เทศน์บนศาลา

ธรรมะอ่อนหัด

๓o ก.ค. ๒๕๕๔

 

ธรรมะอ่อนหัด
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๔
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

เราแสวงหา เราตั้งใจ เราลงทุนลงแรงกันขนาดนี้ ดูสิทางโลกเขาอยู่สุขสบาย ทำไมเราต้องมาแสวงหาของเรา เวลาเราอยู่บ้านอยู่เรือนเห็นไหม เวลาเราสวดมนต์ ก่อนนอนเราสวดมนต์ไหว้พระ เสร็จแล้วนั่งสมาธิภาวนา เราก็แสวงหาอยู่ เราเกิดมาเป็นคน เรามีปัญญาของเรา ดูสิ เวลาคนเขาเกิดมาเห็นไหม มนุสสติรัจฉาโน เป็นมนุษย์แต่จิตใจเหมือนสัตว์ ไม่รู้จักที่สูงที่ต่ำ

เราเกิดมาเป็นมนุษย์นะ มนุสสเทโว ถึงจะเกิดเป็นมนุษย์นะ แต่จิตใจมันเป็นเทวดา เป็นพรหม สิ่งต่างๆ นี้ จิตใจของเรา เราอุตส่าห์แสวงหา เกิดมามีค่าเท่ากัน คนเกิดมาชีวิตเหมือนกัน มีปากมีท้องเหมือนกัน สุขทุกข์เหมือนกัน ไม่มีใครสูงกว่าใครหรอก แต่มันจะสูงมันสูงที่หัวใจนี้ ถ้าหัวใจมันรู้จักแสวงหาของมัน แล้วมันปฏิบัติเห็นไหม เราอุตส่าห์มาเห็นไหม อุตส่าห์มาเพื่อฟังธรรม ถ้าฟังธรรมแล้ว เราลงทุนลงแรงมาแล้ว ของแค่นี้ มันห่วงหน้าพะวงหลังไปหมดเลย

โลกเป็นโลกนะ ถ้าเราจะร่ำรวย เราจะติดต่อธุรกิจของเรา มันก็ร่ำรวยมานานแล้วแหละ มันไม่ใช่มาร่ำรวยตรงที่จะพูดครั้งสองครั้งเท่านั้นหรอก ฉะนั้นสิ่งนี้ทำไมเราเสียสละกันแค่นี้ไม่ได้ แล้วเราไม่รู้ถึงความรู้สึกคนอื่นบ้างเลยหรือ ถ้ามันคิดถึงคนอื่นบ้าง เขารำคาญ! แล้วมันไม่มีใครบอกไม่มีใครว่า ถ้าเขารำคาญเห็นไหม อย่างนี้จิตใจของคนมันคิดได้ ถ้ามันคิดได้เห็นไหม อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ถ้าใครคิดได้เห็นไหม คนคนนั้นเราพอใจเราคิดได้ เราเลือกเฟ้นของเราเองได้

แต่คนคิดไม่ได้นะ ลงปฏักขนาดไหนก็หาว่าเขาเบียดเบียน เขาลำเอียง เขาไม่พอใจ เวลาคนคิดไม่ได้มันพาลไปหมดนะ นี่จิตใจคนอ่อนแอ ถ้าจิตใจคนเข้มแข็งนะ ในสมัยพุทธกาลนะ สามเณร ๗ ขวบเป็นพระอรหันต์ สามเณร ๗ ขวบทำไมเขาเป็นพระอรหันต์ได้ คำว่าสามเณร ๗ ขวบเป็นพระอรหันต์นะ จิตใจเขาต้องเข้มแข็งมาก จิตวิญญาณของเขาเข้มแข็งมีหลักการ เพราะคำว่าเป็นพระอรหันต์มันต้องมีสติปัญญาขนาดไหนถึงจะมีคุณสมบัติเป็นพระอรหันต์ได้ จิตใจเขาเข้มแข็ง เขาถึงใฝ่ดีของเขา จิตใจของเขานะ เขารักษาของเขาได้

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา มันมาจากไหนล่ะ มันมีเหตุมีผลของมัน มรรคญาณ อริยสัจ สัจจะความจริง มันต้องมีการกระทำขึ้นมา มันถึงจะเป็นอริยสัจ เป็นสัจจะความจริง เป็นสิ่งที่ชำระกิเลสในหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุข เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าออกเผยแผ่ธรรมเห็นไหม มันมีพยานต่อกัน มันมีความจริงต่อกัน

แต่ในปัจจุบันนี้เวลาจิตใจเราอ่อนแอ จิตใจไม่มีหลักมีเกณฑ์ เวลาศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันก็ตู่ไปหมดว่ามันรู้มันเข้าใจทั้งนั้น เพราะจิตใจมันอ่อนแอ ถ้าจิตใจมันเข้มแข็งนะ คำว่าเข้มแข็ง ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ ศาสดาของลัทธิต่างๆ บอกว่าใช้ได้ ดีไปหมด แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจิตใจเข้มแข็ง พอจิตใจเข้มแข็งขึ้นมามันรู้ถูกรู้ผิดไง

สิ่งใดถูกสิ่งใดผิดจิตใจนั้นนะรู้ นี่ก็เหมือนกัน จิตใจของเรา เราก็รู้อยู่ว่าเกิดมาในชาตินี้ เกิดเป็นมนุษย์แสนทุกข์แสนยาก จะมั่งมีศรีสุข จะทุกข์จนเข็ญใจขนาดไหนก็แล้วแต่ ถึงที่สุด ความทุกข์ที่ละเอียดที่สุดคือการอาลัยอาวรณ์ การพลัดพราก การต้องจากสิ่งที่เรารักที่เราหวง สุดท้ายความทุกข์อย่างนี้ เพราะมันเป็นความพลัดพรากเป็นความจากเท่านั้นเอง

แต่ที่มันทุกข์อยู่นี้มันไม่ใช่ความพลัดพราก มันโทสะ โมหะ มันลุ่มหลงไปหมดเลย กิเลสหยาบๆ มาก พอสิ่งที่หยาบๆ มาก เวลาเราพิจารณาของเรา เราจะภาวนาของเรา เราไปเชื่อสิ่งนี้ได้อย่างไร เพราะจิตใจมันอ่อนแอมันเชื่อสิ่งนี้ไปหมดเลย แต่ถ้าจิตใจเข้มแข็งใช่ไหม สิ่งนี้มันคืออะไรล่ะ กิเลสเวลามันออกหาเหยื่อมันจะออกไปที่ไหน กิเลสเป็นนามธรรม มันก็อาศัยความรู้สึกนึกคิดเรานี่แหละออกหาเหยื่อ มันก็อาศัยความเคยใจของเรานี่แหละ ใจเราคิดกระดิกพลิกแพลงขนาดไหนกิเลสมันเอาสิ่งนี้ใช้ออกหาผลประโยชน์ของมันทั้งนั้นเลย

สิ่งที่มันจะใช้ออกหาประโยชน์ของมันเพราะอะไร เพราะมันเกิดอยู่กับเราใช่ไหม มันเกิดอยู่กับเรา แล้วเราเอาสิ่งนี้ไปศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยความอ่อนแอ! ด้วยความอ่อนแออ่อนหัด การฝึกหัดไม่มีความเข้มแข็ง ถ้ามีความเข้มแข็งขึ้นมา ดูสิ สามเณรน้อยอายุ ๗ ขวบเห็นไหม จิตใจเขาต้องเข้มแข็งนะ ถ้าจิตใจไม่เข้มแข็งมันฝืนกิเลสในใจของตัวเองไม่ได้ มันฝืนกิเลสในหัวใจขึ้นมา ตั้งหลักขึ้นมาได้อย่างไร หัวใจเข้มแข็งขึ้นมาได้อย่างไร

เวลาทำความสงบของใจนะ ครูบาอาจารย์ของเราบอกว่า ต้องทำความสงบของใจเสียก่อน ถ้าทำความสงบของใจก่อน นั่นล่ะกิเลสมันจะเปิดโอกาสให้จิตใจนี้ได้ก้าวเดิน จิตใจนี้ได้ทำงาน แต่เวลาไม่ได้ทำความสงบของใจเข้ามาก่อน เห็นไหม เราก็ใช้ปัญญาของเรา ใช้ปัญญาของเรา มันอ่อนหัด! ธรรมะอ่อนหัด! อ่อนหัดอย่างไร อ่อนหัดเพราะให้กิเลสมันหลอกไง

ธรรมะอ่อนหัดนะ เวลาพูดถึงตรึกในธรรมๆ ธรรมของใคร? มันเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วจิตใจเรามันมีหลักมีเกณฑ์อะไรขึ้นมา มันล้มลุกคลุกคลานไปกับสัญญาอารมณ์ มันเป็นสมมุติ มันเป็นโลก มันเป็นโลกเพราะอะไร เพราะความคิดมาจากใจ ความคิดมาจากกิเลส ความคิดมาจากตัณหาความทะยานอยาก ความคิดปัญญาที่ใช้อยู่นี้เป็นปัญญาของกิเลสที่กิเลสมีอำนาจเหนือกว่า แล้วใช้สิ่งนี้ออกไป แล้วมันบังเงาไว้อยู่ข้างหลัง มันบังเงาว่าสิ่งนี้เป็นธรรม สิ่งนี้เป็นธรรม

แล้วจิตใจที่มันอ่อนหัด จิตใจที่มันไม่มีชั่วโมงบิน มันก็เชื่อไปหมดเลยเห็นไหม เพราะจิตใจมันอ่อนหัด แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นไหม ไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ ไปศึกษากับเขา ไปปฏิบัติกับเขา เขายกย่องสรรเสริญนะ “เจ้าชายสิทธัตถะ มีความรู้เสมอเรา มีความเห็นเหมือนเรา เป็นศาสดาได้ สอนได้” เขายกย่องสรรเสริญ เขาเชิดชูขนาดไหน เจ้าชายสิทธัตถะไม่สนใจเลย “ไม่ใช่! ไม่ใช่! ” นี่จิตใจที่เข้มแข็ง ใครจะมาเยินยอ ใครจะมาสรรเสริญ ถ้ามันไม่เป็นความจริงมันก็ไม่เป็นความจริง เพราะโลกธรรมนี้เป็นของเก่าแก่

นินทาสรรเสริญมันมีมาตั้งแต่สมัยไหนอยู่แล้ว แล้วเขาจะมายกย่องสรรเสริญ มันยกย่องสรรเสริญใครล่ะ ยกย่องสรรเสริญกิเลสของเราด้วย เพราะกิเลสเราเต็มหัวใจ พอกิเลสเต็มหัวใจ พอเขามายกย่องสรรเสริญ เราก็รู้ของเรา แต่เราก็รู้ของเราเพราะจิตใจเรามีกิเลสเต็มหัวใจใช่ไหม เขายกย่องสรรเสริญขนาดไหน เพราะจิตใจเราเข้มแข็ง จิตใจเรามีหลักมีเกณฑ์เราจะไม่เชื่อสิ่งนี้ แต่จิตใจเราอ่อนแอล่ะ จิตใจเราอ่อนแอ จิตใจเราไม่มีกำลังเลย เราจะคล้อยตามเขาไปหมดเลย เนี่ยมันอ่อนหัด! มันอ่อนหัดนะ

โลกถ้ามันอ่อนหัด เราจะอยู่กับโลกเขาไม่ได้หรอก เราจะเข้มแข็งขึ้นมา ถ้าเราจะมีหลักเกณฑ์ขึ้นมา จิตใจเราต้องเข้มแข็ง จิตใจเราต้องมีหลักมีเกณฑ์ จิตใจเราต้องมีสติปัญญา เราจะเชื่อใครไม่ได้ เราเชื่อใครไม่ได้หรอก ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ เรื่องศรัทธาความเชื่อ เพราะเราเป็นมนุษย์ เราต้องมีครูมีอาจารย์ เราต้องมีคนชี้นำเห็นไหม มีการศึกษาเห็นไหม เวลาการศึกษา เราเป็นเด็กเห็นไหมเราศึกษากับใครก็แล้วแต่ เราศึกษาไปการศึกษาของเราจะรุดหน้าไปกว่าอาจารย์ของเราก็ได้

ดูสิสถาบันไหนก็แล้วแต่ พอศิษย์เก่าของเขาไปประสบความสำเร็จมา เขากลับมาสถาบันของเขา เขาจะจัดการต้อนรับ เขาจะภูมิใจกันเห็นไหม ดูสิมีการศึกษา เขาศึกษาจนสถาบันนั้นเขาให้เกียรติเลย นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเรามีการศึกษาของเรา มีการประพฤติปฏิบัติของเราขึ้นมา มันต้องมีเหตุมีผลสิ ถ้าจิตใจเราอ่อนแอนะ อ่อนหัด แล้วมันหลงไปในกิเลส ถ้าเรามีสติปัญญา เราอยากประพฤติปฏิบัติ อยากได้ความจริง เราจะไม่เชื่อใคร เราไม่เชื่อใคร

