เทศน์บนศาลา

ธรรมะปะผุ

๑o พ.ย. ๒๕๕๔

 

ธรรมะปะผุ
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

เราอุตส่าห์มานะ เราอุตส่าห์มา เราตั้งใจของเราแล้ว ความตั้งใจของเรา เราเสียสละทุกอย่างไว้แล้ว แต่ถ้ามันเป็นความวิตกกังวลในหัวใจ เราเสียสละสิ่งใด วางสิ่งใดไว้แล้ว มันก็ยังวิตกกังวล เห็นไหม เรามาอยู่วัด ใจมันก็อยู่บ้าน เวลาพระมาบวชแล้ว ทุกคนนะ เวลาออกบวช อยากจะสิ้นกิเลสทั้งนั้นน่ะ

เพราะว่าเราเป็นชาวพุทธไง ถ้าชาวพุทธ ถ้าการประพฤติปฏิบัติสิ้นกิเลส มันถึงเข้าสู่นิพพาน วิมุตติสุข สุขอย่างยิ่ง มันเป็นที่ปรารถนา แต่การปรารถนาขึ้นมา ถ้าไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้รื้อค้นขึ้นมา เราจะปฏิบัติกันอย่างใด ขณะนี้มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรามองไปที่สังคมสิ สังคมปฏิบัติกันทำไมมันเหลวแหลกขนาดนั้น ทำไมมันเชื่ออะไรกันได้ง่ายๆ ขนาดนั้น นั่นมันเพราะอะไรล่ะ เพราะว่าอำนาจวาสนาของคน แต่คนที่เขามีปัญญานะ เขามองแล้วนะ มันใช้ไม่ได้ ถ้ามันใช้ไม่ได้ นี่เวลาแค่เราศึกษาธรรม ถ้าศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ ธรรมนี่มันจะไม่มีขัดแย้งกัน มันจะไปนะ ตั้งแต่หยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด ละเอียดสุด ไปแต่ละชั้นแต่ละตอนขึ้นไป

“อย่างหยาบ” อย่างหยาบก็คือสามัญสำนึกเรานี่แหละ สามัญสำนึกเรา แค่เรามีศรัทธา มีความเชื่อ นี่หยาบๆ ทั้งนั้นน่ะ แต่คนที่ว่าหยาบๆ เวลาเรามีความว่าเป็นหยาบของเรา แต่เวลาเราทำขึ้นมามันก็เต็มไม้เต็มมือเราน่ะ คำว่า “เต็มไม้เต็มมือ” ดูสิ แค่ไปชวนกันไปวัดเขายังไปกันไม่ได้เลย แล้วอย่างเรา เวลาเราจะออกบวชขึ้นมา พระมาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา บอกว่า

“จะสิ้นสุดแห่งทุกข์”

เขาบอกว่า “เพ้อเจ้อไปรึเปล่า มันมีความจริงหรือ มันเป็นไปได้จริงหรือ”

นี่ขนาดที่ว่าเราแค่คิด นี่เรื่องหยาบๆ สังคมโลกเถียงกันอยู่แค่นั้นแหละ วิตกวิจารณ์กัน เถียงกันว่ามรรคผลมีหรือไม่มี นรกสวรรค์มีหรือไม่มี เกิดนี้เกิดมาจากไหน...เถียงกันอยู่อย่างนั้นแหละ แล้วเถียงกันอยู่อย่างนั้น นี่เรื่องหยาบๆ หยาบๆ ก็คือสามัญสำนึกของเรานี่ไง มนุษย์เกิดมาก็เป็นอย่างนี้ ก็มีความรู้สึกนึกคิดอยู่อย่างนี้ ถ้ามีความรู้สึกนึกคิดของเรานะ นี่ความรู้สึกนึกคิดใช่ไหม ความรู้สึกนึกคิดนี้มาจากไหน?

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นมา ปฏิสนธิจิต ถ้าการเกิดและการตาย กำเนิด ๔ เกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม เกิดในโอปปาติกะ การเกิด กำเนิด ๔ ถ้าจิตกำเนิด ๔ แล้วกำเนิดอย่างไร? กำเนิดก็เป็นวาระไง เป็นชีวิตไง แล้วเวลาตายไปไม่เป็นชีวิตเหรอ? เวลาตายไปมันก็เกิดในวัฏฏะไง นี่จิตเวลาเวียนไป สัมภเวสี เวลาเกิดเป็นเปรต เป็นผี นี่มันก็เกิดหมดน่ะ สิ่งที่มันเกิด นี่ไง ผลของวัฏฏะมันไม่มีเว้นวรรคหรอก ฉะนั้น ไม่มีเว้นวรรค เวลาเราเกิดขึ้นมา เกิดมาจากไหน ถ้าไม่มีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่จะพิสูจน์กันได้อย่างใด

แต่ถ้ามันพิสูจน์ขึ้นมาแล้ว เราศึกษามาแล้ว ถ้าเราศึกษามาแล้ว ศึกษามา สิ่งที่มันตัดแปะมา เวลารถเขา ดูรถเขานะ เวลาเขาชำรุดเสียหาย เขาปะผุนะ เวลาเขาปะผุ ดูสิ เขาตัด เขาต่างๆ เขาปะผุของเขา การศึกษาของเราก็เหมือนกัน เวลาการศึกษาของเรา เรามีกิเลสทั้งนั้นน่ะ กิเลสตัณหาความทะยานอยากในหัวใจมันปะผุไง ถ้ามันปะผุขึ้นมา อารมณ์คนนะ

ดูสิ ดูทางโลกเขา นี่เวลาสังคมๆ หนึ่ง เวลาประเพณีวัฒนธรรม เวลาสังคมนั้น ถ้ามีประเพณีวัฒนธรรมเข้มแข็ง สังคมนั้นมันจะอยู่กันร่มเย็นเป็นสุข ประเพณีวัฒนธรรมมันเกิดมาจากไหน วัฒนธรรมมันตกผลึกในสังคมสังคมนั้นนะ สังคมไหนก็แล้วแต่ วัฒนธรรมเขาดี เด็กจะเคารพผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่จะเคารพผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้เฒ่าผู้แก่ก็อยู่เป็นหลักชัยของสังคม คอยบอก คอยสอน คอยต่างๆ เห็นไหม วัฒนธรรมของเขา แต่ถ้ามันไม่มีวัฒนธรรมของเขา มันไม่มีเด็กไม่มีผู้ใหญ่ ไม่มีสูงไม่มีต่ำ มันเหยียบย่ำไปหมด มันเหยียบย่ำไป เห็นไหม แล้วเวลาปัจจุบันนี้เราก็พยายามบอกว่า

“ต้องฟื้นฟู ต้องฟื้นฟู ฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรม สิ่งที่ดีงามๆ ในศาสนาของเรา ในสิ่งที่ดีงามของสังคมของชาวพุทธของเรา ในสังคมไทยเรา เมื่อก่อนสังคมนี้ร่มเย็นเป็นสุข เดี๋ยวนี้สังคมนี้มีแต่ความเร่าร้อนไปน่ะ”

ความเร่าร้อน เร่าร้อนเพราะอย่างใด?

แล้วเราก็มาปะผุกัน ปะผุสังคมกันนะ สังคมต้องปะผุ สลายสีเสื้อ สลายต่างๆ ให้มันรักกัน ดีกัน แล้วมันเป็นไปได้ไหม มันเป็นไหม? มันเป็นทิฏฐิมานะของคน ทิฏฐิมานะของคน มันปะผุมันก็ปะผุทับซ้อนกิเลสไป ทิฏฐิมันยังอยู่ มานะมันยังอยู่ มันปะทับซ้อนของมันไป ถ้าทับซ้อนของมันไป เห็นไหม “การปะผุสังคม” ถ้าสังคมมันปะผุ มันทำได้ไหม? มันทำได้มันก็...

เวลาเราพูดถึงสังคม สังคมใส่หน้ากากเข้าหากัน

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก

“มนุษย์นี้แปลกประหลาดมากนะ คิดอย่างหนึ่ง ทำอย่างหนึ่ง พูดอย่างหนึ่ง”

ไม่กล้าพูดความจริงน่ะ มนุษย์นี่คิดอย่างหนึ่ง พูดอย่างหนึ่ง ทำอย่างหนึ่ง แล้วนี่ก็เหมือนกัน สิ่งต่างๆ ทำกันอยู่อย่างนั้น แล้วนี่สังคมเป็นแบบนั้น พอสังคม เรื่องของสังคม สังคมคือจิตส่งออก เรื่องของภายนอก แต่เราจะประพฤติปฏิบัติ กิเลสเราเต็มหัวใจอยู่ เวลาศึกษาธรรมะมาก็ปะผุไว้ไง ปะไว้ ปะไว้

เวลาปะผุนะ เวลาสิ่งที่เป็นวัตถุ เวลาปะผุ รถเขาซ่อมแซมของเขา เขาขัดเงาของเขา สีของเขา นี่แจ่มสวยงามหมดเลย เขาปะผุเพราะมันเป็นสิ่งที่เขาเชื่อมแล้วเขาโป๊วสีของเขา เขาทำของเขา มันเป็นเนื้อเดียวกันโดยวัตถุเพราะมันไม่มีชีวิต แต่ถ้าหัวใจเราล่ะ นี่เวลามันปะผุมัน เวลาหัวใจเศร้าหมอง หัวใจมีแต่ความทุกข์ระทม

ศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามานี่ เวลาศึกษาขึ้นมามีสติปัญญาขึ้นมาก็ “แหม ใช่ ทุกข์เป็นอริยสัจ ทุกข์เป็นความจริง ทุกข์เป็นอนิจจัง สิ่งใดเป็นอนิจจังสิ่งนั้นเป็นทุกข์ มันก็เป็นอนัตตา มันก็อยู่กับเรา” นี่เวลาปะมานะแหม ก็สวยงามนะ แต่พอมันคุ้นชินขึ้นมานะ นี่มันหลุดนะ สิ่งนี้ปะแล้วหลุดหมด ความทุกข์ก็อันเดิมนั่นน่ะ “ทุกข์ก็เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนิจจัง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา” อนัตตาก็อนัตตาสิ อนัตตาก็เป็นสัญญา เป็นความรู้สึกนึกคิดรอบหนึ่ง ถ้ามีสติปัญญานะ นี่จิตมันเชื่อฟัง มันเชื่อฟังมันก็ปะผุไว้ ปะธรรมะไว้ ปะธรรมะไว้กับในหัวใจของเรา ก็มีความ “เอ้อ! เอ้อ!”

แต่เวลากิเลสมันตื่นนอนขึ้นมาน่ะ มันดิ้นรนของมันนะ สิ่งที่ปะไว้น่ะหลุดเลย

ทุกข์เต็มหัวใจ! ทุกข์อีกแล้ว! ทุกข์อีกแล้ว!

นี่มันปะผุไว้ มันปะไว้กับกิเลสตัณหาความทะยานอยากของเราน่ะ แล้วมันแก้กิเลสได้ไหม? มันแก้กิเลสไม่ได้ เพราะมันปะผุไว้ โดนเขาปะผุแล้วมันยังสวยงามนะ ไอ้เราปะธรรมไว้ในหัวใจน่ะมันปะไม่ติดหรอก ถ้ามันปะไม่ติด นี่เป็นความเห็นของเรา นี่ความเห็นของโลกนะ

แต่พอความเห็นของธรรมล่ะ ความเห็นของธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่เป็นอย่างนั้น เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ ปรารถนา อย่างเราสาวก-สาวกะ ถ้าได้ยินได้ฟัง เราประพฤติปฏิบัติขึ้นไป เราสิ้นสุดแห่งทุกข์ได้ เราเป็นพระอรหันต์ได้ ทุกคนมีสิทธิเป็นพระอรหันต์ ทุกคนมีพุทธะในหัวใจ ทุกคนมีสิทธิ์ เพราะจิตกับพุทธะมันอยู่ที่ไหน

พุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

“จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้หมองไปด้วยอุปกิเลส”

“จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้ข้ามพ้นกิเลส”

แล้วมันจะข้ามพ้นอย่างไร? ข้ามพ้นเพราะอริยสัจ มันธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีอยู่แล้ว แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติขึ้นมาอยากจะเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ สร้างคุณงามความดี นี่มันปะผุไหมน่ะ พันธุกรรมของมัน เชื้อไขของมันได้ตัดแต่งขึ้นมา ได้ถนอมรักษา เป็นหัวหน้าสัตว์ เป็นจักรพรรดิ เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นทุกอย่าง เป็นหัวหน้าผู้ใฝ่ดีกับลูกน้อง กับประชาชน กับฝูงของตัว แต่ละภพแต่ละชาติทำคุณงามความดีมามหาศาลเลย นี่ตัดแต่งพันธุกรรมมา มันจะปะผุมาจากไหน มันได้สร้างหลักสร้างฐานมา

จิตใจ ถ้าไม่มีหลักมีฐานมา ดูความคิดสิ จิตใต้สำนึก คำว่า “จิตใต้สำนึก” ในทางวิทยาศาสตร์เขาพิสูจน์เรื่องจิตใต้สำนึก จิตก่อนสำนึก คือสิ่งที่มีความสะสมมาในหัวใจ แล้วความรู้สึกนึกคิดอย่างนี้ ถ้ามันเป็นธรรมก็ปะไว้สิ ปะไว้ แต่งไว้ ซ่อนไว้ หลบซ่อนไว้

