห็นไหม วิปัสสนารอบหนึ่งมันปล่อยวางรอบหนึ่ง แล้วเราวิปัสสนาอีกมันก็ยังปล่อยวางอีก แสดงว่า ! แสดงว่ามันยังมีอยู่เห็นไหม พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า สิ่งที่มันมีอยู่ เราทำงานนั้นยังไม่เสร็จ เก็บกระบวนการนั้นไม่จบ มันก็ยังคาอยู่อย่างนั้น

จิตเวลาพิจารณาไป มันเป็นนามธรรม ความรู้สึกเป็นนามธรรม ความคิดเป็นนามธรรม ปัญญาเป็นนามธรรม มันว่าวงรอบหนึ่งมันจบไป มันจบคือว่าพลังงาน.. พลังของจิตเขาก็ว่าสภาวธรรม.. สภาวธรรม..

สภาวธรรมคือการเคลื่อนไหว ธรรมะแท้ๆ ไม่ใช่สภาวะ สภาวธรรมคืออนัตตาไง สัพเพ ธัมมา อนัตตา สภาวะที่มันยังขับเคลื่อนนี้อยู่เป็นสภาวะ นี่เป็นสภาวะของปัญญาที่มันขับเคลื่อน ที่มันต่อสู้กับกิเลสอยู่ มันขับเคลื่อนกระบวนการของมันจบสิ้นกระบวนการของมันไป ว่าง.. ว่าง.. แล้วกิเลสขาดไหม แล้วสิ่งที่เป็นสัจธรรม ที่ธรรมะเหนือโลก ที่สัจธรรมมันอยู่ไหน

เพราะไม่มี ไม่รู้สิ่งใด.. ไม่รู้สิ่งใดแต่รู้สภาวะ รู้สภาวะเพราะอะไร รู้สภาวะเพราะธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้แล้ว ธรรมวินัยมันมีอยู่ แล้วสภาวะอย่างนั้น เราก็เอาสภาวะอย่างนั้นมาว่า จิตใจเรารู้สภาวะนั้น.. รู้สภาวะนั้น.. เทียบเคียงให้มันเหมือนไง ให้มันเป็นอย่างนั้น นี่มันถึงไม่รู้ ไม่รู้เลยลังเลสงสัย ไม่รู้เลยพูดกระบวนการของธรรมะนั้นผิด

แต่ถ้าเป็นความจริง พิจารณาซ้ำเห็นไหม ซ้ำกระบวนการเดิมมันต้องมีอยู่ ถ้าซ้ำแล้วมันก็ปล่อยอีก ปล่อยอีก การปล่อย คำว่าปล่อยอีกเห็นไหม ซ้ำนะ มันก็ยังไม่จบไง มันก็ยังไม่สิ้นสุดกระบวนการของมันไง ถ้าซ้ำมันก็มีอาการอีก ถ้าซ้ำแล้วยังทำได้น่ะ มันก็ฟ้องแล้วว่าสิ่งนั้นยังไม่สิ้น ! กระบวนการนี้ยังไม่จบ ถ้าจบแล้วมันก็ซ้ำแล้วๆ ซ้ำเล่า ถ้ากระบวนการมันจบเห็นไหม ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕ สังโยชน์มันขาด ขาดอย่างไร

เวลาสังโยชน์มันขาด คำว่าสังโยชน์ขาดนะ จิตรวมลง กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ แยกออกจากกัน จิตรวมลงเห็นไหม ...ยถาภูตํ ญาณทสฺสนํ... ยะถาภูตัง เวลามันขาดรู้ว่าขาด เกิดญาณทัสสนะ เกิดความรู้ความเห็น เห็นว่าสังโยชน์ขาด โอ๊ย ดังแขนขาด ขาดอย่างนี้ ! กระบวนการมันมีของมัน นี่ธรรมะต้องรู้ รู้จริงทำจริง มันเป็นกระบวนการของมัน ไม่ใช่ไปรู้เห็นสิ่งใดๆ เลย

ศีล สมาธิ ปัญญา มันเป็นเครื่องมือ มรรค ๘ ทางเอกมันเป็นเครื่องมือทั้งนั้น แล้วทางเอก ทางที่เราจะไปถึงเป้าหมาย สิ่งที่เราอาศัยทางนั้นไปสู่เป้าหมาย ในการประพฤติปฏิบัติหนทางนั้นสำคัญมาก เครื่องมือที่เราจะใช้แสวงหาในการกระทำ เราต้องแสวงหามาทั้งหมด แล้วเครื่องมือนั้นเราใช้สิ้นสุดกระบวนการของมันแล้ว “เครื่องมือ” เห็นไหม เราทำงานเสร็จเครื่องมือกองอยู่นั้นนะ

แต่มรรคญาณ ดูสติมันอยู่ที่ไหน สมาธิมันอยู่ที่ไหน ปัญญามันอยู่ที่ไหน เวลาเกิดขึ้น มันเกิดขึ้นมาจากจิตของเรา เวลากระบวนการมันจบไปแล้วมันไปไหน สิ่งนั้นมันอยู่ที่ไหน มันหายไปไหน แล้วกระบวนการที่มันชำระกิเลสจนมันขาด ที่เป็นธรรมะเห็นไหม “อกุปปธรรม”

ถ้ามันเป็นอกุปปธรรม คือธรรมเหนือโลก ถ้าเป็นกุปธรรม คือธรรมในโลก ธรรม-ธรรมชาติ ธรรมในโลกคือ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา สภาวะที่เป็นอนัตตา

ที่ว่าเป็นอนัตตา สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา พระพุทธเจ้า นี่ไง ธรรมะมีอยู่โดยดั้งเดิม พระพุทธเจ้าเห็นสภาวะการกระทำที่มันเป็นความจริงขึ้นมา เพราะมันมีสัจจะ มันมีความจริงขึ้นมา ทำความจริงของมันขึ้นมา กระบวนการของมันขึ้นมา แล้วเป้าหมายมันออกไปเป็นอกุปปธรรม อกุปปธรรมมันเป็นอย่างไร อกุปปธรรม ธรรมที่เหนือโลก ที่ไม่เวียนตายไปในวัฏฏะ ที่ไม่วนไปเหมือนวัฏฏะแล้ว มีอีก ๗ ชาติเท่านั้น

