เทศน์บนศาลา

จิต-ธรรมชาติที่รู้

๕ ก.ย. ๒๕๕๔

 

จิต-ธรรมชาติที่รู้
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๔
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจฟังธรรม เราอุตส่าห์เกิดมานะ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา เพราะเกิดมาพบพระพุทธศาสนาเลยหูตาสว่าง ถ้าไม่เกิดมาพบพระพุทธศาสนา เห็นไหม

“จิต! ธรรมชาติที่รู้” มันรู้ของมันนะ จิตนี่เป็นธรรมชาติที่รู้ พอจิตมันมีการเกิด พอเกิดขึ้นมานี่ถ้าไม่พบพระพุทธศาสนา เราจะมีมุมมองความรู้สึกแตกต่างกันไป แต่ในพระพุทธศาสนาสอน เห็นไหม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นมาถึงย้อนอดีตชาติได้ ย้อนได้หมดว่ามันมีที่มาที่ไปอย่างใด

ถ้าไม่มีที่มาที่ไปนะ.. เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมนะ เผยแผ่ธรรม เทศนาว่าการ เวลาใครฟังเทศน์หนเดียวเป็นพระอรหันต์.. พระจะถามมาก “ทำไมเป็นอย่างนั้น.. ทำไมเป็นอย่างนั้น..” ถ้าเป็นอย่างนั้นเพราะอะไร เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอนาคตังสญาณ รู้ไปหมด คำว่า “รู้” เพราะอะไร เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างบุญญาธิการมา

ถ้าเป็นศาสดา! ถ้าศาสดายังมีความสงสัย ศาสดายังไม่หูแจ้งตาสว่าง ศาสดาจะสอนได้อย่างใด ศาสดาต้องหูแจ้งตาสว่าง ศาสดารู้หมด เพียงแต่ว่าในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในพระไตรปิฎก นี่ในพระไตรปิฎกพูดไว้เองว่ามีพระถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บอกว่า “สิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดนี่มันสว่างกระจ่างแจ้ง ไม่มีความลับ ไม่มีลับลมคมในในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า”

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า “นี้เป็นแค่ใบไม้ในกำมือเท่านั้น”

ถ้าใบไม้ในป่า ความรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังมีอีกมหาศาล แต่มันไม่เป็นประโยชน์ เห็นไหม คำว่า “ไม่เป็นประโยชน์” เวลาเราติดขัดขึ้นไปถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านแสดง ท่านจะแก้ไขเราทั้งนั้น แต่ถ้าเป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ใช่ไหม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่พยากรณ์.. คำว่า “ไม่พยากรณ์” มันไม่เป็นประโยชน์น่ะ นี่เป็นประโยชน์ อยากรู้อยากเห็น “นรก-สวรรค์มีหรือเปล่า เป็นจริงหรือเปล่า” เวลา “เป็นจริงหรือเปล่า” เวลาไปถามนี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านไม่ตอบนะ

แต่เวลาพระโมคคัลลานะไปเที่ยว ไปสวรรค์มา ไปต่างๆ มา เห็นไหม มายืนยันว่า “คนบ้านนั้น ตระกูลนั้น ตายแล้วได้ไปเกิดชั้นนั้นๆ” องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารับประกันตลอด สิ่งที่เป็นประโยชน์.. สิ่งที่เป็นประโยชน์ ให้คนเชื่อมั่น ให้คนเห็นเรื่องทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว การทำคุณงามความดี มันจะเป็นประโยชน์กับใจดวงนั้น ใครทำความชั่ว มันจะให้โทษกับใจดวงนั้น ถ้าใจดวงนั้น.. การเกิดและการตายในวัฏสงสาร.. นี่พระโมคคัลลานะไปมา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านรับประกันนะ.. ท่านบอกว่า เวลาแสดงธรรม ชาวราชคฤห์บ้านนั้นตายที่ไหน ไปเกิดที่ไหน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านรับรองหมด ท่านรับรองเห็นไหม นี่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเผยแผ่ธรรม

แต่ถ้าผู้ที่มีทิฏฐิมานะมาถาม “จะต้องแสดงให้เห็นอย่างนั้นๆ”

ท่านบอกว่า “เราได้สัญญาไว้หรือว่าเราจะพูดอย่างนั้น เราไม่ได้สัญญาไว้เลย”

ท่านไม่ได้สัญญาไว้เลย ไม่ใช่หน้าที่ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะแสดงอย่างนั้น ไม่แสดงอย่างนั้นนะ ไม่แสดงอย่างนั้น เพราะเป็นทิฏฐิมานะ มันไม่เป็นประโยชน์! ไม่เป็นประโยชน์ตรงไหน? ไม่เป็นประโยชน์เพราะเขาไม่ได้สงสัย เขาไม่ได้เป็น เหมือนธรรมโอสถไง ถ้าเป็นธรรมโอสถ เป็นโอสถ เป็นสิ่งที่แก้ไข เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะพยากรณ์ทันที แต่นี่มันไม่ใช่! มันไม่ใช่ขึ้นมา นี่เป็นทิฏฐิมานะเฉยๆ เป็นอยากรู้อยากเห็นเฉยๆ เห็นไหม นี่เพราะความไม่รู้ไม่เข้าใจ เขามีทิฏฐิของเขา เขาต้องการอย่างนั้น นี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่พยากรณ์ ฉะนั้น คำว่า “พยากรณ์” นะ..

ฉะนั้น ในปัจจุบันเราเกิดเป็นชาวพุทธ พบพระพุทธศาสนา หูแจ้งตาสว่าง เราก็เข้าใจของเรา แต่ขนาดว่าเข้าใจของเรานะ เราจะประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ถ้าคนมีมุมมอง มุมมองในเรื่องของจิต เห็นไหม ในลัทธิศาสนาต่างๆ เวลาพูดถึงเรื่องจิตเรื่องวิญญาณต่างๆ ก็มีมุมมองต่างๆ กันไป ฤๅษีชีไพรเขาก็มีมุมมองของเขาเป็นอย่างหนึ่ง เพราะฤๅษีชีไพร เห็นไหม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากำลังแสวงหาอยู่ ไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ พวกเดียรถีย์ นิครนถ์ต่างๆ เขาก็มีความเห็นของเขา เขาก็ว่าไปของเขา

สิ่งที่ความสงบของเขาเพราะอะไร เพราะมุมมองของเขา เพราะความรู้สึก ปัญญาของเขา เขาถือว่าเขาปฏิญาณตนว่าเขาเป็นศาสดา เขาเป็นพระอรหันต์ทั้งนั้นน่ะ แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษามาแล้ว ไม่มีสิ่งใดที่เป็นความจริงเลย ฤๅษีชีไพร เวลาเขาทำความสงบของใจเข้ามานะ เขาเข้าฌานสมาบัติของเขา เขารู้วาระจิตได้ เขารู้แบบฌานโลกีย์ได้ทุกเรื่องเลย สิ่งที่เป็นฌานโลกีย์ คำว่า “ฌานโลกีย์” เห็นไหม

จิต-ธรรมชาติที่รู้.. ธรรมชาติที่รู้!

ถ้าธรรมชาติที่รู้ เวลาจิตมันธรรมชาติที่รู้ ธรรมชาติที่รู้มันมีพลังงานของมันไง

เวลาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกไว้นะ “สิ่งที่มีคุณค่าที่สุดคือหัวใจของมนุษย์” เพราะหัวใจของมนุษย์มันสามารถชำระกิเลสของมันได้ นี่หัวใจของมนุษย์ สิ่งที่ชำระกิเลสต้องกลับมาชำระที่ใจนี้ แต่ขณะที่คนที่เขามีวุฒิภาวะใช่ไหม เขามีจิต-ธรรมชาติที่รู้.. ธรรมชาติมันรู้เหมือนกัน ธรรมชาตินี่มันรู้ แต่มันรู้ด้วยวิธีการใดล่ะ?

เวลามันรู้ขึ้นมา มันรู้ในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รู้ด้วยธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ คือส่งออก ความรู้ของเขา ความเห็นของเขา.. ฤๅษีชีไพร เวลาเขาทำความสงบของใจขึ้นมา เขามีฌานสมาบัติของเขาขึ้นมา เห็นไหม เขารู้ของเขา เขารู้ด้วยอภิญญา ด้วยฌานโลกีย์ของเขา สิ่งที่เป็นฌานโลกีย์ มุมมองมันเป็นอย่างไรล่ะ เพราะฌานโลกีย์ของเขา นี่ธรรมชาติที่รู้ มันรู้ด้วยพลังงาน มันรู้ด้วยการส่งออกไป มันจะเข้าไปสู่จิตนั้นไม่ได้เลย เพราะสิ่งที่ทำความสงบของใจ เวลาฌานโลกีย์ เวลาอภิญญา มันส่งออกทั้งหมด

ทีนี้พอเวลาส่งออกทั้งหมด เวลาการประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เราบอกว่า สิ่งที่บอกว่า พวกกรรมฐาน พวกพุทโธ มันจะเกิดนิมิต เกิดต่างๆ สิ่งนี้มันเป็นวิธีการ มันเป็นเรื่องของจิต ธรรมชาติที่มันรู้ มันรู้ของมันอย่างนั้น แต่เขาจะย้อนกลับ! เขาจะย้อนกลับเข้ามาสู่จิต แต่ในเมื่อยังไม่ย้อนกลับ มันกำลังจะย้อนกลับ มันมีสิ่งที่มันเป็นพันธุกรรมของมัน เป็นสิ่งขวากหนามของจิต มันก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งใช่ไหม

แต่ถ้าเขา.. จิต-ธรรมชาติที่รู้ รู้โดยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก เขารู้ของเขาได้อย่างนั้น ถ้าเขารู้ของเขาได้อย่างนั้น เขามีปัญญาได้ขนาดนั้น เขาก็มั่วของเขา มีความเห็นแตกต่างของเขา เขามีความพอใจของเขานะ นี่คือวุฒิภาวะ วุฒิภาวะของจิต จิตที่มันไม่มีอำนาจวาสนา เขาก็เชื่อของเขาได้แค่นั้นนะ

แต่ในปัจจุบันนี้ เวลาเราประพฤติปฏิบัติ เราศึกษาธรรมๆ กันน่ะ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างหนึ่งนะ กิเลสตัณหาความทะยานอยากที่มันตีความตีค่านั่นก็ไปอีกอย่างหนึ่ง ดูมุมมองของลัทธิศาสนาต่างๆ เห็นไหม เขาว่าถือพระเจ้า พระเจ้าเป็นผู้พิพากษา ทำคุณงามความดี แล้วล้างบาปของเขา นี่พระเจ้าเป็นผู้พิพากษา

ในพราหมณ์ก็บอกว่ามันเป็นอาตมัน เราเป็นส่วนหนึ่งของพระเจ้า ทำสิ่งใดแล้วต้องไปสิ้นสุดที่พระเจ้า พระเจ้าจะเป็นผู้ตัดสินเท่านั้น นี่เหมือนกัน ถ้านี่เป็นตรรกะ ความเป็นตรรกะหมายถึงว่าเป็นนักปราชญ์ เห็นไหม พราหมณ์สมัยนั้นน่ะ เขามีความรู้ความเห็นของเขา เขามีความรู้ความเห็นเรื่องของจิตของเขาได้แค่นี้ เขาก็มีความรู้ความเห็นเป็นไปได้เท่านั้น ฉะนั้น มีความรู้ความเห็นเท่านั้นใช่ไหม

เราเอง เดี๋ยวนี้ ปัจจุบันนี้ เราเป็นนักปราชญ์เหมือนกัน เรามีการศึกษาขึ้นมา เราก็บอกว่า “จิตนี้ นิพพานมันมีอยู่แล้ว เราดั้นด้นเข้าไป เรากำหนดของเราเข้าไป พอไปถึงนิพพาน นิพพานจะเป็นผู้พิพากษาแล้ว นิพพานจะพิพากษาว่าเราจะ.. เห็นนิพพานแว็บหนึ่งเป็นโสดาบัน เห็นนิพพานแว็บหนึ่งจะเป็นสกิทาคา เป็นอนาคา ไปถึงเห็นนิพพานจนเต็มตาเต็มใจ มันถึงจะเป็นนิพพาน” เห็นไหม

เวลาพวกนับถือพระเจ้านะ เขาว่า “พระเจ้าจะเป็นผู้พิพากษา” พิพากษาทำดีทำชั่วของเรานี่ แล้วทำดีทำชั่วของเราแล้วอ้อนวอนน่ะ อ้อนวอนแล้วมันจะได้ตามความสมความปรารถนา พระเจ้าจะดูแลเรา นี่เขามีความเชื่อของเขาอย่างนั้น ถ้ามีความเชื่อของเขาอย่างนั้นนะ แล้วเวลาเขาก็มีการปฏิบัติเหมือนกัน เขามีการสวดมนต์ของเขา เขามีการร้องเพลงของเขา แล้วจิตใจของเขาก็เป็นนะ จิตใจของเขาน่ะ เขาทำได้ “ผู้ใดมีความทุกข์ เขาจะเปลื้องความทุกข์ออกจากใจของเขา ผู้ใดมีโรคภัยไข้เจ็บ เขาจะเปลื้องโรคภัยไข้เจ็บออกจากเขา” นี่ของเขาทำได้

แต่พุทธศาสนามันไม่มีสิ่งใดสมความปรารถนาเลย มีแต่ความทุกข์ “ทุกข์เป็นอริยสัจ ทุกข์เป็นความจริง” เขาเบื่อหน่าย เขาไม่มีธรรม แต่ถ้าเขาไปอ้อนวอนกัน เขาไปขอกันนะ แล้วเขาได้ เห็นไหม

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่าเรื่องจิตนี่เรื่องสำคัญมาก “มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา.. ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ใจเป็นผู้ระลึกรู้” ทีนี้ใจที่ผู้ระลึกรู้..

