อายตนะมี
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
เวลาพูดธรรมะ มันมีหยาบ มีกลาง มีละเอียด มันหลากหลายมาก ทีนี้ถ้าเราพูดเป็นวิทยาศาสตร์เห็นไหม ที่เราติวิทยาศาสตร์ๆ ก็ตรงนี้ วิทยาศาสตร์มันเป็นแบบว่าของที่พิสูจน์ซึ่งๆ หน้า แล้วหนเดียว แต่ถ้าเป็นธรรมะ มันมีหยาบ มีละเอียด อย่างเช่นความเห็นของเด็ก ความเห็นของวัยรุ่น ความเห็นของผู้มีอายุ มันจะแตกต่างกันมากเลย มุมมองปัญหานี้มันจะแตกต่างกันเพราะประสบการณ์
แล้วเราพูดไปเรื่องที่บอกว่าทุกข์ไม่มี เวลาบอกว่าทุกข์ไม่มี เวลาเราพูดถึงธรรมะ เห็นไหม เวลาพูดถึงที่สุดแห่งทุกข์แล้ว ถึงที่สุดแห่งทุกข์ เห็นไหมทุกข์เรามีเพราะเราไม่ถึงที่สุด ทุกข์มันจะตรอมใจเรา ทุกข์มันจะกัดกร่อนหัวใจตลอดไปเลย ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ถึงที่สุดแล้วทุกข์ไม่มี แล้วทุกข์ไม่มี แล้วลูกศิษย์เขามาพูดให้ฟังบอกว่า ใช่ หลวงพ่อพูดทุกข์ไม่มี ทุกข์ไม่มี เขาก็ใช้เป็นประเด็น
แล้วใช้ปัญญาไล่เข้าไป นี่เป็นปัญญาอบรมสมาธิ พอไล่เข้าไปแล้ว มันไม่มีอะไรเลย แต่มันก็ยังทุกข์อยู่ เพราะจิตใต้สำนึกมันทุกข์ ก็ไล่ไปนะ อะไรเป็นทุกข์ ไล่เข้าไปเรื่อย นี่เป็นทุกข์หรือ นี่เป็นอะไร หาเหตุหาผล มันไม่มีอะไรเลยนะ แต่มันก็ยังขุ่นใจอยู่เพราะมันลึกๆ มันปล่อยวางด้วย สัญญาอารมณ์ไง แต่ตัวจิตมันยังมีอยู่เห็นไหม พอจิตมันยังมีอยู่ก็บอกว่า ใช่หลวงพ่อพูดบอกทุกข์ไม่มีเลย ไล่ไปแล้วมันจบ แต่มันก็ยังทุกข์อยู่
แล้วคำว่าทุกข์ไม่มีเลยคือพระอรหันต์ไง พระอรหันต์ไม่มีทุกข์ ทุกข์ไม่มีเลย ถ้าทุกข์ยังมีอยู่เห็นไหม มันมีทุกข์กาย ทุกข์ใจ ทุกข์กาย คือร่างกายของเราเจ็บไข้ได้ป่วย นี่ทุกข์กาย เรามีบาดแผลมีอะไรต่างๆ ก็จะเจ็บปวดทุกข์กาย ทุกข์ใจวิตกกังวลไง วิตกกังวลน่ะ ความคิดน่ะ ทุกข์ใจ ทุกข์กายทุกข์ใจ นี้พอทุกข์กาย พอมันปล่อยกายแล้วมันก็ไม่ทุกข์กาย เพราะมันปล่อยกาย กายเป็นกาย กายเป็นธาตุ
แต่หัวใจ เห็นไหม ที่หลวงตาบอกว่าว่างนอกข้างในไม่ว่าง ข้างในว่างมันมีความรู้สึก นี่ไงที่ว่ามีภพ มีสถานที่ ตัวนี้เป็นตัวทุกข์ ทุกข์ใจ ทุกข์กายเราปล่อยวาง จิตใจเราไล่จนเหตุผลมันพอ มันก็วางได้ แต่มันก็ยังทุกข์ใจ ว่างนอก แต่ข้างในไม่ว่าง นี้ใจว่างข้างในว่างอย่างไร ตกลงอะไรเป็นทุกข์ ไอ้ที่ว่าทุกข์ใจ ใจมันอยู่ไหน สิ่งที่มันเป็นความทุกข์ จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตได้หมองด้วยอุปกิเลส จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี่เป็นผู้ข้ามพ้นกิเลส ไอ้จิตเดิมแท้ ไอ้พลังงาน นี่ไงเราถึงบอกว่าพระอรหันต์ไม่มีจิตไง
ถ้าคำว่าจิตคือภพ ถ้าพูดได้ มันยังมีสถานที่จะให้มารมันครอบงำได้ เหมือนกับผู้ต้องหา ถ้ามีผู้ต้องหาอยู่ เจ้าหน้าที่ต้องหาคนนั้นเจอ นี่ก็เหมือนกัน ในเมื่อมันยังมีทุกข์อันละเอียดอยู่ มันยังมีทุกข์ใจอยู่ มันต้องเจอ พอต้องเจอเห็นไหม แล้วถ้ามีภพ มีภพมีสถานที่ ของเราลืมไว้ไหนก็แล้วแต่ เราหาไม่เจอหรอก แต่สักวันหนึ่งมันต้องเจอเพราะมันมี จะไปซ่อนที่ไหนก็แล้วแต่ จนไม่หาแล้ว ใครมาหาเจอให้เราก็ได้ เราเจอเองก็ได้
นี่ไงถ้ายังมีใจ มีสถานที่มีภพอยู่ มีหัวใจอยู่ กิเลสมันหัวเราะเลย มารยิ้มเลย แต่ถ้าเวลา เห็นไหม มโนมิงปิ นิพพินทะติ มโนสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ มโนคือตัวใจก็ทิ้ง ความสัมผัสของใจก็ทิ้ง ทิ้งหมดเห็นไหม ทิ้งตั้งแต่พื้นฐานเลย แล้วสิ่งที่กระทบนี่ก็ทิ้งหมดเลย พอทิ้งหมดนี่ไง ถึงว่า ที่หลวงตาบอก ธรรมธาตุๆ นี้เวลาท่านพูดบอกว่าจิตพระอรหันต์ ไอ้คำว่าจิตพระอรหันต์ เราสื่อความหมายกับเด็กๆ เด็กๆ พูดอย่างอื่นไม่เข้าใจใช่ไหม ก็บอกว่าจิตพระอรหันต์ จิตพระอรหันต์
แต่ความจริงจิตพระอรหันต์ไม่มี ไม่มีแล้วเอาอะไรพูด พูดออกมาน่ะ นั้นพูดโดย จะบอกว่าพูดโดยวิมุตติ วิมุตติมันมีอยู่ ของมันอยู่ วิมุตติมันเป็นสมมุติไม่ได้ วิมุตติคือสิ่งที่มันพ้นไป สมมุติบัญญัติ จิตก็สมมุติ ทุกอย่างสมมุติ เราตั้งชื่อขึ้นมา เป็นสมมุติอันหนึ่ง แล้วคำว่าวิมุตติ คือมันพ้นออกไปจากสมมุติแล้ว แล้ววิมุตติออกไปจากสมมุติ แล้วพูดสมมุติทำไม มาพูดเรื่องจิตอีกทำไม เห็นไหม วิมุตติมันพ้นออกไปจากสมมุติบัญญัติทั้งหมดเลย คือพูดไม่ได้
ทีนี้ถ้าพูดไม่ได้แล้วพูดทำไม พูดโดยตัวของมันเอง ถ้าเอาสถานะของมัน มันไม่พูด มันอยู่ของมันโดยอิ่มพอของมัน แต่ที่พูดนี่เพื่อจะสื่อสาร เหมือนพ่อแม่จะบอกลูก จะบอกเด็กว่าอะไรควรไม่ควร สื่อออกมาเพื่อประโยชน์กับผู้ฟัง แต่ถ้าไม่สื่อประโยชน์กับผู้ฟัง เพราะไม่มีความจำเป็นต้องพูดกับใคร ไม่มีความจำเป็นต้องพูดกับใคร ไม่มีความจำเป็นต้องรับความรู้จากใคร ไม่มีจำเป็นต้องรับผิดชอบสิ่งใดทั้งสิ้น มันหมดของมันไปแล้ว มันเป็นวิมุตติของมัน