ธรรมดาของจิตมันเวียนตายเวียนเกิดไม่มีต้นมีปลาย ไม่มีสิทธิเรียกร้องอะไรทั้งสิ้น ในเมื่อมีการกระทำอยู่ มันขับเคลื่อนจิตนี้ดวงนี้ไป จิตดวงนี้จะไม่มีต้นมีปลาย มันจะเกิดตาย เกิดตาย ไปอย่างนี้ตลอดไป จิตนี้มันเกิดตาย เกิดตาย เกิดเป็นมนุษย์ เกิดมาเป็นเทวดา อินทร์ พรหม มนุษย์ต้องตายไป เทวดาต้องตายไป พรหมก็ต้องตายไป ทุกอย่างต้องตายไป แต่จิตไม่ตาย จิตตัวนี้มันเกิดเป็นเทวดา อินทร์ พรหม มันเปลี่ยนภพเปลี่ยนชาติของมันไปตลอดเวลา เป็นพลังของมัน เห็นไหม

แล้วเวลาเป็นอกุปปธรรม ธรรมที่เหนือโลก มันอีก ๗ ชาติน่ะ อีก ๗ ชาติ ไม่ไปอีกแล้ว.. นี่มันเหนือโลก มันเริ่มเหนือโลกขึ้นมาบ้างแล้ว เห็นไหม แล้วเราทำของเราต่อไปมากขึ้นๆ จิตมันจะมีกระบวนการของมัน นี่ธรรมะต้องรู้ ! รู้ตามเป็นจริงว่าทำอย่างไรเป็นโสดาบัน แล้วจากโสดาบันทำอย่างไรถึงเป็นสกิทาคามรรค สกิทาคามรรคเห็นไหม ที่ว่าสติๆ สติมันเป็นอย่างไร สติของโสดาบัน สติของสกิทาคา สติของอนาคา สติของพระอรหันต์น่ะ มันแตกต่างกันอย่างไร

สมาธิและวุฒิภาวะของมรรค ๔ ผล ๔ มันแตกต่างกันอย่างไร มันมีความแตกต่างกันหมดเห็นไหม นี่มิติ ! มิติความลึกของจิต มิติความลึกของฐานของจิต จิตที่มันอยู่นี่ กรรมฐานๆ ฐานของจิตมันมีอยู่ ฐานที่มันจิต ปฏิสนธิจิต จิตเกิดเป็นโสดาบัน มันเกิดเป็นโสดาบัน มันเกิดของมันเห็นไหม พระโสดาบันยังเกิดอีก ๗ ชาติ พระสกิทาคามียังเกิดอีก พระอนาคายังเกิดเป็นพรหม นี่ปฏิสนธิจิต ที่มันเกิดอีก ๗ ชาติ ในสถานะที่มันเกิด ๗ ชาติเพราะเป็นพระโสดาบัน ถ้าประพฤติปฏิบัติไปเห็นไหม เป็นพระสกิทาคาอีก ๓ ชาติ เป็นพระอนาคา ไม่เกิดบนกามภพ ทำไมถึงไม่ไปเกิด

นี่วุฒิภาวะออกมา ศีล สมาธิ ปัญญาแตกต่างหมดนะ มันแตกต่างในตัวของมันเอง ถ้าธรรมะรู้จริงเห็นจริงมันก็จะรู้ถึงความแตกต่าง แล้วพอความแตกต่างมันพัฒนาการของมัน จากปุถุชนเป็นกัลยาณปุถุชน จากโสดาปัตติมรรคเป็นโสดาปัตติผล จากสกิทาคามรรคเป็นสกิทาคาผล อนาคามรรคเป็นอนาคาผล อรหัตตมรรคเป็นอรหัตตผล มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ นิพพานคือความสงบเย็นที่มันจะไม่เป็นไปอีกแล้ว เห็นไหม มันเหนือธรรมชาติมาตลอดนะ ..ธรรมะต้องรู้ !

ถ้าธรรมะไม่รู้.. คือธรรมะเลื่อนลอย ธรรมะไม่รู้.. ธรรมะเป็นธรรมชาติ ธรรมะไม่มีเหตุมีผล ธรรมะ.. ทุกอย่างมันจะเป็นของมันเอง มีสติสัมปชัญญะไป เพราะของดั้งเดิมจิตนี้นิพพานอยู่แล้ว จิตมันต้องถึงนิพพานอยู่แล้ว.. จิตถ้าถึงนิพพานอยู่แล้วเห็นไหม ดูสิ ดูที่มันเกิดตายๆ ในวัฏฏะ ที่มันไม่มีต้นมีปลาย มันก็ต้องถึงนิพพานสิ มันไม่มีหรอก ! ไม่มี !!

มันเพียงแต่มีจิต จิตที่มีสถานะ ดูสิองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย สร้างมาบุญญาธิการอย่างนี้ ขนาดสร้างบุญญาธิการอย่างนี้ ยังจะต้อง.. “ต้อง !” มาตรัสรู้ คำว่าตรัสรู้คือเหตุ คือเป็นข้อเท็จจริงที่มีการกระทำ มันต้องมีการกระทำทั้งหมด พอทำขึ้นมาแล้วเห็นไหม พอตรัสรู้แล้วเป็นพระอรหันต์ ครูบาอาจารย์ที่ประพฤติปฏิบัติมาก็เป็นพระอรหันต์ พระอรหันต์มาจากไหนล่ะ พระอรหันต์ก็มาจากการประพฤติปฏิบัติ

แล้วเราประพฤติปฏิบัติต้องถูกต้องด้วย ต้องถูกต้องชอบธรรม แล้วชอบธรรมตามความเป็นจริง แล้วถ้าพูดถึงคนที่ชอบธรรมตามความเป็นจริง สิ่งที่เป็นเครื่องมือ สิ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือเห็นไหม เครื่องมือคือต้องเรียกชื่อให้มันถูก ที่ว่าพุทธพจน์.. พุทธพจน์.. เวลาบอกก็อ้างพุทธพจน์ ว่าถ้าผู้ประพฤติปฏิบัติจะแตกต่างจากพุทธพจน์ไปไม่ได้.. แตกต่างจากพุทธพจน์ พุทธพจน์คือพุทธพจน์

แต่เวลาข้อเท็จจริงเห็นไหม เวลาการกระทำ สิ่งที่เป็นธรรม “ชื่อ” ในการกระทำที่เป็นข้อเท็จจริงในใจ มันสื่อกันได้ไง ชื่อในการกระทำ ชื่อมันเป็นจริง เราให้ค่ามาว่าสิ่งที่ทำ มันเป็นความจริงไหม ถ้าไม่มีความจริง.. เอาความจริงนั้นมาจากไหน ถ้าเป็นความจริงอยู่แล้ว เป็นอกุปปธรรม ที่มีพื้นฐานอยู่แล้วเห็นไหม

