เทศน์บนศาลา

กิเลสหักดิบ

๒๓ ก.ค. ๒๕๕๔

 

กิเลสหักดิบ
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลาวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจฟังธรรม ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราเกิดมามีวาสนา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กว่าจะเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างสมบุญญาธิการมามหาศาล องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำเพื่อตัวองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาเห็นไหม มันสะเด็ดน้ำ มันเป็นธรรมแท้ๆ ไง

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระโพธิสัตว์เห็นไหม เหมือนมนุษย์เรา ทุกคนปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ ทุกคนปรารถนาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุกคนอยากมีฤทธิ์มีเดช ทุกคนอยากมีคุณธรรมไง ก็ตั้งสัจจะไว้ว่าเราปรารถนาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สร้างคุณงามความดี สร้างไปๆ

สุดท้ายแล้วถ้าเกิดปัญญา เกิดความรู้สึกความนึกคิด คนเราปัญญามันหยาบมันคิดได้หยาบๆ คนมันคิดได้อย่างกลางคิดได้อย่างกลาง คิดอย่างละเอียดแล้ว มันก็คิดพิจารณา เราจะสร้างบุญญาธิการไปเพื่ออะไร? ถ้าเราสร้างบุญญาธิการไป เรามีปัญญาของเรา เรามีความสามารถของเรา ถ้าเราสามารถชำระกิเลสได้เราก็เป็นพระอรหันต์เหมือนกัน

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราต้องสร้างบุญญาธิการไปอีกมหาศาลเลย มันก็ต้องเวียนตายเวียนเกิดไป นี่พูดถึงปัญญาของคนมันพลิกแพลงขึ้นมาเห็นไหม ทุกคนมีสิทธิ ทุกคนทำได้ เพราะฉะนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านสร้างบุญญาธิการมาก็เพื่อตัวท่าน เพื่อชำระกิเลส เพื่อให้ตัวท่านพ้นจากกิเลสไป เวลาท่านพ้นจากกิเลสไป ท่านพ้นจากกิเลสตามความเป็นจริงเห็นไหม

ธรรมะสะเด็ดน้ำ ธรรมะในความเป็นจริง เวลาพูดออกมาเป็นสัจจะเป็นความจริง ธรรมวินัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้ เราศึกษากันมาแล้วเราศึกษาโดยสิ่งใด เราศึกษาเราสะเด็ดน้ำหรือยัง จิตใจเรายังมีกิเลสอยู่หรือเปล่า เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดเห็นไหม สัจธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธรรมเป็นความจริงทั้งนั้น แต่ความรู้ความเห็นของเราศึกษาขึ้นมาแล้วเป็นความจริงหรือเปล่าล่ะ? มันเป็นความจริงไหม ?

มันเป็นความจริงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันเป็นความจริงทางทฤษฎี ทางสัจธรรม แต่เราศึกษาแล้วเราคิดเอาเอง เราเออเอาเองไง แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่เป็นแบบนั้น เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีกิเลส เป็นเจ้าชายสิทธัตถะ มีกิเลส ออกประพฤติปฏิบัติอยู่ ๖ ปีเห็นไหม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่เชื่อใคร ไม่เชื่อใคร!

เวลาไปอยู่กับครูบาอาจารย์องค์ใด ถ้าครูบาอาจารย์องค์ใดสั่งสอนมาขนาดไหน เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพิสูจน์แล้ว ตรวจสอบแล้ว ถ้าไม่ใช่ก็วางไว้ เขาจะยกยอปอปั้นขนาดไหนก็ไม่อยู่กับเขา เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาประพฤติปฏิบัติก็เพื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง ถ้ามันพ้นจากกิเลส มันก็ต้องพ้นตามความเป็นจริง ถ้ามันพ้นตามความเป็นจริง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะไปเชื่อใคร เห็นไหม ไม่เชื่อใคร ไม่หวังพึ่งใคร ไม่ต้องการสิ่งใด ทำตามความเป็นจริง

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำเพื่อตัวท่านเอง พอทำเพื่อตัวท่านเอง ถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมาแล้ว ความจริงขึ้นมาเพราะเหตุใด ความจริงเพราะมันมีเหตุมีผล มีสัจธรรม มีความจริงขึ้นมาเป็นตามความเป็นจริงอันนั้น ถ้าความจริงอันนั้นมันพิสูจน์ได้ มันพิสูจน์ตรวจสอบได้ เมื่อพิสูจน์ตรวจสอบได้แล้วเป็นความเป็นจริงแล้ว เราค้นหาสิ่งที่เป็นความไม่จริงในหัวใจมันก็ไม่มี มันไม่มีเลยเห็นไหม เวลาเสวยวิมุติสุข มันเป็นความจริงแท้!

ความจริงแท้มันสะเด็ดน้ำ มันเป็นความจริงจริงๆ เวลาแสดงออกมาเห็นไหม คนมีกิเลสมันมีเล่ห์เหลี่ยม มีลับลมคนใน ถ้ามีเล่ห์เหลี่ยม มีลับลมคนในเห็นไหม มันจะเป็นความจริงได้อย่างไร เพราะเรามีเล่ห์เหลี่ยม มีลับลมคมในในหัวใจของเรา เราพูดสิ่งใดไป มันไม่สะอาดบริสุทธิ์หรอก

เวลาคนเห็นไหม ดูทางการสอบสวนสืบสวนของทางโลกเขา เวลาเจ้าหน้าที่เขาสวบสวนผู้ต้องหานะ เขารู้นะ ว่าผู้ต้องหาคนนี้มันพูดจริงหรือไม่จริง ด้วยสัญชาตญาณของเขา เขาก็รู้ของเขาได้ ทั้งๆ ที่เขาไม่ใช่คนพูด แต่ถ้าคนพูด เขารู้ของเขา ถ้ามันจนตรอกเห็นไหม ดูสิเวลาคนแบบว่า ตีสองอารมณ์เห็นไหม เขาพูดของเขา เขาจริงจังของเขา จนเราก็สอบสวนไม่ได้เหมือนกันนะ เขาก็เก็บของมันอยู่อย่างนั้น มันไม่ยอมพูดออกมา นั่นเป็นเพราะว่า เขาปกปิดความรู้สึกความผิดของเขา

แต่เวลาของเรา เราไม่ได้ปกปิดความรู้สึกอะไรของเราเอง เพราะอะไร เพราะเราปรารถนาที่จะพ้นจากทุกข์ เราเวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมาเห็นไหม ถ้ามันมีเล่ห์เหลี่ยม มีลับลมคนใน มีความฉ้อฉลในหัวใจ มันรู้ของมันนะ มันรู้ได้ของมันจริงๆ แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่เป็นอย่างนั้น

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาแสดงธรรมเห็นไหม เวลาแสดงธรรม ความสะอาดบริสุทธิ์ครอบปกคลุมบารมีธรรมซับซ้อนไปทั่ว แต่ขณะซับซ้อนไปอย่างนั้น เวลาเผยแผ่ธรรมขึ้นมา คนที่มีทิฐิมานะ คนที่มีความดื้อรั้นเห็นไหม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า เวลาท่านประหารนะ “เราฆ่าด้วยการไม่พูดด้วย” ท่านไม่พูดด้วยไม่สัมผัสด้วยเห็นไหม เพราะไม่พูดด้วยนะ นั่นคือการประหารขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ เวลาเราจะประหารทำร้ายกัน โอ้โห เราต้องเข่นฆ่าทำลายกัน ถึงจะเป็นการเข่นฆ่าทำลายกันด้วยความสะใจว่าเราได้ทำเพื่อความพอใจของเรา

แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยความสะอาดบริสุทธิ์ เวลาท่านเทศนาว่าการ ท่านพูดกับใคร คนคนนั้นจะได้บุญกุศล คนคนนั้นจะได้ประโยชน์ ได้สิ่งต่างๆ จากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากมายมหาศาลเลย

เวลาเทศนาว่าการกับบริษัท ๔ เห็นไหม ให้จิตใจเป็นหลักเป็นเกณฑ์ ให้เชื่อฟังผู้ใหญ่ ให้มีใจเป็นธรรมเพื่อเสียสละเห็นไหม ไหว้ทิศก็บอกเห็นไหม เราไหว้ทิศก็เหมือนกัน แต่เราไม่ไหว้ทิศอย่างนี้ ครูบาอาจารย์อยู่บนศีรษะ พ่อแม่อยู่ข้างหน้า เพื่อนฝูงอยู่รอบข้าง บ่าวไพร่อยู่ข้างล่าง เราบริหารทิศของเราอย่างนี้ไง ท่านจะพูดกับใครมันจะเป็นประโยชน์ไปทั้งนั้นเลย

ประโยชน์กับบุคคลคนนั้น วุฒิภาวะของเขา สูงต่ำอย่างไร ได้รับมากน้อยแค่ไหน นี่ไง เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการนะ แต่ถ้าคนที่มันทิฐิมานะเห็นไหม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่พูดด้วย การไม่พูดด้วยเห็นไหม เขาจะไม่ได้ประโยชน์ตรงนั้น เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ต้องการหวังผลตอบแทนจากใคร

เวลามันสะอาดบริสุทธิ์นะ เวลาท่านเป็นพระโพธิสัตว์มา ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย บารมีมันเต็ม แต่เต็มขนาดไหน ถ้ายังไม่ประพฤติปฏิบัติ ยังไม่ตรัสรู้ธรรม ยังไม่บรรลุธรรมขึ้นมา บารมีเต็มก็เต็มแค่บารมีไง บารมีมันเต็ม แต่กิเลสมันก็มีเต็มหัวใจ ความอยากเห็นไหม อยากจะพ้นจากทุกข์ อยากจะปฏิบัติ อยากจะเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันก็ยังมีอยู่เห็นไหม

สิ่งที่มีอยู่ นี่ประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เวลาการกระทำนั้น บารมีเกิดมาเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ที่สวนลุมพินีเห็นไหม “เราเกิดชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย” เพิ่งคลอดออกมา เดินบนดอกบัว ๗ ก้าว “เราเกิดมาชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย” นี่ไง บารมีเต็ม เต็มจริงๆ แต่ยังไม่ได้ประพฤติปฏิบัติขึ้นมาเห็นไหม

เวลาจะออกบวชนะ ละล้าละลังนะ เวลาราหุลเกิดแล้วเห็นไหม โดยน้ำใจ ดูสิ เวลาอชาตศัตรู โดนเทวทัติยุแหย่ให้แย่งชิงอำนาจจากพระเจ้าพิมพิสารให้ได้ แต่ด้วยที่ว่า คนเราธาตุดีแต่คบมิตรไม่ดี ธาตุดีแต่คบมิตรไม่ดีเห็นไหม ไปเชื่อฟังเขา พอเชื่อฟังเขา เอาพ่อไปขังไว้ เขาไม่ฆ่านะ ฆ่าไม่ลง ทำไม่ได้ เอาไปขังไว้เห็นไหม แล้วก็ให้อดอาหารตายไปเอง

กักขังมาตลอด แต่ตัวเองก็มีมเหสี แล้วกำลังจะคลอด เวลาเขามาส่งข่าว ฝ่ายหนึ่งจะมาส่งข่าวว่าลูกเกิดแล้ว แกฝ่ายหนึ่งมาส่งข่าวว่าพ่อตายแล้ว มาถึงประตูราชวังพร้อมกัน ก็บอกว่าใครจะเสนอก่อน ก็บอกว่าให้เรื่องลูกเสนอก่อน ก็บอกว่าลูกเกิดแล้ว นี่ไง ความผูกพันเห็นไหม ความผูกพันความดีใจเห็นไหม มันรู้สึกนะ รู้สึกทั้งๆ ที่ว่าลูกจะเกิด หรือยังไม่ได้เกิดก็มีความเป็นธาตุดี แต่เขาบอกว่าลูกเกิดแล้ว ความรู้สึกความผูกพันมันเกิดในหัวใจเต็มที่

