เทศน์บนศาลา

กายก็ต้องมีนิพพาน

๓๑ ธ.ค. ๒๕๕๒

 

กายก็ต้องมีนิพพาน
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจฟังธรรม ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ใครแสดงธรรมก็เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมนะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังกราบธรรม กราบเคารพบูชาธรรม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธรรม แสดงธรรม ธรรมนี้มาจากไหนล่ะ ธรรมนี้มาจากใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉะนั้นเราฟังธรรม เราต้องฟังธรรมด้วยความเคารพ

ถ้าฟังธรรมด้วยความเคารพนะ กำหนดจิตไว้เฉยๆ กำหนดจิตไว้เฉยๆ

ถ้าเราภาวนาโดยส่วนตัวของเรา เราต้องกำหนดพุทโธๆๆ เพราะจิตนี้ปล่อยไม่ได้ จิตนี้ต้องมีหลักมีเกณฑ์ ต้องมีที่เกาะที่อาศัยไป เพราะจิตเรามันยังทรงตัวเองไม่ได้ ฉะนั้นการฟังธรรม ถ้าเราภาวนาด้วยตัวของเราเอง เราต้องกำหนดคำบริกรรมพุทโธหรือใช้สติควบคุม

แต่ถ้าเวลาฟังธรรม ถ้าเรากำหนดพุทโธด้วย เราต้องทำงานอย่างหนึ่ง แล้วเราต้องฟังอีกอย่างหนึ่ง “ฟังธรรมด้วยความเคารพ” เรากำหนดจิตไว้เฉยๆ จิตนี้จะเข้ามาสู่...ธรรมนี้ เสียงของธรรมนี้จะเข้ามาสู่จิตของเรา ถ้าสู่จิตของเรานะ จิตมันเปิดกว้าง ความรู้สึกของเรามันเปิดกว้าง ธรรมะจะเข้าสู่ใจของเรา ฉะนั้นเหมือนคำบริกรรมพุทโธๆๆ จนจิตสงบได้ ฟังธรรมนี่จิตสงบได้นะ

แล้วถ้าจิตผู้ที่มีปัญญา จิตที่เขาออกวิปัสสนานะ จิตจะออกใช้ปัญญาอยู่แล้วนี่มันเหมือนจับพลัดจับผลู มันจะได้จะไม่ได้อยู่ เวลาฟังธรรม ธรรมะจะเป็นการชักนำ เป็นการดึงใจนั้นขึ้นสู่ธรรม ฉะนั้น “ฟังธรรมด้วยความเคารพ” ฟังธรรมโดยเคารพ เราเคารพบูชาธรรม มันจะเป็นข้อเท็จจริงเป็นสัจธรรม

แต่ถ้าฟังธรรมด้วยความไม่เคารพด้วยความไม่เคารพ ฟังธรรมโดยกิเลสของเรา กิเลสของเราน่ะมันแย่งเราไปอยู่แล้ว มันแย่งหัวใจเราไปอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว เวลาฟังธรรมขึ้นมา มันจะเป็นจริงอย่างนั้นไหม มันจะเป็นไปได้จริงหรือเปล่า เห็นไหม เพราะเราฟังธรรมด้วยความไม่เคารพ

“การฟังธรรม” อานิสงส์ของการฟังธรรม สิ่งที่ไม่เคยได้ยินได้ฟัง ได้ยินได้ฟัง สิ่งที่ได้ยินได้ฟังแล้ว ตอกย้ำ ตอกย้ำให้มั่นคงขึ้นมา เวลาเราฟังเทศน์ขึ้นมาเพื่อแก้ความเข้าใจผิด เพื่อแก้ความเห็นผิด นี่ถึงที่สุด ถ้ามันถึงที่สุด โดยอานิสงส์ของการฟังธรรม จิตจะผ่องใส ถ้ามันลงของมัน จิตมันจะผ่องใส ถ้าจิตผ่องใส นั่นน่ะ อานิสงส์ของการฟังธรรม

ทีนี้ฟังธรรมด้วยความเคารพนะ ธรรมะ ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากว่าจะได้มา ไม่ใช่ของง่ายๆ “เอกนามกิง” พระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้หนึ่งเดียว หนึ่งเดียว แต่มันตรัสรู้มาเรื่อยๆ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นองค์ที่ ๔ ในภัทรกัปนี้ จะมีพระศรีอริยเมตไตรยไปข้างหน้า จะมีต่อไป มีอนาคตวงศ์ สิ่งนี้เพราะการสร้างสมบุญญาธิการ การสร้างสมของจิต จิตของมนุษย์ จิตของสัตว์โลกเวียนตายเวียนเกิด นี่การสะสมไป ถ้าจิตมีหลักมีเกณฑ์มันจะทำคุณงามความดี จิตนี้จะสร้างบุญญาธิการของมันไป

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา เวลาวันออกพรรษานี่เปิดโลกธาตุ พวกคนที่จากนครราชคฤห์ บารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุกคนมีความรื่นเริง ทุกคนมีความปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ ปรารถนาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกือบทั้งนั้นเลย เพราะอยากเป็นอย่างนั้น อยากมีอำนาจวาสนาเป็นอย่างนั้น นั่นเขาปรารถนาเป็นพุทธภูมิ แล้วเวลาไป พอไปสร้างสมบุญญาธิการไป ความบีบคั้น ความทุกข์ความยาก ความเป็นความอุปสรรคขัดขวาง นี่มันเป็นไปได้อย่างนั้นไหมความเป็นจริง

สิ่งที่ได้ยินได้ฟัง สิ่งที่ได้พบได้เห็น มันทำให้จิตของเรามั่นคง จิตของเราตื่นตัว ความตื่นตัวของเรา เราเกิดมาพบพระพุทธศาสนา สิ่งนี้มีคุณประโยชน์มาก พบพระพุทธศาสนานะ คนเกิดมามากมายมหาศาล สิ่งที่เกิดมา เกิดมาพบพระพุทธศาสนาถ้าไม่เชื่อ ไม่สนใจ ศาสนาก็เป็นศาสนา ตัวเราก็เป็นตัวเรา แต่ถ้าเราเชื่อพระพุทธศาสนา สิ่งที่พระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาคืออะไรน่ะ?

สัจธรรม ศาสนธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเจ้าชายสิทธัตถะนะ ออกรื้อค้นสิ่งนี้มาจนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา กว่าจะตรัสรู้ธรรมขึ้นมาได้ทดสอบตรวจสอบมามหาศาลเลย จิตได้ทดสอบตรวจสอบ ลองผิดลองถูกมามาก ถ้าจิตลองผิดลองถูกมามาก จนถึงที่สุดเข้ามาชำระล้าง ชำระล้าง “อาสวักขยญาณ” เข้ามาในชำระล้างใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า “วิมุตติสุข” นี่ธรรมะเกิดตรงนี้ พอธรรมะเกิดตรงนี้ ธรรมะเกิดขึ้นมาแล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธรรมขึ้นมา ธรรมออกมาจากใจที่บริสุทธิ์ ธรรมออกมาจากใจที่มีประสบการณ์ตามความจริงอันนั้นแล้ว สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์กับเรามาก

ถ้าเราเกิดมาพบพระพุทธศาสนา พุทธศาสนา แล้วศาสนาพระพุทธศาสนาคืออะไรล่ะ แล้วพระพุทธศาสนาของเรา โดยความเข้าใจของเรา เพราะเรามันมีกิเลสอยู่นะ ถ้าเรามีกิเลสอยู่ เราเชื่อ เชื่อความเห็นของเรา เชื่อความคิดนึกคิดของเรา มันจะเป็นความจริงไปได้ไหมล่ะ ถ้ามันเป็นความจริงไป ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธรรม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาเผยแผ่ธรรมมา ศาสนาเข้าไปในชุมชนใด ในถิ่นฐานใด ถ้าเข้าไปในชุมชนนั้น ถ้าเข้าไปในชุมชน

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านิพพานไปแล้ว ๑๐๐ ปีสังคายนา สังคายนาครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๒ น่ะถึงได้จดจารึกกันมา พอจดจารึกกันมามันก็แตกความเห็นกันไปเป็น ๑๘ นิกาย นิกายต่างๆ ก็ว่ากันไป เป็นมหายาน เป็นหินยาน สิ่งที่เราฟังธรรมกันอยู่ ถ้าธรรมของเรา ธรรมของเราเป็นหินยาน เถรวาท เถรวาท คือ เชื่อฟัง เชื่อฟังตั้งแต่พระกัสสปะ ประชุมสงฆ์ ๕๐๐ องค์เป็นพระอรหันต์ทั้งนั้นเลย แล้วพอสังคายนาแล้ว มีพระพูดขึ้นมาว่า

“ลัทธิศาสนาอื่น พอถึงที่สุดแล้วเขาก็แก้ไขของเขาไป ถ้าครูบาอาจารย์ของเขา เวลาศาสดาเขาสิ้นไปแล้ว”

นี้เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้พระอานนท์บอกว่า “วินัยถ้าเล็กน้อย พระอานนท์จะแก้ไขก็แก้ได้”

ทีนี้ “เล็กน้อย” พระกัสสปะก็ถามพระอานนท์ขึ้นมาว่า

“เล็กน้อยแค่ไหน พระพุทธเจ้าว่าเล็กน้อยแค่ไหน”

แค่ไหนก็ไม่รู้ว่าเล็กน้อยแค่ไหน ก็เลยลงมติ ญัตติกันว่า

“ถ้าที่สังคายนากันมาอยู่นี้ เป็นธรรมวินัยนี้ ญัตติว่าเราจะไม่แก้ไข เราจะไม่แก้ไข เราจะทรงธรรมทรงวินัยอย่างนี้ตลอดมา” นี่ฝ่ายเถรวาท ฝ่ายหินยาน

แต่มหายานเขาแก้ไขของเขา เวลาแก้ไขของเขา “เล็กน้อย” นี่พระพุทธเจ้าอนุญาต ธรรมวินัยที่เล็กน้อยนี้แก้ไขได้ อนาคตไปจะแก้ไขได้เพราะมันของเล็กน้อยก็แก้ไขได้ นี่เป็นมหายาน พอมหายานนี่เขาไปของเขา เขาจะเป็นอาจาริยวาท อาจาริยวาทของเขาประพฤติปฏิบัติกันไป “อาจาริยวาท” ถ้าอาจารย์มีความเห็นมีมุมมอง เขาเชื่อกันไปเพราะเขาแก้ไข เขาไม่ถือว่าสิ่งนี้เป็นความสำคัญ นี่เวลาแก้ไข เวลาประพฤติปฏิบัติไป เผยแผ่ไปในซีกหนึ่งของเมืองจีน ทางญี่ปุ่นทางต่างๆ เป็นมหายาน สิ่งที่เป็นมหายาน พอมหายานการประพฤติปฏิบัติของเขา เขาถึงว่าอาจารย์ของเขาว่า

“จิตนี้มีนิพพานอยู่แล้ว ทุกอย่างมีอยู่แล้ว สรรพสิ่งมีอยู่แล้ว นิพพานมีอยู่แล้วไง จิตนี้มีนิพพานอยู่แล้ว” มันมี แล้วยังไม่นิพพานอย่างเดียวนะ นิพพานอยู่ในหิน อยู่ในทราย อยู่ในต่างๆ อยู่ในวัตถุต่างๆ อยู่ในขี้ อยู่ในสัตว์ อยู่ในต่างๆ นี่เป็นความเห็นของอาจารย์ของเขา ทีนี้อาจารย์ของเขา ในการประพฤติของเขานะ ในมหายานเขาในการประพฤติปฏิบัติเขาจะได้ผลของเขาไหมล่ะ? เขาก็ได้ผลของเขาเหมือนกันถ้าเขาทำจริง เพราะสิ่งนี้คือคำสอน คำสอนนี้มันเป็นวิธีการ วิธีการที่จะให้เข้าไปสู่ความจริง ถ้าเข้าไปสู่ความจริงน่ะ ถ้ามันเป็นความจริงเขามีครูบาอาจารย์ของเขา เขาแก้ไขของเขา เขาเอาความเห็นของเขาไป นี่ถ้าเขาเอาความเห็นของเขาไป มันเป็นความจริงก็ได้ มันเป็นความไม่จริงก็ได้

แล้วมันเป็นความจริงอย่างนั้นไหม? ความจริงที่ว่า

จิตมีนิพพานอยู่แล้ว เป็นความจริงไหม?

ถ้าจิตเป็นนิพพานอยู่แล้วนะ ดูสิ ดูกาฬเทวิล ฤาษีชีไพรในสมัยพุทธกาล เขาก็ทำจิตของเขาผ่องใสนะ กาฬเทวิลเขาระลึกอดีตชาติได้ ๔๐ ชาติ อนาคตได้ ๔๐ ชาติ ขณะที่ว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดที่สวนลุมพินีวัน กาฬเทวิลนอนอยู่บนพรหมนะ นอนอยู่บนพรหม โลกธาตุหวั่นไหว เพราะเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปลงอายุสังขาร โลกธาตุนี่หวั่นไหวหมดเลย

พระอานนท์ รู้ว่าต้องมีสิ่งใดผิดปกติ เข้าไปถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

“โลกธาตุหวั่นไหวไปหมดเลย เป็นเพราะเหตุใด?”

“อานนท์ โลกธาตุจะหวั่นไหวมีอยู่ ๓ คราว”

“คราวหนึ่ง คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติ”

“อีกคราวหนึ่ง คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้”

“อีกคราวหนึ่ง คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปลงอายุสังขาร”

จะตาย เห็นไหม นี่ไง เวลาพระพุทธเจ้าประสูตรนี่โลกธาตุหวั่นไหว พระอานนท์เคยถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว กาฬเทวิลอยู่บนพรหมมันสะเทือนไปหมด

“เอ๊ะ วันนี้เกิดเหตุอะไรขึ้น”

นี่ถึงว่า “อ๋อ! พระพุทธเจ้าเกิดแล้วไง”

พระพุทธเจ้าเกิดแล้วถึงมาขอพระเจ้าสุทโธทนะ ขอชม ขอชมว่าเป็นจริงหรือเปล่า เพราะพวกพราหมณ์ เขาท่องได้หมด พุทธลักษณะเขาท่องได้ เขารู้หมดว่ามันจะจริงหรือไม่จริง พอเห็นเข้าไปนะทั้งดีใจทั้งเสียใจ ดีใจเพราะ นี่ไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูตรแล้ว จะเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปแน่นอน นี่บุญญาธิการที่สร้างมานี้มหาศาลมาก จะเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน

“แล้วพระพุทธเจ้าแน่นอน” ทั้งดีใจเพราะจะมีคนสอน นี่คำว่า “มีคนสอน” เพราะอะไร?

