เทศน์บนศาลา

รู้ได้แค่ที่โลกรู้

๗ ก.พ. ๒๕๕๕

 

รู้ได้แค่ที่โลกรู้
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจนะ เราปฏิบัติ เราอยากจะเห็นธรรม เราอยากจะบรรลุธรรม เราจะตั้งใจของเรา เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาเกิดนะ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดมาจากโลก เกิดจากพ่อจากแม่เหมือนกัน แล้วพอเกิดจากโลกขึ้นมา ทำไมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านมีแนวคิด มีความรู้สึกนึกคิดว่าท่านพยายามจะหาทางออกให้ได้ ขณะที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพยายามหาทางออกนะ แล้ววางธรรมวินัยไว้ เพราะคำว่าธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ธรรมขึ้นมา

พอตรัสรู้ธรรมขึ้นมา เสวยวิมุตติสุข เวลาแสดงธัมมจักฯ เห็นไหม เทวดา อินทร์ พรหมส่งข่าวเป็นชั้นๆ ขึ้นไป คำว่า “ชั้นๆ ขึ้นไป” เทวดา อินทร์ พรหม เขารู้ของเขา ฉะนั้น สิ่งที่เขารู้ของเขา ในทางวัฏฏะก็รับรู้ได้ นี่เวลาในทางเป็นสัจจะความจริง เวลาแสดงธรรมขึ้นมา พระอัญญาโกณฑัญญะมีดวงตาเห็นธรรม ดวงตาเห็นธรรมเพราะสิ่งใด?

ดวงตาเห็นธรรมเพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธรรมขึ้นมา เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประพฤติปฏิบัติขึ้นมา พอปฏิบัติขึ้นมา แสดงสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้กระทำมา ถ้าได้กระทำมา ปัญจวัคคีย์ได้อุปัฏฐากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา ๖ ปี

ขณะที่อุปัฏฐากอยู่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า “ถ้าเราไม่รู้ก็บอกว่าเราไม่รู้” ขณะที่รู้ รู้ถึงการกระทำที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติมา สิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากระทำมาแล้ว ได้เสวยวิมุตติสุขมาแล้ว ได้ความเป็นจริงมาแล้ว

เวลาเทศนาว่าการขึ้นไป เวลาพระอัญญาโกณฑัญญะ ปัญจวัคคีย์อุปัฏฐากอยู่ แสวงหา อยากพ้นทุกข์ๆ รอทั้งนั้นน่ะ รอ เห็นไหม คนไข้รอยาอย่างเดียว ธรรมโอสถที่จะได้มาเผื่อแผ่ แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสรู้ธรรมขึ้นมา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็พยายามค้นคว้าขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดมาจากโลก คำว่า “เกิดมาจากโลก” เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดมาจากโลก เวลาเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ พระเจ้าสุทโธทนะส่งไปศึกษาเล่าเรียน ตักกสิลา เรียนนะ เรียนวิชา ๑๘ เรียนมาเพื่อจะเป็นจักรพรรดิ เพื่อจะปกครอง ถ้าเรียนมาเพื่อเป็นจักรพรรดิ เพื่อจะปกครอง ทางวิชาการต้องแน่นมาก ความแน่นมาก ความรู้ทางโลกเต็มหัวใจ

ทีนี้เต็มหัวใจ เวลาออกประพฤติปฏิบัติ ความรู้ทางโลกนั้นมาช่วยสิ่งใดในหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบ้าง เพราะความรู้สิ่งนั้นเป็นความรู้การปกครอง ความรู้ของการเป็นกษัตริย์ แต่เวลาศึกษาธรรมะ ไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ มันก็เป็นโลก คำว่า “เป็นโลก” คือธรรมะยังไม่มี ถ้าเป็นโลก เป็นโลกหมายถึงว่าโลกคือทางวิชาการทางโลก

แต่คำว่า “ธรรมะ” ธรรมะคืออริยสัจ คือสัจจะความจริงที่ชำระกิเลส ฆ่ากิเลสเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป สิ่งนี้ยังไม่มี พอยังไม่มี องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษากับเขานี่ไปศึกษาแบบโลก องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดมา เกิดมาจากโลก เวลาออกประพฤติปฏิบัติก็ปฏิบัติด้วยความรู้สึก ด้วยอำนาจวาสนา ด้วยบารมีเป็นพระโพธิสัตว์

ดูสิ เวลาปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ ปรารถนาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากัน เขาต้องบำเพ็ญตบะบารมีของเขา เขาได้สร้างบุญกุศลของเขา เขาต้องเป็นหัวหน้า ผู้จะชักชวน ผู้ที่ชักชวนขึ้นมาทำบุญกุศลเพื่อไปหาคุณงามความดีของเขา นั้นคือพระโพธิสัตว์

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดมาเป็นเจ้าชายสิทธัตถะที่สวนลุมพินี “เราจะเกิดชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย” ชาติสุดท้ายเพราะว่าการสร้างสมบุญญาธิการมาเต็ม เต็มหมายถึงว่าต้องตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่นอน

แต่ขนาดจะตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เกิดมาโดยโลก เกิดมาจากพ่อจากแม่ เกิดมาจากไหน เกิดมาจากสิ่งที่เหนือโลกมาจากไหน มันก็ไม่เหนือจากโลก เราเกิดมาจากโลกนี่แหละ คำว่า “เกิดจากโลก” ทางวิชาการ ทางการศึกษาทางโลก นั่นศึกษามา เวลาออกประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ความรู้ศึกษามาก็เต็มหัวใจ ออกประพฤติปฏิบัติก็ออกประพฤติปฏิบัติกับเจ้าลัทธิต่างๆ ออกประพฤติปฏิบัติเพราะรื้อค้นใช่ไหม

เวลาไปเที่ยวสวน ยมทูตมา เห็นคนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย เราต้องเป็นแบบนี้หรือ เราต้องเป็นแบบนี้หรือ ฉะนั้น ถ้าเราเป็นแบบนี้ มันมีตรงข้ามไหม นี่คือแนวคิดเริ่มต้นที่ชักนำให้เจ้าชายสิทธัตถะออกพยายามค้นหาสิ่งที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ทีนี้ออกรื้อค้นสิ่งที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ก็สร้างจากบุญญาธิการที่เป็นพระโพธิสัตว์ บุญญาธิการขนาดนั้น มีเชาวน์ปัญญามากขนาดนั้น

เวลาศึกษามา ถ้าศึกษาโดยโลก คำว่า “โดยโลก” โดยโลกคือสิ่งที่เป็นสัญญาอารมณ์ที่ความเข้าใจได้กับโลก โลกเข้าใจได้ โลกรู้ได้ สื่อสารกันได้ นี่คือความรู้ของโลก แล้วไปประพฤติปฏิบัติไปกับเจ้าลัทธิต่างๆ เจ้าลัทธิต่างๆ ก็กับเรื่องโลกๆ เรื่องโลก เรื่องฌานโลกีย์ก็เป็นเรื่องโลก ถ้าเรื่องโลก เพราะโลกียปัญญา มันเป็นฌานโลกีย์ โลกีย์ เรื่องโลก โลกียะมันเป็นเรื่องโลกทั้งนั้น ศึกษาขนาดไหนมันก็พ้นจากกิเลสไปไม่ได้

จนศึกษามา จนพยายามทรมานนะ โดยความเข้าใจของโลกนะ กิเลสมันอยู่ที่ไหน? กิเลสอยู่กับเราใช่ไหม คำว่า “เรา” กายกับใจก็ยังไม่รู้จัก ถ้าเป็นฌานโลกีย์ เวลาทำฌานสมาบัติ ฌานสมาบัติมันก็หดสั้นเข้ามา หดสั้นเข้ามานะ ตั้งแต่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ นี่มันมีของมันอยู่ มันมีกำลังของมัน มันก็เรื่องโลกอยู่ดี เรื่องโลกมันไม่มีอริยสัจ มันไม่มีความจริงขึ้นมา ถ้ามีความจริงขึ้นมา เวลาประพฤติปฏิบัติขนาดไหนมันก็เป็นเรื่องโลก

แล้วว่า “กายกับใจ” มันอยู่ที่ไหน?

เวลาอานาปานสติย้อนกลับมา เวลาที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสรู้ธรรม เวลาตรัสรู้ธรรมจากที่โลกเขาไม่มีไม่เป็นกัน เห็นไหม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาแล้วถึงบอกว่า “เราตรัสรูเองโดยชอบ”

แต่เวลาเจ้าลัทธิต่างๆ ตรัสรู้โดยโลก อยู่กับโลก อยู่กับสัญญาอารมณ์ อยู่กับฌานโลกีย์ อยู่กับความรู้สึกนึกคิด อยู่กับสิ่งที่จินตนาการ มันก็เวียนอยู่ในวัฏฏะ เวียนอยู่อย่างนั้นน่ะ มันจะมีความร่มเย็น ความสงบระงับขนาดไหนมันก็เป็นเรื่องโลก เพราะมันไม่ได้ชำระกิเลส นี่คำว่า “โลก”

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ มาทั่วหมดแล้ว เวลาจะตรัสรู้เองโดยชอบก็ตรัสรู้เองโดยหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย้อนกลับมาอานาปานสติ เวลาย้อนกลับมา จิตมันสงบเข้าไปมันรู้มันเห็นของมัน เวลารู้เห็นในหัวใจของตัว สิ่งที่ว่ารู้อดีตชาติ ระลึกอดีตชาติได้ไม่มีที่สิ้นสุด เวลาไปถึงที่สุด ย้อนกลับ ดึงกลับ นี่ก็เรื่องโลก เพราะอยู่กับโลก จิตเป็นโลก นี่โลกทัศน์ ความรู้สึกของเรา

บุพเพนิวาสานุสติญาณ ญาณที่เกิดขึ้น บุพเพนิวาสานุสติญาณมันเกิดมาจากไหน? เวลาจิตของเรา จิตแต่ละบุคคลที่ได้เกิดในเวียนตายเวียนเกิดมาแต่ละดวงใจ พระโพธิสัตว์มาจากไหน จิตตายเกิด ตายเกิด นี้สะสมมา ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย มันมาจากไหน เวลาจิตมันสงบเข้าไปมันก็ย้อนอดีตชาติได้ เพราะสิ่งนี้มันสะสมมา นี่ไง นี่ก็เรื่องโลกๆ

ไปถึงไม่มีที่สิ้นสุด ดึงกลับมา พอดึงกลับมา ทำความสงบของใจมากขึ้น จุตูปปาตญาณ ถ้าไม่มีที่สิ้นสุดมันยังไปอีก

เวลาอาสวักขยญาณเกิดขึ้น “อาสวะขัย” อาสวะ เรื่องกิเลสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะอยู่ในหัวใจ เวลามันเกิดวิชชา เกิดการกระทำ นี่จิตที่มันจะบรรลุธรรม ที่มันจะเข้าสู่สัจธรรม มันมีการกระทำของมัน ถ้ามีการกระทำ เห็นไหม จากโลกเป็นธรรม จากโลกนะ ดูสิ เวลาคนเราเกิดมาจากโลก องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดมาจากโลก แต่เวลาเกิดจากโลกนี่เอาเรื่องโลกๆ ประพฤติปฏิบัติขึ้นมา แต่มันพัฒนาการของมันขึ้นไป ถึงที่สุดแล้วมันต้องพ้นจากโลก มันทะลุจากโลกเป็นธรรมขึ้นไปเป็นอย่างไร มันเป็นอย่างไร

เวลามันเป็นจริงขึ้นมา ดูสิ “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นต้องดับเป็นธรรมดา” เวลาอาการของใจ เวลาความรู้สึกนึกคิด เวลาความสุขความทุกข์มันเกิดขึ้นมา “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นต้องดับเป็นธรรมดา”

เวลาดับหมดแล้ว อาสวักขยญาณทำลายทุกอย่าง ทำลายอาสวักขยญาณ ทำลายหัวใจจนหมดสิ้น ทำลายอวิชชาจนสิ้นไปจากดวงใจ จากความรู้สึกทั้งหมด จากภพ จากภวาสวะ จากกิเลสวะ จากอวิชชาสวะ “อาสวักขัย” สิ่งต่างๆ ที่เป็นความรับรู้ในหัวใจ ทำลายหมดเลย

เวลามันเข้าไปสู่ธรรม ธรรมมันคืออะไร? เวลาเข้าไปสู่ธรรมแล้ว เห็นไหม “ธรรมเหนือโลก” พอธรรมเหนือโลก นี่ไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า “ธรรมเหนือโลก” มันเหนือความจินตนาการ เหนือการคาดหมายทั้งหมด

“ผู้ใดปฏิบัติธรรมด้นเดาธรรม คนนั้นจะได้ธรรมะด้นเดา”

“ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม” การสมควร สมควรอย่างใด?