อุทานเลยนะ ให้ปล่อยพ่อๆ “พ่อเราต้องรักเราอย่างนี้! พ่อเราต้องรักเราอย่างนี้!” พอให้ปล่อยพ่อ เขาก็บอกว่า “พ่อตายแล้ว.. พ่อตายแล้ว..” นี่ไงเพราะว่าได้ทำปิตุฆาต ถ้าไม่ทำปิตุฆาตนะ อชาตศัตรูเป็นอริยบุคคลแน่นอน เพราะจิตใจเป็นธาตุดีแต่การคบมิตรไม่ดีเห็นไหม นี่พูดถึงความผู้พันในหัวใจนะ นี่พูดถึงอชาตศัตรู

แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาราหุลคลอดมาแล้ว ละล้าละลังๆ พูดถึงเห็นไหม บารมีเต็มนะ “เกิดมาเราเกิดมาชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย” แต่ขณะที่เป็นชาติสุดท้ายมันก็ต้องมีเหตุมีผลสิ สิ่งที่บารมีเต็มมันส่งมา เราทุกคนว่าเราก็มีบารมีทั้งนั้น มีบารมีแต่เราทำอะไรต่อของเราไป บารมีของเรามันสร้างมาเป็นมนุษย์ สัจธรรมอันนี้เห็นไหม

อริยทรัพย์ในความเป็นมนุษย์นี้มีค่ามาก บารมีเต็มแล้วเราทำอะไรต่อไป เราทำสิ่งใดต่อไป แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบารมีเต็มเห็นไหม เวลาราหุลคลอดแล้ว จะเข้าไปมันอาจมีปัญหา ตัดสินใจออกเลย เวลาออกไปเห็นไหม ออกไปอีก ๖ ปี นี่พูดถึงเวลาทำขึ้นมา เวลาคืนสุดท้าย บุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณเกิดขึ้น

การเกิดขึ้นการเป็นไป พอมันขาด การสะเด็ดน้ำของมันเห็นไหม นี่ของจริง! นี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริงๆ วันวิสาขบูชาเห็นไหม เกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะก็วันนี้ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็วันนี้ เวลาสิ้นอายุขัยก็วันนี้ วันวิสาขะบูชา สิ่งที่เป็นบารมีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านทำของท่านจริง ท่านเป็นความจริงของท่าน

ความจริงของท่านเห็นไหม แล้วเวลามันสะเด็ดน้ำมันเป็นความจริงขึ้นมาแล้ว คำพูดมันเป็นสัจจะ มันเป็นความจริงหมดเลย ความจริงอันนี้มันมีคุณค่ามาก เราฟังธรรมๆ กันเห็นไหม เวลาพระแสดงธรรม กางใบลานเลย อ่านธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาปากอ่านไป แต่ใจคิดอย่างไรก็ไม่รู้ อ่านไปก็ไม่เข้าใจไปเหมือนกัน

นี่พูดถึงการศึกษาปริยัติ ศึกษามาเพื่อเป็นบาทเป็นฐาน ศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราไม่ใช่สัตว์ เราเป็นมนุษย์นะ เราก็มีปัญญาเหมือนกัน สัตว์เห็นไหม สัตว์ที่มันอ่อนแอกว่ามันก็เอาใจสัตว์ที่มีกำลังมากกว่าเพื่อจะขอความคุ้มครอง สัตว์ในฝูงมันก็เชื่อฟังหัวหน้าฝูงของมันเห็นไหม นั่นสัตว์มันทำความดีของมันได้แค่นั้น

เราเป็นมนุษย์นี้เป็นอริยทรัพย์ เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามาก ฉะนั้นเราก็ต้องศึกษา คำว่าศึกษา ในเมื่อธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราเป็นสาวก สาวกะ เราเป็นผู้ได้ยินได้ฟัง เราจะไม่ศึกษาเหรอ? เราจะไม่ศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราศึกษา เราก็ต้องศึกษาของเรา ศึกษาเห็นไหมดูสิ ไม่ศึกษาเราก็ได้ยินได้ฟังเหมือนกัน

เราเป็นชาวพุทธเห็นไหม ไปวัดไปวา พระเทศนาว่าการ เราได้ยินทั้งนั้น แต่ศึกษามาแล้ว ศึกษามาเพื่อทำไม ศึกษามาเพื่อมาถียงกันปากเปียกปากแฉะว่าฉันมีความรู้มากกว่าใช่ไหม ศึกษามาก็เพื่อมาดูแลตัวเองนี่ไง ศึกษามามันก็ต้องประพฤติปฏิบัติ

“ปริยัติ” ปริยัติเขาเป็นแนวทาง เป็นบาทฐาน แล้วเราทำได้จริงหรือเปล่า ดูสิเราหาเงินหาทองมา เรามีเงินมีทอง เรามีลูกเล็กเด็กแดง เราก็ให้มันใช้เงินทอง เราก็ต้องให้มันใช้ เงินทองมันต้องไปซื้ออาหารซื้ออะไรต่างๆ เพื่อความดำรงชีวิตของเขา เด็กมันหาเงินหรือเปล่า มันไม่ได้หา มันแบมือขอพ่อแม่มันมา

นี่ก็เหมือนกัน เราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันเป็นของใคร? สาวกสาวกะเห็นไหม เราได้ยินได้ฟังมา มันเป็นความจริงมันเป็นของเราไหมล่ะ

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดมานะ เกิดมาเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ดูสิ การดำรงชีวิตมา สิ่งนั้นมันมีแรงขับ มีกิเลสตัณหาความทะยานอยากอยู่ ท่านก็แก้ไขของท่าน ท่านทำความจริงของท่าน มันถึงเป็นความจริงขึ้นมา แล้วเป็นธรรมะสะเด็ดน้ำ เป็นความจริง แต่ของเรานะ เวลาของเราที่เราศึกษากันอยู่นี้ เรามีกิเลสเต็มหัวใจนะ เรามีกิเลสเต็มหัวใจ คำว่ากิเลสมันน่ากลัวมาก กิเลสมันหักดิบๆ เลย

เวลาศึกษาธรรมขึ้นมาเห็นไหม เราว่าเรารู้ไปหมด มันหักดิบ หักดิบนะ ดิบเถื่อนเลย ดิบเถื่อนว่ามันรู้แล้วๆ รู้อะไร สิ่งที่รู้นั้นรู้อะไร รู้ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วใจเราเป็นอย่างไร กิเลสมันหักดิบๆ เลย ถ้ากิเลสมันหักดิบๆ แล้วยิ่งมาประพฤติปฏิบัตินะ มันเน่าเลย กิเลสมันหักดิบมาแล้วนะ แล้วมันมีแต่ความเน่าเสียไป มันจะมีความจริงขึ้นมาได้อย่างไร

แต่มันเป็นความโชคดีของเรานะ ความโชคดีของเราเห็นไหม คนที่เกิดเป็นมนุษย์มีศักยภาพมาก พอเกิดเป็นมนุษย์ดูสิ ช้างเสือมันใหญ่โตขนาดไหน ยังเอามาฝึกมาใช้ทำงานทำการได้ มนุษย์เราแก้ไขปัญหาได้ มนุษย์เรามีสมอง มีปัญญาของเรา เราแก้ไขของเรา เราเกิดเป็นมนุษย์มีคุณค่ามาก แต่คุณค่าของความเป็นมนุษย์ เราจะใช้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหน ความเกิดเป็นมนุษย์มีคุณค่ามาก แล้วคุณค่าที่เรามาศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราศึกษามาแล้ว เราประพฤติปฏิบัติอย่างไร

ถ้าเรากระทำของเราขึ้นมา เพราะว่ามีการศึกษา ศึกษามาในใจของเรา เราเกิดมาเป็นมนุษย์เห็นไหม เราก็มีกิเลสตัณหาความทะยานอยาก สิ่งที่กิเลสตัณหาความทะยานอยากเพราะอะไร เพราะมนุษย์มีคุณค่า เพราะมนุษย์มีสมอง มนุษย์ถึงเจ้าเล่ห์! มนุษย์ถึงเจ้าเล่ห์แสนงอน เวลามนุษย์อยู่ด้วยกัน มนุษย์ก็เอารัดเอาเปรียบกัน มนุษย์มีแต่การแก่งแย่งชิงดีกัน

ทีนี้ความคิดของเราล่ะ กิเลสในหัวใจของเราล่ะ กิเลสในหัวใจของเรามันข่มขี่หัวใจของเรา เวลาศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่ไง สิ่งที่ว่ากิเลสตัณหา กิเลสมันหักดิบ หักดิบว่าเรารู้อย่างนั้น เราเข้าใจอย่างนั้น นี่แค่การศึกษานะ

ศึกษาไว้เพื่อมาเถียงกันปากเปียกปากแฉะว่าฉันรู้มากกว่า ฉันเข้าใจได้มากกว่า เข้าใจก็เข้าใจ เข้าใจมันก็สุตมยปัญญา เข้าใจมันก็เป็นปริยัติ เข้าใจแล้วมันเป็นอย่างไรต่อไปล่ะ! นี่ไงคำว่ากิเลสมันหักดิบๆ มันไม่ให้จิตใจนี้ มันไม่ให้หัวใจนี้ได้สัมผัสความจริงเลย สัมผัสแต่ความเชื่อ สัมผัสแต่ความศรัทธา สัมผัสธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยการศึกษา ด้วยความเชื่อ แต่ไม่ได้สัมผัสความจริง ความจริงไม่มีในหัวใจเลย มันมีแต่เน่าเสียไป!

ชีวิตทั้งชีวิตนะ ศึกษามาเพื่อสิ่งใด ในการประพฤติปฏิบัตินะ เราเกิดมากึ่งพุทธกาล เราเกิดมาเห็นไหม มนุษย์ด้วยกัน มนุษย์เหมือนกัน แต่มนุษย์มีอำนาจวาสนาไม่เหมือนกัน เราเกิดมากึ่งพุทธกาล เรามีอำนาจวาสนา เพราะหลวงปู่เสาร์หลวงปู่มั่นท่านเกิดมากึ่งพุทธกาล ท่านศึกษาค้นคว้าของท่าน แล้วเป็นความจริงของท่าน

ถ้าเป็นความจริงของท่านเห็นไหม ดูสิเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าธรรมะสะเด็ดน้ำ ธรรมะพูดออกมาจากความจริง มันมีแต่ความเมตตา มีแต่ความจริงจัง มันมีแต่เริ่มต้นเห็นไหม เริ่มต้น ท่ามกลาง และที่สุด เป็นคุณธรรม เป็นความเที่ยงตรง ซื่อสัตย์ ซื่อตรงต่อสัจธรรม ครูบาอาจารย์ของเราก็เป็นแบบนั้น

ถ้าครูบาอาจารย์ของเราเป็นแบบนั้น เห็นไหมดูสิ เวลาหลวงปู่เสาร์หลวงปู่มั่นท่านจะรับลูกศิษย์ของท่านเห็นไหม ใครจะไปศึกษา ใครจะไปอะไร ต้องไปให้ท่านดูก่อน ต้องให้ท่านสังเกตจริตนิสัย สังเกตจริตนิสัยว่าเข้ากันได้ไหม ปฏิบัติได้จริงไหม เริ่มต้นได้ไหม ถ้าเริ่มต้นได้ ท่ามกลางมันก็มี ที่สุดมันก็ได้

ถ้าเริ่มต้นมันไม่ได้ เริ่มต้นไม่เปิดรับ เริ่มไม่ได้อะไรต่างๆ ท่านไม่ให้อยู่ด้วยนะ หลวงปู่มั่นท่านไม่รับเลย ท่านไม่ให้อยู่ด้วยเลย เพราะอะไร เพราะสิ่งนี้มันเป็นความเหลือขอไง! ของเหลือขอมันมีประโยชน์ไหม “น้ำประสาททองก้นเบ้า” เวลาเขาหลอมเหล็กหล่อเหล็ก ส่วนที่เหลือเห็นไหม ส่วนที่เหลือมันเป็นเศษ มันเป็นประโยชน์สิ่งใด ท่านสังเกตของท่าน ท่านดูแลของท่าน

เพราะเราเกิดกึ่งพุทธกาล เรามีครูบาอาจารย์ของเรา ครูบาอาจารย์ธรรมะสะเด็ดน้ำ เขาดู เขาคัด เขาเลือก สิ่งใดควรและสิ่งใดไม่ควร ไม่ใช่ว่ามันจะเป็นสาธารณะ ทุกคนจะมีสิทธิ ทุกคนจะทำได้หมด ทำนะทำได้จริงๆ แต่ทำแล้วมันเป็นจริงไหมล่ะ ธรรมไม่เป็นจริงเห็นไหม ถ้าธรรมเป็นจริงเขาคัดเขาเลือกของเขา เพราะมันไม่ใช่ธรรมะเศษเหลือ!

