ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

กิเลสแก้ยาก

๑๑ ธ.ค. ๒๕๕๔

 

กิเลสแก้ยาก
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๔
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ข้อ ๗๓๓. มันไม่มี ข้อ ๗๒๕. ถึงข้อ ๗๓๓. แล้วนี่มันข้อ ๗๓๔. เนาะ

ถาม : ๗๓๔. เรื่อง “ติดปัญหาคิดอกุศลตลอดเวลา”

กราบนมัสการหลวงพ่อครับ เนื่องจากช่วงนี้ผมมีความคิดอกุศลตลอดเวลา ยิ่งเวลาปฏิบัติยิ่งหลอกหลอนตลอดเวลา รู้สึกว่าตนเองเป็นคนไม่ดีอย่างไรไม่รู้ เหมือนความคิดที่มันตามไล่ล่า ผมก็พยายามขอขมาสิ่งที่คิดล่วงเกินบ่อยๆ ไม่อยากให้เป็นบาป ถ้ามีความคิดไม่ดีอยู่ผมจะบาปไหมครับ? แล้วจะหยุดอย่างไร? ทำหลายวิธีไม่ยอมสำเร็จ รู้สึกทรมานใจมาก รู้สึกผิด ไม่อยากให้มันเกิดความไม่ดีเลย อยากหายขาดสักที รบกวนหลวงพ่อช่วยชี้ด้วยครับ

หลวงพ่อ : เวลาความคิดเห็นไหม ความคิดมันเกิดขึ้นมาเราขาดสติ พอขาดสติ ความคิดมันก็คิดโดยธรรมชาติของมัน โดยธรรมชาติของมันนะ ทีนี้คนที่มีแบบว่าหยาบ บางแตกต่างกัน ถ้าหยาบ บางแตกต่างกัน ความคิดนี่เราไม่อยากคิดมันก็คิด เหมือนทางการศึกษา อยากจำมันจำไม่ได้ ไอ้ไม่อยากจำนี่จำแม่น

ฉะนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นมา ถ้าบอกว่ามันไม่มีที่มาที่ไปเลยมันก็ไม่ใช่ คำว่าที่มาที่ไป เห็นไหม คนดี ทำดีง่าย ทำชั่วยาก คนชั่ว ทำชั่วง่าย ทำดียาก นี้พูดถึงคน คือจริตนิสัย แต่ถ้าจิตมันมีความรู้สึกนึกคิด นี่สิ่งที่มันมีมามันเป็นเวรเป็นกรรม การว่าเป็นเวรเป็นกรรม แล้วกรรมอย่างไร? กรรมอย่างไร?

เวลากรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์ในสมัยพุทธกาลนะ องค์ไหนปฏิบัติง่าย องค์ไหนปฏิบัติยาก องค์ไหนมีความวิกฤติต่างๆ พระจะประชุมกัน แล้วไปถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าเพราะเหตุใด? เพราะเหตุใด? องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะสาวไปเลย เมื่อชาตินั้น เมื่อชาตินั้นเขาเคยทำอย่างนั้น เคยทำอย่างนั้น เวรกรรมอย่างนั้นตอบสนองมาอย่างนั้นๆ

นี่พูดถึงในสมัยพุทธกาล เพราะ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อนาคตังสญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพยากรณ์ไปถึงอนาคตนะ ในสมัยปัจจุบันนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า

“เราตถาคต เป็นผู้มีบารมีน้อย อายุ ๘๐ ปี อนาคตข้างหน้า พระศรีอริยเมตไตรยจะอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี คนจะมีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี พระศรีอริยเมตไตรยจะครองราชย์อยู่ ๔๐,๐๐๐ ปี แล้วจะออกประพฤติปฏิบัติ จะสำเร็จโดยง่าย แล้วจะเทศนาว่าการอีก ๔๐,๐๐๐ ปี เห็นไหม แล้วพ้นจากพระศรีอริยเมตไตรยไปแล้ว อนาคตวงศ์อีก ๑๐ องค์จะต่อไป”

นี้พระพุทธเจ้าพยากรณ์นะ สิ่งที่พยากรณ์ สมัยพุทธกาลนะ เวลามีสิ่งใดที่มันเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ มันเป็นสิ่งที่เหนือการคาดหมาย มันเป็นสิ่งต่างๆ จะไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วให้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพยากรณ์

นี่ก็เหมือนกัน สิ่งที่เราทำ คำว่ากรรมๆๆ เราทำของเรามา ถ้าเราไม่ทำของเรามา ใครบ้างอยากทำร้ายตัวเอง ใครบ้างไม่ต้องการให้ตัวเองประสบความสำเร็จ ทุกคนก็ปรารถนาดีกับตัวเองทั้งนั้นแหละ ก็ต้องอยากคิดแต่เรื่องดีๆ แล้วความคิดที่มันไม่ดีเราก็รู้ เห็นไหม นี่มันรบกวนเราตลอดเวลาเลย ความคิดที่เป็นอกุศลมันคิดรบกวนเราตลอดเวลา มันเป็นสิ่งที่ไม่ดี อ้าว เราก็ต้องปฏิเสธมันได้สิ ทำไมเราปฏิเสธมันไม่ได้

นี่คำว่าเรื่องกรรมไง เรื่องกรรม เห็นไหม ดูสิดูอย่างพันธุ์พืช เขาคัดสายพันธุ์ เขาคัดสายพันธุ์ เขาตกแต่งสายพันธุ์ เขาเลือกสายพันธุ์ที่ไม่เป็นโรค สายพันธุ์ที่แข็งแรง สายพันธุ์ที่ใช้น้ำน้อย เขาคัดเลือกสายพันธุ์ของเขามาด้วยอะไร? ด้วยการตัดแต่งพันธุกรรมของเขา นี่ก็เหมือนกัน จิตของเรา เราได้ทำของเรามา มันตัดแต่งมาแบบนี้ ตัดแต่งมามันก็ยังตัดแต่งมาดี ดีที่ได้เกิดเป็นมนุษย์นี่ไง

ฉะนั้น สิ่งที่มันเกิดขึ้นมันเป็นเรื่องของกรรม ถ้าเรื่องของกรรมนะ เรื่องของกรรม คำว่ากรรมนี่นะ ถ้าทางวิทยาศาสตร์หรือคนรุ่นใหม่เขาจะบอกว่าทุกอย่างเป็นลัทธิยอมจำนน ยกให้กรรมหมดเลย นู่นก็ยกให้กรรม นี่ก็ยกให้กรรม แล้วยกให้กรรม คำว่ายกให้กรรมพวกเราก็ไม่ต้องทำอะไรเลยนะ นี่นอนรอสิ่งที่ดีๆ ยกให้กรรมทำไมขวนขวายล่ะ? ยกให้กรรมทำไมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าออกประพฤติปฏิบัติอยู่ ๖ ปีล่ะ? ยกให้กรรมทำไมหลวงปู่มั่นท่านขวนขวายของท่านขนาดนั้นล่ะ?