นี่ไง ตรัสรู้เองโดยชอบ นี่ถ้ามันเป็นธรรม สิ่งที่เป็นธรรม แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมและวินัยไว้นะ ธรรมและวินัย วางธรรมไว้ เวลาไปเทศนาว่าการ ไปเอาปัญจวัคคีย์

“อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ”

“สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายต้องดับเป็นธรรมดา”

ธรรมดาอย่างไร? ธรรมดาคนที่รู้ ถ้าคนที่รู้ เราก็นกแก้วนกขุนทอง เกิดดับ เกิดดับ...ก็ไฟฟ้าไง เปิดปิด เปิดปิด มันก็เกิดดับ เกิดดับ แล้วเกิดดับอะไร เกิดดับมันได้ผลสิ่งใด ได้ผลแล้วได้เปิดความสว่างไสวให้เราได้รู้เห็นสิ่งต่างๆ เวลาไฟดับมันก็มืดบอด ทำอะไรไม่ได้ เกิดดับอย่างนั้นเหรอ เกิดดับนี่ไฟฟ้ามันเป็นไฟฟ้า

แต่ถ้ามันเกิดดับ อะไรมันเกิดดับ แล้วมันทุกข์สิ่งใด แล้วมันมีอะไรฝังในหัวใจอย่างใด

นี่ไง “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นต้องดับเป็นธรรมดา” เป็นธรรมดาเพราะจิตใจของพระปัญจวัคคีย์ได้อุปัฏฐากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ ๖ ปี ได้ทำความร่มเย็นเป็นสุข ได้ความเข้มแข็งของใจ ได้ทำทุกอย่างพร้อมหมดแล้ว พอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธรรมก็มีดวงตาเห็นธรรม

พอดวงตาเห็นธรรม ดวงตาเห็นธรรมมันถึงเข้าใจได้ มันถึงเข้าใจธรรมได้ แต่ถ้าไม่มีดวงตาเห็นธรรม แล้วเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการต่อไป จนปัญจวัคคีย์เป็นพระโสดาบันทั้งหมด เทศน์อนัตตลักขณสูตร นี่เป็นพระอรหันต์ทั้งหมด

พูดถึงเวลาปฏิบัติไป มันจะเข้าสู่ธรรมได้มันต้องสู่ความจริง ถ้ามันไม่มีความจริง มันเข้าสู่ธรรมไม่ได้ ถ้ามันเข้าสู่ธรรมไม่ได้ มันก็เข้าได้แต่เรื่องของโลกๆ คำว่า “เรื่องของโลกๆ” นี่รู้ได้ สิ่งที่รู้ได้เท่าที่โลกรู้ รู้ได้เท่าที่โลกรู้คืออะไร? โลกรู้ก็คือความรู้สึกเรานี่แหละ รู้ได้ด้วยโลก เราเกิดมาเป็นโลกไหม? เป็น

อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ เพราะมีอวิชชามันถึงได้มีการเกิด การเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย เพราะมีการเกิด พอมีการเกิดขึ้นมานี่เป็นโลก เพราะเราเกิดมาโดยกรรม เกิดมาในวัฏฏะ นี้โลกทั้งนั้น แล้วเรามาศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศึกษาโดยอะไร? ก็ศึกษาโดยโลก ถ้าศึกษาโดยโลก เราก็รู้ได้ด้วยทางวิชาการ

ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดานะ ธรรมและวินัยเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเราศึกษาแล้วเรารู้อะไร เราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่เรารู้ธรรมอะไร มันเป็นความจำทั้งนั้น มันเป็นการจินตนาการทั้งนั้น ถ้ามันการจินตนาการเราก็ตีความของเรา การตีความนี่เรื่องโลกทั้งนั้น แล้วเรื่องโลกมันรู้ มันมีขีดจำกัดของมันไง

เรื่องโลกเป็นมิติหนึ่ง มิติของความเป็นโลกนี่ล่ะ ทีนี้ มิติของความเป็นโลก ถ้าเราศึกษาแค่ไหน เราประพฤติปฏิบัติเข้าไป ถ้าจิตใจของเรายังไม่ทะลุไป ยังไม่เข้าสู่ธรรม มันจะเป็นโลกหมด ถ้าเป็นโลก เห็นไหม มันมีขีดจำกัด มันมีขีดจำกัดที่เรารู้ไม่ได้ เรารู้เรื่องธรรมไม่ได้เลย ทั้งๆ ที่ศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วทำวิจัยได้หมดนะ ทำทางวิชาการได้หมด ผู้ที่ศึกษาแล้วในทางบาลี เขาแต่งบาลีได้ เขาทำทุกอย่างได้ เขาแปลได้หมด แปลออกมาแล้วเป็นอะไร? แปลก็เป็นความเข้าใจ เข้าใจคืออะไร? เข้าใจก็คือโลก เพราะเราเข้าใจ

โลกคือหมู่สัตว์ โลกคือภวาสวะ โลกคือความรู้สึกของเรา นี่ไง ปฏิสนธิจิต เพราะมันมีจิตใช่ไหม จิตมันเวียนตายเวียนเกิดในวัฏฏะใช่ไหม มันเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม เวลามาเกิดเป็นมนุษย์ เกิดในนรกอเวจี จิตมันมาเกิด นี่ ๓ โลกธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ผลของวัฏฏะ มันหมุนไปในโลกนี่แหละ พอหมุนไปในโลก แล้วสิ่งที่เป็นโลก ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาพิจารณาเรื่องอดีตชาติ พิจารณาไปมันไปไหน มันก็เป็นเรื่องโลกนั่นน่ะ จุตูปปาตญาณก็ยังเป็นโลกอยู่ เพราะมันเป็นผลของวัฏฏะ นี่มันหมุนกับโลก

ทีนี้ จิตเรามันเป็นโลก ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา เทศนาว่าการเทวดา อินทร์ พรหม มาฟังเทศน์นะ มาฟังเทศน์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการทีหนึ่ง เทวดาสำเร็จเป็นหมื่นเป็นแสน นี่สำเร็จเป็นหมื่นเป็นแสน นี่ไง แม้แต่จิตวิญญาณก็เป็นโลก เทวดาก็เป็นโลก แต่เวลาฟังธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วประพฤติปฏิบัติตาม นี่มันทะลุไปเป็นธรรม

ถ้าเป็นธรรมมันจะเข้าใจสัจธรรม มันจะพูดเป็นประสาธรรม แม้แต่ถ้าเราเป็นโลก ดูสิ ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่เป็นธรรมไหม ทุกคนก็บอก ก็นี่ไง พระไตรปิฎกชัดเจนหมด จำได้หมด จำได้ทุกอักษร ความรู้สึกรู้หมด อธิบายได้หมด

แต่ไม่รู้ ไม่รู้ ไม่รู้ว่ามันเป็นจริงอย่างใด

ถ้ารู้นะ คนรู้พูดนะ ถ้าคนเป็นธรรมพูดธรรมะเป็นสัจธรรม สัจธรรมเพราะว่าอะไร เพราะมันรู้จังหวะจะโคน จิตที่มันเป็นไปมันมีจังหวะจะโคนของมัน

ดูสิ เวลาเราเกิดมานะ เราเกิดมา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดมาก็โลก เกิดมาจากพระเจ้าสุทโธทนะกับพระนางสิริมหามายา เกิดจากพ่อจากแม่ เห็นไหม เกิดมาเป็นทารก เกิดมาเป็นเด็กน้อย เกิดมามีการศึกษา เกิดมามาสร้างสมปัญญาขึ้นมา เกิดมาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา นี่โดยโลกทั้งนั้นน่ะ

แต่เวลาปฏิบัติเป็นธรรมขึ้นมาแล้ว มันเข้าใจโลกและธรรม สิ่งใดเป็นโลก สิ่งใดเป็นธรรม สิ่งใดเป็นโลกนะ พูดออกมา ดูสิ ฝนตกแดดออกนี่เป็นโลก แต่ถ้าเป็นธรรมล่ะ เป็นธรรม เห็นไหม ใจผู้ที่เป็นธรรม ฝนตกแดดออกมันเป็นไปโดยผลของวัฏฏะ มันเป็นผลของวัฏฏะ แต่จิตใจมันไม่เกาะเกี่ยวกับมัน ถ้าจิตใจไม่เกาะเกี่ยวกับมัน มันเข้าใจหมดไง ฝนจะตก แดดจะออก โลกนี้จะทลาย นี่มันเป็นเรื่องของโลก ไม่เกี่ยวกับธรรมเลย

ธรรมในหัวใจ แล้วเวลาธรรมมันจะเกิด มันเกิดอย่างไร ถ้ามันจะเกิดเป็นธรรมขึ้นมา ดูสิ มันจะทะลุจากโลกเป็นธรรม มันต้องมีความรู้จริงของมัน ถ้ามีความรู้จริงของมัน เวลาจิตมันก้าวเดินของมันไปเป็นชั้นเป็นตอน มันจะทะลุจากโลกไปธรรมนะ ถ้ามันจะทะลุจากโลกไปธรรม มันจะเข้าใจเรื่องธรรม ถ้ามันยังไม่ทะลุจากโลกไปธรรม มันเป็นโลกหมด ถ้าเป็นโลกคือสัญญา คือความจำได้หมายรู้ คือการจินตนาการ

เวลาศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สุตมยปัญญา จินตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา การภาวนา การศึกษา การภาวนาของเรา การภาวนาคือการศึกษาจากหัวใจนะ ถ้ามันศึกษาของมัน มันมีความจริงขึ้นไป มันรู้มันเห็นของมัน แล้วถ้าสิ่งที่รู้ที่เห็น “ทางที่เคยเดิน” ทางที่เราเดินแล้ว ผู้ที่ใครจะเดินในเส้นทางนี้ เส้นทางคือ มคฺโค ทางอันเอก

ถ้า มคฺโค มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร เวลามรรคโคมันเกิดขึ้น ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้ามันจะออกจากโลกนะ ออกจากโลกต้องมีการกระทำ ออกจากโลกได้อย่างไร? ออกจากโลกเพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นไก่ตัวแรก เจาะฟองอวิชชาออกมา มันมีเหตุมีผล องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นไก่ตัวแรก เจาะฟองอวิชชาออกมา

เราก็เป็นไก่สิ นี่เป็นบุคลาธิษฐาน บุคลาธิษฐานว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์องค์แรก แล้วในบรรดาสัตว์ ๒ เท้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเสริฐที่สุด ไม่มีใครประเสริฐเท่ากับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ประเสริฐเพราะเหตุใด? ประเสริฐเพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างสมบุญญาธิการมานะ อำนาจวาสนาสร้างมาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สิ่งนี้ใครเทียบเคียงไม่ได้ พวกเราสาวก-สาวกะ แม้แต่สร้างบุญญาธิการมาขนาดไหน ถ้าได้ฟังเทศน์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้าใจนี่มีบุญแล้ว แล้วเวลาฟังเทศน์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้าใจไหม? เราฟังไม่เข้าใจหรอก