นี่พูดถึงทางวิทยาศาสตร์นะ เวลาจิตเภท คนที่เจ็บไข้ได้ป่วย เวลาเขาจะรักษาทางการแพทย์ เขาเรียก “ขุด” เขาจะขุดนะ เขาจะขุดออกมาเรื่องสิ่งจิตใต้สำนึกนั่นน่ะ สิ่งใดที่มันคาหัวใจไว้น่ะ ขุดออกมา รักษาขึ้นมา รักษามันทำไม? รักษาให้มันเป็นปกติเท่านั้นเอง รักษามา จิตผิดปกติไปมันก็มีสิ่งที่มันขาดสติไป เหมือนคนบ้า คนบ้าไม่มีสติ แต่มีจิตอยู่ มีความรับรู้อยู่ นี่ทางการรักษาของเขาทางวิทยาศาสตร์เขาต้องขุดออกมา นี่ไง สิ่งขุดออกมา นี่พูดถึงจิตใต้สำนึกของเขาที่เขาขุดนะ เพื่อจะได้รักษาขึ้นมาให้มาเป็นปกติเท่านั้นนะ ให้เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ กลับมาเป็นปกติ แล้วเป็นปกติมันเป็นไปได้ไหม เป็นปกติต้องตามยา ต้องดูแล ต้องอะไร

นี่ลองจิตได้ลงได้ขนาดนั้น เวลากลับมานะ แล้วพอจิตมาภาวนาเข้ามาถึงจุดนี้ปั๊บมันจะเกิดอาการของมัน อาการของมัน นี่ไง จิตใต้สำนึกไง นี่ความรู้สึกนึกคิดจากจิตเดิมแท้ จากจิตใต้สำนึกขึ้นเลย ที่มันจะโผล่ขึ้นมา นี่พูดถึง แล้วเราไปปะไว้ ดูแลไว้ รักษาไว้ขนาดไหนมันจะทำได้แค่นั้นไง

แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระโพธิสัตว์ นี่ไง สร้างสมบุญญาธิการ สร้างสมต่างๆ ขึ้นมา นี่จิตใต้สำนึก ใช้ทำคุณงามความดี จะเอาความเข้มแข็งไว้ จิตที่คุณงามความดี เวลามาเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ “เราจะเกิดชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย”

นี่เกิดชาติสุดท้ายนะ ยังไม่ได้ปฏิบัติเลย เกิดมาที่สวนลุมพินี

“เราจะเกิดชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย”

นี่ไง ด้วยคุณงามความดี ด้วยการสร้างมา นี่มันมาจากรากฐาน มาจากจิตใต้สำนึก มาจากต่างๆ มันคิดแต่เรื่องดีๆ ทั้งนั้นน่ะ นี่เวลาคิดแต่เรื่องดีๆ เวลาพระเจ้าสุทโธทนะจะรั้งไว้เป็นจักรพรรดิ ด้วยธรรมชาติของความผูกพันของชาติตระกูลก็เป็นอย่างนั้น นี่คุณงามความดีของโลก คุณงามความดีของโลก พ่อแม่ก็ต้องการให้ลูกมีที่ยืนที่สังคม ลูกเราให้ประสบความสำเร็จในชีวิต นี่คือแรงปรารถนาของพ่อแม่ นี่มันเป็นเรื่องธรรมดา เวลาเจ้าชายสิทธัตถะเกิดมาจากพระเจ้าสุทโธทนะ ก็ต้องการ ปรารถนาสิ่งที่ดีที่สุดทางโลกที่เขาหาไว้ได้ แต่ลูก แต่เพราะเจ้าชายสิทธัตถะได้สร้างคุณงามความดีมหาศาล มีความรู้สึกนึกคิดที่เหนือกว่ามนุษย์ เหนือกว่าสิ่งต่างๆ ดูสิ ความเป็นมนุษย์ สิ่งที่สูงส่งขึ้นมามันจะมีสิ่งใดจะสูงส่งขึ้นไปจากสถานะของจักรพรรดิที่ปกครองมนุษย์ด้วยกัน สิ่งที่ปกครองมนุษย์ด้วยกัน เหนือมนุษย์ เหนือทุกๆ อย่าง สิ่งที่เป็นโลกมันเห็นชัดๆ อยู่แล้ว ทำไมไม่พอใจ ทำไมไม่พอใจสิ่งเหล่านี้ ทำไมสิ่งเหล่านี้มันเป็นความทุกระทมในหัวใจ? เป็นความทุกระทมนะ

“เราจะต้องเป็นจักรพรรดิ เราจะต้องดูแลรักษา ต้องปกครองดูแล” มันทุกข์ไปหมดน่ะ แล้วพอทุกข์ไปหมดแล้วมันไปเที่ยวสวน เห็นยมทูต เห็นคนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย

“คนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย มีอย่างนี้ด้วยหรือ แล้วเราต้องเป็นอย่างนี้ด้วยหรือ”

คำว่า “มีอย่างนี้ด้วยหรือ” มันถึงว่ามีคนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย มันสะเทือนใจมากนะ คนที่มีคุณงามความดีในใจ แค่เห็นคนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย “เราต้องเป็นอย่างนี้หรือ เราต้องเกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย เราต้องตายไปอีกหรือ”

คำว่า “ตายไป” มันไปสั่นไหวสิ่งที่คุณงามความดีที่สร้างมาในหัวใจนี้ไง ในหัวใจได้สร้างคุณงามความดีมามาก สิ่งที่ว่าเราต้องตาย ตายเปล่าๆ ตายไปแล้วเกิดอีก ตายในวัฏฏะ ดูสิ นี่มันไปสั่นไหว สั่นไหวถึงว่า “เราต้องเป็นอย่างนี้หรือ”

“ถ้าอย่างนั้น...” นี่ปัญญาเกิด นี่ปัญญาของโลกๆ นะ ปัญญาอย่างนี้เขาเรียกว่าตรรกะ ปรัชญา ที่ว่าตรรกะ-ปรัชญามันเกิดขึ้นมา “...ถ้ามันมีเกิด มีแก่ มีเจ็บ มีตาย มันต้องมี ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย” ในเมื่อมีมืดต้องมีสว่าง มีถูกต้องมีผิด มีการเกิดต้องมีการไม่เกิด แต่ยังไม่รู้

ถ้ามันยังมี เห็นไหม เพราะด้วยความเข้มแข็งของหัวใจ ด้วยความเข้มแข็ง ออกแสวงหา นี่ทิ้งราชวังมา ที่ทิ้งมา คำว่า “ทิ้งมา” ทิ้งมาด้วยคนที่คิดดี คิดบวก คิดถึงรับผิดชอบ แล้วต้องทิ้งมาก่อน ถ้าอยู่อย่างนี้มันจะพากันล้มเหลว พากันไม่มีสิ่งใดที่เป็นประโยชน์กับใครเลย ต่างคนต่างรักกัน ต่างคนต่างดูแลกัน ต่างคนต่างกอดคอร้องไห้กัน ต่างคนต่างส่งเสริมกัน แล้วก็จะเกิด จะแก่ จะเจ็บ จะตายอยู่อย่างนี้ แต่ในเมื่อตรงข้ามมันมี ทิ้งแล้วออกไปแสวงหา ออกไปแสวงหาก็ไปเจอเจ้าลัทธิต่างๆ นี่ไปทำกับเขา นี่ไง เริ่มต้นในการขุดพรวนดิน จะขุดการกระทำ มันต้องเกิดขึ้นของมัน

ไม่ใช่ว่าตัดแปะ ปะผุกันอย่างนั้นน่ะ ตัดแปะ-ปะผุอย่างนั้นแล้วก็เป็นธรรม เป็นธรรม มันเป็นไปไม่ได้หรอก ถ้ามันเป็นธรรม นี่ในปัจจุบันมีการศึกษาปริยัติ นี่ไง แปะ แปะ แปะเข้าไป มันสัญญาทั้งนั้นน่ะ ขันธ์ไม่ใช่จิต ถ้าขันธ์ไม่ใช่จิต เขาบอกว่า “ขันธ์ไม่ใช่จิต” แล้วมันขันธ์เป็นอะไรล่ะ ขันธ์ ๕ ถ้าขันธ์ ๕ ไม่เป็นจิต แล้วมันสงบตัวได้อย่างไร เวลาจิตมันสงบแล้วขันธ์มันอยู่ที่ไหน เวลาทำสมาธิขึ้นมาแล้วขันธ์มันอยู่ที่ไหน ถ้าขันธ์ นี่อัปปนาสมาธิ ขันธ์มันอยู่ที่อะไร ขันธ์อย่างละเอียดก็ว่าไป ขันธ์ ๔ ก็ว่าสิ่งที่จิตมันเป็นหนึ่งได้อย่างไร แล้วจิตมันจะเป็นเอกัคคตารมณ์ได้อย่างไร จิตเป็นหนึ่ง มันสละเข้ามาได้อย่างไร

นี่สิ่งที่ทำขึ้นมา ถ้าพูดถึงฌานสมาบัติ มันก็มีของมัน ถ้ามีของมันนะ ดูสิ ถ้าใครทำความสงบของใจได้มาก ถ้าจิตมันสงบมาแล้ว พอจิตมันสงบเข้ามามันก็วางได้ มันก็วางของมันได้ ถ้าวางของมันได้ เห็นไหม เวลาศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ ได้ฌานสมาบัติขึ้นมา แล้วออกมาก็เป็นปกติ คำว่า “ได้สมาธิมาแล้ว” คำว่า “ได้สมาธิ” ถ้ามันยังใช้ไม่เป็น ไม่มีปัญญาในพุทธศาสนา มันก็ยังเวียนตายเวียนเกิดอยู่ในธรรมชาติของมัน แล้วทำอย่างไรจะไม่เวียนตายเวียนเกิดล่ะ?

ไปศึกษากับใครมา? ศึกษากับใครมา?

เพราะสิ่งในเรื่องอริยสัจ เรื่องสัจจะความจริง เรื่องอริยสัจ มรรคญาณยังไม่มีใครทำได้ ถ้าไม่มีใครทำได้มันมีมาจากไหน? ก็มันไม่มี ถ้ามันไม่มีใครทำได้มันก็ต้องไม่มี เพราะไม่มีใครรู้ มันจะเอามาจากไหน ถ้ามันเอามาจากไหน มันก็ศึกษากันมันก็ไม่รู้ นี่คนไม่รู้

พอเขาบอก “นี่ แค่นี้ แค่นี้แหละสูงสุดแล้ว นี่ไง ปล่อยวางหมด นี่นิพพาน”

นิพพานของเขาไง นี่ไง มันปะผุกันไว้ทั้งนั้นน่ะ เอากิเลสปะไว้ ซ่อนไว้ ทุจริตไว้ ฉ้อฉลไว้ ไม่ยอมพูดความจริงกัน มันพูดความจริงไม่ได้ ถ้าพูดความจริงคือสังคมของคนไม่รู้มันก็พูดกันอย่างนั้นน่ะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างบุญญาธิการมา อยู่ในสังคมอย่างนั้น เขาปฏิญาณตนว่าเป็นศาสดา ทุกคนมีฤทธิ์มีเดชทั้งนั้นน่ะ ท่านไม่สนใจเลย

ถ้ามันหาไม่ได้ หาไม่เจอ ไม่มีแล้ว...กลับ ต้องทำด้วยตัวเอง กลับย้อนมาอานาปานสติ กลับมาดำริถึงว่าอยู่กับพระเจ้าสุทโธทนะ ท่านพาออกไปแรกนาขวัญ “เราเคยทำสมาธิได้อย่างนั้น” ไปสมบุกสมบันกับเขามาทั่วแล้ว สมบัติก็เอาสมบัติของตนเอง สมบัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สร้างบุญญาธิการมา นี่ไง จิตใจที่ได้สร้างสมคุณงามความดีไว้ มันเป็นหน่อของพุทธะ มันเกิดขึ้นมาจากความเป็นจริง

เหมือนกับที่ว่าเราสร้างวัตถุ สร้างเครื่องยนต์กลไก เราสร้างของเราขึ้นมาโดยข้อเท็จจริง โดยสสาร โดยแร่ธาตุที่เราหล่อหลอม แล้วขึ้นมาเป็นของเรา มันจะเป็นความจริงของเรา จิตของเรามีกิเลสนี่จริง ถ้ามันสร้างขึ้นมาให้เป็นความจริงขึ้นมา ถ้าเป็นความจริงขึ้นมามันก็จะเป็นประโยชน์ของเราขึ้นมา มันปะผุกันไม่ได้นะ สิ่งที่ถ้าปะผุกันไปนี่มันจะทำให้เหลวไหล เหลวไหลนะ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปัจจุบันมีอยู่แล้ว มีอยู่แล้วที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นมา แล้วเรา ด้วยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ได้ปะผุไว้ นี่ปะผุไว้

ดูสิ เวลาเราเกิดบาดแผล บาดแผลที่เย็บไม่ดีมันยังติดเชื้อเลย นี่เวลาบาดแผลเย็บแล้ว มันเย็บแล้วมันแตก นี่ไง ทำไมมันไม่ติดล่ะ นี่ถ้ามันปะผุ มันเป็นวัตถุมันก็ทำได้ของมัน มันก็ดูสวยงาม แต่เนื้อของเรา นี้เนื้อของเรานะ แล้วความรู้สึกของเรามันละเอียด ความรู้สึกมันละเอียดยิ่งกว่าเนื้ออีก แล้วเราว่าเรารู้เราเห็น เวลาเราศึกษาขึ้นมา ปริยัติมันก็ปะผุไว้เท่านั้นน่ะ มันไม่มีอะไรเป็นเนื้อ เป็นชิ้นเป็นอันขึ้นมาหรอก

นี่เวลามันเป็นขึ้นมา ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปฏิเสธมาทั้งหมด ปฏิเสธ มารื้อค้นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง ถ้ารื้อค้นขึ้นมาเอง มันก็เป็นขึ้นมา เป็นขึ้นมาตามความเป็นจริง ถ้าเป็นความจริง ด้วยอำนาจวาสนา ด้วยบุญญาธิการ คิดถึง รำลึกถึง ว่าคุณงามความดีที่สร้างมา เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้เองโดยชอบ การตรัสรู้เอง ถ้าตรัสรู้เองอย่างไร ถ้าไม่มีความดำริ ไม่มีความรื้อค้น ไม่มีการกระทำขึ้นมาในหัวใจ จะตรัสรู้กันที่ไหน ถ้าตรัสรู้ที่ไหน