ถ้าจิตมีนิพพานอยู่แล้ว กาฬเทวิลน่ะจิตผ่องใส จิตขณะเข้าฌานสมาบัติ เหาะเหินเดินฟ้าได้ ระลึกอดีตชาติได้หมด มันจะชนกับนิพพานไปแล้ว ทำไมมันไม่ชนกับนิพพาน? นี่ถ้ามันไม่ชนกับนิพพาน อ้อ! พระพุทธเจ้ายังไม่ตรัสรู้ ยังไม่มีนี่ อ้าว! ถ้าไม่มีแล้ว แล้วเราเกิดมาพบพระพุทธศาสนา เราจะมีเหรอ จิตใจเรามีนิพพานอยู่เหรอ จิตมันมีนิพพานไหม

กาฬเทวิลพอดีใจก็เสียใจ เสียใจเพราะว่าร้องไห้นะ ร้องไห้เพราะรู้ ขนาดที่ว่ารู้นะ ระลึกอดีตชาติได้ ระลึกอนาคตได้ แล้วยังรู้จักอายุขัยของตัวได้ เพราะว่ากว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสรู้น่ะ เขาต้องตายไปก่อน เขาเสียใจ เขาเสียใจมาก เขาร้องไห้ แล้วของเราเราพบพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาอยู่ที่นี่ เราจะดีใจหรือจะเสียใจกับพระพุทธศาสนาของเราล่ะ เราจะดีใจกับจะเสียใจอย่างไร

ถ้าจิตมีนิพพานอยู่แล้ว ในเถรวาทเรา สติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม ถ้าจิตมันมีนิพพานอยู่แล้ว กายก็ต้องมีนิพพานอยู่แล้ว เวทนาก็ต้องมีนิพพานอยู่แล้ว ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานก็ต้องมีนิพพานอยู่แล้ว เพราะจิตมันมีนิพพานอยู่แล้ว กายก็ต้องมีสิ สติปัฏฐาน ๔ น่ะ ถ้ากายเป็นนิพพานอยู่แล้ว เราเอากายของเรามาวินิจฉัย กายเราจะมีนิพพานไหม?

กายเราไม่มีนิพพานแน่นอน เพราะนิพพานมันตั้งอยู่บนกายไม่ได้หรอก กายนี้เป็นสะสาร กายนี้เป็นวัตถุ กายนี้จะนิพพานไม่ได้

เวทนาล่ะ ถ้าเวทนา เวทนาความทุกข์ความสุข ความเจ็บความปวดต่างๆ แล้วความเฉยๆ อยู่นี่ นิพพานจะตั้งอยู่บนนี้ได้ไหม? ไม่ได้ ไม่ได้

แล้วจิตมันจะมีนิพพานตั้งอยู่บนจิตนี้ได้ไหม จิตผ่องใส จิตเศร้าหมอง จิตนั้นมันจิตเศร้าหมอง จิตผ่องใส จิตสว่างไสวขนาดไหน นิพพานมันตั้งอยู่ตรงไหนของจิตล่ะ มันซ่อนอยู่ตรงไหนของจิตล่ะ

อ้าว! ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ธรรมา-ธรรมะที่เราตรึกขึ้นมา มันอยู่ที่ไหน ธรรมะที่มันตรึกขึ้นมา แล้วจิตมันอยู่ที่ไหน นิพพานมันอยู่ที่ไหน นิพพานมันอยู่ในธรรมะที่ไหน

ถ้าจิตมันมีนิพพานอยู่แล้ว กายก็ต้องมีนิพพานด้วย เวทนาก็ต้องมีนิพพานด้วย ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานก็ต้องมีนิพพานด้วย...มันเป็นไปไม่ได้ มันเป็นไปไม่ได้เพราะว่าจิตนี่นะ เวลาสติปัฏฐาน ๔ มันเป็นเครื่องดำเนิน สิ่งต่างๆ ทุกอย่างมันเป็นเครื่องดำเนินที่เราจะทำค้นคว้าของเราด้วยมรรคญาณ ด้วยธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เข้าไปสู่นิพพาน แต่ถ้าเข้าไปสู่นิพพานใครเป็นคนทำล่ะ ใครจะเป็นคนเข้าไปสู่นิพพาน มันมีอะไรทำให้เข้าไปสู่นิพพาน?

มันไม่มีอะไรทำให้เข้าไปสู่นิพพาน ถ้านิพพานมันมีอยู่แล้ว นี่ไง หลวงปู่มั่นบอกไว้ “ต้นคดปลายตรงไม่มี” ถ้าต้นมันคด ฟังธรรมด้วยความเคารพ ถ้าเราเคารพบูชาธรรม เราฟังธรรมด้วยความเคารพ ถ้าจิตใจเราฟังธรรมด้วยความเคารพ ถ้าฟังธรรมด้วยความเคารพนะ เราต้องศึกษา เราต้องค้นคว้าของเรา ไม่ใช่ฟังธรรมด้วยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก

ถ้านิพพานมันมีอยู่แล้ว เราทำอย่างไรก็ได้ให้เข้าไปสู่นิพพาน เพราะนิพพานมันมีอยู่แล้ว ของมันมีอยู่แล้วทำอย่างไรก็ได้ มันเสียโอกาสของเรามากเลย ถ้าเจตนาของเรานะ เจตนาเราตั้งเป้าของเราอยู่แล้ว เราสร้างคอกของเราอยู่แล้ว แล้วจิตนี้มันจะไปไหนล่ะ มันก็เข้าสู่คอกนั้นน่ะ คอกนิพพานที่สร้างไว้ว่าจิตมันมีนิพพานอยู่แล้วน่ะ มันก็เข้าสู่คอกนั้น แล้วเข้าไปสู่คอกนั้น เข้าไปติดกับในคอกนั้น ตายเดี๋ยวนั้นจะรู้เดี๋ยวนั้นว่านิพพานหรือไม่นิพพานนั่นน่ะ

ถ้ามันมีนิพพานอยู่แล้ว มันย้อนกลับมาที่กาย ถ้าจิตมีนิพพานอยู่แล้ว กายก็ต้องมีนิพพานอยู่แล้ว เพราะมันเป็นสติปัฏฐาน ๔ เหมือนกัน ในเถรวาทเราไม่ได้ว่าอย่างนั้น ในเถรวาทเรานะ

“จิตมีนิพพานอยู่แล้ว” ในมหายานของเขา มันเป็นโวหาร มันเป็นการพูดให้เราไม่เห็นว่านิพพานมันอยู่สุดเอื้อม ถ้าเราตีความนะ ไม่อยู่สุดเอื้อม ให้เราเข้มข้น ให้เราพยายามของเรา ดูนะ ดูอย่างเว่ยหล่าง สังฆราชองค์ที่ ๖ ของเขานั่นน่ะ

“กายเป็นโพธิ จิตเป็นกระจกใส”

“กายก็ไม่มี จิตก็ไม่มี แล้วฝุ่นมันจะเกาะอะไร”

นี่ไม่มีแล้ว ทุกอย่างไม่มีแล้ว แล้วจะถึงที่สุดไหม

สังฆราชเขาบอกไม่ถึงที่สุดนะ เขายังเข้าไปเคาะ ไปเคาะเวลาเขาตำข้าวของเขาอยู่น่ะ เคาะ ๓ ที เห็นไหม เขานัดตี ๓ เข้าไปหา แล้วไปหาแล้วแก้อะไรต่อไปอีกน่ะ

นี่ไม่มี ทุกอย่างไม่มี ว่างหมดแล้ว ว่างหมดแล้ว แล้วมันอะไรน่ะ มันจะมีอะไรอีก แล้วนิพพานมันอยู่ที่ไหน นิพพานมันมีอยู่แล้วมันก็ต้องเข้าไปชนสิ ไปชนนิพพานเลยสิ นี่สังฆราชถึงสอนต่อไป

การกระทำของเขา การประพฤติปฏิบัติของเขา เขาทำจริง ทำจริงของเขานะ เขาทำจริงของเขาแล้วเขามีคนรู้จริงสอนไปเรื่อยๆ นะ แล้วถ้าสิ่งที่เขาไม่จริงของเขาล่ะ ดูสิ ดูอย่างประวัติศาสตร์ของเขา ดูพระประพฤติปฏิบัติของเขาสิ มหายานเขาเป็นอย่างนั้น มหายานของเขา เราจะไปติฉินนินทาใครไม่ได้ เพราะอย่างนี้มันเป็นเรื่องโลกนะ ถ้าพูดถึงโลก โลกเขามองน่ะ มองว่าเป็นการจิตใจกว้างขวาง เถรวาทนี้เป็นจิตใจคับแคบ ถ้าเป็นฝ่ายมหายานมันเป็นทางวิชาการจะค้นคว้าขนาดไหนก็ได้ ทางวิชาการจะเจริญรุ่งเรืองมาก เพราะเขาจินตนาการของเขาไป

แต่ในเถรวาทเรา “พุทธวิสัย” ธรรมและวินัยเป็นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ใครมันจะมีบุญญาธิการ มีปัญญาเหนือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเมื่อถ้าออกทำการวิจัยออกไปทางโลก ออกไปทางวิชาการ มันจะมีประโยชน์อะไรกับหัวใจของมนุษย์ล่ะ

แต่ถ้าเราทำ “ศีล สมาธิ ปัญญา” เข้ามาสู่ใจของมนุษย์ เข้ามาสู่ใจของเรา อันนี้ต่างหากมันจะเข้าสู่นิพพาน อันนี้ต่างหากมันจะเข้าสู่สัจจะความจริง ถ้าอันนี้มันเข้าสู่สัจจะความจริง มันต้องเป็นความจริงของมันใช่ไหม ถ้าเป็นความจริงของมันน่ะ ดูสิ เวลาหลวงตานะท่านออกประพฤติปฏิบัติ แล้วท่านบอกเลยว่า ท่านอยากออกประพฤติปฏิบัติ “ถ้ามีผู้ใดมาแก้ความสงสัยว่านิพพานยังมีอยู่ เราจะเอาครูบาอาจารย์องค์นั้นเป็นอาจารย์ของเรา”

นี่เข้าไปหาหลวงปู่มั่น “ท่านมาทำไม ท่านมาหา มรรค ผล นิพพานเหรอ มรรค ผล นิพพานมันอยู่ที่ไหน มรรค ผล นิพพานมันไม่อยู่ในอากาศ ไม่อยู่ในป่าไม้ ไม่อยู่ในวัตถุ ไม่อยู่ในสิ่งใดๆ เลย มรรค ผล นิพพานมันอยู่ในหัวใจของสัตว์โลกนะ”

แล้วจิตมันมีนิพพานน่ะ...ไม่มีทาง จิตมันไม่มีนิพพาน

พอจิตมีนิพพานน่ะ ถ้าจิตมีนิพพานมันก็เข้าไปชนนะ

มรรค ผล นิพพานไม่อยู่สิ่งใดๆ แต่มันจะอยู่ในหัวใจของสัตว์โลก ให้หามรรคผลนิพพาน ให้เอาจิตหาออกหา มันอยู่ในหัวใจของสัตว์โลก มันอยู่ในความรู้สึก มันอยู่ในความทุกข์ความยากของเรา ถ้ามันจะอยู่ในความรู้สึกความทุกข์ความยากของเรา

แล้วเริ่มต้นอย่างไร? หลวงปู่มั่นสอนอย่างไร?

หลวงปู่มั่นท่านสอนว่า “ต้องให้ทำความสงบของใจเข้ามา”

ถ้าจิตใจไม่สงบนะ สิ่งที่เราจะหามรรค ผล นิพพาน แล้วมรรค ผล นิพพานมันอยู่มีอยู่แล้ว มันสร้างคอกไว้ไง แล้วมันเข้าไปชนนิพพานน่ะ มันไม่มีหรอก มันไม่มีเพราะอะไร?

