อาการภวังค์
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
โยม : ตอนแรกนั่งคิด นี่ต้องทำอะไรผิดแน่เลย ตอนมึนๆ หลวงพ่อ มันหาทางไม่ออก ผมก็เลย แต่ปกติผมจะไม่ค่อยนึก ไม่ค่อยแบบขอช่วยอะไรอย่างนี้หลวงพ่อ ผมก็นั่งนึกไป โอ้..บุญกุศลที่เราทำมานะ ช่วยหน่อยละกันนะ อย่างนี้ ปกติผมไม่ค่อยพูดอย่างนี้ พอพูดแล้วก็นั่งภาวนาไปปุ๊บ มันปิ๊ง.. ไปปั๊บ.. เอ้.. ศีล สมาธิ ปัญญา เรา.. คือเข้าใจเลยว่า ศีลที่หลวงพ่อ แล้วก็ คือตอนแรกที่ฟังหลวงพ่อพูด ศีลคือความปกติของใจ ผมก็ฟังผ่านๆ ความปกติของใจ เออ.. ก็ความปกติของใจ เราก็มีความปกติของใจ
แต่พอถึงตรงนั้น มันรู้เลยว่า ศีล ความปกติของใจเป็นอย่างไร แล้วมันจะช่วยให้ทำสมาธิอย่างไร แล้วเราติดอะไร ตรงนั้น คือเรา ไปติดคำว่า ตรงนั้นรู้เลยว่า เราติดอยากพุทโธ ติดอยากให้จิตมันแนบกับพุทโธ ไม่ไปไหน บังคับมันอย่างนี้ มันก็เลยเครียด ดึง.. ดึง..อยู่อย่างนั้นน่ะ แล้วมันก็ไม่ลง คราวนี้ก็ปล่อยเลย พอรู้แล้ว โหย.. มันซึ้งหลวงพ่อ มันซึ้งแบบพระพุทธเจ้าเรียงถูกนะ ศีล สมาธิ ปัญญา เรียงถูกเลย ซึ้ง.. นั่ง..นั่งใหม่แล้วก็แบบ คราวนี้ก็ปล่อย พุทโธธรรมดา พุทโธแบบไม่มีอารมณ์อยากที่จะให้มันแนบ
ให้มันพุทโธไปเรื่อยๆ พอมันจะออก ออกไปคิดนี่ ให้รู้ตัว แล้วก็กลับมาที่พุทโธใหม่ พอไปคิด กลับมาที่พุทโธใหม่ พอทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ก็ลง แต่ลง มันก็ลงเหมือนได้เท่าที่เดิมหลวงพ่อ เท่าที่ว่ามัน..กายกับจิตมันเห็นอย่างนี้กัน แต่ว่าพอภาวนา คราวนี้ก็เดิน เดินแล้วก็พุทโธๆๆ อัดๆๆ มันเหมือนกับพุทโธมันปีนเกลียว มันฝืด มันเหมือนกับพุทโธมันฝืด แต่พอมันฝืดปุ๊บ ผมก็ เฮ้ย..พุทโธมันฝืดว่ะ ผ่อนหน่อย ผมก็พอพุทโธๆๆ ตอนแรกก็พุทโธเร็วๆ ผมก็ผ่อน
ผมก็ผ่อนให้มันพุทโธช้าลงๆๆ แต่มันพุทโธได้ แสดงว่าไม่ใช่ แล้วพอตอนนี้ผมก็เลิกปฏิบัติไป แล้วก็จะไปนอน แต่ไปนอน ช่วงนั้นผม จริงๆ ผมก็พุทโธตลอดเวลา เดินไปไหนก็พุทโธ พอเริ่มช่วงนอน พอลงไปนอนปุ๊บ มันเหมือนมันดิ่ง มันเหมือนตกเหมือนอย่างที่หลวงพ่อบอก มันตกจากที่สูง แต่ว่ามันไม่ได้ลง ไม่ได้เข้าไปถึงจิตนะหลวงพ่อ มันก็หยุด พอมันดิ่งปุ๊บ มันหยุด เออ.. เฮ้ย..รู้แล้ว เออ.. ดิ่ง ที่เขาบอกดิ่งๆ มันเป็นอย่างไร แต่ว่าพอมันหยุด มันก็หยุด
หยุดแค่ไอ้ตรงนี้ เห็นไอ้กาย เห็นกายกับกายมันไม่หมาย กายมันก็คือกาย แต่จิตอยู่อย่างนี้ หยุดได้แค่นั้น แล้วพอมาอีกทีหนึ่งก็นั่ง คราวนี้ก็นั่ง ก็นั่งไปเรื่อยก็พุทโธๆ คราวนี้มันเหมือนกับ อาการไม่เหมือนเดิม มันไม่ใช่ดิ่งนะหลวงพ่อ มันแบบเราพุทโธๆ มันรวมอย่างนี้ปุ๊บ มันเหมือนกับอะไรใหญ่ๆ แล้วมันจะรวมเข้า ตรงนี้ความรู้สึกตรงนี้ ตรงกายนี้มันหายไปเลย แล้วก็หูมันก็ดับ แต่ว่าเป็นประมาณสัก ๑ วินาที ๒ วินาที ก็แป๊บเดียว แต่รู้เลยว่ามันไม่มีความรู้สึกที่กาย แล้วก็หูดับ แต่ว่าหูดับตอนนั้นน่ะก็รู้อีกว่า มันเหมือนพอมันจะรวมปุ๊บ มันกระเด้งออก เพราะว่าเราแรงมันไม่พอ มันกระเด้งออกไปที่เดิม ไอ้ที่เห็นนี่หลวงพ่อ
หลวงพ่อ : ข้อเท็จจริงของมันน่ะนะ ข้อเท็จจริงของมัน เราจะต้องพุทโธไปเรื่อยๆ พุทโธไปเรื่อยๆ โดยที่มันแบบพุทโธไปเรื่อยๆ แล้วถ้ามันเป็นน่ะ พุทโธไปเรื่อยๆ มันจะเป็นของมัน ทีนี้พอเราบอกว่า พุทโธๆๆ พอมันเป็น แว้บเดียวๆ แล้วแว้บเดียวตลอดไป อย่างนี้พอมันเป็นเราอยาก เราจะต้องพุทโธไปเรื่อยๆ พุทโธไปเรื่อยๆ พุทโธ ถ้าเราบอกมันเป็นเห็นไหม ตามข้อเท็จจริงมันเป็น แว้บเดียวคือมันเป็น แต่พุทโธเรามันไม่ต่อเนื่อง พุทโธเราไม่ต่อเนื่อง ถ้าพุทโธเราต่อเนื่องไปเรื่อย เพราะหลวงปู่เจี๊ยะเคยบอกกับเราเห็นไหม พุทโธมากขนาดไหน มันก็ได้แค่ ๒-๓ นาที ถ้ายิ่งมากเข้าไปก็ได้อีก ๕ นาที ๑๐ นาที มันอยู่ที่เหตุไง
โยม : ตรงนี้ผมก็รู้ว่า เออ..แล้วพอถึงตรงนี้ปุ๊บ ผมก็ไปนั่งอ่านในเว็บไซต์ของหลวงพ่อ แล้วก็ไปเจอของหลวงปู่เจี๊ยะเหมือนกัน พอบอก หลวงปู่เจี๊ยะท่านพูดอยู่ประโยคหนึ่งว่า ปีติ เหมือนคลื่นซัดๆ มันมาปุ๊บมันก็ไป เป็นอนิจจัง ไปติดมันทำไม โห.. นี่มันแบบ มันวาง แล้วมันแบบขนลุก โอ้โฮ.. มันรู้เลย ว่าเราไปติดมันนี่เองเนาะ
หลวงพ่อ : ไปติด
โยม : ตอนนี้ผมก็พยายามทำใหม่ ก็คือว่าอะไรมา ผมไม่สนแล้ว จะเห็นนู่น เห็นนั่น มันจะเห็นบ่อยๆ เห็นหน่อยนี่ก็ดึงเข้าพุทโธอีก
หลวงพ่อ : ใช่.. ผู้รู้ไง ผู้รู้คือจิต หลวงตาจะสอนเน้นมากเลย อยู่กับผู้รู้ อยู่กับสติไม่เสีย อยู่กับผู้รู้ ทีนี้พอเห็นน่ะ ผู้รู้เห็น พอทิ้งผู้รู้ไปอยู่ที่เห็น เห็นไหม เพราะเขาพูดกันว่าผู้รู้ สิ่งให้ถูกรู้ สิ่งให้ถูกรู้กับผู้รู้ สิ่งให้ถูกรู้ ทีนี้พอผู้รู้ เราทิ้งผู้รู้ไปอยู่กับสิ่งที่ถูกรู้ ทีนี้ถ้าเราไม่ไปกับสิ่งที่ถูกรู้อยู่กับพุทโธตลอดเวลา จะพุทโธๆๆๆ อยู่ ก็พุทโธตลอดเวลา มันจะเป็นอย่างไรให้มันเป็นไป อยู่กับเหตุนี่
โยม : แต่มันแปลกที่ว่า มันพุทโธ แต่ตอนนี้ผมเปลี่ยนแล้วหลวงพ่อ ไม่ได้ใช้พุทโธ เพราะพุทโธมัน ผมไม่ได้เลย เพราะว่า พอมันพุทมันตัด โธมันตัด มันตรงกลางมันมีช่อง แล้วจิตมันจะแว้บออกตลอด ผมสังเกตตรงนี้ ผมก็เลยเปลี่ยนมาเป็น สัมมาอรหัง
หลวงพ่อ : ได้
โยม : ทีนี้ก็ดีขึ้นเพราะมันยาวขึ้น
หลวงพ่อ : ยาวขึ้น
โยม : ยาวหน่อยมันก็ดีขึ้น แล้วก็ เออ.. เมื่อกี้จะว่าไงนะ เออว่า มันแปลกที่ว่า เวลาภาวนาไปเรื่อยๆ หลวงพ่อ มันแปลกตรง ทำไมมันต้อง มันเหมือนกับมันต้องลงภวังค์ มันลงภวังค์ แล้วออกมา มันจะมีแรง มันจะมีแรงภาวนาต่อเนื่อง แล้วมันจะเข้าตรงนั้นได้ง่ายขึ้น
หลวงพ่อ : ผิด.. เพราะคำว่าภวังค์น่ะ มันเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ภวังค์ ภวังค์นี่ จิตมันไปลงโดยที่ไม่มีสติ ทีนี้เราบอกเราต้องลงไปภวังค์ก่อน แล้วค่อยออกมาปฏิบัติมีกำลัง เพราะเราเคยตัวอย่างนั้น ใช่.. เพราะเราเคยอย่างนั้น พอเราเคยอย่างนั้นปั๊บ เพราะเราเข้าใจอย่างนั้น ภวังค์มันมีคุณค่า แต่คำว่าภวังค์ มันเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แต่! แต่ภวังค์มันมี คำว่าภวังค์มันมี เพราะจิตมันไปตกภวังค์โดยส่วนใหญ่ ทีนี้ตกภวังค์โดยส่วนใหญ่ เราพยายามจะถมไง
เราพยายามจะถมภวังค์อันนี้ เพื่อจะเข้าไปสู่สัมมาสมาธิ ถ้าเราเข้าไปสู่สัมมาสมาธิโดยข้อเท็จจริง เหมือนกับเรา เราอยู่กับพ่อแม่ พ่อแม่เป็นคนให้เราใช้จ่าย เราจะมีใช้จ่ายตลอดไป แต่ถ้าเราออกไปทำมาหากินของเราเอง เราจะใช้จ่ายเงินของเราเอง สัมมาสมาธิคือเงินที่เราหาได้เอง ภวังค์คือพ่อแม่ให้ ภวังค์หมายถึงว่า จิตมันมีอารมณ์ความรู้สึกอย่างนี้อยู่ ถ้าพูดถึงเพราะอารมณ์ความรู้สึก บางคนตีค่ามันผิดไง อย่างเช่นเราอยู่กับพ่อแม่ พ่อแม่ให้เงินเราใช้จ่ายตลอดเวลา เราคิดว่าเราจะมีเงินใช้ตลอดไป เพราะพ่อแม่จะให้เราตลอดเวลา เราเข้าใจผิดเห็นไหม
นี่ไง พอเราไปสัมผัสภวังค์ พอไปเห็นภวังค์ เข้าใจภวังค์มันว่าง มันสบายไง ทีนี้บางคนเข้าใจผิดว่า ภวังค์นี่คือสมาธินะ ฉะนั้นถ้าเรารู้ว่าสิ่งนี้มันไม่ถูกต้อง มันคือมันไม่ใช่ไม่ถูกต้องหรอก มันแบบว่า คนเราเกิดมาก็ต้องพ่อแม่ให้ใช้จ่ายเป็นธรรมดาล่ะ แต่เราต้องเลี้ยงตัวเราเองได้ไง ทีนี้เราจะให้พ่อแม่เลี้ยงจนตายเป็นไปไม่ได้หรอก ถ้าไปตกภวังค์อยู่ จะบอกภวังค์ไม่มี มันไม่ได้หรอก เพราะว่าจิต อาการของทางผ่าน จิตมันมีความสมดุล เรียกว่าจิตมันตกภวังค์ ระหว่างที่มันเป็นภวังค์ มันก็เป็นภวังค์ แต่ถ้ารู้ว่าเป็นภวังค์นะ พอรู้ว่าเป็นภวังค์ใช่ไหม เราก็ไม่ลงไป
โยม : รู้ได้ด้วยเหรอหลวงพ่อ
หลวงพ่อ : รู้.. รู้..