มันต้องทำความสงบของใจเข้าไปอีก เพราะว่าจิตสงบเข้าไปมันคนละชั้นกันแล้ว จากโสดาปัตติมรรคเป็นสกิทาคามรรค สกิทาคามรรคเวลามันเข้าไปกิเลสมันละเอียดกว่า กิเลสที่มันจะหลอกเรา มันก็ละเอียดกว่าโสดาปัตติมรรค

แต่เพราะคนทำงานเป็น คำว่าทำงานเป็น คือมันผ่านภาวนามยปัญญาหนึ่งรอบ “ภาวนามยปัญญา” คนที่จะเห็นภาวนามยปัญญาโดยข้อเท็จจริงสมบูรณ์แบบ อย่างน้อยต้องเป็นพระโสดาบันขึ้นไป เพราะพระโสดาบัน.. คำว่าเป็นโสดาบันขึ้นไป มันจะเกิดกระบวนการที่เป็นโสดาบันอย่างไร

ถ้าเกิดกระบวนการโสดาบัน ดูสิ สติ สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา สิ่งที่เป็นมรรค ๘ ที่มันจะรวมตัว มรรคสามัคคี ถ้ามรรคไม่สามัคคี มันสมุจเฉทปหานกิเลสไม่ได้ ถ้ามรรคสามัคคี มรรคที่เป็นอริยมรรค เป็นมรรคญาณ มันเกิดขึ้นมาเพราะอะไร มันเกิดขึ้นมาเพราะการกระทำ เห็นไหม

ที่ว่าธรรมะมีอยู่โดยดั้งเดิม การกระทำ เพราะมรรคสามัคคีมันสมดุลของมัน มีการกระทำของมัน แต่กว่ามันจะสามัคคี เราซ้ำแล้วซ้ำเล่า เราวิปัสสนา เราใคร่ครวญอย่างไร นี่ไงฝึกฝนกันจนมีความชำนาญของมัน พอมีความชำนาญ พอมันมรรคสามัคคีมารวมตัวแล้วสมุจเฉทปหาน ขาด ! เราได้รู้ได้เห็น เห็นไหม ธรรมะต้องรู้ !

ถ้าธรรมะมารู้อย่างนี้ มันเห็นอย่างนี้ขึ้นไป กระบวนการมันจะเข้าใจหมดนะ ถ้ากระบวนการของพระโสดาบัน จะเข้าใจถึงมรรคญาณ แล้วจะเข้าใจคำว่าสติ จะเข้าใจคำว่าสมาธิ แล้วก็จะเข้าใจคำว่าปัญญา โลกุตตรปัญญา

ไม่ใช่ทัศนะความเห็นเฉยๆ เขาบอกว่า พระโสดาบันก็มี “ทัศนะ” แต่เขาลืม “ญาณ” ญาณคือพลังของใจ ทัศนะก็คือสมองไง ทัศนะคือความเห็น ถ้าความเห็นของคน.. อ้าว..เห็นโสดาบัน เห็นกายไม่ใช่เรา เราไม่ใช่กาย เป็นพระโสดาบัน... มันเป็นไปไม่ได้หรอก ! นกแก้วนกขุนทองมันก็ท่องได้ บอกมันสิ กายไม่ใช่เรา.. เราไม่ใช่กาย.. นกแก้วมันก็ท่องได้ มันท่องได้แต่ความจริงมันไม่มี ! ไม่มีภาวนามยปัญญา ธรรมะไม่รู้.. กระบวนการของมันก็เลยผิดพลาดไปหมด

ถ้าธรรมะต้องรู้ พอรู้แล้ว.. แล้วรู้เพราะเหตุใด รู้เพราะรู้ว่ามีข้อเท็จจริง มีการกระทำ ไอ้ข้อเท็จจริงการกระทำอันนี้ มันจะเรียกชื่อกล่าวขานความเห็นจากข้อเท็จจริงในหัวใจผิดพลาดไป คนถ้ามันไม่เห็นจริงมันก็ผิดน่ะ แล้วคนเห็นจริงมันจะพูดผิด มันจะเป็นไปได้อย่างไร ในเมื่อมันเห็นจริง มันรู้จริง การกระทำจริงเกิดขึ้นมา นี่คือผู้ที่ทำงานเป็น

พระโสดาบัน... ไม่ถือมงคลตื่นข่าว พระโสดาบันไม่เชื่อในสัจธรรม ไม่เชื่อในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ! เป็นอกุปปธรรม อฐานะที่พระโสดาบันจะเสื่อมลงมาเป็นปุถุชน พระโสดาบันเป็นของจริง นี่ธรรมที่เหนือโลก ! นี่ธรรมะมารู้จริงอย่างนี้

ถ้าธรรมะมารู้จริงอย่างนี้ สิ่งที่เป็นจริงเห็นไหม เราฟังธรรมกันอยู่นี่ เราก็หวังปรารถนากันขึ้นมาเพื่อจะประพฤติปฏิบัติของเราขึ้นไปให้มันถึงที่สุด ถ้าถึงที่สุดเห็นไหม เราก็ทำความสงบของใจเข้ามา ใจเราให้มันสงบเข้ามา สงบเข้ามาแล้วออกรื้อค้นหากิเลส อ้าว..ก็กิเลสก็เจอแล้ว ก็กิเลสฆ่าไปแล้ว จะหากิเลสที่ไหนอีกล่ะ...

กิเลสที่ฆ่าไปแล้วมันก็ตายไปแล้ว หลานของมันได้ตายไปแล้ว แล้วเราจะหาพ่อของมันล่ะ หลานก็ตายไปแล้ว แล้วพ่อของมันล่ะ แล้วปู่ของมันล่ะ ในเมื่อกิเลสมันละเอียดกว่านี้เรายังต้องแสวงหา แล้วกิเลสที่มันมีความสามารถ มีวุฒิภาวะที่มันเหนือกว่า มันจะหลบเลี่ยงนะ มันจะพลิกแพลงของมันนะ เล่ห์เลี่ยมของมันร้อยสันพันคมที่ละเอียดกว่า

สิ่งที่ละเอียดกว่า เครื่องมือเห็นไหม เครื่องมือของโสดาปัตติมรรคจะไปฆ่ากิเลสในสกิทาคาผล ไม่มี ! เครื่องมือของโสดาปัตติมรรค มันก็ฆ่ากิเลสในขั้นของโสดาปัตติผล เครื่องมือของสกิทาคามรรคมันก็จะไปฆ่ากิเลสจนได้สกิทาคาผล ถ้าเครื่องมือของโสดาบัน... นี่ไง เครื่องมือมันแตกต่าง ศัตรูก็แตกต่าง กิเลสก็แตกต่าง วุฒิภาวะของกิเลสมันหยาบ-ละเอียดแตกต่างกันเยอะมาก

