เทศน์เช้า

เดินให้ถูกทาง

๑๙ ธ.ค. ๒๕๔๒

 

เดินให้ถูกทาง
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์เช้า วันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๒
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ในการประพฤติปฏิบัติมันก็แสนยาก เขาปฏิบัติแสนยาก แต่เวลาออกไปแล้ว เห็นไหม เผอิญเขาบอกว่าเขาคุยกันเองไง ไม่ต้อง เราไม่ต้องไปดิ้นไปรน ในเมื่อเราเกิดมาดีแล้วก็สุขไปดีแล้ว แล้วคู่สนทนาเขาบอกอย่างนี้อีกด้วยว่า เขาเองมีความรู้สึกว่าจิตนี่มันเป็นจิตที่ใหม่ ตัวเขาเองนะ จิตที่ใหม่พึ่งเกิดมาชาติสองชาตินี้เอง จิตที่เป็นจิตใหม่ๆ จิตนี้ไม่ยาวไกล

เราบอก “เขาเป็นคนเอาอะไรมาเปรียบเทียบคำว่าจิตใหม่” จิตไม่มีใหม่! จิตนี่มันเกิดมา เกิดตายมานี่ไม่มีต้นไม่มีปลาย จิตอันไหนเป็นใหม่ แต่เพราะว่าคนที่ไม่มีหลักการถึงเชื่อเขา ฟังเขาแล้วก็ทึ่งในความเห็นของเขา เราบอกว่า “ในครั้งพุทธกาลก็มีนะ มีที่ว่าในลัทธิต่างๆ ว่าการอยู่ไป เสวยสุขไปเรื่อยๆ คือว่าให้สุขไปในกามคุณ ๕ นี่แหละ เสวยเต็มชุ่มเลยกามคุณ ๕ ครบ ๕๐๐ ชาติจะสิ้นไป”

นี่มันมีคำสอนมาแล้ว พระพุทธเจ้าไปบอกเลยว่า “ผิดพลาดทั้งหมดเลย” ได้โต้กันแล้วว่าเขานี่ผิดหมด เพราะว่าการคลุกอยู่ในกามนี่มันเป็นกามสุขัลลิกานุโยค มันจะออกได้อย่างไร มันเป็นไปไม่ได้ไง นี่เขาว่าจิตเขาใหม่ๆ

เราบอก “เสวยสุข ผู้ที่ติดในสุข ความคิดอย่างนี้มันมีมาครั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว แล้วพระพุทธเจ้าก็ชี้อยู่แล้วว่าผิด ผิดอีก”

แล้วเขามาบอกว่า “ทำไมต้องไปทุกข์ยากขนาดนั้น ในเมื่อเกิดมา ถ้าพูดถึงทางโลกนี่ประสบความสำเร็จแล้ว ทำงานขนาดนี้ ทำไมต้องไปทุกข์ไปยากไง”

เราบอกว่า “นี่เห็นไหม ความคิดอย่างนี้มันคิดได้ นี่กิเลสพาคิดไง”

ถ้ามีความคิดแบบนี้กันหมดนะ พระพุทธเจ้าเกิดได้อย่างไร? พระพุทธเจ้าเกิดมามีปราสาท ๓ ฤดู พ่อแม่นี่ปรนเปรอความสุขขนาดไหน เห็นไหม ก็อยู่ไปวันๆ หนึ่งมันก็จบสิ้นไปในชีวิตนั้น ทำไมพระพุทธเจ้าขนาดอยู่ในความสุขขนาดนั้น ทำไมมีความคิดแยบคายนะ แค่เห็นยมทูตมาแสดงตน เห็นไหม มีเกิด มีแก่ มีเจ็บ มีตาย มันฉงนให้คิดเลย มันต้องมีฝ่ายตรงข้าม ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย

นั่นน่ะสละ สุขขนาดนั้นนะ ความสุขที่ตัวเองมีอยู่แล้ว ความสุขในกามคุณ ๕ คือว่าในรูป รส กลิ่น เสียงนี่ได้หมดเลย การฟ้อนรำ การขับกล่อมมีพร้อมหมด แต่หัวใจมันทุกข์ เห็นไหม แต่คนที่คิดอย่างนี้เขาคิดเฉพาะว่าในเมื่อความเกิดมานี่ประสบความสำเร็จในชีวิตของโลกแล้ว เราก็จะอยู่เราไปอย่างนี้วันๆ หนึ่ง แล้วพอมันจบสิ้นไปก็ให้มันจบสิ้นไป ทำไมต้องไปดิ้นรน

คำว่าทำไมต้องไปดิ้นรน เพราะคิดว่าความดิ้นรนนั้นเป็นทุกข์ไง ความที่แสวงหานั้นเป็นทุกข์ไง แต่ขณะที่จมอยู่ในกองทุกข์ ไม่รู้ว่าทุกข์ไง เพราะเป็นความพอใจ เพราะที่ว่ามีกามคุณ ๕ พร้อมขนาดไหน มันไม่มีวันอิ่มวันพอหรอก มันขาดมันพร่องไปตลอด

ถ้าความคิดแบบนี้ทุกๆ คน มันจะเจริญได้อย่างไร เหมือนกับทุกคนไม่ขวนขวายเลย นักวิทยาศาสตร์ยังเกิดไม่ได้เลยถ้ามันมีความคิดแบบนี้ นักวิทยาศาสตร์เกิดเพราะไม่ยอมรับสิ่งปัจจุบันนี้ใช่ไหม ต้องมีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา คิดค้นคว้าแต่ของที่เป็นวิทยาศาสตร์ออกมาตลอด แต่นี่ตัวเองเป็นนักวิทยาศาสตร์อยู่แล้ว แต่ทำไมมีความคิดแบบนี้กัน ความคิดว่าคิดทางวิทยาศาสตร์คิดได้ แต่ทำไมต้องไปทรมานตนไง ต้องไปทรมานให้มันทุกข์ให้มันยากขึ้นไป

แต่ไม่ได้คิดมุมกลับว่าความเห็นที่เขาเป็นอยู่ เราบอกว่ามันเป็นหน้ากากนะ หน้ากากหมายถึงว่าสถานะทางสังคมออกมานี่เสมอกัน แต่ในเมื่อทุกคนปฏิบัติธรรม กับไม่ปฏิบัติธรรมต่างกันตรงที่เวลากลับออกไป คนที่ไม่ปฏิบัติธรรม มันจะไม่มีที่ยึดเหนี่ยว คนที่ปฏิบัติธรรมจะมีที่ยึดเหนี่ยวไง มีที่ยึดเหนี่ยวคือว่ามันมีศีลบังคับตัวเองไง ถ้าไปทำอย่างอื่นมีความผิด อันนี้ผิด อันนั้นถูก ควรทำไม่ควรทำ มันมีสิ่งที่ยึดเหนี่ยว

แต่สิ่งที่ยึดเหนี่ยวมันก็ยังว่า ทำไมต้องทำตัวให้ลำบากอีกล่ะ? ทำไมทำตัวสบายๆ ไม่ได้? สบายๆ สบายของใคร? สบายของกิเลสไง

เขาบอกว่ากรรม การกระทำ เห็นไหม กรรม กิเลสนี่มันอยากทำ พอมันเกิดการกระทำขึ้นเป็นกรรม กิเลสก่อน กิเลสความคิด เห็นไหม ถ้าเราไม่ควบคุมด้วยศีล มันก็ต้องไปตามประสามัน การกระทำนั้นเกิดเป็นการกระทำ เกิดเป็นวิบาก เกิดเป็นผลไง วิบากคือผล เกิดเป็นผลขึ้นมาแล้วก็หมุนเวียนไปๆๆ ฉะนั้นถึงว่าคำว่าหน้ากาก คือสถานะทางสังคมออกมานี่ทุกคนว่าเหมือนกัน ผู้ที่ปฏิบัติธรรมและไม่ปฏิบัติธรรม เขาว่าเสมอกันไง เขาก็มีค่าเท่าเรา เราก็มีค่าเท่าเขา