โยม : ผมจะรู้ต่อเมื่อมันคลายออกมาแล้ว
หลวงพ่อ : นั่นแหละ ก็นี่ไม่ชำนาญ คำว่ารู้หมายถึงว่า เพราะเราเคยไปแช่อยู่ที ๗-๘ชั่วโมงแน่ะ ภวังค์
โยม : นั่งไปได้นาน
หลวงพ่อ : เราลงไป เราล็อกเวลาได้ด้วย ทีนี้พอล็อกเวลาได้ เขานั่งกันไง เขานั่งบนศาลา แล้ว พุทโธๆๆ แล้วหายวั๊บไปเลย แล้วเขาบอกว่า กี่ชั่วโมงเลิก ชั่วโมงเลิกนั่นน่ะ ถึงเวลาปั๊บมันจะออกมาพอดีๆ แล้วเวลาออกไปเหมือนคนสะดุ้งตื่น มันล็อกได้ คำว่ารู้หมายถึงว่าเราเคยตกภวังค์มา มันชัดเจนมาก มันเข้าใจผิดว่าตัวเองนั่งสมาธิได้ดี พอเข้าใจผิดว่านั่งสมาธิได้ดี แต่พอมารู้แล้วว่านี่คือไม่ใช่สมาธิ นี่คือตกภวังค์ พรหมลูกฟักที่ไม่ได้อะไรเลย ตกไปแช่อยู่โดยไม่มีประโยชน์อะไรเลย
แต่ถ้าไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย ทำไมมันเกิด มันเป็นภวังค์ เกิดจากอะไร เกิดจากการทำสมาธิ ถ้าไม่ได้ภวังค์ ทำไมเป็นพรหมลูกฟักล่ะ ทำไมเกิดเป็นพรหมล่ะ นี่คือจิตที่มันเป็นไง แต่ถ้ามันเป็น พอจิตที่มันเป็นที่มันมีอยู่ใช่ไหม เพราะมีอยู่ มีเหตุ เหตุเพราะเป็นพรหมลูกฟัก เหตุเพราะมันนั่งเข้าใจผิดว่าเป็นสมาธิ ถ้าเข้าใจผิด เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ พอมันเป็นพรหมลูกฟัก แต่เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นปั๊บนะเข้าใจผิดตลอดไป พอตายไปก็ไปเกิดบนพรหม เป็นพรหมอย่างนี้เห็นไหม เขาเรียกพรหมลูกฟัก เพราะมันเป็นมิจฉา มันเป็นสิ่งเป็นหนึ่ง ภวังค์น่ะมันไม่ได้คิดอะไรเลย
โยม : ใช่.. มันเหมือนไม่มีตัวเรา
หลวงพ่อ : มันมีเหตุ มันถึงมีผล ผลคือมันไปเกิดเป็นพรหมลูกฟัก แต่เหตุมันเหตุตรงนี้ แต่ถ้าพอเรารู้สึกสำนึกตนว่า อันนี้มัน อ๋อ.. นี่มันภวังค์นี่หว่า นี่มันผิดนี่หว่า เห็นไหม มันก็รู้ว่านี่คือภวังค์ อย่างที่ว่ารู้ไง พอรู้ภวังค์ปั๊บ ทีนี้เราจะแก้มัน เราแก้มันเห็นไหม เราก็พยายามตรึกในธรรม ไม่ได้หรอก เราตรึกในธรรม เราพยายามพุทโธ เอาไม่อยู่ สุดท้ายเราผ่อนอาหาร ทั้งผ่อนอาหารด้วย
พอผ่อนอาหารเสร็จแล้วก็มาตรึก มาพุทโธด้วย มันถึงลงไง พอมันลง มันไม่เข้าสู่ภวังค์ มันลงสู่สมาธิ โอ้โฮ.. เห็นแตกต่าง นี่มันเห็นแตกต่างเห็นไหม มันเข้า มันลงภวังค์เพราะอะไร เพราะเราพุทโธๆๆ หายแว้บไป แล้วพอใจ มันไปลงภวังค์ แต่เรารู้ว่าเป็นภวังค์แล้วใช่ไหม เราพุทโธๆ โดยที่ไม่ให้ลงภวังค์ พุทโธๆๆๆๆๆ พุทโธไปเรื่อยๆ พอพุทโธไปเรื่อยๆ มันเข้าไปสู่สมาธิ สมาธิคืออะไร คือพุทโธมันละเอียดเข้าไปเรื่อยๆๆๆ จนพุทโธไม่ได้ มันมีสติปัญญาตลอดเห็นไหม แต่ถ้าตกภวังค์ พุทโธๆๆๆๆ ก็มันพอใจ พุทโธแว้บ
โยม : หายไปแล้ว มันจะมี ๒ อย่าง คือ พุทโธๆๆๆ ปุ๊บ พุทโธไปเรื่อยๆ มันจะเปลี่ยนชั้น พอมันพลิกปุ๊บ พุทโธมันจะนุ่มนวลกว่าเก่า มันจะมีความนุ่มนวลกว่าเก่า แต่พอมันพลิกอีกที ถ้าเกิดเป็นภวังค์แล้วนะ พอพลิกปุ๊บมันหายหมดเลย พรึ่บ! เหมือนเราหลับสนิท แต่ว่าเราไม่ได้สัปหงกไม่ได้อะไร ตั้งเด่อยู่อย่างนี้
หลวงพ่อ : นี่ไง.. แล้วบอกไม่ได้ตกภวังค์ได้ไง รู้
โยม : คลายออกมาปุ๊บ คลายออกมาปุ๊บ เออ..ทำไมมันต้องลงภวังค์ ทำไมลงภวังค์ แล้วทำไมจิตมันถึงมีแรงอะไรอย่างนี้ ก็งง เอ้..มัน
หลวงพ่อ : เพราะ! เพราะเราเคยเชื่ออย่างนั้นไง แต่พอสำหรับเรา เราอยู่ มีแรงอะไร กูอยู่ภวังค์ ๗-๘ ชั่วโมง กูอยู่ได้ทุกคืนเลย กูไม่เห็นมีกำลังตรงไหน กูไม่เกิด ไม่เห็นมันรู้อะไรขึ้นมาได้เลย
โยม : มีแรง หมายถึงว่ามันสามารถพุทโธได้ต่อเนื่องหลวงพ่อ ส่วนมากมันจะแบบนึกพุทโธ แล้วมันก็วูบ..
หลวงพ่อ : ไม่ได้หรอก ไม่..ไม่ต่อเนื่อง พุทโธๆๆ แล้วมันวูบไป มันหายไป มันต่อเนื่องตรงไหน มันหายไปแล้วน่ะ
โยม : อ๋อ..ไม่ได้หมายถึงว่าพอมันหลุด พอมันออกมามันต่อเนื่องได้ยาวกว่าเดิม
หลวงพ่อ : บอกว่าเรามันเคยทำอย่างนี้มา มันติดใจก็ว่าไปสิ แหม..มันเคย มันเคยตัว คนผิดมาติดมามันจะรู้ เราเป็นมาก่อน มึงทำอย่างนี้ ทำอย่างนี้ ทำอะไรมาน่ะ กูเคยเป็นมาทั้งนั้นแหละ เพียงแต่กูจะพูดไม่พูดเท่านั้นเอง ทีนี้ถึงบอก อย่างนี้เป็นอย่างนี้ อย่างนี้เป็นอย่างนี้ แล้วรู้ได้ไง
โยม : แต่จริงๆ มันก็ต้องฝืนนี่หลวงพ่อ ฝืนให้มัน..
หลวงพ่อ : ฝืนสิ ไม่ใช่ฝืนธรรมดา กูฝืนจน โอ้โฮ.. ทุ่มทั้งชีวิตเลย เพราะมันด้าน มันลงอยู่อย่างนี้มาตั้งนาน โดยที่เราไม่รู้ตัว
โยม : มันจะซึมๆ หน่อย พอพุทโธไป แล้วมันจะซึมๆ
หลวงพ่อ : หายไปเลย พอหายไปเลย ตอนนั้นเข้าใจผิด มิจฉาทิฏฐินั่นแหละ กูถึงบอกมิจฉาหมด เพราะเข้าใจผิดว่า ภาวนาเก่ง ภาวนาดี เข้าใจผิด
โยม : ปี ๒ ปีแรกที่ผมนั่งสมาธิ ก็เหมือน โหย..ลงนี่สมาธิเนอะ สบาย ออกมามันสดชื่น
หลวงพ่อ : ทีนี้พอมารู้ตัวเข้า แล้วรู้ด้วยตัวเองด้วยนะ แปลก พอรู้ อ้าว..นี่ตกภวังค์นี่หว่า เฮ้ย.. มึงตกภวังค์เหรอ เพราะตอนนั้นเข้าใจว่าตัวเองทำภาวนาดี พอมันลงที โอ้โฮ.. หลายชั่วโมง สุขมาก พอใจมาก ออกมาก็องอาจกล้าหาญมาก แต่พอรู้ว่าตกภวังค์ หงอยเลย พอหงอยไม่รู้ทำไง แก้ใหญ่เลย แก้ใหญ่ อย่างที่พูดบ่อยนั่นน่ะ ทั้งอดอาหารทั้งอะไร ผ่อนอาหาร เอาอยู่นะ
โยม : ผ่อนตอนช่วงที่ ตอนช่วงที่ผมบางวันผมก็ผ่อน บางวันก็คือกินมื้อเดียว แล้วก็คือจะดูจิตเราว่า ดูจิตใจเราว่า เฮ้ย..มึงอิ่มหรือเปล่า ถ้าเกิดท้องอิ่มจะไม่กิน แล้วแต่หิวก็จะกิน แต่เวลากิน จะไม่กินเกินบ่าย ๔ โมง เราภาวนา ผมภาวนาประมาณสักสองทุ่มสามทุ่มหลวงพ่อ มันก็ดีขึ้น
หลวงพ่อ : เห็นผลเลยเห็นไหม
โยม : แต่ว่าอีก ๒ วันผมลองกลับมา ๒ วันที่แล้ว ลองกินดู มันง่วง..