กาลามสูตรเห็นไหม เราต้องปฏิบัติของเรา เราต้องทำความจริงของเราให้เกิดขึ้นมา เวลาเราทำความสงบของใจนะ ถ้าเราทำความสงบของใจ ถ้าจิตใจมันอ่อนแอ มันอ่อนหัดของมัน เวลามันตกภวังค์ เราจะไม่รู้เลยว่า ตกภวังค์นี้เป็นอย่างไร ถ้ามันรู้ว่าตกภวังค์นี่นะ การตกภวังค์นี้มันตกไปสู่ความมืดบอด ตกไปสู่ความเป็นมิจฉาในหัวใจ กิเลสมันพลิกแพลงเอาสติของเราไปอยู่ในอำนาจของมัน เวลาเราทำความสงบของใจขนาดไหนก็แล้วแต่ มันจะหายของมันไปโดยที่เราไม่รู้ตัวเลย ถ้ามันมีสติปัญญา ถ้ามันเข้มแข็งขึ้นมา มันทดสอบนะ เอ๊ะ มันเป็นเพราะเหตุใด

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า “ความสุขใดเท่าจิตสงบไม่มี” แล้วอย่างนี้มันเป็นความสงบระงับจริงหรือเปล่า เวลาพุทโธหรือใช้ปัญญาอบรมสมาธิอย่างไรก็แล้วแต่ ถ้าจิตมันตกภวังค์ไป มันหายไปเลยนะ มันหายไปเลย แล้วจะหายไปกี่ชั่วโมงก็ได้ หายอย่างไรก็ได้ สิ่งนี้เห็นไหม ถ้ามันอ่อนหัดมันก็หลงตัวเอง หลงว่าสิ่งนี้เป็นคุณธรรม สิ่งนี้เป็นความสงบระงับ

นี่ไง จิตใจที่มันอ่อนหัด จิตใจที่มันไม่มีชั่วโมงบิน จิตใจที่ไม่มีประสบการณ์สิ่งใดเลย เวลาทำสิ่งใดนะ เพราะมันลึกลับซับซ้อนใช่ไหม ดูสิเวลาเด็กมันใจแตก เด็กมันติดในแสงสีเสียงเห็นไหม มันจะไปประสาของมัน มันจะไปของมัน ดูสิถ้าจิตใจของติดการพนัน เขาจะฝืนใจของเขาได้ไหม นี่พูดถึงเขาติดเห็นไหม คำว่าติดทางโลกเราเห็นแล้วว่าสิ่งนั้นเวลาคนเขาติด เขาใช้ชีวิตของเขา สัพเพเหระไปตามแต่กิเลสมันขับดันในใจ

แต่คนที่เขามีสติปัญญา เขาเห็นว่าสิ่งนั้นมันไม่สมควรทำเลย สิ่งนั้นนะแค่มีสติปัญญามันก็ยับยั้งได้ ทำไมเขายับยั้งของเขาไม่ได้ นี่พูดถึงว่าจิตใจเข้มแข็ง จิตใจอ่อนแอมันแตกต่างกันอย่างนี้ แล้วเวลาจิตใจเราอ่อนแอเห็นไหม พอมันตกภวังค์ มันหายเราก็รู้ไม่ได้ เรารู้ไม่ได้ แล้วถ้ามีครูบาอาจารย์คอยชี้คอยแนะ ก็บอกครูบาอาจารย์ไม่ร่วมมือกับเราเลย เราทำสิ่งใดทำไมผิดไปหมดเลย

เวลาผู้ที่ประพฤติปฏิบัติใหม่ การประพฤติปฏิบัติใหม่มันก็มีความผิดพลาดเป็นธรรมดา แต่เรานะ ดูสิเวลาพระบวชใหม่ ในนวโกวาทเห็นไหม พระบวชใหม่ทนได้ยากกับคำสั่งสอน พระบวชใหม่ กิเลสของพระบวชใหม่ ความทุกข์ของพระบวชใหม่ ทนไม่ได้กับการสั่งการสอน เพราะว่าเป็นฆราวาสมาก่อนใช่ไหม เราอยู่ฆราวาสความรู้ความเป็นของเรามันเป็นเรื่องโลกๆ โลกเขาสอนกันเห็นไหม เขาก็มีมารยาทสังคม ยิ่งพ่อแม่สอนลูก ต้องเอาอกเอาใจ เพราะกลัวลูกของเรามันจะคิดต่อต้าน คิดอะไรต่างๆ ร้อยแปดพันเก้า ทีนี้มาบวชพระเห็นไหม เวลามาบวชพระมันละเอียดลึกซึ้งไปกว่านั้นอีก

สิ่งที่ถูกต้องมันเป็นกาลเทศะไหม มันถูกต้องตามธรรมวินัยไหม ถ้ามันถูกต้องตามธรรมวินัยแล้วนะ มันยังมีหยาบมีละเอียดเข้าไปในหัวใจไง ถ้าเราทำเข้าไปมันเป็นอย่างนั้นจริงเหรอ? มันเป็นอย่างนั้นจริงเหรอ? ประสบการณ์เท่านั้นที่มันจะสอนใจดวงนั้น ถ้ามันไม่มีประสบการณ์นะ เขาว่า “วิทยาศาสตร์” ไง ในแง่ทฤษฎีมันเป็นอย่างนั้น ในการกระทำของเราในเมื่อสูตรทฤษฎีมันเป็นอย่างนั้น ผลตอบรับมันก็ต้องเป็นอย่างนั้นสิ

แต่เวลาปฏิบัติไปแล้วไม่เป็นอย่างนั้นหรอก เพราะคำว่าโลกไง ธรรมละเอียดกว่าโลกลึกลับซับซ้อนนัก โลกเห็นไหม ดูทางวิชาการที่เขาทำกันทางวิทยาศาสตร์ที่เขาทดสอบกัน เขาก็ว่าละเอียดลึกซึ้งแล้วนะ ละเอียดลึกซึ้งแต่มันเป็นวัตถุไง มันเป็นทฤษฎีมันเป็นเรื่องของโลก มันเป็นวิทยาศาสตร์ มันเป็นโลก มันเป็นกรอบ มันเป็นสิ่งที่พิสูจน์แล้วเป็นอย่างนั้น ทางวิทยาศาสตร์นะ เขาทำทฤษฎีของเขา ใครทดสอบได้ ๒๕ เปอร์เซ็นต์ที่เข้าใจได้ ถือว่าทฤษฎีนั้นใช้ได้

สิ่งนั้นเป็นโลกไง แต่เวลาจิตมันพิจารณาของเรา เวลาเราทำความสงบของใจเข้าไป แล้วมันตกหายไปเลยนี่ มันเป็นอะไรล่ะ? มันตกภวังค์ไปแล้วมันเป็นอะไรล่ะ? แต่เราก็ว่ามันเป็นสมาธิ เพราะจิตใจมันอ่อนแอไง มันก็บอกว่านี่ไงจิตใจมันสงบแล้ว มันสงบแล้วได้อะไรขึ้นมา สงบแล้วมันมีสิ่งใดตอบสนองสิ่งใด สงบแล้วทำอย่างไรต่อไปล่ะ สงบแล้วก็สงบเล่าอยู่อย่างนั้นไง พอนั่งแล้วก็ตกภวังค์อยู่อย่างนั้นไง หายไปแล้วหายไปเล่า แล้วก็มาเรียกร้องเอาผลของมัน

เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมาทำแต่ความพอใจของตัว ทำแต่เรื่องกิเลสมันหลอกลวง ทำแต่เรื่องโลกๆ แต่เวลาผลของมันจะเอาธรรมะนะ เวลาคุยธรรมะกันปากเปียกปากแฉะน้ำลายแตกฟองเลย แต่ความเป็นจริงมันมีอะไรตกค้างในใจบ้าง ถ้ามันมีอะไรตกค้างในใจ คนนั้นต้องมีอะไรของมันขึ้นมา นี่ไง สามเณร ๗ ขวบเห็นพระอรหันต์ได้! สามเณร ๗ ขวบก็เป็นโสดาบัน เป็นสกิทาคามี เป็นอนาคามี เป็นพระอรหันต์ มันยังต้องก้าวเดินต่อไป จิตใจเข้มแข็งแก้ไขในเรื่องของใจเข้าไป ยังไปอีกมหาศาลเลย

เราเห็นไหม เราเป็นผู้ใหญ่ เราเป็นพระเราบวชอย่างน้อยต้อง ๒๐ ปีขึ้นไปถึงจะบวชพระได้ แล้วบวชพระขึ้นไป ประพฤติปฏิบัติขึ้นมาเห็นไหม วุฒิภาวะของเราสูงส่งขนาดไหน แล้วถ้าเป็นโยมปฏิบัติมา ปฏิบัติมากี่ปี ปฏิบัติมาซ้ำแล้วซ้ำเล่า ปฏิบัติก็นั่งสัปหงกใช่ไหม ปฏิบัติก็เพราะนั่งกันใช่ไหม ถ้ายังไม่ได้ปฏิบัติก็ถือว่าเราไม่ใช่ชาวพุทธเรายังไม่ได้ปฏิบัติ พอได้นั่งสมาธิแล้ว “ก็นั่งแล้วล่ะ นั่งแล้วก็จะนอนแล้วแหละ” ปฏิบัติให้มันได้กระทำเท่านั้นใช่ไหม

นี่ไง ถ้ามันอ่อนหัด ทำแล้วมันได้ประโยชน์สิ่งใดขึ้นมากับใจดวงนั้นบ้าง ถ้ามันไม่ได้ประโยชน์กับจิตใจดวงนั้นขึ้นมาบ้าง ทำไมไม่มีสติไม่มีปัญญา ถ้ามีสติมีปัญญาเราต้องแก้ไขสิ แก้ไขขึ้นมาเห็นไหม ถ้าเรากำหนดพุทโธให้ชัดๆ เราอดนอนผ่อนอาหารเพื่อตัดทอนกำลังของกิเลส เวลาเราขัดใจเรา เราเท่ากับขัดใจกิเลสนะ กิเลสมันอยู่ในหัวใจของเราใช่ไหม เราทำสิ่งใดสมความปรารถนา ทำสิ่งใดสมความคิด ความคิดสิ่งใด ความปรารถนาสิ่งใด แล้วเราตอบสนองมัน ทำแล้วเรามีความสุข

นี่ไง เราเดินตามกิเลส เราเดินตามอำนาจของมัน เราเดินตามเขาตลอดเลย เราไม่เคยฝืนเลย เราไม่เคยฝืนความพอใจเราเลย เราไม่เคยฝืนกิเลสในใจเราเลย แล้วไหนบอกว่าเราจะเป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติไง เราเห็นโทษของกิเลส เห็นโทษของอวิชชา เห็นโทษของความไม่รู้ที่พาเรามาเกิดมาตายอยู่นี้ แล้วเราเกิดมาเราพบพระพุทธศาสนา เรามีหมู่คณะ เราคบบัณฑิตเห็นไหม ผู้ที่จะออกจากทุกข์ ผู้ที่พยายามจะฝืนกิเลส แล้วเราได้ฝืนมันหรือยัง ถ้าเราได้ฝืน ถ้ามันทำแล้วมันไม่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา มันไม่เป็นสัมมาทิฐิ มันไม่เป็นความจริง มันไม่เป็นคุณธรรมขึ้นมาในหัวใจขึ้นมา ทำไมเราไม่ใช้ปัญญา ทำไมเราไม่พลิกแพลงของเราขึ้นมาล่ะ เรามาทบทวนพลิกแพลงใช่ไหม เวลานั่งสมาธิไป เวลาภาวนาไป งานทางโลกเขาอาบเหงื่อต่างน้ำ เขาก็มีความทุกข์ของเขา

คนเรานะเวลาทำหน้าที่การงานนะ แล้วทุกข์จนเข็ญใจมันบีบคั้นขึ้นมา มันยิ่งกลัดหนองนะ หัวอกนี่กลัดหนองเลย แต่ก็ต้องก้มหน้าก้มตาทำงานนั้นให้ประสบความสำเร็จไป นี่พูดถึงงานทางโลกเขา เขายังมีความอดทนมีความมุมานะมีความบากบั่นของเขา แล้วเราปฏิบัติเพื่อจะพ้นจากทุกข์ มันเป็นงานของใจ ถ้ามันเป็นงานของใจเราจะทำด้วยความมักง่ายอย่างนี้เหรอ มันต้องมีสติสิ มันต้องมีสติมันต้องมีปัญญาของมัน มันต้องพลิกแพลง หาทางจะเอาใจของเราไว้ในอำนาจของเราให้ได้

ถ้าเราจะเอาใจของเราไว้ในอำนาจของเราให้ได้เห็นไหม เราตั้งสติ พอจะนั่งขึ้นมามันก็ง่วงเหงาหาวนอน พอทำอะไรขึ้นมามันก็ไม่ได้อะไรขึ้นมาซักอย่างเลย เราก็ตั้งสติของเรา ฝืนกิเลส ฝืนตัวเรา ฝืนความมักง่าย ฝืนความสะดวกสบาย นั้นคือฝืนกิเลส การฝืนกิเลส ถ้าเราฝืนเรา ก็เท่ากับฝืนกิเลส ฝืนกิเลสก็เท่ากับฝืนเรา เพราะกิเลสมันอยู่กับเรา! กิเลสมันเป็นเรา สรรพสิ่งมันเป็นเราไปหมดเลย แต่เวลาประพฤติปฏิบัติไป สมาธิเป็นเราหรือเปล่า เราก็ไปอ้างอิงไปหมด มันอ้างอิงสิ่งต่างๆ ไป แล้วมันเป็นความจริงหรือเปล่า

ถ้ามันเป็นความจริง กำหนดพุทโธๆ พอจิตมันลงเห็นไหม จิตมันลงเป็นสมาธิบ้าง ปัญญาอบรมสมาธิ จิตมันเป็นสมาธิบ้าง ถ้าเป็นสมาธิเห็นไหม สมาธิหัวตอเหรอ? สมาธิหัวตอก็คือ สมาธิก็คือสมาธิไง สมาธิเป็นสมาธิ พอเป็นสมาธิมันทำอย่างไรต่อไปล่ะ