ดูความเห็นของโลก ด้วยสายตาของมนุษย์ ก็บอกว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ที่โคนต้นโพธิ์ แล้วตรัสรู้ไปนั่งอยู่นั่นแล้วความรู้สึกในหัวใจล่ะ? มันตรัสรู้ที่ในจิตต่างหากล่ะ จิตที่มันมีสติปัญญาของมัน

ดูสิ อานาปานสติ บุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ เวลาสำเร็จขึ้นมาแล้ว นี่ไง ถ้ามันมีจริง มีจริงในเนื้อหาสาระ ถ้ามันมีเนื้อหาสาระขึ้นมา นี่เสวยวิมุตติสุข เวลาพอสำเร็จไปแล้ว เสวยวิมุตติสุข นี่มีความสุขมาก แล้วด้วยการสร้างบุญญาธิการมานะ เป็นพระโพธิสัตว์ คำว่า “เป็นโพธิสัตว์” ได้สร้างบุญญาธิการมา ผู้ที่อยู่อุปัฏฐากอุปถัมภ์กันมามันมีมหาศาล

ทีนี้มีมหาศาล ก็เตรียมพร้อมกันมาทั้งนั้นน่ะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนามาเป็นพระโพธิสัตว์ ๔ อสงไขย แล้วผู้ที่ร่วมเกิดร่วมตายกันมาที่เป็นขณะที่เกิด เกิดองค์เดียวหรือ พระพุทธเจ้าเกิดองค์เดียวหรือ เวลาเป็นจักรพรรดิ เป็นองค์เดียวหรือ? เขามี เขามีหมู่มีคณะมาทั้งนั้นน่ะ ฉะนั้น ผู้ที่สร้างมาด้วยกัน ที่ว่าจะรื้อสัตว์ขนสัตว์เขาก็รออยู่ แต่เพราะรออยู่ แต่ด้วยความจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ แต่พอปฏิบัติขึ้นมาแล้ว

“มันจะสอนได้อย่างไร มันจะสอนได้อย่างไร”

เพราะมันพลิกฟ้าคว่ำดินไปเลย มันสิ่งที่โลกนี้ เรื่องของโลกเป็นเรื่องของโลก มันแก้กิเลสไม่ได้เลย แต่ขณะที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาวางธรรมวินัยไว้ มันก็วางธรรมผ่านโลก สมมุติบัญญัติ บัญญัตินี้เป็นสมมุติหรือเปล่า “สมมุติ” ก็คือคำพูดไง สมมุติบัญญัติขึ้นมา สมมุติมันเรื่องของโลก มันเป็นภาษาต่างๆ แต่ถ้า “บัญญัติ” บัญญัติเป็นศัพท์ขึ้นมา บัญญัติเป็นธรรมไว้ แล้วเราศึกษาขึ้นมา นี่ตัดแปะแล้ว ปะผุเลย ปะผุหัวใจกันเต็มที่เลย

ทีนี้ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังไม่มีพระปฏิบัติ พระจุนทะไปเห็นศาสนาอื่น เวลาศาสดาเขาตายไป ลูกศิษย์ลูกหาอยู่กันไม่ได้ เวลาไปถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

“ทำไมเขาเป็นอย่างนั้น”

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก “เพราะขาดวินัย”

ถ้าวินัยคือข้อบังคับ ก็บอกให้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบัญญัติวินัยสิ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า

“ตถาคตทำไม่ได้หรอก ตถาคตจะพูดอะไรต้องมีเหตุมีผล ต้องมีหลักมีเกณฑ์”

ฉะนั้น สิ่งที่เป็นวินัยขึ้นมา มีพระทำผิดทำถูกทั้งนั้นน่ะ พระทำผิดแล้วถึงบัญญัติขึ้นมา คำว่า “พระทำผิด” เมื่อก่อน เริ่มต้นออกมาเทศนาว่าการได้ปัญจวัคคีย์ ไปเทศน์ยสะ ได้ ๖๑ องค์ ทั้ง ๖๑ องค์รวมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย

“เราทั้งหมดพ้นจากบ่วงที่เป็นโลกและเป็นทิพย์ เธอจงไปอย่าซ้อนทางกัน โลกนี้เขาเร่าร้อนนัก”

“เธอพ้นจากบ่วงที่เป็นโลกและเป็นทิพย์” นี่คือพระอรหันต์ทั้งหมดไง

แล้วพระอรหันต์จะทำผิดอะไร วินัยจะบัญญัติอะไร ในเมื่อไม่มีคนทำผิดองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไม่บัญญัติ นี่สิ่งที่สมัยพุทธกาลน่ะพระอรหันต์ทั้งนั้น สิ่งที่เป็นพระอรหันต์ ดูสิ เวลาพระจุนทะเป็นพระอรหันต์ พระสารีบุตร พระจุนทะ พระเรวตะ นี่พระอรหันต์ทั้งนั้นน่ะ ทีนี้พระอรหันต์ก็อยากให้ศาสนามั่นคง ไปบอกองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้บัญญัติวินัย

พระพุทธเจ้าบอก “ทำไม่ได้หรอก”

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า “เราเป็นตถาคต พูดอะไรไม่มีเหตุมีผลไม่ได้ ต้องมีเหตุมีผล”

ฉะนั้น เวลาคนทำขึ้นมาถึงได้บัญญัติขึ้นมา บัญญัติขึ้นมา สิ่งที่บัญญัติขึ้นมา คนทำผิดแล้วถึงได้บัญญัติขึ้นมา บัญญัติไว้ ถ้าบัญญัติไว้เป็นธรรมวินัย ถ้าธรรมวินัย สิ่งที่บัญญัติขึ้นมา เขาก็มีคนผิด แต่ขณะที่ว่าก่อนหน้านั้น นี่ไม่บัญญัติธรรมวินัยเลย พระอรหันต์ทั้งนั้น แล้วพระอรหันต์จะทำอะไรผิดไหม พระอรหันต์ไม่มีเจตนา ไม่ทำสิ่งใด นี่ปาปมุต

อะไรคือปาปมุต? แล้วปาปมุตมันเป็นอย่างไร?

ถ้าปาปมุต ถ้าสิ่งที่เป็นความจริงก็เป็นความจริง แต่ถ้าสิ่งที่ความไม่จริง ความไม่จริง เราทำกันไม่จริงไม่จังไม่จริงไม่จัง แล้วมันจะได้สิ่งใดมาล่ะ มันจะได้ติดอะไรในหัวใจเรามา

ฉะนั้น เราเป็นชาวพุทธนะ เราต้องเอาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นตัวอย่าง เอาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครูเอกของเรา เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติอย่างใด แล้วเวลาปฏิบัติมา นี่สาวก-สาวกะก็ได้รับคำสอนจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งนั้น ถ้าได้รับคำสอนจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

นี่ลูกศิษย์มันจะดีไปกว่าอาจารย์ตรงไหน

ลูกศิษย์มันดีกว่าอาจารย์ไปไม่ได้หรอก แล้วอาจารย์นี่เป็นศาสดาด้วย

เวลาธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ อจินไตย ๔ คำว่า “อจินไตย” พุทธวิสัย ความรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กรรม โลก ฌาน นี่เป็นเรื่องอจินไตย สิ่งที่เป็นอจินไตยมันลึกลับกว้างขวางมาก ทีนี้การกว้างขวางมาก สิ่งที่เวลาผู้ที่ประพฤติปฏิบัติไปปฏิบัติถึงที่สุดแห่งทุกข์แล้ว แล้วที่สุดแห่งทุกข์ เวลาสอน เวลาใครจะเทศนาว่าการ มันก็มาจากต้นขั้วนั้นทั้งนั้นน่ะ ไม่มีใครจะมีบารมีมีอำนาจวาสนามากไปกว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรอก ฉะนั้น เวลาเราจะประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เราก็ดูนี่เป็นเกณฑ์ไง

ดูองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสิ เวลาออกประพฤติปฏิบัติ ทุกข์ๆ ยากๆ จะทำมาขนาดไหน นี่ขนาดองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างบุญญาธิการมาขนาดนี้นะ แต่เราก็บอกว่า “คนนั้นฟังธรรมทีเดียวก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์”

ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระโพธิสัตว์ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นมาแล้ว บอกว่า

“เรา อำนาจวาสนา อายุ ๘๐ ปี ศาสนาอยู่ ๕,๐๐๐ ปี เพราะเราทำบุญมาขนาดนี้”

แล้วแต่ละองค์ทำมามันไม่เหมือนกัน

แล้วเวลาที่ว่าบอกว่า “เวลาฟังเทศน์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทีเดียวเป็นพระอรหันต์เลย” สาวก-สาวกะได้ยินได้ฟัง มันไม่มีคนสอนไง แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้เองโดยชอบ ที่ว่ามีคนสอนขึ้นมา แล้วมีคนสอน ขนาดมีคนชี้คนนำ แค่มีคนชี้คนนำมันก็เรื่องหนึ่งแล้ว สาวก-สาวกะ

ทีนี้ เราจะบอกว่า เวลาฟังเทศน์หนหนึ่งเป็นพระอรหันต์เลย แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารื้อค้นอยู่ขนาดนั้น ถ้าเป็นฟังเทศน์หนหนึ่ง แต่เบื้องล่ะ ที่ทำมาล่ะ การทำมามันมีเหตุมีผลของมัน ถ้ามีเหตุผลของมัน เวลาเป็นธรรมขึ้นมามันจะเป็นธรรม เป็นหน่อของพุทธะ เป็นธรรมขึ้นมาในหัวใจ

แต่ถ้าเราประพฤติปฏิบัติของเรา เราไม่มีความจริงใจกับเรา ถ้าเราไม่จริงใจกับเรา เพราะเราไม่จริงใจกับเรา ถ้าเราไม่จริงใจกับเรานะ เขาต้องให้เป็นข้อเท็จจริงขึ้นมาสิ ถ้าไม่จริงใจกับเรา เราศึกษามาขนาดไหน เรามีสัญญา เราจำได้ของเรา ถ้าจำได้ของเรา นี่ปะผุไว้ ยิ่งรถ เครื่องยนต์กลไกที่ว่าเขาซ่อมบำรุงมาเพื่อรักษา เพื่อใช้สอยประโยชน์ของเขา จะสวยงามขนาดไหน จะประณีตขนาดไหนก็ใช้ประโยชน์ของเขา แล้วเขาได้ประโยชน์ของเขาจริง

แต่ของเรา เวลาที่เราปะผุใจของเรา เราดูที่ในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นมา เวลาที่เราสงวนรักษาไว้ มันก็กดกิเลสตัณหาความทะยานอยากไว้ แต่ถ้ามันเผลอเมื่อไรนะ เวลามันเผลอเมื่อไรเพราะอะไร เพราะมันไม่มีข้อเท็จจริงในหัวใจไง ถ้าไม่มีข้อเท็จจริงในหัวใจมันจะรู้ความจริงไปได้อย่างไร นี่มันจะรู้ความจริงไม่ได้ แต่เวลาดูรูปแบบมันก็เหมือนกัน แต่ความจริงมันไม่มีไง พอความจริงไม่มี สิ่งนั้นมันเป็นความวิตกกังวลในหัวใจไหม เพราะอะไร เพราะความลังเลสงสัยจะทำให้เป็นทุกข์นะ

ดูสิ เวลาเราดูทางการทุจริตทางโลก เขาบอกนี่เป็นคนทุจริต คนนั้นเป็นคนที่ไม่ดีน่ะ ทำไมเขามีความสุขๆ...เขากดทับไว้ คนน่ะมันมีความผิดพลาด การกระทำโดยหัวใจ ความลับไม่มีในโลกหรอก ใจดวงนั้นมันรู้ ถ้ามันรู้ขึ้นมานี่มันกดทับไว้ มันจะมีความสุขจากไหน ฉะนั้น เรื่องของโลกไง โลกนี่หลอกลวงกันได้ โลกเขาปลิ้นปล้อน คน มนุษย์มันเป็นสัตว์ประหลาด คิดอย่างหนึ่ง ทำอย่างหนึ่ง พูดอย่างหนึ่ง แล้วพอคำพูดอย่างนั้นเราก็ไปเชื่อเขา

บอกว่า ทำไมเขาทำความทุจริตไว้มหาศาล แต่เขามีความสุข นี่มีความสุขจากไหน เราไปว่าเองว่ามีความสุข เขาปั้นหน้าให้เราดู แล้วมันมีความสุขได้อย่างไร มันเป็นไปไม่ได้หรอก แล้วเวลาชีวิตนี้มันขาด ลมหายใจขาด ชีวิตมันตายไป มันไปตามบุญตามกรรมทั้งนั้นน่ะ

เวลากฎหมายเขาบังคับนะ กฎหมายเวลาเขาบังคับใช้ ผู้ที่ทำความผิดเขาต้องมีเจ้าหน้าที่ไปจับ ไปตรวจ ไปสอบขึ้นมา แล้วเอามาลงโทษ...กรรมไม่ต้อง กรรมไม่ต้องหรอก ถึงเวลามันเป็นของมันทันทีเลย ทีนี้ คำว่า “อจินไตย ๔” กรรมนี้เป็นอจินไตยอันหนึ่ง เวลาเราทุกข์เราอยากขึ้นมาบอกว่า “เป็นกรรม เป็นกรรม แล้วเราทำกรรมอะไรกันไว้ เราไม่เคยทำความดีเลยเหรอ อะไรก็กรรม อะไรก็กรรม เราทุกข์ยากอยู่นี่ เรากรรมทั้งนั้นเลยเหรอ”

“กรรม” เพราะจิตมันมุ่งมั่น มันคาดหมายว่า ถ้าประพฤติปฏิบัติ หรือเราเป็นชาวพุทธแล้ว มันจะเวิ้งว้าง ทำบุญกุศลแล้วจะถึงที่สุดแห่งทุกข์ มันจะเป็นนิพพาน จะเป็นวิมุตติสุข มันจะเวิ้งว้าง เราก็คาดก็หมาย หมายเป้าหมายไว้ แล้วเราทำสิ่งใด สิ่งที่ทำขึ้นมา การกระทำใช่ไหม คนนะ เวลาขยับมันก็ออก พลังงานมันก็ใช้แล้ว ขยับเขยื้อนต่างๆ มันใช้พลังงานทั้งนั้นน่ะ เวลาเราทำงาน เราใช้สมอง เราใช้ร่างกายของเรา เหนื่อยไหม? เหนื่อย ดูสิ ร่างกายของคน ถ้าทำงานโดยที่เราไม่พักผ่อน ไม่ดูแลรักษาเลย ร่างกายนี้อยู่ไม่ได้หรอก ร่างกายอยู่ไม่ได้ เราใช้สมอง เราใช้ความคิดบริหารจัดการทั้งวันทั้งคืนน่ะอยู่ได้ไหม คนไม่หลับไม่นอน ชีวิตนี้จะรอดได้ไหม?