ยิ่งเดี๋ยวมันไปอนาคานะ มันจะเป็นเรื่องกามภพ เรื่องของวัฏฏะ เรื่องของการเกิดในภพ เพราะพระอนาคานี่จะทำลายกามภพ ไม่มาเกิดอีกตั้งแต่สวรรค์ลงมา ไปเกิดเป็นพรหม ..นี่มันแตกต่าง ความละเอียดมันแตกต่าง แล้วเราเอาความรู้ความเห็นของเรา โดยโสดาปัตติผลเข้าไปจับแล้วเราจะฆ่ากิเลสเลย ไม่มี ! ไม่มี ! เห็นไหม

ครูบาอาจารย์ที่ท่านปฏิบัติเป็น ท่านบอกว่า “การขุดคุ้ยหากิเลสนี้เป็นงานอย่างหนึ่งนะ” เหมือนเราเป็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้ของเรามันหลบ มันฉ้อฉล มันไม่ยอมเผชิญหน้ากับเรา มันไม่ยอมตกลงกันตามกติกาของเรา เราจะต้องตามลูกหนี้เราให้เจอ ถ้าเราไม่ได้ตัวลูกหนี้มา เราจะตกลงกันได้อย่างไร ว่าใครเป็นหนี้ ใครไม่เป็นหนี้ใคร

นี่ก็เหมือนกัน ในเมื่อเราเป็นโสดาปัตติผล แต่ถ้าเรายังหากิเลสไม่เจอ เราหากิเลสของขั้นของสกิทาคามิมรรคไม่เจอ แล้วเราจะไปตกลงกันได้อย่างไร มันต้องทำความสงบของใจ ศีล สมาธิ ปัญญาเหมือนกัน แต่ ! แต่คนละขั้นตอนกัน หยาบ-ละเอียดต่างกัน เพราะเรามีพื้นฐานเห็นไหม ดูสิ คนโดยการศึกษา โดยทางวิชาการ ถ้าเรามีวิชาการของเรา เราแม่นในวิชาการของเรา เราจะเจรจาต่อรองกับใคร เราจะตื่นเต้นไปไหม เพราะเราแม่นยำของเรา

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราไม่มีพื้นฐานทางวิชาการของเรา เราจะไปพูดกับใคร เราจะมั่นใจตัวเราไหม ถ้าจิตมันมีกำลังของมัน มันมีสมาธิของมันเห็นไหม มันจะเข้าไปต่อสู้ เข้าไปค้นคว้า เข้าไปหากิเลสอันละเอียดเข้าไป มันต้องเข้าไปจับตัวเขา นี่กิเลสต้องขุดคุ้ย กิเลสต้องหา อย่างที่เขาบอกว่า น้ำใสต้องเห็นตัวปลา.. น้ำใสต้องเห็นตัวปลา.. นั่งให้สมาธิมันใสๆ ประเดี๋ยวกิเลสมันจะวิ่งมาชน...

“น้ำใสแล้วจะเห็นตัวปลา” ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดไว้จริง ในบาลีมีอยู่ น้ำใสจะเห็นตัวปลา.. เพียงแต่ว่า ถ้าเราทำจิตสงบ จิตของคนนี่นะเวลาสงบแล้ว สงบโดยพื้นฐานก็มี สงบแล้วใสสว่างก็มี สิ่งที่ว่าน้ำใสแล้วจะเห็นตัวปลานี่ ถ้ามันสงบสว่างไสวแล้ว มันจะมีปลา น้ำใสแล้วจะเห็นตัวปลา เพราะคำว่าเห็น ดูจิตสงบโดยเจโตวิมุตติเห็นไหม พอจิตสงบแล้วเห็นกาย เห็นกายเห็นไหม พิจารณากายไปแล้ว ปล่อยวางกายไปแล้ว

แล้วไปพิจารณากายอีกได้อย่างไรล่ะ ก็ในเมื่อกายปล่อยไปแล้ว กายอย่างหยาบๆ เป็นโสดาบัน กายอย่างกลางจะเป็นสกิทาคา ยิ่งกายละเอียดเข้าไปจะเป็นอนาคา ยิ่งกายของจิต มันใสแตกต่างกัน พอพิจารณากายของเรา อุคคหนิมิต วิภาคะ การแยกส่วนขยายส่วน พุพองทำลายมันไปเห็นไหม พอทำลายจนถึงที่สุดแล้ว พอจิตมันเข้าใจตามกระบวนการของมัน กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ มันทิ้งหมดเลย

พอพิจารณาไปจนมันทิ้งแล้ว พิจารณาซ้ำเข้าไป ถ้าจิตมันสงบแล้วจับกายอีก แต่เป็นกายคนละวุฒิภาวะกัน เห็นไหม พิจารณากายทีแรก สักกายทิฏฐิ ความเห็นผิดในเรื่องกายหลุดไป พิจารณากายครั้งต่อไป ถ้าจับได้จนจิตสงบแล้ว ค้นหากลับไปที่กาย เพราะฉะนั้นมันก็รื้อค้นของมัน มันจะคืนสู่สภาวะนะ มันจะคืนสู่สภาวะเดิมของความเป็นน้ำ เป็นดิน เป็นลม เป็นไฟ คืนสู่สถานะของเขา แล้วพิจารณาซ้ำเข้าไปนะ พอจับกายได้ มันถึงเป็นอสุภะนะ อสุภะ อสุภัง มันเป็นการทำลายกามราคะ

แต่ในปัจจุบันนี้ผู้ปฏิบัติ.. ธรรมดาของสัตว์โลกมันก็มีกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ก็บอกว่า พิจารณาให้เป็นอสุภะ... มันยับยั้งชั่งใจได้ แต่มันไม่ชำระกิเลสหรอก มันชำระกิเลสไม่ได้

เวลาเราประพฤติปฏิบัติเห็นไหม เวลาอยู่ในสังคม เราเห็นเพศตรงข้าม เราพยายามรักษาเกียรติของเรา รักษาจิตใจของเราว่าไม่ให้มันไปคิดฟุ้งซ่าน พิจารณาเป็นอสุภะๆ ไอ้นี่มันนกแก้วนกขุนทอง นกแก้วนกขุนทองก็ว่ากันไป