แต่นี่ที่มันอยู่ก็ สอุปาทิเสสนิพพาน คือว่าสิ่งที่อยู่ก็อยู่เพื่อประโยชน์อันนี้ เพื่อประโยชน์อันนี้ไง ทุกข์ไม่มี แต่พวกเรามี ลืมๆ ก็มี ถึงได้โต้แย้งนะ ไม่อยากพูดเดี๋ยวหาว่าฟื้นฝอยหาตะเข็บ นิพพานมีอยู่แล้วไง นี่ไม่มีหรอก ไม่มี ถ้านิพพานมีอยู่แล้ว เดินไปชนนิพพานเลย นิพพานไปซ่อนไว้ เดินต้องไปชนมัน ต้องไปเจอมัน ไม่มี ต้องพยายามทำขึ้นมา มันถึงจะมี ไม่มีหรอก
แต่ทีนี้ถ้ามันไม่มีแล้ว พอบอกว่าอายตนะ ถ้าอายตนะไม่มี เราต้องพูดได้หลายระดับ ระดับหนึ่งคือระดับเริ่มต้นการศึกษา เห็นไหม ดูเวลาคนมาฟังเทศน์เรา ไปเทศน์ที่อื่นนะ เขาจะบอกว่ารูปคืออะไร เวทนาคืออะไร สัญญาคืออะไร คือเขาจะเอาศัพท์ธรรมะมาอธิบาย แล้วพวกเราเข้าใจศัพท์ก็ อู้หู สุดยอดเลย หลวงพ่อไม่อธิบายศัพท์สักทีนะ เราบอกอธิบายศัพท์มันก็เหมือนเราไปเรียนเห็นไหม เราก็ต้องศึกษาศัพท์มาก่อนว่าศัพท์มันคืออะไร
นี่ไง คำว่าอธิบายศัพท์ อธิบายศัพท์เพื่อความเข้าใจ เพื่อเราจะสื่อความหมายกันถูกต้อง นี่คำว่าอายตนะ เห็นไหม อายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย มันไม่มีได้ไหม มันไม่มีไม่ได้ มันไม่มีไม่ได้ นี่พูดถึงเด็กๆ นะ มันไม่มีไม่ได้เพราะเราเกิดมา เราเป็นมนุษย์ มีตา มีหู มีจมูก มีกาย มีลิ้น มีใจ แล้วไม่มีได้ไหม อายตนะไม่มีได้ไหม ไม่ได้ เพราะมันมี อายตนะมีนะเพราะเป็นคน มีตา มีหู มีจมูก มีลิ้น มีกาย มีใจ เราปฏิเสธว่าไม่มีได้ไหม เราปฏิเสธได้ด้วยการลืม แกล้งว่ามันไม่มี แต่มันมี มันมีของมัน
อายตนะภายนอก อายตนะภายใน อายตนะภายนอกเห็นไหม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตนะภายใน สิ่งที่กระทบวิญญาณ วิญญาณทางหู วิญญาณทางจมูก วิญญาณทางกาย ทางลิ้น ทางใจ นี้วิญญาณ มันมีของมันโดยสถานะไง เวลาเราพูดเห็นไหม บอกจริงตามสมมุติ พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ถูกว่า บัญญัติไว้สุดยอดมากว่าสมมุติบัญญัติ ในเมื่อเรามานะ ทางโลกเขา ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้บัญญัติขึ้นมาว่า สิ่งที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันกระทบกันอย่างไร
ถ้าอย่างนี้ มันบัญญัติศัพท์ไง ศัพท์มันต้องมี เพื่อให้เราสื่อความหมายกันใช่ไหม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเราเอาไว้คุยกัน ไม่งั้นเราจะคุยกันได้อย่างไร สถานะของจิตมันต่างกันอย่างไร อายตนะมันเป็นธรรมชาติที่มันมี แล้วมันทำงานอย่างนี้แบบวิทยาศาสตร์ ตาคือเอาไว้รับรู้ หูเอาไว้ฟัง จมูกมีไว้ดมกลิ่น มันมีธรรมชาติของมัน พอมีธรรมชาติของมันปั๊บ เราไปหลงมันน่ะ กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น เสียงดี เสียงไม่ดี เราไปแยกแยะเอง ของมันมีของมันอยู่ แล้วเราหลงเอง
หลงตัวเองก่อน อวิชชาทำจิตเราให้หลง ชอบสิ่งที่ดี ไม่ชอบสิ่งที่เลว แล้วสิ่งที่ดีสิ่งที่เลวมันเกิดจากอะไร กลิ่นเหม็น มันเป็นกลิ่นมาใช่ไหม เราไปควบคุมมันได้ไหม กลิ่นหอมก็เป็นกลิ่นที่ลอยมาใช่ไหม เราไปดมมันเองใช่ไหม เราไปควบคุมกลิ่นข้างนอกไม่ได้ เราไปควบคุมกลิ่นที่เข้ามาหาเราไม่ได้ เพราะมันเป็นธรรมชาติที่มันเกิดกลิ่นอย่างนั้นเอง เพราะในเมื่อของเหม็นมันก็ให้กลิ่นเป็นความเหม็น ของหอมมันก็ให้กลิ่นหอม นี้พอมันกลิ่นหอม
ใจล่ะ ถ้าใจ บอกอายตนะไม่มี อายตนะไม่มี ถ้าจิตมันสงบขึ้นมา เวลาที่ว่าพุทโธๆๆๆๆ จนจิตเป็นอัปปนาสมาธินะเห็นไหม จิตเป็นอัปปนา สักแต่ว่ารู้ มันตัดอายตนะละเห็นไหม มันตัดอายตนะละ เพราะว่าถ้าอายตนะ มันเหมือนไฟฟ้า ไฟฟ้าที่มันมามันจะมาตลอดเวลา เราดับปิดสวิตซ์ เราตัดคัทเอาท์ไฟมันก็มาไม่ได้ เราดับจิต เห็นไหม เราควบคุมจิต จิตเป็นสมาธิ จิตออกไปรับรู้ไม่ได้ แล้วจิตออกไปรู้ไม่ได้ มันมีของมันอยู่ไหม มี นี่ไงถึงบอกว่ามีแบบเก้อๆ เขินๆ มีตามธรรมชาติของมันไง แต่เราไม่รับรู้มันไง เราไม่ออกไปรับรู้เขาไง
อันนี้ที่บอกว่าพุทโธๆๆ จนจิตเป็นอัปปนาสมาธิ จิตนี้รวมหมดเลย สักแต่ว่ารู้เลยนะ ถึงบอกว่าทำสมถะ กายกับจิตแยกออกจากกันได้ นี้พอแยกออกจากกันปั๊บ เอ้า ถ้าแยกออกจากกันก็เป็นโสดาบันสิ เพราะกายมันละจิตแล้ว ไม่ใช่ มันแยกมันปล่อยวางในสถานะของสมถะไง จิตสงบแล้วมันปล่อย มันหดตัวเข้ามาเป็นเอกเทศไง ถ้าจิตไม่หดตัวเข้ามาเป็นเอกเทศ จิตเป็นสมาธิได้อย่างไร จิตนี่ไม่เป็นสมาธิเพราะอะไร