ไม่ได้ มันตายอยู่แล้ว แล้วพอตายอยู่แล้ว พอมันทำงานขึ้นมา มันเหนื่อยไหมล่ะ มันทุกข์มันยากไหม? ทุกข์ แล้วพอทุกข์แล้วเราก็คิด เราก็คาดหมายของเราใช่ไหม เราเป็นชาวพุทธ เราเป็นนักปฏิบัติ เราจะสิ้นสุดแห่งทุกข์ เราจะมีวิมุตติสุข...มันคาดหมายไป เวลาคาดหมายไปนี่มันเพ้อเจ้อ แต่ข้อเท็จจริงคือชีวิตเรา เรามีชีวิต เรามีการกระทำ เรามีพลังงานของเรา มันใช้พลังงานไปมันก็ต้องทุกข์อยู่ธรรมดาของมัน นี่มันเป็นเรื่องจริงอยู่แล้วน่ะ ทุกข์เป็นอริยสัจ ทุกข์เป็นความจริง

ดูเวลาเราเกิดขึ้นมา เราเกิด ชาติปิ ทุกขา การเกิดเป็นทุกข์อย่างยิ่ง เวลาการเกิดเป็นทุกข์อย่างยิ่ง นี่โดยสัจธรรม โดยข้อเท็จจริงนะ แต่เวลาโดยผลของวัฏฏะ เพราะผลของวัฏฏะมันต้องเกิดอยู่แล้ว ถ้าเราไม่เกิดแล้วเราจะเกิดเป็นอะไร ฉะนั้น เกิดเป็นมนุษย์ถึงเป็นอริยทรัพย์ไง เพราะเกิดเป็นมนุษย์แล้วเราได้ประพฤติปฏิบัติ แต่เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมาก็บ่นว่า “ทุกข์ๆๆ” ทุกข์เป็นความจริง ก็เราเกิดมาเพื่อจะเผชิญกับมัน เราเกิดมาทุกข์

เพราะมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ถ้าไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า...ทุกข์มันคืออะไร?

ทุกคนก็บอกว่าไม่มีความทุกข์ มนุษย์เป็นสัตว์ประหลาด เกิดมาว่ามีแต่ความสุข มีแต่ความพอใจทั้งนั้นน่ะ ทั้งๆ ที่ใจมันอมหนอง แต่เวลาพุทธศาสนาเกิดขึ้นมาแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสรู้ความจริง...ไม่มี สุขไม่มี

ทุกข์เกิดขึ้น ทุกข์ตั้งอยู่ ทุกข์ดับไปเท่านั้นเอง

ถ้าทุกข์เกิดขึ้น ทุกข์ตั้งอยู่ ทุกข์ดับไป แล้วอะไรคือทุกข์ล่ะ?

นี่ไง มนุษย์ ถึงจะเป็นมนุษย์ที่มีสัจจะ ทุกข์มันเป็นความจริงเราก็ตั้งสติของเรา ย้อนเข้าไปหาทุกข์ของเรา แล้วมันทุกข์จริงไหม หายใจก็ทุกข์นะ เรานี่ยังเป็นคนแข็งแรงอยู่ ฉะนั้น เราหายใจโดยปกติก็หายใจโดยไม่เป็นทุกข์ ไปดูสิ ไอซียู หายใจไม่ได้ ต้องใช้ออกซิเจน แค่หายใจเข้าหายใจออกมันก็ทุกข์แล้ว ยิ่งเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นมา เป็นหวัดขึ้นมาหายใจไม่ได้แล้ว นี่ไง ในเมื่อมันมีพลังงาน มันไม่มีการเคลื่อนไหว มันต้องมีเหตุมีผลทั้งนั้นน่ะ สิ่งนี้เราพิจารณาของเรา ถ้าเราพิจารณา นี่ทุกข์เป็นความจริง

ฉะนั้น ด้วยจินตนาการของเรา ว่าเราประพฤติปฏิบัติแล้วเราเป็นคนดี เหมือนกับทางโลก ทำไมคนทุจริต คนทำสิ่งผิดพลาด ทำสิ่งที่ไม่ดี ทำไมเขาถึงมีความสุขๆ...ไอ้นั่นมันปั้นหน้าหลอกกัน มันเป็นไปไม่ได้หรอกที่มีความสุข นั่งทับสิ่งที่ตัวเองทำผิดพลาดไว้แล้วจะมีความสุข เป็นไปไม่ได้หรอก เพียงแต่ว่าคนจนมุมไง คนจนมุม คนจนตรอกกับกิเลส กิเลสคืออะไร คือตัณหาความทะยานอยาก คือทิฏฐิมานะ ต้องการอำนาจบาตรใหญ่ ต้องการสิ่งต่างๆ ขึ้นมา แล้วเอาสิ่งนั้นมาคิดว่าจะได้เป็นความจริงไง...ไม่มี ไม่มีหรอก

สิ่งที่เป็นความจริงคือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่างหาก

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า “ธรรม” นี่สิ่งที่เป็นธรรม

ธรรมะหอมทวนลม กลิ่นของธรรมหอมทวนลม กลิ่นของคุณงามความดี คุณงามความดีเขายอมรับธรรมอันนั้นต่างหากล่ะ ถ้าเขามีคุณงามความดี ดูสิ คุณงามความดี เวลาครูบาอาจารย์ของเราเทศนาว่าการออกมา มันออกมาจากไหน ทำไมมันออกมาจากหัวใจ ถ้าหัวใจ ความรู้สึกอย่างนี้มีด้วยเหรอ นี่มันเป็นจริงอย่างนี้จริงๆ ด้วยเหรอ

ถ้าเป็นจริงขึ้นมา ถ้าเรามีครูบาอาจารย์ เราก็จะเดินรอยตาม นี่ไง สิ่งที่เขายอมรับกัน เขายอมรับความเป็นธรรม เขาไม่ยอมรับทิฏฐิมานะ ไม่ยอมรับกิเลสตัณหาความทะยานอยากหรอก แต่ในเมื่อเขามีอิทธิพล เขาเกิดขึ้นมาแล้ว

ทางโลกเขาจะบอกเลย ทางโลกเขาบอกเลยนะ “ทำไมชาวพุทธเราชอบไหว้แต่คนมีฐานะล่ะ” เห็นไหม เขามีฐานะ เขามีอำนาจทางเงิน เขามีอำนาจทางอิทธิพล เขามีอำนาจไปหมดน่ะ แล้วเราก็ปั้นหน้าไปกับเขา นี่สิ่งนั้นเอง เท่านั้นเอง แต่ถ้าความเป็นจริงแล้วน่ะ เขาเคารพคุณงามความดี เคารพธรรมต่างหากล่ะ ถ้าเคารพธรรม สิ่งที่เป็นธรรม แล้วเราแสวงหาสิ่งนั้น

ฉะนั้น สิ่งที่ให้ผลเป็นทุกข์ๆ สิ่งที่เป็นกิเลสตัณหาทะยานอยากมันทำลายเราแล้ว มันทำลายเราก่อนแล้ว แล้วมนุษย์เป็นสัตว์มหัศจรรย์ คิดอย่างหนึ่ง พูดอย่างหนึ่ง ทำอย่างหนึ่ง แม้แต่ตัวเองโกหกจนตัวเองก็ว่าตัวเองเป็นคนดีไปได้น่ะ โกหกจนตัวเองเชื่อ

แต่ถ้าเราจะเอาความจริงของเรานะ สิ่งที่ไม่ดีก็คือไม่ดี สิ่งที่ไม่ดีมันทำให้เราเร่าร้อน สิ่งที่การดำรงชีวิตของเรา การเคลื่อนของเราเป็นความทุกข์ทั้งนั้นน่ะ ทีนี้ ความทุกข์อย่างนี้ ความทุกข์ที่โลกเขาแสวงหากันอยู่นั้นเขาหามาเพื่อการดำรงชีวิต เพราะคนเกิดมาต้องมีปัจจัย ๔ เครื่องอาศัยใช่ไหม อาศัยให้ดำรงชีวิตนี้คงอยู่ ทีนี้ ดำรงชีวิตนี้คงอยู่เพื่ออะไรล่ะ ก็เพื่อได้สร้างคุณงามความดี เพื่อทำคุณงามความดีของเรา เพื่อได้ศึกษา ถ้ามันยังโง่อยู่ก็ศึกษาให้มันฉลาดซะ ถ้ามันฉลาดขึ้นมาแล้ว สิ่งที่ศึกษามามันเป็นความจริงหรือยัง ถ้ามันปะผุไว้ มันปะไว้กับใจ มันยังไม่เป็นความจริงขึ้นมา เราจะเอาความจริงไหม เราอยากให้ปะไว้ แล้วเดี๋ยวพอมันทุกข์มันยากขึ้นมา พอมันทุกข์มันยาก

ดูสิ พอหายใจ พอหัวใจมันเต้นขึ้นมา สิ่งที่เย็บไว้ สิ่งที่ปะไว้มันก็จะหลุดแล้วล่ะ แล้วเราจะปล่อยอย่างนั้นไหม ถ้าเราจะปล่อยอย่างนั้น เราศึกษามาแล้วมันก็ได้แค่นี้ แต่ถ้าเราจะเอาความจริงขึ้นมา เราศึกษามาแล้วเราจะเริ่มทดสอบของเราเอง ถ้าเราทดสอบของเราเอง เราตั้งสติของเราไว้ นี่เราตั้งสติของเรา งานก็ได้ทำมาพอแรงแล้วล่ะ งานเกิดมาชาตินี้เราก็ทำแล้ว แล้วเราทำงานขึ้นมาเพื่อประโยชน์กับเรา เราก็ทำของเราแล้ว ถ้ามันจะประสบความสำเร็จมันก็ประสบแล้ว

แต่ถ้าเราอยากประพฤติปฏิบัติใช่ไหม ดูสิ มาบวชพระ อยู่วัดอยู่วา มีอยู่มีใช้นะ คนบอกว่าไปอยู่วัดอยู่วา ทุกคนต้องมีปัจจัยเครื่องอาศัย ต้องแสวงหามาเพื่อความมั่นคงของชีวิต ถ้าบวชเป็นพระ เป็นนักบวชในพุทธศาสนา ถ้าเรามีความเจตนาที่ดี

หลวงตาท่านพูดบ่อย “อยากดูว่าพระไม่มีขบมีฉัน พระดำรงชีวิตไม่ได้นี่อยากเห็นนัก อยากเห็นนัก ถ้าเราทำคุณงามความดีน่ะ อยากเห็นนัก”

นี้ถ้าพูดอย่างนี้เพื่อจะให้เห็นว่า ถ้าปัจจัยเครื่องอาศัย ถ้าอาศัยดำรงชีวิต...นี่มี

ทีนี้กิเลสมันก็หลอก “ไม่มี ไม่มี จะต้องแสวงหา จะต้องแสวงหา”

แสวงหาแล้วก็จะทุกข์ๆๆ กันอยู่นี่

แต่ถ้าเราปฏิบัติจริงตามความเป็นจริงขึ้นมา สิ่งที่เป็นศีลเป็นธรรมมันหอมทวนลม ถ้าหอมทวนลมขึ้นมา ปัจจัยเครื่องอาศัย งาน ก็ทำหน้าที่ของเรามาพอแรงแล้ว สิ่งที่ทำขึ้นมา นี่เกิดมาด้วยอวิชชา ด้วยความไม่รู้ “ด้วยความไม่รู้” แต่มีอำนาจวาสนา เพราะมีความไม่รู้ แต่มีอวิชชา กิเลสตัณหาความทะยานอยากมันขับดันมาจนได้เกิดเป็นมนุษย์ พอเกิดเป็นมนุษย์ขึ้นมา เห็นเป็นมนุษย์แล้วใช้ชีวิตมา ทำหน้าที่การงานมันก็พอสมควรแล้ว สิ่งต่างๆ ที่มันจะร่ำรวย ที่มันจะมีศักยภาพ ที่มันจะเป็นเหนือมนุษย์มันได้เป็นหมดแล้ว ถ้ามันทำขนาดนี้ แต่มันก็ยังไม่ได้เป็น ถ้ายังไม่ได้เป็น