ไอ้นั่นบอกว่าสถานะทางมนุษย์เหมือนกัน เราเป็นมนุษย์เหมือนกัน หน้าที่การงานเหมือนกัน แต่นี้คือหน้ากาก แต่ความสุขความทุกข์ในใจไม่เหมือนกันเด็ดขาด แล้วไม่เหมือนกัน พอมาปฏิบัติธรรม เมื่อก่อนไม่ปฏิบัติ ของเขาก็ว่าเขาอยู่กันได้ไง ทำไมพอปฏิบัติธรรมแล้วมันถึงว่ามันขัดมันข้อง มันรู้สึกว่ามันโมโหโกรธาเร็ว?

บอกปกติเลย เห็นไหม เราธรรมดานี่ เราไม่มีสิ่งที่แรงต้านลมเลย ลมพัดมานี่ไม่มีสิ่งที่วัดค่าของลม ลมมันพัดไปธรรมดา แต่ถ้ามีสิ่งที่วัดค่าของลมสิ อย่างเช่น พวกนักบิน เห็นไหม เขาจะมีถุงลม มันจะสะบัดมากเลย สะบัดมากนี่มันแรงต้านของลม เห็นไหม มันเข้าไปในถุงมันจะสะบัด นี่แรงต้านของลมจะเกิดแล้ว

นักปฏิบัติก็เหมือนกัน แต่ก่อนนั้นเราไม่ทำอะไรเลย ก็เหมือนกับมันพัดมา เหมือนกัน แต่เราไม่เคยรู้ค่าของมันไง เราไม่รู้ค่าแรงลม ไม่รู้ค่าทุกสิ่งทุกอย่างเลย แต่พอเราเริ่มปฏิบัติขึ้นมา เราเริ่มต้าน เริ่มจับเริ่มต้อง นี่ความฉุนเฉียว มีนะนักปฏิบัติ ไอ้ความฉุนเฉียวใหม่ๆ นี่จะฉุนเฉียว มันขัดใจตัวเองไง ทำไมเป็นอย่างนั้น ทำไมเป็นอย่างนี้

นี่มันเริ่มมีแรงต้าน มันมีแรงจับต้อง จับวัดค่าได้อะไรได้ วัดค่าหัวใจของเรานั่นล่ะ วัดค่าได้อะไรได้ เริ่มต้นมันต้องเป็นอย่างนั้น แล้วจะให้ทันได้อย่างไร เราทันยังไม่ได้ ทันไง ตามรู้ตามเห็นใช่ไหม เขาว่าจะปฏิบัติธรรมแล้วจะให้ชำระสิ่งนี้ไปเลย ชำระไอ้สิ่งที่ว่ามันหงุดหงิด มันขัดข้อง

บอกว่า “ชำระไม่ได้” เริ่มต้นจับได้ก่อน แล้วเห็นคุณเห็นโทษของมัน แล้วต้องทำใจให้สงบเข้าไปไง ให้ไปรู้คุณค่าของความเป็นจริงว่าลมมันต้องพัดมาอย่างนั้น เห็นไหม ให้มันปล่อยวางตรงที่ปัญญาไง ปัญญาเห็นว่าสัจจะอันนี้เป็นความจริงใช่ไหม พอเห็นอันนี้เป็นความจริง มันก็ไม่ไปให้ค่า พอไม่ไปให้ค่า มันก็ไม่มีอุปาทาน ไม่ไปยึดไม่ไปเหนี่ยว

แต่นี้มันไม่ได้ให้ค่าตรงไม่มีปัญญาตรงนี้นี่ เห็นแต่ว่าแรงลมแรง พัดสะบัดแรง พอลมแรงนี่มันหงุดหงิดตรงนั้นไง ทำไมเป็นอย่างนั้น ทำไมปฏิบัติธรรมแล้วทำไมไม่ให้ลมพัดผ่านไปโดยที่ไม่มีอะไรเลย?