แต่มันมีขั้นตอนของมัน มีกระบวนการของมันนะ กระบวนการของจิต ของการพิจารณากายเป็นขั้นเป็นตอนเข้าไป ถึงบอกว่าอสุภะๆ ถ้าอสุภะมันเป็นความจริง มันจะเป็นอสุภะอยู่ขั้นไหน แต่ถ้ามันเป็นพิจารณากาย สักกายทิฏฐิ มันพิจารณากาย มันเปื่อยมันพัง มันทะลุผุพังของมันไป ไอ้ผุพังอย่างนี้มันยังไม่ใช่อสุภะ ! อสุภะมันละเอียดกว่านี้เยอะ มันทำให้เยิ้มไปในหัวใจเลยนะ จิตใจของเรานี่มันเยิ้มเหมือนกับมันมียางเหนียวพอกมันอยู่เลย แล้วจะไปละมัน เห็นไหม

นี้เวลาเราพิจารณาของเรา แค่จิตมันสงบเข้ามา กระบวนการของจิตที่มันจะรื้อค้นหากิเลส พอมันพิจารณากาย มันจับกายได้มันพิจารณาไป พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซ้ำแล้วซ้ำเล่า มันคืนสู่สภาพของเขานะ มันคืนสู่น้ำ เพราะพิจารณาไปเห็นไหม น้ำในร่างกายเรามันก็จะระเหยไป ธาตุไฟออกมาแล้ว สิ่งที่เป็นดินมันก็จะผุพังไป มันคืนสู่สถานะเดิมของเขา พอแยกบ่อยครั้งๆ เข้า มันแตกออก ! มันแยกกายกับจิตออกจากกันนะ โลกนี้ราบ! ราบ! ราบ! หมดเลย โลกนี้ราบเป็นหน้ากลองเลย “กายเป็นโพธิ จิตเป็นกระจกใส” มันทำอย่างไร

พิจารณาจิตก็เหมือนกัน พิจารณาขันธ์ ๕ มันละเอียดอ่อน พิจารณาซ้ำเข้าไป มันมีกระบวนการของมัน ธรรมะต้องรู้.. รู้การกระทำ ถ้ารู้ธรรมะ รู้การกระทำแล้ว นี่ฟังธรรมๆ ฟังธรรมจากใคร ฟังธรรมจากครูบาอาจารย์ ท่านจะพูดของท่าน ท่านจะพูดถึงประสบการณ์ของท่าน ท่านประพฤติปฏิบัติมาอย่างไร ชำระกิเลสอย่างไร แล้วมันปล่อยวางอย่างไร ไม่ใช่พูดลอยๆ พูดลอยๆ ..ลอยลม พูดว่านี่พุทธพจน์ นี่ธรรมะพระพุทธเจ้าต้องเชื่อ ! ไอ้ประสบการณ์นั้น เอาประสบการณ์ที่มันเป็นจริงขึ้นมา อันนั้นจะรู้จริงได้อย่างไร

นี่ไงมันเป็นสันทิฏฐิโก มันเป็นปัจจัตตังรู้เฉพาะจิตดวงนั้น แล้วจิตดวงนั้นมีประสบการณ์ มีธรรมะรู้จริงอย่างนั้น ทำไมจะอธิบายไม่ได้ เหมือนหมอ ! เป็นหมอจบกระบวนการศึกษามานะ ไม่ใช่หมอพักลักจำนะ ถ้าหมอพักลักจำก็เป็นหมอเหมือนกัน สังคมเขาเสกสรรให้เป็นหมอ แต่ครูพักลักจำมันก็เสี่ยงเอา ครูพักลักจำว่าอย่างนี้ต้องเป็นอย่างนี้ คือเดา คือเดากันไปเห็นไหม

แต่ถ้าเป็นกระบวนการของหมอจริงเห็นไหม นี่ผู้รู้จริง มันก็ใช้กระบวนการตามขั้นตอนของมัน ยาที่ใช้ควรใช้อย่างไร ควรปฏิบัติอย่างไร นี่ก็เหมือนกันเครื่องมือที่เราจะหามาทำไม ศีล สมาธิ ปัญญา เวลาหามา มันศีล สมาธิ ปัญญา คนละศีล สมาธิ ปัญญานะ ศีล สมาธิ ปัญญาของหยาบๆ ก็หยาบๆ แล้วละเอียดเข้าไปล่ะ เพราะมันจะมี “สติ-มหาสติ” ไปข้างหน้า

พิจารณากายเข้าไปจนถึงที่สุดแล้ว กายมันแยกออกจากกัน มันจะว่างมาก เวิ้งว้าง... มีความสุขนะ เวลาทำสมาธิจนชำนาญขึ้นมา ฐานของสมาธิ ออกจากสมาธิไป จิตมันก็ยังแน่น จิตมันก็ยังมีความสุขของมันนะ แต่ถ้าสมาธิเสื่อมไปๆ ฐานมันก็จะคลอนแคลนไปด้วย แต่ถ้าเราทำสมาธิของเราบ่อยครั้งๆ ฐานนี้มันจะแน่น ฐานมันแน่นขึ้นมานี้มันจะมีความสุขของมัน

ทีนี้พอเราพิจารณาไปจนผ่านขั้นตอนเข้าไป พอมันมาถึงว่า.. กายเป็นโพธิ จิตเป็นจิตกระจกใส ...นี่มันมีฐานของอริยภูมิรองรับ มันก็มีความสุข มันมีความว่าง แล้วมันเข้าใจว่านี่คือนิพพานได้นะ นี่ไงเวลาติด มันติดแต่ละขั้นตอน แล้วแต่ว่าคนจะติดตรงไหน ทัศนะคติหรือประเด็นของจิตที่มันฝังใจสิ่งใด นี่ก็เหมือนกัน มันเป็นเวรเป็นกรรมอันหนึ่งนะ ครูบาอาจารย์ของเรา ติดกันคนละแง่ละมุมมาทั้งนั้นน่ะ ติดคนละแง่ละมุมเพราะอะไร

เพราะกิเลสในหัวใจของเรามันมีความเข้าใจว่า นี่คือนิพพาน นิพพานจะมีสภาวะแบบนี้ แล้วถ้าสิ่งใดที่มันเข้าใจ แล้วสภาวะที่ว่าเห็นว่า โอ้.. ว่างๆ ว่างๆ ..นี่คือนิพพานไง นี่ไง แต่คำว่าว่างๆ ว่างๆ ..ใครเป็นเจ้าของ ใครเป็นคนทำ ใครเป็นคนคิด เพราะมันมีเจ้าของ มีคนคิด มันถึงมีคำว่าว่างได้ ถ้ามันติดอย่างนี้แล้วมีครูบาอาจารย์ จะพยายามชักนำให้ออกได้ ถ้าออกขึ้นมาทำความสงบของใจ