หลวงพ่อ : มันเห็นผล พอคนเราเห็นผล ทำไมมันจะไม่ลงทุนลงแรง ทีนี้ถ้าคนไม่เข้าใจ พอคนไม่เข้าใจ เห็นเขาทำก็ว่าเขาอัตตกิลมถานุโยค เห็นเขาทำอะไรก็ ทำอะไรนี้แอคชั่น อยากดัง อยากใหญ่ มันไม่คิดหรอกว่า คนที่เขาทำเขาเห็นผล ผลของเขา ไม่งั้นใครจะมาอดข้าว หิวตายห่า.. อดข้าวไม่หิวไม่มีหรอก
โยม : อ๋อ.. ลงภวังค์นี่คือผมหลุดไป
หลวงพ่อ : ใช่..
โยม : แต่หลวงพ่อ....บอก พรหมลูกฟักนี่คือ เออ..ตัดสัญญา คือไม่มีสัญญา เดินไปไม่หมายเลยว่า ตรงนี้คืออะไร ไม่มีอะไร ทื่อ บื่อไปเลย นี่คือพรหมลูกฟัก
หลวงพ่อ : ไม่มีทาง เดินไปมันรับรู้อยู่แล้ว ไม่รู้ได้อย่างไร ถ้าไม่รู้มันต้องไม่เดิน
โยม : เขาบอก เขาบอกจะแข็งๆ ทื่อๆ แข็งๆ เดินไปไม่รับรู้อะไร คือพรหมลูกฟัก ไปเกิดบนพรหมลูกฟัก
หลวงพ่อ : โธ่.. เวรกรรมเอ้ย.. แข็งๆ ทื่อๆ ใครมันเดินได้
โยม : มันแข็งๆ ที่จิตใจ จิตใจแข็งๆ แบบ มือก็ไม่รู้ว่าเป็นมืออะไรอย่างนี้ ก็คือว่าเป็นเนื้อ เป็นอะไร ไม่หมายว่ามันคืออะไร
หลวงพ่อ : ถ้าพูดอย่างนี้แล้ว เราเข้าใจเลยว่า เขาเคยเป็นอย่างนี้ คนที่พูดอธิบาย คือประสบการณ์ของเขา
โยม : อ๋อ.. มีสิทธิ์พรหมลูกฟัก
หลวงพ่อ : ไม่ใช่! คือจิตมันไม่รับรู้ จิตมันต่างกันอย่างนี้นะ เราเคยเป็นไหม เราถือว่าบางวัน เราสบายใจ สิ่งใดผ่านไปผ่านมา จิตไม่รับรู้ เอ็งเคยเป็นไหม คือนั่งเห็น เห็นอะไรอยู่ แต่ไม่รับรู้น่ะ
โยม : ไม่เคยเป็นอัตโนมัติ เคยเห็นแต่ว่ามันต้องปล่อย
หลวงพ่อ : เป็น
โยม : ต้องบังคับให้มันไม่เป็น
หลวงพ่อ : ไม่
โยม : อ๋อ.. หมายถึงเหม่อ
หลวงพ่อ : ใช่!
โยม : เออ.. ถ้าเกิดเหม่อเป็นหลวงพ่อ
หลวงพ่อ : พอเราสบายๆ เย็นๆ นั่งอยู่เห็นไหม นั่งสบายๆ มันผ่านไปผ่านมาไม่รับรู้อะไรหรอก การเหม่อคือจิตมันไม่รับรู้ เพราะอะไร เพราะเดินอยู่ไม่รู้ มันเป็นไปไม่ได้ มันขยับ การเดินอยู่ จิตมันทำงานอยู่ มันก้าวเดินอยู่ แล้วเอ็งไม่รู้สึกตัว มันเป็นไปได้อย่างไร
โยม : ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน ผมก็ไม่เคยเป็น นี่เดี๋ยวจะเป็นพรหมลูกฟักอะไรอย่างนี้ อ๋อ.. พรหมลูกฟักมันเป็นอย่างนี้เหรอ
หลวงพ่อ : ไม่ใช่! พรหมลูกฟักหมายถึงตกภวังค์ จิตนี่เข้าภวังค์ เข้าสู่ภวังค์
โยม : แต่ต้องตายตอนภวังค์ด้วยใช่ไหมหลวงพ่อ
หลวงพ่อ : ไม่ต้องตายภวังค์ มันเคย พอเราเข้าจนชำนาญ พอเข้าชำนาญ มันเป็น จิตมันเป็นไง พอจิตมันเป็นไป พอถึงเวลามันตาย มันก็เข้าตรงนั้นละ เพราะมันอัตโนมัติ มันเคย มันคล่องตัวจนขนาดนั้น
โยม : คือตอนตายเราบังคับมันไม่ได้อยู่แล้ว มันจะไปทางไหนมันก็ไปของมัน
หลวงพ่อ : ตอนตายมันเป็นอย่างนั้น ตอนตาย คนมีคุณสมบัติความดีทางไหนมันก็เข้าตรงนั้น เอ็งฝึกอะไรมาก็ตรงนั้นแหละ เพราะคุณสมบัติของจิตเป็นอย่างนั้น มันเข้าพรหมลูกฟักเคย มันก็ว่าดี พอมาถึงมันเข้าพรหมลูกฟัก พอไปเกิดพรหมลูกฟัก อ้าว.. ฉิบหาย
โยม : พรหมลูกฟักคือไม่รู้ตัวเลยใช่ไหมหลวงพ่อ เขาก็อยู่อย่างนั้นของเขา
หลวงพ่อ : ใช่ อยู่อย่างนั้นล่ะ อยู่นิ่ง เฉย.. เขาอยู่อย่างนั้นน่ะ พรหมลูกฟัก อยู่อย่างนั้นน่ะ
โยม : อ้าว.. อย่างนี้ถ้าเกิดผมเคยบ่อยๆ ผมก็ซวย
หลวงพ่อ : ไม่เกิดง่ายๆ หรอก มันก็ไม่ใช่ว่าไปง่ายๆ หรอก ไอ้ที่พูด เพียงแต่ว่าไอ้ที่พูดนะ เพราะว่าเวลาปฏิบัติ เหมือนเรา เอ็งสอนกูอย่างนี้ เป็นขี้ทูตกุดถัง ไอ้คนขี้ทุกข์ขี้ยาก แล้วมาคุยกันว่า เงินพันล้านพันล้าน มึงบ้าหรือเปล่า ไอ้เราแม่งมีตังค์ที่ไหน แล้วก็มาคุยกัน อู๊ย.. กูมีพันล้านทำอย่างนั้นอย่างนั้นอย่างนี้ ไอ้นี่ก็เหมือนกัน ไอ้ว่าพรหมลูกฟักนะ เข้าภวังค์ ตกภวังค์ จิตภวังค์ มันเป็นเรื่องของนักปฏิบัติ นี่พอเป็นเรื่องนักปฏิบัติ อันนี้เราจะพูดมุมกลับ นักธุรกิจ เขาบริหารเงินคนละพันสองพันล้านทั้งนั้นน่ะ บริหารเงินพันสองพันล้าน
เขามาดูคน ไอ้พวกกรรมกร คนละเรื่องเลย จะบอกว่าเป็นพรหมลูกฟักมันก็เหมือนกับผู้บริหารนั่นน่ะ แต่บริหารผิด พอบริหารผิดขึ้นมา ไอ้เงินพันจะอยู่ไหม พันล้านน่ะอยู่ไหม มันไม่อยู่มันก็ต้องหมดไป นี่เวลาพูดถึงผู้ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ แบบครูบาอาจารย์ที่เป็นโสดาบัน สกิทาคา อนาคา พอหันมาดูพรหมลูกฟัก มันถึงเป็นโทษไง แต่ถ้าพูดถึงคนที่ไม่ได้ไม่มีเห็นไหม ไอ้พันล้านมันสำคัญไหม โธ่..ใช่มันเป็นโทษต่อเมื่อที่คนอย่างพระพุทธเจ้า อย่างครูบาอาจารย์ท่านเห็นโทษของมันว่าพรหมลูกฟัก มันทำให้จิตมาติดตรงนี้ มันถึงขั้นสู่อริยภูมิไม่ได้ ใจเรามันบอกว่า มันเลว มันเลวไปหมด เลวๆ มึงมีหรือเปล่า
โยม : คืออย่างไร อย่างไรมันก็ต้องผ่าน จิตมันต้องผ่านอยู่แล้ว
หลวงพ่อ : ใช่! แต่จิตมันมี ของมันมี ของมันเป็นขั้นตอนที่มันต้องเป็นไปเห็นไหม ฉะนั้นเราเองต่างหาก เราต้องคอนโทรลนะเว้ย..เป็นผู้รักษาจิตไม่ให้มันลงสู่ตรงนั้น อย่างที่เราเพราะอย่างเราเคยลงอย่างนี้ปั๊บ เราเปรียบเทียบแล้วเอามาเทศน์บ่อยมาก บอกว่าเวลาขับรถไปคอสะพาน ถ้าคอสะพานขาด เอ็งข้ามสะพานแล้วข้ามสะพานนั้นได้ไหม ไม่ได้..เพราะคอสะพานขาด เอ็งต้องถมคอสะพานนั้นให้เต็ม ถ้าคอสะพานนั้นเต็ม รถเอ็งจะวิ่งผ่านสะพานนั้นไปเลย
ถ้าตกคอสะพานนั้นคือพรหมลูกฟัก ผ่านสะพานเข้าไปเข้าสมาธิไง ฉะนั้นเวลาเราพุทโธๆ เราถึงถมคอสะพานนั้น โดยตั้งสติ พุทโธๆๆ แล้วคอยรั้งไว้ คือไม่ให้ลงคอสะพานนี้ ถ้าไม่ลงคอสะพานนี้ก็ไม่ลงภวังค์ ถ้าไม่ลงคอสะพานนี้ พอพุทโธๆๆ อยู่กับพุทโธ แล้วพุทโธจะสงบได้อย่างไร พุทโธ ตะโกนพุทโธไปเลย สงบเดี๋ยวมันสงบ พอมันข้ามสะพานไปแล้ว มึงจะรู้เองว่ามึงจะข้ามได้หรือไม่ได้
โยม : แต่ก่อนนี้เดินผมยังตกภวังค์
หลวงพ่อ : เออ..