นี่ถ้าเขาเชื่อถือของเขา เขามั่นคงของเขา ความมั่นคงของเขา อาการของใจ ใจมันเป็นไปได้ ถ้าพูดถึงว่าเขาอ้อนวอนเอา เขาขอเอาได้ พวกเราในปัจจุบันนี้ ชาวพุทธที่ถือลัทธิต่าง ชาวพุทธที่ขาดจากไตรสรณคมน์ เห็นไหม เวลาเขาไปทรงเจ้าเข้าผี เวลาทรงเจ้าเข้าผี มีความทุกข์ “ลูกช้างจะมีความทุกข์มาก ขอให้เจ้าพ่อเจ้าแม่ช่วยหน่อย” เจ้าพ่อเจ้าแม่ก็พ่นน้ำลายใส่หัวนะ “โอ้โฮ.. ทุกข์หายหมดเลย มีความสุข”

เหมือนกัน! มันก็มีค่าเท่ากันน่ะ เราไปหาเจ้าพ่อเจ้าแม่นะ เจ้าพ่อเจ้าแม่ก็บ้วนน้ำลายใส่นะ ถ่มน้ำลายใส่หัวนะ “ลูกช้าง พ่วง.. หาย.. พ่วง.. หาย” นี่เห็นไหม พระเจ้าเป็นผู้พิพากษา เพราะผู้พิพากษา จิตใจทำไมมันมีผลล่ะ นี่ก็เหมือนกัน เวลาเราไปหาคนทรงเจ้าเข้าผี “ลูกช้างมีความทุกข์มาก ลูกช้างมีแต่ความทุกข์ร้อน โอ๋ย.. พ่วง.. หาย.. พ่วง.. หาย..” หายนะ หายด้วยสัญญาอารมณ์ หายด้วยสามัญสำนึกเดี๋ยวเดียว นี่แล้วมันเป็นอย่างไรต่อไปล่ะ

เวลามันทุกข์ มันแบกทุกข์มาแทบเป็นแทบตาย พอเขาพ่วง.. หาย.. นี่หายตามเขาไปเลย เห็นไหม ใจมันเป็นน่ะ ใจมันคิด ใจมันเป็นขึ้นไป เราก็ไปเห็นว่ามันเป็นความมหัศจรรย์ เป็นความจริง นี่สิ่งที่โลกเขาเป็นกันอย่างนั้น

“จิต-ธรรมชาติที่รู้” แต่รู้ด้วยมุมมองและวิธีการของใคร ถ้ารู้ที่มุมมองนะ เห็นไหม จิตนี้เป็นสากลนะ เวลาเราทำสมาธิเข้าไปสู่จิตมันเป็นสากล แต่คำว่า “เป็นสากล” สากลแล้วรับรู้เรื่องอะไรต่อไป สิ่งที่รับรู้เรื่องอะไรต่อไปเพราะจิต.. เข้าไปสู่จิต จิตเป็นสากล แต่มันเป็นอวิชชา มันมีตัณหาความทะยานอยากครอบงำมันอยู่น่ะ ถ้ามีความตัณหาทะยานอยากครอบงำมันอยู่น่ะ แล้วเราจะก้าวเดินอย่างไรต่อไป ถ้าเราจะก้าวเดินต่อไปอย่างไร เห็นไหม ดูสิ เวลามนุษย์เรา คนตายจิตออกจากร่างไป มันก็ซากศพ มันก็ขอนไม้ มันก็แร่ธาตุอันหนึ่ง ธาตุ ๔ เท่านั้น ต่อไปมันจะแข็งนะ แล้วพอกาลเวลาผ่านไป มันจะเน่าของมัน มันย่อยสลายกลับไปสู่ธรรมชาติเดิมของเขา ดิน น้ำ ลม ไฟ นี่มันเป็นธาตุ ๔ แน่นอนอยู่แล้ว นี้พูดถึงว่าถ้าจิตมันออกจากร่างไป มันมีสิ่งใดบ้าง ร่างกายนี้จะรับรู้สิ่งใด

แต่เวลามีจิตอยู่ แล้วเรารับรู้สิ่งใด? ทีนี้พอศึกษาศาสนา เราเป็นชาวพุทธ ชาวพุทธบอกว่า “ให้ย้อนกลับมา” เพราะเราย้อนกลับมา เวลาเรานับถือศาสนา เราถึงไตรสรณคมน์ เรานับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่งของเรา ถ้าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่งของเรา ใครเป็นที่พึ่งล่ะ? องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา เพราะบรรพบุรุษของเรามีปัญญา ถึงนับถือพระพุทธศาสนา แล้วเราเกิดมาท่ามกลางพระพุทธศาสนา เราเกิดมาเป็นชาวพุทธ

ทีนี้เราเกิดมาเป็นชาวพุทธ เราก็มีวัฒนธรรมประเพณีของเรา วัฒนธรรมประเพณีนะ ทีนี้วัฒนธรรมประเพณีของเรา เห็นไหม “ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา” ทีนี้เราเป็นอุบาสก-อุบาสิกา เราเป็นภิกษุ เป็นนักบวชกันอยู่นี่ สิ่งที่วัฒนธรรมประเพณี เห็นไหม วัฒนธรรมประเพณีของเรา เราก็ถือวัฒนธรรมประเพณีของเรา ทีนี้เราก็ศึกษาธรรมะของเรา ถ้าเรามีศรัทธาความเชื่อ เราจะประพฤติปฏิบัติ เราก็ศึกษาธรรมะของเรา

“ศึกษาธรรมะๆ” ศึกษาธรรมะของใคร?

เวลาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เราถึงไตรสรณคมน์ เรามีที่พึ่งอาศัย เวลาเราศึกษา เราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยิ่งศึกษาอภิธรรมยิ่งชัดเจน อาการของจิต จิตมันมีอาการของมันตลอดไป ศึกษาแล้วมันได้อะไรล่ะ? ศึกษาในภาคปฏิบัติ.. ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ.. การศึกษาเล่าเรียน เพราะเราศึกษามา เวลาศึกษา เห็นไหม

ดูสิ เวลามุมมองของชาวพุทธที่ขาดจากไตรสรณคมน์ ขาดจากไตรสรณคมน์เพราะไปถือผีถือสาง เวลาถือผีถือสาง เวลามีความทุกข์ความร้อน ไปหาทรงเจ้าเข้าผี เห็นไหม เขา “พ่วง.. หาย.. พ่วง.. หาย..” จิตใจทำไมมันปลอดโปร่งล่ะ.. จิตใจนะ ถ้าคนเชื่อของเขา เขาทำของเขา เห็นไหม คนถือผี มีสิ่งใดต้องเซ่นผีๆ เพื่อความอยู่มั่นคงของเขา ความมั่นคงของเขานี่เพราะจิตใจของเขา เขาเชื่อของเขา เขาผ่อนคลายของเขาได้

ฉะนั้น ในการศึกษาธรรม จิตใจมันละเอียดลึกซึ้งกว่านั้น ศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.. ความรับรู้สึก! ความรับรู้สึก! เห็นไหม นี่สิ่งนี้ ปริยัติ ความรับรู้สึก.. รับรู้สึกแล้วมันได้สิ่งใดมาล่ะ เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ยิ่งศึกษาอภิธรรม รู้ไปหมด จิตกี่ดวง จิตอย่างไร จิตมีความเป็นไปอย่างใด

ในเมื่อเรายังมีกิเลสตัณหาความทะยานอยากอยู่นะ เวลาศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา มันทับซ้อนไง ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าน่ะ รัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แก้วสารพัดนึกน่ะ มันเป็นความสะอาดบริสุทธิ์

สัจธรรม อริยสัจธรรม ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาน่ะสุดยอด! สุดยอด! เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อาสวักขยญาณ ทำลายอวิชชาในหัวใจทั้งหมดน่ะ ชำระล้างมาร พญามารในหัวใจน่ะ ชำระล้าง “เรือนยอดของมาร เราได้หักแล้ว” สิ่งที่ได้หักแล้ว มันเป็นความสะอาดบริสุทธิ์ในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสะอาดบริสุทธิ์มาด้วยวิธีการสิ่งใด?

เวลาวางธรรมและวินัย เห็นไหม ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค.. มรรคญาณน่ะ เพราะมรรคญาณมันเกิดขึ้นมา มันเกิดนิโรธะ นิโรธ! นิโรธะคือนิพพาน ถ้านิพพาน แล้วนิพพานมันนิพพานเพราะเหตุใดล่ะ? นิพพาน.. ทุกข์ควรกำหนด สมุทัยควรละ เห็นไหม ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค สิ่งที่มันละ มันละเรื่องอะไรล่ะ มันมีการกระทำของมัน จิตมีการกระทำของจิตนั้น มรรคญาณทำลายอวิชชา หักเรือนยอดของมารแล้ว สิ่งที่หักแล้ว ถึงเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้ววางธรรมและวินัยไว้นี่

แล้วเรามาศึกษาธรรมๆ ศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วทับซ้อน! เอาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทับซ้อนที่กิเลสเรา! ในเมื่อมันทับซ้อนด้วยกิเลส มันจะเป็นธรรมไหม? มันไม่เป็นธรรมขึ้นมาเพราะเหตุใด นี่ไง ในเมื่อจิตมันเป็นธรรมชาติที่รู้ จิตมันเป็นธรรมชาติที่รู้! รู้เรื่องอะไร? ในเมื่อจิตเป็นธรรมชาติที่รู้

แต่เรารู้โดยปัญญาชนเดี๋ยวนี้ เราว่าเราเข้าใจ เรามองจิตของเราเป็นวิทยาศาสตร์ไง เห็นไหม จิตของเราต้อง.. นี่ศึกษาอภิธรรมใช่ไหม “จิตนี้มันเป็นวิปัสสนา มันเป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มันเป็นสติปัฏฐาน มันมีความรู้สึก..”

เวลาคนไข้นะ เวลาคนไข้ที่เขาโคม่านะ เขาอยู่ไอซียูนะ เขามีเครื่องวัดคลื่นหัวใจ เขาก็วัดของเขาได้น่ะ คลื่นหัวใจมันจะขึ้น เห็นไหม กราฟจะขึ้นทันที เขาวัดคลื่นหัวใจของเขา แล้วเป็นธรรมไหม? คนโคม่า คนจะตายอยู่แล้ว คนโดยปกติ การรักษา ถ้าคนรักษาเจ็บไข้ได้ป่วยธรรมดา เขาก็รักษากันเป็นธรรมดา แต่เวลาคนใกล้ตาย คนที่มีโคม่า คนสลบ เขาจะมีคลื่นรับดูคลื่นหัวใจว่ามันยังมีชีวิตอยู่ไหม ยังดำรงธาตุขันธ์ได้อยู่ไหม...เขาก็วัดของเขาได้ วิทยาศาสตร์เขาก็วัดด้วยวิทยาศาสตร์เลย

แล้วเวลาเราคิดของเรา เห็นไหม เวลาพิจารณาของเรา มันทับซ้อนๆ เพราะว่ามันคิดแบบวิทยาศาสตร์ คิดแบบสูตรสำเร็จ มันคิดของมันเอง ฉะนั้น มันรู้อย่างนี้ มันรู้ทับซ้อน

ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเรื่องหนึ่งนะ ปริยัตินี่เป็นเรื่องหนึ่ง ฉะนั้น เวลาคำว่าปริยัติเป็นเรื่องหนึ่ง เราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศึกษาไว้เป็นแนวทาง ปริยัตินี่เขาศึกษาไว้เพื่อปฏิบัติ ฉะนั้น เวลาปฏิบัติขึ้นไป เพราะปฏิบัติไม่มีครูไม่มีอาจารย์ พอไม่มีครูบาอาจารย์ เราก็เอาการปฏิบัติกับภาคปริยัติมามั่วกันไง มาทำให้เป็นอันเดียวกัน ทับซ้อนไป คิดว่ามันจะเป็นธรรม พอคิดว่าจะเป็นธรรม เห็นไหม ดูสิ เวลาชาวพุทธที่ขาดจากไตรสรณคมน์ ไปถือผีถือสาง ไปทรงเจ้าเข้าผีน่ะ เขาก็ทำของเขา มันแตกต่างกันตรงไหน!