สิ่งที่เราทำกันมาตั้งแต่เริ่มต้นเป็นสติปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญาเป็นสติปัญญานะ กระบวนการต่อไป เป็นมหาสติ-มหาปัญญา สิ่งที่จะเป็นมหาสติ มหาปัญญา เพราะจิตมันละเอียดอ่อนเข้าไป กิเลสมันละเอียดมากขึ้น สติปัญญาจับอย่างนี้ไม่ได้หรอก ในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ ในธรรม ในพระไตรปิฎกเห็นไหม ศีล สมาธิ ปัญญาในขั้นของโสดาบัน ๒๕ % สมาธิของขั้นสกิทาคา ๕๐ % สมาธิปัญญาของขั้นพระอนาคา ๗๕ % สมาธิของพระอรหันต์เห็นไหม อรหัตตมรรค อรหัตตผลต้อง ๑๐๐ % นี่ให้เห็นความแตกต่าง

แต่เวลาประพฤติปฏิบัติไปไม่เป็นอย่างนี้ ธรรมะในพระไตรปิฎกพูดไว้อย่างนี้ แต่เวลาประพฤติปฏิบัติไป เวลาประพฤติปฏิบัติ โสดาบันก็ ๑๐๐ % ของขั้นโสดาบัน เหมือนเด็กไง เด็กมีกำลังเท่าไรก็แบกของได้มากเท่านั้น ผู้ใหญ่แบกของก็ได้มากกว่าเด็ก คนที่มีความชำนาญฝึกฝนมากๆ ก็แบกของได้มากกว่าผู้ใหญ่ที่เคยแบกชั่วครั้งชั่วคราว ของที่แบกได้มากขึ้นๆ เพราะอะไร เพราะมีการฝึกฝนขึ้นมา

นี่ก็เหมือนกัน เวลาบอกว่าจิตนั้น ๒๕ % ๗๕ % มัน ๑๐๐ % ในขณะที่ประพฤติปฏิบัติ ๑๐๐% ในการกระทำ ถ้ามันมีส่วนเห็นไหม ดูสิทางวิทยาศาสตร์ ๙๙.๙๙ ค่าของความบริสุทธิ์ ความบริสุทธิ์ไม่มี แต่ในอรหัตตมรรค ในมรรคญาณ มันต้องล้านเปอร์เซ็นต์ มันร้อยไปแล้ว มันต้องเกินร้อยเป็นล้านเปอร์เซ็นต์ คือมันต้องสะอาดบริสุทธิ์ทั้งหมด กระบวนการของมรรคสามัคคี มันรวมตัวเข้ามา

ดูสิโลกนี้เกิดมาอย่างไร โลกนี้มีเพราะมีเรา จักรวาลมีเพราะมีเรา สรรพสิ่งมีเพราะใจรับรู้หมด เห็นไหม จุดศูนย์กลางของโลกก็คือหัวใจ จุดศูนย์กลางของโลกคือแกนของโลก จุดศูนย์กลางของจักรวาลก็คือหัวใจ หัวใจที่เกิดหัวใจที่ตายขึ้นมานี้ เวลาจิตเวลากิเลสมันย้อนกลับเข้ามา มรรคญาณรวมตัวเข้ามา แล้วเข้าไปทำลายที่ภวาสวะ ที่ตัวภพ ที่ตัวจิต ตัวที่รื้อถอนของจิตทั้งหมด เห็นไหมมันสะอาดบริสุทธิ์ทั้งหมด ! มันรื้อถอนจนหมด มันฆ่าของมัน มรรคญาณที่มันสะอาดบริสุทธิ์ นี่คือปรมัตถธรรม ถ้าปรมัตถธรรมมันเข้ามา มันจะชำระของมัน มันสะอาดบริสุทธิ์ของมันได้ !

แต่วิทยาศาสตร์ไม่มี... วิทยาศาสตร์บอกว่า ๙๙.๙๙ ๑๐๐ % ไม่มี สิ่งที่มีค่า ๑๐๐ % มันมีไม่ได้ ในการกระทำของเราขึ้นมา พอจิตมันสงบเข้ามา แล้วเป็นมหาสติ มหาปัญญา มหาสติ มหาปัญญานะ ถ้าไม่มหาสติ มหาปัญญาแล้วมันจะออกรู้อสุภะนี่.. มันเป็นสิ่งที่ละเอียด มันเป็นกามราคะที่มันเยิ้มในหัวใจของเรา ถ้ามันจะเยิ้มในหัวใจของเราเห็นไหม เยิ้มในหัวใจใช่ไหม มันต้องมหาสติ มหาปัญญา

ทำความสงบของใจเข้ามาแล้วออกรื้อค้น ถ้ารื้อค้นแล้วจับได้ ...ได้ตัว ได้ผู้ต้องหา ได้ลูกหนี้ ลูกหนี้กับเจ้าหนี้ เจ้าหนี้คือมรรคญาณ เจ้าหนี้คือสิ่งที่เป็นการกระทำ ศีล สมาธิ ปัญญาขึ้นมา

ลูกหนี้.. มันเป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยากที่มีในหัวใจ ลูกหนี้เป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยากในหัวใจ หัวใจของเรามันเป็นพื้นฐาน มันเป็นภพ มันเป็นสถาน เป็นภวาสวะ เป็นสถานที่ที่ให้กิเลสมันเป็นอนุสัยนอนเนื่องมา พอมันจับลูกหนี้ได้เห็นไหม ถ้าพิจารณากายเป็นอสุภะ

ถ้าพิจารณาจิต พิจารณาจนจิตเห็นอาการของจิต ถ้าพิจารณาจิตมันเป็นกามราคะ กามราคะเพราะจิตมันเป็นกามราคะ ถ้าพิจารณากายเห็นไหม ตัวกายคืออสุภะ อสุภะกับ สุภะ สุภะคือความพอใจของมัน สุภะคือความต้องการ สุภะคือสิ่งที่ใจปรารถนา “อสุภะเป็นธรรม” เป็นธรรมเพราะจิตมันสงบ พอจิตสงบขึ้นมา นี่ไงธรรมะมีอยู่โดยดั้งเดิม

ธรรมะมีอยู่โดยดั้งเดิมคือ โดยการกระทำ โดยมรรคญาณ โดยมหาสติ มหาปัญญาที่มันใคร่ครวญ มันใคร่ครวญเพราะอะไร มันใคร่ครวญเพราะจิตมันสงบเป็นมหาสติ มหาปัญญา มันเป็นหลักเป็นเกณฑ์ เป็นสมาธิ เห็นไหม