สัจจะมันมีอยู่ ทุกข์ อริยสัจ เห็นไหม ถึงบอกว่าอริยสัจมันเป็นแบบนี้ไง สิ่งที่ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค แล้วเราเข้าไปวิเคราะห์วิจัยในอริยสัจ แล้วปล่อยวางอริยสัจไว้ตามความเป็นจริง เห็นไหม หลุดออกมาจากอริยสัจ แล้วพ้นออกมาจากอริยสัจ พ้นจากการให้ค่าทั้งหมด แต่สิ่งนั้นมีอยู่ไง สิ่งนั้นเป็นอยู่

สิ่งนั้นคือสิ่งที่มันแปรสภาพนะ อริยสัจนี้แปรสภาพนะ ทุกข์นี้แปรสภาพ แต่ความที่มันรู้จริงอันนี้ไม่แปรสภาพ มันรู้สิ่งที่แปรสภาพคือไตรลักษณ์ไง คืออนัตตาที่ปล่อย ปล่อยอัตตาและอนัตตาไป อันนั้นเป็นความจริงอันหนึ่ง แต่ความจริงระยะผ่านไง ความจริงรู้ ความจริงด้วยปัญญา แต่ปล่อยออกไปเท่านั้น อันนี้ใครเป็นคนคิดค้นขึ้นมาก่อน?

ถ้ามีการปล่อยลอยตามสบาย พระพุทธเจ้าไม่เกิด ถ้าความคิดของเขาคิดกันว่าทำไมต้องไปทุกข์ไปยากอยู่ ศาสนามันเกิดมาไม่ได้ เราไม่มีศาสนาเป็นที่พึ่งเลย เพราะมีคนคิดอย่างนั้นไง คนคิดแหกคอกไง แหกจากกติกาของประเพณีวัฒนธรรมเดิมไง แล้วพยายามหลุดออกไป ค้นคว้าออกไป แต่พอค้นไปเข้าไปเท่าไหร่ๆ มันเป็นความจริง อันนี้เป็นชาติปัจจุบันนะ อันนี้เป็นชาติที่คิดขึ้นมา

แต่คนจะมีความคิดอย่างนี้ ดูอย่างทำไมความคิดของคนไม่เหมือนกัน ทำไมเราคิดแหกออกจากสังคม ออกจากสิ่งที่ว่าเป็นอยู่โดยปกติเพราะอะไร มันต้องมีข้างหลังไง ถ้าพูดอย่างนี้ปั๊บจะย้อนพระพุทธเจ้า จะแย้งไง จะแย้งว่าพระพุทธเจ้าสร้างพุทธภูมิ เป็นพุทธภูมิมาก่อน เป็นพระโพธิสัตว์มา สร้างบุญกุศลมาถึงได้ทำได้ พวกเราไม่ได้สร้างมา เราไปทำได้อย่างไร จะไปอ้างแต่ว่าชาติปัจจุบันของพระพุทธเจ้าไง ว่ามีความคิดเห็นที่ว่าไม่เหมือนโลกเขา

เพราะท่านสร้างสมบุญบารมีมา ท่านถึงมีความคิดเห็นอย่างนั้น จากพื้นฐานเดิมมาแต่อดีตชาติมาก่อน นี่ถึงว่านรก-สวรรค์มี ภพชาติมี มีแล้วขึ้นมา สร้างสมขึ้นมาจนถึงที่สุด พอดีสังคมเขาอยู่อย่างนั้น ตัวเองไม่ได้คิดเหมือนเขา

นี่ไงบุญวาสนา ความคิดต่างจากเขาไป แล้วนี่เราก็มีความคิดต่างจากเขา แต่เวลามันไปวิสัชนากันแล้ว คุยกันแล้ว ทำไมเขาแย้งอย่างนั้นขึ้นมา มีความเห็นว่าอื้อ แต่ไอ้จะไปเหมือนเขาคงไม่เหมือน แต่มันแก้ตัวเองไม่ได้ไง มันแก้ความคิดของตัวเองไม่ได้ว่าอื้อ เอ้อ...น่าจะจริง เห็นไหม ทั้งๆ ที่วุฒิภาวะของใจเราสูงกว่าเขา