แต่เวลาเพราะเรา.. เราเป็นกรรมฐาน! ครูบาอาจารย์ของเรามี! เพราะเราเป็นกรรมฐาน เห็นไหม หลวงปู่มั่น ดูสิ เวลาหลวงตาท่านไปหาหลวงปู่มั่นครั้งแรก เวลาท่านเทศน์ครั้งแรก “มหา.. มหาเรียนมาจนเป็นมหานะ สิ่งที่เรียนมานี่เป็นปริยัติ! สิ่งที่เรียนมานี่เป็นปริยัติ! ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสุดยอดมาก เรียนธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาจนเป็นมหา ฉะนั้น ให้เทิดใส่หัวไว้ก่อนนะ! ให้เทิดใส่หัวไว้ก่อน! เก็บใส่ลิ้นชักไว้ แล้วลั่นกุญแจไว้ อย่าให้มันออกมา แล้วเราประพฤติปฏิบัติของเรา! เราประพฤติปฏิบัติของเรา! ถ้าปฏิบัติถึงจุดของมันแล้ว มันจะมาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ถ้าจิตของเรายังประพฤติปฏิบัติยังไม่ได้ถึง ถ้าเราปฏิบัติ นี่กิเลส ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขั้นมหามาทับซ้อนไว้ ทับซ้อนกิเลสไว้น่ะ.. มันจะเตะ! มันจะถีบกัน! มันจะมีความขัดแย้งกัน!”

แล้วเวลาหลวงปู่มั่นท่านเทศนาว่าการ สิ่งใดถ้ามันเป็นเคล็ดลับ มันเป็นสิ่งที่จะเป็นประโยชน์น่ะ ท่านจะข้ามไปๆ ท่านบอกว่า “สัญญา.. การจำมีโทษมาก มีโทษเพราะมันจะสร้างภาพ” ความสร้างภาพ เห็นไหม ดูสิ เวลาจิตมันสร้างภาพขึ้นมาน่ะ มันจะสร้างให้เหมือนเลย ถ้ามันจะทำให้เหมือนน่ะ เวลาปฏิบัติไปน่ะเหมือนทั้งนั้น เวลาพูดนี่เหมือนหมดเลย

ในปัจจุบันนี้ เรามักง่ายกัน เรามักง่าย! เรารีบด่วน! เราอยากได้! เห็นไหม “สุกก่อนห่าม” เวลาปฏิบัติขึ้นไปน่ะ จะทางลัดทางสั้นเพื่อจะได้ประโยชน์ แล้วบอกว่า “ของมันมีอยู่แล้วๆ นิพพานมันมีอยู่แล้ว ทุกอย่างมันมีอยู่แล้ว” มันมีอยู่แล้ว ต้องให้นิพพานเป็นผู้พิพากษาใช่ไหม จะให้นิพพานพิพากษากิเลสเหรอ? มันเอาอะไรไปพิพากษากิเลสล่ะ

ถ้าจิตเป็นธรรมชาติที่รู้ แต่ด้วยวุฒิภาวะ ด้วยความอ่อนด้อยของจิต มันเลยสุกเอาเผากินไง แต่เพราะเรามีครูมีอาจารย์ในวงกรรมฐานเรา หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ท่านเป็นผู้รื้อค้นมา ฉะนั้น เวลาหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ท่านจะรื้อค้นขึ้นมา ท่านบอกว่า “ต้องทำความสงบของใจก่อน! ต้องทำความสงบของใจก่อน!”

ถ้าใจไม่สงบ เห็นไหม นี่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถูกต้องไหม? ใช่! แต่เวลาหลวงปู่มั่นท่านบอกกับหลวงตา “เรียนจนเป็นมหา..” สิ่งที่เป็นมหา นี่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่สุดยอด ไม่ใช่ของน่ารังเกียจ ของดีมากๆ! แต่เพราะกิเลสมันเอาธรรมมาซ้อน พอซ้อนกับกิเลส แล้วกิเลสมันอยู่ฐีติจิต

จิต! เป็นธรรมชาติที่รู้.. จิตเป็นธรรมชาติที่รู้นี้มันเป็นโดยสากลนะ เป็นธรรมชาติที่รู้ แต่รู้เรื่องอะไรล่ะ? รู้อะไร? รู้แบบไหน? รู้มาเป็นโทษหรือเป็นคุณกับใจ?

ถ้ารู้มาเป็นโทษ แล้วสิ่งที่รู้มามันจะเป็นคุณกับใจไหม ถ้ามันมีอวิชชาในหัวใจ มันจะเป็นคุณหรือเป็นโทษ แม้แต่ของดีๆ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ประเสริฐที่สุด เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา วางธรรมและวินัยไว้ก็เพื่อจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ เรามาจะประพฤติปฏิบัติก็จะประพฤติปฏิบัติเพื่อให้เราพ้นจากกิเลส ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่สะอาดบริสุทธิ์

แต่เพราะใจเรามีอวิชชา ใจเรามีกิเลสน่ะ ความสะอาดบริสุทธิ์ ของดีงามมาคลุกเคล้ากับกิเลสตัณหาความทะยานอยากน่ะ มันจะสะอาดบริสุทธิ์ไปที่ไหนน่ะ มันก็เป็นการสร้างภาพ เห็นไหม “นิพพานมีอยู่แล้ว ทุกอย่างมีอยู่แล้ว ทำให้เข้าไปแล้วนิพพานจะพิพากษาให้เราเป็นผู้ที่สะอาดบริสุทธิ์” มันเป็นไปได้อย่างใดน่ะ? นี่เพราะความสุกเอาเผากิน มันเลยไม่เป็นประโยชน์

แต่เวลาหลวงปู่มั่นท่านกระทำของท่านมา ท่านถึงบอกว่าศึกษามาแล้วให้วางไว้ก่อน วางไว้ แล้วทำความสงบของใจ พอทำความสงบของใจ เราจะทำความสงบของใจ ถ้าเด็ก ถ้าไม่มีประสบการณ์ของจิตมามาก ให้บอกให้เด็กกำหนดทำความสงบของใจนี่เด็กจะทำได้ง่ายมาก ผู้เฒ่าผู้แก่ผ่านโลก ผ่านสังคมมามาก ถือทิฏฐิว่าตัวเองมีความรู้ เวลาจะทำความสงบของใจนี่มันระแวงแคลงใจไปทุกเรื่องเลย “จะเดินหน้าก็ไม่กล้า กลัวผิดกลัวพลาด จะถอยหลังหรือก็อายุมากปานขนาดนี้แล้ว ชีวิตนี้ก็สั้นนัก ก็อยากจะมีความร่มเย็นเป็นสุข จะถอยหลังก็ไม่อยากถอย ไอ้จะก้าวหน้าก็กลัวผิดกลัวพลาด ไอ้จะแฉลบออกข้างออกก็บอกเราเป็นชาวพุทธ” นี่มันห่วงหน้าพะวงหลัง มันทำสิ่งใดไม่ถูกไปสักอย่างเลย มันวางอะไรไม่ได้เลยเพราะอะไร เพราะกิเลสมันแก่กล้า เพราะตัณหาความถือมั่น ยึดมั่นถือมั่นในใจมันเข้มแข็ง

แต่มีศรัทธาความเชื่อ เห็นไหม เพราะเขาเชื่อ เชื่อสัจธรรม นี่สัจธรรม พอเชื่อสัจธรรมแล้ว พอเอาสิ่งใดมาล่ะ เอาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาทับซ้อนกิเลสลงไป แล้วพอทับซ้อนกิเลสลงไป แล้วมันได้สิ่งใดขึ้นมาล่ะ มันก็ได้อุปาทานไง ได้แต่ตัณหาความทะยานอยากไง แล้วเป็นธรรมไหม?

ศึกษาธรรมนะ เวลาเราคนหลงผิด มีคนมาชี้แนะแนวทาง พอว่าทางนี้มีโอกาสที่จะรอดได้ เราก็ยังโล่งใจ สบายใจ ฉะนั้น เวลาเราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันเป็นธรรมะโอสถ มันมาผ่อนคลายในใจให้เห็นว่าสัจธรรมมันเป็นแบบนี้ ทุกข์มันเป็นแบบนี้ เราก็พอใจ มันก็พอผ่อนคลาย.. ก็เท่านั้นน่ะ! มันก็เท่านั้น เพราะอะไร เพราะบอกว่า “ก็ปฏิบัติแล้วมันดีไง ปฏิบัติแล้วมันสะดวกไง ปฏิบัติแล้วมันสบายไง แล้วสบายแล้วมีอะไรต่อไปล่ะ? สบายแล้วจะอะไรต่อไป?”

คนเรานะ เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยมา มันได้ผ่อนคลาย มีหมอรักษาให้อาการมันทุเลา.. ก็เท่านั้นน่ะ! มันทุเลาอาการ เห็นไหม ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่สะอาดบริสุทธิ์ แล้วมันทับซ้อนลงไปกิเลส แล้วมันจะได้ผลสิ่งใดมา มันจะเอาสิ่งใดมาเป็นประโยชน์กับใจดวงนั้น นี่เพราะความมักง่าย เพราะเราไม่มีอำนาจวาสนา

ถ้ามีอำนาจวาสนานะ เวลาครูบาอาจารย์ของเราท่านประพฤติปฏิบัติ เวลาเราบอกว่า “ความรู้ที่ศึกษามาให้ใส่ลิ้นชักไว้ ลั่นไว้ก่อน แล้วเราปฏิบัติไป ถ้าทำได้ มันจะเป็นอันเดียวกัน”

“ธรรมความเป็นจริงในหัวใจของเรา” กับ “ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ถ้ามันไม่เหมือนกัน เราจะชำระกิเลสของเราได้อย่างไร? องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชำระกิเลสมาด้วยการประพฤติปฏิบัติ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารื้อค้นมาในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ แต่พวกเราศึกษาขึ้นมานี่มันจะรื้อค้นมาจากสิ่งที่จิตมันรับรู้ไง

จิต-ธรรมชาติที่รู้ มันเป็นธรรมชาติที่รู้ ธรรมชาติที่รู้.. “จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้หมองไปด้วยอุปกิเลส” แต่ขณะที่เราเกิดมา เวลาปฏิสนธิจิตขึ้นมาแล้ว สถานะของมนุษย์ เวลาความรู้เรามันเป็นสถานะของมนุษย์ มันรู้ผ่านขันธ์ ๕ ออกมาแล้ว มันไม่ใช่ธรรมชาติที่รู้หรอก มันรู้โดยกิเลสตัณหาความทะยานอยากเต็มๆ มันรู้โดยทิฏฐิมานะของคน

เวลาทิฏฐิของคน เห็นไหม คนที่ทิฏฐิแก่กล้าก็รู้ของเราด้วยความแก่กล้า รู้ด้วยความยึดมั่นว่าเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ คนที่อ่อนแอ คนที่ไม่มีความมั่นคงในตัวเอง รู้ธรรมะพระพุทธเจ้ามาก แต่ไม่กล้าฟันธง ไม่กล้าวินิจฉัยว่ามันเป็นอย่างใด อ่อนแอจนเหลวไหล เห็นไหม รู้เหมือนกัน แต่รู้แตกต่างกัน เพราะอวิชชา เพราะความยึดมั่นถือมั่น เพราะจริตนิสัยของคนมันแตกต่างกัน ความแตกต่างที่เวลารู้ออกมา มันรู้โดยสัญชาตญาณของมนุษย์ เห็นไหม

จิตเป็นธรรมชาติที่รู้ แต่เราไม่เคยเห็น

เรารู้แต่ความรู้สึกนึกคิด เรารู้สึกแต่อำนาจวาสนา เรารู้สึกแต่อารมณ์ความรู้สึก เรารู้สึกแต่ความคิดของเรา เรารู้สึกแต่ความพอใจ ความทุกข์ความร้อน ความเร่าร้อนในหัวใจ เรารู้ได้แค่นี้! เรารู้ได้แค่นี้จริงๆ นะ เพราะธรรมชาติของจิตมันส่งออกมาแล้ว ธรรมชาติของจิตเพราะเราเป็นมนุษย์ไง

มนุษย์เป็นผู้ที่มีอำนาจวาสนา มนุษย์เป็นผู้ที่มีปัญญา มนุษย์เป็นผู้ที่ฝักใฝ่ เราเป็นมนุษย์ที่ดี เราเป็นบัณฑิต “อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา” นี่เราไม่คบคนพาล เราจะคบบัณฑิต เห็นไหม คนพาลคือความคิดชั่ว เราจะคบแต่คุณงามความดี เราเกิดเป็นมนุษย์ แล้วเราเป็นบัณฑิตด้วย แล้วเราจะประพฤติปฏิบัติด้วย แต่ในการประพฤติปฏิบัติขึ้นมาน่ะ มันก็เป็นสามัญสำนึกนี่ไง ดูความสามัญสำนึก สัญชาตญาณของมนุษย์