คำว่ายกให้กรรมนี่นะ ยกให้กรรมเพราะว่ามันเป็นสิ่งที่สุดวิสัย มันเหนือการคาดหมาย เหนือการควบคุมทั้งหมด ถ้ามันเหนือการควบคุมทั้งหมด เราพยายามควบคุมสิ่งที่ควบคุมได้ ถ้าเราควบคุมได้ เราพยายามของเราขึ้นมา สิ่งที่ควบคุมไม่ได้เดี๋ยวมันจะควบคุมได้ สิ่งที่ว่าเป็นอกุศลๆ ความคิดอกุศล ถ้าเรามีสติปัญญาของเราขึ้นมา มันรู้ทันของมัน มันปล่อยวางได้

มันปล่อยวางได้นะ มันปล่อยวางของมัน ถ้ามันจะคิดมันก็คิดของมัน มันเหมือนกับเวลาเราพิจารณาของเรา เห็นไหม นี่เวทนาไม่ใช่เรา เราไม่ใช่เวทนา ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ มันมีของมันอยู่ แต่เราควบคุมใจเราได้ เรารู้ทันของเรา เราปล่อยสิ่งนั้นไว้ มันเก้อๆ เขินๆ มันปล่อยไว้มันเก้อๆ เขินๆ เพราะมันไม่ไปร่วม ทางอาชญากรรมเขาว่าทำความผิดร่วมกัน

นี่ก็เหมือนกัน เวลาความคิดมันเกิด เราเข้าไปร่วมความคิดกับมัน เราก็ไปร่วมกับมัน แต่ถ้าเขาทำอาชญากรรม เราไม่ไปทำกับเขา เราเป็นผู้บริสุทธิ์ เราไม่มีความผิด ถ้าจิตมันมีปัญญามันไล่ต้อนเข้ามานะ กรรม สิ่งที่เป็นกรรมนะ กรรมมันจำแนกมา จำแนกคนให้เกิดแตกต่างกัน จำแนกให้จริตนิสัยคนแตกต่างกัน นี่ความจำแนกของมันมันมาจากไหน? มาจากการกระทำของมัน มาจากพันธุกรรม มาจากเรื่องภายใน

ฉะนั้น สิ่งที่ว่า นี่เขาก็บอกว่า “สิ่งที่ล่วงเกินก็ได้ขอขมา ได้หยุดยั้ง”

สิ่งที่ทำนี่เราเจตนา การขอขมา การสำนึกผิด สิ่งนี้พันธุกรรมมันจะได้ยอมรับ การยอมรับ การยอมรับความรู้ ความรู้สึกของเรา แล้วเราแก้ไข นี่คือการแก้ไขไง การแก้ไขของเรา เห็นไหม ฉะนั้น บอกต้องแก้ไขโดยฤทธิ์ แก้ไขโดยที่ครูบาอาจารย์ต้องเป่าหัวพ่วงแล้วหายหมด สิ่งนี้เกิดจากภายนอก ชีวิตของเราจะต้องอาศัยอาจารย์ตลอดไปเลยหรือ?

นี่สิ่งที่อาจารย์แนะนำ แล้วเราแก้ไขของเรา สิ่งที่เราแก้ไข เราพยายามทำของเรา ถ้ามันทำแล้วดีขึ้น มันดีขึ้น มันเบาบางลง แล้วถ้าพูดถึงว่ามันเข้มแข็ง คือว่ากรรมมันชัดเจนมาก มันจะมีของมันอย่างนั้นแหละ แต่ แต่เราควบคุมใจของเราได้ เราดูแลใจของเราได้ ถ้าเราดูแลใจของเราได้นะมันก็เก้อๆ เขินๆ อยู่อย่างนั้น

มีอยู่ มีอยู่ อย่างเช่นเรานี่ ทุกคนไม่ค่อยพอใจความเป็นอยู่ของเรา อยากให้มันดีขึ้นไปกว่านี้ แต่มันยังทำไม่ได้ แต่เรามีแรงปรารถนาของเรา นี่พูดถึงว่ามันคิดอกุศล แล้วเราก็พยายามจะแก้ไขของเราอยู่ ต้องแก้ไข คำว่าแก้ไขนะ แม้แต่สำนึกว่าเราคิดผิด แล้วเราไม่คิดตามมันนี่ก็เป็นบุญมหาศาลนะ คนเรานะ สิ่งใดนี่ดูอย่างพระเทวทัตนะ พระเทวทัตกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขัดแย้งกัน

คำว่าขัดแย้ง ทีแรกเป็นเพื่อนกันนะ เป็นเพื่อนกัน เป็นพราหมณ์ที่ไปค้าขายต่างแดน แล้วพอไปเจอ เห็นไหม พอไปเจอเขาจะแลก เอาสินค้าไปแลกกับผู้เฒ่า ผู้แก่ เขาไม่รู้เพราะว่าเขาเป็นผู้ดีตกยาก มันเป็นเชี่ยนหมาก แต่เป็นเชี่ยนหมากทองคำ เขาคิดว่ามันเป็นทองเหลือง มันเป็นสิ่งที่ของเก่าแก่ ก็ขอแลก ขอแลกเพื่อจะให้ลูกหลานได้ของเล่น เทวทัตไปเห็นแล้วนี่ของเขามีค่ามาก แต่ด้วยความอยากได้ก็ตีค่าว่าไม่มีค่า แล้วก็ไปบอกว่าไม่เอาไปขายที่อื่นก่อน แต่ใจจริงคือจะเอา แต่จะเอาด้วยการกดไง กดให้ราคามันต่ำ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปค้าขายด้วยกัน นี่ไปเห็นเข้า พอไปถึงไปเห็น การพิสูจน์ของเขาโบราณนะเขาใช้เหล็ก ใช้ของแข็งขีด พอขีดลงไปทองคำมันก็เห็นเป็นทอง เขาใช้ขูด พอขูดไป อู๋ย นี่มันทองคำนะ นี่มันมีค่ามากเลย

“โอ๋ย จะมีค่ามากหรือไม่มีค่ามาก เราจะขอแลก แลกเอาแค่ของเล่นให้กับหลาน ๒ คนนั้นน่ะ”

พระพุทธเจ้าบอกว่า “โอ้โฮ ของที่เขาถือมามันมีค่า มันยังทดแทนทองคำอันนี้ไม่ได้เลย ทองคำนี้มีค่ามาก มีค่ามากกว่าของที่เขาถือมา”

เขาบอก “มีค่ามาก ค่าน้อย นี่เขารักหลาน อยากให้หลานได้ของเล่น”

“อย่างนั้นให้หมดเลย ที่เอามานี่ให้หมดเลย แลกกับถาดนั้นไป”

พระพุทธเจ้าทำด้วยความซื่อสัตย์ พอแยกจากกันไป พอเทวทัตเขาก็ออกไปขายสินค้า แล้วก็จะวกกลับมาเอาถาดทองคำใบนี้ไง มาถึงป้า ถามป้าว่า