นี่ไงเวลาเราคิดฟุ้งซ่าน ฟุ้งซ่านเพราะอะไร ฟุ้งซ่านเพราะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ขันธ์ ๕ ไง ขันธ์ ๕ มันทำงาน พอขันธ์ ๕ ทำงาน มันทำงานเองได้ไหม ไม่ได้หรอก ขันธ์ ๕ ทำงานบนอะไร ขันธ์ ๕ มันต้องมีที่ตั้งไง มีที่ตั้งคือตัวภพ คือตัวใจ พอขันธ์ ๕ มันหมุนใช่ไหม ขันธ์ ๕ หมุน เหมือนกับเพลา พอมู่เล่ย์มันหมุน มันก็หมุนเพลาไปด้วยใช่ไหม พอความคิดมันหมุนไปน่ะ มันก็กลับมาหมุนจิตด้วยใช่ไหม เพราะพลังงานมันอยู่ที่จิต มันก็หมุนจิตไปด้วย จิตก็ทุกข์ไง จิตก็เร่าร้อนไง ก็ฟุ้งซ่านไง
แต่พุทโธๆๆ มันก็แบบว่าเพลาเหมือนกัน มู่เล่ย์เหมือนกัน มู่เล่ย์พอมันหมุนไปใช่ไหม เรากำหนดเข้าไป พอมู่เล่ย์มันหมุนไป แต่มันหลวม เพลามันไม่หมุนไปด้วยไง มันแยกกันโดยสมถะ พุทโธๆๆๆๆ ไปเรื่อยๆ พอจิตมันลงขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ อัปปนาสมาธิมันปล่อยหมดเลย สักแต่ว่ารู้เลย ถ้าคนเป็นนะ เหมือนโรงงานนี่ ถ้าเพลากับมู่เล่ย์มันหลวม มันหมุนไปฟรีของมัน มันจะดึงพลังงานไปได้ไหม มันจะให้เพลาหมุนไปได้ไหม มันเป็นไปไม่ได้
นี่ก็เหมือนกัน พอจิตมันพุทโธๆ เป็นอัปปนาสมาธิ เห็นไหม ที่ว่าอัปปนาสมาธิ เขาบอกว่า ที่เขาพูดเห็นไหม บอกพุทโธๆๆ มันจะเป็นสมถะ เป็นฌาน ๒ มันจะตัวแข็ง แล้วพอถ้ามันเป็นฌาน ๔ ล่ะ ฌาน ๔ มันก็ฟรีหมดไง ปัญญาเกิดไม่ได้หรอก พลังงานไม่มี เพราะมู่เล่ย์กับเพลามันหลวม มันหมุนไปโดยเหมือนกับเกียร์ว่าง มันจะไม่มีพลังงาน มันจะเกิดปัญญาไม่ได้ ไม่ได้หรอก แค่พื้นๆ เขาก็พูดถูกพูดผิด เราก็ยังงงอยู่นะ
เรางงมากนะ โอ้ ของแค่นี้ งงหมายถึงว่าของนี้มันเป็นของพื้นฐาน ของพื้นฐานแค่สมถะเท่านั้นเอง ทำไมบอกว่าปัญญาจะไปเกิดที่อัปปนาสมาธิ นี่มันของพื้นฐาน ของพื้นฐานนี้ยังพูดผิด แสดงว่าพื้นฐานยังทำไม่เป็น ถ้าพื้นฐานทำเป็นนะ จะพูดพื้นฐานผิดไม่ได้หรอก ถ้าพื้นฐานไม่เป็น แสดงว่าทำไม่เป็น พูดผิดๆ ถูกๆ ผิดไปหมดเลย แล้วมุมกลับนะ เขาบอกว่าพระสงบ ไม่รู้บาลี พูดผิดๆ ถูกๆ เขาแม่นบาลีกันนะ พูดแล้วชัดเจนนะ แต่พระสงบ ได้ข่าวว่าพระสงบนี่ไม่แม่นบาลีนะ พูดผิดๆ ถูกๆ แต่มันแม่นปฏิบัตินะเว้ย
ลงฌาน ๔ ไม่ได้หรอก ปัญญาเกิดจากฌาน ๔ ไม่ได้ ไม่มี อย่างไรก็ไม่มี แต่เขาพูดย้ำแล้วย้ำเล่าเพราะเขาไม่เป็นไง เขาไปเป็นแต่บาลีไง อันนี้บอกว่าอายตนะไม่มี คำว่ามีหรือไม่มีนี่มันมีของมัน แต่จริงตามสมมุติ ตรงนี้สำคัญ เวลาบอกว่าสิ่งที่เป็นสมมุติ สมมุติบัญญัติมันเป็นของชั่วคราว แล้วเราหลงสมมุติ เราจะทิ้งสมมุติ ทุกคนบอกว่าสมมุติไม่มี ไม่มีก็เข้าตรงนี้ไง ที่บอกสมมุติไม่มี ไม่มี ก็คือเราทำสมถะ คือเราหลบเข้ามาเอง นักหลบ หลบหนีจากสมมุติบัญญัติ ไม่ได้เข้าไปเผชิญกับสมมุติบัญญัติแล้วต่อสู้แล้วทำลายมัน
ถ้าเข้าไปต่อสู้แล้วทำลายมัน นั่นอีกกรณีหนึ่งแล้วเห็นไหม แล้วที่ว่าอายตนะไม่มี อายตนะไม่มี อายตนะมันมีของมัน มันมีของมันนะ เพราะเขาไม่รู้ตรงนี้ ไม่รู้ตรงนี้ถึงบอกว่า เวลาเป็นพระโสดาบันเห็นไหม เป็นพระโสดาบันน่ะ สักกายทิฏฐิความเห็นผิด ความเห็นผิดคือสังโยชน์ ตัวสังโยชน์ มันจะมาร้อยรัดระหว่างนี้ ระหว่างจิตกับกิเลส ให้มันเหมือนกับมันเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วมันหมุนไป มันกว้านกันไป
แต่พอเราพิจารณาจนมันจริงเห็นไหม หลวงตาจะบอกว่า จิตจริง ความเห็นจริง เวลาวิปัสสนาไปมันจะเป็นความจริง สักกายทิฏฐิ กายไม่ใช่เรา เราไม่ใช่กาย มันเป็นความจริงนะ กายไม่ใช่เรา เราไม่ใช่กาย กายไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่กาย แล้วอายตนะมันอยู่ที่ไหน ตา หู จมูก ลิ้น มันอยู่ที่ไหน มันอยู่ที่กายหรือมันอยู่ที่ใจ ตามันเป็นกายหรือเป็นใจ หูมันเป็นกายหรือเป็นใจ จมูกมันเป็นกายหรือเป็นใจ แล้วเรามีความเห็นผิดในสักกายทิฏฐิเห็นไหม
สังโยชน์ไง สังโยชน์คือน็อต น็อตที่มันยึดไว้ สกรูที่มันยึดไว้ ให้มันเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วเราวิปัสสนาไปพอจิตมันสงบแล้ว มีกำลังแล้วก็ออกมา ออกมาพิจารณากาย ออกมาพิจารณาต่างๆ พิจารณากายเห็นไหม บางคนพิจารณากาย กระดูก ขน ผม เล็บ ฟัน หนัง นี่มันก็เป็นอายตนะเหมือนกัน พิจารณาอายตนะถึงที่สุดแล้ว แล้วถ้ามันเห็นจริง มันจะปล่อยเฉยๆ ขณะปล่อยเฉยๆ ก็รู้ว่าปล่อยเฉยๆ นะ เวลาสมุจเฉทปหาน มันก็รู้ว่าสมุจเฉทปหานนะ