ต้นมันคดปลายมันจะมาตรงมาได้อย่างไร

ถ้าต้นมันตรง เราต้องฟังธรรมด้วยความซื่อสัตย์ เราต้องปฏิบัติธรรมด้วยความซื่อสัตย์ ด้วยความเคารพบูชา จิตใจมันจะลงสู่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สภาวะธรรมที่มันเกิดขึ้นตามความเป็นจริงมันเป็นปัจจัตตัง มันเป็นสันทิฏฐิโก

จิตมีสติก็จะรู้ว่ามีสติ

จิตมีสมาธิก็จะรู้ว่ามีสมาธิ

จิตมีปัญญา ปัญญาที่มันถอดถอนหรือไม่ถอดถอน มันก็รู้ว่าจิตมันมีปัญญา

ถ้ามันปฏิบัติตามความเป็นจริง

องค์หลวงปู่มั่นประพฤติปฏิบัติพิจารณากายมาตลอด พิจารณากายตลอด ไปไม่รอด ไปไม่รอด ไปไม่ได้เพราะอะไร เพราะว่าจิตใจของหลวงปู่มั่นท่านปรารถนาพุทธภูมิมาเหมือนกัน “เอ๊ะ! ทำไมเราปฏิบัติแล้วจิตมันไปไม่ได้” สุดท้ายแล้วหลวงปู่มั่น มาลาพุทธภูมิ พอลาพุทธภูมิก็พิจารณากายเหมือนกัน ทำไมออกมาแล้ว

“อืม! อันนี้ใช่ อันนี้ถูกต้องแล้ว แต่ก่อนหน้ามาทำไมมันไม่ถูกต้อง”

นี่พอมันถูกต้องเพราะว่าอะไร? มันถอดถอน มันถอดถอนอุปาทาน ถอดถอนการฝังอกฝังใจของกิเลสตัณหาความทะยานอยาก เห็นไหม จริงหรือไม่จริง ผู้ที่ปฏิบัติน่ะมันรู้ ถ้าติดเราก็รู้ว่าติด ไปไม่ได้เราก็รู้ว่าไปไม่ได้ แล้วถ้ามันไปได้ก็รู้ว่าไปได้ เห็นไหม ในการปฏิบัติตามความเป็นจริงมันจะมี สติมันจะมีของมัน ถ้าสติมันมีของมันเราต้องฝึกสติ พอฝึกสติขึ้นมา สติมันจะควบคุมใจเข้ามา ถ้าสติควบคุมใจเข้ามา นี่ปัญญาที่เราใช้กันอยู่นี้ ปัญญาที่มันเกิดขึ้น มันต้องใช้ปัญญา

ดูสิ ทางโลกเขาบอกว่า “แม้แต่ถือศีลก็ต้องมีปัญญานะ ทำทานก็ต้องมีปัญญานะ” ถ้าเราไม่มีปัญญา การทำทานของเรา เราก็สักแต่ว่าทำ เราก็ไม่รู้จักวิธีไหนเนื้อนาบุญของโลก เนื้อนาสิ่งที่ดีที่งามเราก็ไม่รู้ นี่ถ้าเราไม่รู้ขึ้นมา ทำทานด้วยความศรัทธาอย่างเดียว เราไม่มีปัญญา จะถือศีลก็ต้องมีปัญญานะ ถ้าถือศีลโดยไม่มีปัญญา เราก็ถือศีลด้วยความให้คนเขาอยากรู้ว่าเรามีศีลมีธรรม เราก็จะถือศีลก็ต้องอวดเขา แต่ถ้ามันเป็นของเรา เราถือศีลเราถือศีลเราก็ถือของเรา เราถือของเรา เรารู้ของเรา ศีลเราดีหรือไม่ดี ศีลเราด่างพร้อยหรือไม่ด่างพร้อย เรารู้ของเราทั้งนั้นน่ะ ถือศีลก็ต้องมีปัญญา

ปัญญามันปัญญามันมีตั้งแต่ระดับของทาน ระดับของศีล ระดับของการจะภาวนา

แล้วมันปัญญาของใคร แล้วอย่างนั้นมันเป็นปัญญาไหม

คนนะ ดูสิ เขาแค่เสียสละทาน คนที่ทำทาน คนที่อยู่กับทางโลกเขามองนะ มองว่าเขายังปล่อยวางได้ดีกว่าพวกเราเลย ไอ้พวกที่ประพฤติปฏิบัติ ไอ้พวกที่เอาจริงเอาจัง ทำไมมันโมโหโกรธา ทำไมมันยึดมั่นถือมั่นของมัน นี่ไง พอเวลาเขาพูดอย่างนั้นเราก็แก้ไม่ถูกแล้วเพราะคนไม่เคยเจอความจริง

แต่ถ้าคนประพฤติปฏิบัติขึ้นมามันจะเข้าใจตามความเป็นสัจจะความจริงนะ ความจริงนะ จิตใจของคนเรามันสกปรก จิตใจของคนเรามันเศร้าหมอง มันเหยียบย่ำตัวเองอยู่ตลอดเวลา กิเลสน่ะมันอยู่ในหัวใจมันเหยียบย่ำอยู่ตลอดเวลา แล้วเราพยายามทำความสะอาดของมัน พอพยายามทำความสะอาดของมัน

“ชวนะ” ชวนะมันไว พอจิตมันไว ของที่มันสะอาด ดูสิ ผ้าสะอาดมันสกปรกนิดเดียวเราก็เห็นว่ามันสกปรก จิตของคนที่มันเริ่มรักษาขึ้นมามันหงุดหงิดนะ มันเริ่มหงุดหงิด สิ่งใดถ้าเราต้องการความสงบ เราต้องการความวิเวก พอมันวิเวก เสียงอะไรมากระทบมันก็มีอารมณ์กระทบรุนแรงแล้ว นี่สิ่งที่มันเกิดขึ้นมา ปัจจัตตังทั้งนั้นน่ะ

เพราะคนไม่เคยประพฤติปฏิบัติขึ้นมา “เอ๊ะ! เมื่อก่อนไม่ปฏิบัติเราก็เป็นคนปกตินะ เวลาเราปฏิบัติขึ้นมาทำไมเรามันฉุนเฉียว สิ่งใดกระทบไม่ได้เลย อะไรไม่ได้เลย”

นี่ถ้าผู้ที่ประพฤติปฏิบัติมีครูบาอาจารย์น่ะท่านจะรู้ เพราะท่านผ่านกระบวนการของมันมา ถ้าผ่านกระบวนการของมันมานะ...ใช่ มันติดมันไง เวลากิเลสมันมีของมัน เวลาดีแล้วมันก็อยากดี พออยากดี สิ่งที่ไม่ดี สิ่งที่มากระทบสิ่งดีเราก็ไม่พอใจ ไม่พอใจ พอไม่พอใจขึ้นมามันก็เกิดการกระเทือนหัวใจ พอกระเทือนหัวใจ ความสงบเข้ามามันก็ไม่เข้ามา มันก็เห็นโทษของมัน พอมีสติปัญญาเข้ามามันจะเห็นโทษเข้ามาเรื่อยๆ นี่ปัญญาอย่างนั้น ปัญญาระดับของทาน ปัญญาระดับของศีล แล้วปัญญาระดับของโลก โลกียปัญญานะ

ถ้าเราประพฤติปฏิบัติ เรามีความศรัทธามีความเชื่อ เราถึงจะมาประพฤติปฏิบัตินะ แล้วเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา “ฟังธรรมโดยเคารพ” เพราะธรรมะ “สิ่งที่ดีกว่านี้ยังมีอยู่” เวลาเราสวดมนต์ “สิ่งที่ดีกว่านี้ สิ่งที่ประเสริฐกว่านี้มันมีอยู่ตลอดไป”

แม้แต่ประพฤติปฏิบัติไปเป็นพระโสดาบันก็มีสิ่งที่ดีกว่า คือสกิทา

แม้เป็นพระสกิทาคามันก็มีสิ่งที่ดีกว่า คือพระอนาคา

เป็นพระอนาคายังมีสิ่งที่ดีกว่า คือพระอรหันต์

พอสิ้นสุดกระบวนการของสิ้นสุดแห่งทุกข์แล้วมันมีสิ่งไหนที่ดีกว่าล่ะ เพราะมันรู้ว่าดีเลิศแล้ว มันเป็นดีของมันแล้ว ดีในตัวของมันเองแล้ว

แต่สิ่งที่ดีกว่ามันยังมีอยู่ มันมีประพฤติปฏิบัติไปเรื่อยๆ ฉะนั้นเวลาเราปฎิบัติ สิ่งที่ว่าสิ่งที่ปัญญาของคนระดับของทานเขามองเรา เขามองโดยวุฒิภาวะที่เขาไม่รู้ ถ้าวุฒิภาวะที่รู้ เราจะไปถือสาสิ่งใด เราจะรู้ของเรา ถ้ารู้ของเรา สิ่งใดที่มันกระทบกระเทือนใจ เราจะต้องพยายามถนอมรักษา แล้วยิ่งผู้ปฏิบัติด้วยกัน “หมู่คณะเป็นสัปปายะ” สิ่งที่หมู่คณะเป็นสัปปายะ เขาจะเห็นอกเห็นใจกัน เพราะว่าอะไรรู้ไหม เพราะพวกเราที่เกิดมาเป็นผลของวัฏฏะ คนที่เกิดมาวัฏฏะนี้เพราะบุญกุศล บาปอกุศล ทำให้เรามาเกิดมาร่วมภพร่วมชาติกัน ถ้ามาเกิดร่วมภพร่วมชาติกันเหมือนกับเราอยู่ในคุกในตะรางด้วยกัน เราจะแหกคุกแหกตะรางออกไปให้ได้ เราจะแหกกิเลสออกจากวัฏสงสารไปให้ได้

ถ้าเราจะแหกกิเลสจากวัฏสงสารออกไป เราจะต้องร่วมมือกัน เราจะต้องช่วยเหลือเจือจานกัน เพื่อความสงบ เพื่อความสงัด ถ้าใครมีปัญญาสิ่งใด ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ใครมีแง่มุม ใครมีปัญญาที่เกิดขึ้นจากภาวนามยปัญญา เกิดจากการภาวนา เอามาแนะนำกัน เอามาเจือจานกัน แล้วผู้ที่ได้ยินได้ฟังแล้วน่ะมันก็ธรรมของเขานะ มันไม่ใช่ธรรมของเรา มันจะเป็นประโยชน์กับเราหรือไม่เป็นประโยชน์กับเรา เราต้องทดสอบตรวจสอบก่อน ทดสอบตรวจสอบคือการเอามากำหนดพิจารณาก็ได้ เอามาภาวนาก็ได้ แต่ถ้ามันไม่เป็นประโยชน์กับเรา วางไว้ มันไม่ตรงกับจริตเรา ถ้ามันตรงกับจริตเรามันจะเกิดขึ้นเป็นผลประโยชน์กับเรา

สิ่งที่เราเกิดมาร่วมภพร่วมชาติ เราเกิดมาเป็นสภาคกรรม เราเกิดมาร่วมเป็นผลของวัฏฏะ สิ่งที่เป็นผลวัฏฏะนี่เราเกิดเจอหมู่คณะที่เป็นประโยชน์กับเรา ถ้าหมู่คณะที่เป็นประโยชน์กับเรา สิ่งที่มันเป็นบุญกุศล การพบการเห็นกัน การได้มาเสวนาร่วมกันนี่ไม่ใช่ว่ามันมาโดยลอยๆ หรอก มันต้องมีที่มาที่ไป ผลของวัฏฏะ วัฏฏะมันพาไป วัฏฏะมันหมุนเวียนไป

ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า

“คนที่เกิดมาในภพในชาติ ไม่เคยเป็นญาติ ไม่เคยเป็นพี่เป็นน้องเป็นต่างๆ กันมา ไม่เคยมีเลย ไม่ภพชาติใดก็ชาติหนึ่ง” ที่เราเวียนตายเวียนเกิดมาตั้งแต่ “บุพเพนิวาสานุสติญาณ” ย้อนอดีตชาติไปไม่มีที่สิ้นสุด จิตของเราการเกิดการตายไม่มีที่สิ้นสุด อนาคตมันจะไปไม่มีที่สิ้นสุด แต่ถ้าเราปัจจุบันนี้เราจะแหกกฎ แหกกรงขัง กรงขังของกิเลส กรงขังของวัฏฏะออกมาให้ได้ เราจะต้องเอาสู่ความจริง ถ้าเอาสู่ความจริงนะ ไม่มีสิ่งใดมีอยู่กับเราเลย

“จิตมีนิพพานอยู่แล้ว กายมีนิพพานอยู่แล้ว เวทนามีนิพพานอยู่แล้ว ธรรมะมีนิพานอยู่แล้ว”...ไม่มีหรอก

แต่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นส่วนบุคคล เป็นใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่รื้อค้นผ่านไปแล้ว ครูบาอาจารย์ที่ประพฤติปฏิบัติไปแล้ว รื้อค้นผ่านไปแล้ว การรื้อค้นผ่านไปแล้วสิ่งนั้นมันถึงมี มันต้องมีการกระทำ มันฝึกฝนขึ้นมา มันมีการกระทำขึ้นมา มันเปลี่ยนแปลงของมันไป มะม่วงสุกมันก็มาจากมะม่วงดิบๆ มะม่วงดิบๆ มันก็มาจากมะม่วงอ่อน มะม่วงอ่อนมันก็มาจากเกสรมะม่วง แล้วเกสรมะม่วงมันมาจากไหน มันก็มาจากเมล็ดมะม่วงที่เกิดมาเป็นต้น

จิตของเราก็เหมือนกัน จิตของเรานะ นิพพานมันมีอยู่ในไหนล่ะ ถ้ามันไม่มีการเริ่มต้น ไม่มีการเริ่มต้นเลย ไม่มีการค้นคว้าเลย โสดาบันก็ไม่ได้เป็นหรอก อย่าว่าแต่นิพพานมีอยู่แล้วเลย...ไม่มีหรอก ไม่มี ถ้านิพพานมีอยู่แล้ว พิจารณากายมันก็มีอยู่แล้ว แล้วกายก็มีอยู่แล้ว แล้วเกิดมากายก็มีอยู่แล้ว เราเกิดมาเป็นมนุษย์มีร่างกายกับจิตใจมาพร้อมกันเลย มันก็มีของมันมาอยู่แล้ว

แล้วมันเป็นไปได้ไหมว่านิพพานจะตั้งอยู่บนกาย นิพพานจะตั้งอยู่บนเวทนา นิพพานจะตั้งอยู่บนจิต เพราะในเมื่อจิตมันยังเวียนตายเวียนเกิดอยู่ ถ้านิพพานมันมีอยู่แล้ว เวลามันตกนรกอเวจี เวลาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะว่า “องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เคยตกนรก” เคยตกนรกเพราะมันเป็นผลของวัฏฏะ วัฏฏะมันมี เวลาทำบุญทำกรรมมันก็หมุนของมันไป แล้วนิพพานมันอยู่ไหน แล้วนิพพานมันอยู่ไหน?

ถ้าเราไม่ได้พบพระพุทธศาสนานะ เราก็ยังเร่ร่อนกันไป พระพุทธศาสนาจะพาเราออก ทีนี้จะพาเราออก “ต้นอย่าให้คด” อย่าให้ตั้งเป้าหมายที่มันเป็นเป้าหมายที่หลอกล่อให้ใจออกไป ฟังธรรม ปฏิบัติธรรมโดยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก แล้วเวลาประพฤติปฏิบัติกัน แต่ทางวิชาการบอกว่าเราปฏิบัติกัน ปฏิบัติกันด้วยตัณหาความทะยานอยาก

ความว่า “ตัณหาความทะยานอยาก” มันเป็นกิเลส คนที่เกิดมาทุกคนมีอวิชชา อวิชชาคือพญามาร แล้วเวลากามราคะคือพ่อแม่ของมัน แล้วเวลาติดในกายคือลูกของมัน แล้วสักกายทิฏฐิคือหลานของมัน นี่ลูกหลานของมันเกิดจากอวิชชา แล้วอวิชชามันอยู่ในปฏิสนธิจิต แล้วพาจิตนี้เวียนตายเวียนเกิดมา แล้วพอเกิดขึ้นมาแล้วจะไม่ให้มีกิเลส มันจะเป็นไปได้อย่างไร

กิเลสไม่ให้มี บอกไม่มี ไม่มีกิเลส ไม่มีความอยากแล้วมาปฏิบัติน่ะ ก็พระอรหันต์เท่านั้นไม่มีความอยาก เรามีความอยาก มีความต้องการ มีความจะหลุดพ้น มีความที่จะออกจากกิเลส แล้วนิพพานมันอยู่ไหน?