ถ้าจิตใจอ่อนแอ จิตใจอ่อนหัดนะ มันก็บอกว่า “อ้าว นี่ไง ก็ทำความสงบของใจแล้ว” มีผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ พอจิตมันสงบแล้ว ก็ติดในความสงบนั้น แล้วพอเข้าไปในความสงบนั้นนะ มันไม่มีปัญญา มันก้าวเดินไม่ได้เห็นไหม นี่สัมมาทิฐิ สัมมาสมาธิ สัมมาสมาธิมันคืออะไรล่ะ สัมมาสมาธิถ้าเราก็ทำความสงบของใจขึ้นมาแล้วนะ พอจิตมันลงสงบ มันสัมปยุตไปด้วยปัญญา ปัญญามันคืออะไรล่ะ เห็นไหมปัญญามันเกิดมาจากไหนล่ะ

ถ้าจิตเราเห็นไหม จิตเราไม่ลงสมาธิ จิตเรายังทำสิ่งใดไม่ได้เลย แต่เราศึกษาทางปริยัติเห็นไหม เราศึกษามาหมด ธรรมะเรารู้มาหมด ธรรมะเราเข้าใจหมด เราแต่งบาลีได้ด้วย เราแต่งบาลีต่างๆ ขึ้นมา แล้วมันเป็นอะไรล่ะ? มันเป็นอะไร? มันเป็นโลกียะไง มันเป็นเรื่องของกิเลสหมดไง ถ้าจิตมันไม่ลงสู่สมาธินะ ถ้าจิตลงสู่สมาธิ ถ้าเป็นสมาธิหัวตอ สมาธิหัวตอ สมาธิก็คือสมาธิไง แล้วจิตใจมันอ่อนหัด จิตใจมันอ่อนแอ จิตใจมันไม่มีหลักมีเกณฑ์เห็นไหม “อ้าว ศีล สมาธิ ปัญญา” ศีลคือความปกติของใจ สมาธิก็นิ่งๆ ก็เป็นสมาธิ ปัญญาก็คือความคิด นี่ก็คือปัญญา” อ่อนแอมาก อ่อนหัด ไม่มีประสบการณ์ของใจเลย ใจถ้ามีประสบการณ์มันจะพัฒนาขึ้นมาอย่างไร มีความรู้อย่างนี้หรือจะฆ่ากิเลส มีความรู้อย่างนี้หรือที่เราบอกว่าเรานักปฏิบัติ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษากับพระอาฬารดาบส อุทกดาบสมาแล้ว สมาบัติ ๘ เห็นไหม ฤๅษีชีไพรในสมัยพุทธกาลเขาทำมาแล้วทั้งนั้น เวลาทำสมาธิได้สมาบัติเห็นไหม ดูสิ ดูเทวทัตินะ เวลาทำฌานสมาบัติ ทำฌานโลกีย์ได้เห็นไหม เหาะเหินเดินฟ้าได้นะ แปลงตัวเองเป็นงูใหญ่ ไปพันศีรษะอชาตศัตรูก็ทำได้ นี่ไง ทำสมาธิมันก็ทำได้ ถ้าทำสมาธิแล้วมันมีหลักมีเกณฑ์ของมัน มันก็เป็นสมาธิ มันสัมปยุตด้วยปัญญาไหม? มันสัมปยุตด้วยปัญญา ออกฝึกหัดด้วยปัญญาไหม นี่พูดถึงทำสมาธินะ

ถ้าสมาธิที่มีฤทธิ์มีเดช สมาธิที่เป็นฌานโลกีย์นะ แล้วถ้าสมาธิหัวตอล่ะ สมาธิก็คือสมาธิไง แล้วพอทำสมาธิแล้ว โดยความอ่อนหัดไง “อ้าว ศีล สมาธิ ปัญญา เดี๋ยวปัญญามันก็จะมาเองไง” เวลาคนบอก “เดี๋ยวปัญญาก็จะเกิด ศีล สมาธิ แล้วปัญญา” อีกร้อยชาติก็ไม่เกิด ถ้าสมาธิไม่สัมปยุตด้วยปัญญา

ถ้าสมาธิสัมปยุตด้วยปัญญามันเป็นอย่างไร? ทำความสงบของใจเห็นไหม ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาอบรมสมาธิเป็นสมาธิมันมีสติปัญญานะ มันจะรื้อค้นหาเหตุหาผล ถ้ามันรื้อค้นหาเหตุหาผล อย่างนี้ปัญญามันจะออกก้าวเดิน ถ้ามีสมาธิเวลาเกิดปัญญา ปัญญาที่เกิดจากสัมมาสมาธินะ มันละเอียดลึกซึ้ง แล้วเวลาปัญญาที่เกิดจากสัมมาสมาธิ เวลาใครประพฤติปฏิบัติมันตื่นเต้นนะ มันตื่นเต้นมันแทงหัวใจมาก ถ้ามันสัมปยุตไปด้วยปัญญา

นี่พูดถึงเห็นไหม สิ่งที่ว่าสามเณร ๗ ขวบเป็นพระอรหันต์ เริ่มต้นพื้นฐานเขาเดินมาจากตรงนี้ ถ้าจิตมันมีกำลัง จิตมันมีหลักมีเกณฑ์ขึ้นมา เวลามันทำงานของมันขึ้นมาเห็นไหม มันจะเป็นการงานในพุทธศาสนา พุทธศาสนานะเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปฏิเสธมาจากเจ้าลัทธิต่างๆ เห็นไหม สิ่งที่ทำสมาธิกันเห็นไหม มันเป็นสมาธิหัวตอ! สมาธิคือสมาธิไง มันไม่สัมปยุตด้วยปัญญา

ถ้ามันจะสัมปยุตด้วยปัญญา นี่สัมมาสมาธิมันจะสัมปยุตด้วยปัญญา พอปัญญามันเกิดขึ้น มันจะรักษาสมาธิให้การทำสมาธิได้ง่ายขึ้น ถ้าทำสมาธิหัวตอนะ พอเป็นสมาธินะ สมาธิก็คือสมาธิ เราทำอย่างไรจับต้นชนปลายไม่ถูกนะ แต่ถ้าเราทำสมาธิโดยที่ว่ามันมีจริตนิสัยแล้วเรารักษานะ มันก็เป็นสมาธิอยู่อย่างนั้น แล้วมีความหลงผิด! หลงผิดว่าสมาธินั้นเป็นมรรคผลนิพพาน ถ้าสมาธิเป็นมรรคผลนิพพาน พลังงานมันก็เป็นมรรคผลนิพพาน

สมาธิก็เป็นพลังงานของจิตนะ ถ้ามันมีปัญญาขึ้นมาเห็นไหม ปัญญาที่เกิดจากสัมมาสมาธิ ปัญญาที่เกิดจากจิต มันเป็นภาวนามยปัญญา ถ้าเป็นภาวนามยปัญญา มันเป็นโลกุตตรปัญญา โลกียปัญญากับโลกุตตรปัญญา ปัญญาเหนือโลกไง ปัญญาเหนือกองสังขาร เหนือความคิดความปรุงความแต่งของเราไง เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกปัญญาในพุทธศาสนา ปัญญาที่รอบรู้ในกองสังขาร เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปรินิพพานนะ “ภิกษุทั้งหลาย เธอจงพิจารณาสังขารด้วยความไม่ประมาทเถิด” สังขารความคิด ความปรุง ความแต่ง และสังขารร่างกาย

ถ้าเรามีสติปัญญาแล้วเราพิจารณาสังขาร ความคิด ความปรุง ความแต่ง แล้วพิจารณาร่างกายเรา ด้วยความไม่ประมาท ด้วยความเข้มแข็ง ด้วยความไม่อ่อนแอ เราจะจับต้นชนปลายได้ เราจะเริ่มต้นก้าวเดินไปในความถูกต้อง ถ้าก้าวเดินไปในความถูกต้อง มันก้าวเดินไปอย่างไร ถ้ามันก้าวเดินไปเห็นไหม คนเรามันจะก้าวเดินไปในความถูกต้อง มันมีเหตุมีผล มีสิ่งรองรับในกิจญาณ ในเรื่องหัวใจที่มันก้าวเดินนะ ถ้ามันก้าวเดินเห็นไหม มันต้องมีความเข้มแข็ง แล้วมีประสบการณ์

พอจิตมีประสบการณ์นะ เวลาเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา คนประพฤติปฏิบัตินะ เริ่มต้นทำความสงบของใจมันก็ตกภวังค์ มันก็เข้าไปแช่อยู่อย่างนั้นในสมาธิหัวตอ มันเป็นทุกคน! เป็นมากเป็นน้อย ถ้ามันเป็นมาก เว้นไว้แต่ขิปปาภิญญา ขิปปาภิญญานี่เขาสร้างบุญกุศลมามาก ฟังพระพุทธเจ้าเทศน์หนเดียวเป็นพระอรหันต์เลย แต่ความที่เป็นพระอรหันต์นั้นมันก็ต้องสัมปยุตด้วยมรรค ๘ งานชอบ เพียรชอบ มันต้องสัมปยุตกัน ไม่มีพระอรหันต์องค์ใด ไม่มีโสดาบัน สกิทาคา อนาคา ผลอันใดที่ไม่สัมปยุตไปด้วยมรรค ๘ เป็นไปไม่ได้!

ถ้าจิตดวงไหนมันสัมปยุตด้วยมรรค ๘ ที่มันเข้าไปชำระกิเลสแล้ว มันจะไปคัดค้านกับสิ่งที่ตัวเองเป็นได้อย่างไร ในเมื่อจิตที่มันเป็นมันสัมปยุตด้วยมรรค ๘ ขึ้นไป ที่มันรู้ว่ามรรค ๘ มันคืออะไร มันก็คือสมาธิชอบ สติชอบ ความเพียรชอบ ระลึกชอบ ความชอบธรรมของมัน ถ้าความชอบธรรมชองมันเกิดขึ้น ความชอบธรรมของจิตที่การภาวนาเกิดขึ้น เวลาจิตมันสัมปยุตมรรคสามัคคีเกิดขึ้น ชำระกิเลสแล้ว สิ่งนี้มันเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโกของใจดวงนั้น ถ้าเป็นของใจดวงนั้นมันจะปฏิเสธเรื่องความสงบของใจไหม จะปฏิเสธเรื่องสติ เรื่องปัญญาไหม มันเป็นไปไม่ได้หรอก!

แต่ถ้าจิตใจมันอ่อนหัด! ธรรมะอ่อนหัด! ธรรมะอ่อนหัดมันไม่มีผลอะไรเกิดขึ้นจากหัวใจ เห็นไหมดูสิ เวลาทำความสงบของใจมันก็ตกภวังค์ไปซะ หายหมดเลย เวลาทำสมาธิเห็นไหม ก็เป็นสมาธิหัวตอขึ้นมาอีก แล้วเวลาจิตมันออกเพราะมันไม่สัมปยุตด้วยปัญญา มันไม่ก้าวเดินด้วยปัญญา มันไม่สัมปยุตด้วยปัญญามันก็ใช้ตรรกะเห็นไหม มันเป็นความสมมุติไง มันเป็นสัญญา สมมุติโลก สมมุติธรรม สมมุติธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วอธิบายไปด้วยปัญญาของกิเลสไง

สติปัญญา ดูสิ ดูทางวิชาการเห็นไหม ดูคนที่ไม่เอาไหน แต่เขาใช้ปัญญาของเขาได้คล่องแคล่วเหมือนพวก ๑๘ มงกุฎ มันพูดได้ร้อยแปดพันเก้า มันพูดเอาลิงหลับนะ เวลามันพูดนี่ลิงหลับเลย ฉะนั้นถ้าเอาความรู้อย่างนั้นมาอธิบายธรรมะ มันก็เป็นสมมุติไง เพราะอะไร เพราะจิตมันไม่สัมปยุต จิตมันไม่มีความสงบของใจแล้วสัมปยุตด้วยปัญญาด้วยมรรค ๘ ที่มันจะก้าวเดินออกไป แต่ขิปปาภิญญาผู้ที่ตรัสรู้ง่าย ตรัสรู้ง่ายเพราะเขาได้สร้างบุญญาธิการของเขามา เวลาฟังธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันก็สัมปยุตด้วยมรรค ๘ นี่แหละ

แล้วจิตที่มันสัมปยุตด้วยมรรค ๘ มันจะปฏิเสธการกระทำความเป็นไป ความเป็นจริงของจิตได้อย่างไร ความเป็นไปของอริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทุกข์ เหตุที่เกิดทุกข์ ทุกข์ดับ วิธีการดับทุกข์ ถ้าทุกข์มันดับ วิธีการดับทุกข์มันทำอย่างไร ขิปปาภิญญาหรือเนยยสัตว์ที่เราจะก้าวเดินกันอยู่นี้ มันก็ต้องอาศัยมรรค ๘ นี่แหละ

ทุกข์ เหตุที่เกิดทุกข์ ทุกข์ดับ วิธีการดับทุกข์ ถ้าวิธีการมันถูกต้องมันก็เป็นความจริง ถ้าวิธีการมันไม่ถูกต้องเห็นไหม ไม่ถูกต้องเพราะอะไร ถูกต้องและไม่ถูกต้องมันอยู่ที่ดวงจิตนั้น เพราะดวงจิตนั้นเวลาพิจารณาเข้าไปแล้ว มรรคสามัคคี เวลามันรวมตัวแล้วมันสมุจเฉทปหาน จิตดวงนั้นก็ได้ประโยชน์ ก็เข้าใจตามข้อเท็จจริงอันนั้น

แต่ของเราล่ะ ของเรามันอ่อนหัด! พออ่อนหัดขึ้นมา ชิงสุกก่อนห่าม! ขายก่อนซื้อ! แล้วเราก็จินตนาการของเราไป มันก็เลยเป็นเรื่องโลกๆ หมดเห็นไหม

ธรรมะอ่อนหัดไง ไม่มีชั่วโมงบิน! ไม่มีประสบการณ์! ไม่มีสิ่งใดๆ เป็นข้อเท็จจริงเลย แต่พูดธรรมะปากเปียกปากแฉะ!