ถ้าสมุจเฉทปหานนี่มันขาด กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ พอมันขาด สังโยชน์มันขาด ทิฏฐิ สักกายทิฏฐิเห็นไหม ความเห็นผิดเห็นไหม ความเห็นผิด สังโยชน์ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ไอ้ที่มันรัดไว้ รัดไว้ระหว่างทิฏฐิคือความเห็นกับหัวใจเรา ถ้าทิฏฐินี้มันคลายออก สังโยชน์มันขาดไป น็อตหรือว่าสกรูที่มันยึดสิ่งใดไว้ มันไม่มีอะไรยึดไว้ มันจะอยู่ด้วยกันได้ไหม มันอยู่ด้วยกันไม่ได้
สังโยชน์ที่มันร้อยรัดไว้ มันยึดไว้ระหว่างกิเลสกับจิต มันยึดไว้ แล้วถ้ามันขาด มันไม่มีอะไรยึดไว้นี้ มันขาดโดยความเป็นจริงนะ ถ้าขาดอย่างนี้ พระโสดาบันนะ สังโยชน์มันขาดออกไป แต่สังโยชน์ขาดออกไปแล้ว กายกับจิตมันก็เหมือนเดิมนี่แหละ เห็นไหมหลวงตาจะพูดคำนี้บ่อยเห็นไหมว่ามีเหมือนไม่มี ไม่มีเหมือนมี
นี่ไง เพราะคนถ้าศึกษาแล้วไม่เข้าใจนะ บอกเวลาขาดนี่ขาดสูญ เวลาของขาดไปแล้วนี่ไม่มีเลย ขาดแล้วดับไปเลย ถ้าขาดแล้วดับไปเลย ไม่มีอะไรเลยนะ ทำไมองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเจ้าสุทโธทนะมาก็รู้ว่าเป็นพ่อ นางพิมพามาก็รู้ว่าเป็นอดีตภรรยา สามเณรราหุลนี่เป็นลูก เห็นไหมนางพิมพาให้ราหุลมาขอสมบัติ ไอ้ความจำนี่มันเป็นสัญญาหรือเปล่า ทำไมจำได้ มันจะบอกว่ามันขาดมี ไม่ได้ขาดสูญ ไม่ได้ขาดแล้วจำอะไรไม่ได้ ไม่ได้ขาดไม่มีเลย
แต่พอเราเข้าใจว่าถ้ามันอยู่กับเราก็เป็นทุกข์ ถ้ามันจะเป็นทุกข์ก็ต้องขาดหายไปเลย โลกคิดกันอย่างนั้น คนที่ไปเรียนหรือไปศึกษาจะศึกษาอย่างนี้ แต่ถ้าคนไปเห็นแล้วนะ มันจะบอกว่าเหมือนสายน้ำ เราตัดสายน้ำขาด ตัดสายน้ำขาดเลย สายน้ำก็มาติดกันใหม่ นี่ก็เหมือนกัน กิเลสมันอาศัย สังโยชน์มันอาศัย มันเป็นนามธรรม ในตำราไม่ได้บอกไว้ หลวงตากับหลวงปู่เจี๊ยะพูดบ่อยว่า นอกตำรา คำว่านอกตำราน่ะ นอกตำราด้วยความข้อเท็จจริงที่เป็นจริง
แต่ถ้านอกตำราโดยความทิฏฐิความเห็น นี่ผิดหมด มันเป็นทิฏฐิมานะ คือมันความเห็นของเราอุปโลกน์ขึ้นมากันเอง แต่เวลาคนที่เป็นความจริง เขาไปเห็นจริง แต่พระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติไว้หมดเห็นไหม เหมือนกับหลวงปู่มั่นน่ะ หลวงปู่มั่นกับหลวงตา เวลาหลวงปู่มั่นท่านเทศน์ออกมาเห็นไหม ท่านเทศน์ขึ้นไป ท่านเทศน์ด้วยเหตุหมดเลย เวลาหลวงตาท่านมาเทศน์อีกอย่างหนึ่ง แล้วเวลาเราพูด เราบอกว่า โอ้โฮ ทำไมเปิดหมดเลย เปิดหมดเลยขนาดไหนนะ มันก็ทำไม่ได้หรอก มันก็รู้ไม่ได้ อย่างไรก็รู้ไม่ได้ เพียงแต่ว่ามันมีคนมีเชาวน์ปัญญา ถ้ามันจำไปพูดนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
อายตนะนี่มันมีของมัน มันมีของมันนะ เข้าตรงนี้พอดีเลย ถ้ามันไม่มีของมันนะ หลวงตาจะบอกว่า มันเจ็บจนมันลุกดันเลยล่ะ มันมีไหมล่ะ หลวงตาบอกว่าเจ็บเท้า มันเจ็บเข้ามาถึงนี้เลย เจ็บมี ไม่มี มีไหม มีเหมือนไม่มี ไม่มีเหมือนมี มันไม่มีเพราะจิตเรามันรู้เท่า แล้วมันปล่อยวางได้ตามความเป็นจริง แต่มันมีของมันเพื่อสื่อสารไง เพื่อสื่อสารเพื่อสถานะ สอุปาทิเสสนิพพาน พระอรหันต์ยังมีชีวิตอยู่ เพราะอะไร เพราะเราเกิดมา มีอายตนะมีธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ เพราะเราเกิดมา พอเกิดมา พอชำระกิเลส กิเลสจบละ ทุกอย่างนี้มันปล่อยวาง มันปล่อยวางกันหมดละ มันขาดหมดละ แต่ยังมีชีวิตอยู่ก็ใช้สื่อสารไปเฉยๆ
แต่เวลาตายเห็นไหม เวลาพระอรหันต์ตายกับปุถุชนตายมันต่างกันตรงนี้ไง ถ้าพระอรหันต์ตายนะ เพราะกิเลสมันตายแล้ว สิ่งที่มันรัดไว้ ไอ้พวกอายตนะ ไอ้ความรู้ ความเห็นต่างๆ กับจิต มันขาดตั้งแต่เป็นพระอรหันต์แล้ว แต่ในเมื่อขาด ขาดมีไง ขาดมีเพราะยังมีชีวิตอยู่ไง แต่พอเวลาตายไปแล้วนะ อย่างที่ว่าคนละมิติไง พอมันตายน่ะ เพราะปัจจุบันนี้เห็นไหม มันยังเป็นมนุษย์อยู่
พระอรหันต์ก็คือมนุษย์ สิ่งที่มนุษย์มันได้มาตั้งแต่เกิด เวลามันชำระกิเลส กิเลสขาดไปจากใจแล้วก็ยังเป็นมนุษย์อยู่ สิ่งนี้มันมีอยู่ไง สิ่งที่มันมีอยู่กับจิต จิตนี้มันยังมีอยู่ สิ่งที่มันมีอยู่ มันขาดแต่มันยังมีอยู่ แต่พอเวลาตายไป พอตายปั๊บนะ จิตก็ออกจากร่างไปเลย นี้มันได้สถานะใหม่ มันมิติใหม่แล้ว เพราะถ้าไม่ได้เป็นพระอรหันต์ตาย ถ้าตายโดยปุถุชนตายแล้วต้องไปเกิดเป็นเทวดา อินทร์ พรหม หรือไปนรกอเวจี นั่นจิตตาย จิตมันไปในสถานะมัน
แต่พระอรหันต์นี่ เพราะจิตมันหมดกิเลสตั้งแต่ตอนเป็นพระอรหันต์แล้ว เวลาตายขึ้นมา มันไม่มีอะไรกดถ่วง ไม่มีสถานะที่จะต้องไปอีกแล้ว มันก็เลย มันไม่มีตั้งแต่เป็นพระอรหันต์นั่นแหละ แต่ในเมื่อถ้ามันขาดเลยแล้วไม่มีเลย พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ทำไมว่า สอุปาทิเสสนิพพาน อนุปาทิเสสนิพพาน นี้พระอรหันต์ที่มีชีวิต พระอรหันต์ที่ตายแล้ว เพราะคำว่า สะ คือเศษ เศษที่เหลือทิ้งเห็นไหม