ดูสัตว์สิ สัตว์นี่มันสัญชาตญาณของมัน มันอยู่โดยสัญชาตญาณของมัน สัญชาตญาณของสัตว์เดรัจฉานน่ะ นี่มันอยู่โดยสัญชาตญาณ มันรับรู้ได้แค่นั้น มันทำของมัน เห็นไหม นี่เวลามันรักของมัน มันก็ดูแลฝูงของมัน ดูแลลูก ดูแลอะไรของมัน แต่เวลามันเห็นภัยนะ มันกินลูกมันเลยนะ ลูกมันมันก็กิน สัตว์น่ะ สัตว์บางชนิด มันรักมากมันก็ถนอมของมัน แต่เวลาภัยมาถึงตัว มันกินลูกมันเลย เพราะอะไร เพราะมันไม่มีทางแก้ไข มันแก้ไขสิ่งใดไม่ได้ มันกินลูกของมันเพื่อจะเอาพลังงาน เรากินซะ เพราะเราจะได้หลบหนีไปเพื่อเอาชีวิตรอด เห็นไหม โดยสัญชาตญาณ นี่สัตว์มันอยู่โดยสัญชาตญาณ

แต่มนุษย์มีสัญชาตญาณ แต่เพราะเรามีสมอง เรามีการศึกษา เรามีการวิวัฒนาการ มันถึงมีปัญญาขึ้นมา เห็นไหม สัญชาตญาณอันหนึ่ง

ทีนี้ ความรู้ของเรามันรู้มาจากสิ่งใดล่ะ? วิชาการ ความรับรู้ต่างๆ สิ่งที่ว่าเป็นธรรมๆ ที่เราเข้าใจ มันมาจากไหน? มันมาจากพื้นฐานที่เป็นสัญชาตญาณนั่นแหละ แต่มันพัฒนาการ พัฒนาขึ้นมาจนว่าเราเป็นความรู้สึกนึกคิด เราเป็นผู้ที่มีปัญญา เราเป็นนักปราชญ์ แล้วมีอะไรต่อไปล่ะ? มีอะไรต่อไป? ก็เป็นความรู้ไง ความเข้าใจไง ก็นี่ไง ศาสนาสอนให้มีความสุขไง นี่ก็เป็นความว่างไง นี่เป็นความพอใจไง

แต่เวลากรรมฐานเรานะ กรรมฐานเรา ครูบาอาจารย์บอกต้องพยายามทำความสงบของใจ ถ้าใจมันสงบนะ มันปล่อยหมด ถ้ามันไม่ปล่อยสิ่งนี้ มันจะเข้ามาสงบไม่ได้ ถ้าความสงบของใจมันสงบลึกซึ้งเข้ามา มันจะเข้าไปสู่จิต เห็นไหม จิตเป็นธรรมชาติที่รู้ มันรู้ มันส่งออกมา ความรู้ส่งออกมา มันก็เป็นอยู่ที่จิตนี่ จิตนี่มีคุณภาพมากน้อยแค่ไหน จิตที่มีคุณภาพ เห็นไหม คำว่า “จิตที่มีคุณภาพ” ดูสิ ดูคนที่สมาธิสั้น-สมาธิยาวสิ ที่สมาธิเขาดี หลักการเขาดี นี่เขาไม่ค่อยหวั่นไหวไปกับโลก แล้วสิ่งใดเกิดขึ้นมา เขาวินิจฉัยของเขาได้ แล้วเวลาทำความสงบของใจนะ ถ้าจิตใจเขามีหลักมีเกณฑ์นะ ถ้ามันสงบเข้ามา จิตสงบเข้ามา เวลาสงบเข้ามามันมีพลังงาน นี่จิตเป็นธรรมชาติที่รู้

พอจิตเป็นธรรมชาติที่รู้ มันเหมือนไฟ เหมือนเทียน มันเผาตัวมันเองตลอดเวลา เวลามันเผาตัวเองตลอดเวลา เห็นไหม สันตติ เทียน.. แต่ไฟมันสืบต่อเนื่องกัน ความสืบต่อเนื่อง นี่ธรรมชาติของมัน ธรรมชาติที่รู้.. แต่รู้เรื่องอะไร? ความรู้เรื่องอะไรนี่มันมีเวรมีกรรมเก่าด้วย กรรมเก่าหมายถึงว่าถ้ามีกรรมเก่า สิ่งที่รู้นี่ กรรมเก่ามันทำให้รู้ในสิ่งที่ดี ให้รู้ มีโอกาสเอาตัวรอด ให้รู้สิ่งที่ดี เห็นไหม สิ่งที่กรรมเก่า เห็นไหม กรรมเก่าเป็นพื้นฐาน แล้วสันตติ นี่จิตเป็นธรรมชาติที่รู้ รู้เรื่องอะไร? แล้วรู้สิ่งที่รู้ออกมานี่ มันรู้แล้วเราศึกษา มันเป็นธรรมของเรา

แล้วเวลาเราจะทำความสงบของใจ เราต้องปล่อยสิ่งนี้เข้ามา.. เราต้องปล่อยสิ่งนี้เข้ามา.. ถ้าปล่อยสิ่งนี้เข้ามา เห็นไหม คำว่า “พลังงาน” สันตติมันสืบต่อๆ สืบต่อแล้วพลังงานเข้าไป แต่เวลาเราพุทโธๆ-ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ มันให้เป็นพลังงาน มันไม่ส่งออก มันเป็นพลังงานที่คงที่

สิ่งที่เร็วที่สุด.. จิต! เป็นความรู้สึกที่เร็วกว่าแสง แสงเดินทางด้วยความเร็วของแสง เดินทางได้เท่าไร ความรู้สึกของเรามันเดินทางได้เร็วกว่าแสง ถ้าเดินทางได้เร็วกว่าแสง ความคิด จินตนาการของเราไป มันจะไปเร็วมาก นี่สันตติ จนเราไม่รู้ไม่เห็น จนเราเข้าใจความรู้สึก เราไม่รู้เห็นว่าจิตเราสงบกับไม่สงบแตกต่างกันอย่างใด แต่เรา พอกำหนดพุทโธๆ เห็นไหม สิ่งที่เร็วที่สุด ที่ความรู้ที่เร็วกว่าแสง ถ้ามันหยุดนิ่ง! ถ้ามันหยุดนิ่ง!

พอปัญญาอบรมสมาธิ เวลาปัญญาที่มันคิดโดยสัญชาตญาณ คิดโดยสัญชาตญาณ คิดโดยธรรมชาติของมนุษย์ นี่มนุษย์มีสมอง มนุษย์นี่สื่อกันด้วยภาษา เทวดา อินทร์ พรหม เขาสื่อกันด้วยอย่างไร พรหมนี่เขาสื่อกันอย่างไร สังคมของพรหมเขาคุยกันอย่างไร สังคมของพรหมเขาปกครองกันอย่างใด เห็นไหม

ทีนี้มนุษย์นี่มันมีธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ ความที่ธาตุ ๔ และขันธ์ ๕.. จิตเวลามันรับรู้ มันรับรู้ของมันโดยธรรมชาติของมันใช่ไหม ทีนี้เรามีการศึกษา เรามีหลักการ เราอยากจะประพฤติปฏิบัติ เราอยากจะชำระกิเลส ฉะนั้น เวลาปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาก็คือความคิดนี่! ความคิดนี่! ความคิดของเรานี่! ความคิดโดยสัญชาตญาณของมนุษย์ มนุษย์ที่มีความคิดๆ อยู่นี่

เราใช้ความคิดโดยมีสติมีปัญญา พอโดยมีสติมีปัญญา เราคิดถึงความคิดของเราว่าความคิดน่ะมันมีคุณค่ามากน้อยแค่ไหน ความคิดที่มันให้โทษกับเรา เห็นไหม ความคิดถูกและผิดของเรา ถ้าผิด มันให้ผลเป็นความทุกข์ ถ้าความคิดที่ถูก มันก็ให้ค่าที่ผลที่เรายึดมั่นมัน ถ้าเราเห็นความคิดที่ถูกและที่ผิด เราพิจารณาของเราแล้ว ถ้าเราปล่อยวางได้ว่า “ความคิดก็คือความคิด”

แต่ขณะที่ปัจจุบันนี่เราไม่ต้องการใช้ความคิด แต่โดยเวลาเราอยู่ในสามัญสำนึก อยู่ในชีวิตประจำวัน เรามีความคิด เราพิจารณาของเรา เพราะเราต้องมีหน้าที่การงาน เราจะต้องสื่อสารกับสังคม ถ้าเรามีสติปัญญา ความคิดนี้ เวลามีสติปัญญา เห็นไหม ความคิดจะไม่มีความผิดพลาด ความคิดจะเป็นประโยชน์กับชีวิต การดำรงชีวิต ความคิดจะไปดำรงอยู่กับจิต เพราะจิต ถ้ามันผิดพลาด มันก็มีความเสียใจทุกข์ใจ ถ้ามันไม่มีความผิดพลาด มันก็มีความอบอุ่นในหัวใจของมัน เห็นไหม ถ้ามีสติโดยสามัญสำนึกนะ!

ฉะนั้น พอเราจะประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เราใช้สติปัญญาจับต้องความรู้สึกนึกคิด แล้วความคิดนี่ ถึงคิดดี มันก็เป็นการส่งออก มันเป็นคิดดี คิดแล้วคิดเล่า แล้วคิดประโยชน์สิ่งใด? ประโยชน์ของความคิด ประโยชน์ของเขาน่ะคือการสื่อสาร คือการอยู่ในสังคม

แต่ในปัจจุบันนี้ เราอยากประพฤติปฏิบัติ เราต้องการจิตของเราให้สงบ ถ้าจิตเราสงบ.. มันไม่สงบเพราะอะไร มันไม่สงบเพราะมันออกมาสู่ความคิด มันไม่สงบเพราะสิ่งที่เร็วกว่าแสงนี่มันเคลื่อนที่ มันเคลื่อนที่ออกไป เคลื่อนที่ออกมาเป็นพลังงานเคลื่อนมา มันเคลื่อนมาสู่เสวยอารมณ์ อารมณ์เกิดขึ้นมา.. อารมณ์เกิดขึ้นมามันก็เป็นสามัญสำนึกที่มนุษย์ที่มีค่า ที่มนุษย์โดยสัญชาตญาณของมนุษย์ที่ใช้กันอยู่นี้ ฉะนั้น พอเรามีสติปัญญาของเรา ความคิดที่มันออกมา เป็นประโยชน์กับสังคม แต่มันไม่เป็นประโยชน์กับการปฏิบัติธรรมในปัจจุบัน

ในปัจจุบันนี้เราต้องการความสงบของใจ ถ้าจิตใจมันมีสติปัญญาไล่ความรู้สึกนึกคิดเข้ามานี่ คิดชั่วก็ให้ผลเป็นความทุกข์ คิดดีก็ทำให้เรายึดมั่นถือมั่น นี่มันเห็นโทษของมัน มันจะปล่อย เพราะในปัจจุบันนี้เราไม่ต้องการให้จิตมันส่งออก เราต้องการให้จิตมัน.. สิ่งที่เคลื่อนที่ที่เร็ว ต้องการให้มันกลับมาคงที่ของมัน ถ้ากลับมาคงที่ของมัน ถ้าเราพิจารณาบ่อยครั้งเข้า มันเห็นโทษของมันก็ปล่อย.. ปล่อย.. ปล่อย.. เห็นไหม สิ่งที่มันปล่อยขึ้นมา มันปล่อยไปสู่สิ่งใดล่ะ?

จิต! เป็นธรรมชาติที่รู้! รู้เรื่องสิ่งใด?

จิต! เป็นธรรมชาติที่รู้! แต่เพราะมันมีสติปัญญา มันถึงย้อนกลับมาสู่ธรรมชาติของมัน มันย้อนกลับมาสู่ตัวธรรมชาติที่รู้ ไม่ใช่ธรรมชาติที่รู้แล้วรู้ออกไป รู้ออกไปเห็นไหม เคลื่อนที่ออกไปรับรู้.. ความรู้สึกนึกคิดมันเคลื่อนออกไป ถ้ามีสติปัญญา มันไล่ต้อนกลับมา มันปล่อยวาง.. ปล่อยวางสิ่งที่รู้! สิ่งที่รู้มันก็เข้าไปสู่ธรรมชาติที่รู้ ไม่ใช่สิ่งที่ส่งออกไปรู้

นี่พอมันกลับมา สิ่งที่มันธรรมชาติกลับมาสู่ที่รู้นี่เพื่ออะไร? เพื่อความสงบของใจ ถ้าสิ่งที่เคลื่อนที่ที่เร็วที่สุด แล้วมันปล่อยวางขึ้นมา มันจะมีอะไรขึ้นมาล่ะ มีพลังงานไหม? มันจะมีพลังงานไหม? จิตที่ธรรมชาติที่รู้ที่มันเคลื่อนออกมา ที่มันส่งออก ที่มันเร็วกว่าแสง มันออกไป มันออกไปเพื่อสิ่งใด? ออกไปเพราะเราเป็นมนุษย์ไง เพราะเรามีจิตไง เพราะมีจิต!