เราเห็นสังคมหมู่ใหญ่ ดูสิ สังคมหมู่ใหญ่ ดูพระปฏิบัติเป็นอย่างไร ในสังคมของพระ ดูสิ ในธรรมวินัย ถ้าใครเข้ามาถึงธรรมวินัยแล้วเป็นคนดีหมด แล้วเวลาพระเข้ามา บวชเข้ามามันเป็นดีจริงๆ ไหมล่ะ ในสังคมหมู่ใหญ่ เวลาเรามองเข้าไปแล้วเรารับได้ไหม แต่ถ้ามันเป็นคนที่เขามีคุณธรรมในหัวใจของเขานะ เขารู้ว่าสังคมหมู่ใหญ่ ในทุกสังคมมันมีดีและชั่ว ในเมื่อมันมีดีและเลว ถ้ามีดีและเลวเขาต้องเลือกคัดแยกเขาสิ

เรารู้นะ ทางโลก เรารู้ว่าร้านอาหารไหนเป็นร้านอาหารที่มีคุณภาพมาก มีชื่อเสียงมาก มีทั้งคุณภาพ เวลาเราไปอย่างนั้น ถ้าร้านอาหารนั้นเขาแบบว่าของเขาเสียหาย วัตถุดิบของเขาบูดเน่า เวลาเขาทำให้เรากิน มันจะเป็นประโยชน์ไหมล่ะ

นี่ก็เหมือนกัน สิ่งที่ว่าเราได้ยินแต่ชื่อ แต่จังหวะ โอกาสที่เราได้พบได้เห็นเราต้องคัดเลือก เราต้องแยกแยะ เราต้องพิจารณาของเราว่าสิ่งใดจริงหรือสิ่งใดปลอม ถ้าเราคัดเลือกแยกแยะว่าสิ่งใดจริง สิ่งใดปลอม นี่สังคมหมู่ใหญ่ก็เรื่องของสังคมหมู่ใหญ่ เพราะมันผลของวัฏฏะ มันเป็นสภาคกรรม กรรมที่เกิดร่วมกันในวัฏฏะ

แล้วพอเกิดร่วมกันขึ้นมา เราเกิดมาพบพระพุทธศาสนา เกิดเป็นชาวพุทธ พบพุทธศาสนา อันนี้มีบุญกุศลมหาศาลแล้ว แล้วเราต้องคัดเลือก แยกแยะว่ามันเป็นจริงหรือมันเป็นไม่จริง ถ้ามันเป็นไม่จริงนะ มันศึกษาธรรมโดยโลก

ถ้าศึกษาธรรมโดยโลก มันก็เอาโลกเข้าไปตีความ แล้วไม่กล้ากระทำสิ่งใดให้มันเป็นตามเป็นจริง คำว่า “ตามเป็นจริง” เวลาจิตมันประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เวลามันทุกข์มันยากขึ้นมา เราเกิดมามันมีกิเลสอวิชชาบีบคั้นมันอยู่โดยธรรมชาติของมันอยู่แล้ว เวลาเกิดมาจะมั่งมีศรีสุข ทุกข์จนเข็ญใจขนาดไหน มันคืออริยสัจ คือทุกข์ทั้งนั้นน่ะ

ทุกดวงใจเผชิญหน้ากับทุกข์ ทุกดวงใจ ทุกชีวิต ทุกสิ่งที่มีการเกิดและการตาย ไม่มีดวงใจเกิดมาแล้วไม่มีทุกข์หรอก เป็นไปไม่ได้

ถ้ามันเป็นไปไม่ได้แล้ว ถ้าเราเกิดมาเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา เรามีสัจธรรมอยู่ในหัวใจของเราอยู่แล้ว ถ้าเราไปศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราศึกษาแล้วเรามีหลักมีเกณฑ์ไหมล่ะ ถ้าเรามีหลักมีเกณฑ์ขึ้นมา เราจะเริ่มมีการกระทำของเรา ถ้ามีการกระทำของเรา ถ้ามันมีสติขึ้นมา มันเริ่มยับยั้ง ยับยั้งสิ่งที่ว่า เป็นทุกข์ๆ สิ่งที่เป็นทุกข์นะ ถ้าเรามีสติปัญญา เรามีคำบริกรรมของเรา เรามีปัญญาอบรมสมาธิของเรา ถ้าจิตมันสงบระงับขึ้นมา แค่จิตสงบระงับมันก็ปล่อยวางทุกข์แล้ว

ทุกข์เพราะอะไร? ทุกข์เพราะความฟุ้งซ่าน มันความฟุ้งซ่าน ความบีบคั้นในใจ ถ้าจิตมันสงบเข้ามามันปล่อยวางสิ่งนั้นเข้ามา ถ้ามันปล่อยวางสิ่งนั้นเข้ามา ถ้าผู้ที่ไม่มีอำนาจวาสนาบารมีนะ เวลาจิตสงบเข้ามาเป็นสมาธิก็ว่าสิ่งนั้นเป็นนิพพานแล้ว มันจะนิพพานมาจากไหน ในเมื่อมันมีสิ่งใดที่มันบีบคั้นหัวใจอยู่ เวลาเป็นสมาธิมันก็มีความร่มเย็นเป็นสุข เวลามันคลายตัวออกมาแล้ว คนที่มีอำนาจวาสนาบารมีเขาจะมีสัจจะ เขาจะมีสัจจะกับความเป็นจริงในหัวใจของเขา เขาไม่ให้ค่า หรือเขาไม่ให้คะแนนตัวเองจนมากเกินไป แต่เวลาเราทำ เราทำตามความเป็นจริงของเรานะ

แต่ถ้ามันสงบระงับขึ้นมา มันเป็นแค่พื้นฐานนะ รู้จักว่าจิตสงบหรือไม่สงบ ถ้าจิตมันสงบ พอจิตมันสงบ มันมีหลักมีเกณฑ์ของมัน พอมีหลักมีเกณฑ์ของมัน ถ้ามันออกใช้ปัญญาของเขา ใช้ปัญญาของจิตดวงนั้น ถ้าจิตดวงนั้นออกหัดใช้ปัญญา

การใช้ปัญญา นี่ปัญญาในอะไร? ปัญญาในการแยกแยะไง แยกแยะว่าสิ่งใดที่ให้จิตใจนี้ข้องเกี่ยว ถ้าเราจะทะลุจากโลกไปธรรมมันต้องมีเหตุมีผลของมัน ถ้ามีเหตุมีผลของมัน มันมีจังหวะจะโคน แล้วมันมีสิ่งที่ว่าเวลามันจังหวะจะโคน มีการกระทำ แล้วมีการกระทำ เห็นไหม ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ นี่มันเลื่อนลอย มันมีแต่สัญญาอารมณ์ มันมีแต่คารม มันมีสิ่งที่ว่าเชื่อกันไปโดยศักยภาพ โดยความเชื่อของเขา แต่มันไม่มีความจริง

ถ้าไม่มีความจริง เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษาแล้วมันไม่มีเหตุมีผล มันวางหมดล่ะ แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาประพฤติปฏิบัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง เห็นไหม มันมีเหตุมีผล มันมีการกระทำ

จากโลกมันบ่มเพาะ บ่มเพาะจนจิตมีหลักมีเกณฑ์ พอจิตมีหลักมีเกณฑ์ มันใช้พิจารณาของปัญญา ที่ว่า อาสวักขยญาณ มันคืออะไร? สิ่งที่เป็นอาสวักขยญาณมันมีอริยสัจของมัน มรรค ๘ มันมีอะไร? มันมีดำริชอบ ดำริความเห็น มันมีงานชอบ เพียรชอบ งานชอบ งานที่เราทำไปเป็นงานเป็นการ เป็นชิ้นเป็นอันขึ้นมานี่งานชอบ

แล้วนี่งานมันชอบหรือไม่ชอบล่ะ? งานมันเป็นอดีตอนาคต มันส่งหน้าไป มันอยู่ในอดีต มันวิตกกังวลไปต่างๆ มันไม่ชอบหรอก มันไม่ลงไปปัจจุบัน ไม่ลงในงานชอบนั้น อริยสัจนั้นมันก็ไม่มัชฌิมาปฏิปทา มันไม่สมควรของมัน

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา พอมันสิ้นสุดกระบวนการของมันแล้วมันเป็นความลึกลับมหัศจรรย์ ลึกลับ

ในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปรินิพพาน “อานนท์ ไม่มีกำมือในเรานะ” เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธรรมนี่ไม่มีความลึกลับเลย ไม่มีความลึกลับเพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้จริง ใจเป็นธรรมจริงๆ เป็นศาสดาของเรา มีความเมตตาจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ บอกความจริงกับเรา

แต่เรารู้โดยโลก รู้โดยสัญญาอารมณ์ รู้โดยความจำ แล้วก็จะให้ค่า ต้องเป็นอย่างนั้น ต้องทำอย่างนั้น ให้เป็นแบบนั้น มันเป็นไปไม่ได้หรอก มันเป็นไปไม่ได้ที่ว่าเชาวน์ปัญญา เชาวน์ปัญญาในการตรึกตรองในหัวใจมันไม่ลงในร่องเดียวกัน เราใช้การเปรียบเทียบโดยโลกของเรา

“โดยโลก” เพราะจิตมันมีทิฏฐิ จิตมันมีอวิชชา จิตมันมีสิ่งที่มันยึดมั่นถือมั่นของมัน แล้วมันทำสิ่งใดก็กลัวตัวเองจะหลุดออกไปจากโลก กลัวตัวเอง ดูสิ เราไปยืนอยู่บนวัตถุสิ่งใดก็แล้วแต่ เรากลัวเราจะหลุดพลัดพลาดจากวัตถุนั้นไป เราไม่กล้าทิ้งตัว ไม่กล้าทำสิ่งใดให้พ้นจากวัตถุนั้นไป โดยสัญชาตญาณของมันเป็นแบบนั้น

ฉะนั้น พอเราศึกษาธรรม ธรรมโดยโลก เราก็พิจารณาของเรา มันพิจารณา

คำพูดคำเดียวกัน เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดถึงขันธ์ ๕ เราก็ว่าขันธ์ ๕ พูดถึงอริยสัจ เราก็อริยสัจ พูดถึงมรรค เราก็มรรค แต่มรรคของใครไม่รู้ เพราะอะไร

เพราะเวลาเราพูดถึงมรรคใช่ไหม มรรค ๘ การเลี้ยงชีพชอบ การทำงานชอบ เราทำอะไรชอบ? เราก็บอกเราทำสัมมาอาชีวะชอบ เราประกอบสัมมาอาชีวะชอบ เลี้ยงชีพชอบ เลี้ยงชีพเราก็มองชีพถึงชีวิตของเราไง แต่เวลาประพฤติปฏิบัติเข้าไป เลี้ยงชีพ เห็นไหม ดูสิ ชีวะ ชีวะคือจิตหนึ่ง ถ้ามันมี พลังงานมันเกิดที่ไหน จิตมันเกิด มันมีอะไรเป็นอาหารของมัน มันมีสิ่งใดเป็นประโยชน์กับมัน

ดูสิ ในวัฏฏะ อาหาร ๔ กวฬิงการหาร มโนสัญเจตนาหา ผัสสาหาร วิญญาณาหาร อาหารของจิตที่มันเกิดในวัฏฏะนี้ ในวัฏฏะนี้มีอาหาร ๔ แล้วอาหาร ๔ แล้วจิตมันกินอะไรเป็นอาหาร นี่พูดถึงคืออาหาร ๔ นะ แล้วเราจะประพฤติปฏิบัติขึ้นไปให้จิตมันเป็นธรรมขึ้นมา มันจะกินอาหารโลกๆ อย่างนี้ กินอาหารที่มันรับรู้กันอยู่โดยสัญชาตญาณที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์นี่มีธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ คือความรู้สึกนึกคิด รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่มันเป็นสื่อ สิ่งที่มันเป็นภาษาพูด มันเป็นสื่อกัน เราศึกษาธรรมด้วยสิ่งอย่างนี้หรือ แต่มันก็ต้องเป็นอย่างนี้ไปเพราะเราเกิดมาจากโลก