แต่ถ้าเป็นความจริงขึ้นมานะ ความจริงก็คือความจริง ความจริงอยู่ที่ไหนมันก็คือความจริง ถ้าเป็นความจริงเห็นไหม ถ้าจิตมันสงบ สัมปยุตด้วยปัญญา ปัญญามันจะออกก้าวเดิน

การที่เราฝึกหัดเห็นไหม ถ้าจิตมันสงบแล้วเราต้องฝึกหัดสัมปยุตด้วยปัญญา พอมีปัญญาขึ้นมา พลังงาน ถ้าไม่มีใครควบคุมมันดูแลมัน พลังงานก็คือพลังงาน จิตที่เป็นสมาธิหัวตอมันก็เป็นสมาธิอยู่อย่างนั้น แต่ถ้ามันสัมปยุตด้วยปัญญาเห็นไหมมันออกหา ปัญญาเป็นตัวทำให้สัมมาสมาธิให้จิตนี้ออกรื้อค้นออกหา ออกหาอะไร ออกหาตัวตนไง ออกหาสิ่งที่เป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยากในใจของเรานี่ไง

สิ่งที่ว่าเราอยากจะประพฤติปฏิบัติกันอยู่นี้ เราอยากฆ่ากิเลสกันอยู่นี้เห็นไหม ความโลภ ความโกรธ ความหลง มันจู่โจมมันทำลายเราอยู่ตลอดเวลาเลย แต่ถ้าไม่มีสติปัญญาเราก็พอใจกับมัน เราก็เป็นเหยื่อของมัน เราก็ตอบสนองมันมาตลอดไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ แต่พอจิตมันสงบขึ้นมา ออกหา ถ้าออกหามันก็จับอารมณ์ความรู้สึกของเราได้ ถ้ามันจับอารมณ์ความรู้สึกของเราได้นะ มันก็สลดใจนะ ก็เราเองทำลายเราเอง ก็อวิชชาของเรานี่แหละมันทำลายเรา ไม่มีใครทำร้ายเราเลย ก็จิตใจของเรามันทำร้ายเราเอง เพราะเราหลงในตัวเอง เราหลงในความคิดหลงในความรู้สึกของเราเอง เราถึงได้จนตรอกจนมุมกับชีวิตของเรานี่ไง

แต่ถ้าเรามีปัญญาเราเริ่มจับ พอมันจับได้เห็นไหม จับรูป รส กลิ่น เสียง จับอาการของใจ ใจจับอาการของใจ พิจารณากาย เห็นกายโดยเป็นนิมิต เห็นกายโดยปัญญา เห็นกายโดยปัญญาเพราะมันไม่เห็นภาพนิมิต แต่มันเปรียบเทียบได้ด้วยปัญญา ว่าร่างกายนี้มันดำเนินการอย่างไร ตั้งสเปิร์ม ตั้งแต่ไข่ ตั้งแต่ปฏิสนธิจิต ตั้งแต่เป็นน้ำมันใส น้ำมันข้น ออกมาเป็นตัวอ่อนอยู่ในครรภ์ กว่าจะคลอดออกมา กว่าจะโตมา ก็ไอ้จิตดวงนี้ ใช้ปัญญาใคร่ครวญไป มันสลดสังเวชนะ สลดสังเวชเพราะซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ อยู่อย่างนี้เหรอ

นี่ซ้ำแล้วซ้ำเล่าในภพชาติที่เป็นมนุษย์นะ แล้วภพชาติที่ไม่เป็นมนุษย์ล่ะ บุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกอดีตชาติไปไม่มีต้นไม่มีปลาย ระลึกไปนี้ไม่มีที่สิ้นสุด โดยจิตขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วจิตของเรากับจิตขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหมือนกันไหม โดยสถานะจิตเหมือนกัน แต่โดยอำนาจวาสนาบารมีไม่เหมือนกัน เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ สร้างบุญกุศลมากกว่าเรา อำนาจวาสนาบารมีเหลือล้น! แต่จิตก็คือจิต!

จิตก็คือจิต! จิตดวงหนึ่งก็คือจิตดวงหนึ่ง เวียนตายเวียนเกิดเหมือนกัน ถ้าเวียนตายเวียนเกิด นี่ยืนยัน ยืนยันด้วยปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บุพเพนิวาสานุสติญาณ รื้ออดีตชาติไม่มีวันสิ้นสุด เวลามันเกิดมันตาย มันเกิดตายซ้ำตายซากอยู่เนี่ย มันจะเอาอีกรอบหนึ่งเหรอ ถ้าจะไม่เอาอีกรอบหนึ่ง.. “ชีวิตนี้ทุกข์ไหม?” อ้าว ชีวิตนี้ทุกข์ก็เป็นความจริง ชีวิตนี้ทุกข์นะ เกิดมานี้ทุกข์ แม้แต่หายใจก็เหนื่อย นั่งอยู่นี้นะ พอแก่เฒ่าขึ้นมา โอดโอยทั้งนั้น ลุกก็เจ็บ ลุกก็ปวด มันก็จะมาซ้ำอยู่อย่างนี้

แล้วสิ่งที่มีความสุขในชีวิตล่ะ มันก็เหยื่อล่อเท่านั้นเอง คาดกันไป หมายกันไป เมื่อนั้นจะดี เมื่อนี้จะดี มันก็ลากชีวิตนี้ให้หมดไป เข้าโลงศพแล้วยังดีไม่พอเลย เมื่อนั้นจะดีอยู่อย่างนั้น

นี้พูดถึงเวลาเราตามความคิดไป แต่พอเรามีสติปัญญาเห็นไหม มันไม่ปฏิเสธหรอก องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับครูบาอาจารย์ของเรานะ ไม่ปฏิเสธเรื่องโลก ไม่ปฏิเสธ.. ธรรมะเกิดจากโลกนี่แหละ ธรรมะเกิดจากใจนี่แหละ เราก็เกิดมาจากโลกใช่ไหม เราเกิดมาจากพ่อจากแม่ใช่ไหม คนใดบ้างไม่มีพ่อไม่มีแม่ คนเกิดมาจากโลกทั้งนั้น นี่ไม่ปฏิเสธโลกไง

พอไม่ปฏิเสธโลก พอเราเกิดกับโลกแล้วเราจะอยู่กับโลก อยู่กับเขาจนสิ้นอายุขัยไปอีกชาติหนึ่ง หรือเราอยู่กับโลก แล้วเราประพฤติปฏิบัติของเราด้วย เราหาทางออกของเราด้วยนะ ธรรมะมันเกิดจากโลกนี่แหละ โลกคืออะไร? โลกคือโลกทัศน์ โลกคือหมู่สัตว์ จิตหนึ่ง! โลกหนึ่ง! เวลาเกิดนะ เกิดในกามภพ รูปภพ อรูปภพ จิตมันก็เกิดในโลกนี่แหละ มันก็เวียนตายเวียนเกิดนี่แหละ แต่ถ้าเกิดในโลกแล้วยึดว่ามันไม่มีทางออก มันไปไหนไม่ได้ มันเกิดมาในโลกมันก็ต้องตายอยู่กับโลกนี้ แล้วก็ประกอบสัมมาอาชีวะทำแต่คุณงามความดีกันไป แล้วเราจะเป็นพระอรหันต์ไปข้างหน้า

จะทำคุณงามความดีขนาดไหน ถ้าไม่ได้ประพฤติปฏิบัติ ไม่มีทาง...

จะสร้างบุญกุศลมากสูงส่งจนฟังองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทีเดียวเป็นพระอรหันต์ อันนั้นก็ต้องสร้างมาทั้งนั้น ขณะฟังมันก็เป็นจริง ขณะฟังจิตมันก็มรรคสามัคคี มันต้องรวมตัวขึ้นมา ทำสมุจเฉทปหานขึ้นมา มันเป็นพระอรหันต์ได้ นี่ไงจะเป็นพระอรหันต์ก็ต้องสร้างมา ดูสิ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย เห็นไหม จิตใจถึงเข้มแข็ง

สามเณรอายุ ๗ ขวบเขาทำของเขาได้อย่างไร ในเมื่ออายุ ๗ ขวบ แต่เขาด้วยความเข้มแข็ง ด้วยจิตวิญญาณที่เข้มแข็ง ด้วยจิตใจที่เด็ดเดี่ยว แล้วพิจารณาแก้ไขย้อนกลับมา ฉะนั้นเอาคติเป็นตัวอย่างสิ! เอาคติเป็นตัวอย่างว่า แม้แต่เด็กอายุ ๗ ขวบเขาก็ทำได้! แต่การทำได้นั้นเขาสร้างบุญญาบารมีมามาก! เขาถึงมีความเข้มแข็ง เขาถึงได้คิดเรื่องละเอียดลึกซึ้งอย่างนี้ได้ ของเรานี่เราบอกว่าเรามีปัญญาทั้งนั้น แต่ความละเอียดลึกซึ้ง สิ่งที่ลึกซึ้งอย่างนี้ ลึกซึ้งตรงไหน ลึกซึ้งทางโลกใช่ไหม

ทางโลกเขา เขาจะคดจะโกง เขาวางแผน ๓ ชั้น ๔ ชั้น จะลึกซึ้งอย่างนั้นเหรอ ลึกซึ้งอย่างนั้นมันลึกซึ้งแบบโลกๆ ลึกซึ้งแบบกลอุบาย แต่ลึกซึ้งของหัวใจ ทำอย่างไรจะเอาจิตของเราไว้ในอำนาจของเรา ดูสิ พลังงานถ้าเราไม่สะสม พลังงานมันจะเกิดพลังงานขึ้นมาได้อย่างไร จิตมันส่งออกตลอด จิตพลังงานมันส่งออกตลอด มันไปของมันตลอด คำว่าลึกซึ้งเราจะดูแลรักษาจิตของเราอย่างไร ถ้าเราดูแลรักษาจิตของเราเห็นไหม เราใช้สติปัญญายับยั้งได้หมด มันจะรุนแรงขนาดไหนก็ยับยั้งได้

ถ้าใครเคยยับยั้งได้ ใครเคยเห็นผลของมัน มันจะเต็มใจทำ เต็มใจทำนะ งานนี้คืองานของเรา งานของโลกหาบเหงื่อต่างน้ำเขาช่วยเหลือเจือจานกันได้ แต่งานของเรา เราต้องทำของเราเอง ประสบการณ์ของจิตนะ เวลานั่งสมาธิปวดหลังปวดเอวใครเป็นคนปวดกับเรา ก็เราทั้งนั้น ไม่มีใครปวดแทนใคร มีแต่ปลอบประโลมกัน ทนเอาๆ สู้กับเวทนา สู้กับมันให้ได้ ใครจะปวดแทนใคร

นี่ก็เหมือนกัน สิ่งที่จิตจะทำ มันประสบการณ์ของมัน ถ้ามันทำของมันขึ้นมาเห็นไหม มันจะทำให้จิตใจนี้เข้มแข็ง ถ้าจิตใจนี้เข้มแข็ง พอจิตมันได้สัมผัส ความสงบความร่มเย็นเห็นไหม เราก็ทำได้ พอเราทำได้ครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ มันก็เกิดขึ้นมาได้ด้วยการกระทำของเรา เราต้องหาอุบายวิธีการของเรา ถ้าจิตมันสงบนะ ถ้าตกภวังค์เราก็แก้ไข ถ้าตกภวังค์นะ มันหายไปโดยขาดสติ ใช้ไม่ได้ ถ้ามันหายไปนะ แต่ส่วนใหญ่แล้วคนที่หายไปที่จิตอ่อนแอนะ “โอ้โห มันเป็นสมาธิ โอ้โห มันมีความร่มเย็นนะ”

เอาสถิติกันไง ว่านั่นตกภวังค์ทีหนึ่งกี่ชั่วโมง มันหายไปกี่ชั่วโมง เอาสิ่งนั้นมาทวงมรรคทวงผล แล้วมันเป็นความจริงได้ไหม นี่เวลาคนอ่อนแอเห็นไหม

เราค้าขายนะ เราค้าขายทำธุรกิจการค้า เวลาเราส่งสินค้าไป เขาให้เงินปลอมเรามา ให้เงินที่ไม่ใช่เงินท้องตลาด เราได้มาเราเอาไปใช้ประโยชน์ต่อได้ไหม แสดงว่าเราโดนฉ้อโกง เราส่งสินค้าไป แต่เขาให้กระดาษเปล่า เขาว่าเป็นเงินเป็นทอง แล้วเราเอามาใช้ในท้องตลาดไม่ได้ จิตที่ตกภวังค์มันเป็นเหมือนกัน ในเมื่อมันตกภวังค์ไป พอตกภวังค์ไป มันไม่มีสิ่งใดตอบแทนเลย มันเป็นพรหมลูกฟัก ถ้าเป็นโทษก็โทษว่าเป็นพรหมลูกฟัก มันจะได้อะไรตอบแทนมา