“ป้า ไอ้ถาดทองคำไปไหนล่ะ?” ไอ้ที่ว่าไม่มีค่าๆ จะเอาสินค้ามาแลก จะเอากดราคาไว้ไง

ป้าบอกว่า “ช้าไปแล้วแหละ นี่คนที่เขามาด้วยกันเขาเอาไปแล้ว”

นี่ไงด้วยความเจ็บช้ำน้ำใจอันนี้ ด้วยความโกรธไง นี่เดินตามมา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ข้ามแม่น้ำไปแล้ว กำทรายขึ้นมานะ “จะจองเวร จองกรรมไปทุกชาติๆๆ” เริ่มต้นจากเทวทัตกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาจากประเด็นนี้แหละ เริ่มต้นมาจากตรงนี้ แล้วก็ผูกเวร ผูกกรรมกันมาตลอดนะ ผูกเวร ผูกกรรมมาทุกชาติๆๆๆ เลย

จนมาสุดท้ายองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไป นี่เทวทัตก็ตกนรกอเวจีไป เพราะจะตามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปไม่ได้อีกแล้ว เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ไปแล้ว นิพพานไปแล้ว ไม่มีร่องรอยให้ติดตามอีกแล้ว แต่เทวทัตก็มาสำนึกผิดตอนที่จะมาขอขมา พอขอขมาก็ตกนรกอเวจีไป แล้วถึงที่สุดแล้วเทวทัตจะเกิดมา แล้วยังมาตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า เพราะว่าเวลาจองล้างจองผลาญกันมามันก็ได้สร้างฌานโลกีย์มาเหมือนกัน

นี่พูดถึงเรื่องเวรกรรม เริ่มต้นจากถาดทองคำใบเดียว แต่ถาดทองคำ ไม่ใช่ถาดทองคำที่ว่าให้โลกเห็นได้ด้วย เป็นถาดทองคำเก่าๆ ที่มันเป็นของเก่าเก็บ ที่มันเป็นเหมือนดูไม่ได้ ทางโลกไม่เข้าใจว่าเป็นหรือไม่เป็น เห็นไหม นี่พูดถึงเรื่องกรรม นี่ด้วยความผูกโกรธกันมา มันก็ต่อเนื่องกันมาๆ ฉะนั้น นี่พูดถึงเขาผูกโกรธกันมานะ แต่ความคิดของเรา เราไปผูกโกรธกับใครล่ะ? ความคิดของเรามันไปเกี่ยวเนื่องกับใครล่ะ?

ฉะนั้น สิ่งที่เป็นเวรเป็นกรรมมันมีของมัน พอมีของมัน มันมีของมัน สิ่งนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ นี่คำว่าแก้กรรมๆ เขาก็แก้กันไปโดยผู้ที่เขาปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ เขาอยากสร้างบารมี นี่การกระทำแบบนี้มันก็เป็นเรื่องของสังคม สังคมของพระโพธิสัตว์ที่ช่วยกันแก้ไข ช่วยกันดูแลไป ได้มาก ได้น้อย พระโพธิสัตว์ที่บารมีเข้มแข็ง บารมีแก่กล้า ทำสิ่งใดจะมีผลมาก แต่พระโพธิสัตว์ที่เริ่มต้นเริ่มก้าวเดิน นี่การทาย การทายทักต่างๆ มานี่

นี่พูดถึงเรื่องกระพี้ เรื่องเปลือก เรื่องแก่น แก่นของศาสนา เราเข้ามาถึงแก่นของศาสนาเราจะเอาจริงเอาจังเลย สิ่งนี้เป็นสิ่งภายนอก แต่สังคม นี่ต้นไม้มันต้องมีแก่น มีเปลือก มีกระพี้ สังคมเรา เห็นไหม ดูสิคนที่เกิดมาในโลกนับถือลัทธิต่างๆ ไม่สนใจพุทธศาสนามีมหาศาล แต่ชาวพุทธเราก็มี แล้วชาวพุทธเราในปฏิบัติมีมากน้อยแค่ไหน?

นี่พูดถึงว่าถ้าการกระทำแบบนี้มันใช้ไม่ได้เลย ทำไมสังคมเขามีกันอยู่ล่ะ? สังคม เริ่มต้นเขาต้องสร้างบารมีกันไป สร้างบารมีกันไป การสร้างบารมีก็สร้างเพื่อให้จิตใจนี้ดีงาม เพราะพระโพธิสัตว์มีแต่การเสียสละ มีแต่การช่วยเหลือเจือจานไง การช่วยเหลือเจือจานมันก็ได้ผลตอบสนองมา นี่บารมีจะแก่กล้าขึ้น เรื่องฌาน เรื่องต่างๆ มันจะเข้มข้นขึ้น แล้วมันจะชัดเจนขึ้น มันจะถูกต้องได้มากขึ้น นี่พูดถึงระหว่างที่เป็นพระโพธิสัตว์นะ

ฉะนั้น ของเราถ้ามันเกิดอกุศล เกิดความรู้สึกนึกคิดจากภายในที่มันทำให้เราทุกข์ร้อน เขาบอกมันทุกข์ร้อน มันทำให้ทรมานหัวใจมาก เขาว่ารู้สึกทรมานมาก รู้สึกว่ามันรู้สึกผิด รู้สึกต่างๆ คำว่ารู้สึกเขาเรียกสำนึก ถ้าเราสำนึกนะ มีความสำนึก มีความดี แต่ความสำนึกอย่างนี้ อารมณ์ เห็นไหม เขาบอกว่าอย่าเชื่ออารมณ์ของคน เพราะอารมณ์นี้เชื่อใจไม่ได้ อารมณ์นี้มันวูบวาบ ความรู้สึก ความนึกคิดนี่อารมณ์ที่ดี มันก็รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ดี

แต่ถ้าอารมณ์เรารวนเร อารมณ์เราแบบว่ามันเริ่มเป็นกิเลสครอบงำ สิ่งที่ว่าอกุศลๆ มันบอกว่า อืม คิดอย่างนี้ดีกว่า คิดอย่างนี้ได้ประโยชน์ มันจะลงไปนู่นเลย ฉะนั้น สิ่งนี้เราต้องตั้งสติ เราสังเกตได้ไหม? เราสังเกตความรู้สึกนึกคิดของเราสิ เมื่อ ๕ ปีที่แล้ว เมื่อ ๑๐ ปีที่แล้ว แล้วในปัจจุบันนี้มันเปลี่ยนแปลงไหม? มันมีอะไรพัฒนาการไหม? ถ้ามีพัฒนาการต่างๆ ขึ้นมามันจะดีขึ้น ถ้ามันไม่พัฒนาการ ทำไมถึงไม่พัฒนาการ ทำไมมันไม่พัฒนาการขึ้นมา ทำไมมันไม่เข้มแข็งขึ้นมา