โยม : เดินตกยืนเป็นหัวตอ โอ้ย.. สมาธิเหรอนี่
หลวงพ่อ : เราไม่เชื่อนะ เราไม่เชื่อว่าเป็นการตกภวังค์เป็นอะไร เราไม่เชื่อ ไม่เชื่อเพราะอะไร เพราะเป็นการที่พวกเอ็งอยู่กับอาจารย์ อยู่กับพวกอาจารย์ที่สอนอย่างนี้ อาจารย์เอ็งสอนอย่างนี้ว่าอย่างนี้คือภวังค์ แล้วทำอารมณ์ให้เป็นอย่างนี้ เราจะบอกว่านี่คือสัญญาอารมณ์ ไม่ใช่ภวังค์
โยม : เพราะตอนนั้นผมยังไม่รู้เลยว่าภวังค์คืออะไร
หลวงพ่อ : ใช่
โยม : ต้องมารู้ ต้องมาเป็นก่อน แล้วถึงมาดูทีหลังว่า เฮ้ย.. เออ.. ที่เราบอด ตอนแรกผมเข้าใจผิดว่า นี่มันคือสมาธินะ นี่แหละคือสมาธิ โห.. มันสดชื่นมันสบายนะ พอไปอ่านอีกที อ้าว.. สมาธิต้องมีสติตลอด ตลอดสาย มันไม่ใช่ นี่ภวังค์
หลวงพ่อ : ไม่.. เพราะคำว่าภวังค์ ภวังค์ เราดูแล้วนี่นะว่า อาจารย์สอนมันไม่เป็น พออาจารย์สอนไม่เป็น ไอ้คำว่าภวังค์ คำว่าสมาธิ คำว่าสัมมาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิอะไร มันอยู่ในพระไตรปิฎก แล้วครูบาอาจารย์ของเรา เอาตรงนี้มาสอนมาบอก มาคอยป้องกันกัน ทีนี้คนที่ไม่เป็น คนที่สอนไม่เป็น เขาไม่มีมุข ไม่มีอะไรเล่นใช่ไหม เขาก็สร้างอารมณ์ขึ้นมาว่า อย่างนี้คือภวังค์ อย่างนี้คือมิจฉาทิฏฐิ อย่างนี้คือไม่ใช่ภวังค์ อย่างนี้ก็เหมือนกัน คือไม่มีอะไรเลย คือสัญญาอารมณ์หมด สร้างอารมณ์สร้างความรู้สึก เรามองพวกนี้เป็นอย่างนี้ เราตีความพวกนี้เป็นอย่างนี้นะ
โยม : ที่ดูจิตเหรอ หลวงพ่อ
หลวงพ่อ : ใช่
โยม : แต่ดูจิตจริงๆ ตอนที่ผมฝึกดูนะหลวงพ่อ มันก็ใช่ มันก็เข้า สามารถเข้าได้นะ
หลวงพ่อ : เข้าอะไร
โยม : เข้าไอ้ที่เห็น แต่ว่ามันคือปัญญาอบรมสมาธิ มันไม่ใช่
หลวงพ่อ : ใช่..
โยม : คือมันเข้าได้เหมือนกัน แต่ว่ามันจะเข้าแบบฟลุ๊คๆ
หลวงพ่อ : ไม่.. ถ้าเอ็งมีสติทำตามไปเรื่อยๆ มันเข้าได้ แต่มันจะเข้าได้ถูกต้อง ต่อเมื่อคนที่เป็นจริงสอน คนที่เป็นจริงสอน เขาจะรู้ว่าลักษณะของจิตว่าอย่างนี้ มันเป็นสมาธิหรือยัง หรือมันจะไม่เข้าสมาธิ ถ้าเอ็งบอกตามข้อเท็จจริง เหมือนขับรถ เอ็งไปตามไอ้กฎจราจร ตามถูกต้อง เอ็งจะไม่ผิดพลาดเลย แต่ถ้าคนมันไม่รู้กฎจราจร ไม่รู้เครื่องหมายจราจร เลี้ยวซ้ายบอกเลี้ยวขวา เลี้ยวขวาบอกเลี้ยวซ้าย เขายูเทิร์น บอกว่าห้ามยูเทิร์นอย่างนี้เห็นไหม มันบอกให้เราไปผิดกฎหมาย ผิดกฎจราจร ตำรวจจับทั้งนั้นน่ะ นี่โดยข้อเท็จจริงนะ
แต่ทีนี้การปฏิบัติ ในการปฏิบัติ เพราะเขาไม่รู้กฎจราจร พอเขาไม่รู้กฎจราจร แต่เขาได้ยินคำเขาพูดเรื่องจราจรอยู่ โธ่..เรามีทัศนคติมีความเห็นอย่างนี้มานาน แต่ไม่พูดออกมา เพราะในเมื่อคนมันไม่รู้จักกฎจราจร แต่ได้ยินเขาพูดเรื่องกฎจราจรใช่ไหม เหมือนคนตาบอดไม่เคยเห็นว่าเลี้ยวซ้ายเป็นอย่างไร เลี้ยวขวาเป็นอย่างไร มันก็เลยบอกถ้าเลี้ยวขวาก็ต้องจินตนาการที่มันคิดขึ้นมา มันเลยบอกอย่างนี้เป็นภวังค์ อย่างนี้เป็น ไม่มีหรอก
โยม : วันก่อนก็ไป ไม่มีอะไร ผมก็เอาหนังสือหลวงพ่อ....มานั่งอ่าน เป็นตอนหนึ่งที่บอกว่า เออ.. หลวงพ่อ....สอนสมถะ ผมก็มานั่งอ่านดู หลวงพ่อ....สอนสมถะบอกว่า เออ.. สมถะทำยากนิดหนึ่ง แต่ว่าทำได้ ให้เอ่อ..อะไรนะ วิตกคือการตรึก วิจารคืออะไร คำพูดอะไรที่บอกว่ามันจะลงสมาธิจริงๆ ต้องไม่จงใจ ไม่จงใจ แล้วมันจะมีปีติขึ้นมา ผมก็..ว่าไม่จงใจ
หลวงพ่อ : พ.ศ.ไหน หนังสือ ?
โยม : หนังสือ....หลวงพ่อ.... เล่มสีฟ้าใหญ่ๆ เล่มใหม่นี่ครับ ผมเปิดแล้วผมก็นั่ง เออ..ถ้าเกิดจงใจ จงใจวิตกวิจาร จะไม่ใช่สมาธิจริงๆ ถ้าเกิดช่วงไหนที่มัน จิตมันใคร่ครวญของมันเอง เขาบอกอย่างนี้ จิตใคร่ครวญ นึกถึงคำภาวนาของมันเอง ปีติจะเกิดขึ้น เขาพูดอย่างนี้
หลวงพ่อ : มันก็เป็นความเห็นของเขา มันเป็นความเห็นของเขา เพราะวิตกวิจาร ประสาเราน่ะ เรารู้เลยพูดผิด พูดผิด เพราะพูดเท่านี้ก็ผิดแล้ว เพราะวิตก อะไรคือวิตก นี่ประสาเรานะ ถ้าพูดวิตก อะไรคือวิตก อะไรคือวิจาร แม้แต่วิตกวิจาร เขายังพูดว่ามันวิตกขึ้นมาเป็นพุทโธอย่างไร มันถึงเป็นพุทโธ แล้วพอจิตคิดไปเอง คิดไปเองอย่างไร
จิตคิดไปเองนะ นั่นน่ะคือตัววิตกวิจาร เพราะวิตกน่ะ มันไม่มีหรอก วิจารก็ไม่มี มันเป็นตัวหนังสือ แต่ถ้ามึงคิดขึ้นมาถึงมี อ้าว..น้ำนี่ เขียนว่าน้ำ ถ้ามึงไม่ตักน้ำขึ้นมา น้ำนี่จะมีไหม เขียนว่าน้ำนี่ มันเป็นน้ำขึ้นมาได้ไหม เขียนว่าวิตก มันจะวิตกขึ้นมาได้ไหม ถ้าจิตไม่วิตกขึ้นมา
โยม : ไม่ได้
หลวงพ่อ : อะโธ่..
โยม : ไม่รู้ ผมก็งง ว่าเอ๊ะ.. อ้าว..แล้วทำไมผมก็มาเทียบว่า เอ๊ะ.. แล้วทำไมวันนั้นผมพุทโธๆ พุทโธไปแล้วปีติมันเกิด
หลวงพ่อ : เกิด
โยม : ทั้งๆ ที่จงใจ
หลวงพ่อ : จงใจหมด ต้องจงใจ ต้องตั้งใจหมด เพราะตั้งใจ
โยม : เราจงใจแทบตายนะ แต่เขาบอกว่า แต่หลวงพ่อ....บอกว่า ถ้าเกิดจงใจ เราเข้าสมาธิ ไม่ใช่สมาธิจริง ต้องให้จิตมันวิตกวิจารเอง ตรึกเอง แล้วมันถึงจะมีปีติขึ้นมา อันนั้นน่ะของจริง โอ้.. ผมอ่านแล้วงงเลย โอ้..