นี่ไงเวลาจิตตกภวังค์ เหมือนกับกิเลสมันหลอกลวง กิเลสมันฉ้อฉล มันทำให้เราไม่ได้ผลประโยชน์ แล้วเราจะแก้ไขอย่างไร ถ้าเราแก้ไขเห็นไหม เราต้องตั้งสติของเรา ถ้ากำหนดพุทโธอย่างให้ขาดตอน อย่าให้พุทโธขาดช่วงให้จิตมันวูบได้ ถ้าใช้ปัญญาอบรมสมาธิก็พยายามตั้งสติไว้ ถ้ามันจะวูบลง มันเคยวูบลง เวลามันวูบหายไป เรารู้อยู่ถ้ามันวูบหายไปแล้วนี่มันเป็นพรหมลูกฟัก มันเป็นภวังค์แล้ว มันไม่เป็นประโยชน์สิ่งใดแล้ว เราก็ต้องรั้งไว้ด้วยความตั้งใจว่า เราไม่ต้องการสมาธิ ไม่ต้องการสิ่งใดเลย เพื่อต่อรองกับกิเลส เพราะกิเลสมันบอกว่า เราต้องทำความสงบของใจ ถ้าใจมันสงบก็ต้องลงช่องนี้ ลงแบบนี้ มันถึงจะไปสู่ความสงบ

แล้วช่องนี้เราเคยลง เคยตกภวังค์มาซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกระดานนี้เป็นมันนะ ไหลลื่นกันจนสิ่งนี้ไหลลงไปกันจนเคยตัว เราก็ต้องตั้งกติกาขึ้นมาว่า ใช้อุบายว่า เราจะไม่เอาสมาธิ เราจะเอาความชัดเจนของเรา แล้วเราหาทางของเราแก้ไข พอแก้ไขขึ้นมา ถ้ามันสงบโดยปกติ มันก็สงบเข้ามาโดยธรรมดา ถ้ามันสงบโดยที่จิตของคนมีอำนาจวาสนาคึกคะนอง มันก็จะตกวูบ จะวูบขนาดไหนมันก็มีสติพร้อม ไม่ใช่วูบแล้วหายไปเลย วูบแล้วหายไปเลย หายไปนั่นคือมันหายไปแล้ว นั่นน่ะลงภวังค์ไปแล้ว นั่นน่ะธรรมะอ่อนหัด อ่อนแอมาก! อ่อนหัดมาก! ยังไม่ได้เริ่มต้นสิ่งใดเลย

เขาจะแข่งขันกีฬาเขาต้องมีจุดเริ่มต้น รถจะแข่งขันเขาต้องปล่อยออกจากจุดสตาร์ท นี่ไม่มีอะไรเลย! หายไปเลย! แล้วบอกว่าสิ่งนี้เป็นมรรคๆ มีความสงบของใจ เพราะมันอ่อนหัด แม้แต่จุดเริ่มต้นจุดสตาร์ทยังหาตัวเองไม่เจอ แล้วบอกว่าสิ่งนี้เป็นความสงบของใจนะ สิ่งนี้เป็นมรรคเป็นผลนะ สิ่งนี้คือปัญญานะ เนี่ยธรรมะอ่อนหัดโดยจิตใจที่อ่อนแอ!

แต่ถ้าเรามีประสบการณ์ของเราเห็นไหม เรากำหนดไว้ พุทโธไว้ๆ พยายามแก้ไขของเรา หาทางออกให้ได้ ถ้าหาทางออกได้เห็นไหม พุทโธๆ ถ้ามันสงบมันก็สงบเข้ามาโดยปกติ พอมันสงบเข้ามาเห็นไหม พอมันคลายออกมาเราก็ฝึกใช้ปัญญา ใช้ปัญญาเห็นไหม ถ้ามีความสงบอย่างนี้ เรามีสติพร้อม เรามีความรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา แต่เวลามันตกภวังค์ไป มันหายไปเลย แล้วการตกภวังค์นี่มันเคยใจ ใจมันเคยเป็นมันจะลงช่องนั้น ถ้าลงช่องนั้น เวลาลงช่องนั้นแทบไม่ต้องทำสิ่งใดเลยนะ ตั้งกำหนดไว้เฉยๆ มันไปแล้ว.. ถ้าไปแล้วนะ มันก็หายไปหลายๆ ชั่วโมง แล้วกลับมาเสียใจไหม คอตกไหม

ความเสียใจเพราะเราโดนกิเลสฉ้อโกงอีกแล้ว เขาส่งสินค้าไป เขาได้ผลตอบสนองมาด้วยเศษกระดาษ เพราะไม่ใช่เงินแท้ เพราะเขาโดนฉ้อโกง แต่ถ้าเราลงภวังค์ไป เราทำแล้วเราโดนกิเลสฉ้อโกง คนฉ้อโกงก็คือกิเลสของเรา คนฉ้อโกงก็คือความฉ้อฉลในใจของเรา แล้วเราจะไปแก้ไขที่ไหน เราถึงจะต้องตั้งสติเห็นไหม ตั้งสติแล้วหาเหตุหาผล แล้วแก้ไขของเราไป จะอดนอนจะผ่อนอาหาร จะหาช่องทางไหนก็แล้วแต่ เพราะว่าถ้าผ่อนอาหาร ในเมื่อร่างกายในเมื่อมันไม่มีพลังงานเหลือใช้ ในเมื่อร่างกายมันไม่มีความสุขสงบระงับของมัน มันหิวมันโหยมันตกภวังค์ไม่ได้หรอก

คนเราอิ่มหนำสำราญมันก็ออกเร่ร่อน แต่คนเรานะมันหิวมันโหย หิวโหยนี้มันหิวโหยเพราะเราพอใจ มันไม่ใช่หิวโหยเพราะเราไม่มี เราหิวโหยเพราะเราจะดัดหลังกิเลส เราจะดัดหลังสิ่งที่ว่า มันกินอิ่มนอนอุ่นแล้วมันก็พากันไปนอนจมกันอยู่ในภวังค์นั้น ฉะนั้นเราจะไม่ให้มันกิน เราจะดัดหลังมัน ถ้าเราดัดหลังมันเห็นไหม เราตั้งสติไว้ แล้วกำหนดพุทโธไว้ ถ้ามันลงสงบธรรมดาก็สงบ ถ้าสงบแล้วมันมีอาการที่ว่า จะวูบลงอะไรลงเราตั้งสติไว้ แก้ไขของเราไป มันต้องแก้ได้

พอแก้ได้นะ เรามาเปรียบเทียบด้วยปัญญาใคร่ครวญเห็นไหม ใคร่ครวญว่าสิ่งที่ผิด สิ่งที่ถูก พอสิ่งที่ถูกขึ้นมามันก็มีสติปัญญา การฝึกหัดด้วยสติปัญญา แล้วก็เห็นโทษของการที่ไม่ได้ใช้ปัญญา เห็นโทษของการทำแบบซื่อบื้อ เห็นโทษของการทำตามๆ กัน นี่ก็ฝึกให้จิตใจนี้เข้มแข็ง ฝึกให้หัวใจเห็นความถูกความผิด ถ้าหัวใจมันเห็นความถูกความผิด มันได้ขยะแขยง มันได้เห็นภัย พอได้เห็นภัยนะ

แต่เพราะเราประมาทกัน เราทำสิ่งใดนะ “นั่นก็เป็นธรรม นี่ก็เป็นธรรม” เป็นธรรมนี้มันเป็นธรรมที่ชื่อ ชื่อที่เราศึกษามานี้มันชื่อธรรมะทั้งนั้น ชื่อสติ ชื่อสมาธิ ชื่อปัญญา ชื่อการชำระล้างกิเลส ชื่อของขั้นตอน ได้มาแต่ชื่อ! ได้มาแต่ชื่อเห็นไหม มันก็เป็นสมมุติ! สมมุติของจิต มันสมมุติขึ้นมาแล้วก็มาคุยกัน พอคุยกันก็เอาสิ่งนั้นมาอ้างอิงกัน

แต่ครูบาอาจารย์ของเราท่านรู้นะ พอท่านรู้ขึ้นมา เด็กฝึกหัดใหม่ท่านก็จะปล่อย เด็กฝึกหัดใหม่ เราจะคาดหวังเอากับเด็กฝึกหัดใหม่ให้ทำอะไรประสบความสำเร็จหมดมันเป็นไปไม่ได้หรอก

จิตฝึกหัดใหม่! มันต้องมีความผิดพลาดเป็นธรรมดา

แต่ความผิดพลาดถ้าเราเชื่อ แล้วเราทำของเราจนมันเคยชิน ความผิดพลาดนั้นจะทำให้หัวใจเราอ่อนหัดอ่อนแอไปตลอด เพราะมันได้ประสบการณ์แต่ความผิดพลาด! มันได้ประสบการณ์แต่ความนอนจมกับใจ! มันไม่ได้ประสบการณ์ตามความเป็นจริง!

ถ้ามันไม่ได้ประสบการณ์ตามความเป็นจริงเห็นไหม แล้วทำอย่างไรถึงจะเป็นประสบการณ์ตามความเป็นจริงล่ะ ถ้าเป็นประสบการณ์ตามความเป็นจริง มันเป็นปัจจัตตัง มันเป็นสันทิฏฐิโก ถ้าตกภวังค์มันหายไปเลย เพราะออกมาแล้ว รู้สึกสะดุ้งตื่นมา มันขาดวรรคขาดตอน จิตไม่ต่อเนื่อง

แต่ถ้ามันเป็นสมาธิ จิตจะไม่มีการเว้นวรรค ถ้าพุทโธมันก็จะมีสติปัญญาต่อเนื่องไป พุทโธๆ จนพุทโธไม่ได้ พุทโธไม่ได้เห็นไหม ตอนพุทโธอยู่ทำไมมันพุทโธได้ล่ะ มันพุทโธได้เพราะมันอารมณ์สัญญาเห็นไหม สัญญาอารมณ์กับจิตมันเป็นสอง จิตคือตัวพลังงาน แต่ความคิดมันเกิดจากจิต มันพุทโธๆ เห็นไหม มันเป็นสัญญาอารมณ์ มันเป็นเรื่องโลกๆ นี่แหละ สัญชาตญาณของมนุษย์นี่แหละ สัญชาตญาณของการสื่อสารกัน พุทโธๆ มันก็รู้ของมันเห็นไหม เวลามันละเอียดเข้าไป ละเอียดจากสิ่งที่สัญญาอารมณ์จากจิต มันจะรวมเป็นหนึ่งเดียว

พอเป็นหนึ่งเดียว พลังงานพอมันนึกคิดขึ้นมาเห็นไหม มันเป็นความคิด มันคิดได้ แต่พอความคิดมันทะลุเข้าไปถึงตัวจิต มันปล่อยขันธ์ ๕ ออกมาที่จิต มันพุทโธไม่ได้เลย ถ้ามันพุทโธไม่ได้ แล้วมันเข้าไปได้อย่างไร ก็มันเข้าไปกับคำบริกรรมไง ถ้ามันเข้าไปกับคำบริกรรม มันไม่มีเว้นวรรคไง มันไม่มีสิ่งใดหายไปไง มันเริ่มต้นตั้งแต่ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ จน ๑๐๐ จน ๑,๐๐๐ จน ๑๐๐,๐๐๐ จน ๑,๐๐๐,๐๐๐ มันนับไปตลอดไม่มีช่วงเว้นวรรค ถ้ามีช่วงเว้นวรรค นั่นล่ะมันจะลงภวังค์แล้วล่ะ

แต่เวลาพุทโธไป.. พุทโธไป.. จนจิตมันละเอียดขึ้นไปเห็นไหม ไม่มีช่วงเว้นวรรค แล้วจิตมันพยายามจะนึก ตั้งแต่ ๑ ถึง ๑๐๐ แล้วพอ ๑๐๑ ๑๐๒ ไป มันเริ่มละเอียดขึ้น แล้วพอพุทโธต่อไป มันพุทโธไม่ได้ มันพุทโธไม่ได้เพราะมันละเอียดเข้ามาจนเป็นอันเดียวกัน พออันเดียวกันเห็นไหม จิตมันเป็นสัมมาสมาธิไง เป็นอันเดียวกันเห็นไหม มันนึกไม่ได้หรอก ถ้ามันนึกไม่ได้ นี่ไงเข้าถึงอัปปนาสมาธิ

แล้วพอมันคายตัวออกเห็นไหม จิตเราลงสมาธิ สักแต่ว่าหมดเลย เวลามันคายออก เรารับรู้ถึงแรงกระทบ ถ้าจิตเห็นไหม ขณิกะสมาธิ อุปจารสมาธิมันยังรับรู้ได้ จิตมันสงบเข้ามา แต่มันยังรับรู้เสียง เพราะความคิดอย่างนี้ยังมีอยู่ พอมีอยู่มันเกิดจากอะไร เกิดจากพลังงานของจิต จิตที่สัมปยุตด้วยปัญญา มันก็ออกรู้หรือออกพิจารณาได้ แต่เราพุทโธต่อเนื่องเข้าไปถึงอัปปนา เข้าไปถึงสักแต่ว่า นึกไม่ได้ พอนึกไม่ได้แต่มันก็มีสติตามมาตลอดเห็นไหม มันไม่มีขาดวรรคขาดตอนเห็นไหม