เข้มแข็งก็ทำแล้ว ๑๐ ปี ทำไม่ไหวมันก็ท้อ ๒๐ ปี ยิ่งท้อเข้าไปใหญ่ แล้วพระโพธิสัตว์ข้ามภพข้ามชาติ ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขยทำไมเขาไม่ท้อ ทำไมเขามีความชุ่มชื่นของเขา เขามีความมั่นคงของเขา นี่ไงถ้าเราเอามาเทียบอย่างนี้ปั๊บเราก็จะแก้ไขของเรา นี่พูดถึงถ้ามันแก้ยากนะ แต่ถ้ามันแก้ไม่ยาก หมายถึงว่าเราเข้มแข็ง แล้วเรามีสติปัญญาของเรามันจะแก้สิ่งนี้ได้

คำว่าแก้สิ่งนี้ได้นะ นี่เวลาพูดมันก็ต้องมีตัวอย่างไง อย่างเช่นเราประพฤติปฏิบัติใหม่ๆ ก็เหมือนกัน เวลาเราปฏิบัติใหม่ๆ ปฏิบัติใหม่ๆ คิดดูสิมนุษย์คนหนึ่งออกบวช ออกบวชเขาไม่เคยศึกษา ไม่เคยรับรู้เรื่องพระมา เขาจะมีความเข้าใจอะไร? เขาไม่มีความเข้าใจหรอก เขาก็ปฏิบัติของเขา พอปฏิบัติไปมันเกิดนิมิต มันเกิดร้อยแปดพันเก้า โดยความเข้าใจผิดไง เข้าใจผิดว่าพอใครปฏิบัติแล้ว พอเกิดนิมิต ความรู้ ความเห็นก็ว่าตัวเองถูกต้องดีงามไปทั้งนั้นแหละ มันก็ว่าของมันถูกต้องๆ แต่เวลาไปศึกษาไง

ศึกษาประวัติของหลวงปู่เทสก์ ไปศึกษาประวัติของหลวงปู่หลุย องค์หนึ่งติด ๑๗ ปี องค์หนึ่งติด ๑๑ ปี นี่มันทำให้สิ่งที่ว่าดีงามๆ มันหยุดกึกเลย แล้วมันปล่อยนะ ปล่อยเวลามันจะเริ่มแก้ไง เริ่มแก้นะ หนึ่งก่อนจะนั่งบอกว่าไม่ต้องการ เพราะว่า ๑๗ ปี ๑๑ ปีที่มันติดอยู่โดยเสียเวลา แหม ๑๗ ปีนี้เป็นวัยรุ่นแล้วนะ จากเด็กๆ นี่เป็นวัยรุ่นนะ เราจะไม่ได้อะไรเลย เอาขนาดนั้นเชียวหรือ? มันก็เลยกลัว พอกลัวก็บอกว่านิมิตไม่เอา นิมิตไม่เอา อะไรก็ไม่เอา พอนั่งสงบไป

เพราะคนมันเคยเป็นไง เพราะคนเคยเป็น พอจิตมันสงบแล้วมันจะว่ามาเลย เหมือนกับร่องน้ำ เหมือนกับถนนหนทางที่มันกระแสไฟฟ้าต่างๆ ช่องทางของมันที่มันเคยออกประจำมันก็ออก พอจิตสงบมันมาแล้ว พอมันมานะ ไม่เอาๆ สติดีๆ ในสมาธินี่ปฏิเสธมันเลยไม่เอาๆ มันก็จางไปๆๆ จนตอนหลังนะไม่มีเลย

พอไม่มี ไม่มีก็ส่วนไม่มีนะ แต่พอจิตเราเข้มแข็งขึ้นมา เวลาเรามีหลักมีเกณฑ์ขึ้นมา เราใช้ปัญญาของเรา ช่วยไตร่ตรองในสิ่งที่เป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยากออกไปเรื่อยๆ พอมันบางลงๆ พอมันมีหลักมีเกณฑ์ เวลามันรู้จริงของมันนะ คราวนี้ไม่รู้ ไม่สงสัยเลย พอรู้จริงนะ รู้จริงตามสิ่งที่มันสะสมในใจ ใจที่มันได้สัมผัสมา มันรู้ของมัน มันเห็นของมัน มันแก้ได้ไง มันแก้ของมันได้ แต่เราจะจริงจังแค่ไหน? ถ้าเราจริงจังสิ่งนี้แก้ได้ แล้วพอแก้ได้ แล้วนี่เขาบอกว่า

ถาม : เขาก็ได้ขอขมาบ่อยๆ แล้ว เขาได้ทำทุกอย่างหมดแล้ว

หลวงพ่อ : เวลามันทุกข์นะ เวลาความคิดนี่ อกุศลมันคิดออกมาจากใจ เวลาเราขอขมา เราขอขมาจากตั้งใจ จากความเห็น จากที่ปัญญาของเรา แล้วจิตนี่มันเหมือนกับเราล้างภาชนะภายนอก แล้วภาชนะภายในล่ะ? เห็นไหม แก้วนี่ ล้างแก้วเขาต้องล้างในแก้ว ไอ้นี่เราล้างนอกแก้วแล้วจะให้แก้วสะอาด เราล้างนอกแก้ว เพราะเราล้างจากเปลือกไง เราล้างข้างนอก เจตนาเราทำเข้าไปมาจากข้างนอก แต่ความจริงมันอยู่ข้างใน ถ้าอยู่ข้างในปั๊บเราจะต้องพยายามของเรา

นี่จิตใต้สำนึกไง คำว่าข้างในคืออวิชชามันเป็นอนุสัย มันอยู่ในใจ มันเกิดตายกับจิต จิตปฏิสนธิมันไปหมดแหละ มันอยู่กับจิต มันสร้างสมมา แต่เวลาเกิดเรามีขันธ์ ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ นี่มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ความรู้สึกนึกคิดมันดี มันใฝ่ดี พอใฝ่ดี เราชำระล้างจากนี้เข้าไป มันยังไม่ถึงข้างในนะ ถ้ามันยังไม่สะอาดมันก็มีของมัน ถ้ามีของมันเราตั้งสติของเราไว้ แล้วสิ่งที่ไม่ดี มีสติก็วาง ไม่เอา เราเอาสิ่งที่ดีๆ ถ้าสิ่งที่ดีมันยังไม่คิดขึ้นมาเราก็เดินจงกรมซะ นั่งสมาธิซะให้มันเกิดขึ้นมา ถ้ามันสงบขึ้นมามันก็เป็นประโยชน์กับเรา

นี่คิดอกุศลไง ถ้าคิดอกุศล เห็นไหม เขาว่าอกุศลมันเป็นกุศล มีหลายๆ คนมาก เห็นพระองค์นี้ว่าพระองค์นี้ทำไมคนไปเยอะ โดยความคิดอยากพิสูจน์นี่อกุศล พอไปแล้ว ไปฟัง อย่างเช่นหลวงปู่มั่น เห็นไหม ธุดงค์ไปทางมูเซอ ทางมูเซอเขาบอกว่าผีเย็นเลยล่ะ ผีเย็นคือเสือสมิง คือเขาจะมาจับพวกชาวบ้านนั้นกิน

นี่อกุศลทั้งนั้นแหละ หลวงปู่มั่นท่านก็อยู่ที่นั่น เขาส่งคนมาเฝ้าเลยนะว่าวันๆ ทำอะไรบ้าง จนเขาไปประชุมกัน ไม่เห็นทำอะไร เห็นวันๆ เดินไปก็เดินมา ไม่เห็นทำอะไร ไม่ใช่แล้วแหละ ไม่ใช่เสือเย็นแน่ๆ เลย ตกลงต้องไปคุยกับท่าน ลองเข้าไปคุยกับท่าน ก็ส่งคนเข้าไปพูด

“เดินไปเดินมาเดินทำไม?”

