วันเด็กใจเด็กๆ
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
เทศน์เช้า วันที่ ๙ มกราคม ๒๕๔๒
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
วันนี้วันเด็ก วันเด็กความสดใสของเด็ก วันเด็ก เด็กนี้มีความบริสุทธิ์ มีความสุขมาก มีความสุขมาก ฟังสิ เพราะอะไร เพราะเกิดมามีแต่คนเอาใจ แล้วเป็นหน้าที่ด้วย นี่เราฝากศาสนา เราฝากประเทศชาติไว้กับเยาวชน เยาวชนนี้เป็นอนาคตของประเทศชาติ คนนี่ว่าเด็กบริสุทธิ์อยู่ที่การพัฒนาให้เด็กไป แต่เพราะว่าเราพวกผู้ใหญ่ว่าเด็กมันบริสุทธิ์ แล้วผู้นำล่ะ เราพูดกันตลอดเวลาถ้าเป็นเรื่องของโลกเห็นไหม เรื่องของโลกคือว่าสิ่งแวดล้อมหรือว่าความเป็นไปนี่ทำให้คนเสีย
มันมีในพระไตรปิฎกมากเลย ที่ว่าแม้แต่เกิดในดงของโจรเลย แต่ก็เป็นคนดี ขณะที่ว่าในระหว่างสามีกับภรรยาเป็นพรานป่า สามีตกนรก แต่ภรรยาเป็นพระโสดาบัน มีอาชีพเดียวกันเห็นไหม ขณะที่ว่าหยิบเครื่องล่าสัตว์ให้สามี บอกเลยว่าไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย คิดดูสิ คนหนึ่งล่าสัตว์ แต่อีกคนหนึ่งอยู่ด้วยกันเป็นภรรยา เป็นพระโสดาบัน
นี่ก็เหมือนกัน สิ่งแวดล้อมทำให้เด็กมันเสีย เวลามีอะไรปั๊บ มันก็จริงอยู่โยนให้เด็กหมดๆ อันนี้อาจารย์มหาบัวพูดประจำ อาจารย์มหาบัวจะด่าผู้ใหญ่ ไม่ด่าเด็ก เพราะอะไร เพราะว่าผู้ใหญ่เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีของเด็ก ไปแก้กันที่เยาวชนของชาติๆ เยาวชนของชาตินี้บริสุทธิ์ จิตนั้นไร้เดียงสา อยู่ที่ของการซับไป การเมืองก็ผิดไป ทุกอย่างก็ผิดไป
เพียงแต่ว่าเรามองแต่ว่าวันนี้เป็นวันเด็ก เอาแต่ใจเด็ก แต่เราบอกว่าผู้ใหญ่ใจมันเป็นเด็ก ใจเด็กๆ ไม่มีใจไหนเป็นผู้ใหญ่เลย ใจเป็นผู้ใหญ่ใจต้องพึ่งพาตัวเองได้ อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ถามใจเราสิ ใจเราเป็นผู้ใหญ่หรือใจเราเป็นเด็ก ใจเราหว้าเหว่ ใจเรากลัว ใจเราไม่มีที่พึ่ง เห็นไหม ใจเราก็เหมือนกับเด็ก นี่เราไปมองแต่เด็ก เด็กมันไร้เดียงสา มันไร้เดียงสาเพราะว่าวิชาการยังไม่มี แต่ในความเป็นบุญกุศลในใจของเด็กมันมีอยู่ มันถึงพัฒนาขึ้นมาตามความเห็นของมัน แต่ต้องอาศัยกัน กายกับใจ
คนเรามีกายกับใจ กายนี้เป็นวัตถุจับต้องได้เลย แต่หัวใจจับต้องไม่ได้ แต่อันนั้นสำคัญกว่า เพราะมันเป็นการแสดงพฤติกรรมออกมาเลย พฤติกรรมที่แสดงออกมาคือออกมาจากความคิดก่อน นี่เหมือนกัน มีกายกับใจ นี่เราก็เหมือนกันว่า กายกับใจ เราเอาวัตถุเป็นตัวนำ คือเอากายเป็นตัวนำไง แต่หัวใจมองข้ามกันไป มองข้ามกันไป มันก็กลับมาที่เรา กลับมาที่ว่าใจเป็นเด็กนี่ เราก็ว่าเราจะมีสิ่งใดที่ว่าเราหามาได้แล้วจะเป็นหลักประกันชีวิตของเรา แล้วความจริงเป็นไปได้ไหม