โลกก็เป็นอย่างนี้ งานของโลกไม่มีที่สิ้นสุดหรอก นี่ให้ทำจนเสร็จเลย เราเกิดมาจะทำงาน ทำงานให้เสร็จหมดเลย แล้วงานนี้ใส่ในโลงไปกับเรา เป็นไปได้ไหม? เป็นไปไม่ได้หรอก เวลาลมหายใจเข้าลมหายใจออก มันต้องอยู่ตลอดของมันไป นี่จนลมหายใจมันขาด ขาดไปแล้ว ซากศพ กายนี่ก็ให้คนอื่นเขาเผาให้ จิตมันออกจากร่างไปแล้ว ทิ้งโลกแล้ว มันไปตามวัฏฏะแล้ว นี่สิ่งที่ทำงาน โลกเขาได้ทำมาพอแรงแล้ว ถ้ายังทำอยู่มันก็เป็นอยู่อย่างนี้ ถ้ามีสติปัญญาก็ทำอยู่อย่างนี้

ถ้าเราจะหาคุณงามความดีของเรา เราจะแสวงหาหน่อพุทธะของเราขึ้นมา

เราไม่ใช่ “ธรรมะปะผุ” สิ่งนี้ปะผุไม่ได้

“ธรรมะปะผุ” ดูสิ ระดับเราศึกษา ธรรมะปะผุมันอนุบาลนะ ดูสิ เด็กเดี๋ยวนี้ เด็กเข้าอนุบาลมันท่องแล้ว พุทธศาสนา ศีล ๕ มันท่องแล้วน่ะ เด็กอนุบาลเดี๋ยวนี้มันศึกษากันแล้ว เพราะเขาจะฟื้นฟูเรื่องการศึกษา ฟื้นฟูเรื่องศาสนา เราโตจนป่านนี้แล้วเราจะเอาความจริง จะเอาข้อเท็จจริงของเราขึ้นมา

ถ้าเราเอาข้อเท็จจริงขึ้นมา ตั้งขึ้นมาสิ สติเราตั้งขึ้นมา เราทำของเราขึ้นมา ถ้ามันทำขึ้นมา นี่มันเป็นขึ้นมา สติมันก็มีจริงๆ แล้ว ไม่ใช่ปะผุ ไม่ใช่เกิดมาจากไหน เกิดมาจากความเป็นจริง มันเกิดขึ้นมาจากความเป็นจริง สติมี สติมันเกิดขึ้นมามันยับยั้งหมด สิ่งที่ฟุ้งซ่าน สิ่งที่ทำให้เราหลงผิด ถ้ามีสติ

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปรินิพพานนะ

“ภิกษุทั้งหลาย เธอจงพิจารณาสังขารด้วยความไม่ประมาทเถิด โลกนี้จะไม่ว่างจากพระอรหันต์เลย”

“เธอจงพิจารณาสังขารด้วยความไม่ประมาทเถิด” นี่เราประมาทกับชีวิต เราประมาททุกเรื่องเลย เราบอกว่า “เมื่อนั้น เมื่อนั้นเราจะเข้มแข็ง เมื่อนั้นเราจะประสบความสำเร็จ” เราประมาทตลอดเลย นี่เราคิด “เมื่อนั้น เมื่อนั้น” แต่ไม่ทำอะไรเลย

“เมื่อนั้น เมื่อนั้น” เพราะเมื่อนั้นมันก็ผัดวันประกันพรุ่งไง

“เมื่อนั้น” มันก็อ้างเล่ห์ไง

“เมื่อนั้น” มันก็ทำชีวิตให้สูญเปล่าไปไง

แต่ถ้าเดี๋ยวนี้ล่ะ “เดี๋ยวนี้ เดี๋ยวนี้” ถ้า “เดี๋ยวนี้” ตั้งสติขึ้นมา สติมันก็ตรงข้ามกับประมาทไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก “ภิกษุทั้งหลาย เธอจงพิจารณาสังขารด้วยความไม่ประมาทเถิด” เราตั้งสติขึ้นมา พอมีสติขึ้นมา ทุกอย่างมันยับยั้งได้หมด ถ้ามีสติตามความเป็นจริง

มันปะผุไหมล่ะ สติมันเป็นสติ แล้วสติมันคืออะไรล่ะ?

เราต้องเรียนศัพท์กันอีกไหม ชาวพุทธนี่ต้องกลับไปเรียนศัพท์ใช่ไหมว่าสติมันคืออะไร รูปมันคืออะไร เวทนามันคืออะไร สัญญามันคืออะไร...เวลาพูดขึ้นมาต้องให้ถูกต้องตามศัพท์ เราต้องกลับไปเรียนศัพท์ไหม “ศัพท์” นี่สมมุตบัญญัติไง ก็เขาบัญญัติไว้แล้ว ธรรมวินัยเขาบัญญัติไว้แล้ว บัญญัติไปแล้ว เราศึกษาเป็นภาษาบาลี ศึกษาเป็นภาษามคธ ศึกษาสิ่งใดก็แล้วแต่ เวลาความรู้สึก “สมมุติบัญญัติ” พอสมมุติบัญญัติขึ้นมา โดยศัพท์ขึ้นมา แต่ความเป็นจริงล่ะ

ถ้าสติมันเกิดขึ้นมา นี่คือข้อเท็จจริง มันไม่ใช่ ส.เสือ ต.เต่า สระอิ

มันเป็นสติจริงๆ ถ้าสติจริงๆ มันเกิดขึ้นมาแล้วมันยับยั้งอะไรได้บ้างล่ะ นี่สติจริงๆ

แล้วบอก “สติคืออะไร สติเป็นอย่างไร”...ไร้สาระ

ปริยัติเราก็ศึกษากันมาแล้วไง แล้วเราจะมาปฏิบัติอยู่แล้ว ทำไมต้องกลับไปเรียนศัพท์อีกเหรอ แล้วผู้ปฏิบัติต้องเอาศัพท์มาสอนกันใช่ไหม ผู้ปฏิบัตินี่ต้องกลับไปเรียนศัพท์ใช่ไหม แล้วมันเรียนศัพท์ขึ้นมา อนุบาลเขายังรู้กันได้แล้ว แล้วเราปฏิบัติกันขึ้นมา ศัพท์มันก็คือศัพท์ แล้วตัวจริงล่ะ ตัวจริงบอกมา ตัวจริงมันเป็นอย่างไร ถ้าตัวจริงมันเป็นขึ้นมา สติมันเกิดขึ้นมา พอมันมีคำบริกรรมของมัน มันมีปัญญาอบรมสมาธิของมัน นี่ไง สติ สมาธิ ปัญญา

ถ้ามันมีสติขึ้นมา สมาธิมันเกิดอย่างไร สติมันยับยั้ง เดี๋ยวก็เผลอ เพราะอะไร เพราะเรายับยั้ง ดูสิ ไฟป่า ไฟป่ามันเกิดขึ้น แล้วเราเอาน้ำถังหนึ่งจะไปดับไฟป่าได้ไหม? ตาย นี่ไฟป่ามันเกิดขึ้น จะเอาอะไรดับมัน พอฝนตกขึ้นมาไฟดับหมด นี่ก็เหมือนกัน เวลาสติเกิดขึ้นมา สติเหมือนน้ำกระป๋องหนึ่งแล้วจะไปดับ เพราะอะไร เพราะความรู้สึกนึกคิดของคน

ดูสิ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันเห็นอะไรกระทบขึ้นมามันยับยั้งไม่ได้เลย แต่สติมันขึ้นมานี่มันรู้ทันของมัน แต่พอมันกระทบขึ้นมา ด้วยความรุนแรง เพราะอะไร เพราะคนเรา ดูสิ เวลาบอกว่าให้ปิดทวารทั้ง ๕ เหลือไว้เฉพาะจิต...ตา หู จมูก ลิ้น กายปิดให้หมด เหลือใจไว้ พุทโธไว้ แล้วพุทโธไว้ เวลาความรู้สึกนึกคิดขึ้นมามันพุ่งขึ้นมานี่เอามันอยู่ไหม

เวลามันคิด อยู่ในหมู่ชน อยู่ในกลุ่มนี่นะ โอ้โฮ! มีความรู้สึก มีความอบอุ่น โอ้โฮ! ภาวนาพุทโธก็ดี ปัญญาก็ดี เวลาเราไปอยู่คนเดียวนี่เอาไม่อยู่แล้ว นี่ไง เวลาพออยู่ด้วยกัน ดูสิ มันนอนใจ เวลามันแยกออกไป นี่มันตื่นกลัว พอมันตื่นกลัวขึ้นมามันต้องมีชัดเจนของมัน พอชัดเจนของมัน นี่ไง ไฟป่าไง เวลาพายุอารมณ์มันมา เวลาพายุ สิ่งที่มันเกิดขึ้นมามันพัดไปหมดเลย แล้วน้ำแค่กระป๋องเดียวจะไปดับอย่างไร?

สติ สติ สติ สติเวลามันยับยั้ง นั่นน้ำกระป๋องนั้น

ถ้าไฟ สิ่งที่มันเกิดขึ้นมา ถ้าไฟมันเกิดขึ้นมาโดยจุดไม้ขีดก้านหนึ่ง จุดสว่างสิ่งใด ถ้าน้ำมันมากกว่ามันดับหมดน่ะ นี่ไง เวลาเกิดสติ พอเกิดสติ สติยับยั้ง ยับยั้ง ยับยั้งแล้วจะทำอย่างไรต่อไป นี่ไง สติ สมาธิไง ถ้ายับยั้ง มียับยั้ง มีปัญญาของมัน มีคำบริกรรมของมัน คำบริกรรมไง นี่สร้างสมขึ้นมา ดูสิ เวลาเขากั้นเขื่อนขึ้นมา น้ำแต่ละหยดแต่ละหยาดขึ้นมา เขากั้นเขื่อนจนน้ำนี่มหาศาล

จิตมีสติ มีคำบริกรรม เราสะสมของเราขึ้นมา ถ้ามันสะสมขึ้นมาให้มันเป็นจริงเป็นจังของมันขึ้นมา ถ้าเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา ดูสิ เวลาเขาสร้างเขื่อนขึ้นมา สร้างเขื่อนแล้วไม่มีฝน ฝนมันตกใต้เขื่อน ฝนมันมาตกนอกเขื่อน เขื่อนนั้นไม่มีน้ำสักหยดเลย นี่ถ้าเขื่อนไม่มีน้ำ สร้างเขื่อนมาทำไม ลงทุนลงแรงสร้างเขื่อนมหาศาลเลย แล้วไม่มีประโยชน์สิ่งใดเลย นี่ก็เหมือนกัน เวลาบริกรรมพุทโธๆ พุทโธแฉลบไปโน่น พุทโธแฉลบไปนี่ แล้วไม่มีน้ำตกเหนือเขื่อนเลย ถ้าไม่มีน้ำตกเหนือเขื่อน ถ้าน้ำไม่ตกเหนือเขื่อน เขื่อนมันจะกั้นอะไร มันก็ไม่มีอะไรตกอยู่ในเขื่อนนั้นเลย

นี่ก็เหมือนกัน เขาว่า “กำหนดพุทโธสิ”

“ก็กำหนดแล้ว ตั้งสติก็ตั้งแล้ว ปัญญาอบรมสมาธิน่ะคิดทั้งวันเลย แต่ทำไมจิตมันไม่ลง จิตมันไม่เป็นไปสักที ทุกข์น่าดูเลย ทำอะไรก็มีแต่ความทุกข์ๆ”

นี่ฝนมันตกแฉลบไปโน่น ตกแฉลบไปนี่ ตกนอกเขื่อน ตกใต้เขื่อน มันไม่ตกใส่เขื่อนเลยน่ะ มีสติสิ มีกำหนด มันต้องมีอุบายนะ การภาวนาของเรา ไม่ใช่ปะผุนะ พอปะผุขึ้นมาน่ะรถเอ็งจะชน เอ็งจะคว่ำ เอ็งจะเป็นอะไร มาเถอะ เดี๋ยวจัดการให้ เข้าอู่ อู่ทำให้แจ๋วเลย

นี่ก็เหมือนกัน เวลาพุทโธตั้งสติแล้ว เดี๋ยวสมาธิมันจะมา...เป็นไปไม่ได้หรอก

ถ้าไอ้เข้าอู่นั้นน่ะ อู่มันซ่อมให้มันคิดตังค์นะ ไอ้นี่มันไม่มีใครคิดตังค์ มันซื้อหาไม่ได้ มันไม่มีช่างที่ไหนทำให้ มันมีสติของเรา นายช่างใหญ่ก็ใจเรานี่แหละมันจะทำของมัน ถ้าใจของเรามันเป็นธรรมขึ้นมา มันจะเป็นความจริงของมันขึ้นมา นายช่างใหญ่ เห็นไหม ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน เวลาเยาะเย้ยมารนะ

“มารเอย เรือนยอดของเธอทั้ง ๓ หลัง นายช่างใหญ่ พญามารที่มันได้สร้างเรือนยอดนี้ เราได้หักทำลายแล้ว”

นี่ไง นายช่างใหญ่ที่มันสร้างบ้าน สร้างเรือน สร้างอวิชชา พญามารมันสร้างอยู่บนหัวใจนี่ ทีนี้ เราใช้ปัญญาของเรา เราเชื่อของเรา เรามีสติปัญญาของเรา จากอวิชชามาเป็นวิชชา ถ้าวิชชา เรามีสติปัญญา เราแก้ไขของเรา เราดูแลของเรา เห็นไหม นายช่างใหญ่ นายช่างหัวใจนี่มันต้องมีอุบายในการกระทำ ฉะนั้น กำหนดพุทโธ

พูดถึงคฤหัสถ์ แล้วเรามีศรัทธา เรามีความเชื่อ แล้วเรามาบวชเป็นพระด้วยนะ พระผู้ปฏิบัติ นักปฏิบัติขึ้นมานี่ เราชัดเจนกับเรื่องการศึกษาเรามาพอแรงแล้ว แล้วในการประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เราปฏิบัติเราต้องจริงจัง ถ้านี่เวลาเราพูด เราคิดสิ่งใด เราทำสิ่งใด เราเทียบไปเข้าสู่อวิชชาหมด เราเทียบไปสู่โลก เทียบเข้าไปสู่ตัวตนของเรา สู่ทิฏฐิของเรา