ถ้าเราเกิดมาจากโลกแล้วถ้าเราพิจารณา เราศึกษามาแล้วเป็นสุตมยปัญญา แต่ถ้าเราประพฤติปฏิบัติขึ้นไปถ้าจิตมันเป็นจริงขึ้นมา เป็นจริงขึ้นมามันจะสงบระงับเข้ามา ถ้าสงบระงับเข้ามา เห็นไหม การคาด การหมาย การจินตนาการมันไม่มี อย่างจินตมยปัญญา จินตนาการ แล้วในธรรม แล้วเราพิสูจน์ของเรา จิตมันร่มเย็นไหม จิตมันเป็นไปจริงไหม ถ้าเป็นจริง จากจินตมยปัญญา แล้วถ้าจิตมันสงบเข้ามา มันไม่ใช่จินตมยปัญญาแล้ว เพราะมันมีพร้อมไง มันมีดำริชอบ งานชอบ เพียรชอบ มันชอบของมัน ชอบเพราะอะไร ชอบเพราะมันฝึกฝน

พอมันฝึกฝนขึ้นมา มันพิจารณาของมัน มันเห็นขั้นตอนของมัน พอเห็นขั้นตอนของมัน พิจารณาไป ถ้าคนมีปัญญานะ พอพิจารณาไปแล้วมันจะปล่อยวาง มันจะปล่อยวางของมัน ถ้ามันปล่อยวางนะ ถ้ามันเป็นสมถะ คือว่าเราฝึกหัดเริ่มต้น ถ้าฝึกหัดเริ่มต้นมันปล่อยวางขนาดไหน มันปล่อยวางเข้ามาสู่ตัวมันเอง ปล่อยวางเข้ามาสู่จิต ถ้าปล่อยวางเข้ามาสู่จิต จิตก็เป็นเอกัคคตารมณ์ จิตก็ตั้งมั่น จิตก็มีกำลัง ถ้าจิตมีกำลัง จิตออกพิจารณาของจิตซ้ำไปๆ

คำว่า “ซ้ำไป” เพราะพิจารณากายเหมือนกัน แต่พิจารณากายโดยสมถะ พิจารณากายโดยเรารู้กายเห็นกาย ดูสิ บอกพิจารณากายก็จับกายนึกเอา นึกเห็นกายทำสิ่งใด...นึกเห็นกายนะ ถ้าโดยทางโลก ดูสิ เราเห็นสิ่งที่มันเน่าเสีย สิ่งที่มันดูซากศพ ศพไร้ญาติ ศพที่แบบว่าอนาถา เวลาเขาตายนี่หนอนยุบยับ เราไปเห็นแล้วเรากระอักกระอ่วน เราก็รู้สึกว่ามันมีแรงขับในความรู้สึกเรา นี่มันเป็นเรื่องโลกๆ ขนาดโลกๆ นะ เราก็ยังกระอักกระอ่วนนะ ยังเห็นนะ

คนที่ภาวนาไม่เป็น เวลาเขาช่วยเหลือเจือจานกัน เขาจะเอารูปอสุภะ เอารูปอสุภะมันกระดาษน่ะ กระดาษถ่ายรูป ถ้ารูปอสุภะอย่างนั้นมันก็รูปอสุภะ แต่ถ้ามันเป็นอสุภะจากหัวใจนะ มันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง นี่มันทำให้คนประมาทเลินเล่อ

ดูสิ ในสมัยพุทธกาลนะ สมัยโบราณเรา คนจะไปเที่ยวป่าช้า เวลาเขาไปดูซากศพ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนว่าให้เดินขึ้นไปเหนือลมนะ อย่าเดินไปใต้ลม เพราะเดี๋ยวได้กลิ่นก่อน พอได้กลิ่นแล้วมันก็เกิดกระอักกระอ่วน ให้เดินไปเหนือลม ถ้าจิตมันสงบระงับแล้วนะ ให้พิจารณาซากศพ ถ้าพิจารณาซากศพแล้วหลับตาลงมันเกิดนิมิตไหม มันเกิดเห็นภาพนั้นไหม ถ้าเกิดเห็นภาพนั้นให้กลับไปที่อยู่ของตัว แล้วให้พิจารณา เพราะเห็นภาพนั้นน่ะคือเห็นกายจริง

แต่ของเรา เราเห็นกายกัน แล้วเดี๋ยวนี้ปฏิบัติมันจะเป็นโลกไปหมดไง มันจะปฏิบัติเป็นโลก เห็นไหม เวลาที่ไหนมีการปฏิบัติเราก็จะส่งเสริมกัน เราก็จะส่งเสริมอึกทึกครึกโครม กลายเป็นตลาดเลย มันก็กลายเป็นธุรกิจ เป็นการค้า กลายเป็นเรื่องโลกๆ ไปหมดเลย พอเรื่องโลกปฏิบัติธรรม ปฏิบัติธรรมโดยโลก แล้วทำเพื่ออะไร? ทำเพื่อเป็นพิธีกรรม ทำเพื่อให้ได้ทำ ให้ได้มีการกระทำ ไม่ใช่ให้ได้ธรรมในหัวใจ

ถ้าได้ธรรมในหัวใจ ดูสิ เวลาเราออกไปเที่ยวป่าช้าไปกับใคร? ไปคนเดียว เวลาไป นักปฏิบัติหรือพระองค์ใดไปองค์หนึ่งไปองค์เดียว มันเสียวสันหลังไปทั้งนั้นน่ะ โดยสัญชาตญาณของจิตทุกดวงจิต จิตทุกดวงจิตมันกลัวในความลึกลับ กลัวในความมืด กลัวไปหมด เพราะเวลาขยับออกไปมันจะมีความเสียวสันหลังไปหมดเลย

แล้วเวลาไป เห็นไหม นี่คืออะไร? เวลาเราบอกว่า เวลาเราพิจารณาเข้าไป เราบอกว่า มันมีเวทนา มันเจ็บปวดอย่างนั้น กลัวมันคืออะไร? กลัวมันก็คือเวทนาไง นี่เวทนาของจิต เวลาจิตมันจะเข้าไปเอาสู่ความจริงมันก็ละล้าละลังไปหมด ห่วงหน้าพะวงหลัง กลัวผี กลัวสาง กลัวเจ็บไข้ได้ป่วย กลัวเชื้อโรค กลัวไปหมดเลย

แต่ถ้ามีสติปัญญา กลัวก็บังคับ บังคับให้เข้าไปพิจารณา ถ้าจิตมันดีนะ จิตมันดีหมายถึงมีพื้นฐาน ถ้าจิตมันดี มันมองไปที่ซากศพ แล้วหลับตาลง ภาพนั้นจะติดมา ถ้าภาพนั้นติดมา ถ้าจิตมันมีกำลังของมันนะ มันให้เป็นอุคหนิมิต แล้วมันเป็นวิภาคะ คือขยายส่วนแยกส่วน นี่ไง มันมีการกระทำ เวลาจิตจะเข้าสู่ธรรม มันมีการกระทำของจิต ถ้าจิตมีการกระทำของจิต มันได้ฝึกหัดของมันใช่ไหม เวลาเราทำความสงบของใจเรายังต้องมีสติปัญญาของเราขนาดนี้ แต่เวลาเราพิจารณาของเราขึ้นไป พิจารณาเพื่ออะไร? เพื่อเข้าสู่ธรรมแล้วนะ

นี่ไง “รู้ได้แค่ที่โลกรู้” โลกรู้ได้แค่ที่โลกรู้ โลกคืออะไร? โลกคือทิฏฐิมานะ โลกคืออวิชชา โลกคือสัญชาตญาณมันรู้ได้แค่นี้ มันเข้าสู่ธรรมไม่ได้ ถ้าเข้าสู่ธรรมไม่ได้ ฟังธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เป็นนกแก้วนกขุนทอง พูดกันแจ้วๆ ธรรมะที่บุคคลพูดหมดเลย แต่พฤติกรรม อวิชชาในหัวใจไม่ได้ถลอกปอกเปิก ไม่ได้มีอะไรไปแตะต้องมันเลย ถ้าไม่ได้แตะต้องมัน เห็นไหม มันจะวินิจฉัยธรรมะให้ถูกต้องได้อย่างไร คนที่จะวินิจฉัยธรรมะได้ถูกต้อง เขาต้องผ่านกระบวนการนั้นมา ถ้าผ่านกระบวนการนั้นมา เห็นไหม ถ้าไม่รู้พูดไม่ได้ ไม่รู้เขียนไม่ได้ ไม่รู้บอกไม่ได้

แต่ทำไมบอกกันปากเปียกปากแฉะ บอกปากเปียกปากแฉะนะ เพราะมันโกหกตัวเองไง เพราะมันโกหกตัวเอง ถ้าเราไม่โกหกตัวเอง เห็นไหม นี่เป็นธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ แต่เราไม่รู้อะไร เราพูดแทน...มีใครกล้าพูดบ้าง บอกว่าเราไม่รู้อะไร

สมอ้าง รู้กันไปทั้งนั้น แต่พูดออกมาผิดๆ พูดออกมาไม่ตรงตามความเป็นจริง

นี่ไง “รู้ได้แค่ที่โลกรู้”

โลกคืออะไร? โลกคือหมู่สัตว์ โลกคือโลกทัศน์ โลกคืออวิชชา โลกคือกิเลส มันไม่เป็นความจริงหรอก แต่ถ้ามันประพฤติปฏิบัติขึ้นมา มันมีความจริงของมัน จากโลกจะเข้าสู่ธรรม ธรรมมันเหนือโลก ถ้าธรรมมันเหนือโลกนะ ผู้ที่พิจารณาของเรา พิจารณาร่างกาย อุคหนิมิต เวลามันเกิดขึ้น ถ้ามีกำลังของมัน มันจะแยกส่วนขยายส่วน นี่พูดถึงพิจารณากาย

ถ้าพิจารณาเวทนาล่ะ ถ้าพิจารณาเวทนา เวทนากาย เวทนาจิต ถ้าเวทนากาย นั่งก็ปวด เจ็บปวดเมื่อยเข้าไป แต่ถ้าจิตล่ะ จิตมันละล้าละลังของมัน จิตละล้าละลัง ไม่ต้องทำสิ่งใดเลยจิตมันก็เฉา มันก็เหงา มันก็หงอยของมันอยู่ของมัน มันอ่อนเพลียของมัน แล้วพิจารณาของเรา มันพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ มันมีการกระทำของมัน สิ่งที่มีการกระทำมันเป็นการยืนยัน

เราเกิดมา เกิดมาในโลกนะ จิตนี้เป็นโลก ถ้ายังเป็นปุถุชนอยู่ คำว่า “ปุถุชน” เกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม เป็นมนุษย์ เป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นในนรกอเวจี นี่มันเป็นปุถุชนทั้งนั้นน่ะ เพราะมันเป็นไปตามเวรตามกรรม แต่เวลาเราพิจารณาขึ้นมา นี่คือการกระทำ สมถกรรมฐาน กรรมฐาน กรรมคือการงาน หน้าที่การงานของจิต จิตมันได้ทำงานของมัน

นี่ไง พระปฏิบัติ พระกรรมฐาน นี่เขาปฏิบัติด้วยดวงใจ ดวงใจ ความรู้สึกนึกคิดนี่มันพิจารณาของมัน จนจิตนี้ตั้งมั่น จนจิตนี้เป็นสมาธิเขาก็รู้ว่าจิตนี้เป็นสมาธิ ถ้าจิตไม่เป็นสมาธิ เราทำสิ่งใดหลุดไม้หลุดมือ เราทำสิ่งใดมันจะไม่เป็นผลของจิตดวงนั้นเลย เราก็ล้มลุกคลุกคลาน

เราปฏิบัติมาทุกคนก็หวังนะ เราเป็นชาวพุทธ เราก็อยากจะพ้นจากทุกข์ ยิ่งมีครูบาอาจารย์ที่ชี้นำอยู่อย่างนี้เราก็อยากปฏิบัติขึ้นมา ดูสิ ถ้าเรามีหมอ หมอที่ผู้ชำนาญการในการรักษาโรค เราเจ็บไข้ได้ป่วย เราอยากหาหมออย่างนั้น ให้หมอรักษาเราอย่างนั้น เราอยากจะหายจากโรค