พอจิตมันหยุดนิ่ง มันจับอาการที่เคลื่อนไหว อาการความคิด อาการของกามราคะที่มันเคลื่อนไหว ที่มันออกไปรับรู้อสุภะนี้ มันหยุดนิ่งเห็นไหม เพราะจิตมันจับได้ พอจิตมันจับได้ ปัญญามันเกิดขึ้นมา มรรคญาณมันเกิดขึ้นมา มันมีการต่อสู้ มีการทำลายกันเห็นไหม สัจธรรมมันเป็นอย่างนี้

ถ้ามันเป็นธรรม เพราะมีมหาสติ มหาปัญญา ถ้าไม่มีมหาสติ มหาปัญญาเป็นพื้นฐานมันก็เคลื่อนออกไป พอเคลื่อนออกไปมันก็เป็นสุภะ มันก็เป็นธรรมดา เป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ เป็นสัญชาตญาณของจิตที่มันปรารถนาสิ่งที่มันปรารถนา

แต่ธรรมะไง ธรรมะ! ธรรมะ! ธรรมะ! ธรรมะที่เราทำขึ้นมา นี่ธรรมะมีอยู่โดยดั้งเดิม ธรรมะมีอยู่โดยดั้งเดิมเพราะเราขุดคุ้ย ธรรมะมีอยู่โดยดั้งเดิมเพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารื้อค้นขึ้นมา

แต่ธรรมะของเรายังไม่เกิด ! ธรรมะของเราเกิดเพราะว่าเรามีสติปัญญาของเรา เรารื้อค้นของเราขึ้นมา พอธรรมะของเราเกิดขึ้นมาเห็นไหม ธรรมะต้องรู้ !! จิตมันรู้มันเห็นนะ จิตมันเลยบอกว่า โอ้.. กามราคะเป็นอย่างนี้ จิตนี้มันเป็นกามฉันทะ กามฉันทะมันพอใจในตัวของมันเองอย่างนี้ แล้วในกามราคะ กิเลสตัณหาความทะยานอยากที่มันเยิ้มมา มันเป็นอนุสัยที่มากับจิต มันเป็นอย่างนี้ ! มันพิจารณาแล้วมันก็ปล่อย ปล่อยมากเข้าจนความชำนาญมากขึ้นๆ เห็นไหม

เวลาเราชำระกิเลสมาจากโสดาบัน สกิทาคา อนาคา เวลากิเลสขาด มันเห็นสักกายทิฏฐิ สังโยชน์มันขาด เห็นกายกับจิตแยกออกเป็นธรรมชาติของมัน นี่สังโยชน์ กามราคะ ปฏิฆะมันอ่อนไป แต่เวลาพิจารณากามราคะ มันบ่อยครั้งเข้า มันมีความชำนาญของมันเข้า ปัญญามันไม่ได้ออกไปข้างนอกแล้ว ปัญญามันจะย้อนกลับ ย้อนกลับ ย้อนกลับ เข้ามาที่จิต เพราะอะไร เพราะสิ่งที่มันเป็นสุภะ-อสุภะมันออกไปจากจิต ออกไปจากภวาสวะ ออกไปจากภพ ออกไปจากอนุสัยที่มันอยู่ในหัวใจ

ยิ่งวิปัสสนามากเข้าชำนาญเข้า มันจะยิ่งย้อนกลับ มันจะยิ่งสะเทือนกลับ มันจะยิ่งเข้าไปสู่ตัวใจ เข้าไปสู่ตัวใจ เห็นไหม พอทำบ่อยครั้งเข้า มีความชำนาญมากเข้า มันมีเล่ห์กลของมันนะ เล่ห์กลของมัน ดูสิ หลานของกิเลสมันตายไป ลูกของกิเลสมันตายไป อันนี้พ่อของมัน ดูพ่อสิ วัยทำงาน วัยของคนที่กำลังทำงาน วัยของคนที่กำลังบริหารจัดการ วัยของกิเลสที่มันกำลังเข้มแข็ง มันจะมีเล่ห์เหลี่ยมเล่ห์กลของมันขนาดไหน

คำว่าพิจารณาอสุภะ เวลามันเป็นสุภะ สุภะคือกิเลสที่มันหลอกลวงที่ทำให้เราเชื่อมั่นมันไป อสุภะคือสภาวธรรมที่มันมีกำลังของมัน เห็นมันเป็นอสุภะ มันเห็นแล้วมันปล่อยวางของมัน นี่ไง แต่เวลากิเลสมันมีเล่ห์กลของมัน มันก็สร้างภาพ ขาดแล้ว.. ว่างแล้ว.. เป็นจริงแล้ว.. สมบูรณ์แล้ว.. ดีแล้ว.. พอดีแล้วเราก็นอนใจทีหนึ่ง พอทีหนึ่งสมาธิปัญญามันก็อ่อนลง พอเราใช้ปัญญาใคร่ครวญ อ้าว..ถ้ามันดีแล้วถูกแล้ว ทำไมความรู้สึกมันกระทบใจเราล่ะ ทำไมยังมีอารมณ์อย่างนี้อยู่อีกหรือ

พอมันเข้าใจว่านี่คือสิ่งที่มันยังไม่ใช่ ถ้าย้อนกลับเข้ามาต่อสู้มัน ก็ต้องสร้างสติ สร้างปัญญา มหาสติ มหาปัญญามากขึ้นไปอีก แล้วพอย้อนกลับ.. การย้อนกลับ การกระทำเห็นไหม ดูสิเวลากิเลสมันทำฉ้อฉล ทำให้การประพฤติปฏิบัติของเราอ่อนด้อยไป ทำให้ประพฤติปฏิบัติไป พิจารณาไปจนว่างหมดจนไม่มีตัวตน นี่ใช่แล้วอีกล่ะ เห็นไหม

เล่ห์กลของมันนี้มหาศาลเลย เพราะมันเป็นกิเลสตัวพ่อ ไอ้กิเลสตัวลูก ไอ้กิเลสตัวหลานมันตายไปแล้ว ไอ้ตัวพ่อเล่ห์กลมันเยอะมากกว่า การกระทำก็ต้องละเอียดรอบคอบมากกว่า

การต่อสู้นี่ เวลาขั้นปัญญาที่มันหมุนๆๆๆ อย่างนี้เพราะว่ามันทวนกระแสกลับมา อยู่กับใครไม่ได้ นี่พระกรรมฐาน พระผู้ปฏิบัติจะต้องอยู่ในความสงบสงัด ต้องมีโอกาสมีเวลาในการประพฤติปฏิบัติ เวลาของมันในการต่อสู้ ปล่อยก็เข้าที่ ปล่อยก็เผชิญหน้าระหว่างธรรมกับกิเลสต่อสู้กันตลอดเวลา มันจะต่อสู้เพราะมันชำนาญการ พอมันชำนาญของมันแล้ว มันมีการกระทำของมันแล้ว ลัดสั้น มันจะหดสั้น หดสั้นเข้ามาเรื่อย ชำนาญเข้ามาเรื่อย แล้วเวลาเราไม่มีหรอก