มนุษย์มีธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ พอธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ แต่เพราะสิ่งที่จิตที่เป็นธรรมชาติที่รู้ มันมีอวิชชาครอบงำมันอีกชั้นหนึ่ง พออวิชชาครอบงำ.. ทีนี้ พอเข้ามาสู่จิตแล้วน่ะ นิพพานมันอยู่ไหนล่ะ? ไหนว่าจิตมันมีนิพพานอยู่แล้วไง นี่ไง เพราะอะไร เพราะด้วยความรู้สึกนึกคิด ด้วยตรรกะที่เห็นว่า “สรรพสิ่ง พระเจ้าเป็นผู้พิพากษา ทำบาปขนาดไหน อ้อนวอนพระเจ้าก็ให้ พระเจ้ามีความเมตตา พระเจ้าจะมาล้างโลก พระเจ้าจะ..” นี่ไง! ความรู้สึกนี่ก็ของเขา แต่เพราะเราคิดของเรา เราคิดได้ เราพิจารณาได้

ทีนี้เราไปศึกษาธรรม ศึกษาธรรมด้วยอุปาทาน ศึกษาธรรมด้วยตรรกะ ศึกษาธรรมด้วยความรู้ความเห็นของโลก...ไม่ใช่ศึกษาธรรมในการประพฤติปฏิบัติแบบกรรมฐานเรา กรรมฐาน หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ท่านทำมาหมดแล้ว ท่านรื้อค้น

เหมือนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ มาทุกลัทธิที่ในสังคมเขามี ทุกลัทธิที่เขาปฏิญาณตนว่าเขาเป็นศาสดา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไปรื้อค้น ไปศึกษา เพราะเขามีของเขาอยู่แล้วใช่ไหม เราจะประพฤติปฏิบัติ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะพ้นจากทุกข์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยากไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย

ก็หาผู้ที่เขาประพฤติปฏิบัติอยู่ ที่เขามีชื่อเสียง ที่เกียรติศักดิ์สังคมเขายอมรับ ไปรื้อค้น ไปศึกษากับเขามานี่ไม่มีอะไรในกอไผ่เลย! เหลวเป๋ว! ไม่มีสิ่งใดเป็นชิ้นเป็นอัน! มองดูจิตด้วยความบิดเบี้ยว! มองดูจิตด้วยความไม่รู้ไม่เข้าใจ!

แล้วก็ไหลตามมันไปว่า สิ่งนั้นเป็นธรรมๆ เห็นไหม

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่รื้อค้นมาจนสลัดทิ้งน่ะ แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามารื้อค้นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติขึ้นมา โดยบุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ ชำระซึ่งอวิชชา ทำลายหมดสิ้นไป แล้ววางธรรมวินัยไว้ แล้วสังคมมันอ่อนด้อย! สังคมมันอ่อนด้อย ไม่มีผู้ที่มีวุฒิภาวะเป็นกำลังที่จะประพฤติปฏิบัติให้มันเป็นความจริงขึ้นมา แล้วถึงคราวๆ หนึ่ง หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ท่านมารื้อค้นของท่าน ท่านทำความเป็นจริงของท่าน ท่านปฏิบัติของท่านมา ท่านปฏิบัติมา ท่านรื้อค้นมา ท่านตรวจสอบในหมู่คณะมา จนเป็นความจริงขึ้นมา

ถ้าไม่เป็นความจริงขึ้นมา มันก็เป็นธรรมะซ้อนลงไป ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าน่ะซ้อนทับกิเลสลงไป “นิพพานมันมีอยู่แล้ว ก็นิพพานมันมีอยู่แล้ว ซ้อนทับมันลงไป แล้วนิพพานจะเป็นผู้พิพากษา” แล้วมันจะพิพากษาได้อย่างไร ในเมื่อความดีและความชั่ว กิเลสตัณหาความทะยานอยากกับธรรมมั่วกันอยู่ มันเบียดเสียดยัดเยียด ทำกันอยู่ แล้วมันจะเป็นจริงขึ้นมาได้อย่างไรล่ะ?

ฉะนั้น หลวงปู่มั่นท่านถึงบอกว่า ให้เอาสิ่งนี้.. ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ประเสริฐ แล้วเทิดใส่ศีรษะไว้ แล้วใส่ลิ้นชัก ลิ้นชักก็คือสมองไง สมองนี่มีหลายลิ้นชัก แล้วลิ้นชักสมองที่ศึกษามานี่ แล้วลั่นกุญแจไว้ ศึกษามาแล้ววางไว้ แล้วเราทำความเป็นจริง ทำความเป็นจริงนะ เราพยายามทำความสงบของใจ ถ้าใจมันสงบเข้ามา เห็นไหม จิตใจสงบ ถ้าจิตใจสงบขึ้นมา มันจะมีความปลอดโปร่ง มันจะมีความรู้สึกนึกคิด ความรู้สึกนึกคิดของเราไง ความรู้สึกนึกคิดที่เราเทียบเคียงมาจากธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่มันทับซ้อนอยู่

พอจิตมันเริ่มสงบร่มเย็นเข้ามา คำว่า “จิตสงบร่มเย็นขึ้นมา” อวิชชา-ตัณหา-ความทะยานอยากมันต้องอ่อนตัวลง มันต้องยุบยอบตัวลง มันถึงเข้าสู่ความสงบได้ ถ้ากิเลสตัณหาความทะยานอยากมันขับไส พลังงานมันขับดันอยู่ มันขับดัน มันส่งออก มันไปยึดมั่นถือมั่น เห็นไหม

“รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร” ในการประพฤติปฏิบัติ เราไม่ต้องห่วงรูป รส กลิ่น เสียง แล้วกลัวจะไม่รู้มันหรอก วางไว้ก่อน “รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร” แล้วเราประพฤติปฏิบัติ เราก็ห่วงจะไม่รู้ ไม่เห็น ไม่มีความเข้าใจ นี่บ่วงนี้ รสนี้ นี่มันค้ำคออยู่ไง

แต่ถ้าเราทำความสงบของใจ นี่เราวางหมด เห็นไหม “รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร” พอเราวางหมด มันไม่มีบ่วง ไม่มีพวงดอกไม้ที่มาเชิดชูใจ พอใจไม่เชิดชู ใจมันก็เป็นอิสระ พอใจเป็นอิสระ ใจมันก็มีกำลัง เห็นไหม สิ่งที่เคลื่อนที่ที่เร็วที่สุด แล้วมันหยุดนิ่งของมัน มันมีพลังงานเพิ่มขึ้นมา แล้วเวลาใช้ปัญญาขึ้นมานี่ มันมีความแจ่มแจ้งนะ นี่ตรึกในธรรม มันก็ทำให้เราซาบซึ้ง ตรึกในธรรม มันก็ทำให้เรามีคุณค่า

พอตรึกในธรรม เรามีคุณค่า เห็นไหม นี่มันไม่ใช่เอาธรรมะมากดทับกิเลสนะ เพราะกิเลสมันเริ่มสงบตัวลง มันได้แยกออก แยะออก วิปัสสนาออก ออกใช้ปัญญา

ไม่ใช่เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม ยังไม่ใช่วิปัสสนาญาณเลย!

ยังไม่ได้แก้ไขสิ่งใดๆ เลย!

แต่พอมันใช้ปัญญาขึ้นมา มันฝึกฝน มันทำ มันเห็นรสชาติ รสของความสงบใจนะ เวลาจิตมันสงบน่ะ “รสของธรรมชนะซึ่งรสทั้งปวง” รสของสติ รสของสมาธิ รสของปัญญา รสของธรรม รสของสมาธิธรรม รสของความสงบของใจ ถ้าใจมันสงบแล้วมันใช้ปัญญา เพราะจิตสงบมันก็มีรสชาติหนึ่ง เวลามันใช้ปัญญาของมันน่ะ มันแยกแยะของมันไปน่ะ มันก็มีอีกรสชาติหนึ่ง รสชาติที่ว่ามันพิจารณาไปแล้วมันปล่อยวาง มันเข้าใจของมัน มันดูแลของมัน เห็นไหม มันปล่อยวาง จิตใจมันก็มีกำลังขึ้นมา เห็นไหม

จิตเป็นธรรมชาติที่รู้ ถ้าจิตเป็นธรรมชาติที่รู้ ดูสิ เราดูสิ เวลาเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมานะ ถ้าครูบาอาจารย์เราปฏิบัตินะ เวลาชำระล้างขึ้นมานะ กิเลสอย่างหยาบ-กิเลสอย่างกลาง-กิเลสอย่างละเอียดนะ เวลาเข้าไปถึงตัวจิตเดิมแท้ ตอของจิตนี่.. จิต! ธรรมชาติที่รู้นี่ไปเห็นมัน รู้มัน จับมันได้นะ มันคิดไม่ได้เลยน่ะ มันคิดไม่ได้ พอคิดไม่ได้ “อึ้ก.. อึ้ก.. อึ้ก..”

ฉะนั้น คนที่เห็นจิตแท้ๆ เห็นอวิชชา เห็นเจ้าวัฏจักรน่ะ ไม่มีหรอก! ไม่มีใครเคยเห็น!

ได้แต่โม้กัน ได้แต่เอาธรรมของครูบาอาจารย์มาทับซ้อน ทับซ้อนว่าเป็นอย่างนั้นๆ แล้วผิดพลาดหมด ไม่เป็นความจริง ถ้าเป็นความจริงนะ มันจะเริ่มตั้งแต่ว่าจิตเป็นธรรมชาติที่รู้ แล้วอวิชชาเต็มตัว ตัวจิตนี่คือตัวกิเลสชัดๆ! ผ่องใส.. ผ่องใสขนาดไหน อุปกิเลสไง ความผ่องใส ความว่าง ความปลอดโปร่ง.. อุปกิเลสน่ะ กิเลสอย่างละเอียด

คำว่า “กิเลสอย่างละเอียด” เห็นไหม ดูสิ เวลาเรามีความโลภ ความโกรธ ความหลง เราเป็นปุถุชน เรามีการดำรงชีวิต มันมีการกระทบกระทั่งกันน่ะ เรามีความไม่พอใจกันน่ะ อันนี้คืออะไร? นี่ไง นี่กิเลสชัดๆ ความเบียดเบียน การกระทบกระเทือนกัน นี่คืออะไร? นี่กิเลสหยาบๆ ความไม่พอใจ ความเดือดร้อน ความขาดแคลน ความฟุ้งซ่าน.. กิเลสหยาบๆ ทั้งนั้นน่ะ!

เวลาเราใช้ศรัทธา ใช้ความมั่นคง พุทโธๆๆๆ เห็นไหม พุทโธนี่ เราพยายามตั้งสติ แล้วเราพยายามต่อสู้กับใจของเรา เราพยายามต่อสู้กับใจของเราด้วยความศรัทธา ด้วยความเชื่อ ด้วยความมุมานะ ด้วยขันติ ด้วยความอดทน เวลาจิตมันเริ่มปล่อยวางนะ จากสิ่งที่มันทำให้จิตใจนี้ฟุ้งซ่านมาก ทำให้หัวใจนี่เดือดร้อนมาก แต่เพราะมันได้ธรรมรส ได้กำหนดพุทโธ พุทธานุสติ เห็นไหม จิตใจที่มันคิดถึงความเดือดร้อน คิดแต่ความไม่พอใจ คิดถึงความกระทบกระเทือนน่ะ มันเปลี่ยนอารมณ์ความรู้สึก ความนึกคิดนั้น มาอยู่กับพุทธานุสติ เห็นไหม

“พุทธานุสติ” สติที่ระลึกรู้ถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พุทโธๆๆๆ.. พอจิตมันเริ่มเปลี่ยนจากที่มันเสวย.. เดิม ถ้าจิตมันกระทบกระเทือน จิตมันขัดแย้งต่างๆ เพราะ! เพราะอะไร เพราะกิเลสมันใส่ไฟ เพราะกิเลสมันเอาความขัดแย้ง เอาความไม่พอใจใส่ฟืนเข้าไปที่หัวใจของเรา มันก็ลุกโชติช่วง เราก็พุทโธๆๆ เห็นไหม เปลี่ยนจากพลังงานอันนั้น มาเป็นพุทธานุสติ พุทโธๆๆๆ ไปเรื่อยๆ เห็นไหม พอจิตมันเริ่มมีที่เกาะ มันไม่ไปเกาะอารมณ์ความเดือดร้อน ไม่ไปเกาะอารมณ์สิ่งที่สร้างฟืนสร้างไฟ ไปเกาะพุทธานุสติ เห็นไหม จิตใจมันเริ่มปล่อยวาง มันเริ่มจากที่มันทุกข์ร้อน ที่มันเดือดร้อนนะ กลับไปรู้สึกปกติ เฉยๆ คำว่า “เฉยๆ” มีสติพร้อมนะ! เฉยๆ เพราะมันไม่เดือดร้อนแล้ว มันกลับมาเป็นกลาง

เป็นกลางนี่มันยังไม่ลงสมาธินะ เป็นกลางหมายถึงว่า มันดีก็ไม่ไป ชั่วก็ไม่ไป เห็นไหม แล้วพุทโธต่อเรื่อย.. ต่อเนื่องไปเรื่อย.. ต่อเนื่องไปเรื่อย.. ต่อเนื่องไปเรื่อย.. ต่อเนื่องไปเรื่อย.. จากที่มันเป็นกลาง เพราะมันปล่อยอารมณ์มาแล้ว มันปล่อยความเดือดร้อน ความขัดแย้ง มันปล่อยความฟุ้งซ่านในใจมาเป็นกลาง

เขาว่า “อุเบกขาเป็นธรรมๆ” อุเบกขามันเป็นกลาง พอเป็นกลางแล้วพุทโธซ้ำเข้าไป.. พุทโธซ้ำเข้าไป.. มันละเอียดเข้าไป พอละเอียดเข้าไป มันจะเข้าสู่ความสงบ เข้าสู่ความสงบ จากเป็นกลางนะ จากเป็นกลางเข้าสู่ความสงบของใจ เห็นไหม นี่มันก็เป็นความสว่างไสว เป็นความผ่องใส นี่ความสว่างไสว ความผ่องใส เห็นไหม นี่กิเลสอย่างละเอียด

เพราะอะไร เพราะมันไม่มีวิปัสสนา มันไม่ได้ชำระกิเลส แต่มันก็ผ่อนคลายกับความยึดมั่นถือมั่น นี่ไง “จิตเป็นธรรมชาติที่รู้” ก็คือตัวกิเลสทั้งหมดน่ะ

ไหนว่านิพพานไง ไหนว่าของมันมีอยู่ไง...ของมันไม่มี! ของไม่มี!