แต่ถ้าเวลาไม่มีหมอ มีแต่โรงพยาบาล โรงพยาบาลคือโลก โรงพยาบาลคือวัตถุ ในพุทธศาสนามีวัดมีวา มีอาราม ศาสนวัตถุ มีแต่เรื่องโลกๆ แต่ไม่มีหมอ ไม่มีหมอก็คือไม่มีผู้รู้จริงไง ถ้าไม่มีผู้รู้จริง ไม่มีผู้ที่วินิจฉัยโรค ไม่มีผู้ที่วิเคราะห์โรค ไม่มีผู้ที่ให้ยา เราก็ต้องกระเสือกกระสนทำของเราไปกันเอง

แต่ในปัจจุบันนี้ สมัยที่หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์ของเราท่านมีหลักมีเกณฑ์ ท่านเป็นหมอ หลวงปู่มั่นท่านพูดประจำนะ บอก “หมู่คณะให้ปฏิบัติมานะ การแก้จิตมันแก้ยาก ผู้เฒ่าจะแก้ว่ะ” ผู้เฒ่าจะแก้คือแก้โรคเรานี่ โรคขี้ตู่ โรคที่มันอยากอวดรู้ พูดไปโดยที่ไม่รู้ พอพูดไปโดยไม่รู้มันก็ทำ

นี่ไง รักษาโรคด้วยหมอพาณิชย์ เลี้ยงไข้ หาเงินหาทอง คนเป็นไข้ก็ทำหน้าที่การงานมาหาเงินไปให้หมอเป็นค่ายา แล้วไอ้หมอก็เลี้ยงไข้ ไอ้หมอพาณิชย์นั่นน่ะ มันไม่รู้จริง ถ้าหมอเขารู้จริงนะ เขารักษาตามอาการ เพราะเราก็ชีวิตหนึ่ง เขาก็ชีวิตหนึ่ง ทุกคนก็ไม่อยากจะมีโรคภัยไข้เจ็บ ทุกคนก็อยากจะเข้มแข็งทั้งนั้นน่ะ

ฉะนั้น สิ่งที่เป็นครูบาอาจารย์ที่เป็นจริง ท่านให้ยาจริงๆ พอให้ยาจริงๆ ขึ้นมา เวลาไปหาหมอครั้งแรก ทุกคนบอกว่า “หมอ หายไหม” เวลาหมอเขาให้ยาแล้ว เราต้องรู้สิว่าเราได้กินยานั้นไหม เราได้ประพฤติปฏิบัติตามนั้นไหม นี่ก็เหมือนกัน เวลาปฏิบัติขึ้นมา เรามีสติไหม เราได้ทำใจเรามั่นคงไหม เรามีความเข้มแข็งที่จะฝ่าวิกฤตในหัวใจที่มันล้มลุกคลุกคลาน ที่มันไม่สมประกอบ ที่มันไม่ยอมกระทำ

เวลามันไม่ยอมกระทำนะ เฉยอยู่อย่างนั้นน่ะ ไอ้เราก็บอกว่า “นี่ไง สมาธิ นี่ไง มีปัญญา” ปัญญาอะไร แต่ถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมา เราทำของเรา ครูบาอาจารย์ท่านให้ยาแล้ว ท่านให้ยา เห็นไหม “ให้ทำซ้ำลงไป” เวลากินยาก็อ้าปากสิ แล้วเอายากกรอกเข้าไปในปาก แล้วกลืนลงไปมันก็จะเข้าสู่ร่างกายนั้น

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าตั้งสติขึ้นมา ถ้ามีคำบริกรรมขึ้นมา นี่กลืนมันลงไปสิ พุทโธๆ ปัญญาอบรมสมาธิทำให้จริงๆ สิ ถ้าทำให้จริงๆ ขึ้นไป ถ้ามันกลืนลงไป นี่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธานุสติ พุทโธๆ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ แล้วเกิดจิตมันสงบแล้วให้วิปัสสนา ทำให้มันจริงๆ สิ

ถ้าทำให้มันจริงขึ้นมา เวลาเป็นขึ้นมา เราต้องไปถามใคร เราไม่ต้องไปถามใคร อย่าให้หมอพาณิชย์มาชักจูงเอาแต่ผลประโยชน์จากศรัทธาของเรา เรามีศรัทธา เรามีความเชื่อ เราอยากกระทำ แล้วให้หมอพาณิชย์ให้มันเอาศรัทธาของเราไป เพราะศรัทธาของเราไป พอศรัทธาของเราไป เราปฏิบัติไปแล้วล้มลุกคลุกคลานขึ้นมา...เลิกดีกว่า ทำแล้วก็ไม่ได้ผล

แต่ถ้าเราทำจริงของเรา หมอที่ดีเขาจะให้ส่งเสริม เขาจะให้กำลังใจกับเรา แล้วเขาวางยาถูกต้องหมด วางยาถูกต้องหมดเพราะใจเขาเป็นธรรม เขามีการศึกษา เขาเป็นหมอขึ้นมา เขามีใบประกอบโรคของเขา ไอ้หมอเถื่อนมันไม่มีอะไรทั้งสิ้น ครูพักลักจำ แล้วก็จำสิ่งนั้นมาเพื่อหาผลประโยชน์กับตัว แล้วมันเป็นความจริงไหม? มันไม่เป็นความจริงเลย

ถ้าไม่เป็นความจริง ดูสิ เวรกรรมนะ ในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า ตัวเองหลงยังเป็นส่วนหนึ่ง ถ้าทำให้คนอื่นหลงนะ เวรกรรมมันมากกว่านั้นอีก ถ้าเวรกรรมมันมากกว่านั้น

นี่ไง “รู้ได้แค่ที่โลกรู้” ก็ด้วยสัญญาอารมณ์ ด้วยความรู้สึกนึกคิด แต่มันเป็นจริงไหมล่ะ? มันไม่เป็นจริงเพราะไม่มีความจริงอะไรรองรับนั้น ถ้าไม่มีความจริงรองรับนั้น เห็นไหม เวลาจิตมันสงบแล้ว พิจารณากาย ไปเห็นกาย เห็นอุคหนิมิต ก็มีวิภาคะ ถ้าพิจารณาเวทนา อะไรเป็นเวทนา แต่ถ้าจิตมันไม่สงบนะ ถ้าเวทนานะ พิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม มันเป็นสมถะหมดเลย สมถะเพราะอะไร

สมถะ เพราะจิตนี้มันยังไม่สงบ ถ้าจิตนี้ไม่สงบนี่เป็นโลก มันเป็นโลก เป็นโลกียะ

แต่ถ้าจิตมันสงบแล้ว พอพิจารณาเป็นจิตมันสงบ พอพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม มันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ มันทำใจของมันเข้าไปสู่ความตั้งมั่นของมัน ถ้าตั้งมั่น นี่ไง ดูสิ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านบอกว่า “จิตนี้มันแก้ยาก” ท่านจะแก้ว่ะ ท่านจะรอให้ลูกศิษย์ลูกหาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ให้จิตมันตั้งมั่นขึ้นมา ให้จิตมีหลักมีเกณฑ์ขึ้นมา แล้วท่านจะให้ยา

แต่พวกเรามันล้มลุกคลุกคลานมาแล้วบอกว่ามียาพร้อม ยาจากไหน? ก็ยาจากธรรมวินัย ยาจากธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วยาเราก็เด็ดเอาเอง ยาเราก็ประกอบเองเสร็จแล้วไง นี่โลก โลกมันเห็นแก่ตัว โลกมันมักง่าย โลกมันหยิบฉวยเอาโดยความคิดว่ามันจะเป็นไปได้ โลกมันหยิบฉวยแล้วมันจะไม่มีสิ่งใดเป็นประโยชน์กับมันเลย เพราะเรื่องของกิเลสทั้งนั้น เรื่องของโลก

“รู้ได้แค่ที่โลกรู้” รู้ได้แค่ความสามัญสำนึก มันเข้าสู่ธรรมไม่ได้เลย

ถ้าเข้าสู่ธรรมไม่ได้ จะวินิจฉัยธรรมให้เป็นจริงได้อย่างใด? ไม่ได้ ถ้าไม่ได้ขึ้นมามันก็เป็นการด้นเดา เป็นการงมงาย สิ่งต่างๆ สิ่งที่ทำด้วยความงมงาย ด้วยความเชื่อของตัว แต่ไม่เป็นความจริง แล้วไม่เป็นประโยชน์กับใครเลย

แต่ถ้าจะเป็นประโยชน์จริงนะ เราต้องเอาตัวเรารอดให้ได้ก่อน คนจะช่วยคนจมน้ำ คนคนนั้นต้องว่ายน้ำเป็น คนคนนั้นต้องว่ายน้ำเข้มแข็ง แล้วจะเอาคนจมน้ำ จะช่วยคนจมน้ำขึ้นจากน้ำนั้นได้ เห็นเขาจมน้ำ แล้วอยากช่วยเขา ลงไปช่วยเขาโดยที่ว่ายน้ำไม่เป็น มันจะทำให้เขาตายเร็วขึ้น เพราะเราไปถ่วงให้เขามีน้ำหนักมากขึ้นที่จะจมลงสู่จากผิวน้ำไปให้ถึงแก่ชีวิตนั้น

ฉะนั้น สิ่งที่เราจะพิจารณาของเรา นี่กาลามสูตรอยู่ตรงนี้ กาลามสูตรนี้ไม่ให้เชื่อสิ่งใดๆ เลย ถ้าเราพิสูจน์ด้วยการประพฤติปฏิบัติของเรา เราจะรู้จริง ถ้าเราพิจารณาของเรา พิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม ถ้ามันเป็นโลกอยู่ เป็นโลกอยู่คือว่าเรายังไม่มีความมั่นคงของใจ พิจารณาสิ่งใดแล้วมันจะปล่อยเข้ามา “ว่างๆ ว่างๆ” นั่นล่ะ มันจะปล่อยเข้ามา ถ้าไม่มีสติมันจะเป็นแบบนั้น

“ว่างๆ ว่างๆ” แล้วมันว่าง ว่างคืออะไร? ว่างคือนิพพานไง ว่างคือธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง

อย่างนั้นอากาศมันก็เป็นนิพพานหมดแล้ว สุญญากาศในจักรวาลนี้มันมีของมันอยู่แล้ว แต่ไม่มีจิต ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่มีใครรับรู้มัน

แต่เวลาจิตมันฟุ้งมันซ่าน จิตที่เวลามันทุกข์มันยาก มันอึดอัดขัดข้อง จิตนี่มันทุกข์ยากมาก แต่เวลาเรามีสติปัญญาพิจารณาของมันไป เวลามันปล่อยวางเข้ามาๆ คำว่า “ปล่อยวางเข้ามา” นี่จิตมันว่าง จิตมันรู้ว่าว่าง ถ้าจิตมันรู้ว่าว่าง เราพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม เพราะมันมีจริตนิสัย มันมีวิธีการ เห็นไหม กรรมฐาน ๔๐ ห้อง ถ้าเราพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม โดยโลก ถ้าโดยโลก ผลของมันก็คือมีสติ มันไม่ใช่แบบว่าเราว่างๆ ว่างๆ โดยอวกาศ ว่างๆ โดยสุญญากาศไง แล้วว่างๆ มันคืออะไรล่ะ นี่ไง มิจฉาทิฏฐิ

แต่ถ้าเป็นสัมมาล่ะ ถ้าเป็นสัมมาทิฏฐิ ดูสิ เราพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม มันมีสติ มีปัญญา อืม! เราคุมของเราได้ ถ้าเสวย ถ้าคิดก็ทุกข์ ถ้ามีสติ ปล่อยๆๆ ก็สมถะ แล้วมีสติควบคุม รู้ เพราะนี่มันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ เรายังไม่รู้แจ้งสิ่งใดเลย

ถ้าพอจิตมันสงบบ่อยครั้งเข้า เรามีสติปัญญาไล่เข้ามา ไล่เข้ามา พอจิตมันสงบตั้งมั่น ถ้าไปเที่ยวป่าช้า พิจารณากาย เห็นอุคหนิมิต นั่นเห็นแล้ว เห็น ใครเป็นคนเห็น? จิตมันเห็น ถ้าจิตมันเห็น กับสิ่งที่เป็นโลก โลกที่เขาคิดถึงกาย คิดถึงกาย พิจารณากาย คิดถึงกาย จับต้องกาย รู้ว่ากาย แล้วพอปล่อยเข้ามาๆ คืออะไร ถ้าไม่มีสติมันก็เป็นมิจฉา