หลักประกันไหน ดูสิ ทุกคนเลยบอก เขาพูดกันตอนนี้สมัยก่อนที่สี่สิบจะลงนี่ ว่าใครทำงานธนาคารจะเป็นอาชีพที่มั่นคงที่สุด มันก็พลิกกลับเลย ปิดหมด ธนาคารปิดหมดเลย นี่สิ่งที่มั่นคงที่สุดเห็นไหม อย่างเช่นข้าราชการนี่มั่นคงที่สุด ข้าราชการจนจะตัดเงินเดือนโน่นน่ะ เพราะสิ่งที่มั่นคงแล้วเอากฎหมายรองรับเป็นสมมุติทั้งหมด มันมีกฎหมายรองรับบังคับว่าต้องทำ แต่ถึงสุดวิสัยแล้วมันไม่มี กฎหมายก็ต้องยกเว้น
ประเทศชาติไหนก็แล้วแต่ถ้ากฎหมายยังบังคับใช้ได้อยู่ อำนาจรัฐยังแข็งอยู่ ประเทศนั้นก็มั่นคง แต่ถ้าประเทศไหน กฎหมายก็อันเก่านั้นล่ะ แต่เศรษฐกิจมันเป็นไปไม่ได้ คนไม่มีกินมีใช้ กฎหมายนั้นก็ต้องล้มเลิกไปโดยอัตโนมัติ แล้วอะไรมันมั่นคงล่ะ นี่วัตถุไง เราถึงว่าอันนี้เป็นตัวนำๆ แต่ถ้าลงมาที่หัวใจ หัวใจไม่เป็นเด็กนะ หัวใจต้องเข้าใจหลัก
เมื่อวานจดหมายฉบับนั้นเห็นไหม เขาบอกเลยว่า จดหมายฉบับแรกที่ว่าอยู่กับเขา ไปสมัครกับเขา ไป...นั่นแหละ ไปสมัครกับเขา เสร็จแล้วเขาอยู่ในเหตุการณ์อย่างนั่นแหละ แต่เขาเห็นหมดเลย เห็นไหม ถึงบอกว่าถึงอยู่ในพายุ อยู่ในเหตุการณ์อย่างนั้น อยู่ในมิจฉาทิฏฐิ ยังสามารถเปิดตาให้เป็นสัมมาทิฏฐิได้ว่าสิ่งนี้ผิด นี่คือว่าใจไม่เป็นเด็กไง ใจเป็นหลักเกณฑ์ นี่ใจที่เป็นผู้ใหญ่ขึ้นมาคือใจเรามีหลักเกณฑ์ เราแยกแยะสิ่งที่ผิดสิ่งที่ถูกได้ไง ถึงอยู่ในพายุเราก็ไม่ตื่นเต้นไปกับพายุนั้น เพราะว่าความเกิดและความตายนี้เป็นเรื่องปกติธรรมดา
แต่ความจริงคือว่าคุณงามความดีในหัวใจนั้น แยกผิดแยกถูกในหัวใจนั้นว่าสิ่งใดกล้าหาญ กล้าหาญผจญทุกๆ อย่าง แม้แต่พายุมาขนาดไหน แม้แต่เศรษฐกิจจะขนาดไหน แต่จิตใจที่เป็นผู้ใหญ่ไม่ตื่นเต้นกับสิ่งที่ว่าเราต้องผจญกับสิ่งนั้นเลย แยกแยะออกได้ด้วยว่าสิ่งนั้นชั่วคราว ถ้าเรายืนอยู่ในเหตุการณ์นั้น เราจะผ่านไปได้ จริงๆ ตามหลักความจริงมันไม่ถึงกับว่าจะล่มสลายไปหรอก แต่เพราะความตื่น ความตกใจ เพราะเป็นเด็กสร้างกระแสให้เราตื่นไปตามกระแสนั้นได้ไง นี่หัวใจมันก็ตามไปหมดเลย ไม่มีหัวใจใครเป็นผู้ใหญ่ได้
ถึงว่ามีหลักของศาสนาเห็นไหมให้เกิด ให้ฝึกตรงนี้ ฝึกจากวัตถุทบเข้ามาที่ใจ ให้เริ่มมีทาน มีศีล มีภาวนา ฝึกไง ฝึกการสละออก สละออกเท่าไหร่ก็เห็นมันหมดไป ไม่เห็นว่ามันจะหมดไปอย่างที่ความคิดเราคิดเห็นไหม ที่เราสละกันไม่ได้ตรงนั้นเพราะเราห่วง สิ่งของเราเราห่วง เราตระหนี่ เราหวงแหนสิ่งนั้น แล้วเราสละออกไปไม่ได้ แต่ถ้าสละออกไปได้มันก็ไม่ถึงกับทำให้เรา โทษนะ มันหมดไปแต่ไม่ถึงกับทำให้เราล่มจมใช่ไหม