เพราะเราหาทางออกจากคอก คอกของกิเลส แต่ทำไมเวลาเขาพูดอย่างนั้นมาเชื่อเขา เห็นไหม ถ้าเชื่อเขาปั๊บก็ย้อนกลับมาพระพุทธเจ้าเลย ถ้าอย่างนั้นพระพุทธเจ้าเกิดไม่ได้ นักวิทยาศาสตร์เกิดไม่ได้ สิ่งที่ทำเกิดไม่ได้ แต่มันลองผิดลองถูกนี้ มันตรงนี้ย้อนกลับมาที่ว่าทุกข์นี่ไง ทำไมต้องไปทำตนให้ทุกข์

ตัวนี้คือเหตุ ถ้าไม่มีเหตุ ไม่มีการดัดตน ไม่มีการดัดใจขึ้นมา มันก็จะไม่รู้สิ่งที่ว่าเกิดขึ้นมา ส่วนที่จับคุณค่าของใจของตัวเองได้ ไอ้ตัวที่มันจะจับคุณค่าของใจของตัวเองนี้ได้ มันต้องมีเหตุ เหตุที่ว่าเราสร้างขึ้นมา การสร้างขึ้นมาไปจับตัวตนได้ จับตัวตนคือจับสิ่งที่ว่ามันไปขัดข้องได้ พอขัดข้องได้นี่จับตนได้ จับตนได้แล้วถึงได้วิปัสสนาไง ต้องวิปัสสนา

ค่าอันนั้นมันจะทำให้เราหงุดหงิดอีกต่างหากเลยนะ ทำไมเมื่อก่อนไม่เป็นอย่างนี้ นึกว่าปฏิบัติธรรมแล้วจะมีแต่ความสุขไปๆ นะ ก็เรียนจบยังไม่ทำงานจะให้มีเงินมีทองได้อย่างไร มันต้องทำงานไปก่อน เรียนมานี่ก็บอกว่าพ่อแม่ส่งเสียมา

นี่ก็เหมือนกัน เกิดมานี่เราตั้งใจขึ้นมา เราเชื่อพระพุทธเจ้ามา พอเชื่อพระพุทธเจ้ามาแล้ว เราจะปฏิบัติอย่างไรเข้าไปไง จะปฏิบัติอย่างไรให้เข้าถึงๆ อันนั้นเป็นสัจจะ เป็นปัญญาของคนเรา เป็นความคิดของเราขึ้นมาๆ เป็นชั้นๆ ขึ้นไป ความคิดของเราต่างหาก นี้ความคิดของเราขึ้นมา เราก็สร้างของเราขึ้นมาแล้ว สร้างของเราขึ้นไปเรื่อยๆ สิ สิ่งที่มันไปติดข้องอันนั้นมันจะเป็นอะไรไปล่ะ แก้ได้

อันนี้เขายังแก้ไม่ได้เพราะว่าเขาไม่มีหลักตรงนี้ เพราะว่าเขาไม่มีหลัก เขาเริ่มต้นใหม่ใช่ไหม แล้วพอมันกระทบขึ้นมา ความกระทบอันนั้นมันมีความทุกข์ซ้อนขึ้นมาไง ความทุกข์ซ้อนขึ้นมา ฟังสิ ทุกข์ที่ว่าเราทุกข์อยู่เดิมอยู่แล้ว เขาทุกข์แล้วเขาก็ปล่อยวาง มันก็จมอยู่ในกองทุกข์นั้น เราทุกข์อยู่ แต่เราจะออกจากทุกข์ มันต้องสิ่งที่สร้างขึ้นมาอีก พอสร้างขึ้นมาอีกนี่คือความเพียรไง สร้างขึ้นมาความเพียร ออกมาจากโลกเขา