มันเป็นธรรมะจริงๆ สิ่งที่เศษเหลือทิ้งนั่นน่ะ สิ่งนั้นมันไม่เป็นประโยชน์ ถ้าไม่เป็นประโยชน์ เราเป็นประโยชน์ไหม นี่ไง สิ่งที่ครูบาอาจารย์ท่านเป็นธรรมสะเด็ดน้ำ ท่านรู้ท่านเห็นของท่าน ท่านพิจารณาของท่าน ไอ้ของเรา เราประพฤติปฏิบัติของเรา เรามีแต่กิเลสเต็มหัวใจ พอกิเลสเต็มหัวใจนี่มันหักดิบๆ ! กิเลสมันหักดิบๆ เลย! ธรรมะแท้ๆ

เราเกิดมาเป็นชาวพุทธในพุทธศาสนา สัจธรรมมันมีอยู่ ถ้าทำจริงมันก็เข้าสู่ความจริงนะ มันหักดิบๆ ว่ารู้แล้ว เขาใจแล้ว ทุกอย่างรู้หมดเลย แล้วยิ่งไปอยู่กับครูบาอาจารย์ด้วยนะ มันก็เป็นอีกาบนภูเขาทองน่ะ ภูเขาทองอีกาไปเกาะ มันบอกมันเป็นทองๆ ด้วยความเข้าใจนะ นั่นกิเลสมันหักดิบแล้ว เน่าเสีย เน่าเฟะ เน่าเสียหายเพราะอะไร เสียหายเพราะการแสดงออกมานั้นมันเป็นเรื่องเล่ห์กล เรื่องของกิเลสตัณหาความทะยานอยาก มันเป็นความจริงตรงไหนบ้าง? มันมีอะไรเป็นความจริง

สิ่งที่เป็นความจริงนะ ความจริงมันเป็นการอ่อนน้อมถ่อมตน ความจริงมันสู่ความจริง เพราะสิ่งที่แสดงออกมามันเป็นเรื่องตัณหา เป็นเรื่องของกิเลสล้วนๆ เพราะอะไร เพราะสัจธรรม ธรรมธาตุมันคืออะไร? การแสดงออกแสดงออกมาจากอะไร ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา สิ่งนี้มันเป็นภาระ ใครจะเอาออกมาเพื่อเป็นภาระ เป็นน้ำหนักให้จิตนี้แบกหามไปทำไม

แต่ถ้าเป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยาก มันแสดงออกเห็นไหม นี่อีกาไปเกาะภูเขาทอง! แล้วคิดว่าตัวมันเป็นทอง มันแสดงออกของมัน มันแสดงออกมามีแต่ความเจ้าเล่ห์แสนงอนทั้งนั้น นี่ไง หักดิบนะ กิเลสหักดิบคือเราจะประพฤติปฏิบัติแล้วมันไม่เข้าสู่สัจธรรม มันเน่าเฟะ เพราะอีกามันเน่าเฟะ มันคิดว่ามันเป็นทอง แล้วอีกามันสีดำมันเป็นทองได้อย่างไร! สีก็เข้ากันไม่ได้! โดยธาตุก็เข้ากันไม่ได้! ด้วยความจริงมันก็เข้ากันไม่ได้ซักอย่างหนึ่ง

โดยสัจธรรม ศีล สมาธิ ปัญญา ผู้ที่มีคุณธรรมนะ เขาไม่พูดปดมดเท็จ! เขาไม่พูดส่อเสียด พูดตัดย่นธรรมะไม่ให้เข้าไปสู่ความจริง เวลาคนอีกาเวลามันเทศนาว่าการ มันแนะนำสั่งสอนเห็นไหม เพราะมันเน่าเฟะ มันตัดทอน ลัดสั้น ตัดให้ธรรมะนี้ไปสู่ความจริงไม่ได้

ดูสิ น้ำมันดิบเห็นไหม เวลาเราจะใช้ประโยชน์ เราต้องมากลั่นใช่ไหม จะกลั่นเป็นอะไร นำมันมีคุณภาพอย่างไร จะกลั่นเป็นเบนซินก็ได้ กลั่นเป็นดีเซลก็ได้ จะกลั่นเป็นสิ่งใดแล้วแต่คุณภาพของน้ำมันนั้น น้ำมันต้องมีการกลั่น ต้องมีการกระทำ มันถึงจะมีประโยชน์ในการใช้สอยประโยชน์

นี่ก็เหมือนกัน ธรรมะ การกลั่น กระบวนการของมัน นี่มันเน่าเฟะ เน่าเฟะอย่างนั้นไง เขาเติมน้ำมันเบนซิน เติมน้ำมันดีเซลกัน เขาไม่ได้เติมน้ำมันดิบ! มันบอกว่าเอาน้ำมันดิบๆ นี้ มันก็เอาไปใส่ปั้มมัน แล้วรถเข้ามามันก็จะเติมให้เลย นี่ก็น้ำมันเหมือนกัน ดูสิ ความเจ้าเล่ห์แสนงอนของมัน ที่บอกว่ามันหักดิบๆ อย่างนี้ หักดิบๆ เพราะอะไร เพราะมันไม่มีกระบวนการของมัน มันไม่มีการกระทำของมัน ถ้ามันไม่มีการกระทำของมัน มันจะเป็นธรรมได้อย่างไร!

ธรรมะมันมาจากไหน! ในเมื่อกิเลสมันหักดิบๆ อย่างนี้ หักดิบๆ แล้วมันก็บอก เขาเอาน้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน น้ำมันต่างๆ ของเขา แต่เขาบอกน้ำมันดิบก็คือน้ำมัน จะทำไม นี่ไงการหักดิบของมันเห็นไหม หักดิบแล้วมันไม่เป็นประโยชน์สิ่งใดเลย แล้วต่อไปมันก็จะเน่าเสียๆ ตามกระบวนการของมันไป เพราะอะไร เพราะความหยาบ เพราะกิเลสตัณหามันทะเยอทะยาน หักดิบแล้วนะ มันเหยียบย่ำ! เหยียบย่ำคุณธรรม เหยียบย่ำความเป็นจริงในหัวใจของเรา ไม่ให้ได้ผุดได้เกิดเลยนะ

ถ้าเราเป็นนักปฏิบัติ เราเป็นผู้ที่มีอำนาจวาสนา มันจะทุกข์จนเข็ญใจ มันจะลำบากแสนเข็ญ มันจะทำสิ่งใดนะ เราก็ต้องมีความพอใจของเรา ครูบาอาจารย์นะ สาธุ ครูบาอาจารย์ท่านก็เป็นครูบาอาจารย์เรานั่นแหละ กว่าที่จะเป็นครูบาอาจารย์ของเรามา หลวงปู่เสาร์หลวงปู่มั่น ท่านปรับพื้นฐานในใจของท่านอย่างไร

อ่านประวัติหลวงปู่มั่นสิ ตั้งแต่ท่านบวชใหม่ๆ ท่านทุกข์ยากแค่ไหน ละล้าละลังนะ ทำผิดทำถูกมาตลอด แล้วพยายามหาหนทางที่จะเข้าไปสู่สัจจะความจริง ทำแล้วทำเล่า แล้วเราทำอะไรกัน ไปเดินผ่านท่านมาก็บอกเป็นลูกศิษย์ท่าน นี่ไงพอผ่านท่านมาเห็นไหม ในกระบวนการปฏิบัติของเรา กิเลสมันก็หักดิบเราอยู่แล้ว หักดิบคือมันหักคุณงามความดี หักการกระทำ หักศีล สมาธิ ปัญญาที่จะเกิดขึ้นในหัวใจของเรา จนตรอกจนมุมเกิดขึ้นไม่ได้

แล้วเวลาไปอยู่กับครูบาอาจารย์ ไปเดินผ่านท่าน ไปเฉียดท่านมาเห็นไหม “ลูกศิษย์หลวงปู่มั่น! ลูกศิษย์หลวงปู่มั่น! เป็นลูกศิษย์ท่าน” เอาชื่อท่านมาประกาศขายกิน โดยมีคุณงามความจริงมากขนาดไหน มันจะเน่าเฟะไปอย่างนี้ เน่าเฟะเพราะเหตุใด เน่าเฟะไปเพราะหลวงปู่มั่นท่านไม่ทำแบบนี้ ครูบาอาจารย์ของเราท่านไม่ทำแบบนี้ ครูบาอาจารย์ของเราเห็นไหม หลวงปู่มั่นครูบาอาจารย์ของเรา ท่านออกมาสังคมที่ไหน สังคมมีแต่เข้าไปหาท่าน

ท่านประพฤติปฏิบัติของท่านเห็นไหม เพราะอะไร เพราะคนที่ประพฤติปฏิบัติมันยินดีในความสงบสงัดไง “สุขสิ่งใดเท่ากับจิตสงบไม่มี” จิตสงบมันจะเกิดขึ้นที่ไหน มันก็เกิดขึ้นในสถานที่สงบสงัดนั้น จิตสงบมันจะไปเกิดบนท้องฟ้า จิตสงบมันจะไปเกิดในที่มหรสพ ในที่คลุกคลี มันเป็นไปไม่ได้หรอก! มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เห็นไหม

นี่ไง ถ้าจิตใจมันเน่าเฟะไปแล้ว มันก็จะบอกว่า “ภาวนาที่ไหนก็ได้ ทำกลางสนามหลวงมันก็เป็นสมาธิ ทำกลางสนามหลวงมันก็มีปัญญาของมันขึ้นมา ทำที่ไหนมันก็เป็นประโยชน์ทั้งนั้น” นี่กิเลสมันหักดิบๆ แล้วนะ มันยังสะสมหมักหมมจนเน่าเฟะเสียหายไปหมดนะ นี้คือวงกรรมฐานเรา นี้คือผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ

แต่ถ้าเราจะทำจริงของเราเห็นไหม เราจะต้องตั้งสติของเรา ครูบาอาจารย์ท่านก็สั่งสอนเรา ครูบาอาจารย์ท่านก็เป็นแบบอย่างเรา แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านก็บอกว่าท่านเป็นผู้ชี้ทางเท่านั้น เห็นไหมธรรมและวินัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้ เป็นธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

แต่ใจของเราล่ะ ความเป็นจริงของเราล่ะ สติมันระลึกรู้อย่างไร ศึกษามาแล้วดูสิ เราเกิดมานะ เราเกิดมาเรามีพ่อมีแม่ เรามานั่งอยู่นี้ใครเลี้ยงมา ก็พ่อแม่เราเลี้ยงมา นี่ก็เหมือนกัน เราเป็นชาวพุทธ เราก็มีครูบาอาจารย์ ธรรมนี้เป็นของครูบาอาจารย์ ธรรมนี้เป็นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเราจะสืบต่อไปอย่างไร เราจะเป็นศาสนทายาท เราจะจรรโลงสัจธรรมอย่างไร ถ้าจิตใจเราไม่เป็นธรรม จิตใจเราไม่มีคุณธรรมในหัวใจ

สติเป็นมันอย่างไร สติมันก็มีแต่ชื่อ สติมันก็มีแต่ในตำรา สมาธิไม่ต้องพูดถึงมันเลย ยิ่งปัญญานี่กิเลสมันหักดิบมาตั้งแต่ต้น มันจะเกิดภาวนามยปัญญาขึ้นมาได้อย่างไร มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย! แล้วสิ่งที่เป็นไปไม่ได้แล้วมันจะเกิดขึ้นมาได้อย่างไร มันเน่าเฟะเสียหายกันไปหมดนะ