“ได้ทำแล้ว ได้ตั้งใจแล้ว อดอาหารแล้ว อดนอนแล้ว ทำทุกอย่างครบแล้ว แต่มันไม่มีผลขึ้นมาเลย”

ฉะนั้น นายช่างใหญ่นี้จะต้องพลิกแพลง นายช่างใหญ่ต้องพลิกแพลง ดูคำนวณ จะสร้างเขื่อนอย่างใด เวลาคนเขาสร้างเขื่อน เขาต้องไปดูสถานที่นะว่า จะกักน้ำอย่างใด แหล่งน้ำมันไหลมาทางไหน ถ้ามันไหล น้ำมันจะรวมที่ไหน เราจะกักเขื่อนตรงไหน แล้วเขื่อนนั้นจะเป็นประโยชน์อย่างใด นี่ก็เหมือนกัน เวลาจะปฏิบัติขึ้นมา เราตั้งสติแล้ว อะไรที่เราบริกรรมแล้วมันดูดดื่ม ทำสิ่งใดแล้วมันเป็นประโยชน์กับเรา แล้วเป็นประโยชน์กับเรานะ

ดูสิ เวลาฝนตก ฤดูกาลฝนแต่ละฤดูกาล เวลาลมเหนือ ลมตะวันออก ลมตะวันตกมันมา มันก็พัดฝนตกที่แตกต่างกัน นี่ก็เหมือนกัน เวลาเราคำนวณดูของเราว่ากำหนดพุทโธแล้วมันเบื่อไหม พอกำหนดพุทโธนานๆ ไปแล้วมันคุ้นชินไหม ถ้ามันคุ้นชินเราก็ต้องพลิกแพลงของเรา นี่คราวนี้เป็นฤดูกาลนี้ ฤดูกาลนี้ลมมาทางตะวันออก ฤดูกาลนี้ลมมาทางตะวันตก ฤดูกาลนี้ฝน...นี่มันก็ต้องพลิกแพลง

มันไม่ใช่ปะผุเอาหรอก ถ้าปะผุเอานะมันเป็นเรื่องโลกๆ

แต่เรื่องการกระทำ เวลาครูบาอาจารย์ท่านพูดกันนะ เวลาท่านพูดว่า “แม้แต่ทำความสงบของใจ พูดคำเดียว มาปฏิบัติเป็นปีๆ นะ แล้วจิต ถ้ามันเคยเสื่อมด้วย พอเสื่อมด้วยขึ้นมา เราพยายามจะรื้อฟื้นขึ้นมา การรื้อฟื้นมันต้องทำให้ได้มากกว่า”

เวลาเขาสร้างเขื่อน เขาทำ เขาสร้างใหม่ ที่ไหนเขาก็ปลื้มใจว่า เดี๋ยวน้ำมันจะกักน้ำ แต่ถ้าน้ำมาเขายิ่งมีความสุข มีความพอใจมากเลย แต่เขามาสร้างเขื่อนไปแล้ว ป่าไม้จะโดนทำลาย ฝนมันไปตกต่างพื้นที่ เห็นเขื่อนแล้ว เขื่อนไม่มีน้ำเลยนี่ทุกข์มาก ทุกข์มาก

จิตเสื่อมไง เวลาจิตปฏิบัติขึ้นมา จิตมันดีขึ้นมาก็พอใจ ชุ่มชื่น แจ่มใส มีความสุข แต่เวลามันเสื่อมนะ เวลามันไม่มีอะไรค้างไว้บนเขื่อนเลยน่ะ มีแต่ความแห้งแล้ง มีแต่ความทุกข์ นี่เวลาปฏิบัตินะ มันมีประสบการณ์ของใจ “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายต้องดับไปเป็นธรรมดา” แม้แต่สมาธิ แม้แต่สติ แม้แต่ทุกอย่าง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

“ทุกข์” มันก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป

สิ่งที่เราพยายามฝึกหัด พยายามปฏิบัติขึ้นมามันก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป แล้วมันดับเร็วกว่าด้วย เพราะอะไร เพราะมันเป็นความดี สังเกตได้ไหม ความดีไม่ค่อยติดใจเราหรอก ไอ้ความชั่วนะ แหม ไม่ต้องทำน่ะ มันดึงเราไปเลย ฉะนั้น ในเมื่อมันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เราก็ต้องฟื้นฟูของเรา เรากระทำคุณงามความดีของเรา เราก็ตั้งใจการกระทำของเรา นี่เพราะมันมีขึ้นมา มันถึงเสื่อมได้ ถ้ามันเสื่อมได้

นี่ไง เราปฏิบัติแล้วมันได้ผล คำว่า “ได้ผล” มันมีจริงไง ถ้าจิตของใครเคยสงบนะ จิตเราทำความสงบของใจ ใจนี่ชุ่มชื่น เย็นเยือก เยือกเย็นดีมาก แล้วมันเสื่อมไป พอเสื่อมไปแล้วเราปฏิบัติไม่เคยได้อะไรอีกเลย จิตที่เราเคยเป็นมันจะฝังใจไป แล้วเวลาคนเรา “ชีวิตนี้มีการพลัดพรากเป็นที่สุด” เวลาคนมันจะตายนะ ถ้าคนมีสติมันจะคิดถึงความดีที่สุดที่เคยทำได้ มันจะเข้ามาสู่ตรงนี้ ถ้าเข้ามาสู่ตรงนี้ปั๊บ ถึงอารมณ์นี้นะ เวลาออกจากอารมณ์นี้ มันไปเกิดเป็นพรหมนะ นี่เวลาเกิด เพราะใครจะไปเกิดสิ่งใดมันต้องมีข้อมูลตามข้อเท็จจริงในหัวใจของเรา เราจะไปเกิดสิ่งใด นี่กรรม สิ่งกระทำที่เราทำไว้น่ะ นั่นน่ะ เวลาออก เวลาพุทธศาสนาบอกว่า คนแก่คนเฒ่า เวลาจะสิ้นอายุขัยให้นึกถึงพระ ให้นึกถึงพระไว้ไง นึกถึงพระก็นึกถึงความดีไง “พระ” นี่ไง รัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นแก้วรัตนตรัยของเรา เป็นแก้วสารพัดนึก เราระลึกถึงคุณงามความดีของเรา นึกถึงพุทธเจ้าไว้ นึกถึงพระไว้

ทีนี้ จิตมันเคยมีความสงบของใจไว้ มันรู้ของมันนะ นี่ไง ถ้าจิตมันไม่เคยทำไว้ ให้บอก ให้นึก นึกอะไร? ก็นึกเลขศูนย์ไง ว่างๆ เลขศูนย์น่ะ เป็นวงกลม เลขศูนย์มันเป็นอย่างไร ก็นึกไม่ออก แต่ถ้าคนทำไว้มันจะฝังใจ นี่ไง สิ่งที่เราจะทำความสงบของใจเข้ามาแล้ว ใจมันเคยสัมผัส สัมผัสสิ่งนี้เราจะฝังใจมาก ถ้าฝังใจมากมันก็เป็นความดูดดื่มที่ได้จากธรรมมา

ทีนี้ ถ้าธรรมะปะผุ มันก็บอก “เคยทำสมาธิได้ เรามีสมาธิแล้ว เราก็ใช้ปัญญา”

ทีนี้ ปัญญาที่ใช้ไปมันก็เป็นสัญญา มันเป็นสัญญา มันเป็นเรื่องโลก มันปะผุไว้ ปะผุคืออะไร คือธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นไหม นี่เป็นธรรม แต่ปะในกิเลสไง ปะในหัวใจของเราไง “นี่เราใช้ปัญญา ปัญญา พระพุทธเจ้าสอน นี่เป็นอนัตตา สิ่งนี้เป็นทุกข์ สิ่งนี้ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น สิ่งนี้ควรปล่อยวางไว้” นี่มันโดยปะผุไว้ไง

ปะผุนะ มันเป็นเนื้อหาสาระ คำว่า “เนื้อหนังมังสาของคน” อย่างหนึ่ง ความรู้สึกนึกคิดนี่มันละเอียดอ่อนกว่าเยอะมาก “ความรู้สึกนึกคิด” แล้วมันมีนายช่างใหญ่ นายช่างใหญ่คือพญามาร แล้วนายช่างใหญ่มันมีลูกมือ มันมีความโลภ ความโกรธ ความหลง แล้วมันมีหลานด้วย แล้วมันยังมีไพร่ทำงานให้มันอีกด้วย นี่ไพร่มันทำงาน กระบวนการของกิเลสตัณหาในหัวใจมันมาได้เองเลยล่ะ มันเป็นกระบวนการเลย มันเป็นสิ่งที่จัดตั้งไว้ในหัวใจ มีอยู่ทุกดวงใจ แต่ทุกคนไม่เคยเห็นมัน แต่เวลาไปศึกษาธรรมะพระพุทธเจ้านะ นี่เป็นธรรมๆ ปะไว้ๆ แล้วมันโดนสิ่งที่เป็นอนุสัย สิ่งที่เป็นอวิชชา เนื้อหาสาระในหัวใจ มันสะบัด มันขยับทีเดียว สิ่งที่ปะไว้หลุดหมดเลย

“ทุกข์! ทุกข์! ทุกข์! อีกแล้ว”

“ทุกข์! ทุกข์! อีกแล้ว”

นี่พูดถึงว่าเวลาปฏิบัติทางโลก เพราะเราปฏิบัติเป็นสมาธิ พอเราได้สมาธิแล้ว ธรรมะปะผุมันก็บอก ใช้ปัญญาไปเลย ใช้ปัญญาไปเลย...แล้วปัญญาอะไรล่ะ? นั่นมันสัญญาทั้งนั้นน่ะ นั่นน่ะ ธรรมะตัดแปะ แปะเอาไว้ในหัวใจเลย มีคุณธรรม มีคุณธรรม...มันทุกข์อยู่ในหัวใจ ดูสิ ใครไม่เป็นหมอ เวลาเจอคนไข้ จะวินิจฉัยโรค วินิจฉัยไม่เป็นหรอก วินิจฉัยไม่ได้ นี่เหมือนกัน วินิจฉัยไม่ได้เพราะอะไร เพราะมันไม่รู้จริง

แต่ถ้ามันรู้จริง ถ้าจิตมันมีสติ มันมีปัญญาของมัน เห็นไหม นี่มีสติมีปัญญา เวลามันเกิดเกิดอย่างไร จิตที่มันสงบแล้ว มันเคยสงบขึ้นมา แล้วเราบอกใช้ปัญญาไปเลย ใช้ไปแล้วมันไม่ได้ผล เรากับมาทำความสงบของใจ ถ้าใจมันสงบเข้ามา มันจะใช้ปัญญาไป

ปัญญา คือความรับรู้ในสังขาร ปัญญา สังขาร ความคิด ความปรุง ความแต่ง

แต่ปัญญาอย่างนี้มันมีสัมมาสมาธิรองรับ พอสัมมาสมาธิ สัมมาสมาธิมันเกี่ยวเนื่องกับอะไร สัมมาสมาธิมันตั้งอยู่บนอะไร สัมมาสมาธิ นี่ไง สัมมาสมาธิมันอยู่บนจิต ถ้ามันอยู่บนจิต นี่สติ สมาธิ ปัญญามันมาจากไหน มันมาจากหนังสือไหม มันมาจากตำราไหม มันมาจากคำบอกเล่าไหม มันมาจากครูบาอาจารย์บอกไหม

สิ่งนั้นมันเป็นสัญญา เราฟังมาจากข้างนอก แต่เวลาเราทำสมาธิ เราทำ มีสติ ทำสมาธิเกิดขึ้นมาที่ใจ นี่ใจมันเป็นสมาธิ เพราะสมาธิมันเกิดจากใจ ความคิดมันเกิดจากใจ ความสุขความทุกข์เกิดจากใจ กิเลสตัณหาความทะยานอยากก็เกิดจากใจ เพราะอะไร เพราะนายช่างใหญ่มันควบคุมใจนั้นไว้ แต่พอเราทำสมาธิขึ้นมา นี่นายช่างใหญ่นั่นหลบหลีกไป หลบหลีกไปเพราะอะไร เพราะคุณธรรม เพราะพุทธานุสติ เพราะกำลังของพุทธะ กำลังของธรรม

ธรรมะที่หอมทวนลม ธรรมะ กลิ่นของศีลหอมทวนลม กลิ่นของธรรม ธรรมที่ทุกคนต้องการรักษา ต้องการแสวงหา ต้องการสิ่งนั้นให้เกิดในหัวใจของเรา แต่เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา “สมาธิธรรม” เวลาธรรมมันเกิดขึ้นมาน่ะ นายช่างใหญ่ที่เกิดการสร้างบ้านสร้างเรือน สร้างกิเลสตัณหาทะยานอยากอวิชชาของตัวเอง มันจะเผชิญหน้ากับธรรมไม่ไหว ถ้าเผชิญหน้ากับธรรมไม่ไหว จิตมันก็เป็นสมาธิ พอเป็นสมาธิ พอมีสมาธิ แล้วเราเกิดฝึกใช้ปัญญา ปัญญาที่เกิดจากสัมมาสมาธิ มันพิจารณาในสิ่งใด

นี่ไง ดูสิ นายช่างใหญ่ มันมีลูก ในความโลภ ความโกรธ ความหลง มันมีอุปาทาน มันมีทิฏฐิมานะ นี่ไง พอมันเกิดปัญญาขึ้นมา มันเกิดปัญญาจากสัมมาสมาธิ พอสัมมาสมาธิมันอยู่ที่ไหน สัมมาสมาธิมันเกิดบนจิต ตามข้อเท็จจริงกับจิต ไม่ใช่ธรรมะตัดแปะ ไม่ใช่ปะผุมา มันเป็นธรรมะความจริงที่เกิดขึ้นมาจากหัวใจ