อันนี้บอกว่าเวลากิเลสขาด เวลาเป็นพระอรหันต์เห็นไหม เวลากิเลสขาด ที่ว่าพระพุทธเจ้าบอกว่าเราฉันอาหารของนางสุชาดาถึงซึ่งกิเลสนิพพาน เราฉันอาหารของนายจุนฑะ ถึงซึ่งขันธนิพพาน ขันธ์มันขาดตั้งแต่เป็นพระอรหันต์แล้ว เพียงแต่ว่ามื้อสุดท้าย นี่พูดถึงว่าเป็นบุญในศาสนา
อันนี้คำว่าอายตนะ เราจะพูดอย่างนี้ เวลาพูดบอกถ้าไม่มีเลย มันก็เหมือนขอนไม้ ท่อนไม้ ถ้าบอกว่ามี มีมันก็เหมือนกับว่าสิ่งที่มีกฎตายตัว กฎตายตัวไง คือเราละมันไม่ได้ไง มันมีมาให้เราได้แก้ไข มันมีมาให้เรารับรู้ มันมีมาเพื่อให้เราดีใจ เสียใจ ทุกข์ใจอยู่ก็เพราะมันเนี่ย มันเป็นวิทยาศาสตร์ มันเป็นสิ่งที่ว่าเป็นสัญชาตญาณ เป็นสถานะ เราใช้คำว่าสถานะ มันต้องมี มันต้องมี
แต่เพราะถ้าไม่มีธรรมะ เราก็หลงใหลไปตามมัน ทั้งๆ ที่มีธรรมะ เราก็เอามันมาศึกษาธรรมะ เราว่ารู้ ว่ารู้กันอยู่นี่ รู้โดยยึด รู้โดยที่ว่าไม่ได้แยกแยะไง แต่เวลาเราศึกษาธรรมะเห็นไหม คนที่วุฒิภาวะสูงขึ้นมาเห็นไหม อย่างพระโสดาบัน พระสกิทาคา พระอนาคา พระอรหันต์ เห็นไหม เรื่องอายตนะ เรื่องความรับรู้ มันหยาบละเอียดต่างกัน พระโสดาบันรู้ได้ ๒๕% พระสกิทาคา ๕๐% พระอนาคา ได้ ๗๕% พระอรหันต์ ๑๐๐% คำว่า ๒๕ ๕๐ ๗๕ มันความปล่อย ความปล่อยความยึดมากน้อยแค่ไหน
ถ้ามันยังเป็นปุถุชน เราศึกษาเราก็รู้อย่างนี้ แต่มันไม่เห็นการปล่อย ไม่เห็นว่ามันขาดไปอย่างไร ไม่รับรู้ มันไม่มีข้อเท็จจริงในหัวใจ มันก็พูดไปโดยสามัญสำนึก แต่ถ้ามันเป็นจริงเห็นไหม จริงตามสมมุติ จริงตามสมมุติ มันมีจริงๆ เวลาศึกษาธรรมะก็ศึกษาโดยสมมุติ ศึกษาโดยสัญชาตญาณนี่แหละ แล้วเวลาปฏิบัติไป เวลามันรู้ไป มันรู้ชัดขึ้นมา ชัดขึ้นมา มันเห็นจริง เห็นจริงๆ ขึ้นมา จนถึงเวลามันขาด มันก็รู้จริงเลย มันรู้จริงของมัน
ถ้ารู้จริงของมันเห็นไหม รู้จริงแล้ว สมมุติบัญญัติ แล้วมันเป็นวิมุตติ สมมุติบัญญัติ เห็นไหม กุปปธรรม อกุปปธรรม พอเป็นอกุปปธรรม เราเห็นชัดเจนเลย อ๋อ มันเป็นอย่างนี้ มันเป็นอย่างนี้ แล้วพิจารณาต่อไปเห็นไหม เราจะบอกว่า อายตนะ ถ้ามันมีโดยอ่อนลงๆๆ คือว่ามันจางลงๆๆ จนมันถอนหมดนะ ถึงไม่มีจริงๆ จะบอกว่าอายตนะ นี่ในธรรมของพระพุทธเจ้านะ ว่าเรามนุษย์คนหนึ่ง จิตดวงหนึ่ง เกิดตาย เกิดตายในวัฏฏะ เกิดตายมาไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ
ครูบาอาจารย์ท่านพูดบ่อย ซากศพของเราคนๆ เดียวนี่เอามาสะสมกันไว้นี่ มันจะล้นจนล้นโลกนี้ ถ้าอายตนะในชาตินี้เป็นของเรา อายตนะเราต้องซ้อนๆๆๆๆ กันเต็มไปหมดเลย ทำไมอายตนะเรามีอันเดียวล่ะ อันเดียวคือปัจจุบันนี้ไง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ปัจจุบันนี้เท่านั้น แล้วตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ชาติที่แล้วไปอยู่ไหน ชาติก่อนๆ มันอยู่ไหน นี่ไง เพราะมันทิ้งมาได้ไง มันเป็นปัจจุบันเพราะเราเกิดมาชาตินี้ เราก็ได้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในชาตินี้
แต่สิ่งที่มันสัมผัสแล้วมันตกผลึกลงที่ใจสิ นี่ไงที่ว่าพันธุกรรมทางจิต เวลาเรามาตัดแต่งพันธุกรรมจิต จิตมันถึงสำคัญไง กี่ภพกี่ชาติก็แล้วแต่สะสมลงที่จิตหมด กี่ภพกี่ชาติที่เราเกิดตายสะสมที่จิตหมด เวลาพระพุทธเจ้าย้อนอดีตชาติ ตั้งแต่เวสสันดรไปเลย แล้วไม่มีจบเลย มันจะย้อนสาวไปตลอดเลย สาวตลอดไป มันสาวตลอดไป มันก็เราเคยเกิด เวลาพระพุทธเจ้าท่านพูดในพระไตรปิฎกนะ เราเคยเกิดเป็นจักรพรรดิ เราเคยเกิด เราเคยเป็นมา
แต่ปัจจุบัน ปัจจุบันคือพระพุทธเจ้า ไม่ใช่เราเป็นนะ เราเคยเป็น เพราะเราเคยเป็น เราเลยมีประสบการณ์ ประสบการณ์ชีวิตนั้น มันก็สะสมลงจิตนั้น ประสบการณ์แต่ละชีวิตหนึ่ง มันก็สะสมลงจิตนั้น จิตนั้นๆ จิตนั้นมันถึงเป็นจริตนิสัยของแต่ละจิตดวงๆ ไป ทีนี้ในปัจจุบัน พอเราประพฤติปฏิบัติ เราประพฤติปฏิบัติเพราะเราเป็นสาวกสาวกะ เราได้ยินได้ฟังธรรมพระพุทธเจ้า แล้วเราประพฤติปฏิบัติตาม
เราประพฤติปฏิบัติตาม ถ้ามันได้จริง มันเห็นจริงขึ้นมาเห็นไหม พอได้จริงเห็นจริง นี่ไง สำคัญที่จิต ถ้าจิตมันเป็นจริง มันวิมุตติมันปล่อยวางเห็นไหม มันเก้อๆ เขินๆ นะ มันเก้อๆ เขินๆ เหมือนกับมีด เหมือนมีดเหมือนเครื่องครัว ถ้าเราจะเอามาใช้ เราหยิบมาใช้ ใช้ประโยชน์ทันทีเลย เราวางไว้ มันก็อยู่ในครัว จิตที่มันทิ้งอายตนะแล้วเป็นอย่างนั้น มันทิ้งเลย