“อ๋อ หาพุทโธ นี่ทำพุทโธตกหาย”

“อย่างนั้นชาวบ้านช่วยหาได้ไหม? เพราะหาแล้วจะได้รีบๆ ไปไง มาอยู่นี่กลัวมาก”

อ้าว จะให้ชาวบ้านช่วยกันหา พอช่วยกันหา เขากำหนดพุทโธของเขา เห็นไหม พอจิตเขาลง โอ้โฮ เขาร้องไห้โฮๆ เลยล่ะ เขามากราบขอขมา แล้วเขายังติด้วย “อยู่ได้อย่างไร ๒ คน พระ ๒ องค์อยู่ได้อย่างไร? ตุ๊อยู่ได้อย่างไร? ทางจงกรมก็ไม่มี คนดูแลก็ไม่มี มาอยู่อย่างนี้อยู่ได้อย่างไร?”

นี่ไงอกุศลนะ มาจับผิด มานั่งเฝ้า มาดูเลยว่าตุ๊นี่ทำอะไร? มาทำไม? แต่พอจิตมันลงนะ บอกว่า “ตุ๊อยู่ได้อย่างไร? ทางจงกรมก็ไม่มี ฝนตกแดดออกนะก็อยู่ นี่ฝนตกก็หลบฝนอยู่โคนไม้ ตุ๊อยู่ได้อย่างไร? ตุ๊อยู่ได้อย่างไร?”

โอ้โฮ เสียใจ เห็นไหม อกุศลนะ แต่ถ้ามีปัญญา จากอกุศลมันเป็นกุศลได้นะ ไม่ใช่ว่าอกุศลมันจะเป็นอกุศลอยู่อย่างนั้นตลอดไป อกุศลจากความเห็นผิด ความเข้าใจผิด แต่พอมันเกิดปัญญาขึ้นมา ใคร่ครวญขึ้นมามันก็จะเป็นกุศล ถ้าเป็นกุศลมันก็แก้ไขสิ่งนี้ได้

การแก้ไข เขาแก้ไขกันอย่างนี้ คนที่แก้ไขได้ก็ยังมี หลวงปู่มั่นไปแก้ไขคนทั้งหมู่บ้านเลย จากความเห็นผิดว่าเป็นเสือเย็น เสือเย็นคือเสือสมิงที่จะมาจับชาวบ้านนั้นกินทั้งหมู่บ้าน มีความเห็นอย่างนี้ ประชุมกันอย่างนี้ อกุศลทั้งนั้นเลย แต่หลวงปู่มั่นแก้ไขจนกลับมาได้หมดเลย เราก็ขอเป็นคนๆ หนึ่งในหมู่บ้านนั้นเนาะ มันจะได้แก้ไขใจเราได้ ขอให้เป็นคนๆ หนึ่ง เป็นชาวมูเซอนั้นน่ะที่หลวงปู่มั่นไปแก้ เราเป็นคนหนึ่ง เราแก้ได้เราก็จะแก้ใจเราได้ แก้ได้ ครูบาอาจารย์ท่านเคยแก้มาแล้วเนาะ นี้ที่ว่า “ติดปัญหาที่มันคิดอกุศล” อันนี้เป็นข้อ ๗๓๔. นะ

แต่อันนี้สิ อันนี้มันกลับกันทุกทีเลยนะ ปัญหาเรานี่แปลกมาก

ถาม : ๗๓๕. เรื่อง “จะสร้างบารมีเพื่อสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญาได้อย่างไร?”

กราบหลวงพ่อ ๓ หน

หลวงพ่อ : เขากราบอย่างเต็มที่เลยนะ เขาเขียนด้วย วงเล็บเลยนะ

ถาม : กราบหลวงพ่อ (กราบ ๓ ครั้งเลย) ปัจจุบันนี้มีผู้ประมาณการสถิติผู้บรรลุธรรมเพศชาย ๑ ในล้าน เพศหญิง ๑ ใน แสน โยมเป็นเพศหญิง ไม่ได้ออกธุดงค์ ยอมรับสถิตินี้ แต่ก็ไม่ท้อถอย ยังคงปฏิบัติต่อไป แม้ว่าไม่มีความก้าวหน้าก็ขอให้ปฏิบัติเป็นการสร้างบารมี

(แล้วเขาก็ถามต่อนะ) หลวงตาเคยเทศน์ถึงผู้สำเร็จกิจ ด้วยการปฏิบัติแบบเอาเป็นเอาตายว่ามีประมาณ ๙๘ เปอร์เซ็นต์ นอกนั้นเหลือไว้สำหรับสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ยังมีคนบอกว่า

“หากเดินไปตามมรรค ๘ ไปเรื่อยๆ อย่างไรก็ถึง ถ้าจะไปทางลัดให้ไปทางสัมโพชฌงค์ ๗”

ข้อมูลนี้หลวงพ่อมีความเห็นว่าอย่างไรคะ?

หลวงพ่อ : นี่ความเห็นของเรา เรื่องอย่างนี้ สิ่งใดก็แล้วแต่ ทุกคนก็คิดว่าอยากจะได้ มีทุกคนบอกว่าอยากจะเป็นพระอรหันต์พร้อมกับปฏิสัมภิทา ๔ ทุกคนอยากเป็นพระอรหันต์พร้อมกับปฏิสัมภิทา ๔ นะ ถ้าอยากเป็นพระอรหันต์ด้วย มีอภิญญา ๖ ด้วย ถ้ามีอภิญญา ๖ เพราะอะไร? เพราะอยากเป็นพระอรหันต์ด้วย อยากรู้วาระจิตเขา อยากเหาะได้ อยากไปหมดเลย แต่ถ้าเป็นพระอรหันต์แล้วนะ ไอ้อภิญญา ๖ นี่พระอรหันต์เขาไม่สนใจเลย (หัวเราะ)