ทีนี้มันมีความอยากอยู่ เราก็ควบคุมนะ เราควบคุมว่า อย่าอยากในสิ่งที่ผิดพลาด อย่าอยากในสิ่งที่เป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ให้อยากในมรรคในผล ให้อยากแบบธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้ฟังธรรมโดยเคารพ พระพุทธเจ้าสอนศีล สมาธิ ปัญญา ให้ซื่อสัตย์กับธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะใจของเรายังมีกิเลสอยู่ ใจของเรากิเลสตัณหาความทะยานอยาก ถ้ามันคด คดกับตัวมันเอง มันก็ไปจำมา จำธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา ทุกอย่างมีแล้วๆ แล้วไม่ต้องแสวงหา ไม่ต้องทำสิ่งใดเลย เพียงแต่ประคองกันไปอย่างนั้นน่ะ เดี๋ยวมันจะไปพบเอง มันจะไปเจอนิพพานเอง

เพราะมันคด ต้นมันคดปลายมันตรงไม่มีหรอก

ถ้าต้นมันตรง ต้นมันตรงน่ะ เราฟังธรรม เรามีกิเลสตัณหาความทะยานอยาก หลวงตาท่านพูดบ่อยมากว่า “ความอยากเป็นมรรคมันมีนะ ความอยากทำคุณงามความดีนี่เป็นมรรค แต่ความอยากในมรรคในผลโดยที่ปฏิบัติไม่ถึงมัน อันนั้นน่ะเป็นกิเลส มันไม่ปฏิบัติโดยถึงเหตุถึงผล”

ดูสิ อาหาร ถ้าสิ่งส่วนประกอบของมันไม่ถึง มันออกมาไม่น่ากิน แล้วกินไม่ได้เลยก็มี นี่ในการประพฤติปฏิบัติของเรามันไม่ครบองค์ประกอบ มันไม่ถึงหลักเกณฑ์ของมัน ถ้ามันถึงหลักเกณฑ์ของมันนะ ก็นิพพานมีอยู่แล้วเราก็นอนใจ เพราะมันมีอยู่แล้ว ทำอย่างไรก็ได้ เดี๋ยวจิตจะเข้าไปพบประสบพบมัน

แต่ถ้ามันเป็นความจริงนะ เราตั้งใจของเรา แล้วเราเอาความอยากของเราให้เป็นอยากในเหตุในผล เหตุในผลคือมรรค ความอยากที่เป็นมรรค ความอยาก กามฉันทะ ความพอใจ ความพอใจจะปฏิบัติ ความพอใจที่จะประพฤติปฏิบัติ แล้วตั้งสติไว้ให้ดีๆ ตั้งสติดีๆ ทำไป คนเรามันสร้างบุญกุศลมาเกิดมาทั้งนั้นน่ะ บาปอกุศลก็มีบ้าง บุญก็มีบ้าง การทำของเราไปมันจะต้องสมดุลของมัน แล้วมันจะมีความสงบของมันขึ้นมาเป็นเครื่องยืนยันต่อกันว่า

“จิตของเราก็ทำความสงบได้ มันสงบเพราะจิตของเราทำความสงบได้ ความสงบนี้เกิดขึ้นมาจากสิ่งใด? ความสงบนี้เกิดขึ้นมาจากสติ เกิดขึ้นมาจากคำบริกรรม เกิดขึ้นมาจากการใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เกิดขึ้นโดยเวรโดยกรรมโดยมันสงบโดยที่เราไม่รู้ตัว”

เห็นไหม มันเกิดได้หลากหลายมาก ความสงบเริ่มต้นที่เราปฏิบัติครั้งใหม่ๆ การปฏิบัติที่เรายังจับต้นชนปลายไม่ได้ เราจะควบคุมสิ่งใดไม่ได้เลย ผู้ที่ปฏิบัติใหม่จะควบคุมสิ่งใดไม่ได้เลย ครูบาอาจารย์เราที่ประพฤติปฏิบัติมาบอกว่า “ผู้กำลังปฏิบัติมันจะมียากอยู่ ๒ คราว คราวหนึ่งคือคราวเริ่มต้น กับคราวหนึ่งคือคราวสุดท้าย”

“คราวเริ่มต้น” คือคราวจะเข้าสู่โสดาปัตติมรรค

“คราวสุดท้าย” คือเข้าสู่อรหัตตมรรค

เพราะ ๒ ช่วงนี้มันจะมีปัญหามาก เพราะช่วงแรกเราจะประพฤติปฏิบัติไม่เป็น พอประพฤติปฏิบัติไม่เป็น ถ้าต้นมันคดมันยิ่งคลาดเคลื่อนมันยิ่งทำของมันไป ช่วงสุดท้ายนะ เวลาพิจารณาไป เวลาช่วงสุดท้ายเวลามันพิจารณาไป โสดาบัน สกิทา อนาคา มันจะชำระขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ คือสิ่งที่ประกอบกับจิต ถ้ามันชำระขันธ์ ๕ หมดแล้ว ขาดช่วงกัน ตั้งแต่โสดาบัน ขันธ์อย่างหยาบ-ขันธ์อย่างกลาง-ขันธ์อย่างละเอียดมันมีสายสืบต่อกัน ปฏิบัติไปมันจะสืบต่อกันเป็นขั้นเป็นตอนขึ้นไป ถึงที่สุดมันตัดตอนตัดช่วง

“อนาคามี” อยู่ในเรือนว่าง อยู่ในเรือนว่างนะ แต่มีคนอยู่ ในเรือนว่างนั้นมีคนอยู่ มีเราขวางอยู่ นั่นไง นั่นน่ะ “ผู้รู้” ถ้าจะไปทำลายผู้รู้ มันเป็นสิ่งที่ยากมาก

การปฏิบัติยากมีอยู่ ๒ คราว คราวหนึ่งคือคราวเริ่มต้นนี้ กับคราวหนึ่งคือคราวที่ขั้นสุดท้ายนั้น ทีนี้คราวเริ่มต้นนี้ ถ้ามันเป็นที่ยากอยู่ เราจะต้องมีความวิริยะ มีความอุตสาหะ มีความพากเพียร มันจะผิดจะถูกเราก็ต้องเป็นความจริง มันเป็นอยู่ที่อำนาจวาสนาของคน ในเมื่อเราทำของเรามาอย่างนี้ เราได้กระทำมาอย่างนี้ กรรมคือการกระทำ จิตนี้มันกระทำมาอย่างนี้ พันธุกรรมของจิตของเรามันเป็นอย่างนี้ แล้วเป็นอย่างนี้เราจะไปเรียกร้องเอากับใคร จะไปเรียกร้องเอากับสิ่งใด ผู้ที่ปฏิบัติง่ายรู้ง่ายนั่นก็บุญกุศลของเขา เขาได้สร้างของเขามา เราประพฤติปฏิบัติมันเป็นเวไนยสัตว์ เวไนยสัตว์คือต้องกระเสือกกระสนทำคุณงามความดีขนาดไหน ถ้ามันเป็นความจริงมันก็เป็นความจริงของเรา

ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติพยายามประพฤติปฏิบัติแล้วมันเป็นเรื่องที่เหตุที่สุดวิสัย เขาก็ปฏิบัติของเขาไปเพื่อสร้างอำนาจวาสนา สร้างบารมีของเขาไป นี่คนบารมีหยาบ มีแก่ มีอ่อนต่างๆ มันมีหลากหลายมาทั้งนั้นน่ะ ถ้ามีหลากหลายขึ้นมาอย่างนี้ ในการประพฤติปฏิบัติของเรา เราถึงต้องตั้งสติของเราเอาตามความจริงของเรา ไม่ใช่ว่าคนที่ประพฤติปฏิบัติแล้วจะเหมือนกันหมด จะทำแล้วจะได้อย่างเดียวกันหมด ฉะนั้นถึงว่าวิธีการปฏิบัติมันถึงมีหลากหลาย มีแตกต่าง

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางวิธีปฏิบัติไว้ถึง ๔๐ วิธีการ แม้แค่ทำความสงบของใจนะ ขั้นของปัญญา ครูบาอาจารย์บอกไม่มีขอบเขต ไม่มีขอบเขตเลย มันจะออกหาสิ่งที่กิเลสมันหลบซ่อนอยู่ในซอกของจิต ในซอกของความรู้สึก ในซอกของใจ มันจะเข้าไปทำลายทั้งหมดเลย มันเพราะมันทำลายทั้งหมด กิเลสมันถึงไม่มีที่หลบซ่อน ถ้ากิเลสไม่มีที่หลบซ่อน เวลามันถึงที่หมดแล้วมันแยกตัวของมันออกไปได้ แยกตัวออกไปเลย ขาดออกไป “กายไม่ใช่เรา เราไม่ใช่กาย กายไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่กาย ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕” กระบวนการของมันมี

ถ้ากระบวนการของมันมี พระโสดาบันเป็นพระโสดาบันอย่างไร อย่าว่าแต่นิพพานมันมีอยู่แล้วเลย แม้แต่เป็นพระโสดาบันปัญญาเกิดขึ้น เพราะถ้าปัญญาเกิดขึ้นของพระโสดาบันมันจะรู้ได้ จะรู้ได้ว่าปัญญาของโลกียปัญญา ปัญญาที่ทำความสงบของใจ ปัญญาที่เรื่องของโลกๆ ปัญญาที่พยายามศรัทธา มีศรัทธา มีความเชื่อ มีความวิระยะอุตสาหะ ปัญญาที่เกิดขึ้นมาตรึกในธรรม แล้วจิตมันสงบบ้าง จิตมันปล่อยวางได้อย่างไร มันจะรู้เห็นของมัน

แล้วถ้ามันกระบวนการการประพฤติปฏิบัติ ใช้ปัญญาที่มีฐานของสมาธิ ถ้าไม่มีฐานของสมาธิเวลาประพฤติปฏิบัติไป ใช้ปัญญาไปปัญญามันจะด้อยค่าลง ปัญญามันจะเสื่อมลง เสื่อมลงรู้ว่าเสื่อมและเจริญตรงไหน รู้ว่าเสื่อมและเจริญ เวลาเราใช้ปัญญาไป ดูสิ เวลาเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ถ้ามันเป็นสมาธิโดยส้มหล่นไม่รู้ตัวเลย ถ้าเป็นสมาธิโดยที่เรามีสติ เรามีสติเรากำหนดบริกรรมไป มันจะเป็นสมาธิต่อหน้าเราเลย

แล้วถ้ามันมีปัญญาอบรมสมาธิขึ้นมา พอมีสมาธิ พอสมาธิมันเกิดมีปัญญาขึ้นมา พอปัญญาที่มันมีปัญญาออกรู้ ออกพิจารณาไป มันรู้ขึ้นมา โอ้โฮ! โอ้โฮ! มันลึกซึ้งกว่า มันลึกซึ้งมันแตกต่างกว่าตอนที่จิตที่ปัญญาอบรมสมาธิ ที่มันจิตเข้ามาเป็นสมาธิ แล้วพอมีสมาธิเป็นพื้นฐานขึ้นมา แล้วมันออกรู้ ออกวิปัสสนา ออกใช้ปัญญา มันเข้ามาถอดถอน ความแตกต่างมันมีมหาศาล พอมีมหาศาล ความแตกต่างอันนี้มันก็ต้องติดในรสชาติของความที่ลึกซึ้งกว่า ถ้าจิตที่มันลึกซึ้งกว่า มันเห็นคุณประโยชน์ของจิตที่ลึกซึ้งกว่ามันก็อยากได้อันนี้ พออยากได้อันนี้มันก็พยายามกระทำมากขึ้น

พอกระทำมากขึ้น ถ้าออกวิปัสสนา แล้วถ้าสมาธิมันอ่อน จิตมันจะเสื่อม พอจิตมันจะมันกำลังของจิต พอจิตมันเสื่อมคือกำลังมันอ่อนลง กำลังอ่อนลง ปัญญาที่เกิดที่กำลังที่อ่อนลง เกิดขึ้นจากปัญญาที่อ่อนลง เห็นไหม พอปัญญาที่อ่อนลงมันก็รู้ตัวของมัน พอปัญญามันอ่อนลง ถ้าปัญญามันอ่อนลง พอปัญญามันอ่อนลงหมายถึงว่ามันใช้ปัญญา พอมันใช้ปัญญาไปแล้วมันไม่ทะลุไง มันไม่ทะลุคือสิ่งที่ทำอยู่ สิ่งที่วิปัสสนาอยู่น่ะมันไม่ปล่อย นี่เราจะรู้ได้ มันจะรู้ได้เลยว่าเวลาวิปัสสนาไป ใช้ปัญญาไป มันไม่สุด มันไม่ปล่อย พอมันไม่ปล่อย มันยื้อกัน

รู้ได้อย่างไรว่าอะไรเป็นภาวนามยปัญญา อะไรเป็นโลกุตตรปัญญา? พระโสดาบันรู้ได้ชัดเจนมาก รู้ได้ชัดเจนมาก ถ้าคนจะเห็นภาวนามยปัญญา นี่อย่างน้อยต้องเป็นพระโสดาบัน และถ้าเป็นพระโสดาบัน เห็นภาวนามยปัญญาน่ะ ปัญญาที่เกิดจากสมาธิ ปัญญาที่เกิดจากจิตที่มันมีหลักมีเกณฑ์ ปัญญาที่เกิดจากจิตที่มันมีหลักมีเกณฑ์มันรู้มันเห็นของมันนะ มันเป็นปัจจัตตัง มันสันทิฏฐิโกหมด มันเป็นปัจจัตตัง

แล้วถ้ามันเป็นปัจจัตตังอย่างนี้ ปัญญาอย่างนี้มันเกิดอย่างไร ปัญญาที่เราใช้ฆ่ากิเลส มันเกิดอย่างไร แล้วมันจะเห็นความแตกต่างว่าโลกุตตรปัญญากับโลกียปัญญามันแตกต่างกันอย่างไร ถ้ามันแตกต่างปั๊บ เวลาผู้ประพฤติปฏิบัติมันถึงไม่มี ของไม่มีแล้วเรามีการกระทำ มีการกระทำขึ้นมา พอการกระทำขึ้นมา เพราะกิเลสมันจะโดนทำลายด้วยมรรคญาณ กิเลสมันจะโดนทำลายด้วยธรรมจักร กิเลสมันจะโดนทำลายด้วยปัญญาที่มีสมาธิ

สมาธิมันอยู่ที่ไหน สมาธิมันอยู่บนจิตใช่ไหม พอบนจิต คือว่าจิตมันเป็นภพใช่ไหม แล้วมันย้อนกลับมาทำลาย กลับมาทำลายที่ตัวจิตที่มันยึดมั่นถือมั่น ยึดมั่นถือมั่นว่าสักกายทิฏฐิความเห็นผิดไง ความเห็นผิด แค่ความเห็นผิดนะ พอเห็นความเห็นผิดน่ะมันปล่อย ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕

แล้วมันรวมลงอย่างไร สังโยชน์ขาดอย่างไร?

เวลาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ เวลาสังโยชน์ขาดดั่งแขนขาด “ดั่งแขนขาด” ถ้าจิตของใครได้ตัดสังโยชน์ ๓ ตัวแล้ว เป็นธรรมะที่เหนือธรรมชาติส่วนหนึ่ง เหนือธรรมชาติเพราะอะไร? เหนือธรรมชาติเพราะกุปปธรรม-อกุปปธรรม กุปปธรรม สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา สภาวธรรมที่เป็นอนัตตา สรรพสิ่งนี้เป็นอนัตตา นี่กุปปธรรม กุปปธรรมคือธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนในอะไร? สอนในสติปัฏฐาน ๔ สอนในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม ในกาย เวทนา ในจิต ในธรรมเป็นเครื่องดำเนินของจิต นี่จิตมันเครื่องดำเนิน จิตมันจะเหยียบย่ำไป จิตมันจะทำกระบวนการของมันไป มันจะผ่านมรรค ๔ ผล ๔ ผ่านกระบวนการอริยสัจ ๔ กับสติปัฏฐาน ๔ กระบวนการมันมีกระบวนการ จิตมันต้องเหยียบย่ำไป เหยียบย่ำไปในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม นี่จิตมันต้องมีการกระทำของมันขึ้นมา

เพราะตัวจิตเอง ถ้าจิตมันมีตัวจิตของจิตเอง จิตมันก็มีกิเลส จิตมันก็มีสิ่งที่เข้าครอบคลุมมันอยู่ แล้วมันจะมีอะไรสิ่งใดที่มันจะไปต่อต้าน ถ้าเราไม่มีการช่วยเหลือ ไม่มีการตั้งสติ แล้วช่วยเหลือตัวเรา เราไม่มีสิ่งต่างๆ ช่วยเหลือ “ช่วยเหลือ” คือช่วยเหลือใจของเราให้มันออกก้าวเดิน ให้ออกวิปัสสนาไป ถ้าออกวิปัสสนาไป สิ่งที่การกระทำอย่างนี้ มีวิปัสสนาอย่างนี้ นี่มันเป็นปัจจัตตังนะ มันถ้ารู้จริงเห็นจริง เห็นไหม ต้นมันไม่คด พอต้นไม่คด สิ่งที่ต้นมันไม่คด เราเข้าสู่กระบวนการของมัน แล้วเราเดินไปตามกระบวนการนั้น เราจะเข้าสู่เป้าหมายนะ

ถ้าต้นมันคด เราไปบอกมันมีอยู่แล้ว มันมีอยู่แล้ว นี่แค่โสดาบันนะ ยังไม่ใช่ว่านิพพาน นิพพานเลย แล้วกระบวนการของมัน ถ้าปัญญามันเกิด เกิดโดยสัมมาสมาธิ ถ้าเกิดโดยสัมมาสมาธิ คำว่า “สมาธิ” ความเห็นผิด ถ้าความเห็นผิด กระบวนการของมันถ้ามันไม่เป็น มันจะรู้ได้อย่างไรว่าเวลาพิจารณาไป ปัญญาอย่างนี้มันจะไปเกิดในขั้นของอัปปนาสมาธิ เข้าถึงอัปปนาแล้วจะรอให้ปัญญามันเกิด...มันเป็นไปไม่ได้หรอก เพราะสิ่งนั้น นิพพานมันมีอยู่แล้ว พอนิพพานมันมีอยู่แล้ว สิ่งต่างๆ มันเข้าไปถึงกระบวนการแล้วนั่งรอเลย พอถึงที่สุดแล้วนั่งรอเหมือนกับ...มันเป็นไปไม่ได้หรอก มันสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

ถ้ามันเป็นไปได้ มันไม่มีอะไรมีอยู่หรอก สิ่งที่เรายังไม่ได้ทำ ไม่ได้เป็น ไม่มี ถ้ามันมีขึ้นมามันเป็นขึ้นมาจากในใจของเรา มันมี มันเป็นเพราะมีการกระทำของเราขึ้นมา ถ้าเรากระบวนการของเราทำขึ้นมา มันทำขึ้นมากับมือ มือเราทำขึ้นมาเอง นี่มือทำนะ แต่เวลาจิตตภาวนาน่ะจิตมันทำ แล้วถ้าจิตมันทำ ดูสิ แม้แต่ความคิด ความทุกข์ ความยากของเรา เรายังควบคุมมันไม่ได้เลย

แล้วเวลามันถ้าจิตมันสงบขึ้นมา มันปล่อยความฟุ้งซ่านเข้ามา มันก็สงบเย็นของมัน พอสงบเย็นของมันขึ้นมาแล้ว ถ้ามันออกใช้ปัญญาขึ้นมา เห็นไหม เวลาคนติดสมาธินะ เวลาคนติดสมาธิ พอมันว่าง มันมีความสุขก็คิดว่าสมาธิเป็นนิพพาน มันไม่ยอมออกทำงาน จิตมันไม่ยอมออกทำงาน พอจิตไม่ออกทำงานขึ้นมาแล้ว ถ้าเรายังมีรักษาอยู่ มันก็อยู่อย่างนั้นน่ะ สมาธิก็อยู่อย่างนั้น อยู่อย่างนั้นอย่างไร อยู่อย่างนั้นเพราะว่ามันมีสติไง มันมีคำบริกรรม มีการรักษา เพราะคิดว่านี่นิพพาน นิพพานคือรักษาไว้ นิพพานต้องรักษาไว้เหรอ?

นิพพานก็คือนิพพานไม่ต้องรักษาไว้ แต่รักษาไว้เพราะความเข้าใจผิดของเรา เราเข้าใจผิดของเราเอง เห็นไหม นี่ติดสมาธิ แม้แต่ติดสมาธินะ มันก็มีความสุขของมัน แต่ความสุขของขั้นสมาธิ เพราะความสุขขั้นสมาธิมันก็เป็น สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา มันอยู่ในกุปปธรรม มันยังเสื่อมสภาพของมัน มันยังแปรปรวนของมันอยู่ แต่ถ้ามันออกทำงานนะ เราออกทำงาน เราต้องบังคับออกทำงาน การทำความสงบของใจก็เป็นความสุขอย่างหนึ่ง การออกทำงานนี้เหนื่อยมาก

การวิปัสสนานี่นะ เหนื่อยมาก เหนื่อยจนหอบเลย เดินจงกรมใช้ปัญญาหมุนไป เหนื่อยมาก พอเหนื่อยขนาดไหน พอเหนื่อย สมาธิ เพราะมันใช้ไปแล้ว มันก็ต้องใช้พลังงานไปแล้วใช่ไหม สมาธิก็เสื่อมเป็นธรรมดา ถึงต้องปล่อยวาง ปล่อยวางจากปัญญานี่กลับมาที่สมาธิ กลับมาที่สร้างกำลังขึ้นมา ถ้าสร้างกำลังขึ้นมานะ ถ้ามันออกไปใช้ปัญญาขึ้นมา พอใช้ปัญญาขึ้นมามันจะเห็นของมัน ที่ว่าเวลาสมาธิเสื่อมแล้วปัญญามันถดถอยไปนี่เราจะรู้ได้อย่างไร รู้ได้โดยใช้ปัญญาแล้วมันไม่ทะลุทะลวง มันไม่เด็ดขาด มันฟันไม่ขาดไง

นี่ถ้ามันฟันขาดนะ ฟันสิ่งที่พัวพันในหัวใจ ขาดๆๆ พัวพันในอะไร พิจารณากายขึ้นมา ตั้งกายขึ้นมา ถ้าเป็นเจโตวิมุตตินะ พอจิตสงบแล้วพิจารณากาย เห็นกาย พอเห็นกายขึ้นมา เขาว่ากระทบกายๆ...ไม่ใช่ มันเห็นกาย พอเห็นกายขึ้นมา เห็นกายมันสะเทือนหัวใจมากเพราะการเห็นกายโดยสัจธรรม ไม่ใช่เห็นกายโดยเราคาดหมาย ถ้าเห็นกายโดยคาดหมาย นี่ต้นคด เห็นกายโดยคาดหมาย ต้นคด หมายถึงว่าจิตมันรู้อยู่แล้วเพราะมันคาดหมายขึ้นมา พอเห็นกายขึ้นมามันก็รู้ว่ามันจะเห็นใช่ไหม เห็นแล้วมันก็เห็นน่ะ แต่ถ้ามันเห็นกายโดยที่เราไม่รู้ตัว ไม่รู้ว่าจะเห็นสภาวะแบบนี้เลยถ้าไม่รู้ว่าจะเห็นสภาวะแบบนี้เลย พอมันเห็นขึ้นมาน่ะ

“มันมีอย่างนี้ด้วยหรือ สภาวะกายเป็นอย่างนี้หรือ”

ตกใจนะ ตกใจก็มันสะเทือนกิเลส นี่ความเห็น ถ้าจิตมันเห็น เห็นของมัน พอเห็นของมัน มันวิภาคะ มันแยกส่วนขยายส่วนของมัน ให้มันแปรสภาพของมันไป ถ้ามันแปรสภาพของมันไป มันแปรสภาพ แปรสภาพด้วยอะไร ใครไปสั่งให้มันแปรสภาพ? จิต เวลามันเห็น จิตมันแปรสภาพ กายคตาสตินี้อย่างไร ถ้ามันแปรสภาพเรื่องของกาย มันแปรสภาพ มันแปรปรวนของมัน นี่ไง มันแปรสภาพของมัน พอแปรสภาพ เราเป็นคนดูเป็นคนเห็น เราเป็นคนพิจารณา นี่จิตมันมีกำลังของมัน มันทำของมันได้ ถ้าจิตไม่มีกำลังขึ้นมามันจะเห็นสิ่งสภาวะแบบนี้ไม่ได้

แล้วการทำสภาวะสิ่งนี้ขึ้นมา “สภาวะ” สภาวะไม่ใช่ธรรมนะ คุยนักคุยหนาสภาวธรรม สภาวธรรมน่ะ สภาวะคือการเปลี่ยนแปลง สภาวะคือการเหยียบย่ำไป สภาวะคือกุปปธรรม สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา นี่คือสภาวธรรม สัพเพ ธัมมา สภาวะที่มันเกิดขึ้น ความสุขความทุกข์เกิดขึ้น ความดีความชั่วเกิดขึ้น ปัญญาเกิดขึ้น สมาธิเกิดขึ้น...เกิดขึ้นก็แปรสภาพทั้งนั้นน่ะ มันเกิดขึ้นมาเพื่อแปรสภาพ เพราะมันแปรสภาพอยู่แล้ว สิ่งที่แปรสภาพอยู่แล้วแต่เราสร้างขึ้นมา เราทำขึ้นมา

อ้าว! สมาธิสร้างไม่ได้ ปัญญาสร้างไม่ได้

สร้างไม่ได้ สร้างด้วยจินตนาการไม่ได้ แต่สร้างด้วยมรรคด้วยผล สร้างด้วยการกระทำ มันทำขึ้นมา เราส่งเสริมขึ้นมา เราทำของเราขึ้นมา มันทำขึ้นมาจนปัญญามันหมุนขึ้นมานะ มันจับต้องของมันได้ มันหมุนขึ้นมา มันทำลายเข้าเป็นชั้นเป็นตอน

ครูบาอาจารย์ท่านพูดมาก พูดบ่อยมากว่า “ถ้าขยะ ถ้ากิเลสตัณหาความทะยานอยาก เราจุดไฟมันติด ไฟมันติดแล้วมันจะเผาไหม้ไปตลอดเวลา ถ้าเราจุดปัญญาของเราได้ พอจิตมันสงบแล้ว มันขี้เกียจไม่ออกทำงาน ถ้าเราจุดปัญญาของเราได้พยายามออกให้มันเห็นได้ เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วแต่อำนาจวาสนาบารมีของตัว แล้วการเห็นแต่ละครั้งก็ไม่เหมือนกัน แล้วการเห็นแต่ละครั้งมันจะเห็นแตกต่างได้” ความเห็นแตกต่างได้เพราะอะไร?

เพราะว่ากิเลสตัณหามันอ้างอิง มันหลบลี้ตลอดเวลา มันไปหลบไปซ่อนที่โน่น หลบไปซ่อนที่นี่ หลบไปซ่อนในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม มันซ่อนของมันตลอดเวลา กิเลสเป็นนามธรรม มันอาศัยกาย เวทนา จิต ธรรมเป็นที่อยู่อาศัยแล้วออกไปหาเหยื่อ ออกไปทำลายเราเอง ออกไปสร้างเวรสร้างกรรมโดยเอาผลเวรผลกรรมนั้นกลับมาสนองสู่จิตเราเอง มันออกไปจากจิต นี่สร้างเวรสร้างกรรมขึ้นมาก็ส่งกลับมาอยู่ที่จิตเรานี่

ถ้าเรามีสติปัญญาไล่ตามมันทัน ไล่ตามสภาวะอย่างนี้ทันแล้วมันแยกแยะของมัน วิปัสสนาของมันไป วิปัสสนาด้วยปัญญา ด้วยการกระทำของมัน การกระทำทำอย่างไร มันมีการกระทำของมัน ถ้าไม่มีการกระทำของมัน มันคิดแต่สร้างคอกความคิด นี่ไง บอกว่าวิทยาศาสตร์ มันเป็นวิทยาศาสตร์ ธรรมะก็เหมือนกัน ธรรมะที่เป็นทฤษฎีเป็นวิทยาศาสตร์หมด วิทยาศาสตร์ต้องตายตัวสภาวะแบบนั้น

แต่ปฏิบัติธรรมไปแล้วไม่เป็นอย่างนั้นเลย ไม่เป็นอย่างนั้นเลย สติก็เป็นสติ สมาธิก็เป็นสมาธิ ปัญญาก็เป็นปัญญา แล้วปัญญาที่มันหลากหลาย มันหลากหลายว่า ปัญญาภายนอก-ปัญญาภายใน ปัญญาภายในภายในที่มันละเอียดลึกซึ้งเข้าไป พอมันละเอียดลึกซึ้งเข้าไป ทำไมถึงมันละเอียด ทำไมมันถึงลึกซึ้ง เพราะลึกซึ้ง เพราะอะไร?