งานประกอบอาชีพเราก็ต้องทำเหมือนเขา แล้วเรายังต้องมาทำงานสิ่งที่ ๒ คือทำงานพยายามยับยั้งใจตัวเองขึ้นมาอีก เหมือนกับว่าเรามีความทุกข์มากกว่าเขา แล้วพอมีความทุกข์มาก ถ้าพยายามปฏิบัติไม่ได้ก็ไม่มีสิ่งที่โต้แย้งอันนี้ พอปฏิบัติขึ้นมาได้ขึ้นมา ทำไมมันเป็นอย่างนี้อีก? ทำไมเป็นอย่างนี้อีก? ต้องลึกเข้าไปๆ พึ่งเริ่มจับ

จะพูดมุมกลับนะ นี่คือโทษของกิเลส นี่คือความเห็นของสิ่งต่อต้านไง สิ่งต่อต้านตั้งแต่ความคิดเดิม ความคิดว่าจะออกนี่มันก็ไม่ให้ออกแล้ว ทำไมต้องไป ทำไมต้องไปทุกข์ร้อน ทำไมต้องไปปฏิบัติอย่างเขา นั่นเรื่องของสิ่งสกปรก บางคนขนาดที่ว่านะ ว่าทำไปเถิด ศีลไม่มี อะไรไม่มีนี่ ไอ้นั่นมันความคิดของเขา คือว่ามันไม่มีผล นรกไม่มี สวรรค์ไม่มี บอกว่าปากสกปรก เราต้องเชื่อปากของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้านี่ปากสะอาด เป็นพระอรหันต์ เป็นองค์ศาสดาสอนมา วางหลักการมา แล้วเราก็เชื่อพระพุทธเจ้ามา

นี้พอปฏิบัติก็เหมือนกัน พอปฏิบัติขึ้นมา ว่าทำแล้วนี่มันจะต้องเป็นอย่างนั้น มันต้องให้ผลเลยๆๆ มันยังไม่ถึงตรงนั้น พอไม่ถึงตรงนั้นปั๊บ ความต่อต้านนี่กิเลสซ้ำสองไง กิเลสความเห็นของเรามันเกิดขึ้นมาอีกชั้นหนึ่งไง ว่าความลำบากอย่างนี้มันไม่ควรจะเกิด อันนี้ก็เป็นวิบาก วิบากคือเป็นผล ผลคือว่ามันเป็นสิ่งที่ว่าเราคิดว่าทุกข์ แต่เราจับตัวเหตุของทุกข์ไม่ได้ เห็นไหม ถึงว่าไม่เห็นทุกข์ไง

ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ทุกข์ดับ มันดับได้อย่างไร ดับเพราะเหตุสิ่งที่ให้ดับทุกข์ นี่คือมรรค เห็นไหม มันต้องจับตัวนี้ได้ไง จับทุกข์ได้คือจับตัวตนได้ แล้วจับตัวตนได้ นั่นน่ะเริ่มจะจับทุกข์ได้ จับทุกข์ได้เพราะมันเกิดตรงนั้นไง เหตุมันเกิดตรงนั้น มันดับตรงนั้น นี่การก้าวเข้ามามันต้องก้าวเข้ามาอีกชั้นหนึ่งๆ

นี้พอจับได้แล้ว นึกว่าจับได้แล้วมันจะมีแต่ความสุข อันนั้นกิเลส กิเลสหมายถึงความหวัง ความคาด ความคาดความหวังต้องการให้สมหวังของเรา เห็นไหม นั่นคือตัณหาซ้อนตัณหา เรามีจิตใต้สำนึกอยากหาความสุขโดยธรรมชาติอยู่แล้ว เรานี่มีจิตใต้สำนึกอยากจะมีความสุข หาความสุข แต่สุขนั้นเป็นเหยื่อ เห็นไหม เบ็ดในเหยื่อ พออยากได้ความสุขคืออยากได้เหยื่ออันนั้น แล้วพอเข้าไปงับเหยื่อนั้น ไปเจอเบ็ดอันนั้นก็ดิ้นรน นั่นสุขของโลกเขา

สุขของโลกเขายิ่งดิ้นยิ่งเจ็บ ยิ่งดิ้นยิ่งเจ็บ อันนี้พอบอกว่าไม่กินเหยื่อ พอไม่กินเหยื่อมันก็ต้องหิวโหยใช่ไหม มันอยาก ความอยากความอะไรนี่มันก็ดันแล้ว เปลี่ยนแปลงให้เรามีความทุกข์ซ้อนขึ้นมา เพราะเราคัดออกนี่ เราต้องคัดออก เราไม่กินเหยื่ออันนั้น เพราะเหยื่อนั้นจะทำให้เป็นความทุกข์