ถ้าเป็นพระอรหันต์แล้วนะ อภิญญา ๖ นี่เพราะอภิญญา ๖ ทำให้ตัวเองเนิ่นช้า อภิญญา ๖ ทำให้เราหลงทาง ถ้าเป็นพระอรหันต์นะมันไม่อยากได้อภิญญาอีกแล้ว เพราะอภิญญาเป็นหน้าที่ที่จะต้องมาดูแล แต่นี้เรายังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ เรามีความอยากอยู่นี่ อยากเป็นพระอรหันต์ด้วย อยากมีอภิญญา ๖ ด้วย

นี่ก็เหมือนกัน อยากเป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา อยากปฏิบัติง่ายรู้ง่าย เขาบอกว่าโยมได้รับทราบประวัติพระองค์หนึ่ง เขาบอกว่าทำแบบขิปปาภิญญา นี่เขาบอกว่าเขาประทับใจมาก เราไม่เชื่อนะ คำว่าเราไม่เชื่อหมายความว่า ถ้าพระองค์นั้นเป็นขิปปาภิญญาจริง ถ้าขิปปาภิญญาจริงเขาจะรู้ของเขาว่าอะไรควร อะไรไม่ควร อะไรมีเหตุ อะไรมีผล นี้ขนาดในคำถามนี้ก็บอกแล้วบอกว่า

“หลวงตาบอกว่า ผู้ที่ปฏิบัติแบบเอาเป็นเอาตายมีประมาณ ๙๘ เปอร์เซ็นต์ นอกนั้นเป็นพวกขิปปาภิญญา”

แล้วขิปปาภิญญามีอยู่ ๒ เปอร์เซ็นต์ ฉะนั้น ๒ เปอร์เซ็นต์เราก็เอามาหารในชาวพุทธ ๒ เปอร์เซ็นต์นี่มันกี่คน แล้วไอ้ ๙๘ เปอร์เซ็นต์มันกี่คน แล้วพอกี่คน แล้วพวกที่บอกว่าเป็นขิปปาภิญญา บอกว่าไปหาเขาแล้วมันจะเป็นขิปปาภิญญา มันจะตรัสรู้ง่าย รู้ง่ายไปหมด ไอ้นี่มันกลับกันไง มันกลับกัน พวกขิปปาภิญญาก็เลยมี ๙๘ เปอร์เซ็นต์ ไอ้พวกที่ทุกข์ยากก็เลยเหลือ ๒ เปอร์เซ็นต์ ไอ้พวกนั้นมันจะไปขิปปาภิญญาหมดเลย มันขัดแย้งกัน เห็นไหม ข้อมูลมันไม่เป็นความจริงไง

ถ้าเป็นขิปปาภิญญาจริง ก็หลวงตาบอกเลย เอาเป็นเอาตายนี่ ๙๘ ไอ้พวกขิปปาภิญญามี ๒ เปอร์เซ็นต์ แต่เขาบอกว่าถ้าเราชอบใจ เราเห็น เราประทับใจในประวัติเขา เพราะเขาเป็นขิปปาภิญญา แล้วเขาบอกว่าถ้าใครไปปฏิบัติแล้วมันจะรู้ง่าย แล้วทุกคนปฏิบัติแล้วจะได้ผลหมดเลย ถ้าอย่างนั้นขิปปาภิญญามันก็เลยเป็น ๙๘ เปอร์เซ็นต์ แล้วไอ้พวกเอาเป็นเอาตายเหลือ ๒ เปอร์เซ็นต์ อ้าว มันก็กลับกัน

มันกลับกันมันหมายความว่าถ้าเป็นขิปปาภิญญา ถ้าเป็นผู้ที่ปฏิบัติจริงรู้จริง เขาจะพูดแต่เรื่องความเป็นจริง สิ่งที่เป็นจริง ข้อมูลที่เป็นจริงในสังคมโลก ข้อมูลที่เป็นจริงในเรื่องความเป็นจริง แล้วถ้าข้อมูลอย่างนี้ มันข้อมูลไม่เป็นความเป็นจริง ไม่เป็นความเป็นจริงเพราะอะไร? เพราะเขาว่าขิปปาภิญญา แล้วใครมาประพฤติปฏิบัติ สั่งสอนใครแล้วคนนั้นจะได้ มันก็เหนือกรรมน่ะสิ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธศาสนาสอนให้เชื่อเรื่องกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว แล้วถ้ามันไปฟังเขา มันไปหาครูบาอาจารย์ แล้วครูบาอาจารย์ชี้นำได้มันก็เหนือกรรมน่ะสิ ถ้ามันเหนือกรรม นี่พระพุทธเจ้ายังให้เชื่อกรรม แล้วนี่มันเหนือกรรม เหนือกรรมตรงไหน? เหนือกรรมที่ว่าจะเป็นขิปปาภิญญาหรือไม่เป็นมันได้สร้างสมมาแล้ว

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดที่สวนลุมพินี เห็นไหม บอกว่า “เราจะเกิดชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย” องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างบุญญาธิการมาเต็มแล้ว ขนาดสร้างบุญญาธิการมาเต็มแล้วนะ แล้วสร้างมาจากไหนล่ะ? สร้างมาชาติสุดท้ายคือพระเวสสันดร ไอ้อย่างพวกเรา ถ้าเราปฏิบัตินะ ชาติที่ดีที่สุดคือชาติที่แล้วของเรา แล้วพอชาติที่แล้วของเรามันเป็นอะไรมา แล้วมาถึงปัจจุบันนี้มันจะเป็นขิปปาภิญญา ที่ประทับใจประวัติของใคร ก็จะเอาประวัติของคนนั้น ประทับใจใครปฏิบัติก็จะเอาอย่างนั้น มันเป็นไปได้อย่างไร?

มันเป็นไปไม่ได้ มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ถ้ามันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เหมือนกับหมอวินิจฉัยโลกผิด ถ้าหมอวิเคราะห์โรคของคนไข้ผิด หมอคนนั้นรักษาคนไข้ไม่ได้ ถ้าหมอคนนั้นเพาะเชื้อนะ เอาเชื้อของคนไข้นั้นแล้วไปตรวจ แล้ววิเคราะห์โรคของคนไข้ไม่ถูก คนนั้นเป็นหมอได้ไหม? คนนั้นเป็นหมอไม่ได้ คนนั้นเป็นหมอไม่ได้หรอก เพราะว่าเขาวิเคราะห์โรคไม่เป็น เขาวิเคราะห์โรคไม่เป็นเขาเป็นหมอไม่ได้ ถ้าเขาเป็นขิปปาภิญญา เขาเป็นผู้รู้จริง เขาจะพูดอย่างนี้ได้ไหม? เขาพูดอย่างนี้ไม่ได้