ของจะมีอยู่ได้ จิตเมื่อสงบแล้วเราใช้ปัญญาของเรา ใช้ปัญญาแยกแยะ ใช้ปัญญาการฝึกฝนของเรา จนจิตตั้งมั่น จิตมีหลักมีเกณฑ์ใช่ไหม พอจิตมีหลักมีเกณฑ์น่ะ พิจารณากายไปเรื่อยน่ะ ดูกายไปเรื่อย พิจารณากายเทียบเคียงชีวิต เทียบเคียงต่างๆ ให้เทียบเคียงเรื่องของชีวิต เรื่องของจิตที่มันเกิดตาย จิตนี่มันเกิดตายมานี่มันมีกรรมเก่ากรรมใหม่มา มันฝังในใจมาตลอด ทีนี้เราพิจารณาธรรม พิจารณาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเรามาปฏิบัติไง เราปฏิบัติ

จิตเป็นธรรมชาติที่รู้ มันรู้แต่เรื่องโลกๆ เรื่องแต่ทับถมหัวใจมาตลอดตั้งแต่เรายังไม่มีหลักมีเกณฑ์ พอเรามีหลักมีเกณฑ์ จิตเริ่มสงบ จิตมีหลักมีเกณฑ์ มันก็พิจารณาเรื่องโลกๆ เรื่องความเกิดความตาย เรื่องชีวิตของเรานี่ มันพิจารณาแล้วนะ มันสะเทือนใจ พอมันพิจารณา มันธรรมสังเวช มันสังเวชถึงชีวิต

เวลาเราฟังนะ ฟังครูบาอาจารย์ วงกรรมฐานฟังครูบาอาจารย์เทศน์ทุกวันน่ะ นี่เข้าหูซ้าย ทะลุหูขวา.. มันไม่ลงสู่ใจ แต่พอจิตเราสงบ แล้วเราพิจารณานี่ มันก็เหมือนที่ครูบาอาจารย์เทศน์นี่แหละ แต่มันเป็นที่จิตใจเราน่ะเอามาพิจารณา จิตใจเราแยกแยะ พอจิตใจเราแยกแยะ จิตใจเรามีการกระทำ เห็นไหม

จิตเป็นธรรมชาติที่รู้ มันรู้แต่เรื่องฟืน-เรื่องไฟ เรื่องโทสะ-โมหะมาทั้งภพทั้งชาติ พอจิตมันสงบขึ้นมา เห็นไหม จิตเป็นธรรมชาติที่รู้ แต่มันรู้เรื่องสัจธรรม สัจธรรมเพราะจิตมันสงบ แล้วมันพิจารณาแยกแยะของมัน พอพิจารณาแยกแยะของมัน มันก็มีรสชาติ พอมันมีรสชาติ มันมีรสชาติ มันก็สะเทือนใจ พอมันสะเทือนใจ มันก็สังเวช นี่ธรรมะและความสังเวชของใจ

ถ้าธรรมะและมันทำให้จิตใจนี้สังเวช สังเวทนาตัวมันเองนั่นล่ะ พอสังเวทนา จิตใจมันก็สะเทือน พอจิตใจมันสะเทือน เห็นไหม พิจารณาซ้ำๆๆ ไปเรื่อยๆ นี่พิจารณา ให้พิจารณา นี่ไง ก็ว่า “เมื่อไรจะใช้ปัญญา ต้องจิตสงบนะ โอ้โฮ.. แล้วไม่เป็นสมาธิแล้วจะใช้ปัญญาเมื่อไรล่ะ แล้วเราปฏิบัติไปเมื่อไรจะเป็นพระอรหันต์สักที แล้วถ้ามันใช้ตรรกะเข้าไปสู่นิพพาน แล้วนิพพานแว็บ มันก็เป็นพระอรหันต์แล้ว ทำไมต้องมาทุกข์มายาก” ไม่มีหรอก!

สิ่งนั้นมันเป็นการเอาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทับซ้อนกิเลสโดยปัดเอากิเลสเข้าไปอยู่ใต้พรม เอากิเลสเข้าไปอยู่ในใต้หัวใจ แล้วไม่มีสิ่งใดเป็นสมบัติของเราเลย ไม่มีสิ่งใดเป็นปัจจัตตัง! ไม่มีสิ่งใดเป็นสันทิฏฐิโก! จิตใจดวงนั้นไม่รู้สิ่งใดเลย แต่อ้างว่ารู้ เพราะ! เพราะจิตเป็นธรรมชาติที่รู้ แล้วไปรู้ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปรู้ธรรม ฟังเทศน์ของครูบาอาจารย์ ฟังเทศน์มาไง ฟังเทศน์ของครูบาอาจารย์มา แล้วก็ว่าใจเราเป็นแบบนั้น.. เป็นแบบนั้น.. เป็นแบบนั้น.. นี่ไง เพราะถ้า “เป็นแบบนั้น” เห็นไหม นี่คืออะไร? นี่คือการสร้างภาพ! นี่คือสิ่งที่เป็นอุปาทาน! อุปาทานการยึดมั่นถือมั่นของมัน มันว่ามันรู้มันเห็นไง

นี่ไง เวลาหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น หลวงตา เวลาท่านเทศน์ ท่านถึงบอกว่า “สิ่งใดที่เป็นเงื่อนไขเป็นอะไรนี่พูดไม่ได้ พูดไปแล้วผู้ฟังมันจะเอาไปเป็นสัญญา แล้วสิ่งที่เป็นสัญญานี่เป็นโทษมากต่อการปฏิบัติ” เป็นโทษมาก! เพราะสัญญาคือการทับซ้อน มันไม่ได้ชำระกิเลส

แต่ถ้ามันเป็นปัจจุบัน มันเกิดจากจิตดวงนั้นอย่างที่เราประพฤติปฏิบัติกัน พอจิตมันเริ่มละเอียดขึ้นมา จิตเริ่มมีความสงบเข้ามานี่ เราใช้ปัญญา แค่เป็นปัญญาพิจารณาในชีวิตของเรา มันยังสะเทือนใจขนาดนี้ สะเทือนใจจนบางคนน้ำตาไหลนะ น้ำตาไหลนะ “ชีวิตเป็นแบบนี้ อยากจะพ้นจากทุกข์ โอ้โฮ.. แต่กิเลสก็ยังอีกตั้งเยอะเลย โอ้โฮ.. กิเลสในหัวใจนี่ แล้วจะพ้นจากทุกข์ไหวไหม? เวลาจะถอยก็สังเวช ไอ้จะเข้าก็ยังอู้หูๆ อยู่”

แต่มันจะมากจะน้อยขนาดไหนนะ.. ดูสิ เวลาตะวันนะ ขึ้นตอนเช้า เรายืนอยู่น่ะ เงาเราจะทอดไปไกลมาก แต่ถ้าตะวันขึ้นมาถึงบนกลางเที่ยงวันนะ ตะวันอยู่บนศีรษะนะ พอลงมานี่ เงาของเราจะอยู่กับตัวเราเลย แต่ตะวัน ถ้าลงบ่ายลงนะ เงาของเราก็จะยาวออกไปอีกแล้ว ยิ่งตะวันจะตกดิน เห็นไหม เหมือนตอนเช้า นี่ก็เหมือนกัน ในการปฏิบัติเริ่มต้น เราเห็นเงาเรานี่ยาวไกล เราก็อู้หูๆ กิเลสยาวขนาดนี้ กิเลสทุกข์ยากขนาดนี้เชียวเหรอ

แต่ถ้าเราขยันหมั่นเพียรของเรา เห็นไหม ตะวัน ดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์อุทัย สิ่งที่เป็นสัจธรรม สิ่งที่เป็นมรรคญาณในหัวใจเปรียบเหมือนดวงอาทิตย์ ถ้าเราขยันหมั่นเพียร ถ้ามันทรงอยู่บนกลางศีรษะเราล่ะ? แล้วเงามันอยู่ที่ไหนล่ะ เงาไม่เห็นมี นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราขยันหมั่นเพียร เรากระทำของเรา เราต้องทำได้ ไม่ใช่อู้หูๆ แล้วไม่ไหวเลย นี้พูดถึงถ้ามันเป็นความจริงนะ

ถ้ามันเป็นความจอมปลอม มันมีการกระทำ เห็นไหม มันถึงว่าเป็นการหมกเม็ด!

เป็นการเอากิเลสซุกไว้ในใจ! แล้วเราจะไม่มีสิ่งใดเป็นประโยชน์กับเราเลย

แต่เพราะเรามีครูบาอาจารย์ไง มีหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์ท่านประพฤติปฏิบัติมา ท่านรู้ท่านเห็นของท่าน แล้วถ้าพูดตามความเป็นจริงก็ต้องพูดอย่างนี้ แต่ถ้าไม่มีใครพูดตามความเป็นจริง เพราะคนรู้จริงมันน้อย คนรู้จริง เห็นไหม เพราะคนรู้จริง.. ดูนักปราชญ์สิ เศรษฐี-มหาเศรษฐีนี่นะ เขาใส่ของปลอมนะ เขาไม่ใส่เฟอร์นิเจอร์ของจริงหรอก ไอ้คนจะใส่ของจริงนี่ เราทุกข์จน เราเป็นยาจกเข็ญใจนะ เอาของจริงมาใส่ เขาว่าของปลอม.. เศรษฐี-มหาเศรษฐีนะ เขาใส่ของปลอมทั้งนั้นน่ะ ใครก็ว่าของจริง

ถ้าเป็นครูบาอาจารย์ ผู้ที่มีคุณธรรม เขาไม่แสดงออก เพราะสิ่งที่ว่าเป็นคุณธรรม โลกเขารู้กับเราไม่ได้หรอก ถ้าจะโลกรู้กันได้ เห็นไหม การแสดงธรรมๆ แสดงธรรมตั้งแต่พื้นๆ ขึ้นไป ถ้าจิตใจที่มันเข้าใจ มันพัฒนาของมันน่ะ มันจะฟังแล้วเข้าใจ

ฉะนั้น สิ่งที่ว่า “นั่นก็เป็นธรรม นี่ก็เป็นธรรม” เอาธรรมมาจากไหน? เอาธรรมมาจากไหน?

ถ้ามันเป็นธรรมจริงนะ เขาเม้มปาก เขารู้อยู่ภายใน พอรู้อยู่ภายใน แล้วถ้าเวลาท่านแสดงธรรม ท่านเป็นผู้ให้โอวาท นั่นล่ะออกมาเต็มที่เลย สิ่งที่ออกมาเต็มที่นั่นน่ะ เพราะอะไรล่ะ เพราะความเมตตา เพราะสิ่งนั้นน่ะท่านพูดออกมาเพื่อประโยชน์กับเรานะ ฉะนั้น สิ่งที่ว่าเวลาครูบาอาจารย์ท่านรู้จริง เห็นไหม ท่านไม่พูดพร่ำเพรื่อ การที่พูดพร่ำเพรื่อแล้วมันง่ายดาย สิ่งนั้นน่ะ มันเป็นเรื่องสิ่งที่ว่าเป็นอุปาทาน เป็นธรรมะทับซ้อน ธรรมะทับซ้อนธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมะของครูบาอาจารย์ทับซ้อนกิเลสของเรา แล้วไม่เป็นความจริง

แต่ถ้าเป็นความจริงที่ครูบาอาจารย์ท่านทำมาน่ะ มันมีเหตุมีผลใช่ไหม พอมีเหตุมีผล เวลาทำความสงบของใจเข้ามา มันเข้าไปสู่จิตที่เป็นธรรมชาติที่รู้ พอธรรมชาติที่รู้นี่มีหลักมีเกณฑ์ ธรรมชาติที่รู้มันต้องออกแสวงหา ออกแยกแยะให้เข้าไปทำลายโครงสร้าง โครงสร้างของธรรมชาตินั้น ถ้าโครงสร้างของธรรมชาตินั้นไม่ได้ทำลาย เราไม่ได้แยกแยะโครงสร้างอันนั้น

เพราะเวลากิเลสคืออะไร? กิเลสคืออวิชชา เห็นไหม อวิชชามันอยู่ที่ไหน? มันอยู่ที่ตัวฐีติจิต “ฐีติจิต” เห็นไหม ความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ใช่ไหม สัญชาตญาณของมนุษย์ใช่ไหม นี่คือโครงสร้างของมัน

โครงสร้างของมนุษย์มีธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ โครงสร้างของมนุษย์มีความรู้สึกนึกคิด ในเมื่อความรู้สึกนึกคิดนี่มันออกมาฐีติจิต มันออกมาจากภวาสวะ ออกมาจากภพ ออกมาจากกิเลส มันจะเป็นความสะอาดไปไหม? มันได้ชำระล้างหรือยัง?