นี่เขาถึงบอกว่าเราผู้ปฏิบัติถึงมีความทุกข์ไง เราไม่กินเหยื่อ รูป รส กลิ่น เสียง เห็นไหม รูป รส กลิ่น เสียงทำให้ฟุ้งซ่าน เหยื่อนั้นก็ไม่กิน ไม่กินเหยื่อด้วย ไม่โดนเบ็ดเกี่ยวปากด้วย เหยื่อไม่กินแล้วมันก็ทำให้เราไม่ต้องไปวุ่นวายกับเขา ทีนี้ไม่กินมันอยู่ไม่ได้ พอไม่กินขึ้นมาต้องบังคับใจ พอบังคับใจก็อยู่ที่ความเพียรไง นี่เริ่มทำสมาธิหยุดยั้งมันให้มันอิ่มใน...

พอมันสงบเข้าไป ขนาดที่ว่าเขาว่าทำแล้วมันมีความทุกข์นี่นะ แต่พอจิตเราสงบขึ้นมา น้ำตาร่วงเชียวนะ น้ำตาร่วง แต่ความสุขอันนั้นมันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป มันไม่ทรงไว้ แต่ความทุกข์นี่มันเกิดโดยธรรมชาติของมัน

“สุข” พอหมดจากสุขไปก็เป็นทุกข์ พอเป็นทุกข์ขึ้นมา ทุกข์เดิมมันมีอยู่แล้ว แล้วพอความเพียรขึ้นมาก็เป็นทุกข์ซ้อนเข้าไป มันถึงได้หมดกำลังใจไง พอหมดกำลังใจ พอพูดมันก็เอะใจ พอเอะใจก็จะเชื่อเข้าไป พอเชื่อเข้าไปก็จะหลุดไป หลุดตามเขาไป หลุดตามเขาไป

สมบัติของพระพุทธเจ้าที่พยายามออกไปจากคอกนี่นะเป็นสมบัติของพระพุทธเจ้า ครูบาอาจารย์ที่พยายามออกจากคอกของกิเลสไปก็เป็นสมบัติของครูบาอาจารย์ เราถ้าเราเชื่อแล้วเราตั้งใจตาม ทำตามจริง เราก็จะหลุดออกจากคอกของเรา ฉะนั้นมันถึงต้องเป็นสมบัติ ถึงเป็นปัจจัตตังไง อกาลิโกในหัวใจ ปัจจัตตังนี้ก็ต้องเป็นหัวใจ คนๆ นั้นต้องทำเอง

พอคนๆ นั้นทำเอง มันก็จะเห็นเอง พอเห็นเองมันก็ชำระเอง พอชำระเองมันก็หลุดไปเอง นี่มันเป็นสิ่งนั้น มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วดับอยู่กลางหัวใจของคนๆ นั้น คนๆ นั้นถึงต้องปฏิบัติของคนๆ นั้นเอง แต่เชื่อธรรมของพระพุทธเจ้าเข้าไป

ถึงว่าต้องเชื่อเรา มั่นใจตรงนี้ไง ต้องมั่นใจ มั่นใจว่านรก สวรรค์ มรรคผลนิพพานมีอยู่ทั้งนั้น แล้วเราทำไปๆ มันจะประจักษ์พยานกับเรา เกิดขึ้นมาจากใจ ประสบเองนะ มันจะเข้าใจเรื่องที่ว่ากล้วยกับหน่อกล้วย ว่าจิตนี้มันเป็นอย่างไร กล้วยกับหน่อกล้วยนี้มันคนละส่วนกัน มันเกิดสืบต่อนะ มันเป็นสิ่งมีชีวิตที่สืบต่อไป แต่มันไม่มี... (เทปสิ้นสุดเพียงเท่านี้)