เพราะไม่มีสติ ไม่มีสติไง ในมรรค ๘ มันมีสติ มีสมาธิ มีปัญญา ถ้าไม่มีสติมันจะเป็นสมาธิอย่างไร ถ้าไม่มีสติ ใครเป็นเจ้าของสมาธิ แต่ถ้ามันมีสติ พอมีสติ สติมันเกิดจากอะไร? สติมันเกิดจากให้จิตนี้ฝึกหัด พิจารณากายแล้วมันปล่อยเข้ามา พอปล่อยเข้ามาสติมันควบคุมจิตอยู่ จิตมันปล่อยเข้ามามันก็รู้ตัว มันก็ทรงตัวมันว่ามันปล่อยสิ่งใดเข้ามา มันเหลือสิ่งใดในตัวของมัน

ถ้ามันเหลือสิ่งใดในตัวของมัน เหลือสิ่งใดอยู่? เหลือสิ่งนั้น สิ่งนั้นก็คือจิต

จิต ถ้ามันปล่อยวางเข้ามาเป็นตัวของมันเองมันคืออะไร? มันก็คือสมาธิ มันก็คือสมถะ นี่สมถกรรมฐาน ถ้ามีฐานที่ตั้ง การพิจารณากายโดยโลก ปล่อยเข้ามามันจะเป็นสมถะ มันจะเป็นสมาธิ มันจะเป็นจิตตั้งมั่น ถ้าจิตตั้งมั่นแล้วเราออกพิจารณากาย พิจารณากายอีกที ถ้าเห็นกายโดยจิตที่เป็นสมาธิ ถ้าเห็นกายโดยที่จิตเป็นสมาธิ นี่ไง สิ่งที่เป็นสมถะแล้ววิปัสสนา

ถ้าวิปัสสนามันเกิดขึ้นมา มันเกิดขึ้นมา มันพิจารณาแล้วมันสำรอกอะไรออกไป พอมันสำรอก มันปล่อยวางอย่างไร มันปล่อยวางมันก็เป็นตทังคปหานโดยที่มันพิจารณาของมัน ถ้าพิจารณาเวทนา เวทนามันเกิดจากอะไร? เวทนามันเกิดจากกายหรือเกิดจากจิต

ถ้าเวทนาทางโลก เรานั่งกันปกติ เวลาเราปวดเมื่อย เราปวด เรามีสิ่งต่างๆ เราพิจารณาเวทนา พอมันปล่อย มันปล่อย มันปล่อย มันเหลืออะไร เวลาปล่อยเวทนามาเหลืออะไร ถ้าจิตมันเข้มแข็งมันก็ปล่อยเวทนาเข้ามาได้ ถ้าปล่อยเข้ามาได้มันก็เป็นสมถะ มันก็ปล่อยเวทนาเข้ามาเป็นตัวของมัน

แล้วพอปล่อยเวทนามาเป็นตัวของมันแล้ว พอจิตมันสงบแล้ว จิตมีกำลังแล้ว เวลาเวทนามันเกิดขึ้นมันก็จับเวทนาอีก จับเวทนาด้วยที่มีสติ มีสมาธินะ เวลาจับเวทนาขึ้นมา มันจับเวทนาพลิกซ้าย พลิกขวาได้ไง อะไรเป็นเวทนา ขาเป็นเวทนา แขนเป็นเวทนา เอ็นเป็นเวทนา เนื้อเป็นเวทนา อะไรเป็นเวทนา? นี่ไง เพราะอะไร เพราะมันมีสมาธิ

แต่ถ้าไม่มีสมาธิล่ะ ไม่มีสมาธิ เวลาเวทนาเกิดขึ้นมาต้องใช้พุทโธ ต้องใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ใช้ทนเอา ใช้ทนเอาแล้วพยายามใช้ปัญญาแยกแยะขึ้นมาให้จิตมันปล่อยวางเข้ามา ถ้าปล่อยวางมันก็คือสมถะไง แต่ถ้าสมถะ พอมีสมาธิแล้ว ถ้ามันจับเวทนาอีก พอจับเวทนาได้อีก เพราะจิตมันมีสมาธิใช่ไหม จิตมีกำลังใช่ไหม จิตมีสติใช่ไหม พอจับเวทนามันก็พิจารณาเวทนาได้ไง นี่ถ้าจิตมีกำลังมันจับเวทนาพิจารณา เวทนาจะเข้มแข็งแก่กล้าขนาดไหนมันก็เอาเวทนามาใคร่ครวญ มาพิจารณา มาแยกแยะได้ แยกแยะได้ เวทนามันเกิดจากอะไร ใครไปรับรู้เวทนา เวทนานี้มันมาจากไหน

นี่ไง “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นต้องดับเป็นธรรมดา” แล้วมันดับไหม? มันไม่ดับ มันไม่ดับเพราะเราไม่มีกำลัง แต่ถ้ามันจะดับล่ะ มันจะดับเพราะมันมีสติปัญญา มันแยกแยะของมันนะ เวลาสิ่งที่มันเกิดขึ้นแล้วมันดับ ดับแล้วเหลืออะไร? ดับด้วยปัญญา

ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เวลามันขาดนะ เวทนากับจิตมันขาดกันได้อย่างไร ขันธ์ ๕ เป็นจิตหรือไม่เป็นจิต ความรู้สึกนึกคิดนี้เป็นเราหรือเปล่า เวลามันขาดขึ้นไป ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ คืออะไร? คือสังขาร ความคิด ความปรุง ความแต่ง

แล้วเวลามันขาดไปแล้วมันขาดไปไหน แล้วจิตเวลามันปล่อยขันธ์ ๕ มานี่มันปล่อยมาอย่างไร ถ้ามันปล่อยมา นี่ไง ถ้ามันปล่อยมามันก็มีขั้นตอนของมัน นี่ไง สิ่งที่ว่าจากโลกจะเป็นธรรม ถ้าจากโลกมันทะลุไปสู่ธรรม ถ้าสู่ธรรม ธรรมมันเกิดได้อย่างไร ธรรมมันจะเกิดมาได้อย่างไร

ดูสิ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รัตนตรัย องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาจะเป็นศาสดา ภิกษุสงฆ์ พิจารณาธรรมขึ้นไปแล้ว พระอัญญาโกณฑัญญะเป็นสงฆ์องค์แรกของโลก นี่ไง แล้วธรรมที่มันเกิดขึ้นมาจากใจ นี่ถ้าจิตมันเข้าสู่ธรรม มันเป็นธรรมแล้ว ถ้าจิตเข้าสู่ธรรม

นี้ในเรื่องของโลก โลกมันมีแก่มีอ่อน เวลาโลกอย่างหยาบเราทำลาย เราทำลายแล้วนะ เราทำลายสักกายทิฏฐิ ความที่จะเกิดจากโลก เพราะเราทำลายสักกายทิฏฐิแล้ว จิตมันเหลืออะไร จิตมันพิจารณาสิ่งใดต่อไป? โลกอันที่ละเอียดไง

ดูสิ เราพิจารณาซ้ำๆๆ เข้าไป ถ้ามันพิจารณาซ้ำเข้าไป เวลามันทำลายโลกแล้วนะ ถ้ามันทำลายโลกเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป มันจะทำลาย ดูสิ เวลาเราเกิดในโลก โลกคือโลกใบนี้ แต่เวลาถ้าคนยังมีกิเลสอยู่ ทำลายแล้วแต่ว่าภพชาติมันสั้นเข้า เกิดอีก ๗ ชาติ เวลาไปเกิดเป็นเทวดาล่ะ นี่ก็ยังกามภพ โลกอันละเอียดไง ถ้ายังมีโลกอันละเอียด มันยังมีสิ่งที่ไม่รู้ในหัวใจเรา

สิ่งที่เรารู้แล้ว นี่ธรรมะที่มันเป็นปัจจัตตัง มันเกิดขึ้นมาจากใจดวงนี้แล้ว มันก็รู้ได้เป็นขั้นเป็นตอน ถ้ารู้ได้เป็นขั้นเป็นตอนเพราะอะไร เพราะเวไนยสัตว์ มรรค ๔ ผล ๔ โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ สิ่งที่จิตมันจะรู้เป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป มันต้องมีวิธีการประพฤติปฏิบัติเข้าไป

เว้นไว้แต่ขิปปาภิญญาที่พิจารณาแล้วมันทะลุไปเป็นพระอรหันต์เลย คำว่า “เป็นพระอรหันต์” แต่พระที่เป็นพระอรหันต์ที่เป็นขิปปาภิญญาท่านก็รู้ของท่าน ท่านก็รู้ของท่านว่าการผ่านขั้นตอนมานี่มันผ่านอย่างไร เพราะพระอรหันต์กับพระอรหันต์ไม่มีการถกเถียงกัน เพราะพระอรหันต์ ดูสิ ถ้าเป็นพระอรหันต์ เวไนยสัตว์คือเป็นขั้นตอนขึ้นไป เป็นโสดาบัน เป็นสกิทาคามี เป็นอนาคามี เป็นพระอรหันต์ กับพระอรหันต์ที่เป็นขิปปาภิญญา

ถ้ามันไม่เป็นอริยสัจอันเดียวกัน ฉะนั้น พระอรหันต์ก็ต้องมีปัญหาสิ พระอรหันต์ก็ต้องไม่เข้าใจพระอรหันต์สิ เพราะพระอรหันต์องค์หนึ่งผ่านจากขิปปาภิญญา คือตรัสรู้เร็ว ทำอาสนะเดียวถึงที่สุดแห่งทุกข์ไปเลย แล้วพระอรหันต์ที่พิจารณาเป็นโสดาบัน เป็นสกิทาคามี เป็นอนาคามี เป็นพระอรหันต์มันแตกต่างกันตรงไหน มันมีอะไรแตกต่างกัน ถ้ามันไม่มีอะไรแตกต่างกันมันก็ต้องมาจากสัจจะอันเดียวกัน

ถ้ามาจากสัจจะอันเดียวกัน ดูสิ เวลาพิจารณาขึ้นไป ถึงจะรู้ว่าสิ่งใดเป็นโสดาบัน โสดาบันพิจารณาอย่างไร ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕

แล้วถ้าเป็นสกิทาคามีเป็นอย่างไร มันเป็นขั้นตอนของมัน แล้วเวลาพิจารณาสกิทาคามี สกิทาคามีเป็นเพราะเหตุใดล่ะ เพราะโดยธรรมชาติของจิตมันมีอุปาทานของมัน พิจารณาสิ่งเป็นความจริงแล้วมันชำระล้างแล้วมันมีสิ่งความจริงที่ละเอียดกว่า สิ่งที่ละเอียดกว่า ดูสิ ถ้ามันละเอียดกว่า โสดาบัน โสดาปัตติมรรคกับสกิทาคามรรคมันแตกต่างกันอย่างไร

ถ้าเรายังประพฤติปฏิบัติอยู่ เรายังก้าวเดินอยู่ เราจะมองในเส้นทางของเรา เรายังไม่เข้าใจ เช่นนักแข่งรถ เวลาเขาอยู่ในสนามแข่ง เขาแข่งรถของเขา เขาไม่เห็นภาพรวมทั้งหมด แต่ผู้ที่ดูอยู่เขาจะรู้ภาพรวมของเขาทั้งหมด นี่ก็เหมือนกัน เวลาเรากำลังแข่งอยู่ แข่งกับธรรม กับกิเลส แข่งกันในหัวใจ เรายังประพฤติปฏิบัติอยู่ เรายังใช้ความเร็วของเรา เรายังแข่งขันกันอยู่ระหว่างธรรมกับกิเลสแข่งขันกัน เราจะรู้ภาพรวมทั้งหมด เรายังไม่รู้หรอก