มันจะชำระล้างสิ่งนี้ไม่ได้เลย เพราะมันเป็นโครงสร้างของมัน เพราะเราเกิดเป็นมนุษย์ใช่ไหม เราเกิดเป็นมนุษย์ เราเกิดมาจากอะไร? เราเกิดมาจากอวิชชา อวิชชา นี่ปฏิสนธิจิตมันพามาเกิด แล้วอวิชชามันอยู่ที่ไหน? อวิชชามันอยู่ที่ภวาสวะ อยู่ที่ภพ อยู่ที่ปฏิสนธิวิญญาณ

ไม่ใช่วิญญาณในขันธ์ ๕ ด้วย! วิญญาณในขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.. วิญญาณในขันธ์ ๕ นี่ มันเป็นเพราะจิตมันไปเสวยออกมา มันถึงเป็นอารมณ์ความรู้สึก

แล้วถ้าเวลาปฏิสนธิวิญญาณมันมีอวิชชาอยู่ของมัน อวิชชาน่ะ ความที่เป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยาก มันก็ต้องส่งออก เห็นไหม “จิตเป็นธรรมชาติที่รู้” รู้โดยขันธ์ ๕ พอรู้โดยขันธ์ ๕ มันเป็นความรู้สึกนึกคิดออกมา แล้วเวลาเราศึกษาธรรม เราพิจารณาธรรม เรามีสัญญาอารมณ์ที่ศึกษาธรรม แล้วธรรมเป็นสมบัติของเรา นี่มันทับซ้อนกันมาอย่างนี้ไง

แล้วถ้ามันทับซ้อนมาอย่างนี้มันจะไปชำระกิเลสกันตรงไหน?

แล้วมันจะไปชำระกิเลสที่ไหน?

แต่ถ้าจิตมันสงบ พอจิตมันสงบ พิจารณาเข้ามา.. พิจารณาเข้ามา.. จิตมันสงบเข้ามานี่ สิ่งที่เป็นอวิชชา สิ่งที่เป็นธรรมชาติของกิเลส มันสงบตัวลงๆ พอสงบตัวลง เราพิจารณาของเรา ใช้ปัญญาของเรา มันทำให้ปัญญาออกก้าวเดิน ให้เราออกฝึกหัดใช้ปัญญา พอฝึกใช้ปัญญา มันเกิดธรรมสังเวช เกิดสังเวชเราก็ต้องมีความขยันหมั่นเพียร จิตก็สงบมากขึ้น

เวลาใช้ปัญญาอบรมสมาธิ-สมาธิอบรมปัญญา ใช้พุทโธก็ได้ ปัญญาอบรมสมาธิก็ได้ นี่จิตมันจะสงบมากขึ้น พอจิตสงบมากขึ้น เราพิจารณาซ้ำๆ พอพิจารณาซ้ำเข้าไป พอมันเห็นตามความเป็นจริง เห็นไหม จิตสงบมีหลักเกณฑ์ สัมมาสมาธิ พอสัมมาสมาธิ พอมันเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม มันเป็นงานชอบ เพียรชอบ ความระลึกชอบ ความชอบธรรมมันเกิด พอความชอบธรรมมันเกิด พอความชอบธรรมมันเกิด มันเห็นอะไร?

เห็นกาย เห็นไหม ถ้าเป็นปัญญาวิมุตติ เห็นกายโดยการเทียบเคียง เห็นกายโดยการพิจารณากายแล้วมันปล่อยวางเข้ามา จิตมันจับต้อง.. จับต้อง! จับต้องอย่างไร? จิตเป็นธรรมชาติที่รู้ มันรู้อะไร? เพราะมันรู้กาย ถ้าเป็นกาย การเปรียบเทียบมันเป็นขันธ์ ๕ เพราะถ้าไม่มีสังขารปรุง ไม่มีอะไรต่างๆ มันจะเปรียบเทียบเรื่องกายได้อย่างไร?

แต่ถ้าเป็นเจโตวิมุตติ จิตมันสงบแล้ว เจโตวิมุตติ เห็นไหม มันเห็นร่างกายนี่เป็นภาพ เป็นสิ่งต่างๆ พอเห็นเป็นภาพขึ้นมาน่ะมันแก้ไขของมัน มันวิภาคะ มันแยกส่วน-ขยายส่วนของมัน ให้เป็นไตรลักษณะ ให้เป็นอนัตตา

ความเป็นอนัตตา เห็นไหม “สัพเพ ธัมมา อนัตตา.. สัจธรรมต้องเป็นอนัตตา”...ใช่! มันเป็นอนัตตา แต่สิ่งที่พ้นจากอนัตตาไป มันคืออะไรล่ะ?

ถ้ามันพิจารณาของมัน.. พิจารณาของมัน.. ซ้ำแล้วซ้ำเล่า มันปล่อยวาง เห็นไหม มันก็เป็นอนัตตา อนัตตาคือว่ามันปล่อยวางหมด.. มันปล่อยวางหมด.. พอปล่อยวางหมด จิตมันก็ยังเป็นธรรมชาติของมัน เพราะมีอวิชชาของมัน มันยังครอบงำอยู่ของมัน เพราะมันปล่อยวางมาเป็นตทังคปหาน ปล่อยวางมาเป็นชั่วคราว

นี่ไง นี่โครงสร้าง! โครงสร้างของขันธ์ ๕ โครงสร้างของจิต โครงสร้างของจิต-ธรรมชาติที่รู้ มันมีโครงสร้างของมัน ถ้ามีโครงสร้าง โครงสร้างเฉพาะจิตทุกๆ ดวง จิตที่มาเกิด ปฏิสนธิจิตน่ะมันเกิดของมัน มันมีโครงสร้างของมัน พอมีโครงสร้างของมัน แล้วโครงสร้างมันผ่านอะไรล่ะ? มันผ่านขันธ์ ๕ มันผ่านกาย ผ่านเวทนา ผ่านจิต ผ่านธรรม เห็นไหม มันพิจารณาของมัน มันก็แยกแยะของมัน ถ้ามันแยกโครงสร้างได้ มันแยกโครงสร้างของมัน นี่ไง การแยกโครงสร้างของจิต การแยกธรรมชาติของมัน

ที่ว่า “เป็นธรรมชาติ ธรรมะเป็นธรรมชาติ ธรรมะเป็นธรรมชาตินี่” ธรรมชาติก็คือตัวภพน่ะ ธรรมชาติคือสสาร ธรรมชาติคือสิ่งที่มันแปรปรวนน่ะ เพราะมันมีโครงสร้างของมัน แต่มันเป็นโครงสร้างที่มันเป็นนามธรรม เห็นไหม นี่เพราะจิตมันเป็นนามธรรม พอมันการเคลื่อนไปของจิตมันก็เป็นนามธรรม

แต่เรารู้กันด้วยวิทยาศาสตร์ พยายามจะให้เป็นรูปธรรม มันก็ทับซ้อนลงไป เพราะว่าวิทยาศาสตร์.. ดูสิ ดูคลื่นหัวใจที่เขาจับด้วยคลื่นไฟฟ้าสิ เราก็ว่านั่นน่ะคือนามธรรมๆ นามธรรมแล้วมันแก้ไขอะไรได้ล่ะ? นามธรรมนี่มันเป็นปลายเหตุ ปลายเหตุที่ให้เห็นว่ามันมีคลื่นพลังงานเท่านั้นเอง

แต่เวลาโครงสร้างของมันล่ะ โครงสร้างที่เราจะแยกแยะด้วยภาวนามยปัญญา ภาวนามยปัญญาที่เราศึกษากันอยู่นี่ เราภาวนากันอยู่นี่ เราพยายามจะสร้างสัจธรรม สร้างอริยสัจ สร้างสัจจะความจริง ความจริงที่เกิดจากใจ ที่นักปฏิบัติ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านสอนอยู่ ท่านกรรมฐานที่ประพฤติปฏิบัติกันมานี่ ถ้าประพฤติปฏิบัติกันมา มันก็พิจารณาของมันซ้ำแล้วซ้ำเล่า พอซ้ำแล้วซ้ำเล่า มันแยกของมัน “ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕”

เวลา “กายไม่ใช่เรา เราไม่ใช่กาย” มันทำลายโครงสร้างน่ะ โครงสร้างมันประกอบไปด้วยอะไร โครงสร้างมันอยู่ได้ด้วยความยึดของใครน่ะ? มันก็ด้วยความยึดของสังโยชน์ สังโยชน์ เห็นไหม อุปาทานยึดมั่นถือมั่น! ความยึดมั่นของมันนี่อุปาทานมันยึดมั่นถือมัน ยึดมั่นว่า “สรรพสิ่งนี้เป็นเรา.. สรรพสิ่งนี้เป็นเรา..” แต่เวลาปฏิบัติขึ้นมา ปฏิบัติให้เป็นอุปาทานขึ้นมา ปฏิบัติขึ้นมา..

ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สิ่งใดเราก็รู้อยู่แล้ว สิ่งใดก็มีอยู่แล้ว มันก็เป็นอุปาทานน่ะ จิตมันมีอุปาทาน ความยึดมั่นเป็นอุปาทานในหัวใจอยู่ แล้วก็ไปยึดมั่นอุปาทานในธรรมะอีก แล้วก็ไปยึดมั่นในการปฏิบัติอีก แล้วมันจะไปปล่อยวางตรงไหนน่ะ?

แต่เพราะเราทำความสงบของใจโดยมีครูบาอาจารย์ท่านคอยชี้แนะ แล้วเราก็ทำของเราด้วย พอมันเกิดการกระทำ เกิดปัจจัตตัง เกิดสันทิฏฐิโก เกิดการกระทำ เกิดการแยกแยะ เห็นไหม นี่โครงสร้างมันด้วยเอามาวิจัย

จิต! เวลาจิตสงบแล้วเป็นสัมมาสมาธิ พอมันจับกาย จับเวทนา จับจิต จับธรรมด้วยตามความเป็นจริง เห็นไหม นี่จากโครงสร้าง เพราะจิตนี้เป็นนามธรรม ดูสิ จิตวิญญาณอยู่ในร่างกายนี้ เวลาพูดนี่ต้องขยับปากนะ ต้องมีกล่องเสียง ต้องมีเสียงขับดันออกมา เห็นไหม เวลาการกระทำของมัน เวลาจิตที่มันแสดงออก มันแสดงออกโดยสีหน้า เวลาโกรธ เวลาไม่พอใจ เห็นไหม มันแสดงออก นี่โครงสร้างของมัน นี่โครงสร้างของโลก

แต่เวลาจิตมันสงบเข้าไป มันไปจับเห็นน่ะ “จิตนี้.. อารมณ์ความรู้สึกเหมือนวัตถุอันหนึ่ง” มันจับ มันแยก มันแยะ มันรู้ มันเห็น ถ้าคนวิปัสสนาไปมันจะชัดเจนมาก! ความชัดเจนอย่างนี้ การวิปัสสนาอย่างนี้ นี่มันเกิดขึ้นมาจากอะไร? มันเกิดขึ้นมาจากจิตดวงนั้น จิตดวงนั้น..

จิต-ธรรมชาติที่รู้ แล้วมันมีทวนกระแส มันพิจารณาของมันด้วยศีล สมาธิ ปัญญา นี่มันทวนกระแสเข้ามาจับตัวจิต-ธรรมชาติที่รู้ จับตัวจิต แล้วธรรมชาติที่มันโครงสร้างนี่ มันได้แยก ได้แยะ ได้วิปัสสนา มันรู้มันเห็นชัดๆ อย่างนี้นะ แล้วพอมันแยกมันแยะขึ้นไป มันก็ปล่อยวาง.. ปล่อยวาง.. เพราะอะไร ถ้ามันปล่อยวางได้ด้วยกำลังของสมาธิและมีปัญญา เห็นไหม

สมาธิสัมปยุตด้วยปัญญา สมาธิสัมปยุตด้วยงานชอบ สมาธิสัมปยุต..

คำว่า “สัมปยุต” มรรค ๘ มันสัมปยุต มันรวมตัว สัมปยุตเป็นกระบวนการของมัน แล้วกระบวนการนี้ไปแยกแยะโครงสร้าง แยกแยะขันธ์ ๕ แยกแยะกาย แยกแยะเวทนา แยกแยะจิต แยกแยะธรรม มันแยกแยะของมัน นี่มันมีกระบวนการของมัน มีการกระทำของมัน มันก็ปล่อย.. ปล่อย.. การปล่อยแบบนี้ นี่ประสบการณ์ของใจ

ถ้าใจมีประสบการณ์.. นิพพานมันอยู่ที่ไหน? ที่ของมันมีอยู่แล้วมันอยู่ตรงไหน?