ในเหตุการณ์ของเศรษฐกิจนั้น เหตุการณ์ของประเทศชาตินั้น มันต้องฟื้นกลับมาสิ นี่มันฝืนกระแสไง ถึงอยู่ในเหตุการณ์ อยู่ในวาตภัย เราก็เอาตัวรอดได้ถ้าเรามีสติ แต่ถ้าเราตกใจนะ มันจะพัดเราไปเลยตามกระแสนั้นไง นี่จิตใจที่เป็นผู้ใหญ่ขึ้นมา นี่ขนาดเป็นผู้ใหญ่นะ แล้วก็ อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนอีกแหละ อันนั้นกระแสข้างนอกเห็นไหม ทำให้เราอยู่ได้หรืออยู่ไม่ได้ตามกระแสข้างนอก เพราะเราตามกระแสไป นี่ใจเป็นเด็กๆ ใจตามเขาไป เขาชักนำได้
ผู้บริหารน่ะปลุกม็อบหรือทำสิ่งใด กว้านไปได้หมดเลย กระแสนี้กว้านทั้งประเทศ ล่มไม่ล่มอยู่ที่ตรงนี้เลย การสร้างกระแสขึ้นมาไง นี่เป็นเด็กๆ ขึ้นไป ถ้ามีปัญญาขึ้นมามันก็แยกแยะได้ แล้วตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ใจที่เป็นเอกเทศ ใจที่เป็นสมาธิไง เราตั้งมั่น กระแสนั้นมันยิ่งเข้ามาไม่ได้เลย เพราะกระแสนั้นเป็นเหมือนกับวัตถุสิ่งหนึ่งเขาสร้างขึ้นมา แบบข่าวสารมันต้องมาตามสาย มันมานี่เราจะรับไม่รับมันเรื่องของเรา จิตที่เป็นสมาธิ สิ่งนั้นมานี่ มันไม่รับก็ได้ รับก็ได้เลย เพราะจิตมันตั้งมั่น เหมือนกับน้ำที่เต็มตุ่ม น้ำอะไรมาใส่เข้าไปเต็มตุ่ม มันใส่เข้าไปมันล้นจากน้ำนั้น น้ำนั้นมันผลักออกมาได้
จิตที่ตั้งมั่น จิตที่พึ่งตนเองได้ แค่จิตเป็นสมาธินะ จิตเป็นสมาธินี่ เราพยายามฝึกจิตเพื่อให้เป็นสมาธิขึ้นมา ให้มันเป็นผู้ใหญ่ไง เกิดจากทาน ศีล ภาวนา ในหลักของศาสนาไง นี่ศาสนาถึงว่าสำคัญไง ศาสนาพุทธ ศาสนธรรมคือคำสั่งสอน ศาสนธรรมไม่ใช่ศาสนบุคคล ไม่ใช่วัตถุสิ่งที่ก่อสร้าง เราเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นศาสนา พระพุทธเจ้าตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าขึ้นมาด้วยวิชชา ๓ มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ วัดยังไม่ได้เกิด พระสงฆ์ยังไม่ได้เกิด ไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาเลย ทำไมพระพุทธเจ้าตรัสรู้ล่ะ
ธรรมะเป็นนามธรรม เป็นสิ่งที่ลึกซึ้งมาก สามารถเข้าไปแก้จิตใต้สำนึกไง เข้าไปแก้สิ่งที่ดำริออกไปจากใจไง อันนั้นต่างหากล่ะเป็นตัวศาสนา ตัวศาสนาจริงๆ คืออริยสัจ แต่พอมันเบี่ยงเบนออกมา หรือคนมีวัตถุออกมา จับต้องที่วัตถุ แล้วพวกเรานี่เป็นศาสนาที่เข้าไม่ถึงไง เข้าไปถึงแค่วัตถุไง แค่วัตถุที่ว่าสิ่งแวดล้อมไง ว่าวัดต้องเป็นอย่างนั้น ข้อวัตรมันต้องเป็นอย่างนั้น แต่ไม่ได้จับตัวอริยสัจไว้เป็นหลักก่อนไง