แต่เวลาจะใช้ มันจับมาใช้ได้ ถ้ามันใช้ไม่ได้นี่มันจะสื่อได้อย่างไร เวลาพูดๆ มา สื่อ สื่อโดยสมมุติไง สมมุติบัญญัติที่เราสื่อกับโลก ภาษาคือสมมุติบัญญัติ แล้วภาษามันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แล้วภาษานี่ใครเป็นคนใช้มัน มันก็จิตเป็นคนใช้ จิตนี่เป็นคนใช้ภาษานั้น เพราะภาษาสมมุติ นี่ไงถึงว่าสมมุติบัญญัติ และ วิมุตติ
มันมีมาก่อนไง มันมีมาก่อน เริ่มต้นต้องมีก่อน เหมือนการปฏิบัติ มันก็ต้องปฏิบัติจากจิตที่มีกิเลสนี่ก่อน เราต้องยอมรับความจริงว่าจิตเราน่ะมีกิเลส แล้วเราพยายามจะแก้ไข เราพยายามจะตัดแต่งมันโดยทำให้มันดีขึ้นมา ดีขึ้นมา มันมีจากเรานี่แหละ แต่นี่ถ้าบอกว่ามันไม่มีเลย เริ่มต้นจากไม่มีเลย เห็นไหม ตั้งต้นผิดเข็มทิศชี้ผิดแล้ว ถ้าไม่มีอะไรเลย ไม่มีเลยนะ จิตมีสติได้อย่างไร มันจะสงบได้อย่างไร
แล้วจิตมันสงบแล้ว พอจิตมันสงบเป็นสมาธิ อายตนะมันก็ส่วนอายตนะแล้ว เพราะจิตมัน เราพูดบ่อยนะ ส้ม เปลือกส้ม ความคิดคือเปลือก ความคิดคือเปลือกเห็นไหม เหมือนหลวงปู่ดูลย์สอนเลย หลวงปู่ดูลย์บอกให้ดูจิต ดูจิตจนจิตเห็นอาการของจิต ดูจิตไปเรื่อย จิตมันจะหดตัวเข้ามาจนเป็นเนื้อส้ม แล้วเนื้อส้มกับเปลือกส้มมันอยู่ด้วยกัน มันกระทบกัน ความคิดกับจิตมันอยู่ด้วยกัน นี่ไงที่ว่าอายตนะมันอยู่ด้วยกัน
แต่พอเมื่อก่อนอยู่ด้วยกันโดยเป็นสิ่งที่สมานเป็นเนื้อเดียวกัน เราไม่รู้ พอเราจิตสงบเข้ามา มันสงบเข้ามา จิตเราสงบเข้ามาจนเป็นเนื้อส้ม เปลือกส้ม มันต้องผ่านเปลือกส้มเข้ามา มันถึงจะถึงเนื้อส้มได้ พุทโธๆ นี่คือเปลือกส้ม พุทโธๆ นี่เปลือกส้ม ก็ไปเอาเปลือกส้ม เปลือกส้มเห็นไหม พอมันเข้าไปสงบ ก็จะบอกว่าความคิด เวลามันสงบเข้าไปแล้ว มันผ่านความคิดเข้าไป มันถึงเป็นสมาธิไง แล้วสมาธิพอเป็นสมาธิบ่อยครั้งเข้า สมาธิจะออกรู้กาย เวทนา จิต ธรรม
ถ้าเห็นกาย เวทนา จิต ธรรม กาย เวทนา จิต ธรรม คือเปลือกส้ม จิตเห็นอาการของจิต พอเห็นอาการของจิต วิปัสสนามัน หลวงปู่ดูลย์ใช้คำนี้ ดูจิตจนจิตเห็นอาการของจิต แล้ววิปัสสนามัน วิปัสสนาญาณ ญาณทัสสนะ ญาณคือพลังงาน พลังงาน กำลัง กำลังของจิต จิตที่มีสมาธิ มันจะมีกำลังของมัน จิตที่ไม่มีสมาธิ เป็นสามัญสำนึกนี่มันเหมือนไฟฟ้า ไฟฟ้าไฟอ่อน มันมีไฟไหม มีไฟอ่อนนะ เวลาไฟ มันมีแสงสว่าง สว่างหลัวๆ
นี่ก็เหมือนกัน จิตเรามีพลังงานตลอดเวลา แต่มันใช้จนเหมือนกับไฟแทบจะไม่มีพลังงานเลย พุทโธๆๆ นี่มันสร้างพลังงาน พลังงานนี้มันมีกำลังของมันนะ มันจะไปหมุนอะไรก็ได้ โรงงานใหญ่โตขนาดไหน ดูไดโรงไฟฟ้าสิ มันใหญ่ขนาดไหน มันหมุนได้หมด หมุนด้วยพลังงานของมันเห็นไหม จิตถ้ามันมีสมาธิ มันจะมีพลังงานเห็นไหม จิตเห็นอาการของจิต ถ้าจิตสงบเข้ามา มันจะมีพลังงานของมัน แล้วเห็นอาการของจิต กาย เวทนา จิต ธรรม แล้ววิปัสสนาเห็นไหม วิปัสสนา คำว่าวิปัสสนานะ ปัญญาของจิตไม่ใช่ปัญญาสมอง ปัญญาสมองเราไม่ต้องทำอะไรเลย เคยจำได้ เคยทบทวน มันจะทบทวนตลอดเวลา
นี่ไงไฟฟ้าอ่อนไง แต่ด้วยสถานะ เพราะเรามีของเราไง เรามีกายกับใจไง มันธรรมชาติของมัน เห็นไหม แต่ถ้าจิตสงบเข้ามา พุทโธๆ จนจิตสงบเข้ามา พอจิตสงบเข้ามา มันมีกำลังของมัน มันเหมือนกับพลังงานที่มันตีกลับ ทวนกระแส พอทวนกระแสสิ่งที่ไปตามกระแส สิ่งที่เป็นความคิด สัญชาตญาณของเรา ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร ชอบก็คือสุข ไม่ชอบก็คือทุกข์ มันหมุนของมัน ตามธรรมชาติของมันใช่ไหม
พอจิตมันมีกำลังของมันน่ะ จิตมันมีกำลังของมัน มันเห็นโทษนะ สัญชาตญาณคือการไปตามจริตนิสัย แล้วถ้าสัจจะความจริง มันเป็นตามจริตนิสัยไหม จริตนิสัยนี่คือความชอบและไม่ชอบ แต่ถ้าความจริงน่ะ มันเป็นสัจธรรมที่เกิดดับ แต่เพราะความลุ่มหลงของเรา ความลุ่มหลงของเรา เราเข้าไปพิจารณามัน จนมันปล่อยของมัน ปล่อยของมันเห็นไหม ปล่อยอะไร รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร
นี่ไง รูป รส กลิ่น เสียง เห็นไหม รูป รส กลิ่น เสียง มันก็ตรงกับอายตนะ อายตนะภายนอก อายตนะภายใน ทีนี้พอพิจารณาไป ในเมื่อมันต่างอันต่างจริง มันมีของมันจริงๆ แต่มันไม่มีค่าอะไรเลย มันไม่มีค่าอะไรเลย มันเป็นสถานะของมันอยู่อย่างนั้น มันต่างอันต่างจริง หินกับเพชรน่ะ ดูสิ เพชรน่ะมีค่ามากเพราะเราให้ค่ามัน แต่หินกับเพชรมันก็มีน้ำหนักเท่ากัน มันไม่มีอะไรเลย สถานะของมันอยู่อย่างนั้นน่ะ แต่เราให้ค่ามัน สุขกับทุกข์ ดีกับชั่ว เราให้ค่ามัน ให้ค่ามัน