ทีนี้ คำว่า “ไม่รู้” เราประพฤติปฏิบัติเข้าไป นี่ไง ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเขาถึงหาครูบาอาจารย์ไง หาครูบาอาจารย์ก็หาคนคอยบอกเทคนิค ภาพรวมทั้งหมดมันควรจะทำอย่างใด ขณะที่เราปฏิบัติมา เราปฏิบัติมาโดยวงรอบที่เราพิจารณามาเราก็รู้แล้ว แต่ข้างหน้าเราไม่รู้ ถ้าเราไม่รู้แล้วเราจะย้อนกลับมา เราจะมองสิ่งที่ว่าเราผิดพลาดอย่างไร เรามีสิ่งใดขัดข้องหมองใจนี่เรารู้ไม่ได้ ถ้าเรารู้ไม่ได้ปั๊บ เรามีครูบาอาจารย์ไง สิ่งที่รู้แล้วก็คือรู้แล้ว รู้แล้วนี่เข้าสู่ธรรมส่วนหนึ่ง แต่ยังมีโลกอันที่ละเอียดกว่า

“รู้ได้เท่าที่โลกรู้” สิ่งที่โลกรู้นะ แต่ตอนนี้เรารู้ได้เท่าที่ธรรมรู้ ธรรมที่เรารู้ได้มากน้อยแค่ไหน ถ้ารู้ได้มากน้อยแค่ไหน เรายังภาวนาต่อไป ถ้ามีครูบาอาจารย์ท่านจะชี้นำให้เราขึ้นไปนะ ถ้าชี้นำขึ้นไป สิ่งนี้ สิ่งของนะ ของที่หยาบๆ ของที่เป็นวัตถุหยาบๆ เราเห็นด้วยตาเนื้อนะ เวลาของที่มันละเอียดขึ้นมามันชักละเอียดขึ้น ยิ่งถ้าเป็นเชื้อโรค สิ่งที่เป็นนามธรรม เราจะเห็นด้วยตาเนื้อไม่ได้เลย แต่มีอยู่

นี่ก็เหมือนกัน เวลาสิ่งที่ว่า สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ว่ากำปั้นทุบดินเลย เพราะเข้าไปมันจะเจอความยึดมั่นถือมั่นของใจอยู่แล้ว ทีนี้ ขนาดว่าเจอความยึดมั่นถือมั่นของใจอยู่แล้วนะ แต่คนที่ประพฤติปฏิบัติขึ้นมา พอจิตมันสงบ สงบนะ จิตที่สงบโดยที่ความเข้าใจว่าสงบแล้วพิจารณาของมันไป นั่นเป็นเรื่องโลกๆ มันยังไม่เข้าสู่ธรรมเลย

แต่จิตที่คนสงบแล้ว แต่ถ้าไม่ออกสู่การพิจารณาในสติปัฏฐาน ๔ สิ่งนั้นจะไม่เกิดขึ้นมาเลย เพราะมรรค ๘ มันไม่สมบูรณ์ งานชอบ เพียรชอบ ชอบในอะไร? ชอบในสมถะ ไม่ได้ชอบในวิปัสสนา มันไม่ได้ชอบในสิ่งที่ละเอียด แล้วสิ่งที่ชอบเป็นสมถะมันก็เป็นสมถะมาแล้ว ทำไมมันไม่พิจารณาต่อไป ไม่พิจารณาต่อไปเพราะมันรื้อค้นไม่มี รื้อค้นไม่เห็น นี่ไง อยู่ที่อำนาจวาสนาของคน

แต่ถ้ามันรื้อค้นของมันนะ รื้อค้น เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมเป็นเรื่องประเสริฐมากนะ เวลาปฏิบัติขึ้นไป เพราะกิเลสมันเหมือนผู้ร้าย มันทำสิ่งใดแล้วมันจะหลีกหนี มันจะไม่ให้ใครจับตัวมันได้ มันจะหลีกหนีนะ

เวลามันมาแหย่เรา เวลานั่งสมาธิก็บอกว่าเสร็จแล้ว จบแล้ว รู้แล้ว นี่ถ้ามันทำให้บัลลังก์นี้แตกไปไม่ได้ มันก็บอกว่ามรรคผลไม่มี ทำไปก็ลำบากเปล่า ดูสิ ชาวโลกเขาอยู่กันมีความร่มเย็นเป็นสุข ทำไมเราต้องมาทุกข์ยากขนาดนี้ มันจะทำลายทุกๆ อย่างเลย กิเลสนี่ พอมันทำลายว่าเราไม่มีอำนาจวาสนา เราก็เชื่อมันแล้ว นี่พูดถึงว่าถ้ากิเลสอย่างหยาบๆ ที่สิ่งที่เราจะเข้าไปเผชิญกับมัน

แล้วเวลามันทำให้เราล้มเหลว ทำให้เรา เวลาว่ามันทำ มันทำใคร ใครมันทำ? ก็กิเลสในหัวใจเรามันทำ ฉะนั้น เวลาเราปฏิบัติธรรม เราสร้างคุณธรรมของเราขึ้นมา มันต้องให้เป็นตามความเป็นจริง แล้วเรื่องอย่างนี้ เรื่องที่เราฟังอยู่นี่ เรื่องที่เราพยายามค้นหา เราเข้าใจหมดเลย แต่ถ้าเรายังพิจารณาไม่ได้ เราไม่เข้าใจ แล้วเราไม่เข้าใจเราก็กระเสือกกระสน

คำว่า “กระเสือกกระสน” เพราะจิตนี้มันเกิดในวัฏฏะ พูดถึงเทวดา อินทร์ พรหม นี่เข้าใจได้หมด พูดถึงโสดาบันมันจินตนาการไม่ออกหรอก พูดถึงโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี พระอรหันต์ นี่จินตนาการไม่ออกหรอก มันจินตนาการได้แบบโลกๆ

ดูสิ เวลามีฤทธิ์มีเดช เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปสอนชฎิล ๓ พี่น้อง ชฎิล ๓ พี่น้องเขาบูชาไฟ เขาบูชาไฟของเขานะ เขามีฤทธิ์มีเดชของเขา เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปขอพักกับเขา เขาไม่ให้พัก เวลาเขาไม่ให้พักนะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า “ในเมื่อนักบวชด้วยกันไม่ให้นักบวชพัก นักบวชจะพักที่ไหนล่ะ”

“ถ้าอย่างนั้นให้ไปอยู่โรงไฟ” เพราะเขาบูชาไฟ เขามีพญานาคอยู่ในโรงไฟนั้น เขามีความคิดว่าถ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปอยู่ที่โรงไฟนั้น พญานาคจะทำร้าย นี่เรื่องโลกๆ เรื่องโลกๆ ไง เห็นเขามาแล้วไม่ต้องการต้อนรับเขา เวลาจะรับเขาก็เอาเขาไปอยู่โรงไฟเพื่อให้พญานาคทำร้ายเสีย

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปอยู่กับพญานาค นี่มีฤทธิ์ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาด้วยอริยสัจ ด้วยสัจจะความจริง แต่ฤทธิ์อันนี้มันเกิดจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบำเพ็ญมาเป็นพระโพธิสัตว์

ฤทธิ์ เวลาสิ่งที่มีฤทธิ์มีเดชมันเกิดจากอำนาจวาสนา เกิดจากการกระทำ แต่ว่าเวลาอริยสัจเป็นอันเดียวกัน เวลาอริยสัจ สัจจะความจริง เห็นไหม ผู้ที่ปฏิบัติเป็นธรรม อันนี้สำคัญที่สุด สำคัญคือสัจธรรม สัจธรรม อริยสัจที่เป็นอาสวักขยญาณที่ทำลายอวิชชาอันนี้ อันนี้ต่างหากมันจะทำให้เราไม่เวียนตายเวียนเกิดในวัฏฏะ มันจะทำให้เราเกิดมาแล้วก็เกิดชาติสุดท้าย ไม่ต้องตายอีก ไม่ต้องมาเกิดอีก เห็นไหม สิ่งที่อริยสัจนี้ความจริง

ฉะนั้น สิ่งที่ว่าเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปพักที่โรงไฟ เห็นไหม ด้วยฤทธิ์ ฤทธิ์นี่คือต้องเอาพญานาคไว้ในบาตร ชฎิล ๓ พี่น้องเดินผ่านมา “อืม! สมณะยังอยู่ แล้วพญานาคไปไหน? อยู่ในบาตร สมณะนี้เก่ง แต่สู้เราไม่ได้ เราเป็นพระอรหันต์”

จะทำสิ่งใดก็แล้วแต่นะ “สมณะนี้เก่ง แต่สู้เราไม่ได้ เราเป็นพระอรหันต์” นี่ไง โลกๆ ไง ฌานโลกีย์เป็นเรื่องโลกทั้งหมด เขาบูชาไฟอยู่ เขามีตบะธรรม เขามีฤทธิ์มีเดชขนาดนั้นนะ แต่เขาไม่ได้แก้กิเลสสักตัว เขาทำสิ่งใดไม่ได้เลย สมณะมาพักจะไม่ให้พักน่ะ

ฉะนั้น เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาจะแก้นะ “เธอไม่ใช่พระอรหันต์”

เพราะใจเขารู้อยู่ ใจเขารู้ว่าเขาไม่ได้เป็น แต่ด้วยความอยากเป็น เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาพักนี่ไม่ให้พัก เพราะเขามีพระเจ้าพิมพิสารเป็นผู้อุปัฏฐาก เห็นไหม เขาไม่ให้พัก พอเขาไม่ให้พัก แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเล็งญาณนะ อนาคตังสญาณองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีอยู่ เล็งญาณว่าเขามีนิสัย เขามีนิสัยคือว่าเขามีสิ่งที่เขาสามารถปฏิบัติได้ เขามีอำนาจวาสนาที่จะบรรลุธรรมได้ แต่เขาไปติดในโลก

แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก “เธอไม่ใช่พระอรหันต์” จิตใจเขาพร้อมนะ

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเทศน์ปัญจวัคคีย์ เวลาปัญจวัคคีย์ พูดถึงอริยสัจ เทศน์ธัมมจักฯ พอเทศน์ธัมมจักฯ ทเวเม ภิกฺขเว ทางสองส่วนที่ไม่ควรเสพ อัตตกิลมถานุโยค กามสุขัลลิกานุโยค ให้มัชฌิมาปฏิปทา เทศน์ถึงธัมมจักฯ ญาณํ อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ ฯลฯ นี่มันจะเกิดญาณ เกิดปัญญา เกิดความหยั่งรู้ นี่เวลาเทศน์ปัญจวัคคีย์

แต่เวลาพูดถึงชฎิล ๓ พี่น้องแล้ว พอชฎิล ๓ พี่น้อง พอบอกว่า “เธอไม่ใช่พระอรหันต์” สลดใจ พอสลดใจนะ ให้บวช แล้วเวลาเทศน์ เทศน์อาทิตตปริยายสูตร เวลาอาทิตตปริยายสูตร ตาเป็นของร้อน เพราะเขาบูชาไฟ ตาเป็นของร้อน หูเป็นของร้อน จมูกเป็นของร้อน อายตนะเป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร? ร้อนเพราะมีโทสัคคินา โมหัคคินา มันร้อนเพราะอะไร? มันร้อนเพราะกิเลสตัณหาความทะยานอยาก

ชฎิล ๓ พี่น้องฟังเทศน์นะ สิ่งที่ว่าใจเป็นของร้อน ทุกอย่างเป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร? ร้อนเพราะมีโทสะ เพราะมีโมหะ เพราะมีความลุ่มหลง เป็นพระอรหันต์หมดเลย

เวลาเป็นพระอรหันต์ขึ้นมาแล้ว มีฤทธิ์มีเดช เวลาพระเจ้าพิมพิสารมาเยี่ยม พอมาถึงเห็นชฎิล ๓ พี่น้องนั่งอยู่กับสมณะหนุ่มๆ “เอ๊ะ! ใครเป็นอาจารย์ของใคร”

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า “เป็นหน้าที่ของเธอ”