แต่ถ้าเราเกิดมาเห็นไหม เพราะอะไร เพราะเราเกิดมาในพุทธศาสนา แล้วเราประพฤติปฏิบัติ เวลาเราประพฤติปฏิบัตินะ ทุกคนก็อยากจะให้มีครูมีอาจารย์ มีผู้ที่ยืนยันกับเราว่าสิ่งใดผิดสิ่งใดถูก เพราะการฝึกหัด การทำงานทุกคนมันก็ต้องมีการผิดพลาดเป็นธรรมดา

การกระทำที่ว่าไม่ผิด เอาที่ไหนมา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปฏิบัติมา ๖ ปีไม่ผิดเลยเหรอ ไปศึกษามากับเจ้าลัทธิต่างๆ ทรมานทำทุกรกิริยาขนาดไหน เพราะความไม่เข้าใจเห็นไหม ถ้าเป็นความเพียรมันต้องถูกต้อง ถ้าเป็นความมุมานะ เป็นอุตสาหะมันต้องดีงามไปหมด แล้วมันดีงามจริงไหมล่ะ? เพราะมันไม่มีใครบอกใครสอน

แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาเห็นไหม “มัชฌิมาปฏิปทา” กิเลสเราถ้ามันพอใจมันก็มัชฌิมาปฏิปทา ถ้ามันไม่พอใจ ไม่ใช่ทั้งนั้นถ้ามันไม่พอใจนะ คำว่าพอใจ ความสุขความสำราญของกิเลสมันอยู่ที่ไหน มันก็อยู่บนหัวใจของสัตว์โลก ถ้ามันพอใจมันก็เหยียบย่ำหัวใจอยู่แล้ว ถ้ามันพอใจ นี่มันหักอย่างนี้ มันหักคุณงามความดี หักการเริ่มต้นของเรา หักการกระทำของเราที่จะบุกเบิกมุมานะที่จะกระทำให้มันเกิดขึ้น ให้สัจธรรมเกิดขึ้นในหัวใจของเรา มันหักหมด หักแล้วมันยังหมักหมมไว้ให้เน่าเฟะให้เสียหายไป

แต่ถ้าจิตใจเราเป็นอย่างนั้น จิตใจเรามีกิเลสตัณหาความทะยานอยากโดยธรรมชาติของมันเห็นไหม แต่เราก็มีสติมีปัญญาของเรา เราจะไม่ให้ชีวิตของเราสูญเปล่า ไม่ให้ชีวิตของเราเกิดมาในพุทธศาสนาแล้ว ไม่มีสิ่งใดมีคุณธรรมติดในหัวใจของเราไป เราถึงต้องมุมานะบากบั่น เรามีครูบาอาจารย์ท่านประพฤติปฏิบัติมาก็เป็นตัวอย่าง เป็นแบบอย่างที่ดีนะ ครูบาอาจารย์ของเรา หลวงปู่เสาร์หลวงปู่มั่นท่านทำอย่างไร เวลาท่านปฏิบัติของท่าน ท่านมุมานะมากขนาดไหน แล้วบารมีธรรมของท่านขนาดนั้น ท่านยังมุมานะขนาดนั้น แล้วเราจะเอาแค่พ้นจากทุกข์ เราจะเอาจิตใจของเรารอดจากกิเลส ทำไมเราไม่มีหลัก ไม่มีจุดยืน ไม่มีความมุมานะ ไม่มีความเพียรชอบ

ความเพียรชอบ ความวิริยะอุตสาหะ ความเพียรที่ไม่ชอบ เห็นไหมเวลากิเลสมันหักดิบนะ เวลาปฏิบัติมันก็ไม่ให้ทำ มันบอกมันรู้ มันเข้าใจ แล้วเวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมามันก็ไม่ให้เปิดช่อง ไม่ให้ทำสิ่งใด มีแต่ความโลเล มีแต่ความไม่แน่ใจ ไม่มีความจริงเลย แล้วความเพียรชอบมันอยู่ไหน แล้วความเพียรชอบเวลาเราปฏิบัติไป เพราะเราตั้งใจดีแล้ว ทำให้มันเป็นความเพียรชอบ มันชอบไหมล่ะ มันไม่ชอบเพราะอะไร มันไม่ชอบเพราะบารมีธรรมของคนไม่เหมือนกัน จริตนิสัยของคนไม่เหมือนกัน เราต้องตั้งสติ เราต้องเอาจริงเอาจังของเรา

“สติ” สติถ้ามันเกิดขึ้นมา สติถ้าเราระลึกรู้อยู่นะ คนเราเวลามันทุกข์ “กลุ่มชนใดอยู่ในกลุ่มชนนั้น” นิสัยใจคอเขา เขาต้องชอบและพอใจในกลุ่มชนนั้น เขาถึงจะอยู่กับกลุ่มชนนั้น จะดูคนนิสัยอย่างไร ให้ดูหมู่คณะของเขา ดูหมู่คณะ ดูเขาคบเพื่อนอย่างไร

นี่ก็เหมือนกัน หัวใจเวลามันอยู่กับกิเลส เวลากิเลสครอบงำมันอยู่ เวลามันอยู่กับความสุขใดของมัน เวลาจิตใจอยู่ในอารมณ์ใด อยู่ในความรู้สึกนึกคิดอย่างไร นี่ไงมันก็ชอบอย่างนั้น ถ้ามีสติเห็นไหม กลุ่มชนใดเขาประพฤติปฏิบัติ เขาทำคุณงามความดี เขาทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ เรามีสติเราคัดเลือกได้ เรามีสติเราตรวจสอบได้

กลุ่มชนใดทำเพื่อคุณประโยชน์ เราจะคบกลุ่มชนนั้นเพื่อเป็นประโยชน์กับเรา กลุ่มชนใดเที่ยวเบียดเบียน เที่ยวทำลายสังคม เที่ยวทำลายความสงบสงัดของสังคม เราจะคบกลุ่มชนนั้นไปทำไม แต่ถ้าเราไม่มีสติ ไม่มีปัญญา มันไม่เข้าใจว่ากลุ่มชนใด

กลุ่มชนก็กลุ่มชน การกระทำก็คือการกระทำ มันไม่มีสติปัญญาแม้แต่แยกแยะได้ว่ากลุ่มชนใดทำประโยชน์หรือทำโทษ ทำประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์ เพราะขาดสติ แต่ถ้าเรามีสติเห็นไหม เรามีสติของเราขึ้นมา กลุ่มชนใด คบอารมณ์ใด อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดเห็นไหม เราเกิดมาเป็นมนุษย์ เราอยู่กับสังคมทางโลก บวชพระมาก็บวชพระมาใหม่ๆ

พระใหม่เห็นไหม มันก็คบกลุ่มชน พระใหม่เข้ามาต้องถือนิสัย พระใหม่เข้ามาแล้วจะต้องมีข้อวัตร พระใหม่ต้องอาศัยพระเก่า ดูแลพระที่มีประสบการณ์แล้วทำตามเขา เห็นไหมเพื่อไม่ให้หัวใจของเราคบกับอารมณ์เดิมๆ คบกับความเคยใจ คบกับสิ่งที่หัวใจมันเคยของมัน นี่ก็เหมือนกัน เราอยู่กับสังคมเห็นไหม สังคมเป็นอย่างไร ตั้งสติสิ! สิ่งใดที่เราไม่เคยฝึก มันก็ดูเป็นของที่หนักหนาสาหัสสากรรจ์ทั้งนั้น

แต่ถ้าเราประพฤติปฏิบัติของเราบ่อยครั้งเข้าๆ เห็นไหม ถ้ามีสตินะ อย่าไปคุ้นชินกับมัน ถ้าไปคุ้นชินกับมันเห็นไหม ที่ไหนมีการคุ้นชิน นั่นล่ะกิเลสมันเกิดตรงนั้น ที่ไหนมีการคุ้นชิน ที่ไหนมีการนอนใจ ที่ไหนมีการสะดวกสบาย ฉะนั้นพระกรรมฐานเราถึงได้เคลื่อนที่เวลาธุดงค์ไป ที่ไหนถ้าเป็นที่ที่ตื่นตัว ที่ไหนเป็นที่ที่ทำให้เรารักษาใจของเรา เราจะอยู่ภาวนาที่นั่น พอมันคุ้นชินกับสถานที่เห็นไหม จิตใจมันเริ่มไม่ตื่นตัว เริ่มนอนจมเห็นไหม นั่นแหละคบอารมณ์แล้ว!

จิตใจคบอารมณ์ที่มันทำให้เสียหายแล้ว ครูบาอาจารย์ท่านจะให้เปลี่ยนสถานที่ ถึงที่สุดแล้วถ้ามันไม่ตื่นตัว ให้เข้าไปอยู่ในป่าช้า ให้เข้าไปอยู่ในที่สงบสงัด ให้เข้าไปอยู่ที่น่ากลัว เพื่อความกลัวนี้จิตใจมันจะไม่ไปคบกับอารมณ์อย่างนั้นไง ไม่คบกับอารมณ์ที่ทำให้หัวใจนี้เศร้าหมอง ไม่คบกับอารมณ์อย่างนี้มันขี่หัวเราเห็นไหม นี่กิเลสมันหักดิบๆ อย่างนี้ แล้วมันบอกว่า “อย่างนี้เป็นธรรม”

แต่พวกที่ประพฤติปฏิบัติ พวกนั้นเห็นทุกข์เป็นสัจจะ ติดในทุกข์นิยม ชอบทำตัวให้เดือดร้อน เราเป็นคนดี เราไปอยู่ในที่สะดวกสบาย เราเป็นนักปราชญ์ เดี๋ยวนี้การประพฤติปฏิบัติเขาปฏิบัติด้วยปัญญาชน เขามีปัญญา ไม่เหมือนกับคนโบราณ คนโบราณเขาทำให้ตัวเองลำบาก เขาทำให้ตัวเองทุกข์ยากไปหมดเลย

นั่นล่ะ กลุ่มชนใด.. เห็นไหม มันคบกิเลส กิเลสกำลังจะหักคอมัน กิเลสกำลังจะหักมันดิบๆ มันยังไม่รู้ตัว! มันยังบอกว่ามันเป็นปัญญาชน มันบอกว่ามันมีปัญญา ไอ้กลุ่มชนคนโบร่ำโบราณ ไอ้คนที่ทำทุกข์ๆ ยากๆ พวกนั้นทุกข์นิยม นี่ขาดสติ...

ถ้าเรามีสตินะ เราพยายามตั้งสติของเราขึ้นมา แล้วเรารักษาใจของเรา ดูสิเวลาเราทุกข์ยาก ใครพาทุกข์ยาก กิเลสทั้งนั้น กิเลสมันพาทุกข์ยาก คิดแต่เรื่องสิ่งที่เป็นภาระรุงรังไปหมดเลย ภาระรุงรังนะ สิ่งที่เป็นงานทางโลกเป็นหน้าที่การงาน ถ้าหน้าที่การงานนะ มันก็อยู่ที่อำนาจวาสนา ทำให้ประสบความสำเร็จก็ได้ ถ้าไม่ประสบความสำเร็จ เราก็พยายามของเรา ตั้งสติของเรา เราขวนขวายของเรา ทำตามกำลังอำนาจของเรา

“กรรม” เห็นไหม กรรมเก่ากรรมใหม่มันมี กรรมเก่าก็มี กรรมใหม่ก็มี กรรมคือการกระทำ เราทำมาแต่ชาติใดปางใด ชาติใดชาติหนึ่ง หรือทำในปัจจุบันนี้ มันมีมาทั้งนั้น ฉะนั้นถ้าเรามีสติปัญญาเห็นไหม คนมีสติปัญญานะ เวลาทำงานสิ่งใด มันทำได้เต็มไม้เต็มมือ ทำได้ด้วยความจริง แต่คนขาดสติปัญญา ทำด้วยการพลั้งเผลอ ทำด้วยการขาดสติ ทำด้วยความไม่มุมานะ

แล้วก็บอกว่า “อยากจะประสบความสำเร็จ อยากจะเป็นคนดี แล้วทำไม่ได้ดีสักที ทำอะไรก็ไม่ได้ดีสักที ทำอะไรก็ไม่ประสบความสำเร็จสักที”

เพราะขาดสติ! ขาดการยั้งคิด ขาดการคัดเลือก ถ้าเรามีการคัดเลือกเห็นไหม เราคัดเลือกมาตั้งแต่ต้น เราจะเข้าสู่สัจจะ เราจะเข้าสู่การประพฤติปฏิบัติ เราจะเข้าสู่สัจธรรม

เข้าสู่สัจธรรม... สัจธรรมมันอยู่ที่ไหน? สัจธรรมมันอยู่ในตัวพระไตรปิฎกหรือ? สัจธรรมมันอยู่ที่ครูบาอาจารย์หรือ? สัจธรรมมันอยู่ในป่าในเขาที่สงบสงัดหรือ?