เพราะสติปัญญาเป็นสติ-เป็นมหาสติ เป็นปัญญาญาณที่มันซับซ้อนเข้าไป มันละเอียดลึกซึ้งเข้าไป ลึกซึ้งจนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา มันจะสอนใครได้ จะบอกใครได้เลยล่ะ มันลึกซึ้งของมัน แต่ลึกซึ้งมันก็ลึกซึ้งด้วยขั้นตอนที่ลึกซึ้ง ด้วยขั้นตอนที่การกระทำ แล้วครูบาอาจารย์ที่ ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมตมํ ครูบาอาจารย์ที่ได้ผ่านกระบวนการอย่างนี้มา ฟังทีเดียวก็รู้ว่านี่พูดอยู่ขั้นไหน เวลาพอเทศน์ออกมานะ เทศน์อยู่ขั้นไหน เทศน์อยู่ในขั้นของโลกๆ เทศน์อยู่ในขั้นของการจำมา

พูดธรรมเหมือนกัน ว่าพูดเหมือนกันมันผิดตรงไหน?

ผิดตรงที่มัน “ไม่รู้” กับ “รู้” คำพูดเหมือนกัน คนที่รู้จริง เพราะคำพูดของเขาพูด ความรู้

“รู้” คือกระบวนการกระทำมันมีมาหมด

“ไม่รู้” ก็พูดเหมือนกัน พูดคำเดียวกัน แต่ไม่มีกระบวนการสิ่งใดๆ พูดแล้วก็จบ

นี่ไง มันต่างกัน

ทีนี้ภาคปฏิบัติเขาถึงว่า “คนจริง คนรู้จริง คนไม่จริงเขากลัวคนรู้จริง” เพราะคนรู้จริง คนรู้จริงมันสามารถเพราะจริง จริงมันถึงสามารถชักนำหัวใจที่ไม่จริงขึ้นมาให้เป็นหัวใจที่จริงได้ หัวใจที่ไม่จริงมันชอบความไม่จริง ชอบสิ่งจอมปลอม กิเลสจอมปลอม ธรรมะจอมปลอมมันก็เข้าสู่กิเลสจอมปลอม กิเลสจอมปลอมมันก็พาสู่ลงปฏิบัติไปโดยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก มันก็คดไปตามกิเลสนั่นน่ะ

แต่ถ้าเป็นความจริงนะ เราฝืนมัน สิ่งใดที่ทำขึ้นมาแล้ว ถ้ามันพิจารณาของมันจนมีสัจจะความจริงของมันขึ้นมา มันปล่อยวางนะ พอสังโยชน์ขาดไปแล้วนะ ทำใจให้ละเอียดเข้าไป นี่สมาธิของขั้นโสดาบัน มรรคญาณของขั้นโสดาบันมันได้ทำลายมันหมดแล้ว

โสดาปัตติมรรค-โสดาปัตติผล สกิทาคามิมรรค-สกิทามิคาผล อนาคามิมรรค-อนาคามิผล อรหัตตมรรค-อรหัตตผล การยกจิตขึ้นแต่ละชั้นแต่ละตอนในการประพฤติปฏิบัติ มันมีวุฒิภาวะของมัน สติของขั้นโสดาบันเป็นอย่างหนึ่ง สติของขั้นสกิทาคามีอย่างหนี่ง สติของขั้นอนาคาอย่างหนี่ง สติของขั้นพระอรหันต์อย่างหนึ่งนะ

อรหัตตมรรค-อรหัตตผล พระอรหันต์ยังไม่สิ้นสุดกระบวนการ ยังไม่นิพพาน นี่ขั้นของพระอรหันต์ ขั้นของที่การกระทำของจิต ที่มันจะต้องบดบี้กัน บดบี้ บดบี้ไอ้จิตเดิมแท้ จิตเดิมแท้ที่ผ่องใสๆ ผ่องใสจนเราจับต้องไม่ได้ ผ่องใสจนเราเห็นไม่ได้ สิ่งที่เห็นไม่ได้ พอเห็นไม่ได้ เพราะมรรคสิ่งรองรับมันไม่ถึง ดูสิ เวลาเราสร้างตึก เราจะสร้างตึก สร้างตึกนี้สูงขึ้นไป นั่งร้านต้องมีประกอบขึ้นไปตลอด ถ้าไม่มีนั่งร้านขึ้นไป จะสร้างตึกขึ้นมาไปไม่ได้

“อรหัตตมรรค” สิ่งที่เห็นขึ้นไปสู่จับกิเลสที่ละเอียด มันจะมีพื้นฐานขึ้นไปอย่างไร มีพื้นฐานขึ้น เข้าไปสู่ธรรมที่ชำระล้างที่พิจารณาขึ้นไปอย่างไร?

ถ้าพิจารณาของมันขึ้นไป เวลาผ่านกระบวนการที่ว่าเป็นโลกียปัญญา-โลกุตตรปัญญา แล้วพิจารณาของมันจนมรรคสามัคคีรวมกัน สมุจเฉทปหานขาด ดั่งแขนขาด เหนือธรรมชาติส่วนหนึ่ง พอเหนือธรรมชาติส่วนหนึ่ง เราปฏิบัติเป็นแล้ว เห็นไหม เป็นที่ว่าขั้นตอนแรกกับขั้นตอนสุดท้ายที่ยากที่สุดถ้ายากที่สุด ถ้ายากจะยากเย็นแสนเข็ญขนาดไหน เราก็ได้พยายามพาจิตของเราไปได้เอาจิตของเรา ใช้ปัญญาของเรา ใคร่ครวญของเรา ช่วยเหลือจิตของเรา ทำลายสังโยชน์ที่มันร้อยรัดไว้ ร้อยรัดไว้พอมันขาดออกไปแล้ว สิ่งที่ตัดขาดแล้วจะไม่กลับมาอีกหรอก

ไม่ใช่ว่า พอสังโยชน์ขาดไปแล้วจะไปๆ มาๆ...ไม่มีหรอก

เพราะมันเป็นสมุจเฉทปหาน ไม่ใช่ตทังคปหาน ถ้าเป็นตทังคปหานนั่นแหละมันไปๆ มาๆ แต่ถ้ามันเป็นสมุจเฉทปหาน แล้วสมุจเฉทปหานมีหนึ่งเดียว หนึ่งเดียวที่ขณะจิตที่มันเปลี่ยนแปลง จิตถ้ามันขณะจิตที่มันได้ทำได้สมุจเฉทไปแล้วจะไม่มีสิ่งใดเหลืออีกเลย จะกลับมาเป็นอย่างอื่นไม่ได้ มันเป็นอกุปปธรรม ธรรมเหนือโลกคืออกุปปธรรม ธรรมในโลกคือกุปปธรรม ถ้ามันเหนือโลกมันเหนือสิ มันเหนือกว่าปุถุชนอยู่แล้ว เพราะปุถุชนไม่มีต้นไม่มีปลาย เวียนตายเวียนเกิดตลอดไป

พระโสดาบันอีก ๗ ชาติเท่านั้น พระโสดาบันอีก ๗ ชาติเท่านั้นในกระบวนการของพระโสดาบัน แต่พระโสดาบันกระบวนการของพระโสดาบันที่ยังมีชีวิตอยู่ เรายังมีโอกาสทำหน้าที่เราต่อไปได้ ถ้าทำหน้าที่ของเราต่อไปได้ เห็นไหม มันเวลาจิตสงบเข้าไป พอจิตสงบเข้าไป รื้อค้นเข้าไปในสติปัฏฐาน ๔ ในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม แต่คนละขั้นตอนกัน

“กาย เวทนา จิต ธรรม” ของพระโสดาบันหยาบๆ

“กาย เวทนา จิต ธรรม” ของพระสกิทาคามันละเอียดเข้าไป

พอละเอียดเข้าไป มันแตกต่าง มันแตกต่าง เห็นไหม ถ้าใช้ปัญญาเข้าไป ถ้าจับได้ ถ้าพิจารณาได้ การประพฤติปฏิบัติ ต้องจิตสงบแล้วต้องพาจิตนี้ออกทำงาน ถ้าจิตนี้ออกทำงาน ทำงานในอะไร? ทำงานในสติปัฏฐาน ๔ ถ้ามันทำงานในสติปัฏฐาน นั่นคือทำงานโดยธรรม ถ้ามันทำงานออกไปรับรู้สิ่งต่างๆ ออกไปรับรู้โลก นั้นมันทำงานโดยกิเลส ถ้ามันทำงานโดยธรรม ถ้าทำงานโดยธรรม นี่ซื่อสัตย์ซื่อตรงต่อธรรม ปฏิบัติก็ซื่อสัตย์ซื่อตรงต่อธรรม ถ้ามันเป็นธรรมมันจะเข้ามาชำระกิเลส

ถ้ามันเป็นกิเลสปฏิบัติธรรม มันจะส่งออก ส่งไปสร้างภาพว่าได้มรรค ได้ผล ได้ขั้นได้ตอนสูงส่งขึ้นไป สูงส่งขึ้นไปด้วยสามัญสำนึก ด้วยสัญญาอารมณ์ สัญญาอารมณ์ที่ฟังเทศน์ฟังธรรมของครูบาอาจารย์มา สัญญาอารมณ์ที่ฟังมาจากพระไตรปิฎกมา แล้วสร้างภาพสร้างสถานการณ์สร้างขึ้นไป นี่ไง นิพพานมีอยู่แล้วก็เป็นอย่างนั้น

แต่ถ้าเราไม่มีสิ่งใดเลย ไม่สิ่งใดๆ ในหัวใจที่ตกค้างอยู่ ไม่สิ่งใดๆ เลย ที่จะต้องตอบสนองใคร เราประพฤติปฏิบัติไปโดยสัจจะโดยความจริงของมัน ถ้าเราประพฤติปฏิบัติโดยสัจจะโดยความจริงของมัน วิปัสสนาของเราไป กายขั้นของสกิทา พิจารณาของมันไปมันจะเข้าสู่สภาวะเดิมของเขา ดินเป็นดิน น้ำเป็นน้ำ ลมเป็นลม ไฟเป็นไฟ มันจะคืนสู่สภาวะเดิม ถ้าคืนสู่สภาวะเดิม

ถ้าพิจารณาจิตล่ะ จิตในขันธ์อย่างกลาง ขันธ์อย่างหยาบ ขันธ์อย่างกลาง ขันธ์อย่างละเอียด ขันธ์อย่างกลาง ขันธ์อย่างกลางก็คืออุปาทานมันยึดของมัน ถ้าอุปาทานมันยึดของมัน วิปัสสนาเข้าไป วิปัสสนาใช้กำลังเข้าไป เพราะอะไร เพราะขั้นแรก ขั้นที่ยากที่สุดมันผ่านมาแล้ว ขั้นที่สองถ้าใช้สติ ใช้ปัญญา ใช้ความเพียร ใช้ความวิริยะ ใช้ความอุตสาหะ อย่าสะเพร่า อย่ามักง่าย อย่าชิงสุกก่อนห่าม

ผู้ที่ปฏิบัติ การชิงสุกก่อนห่ามคืออยากรู้ไปก่อน อยากสร้างภาพไปก่อน อยากสร้างจินตนาการไปก่อน กิเลสมันหัวเราะเยาะ กิเลสมันฉลาดกว่าเรา กิเลสมันเป็นปฏิสนธิจิต กิเลสอวิชชามันเกิดมา ปฏิสนธิจิต มันอยู่ปฏิสนธิจิต ไอ้ความรู้ความเห็นนี่มันเป็นเปลือกของปฏิสนธิจิตนะฉะนั้น ถ้าเราไม่สร้างภาพ เราพยายามทำของเรา ด้วยสัจจะความจริง มันจะปล่อยของมันไปเรื่อยๆ ปล่อยเข้าไปถึงที่สุดนะ เวลามันขาด สมุจเฉทปหานกามราคะ-ปฏิฆะอ่อนลง กายเป็นโพธิ จิตเป็นกระจกใส โลกนี้ราบ ราบ ราบเลย มันปล่อยหมดนะ ราบไปหมดเลย โลกนี้ไม่มีสิ่งใดที่...ดู ตัดป่าไม่มีสิ่งใดเหลือเลย แล้วมันเป็นอย่างไร มันเป็นอย่างไร?