ตัวอริยสัจเห็นไหม ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มัคคะอริยสัจจัง มรรคตัวความดำริชอบ ดำริออกจากวัตถุทั้งหมด ดำริออกจากหมู่คณะทั้งหมด ดำริออกจากสิ่งใดๆ ทั้งหมด เพื่อให้เป็นเอกเทศเห็นไหม เป็นสมาธิไง พระพุทธเจ้าสอนถึงผู้ปฏิบัติใหม่ว่าให้เที่ยวไปเหมือนกับนอแรด นอแรดนี้เป็นหนึ่งเดียวไง ไม่คลุกคลีในหมู่คณะเห็นไหม ไม่ใช่ว่าศาสนาไม่ได้เป็นการชุมชน ศาสนาไม่ได้เป็นการคลุกคลี ศาสนาให้ปลีกวิเวก วิเวกออกไปในสิ่งที่ควรแก่การงานเห็นไหม ให้ไปในที่ป่าช้า ให้ไปในที่เสียวสันหลัง ให้เป็นไปว่าเหมือนกับเราหันหลังออกจากบ้าน เห็นไหม เราอยู่ในบ้านเราอบอุ่นเพราะเรามีครอบครัว เรามีคนที่ช่วยเหลือเรา เราหันหลังออกไปเหมือนกับเราต้องออกจากบ้านนี้ไปคนเดียว เราจะเสียวไหม เราจะเสียวสันหลังเลย เราจะเสียวว่าต่อไปนี้เราจะไม่มีที่พึ่งอีกแล้ว ต่อไปนี้ทุกอย่างต้องเป็นการกระทำของเราคนเดียว
นี่ก็เหมือนกัน ออกจากหมู่ไปในที่วิเวกไง ไปในที่เสียวสันหลังไง ไปในป่าช้าเห็นไหม นี่ออกไปเพื่อจะให้จิตใจพลิกจากความหวังพึ่งกัน ให้เป็นพึ่งตนเอง ให้เป็นนอแรดให้ได้ไง นี่เป็นผู้ใหญ่ขึ้นมาคือตรงนั้นไง ให้เป็นสมาธิ ให้ตั้งมั่นไง ให้เหมือนน้ำเต็มตุ่ม ใจจะเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมาด้วยหลักการฝึกตัวเองไง ถ้าใจเป็นผู้ใหญ่เห็นไหม เด็กมันใส มันบริสุทธิ์ จริงอยู่นะเด็กมันไร้เดียงสา แต่ผู้ใหญ่นี่ความสะสมของอารมณ์ ความสะสมของความคิด ความสะสมของสิ่งแวดล้อม ความสะสมของประสบการณ์ ตัวนี้เป็นตัวก่อกวนในหัวใจเลย ยิ่งโตเท่าไหร่ใจยิ่งกว่าเด็ก ยิ่งกว่าเด็กเพราะว่าสิ่งนี้มันปกคลุมอยู่ไง
เหมือนกับเด็กมันยังไร้เดียงสา ไม่มีโรค แต่ใจเด็กๆ มันเป็นใจที่มีโรคมาก เพราะใจมันอิจฉา ใจมันคิด ใจมันวิตกกังวล เหมือนกับมันเป็นโรคที่ว่าแทบจะเอาตัวเองไม่รอด แต่เราไปมองว่าเด็ก เป็นวันเด็กไง เราไปมองที่เด็ก มันต้องกลับมามองว่าใจเราก็เด็ก ใจเราไม่ใช่เป็นผู้ใหญ่ ใจเด็กๆ อยู่ในร่างกายของผู้ใหญ่นี่ พลิกจากใจเด็กๆ ให้ใจเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมา ให้พึ่งตนเองได้ไง พึ่งตนเองได้ด้วยหลักของศาสนา หลักของศาสนธรรมเราให้เป็นที่พึ่งได้ พัฒนาจนใจเป็นผู้ใหญ่ ใจเป็นเอกเทศแล้วจะพึ่งตนเองได้ เป็นอตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ไม่เชื่อคำกล่าวแม้แต่พระพุทธเจ้าบอก อย่าเชื่อแม้แต่คำกล่าวของครูบาอาจารย์ ให้ฝึกขึ้นมาจากใจเห็นไหม นั่นคือตัวศาสนาแท้ไง
แต่นี่เพราะใจเด็กๆ หวังพึ่งแต่คนอื่นไง เกาะคนโน้น เกาะคนนี้ เกาะตรงไหน อาจารย์บอกว่าเหมือนกับลิงเกาะไม้แห้ง คว้าไปตามต้นไม้เรื่อยๆ จะเกาะที่นั่น จะพึ่งที่นี่ แล้วไม่มีที่ใดๆ พึ่งได้เลย เพราะพุทโธอยู่ที่ใจ หาได้จากกลางหัวใจของเรา หาได้จากในใจเด็กๆ ที่ว่าพึ่งตัวเองไม่ได้นี่ ลองพัฒนาให้เป็นผู้ใหญ่ขึ้นมามันพึ่งตัวเองได้ พึ่งตนเองได้จนเอาตนเองออก...(เทปสิ้นสุดเพียงเท่านี้)