ไม่ใช่! สิ่งนั้นเป็นสภาวะแวดล้อม เป้นความจริงที่เราอาศัยเป็นชัยภูมิ การมีชัยภูมิที่เราจะต่อสู้กับกิเลส เราจะต้องแสวงหาชัยภูมิที่กิเลสมันแสดงตัวได้ เพราะขณะนี้กิเลสมันหักดิบๆ นะ มันปิดล้อมไม่ให้หัวใจได้แสดงออกเลย มันอาศัยตัวมันเป็นม่านบัง กลบเกลื่อนหัวใจไว้ แล้วบอกว่า “สิ่งนี้เป็นธรรมๆ” เวลาศึกษาธรรมขึ้นมาเห็นไหม ศึกษาขึ้นมา มีความสบายใจ มีความว่าง มีความสุข กิเลสมันหักดิบๆ ไง

ธรรมที่ว่าว่างๆ ถ้าไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดไว้ในพระไตรปิฎกจะเอามาจากไหน สิ่งที่เป็นอริยสัจ สัจจะความจริงมันเอามาจากไหน “โอ้โห ทุกข์ไม่มีๆ” ไม่มีแล้วพูดทำไม ไม่มีก็หุบปากไว้สิ ถ้ามันไม่มีมันก็อยู่ในหัวใจนั่นไง แล้วพูดออกมาทำไม นี่ไง กิเลสมันหักดิบๆ ทั้งนั้น มันไม่ให้หัวใจได้สัมผัสสิ่งใดเลย

แต่ถ้ามันจะสัมผัสนะ เราตั้งสติของเรา แล้วเรามีปัญญาของเรานะ กำหนดคำบริกรรมพุทโธก็ได้ อานาปานสติก็ได้ ดูสิเวลาจิตใจเรามันคบอารมณ์ จิตใจเรามันมีความรู้สึกนึกคิด มันคบเพื่อนมา มันคบจริตนิสัย คบสิ่งที่เป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยากมา มันกลบหัวใจเราไว้ขนาดนี้ เรามีความทุกข์ร้อนแค่ไหนล่ะ ถามตัวเองสิ ถามว่าจิตมันทุกข์ร้อนแค่ไหน ถามว่าในหัวใจมันทุกข์ร้อนแค่ไหน แล้วมันเป็นธรรมหรือมันเป็นไฟ มันเป็นธรรมะ หรือมันเป็นไฟกิเลส

มันเป็นไฟ! โทสัคคินา โมหัคคินา โลภัคคินา มันเป็นไฟหรือมันเป็นธรรม ถามมันดู! นี่ไง มันหักอย่างนี้ มันหักดิบๆ ยังไม่รู้ตัว เวลาทุกข์เวลายากนี่ปากพร่ำเพ้อ พูดไม่มีวันจบ แต่เวลาจะสู้กับมันไม่เคยรู้จัก ไม่เคยเห็นหน้ามัน มันมีแต่มัน เอาแต่โทสะโมหะ เอาแต่โทสัคคิ โมหัคคิมาแผดเผา มาเป็นม่านบังในหัวใจ ฉะนั้นถ้าเรามีสติมีปัญญานะ เราจะเริ่มต่อสู้กับมัน เราจะมีสติเห็นไหม เรากำหนดพุทโธก็ได้ ปัญญาอบรมสมาธิก็ได้ แยกหัวใจออกมา ไม่คบชนกลุ่มที่เป็นพาล พาลชนในหัวใจไม่คบมัน

สิ่งที่เป็นพาลชนมันเกิดจากอวิชชา มันเกิดจากกิเลสตัณหาความทะยานอยาก แล้วหัวใจคุ้นชินอยู่กับมัน หัวใจคุ้นชินอยู่กับสัญญาอารมณ์เดิมๆ มาไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ แล้วจะแยกใจออกมาจากกิเลสตัณหาความทะยานอยากที่มันหักดิบ อบหัวใจนี้ไว้ แล้วเราไม่เคยสัมผัสมันเลย ไม่เคยเห็นความจริงเลย แล้วสิ่งนี้เราพยายามจะทำมันเป็นเรื่องของง่ายไหม?

นี่ไงการประพฤติปฏิบัติเริ่มต้น ดูสิ การประพฤติปฏิบัติมันจะง่ายหรือมันจะยาก เราก็บอกว่าปฏิบัติใช่ไหม เหมือนนักกีฬาเลย อยากจะเล่นฟุตบอลก็เอาชุดฟุตบอลมา ใส่ สตั๊ดแล้วก็ลงเตะฟุตบอล เก่ง... นี่ก็เหมือนกัน อยากปฏิบัติก็นั่งสมาธิ นั่งลงไปเราก็ทำได้... นี่มันคือกิริยาข้างนอก แล้วหัวใจมันเป็นจริงหรือเปล่าล่ะ พอนั่งลงไปหัวใจแทบระเบิด มันเต้นจนจะหลุดออกมาจากหัวอกนั่นน่ะ มันคุมไม่ได้ มันไม่ใช่เล่นกีฬานะ

เล่นกีฬาเขามีชุดกีฬาเขาก็ลงเล่นได้แล้ว เพราะกีฬามันก็ลงไปฝึกหัด แต่นั่งสมาธินั่งลงไป นี่กิริยาเห็นไหม อิริยาบถ ๔ ยืน เดิน นั่ง นอน แล้วเราทำจริงไหมล่ะ ในการกระทำ ยืน เดิน นั่ง นอนนี่ล่ะ ในการประพฤติปฏิบัตินั่งสมาธิภาวนา แต่ความเป็นจริงล่ะ กิเลสมันหักหมดล่ะ กิเลสมันหักดิบอย่างนั้น มันจะเป็นความจริงหรือเปล่า

แต่ถ้าเราประพฤติปฏิบัติ เราก็อาศัยกิริยาอย่างนี้แหละ เราก็นั่งสมาธินี่แหละ เราก็ยืนเดินนั่งนอนนี่แหละ แต่ยืนเดินนั่งนอนให้มีสติ แล้วมีคำบริกรรม แล้วถ้ามีปัญญาอบรมสมาธิ คัดแยกหัวใจออกจากสิ่งที่มันคุ้นชิน สิ่งที่มันคุ้นชินนะ มันให้โทษนะ มันเหยียบย่ำทำลายมาตลอด แล้วเราก็เข้าใจมัน พอไปศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราก็สร้างอารมณ์แบบนั้น เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมาเห็นไหม เราสร้างอารมณ์แบบนั้นว่ามีความสุข มีความเข้าใจ อะไรต่างๆ เวลาจะประพฤติปฏิบัตินะ “ว่างๆ ว่างๆ”

ว่างๆ คือเอกสารที่ไม่มีค่า เอกสารที่ไม่เป็นประโยชน์เลย ใครๆ ก็มี เศษกระดาษมันปลิวไปทั่ว เอกสารเท็จเดี๋ยวนี้นะ แบงก์เขาทำด้วยคอมพิวเตอร์ เหมือนเปี๊ยบเลย แล้วมีค่าตามกฎหมายไหม? ไม่เห็นมี.. นี่ก็เหมือนกัน ประพฤติปฏิบัติขึ้นมา “ว่างๆ ว่างๆ” ว่ากันไป เวลากิเลสมันหักดิบนี่นะ คำว่าหักดิบเราคิดว่าเป็นสิ่งที่เราจะรู้ได้ชัดเจน แต่ถ้ากิเลสที่ละเอียดนะ มันอ้างอิงธรรมะ สติมันบอกมันมีพร้อมแล้ว ถ้าเป็นสมาธินี่ว่างหมดเลย ถ้าเป็นปัญญานี่ฉันคิดอยู่ทุกวัน

นี่ไง เวลามันหักดิบอย่างนี้นะ มันละเอียดจนเราไม่รู้เลยว่าสิ่งนี้เป็นธรรมหรือเป็นกิเลส เป็นกิเลสชัดๆ มันเป็นกิเลสหมด เพราะอะไร เป็นกิเลสหมดเพราะว่ามันไม่เป็นความจริงไง ถ้าเป็นความจริงนะ เรากำหนดคำบริกรรมหรือใช้ปัญญาอบรมสมาธิ พอจิตมันสงบไปนะ จิตมันเริ่มสงบ เราฝึกใช้ปัญญา พอฝึกใช้ปัญญานะ ปัญญาของเราถ้ามันพิจารณาสิ่งใด มันสะเทือนใจ มันแทรกเขาไปในเนื้อของใจ

เวลาจิตสงบนะ มันพูดสิ่งใดไม่ได้หรอก สิ่งที่ยังพูดได้คืออารมณ์สอง เวลาเรากำหนดพุทโธๆๆ พุทโธนี้ใครเป็นคนกำหนด จิตเป็นคนกำหนด เพราะเราตั้งสติแล้วให้จิตกำหนดพุทโธ ไม่ให้จิตส่งออกข้างนอก ให้จิตอยู่กับพุทโธ มันถึงเป็นอารมณ์สอง

เวลาจิตบอกว่า จิตว่างๆ ว่างเป็นอารมณ์สองของตัวจิต ตัวจิตเห็นไหม เพราะตัวจิตคือตัวพลังงาน ไอ้ว่างๆ ... เพราะพลังงานมันพูดได้ไหม พลังงานมันต้องอาศัยสัญญา อาศัยสัญญาเห็นไหม สัญญาเทียบเคียงว่าสัญญาคือข้อมูล ข้อมูลว่าสิ่งใด เหมือนกับสิ่งที่รู้แล้วสิ่งใด มันก็เป็นสัญญาไว้ที่จิต ถ้าจิตรับรู้ก็คือรู้ ฉะนั้นพอมาบอกว่า “ว่างๆ ว่างๆ” นี่มันอาศัยสัญญา

สัญญาคืออะไร สัญญาจำว่าสิ่งนั้นเป็นความว่างๆ มันเป็นอารมณ์สอง พุทโธๆ นี้ก็เหมือนกัน พุทโธก็อารมณ์สอง แต่เพราะเราต้องการให้จิตมันมีหลักมีเกณฑ์ของมัน เราถึงต้องมีคำบริกรรมให้จิตมันเกาะพุทโธไว้ ไม่ให้มันไปอยู่กับอารมณ์อื่น ไม่ให้ไปคบพาลชน ไม่ให้ไปคบสิ่งที่มันสร้างยาพิษมาแผดเผาในหัวใจของเรา สร้างยาพิษมาแผดเผาหัวใจแล้วยังหักหาญไม่ให้หัวใจนี้ได้ประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริงอีก

นี่ไง ฉะนั้น เราจะสร้างตัวเราขึ้นมา เราเกิดเป็นชาวพุทธ พบพระพุทธศาสนา เราต้องมีสติของเรา ตั้งสติของเรา แล้วเราตั้งสติของเราเห็นไหม กำหนดพุทโธก็ได้ กำหนดปัญญาอบรมสมาธิก็ได้ กำหนดมรณานุสติก็ได้ กำหนดสิ่งใดก็ได้ พอจิตมันเริ่มไม่คบใคร มันอยู่ของมัน แต่มันก็ยังลงสมาธิไม่ได้ มันลงสมาธิไม่ได้เพราะว่ามันยังสลัดตัวเองให้สะอาด ให้เป็นสิ่งที่เป็นสากลไม่ได้