สิ่งที่นิพพานมันมีอยู่แล้วมันอยู่ตรงไหน ถ้านิพพานมีอยู่แล้ว ทำไมต้องมีกระบวนการของมันที่ต่อสู้ขึ้นมาขนาดนี้ ทำไมมีกระบวนการของมันที่จะต้องใช้มรรคญาณ มรรค ๔ ผล ๔ มันต่อสู้ของมันขึ้นมา แล้วว่างหมดนะ ว่างหมด ถ้าไม่มีสติปัญญา มันจะติดสภาวะแบบนี้ติดว่านี่นิพพานได้เหมือนกัน นิพพานเพราะอะไร นิพพานเพราะว่ามันจินตนาการไง

เวลามันมีปัญญารอบหนึ่งก็ว่าเป็นขั้นหนึ่ง ขั้นหนึ่ง แล้วมันสร้างภาพของมันได้

ถ้ามีครูบาอาจารย์นะ ท่านจะบอกว่า “สุขอย่างนี้มันไม่ใช่สุขจริงหรอก” เพราะอะไร เพราะถ้า เราเหมือนคนเป็นโรคถ้าเราไม่ให้หมอตรวจว่ารู้ว่าเป็นโรค เราจะไม่รู้ว่าเราเป็นโรคอะไร เราก็ว่าเราแข็งแรง เราเป็นปกติ นี่ก็เหมือนกันจิตที่มันว่าง มีความสุขของมัน ครูบาอาจารย์ที่ท่านผ่านไปแล้ว ท่านรู้เลยว่ามันจะเข้าไปเจอคลื่นใหญ่ เจอโอฆะ เจอสิ่งต่างๆ

แต่ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์นะ หรือเราติดในตัวเราเองนะ มันไม่เห็นเพราะกิเลสมันฉลาดกว่า กิเลสมันซุกตัว มันไม่แสดงตัว ไม่แสดงตัวเราก็ชะล่าใจ เราก็อยู่ของเราไปสบายๆ สบายๆ นี่ก็ว่านึกว่านิพพานๆ...ตายตูม มันไม่พ้นจากกามภพ ไม่พ้นหรอก มันอย่างน้อย มันก็เกิดตั้งแต่เทวดาลงมาน่ะ มันไม่พ้นจากกามภพหรอก แต่ถ้ามีครูบาอาจารย์คอยชี้แนะ หรือว่าเรามีบุญกุศลของเรานะ ทำความสงบของใจเข้าไป จะเป็นมหาสติ-มหาปัญญาแล้ว

ถ้าเป็นมหาสติปัญญา ดูสิ พิจารณากายนอก-กายใน-กายในกาย พิจารณาเวทนานอก-เวทนาใน-เวทนาในเวทนา พิจารณาจิตในจิต นี่มันขึ้นเข้าไป มันกระบวนการของมันมีของมันนะ ไม่ใช่ว่าพระกรรมฐานเป็นโวหาร พูดเป็นโวหารนะ ในทางวิชาการเขาไม่มี แต่ในปฏิบัติมันมี ในปฏิบัติมันมีหยาบ มีกลาง มีละเอียด และละเอียดสุด แล้วมันพิจารณากาย ถ้าจิตมันละเอียดเข้าไป มหาสติ-มหาปัญญา มหาสติ-มหาปัญญาเพราะมันเร็วมาก ความเร็วของจิตที่ว่า โอ๋ย! จิตนี้มันเร็วมากๆ จิตนี้มันละเอียดมาก...ปฏิบัติไปเถอะ เดี๋ยวจะเห็นของมันว่ามันจะเร็วขนาดไหน

สติ-ปัญญาสามารถจับควบคุมจิตได้วิปัสสนาขึ้นมามาเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมา แต่เวลาจะจับจิตที่มันละเอียดกว่า มันไวกว่า สิ่งที่กระชับมากกว่า แล้วถ้าไม่เป็นมหาสติ-มหาปัญญามันจะไปจับอารมณ์ความรู้สึก อารมณ์ของกามราคะอย่างนี้ได้อย่างไร

ดูสิ หลานของกิเลสมันตายไปแล้ว ลูกของกิเลสมันตายไปแล้ว นี่มันพ่อของมัน พ่อเป็นวัยทำงานนะ ความโลภ ความโกรธ ความหลง กามราคะ ปฏิฆะ ตรงนี้มันเป็นสิ่งที่โอฆะที่จิตนี้ข้ามได้ยากมาก ถ้าจิตนี้ข้ามได้ยากมาก แล้วสิ่งที่มันเป็นพ่อ ในเล่ห์กลของมันจะมากน้อยขนาดไหน ถ้าในเล่ห์กลของมันมาก เราจะต้องมีมหาสติเข้าไป แล้วพอมันจะจับ ต้องจับต้องรื้นค้นนะ ถ้าไม่จับไม่รื้นค้น ถ้าจิตมันสงบก็คิดว่าสิ่งนี้เป็นนิพพาน เวลาไม่ออกรู้

เวลาออกรู้เข้าไปแล้ว โอ้โฮ! พอโอ้โฮ! ขึ้นมา นี่มันใช้ปัญญาไป พอปัญญามันไป มันใช้ปัญญาเพราะมันจับได้ มีงานไง “มีงาน” คือกาย เวทนา จิต ธรรม สติปัฏฐาน ๔ นั่นแหละ สติปัฏฐาน ๔ อันละเอียด สติปัฏฐาน ๔ ในตัวเรา เพราะมีเราถึงมีฝ่ายตรงข้าม ถ้ามันมีเรา มันมีกามฉันทะ มีความพอใจในเรา ถ้ามันพอใจในเรามันจะไม่คิดออกไปตรงข้ามนะ ถ้ามันคิดออกไปตรงข้าม เราจับเราได้ พอเราจับเราได้ นี่กามฉันทะ ความพอใจในหัวใจ ถ้าความพอใจในหัวใจ มหาสติมันจับของมันได้ มันมาคลี่คลาย นี่ไง สิ่งที่พิจารณาได้ นี่อสุภะอสุภังมันเกิดตรงนี้

เวลาปฏิบัติกันน่ะ “พิจารณาอสุภะ พิจารณาอสุภะ” เราไม่ฟังเลย

พิจารณากายครั้งแรก กายคตาสติ พิจารณากาย พิจารณากายโดยสักกายทิฏฐิ ความเห็นผิดในกาย

พิจารณากายครั้งที่ ๒ มันเป็นพิจารณากายโดยกายสู่สถานะเดิมของเขา

แล้วพิจารณากายครั้งที่ ๓ นี้ ครั้งที่ ๓ หมายถึงพระอนาคา พระอนาคา เพราะพระอนาคามีมหาสติ-มหาปัญญา จิตนี้มีฐานะมาก จิตนี้มีความสูงส่งมาก พอจิตนี้มีฐานะมีความสูงส่งมาก มันละเอียดมาก มีกำลังมาก พอมีกำลังมาก เพราะจิตใต้สำนึกทุกคนรักสวยรักงาม ทุกคนสงวนรักษา รักษาความถนอมรักษาจิต ความถนอมรักษาอารมณ์ ถนอมรักษาทุกอย่างเลย

เพราะความถนอมรักษา เพราะความถนอมรักษามันถึงละเอียดอ่อนเพราะมันใกล้ชิด พอมันใกล้ชิดมันละเอียดอ่อน สิ่งที่จะเข้าไปจับสภาวะสิ่งนี้ได้มันถึงต้องเป็นมหาสติ-มหาปัญญา ปัญญาที่ว่าละเอียดลึกซึ้ง ลึกซึ้ง ลึกซึ้ง ลองถ้าภาวนาเข้าไปมันจะเห็นลึกซึ้ง ลึกซึ้งโดยความรู้ความเห็น ลึกซึ้งโดยการปฏิบัติ จนแทบไม่กล้าพูดกับคนข้างนอกนะ

ถ้าคนปฏิบัติไม่เป็นไปพูดกับเขา เขาว่าคนนี้บ้า พูดอะไรที่มันเลื่อนลอย ทั้งๆ ที่มีหลักมีเกณฑ์นะ ทั้งๆ ที่เป็นความจริงนะ เป็นความจริงที่มันบังเกิดขึ้นเป็นปัจจัตตัง มันเป็นสันทิฏฐิโกที่เกิดจากจิต จิตที่มันกำลังเป็นมหาสติ-มหาปัญญาที่กำลังต่อสู้ กำลังพิจารณา กำลังใช้มรรคญาณต่อสู้กับกิเลส แต่ถ้าไปพูดกับคนข้างนอก พูดกับคนที่ไม่ได้ปฏิบัติ เขาจะว่าคนอย่างนี้บ้าบอคอแตก พูดอะไรที่มันเลื่อนลอย แต่มันเป็นความจริง สิ่งที่เป็นความจริง ทางโลกมันเป็นทางวิชาการ ไม่มีจริง ไม่จริงเพราะมันเป็นกรอบตายตัว

แต่ถ้าเป็นความจริงในหัวใจ เป็นความจริงที่มันเกิดขึ้นมา มันเป็นปัจจัตตัง มันเป็นสันทิฏฐิโก มันเป็นการประพฤติปฏิบัติที่ประสบการณ์จริง ถ้าประสบการณ์จริงมันจะใคร่ครวญของมันมันจะแยกแยะของมัน มันจะแยกแยะของมัน เห็นไหม สิ่งที่เป็นอสุภะ สิ่งที่เป็นความพอใจน่ะ มันเป็นกิเลส กิเลสคืออะไร? กิเลสคือความเคยใจ คือจิตในโอฆะ จิตที่มันเคยตายเคยเกิดมา พันธุกรรมของมัน ดีเอ็นเอของจิต ดีเอ็นเอของจิตมันเป็นเนื้อเดียวกัน มันเป็นอนุสัยที่มันนอนมากับมัน แล้วเวลาสติปัญญาที่มันเข้าไปทันมันไปแยกแยะน่ะ ไปแยกแยะสิ่งที่เป็นเนื้อของจิต

สิ่งที่เป็นนามธรรมอยู่แล้วนะ จิตนี้เป็นนามธรรม ความรู้สึกนี้เป็นนามธรรมนะ แล้วปัญญาที่มันเกิดจากนามธรรมมันเข้าไปไล่กับนามธรรม แล้วมันแยกแยะ มันคลี่คลายออก พอคลี่คลายออกมันก็เป็นอสุภะ อสุภะเพราะอะไร?

อสุภะเพราะสรรพสิ่งในโลกนี้มันเป็นอนิจจังอยู่แล้ว มันเป็นอสุภะอยู่แล้ว แต่เพราะความเข้าใจผิด ความจิตที่จิตมันแนบแน่นมากับความเคยใจ มันป็นกิเลสของมันในหัวใจ มันก็ยึดมั่นของมัน มันว่าสิ่งนั้นถูกต้อง สิ่งนี้ดีงาม สิ่งนี้สวยงาม สิ่งนี้พอใจ เพราะกามฉันทะ เพราะมีความพอใจ มีความพอใจมันจึงเกิดปฏิฆะ เกิดปฎิฆะคือสิ่งที่มันต้องการ พอปฎิฆะขึ้นมา ถ้าไม่ได้อย่างปฏิฆะมันก็เกิดโทสะ เกิดโมหะ นี่ไง สิ่งนี้มันอยู่โดยละเอียด

มันไม่ใช่การพิจารณากายข้างนอกนั่นหรอก พิจารณากายอย่างนั้นมันตัดเข้ามา มันก็ตัดสังโยชน์ ๓ ตัว ทิฏฐิความเห็นผิดนั้นอย่างเดียว แต่พอมันตัดขึ้นมาโลกนี้ราบ มันตัดขึ้นเป็นชั้นๆ ขึ้นมา แล้วพอมันตัดขึ้นมา

นิพพานมันอยู่ไหน? ไหนว่ามันเป็นนิพพานไง จิตนี้มีนิพพานอยู่แล้ว ก็ค้นหาเกือบเป็นเกือบตายนิพพานอยู่ไหน นิพพานไม่เห็นมีเลย นิพพานมี นิพพานโผล่หน้ามาให้ดูหน่อยสิ มันไม่เห็นน่ะ

มันพิจารณาของมันไป แล้วกาย พิจารณากาย กายนิพพานไหม กายมีนิพพานหรือเปล่า กายก็ต้องมีนิพพานสิ ถ้าจิตมีนิพพาน กายก็ต้องมีนิพพานสิ นี่พิจารณาอสุภะ พิจารณากายอยู่นี่ มันเป็นอสุภะ-อสุภัง อสุภะเพราะอะไร?

“อสุภะ” เพราะมันมีมหาสติ-มหาปัญญา มีมหาสติ มันมีสมาธิ สมาธิขั้นที่มหาสมาธิมันมีของมัน สิ่งที่เคลื่อนที่ที่เร็วที่สุด สิ่งที่จิตที่มันกระบวนการที่มันทำงานของมัน ที่เป็นสุภะเป็นความพอใจ เป็นความรักความใคร่ของมัน แล้วอสุภะ “อสุภะ” เพราะกำลังที่มันทัน มันมีฐานของสมาธิ มันมีฐานของมหาสติ มันพอมันทันขึ้นมามันจับให้หยุดได้ พอจับให้หยุด มันจับให้หยุดแล้วคลี่คลายออก คลี่คลายออก พิจารณาเป็นอสุภะมันก็ปล่อย

พออสุภะ ทุกคนไม่ชอบของที่เป็นอสุภะ ของที่น่าขยะแขยง สิ่งที่มันเยิ้มไปด้วยกามทุกคนไม่ต้องการ ทุกคนต้องการความสวยงามความดีงาม จิตมันหลอกกันอยู่อย่างนั้นตลอดไป แล้วจิตมันทำงานของมันอยู่อย่างนั้น ทั้งๆ ที่เป็นนามธรรม มันทำงานอยู่อย่างนั้น แต่เวลาเรามีมหาสติ-มหาปัญญา มหาสติ-มหาปัญญามันมาหยุดมัน แยกแยะมัน

สิ่งที่เป็นธรรมจักร สิ่งที่เป็นมรรคญาณมันจะเกิด เกิดเพราะสมาธิ เกิดเพราะสติมันจับแยกแยะของมัน พอแยกแยะของมัน มันเป็นอสุภะๆ มันเป็นของมันอยู่แล้ว นี่ไง ที่ว่าธรรมะมีอยู่โดยดั้งเดิม แต่อยู่โดยดั้งเดิมด้วยการรื้อค้น ด้วยการกระทำ พอกระทำขึ้นมามันปล่อยเข้ามา มันชำนาญบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า

เวลาพิจารณาจากข้างนอกเวลามันขาดนะ มันขาดจากกายสักกายทิฏฐิ มันขาดจากอุปาทานของกาย พอพิจารณาถึงอสุภะ อสุภะกับจิตมันเป็นเนื้อเดียวกัน เห็นไหม ขันธ์อย่างละเอียดกับตัวจิตตัวผู้รู้ ตัวผู้รู้คือตัวพลังงาน พลังงานมันไม่ใช่ความคิด พอความคิดขึ้นมา เพราะโอฆะต่างๆ มันเกิดจากความจินตนาการ ความพอใจของจิตแต่ละดวงนี่ข้อมูล ปฏิฆะของแต่ละดวงมันก็ไม่เหมือนกัน สิ่งที่ไม่เหมือนกัน