หลวงพ่อ : หนึ่งเพราะมันงง มันงงเพราะเขาทำไม่เป็น บอกแล้วถ้าทำเป็นนะ เป็นไม่เป็น ไม่ต้องไปอ้างใครอะไรเลยน่ะ คำพูดของคนพูดนั่นล่ะมันฟ้อง
โยม : อยู่ใน..... ผมว่าจะหยิบมาแล้วล่ะหลวงพ่อ พอดี
หลวงพ่อ : มี เดี๋ยวเราให้ดู ของเรามี
โยม : .........เล่มสีฟ้า เขียนว่า เออ.. หลวงพ่อ....สอนสมถะอะไรอย่างนี้
หลวงพ่อ : กลับมาสอนสมถะ เรานึกว่าเพิ่งออกใหม่
โยม : อ๋อ.. ไม่ใช่ฮะ
หลวงพ่อ : ถ้าเพิ่งออกใหม่ แสดงว่าเพราะตอนนี้เห็นว่ากลับลำน่าดูเลย
โยม : เหรอฮะ แต่มันแปลก พอพลิกมาปุ๊บเจอพอดีเลย พลิกหน้านั้นเจอ อ้าว..นั่งอ่านดู เออ.. รู้สึกจะสอนปี จำไม่ได้แล้ว ปีไหน ตอนนี้เปลี่ยนแล้วเหรอฮะ
หลวงพ่อ : ตอนนี้ให้กลับมาทำสมาธิ ตอนนี้ไปพูดที่ไหนมันให้กลับมาทำสมาธิ ทุกอย่างต้องพุทโธหมด กลับลำ เพราะว่าเห็นมาพูด ว่าเคยฝึกสมาธิกับ หลวงปู่ลีวัดอโศการามมาตั้งแต่เด็ก
โยม : ใช่.. ตั้งแต่ ๗ ขวบ
หลวงพ่อ : ตอนนี้อ้างใหญ่เลย อ้างใหญ่
โยม : ๗ ขวบ แล้วก็อยู่กับอานาปานสติ เห็น.. ท่านเห็นแบบ หายใจเข้าก็เป็นสาย เป็นเกลียวงี้ ขาวเกลียวเป็นสาย แล้วก็เห็นนู่นเห็นเทวดาเห็นผี เห็นว่าบอกว่าไปปฏิบัติที่หนึ่ง แล้วมีวิญญาณมีอะไรมานวดขาให้ บุ๋มลงไปเลยอย่างนี้ สบายกดบุ๋ม ก็มีไปช่วย มีไปเห็นคนฆ่าตัวตายข้างบ้าน เห็นวิญญาณเห็นอะไร
หลวงพ่อ : ถ้าอย่างนี้แล้ว ถ้าพุทโธมันเป็นอย่างนี้ แล้วทำไมไปสอนดูจิตล่ะ ถ้าพูดถึงพุทโธแล้ว
โยม : ท่านบอกท่านติดสมถะ ยกขึ้นวิปัสสนาไม่เป็น พอมาเจอหลวงปู่ดูลย์ สอนให้ดูจิต ก็คือท่านคิดว่าเป็นวิปัสสนา
หลวงพ่อ : แล้วเวลาบอกว่าไปหาหลวงตา แล้วหลวงตาบอกให้พุทโธ เขาพุทโธไม่ได้
โยม : เออ.. เขาบอกว่าตอนไปหาหลวงตา หลวงตาว่า โอ้ย..ดูไม่ถึงจิตแล้ว หลวงตาบอกอย่างนี้ว่า ที่ดูจิตๆ ดูไม่ถึงจิตแล้ว เออ..ต้องเชื่อเรานะ เราผ่านตรงนี้มาแล้ว ต้องเชื่อเรานะ อะไรก็สู้คำบริกรรมไม่ได้
หลวงพ่อ : นั่น
โยม : แล้วหลวงพ่อ....ก็เขียนเองในหนังสือว่า เอ่อ.. ท่านก็มาคิดว่า อ๋อ.. เราคงขาดสมถะแล้วล่ะ พอตอนนั้นเรากลับบ้าน ท่านก็กำหนดจิต กำหนดหนึ่ง นับหนึ่งสองสาม เออ.. หายใจเข้านับหนึ่ง หายใจเข้านับสอง พอถึงประมาณสักสิบ จิตรวมเลยหลวงพ่อ พอจิตรวมปุ๊บ ออกมาปุ๊บ โอ้.. สบายละ คราวนี้ไอ้ที่ปุ๊บๆๆๆ รำคาญๆ นี่
หลวงพ่อ : ได้สมถะแล้ว
โยม : เออ.. ที่มันปุ๊บๆๆๆ รำคาญๆ แล้วมันตัดไม่ขาดนี่ คราวนี้มันตัดโชะๆๆๆๆ เลย ท่านบอกอย่างนี้
หลวงพ่อ : อันนี้หนึ่ง แล้วเวลาที่เขานี่ ลูกศิษย์เขามาเล่าให้ฟังเยอะมากเลยบอกว่า ไปหาหลวงตาแล้ว หลวงตาให้ใช้พุทโธ เขาพุทโธไม่ได้ ทำสมถะไม่ได้ ทำสมาธิไม่ได้ เขาถึงไม่เอาพุทโธ
โยม : อ๋อ..อันนี้ไม่รู้เหมือนกัน แต่ว่าที่ผมฟังผมก็ฟังมาเยอะนะหลวงพ่อ ผมว่าผมฟังมาเยอะมาก
หลวงพ่อ : แล้วคำที่เราพูดนี่ไม่มี เพราะมีลูกศิษย์มาเล่าให้ฟังเหมือนกัน บอกตรงนี้ เพราะไปหาหลวงตา
โยม : ที่พุทโธไม่ได้ไม่มีนะหลวงพ่อ
หลวงพ่อ : ไปหาหลวงตา หลวงตาบอกว่าให้กำหนดพุทโธ แล้วเขาบอกเขากำหนดพุทโธไม่ได้
โยม : อ๋อ..เขาไม่ได้พูดอย่างนี้ เขาพูดว่า เออ..หลวงตาบอกว่า นี่..อะไรก็สู้คำบริกรรมไม่ได้ ต้องเชื่อเรานะ เราผ่านอย่างนี้มาแล้ว ดูจิต ที่บอกว่าดูจิตๆ ดูจิตไม่ถึงจิตแล้วนะ เออ.. แล้วท่านก็ว่า โอ้ย.. ตอนนั้นท่านก็รู้ว่า ท่านหลวงพ่อ....รู้เลยว่า เออ..ท่านน่ะขาดสมถะ พอขึ้นรถกลับบ้านปุ๊บก็กำหนด หายใจเข้านับหนึ่ง หายใจออกนับสอง พอถึงสิบปุ๊บ จิตรวมปุ๊บ รวมปุ๊บ พอคลายตัวออกมาคราวนี้ เพราะหลวงพ่อบอกว่าท่านติด ท่านติดตรงที่ว่า มันเขาบอก มันเป็นสภาวะยิบยับๆๆๆ แล้วมันรำคาญ แล้วมันเหนื่อยทั้งวันทั้งคืนเขาบอก ทั้งวันทั้งคืนแล้วยิบยับๆๆๆ มันเหนื่อย
พอไปหาหลวงพ่อพุธ หลวงพ่อพุธก็ โหย.. นั่งแก้ขนาดญาติโยมไม่รับเลย บอกว่าญาติโยมเอาไว้ก่อน แก้กรรมฐานสำคัญกว่า ท่านนั่งแก้ นั่งแก้เป็นชั่วโมงๆ เลย แก้ไม่ได้ ก็ไปหาหลวงตามหาบัว พอหลวงตามหาบัวเสร็จก็ เออ.. ก็มานั่ง ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ จิตรวมปุ๊บ ออกมาปุ๊บคราวนี้สบายตัดชั๊บๆๆๆๆ เหมือนเดิมเลย ท่านถึงบอกว่า ตั้งแต่นั้นท่านเลยรู้ว่า เออ..สมถะก็สำคัญ เป็นส่วนหนึ่งของกรรมฐานพูดอย่างนี้
หลวงพ่อ : มันต้องจับตรงนี้ จับตรงที่ว่า จับที่ว่า ที่ว่าเราบอกว่า จริงหรือไม่จริง คำพูดมันฟ้อง ตัดชั๊บๆๆๆ ตัดอะไร
โยม : ก็เหมือนสมาธิไล่ปัญญา
หลวงพ่อ : ใช่.. มันไปตัดอะไร มันตัดอะไรไม่ได้ มันตัดอะไรไม่ได้ มันไม่มี คือไม่มีฐานไม่มีอะไร ถ้าคนมีฐาน อย่างที่ว่าคนมีฐาน ดูสิ..ดูตั้งแต่ท่านหลวงปู่มั่นลงมาเลย ท่านจะเคารพบูชา สติ สมาธิ ปัญญา เคารพมากเลย แล้วมันต้องมาเป็นขั้นตอน พอมันเป็นขั้นตอนนะ เวลาเป็นขั้นตอนของมัน มันจะพัฒนาของมันขึ้นมา ฉะนั้นถึงบอกว่า อันนู้นไม่จำเป็น อันนี้ไม่จำเป็น ไม่ได้เลย มันจำเป็นทุกอย่าง แต่จำเป็นตอนไหน จำเป็นขั้นไหน
ทีนี้พอมาถึงว่า ห้ามทำอย่างนู้น ให้ทำอย่างนี้ โอ้.. มันใช้ไม่ได้หรอก มันฟ้องถึงว่า เหมือนเราเนรคุณ เรานี่สติเป็นพื้นฐาน สมาธินี่เป็นพื้นฐาน เราจะเนรคุณสติสมาธินี้ไม่ได้เลย แล้วเวลาเราใช้ปัญญาขึ้นไป ถ้าพูดถึงสติสมาธิเป็นพื้นฐาน แล้วพื้นฐาน ถ้าติดอยู่ที่สมาธิ เราไม่มีปัญญาเลย เราจะพัฒนาไปได้อย่างไร เราภาวนาไปไม่ได้เลย ถ้าคนภาวนาไปแล้ว คำว่าติดสมาธิ ติดสมาธิ เพราะมันไปยึดสมาธิ เห็นว่าสติกับสมาธิเป็นพื้นฐาน แล้วเห็นคุณค่ามันอยู่ กอดมันอยู่ก็ตาย
ถึงเวลาแล้ว มันก็ต้องพัฒนาขึ้นมา ใช้ปัญญา โดยมีสมาธิเป็นพื้นฐาน ทีนี้สมาธิเป็นพื้นฐานเห็นไหม พอเข้าไปปัญญา หลวงตาท่านถึงพูดเลย เวลาไปอยู่กับหลวงปู่มั่น เวลาที่ท่านออกจากสมาธิมา วันนี้นะออกจากสมาธิแล้วนะ ตอนนี้ใช้ปัญญานะ ไม่ได้พักเลยนะ หลวงปู่มั่นบอก นั่น..ไอ้บ้าสังขาร เห็นไหม พอเวลาคนออกมาแล้ว ขณะที่คนออกมาแล้ว ยังเห็นโทษเลยว่าการติดสมาธิ มันไปนอนตายอยู่นั่น ไม่เป็นประโยชน์อะไรเลย
ขณะที่เราผ่านสมาธิมาแล้ว เราเห็นว่าการติดนี้เป็นโทษเลยล่ะ แต่คราวนี้ภาวนาไปแล้ว พอจิตมันรู้จริงขึ้นมาแล้ว ถ้าไม่มีสมาธิมันจะเกิดปัญญาอย่างนี้ได้อย่างไร เราจะบอกว่าคนที่ภาวนามาเป็นนี่นะ เขาจะไม่มาดูถูกสมาธิ จะไม่ดูถูกสติเด็ดขาด แต่นี้ถ้าไปดูถูกสมาธิ ไปดูถูกสติ ไปดูถูกต่างๆ แล้วบอกไอ้นั่นจริงไอ้นั่นปลอมน่ะ มันปลอมทั้งนั้น ไม่มีอะไรจริงสักอย่างหนึ่ง มันเป็นสมมุติหมด มันมีอะไรจริงวะ
โยม : ผมไม่รู้เหมือนกัน