มันพิจารณาของมัน จิตสงบ พิจารณากาย กายแยกแยะกายอย่างไร แยกแยะกาย แยกแยะเวทนา แยกแยะจิตอย่างไร พอแยกแยะจิต สิ่งทิฏฐิมานะ นี่มันเป็นหลานของนายช่างใหญ่ พอนายช่างใหญ่ เรารวบรัด เราแก้ไข เราดัดแปลงขึ้นไปจากลูกเข้าไป ทำลายอวิชชาในหัวใจของเราขึ้นมา มันเป็นธรรมขึ้นมา นี่ธรรมมันเกิดอย่างนี้ ธรรมที่มันเกิดขึ้นมา ที่ว่าข้อเท็จจริงที่มันเกิดขึ้นมา มันพิจารณาของมัน มันก็ปล่อย ถ้าพูดถึงเวไนยสัตว์

แต่ถ้าขิปปาภิญญา พอพิจารณาไป พอเวลามันขาด เวลามันขาดขึ้นไป ขาด ทำไมมันถึงขาดล่ะ ขาดโดยสังโยชน์มันขาด สักกายทิฏฐิมันขาด ที่มันขาดมันเพราะฆ่า นี่ไง มรรคญาณมันได้ฆ่าไพร่ของนายช่างใหญ่ ถ้ามันได้ฆ่าไพร่ของนายช่างใหญ่ นี่ไง สิ่งที่มีคุณธรรม

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการธัมมจักฯ

“อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ”

“สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายต้องดับเป็นธรรมดา”

สิ่งใดเกิดขึ้นนะ นี่สังโยชน์มันเกิดขึ้นมาจากใจ สิ่งต่างๆ คือเกิดขึ้นมาจากใจ ถ้ามันมีคุณธรรมขึ้นมา มันเกิดสภาวธรรมขึ้นมา มันพิจารณาแล้ว สิ่งใดเกิดขึ้นในใจมันก็ต้องทำลายโดยธรรมไง ธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นมาทั้งหมด มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป

“สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้น สิ่งนั้นต้องดับเป็นธรรมดา”

ธรรมดาเพราะอะไร เพราะมันได้ถอดถอนสังโยชน์อันนั้น ถ้าถอดถอนสังโยชน์อันนั้น นี่ไง ได้ฆ่าไพร่ในหัวใจขึ้นไปนะ นี่ไง มันเป็นธรรมจริงๆ แล้วนะ ธรรมที่เกิดมาจากใจ ธรรมที่เกิดขึ้นมาจากเรา เราได้กระทำขึ้นมาแล้วมันเป็นธรรมของเรา นี่ธรรมของเรา

ถ้าธรรมของเรา เรามีความรู้ได้แค่นี้ เราวินิจฉัยโรคได้แค่นี้ ถ้าเวลาใครประพฤติปฏิบัติขึ้นมาโดยสามัญสำนึก เห็นไหม ดูสิ เวลาเข้าไปโรงพยาบาล สิ่งที่เข้าไปครั้งแรก เจอหมอประจำบ้านก่อน หมอประจำบ้านเขาจะวิเคราะห์ วิเคราะห์ว่าคนไข้เข้ามา เขาโรคภัยไข้เจ็บสิ่งใด หมอประจำบ้านเขาตรวจสอบก่อนนะ แล้วเขาถึงส่งต่อไปเฉพาะทางไง

นี่ก็เหมือนกัน เวลาจิตที่มันมีทางออก มันเข้าใจของมันแล้ว เวลาพิจารณาขึ้นไป คนไข้เข้ามานี่จะวินิจฉัยได้เลย เพราะโดยปุถุชน โดยสามัญสำนึก โดยกิเลสตัณหาทะยานอยากมันติดตรงนี้ก่อน ถ้าติดตรงนี้ก่อนมันก็ต้องเข้ามาตรงนี้ให้ได้ ถ้าเข้ามาตรงนี้ได้มันต้องฆ่าไพร่ให้ได้ก่อน ถ้ามันทำไพร่ได้นะ มันจะเข้าไปสู่หลานของมัน สู่อุปาทานของมัน ถ้าอุปาทานของมัน นี่สติปัญญามันจะละเอียดขึ้นไปแล้ว ถ้าละเอียดขึ้นไป นี่มันเกิดการกระทำ มันเกิดมีการกระทำ กระทำอย่างไร? กระทำด้วยมรรคญาณ กระทำโดยธรรมจักร กระทำโดยปัญญาที่เกิดจากสัมมาสมาธิ

สัมมาสมาธิเกิดจากจิตนะ เพราะอะไร เพราะกิเลสมันอยู่ที่จิต กิเลสมันอยู่ที่ความรู้สึกนั้น กิเลสมันอยู่ที่นั่น ถ้าอยู่ที่นั่นมันก็ต้องเข้าทำลายเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป เพื่อจะเข้าไปสู่นายช่างใหญ่นั้น ถ้าเข้าไปสู่นายช่างใหญ่นั้น ในการประพฤติปฏิบัติมันต้องต่อสู้กับการกระทำของหัวใจขึ้นไป ถ้าใจทำขึ้นไป นี่มันมีสติ มีปัญญา มีครูบาอาจารย์ มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติไว้ วางแนวทางนี้ไว้ไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ที่ปฏิบัติไว้

เราเกิดมาพบพระพุทธศาสนา พุทธศาสนา วางธรรมและวินัยไว้ สาวก-สาวกะ ผู้ได้ยินได้ฟังนะ ได้ยินได้ฟังธรรมอย่างนี้ แล้วถ้าทำอย่างนี้ ถ้ามันไม่ปฏิบัติมา ไม่มีหลักมีเกณฑ์มา นี่ไง แล้วสิ่งใดเป็นธรรมะปะผุ สิ่งใดเป็นสัจธรรม สิ่งใดเป็นมรรคเป็นผล สิ่งใดมันอยู่ที่ไหน

“สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายต้องดับไปเป็นธรรมดา”

แล้วกิเลสมันเป็นใคร กิเลสมันอยู่ไหน แล้วกิเลสมันตั้งอยู่บนอะไร แล้วอะไรมันรองรับกิเลสไว้ แล้วธรรมะมันอยู่ที่ไหน ธรรมะมันมาอย่างไร

“เรียกร้องสัตว์ทั้งหลายมาดูธรรม” แล้วธรรมมันอยู่ที่ไหน

ดูสิ สัจธรรม สิ่งที่เป็นธรรมขึ้นมา ทุกคนยอมรับความเป็นจริง ทุกคนเขายอมรับความเป็นธรรม เห็นไหม เขาไม่ยอมรับอิทธิพล ไม่ยอมรับความฉ้อฉล ไม่ยอมรับสิ่งต่างๆ ทั้งๆ ที่เกิดขึ้นมากับโลก โลกมันคือโลก โลกมันคือเรื่องของอวิชชา โลกมันคือเรื่องของกิเลสตัณหาความทะยานอยาก แต่ความจริงมันเกิดมาจากไหนล่ะ แล้วความจริงนี้ไปพิสูจน์กันที่ไหน? ความจริงไปพิสูจน์กันในหัวใจของสัตว์โลกนะ

ครูบาอาจารย์ท่านประพฤติปฏิบัติขึ้นมาก็ขึ้นมาจากใจนี่แหละ แล้วใจเรามีไหม ใจเราไม่มีใช่ไหม มันมีแต่เฉพาะใจครูบาอาจารย์เหรอ มีเฉพาะใจองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พวกเราไม่มีหัวใจเลย เราเป็นหุ่นยนต์ นี่มากันโดยความมืดบอด ให้นายช่างใหญ่มันกดหัวไว้ แต่นี่เพราะเรามีสติปัญญาขึ้นมา เราจะเงยหน้าขึ้นมา เราเงยหน้าขึ้นมาต่อสู้กับกิเลสตัณหาความทะยานอยากให้หัวใจของเรา นี่ไง เราเงยหน้าขึ้นมาต่อสู้กับกิเลสตัณหาความทะยานอยากในหัวใจของเรา

นี่ไง เราก็มีหัวใจ เราก็มีโอกาสประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เราเกิดมาท่ามกลางพุทธศาสนา ถ้าพุทธศาสนา ในเมื่อศาสดาของเรา ธรรมวินัยเราเชื่อมั่นของเรา แต่มันต้องปฏิบัติให้ตามความเป็นจริง ดูสิ ในหมู่กรรมฐานของเรา ในครอบครัวกรรมฐานที่ประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เพราะมันมีครูบาอาจารย์ขึ้นมา ครูบาอาจารย์คอยชี้ คอยแนะ คอยบอก คอยปลอบ คอยอุ้มนะ นี่ดูสิ ศาสนทายาท สิ่งที่เป็นทายาทโดยธรรม ถ้าทายาทโดยธรรม มันมาจากไหน

ถ้าใจไม่เป็นธรรม มันเป็นทายาทไม่ได้!

มันจะเอาความเป็นทายาทมาจากไหน มันมีแต่ทายาทของกิเลสตัณหา นายช่างใหญ่มันหลอกลวงทั้งนั้นน่ะ ถ้านายช่างใหญ่มันหลอกลวงขึ้นมา ถ้ามันจะเป็นทายาท มันต้องสร้างขึ้นมาให้ได้ มันต้องทำขึ้นมาให้ได้ แล้วสิ่งที่ทำขึ้นมาให้ได้แล้ว นี่มันเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก ใครมันจะหยิบฉวยไป สิ่งที่มันมีกับเราน่ะ เงินคงคลังอยู่ในหัวใจของเรา สิ่งที่มันอยู่ในหัวอก ใครมันจะมาหยิบมาฉวย ถ้ามันไม่มีใครหยิบฉวย แล้วสิ่งนี้ในเมื่อมันมีธรรมในหัวใจ แล้วมันจะเอามาเป็นประโยชน์กับใคร

สิ่งที่เป็นประโยชน์ ศาสนทายาท คือทำเพื่อศาสนาไง แล้วเราคอยชี้นำ คอยบอก คอยแนะกัน นี่เราปฏิบัติกันมา เรายังมีครูมีอาจารย์คอยชี้แนะนะ เราจะแฉลบ เราจะออกนอกลู่นอกทางมันเรื่องธรรมดา ในเมื่อคนมีกิเลสอยู่ แล้วทางไม่เคยเดิน สิ่งที่ทางไม่เคยเดินนะ ดูสิ ถนนหนทางที่อยู่ในโลกนี้เขามีอยู่ เราเดินเรายังหลง เรายังไปไม่ถูกทาง แล้วนี่การก้าวเดินไปในอากาศ การก้าวเดินไปของใจ

แก้จิตมันแก้ยาก นี่จิตมันจะแก้อย่างไร แล้วนี่มันไม่ต้องแก้หรอก มันผูกมัดมาไปพร้อมกันเลย มันบอก “สิ่งนี้เป็นธรรม เป็นธรรม” มันเอากิเลสตัณหาความทะยานอยากนะ ปิดหูปิดตา แล้วมันผูกมัดไปกับใจ แล้วเราก็ว่าเป็นธรรม เป็นธรรมกันนะ

ถ้าเป็นธรรมขึ้นมาแล้วเราได้ประโยชน์อะไรขึ้นมา? เราทำจริงทำจัง เราทำขึ้นมามันเป็นประโยชน์กับใครบ้าง? มันไม่เป็นประโยชน์กับใครเลย แต่ถ้ามันเป็นธรรมขึ้นมา

๑. เป็นประโยชน์กับเราก่อน

ร้อนก็รู้ว่าร้อน เย็นก็รู้ว่าเย็น ปัญญามันเกิดขึ้นมา พิจารณาไปเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมามันเห็น เห็นไหม ดูสิ เวลามันฆ่าไพร่ไปแล้ว การฆ่าไพร่ไปแล้วเขาเรียก “ภาวนาเป็น” คนที่ยังฆ่าไพร่ไม่ได้เขาเรียก “ภาวนาไม่เป็น”

คนภาวนาไม่เป็น คือว่ายังเริ่มต้นไม่ถูก

คนเริ่มต้นถูกน่ะ คนภาวนาเป็น ครูบาอาจารย์ท่านบอก “ภาวนาเป็น ภาวนาได้แล้ว” ก็เริ่มต้นจากตรงนี้ ถ้าตรงนี้มันภาวนาเป็นไปแล้ว ดูสิ มันเริ่มต้นจากปากทางเข้าไป มันจะต่อเนื่องเข้าไป ต่อเนื่อง เห็นไหม ฆ่าไพร่มาแล้ว จะฆ่าสิ่งที่เป็นอุปาทาน สิ่งที่เป็นอุปาทาน เป็นไพร่พลของมัน แล้วจะเข้าไปฆ่ากับความโลภ ความโกรธ ความหลง แล้วเข้าไปสู่นายช่างใหญ่ แล้วจะไปทำลายที่นายช่างใหญ่

ถ้านายช่างใหญ่มันโดนทำลายแล้วมันเหลืออะไร ถ้าหัวใจที่ทำลายแล้ว แล้วสิ่งที่ถ้ายังไม่ทำลาย นี่พุทธะมีอยู่ แต่นายช่างใหญ่มันครอบงำไว้ นี่อนุสัย สิ่งที่อนุสัยมันนอนเนื่องมากับใจ ความคิด ดูสิ ขนาดเราฆ่าไพร่มาแล้ว เราเข้าใจเรื่องสักกายทิฏฐิ เรื่องความเห็นผิดของใจ เราเข้าใจมันได้ แต่สิ่งต่อไปล่ะ มันก็ยังงงอยู่ มันเป็นไปไม่ได้ เพราะอะไร