เวลาเป็นสากลเห็นไหม สมาธิเป็นสากล สิ่งที่เป็นสากลไม่ได้มันยังลำเอียงอยู่ เราก็ใช้ปัญญาของเรา พอจิตเราพุทโธ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิแล้วเราออกใช้ปัญญานะ เราจะเห็น เราจะรับรู้เข้าไปว่ามันไม่ใช่ความรู้สึกนึกคิดที่เราเคยทำ ความรู้สึกนึกคิดมันเป็นสัญญาโลก มันเป็นสิ่งที่พาลชน แล้วหักกลบหัวใจนี้ไว้ แต่เวลาหัวใจมันเริ่มจะขยับตัว มันเริ่มมีกำลังของมัน ไม่ใช่ว่า โอ้โห ต้องจิตสงบ โอ้โห ต้องเข้าไปอัปนาสมาธิ ต้องเข้าไปแล้วค่อยเอามาพิจารณา

“สมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน” สมถกรรมฐานแก้กิเลสไม่ได้ แต่ตัวสมาธิคือตัวให้หัวใจเป็นเอกเทศเข้ามา ไม่ให้หัวใจไปคบหมู่พาล การคบหมู่พาลแล้วยังไปศึกษาธรรมะเห็นไหม มันก็ถือเอาธรรมะมาบังเงา มันเอาธรรมะมาบัง แล้วเอาธรรมะมาอ้างอิง แล้วมันก็อาศัยธรรมะนี้ มันก็เลยเป็นกิเลสไปหมดเลย

แต่เวลาเราศึกษามาแล้ว เราประพฤติปฏิบัติให้เกิดตามความเป็นจริง ถ้าจิตใจมันปฏิบัติเข้ามา มันมีประสบการณ์ของมัน ประสบการณ์มีการกระทำของมัน ถ้าจิตมันเริ่มใช้ปัญญาของมัน มันจะฝึกหัดหัวใจ ถ้าหัวใจได้ฝึกได้หัด มันจะเป็นความจริงของมันขึ้นมา ถ้าเป็นความจริงขึ้นมา มันมีปัญญาของมัน แล้วปัญญาของมันพอมันพิจารณาไปแล้ว พอมันปล่อย มันปล่อยแล้วทำอย่างไรต่อไป มันปล่อยแล้วก็งง มันปล่อยก็งงเห็นไหม เพราะถ้าทำความสงบของใจ

ถ้าใจสงบนะ ดูสิ ฤๅษีชีไพรสมัยพุทธกาลเขาทำสมาธินะ แต่เขาทำสมาธิด้วยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก แล้วกิเลสตัณหาความทะยานอยากนั้นก็หักหัวใจ หักดิบพวกฤๅษีชีไพรไม่ให้เกิดปัญญา เพราะเขาใช้ปัญญาไม่เป็น เขาใช้ปัญญาไม่ได้ เพราะเวลาเขาใช้ปัญญาไม่เป็นเขาใช้ปัญญาไม่ได้ พอเขาทำฌานสมาบัติ เขาก็เหาะเหินเดินฟ้าเขารับรู้สิ่งต่างๆ เขาไปรับรู้วาระจิต รับรู้อะไรต่างๆ ไปนรกสวรรค์ไปอะไรต่างๆ ได้

เขาว่าสิ่งนั้นเป็นคุณสมบัติ เป็นสิ่งที่เขาประพฤติปฏิบัติแล้วเป็นผู้วิเศษ นี่ไงเวลากิเลสมันหักดิบ มันหักดิบอย่างนี้ หักดิบไม่ให้จิตที่เป็นสมาธิเข้าสู่วิปัสสนา ถ้าจิตมันเป็นสมาธิแล้วนะ ถ้ามันเข้าสู่วิปัสสนาเห็นไหม วิปัสสนาญาณมันจะเกิดอะไรล่ะ ดำริชอบ งานชอบ เพียรชอบ มันจะเกิดปัญญาที่ชอบธรรม เกิดงานชอบ เกิดสมาธิชอบ

สมาธิเป็นสมาธิ มันไม่ชอบ ไม่ชอบเพราะอะไร เพราะเกิดทิฐิ เกิดทิฐิมานะว่าฉันมีกำลัง จิตใจของฉันมีกำลังเห็นไหม นี่กิเลสมันหัก หักไม่ให้จิตเข้าใจ ดูสิถ้าเรามีความเข้าใจผิดในสิ่งใด ความเข้าใจผิดสิ่งนั้นเราก็มีอารมณ์ตามความรู้สึกที่เราเข้าใจผิดอย่างนั้น

จิต! จิตเป็นสัมมาสมาธิ แล้วเกิดทิฐิมานะว่าสิ่งนี้เป็นคุณงามความดี สิ่งนี้เป็นสัจธรรมในหัวใจ ความเข้าใจผิดนี่ไง ดำริไม่ชอบ งานไม่ชอบ ทุกอย่างไม่ชอบ นี้เพราะอะไร เวลาเราเห็นความผิดพลาด ความผิดที่มันชัดเจน ความผิดที่มันเป็นทางโลก เป็นวัตถุต่างๆ เราเห็นว่าเป็นความผิดโดยชัดเจน

แต่ความผิดในหัวใจนะ ความผิดนี่ใกล้เคียงมาก กิเลส-อุปกิเลส กิเลสอย่างหยาบๆ ทุกคนก็รู้ทุกคนก็เห็นได้ แต่เวลามันละเอียดเข้าไปเห็นไหม มันก็เป็นกิเลส มันเป็นอุปกิเลสมันไม่ได้เข้าสู่ธรรม มันไม่เข้าสู่สัจธรรม ถ้าไม่เข้าสู่สัจธรรมเห็นไหม ถ้ากิเลสมันเวลามันหัก เวลามันหันเห มันทำให้จิตใจนี้ฉ้อฉล จิตใจนี้เฉไฉออกไปจากความเป็นจริง เราถึงต้องตั้งสติ ถ้ามีครูบาอาจารย์นะ ครูบาอาจารย์จะประคอง ครูบาอาจารย์จะคอยชี้แนะ ครูบาอาจารย์จะคอยให้อุบาย

การให้อุบายของครูบาอาจารย์นี้สำคัญมาก เพราะเวลาเราไปติดขัดสิ่งใด เราไปยึดมั่นถือมั่นสิ่งใด ครูบาอาจารย์จะคอยให้อุบาย คอยเตือนสติให้อุบายนะ มันเป็นเช่นนั้นจริงหรือ มันมีเหตุผลอย่างอื่นไหม มันมีข้อมูลอย่างไรที่ควรจะใคร่ครวญหรือเปล่า มันมีสิ่งใด แต่ถ้าไม่พูดตรงๆ อย่างนี้ ท่านจะใช้อุบาย ใช้อุบายให้เรามีสติมีปัญญาเพื่อให้เราเทียบเคียงเห็นไหม ถ้าเทียบเคียงนะ มันจะพ้นจากการที่ว่าเป็นสมาธิที่เป็นทิฐิมานะอันนั้นมา ถ้าเป็นสมาธินะ แต่ถ้าไม่เป็นสมาธิเห็นไหม มันเป็นสัญญาอารมณ์ ว่างๆ ว่างๆ อันนั้นอันหนึ่ง

ปัจจุบันนี้มันเข้าถึงหลักเกณฑ์ของสมาธิ มันยังทำกันไม่ได้นะ มันน่าเสียใจ มันน่าเสียใจว่า วงกรรมฐานไม่เข้มแข็ง ถ้าวงกรรมฐานเข้มแข็งเหมือนสมัยครูบาอาจารย์ของเรานะ เรื่องสมาธินี้เป็นพื้นฐานเลย เวลาหลวงตาท่านพูดถึงหลวงปู่มั่น บอกว่าหลวงปู่มั่นท่านเทศน์นะ พระกรรมฐานไม่เทศน์เรื่องศีลนะ เพราะศีลนี้เป็นพื้นฐาน ศีลทุกคนมีอยู่แล้ว พระกรรมฐานเวลาเทศน์ก็สมาธิปัญญาไปเลย

เวลาครูบาอาจารย์ของเราเทศน์นะ ด้วยศักยภาพของหลวงปู่มั่นเรา หลวงปู่มั่นหลวงปู่เสาร์ครูบาอาจารย์ของเราเวลาท่านเทศน์นะ ท่านเทศน์ตั้งแต่ความสงบของใจ แล้วเริ่มก้าวเดินต่อไปเลย แต่ถ้าครูบาอาจารย์ของเราที่อ่อนด้อย ไปเรื่องศีล ศีลนี้เป็นพื้นฐานที่ชาวพุทธเข้าใจอยู่แล้ว ศีลเป็นพื้นฐานที่ชาวพุทธเข้าใจความถูกความผิดของมันอยู่แล้ว ถ้ามันมีความเข้าใจของมัน มีความถูกความผิดของมันอยู่แล้วเห็นไหม เวลาทำสมาธิเห็นไหม วงกรรมฐาน ครูบาอาจารย์ของเรา โดยสิ่งนี้มันเป็นพื้นฐานของบริษัท ๔ อยู่แล้ว

แล้วเราเป็นพระกรรมฐาน ทำไมไม่เริ่มต้นกันที่พื้นฐาน ชาวนานะ เขาทำนาเพื่อได้ข้าว เราไม่ใช่ชาวนาแต่เราเป็นชาวบ้านนะ เราอยากได้ข้าว เราก็ไปซื้อเอาที่ร้านค้ามันก็มีข้าวขาย เพราะข้าวเขามีอยู่แล้ว เว้นไว้แต่ชาวนา ชาวนาเขาก็ต้องทำอาชีพของเขา เขาก็ต้องทำนาใช่ไหม นี่ก็เหมือนกัน เราเป็นชาวพุทธ เราเป็นคนที่มีครูบาอาจารย์เห็นไหม สิ่งที่เป็นพื้นฐานมันก็เป็นพื้นฐาน เพราะเราเขาใจได้ว่า ข้าวมันมาจากนานั่นแหละ

แต่เราไม่ได้มีอาชีพชาวนา เราก็ไปซื้อข้าวจากร้านค้า แล้วเราก็หุงหาของเรา นี่ก็เหมือนกัน โดยพื้นฐาน ศีล สมาธิ ถ้ามีสมาธินะ ถ้าเข้มแข็ง โดยสามัญสำนึกในสมัยครูบาอาจารย์ของเรา พระเราทรงธรรม ทรงวินัย สมาธิมีเป็นพื้นฐานนะ รักษากันให้ได้ แล้วพอมีสมาธิขึ้นมาแล้วปัญญาทำอย่างไร ฉะนั้นครูบาอาจารย์ของเราจะให้อุบายตอนเข้าสู่ปัญญา

การเข้าสู่ปัญญานะ ปัญญาในการอบรมสมาธิ ปัญญาในการใคร่ครวญเป็นการฝึกหัด ปัญญาไม่ลอยมาจากฟ้า หลวงตาท่านบอกว่า ปัญญาต้มแกงกินไม่ได้ ปัญญาเอามาเป็นประโยชน์อย่างอื่นไม่ได้หรอก ปัญญามีเอาไว้ฆ่ากิเลส ปัญญามีเอาไว้สั่งสอนตนเอง ให้ตนเองฉลาดมีหลักมีแง่มุมในหัวใจที่พัฒนาการของมันขึ้นมา

ฉะนั้นถ้าปัญญาอย่างนี้จะเกิดขึ้นมา มันต้องมีการฝึกหัด การฝึกหัดนะ ดูสิน้ำ ถ้ามันอยู่ในแหล่งน้ำมันจะเป็นประโยชน์อะไรไหม เราชักน้ำขึ้นมาเห็นไหม ถ้าเราเอาน้ำนั้นมาต้มให้เดือด พลังงานไอน้ำมันก็จะเป็นประโยชน์ เป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป นี่ก็เหมือนกัน ใจของเราถ้ามันมีความสงบระงับ เราก็ฝึกใช้ปัญญา ใช้ปัญญาให้หัวใจมันได้ฝึกหัด ถ้ามันได้ฝึกหัดขึ้นมาเห็นไหม ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ พอจิตมันสงบบ่อยครั้งเข้าๆ จนมีความชำนาญในวสี นั่นจิตเป็นสมาธิ จิตตั้งมั่น

ถ้าจิตตั้งมั่นนะ มันออกทำงานขึ้นมา มันใช้พื้นฐานอย่างนี้ขึ้นไป กิเลสมันจะหลอกไม่ได้! มันจะปกปิดไม่ได้! กิเลสจะมาหลอกลวงอย่างนี้ไม่ได้! แต่นี่พอกิเลสมันหักดิบๆ นะ แล้วดิบเถื่อนด้วย ดิบเถื่อน! เพราะหัวใจของคนมันดิบเถื่อนอยู่แล้ว แต่ด้วยมารยาทสังคมเท่านั้นล่ะ