หลวงพ่อ : แต่สมมุตินี่ เราพัฒนาขึ้นมาจนสมมุติบัญญัติ แล้ววิมุตติล่ะ มันมีสติจริงสติปลอมที่ไหน กูอยากรู้นัก ไอ้ปัญญาจริงปัญญาปลอม มึงบอกกูทีอยู่ตรงไหน สมมุติทั้งนั้น สมมุติบัญญัติทั้งนั้น แต่ต้องอาศัยสมมุติบัญญัติก้าวเดินไป ไม่มีสมมุติบัญญัติ มึงจะไปได้อย่างไร นี่ถึงบอกว่าคนจริง คนที่เป็นจริงน่ะนะ ถ้าเราบอกว่า สติสมาธิไม่มีประโยชน์ หรือทำแล้วไม่มีประโยชน์ มันเหมือนกับทำลายคนปฏิบัติทั้งหมดเลย ทำลายศาสนาเลย เพราะคนปฏิบัติเข้าถึงความจริงไม่ได้
การจะเข้าถึงความจริง มันก็ต้องอาศัยสติ อาศัยสมาธิ แล้วมันจะเกิดปัญญาความจริงขึ้นมา ต้องอาศัยสิ่งนี้เป็นพื้นฐานขึ้นมา ทั้งๆ ที่ว่า มัน..ตัวมันเองน่ะ ถ้าติดมันน่ะก็โทษ แต่ถ้าไม่มีมันก็เป็นขึ้นมาไม่ได้ มันเหมือนเด็กเลย เราจะสอนเด็กไปดีอย่างไร ทำตัวอย่างไร เด็กที่ไปดีอย่างไร แล้วเด็กบอกว่า มึง พื้นฐานมึงไม่ต้องทำอะไร เป็นผู้ใหญ่มาเลยอย่างนี้ มันเป็นไปไม่ได้หรอก
โยม : แต่หลวงพ่อท่านเคยบอกว่า ทีหนึ่งว่า เออ..ถ้าเกิดปัญญาคือว่าทำอย่างนี้ ทำปัญญาอบรมสมาธิ คือตามไล่ความคิดไล่จิต ตัดๆๆ ปุ๊บ แล้ววิปัสสนาคือมองให้มันเห็นเป็นไตรลักษณ์
หลวงพ่อ : ว่าไป
โยม : มองให้เป็นไตรลักษณ์คือ อย่าง เออ.. อย่างจิตอย่างนี้ ก็ดูว่า เออ.. มันเป็นอนิจจัง บางทีจิตคิดไปเอง หรือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ทำไปเอง มันเป็นของมันเอง มันเป็นอนัตตา คือทำอย่างนี้บ่อยๆ ปุ๊บ แล้วปัญญาจะเกิด พอปัญญาเกิดปุ๊บ ท่านบอกว่า อุ๊ย.. ถ้าเกิดปัญญาบางที ปัญญาเกิดทีหนึ่งนะ ปัญญาแท้ๆ เกิดทีหนึ่งนะ มีความสุขไป ๗-๘ วันอย่างนี้
หลวงพ่อ : เราฟังอย่างนี้นะ เรารับไม่ได้เลย ถ้าเราฟังอย่างนี้
โยม : ไม่ได้
หลวงพ่อ : ไม่ได้เลย
โยม : อ๋อ.. วิปัสสนาไม่ใช่ว่าเห็นทุกอย่างเป็นไตรลักษณ์
หลวงพ่อ : เราฟังอย่างนี้ เรารับไม่ได้เลย เราถึงบอกว่า ที่เราพูดน่ะ ไม่เป็น ไม่เป็นมาแต่ต้น แล้วต่อไป แล้วอนาคต ไม่เป็นตลอด ใช้ปัญญาไป ปัญญาไป แล้วมันจะเกิดปัญญาเอง แล้วจะเกิดไตรลักษณ์ เกิดตรงไหน แล้วเกิดอย่างไร
โยม : ท่านบอกให้มองเป็นไตรลักษณ์
หลวงพ่อ : นั่นไง ให้มองเป็นไตรลักษณ์เห็นไหม เขา เพราะคำว่าให้มองเป็นไตรลักษณ์คือมันไม่มีไง ให้มองเป็นไตรลักษณ์ แล้วมองตรงไหน แล้วมองอะไรล่ะ
โยม : อย่างที่ผมรู้สึกนะว่า อย่างตาเราไปกระทบรูปจะมีความรู้สึกขึ้นมาความรู้สึกเราควบคุมไม่ได้ มันไม่ใช่จากเรา ไอ้เราอยากให้มันเฉยๆ แต่มันไม่เฉยหรอก
หลวงพ่อ : ไม่เฉยหรอก
โยม : เออ.. อย่างนี้ คืออนัตตา เป็นอนัตตา ให้ดูตรงนี้
หลวงพ่อ : อนัตตาก็ในหนังสือไง คือพยายามจะบอกให้มันเป็นอนัตตาไง พยายามจะบอกให้มันเป็นอนัตตา เราถึงบอกว่ามันเป็นไปไม่ได้ ที่เราบอกว่ามันเป็นไปไม่ได้ คือเป็นไปไม่ได้ เรารับไม่ได้ ฟังไม่ได้ก็ตรงนี้ไง เราฟังไม่ได้เลยนะ ที่พูดมาผิดหมด เราถึงบอกคนไม่เป็นพูดผิดหมด ไอ้ที่กระทบ อะไรกระทบวะ
โยม : ก็รูป รส กลิ่น เสียง
หลวงพ่อ : อ้าว.. แล้วมึงเอาอะไรไปกระทบมัน
โยม : ก็อายตนะ
หลวงพ่อ : อายตนะมันต้องมีจิตด้วย แล้วจิตไปกระทบแล้วจิตมันอยู่ไหน
โยม : จิตท่านบอกว่า จิตไม่ได้อยู่กับที่ จิตเกิดขึ้นที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จิตเกิด เออ.. กระทบตรงไหนจิตเกิดตรงนั้น
หลวงพ่อ : นี่ไง ที่ว่า ของอย่างนี้ ฟ้องมาตลอดว่าไม่เป็นไง
โยม : ผมก็งง เอ.. พอมาอ่านอีกที เอ๊ะ.. ไอ้ที่มันกระทบนี่มันไม่ใช่วิญญาณเหรอ
หลวงพ่อ : เออ.. มันเป็นเปลือกเห็นไหม อย่างที่ว่า มันวิญญาณรับรู้ แล้วจิตมันอยู่ไหน กระทบมันอยู่ข้างนอกไง แล้วมันไตรลักษณ์ อะไรเป็นไตรลักษณ์
โยม : ท่านถึงบอกว่าจิตอะไรนะ จิตเกิดดับ ที่เขาพูดกันอยู่ตอนนี้คือว่า เออ.. จิตนั้นไม่มีดวงเดียว จิตเกิดดับตลอดเวลา หมายถึงตรงนี้ คือแบบ เดี๋ยวก็กระทบตรงนู้นก็คือจิตเกิดที่ตา จิตเกิดที่หู จิตเกิดที่สัมผัส เกิดที่ใจ อันนี้คือจิต
หลวงพ่อ : เวรกรรม
โยม : อันนี้ คือเขาจะมองว่าจิตเป็นอนัตตา จิตเป็นอนิจจัง
หลวงพ่อ : ไม่มีทาง เราจะบอกว่า มองให้มันเป็นอนัตตา พยายามมองให้เป็นอนัตตา นี่ไง เพราะไปมองข้างนอก ไปรับรู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอนัตตา อารมณ์ความรู้สึกนี้เป็นอนัตตา ทุกอย่างเป็นอนัตตา แล้วมองตรงไหนเป็นอนัตตา แล้วตรงไหน แล้วเอาอะไรมอง อย่างที่พูดเมื่อกี้นี้ว่า จิตสงบเห็นไหม พอจิตสงบเห็นไหม จิต ผู้รู้ แล้วเกิดนิมิต เกิดความรู้ สิ่งที่ถูกรู้ เรายังรู้ขนาดนี้เลย แล้วเป็นอนัตตาเป็นตรงไหน มองให้มันเป็นอนัตตา คำนี้นะ คำว่ามองให้มันเป็นอนัตตา คือไม่มีมุมมอง ไม่มีอะไร มองให้มันเป็น
โยม : มองให้มันเป็น อย่างเหมือนกับเกิดนิมิตอย่างนี้
หลวงพ่อ : ใช่
โยม : ท่านบอกว่ามองให้เป็นอนิจจัง เพราะว่ามันไม่อยู่คงที่
หลวงพ่อ : ไร้สาระเลย เกิดนิมิต นิมิตนี้คืออะไร นิมิตบอกว่าเรื่องอะไร ถ้านิมิตเป็นกายท่านก็เห็นกาย ถ้าเห็นกาย ก็ต้องวิภาคะมัน แล้วถ้าไม่เห็นนิมิต ถ้าเห็นนิมิต ไม่ต้องการนิมิต ก็กลับมาที่จิต กลับมาที่พุทโธ นิมิตก็หายไป เอ็งเอาบัญชีมานะ เอาเงินในบัญชีมึงน่ะ บัญชีคือตัวจิต เงินในบัญชีมา แล้วมึงไปมองตัวเลขทั่วๆ ไป แล้วบอกตัวเลขเป็นเงินมึงได้ไหม นี่ก็เหมือนกัน นิมิตคือสิ่งที่รู้ รู้จากข้างนอก มองให้เป็นอนัตตา โอ้โฮ..ย มันเป็นไปไม่ได้เลย มันต้องเห็น เห็นจิตมองอะไร จิตเห็นอะไร จิตวิปัสสนาอะไร แล้วอะไรจะเป็นอนัตตา
โยม : คือ ตรงนั้นเข้าไม่ถึงแน่นอน
หลวงพ่อ : ไม่ถึง
โยม : คือมองอยู่นอกๆ
หลวงพ่อ : เราฟังแล้วนะ มันถึงรับไม่ได้ เราไม่เคยรับเรื่องนี้เลย แล้วเวลาเขาพูดนะ จริงๆ แล้ว เราฟังแล้ว เด็กเล่นขายของกันน่ะ เล่นขายของกัน จิตจะเป็นอนัตตา มองให้เป็นอนัตตา มันไม่ตั้งแต่ทีแรกแล้ว เพราะมันตั้งแต่เริ่มต้นเลย เพราะ! เพราะคำพูดเราพูดกับมึง เราพูดเมื่อกี้นี้ ว่าวิทยาศาสตร์ มันพูดอย่างนี้ มันพูดแบบวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์เพราะมันจับต้องได้ มันเป็นเรื่องโลกไง คือโลกียปัญญา ปัญญาเกิดจากโลก ปัญญาเกิดจากความรู้สึก ความรับรู้ของเรา
แล้วพออธิบายไป ในเมื่อเด็ก ปัญญาชน มันมีการศึกษามา พอมีการศึกษามา มันฟังแล้วมันเข้าใจได้ พอฟังเข้าใจได้ มันก็ฮือฮา ฮือฮากันไป พอ ปฏิบัติธรรมได้ง่าย ทุกอย่างปฏิบัติธรรม แต่คนที่ปฏิบัติจริง โอ้โฮ.. เขา เอ็งยิ่งพูดน่ะ บอกว่า ใช่..ในเมื่อเขาเผยแผ่ไป มีคนเข้ามาสนใจมาก สนใจมากสิ เพราะว่าสนใจมากมันเป็นเรื่องของโลก แต่คนที่รู้จริงเขารู้เลยว่า นี่คือยาเสพติด ถ้าเสพติดอย่างนี้แล้วนะ พูดความจริงไปนะ มันไม่ฟังหรอก เอาสิ่งนี้ให้เขาเสพติด พอพวกนี้มันเสพติด พอเสพติดน่ะ เสพติดความง่าย เสพติดสิ่งที่ตัวเองรับรู้ได้ แล้วสิ่งที่มันละเอียดกว่านี้ เลยไม่รู้เลย