เพราะกิเลสอย่างหยาบ กิเลสอย่างกลาง กิเลสอย่างละเอียด กิเลสอย่างละเอียดสุด

กิเลสนี้ร้ายกาจนัก แล้วกิเลสนี่ถ้าไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาชี้หน้าว่าอย่างนี้เป็นกิเลส อย่างนี้เป็นกิเลส ไม่มีใครรู้จักมัน แล้วใครจะคิดว่าตัวเอง ความรู้สึกของตัวเองเป็นโทษเป็นภัยกับตัวเอง...ไม่มีใครคิดนะ ไม่มีใครคิดว่าความรู้สึกนึกคิดของเราจะเป็นโทษเป็นภัยกับเรา แม้แต่ศึกษาธรรมะ แม้แต่ท่องบ่นธรรมอยู่นี่ การท่องบ่นธรรมอยู่นี่มันท่องบ่นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่นายช่างใหญ่นั้นมันก็บิดเบือนพลิกแพลงว่าเป็นสมบัติของเรา

เราทำธุรกิจการค้า เรากู้เงินเขามา แล้วเราบอกว่าเงินของเรา ดอกเบี้ยมันจะทบต้นๆ จนมันเหนือต้นจนใช้ไม่ได้ นี่ก็เหมือนกัน จนไม่มีปัญญาใช้ นี่ก็เหมือนกัน เวลาเราบอกว่า “สิ่งนี้เป็นธรรม สิ่งนี้เป็นธรรมของเรา ธรรมของเรา” นี่นายช่างใหญ่มันหลอกลวง ถ้ามันเป็นความจริง สิ่งที่เราท่องบ่นกัน สิ่งที่เราศึกษากันนี้มันเป็นธรรมวินัย มันเป็นสมบัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรามาปะผุติดไว้กับใจเราไม่ได้ เราจะมาแนบไปกับใจอย่างไรมันก็ไม่ใช่ของเราหรอก นี่ถ้ามันแนบไว้ขนาดไหน แกล้งลืมขนาดไหน ทำเคลมว่าเป็นของเรา ถ้าถึงเวลานายช่างใหญ่มันตื่นนอนขึ้นมาน่ะ มันทุกข์ตรมในหัวใจแล้วมันจะเสียใจ เสียใจถึงว่าจิตมันเสื่อม

จิตมันเสื่อม เสื่อมจากอะไร ในเมื่อฆ่าไพร่ไปแล้วจะเสื่อมได้อย่างไร?

เสื่อมจากการฆ่าอุปาทานไง สิ่งที่ฆ่าอุปาทานเพราะการรุกคืบเข้าไป การทำลายขึ้นไป ถ้ามันทำลายอุปาทานแล้ว มันจะเข้าไปสู่ความโลภ ความโกรธ ความหลง ถ้ามันเข้าไปสู่ความโลภ ความโกรธ ความหลง นี่มันเข้าไปใกล้ชิด ใกล้ชิดสู่นายช่างใหญ่ นายช่างใหญ่มันจะหลบซ่อนตัวมันไว้ แล้วมันเอาความโลภ ความโกรธ ความหลงเป็นแม่ทัพใหญ่ออกมาต่อต้านไว้ ต่อต้านอะไร?

ต่อต้านความเพียรไง ต่อต้านสติปัญญาที่จะเข้าไปทำลายมัน มันต่อต้าน “สำเร็จแล้ว รู้แล้ว เข้าใจแล้ว ทำให้มันเหนื่อยยากไปทำไม แค่นี้มันก็พ้นแล้ว นี่บัญญัติไว้ถูกต้องดีงามไปหมดเลย” นี่เวลามันใช้กลอุบายอย่างนี้ แล้วถ้าไม่มีครูบาอาจารย์คอยชี้แนะ “อ้าว ก็เป็นหมดแล้วไง สติก็ชอบ ปัญญาก็ชอบ นี่สมาธิก็ชอบ ดำริก็ชอบ งานก็ชอบ มันชอบธรรมไปหมดเลย” ก็ชอบของกิเลสไง กิเลสมันทำให้ชอบ นี่เราก็ชอบตามมัน พอความโลภ ความโกรธ ความหลงมันสร้างกลอุบายขึ้นมา ชอบตามมันไปหมดเลย แล้วชอบมันเป็นอย่างไรล่ะ?

“ก็ชอบ ก็มันว่างๆ ชอบ ก็มีความสุขอยู่นี่ไง”...อย่างนี้ชอบเหรอ?

เวลาเงินของเรา เราหามา เงินทอง ดูสิ ทองบริสุทธิ์ของเราก็คือของเรา แล้วถ้าเงินทองที่บริสุทธิ์แต่ไม่ใช่ของเราล่ะ เงินทอง เงินของคนอื่นก็เหมือนของเราน่ะ แต่เงินของเรามันต้องสิทธิของเราสิ เราหามา เรารักษามามันถึงจะเป็นของเรา นี่ก็เหมือนกัน งานชอบ เพียรชอบ ชอบอย่างไร อะไรมันชอบล่ะ นี่งานชอบ เพียรชอบ มันเป็นเงินทองสาธารณะไง มันของแบงก์ชาติ แบงก์ชาติเขามีไว้เพื่อความมั่นคงของการเงินของประเทศ แต่เงินของเราไม่มี ไม่มี

แล้วมันว่า “ชอบ ก็ชอบ ก็เราเป็นชาวพุทธ เราก็รู้ธรรม” นี่เวลามันพลิกแพลงนะ เวลากิเลสมันให้ความโลภ ความโกรธ ความหลง มันสร้างกลอุบายมานี่ล้มลุกคลุกคลาน หัวปั่นนะ ถ้าหัวปั่นขึ้นมามันก็ว่าเป็นแล้วๆ เป็นแล้วทำไมไม่รู้จริงล่ะ ถ้าเป็นรู้จริงขึ้นมา อสุภะเป็นอย่างไร แล้วมันถอดถอนอสุภะออกมาอย่างไร

ความโลภ ความโกรธ ความหลง ปฏิฆะคือความผูกโกรธไง นี่ไม่พอใจ

สิ่งใดสะกิดหัวใจล่ะแหม มันจะกินเลือดกินเนื้อเลยล่ะ

แล้วเวลาปั้นหน้านะ “ฉันมีธรรม ฉันมีธรรม” แต่หัวใจลุกเป็นไฟ! หัวใจมันจะกลืนกินเขาทั้งหมด มันจะยึดครองโลก...เอาธรรมมาจากไหน? นี่ไง พอมันปะผุไว้ไง มันปะผุไว้มันถึงปั้นหน้า มนุษย์เป็นสัตว์มหัศจรรย์ ในหัวใจมันไม่มีธรรมะมันก็ว่ามันมี มันเป็นสิ่งมหัศจรรย์เพราะมันหลอกตัวมันหมดไง

แต่ถ้าเป็นความจริงขึ้นมา มนุษย์หน้าอย่างกับยักษ์เลย แต่ใจเป็นธรรม

พอสิ่งที่ใจเป็นธรรม เวลาแสดงออกมา แสดงออกมาเพื่อธรรม เพื่ออะไร?

เพื่อจะข่มขี่กิเลสในหัวใจของลูกศิษย์ลูกหาไง

โอ้โฮ! มันปั้นหน้าเป็นยักษ์เลย แต่หัวใจมันเป็นธรรม

แต่มนุษย์มหัศจรรย์นะ หน้ามันเรียบ ดีงามไปหมดเลย แต่หัวใจเป็นไฟ มันจะกลืนกินเขาทั้งหมด มันจะยึดอำนาจทั้งหมด

แต่ถ้าหน้าเป็นยักษ์เลยนะ แต่หัวใจมันเป็นธรรมนะ “หัวใจเป็นธรรม”

เป็นธรรมเพราะการแสดงธรรม เวลาฟ้าร้องฝนตกมีความชุ่มฉ่ำ ข้าวไร่เรือกสวนนามันจะได้น้ำ ได้ปุ๋ย ได้ทุกอย่าง จะเจริญงอกงาม นี่เวลาแสดงธรรมของครูบาอาจารย์เรานี่หน้าอย่างกับยักษ์ แต่หัวใจ...ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ฝนตกชุ่มฉ่ำ ในหัวใจของลูกศิษย์ลูกหามีแต่ความอบอุ่น มีแต่ความดีงาม นี่โลกกับธรรมไง

แต่ถ้ามนุษย์มหัศจรรย์นะ โอ้โฮ! หน้าตานี่แหมนุ่มนวล คุณธรรม...ธรรมะปะผุไง สิ่งหน้าตานุ่มนวล แต่ในหัวใจนะ มันจะฉกฉวย หาฉ้อฉล หาโอกาส จะทำลายเขา...ทำลายเพื่ออะไร? ทำลายเพื่อจะนั่งบนหัวคนอื่นไง

แต่ถ้ามันเป็นธรรมนะ หัวเขาก็คือหัวเขา เขาก็เกิดมาทุกข์ยาก หัวเราก็หัวเรา หัวเราก็เกิดมาทุกข์ยาก แล้วความทุกข์ยาก อะไรมันทุกข์ยากล่ะ? ทุกข์ยากก็นายช่างใหญ่มันหลอกลวง มันทำให้เสียหาย เราต้องทำลายนายช่างใหญ่ของเรา นายช่างใหญ่ของเรามันทำให้หัวใจนี้เวียนตายเวียนเกิด นายช่างใหญ่ของดวงใจดวงอื่น ถ้าเขามีอำนาจวาสนา เขาจะเข้าไปสู่หานายช่างใหญ่ของเขา ถ้าเขาไปทำลายนายช่างใหญ่ของเขา หัวใจของเขาก็สะอาดบริสุทธิ์ได้เหมือนกัน

ฉะนั้น มันเป็นอำนาจวาสนาของเขาว่าเขาจะมีกำลังมากน้อยแค่ไหน ที่มีสติ-มหาสติ มีปัญญา-มหาปัญญา เข้าไปต่อสู้ เข้าไปแยกแยะ ขุดคุ้ย ค้นหาสิ่งที่เป็นนายช่างใหญ่ในหัวใจของเขา มันเป็นเรื่องของเขา

แต่ถ้าเป็นครูบาอาจารย์นะ ครูบาอาจารย์ท่านได้ทำลายนายช่างใหญ่แล้ว ท่านจะมีเทคนิค มีอุบาย มีวิธีการ เพราะนายช่างใหญ่นี้ลึกลับซับซ้อนนัก เห็นไหม แม้แต่แม่ทัพมันยังปลิ้นปล้อนหลอกลวงให้เราล้มลุกคลุกคลานกันได้ขนาดนี้ ฉะนั้น ถ้ามันใช้ปัญญาขึ้นไป เวลามันพิจารณาเข้าไป มันจะปล่อยแล้วปล่อยอีกจนมันกลืนเข้าไปสู่ใจ แล้วมันไปทำลายนะ ทำลายแม่ทัพของมัน พอทำลายเสร็จแล้ว มันพิจารณาของมันซ้ำแล้วซ้ำเล่า นั่นน่ะ พอจะเข้าไปหานายช่างใหญ่ ว่างหมด เวิ้งว้างหมด ไม่มีอะไรเลย นี่ดูสิ แค่ผ่านแม่ทัพเข้าไปยังไม่เห็นนายช่างใหญ่เลย มันบอกว่า “เวิ้งว้างหมดเลย โอ้โฮ! โลกนี้มหัศจรรย์มากเลย” นี่ความลึกลับ ความซับซ้อนของใจ

แล้วถ้าธรรมะปะผุ มันจำมา มันจะเอาอะไรไปต่อสู้ มันก็ได้แต่ขี้โม้ไปเรื่อยน่ะ แต่ถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมา นี่มันจะเข้าไปจับนายช่างใหญ่อย่างใด ถ้าการจับนายช่างใหญ่ การเห็นนายช่างใหญ่นี้เป็นงานประเสริฐที่สุด

ถ้าจับนายช่างใหญ่ไม่ได้ จะไม่มีการวิปัสสนา

จับนายช่างใหญ่ไมได้ จะไม่มีงานชอบ งานชอบของผู้สิ้นกิเลส

เป็นงานไม่ชอบ เป็นงานฉ้อฉล งานหลอกลวง งานเสียหาย งานที่ไม่เป็นงานชอบ

งานชอบ เพียรชอบ สติชอบ ปัญญาชอบ ความระลึกชอบ ชอบแบบใด? ความชอบแบบใด ถ้ามีครูบาอาจารย์ท่านปฏิบัติของท่าน ท่านจับของท่านได้ ท่านเข้าไปสู่นายช่างใหญ่นั้น ทำลายนายช่างใหญ่นั้นจนสิ้นกระบวนการของการประพฤติปฏิบัติ

ธรรมะปะผุไม่มี ธรรมะปะผุสิ้นกระบวนการไปทั้งหมด เพราะจะปะผุมันต้องมีสถานที่ปะผุ ภวาสวะ อวิชชาสวะ กิเลสวะ มีภพมีชาติมันถึงปะผุได้ แต่ถ้าเป็นสัจธรรม “ธรรมธาตุ” ธาตุของธรรม สิ่งติดไปเกี่ยวข้องกับสิ่งนั้นไม่ได้ สิ่งใดจะไปแตะต้องสิ่งนั้นไม่ได้ เพราะสิ่งนั้นเหนือโลก ธรรมะเหนือโลกไง

ธรรมะเป็นธรรมชาติ ธรรมชาติคือผลของวัฏฏะ

ธรรมเหนือโลก สัจธรรมที่เหนือโลก เหนือวัฏฏะ เหนือกระบวนการทั้งหมด แล้วสิ่งที่เหนือนั้นมันจะสถิตอยู่ในหัวใจของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ อันนั้นจะเป็นธรรมแท้ เอวัง