เราเชื่อกันใช่ไหมว่าหลวงตาท่านเป็นพระอรหันต์ เราเชื่อกัน แล้วหลวงตาท่านเคยพูดอย่างนี้ไหม? ว่าใครไปหาท่าน หรือใครเป็นลูกศิษย์ท่านแล้วคนนั้นจะตรัสรู้เร็ว เคยมีไหม? เคยมีพระอรหันต์องค์ไหนบอกว่าใครมาหาเราแล้วคนนั้นจะเป็นพระอรหันต์ เคยมีพระอรหันต์องค์ไหนพูดอย่างนั้น เพราะ เพราะสิ่งที่มันจะชำระกิเลสนี้เป็นเรื่องยากแสนยาก ถ้าใครเป็นพระอรหันต์จริง เหมือนกับคน ใครทำธุรกิจแล้วประสบความสำเร็จจริง เราทุกข์ยากกันมาแค่ไหน? แล้วบอกว่าใครมาทำตามฉันแล้วจะประสบความสำเร็จหมดมันเป็นไปได้อย่างไร? มันเป็นไปไม่ได้ มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

ฉะนั้น ถ้าเขาเป็นขิปปาภิญญา แล้วเขาเป็นพระอรหันต์จริง เขาไม่พูดแบบนี้เด็ดขาด ถ้าเขาพูดแบบนี้ พูดแบบนี้แล้วบอกว่าให้ปฏิบัติง่ายรู้ง่าย ปฏิบัติไปกับเขา แสดงว่ากรรมนี่เอาไว้ต่างหากเนาะ กรรมของผู้ทำเอาไว้ต่างหาก เขามีความสามารถคอนโทรลกรรมของทุกๆ คนได้ เขาสามารถทำให้กรรมของทุกคน จำแนกเข้ามาตามความที่เขาชี้นำได้ นี่ไง เราถึงบอกว่าที่ว่าขิปปาภิญญา ถ้าใครปฏิบัติง่ายรู้ง่าย ได้ปฏิบัติได้จริงก็สาธุนะ สาธุ เพียงแต่ว่าในเมื่อเราปรารถนาไง

เขาบอกว่าสิ่งที่เขาปรารถนา เขาปรารถนาอยากจะสร้างบารมี แล้วอยากจะให้เป็นขิปปาภิญญา แล้วถ้าทำได้ แล้วยิ่งบอกว่าถ้าเป็นทางลัดต้องไปสัมโพชฌงค์ ๗ มันไม่มีทางลัด สัมโพชฌงค์ ๗ มันก็วิริยะ วิจัยธรรม มันก็อินทรีย์ความแก่กล้า สัมโพชฌงค์มันจะลัดตรงไหน? ทำตามธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่แหละทางตรงที่สุด แล้วทางตรงที่สุดเราก็ทำตามความเป็นจริงของเรา ทีนี้ไอ้ที่ว่าเอาไปแบบคนนู้น แบบคนนี้ ก็ว่ากันไป มันเป็นเรื่องการที่ว่ามันไม่มีเหตุผลรองรับ การชี้แนะ การที่ฟังกันมามันไม่มีเหตุผลรองรับ

คำว่าเหตุผลรองรับนะ นี่เวลาครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นความจริงท่านจะมีเหตุผลรองรับ มันเหมือนเราเลย เห็นไหม นี่บุคคลคนใดก็แล้วแต่ เราไปสืบประวัติสิคนนี้เกิดที่ไหน? มีหมดแหละ เหตุผลรองรับคือประวัติที่มันเป็นมา เกิดที่ไหน? ใครเป็นพ่อเป็นแม่? แล้วทำสิ่งใดมาถึงมีทรัพย์สมบัติอย่างนี้ ถ้าพูดถึงมันไม่มีที่มาที่ไป ไม่มีเหตุผลรองรับ ทรัพย์สมบัตินั้นมีจริงหรือ? ทรัพย์สมบัติมีจริงหรือเปล่า? ไม่มีหรอก

ฉะนั้น ไอ้ที่ว่าขิปปาภิญญาๆ เราไม่เคยเชื่อเรื่องอย่างนี้นะ เพราะเรื่องอย่างนี้ นี่เวลาเราพูดเราถึงบอกว่าสังคมโลก ถ้าเราไม่มีความโลภ อย่างเรานี่ถ้าเราไม่มีความโลภนะ ทางโลกเขาอยู่ในสังคม เขามีสร้อยคออยู่เส้นหนึ่ง ๒ สลึง ถ้าเราพอใจในสร้อยคอ ๒ สลึงนี้ สร้อยคอ ๒ สลึงนี้มันจะอยู่กับคอเราตลอดไป แต่พอออกไปสังคมใช่ไหม? ไปเห็นสร้อยคอที่มันตกเส้นนั้น ๕ บาท เขาบอกว่านี่เขามาเจอพร้อมกัน เขาบอกเขาจะให้เรา ๕ บาท แล้วเขาเอาสร้อย ๒ สลึงนี้เราไป ไอ้ด้วยความอยากได้เส้น ๕ บาท ถอดไอ้ ๒ สลึงให้เขาไป นี่โลกตอนนี้มันเป็นกันแบบนี้ไง

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเรามีอยู่ ๒ สลึง เราพอใจใน ๒ สลึง ในคอเรานี่เราพอใจ สร้อยคอเส้นนี้จะอยู่กับเราตลอดไปนะ แต่ถ้าเราอยากได้เส้น ๕ บาท ไอ้ ๒ สลึงเราต้องให้คนอื่นไป แล้วได้ ๕ บาทมาก็เป็นของเก๊ซะ ขิปปาภิญญาๆ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้มีอยู่ เราไม่ได้กล่าวตู่ ไม่ได้กล่าวตู่ แล้วไม่ได้ลบหลู่นะ ขิปปาภิญญามีไหม? มี แต่มีตามข้อเท็จจริง

อย่างเช่นว่าเรามี ๒ สลึง ทองคำจริงๆ ๒ สลึง ไอ้ ๕ บาทนั้นมันทองเก๊ แล้วเขามาทำตกไว้ ด้วยความโลภเราทิ้ง ๒ สลึงนั้นไปเอาเส้น ๕ บาทนั้น แล้วได้มาดีใจนะ ตอนถืออยู่เราหลงผิด เรายังดีใจว่า ๕ บาท ๕ บาท เมื่อใดไปให้ที่ร้านทองเขาพิสูจน์นะ ขาอ่อนเลยนะ เสียดาย ๒ สลึงนั้น เพราะ ๒ สลึงนั้นของจริง ๕ บาทนี้ของปลอม ขิปปาภิญญานี่ขิปปาภิญญาของใคร? มันจริงหรือมันปลอม มันจริงหรือมันปลอม? ถ้ามันจริง มันจริงอย่างใด? ถ้ามันปลอม มันปลอมอย่างใด?