โยม : เขาไม่ฟังหรอกฮะ เพราะว่าตรงนี้มันง่าย แล้วมันเห็นผล
หลวงพ่อ : ก็เห็นผลอย่างนั้นแหละ
โยม : ใช่ เห็นผลอย่างนั้น เห็นผลอย่างที่เขาบอก
หลวงพ่อ : ก็ยาเสพติดไง พอยาเสพติด เขาบอกมองให้เป็นอนัตตา คำว่ามองให้เป็นน่ะ ให้เป็น! แต่มันเป็นในตัวของมันเอง จิตมันเป็นน่ะ ตัวจิตเป็นกับมองให้เป็นมันต่างกันเว้ย.. เวลาเอ็งสุข เอ็งให้มันเป็นหรือมันเป็นเอง
โยม : เป็นเอง
หลวงพ่อ : อ้าว.. แล้วมองให้เป็นได้ไหม อะโธ่.. แค่นี้
โยม : คือถ้าเกิดทำเหตุ มันก็เป็นของมันเอง
หลวงพ่อ : มันต้องเป็น ไม่ใช่มองให้เป็น มันฟังไม่ได้ เราฟังไม่ได้ ทุกอย่างที่เขาพูด ผิดหมด ผิดหมดเพราะอะไร เพราะใจมันผิด ใจมันไม่รู้
โยม : มองให้เป็นกับเห็นเหมือนกันไหมหลวงพ่อ เห็นเขาบอกบางที บางทีเขาบอกว่าให้เห็น เห็นเป็น อนัตตา อนิจจัง อนัตตา คือมันเห็นเลย มันเห็นสภาวะจริงๆ ของมัน ว่ามันบังคับไม่ได้ มันก็เหมือนกัน
หลวงพ่อ : ไม่.. ใช่.. เห็นนี่นะ เวลาเราเห็นคน รู้จริง เห็นจริง เราพูดเราใช้คำว่าเห็นแจ้ง คำว่าเห็นแจ้งนะ พอมันเห็นของมัน มันช็อคอารมณ์เราเลย อย่างที่เวลาเอ็งรู้เอ็งเห็นอะไรเห็นไหม มันช็อคอารมณ์เราขนาดไหน ความรับรู้มันจะดูดดื่มมากขนาดไหน แล้วมันจะมองให้เห็นได้ไหม คือว่าเราจะบังคับให้เห็นอย่างนั้นไม่ได้
โยม : อืม.. แต่บางทีนี่ บางทีมันก็มีความรู้สึกนั้นเหมือนกันนะหลวงพ่อ ว่าบางทีมันกระทบอารมณ์ปุ๊บ มันก็สลดเหมือนกันนะว่า เฮ้ย.. ทำไมจิตเรามันไม่ใช่เรา จิตมันบังคับไม่ได้ มันก็สลดเหมือนกัน
หลวงพ่อ : เราเข้าใจ ไอ้ตรงนี้ ที่โลกเขาติด เขารับรู้กันได้แค่นี้ไง สลดเป็นเรื่องของโลก คนทุกคนบอก เมื่อก่อนปฏิบัติ เป็นคนชั่วทั้งนั้นน่ะ เราเป็นคนกินเหล้าเมายา เป็นคนขี้โมโห เดี๋ยวนี้เป็นคนดีหมดเลย โอ้โฮ.. ปฏิบัติธรรม โหย.. ละได้หมดเลย ความโลภ ความโกรธ ความหลง กูไม่ฟังเลยนะ
โยม : มันไม่ใช่สลดอย่างนั้น มันสลดว่า จิตมันไม่ใช่เรา
หลวงพ่อ : นี่กูเทศน์ให้มึงฟังไง
โยม : อ๋อ.. ครับ
หลวงพ่อ : เราเทศน์ให้ฟัง เวลาคนพูดเขาพูดอย่างนั้นเห็นไหม เพราะอะไร เพราะเขาดีขึ้นมาจริงๆ น่ะ
โยม : ดีขึ้นเพราะว่ามันมีสติยับยั้งชั่งใจ
หลวงพ่อ : ใช่.. เพราะยับยั้งสิ่งที่ว่า สิ่งที่เขาเคยกินเหล้าเมายา เขาเลิกได้แล้วน่ะ เขาเป็นคนดีทั้งนั้นน่ะ แต่มันเป็นเรื่องโลกๆ ดีของสามัญสำนึกโลกไง แต่ธรรมะพระพุทธเจ้าสอนถึงอริยภูมิไง ก็อย่างที่ว่า เมื่อกี้ยาเสพติด พอเสพอย่างนี้ มันก็ไม่เข้านี่แล้วไง ก็ดีแล้ว ที่อย่างนี้กิเลสบังเงา เอาธรรมะมาหลอกลวง หลอกลวงว่านี่เพื่อผู้ปฏิบัติธรรม มีคุณธรรมในหัวใจ แล้วคนที่ปฏิบัติจริงรู้จริง พอบอกอันนั้นผิด อัตตกิลมถานุโยค ทำไมต้องทำขนาดนั้น เป็นอัตตะหมดเลย แต่ไอ้ที่มันรวบรวมคำมา นี่มันของจริงหมดเลย ไอ้นี่ทำจริงนะ อัตตกิลมถานุโยค อยากดัง อยากใหญ่ ทำผิดพลาด
โยม : แต่จริงๆ การนั่งนาน ผมว่ามันไม่ใช่ อัตตะ อัตตะคือเหมือนกับการทรมานกาย มันไม่ใช่ มันขึ้นอยู่กับคนมากกว่า ทำไมบางคนนั่ง ๑๒ ชั่วโมง เขาไม่เห็นคิดว่ามันทรมานเลย
หลวงพ่อ : นี่พูดถึง เวลาคำสอนเขาเห็นไหม เขายังเทศน์บ่อยๆ เราได้ยินบ่อยๆ เลย บอกไอ้นั่งนาน ไอ้นั่งเครียด ไอ้นั่งทำหน้า ฮู.. คนเฮกันใหญ่ เขาแหย่ เขาแหย่ตรงนี้เพราะมวลชน ทำให้เห็นว่าการทำจริงทำจังนั้นน่ะ มันเป็นตัวตลก ทำจริงทำจังนั้นเป็นอัตตกิลมถานุโยคเป็นตัวตลก เป็นสิ่งที่ไม่คุ้มค่า แต่มาเสพติดอารมณ์กันอยู่อย่างนี้ นี่คือของจริง เวลาคำพูดเขา เราตีความคำพูดเขาเป็นอย่างนี้นะ เวลาเขาเทศน์ เขาพูด เขาพูดความหมายเขาเป็นอย่างนี้ พูดว่า ถ้าใครออกมาเป็นสัญญาอารมณ์ เป็นยาเสพติด ที่เสพติดอารมณ์กันอยู่อย่างนี้ อย่างนี้ถูกต้อง
คนที่เขาปฏิบัติตามความเป็นจริง ที่เขาจะต่อสู้กับกิเลสของเขา นั่นเป็นอัตตกิลมถานุโยค นั่นเป็นการปฏิบัติทรมานตน เป็นการปฏิบัติ เพื่ออยากมีชื่อเสียง อยากนั่งนาน เอาเวลาๆ มาอวดกัน คำพูดของเขา เขาพูดให้เห็นอย่างนั้น เพื่อจะให้คนที่เสพอารมณ์ไม่เข้ามาทำตรงนี้ ถ้าไม่พูดอย่างนี้ ไอ้คนที่อยากทดสอบ มันจะทดสอบอะไรผิดอะไรถูก มันจะทดสอบของมันได้ แต่ถ้าพูดอย่างนี้มันป้องกันเอาไว้เลย เสพติดอารมณ์กันอยู่อย่างนี้ อย่าไปไหน ถ้าไปแล้วเป็นอัตตกิลมถานุโยค ปฏิบัติเพื่อให้คนยอมรับ อยากมีชื่อเสียง ไอ้ที่ปฏิบัติเพื่ออยากไม่มีชื่อเสียง ไม่มีหรอก
ถ้ามีชื่อเสียงนะ โธ่.. หุ่นยนต์มันทำงาน ๒๔ ชั่วโมง ดีกว่านี้อีก คนที่เขาปฏิบัติเขารู้เลยว่า อะไรเป็นกิเลสไม่เป็นกิเลส ปฏิบัติเพื่ออวดเขาไม่มีอะไร ไม่มีประโยชน์อะไรหรอก แต่ในเมื่อเราต่อสู้กับกิเลสของตัวเอง พยายามต่อสู้กับไอ้กิเลสในหัวใจที่ให้มันสงบรวบยอดลงในใจ มันต้องใช้ความจริงจัง ใช้สัจจะ ใช้อำนาจวาสนาบารมีเข้าไปต่อสู้ เขาต่อสู้เพื่อตัวเขา เขาไม่อวดใครหรอก ถ้าอวดเข้าไปอยู่ในป่าทำไม แต่นี้เขามาพูดเวลาสอนลูกศิษย์ หลวงตานั่งตลอดรุ่ง ตลอดรุ่งน่ะ เวลาท่านมาสอนลูกศิษย์เฉยๆ แต่เวลาท่านทำ ท่านไม่เคยให้เห็นหรอก แต่พวกนี้มันทำไม่ได้ พอมันทำไม่ได้ขึ้นมา มันก็ตีค่าไปประสามัน ไม่จริง
โยม : แล้วอย่างโสดาบัน อ่านว่า เออ.. จิตบรรลุโสดาบัน เป็น คล้ายกับว่า จิตจะลง หลวงพ่อเทศน์แล้วล่ะ ว่าเออ..จิตลงอัปปนา พออัปปนา เออ หลวงพ่อ....ว่า จิตลงอัปปนาสมาธิเสร็จ แล้วถอนขึ้นมา แล้วจะเกิดปัญญา เห็น..อะไรไม่รู้ล่ะ เห็น ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ถ้าเกิดปัญญาแก่กล้าน่ะ จะเห็น ๓ ขณะเกิดดับ ถ้าเกิดปัญญา เออ.. ถ้าเกิด เออ เขาเรียกว่าอะไร ปัญญา หรือปัญญาไม่แก่กล้า ก็จะเห็นแค่ ๒ ขณะ เสร็จแล้ว กิเลสจะถูกแหวกออกไป เราจะเห็นนิพพาน เห็นสภาวะของนิพพาน ว่าสภาวะนิพพานเป็นอย่างนั้น เสร็จแล้วจะกลบกลับเข้ามา สิ้นสุดกระบวนการ แล้วต่อไปจะมองเห็นตัว มองเข้าไปในใจ จะไม่มีตัวตนละ จะรู้สึกโหวงๆ โล่งๆ โหวงๆ
หลวงพ่อ : โกหกทั้งนั้น
โยม : ไม่ใช่อย่างนี้ใช่ไหมหลวงพ่อ
หลวงพ่อ : โกหกทั้งนั้นไง มันเป็นไปไม่ได้ มันเป็นไปไม่ได้ทุกอย่างเลย เพราะคำพูดมันผิดหมด คำพูดนี่ผิดหมดเลย ขณะนี้มีครั้งเดียว ไม่มีหนึ่งมีสอง