แล้วพอกิเลสมันดิบเถื่อนอยู่แล้วนะ แล้วถ้ามันโดนกิเลสมันหักด้วยนะ โอ้โห มันแช่ไว้จนเสียหาย จนเน่าเฟะไปเลย แต่ถ้าเราพุทโธ เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิแล้วเราฝึกปัญญาของเรา มันจะหลอกเราไม่ได้เลยนะ มันเป็นการฝึกหัดให้จิตนี้ตื่นตัว มันเป็นปัจจัตตัง มันเป็นการประพฤติปฏิบัติขึ้นมา พอจิตมันตื่นตัวขึ้นมาเห็นไหม พอจิตสงบบ้างเล็กน้อยหัดฝึกใช้ปัญญา ปัญญาในอะไร ปัญญาก็ตรึกในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง

เวลาเราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราซาบซึ้งจนน้ำตาเล็ดน้ำตาไหลนะ แต่เวลาเกิดปัญญาขึ้นมา เวลาพิจารณาขึ้นมา ฝึกหัดใช้มันเห็นไหม เราต้องฝึกหัดปัญญา ถ้าปัญญามันฝึกหัดขึ้นมา มันซาบซึ้งกว่า มันซาบซึ้งกว่าเพราะเหตุใด เห็นไหม เราเห็นคนอื่นกินอาหารกับเรากินอาหารมันแต่ต่างกันอย่างไร เราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันเป็นอาหาร เป็นสัจธรรม เป็นธรรมและวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ใช่.. เราเป็นสาวก สาวกะ เราต้องศึกษาแน่นอน

เราศึกษามาเพื่อเป็นทฤษฎี เราศึกษามาเพื่อเป็นแนวทาง เป็นบาทฐาน ที่เราจะฝึกหัด แต่เราฝึกหัดขึ้นมา พอจิตเราสงบขึ้นมา เราฝึกหัดใช้ปัญญา นี่ข้าวใคร? เราดูคนอื่นกินข้าวกับเรากินข้าวเองมันแตกต่างกันอย่างไร เห็นคนอื่นเขากินอาหารกัน เขากินขนมนมเนย โอ้โห อร่อยมาก แต่น้ำลายสอไม่เคยกินซักที แต่เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมาเห็นไหม เราได้ดื่มกิน เราได้ลิ้มรสของเราเอง มันแตกต่างกันอย่างไร ถ้ามันแตกต่างกัน กิเลสมันจะหลอกเราได้ไหม

แต่ถ้าเราไม่เคนได้ลิ้มรส เราไม่เคยได้กระทำเลย แล้วก็บอกเรารู้ๆ รู้อย่างนั้นกิเลสมันหักดิบๆ ดิบเถื่อนเลย! เพราะมันไม่รู้อะไรเลยไง มันไม่รู้อะไรเลย เห็นคนอื่นเขากินอยู่ แล้วเขาอธิบายมาว่ามันมีคุณค่าอย่างไร มันอร่อยอย่างไร ทางวิชาการเขาว่าสิ่งนี้มันจะอย่างนั้น เราก็โม้ตามไปเรื่อยเลย มันไม่เคยได้อะไรกับเขาเลย นี่กิเลสมันหักเอา

กิเลสมันหักเอาใจดวงนี้ไม่ได้สัมผัสอะไรเลย ใจดวงนี้ไม่เคยได้สัมผัสความจริงอะไรเลย นี่กิเลสมันหักเอา!

แต่ถ้าเรามีสติปัญญาของเราเห็นไหม เราจะฝึกหัดของเราเห็นไหม ตั้งสติเห็นไหม เราก็ได้ลิ้มรสมัน แต่ถ้ามันเกิดความสงบของใจ แล้วเราใช้ใจเราออกฝึกหัดปัญญา ออกฝึกออกใช้ ออกตรึกในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรึกในสัจธรรม ตรึกในคุณค่าของสติ ไม่มีสติแตกต่างกันอย่างไร ตรึกในสมาธิ สมาธิมีคุณค่าอย่างไร ตรึกอย่างนี้แหละ พอมันตรึกขึ้นมามันมีคุณค่า นี่หัดฝึกใช้ปัญญา ปัญญามันจะเกิดอย่างนี้

ถ้าปัญญามันเกิดขึ้นมาเห็นไหม มันซาบซึ้งใจ เพราะเราศึกษามา ทุกคนก็ศึกษาหมด เราเป็นชาวพุทธด้วยกันนะ เราเป็นชาวพุทธเราก็ศึกษาธรรมะมาด้วยกันทุกคน แล้วเราก็ได้อ่านมาทุกคน กับเวลาจิตมันสงบ กับเวลาจิตได้สัมผัส คนที่จิตสงบจิตสัมผัส เขาจะเห็นความแตกต่าง เขาจะซาบซึ้งกว่า นี่ไงปริยัติ ปฏิบัติ ผู้ที่ปฏิบัติ เขาจะได้ลิ้มรส เขาจะได้สัมผัส แล้วกิเลสมันจะมาหักดิบๆ ไม่ได้!

กิเลสมันเริ่มโดนสัจธรรม เริ่มโดนสติ เริ่มโดนปัญญาที่มันเริ่มถากถาง ให้หัวใจนี้เป็นอิสรภาพ ให้หัวใจดวงนี้มันได้มีทางก้าวเดินออกไปจากใจของมัน ถ้าใจดวงนี้ได้ก้าวเดิน ได้พิจารณาของใจดวงนี้เห็นไหม มันจะเป็นสมบัติของใจดวงนี้ กิเลสของใคร ในดวงใจของใคร มันหักดิบ กลบเกลื่อน ปิดบังจิตทุกๆ ดวง กิเลสไม่เคยไว้หน้าใคร กิเลสไม่เคยอ่อนข้อให้หัวใจดวงใด ไม่มีใครมีสิทธิพิเศษ ไม่มีใครมีโอกาสพิเศษจากกิเลสเลย พญามารในหัวใจจะไม่ให้โอกาสใครทั้งสิ้น!

การกระทำจากใจของเรา การกระทำจากสิ่งที่เราได้สร้างอำนาจวาสนากันมา เรามีสติปัญญา เราแก้ไขของเรา เราถึงจะมีโอกาสของเรา ถ้าเรามีโอกาสของเราเห็นไหม เราทำของเราได้สัมผัสของเรา อย่างนี้มันตื่นตัวขึ้นมา คุณธรรมมันเกิดอย่างนี้ ถ้าคุณธรรมเกิดอย่างนี้นะ เราใช้ปัญญาของเรา หัดฝึกหัดใช้ปัญญา พอปัญญามันใคร่ครวญแก้ไขเห็นไหม มันซาบซึ้งไหม ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ คนที่ได้สัมผัสอย่างนี้ กับผู้ที่สัมผัสอย่างนี้ ได้มองตากันมันจะซาบซึ้งมาก ซาบซึ้งไง พูดไม่ออก

ถ้าคนได้สัมผัสเหมือนกันนะ มองตากันนะ พูดอะไรไม่ออกเลย แต่ถ้าไปพูดให้คนที่เขายังไม่ได้สัมผัสนะ เขาก็ต้องพูดไปด้วยการปิดกั้น การหักดิบของกิเลส ถ้าเราไปเชื่อเขาเราจะเสียโอกาส แต่ถ้าเรามีครูบาอาจารย์ผู้เป็นคนยืนยัน แล้วเราทำตามความเป็นจริงของเรานะ เราฝึกหัดใจของเรา ให้มันเจริญงอกงามขึ้นมา ให้มันเติบโตขึ้นมา ถ้าจิตใจเติบโตขึ้นมาเห็นไหม

ธรรมเกิดได้แสนยาก ธรรม มีการกระทำเห็นไหม ธรรมที่เราได้ฟังได้ศึกษากันมา มันเป็นชื่อ มันไม่ใช่สัจธรรมที่เกิดขึ้นมาจากใจของเรา ถ้าใจของเราเกิดขึ้นมาเห็นไหม เวลาทุกข์ร้อนใครเป็นคนทุกข์ร้อน เวลาเราศึกษาธรรมขึ้นมาเห็นไหม มันเข้าใจ สติมันก็ปล่อยวางได้ แต่ขณะที่เราทำสมาธิได้ เรามีสติ เรามีสมาธิ แล้วเกิดปัญญาใคร่ครวญขึ้นมา ธรรมแบบนี้มันมาจากไหนล่ะ มันมาจากการวิริยะอุตสาหะมีการกระทำของเราขึ้นมา แล้วสิ่งนี้มันจะเป็นพยาน มันเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโกของใจดวงนั้น

ถ้าใจดวงนั้นได้ทำขนาดนั้นแล้วนะ เราจะต้องมีจุดยืนของเรา อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา เราจะไม่คบคนพาล เราจะคบบัณฑิต จิตใจเวลามันประพฤติปฏิบัติขึ้นมา มันมีหลักมีเกณฑ์ของมัน ได้สัมผัสของมันก็จริงอยู่ แต่กิเลสอย่างละเอียด ขณะที่เราทำขึ้นมาด้วยเป็นบาทฐานเรายังทุกข์ยากขนาดนี้ “แล้วเราจะก้าวเดินไปไหวไหมนะ เราจะมีโอกาสไหมนะ” กิเลสอย่างละเอียดนะ กิเลสที่มันละเอียดกว่ามันก็ทิ่มตำตลอดเวลานะ

ฉะนั้นสิ่งที่เราปฏิบัติแล้วเราถึงต้องรักษาใจของเรา เราจะรักษาใจของเรา เราจะคบหมู่คณะที่มีการประพฤติปฏิบัติขึ้นมา จะชักจูงกัน จะดึงกันขึ้นไป ดึงกันขึ้นไปเพื่อสู่ความจริงของเรา

ฉะนั้นเราทำของเราไป ปฏิบัติบ่อยครั้งเข้าๆ จนมีปัญญานะ มันจะทำได้ง่ายขึ้น เหมือนกับประสบการณ์การทำงาน ถ้าใครไปทำงานมีประสบการณ์ จะทำได้สะดวกขึ้น ง่ายขึ้น บ่อยครั้งขึ้น คนไม่เคยทำงาน ทำได้ครั้งแรก แล้วครั้งต่อไปเห็นไหม มันก็ยัง เคอะๆ เขินๆ ยังทำไม่ได้สะดวก แต่ถ้ามีความชำนาญนะ มันจะมีความชำนาญมากขึ้น เห็นไหม ในการประพฤติปฏิบัติเขาเรียกชำนาญในวสี ชำนาญในการเข้าออก

สมาธิถ้ามันมีขึ้นมา แล้วเราฝึกหัดใช้ปัญญา ถ้ามันออกใช้ปัญญามันจะแยกแยะของมัน แยกแยะของมันเห็นไหม แยกแยะขนาดไหนนะ มันเป็นที่อำนาจวาสนาของแต่ละบุคคล ไม่ต้องเทียบเคียงกับใคร หน้าที่ของเราเห็นไหม หน้าที่ของเราเหมือนวัวงาน หน้าที่หว่าน หน้าที่ไถ หน้าที่ต่างๆ เราทำแต่งานของเรา หมั่นเพียรในงานของเรา แล้ววัดกันที่ปัจจัตตัง หัวใจมันจะเปิดกว้าง หัวใจของมัน มันมีการกระทำ มันจะสะดวกของมัน ถ้ามันสะดวกได้มันทำได้เห็นไหม มันจะงอกงามขึ้นมา