แต่ถ้าพิจารณาไปจนเห็นจริงแล้ว มันก็เริ่มปล่อยๆ จนที่สุดมันขาดนะ วิปัสสนาญาณเกิดจากกำลังของจิต เกิดจากสัมมาสมาธิ ต้องมีกำลังของมัน แล้วถ้าใครทำจิตลงสมาธิ เห็นไหม ดูสิ เวลาลงสมาธิจิตมันมีกำลังขนาดไหน มันตื่นเต้นขนาดไหน มันมีความรู้ของมันขนาดไหน ความรู้อย่างนี้เป็นความรู้ดิบๆ ไง ความรู้ดิบๆ เห็นไหม มันรู้ๆ รู้โดยไม่มีการควบคุม รู้โดยมีสติปัญญาที่ มันมรรคะไม่สามัคคีไง มรรคญาณเกิดไม่ได้ไง ญาณทัสสนะที่ว่าเกิดๆ
เขาว่าปัญญาคือทัศนคติ ไม่ใช่ ทัศนคติคือสัญชาตญาณ สัญชาตญาณนี่คุมไม่ได้ แต่ถ้าจิตมันสงบขึ้นมาแล้วมันหมุนไปโดยปัญญาของมัน มันควบคุมได้ สติควบคุมแล้วมันยกขึ้น ยกขึ้นเลยนะ ยกขึ้น หมุนไปๆ ยกขึ้นในอะไร ในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม แล้วพอมันเห็นจริงมันก็ปล่อยๆ ความปล่อยน่ะเพราะมันสมดุลของมัน แต่สมดุลขนาดไหน มันก็ยังไม่ลงตัวของมัน ก็ทำซ้ำเห็นไหม วิปัสสนาซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ ถึงที่สุดแล้วถ้ามันขาดนะ มันจะเห็น อายตนะ
จริงๆ แล้วหลวงตาท่านพูดอย่างนี้นะ หลวงตาท่านบอกว่า ความจริงอธิบายธรรมะมันก็ลำบากอย่างหนึ่ง เพราะจิตของคนมันเหมือนลูกมะพร้าว ลูกมะพร้าวนะ มะพร้าว ชั้นเปลือกนอกเห็นไหม ชั้นเปลือกนอก มะพร้าว ชั้นเปลือกนอกมันก็รับรู้กันได้ เพราะจับต้องกันได้ แต่ถ้าใครผ่าเปลือกออกเห็นไหม มันจะเห็นกะลา ไม่มีเปลือกนะ มีแต่กะลา กะลามะพร้าวนะ ถ้าเรากะเทาะกะลามะพร้าวออก มันจะมีเนื้อมะพร้าว เนื้อมะพร้าวที่มันจะเป็นเนื้อมะพร้าวอยู่ละ ถ้าเนื้อมะพร้าวเราทำลายหมด ในเนื้อมะพร้าวนั้นจะมีน้ำมะพร้าว
ทีนี้อายตนะ อายตนะอย่างหยาบ อายตนะอย่างกลาง อายตนะอย่างละเอียด อายตนะอย่างละเอียดสุดเห็นไหม เราจะบอกว่าอายตนะมันก็มีหยาบมีละเอียดแตกต่างชั้นกันมหาศาลเลย แล้วเราจะคุยกัน เราจะคุยมันต้องวัดภูมิ เวลาใครมา ถามว่าภาวนาอย่างไร ภาวนาแค่ไหน ถ้าแค่ไหนนะ ถ้าเป็นเปลือกมะพร้าว หลักเกณฑ์คือพูดเรื่องเปลือกมะพร้าว แต่ถ้าใครปอกเปลือกแล้ว หลักเกณฑ์ก็พูดเรื่องกะลามะพร้าว ถ้ามันกะเทาะกะลามะพร้าวแล้ว หลักเกณฑ์ก็ต้องพูดถึงเนื้อมะพร้าว
นี่ ที่หลวงตาบอก เวลาหลวงปู่มั่นเทศน์เห็นไหม หลวงปู่มั่นเทศน์เหมือนกับเครื่องบินเลย แท็กซี่ขึ้นแล้วเหินขึ้นเลย นี่ไง เวลาเทศน์พื้นฐาน แท็กซี่หมายว่าในพื้นที่ในสนามบินนั้น ปุถุชนทุกคน จิตของคนทุกคน มันมีความคิดอย่างนี้ มันอยู่บนภพอย่างนี้ ต้องทำจิตสงบเข้ามาเพื่อพลังงานของมัน เครื่องบินถ้าไม่ติดเครื่อง มันจะแท็กซี่ไม่ได้ มันจะตั้งลำไม่ได้ มันจะขึ้นไม่ได้
จิตของคนน่ะ หัวมันปักดินอยู่นี้ เราบอกว่าให้ขึ้น เห็นเครื่องบินลอยบนฟ้า ก็โอ๋ย.. เครื่องบินๆ นั่นเครื่องบินเขาขับอยู่บนฟ้า ไอ้เครื่องบินเรายังหันหัวเข้ารันเวย์ยังไม่ถูกเลย มึงจะขึ้นไปไหน วิ่งมันก็ชนหอบังคับการนั่นน่ะ มันถึงเวลาเทศน์นะ เวลาเทศน์ต้องพื้นฐานก่อน พื้นฐานน่ะ ตั้งหัวให้ได้ ตั้งลำให้ได้ แล้วเหินให้ได้ ขึ้นให้ได้ พอขึ้นได้แล้วนะ โสดาบัน สกิทาคา อนาคา มันจะไปของมันเรื่อยๆ ไปของมันเรื่อยๆ
นี่เวลาหลวงตาท่านบอกเวลาหลวงปู่มั่นเทศน์ ทุกกัณฑ์จะไปจบลงที่สิ้นกิเลส แต่ท่านก็บอกว่ามันก็ยังไม่ถึงใจ มันก็ต้องพยายามไขก๊อกให้ได้ นี่ก็เหมือนกัน เวลาพูดธรรมะมันพูดอย่างนี้ แต่นี้เราคุยกัน มันก็ต้องคุยว่า เราจะคุยกันเป็นพื้นฐาน หรือเราจะคุยกันยกระดับขึ้นมา เริ่มต้นจากว่า จริงตามสมมุติก่อน พระพุทธเจ้าพูดอย่างนี้ ธรรมะพระพุทธเจ้านะ คนจับประเด็นไม่ค่อยถูก
แต่ถ้าเราจับประเด็นถูก อย่างเช่น เราพูดบ่อยเห็นไหม เวลาเราบอกว่านี่เป็นสมมุติ ทุกอย่างไม่ดีหมดเลย แล้วพระโมคคัลลานะเห็นไหม ที่ไปพักบ้านโยม แล้วโยมเขาจะถวายกาม แล้วท่านไม่ยอม แล้วพูดไป มันก็เลยกลายเป็นหนอนออกทุกทวาร แล้วอยากจะช่วยเขาไง อยากจะช่วยเขา ช่วยเขาไม่ได้ กรรมเขาหนัก ก็ไปถามพระพุทธเจ้า จะช่วยก็ไปขอร้อง สงสารเขามาก อยากช่วยเขามาก
พระพุทธเจ้าบอกกรรมเขาหนัก หนักขนาดไหน หนักเท่าแผ่นดิน ก็ขอดูแผ่นดินใช่ไหม ก็เหาะขึ้นไป พระพุทธเจ้าสั่งไว้เลย ถ้าเห็นโลกนี้เท่าใบมะขามอย่าไปนะ ถ้าเห็นโลกนี้เท่าใบมะขาม ถ้าหลุดไปแล้วมันจะไปจักรวาลอื่น ไปเรื่อยๆ จนหลงเลย แล้วพระพุทธเจ้าองค์อื่นส่งกลับมาไง นี้อยู่ในธรรมบท วิทยาศาสตร์เชื่อไม่เชื่อนั่นเรื่องของวิทยาศาสตร์
นี่พอกลับมาแล้วมารำพันกับพระพุทธเจ้า เพราะมันเหาะออกไปไง เหมือนยานอวกาศออกไปจากโลก จะมองดูโลกไง ก็บอกพระพุทธเจ้าว่ากรรมของเขาหนักกว่าแผ่นดิน ก็ใหญ่กว่าโลก นี่วัดกันด้วยกรรมนะ แต่ท่านจะเทียบเป็นวัตถุไง เพราะพระพุทธเจ้าพูดกับพระโมคคัลลานะ พระโมคคัลลานะบอกถ้ากรรมเขาหนัก ขอดูสิมันหนักขนาดไหน ก็เหาะออกไป