โยม : ขณะมีครั้งเดียว ไม่มีหนึ่งมีสอง
หลวงพ่อ : ขณะที่เป็นมีอันเดียว
โยม : แต่ว่า
หลวงพ่อ : ไม่มีมาเห็น ๒ เห็น ๓ เห็น ๔ หรอก
โยม : แต่ที่บอกว่าไม่รู้อะไรเกิดดับ ๒ หรือ ๓ ขณะ จริงหรือเปล่าที่ว่าไม่รู้อะไรเกิดดับ
หลวงพ่อ : ไม่รู้ก็ควายไง โธ่เอ๋ย.. เราฟัง เราเข้าใจหมดแหละ เราเข้าใจว่าคนไม่รู้จริง มันพูดความจริงไม่ได้ พอพูดความจริงไม่ได้ก็พูดด้วยความลังเลสงสัย อยากจะพูด พยายามศึกษาแล้วพูดมาเพื่อศักยภาพของตัว พูดออกมาแล้ว เพราะมันสงสัยอยู่ คนสงสัย พูดที่หนึ่งก็อย่างหนึ่ง พูดครั้งต่อไปก็ผิดพลาดไปเรื่อยๆ บอกว่าเห็น ขณะ ๑ ขณะ ๒ ขณะ ๓ มันเป็นไปไม่ได้ เพราะขณะมีหนึ่งเดียว ถ้าไม่ถึง ถ้ามันไม่ขาด มันไม่ใช่ขณะ
โยม : เราต้องรู้ด้วยว่ามันคืออะไร
หลวงพ่อ : ใช่.. มันรู้เห็นแจ้งตลอด มันรู้จริงเห็นจริง มันเข้าใจตลอด แล้วมัน แหม มันดูดดื่ม ดูดดื่มมากๆ ขนาดว่าพระพุทธเจ้าบอกว่าดั่งกิเลสขาด มีอยู่หนเดียว ไม่มีขณะ ๑ ๒ ๓ หรอก ขณะขั้นหนึ่งเท่านั้นแหละ ขณะของสกิทาคาก็หนึ่ง อนาคาก็หนึ่ง แต่ที่มันไม่เป็นขณะ ที่เราเข้าใจว่าเป็นขณะ แต่มันไม่ใช่ขณะ เราว่าขณะ ๑ ๒ ๓ ไม่ใช่ ตั้งชื่อให้ทั้งนั้นน่ะ คือเพราะเขามีขณะก็อยากมีขณะกับเขา
เพราะในหลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์เทศน์มา บอกว่า ขณะจิตจะเป็นอย่างนั้นๆ ก็อยากจะว่าฉันก็มีขณะเหมือนกัน แต่ขณะของฉัน ฉันไม่เข้าใจขณะ ฉันก็บอกมี ๑ มี ๒ มี ๓ มี ๔ เพราะมี ๑ มี ๒ มี ๓ มี ๔ ก็คือความหลงผิด ถ้าคนหลงผิด แล้วประพฤติปฏิบัติไป แล้วถ้ามันจริงขึ้นมา ขณะมันขาดหนึ่งเดียว มันจะมาลบล้างไอ้ ๑ ๒ ๓ ๔ เลย
ถ้าขณะจริง มันจะมาลบล้างตรงนี้ เราถึงบอกว่าผู้นี้ไม่รู้จริง แล้วปฏิบัติไม่เป็น แล้วไม่รู้จริง ถ้ารู้จริง ความจริงมันจะมาลบล้างความไม่จริง ขณะที่พูด พูดด้วยความไม่จริง แต่พยายามจำทฤษฎีของครูบาอาจารย์มา แล้วมาพยายามสร้างเป็นปัญญาของตัว แล้วอธิบายออกมา มันเลยผิดหมด สังโยชน์ขาดก็คือมันขาด ขาด โอ้โฮ..ย แยกชัดเจนมาก แล้วอย่างที่ว่า ขาดแล้วมากลบอีก ไม่มีหรอก สังโยชน์ไหนขาดแล้วกลับมากลบอีก คนตายแล้วฟื้นได้ไหม
โยม : คือว่ามันไม่ได้กลับมากลบอีก แต่ว่ามันเป็น ก็คือว่าละสักกายทิฏฐิคือละตัวตน มองไปเห็น มองข้างในจิตใจ เอ้..ตอนนี้ยังมีความรู้สึกว่าเป็นตัวเราอยู่ แต่ถ้าเกิดเป็นโสดาบัน ก็คือมันจะโหวงๆ ไม่มีรู้สึกอะไรเลย โหวงๆ
หลวงพ่อ : อย่าให้พูดเลย อ้วกแตกกูนี่ สังโยชน์ขาดคือขาด โหวงๆ เหวงๆ ไม่ได้มองเข้ามาในใจหรอก มันขาดตัวมันเองแล้ว อย่างสมาธิเหมือนกันเลย อุ๊บ..สมาธิคือสมาธิ แล้วบอกว่างๆๆ ไอ้ว่างๆ คือสัญญาอารมณ์ สัญญาคือพูดว่าว่าง ตัวเองไม่เดินสมาธิ ไอ้นี่ก็ว่า ขณะจิตที่มันขาดแล้ว ตัวเองบอกโหวงๆๆ ใครเป็นคนเห็นโหวงๆ มันก็ไม่ขาดไง ก็โหวงๆ ก็ความรู้สึกไง แล้วตัวจิตอยู่ไหน จิตมันรู้ว่าโหวงๆ อ้าว..มึงยังรู้ว่าโหวงๆ อีกเหรอ เอ็งพูดมากี่ร้อยกี่พันคำนะ มันผิดทั้งนั้นล่ะ เพียงแต่ว่ากูจะอธิบายหรือไม่อธิบายเท่านั้นเอง
โยม : แล้วก็จะมีคนที่ปฏิบัติ เขาจะติดตรงที่ว่า หลวงพ่อ....จะบอกว่า ที่หยดน้ำบนใบบัว ที่ผมฟังแม่ชี เออ..ที่เป็นนักภาวนา หญิงสาวจากกรุงเทพฯ อะไรที่หลวงตามหาบัวชม ว่านี่คือศิษย์พี่ ศิษย์พี่ของหลวงพ่อ.... หลวงตามหาบัวท่านการันตีนะว่าอย่างไรก็จบชาตินี้ บอกว่า
หลวงพ่อ : ไม่มีทาง
โยม : ปฏิบัติเหมือนกันนี่แหละ ดูจิตเหมือนกัน
หลวงพ่อ : เขาดูจิตส่วนดูจิตของเขา เวลาไปหาหลวงตา หลวงตาท่านจะพูดถึงคนไอ้ อะไรนะ พวกเป็นฆราวาสนี่เห็นไหม เขาบอกเขาดูจิตแล้วสงบไหม หลวงตาถาม สงบดีขึ้นไหม เขาบอกดี ดีก็จบไง นี่ดีนะเป็นคฤหัสถ์นะ ถ้าเป็นพระเราจะตีให้หลงทิศเลย คนเป็นเขารู้ ถ้าดูจิตถ้าจิตสงบ ถ้าจิตสงบแล้วต้องออกวิปัสสนา จิตสงบก็สมถะ ดูจิตก็ดูเพื่อจิตสงบเฉยๆ ไม่มีอะไรหรอก เพียงแต่ว่าเขาเป็นฆราวาส เขาไม่ใช่นักบวช
โยม : คำว่าตีให้หลงทิศนี่คือ
หลวงพ่อ : ตีนี่คือ
โยม : บอกผิดเลย
หลวงพ่อ : ให้กระบวนการนี้ก้าวหน้าไปอีกไง ให้เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งเลย ไปอ่านสิ
โยม : ผมอ่านมา เห็นแค่บอกว่า เออ.. ใช่.. จะบอกว่าจะตีให้หลงทิศนี่มี
หลวงพ่อ : นี่ดีนะเป็นฆราวาสนะ เป็นคฤหัสถ์
โยม : แต่ท่านแปล หลวงพ่อ...แปลเป็นว่า ถ้าเกิดเป็นผู้ชาย เป็นผู้ชายนะจะจับบวชแล้วไล่เข้าป่าไปเลยปฏิบัติให้จบ ท่านแปลอย่างนี้
หลวงพ่อ : ตีให้หลงทิศคือมันต้องมีขั้น เขาบอกถ้าบวชเข้าป่าไป มันก็ต้องมีขั้นตอนต่อไปอีกเยอะแยะเลยเห็นไหม แล้วไหนเอ็งบอกว่าไหนถูกล่ะ คำว่าถูกนะ มันเหมือนเด็ก ลูกเราเล็กๆ นี่ หยิบของมาให้เรา เอ็งว่ามันทำถูกไหม มันทำถูก เอ็งว่าต้องให้รางวัลไหม ให้รางวัลสิ มันทำถูกแล้ว มันเอาของมาให้เราแล้ว เราตบมือให้มัน มันดีใจละ แล้วได้ประโยชน์อะไรล่ะ เราต้องดูขั้นตอนของการปฏิบัติมันหลากหลายเยอะแยะนัก ที่จะต้องก้าวเดินไปข้างหน้า แล้วไอ้แค่ตั้งสติ แค่ระลึกว่าตัวเองดีไม่ดี แล้วบอกไอ้นี่เป็นพระอรหันต์ มันยังไม่ใช่หรอก
โยม : หลวงพ่อ....บอกว่า หลวงตามหาบัวบอกว่า อย่างไรก็จบชาตินี้
หลวงพ่อ : แล้วจบหรือยังล่ะ
โยม : ผมว่าคล้ายๆ ว่าเป็นอนาคาแล้วอย่างนี้ แล้วยังไม่จบ
หลวงพ่อ : เราไม่เคยเชื่อเลย ไม่เคยเชื่อเลย แล้วบอกว่าอนาคาอะไรต่ออะไร เอ็งจะเป็นอะไรก็แล้วแต่ ช่าง!เรื่องของเอ็งเถอะ แต่ถ้าจะให้เราฟัง ต้องให้เราพูดก่อน คือให้เราสอบถามก่อน โสดาบัน สกิทาคา อนาคาของพวกเอ็ง กูขอกูถามคำเดียวเท่านั้นแหละ กูพอ
โยม : เหมือนกับว่า คือพอเจอเรื่องนี้ปุ๊บ ทุกคนจะบอกเลยว่า เอ๊ย.. ดูจิตนี่หลวงตามหาบัวรองรับนะ
หลวงพ่อ : ก็เอาเรื่องนี้ไปขายกัน เราพูดเยอะแล้ว เราเอาตรงนี้มาโต้แย้งไว้มาก เราโต้แย้งไว้มากละ นี่เรื่องของเขาละ ไม่ใช่พูดบุคคลหรอก ความรู้สึก ถ้าอันไหนแล้วแต่ ถ้ามันไม่เข้าใจ มันไม่รู้ แล้วพูดออกไปมันเสียหายหมด เสียหายตั้งแต่ตัวเองด้วย เสียหายคนอื่นด้วย
อันนี้จะบอกว่า คนนี้ๆ ผิด ไม่ใช่ว่าใครผิดใครถูกหรอก เพียงแต่ว่า ถ้าความผิดก็คือความผิด ความถูกคือความถูก ไม่ใช่ตัวบุคคล เราไม่เคยว่าตัวบุคคล ถ้ามันถูกนะ เราก็สาธุ ถ้ามันผิด ถ้าไม่เป็นโทษกับคนอื่น มันก็เรื่องของเขา แต่นี้มันมาถึงเราเอง มันมาถึงเราเอง พอมาถึงเราแล้ว เราพูดออกไป มันเป็นการที่ว่าเราพูดไปแล้วเหมือนกับไปทำลายเขา ไม่ได้ทำลาย เราไม่ได้ทำลายใคร แต่เราพูดความถูกต้องเท่านั้นเอง เพื่อความถูกต้องเนาะ ไป กลับละ