สิ่งที่งอกงามขึ้นมานะ ถ้ามันไม่มีการกระทำอย่างนี้ เวลาเราศึกษาธรรม เราเข้าใจธรรม ด้วยสัญญาอารมณ์ มันเป็นการสัญญา สัญญาอารมณ์เป็นอย่างหนึ่ง แต่เวลาเป็นความจริงเป็นแบบอย่างหนึ่ง แล้วพอเป็นความจริงนะ เราพูดความจริงได้ไหมล่ะ พูดไม่ถูกนะ เวลาเป็นความจริงเราพูดไม่ถูกเห็นไหม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับพระปัจเจกพุทธเจ้าไง บอกว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วพูดได้สอนได้ พระปัจเจกพุทธเจ้ารู้จริงแต่สอนไม่ได้ แม้แต่ปัจเจกพุทธเจ้านะ แต่ปัจเจกพุทธเจ้าก็รู้จริงๆ แต่ก็รู้ท่านก็สอนด้วยความรู้ของท่านนี่แหละ

แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบัญญัติศัพท์ ฉะนั้นเราไปจำศัพท์มา จำศัพท์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา เวลาใจเราเป็น อื้ม มันเข้ากันได้ไหม นาย ก. กับชื่อนาย ก. ชื่อนาย ก.มันอยู่ที่ทะเบียนบ้านนะ มันมีตัวเลข ๑๓ ตัวนะ แต่ตัวนาย ก. ตัวนาย ก.รูปร่างเป็นอย่างไร นี่ก็เหมือนกันเวลาจิตเราเป็น พูดถึงเวลาคนเป็นเห็นไหม เวลาจิตมันสัมผัสขึ้นมา มันพูดออกมาแทบไม่ได้เลยล่ะ แต่ถ้าครูบาอาจารย์สบตาก็รู้กันนะ สบตานี่รู้เลย

ฉะนั้น สิ่งที่ทำเราขยันหมั่นเพียรของเราขึ้นไป ถ้าหมั่นเพียรขึ้นไปเห็นไหม จิตมันจะเปิดกว้างขึ้น.. เปิดกว้างขึ้น แล้วทำของเรามากขึ้น.. สิ่งที่ทำต้องทำจริงๆ นะ ทำจริงๆ จะได้ผลจริงๆ ถ้าได้ผลจริงๆ ทุกข์ยากไหม? คำว่าทุกข์ยาก องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารื้อสัตว์ขนสัตว์ ก็อยากจะให้สัตว์โลกเปิดทางทำด้วยความสะดวก แต่ทำด้วยความสะดวกเห็นไหม อยากรื้อสัตว์ขนสัตว์ เมตตามากไม่อยากให้ใครทุกข์ใครยาก แต่คำว่าใครทุกข์ใครยากมันก็อยู่ที่จริตนิสัยของเขาเห็นไหม อยากรื้อสัตว์ขนสัตว์ ทีนี้คำว่ารื้อสัตว์ขนสัตว์มันก็ต้องรื้อตามความเป็นจริง ดูสิ เราไปซื้อของในตลาดเห็นไหม เราไปซื้อถ้าเขาโกงน้ำหนักเรา เราพอใจไหม มันน้ำหนักขนาดไหนใช่ไหม ตามแต่การชั่งตวงวัด ได้ขนาดไหนก็ขนาดนั้น มันเป็นความจริง

แต่ถ้าเราไปตลาดแล้วชั่งตวงวัด มันไม่ได้มาตรฐาน แล้วมันคดโกงหมดเลย เราพอใจไหม เราก็ไม่พอใจ จิตเวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมาแล้ว ชั่งตวงวัดหมายถึงว่าตามข้อเท็จจริง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุกข์ตรมขมใจ เศรษฐีกุฎุมภี เวลาซื้อของ หนึ่งน้ำหนัก ๑ กิโลก็ ๑ กิโลเท่ากัน

การประพฤติปฏิบัติ ทุกคนปฏิบัติ “ศีล สมาธิ ปัญญา” มันมีค่าเท่ากัน ถ้ามีค่าเท่ากันมันไม่ได้ที่ว่าใครรวยใครจน มันวัดกันที่ว่าถ้ามรรคสามัคคี มรรคความสมดุลของจิต จิตถ้ามันสมดุลของมัน มันก็มีค่าเท่ากัน มีค่าเท่ากับน้ำหนักนั้นไง

น้ำหนัก ๑ กิโล ความยาว ๑ กิโล ความยาวเท่าไหร่ มันอยู่ที่ค่า อยู่ที่น้ำหนักนั้น อันนี้มันเป็นข้อเท็จจริง

ฉะนั้นเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ มันอยู่ที่สัตว์นั้น อยู่ที่สัตตะ สัตว์ผู้ข้องนั้นนะ ต้องมีน้ำหนักมีข้อเท็จจริงตามนั้น สัตว์นั้นมันถึงจะพ้นจากทุกข์ สัตว์นั้นมันถึงจะได้รับการรื้อสัตว์ขนสัตว์ ขนให้สัตว์นั้นพ้นไปจากความถ่วงหนักในหัวใจ สิ่งที่กิเลสตัณหาทะยานอยากมันถ่วงมันกดเห็นไหม มันทั้งหักดิบ มันทั้งครอบงำ มันทั้งมีการกระทำร้อยเล่ห์ มีเล่ห์เหลี่ยมแสนงอนของมันในใจ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพยายามชี้นำ ชี้บอกเราเห็นไหม

การรื้อสัตว์ขนสัตว์ รื้อสัตว์ขนสัตว์ที่คุณภาพผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ รื้อสัตว์ขนสัตว์ เรามีความมุมานะ ความอุตสาหะได้แบบนั้นไหม ถ้าได้แบบนั้น นี่พูดถึงว่า ความรื้อสัตว์ขนสัตว์ แต่เราก็บอกว่ารื้อสัตว์ขนสัตว์ก็ต้องการผู้ชี้นำเรา ต้องการบอกเรา จะบอกเราไม่บอกเราก็ชั่งตวงวัดนั้นนะ

น้ำหนักของมรรค น้ำหนักของ ศีล สมาธิ ปัญญา มรรคสามัคคีนะ คำว่ามรรคสามัคคี เวลาความสมดุล มรรคสามัคคี คือ มัชฌิมาปฏิปทา แต่ถ้าในการประพฤติปฏิบัติของเราเห็นไหม อัตตกิลมถานุโยค คือความกระทำที่เข้มข้น กามสุขัลลิกานุโยค การกระทำที่เป็นความหละหลวม

ความเข้มข้นกับความหละหลวม ความพอดีมันไม่มี แต่ถ้าความเข้มข้นกับความหละหลวมเห็นไหม “ทเวเม ภิกฺขเว ภิกษุทั้งหลาย ทางสองส่วนที่ไม่ควรเสพ” ทางที่เข้มข้นเกินไปมันก็รัดตึงเกินไป ความที่หละหลวมเกินไป กามสุขัลลิกานุโยค ก็ไม่เป็นประโยชน์กับสิ่งใด มันเป็นประโยชน์กับโลกๆ สามัญสำนึกของเขา ความสะดวกความสบาย ความเคยชินเห็นไหม กามสุขัลลิกานุโยค

อัตตกิลมถานุโยค มรรคสามัคคี มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง มันไม่ใช่ทางสายกลางของกิเลสนะ ไม่ใช่ทาง ๓ สายแล้วก็มาเลือกเอานะ นั่นสายทางซ้าย สายทางขวา เราจะเลือกเอาทางสายกลาง นี่ไงกิเลสมันหักแล้วล่ะ ทางสายกลางคือทางเลือกที่เราจะเลือกสายกลาง เพราะสายกลางเราก็ว่า สายนั้นตกขอบซ้ายขวา เราจะเข้าลงสายกลาง มันไม่ใช่มาตราชั่งตวงวัด ชั่งตวงวัดคือกิเลสตัณหาของใคร คือน้ำหนักของใคร

ฉะนั้นสิ่งที่มัชฌิมาปฏิปทานะ เวลาจิตมันมรรคสามัคคี ความสมดุลในการฝึกหัด ในการฝึกหัดถ้าจิตมันตื่นตัวขึ้นมามา จิตมันมีสัมมาสมาธิ เวลามันพิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต พิจารณาธรรม มันปล่อยเวทนามาบ้าง ปล่อยกายมาบ้าง ปล่อยจิตมาบ้าง การปล่อยมามันไม่สมดุล เห็นไหม การปล่อยมา ปล่อยด้วยสติ คราวนี้มีสติดี พิจารณาแล้วมันวาง คราวนี้สมาธิดี พิจารณาแล้วมันวาง คราวนี้ปัญญาพิจารณาแล้วมันนุ่มนวลมากเห็นไหม พอมีปัญญานุ่มนวลมาก ปัญญามันเกิดขึ้นมาจากอะไร ปัญญามันเกิดขึ้นมาจากสมาธินะ

ถ้าไม่มีสมาธิมันจะหมุนปัญญามาได้อย่างไร ถ้ามันไม่มีสมาธิเวลาปัญญามันเกิด มันก็เกิดเป็นการเข้มงวดเกินไป กลายเป็นแบบว่าหละหลวมเกินไป หละหลวมนะ ปัญญาพิจารณาไปแล้วมันก็หลักลอย เข้มงวดเกินไป พิจารณาไปแล้วมันก็อั้นตู้ เห็นไหมถ้ามีสัมมาสมาธิขึ้นมามันก็สมดุล ความสมดุลเห็นไหม งานชอบ เพียรชอบ ทุกอย่างสมดุล พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่ามันปล่อยวางขนาดไหนก็แล้วแต่ มันปล่อยวาง ปล่อยวางด้วยความหนักไปทางเข้มข้น หนักไปทางการหละหลวม มันปล่อยเหมือนกัน

แต่มันปล่อยโดยไม่ชอบ มันปล่อยโดยที่ยังมีกิเลสเหลืออยู่ มันปล่อยโดยมีสิ่งที่ตกค้างในหัวใจ มันไม่ได้ถอดถอนไปทั้งนั้น แต่เราฝึกหัดเรามีการกระทำบ่อยครั้งเห็นไหม นี่ไงการฝึกหัด เราฝึกหัดปัญญามาตั้งแต่ต้น เราฝึกหัดการใช้ปัญญามาโดยที่จิตสงบแล้วฝึกหัดใช้ปัญญามา

ปัญญามันจะมีหลักมีเกณฑ์ของมัน มันมีมรรคสามัคคี มันมีมรรคญาณเป็นสิ่งที่รองรับ มันเป็นธรรมจักร มันไม่ใช่กงจักร! กงจักรทำให้เราเจ็บช้ำน้ำใจ กงจักรทำให้เจ็บปวดแสบร้อน แต่เวลาเป็นธรรมจักรเห็นไหม มันจะเข้าสู่มัชฌิมาปฏิปทา มัชฌิมาปฏิปทามันคือทางสายกลาง ทางสายกลางคือความสมดุล ความสมดุลของการฝึกหัด ความสมดุลของการทำศีล สมาธิ ปัญญา ความสมดุลในการพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม ความสมดุลในการพิจารณากิเลสตัณหาความทะยานอยากในหัวใจ พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ จนมันสมดุล มันก็ลงสู่มัชฌิมาปฏิปทา

มัชฌิมาปฏิปทามันเกิดจากการกระทำ มัชฌิมาปฏิปทาไม่ใช่ว่าให้มีสิทธิเลือก ไม่ตกข้างซ้ายไม่ตกข้างขวา จะไปทางสายกลาง คนมันดีแต่กลาง พูดแต่ทางสายกลาง นั่นล่ะ กิเลสมันหักดิบๆ หักให้พูดอย่างนั้น แต่มันไม่เกิดจริง!

แต่ถ้ามันเกิดจริง พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนมรรคสามัคคีเห็นไหม สมดุลรวมตัวแล้วสมุจเฉทปหานกิเลสขาดออกไปจากใจ! เห็นไหม แยกออกเป็น ๓ ทวีปเลย จิตนี้รวมลงเห็นไหม

“ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕, ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕”

สิ่งต่างๆ สักกายทิฐิ ๒๐ ขาด ทุกอย่างขาด ความสมดุล ความขาดขาดไป จิตนี้รู้ตัวของมันเอง จิตนี้ตื่นตัว จิตนี้รับความเห็น มันเป็นกุปปธรรม-อกุปปธรรม มันเป็นสัจธรรม มันเป็นความจริง จากจิตที่ว่ากิเลสมันหัก ชำระได้.. แก้ไขได้.. เพื่อประโยชน์กับจิตดวงนั้น เอวัง