พอมันไล่ละเอียดเข้ามา มันก็ละเอียดเข้ามา ละเอียดเข้ามา คือมันหดสั้นเข้ามา มันรวดเร็วขึ้นมา จากพิจารณาครั้งแล้วครั้งเล่า มันจะละเอียดเข้ามา จากสิ่งที่มันอยู่ไกล มันละเอียดเข้ามาถึงที่ เข้ามาเรื่อยๆ จนถึงใจ พอถึงใจมันสรุปลงที่ใจ พอสรุปลงที่ใจ มันครืน! ลงที่ใจ มันทำลายใจทั้งหมดเลย พอทำลายใจทั้งหมด “ขันธ์ ๕ไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่ขันธ์ ๕” ทำลายไปหมด ข้อมูลความรู้สึกความนึกคิดของจิตขาดหมดๆ

พอขาดหมด กามราคะจะมีไหม ในเมื่อเราไม่มีข้อมูลไม่มีสิ่งใดมีความพอใจในตัวเอง มันขาดไปหมดเลย พอขาดไปหมดเลย พอขาดไปแล้วนะ พิจารณาซ้ำไปๆ ขาดไปแล้วมันมีเศษส่วน อนาคา ๕ ชั้น เศษส่วนของมัน คือสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่ทำลายแล้ว แต่รูปธรรมนี้มันมีข้อมูลอยู่ในจิต มันมีสัญญาอารมณ์อยู่ในจิต มันยังมีเศษสิ่งที่เหลือ ซ้ำๆ ซ้ำๆ ซ้ำเข้าไป จนถึงที่สุดมันใส พอใสไปติดกันหมด

“สิ่งที่ประพฤติปฏิบัติยากตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้น กับยากที่สุดกระบวนการสุดท้าย”

หลวงตาท่านพูดบ่อย “การปฏิบัติมียากอยู่สองคราว คราวหนึ่งคือการปฏิบัติเริ่มเบื้องต้น กับอีกคราวหนึ่งปฏิบัติขั้นสุดท้าย” เพราะขั้นสุดท้ายมันทำลายขันธ์ ทำลายความคิดความรู้สึกต่างๆ หมดแล้ว แล้วจะไปเริ่มจับมันได้อย่างไร ที่ว่าผู้รู้ๆ จะไปจับมันอย่างไร?

“จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้หมองด้วยอุปกิเลส”

“จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้เป็นผู้ข้ามพ้นกิเลส”

แล้วใครมันจะข้ามก็ในเมื่อมันใสหมดแล้ว มันไม่มีอะไรแล้ว จับต้องสิ่งใดๆ ไม่ได้เลย จับต้องสิ่งใดๆ ไม่ได้เลย พอจับต้องสิ่งใดๆ ไม่ได้ แล้วใครเป็นคนพูดล่ะ ใครเป็นคนพูด ใครเป็นคนรับรู้อยู่นั่นน่ะ

“โมฆราชเธอจงมองโลกนี้เป็นความว่าง แล้วกลับมาถอนอัตตานุทิฏฐิ”

ไอ้ผู้รู้ ไอ้ผู้รู้ว่าว่าง แต่กว่าที่จะหาผู้รู้ที่ว่าว่างนี้ ใครจะจับตัวมันได้

“อรหัตตมรรค” ถ้าเป็นอรหัตตมรรคนะ สมาธิจะละเอียดกว่า ยิ่งกว่ามหาสติ-มหาปัญญาอีก มันเป็นมรรคญาณ มันเป็นการซึมซับ เป็นการซึมซับ ซึมซับระหว่างจิตกับจิต ถ้าเป็นปัญญาออกไปจับข้างนอก จับมันไม่ได้ สิ่งที่มันจะซับ “ผู้รู้” มันจะตั้งกระบวนการของมันขึ้นมา ตั้งกระบวนการขึ้นมาแล้วถ้ามันรู้ว่าติดนะ

ถ้าไม่รู้ว่าติดมันบอกว่า “นี่หมดแล้ว ไม่มีสิ่งใดจับต้องไม่ได้ ทำอะไรไม่ได้ ไม่มีอะไร ไม่มีใครจะทำ ทำไม่ได้ ไม่มีอะไร หมดแล้ว แล้วไม่มีอะไรจะทำ จะขึ้นต้นตรงไหน จะทำอย่างไร ทำไม่เป็น”

แต่ถ้าครูบาอาจารย์ท่านผ่านกระบวนการมาแล้ว นี่ไง หลวงปู่มั่นท่านบอกกับหลวงตา “นิพพานมันอยู่ที่ไหน ท่านมาหานิพพานเหรอ นิพพานมันอยู่ที่ใจนะ ถ้าค้นหาใจเจอ ถึงกระบวนการที่เจอ มันค้นหากระบวนการ แล้วกระบวนการเกิดขึ้นมามันจะไปหาสู่นิพพานนั้น”

ถ้าสู่นิพพานนั้น นิพพานมันอยู่ที่ไหน ถ้านิพพานมันอยู่ที่ไหน?

นี่ถึงวนหาๆ หานิพพานไม่เจอ

แล้วนิพพานมีอยู่แล้วๆ มีอยู่แล้วมันต้องเจอสิ ถ้านิพพานมันมีอยู่แล้วจะไม่มีผู้ติด จะไม่มีผู้หลง ครูบาอาจารย์ของเรา ดูสิ หลวงตาท่านเล่าให้ฟังประจำ หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่คำดี หลวงปู่บัว นี่ติดทั้งนั้น ติดหมด ครูบาอาจารย์เราติดทั้งนั้นน่ะ แล้วก็มีครูบาอาจารย์แก้กันมา มีครูบาอาจารย์แก้เพราะอะไร มีครูบาอาจารย์แก้เพราะมีหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น เพราะหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นน่ะท่านก็ติดของท่านมา แล้วท่านแก้ของท่านมา

หลวงปู่มั่นอยู่ทางภาคอีสาน สุดท้ายแล้วบอกว่า “ไม่ได้ กำลังไม่พอๆ” นั่นน่ะ ยังติดอยู่ ขึ้นไปเชียงใหม่ ขึ้นไปเชียงใหม่ ไปสำเร็จกันที่เชียงใหม่ แล้วกลับมาภาคอีสานอีกที ไม่บอกกำลังไม่พอเลย แก้ๆๆๆๆ แก้เพราะว่าอะไร แก้เพราะมีผู้แก้ หลวงปู่มั่นเป็นผู้พูดไว้เอง

“แก้จิตแก้ยากนะ ผู้เฒ่าอยู่ผู้เฒ่าจะแก้ว่ะ ถ้าผู้เฒ่าตายไปแล้วแก้ยากนะ แล้วหาคนแก้ไม่ได้นะ”

นี่ไง แล้วผู้เฒ่าแก้มา ครูบาอาจารย์เราแก้กันมา มันแก้กันมาอย่างไร มันมีการแก้ไขมีการกระทำกันมา

ไม่มีอะไรมีอยู่แล้วหรอก ถ้าจิตมันเป็นนิพพานอยู่แล้ว กายก็เป็นนิพพานอยู่แล้ว เวทนาก็เป็นนิพพานอยู่แล้ว แล้วนิพพานมันไปตั้งอยู่ได้อย่างไรบนกาย บนจิต บนเวทนา มันตั้งได้อย่างไร? มันตั้งไม่ได้หรอก เพราะเวทนา กับจิต กับธรรม มันเป็นนามธรรม กายก็เป็นวัตถุมันจะไปตั้งได้อย่างไร? มันตั้งไม่ได้หรอก เพราะมันเป็นอกุปปธรรม มันเป็นเรื่องของโลกๆ มันตั้งอยู่มันก็ทำลายของมันไปเอง

แต่ถ้ามันจะเป็นความจริงมันต้องแสวงหา นิพพานมันอยู่ที่ใจ ต้องค้นหามันให้เจอ ค้นหาผู้รู้ให้เจอ แล้วผู้รู้ที่มันทำลายคนอื่นมาแล้ว มันจะให้ทำลายมันไหม เราเป็นคนทำลายมาหมดแล้ว ตอนนี้เรามีอิทธิพลมากเลย เราครอง ๓ โลกธาตุอยู่คนเดียวนี่เราจะทำลายเราไหม? กิเลสไม่ให้ทำลายมันหรอก มันมีอำนาจเหนือทุกๆ อย่าง ใครจะไปทำลายมัน แล้วใครจะทำลายมันได้ พอทำลายมันไม่ได้

มันมีครูบาอาจารย์อย่างหนี่ง แล้วถ้ามันมีสติปัญญาอย่างหนึ่ง มีครูบาอาจารย์นะ ไม่มีครูบาอาจารย์ คนคาดหมายไม่ได้เลย คาดหมายไม่ได้ แล้วจะตามหาสิ่งนี้ไม่ได้ ครูบาอาจารย์ที่ท่านผ่านมาแล้วทุกๆ องค์ที่ผ่านมามันจะเป็นอย่างนี้

เราปฏิบัติกัน ทุกคนบอก “โอ้โฮ! มันละเอียด มันละเอียดมากนะ โอ้โฮ! มันละเอียด”

ยังหรอก ยังไปเถอะ ล้มลุกคลุกคลาน ล้มลุกคลุกคลานจนว่าทำจนแทบไม่ได้เลยล่ะ แต่มันก็ต้องต่อสู้กันไปด้วยอำนาจวาสนา นี่ไง ประพฤติปฏิบัติมันไม่ใช่ของง่าย แต่ไม่พ้นวิสัยของมนุษย์

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา “จะสอนใครได้หนอ สอนใครได้หนอ” มันลึกลับซับซ้อน ลึกลับซับซ้อน นี่สัจธรรมเป็นอย่างนี้ ธรรมะเป็นอย่างนี้ ธรรมของครูบาอาจารย์เรา ธรรมของพระป่าเป็นอย่างนี้ ไม่ใช่พูดบอกสอนแบบพระป่าๆ แต่พูดผิดๆ ถูกๆ

ถ้าปฏิบัติมันย้อนกลับมา พอย้อนกลับมาถึงจุดจับผู้รู้ได้ “จับผู้รู้ได้” พอจับผู้รู้ได้ ใช้ปัญญาไม่ได้ ใช้ปัญญามันเป็นสัญญา มันเป็นญาณ ญาณทัสนะที่ว่าญาณทัสสนะ เขาบอกทัสสนะคือทัศนคตินะ ทัศนะคือความเห็น ไอ้ญาณไม่รู้ ญาณไม่เกี่ยว

“ญาณไม่รู้ ญาณไม่เกี่ยว” แล้วใจมันอยู่ไหน?

ใจ กำลังของจิตที่เป็นญาณหยั่งรู้ แล้วมันมีญาณทัสนะมันเป็นอย่างไร

พอมันย้อนกลับเข้ามา มันย้อนกลับมาทำลายตัวมัน พอมันจับได้ เพราะตัวมันเป็นญาณอยู่แล้ว แล้วญาณอย่างนี้มันทำลายมาตั้งแต่หยาบๆ ขึ้นมา ทำลายตั้งแต่กามราคะ พอทำลายกามราคะ ทำเศษส่วนจนหมดแล้ว แล้วเหลือแต่ความใสสะอาดของมัน แล้วมันจะจับตัวมันอย่างไร?

นี่ไง พอจับตัวมันได้ หลวงตาบอกว่า “มันเป็นมัธยัสถ์” มันเป็นมัธยัสถ์คือมันเป็นกลาง พอมันเป็นกลางแล้วมันก็เริ่มย่อยสลายตัวมันเอง พอเริ่มย่อยสลายตัวมันเอง มันทำลายมันหมดเลย ทำลายจิตหมดเลย อาสเวหิ จิตฺตานิ วิมุจฺจิสูติ จิตไม่มี ภวาสวะตัวจิตโดนทำลายหมดแล้ว พระอรหันต์ไม่มีจิตหรอก พระอรหันต์มีแต่ธรรมธาตุ เอโกธัมโม ธาตุธรรม ธรรมทั้งแท่ง ไม่มีจิต จิตคือภพ จิตคือความผ่องใส พอมันทำลายไปแล้ว พระอรหันต์ไม่มีจิต

ถ้ายังมีจิตอยู่ มารหัวเราะเยาะ เพราะมีจิตคือภพ ภพคือถิ่นที่ตั้งของมาร มารอาศัยอยู่บนนั้น

“เรือนยอดของ ๓ หลังเราได้ทำลายหมดแล้ว”

๓ หลังคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง รวมกันเป็นเรือนยอด เรือนยอดคือตัวจิต แล้วตัวจิตโดนทำลายหมด พอทำลายหมด หลวงตาใช้คำว่า “ธรรมธาตุ” แต่เวลาพูดกับผู้ที่ฝึกสอนก็บอกว่าจิตพระอรหันต์เป็นอย่างนั้น เพราะว่าอะไร เพราะเด็กอนุบาล เด็กอ่อนมันก็อยากรู้ว่าพระอรหันต์เป็นอย่างไร จิตเป็นอย่างไรใช่ไหม อธิบายกันเพื่อเป็นทางวิชาการ คำว่า “วิชาการ” คือสอนให้รู้ สอนให้เห็น สอนให้เป็น แต่มันไม่เป็นอย่างงั้นหรอก ถ้ามันเป็นจริงขึ้นมาจากใจ มันจะเป็นตามความเป็นจริงของใจขึ้นมา นี่การประพฤติปฏิบัติ

ถึงถ้าต้นมันคด “จิตมีนิพพานอยู่แล้ว” สักแต่ว่าทำกันไปเล่นๆ ทำกันไปไม่จริงไม่จัง แล้วจะเข้าไปสู่นิพพาน เป็นไปไม่ได้ ถ้าจิตเป็นนิพพานอยู่แล้ว กายก็ต้องเป็นนิพพานด้วย เพราะเป็นสติปัฏฐาน ๔ เหมือนกัน...ไม่ใช่ เพราะเราเป็นฝ่ายเถรวาท เราไม่ใช่มหายาน มหายานเขาสอนกันอย่างนั้น มันเป็นเรื่องของมหายาน

แต่ถ้าเป็นเรื่องของเถรวาท เถรวาทถือธรรมวินัยเป็นใหญ่

ธรรมวินัยในสติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม

ถ้าจิตเป็นนิพพาน กายก็ต้องเป็นด้วย เอวัง