นั่นไง เราจะบอกว่าเราไม่เชื่อเลย เราไม่เชื่อ เพราะว่าครูบาอาจารย์ที่เป็นของจริงนะท่านไม่พูดแบบนี้หรอก นี่ของจริงนะ ของจริงท่านจะสอนให้พวกเราเข้มแข็ง ให้เข้มแข็ง ให้มีปัญญา ให้เป็นชาวพุทธแท้ๆ ถ้าชาวพุทธแท้ๆ ไม่ถือมงคลตื่นข่าว ไม่ถือมงคลตื่นข่าว แล้วถ้าประพฤติปฏิบัติขึ้นไปจนเป็นพระโสดาบันนะ รับประกันได้เลยว่าจะไม่หลงไปจากพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่หลงไปจากรัตนตรัยของเราเด็ดขาด

แต่ถ้ามันเป็นของไม่จริง เห็นไหม มันถือมงคลตื่นข่าว นอนก็ฝัน ตื่นขึ้นมาก็เป็นพระอรหันต์ ร้อยแปดพันเก้า เป็นมงคลตื่นข่าวที่ไม่มีเหตุไม่มีผล ไม่มีสิ่งใดรองรับ แต่ถ้าเป็นครูบาอาจารย์ของเรานะจะมี ๒ สลึง มีสลึงเดียว หรือมีเฟื้องเดียว หรือไม่มีเลยจะแสวงหาก็ยังดี เพราะเราได้มา เราก็ได้ของจริงมา เราเก็บหอมรอมริบ เราได้สิ่งใดมา เราก็ได้เฟื้อง ได้สลึง ได้เท่าไรก็ทองคำแท้ๆ จากการกระทำของเราขึ้นมา

ไม่ใช่ว่าขิปปาภิญญา ไม่มีก็ชุบกันมาใส่กัน โอ้โฮ สังคมเรานี่สังคมเฟอนิเจอร์ของปลอมหมดเลย แล้วแหม เต็มตัวไปหมดเลย แต่ไม่มีความจริง ไม่เชื่อนะ ศาสนาพุทธมันไม่เลื่อนลอยขนาดนั้นหรอก มันจะเลื่อนลอยกันไปหมดแล้ว สิ่งที่มันเลื่อนลอยเพราะอะไรล่ะ? เพราะมันทำไปแล้ว เฮ้อ มันเป็นภาระน่ะ มันเป็นเรื่องที่มันจะมีปัญหาไป

ฉะนั้น สิ่งนี้เขาพูดมาอย่างนี้ บอกว่าเรื่องสถิติเรื่องเพศนั้นอีกเรื่องหนึ่ง ไอ้นี่มันเป็นสติที่เขาทำกันมา แต่ถ้าเป็นเรานะ สตินี้น้อยเกินไป ๑ ใน ๑๐ ล้าน ๑ ในร้อยล้านนู่นน่ะ เพราะถ้าเราเอา ๖,๐๐๐ ล้านหารมาสิมันมากกว่านั้นอีก นี่ถ้าต่อไปนะ ถ้าพูดถึงเวลามันถึงคราวมันไม่มีเลยแหละ ไม่มีเลย จนกว่าพระศรีอริยเมตไตรยจะมาตรัสรู้อีกทีหนึ่ง แล้วถ้ามีอยู่แล้วเรายังตะครุบเงากัน นี่แล้วมันจะมีมาจากไหน?

ฉะนั้น สิ่งที่ว่าถ้าเป็นความก้าวหน้า นี่เขาว่า

ถาม : แม้ไม่มีความก้าวหน้าก็เป็นการสร้างบารมี

หลวงพ่อ : เขาพูดของเขานะ แล้วก็จะไปทางลัด อันนี้เราตอบเพื่อให้เห็น ให้เห็นเป้าหมาย ให้เห็นหลักการของชาวพุทธ เพราะเราแปลกใจกับประเด็นคำถามอยู่เหมือนกัน ว่ามันถามมาเพื่อเหตุใด? ถามมาเพื่อเป็นการชี้นำ ถ้าเป็นการชี้นำแล้วนี่ให้แสดงจุดยืน อันนั้นอีกเรื่องหนึ่งนะ แต่พูดถึงถ้าความเป็นจริงนะ ถ้าให้พูดให้มันชัดๆ เราต้องไม่ถือมงคลตื่นข่าว เราต้องมีรัตนตรัยของเรา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

พระโสดาบันนะ จะไม่ถือนอกศาสนาเด็ดขาด พระโสดาบันนี่จะถืออย่างอื่นไม่ได้ ไม่เข้ารีต ไม่เปลี่ยนศาสนา ไม่เปลี่ยนใดๆ ทั้งสิ้น เพราะว่าพาดกระแสแล้ว จะไปถึงที่สุดแห่งทุกข์ แต่เราไม่ใช่โสดาบัน พวกเรานี่เป็นปุถุชน เป็นผู้แสวงหา ถ้าผู้แสวงหานะเราก็ต้องไม่ถือมงคลตื่นข่าว เราเอากาลามสูตรมาจับ ไม่ให้เชื่อว่าเป็นอาจารย์ของเรา ไม่ให้เชื่อว่าสิ่งนี้มันเข้ากับความนึกคิดของเรา ไม่ให้เชื่อสิ่งต่างๆ ทั้งสิ้น ให้พิสูจน์ๆ อย่าเพิ่งเชื่อใคร พระพุทธเจ้าสอนว่าไม่ให้เชื่อ กาลามสูตรไม่ให้เชื่อๆ แล้วเราจะไปเชื่อได้อย่างไร?

เวลาพูดบ่อยๆ เห็นไหม เวลาลูกศิษย์มานี่ไม่เชื่อหลวงพ่อๆ เราบอก อู้ฮู สาธุมึงเก่ง ถ้ามึงเชื่อกูนี่มึงโง่ฉิบหายเลย ไม่ให้เชื่อ ไปพิสูจน์ดูก่อน ผิดได้ทั้งนั้นแหละ ถ้าพูดถึงว่าเราพิสูจน์แล้วมันเป็นอย่างนั้นจริงนะ นี่มันลงใจ ถ้าลงใจแล้วมันจะเป็นประโยชน์ไง ฉะนั้น ถ้าเราเป็นปุถุชน เรายังไม่มีหลักมีเกณฑ์ เราอย่าถือมงคลตื่นข่าว อย่าเชื่อ อย่าเชื่อ แต่นี่เขาบอกว่าเชื่อแล้วพอใจ อยากจะเป็นขิปปาภิญญา

ขิปปาภิญญามันจะไม่มีอะไร มันจะได้ทองคำ ๕ บาท แล้วพอไปร้านทองเขาพิสูจน์แล้วนะ แล้วจะเสียใจตอนนั้น ถ้าเสียใจตอนนั้นแล้ว มันก็เหมือนเวลาเรา ถ้าพูดถึงเวลาเรามีความเชื่อมั่นในที่ใด แล้วสิ่งนั้นมันพลัดพรากจากเราไปเราจะเสียใจมาก สังคมจะรวนเรมาก แต่ถ้าสังคมนะมีหลักมีเกณฑ์ สังคมนั้นจะมั่นคง สังคมนั้นมั่นคง เวลาย้อนกลับมาในใจเรา ใจเรานั้นจะมั่นคง

อันนี้พูดถึงว่า “จะสร้างบารมีเพื่อขิปปาภิญญา” เนาะ เอาแค่นี้ก่อนเนาะ เอวัง