เวลาการกระทำเห็นไหม เวลาพูดธรรมะ พูดคำสองคำ เวลาประพฤติปฏิบัติเป็นปีๆ สิบๆ ปีนะ สมาธิกว่าจะทำได้ ปัญญากว่าจะเกิดขึ้นมา กว่าจะถนอมรักษาขึ้นมาจนมันหมุนขึ้นมาได้ แล้วมันจะเวียนเข้าไปในหัวใจของเราได้ มันเข้าไปชำระของมัน มันเข้าไปถอดถอนของมัน มันทำลายของมัน เดี๋ยวจะต้องมีปัญญา มีสติ สติ-มหาสติ ต้องละเอียดอ่อนเข้าไปบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า.. มันจะมีเล่ห์กลขนาดไหน เราก็จะไม่เชื่อมัน เพราะธรรมะต้องรู้! ธรรมะต้องรู้! มันยังไม่รู้จริงเห็นจริงมันจะปล่อยได้อย่างไร

มันกำลังต่อสู้กันอยู่ มันต้องมีความจริงขึ้นมาเห็นไหม มันธรรมะต้องรู้ ! รู้เข้าไป มีความละเอียดอ่อนเข้าไป จนถึงที่สุด ครืน…ในหัวใจนะ มันทำลายกันหมดเลย นี่ไง พระอนาคา ๕ ชั้น ย้อนศรกลับเข้าไป เศษส่วนที่มันเหลือทำลายมัน ทำลายมัน ทำลายมัน พระอนาคา ๕ ชั้นละเอียดเข้าไป ละเอียดเข้าไป ละเอียดเข้าไป จนจิตดวงนั้นผ่องใสเห็นไหม

ดูสิกิเลสตัวพ่อโดนทำลายไป กิเลสมันคือขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ขันธ์คือความคิด นี่สัญญาอันละเอียด มันเรื่องของกามราคะ ปฏิฆะ มันละเอียดของมัน ทำลายแล้วผ่องใส.. ผ่องใส..

จิตผ่องใสคืออวิชชา ! จิตแท้ๆ จิตที่ไม่มีขันธ์ จิตที่ไม่รับรู้สิ่งใด จิตที่มันเป็นตัวของมันเอง “อิสรภาพ” เห็นไหม ตอของจิต มันเป็นตอไปคร่อมอยู่ นี่คือภวาสวะ นี่คือตัวภพ ปฏิสนธิจิต ตัวจิต ตัวนี้ถ้าพระอนาคาไปเกิดเป็นพรหม ตัวนี้อรหัตตมรรคนี่ไง อรหัตตมรรคที่มันเป็น ๑๐๐ % เห็นไหม ๑๐๐ % ของมัน ๑๐๐ % ของมรรคที่จะเข้าไปจับ เพราะสิ่งเป็นที่ปัญญา ๑๐๐ % แต่กลับละเอียดอ่อน

อุทธัจจะ เวลาใช้ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ถ้าขยับเป็นอุทธัจจะ อุทธัจจะ... คือความขยันหมั่นเพียร อุทธัจจะ คือการชำระกิเลส การขยับตัวนี่เป็นการกระเพื่อมหมดเลย แล้วอรหัตตมรรค มรรคที่ละเอียดเห็นไหม นี่กิเลสตัวปู่ ปู่นี้มันมีแต่ปัญญา มีแต่เล่ห์กล เพราะว่ามันสะสมมามากเห็นไหม เวลาที่เราจะเข้าไปสู่เล่ห์กลของเขา เราเข้าไปสู่จักรพรรดิของอวิชชา เราจะเข้าไปด้วยความประมาทเลินเล่อไม่ได้ เราจะต้องเข้าไปด้วยความรอบคอบ

แล้วเราไปเข้าไปแล้ว เราใช้ปัญญาที่ละเอียดอ่อนขึ้นมา มันพลิกนะ พลิกคว่ำฟ้าดินไง เห็นไหม นี่พระอรหันต์ถึงไม่มีจิตไง จิตคือตัวภพ จิตคือตัวภาวาสวะ จิตคือปฏิสนธิจิต แล้วพอทำลาย “จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส” ทำลายมั้บ ! พลิกคว่ำพื้นดินหมดแล้ว !ใครผ่องใส.. อะไรมันผ่องใส.. อะไรมันเศร้าหมอง.. ไม่มี ไม่มี ไม่มีสิ่งใดเลย

นี่ไง ธรรมะต้องรู้ แต่ผู้ที่รู้จริงสิ่งนั้นแล้วรู้ในหัวใจ “ธรรมแท้ๆ” เห็นไหม ธรรมแท้ๆ อยู่ที่ใจ ธรรมะต้องรู้ ธรรมะไม่เลื่อนลอย ธรรมะไม่ใช่ลอยมาจากฟ้า ไม่ใช่นิพพานมันมีอยู่แล้ว เดินจะไปสะดุดมันเลย เดินจะไปชนนิพพานน่ะ ไม่มีหรอก ไม่มี

เพราะในลัทธิในพระพุทธศาสนาสมัยพุทธกาล มีลัทธิหนึ่งบอกว่า อยู่สุขสบายไปตลอดไปเรื่อย ๕๐๐ ชาติจะสิ้นกิเลส พระพุทธเจ้าบอกไม่ใช่ ไม่มี อยู่เสพสุข เกิดมาแล้วเสพสุขอย่างเดียว เสพสุขตลอดไป ๕๐๐ ชาติจบ ..นี่ไง นิพพานมันมีอยู่แล้วใช่ไหม จะเดินไปสะดุดนิพพานใช่ไหม.. ไม่มี

สัจธรรมมีอยู่ สัจธรรมอาศัยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กับพระปัจเจกพระพุทธเจ้าขึ้นมารื้อค้น สาวก สาวกะ พวกเราได้ยินได้ฟังมายังไขว้เขวกันขนาดนี้ ได้ยินได้ฟังมานี้เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรายังทำกันโดยความสุกเอาเผากิน โดยเสียโอกาสการกำเนิดแต่ละภพแต่ละชาติที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนา เราถึงต้องตั้งใจจริงของเรา ทำปฏิบัติจริงของเรา เพื่อประโยชน์กับเรา ให้สมจริงกับเรา ธรรมะต้องรู้ เอวัง