สิ่งที่ไม่ขาดวรรคขาดตอน ความจริงมันเป็นแบบนี้! ถ้าความจริงมันเป็นแบบนี้ ใครทำได้ ใครปฏิบัติได้มันก็เป็นความจริง ความจริงมีหนึ่งเดียว ความจริงเหมือนกัน ความจริงไม่มีสองหรอก ความจริงของเอ็งกับของข้ามันต้องคนหนึ่งผิดแน่นอน ถ้าความจริงคือความจริง ถ้าลงสมาธิตามความเป็นจริงนะ

แล้วถ้าลงสมาธิแล้วถ้าเราติดในสมาธิ นี่สมาธิหัวตอ ไม่เป็นสัมมาสมาธิ ถ้าเป็นสัมมาสมาธิ มันฝึกหัดปัญญา ปัญญามันจะออกรู้แล้ว ออกก้าวเดินแล้ว ถ้าปัญญามันออกเดินเห็นไหม มันก้าวเดินไปในอะไร มันก้าวเดินไปในสติปัฏฐาน ๔ ถ้ามันก้าวเดินไปในสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ มันเป็นโทษนักเหรอถึงต้องก้าวเดินไปในสติปัฏฐาน ๔

กาย เวทนา จิต ธรรม ไม่ใช่กิเลส! สรรพสิ่งในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดเป็นกิเลสเลย รูปอันวิจิตรก็ไม่ใช่กิเลส ตัณหาความทะยานอยากของคนต่างหากเป็นกิเลส! รูปอันวิจิตรงดงามขนาดไหนก็ไม่ใช่กิเลส รูปอันที่อัปลักษณ์ที่ไม่มีคนชอบใจก็ไม่ใช่กิเลส! แต่คนที่ไปติดมันต่างหากเป็นกิเลส! สิ่งที่จิตใจไปยึดมั่นถือมั่น นั่นน่ะคือกิเลส ฉะนั้นคำว่ากิเลสเห็นไหม มันอยู่ในหัวใจของเรา

สิ่งที่ว่าจิตเป็นสัมมาสมาธิแล้วสัมปยุตด้วยปัญญา พอสัมปยุตด้วยปัญญาเพราะกิเลสมันนอนเนื่องมาจากความรู้สึก อวิชชานอนเนื่องกับพลังงานนี้ พอพลังงานนี้มันออกมา มันก็ออกไปเอาแต่โทษ ออกไปเอาแต่ภัย ออกไปเอาแต่ความเร่าร้อนมาเผาหัวใจ แต่เมื่อก่อนเราไม่รู้ไม่เห็น เพราะจิตของเรามันไม่สงบระงับ จิตของเราไม่เป็นสัมมาสมาธิเราจะไปรู้ไปเห็นในสิ่งใด เวลาเราพูดธรรมะปากเปียกปากแฉะนะ ปากเปียกปากแฉะเพราะมันเห็นโทษคนอื่นไง โทษคนอื่นน่ะรู้ไปหมด! คนโน้นผิดอย่างนั้นรู้ไปหมด! แต่ในใจเรา เราจับผิดมันไม่ได้ เราจับผิดมันไม่ได้.. แล้วไม่รู้ว่าใครเป็นคนผิด

แต่พอจิตมันสงบสัมปยุตด้วยปัญญา สัมปยุตด้วยปัญญาออกหัดใช้ปัญญา มันออกหัดใช้ปัญญาเพราะความคิดมันคิดออกไปจากจิต แล้วมันติดพันในสิ่งใด นี่ไง สติปัฏฐาน ๔ มันเป็นจำเลยเหรอ สติปัฏฐาน ๔ เป็นโทษนักเหรอ ไม่ใช่.. ไม่ใช่..

แต่เพราะเวลากิเลสมันออกหาเหยื่อ ออกใช้ประโยชน์กับมัน มันก็ออกไปทางกาย ทางเวทนา ทางจิต ทางธรรม “เวทนา” สิ่งใดเป็นสุข สิ่งใดเป็นความพอใจ มันก็อยากได้ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งใดที่มันขัดแย้งใจ มันก็ผลักไส เห็นไหม ตัณหา วิภวตัณหา ตัณหาคือความอยาก ความให้เป็นไป ความผลักไสความไม่ต้องการเห็นไหม สิ่งนี้มันเป็นกิเลส สมุทัย ตัณหาความทะยานอยากนี้เป็นกิเลส แล้วกิเลสมันอยู่ที่ไหน หาไม่เจอ...

ถ้าสมาธิหัวตอ มันก็บอกว่า “จิตสงบแล้วเดี๋ยว กาย เวทนา จิต ธรรม มันก็จะวิ่งมาให้เราพิจารณา” นี่เขาเรียกว่าหัวตอ พอคำว่าหัวตอนี่มันไม่สัมปยุตด้วยปัญญา มันเลยไม่เป็นสัมมาสมาธิ สัมมาสมาธินะ จิตมันสงบแล้ว มันสัมปยุตด้วยปัญญา ปัญญามันออกหา ออกกระทำ ออกค้นคว้าในสติปัฏฐาน ๔

สติปัฏฐาน ๔ ไม่ใช่กิเลส แต่เราค้นคว้าเพื่อให้จิตเห็นไหม ดูสิเวลาโปฐิละไปศึกษากับสามเณรน้อย เวลาโปฐิละลงใจแล้ว ให้เห็นว่าร่างกายนี้เปรียบเหมือนจอมปลวก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ปิดไว้ ปิดจอมปลวกนี้ไว้ แล้วรอจับเหี้ยตัวนั้น เหี้ยที่มันอยู่ในหัวใจเรา เหี้ยที่มันอยู่ในจอมปลวก จอมปลวกคือร่างกาย แล้วมันคอยแลบออกมาเห็นไหม ออกทางตา ออกทางหู ออกทางกาย ออกทางใจเห็นไหม ปิดไว้ ๕ รู รูที่เหี้ยมันออกหากิน ปิดไว้หมด แล้วเปิดรูไว้รูหนึ่งคือรูหัวใจ แล้วพยายามจับมัน ถ้าจับมันได้แล้วพิจารณามัน

จิตสัมปยุตไปด้วยปัญญา มันจะออกรู้ในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม เพื่อให้เหี้ยตัวนั้น ให้กิเลสตัณหาความทะยานอยากที่มันออกมา นี่ไงไม่ใช่ว่าจิตมันสงบเป็นหัวตอ แล้วก็บอกว่าให้กิเลสวิ่งมาชนจิต จิตมันจะได้วิปัสสนา

ถ้าจิตใจอ่อนแอ ธรรมะอ่อนหัด เราก็คาดก็หวัง พอเราคาดเราหวังนะ มีผู้ปฏิบัติมาก จิตทำความสงบได้ ทำได้สงบมากด้วย แต่ความสงบของเขามันเป็นความสงบแบบหัวตอ แล้วมันไม่สัมปยุตด้วยปัญญา สุดท้ายแล้วนะ ถึงเวลาทำแล้ว เวลาสมาธิมันเสื่อมแล้วเอาขึ้นไม่ได้นะ เหลวไหลไปเยอะมาก เหลวไหลไป.. เริ่มต้นก็ด้วยความเข้มแข็ง ด้วยความตั้งใจจริง ปรารถนาจริง จะทำให้ได้จริง

แต่พอทำไปแล้ว มันไม่ก้าวเดิน มันไม่เป็นมรรคเป็นผลขึ้นมา สุดท้ายแล้วมันเสื่อมหมด พอมันเสื่อมไปแล้วนะ มันก็ลุ่มๆ ดอนๆ อยู่อย่างนั้น ชีวิตทุกข์ยากมากนะ ถ้าอย่างนั้นแล้วทำไมเราปฏิบัติกันแล้วถึงไม่ได้ผล ทำไมเราปฏิบัติกันแล้วถึงไม่ได้ผล เพราะเราอ่อนแอกัน เราไม่เข้มแข็งจริงจัง พอเราไม่เข้มแข้งจริงจัง พวกเราก็ขาอ่อนหมดเลย จะต้องทุกข์นิยมเชียวเหรอ จะต้องทำเป็นอัตตกิลมถานุโยคอย่างนั้นเลยเหรอ

มันจะเป็นทุกข์นิยมหรือไม่เป็นทุกข์นิยม ความจริงมันเป็นแบบนี้ ความจริงมันพิสูจน์กันเห็นไหม ดูสิเขาทำนาเกลือ เขาต้องกักน้ำไว้ รอจนกว่าเกลือมันตกผลึก แล้วเขาต้องกวาด ต้องเก็บผลผลิตของเขา เขาหาบเหงื่อต่างน้ำ ตากแดดทั้งวันเลย ทำไมเขาทำได้ล่ะ แล้วบอกทุกข์นิยม นี่ก็เหมือนกัน เราจะทำนาในหัวใจของเรานะ เราจะทำความจริงของเราในหัวใจของเรานะ ถ้าหัวใจของเรา เราทำความเป็นจริงขึ้นมา มันไม่ใช่ทุกข์นิยมหรอก เราต้องเข้มแข็ง เข้มแข็งแล้วต้องสัมปยุตด้วยปัญญาด้วยนะ

ถ้าเข้มแข็งนะ แต่เราไม่สัมปยุตด้วยปัญญานะ มันก็เหมือนควายตู้ ดูสิ ดูวัวควายมันไถนา มันเข้มแข็งไหม มันทำนาให้เรากินนะ มันเอาใจเจ้านายนะ เพราะมันทำนาร่วมกัน เวลาชาวนากับวัวกับควายต้องทำนาร่วมกัน พอทำนาร่วมกัน เราจะได้ผลประโยชน์มา แล้วเราจะได้หว่านพืช เราจะได้ทำนา เราจะได้ข้าวยุ้งข้าวฉางของเรา อันนี้ก็เหมือนกัน ในเมื่อเราฝึกหัดของเรา จิตใจของเรา เราทำของเรา เราทำงานร่วมกัน เห็นไหม พอจิตมันออกรู้ ออกรู้ในอะไร ออกรู้ในสติปัฏฐาน ๔

ในสติปัฏฐาน ๔ มันไม่ใช่ตัวจำเลย ไม่ใช่ตัวโทษหรอก แต่เพราะกิเลสอาศัยสิ่งนี้เป็นช่องทางออกหาเหยื่อ เพราะกิเลสอาศัยสิ่งนี้ ช่องทางนี้ออกไปแสดงตน เวลามันออกไปนะ ได้สิ่งใดที่พอใจตอบสนองกิเลส กิเลสจะเข้มข้นขึ้น กิเลสจะเข้มแข็งขึ้น กิเลสจะมีอำนาจมากขึ้น แล้วก็ทำให้เราหลงงมงายไปอยู่ในอำนาจของมัน

แต่พอเรามีสติปัญญาขึ้นมาเห็นไหม พอจิตเราสงบแล้ว เราออกมาพิจารณามัน ออกมาพิจารณาจับสิ่งนี้พิจารณา พิจารณาอะไร นี่ไงถึงบอกว่า การขุดคุ้ยหากิเลสเป็นอย่างหนึ่ง จิตสัมปยุตด้วยปัญญา แล้วถ้าเราจับต้องไม่ได้ เราพิจารณาของเราไม่ได้ เราจะเริ่มวิปัสสนาตรงไหน แต่ถ้าเราวิปัสสนาไปแล้ว ถ้าจิตมันมีสัมมาสมาธิพิจารณาไป มันปล่อยมันวางนะ เวลามันปล่อยมันวางมันจะมีความสุขมาก ความสุขจากการประพฤติปฏิบัติเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก ทีนี้ความสุขในการประพฤติปฏิบัติ กิเลสอย่างหยาบ กิเลสอย่างกลาง กิเลสอย่างละเอียด ละเอียดสุด กิเลสมันก็หลอกไปทุกชั้นทุกตอน มันจะมีความสุข มันจะมีความมหัศจรรย์ขนาดไหน เราจะต้องมีหลัก

ส่วนใหญ่แล้วพวกเราเนี่ยจับจด มักง่าย อยากได้ผลไวๆ พอมันปล่อยแล้วเราก็ตีค่ากันไปว่าสิ่งนั้นเป็นธรรมๆ พอสิ่งนั้นเป็นธรรมมันเกิดความประมาท ถ้าสิ่งนั้นยังไม่เป็นธรรม เราจะเกิดสติ เราจะเกิดความวิริยะ ความอุตสาหะ เราจะทำขนาดไหน เหมือนเข็นครกขึ้นภูเขา ถ้าเข็ญครกขึ้นภูเขา เราประมาทไม่ได้เลยนะ ถ้าเราประมาท เราชะล่าใจ เวลาสะดุดทีเดียว ครกมันจะกลิ้งทับเราทันทีเลยล่ะ

นี่ก็เหมือนกัน เวลาวิปัสสนาไป เวลามันปล่อยวางขนาดไหน ถ้าเขาเข็ญครกขึ้นภูเขามันก็ทุกข์ยากนะ แต่นี่เราใช้ปัญญาเพราะจิตเราสงบแล้ว สัมปยุตด้วยปัญญาแล้วเราออกพิจารณาด้วยสติปัฏฐาน ๔ ในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม ถ้ามันปล่อยเห็นไหม มันมีความสุข ความสุขในขั้นของสมาธินะ ถ้าจิตมันตกภวังค์ไป เราเคยเป็นอย่างนั้น แล้วเคยคิดว่าสุข เพราะมันแตกต่างจากโลก เราว่าสิ่งนี้เป็นสมาธิ