แล้วพอกลับมาได้ก็มารำพึงกับพระพุทธเจ้าไง บอกว่า โอ้โฮ โลกนี้แบบว่า เรื่องของกามนะ มันมีโทษมาก คือแบบดูถูกไม่สนใจเรื่องกามเลย นี่พระพุทธเจ้าตีกลับ โมคคัลลานะ เธอพูดอย่างนั้นไม่ถูกนะ เพราะเราตถาคตก็เกิดจากกาม พระพุทธเจ้าเกิดจากที่ไหน พระพุทธเจ้าเกิดจากพ่อแม่ เราก็เกิดจากกามนะ แต่เราเอากามมาทำคุณงามความดีไง
นี่ข้อนี้ที่เราเน้นบ่อย ให้เราสำนึกกันว่า เราต้องเริ่มต้นจากจุดสตาร์ทของเราไง เริ่มต้นจากความเป็นมนุษย์ของเรา เริ่มต้นจากสมมุติของเรา ทุกคนบอกว่าสมมุติไม่ดี ทุกอย่างสมมุติไม่ดี ไม่ดีแล้วมึงจะเริ่มต้นตรงไหน เราต้องเริ่มต้นจากความรู้สึกของเรา เริ่มต้นจากความรู้สึกดิบๆ ไอ้ทุกข์ๆ นี่ เริ่มต้นจากปฏิสนธิจิตที่มันเกิดมา เริ่มต้นจากตรงนี้
ถ้าเริ่มต้นจะว่าหยาบละเอียดไม่ได้ มันจะบอกว่าของใครจะเริ่มต้นจากจุดนั้น ก็เหมือนกับที่ว่าจะต้องมีบัญชีไง ถ้ามีบัญชีก็มีการโอนเข้าออก เอ็งเปิดบัญชีไม่ได้ เอ็งหาออฟฟิศหาที่ทำงานเอ็งไม่ได้ แล้วเอ็งจะประพฤติปฏิบัติอะไรกัน นี่ไง สัมมาสมาธิไง ถ้าสัมมาสมาธิคือฐีติจิต คือเข้ามาสู่ต้นขั้วของใจ เข้ามาสู่ต้นขั้วของใจ แล้วก้าวเดินจากตรงนี้ออกมา ถ้าก้าวเดินจากตรงนี้ออกมา ก็เข้ามาแก้ไขใจของตัว
ฉะนั้น อายตนะนี่ ไม่ต้องไปบอกว่ามีหรือไม่มี ทำจิตให้สงบ เราทำจิตให้สงบแล้วมันจะรู้ แล้วมันจะเลาะออกไป แต่ถ้าเราเป็นปัจจุบัน เราบอกอายตนะไม่มี เราเห็นๆ หลายคนที่ปฏิบัติ บอกสมมุติไม่มี สมมุติเหยียบย่ำหมดแล้ว ทำลายสมมุติหมดแล้ว อันนี้มันทำโดยที่ไม่เปิดบัญชีไง ไม่เปิดบัญชี อายตนะไม่มีก็คือไม่มี แต่จริงๆ คำพูดที่บอกอายตนะไม่มี นั่นคืออายตนะ เพราะมันพูดมาจากใจ แต่เราบอกว่าอายตนะไม่มี เราพูดว่าไม่มีเห็นไหม มันเป็นการปฏิเสธจากใจ
แต่ถ้ามันเป็นการเริ่มต้น เราไม่ต้องพูดอย่างนี้ เราใช้สติปัญญาของเราเข้ามา แล้วพิจารณามัน มันเห็นแล้วมันปล่อยมันเข้ามา มันปล่อยเข้ามา มันเห็นมันรู้เอง นี่ปัจจัตตัง พอเห็นเอง อ๋อ ไม่มีจริงๆ ว่ะ ไม่มีจริงๆ แต่กว่าจะไม่มีนะ เกือบตาย กูต้องพิจารณามัน ปล่อยมันมา ปล่อยมันมา ถึงจะรู้ว่าไม่มี แต่ถ้าเราบอกว่าไม่มีโดยที่เราไม่รู้ มันคือมี มันมีของมัน เพียงแต่ว่าจิตมันรับรู้หรือไม่รับรู้ รับรู้โดยเสียง รับรู้โดยกลิ่น รับรู้โดยรูป มันรับรู้อะไร รับรู้ในสถานะเดียว ถ้าจิตมันไม่รับรู้ก็คือเหมือนไม่มี ถ้าจิตรับรู้เข้ามันก็มี
แต่ถ้าพิจารณาไปแล้ว มันมีโดยธรรมชาติ แต่ไม่มีโดยกิเลสที่ไปยึด เหมือนที่ว่าขาดมี อายตนะ แล้วถ้าพูดธรรมะเป็นปรมัตถ์ก็คือไม่มี แต่ถ้าสอนพวกเราต้องมี ถ้าโดยปรมัตถ์ไม่มีก็เป็นธรรมะของพระพุทธเจ้า แล้วบอกว่าถ้าไม่มีแล้วเราจะเริ่มงานกันตรงไหน เราจะเริ่มงานกันตรงไหน นักกีฬา มันจะเริ่มแข่งขันกันตรงไหน ถ้าบอกมันไม่มี ถ้าบอกว่ามันมี มันเริ่มแข่งขันกันตรงนี้ ต้องบอกว่าเห็นไหม ถึงบอกว่าจริงตามสมมุติก่อน จริงตามสมมุติ แล้วก็จริงตามบัญญัติ แล้วจะจริงตามวิมุตติ ถ้าจริงตามวิมุตติ มันเข้าใจหมดมันก็จบ พอจบแล้ว นี่ธรรมะ
ฉะนั้นเพราะธรรมะเป็นอย่างนี้ ครูบาอาจารย์ของเราที่ประพฤติปฏิบัติมา รู้จริงอย่างนี้ มันถึงสอนได้ตั้งแต่เด็กๆ ขึ้นมา ถ้าไม่สอนให้เด็กมันก้าวขึ้นมา ธรรมะมันจะเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ธรรมะมันจะเกิดจากจิตสัมผัส หลวงตาบอกว่าภาชนะที่จะสัมผัสธรรมได้คือหัวใจของมนุษย์ ในกระดาษนั้นมันเป็นหมึกเท่านั้นน่ะ หมึกกับกระดาษ ไม่มีชีวิต ไม่มีการรับรู้
แต่การรับรู้ของใจเรา ใจของเรารับรู้ แล้วใจของเราจะเป็นคนรื้นค้นขึ้นมา แล้วธรรมจริงๆ มันจะเกิดขึ้นที่นี่ ถ้าธรรมจริงเกิดขึ้นที่นี่ นี่คือธรรมะ ความเป็นความจริง ฉะนั้นถึงจะให้ปฏิบัติไปแล้วจะรู้จริง ฉะนั้นเวลาพูดถึงธรรมะนะ เวลาบอกอายตนะมีหรือไม่มีต่างๆ นี่ มันเป็นเวลาพูด เวลาพูดเวลาพูดธรรมะ พูดธรรมะก็พูดเรื่องหยาบๆ มาก่อน ก็บอกก็มีมา แล้วพอถึงสุดก็ไม่มี งงนะ
พองงขึ้นมา เอ๊ มีคนพูดบ่อยว่า หลวงพ่อพูดอะไรกลับไปกลับมา แต่เขาไม่ได้คิดหรอกว่าพื้นฐานจากหยาบๆ หยาบๆ ต้องอาศัยอย่างนี้เป็นพื้นฐาน เหมือนเอาสมมุติเหยียบย่ำไปก่อน เหยียบย่ำสมมุติขึ้นไป สมมุติบัญญัติ จนถึงวิมุตติ เราก้าวเดินมา เป็นขั้นตอนมา มันจะรู้จริงตามความจริงมันเป็นอย่างนั้น ฉะนั้นไม่ได้กลับไปกลับมา มันเป็นการพัฒนาขึ้นมา พัฒนาขึ้นมาจากสิ่งนั้น แล้วพัฒนาถึงที่สุดแล้ว เราปล่อยวางสิ่งนั้นได้ตามความเป็นจริง เอวัง