ถ้าจิตไม่มีการกระทำ จิตไม่มีการประพฤติปฏิบัติ จิตไม่มีการแยกแยะ มันจะเอามาจากไหน? สิ่งที่มันเอามา สิ่งที่ทำมาแล้วที่ไม่มีการแยกแยะ มันไม่เอามาจากไหน? แล้วถ้ามันมี มันมีมาจากไหน? มันมีมาจากการล้มลุกคลุกคลาน มันมีมาจากใจที่อ่อนด้อย ใจที่เราว่า..

ถ้าอ่อนด้อย มันก็ตกไปข้างหนึ่ง.. ถ้ากระด้าง เข้มข้นเกินไป มันก็ตกไปข้างหนึ่ง

อัตตกิลมถานุโยค-กามสุขัลลิกานุโยค.. ทเวเม ภิกขเว.. ภิกษุไม่ควรเสพทาง ๒ ส่วน

อ่อนด้อยเกินไปก็ไม่ได้ แข็งกระด้างเกินไปก็ไม่ได้ นี่แล้วมัชฌิมาปฏิปทา ความสมดุลของมัน นี่พอวิปัสสนา ถ้ามันสมดุลของมัน มันจะปล่อย ถ้าไม่สมดุลของมัน เห็นไหม เวลาถ้าจิตมันสมาธิมันเข้มแข็งขึ้นมานะ มันจะใสไปหมด ทุกอย่าง.. ถ้าพิจารณากาย กายนี่ใส! เป็นโครงสร้างใสเหมือนกระจกใสเลยล่ะ แล้วมันใสอยู่นี่ กำลังของมัน มันใส มันไม่เป็นอนัตตา คือมันไม่ย่อยสลาย กำลังที่ว่ามันเข้มแข็งนะ

แต่ถ้าจิตมันอ่อนด้อย มันตั้งขึ้นมาไม่ได้ มันเป็นของเหลว มันจะตั้งรูปกายขึ้นมามันก็ไม่ชัดเจน เห็นไหม แต่ถ้าจิต ถ้าสมดุลของมัน มันตั้งกายขึ้นมา แล้วพิจารณาแล้วมันละลายลง มันแปรสภาพของมันไป ซ้ำแล้วซ้ำเล่า.. ซ้ำแล้วซ้ำเล่า.. นี่ไง! ถ้าไม่มีการฝึกหัด ไม่มีการอบรมจิต จิตมันจะคลายตัวมัน มันจะปล่อยวางสิ่งนั้น นี่โครงสร้างของมันไง

ที่ว่า “ธรรมะเป็นธรรมชาติ ธรรมะเป็นธรรมชาติ แล้วธรรมชาติทำอย่างไรต่อ?” ธรรมชาติก็มาคอตกกันอยู่นี่ไง ธรรมชาติก็ยังมาทุกข์อยู่นี่

“จิตเป็นธรรมชาติที่รู้” แต่เพราะอริยสัจ เพราะความจริง เพราะสิ่งมีการกระทำ เพราะมรรคญาณมันเข้าไปกลั่นกรอง กลั่นกรองธรรมชาติ แยกแยะธรรมชาติ สรรพสิ่งธรรมชาติที่มันรวมตัว เห็นไหม ดูสิ เวลาเฮอริเคนมันเกิด แล้วมันเกิด มันเกิดเพราะอะไร? เกิดเพราะความร้อนของภูมิอากาศ ภูมิอากาศ พอมันร้อน มันร้อนในตัวของมันในน้ำรวมตัวกัน แล้วดูดน้ำเป็นพายุขึ้นไป.. มันมาจากไหน?

แล้วมรรคญาณมันมาจากไหน? สิ่งที่ว่าสัมมาสมาธิ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่มันเกิดขึ้นมาในหัวใจที่มันพัฒนาขึ้นมา มันมาจากไหน? ถ้ามันไม่มีการกระทำขึ้นมา มันจะเป็นการภาวนามาจากไหน? นี่ไง สิ่งที่เป็นที่ทำ นี่ทวนกระแส ถ้ามรรคญาณมันทวนกระแสเข้ามา มาทำลายตัวมัน มันทำลายบ่อยครั้งเข้าๆ ถึงที่สุดนะ สรุปกระบวนการของมัน กระบวนการของมัน ถ้ามันพิจารณาของมันแล้วมันขาดนะ กายไม่ใช่เรา เราไม่ใช่กาย กายไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่กาย มันแยกของมัน มันต้องเป็นสัจจะของมัน

นี่สัจจะอันนี้ไม่ใช่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมตั้งแต่คืนวันวิสาขบูชา แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมวินัยเป็นทฤษฎีไว้ เป็นธรรมที่เป็นข้อเท็จจริง อริยสัจ ความจริงที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้ สาวก-สาวกะ พวกเราผู้เดินตาม ผู้ได้ยินได้ฟัง ได้เทคโนโลยี ได้อริยสัจ ได้สัจจะ ได้เทคนิค ได้ความจริงที่พระพุทธเจ้าทำแล้ว แล้วเราประพฤติปฏิบัติของเราขึ้นมานี่ ด้วยทวนกระแสเข้าไป

จิตเป็นธรรมชาติที่รู้ มันไปรู้ด้วยอวิชชา มันเป็นอวิชชา! ธรรมชาตินี่คือตัวกิเลส จิตเดิมแท้ กิเลสทั้งหมด มันเป็นกิเลสทั้งนั้น แต่เพราะเรามีการกระทำ เพราะเราทำความสงบของใจ เพราะเราเป็นวงกรรมฐาน เรามีครูบาอาจารย์ เรามีหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นเป็นผู้นำ ผู้นำวางธรรมและวินัยไว้ให้ประพฤติปฏิบัติ แล้วเราทำตามครูบาอาจารย์ของเราด้วยความเป็นความจริงของเรา เราทำด้วยข้อเท็จจริงของเรา

สติก็เป็นสติจริงๆ ถ้ากำหนดพุทโธๆ ถ้าปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าไม่มีสติ ล้มลุกคลุกคลาน มาอย่างนี้ไม่ได้ เพราะมีสติ! เพราะมีสติ! พุทโธก็เป็นพุทโธจริงๆ เวลาปัญญาอบรมสมาธิก็เป็นปัญญาอบรมสมาธิจริงๆ เวลาเป็นสมาธิ มันสิ่งที่ความสงบร่มเย็นของใจ แล้วใจมีกำลังของมัน ใช้ฝึกหัดใช้ปัญญาก็เป็นการฝึกหัดใช้ปัญญาจริงๆ ล้มลุกคลุกคลาน เจ็บไข้ได้ป่วย ทุกข์ยากอย่างไรก็มีความเข้มแข็ง มีการกระทำ.. มีการกระทำ มันก็ฟื้นตัวขึ้นมา

มันมีกระบวนการของมัน จนเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมโดยข้อเท็จจริง โดยความเป็นจริงขึ้นมา แล้วมันพิจารณาของมันไป ซ้ำแล้วซ้ำเล่า มันเป็นของใคร? มันก็เป็นของใจดวงนั้น มันเป็นของๆ ปัจจัตตัง สันทิฏฐิโกกับใจดวงนั้น ใจดวงนั้นเป็นคนทำ

ไม่ใช่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันเป็นธรรมของใจดวงนั้น!

ใจดวงใดทำได้ ใจดวงใดที่วิปัสสนาได้ ใจดวงใดกระทำได้ เวลามันขาดขึ้นมาก็ใจดวงนั้นน่ะขาด นี่ธรรมะมันอยู่ที่ใจไง.. ทุกข์! เวลาทุกข์ ใจนี่เป็นคนทุกข์ ใจ! หัวใจนี่เป็นคนทุกข์ จิตนี่มันเป็นคนทุกข์ จิตนี่พาเกิดพาตาย แล้วเวลาเกิดตายนี่มาด้วยความทุกข์ความยาก

แต่ในปัจจุบันนี้ กึ่งพุทธกาล จิตนี้มันมีโอกาส มันเป็นชาวพุทธ แล้วพระพุทธศาสนาเจริญอีกหนหนึ่ง เจริญตรงไหน? เจริญตรงที่มีครูบาอาจารย์การันตียืนยันการกระทำ แล้วเราทำตามความเป็นจริงนั้น แล้วครูบาอาจารย์ เห็นไหม ดูหมู่กรรมฐานเราสิ ตั้งแต่หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นท่านจะพูดเลย หลวงตาท่านเล่าให้ฟังประจำ “หมู่คณะอย่าลืมหลวงปู่ขาวนะ หลวงปู่ขาวได้คุยกับเราแล้ว..อย่าลืมองค์นั้น.. องค์นี้ๆ นะ..” นี่ได้ตรวจสอบกันๆ น่ะ

“หมู่คณะ” ในวงกรรมฐานเราได้ประพฤติปฏิบัติขึ้นมา แล้วในวงกรรมฐานเราน่ะ ได้กลั่นกรองๆ แล้วเรายังเห็นร่องเห็นรอยอยู่ ครูบาอาจารย์ของเราท่านนิพพานไปหมดแล้ว องค์ที่หลวงปู่มั่นท่านรับรองๆ ท่านนิพพานหมดแล้ว

ถ้าเหลืออยู่นี่มันก็เหลืออยู่ที่ผลประโยชน์ทับซ้อนนี่ กิเลสมันทับซ้อน ธรรมะมันทับซ้อน ทับซ้อนกันจนไม่มีหลักมีเกณฑ์กันไง แล้วเรายังมีร่องมีรอยอยู่นี่ เราชะล่าใจไหม เราจะนอนใจกันไหม ถ้าเราจะไม่นอนใจกัน เราจะต้องเข้มแข็ง ฉะนั้น ธรรมที่เขาแสดงกัน มันก็เป็นธรรมะของพระพุทธเจ้าทับซ้อนกับกิเลสของเขา

ถ้าไม่ทับซ้อนกับกิเลสของเขา เขาต้องบอกถึงวิธีการ

ครูบาอาจารย์ของเรา หลวงปู่มั่นน่ะ ท่านบอกแต่วิธีการ ท่านไม่บอกถึงมรรคผล เวลาถึงมรรคผลที่มันจะสรุป ท่านจะข้ามไป เพราะท่านห่วงลูกศิษย์ ท่านห่วงว่าผู้ที่ปฏิบัติจะได้ฟัง จะได้สัญญา จะได้สัญญาถึงผลของการกระทำ แล้วผู้ที่ปฏิบัติก็หวังแต่ผลนั้น ไม่มีการกระทำให้เป็นสมบัติของตนขึ้นมา ถ้าผู้ที่กระทำเป็นสมบัติของตนขึ้นมา มันก็จะทำ เห็นไหม ไม่ใช่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่ธรรมของหลวงปู่มั่น ไม่ใช่ธรรมของหลวงปู่เสาร์ ไม่ใช่ธรรมของครูบาอาจารย์ที่สั่งสอนเรา

มันเป็นธรรมของเรา! มันเป็นธรรมที่เกิดขึ้นมาจากใจ!

มันต้องเป็นธรรมที่เกิดขึ้นมาจากใจ!

เกิดขึ้นมาจากใจแล้วชำระกิเลสในหัวใจดวงนั้น มันทำลายโครงสร้าง เห็นไหม

“จิต-ธรรมชาติที่รู้” แต่มีธรรมะที่ทวนกระแส นี่กินแดนเข้ามาทีละเล็กทีละน้อย จนมันทำลายโครสร้างนั้น จนสรุปสมุจเฉทปหาน สังโยชน์ขาดออกไป เป็นพระโสดาบันขึ้นมา จิตดวงนั้นแจ่มแจ้งชัดเจน! จิตดวงนั้นจะรู้แบบแจ่มแจ้งชัดเจน! ไม่ต้องให้มีใครมาบอก ไม่ต้องให้มีใครมาค้ำประกัน

แต่ตอนที่ล้มลุกคลุกคลานน่ะ อยากจะหาครูหาอาจารย์ อยากจะหาที่พึ่ง อยากจะหาใครคอยส่งเสริม ทุกข์ยากลำบาก ในการประพฤติปฏิบัติทุกข์ยากลำบาก เพราะครูบาอาจารย์ของเราท่านทำมาก่อน ท่านถึงมีน้ำใจกับพวกเรา ท่านถึงเป็นห่วง ท่านถึงคอยดูคอยแล คอยส่งคอยเสริม เพราะในการประพฤติปฏิบัติ งานแสนยาก งานทุกข์งานยาก แล้วการกระทำมันจะได้ผลเอาเมื่อไร?

แต่ถ้ามันเป็นเรื่องของโลก กิเลส นี่ธรรมะทับซ้อนกับกิเลส..

“ลัด สั้น สะดวก สบาย ได้หมด สิ่งใดก็ได้”...ได้อะไร?

ได้กิเลส ได้ธรรมะกดกิเลสไว้ แล้วรอวันระเบิด! เอวัง