แล้วพอมีสติปัญญาใคร่ครวญแล้วมันไม่ใช่ พอมันไม่ใช่ปั๊บ เราทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าสมาธิคือสมาธิ สมาธิหัวตอ มันก็มีรสชาติแตกต่างจากตกภวังค์มาก เพราะมันมีสติพร้อม มีสติพร้อมแต่มันสัมปยุตด้วยปัญญา แต่พอมันมีสติด้วยแล้วมีสมาธิด้วย แล้วสัมปยุตด้วยปัญญาด้วยเห็นไหม ความแตกต่างของเวลาจิตสงบที่มีสัมปยุตด้วยปัญญาที่มีสติปัญญาควบคุม มันมีความสุขหรือมันมีรสชาติ มันมีธรรมรสหรือมันมีความแตกต่างอย่างไร คนที่เคยหลงผิดมามันจะเทียบได้หมดเลย ว่าเวลาตกภวังค์นี้ อารมณ์เป็นอย่างนี้ ถ้ามันเป็นหัวตอมันเป็นอย่างนี้ ถ้ามันสัมปยุตด้วยปัญญามันจะเป็นอย่างนี้

แล้วเวลามันใช้ปัญญาออกใคร่ครวญ ถ้ามันเป็นธรรมะอ่อนหัดนะ เวลามันเป็นภวังค์ หรือมันเป็นหัวตอ มันไม่สัมปยุต มันก็เหมือนเครื่องยนต์ เครื่องยนต์ที่เราไม่ได้เข้าเกียร์ กำลังมันจะทำให้รถมันเคลื่อนไปได้ไหม มันขาดช่วงกันไง แต่พอมันตกภวังค์ไป แล้วเวลามันเป็นหัวตอมันได้ใช้ปัญญาไหม? แล้วปัญญามันเข้าไปในวิปัสสนาไหม? แล้วปัญญามันเป็นโลกุตตรปัญญาไหม? มันไม่เป็นอะไรเลย...

แต่ถ้าคนหลงผิด เราเห็นใช่ไหม รถที่เขาวิ่งกันอยู่นี้ เขาติดเครื่องของเขา แล้วเขาเข้าเกียร์ของเขา เขาเอารถของเขาออกจากตำแหน่ง วิ่งไปเพื่อประโยชน์การค้า เพื่อประโยชน์การคมนาคม เพื่อประโยชน์ของเขาทุกๆ อย่างเลย เราก็มีรถคันหนึ่ง เราก็ติดเครื่องของเรา เราเหยียบคันเร่งของเรา แต่เราไม่ได้เข้าเกียร์ มันเป็นไปได้ไหม มันเคลื่อนไปไหม ถ้าจิตมันสงบโดยที่ตกภวังค์หรือเป็นสมาธิหัวตอ มันไม่มีปัญญาต่อเนื่อง มันไม่มีกระบวนการของจิตที่มันพิจารณาเป็นอริยมรรค มันไม่มีกระบวนการของจิตที่มันเป็นมรรคสามัคคี ที่ให้มรรคนี้มรรคญาณมันขยับตัว

แต่มันสร้างอารมณ์ สร้างสัญญา เพราะฟังเทศน์จากครูบาอาจารย์ ศึกษาในธรรมและวินัย ศึกษาจากพระไตรปิฎก มันก็สร้างภาพ จินตมยปัญญาสร้างขึ้นมา แต่ไม่มีผล ไม่มีผล แต่ถ้าจิตเราสงบเห็นไหม จิตเราสงบนี่เราติดเครื่องเราได้ เราเหยียบ คลัตช์แล้วเราเข้าเกียร์ของเราได้ รถมันจะเคลื่อนออกไป จิต! จิตถ้ามันสัมปยุตด้วยปัญญา แล้วมันใช้ปัญญาใคร่ครวญของมัน รถเคลื่อนที่กับรถจอดอยู่แตกต่างกันนะ

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าปัญญามันหมุนออกไป มันเห็นความแตกต่างเห็นไหม ความแตกต่างระหว่างจิต ถ้ามันลงสู่ภวังค์มันเป็นอารมณ์อย่างนี้ ติดอยู่แค่นั่นล่ะ หายไปอยู่อย่างนี้ ตลอดไป สะดุ้งตื่นรู้สึกตัวมาก็เป็นอย่างนี้ มีอยู่แค่นี้ มีความภูมิอกภูมิใจว่าตัวเองภาวนาได้เวลามากน้อยขนาดไหน ภาวนาแล้วมีความภูมิอกภูมิใจ มันภูมิใจเพราะอะไรล่ะ มันภูมิใจเพราะกิเลสมันเป่าก้นไง กิเลสมันเป่าก้นให้ตัวพองๆ โอ้โห เก่ง ภาวนาดี อู้ฮู สุดยอดคน นี่กิเลสมันเป่าก้น เป่าให้ตัวพอเลย โอ้โห..

แล้วมันก็ทิฐิอยู่อย่างนั้น แล้วมันก็พอใจอยู่อย่างนั้น เพราะมันแตกต่าง แต่ถ้าวันไหนเห็นโทษนะ คอตกเลย คอตกนะ เราหลงกลกิเลสมาพอแรงแล้ว พอมันได้สติปัญญาขึ้นมาเห็นไหม ต้องแก้ไขในความตกภวังค์นั้น มันก็จะเป็นสมาธิ ถ้ามันเข้าได้นะเป็นสมาธิ ความแตกต่างว่าตกภวังค์เห็นไหม มันหายไปเลย แต่ได้เวลามา เวลาสะดุ้งตื่นมา ได้เวลาเท่าไหร่ พอเป็นสมาธิเห็นไหม มันรู้สึกตัวตลอด ความแตกต่างมันชัดเจน ชัดเจนมากเลย คนจะเห็นได้ว่าอ๋อ ภวังค์เป็นอย่างนี้ สมาธิเป็นอย่างนี้ แล้วสมาธิถ้าไม่ออกใช้ปัญญานะ มันก็เหมือนติดเครื่องแล้ว แต่เข้าเกียร์ไม่ได้ เข้าเกียร์ไม่ได้รถก็ออกไม่ได้

ถ้ารถออกไม่ได้ ความต่อเนื่องของศีล สมาธิ ปัญญา มันไม่สมบูรณ์ คำว่าปัญญาที่เกิดจากสัมมาสมาธิมันยังไม่เกิด เพราะฉะนั้นปัญญาที่ยังไม่เกดจากสัมมาสมาธิเห็นไหม เวลาจิตมันตกภวังค์ เวลากิเลสมันเป่าก้น มันก็ว่าสิ่งนั้นประเสริฐเลอเลิศ แต่พอมันออกมาเป็นสัมมาสมาธิเห็นไหม สมาธิหัวตอนะ เป็นสมาธิอยู่ มันก็มีอารมณ์อีกอารมณ์หนึ่ง มันก็ว่าสิ่งนี้ดีกว่าภวังค์ คำว่าดีกว่าแล้วดีกว่าแค่ไหนล่ะ ดีกว่าแค่ไหน

พอดีกว่าอย่างนี้ เพราะถ้ายังไม่ได้สัมปยุตด้วยปัญญา ไม่ได้ออกใช้ปัญญาในสติปัฏฐาน ๔ ความรู้ความเห็นมันก็เป็นสัญญาอารมณ์ ความรู้ความเห็นมันก็เป็นปัญญาของโลก มันก็เอาอริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เอามรรคญาณ เอาธรรมจักรมาพูดได้ แต่มันไม่มีผล มันไม่มีผลเพราะมันไม่สัมปยุตด้วยปัญญา แต่พอมันสัมปยุตด้วยปัญญาเห็นไหม นี่ความรู้สึกแตกต่างแล้ว ถ้าเป็นภวังค์เป็นอารมณ์หนึ่ง ถ้าเป็นสมาธิหัวตอเป็นอีกอารมณ์หนึ่ง เป็นสัมมาสมาธิสัมปยุตด้วยปัญญามันออกรู้ไปนี่ มันเป็นอีกอันหนึ่ง พอเป็นอีกอันหนึ่งเห็นไหม นี่ยมันเทียบเคียงกันได้หมดเลย

นี้คือประสบการณ์ของจิตนะ จิตมันไม่อ่อนแอ ไม่อ่อนหัด ให้กิเลสมันหลอกลวง ถ้าประสบการณ์ของจิต มันแก้มาเป็นชั้นเป็นตอนนะ แล้วถ้ามีครูบาอาจารย์คอยชี้คอยแนะนำ เพราะครูบาอาจารย์ของเราแต่ละองค์ที่ได้ผ่านการประพฤติปฏิบัติมา มันจะผ่านเหตุการณ์อย่างนี้มา นี่พื้นฐานนะ พื้นฐานของการประพฤติปฏิบัติให้เราเข้มแข็ง ให้เราจิตใจเข้มแข็ง จิตใจของเราเห็นไหม จิตวิญญาณของเราให้เข้มแข็ง ให้มีหลักเกณฑ์เหมือนสามเณร ๗ ขวบเป็นพระอรหันต์นะ

สามเณร ๗ ขวบเป็นพระอรหันต์เพราะมีพื้นฐานเข้มแข็งของท่าน ท่านพิจารณาของท่าน ท่านแก้ไขของท่าน จนท่านเป็นพระอรหันต์ได้ นี่เราประพฤติปฏิบัติเราไม่ใช่ ๗ ขวบ เรามันจะ ๗๐ ขวบ เราก็ต้องแก้ไขของเรา เราพยายามทำของเราขึ้นมา ประสบการณ์ชีวิตในการทำงานนั้น อันนี้เป็นประสบการณ์ของชีวิต

แต่เวลาประสบการณ์ของจิตมันละเอียดลึกซึ้งกว่า มันละเอียดลึกซึ้งกว่าเพราะอะไร ประสบการณ์ในการทำงานของชีวิตเห็นไหม มันใช้สมองใช้วิทยาศาสตร์ใช้การวิจัยมัน ทำได้หมดล่ะ แต่ของเราทำอะไรไม่ได้เลย ถ้าวิจัย อะไรต่างๆ วิจัยคือการศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาทำขึ้นไป ประสบการณ์ กิเลสมันอยู่กับเรา มันก็พลิกแพลง มันถึงจะต้องฝืน.. ฝืน.. ฝืน.. ฝืนทุกวิถีทางสิ่งที่เคยเป็น เปลี่ยนร่องน้ำ เปลี่ยนสัญญาอารมณ์ อย่าเสียดายความรู้สึกนึกคิด ความรู้สึกนึกคิดต้องวางไว้ให้ได้ก่อน วางความรู้สึกนึกคิดของเราไว้ แล้วใช้คำบริกรรมอย่างเดียว

เพราะคำบริกรรมมันทำให้จิตใจไม่เอาสิ่งใดๆ ไม่เอาความรู้สึกนึกคิดมาคิด มันจะต้องคิดเรื่องพุทโธ พุทธานุสติ พุทโธมันเป็นพุทธานุสติ มันสะเทือนสามโลกธาตุ สะเทือนหัวใจ สิ่งที่ทำอย่างนี้ เข้มข้นกับตรงนี้! ถ้าเข้มข้น อยู่กับพุทโธทั้งวันทั้งคืน เพราะถ้าไม่อยู่กับพุทโธ มันคิดทั้งวันทั้งคืนเหมือนกัน ถ้าไม่อยู่กับพุทโธมันก็คิด คิดจนเป็นความเคยชิน คิดจนเรานึกว่าไม่ได้คิดไง เรานึกว่าเราไม่ได้คิดอะไรนะ แต่ความคิดเราคิดตลอดเวลา

แต่พอเราบังคับให้มันพุทโธนะ มันทั้งเหนื่อย ทั้งหอบ ทั้งลำบากไปหมดเลย เวลาทำงานไม่มีอะไรเป็นความสุขความพอใจเลย แต่ถ้ามันปล่อยมันเร่ร่อนนะ โอ้โห มีความสุข ธรรมะนี่ โอ้โห รู้ไปหมดเลย เพราะอะไรล่ะ เพราะว่ามันอ่อนหัดไง ธรรมะอ่อนหัดมันก็จะทำให้จิตใจได้ธรรมะที่อ่อนหัด ถ้าเข้มแข็งขึ้นมานะ พิจารณาถ้าจิตมันเป็นไปได้ แล้วมันเข้มแข็งขึ้นมา พอมันเข้มแข็งขึ้นมา มันสัมปยุตด้วยปัญญา ถ้ามันไม่สัมปยุตด้วยปัญญานะ มันจะอยู่อย่างนั้น

เวลาสัมมาสมาธิ เวลาหลวงปู่มั่นท่านพูดกับหลวงตาเห็นไหม สัมมาสมาธิถ้ามันไม่เป็นสัมมาสมาธิแล้วมันจะเดินได้อย่างไร หลวงปู่มั่นบอกว่า สัมมาสมาธิของท่านอย่างหนึ่ง เพราะมันเต็มไปด้วยสมุทัย เต็มไปด้วยตัณหาความพอใจของเรา คือสมุทัย แต่สัมมาสมาธิขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันสัมปยุตด้วยปัญญา มันเป็นสัมมาสมาธิ เพราะเรา เรามีเงินทอง เราก็ว่าเงินทองของเราถูกต้องดีงามไปหมด แต่คนที่เขามีเงินมีทอง ท่เขาคุณค่ามากกว่า เขาก็เห็นว่าเงินทองของเขามีคุณค่ามากกว่า

จิตใจของเราแต่ละระดับชั้นขึ้นมาก ปุถุชน กัลยาณปุถุชน โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามรรค สกิทาคาผล อนาคามรรค อนาคาผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล นิพพาน ๑ เห็นไหม ดูสิ บุคคล ๘ จำพวกที่จิตใจนี้มันจะเปลี่ยนแปลง มันจะแก้ไขของมันขึ้นไปเป็นชั้นเป็นตอน ฉะนั้นจิตใจของเรา เราก็แก้ไขของเรา เราก็ทำของเรา ให้มันพัฒนาขึ้นมาเป็นชั้นเป็นตอน ด้วยความเข้มแข็ง ด้วยความวิริยะ ด้วยความอุตสาหะ ความอดทนของเรา เราจะต้องอดทนนะ

เวลามันเจ็บปวดเห็นไหม เวลานั่งเวทนามันเจ็บปวด เราทนเจ็บเอาเฉยๆ เห็นไหม เราก็ทน แต่เพราะการทนนี้เป็นขันติธรรม ขันติถ้าเราไม่มีความอดทนเลย เหมือนลมพัดใบไม้ไหว พอมีสิ่งใดกระทบขึ้นมาเราก็ลุกเราก็หนีทุกทีเลย แต่ถ้าเรามีขันติธรรม สิ่งใดเห็นไหม ลมพัดเย็นดี แดดออกร้อน ไม่มีเวทนามันก็มีความสุขใจ มีเวทนาขึ้นมา เราก็มีความทุกข์ใจ นี่คือสิ่งที่ว่าขันติธรรม ความอดทนคือความเข้มแข็ง แต่ถ้าการชนะเวทนามันต้องใช้ปัญญา ถ้าไม่ใช้ปัญญา เราจะเอาอะไรไปชนะมัน

ถ้าสัมปยุตด้วยปัญญามันแยกแยะแล้ว เวทนามันเกิดมาจากสิ่งใด? เวทนาเกิดขึ้นมาเพราะเวทนาเห็นไหม เวทนาสักแต่ว่าเวทนา เวลาจิตมันสมบูรณ์จิตมันมีความพอใจของมัน เวทนาไม่เห็นมีเลย ถ้าจิตมันพอใจ จิตมันมีความสุขนะ เวทนาไม่มีหรอก ถ้าจิตมันเบื่อนะ โอ้โห เวทนามันโหมใส่ๆ เลย เวทนามันเป็นแบบนั้นล่ะ

ฉะนั้นจิตเราเป็นคนเรียกแขกมาเอง จิตเรามันเรียกเวทนามา ถ้าไม่พอใจ โอ้โห มันพุ่งเข้าใส่เลย มันเปิดช่องให้เขา แต่ถ้าจิตมันไม่เรียกแขก จิตมีความสงบระงับเห็นไหม เวทนาไม่มี เวทนาไม่มา นี่พูดถึงว่าเวลามันเรียกแขก และไม่เรียกแขก เราก็ไม่รู้ แต่ถ้ามันเรียกแขกมาแล้วนะ แล้วเราจะไล่แขกกลับอย่างไร เราเรียกเวทนามาแล้ว เวลาเราคิดผิด เวทนาพุ่งมาใส่เลย แล้วเราจะผลักให้เวทนานั้นไปอย่างไร

เราก็ใช้ปัญญามันไล่แขกออกไป ไล่เวทนาออกไป อะไรเป็นเวทนา พอมันใช้ปัญญาไล่ต้อนกับสิ่งที่คิดในหัวใจ พอมันไล่ต้อนไปแล้ว มันไม่มีอะไรเป็นเวทนาเลย เพราะเวทนาเป็นนามธรรม เวทนาเห็นไหม สุขเวทนา ทุกขเวทนา อุเบกขาเวทนา มันเป็นทาสเหรอ มันเป็นอะไร มันเป็นนามธรรม แล้วนามธรรมใครไปยึดไปเหนี่ยวมันมาล่ะ ก็หัวใจมันโง่ ถ้ามีปัญญาเกิดเห็นไหม ปัญญาจะเกิดได้ เราต้องมีสติ เราต้องมีสมาธิ พอปัญญามันจะเกิดได้เห็นไหม มีสติมีสมาธิมันก็มีขันติธรรม พอมีขันติธรรมเราก็มีโอกาสได้พิจารณา

แต่ถ้าเราไม่มีขันติธรรม ไม่มีความอดทน เวทนามาก็ลุกหนี ทุกอย่างเราก็ท้อถอย ทุกอย่างเราก็ไม่ทำสิ่งใดเลย แล้วมันจะพัฒนาตรงไหน แต่ถ้าเรามีสติมีสมาธิเห็นไหม ถ้ามันเกิดขึ้นมา เราเรียกแขกมาแล้ว เราก็ต้องไล่มันไปด้วยปัญญาของเรา แต่ถ้ามันพอใจเห็นไหม มันไม่เปิดช่องให้แขกมาเลย จิตพุทโธๆๆ จนจิตมันลงสมาธิ พอลงสมาธิจิตมันใช้ปัญญาของมันไปก้าวเดินของมันไป มันไม่เรียกแขกมา

ไม่เรียกแขกมา มันก็ใช้ปัญญาของมันไป ปัญญาที่มันก้าวเดินของมันไปเห็นไหม ฝึกฝนอย่างนี้ นี่คือว่า ถ้ามันมีการฝึกฝนนะ ธรรมะมันถึงไม่อ่อนหัด ไม่อ่อนหัดเพราะอะไร ไม่อ่อนหัดเพราะจิตมันได้ประสบการณ์ จิตมันได้หลงผิดมาจากการตกภวังค์ จิตมันได้แก้ไขมาจนเป็นสมาธิหัวตอ จิตมันได้แก้ไขว่าหัวตอไม่เอา มันไม่สัมปยุตด้วยปัญญา

พอปัญญาที่เกิดจากสัมมาสมาธิ มันได้แก้ไข มันได้ใช้ปัญญาแยกแยะในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม จนมันปล่อยวางเป็นตทังคปหาน การปล่อยวางชั่วคราว ตทังคปหานแล้ว เพราะการใช้ปัญญาแล้ว ถ้ากิเลสยังไม่สิ้นสุด มันจะปล่อยวางๆ เพราะกระบวนการของมันมี ในเมื่อจิตมันพัฒนาของมันขึ้นมาเป็นชั้นเป็นตอน กระบวนการของมัน จิตได้ทำงานแล้ว จิตได้ทำงานแล้วเห็นไหมดูสิ เรามีขันติธรรม เราอดทน เรามีขันติบารมี เราจับสิ่งใดแล้วแยกแยะๆ เห็นไหม นั่นการใช้ปัญญา

นี่จิตมันมีสมาธิแล้วมันใช้ปัญญาของมัน มันได้แยกของมันเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไปเห็นไหม เวลามันปล่อยกระบวนการของจิต เหมือนซักผ้า! ซักผ้านี่ผ้าสกปรกพอซักมันก็สะอาดใช่ไหม เวลาเราใช้ผ้า ผ้าก็สกปรกอีกใช่ไหม สกปรกก็ซักอีก ก็สะอาดอีก ใช้อีกก็สกปรกอีก จิตใจถ้ามันพิจารณากิเลส มรรคญาณมันเข้าไปทำความสะอาด มันก็ปล่อยๆ เห็นไหม เหมือนซักผ้า! แต่ไม่เสร็จซักที ไม่เสร็จเพราะอะไร ไม่เสร็จเพราะเราใช้มันไง เสื่อผ้าเราก็ต้องใช้ทุกวัน เราก็ต้องใส่มันทุกวัน ใส่แล้วก็ต้องทำความสะอาด

จิต! ถ้ามันยังมีอวิชชาอยู่ ในเมื่อเราพิจารณามันอยู่ ถึงได้กำลังด้วยการซักฟอกของมรรคญาณ ซักฟอกด้วยมรรค ๘ ซักฟอกด้วยศีล สมาธิ ปัญญา มันทำความสะอาดใจๆ มันทำความสะอาดใจมันก็ปล่อย.. ปล่อย.. ปล่อยเพราะมันมีมรรคไง มันมีศีล สมาธิ ปัญญา สมบูรณ์ไง มีศีล สมาธิ ปัญญาขึ้นมา ในประสบการณ์ของใจที่มันไม่อ่อนหัด เพราะมันอ่อนหัดมันก็ล้มลุกคลุกคลานมาใช่ไหม พอมันยืนตัวได้ มันเข้มแข็งของมันขึ้นมา มันทำงานเห็นไหม ดูสิ แรงเราก็ไม่มี สิ่งใดก็ไม่มี เราซักผ้าได้ไหม เราซักผ้าเราก็ต้องมีแรงใช่ไหม เราต้องขยำ เราต้องขยี้ ผ้ามันถึงจะสะอาดใช่ไหม

นี่ไง จิตมีสติ มีสมาธิ มีปัญญา มันก็เข้มแข็งของมัน มันก็จะพิจารณาของมัน มันก็ทำงานของมัน มันสมบูรณ์ กระบวนการมันสมบูรณ์เพราะประสบการณ์ของจิตมันมีการกระทำมาเห็นไหม มันไม่อ่อนหัด! ไม่ล้มลุกคลุกคลาน! ไม่ยอมจำนนกับกิเลส! ไม่ยอมแพ้! ไม่ยอมจำนนกับชีวิตนี้! ไม่ให้ชีวิตนี้เกิดตายๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เกิดมาชาตินี้ เกิดมาเป็นมนุษย์นี่ทุกข์มาก เกิดมาในพุทธศาสนาแล้วก็อยากจะประพฤติปฏิบัติ อยากจะพ้นจากมันให้ได้ อยากจะมีการกระทำเห็นไหม แล้วพอมันเข้มแข็งขึ้นมา มันซักมันฟอกขึ้นมาด้วยมรรคญาณ ด้วยการกระทำเห็นไหม มรรคโค ทางอันเอก การซักฟอกในหัวใจที่ละเอียด มันปล่อยขนาดไหน ซักแล้วซักเล่า ทิ้งไม่ได้! ทิ้งไม่ได้จำไว้ให้ดี ทิ้งไม่ได้!

ถ้าทิ้งเห็นไหม ดูสิเวลาจิตมันลงสัมมาสมาธิ เวลาลงไปแล้ว ถ้ามันสักแต่ว่า มันไม่ทำสิ่งใดเลย นี่ก็เหมือนกัน ถ้าพิจารณาแล้วมันปล่อยวางๆ ถ้าทิ้งนะ สมาธิจะเข้าไปขนาดไหนมันก็เสื่อม เพราะเราทิ้ง เพราะเราพิจารณาแล้วเราเข้าใจว่าเราให้คะแนนของเราเอง แล้วเราเลินเล่อเห็นไหม เวลามันเสื่อมนะ เวลากิเลสมันเสื่อม เหมือนกับไข้ เรารักษาไข้ แล้วไข้นั้นไม่หาย เวลาไข้มันตีกลับนะ เราจะรักษานี่ โอ้โห มันดื้อยา โอ้โห ยุ่งไปหมดเลย

แต่ถ้าเราพิจารณาของเราไปนะ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า มันจะปล่อยขนาดไหน นั่นคือเราใช้ยาควบคุมโรคได้หมด แต่มันยังไม่หาย โรคยังไม่สิ้นสุด ซ้ำเข้าไป ซ้ำเข้าไป ถึงที่สุดนะ แล้วเราให้ยาครบกระบวนการของมันนะ ถ้าไข้นั้นหายไป ถ้าพิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต พิจารณาธรรม พิจารณาซ้ำๆ ถึงเวลามันขาด

ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕ เวลาพิจารณากาย กายมันขาดออกเป็น ๓ ทวีปเลย กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ รวมลง จิตรวมลง จิตปล่อยวางหมดเลย สมุจเฉทปหาน มันขาด! มันความเป็นจริงนะ สิ่งนี้เป็นอกุปปธรรม ถ้าสิ่งนี้เกิดขึ้นมาในหัวใจดวงใด หัวใจดวงนั้นจะไม่วอกแวกวอแวอีกแล้ว ใจดวงนี้พาดเข้ากระแส ใจดวงนี้พาดเข้าสู่มรรคผลนิพพาน เข้ากระแสแล้วจะนิพพานไปข้างหน้าเด็ดขาด

จิตที่ล้มลุกคลุกคลานที่เราทำกันอยู่นี้ เราทำของเรา เพื่อประโยชน์กับเรา ถ้าทำแล้วมันสมประโยชน์กับเรา สมความปรารถนาของเรา เราจะทำของเราได้ นี้คือการกระทำนะ แล้วมันเกิดมาจากไหนล่ะ เห็นไหม ธรรมะเกิดจากโลก โลกทัศน์ โลกของเรา ปฏิสนธิจิต เกิดมาเป็นมนุษย์ทุกข์ยากอยู่อย่างนี้ หัวใจดวงทุกข์ยากนี้ ถ้าขยันหมั่นเพียร มันจะพาใจดวงนี้พ้นจากทุกข์ได้ ใจดวงของเรานี่แหละ แล้วมันจะพ้นจากทุกข์ได้ด้วยมรรคญาณ ด้วยธรรมจักรในหัวใจ จะพ้นจากทุกข์ทางอื่นไม่มี เอวัง