ชฎิล ๓ พี่น้องเหาะขึ้นไปบนอากาศ ลงมานะ ลงมาเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กราบ “องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดาของเรา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดาของเรา” นี่ทำให้พระเจ้าพิมพิสารเข้าไปกราบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เพราะสิ่งที่เวลาชฎิล ๓ พี่น้อง เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปพักด้วย ไม่ให้พัก องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถามว่า “สมณะไม่ให้สมณะพัก แล้วสมณะจะไปพักกันที่ไหน ในเมื่อสมณะยังไม่ยอมรับกัน แล้วจะให้ใครยอมรับสมณะ” ละอายไง ละอาย ให้พัก เพราะว่าพระเจ้าพิมพิสารเป็นกษัตริย์ เป็นผู้อุปัฏฐาก นี่ตระหนี่ถี่เหนียว หวงแหนในลาภสักการะไง

แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการปราบทิฏฐิเรื่องของโลก “รู้ได้เท่าที่โลกรู้” เขารู้ได้เท่าที่มีตบะธรรม เขามีฤทธิ์มีเดชของเขา แต่เขาไม่รู้จักกิเลสตัณหาความทะยานอยากในหัวใจเขาเลย

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาเรื่องอาทิตตปริยายสูตร เขาพิจารณาของเขา มนสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ มโนสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ ถึงมโนก็เป็นของน่าเบื่อหน่าย ของควรทิ้ง ความสัมผัสของมโนก็ต้องทิ้ง เหตุที่การสัมผัสนั้นก็ต้องทิ้ง ทิ้งหมดเลย

เวลาเป็นพระอรหันต์ขึ้นมา เหาะขึ้นไปบนอากาศ “องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดาของเรา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดาของเรา” เวลาจิตใจมันได้ชำระกิเลสแล้วมันเห็นคุณค่าของธรรม แต่ถ้าเป็นโลก โลกมันเห็นแต่ฤทธิ์แต่เดช เห็นแต่ลาภสักการะ เห็นแต่ความเอามาส่งเสริมทิฏฐิมานะ แต่ถ้าเป็นธรรมนะ เวลามาพักก็ไม่ให้พัก แต่เวลาเป็นธรรมไปแล้วก้มกราบ ก้มกราบ

เพราะถ้าให้มันเป็นไปเอง ถ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ไปทรมาน เขาจะอยู่ของเขาอย่างนั้น แล้วเวลาตายไปก็ไปเกิด ถ้าเขาไม่ได้ทำชั่วเลยนะ เขาไปเกิดบนพรหม แต่ถ้าเขามีฤทธิ์มีเดช เขาทำชั่วล่ะ ทำชั่ว เห็นไหม ดูสิ คนเดี๋ยวนี้ทำจิตให้มันสงบขึ้นมา แล้วทำคุณไสยต่างๆ มันทำอะไรน่ะ มันเป็นมิจฉาทิฏฐิก็ได้ มันทำให้เป็นโลกๆ ก็ได้ มันทำให้ตกนรกอเวจีก็ได้ ฤทธิ์เดชทำให้ชั่วก็ได้ ทำให้ดีก็ได้ ทีนี้ ถ้ามันมีโทสะ มีโมหะ มีความลุ่มหลงอยู่มันจะเอาความดีมาจากไหน

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา นี่ไง เวลาพระโมคคัลลานะเป็นผู้มีฤทธิ์มีเดชมาก ถ้ามีฤทธิ์มีเดชขึ้นมา เวลาแสดงยมกปาฏิหาริย์ จะขอแสดงแทน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ให้เลย ไม่ให้ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า ศาสนาจะยั่งยืนด้วยการบันลือสีหนาท ด้วยการเทศนาว่าการ ด้วยอริยสัจ

เพราะพระพุทธศาสนาเป็นพุทธศาสนาเรื่องสัจธรรม ไม่ใช่เรื่องฤทธิ์เรื่องเดช แต่คนที่มันสร้างสมบุญญาธิการมามันมีฤทธิ์มีเดชขึ้นมาด้วยอำนาจวาสนาบารมี ไม่ได้ด้วยอริยสัจ ฉะนั้น ถ้าไม่ได้ด้วยอริยสัจ

แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพิจารณาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พิจารณาแล้ว เวลากิเลสมันขาดไปแล้ว เวลาพระโมคคัลลานะกับลูกศิษย์ที่เหาะขึ้นไปเอาไม้จันทร์ แล้วใครมาก็ต้องทำอย่างนั้นนะ เพราะเขาทำแล้ว พระพุทธเจ้าถึงบอกว่า ห้ามใครอวดอุตตริ ห้ามหมด ผู้ที่ไม่มีก็ห้ามอวดอุตริ แต่ผู้ที่มีก็ห้าม

พอห้ามเสร็จแล้ว พอพวกเดียรถีย์ได้ข่าวนั้นก็มาท้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าจะแสดงฤทธิ์ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าห้ามแล้ว ทีนี้พระโมคคัลลานะก็จะแสดงแทนก็แสดงแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

“เราแสดงเอง”

จนสุดท้ายนะ พวกลูกศิษย์ ฆราวาสก็ยังบอกว่า “ในเมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่าห้ามแสดงฤทธิ์ แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงได้อย่างไร”

ท่านก็พูดกับพวกฆราวาสว่า “เราเป็นเจ้าของสวนมะม่วง เราห้ามคนอื่นกินมะม่วง แต่เราเก็บผลมะม่วงในสวนนั้นกินได้ไหม?”

“ได้ครับ”

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้รื้อสัตว์ขนสัตว์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมและวินัยนี้ไว้กับเรา แล้วถ้ามีคนมาจาบจ้วงทำลายธรรมและวินัยนี้ นี่ดูถูกดูแคลนธรรมวินัยนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะแสดงเอง แล้วแสดงได้หมดด้วย นี่พูดถึงว่าถ้ามันเป็นโลก เป็นฌานโลกีย์ เป็นฌานโลกีย์ไปแล้วมันจะเข้าสู่อริยสัจอย่างใด

แต่ถ้าพูดถึงมีครูบาอาจารย์ ถ้าฌานโลกีย์อย่างนั้นนะ แต่ถ้ามีผู้ที่มีคุณธรรมเหนือกว่า สิ่งนั้นเป็นเรื่องโลก โลกถึงชี้ว่าโลกเป็นแบบใด? โลกมันส่งออก โลกสิ่งที่รับรู้มันเป็นเรื่องฤทธิ์ของใจ มันไม่มีประโยชน์อะไร แต่ฤทธิ์ของใจในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เทศนาว่าการให้กระทบกับกิเลส

ถ้าฤทธิ์ของใจ เพราะเส้นทางที่เคยเดิน ทางมคฺโค ทางอันเอก ถ้าทางอันเอก สิ่งที่เราเคยเดินอยู่แล้ว จิตใจดวงนี้มันต้องเดินเหมือนกัน ถ้าจิตใจคนที่จะผ่านขั้นตอนไปมันต้องเดินไปในทางเดียวกัน ถ้าเดินไปในทางเดียวกัน โสดาบันเป็นโสดาบันอย่างไร สกิทาคามีเป็นสกิทาคามีอย่างไร อนาคามีเป็นอนาคามีอย่างไร เวลาสิ้นกิเลสมันสิ้นกิเลสอย่างไร

ฉะนั้น เวลาครูบาอาจารย์ของเรา ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ เวลาพูดสนทนาธรรมกัน ผู้ที่รู้ส่วนหนึ่ง แล้วยังไม่รู้อีกส่วนมากก็บอกว่าสิ่งนั้นเป็นธรรมๆ แต่เวลาผู้ที่ครูบาอาจารย์ที่ท่านมีหลักมีเกณฑ์มากกว่าท่านจะบอกว่าสิ่งนี้ ๑ ๒ ๓ ๔ คนที่มีน้อยกว่า “อืม! ทำไมยังมีข้างหน้าไปอีกเหรอ” นี่ไง อยู่ที่บารมี อยู่ที่วุฒิภาวะ

แต่ถ้าครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นธรรมอยู่แล้ว สิ่งใดก็แล้วแต่ ถ้ามันยังมีสิ่งที่ความเศร้าหมอง ความผ่องใส มันยังมีสิ่งที่กวนใจอยู่ สิ่งนั้นยังต้องมีการกระทำต่อไป จะรื้อค้น ถ้ารื้อค้นสิ่งนั้นจนเจอ จนเห็นตามความเป็นจริงแล้ว รื้อค้น เห็นไหม การรื้อค้นคือการรื้อค้นหากิเลส พอเราปฏิบัติเข้าไปเราบอกว่า ไม่มีกิเลส เราปล่อยวางหมดแล้ว เราเป็นพระอรหันต์แล้ว เรามีสิ่งใด เราพอใจหมดแล้ว นี่คือเรื่องของกิเลสหมดเลย

แต่ถ้าเป็นธรรมขึ้นมา ถ้ามันยังมีอยู่ ภวาสวะ มีภพ มีสถานที่ มีจุดและต่อม มีสิ่งที่รู้ได้ สิ่งนั้นถ้ามีอยู่มันก็เกิดบนพรหม มันมีของมัน แต่มีแล้วจับอย่างไร มีแล้วกระทบอย่างใด มีแล้วรู้ได้อย่างไรว่ามันมี นี่ไง ถ้ามันรู้ได้อย่างไรว่ามี

เวลาจิตสงบแล้วออกใช้ปัญญา ปัญญาคืออะไร? ปัญญา เห็นไหม งานชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ ความเป็นมรรค สิ่งที่มรรคที่มันมีกำลังของมันขึ้นมา เวลาจักรนะ เวลาความรู้สึกนึกคิดของเรา ถ้าเป็นโลกนี่มันเป็นกงจักร กงจักรมันบั่นทอน มันทำลายทุกอย่างนะ มันทำลายทุกอย่าง แต่ถ้าเป็นทางอุตสาหกรรม จักรอันนั้นมันจะเป็นเรื่องของโลก เรื่องของอุตสาหกรรมของเขา นี่เรื่องโลก

แต่ถ้าเรื่องธรรมมันจะเป็นธรรมจักร ถ้าธรรมจักรนะ มันเป็นธรรม ถ้ามันเคลื่อนออกไปแล้วมันจะเกิดภาวนามยปัญญา เวลามันเกิดธรรมจักรขึ้น พอจักรมันได้เคลื่อนแล้วนะ มันไปทำให้ร่มเย็นนะ

เวลากงจักร ดูสิ เราอยากร่ำอยากรวย อยากมีตำแหน่งหน้าที่ เราอยาก นี่กงจักร มันทำลายแผดเผาในใจให้เร่าร้อน แต่ถ้าเป็นธรรมจักรนะ มันสังเวช

“จิตหนึ่ง” เขาก็จิตหนึ่ง เห็นไหม เราเกิดมาเป็นมนุษย์ด้วยกัน เกิดมาในวัฏฏะด้วยกัน เวลาเกิดมาในวัฏฏะนะ เกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม ยังไม่เข้าใจเรื่องจิตหนึ่ง เวลาเป็นเทวดา อินทร์ พรหม ฤทธิ์เดชของเทวดา อินทร์ พรหมก็ไม่เท่ากัน ไม่เท่ากันเพราะเขาสร้างอำนาจวาสนามาแตกต่างกัน ใครที่มีฤทธิ์มีเดชเข้าไปเขาก็มีแสงของเขา เขาก็มีการปรนเปรอของเขา แต่ใจเศร้าหมองทั้งนั้น ยิ่งเวลาแสงเริ่มเบาลง เริ่มจะหมดอายุขัยนี่คอตกเลย คอตกว่าการพลัดพราก

“ชีวิตนี้คือการพลัดพรากเป็นที่สุด” แล้วชีวิตของใครล่ะ ชีวิตของเทวดา ของอินทร์ ของพรหม เขาก็ต้องพลัดพราก แล้วชีวิตที่มันประณีต เวลาพลัดพรากมันจะอาลัยอาวรณ์ขนาดไหน

เราเป็นมนุษย์ ถ้าเราเป็นมนุษย์ เรามีของเรา เราก็มีจิตหนึ่งเหมือนกัน

ฉะนั้น ถ้าพูดถึงเป็นธรรม เวลาจิตหนึ่ง มันเมตตาสงสารไปทุกดวงใจ ถ้าเมตตาสงสารไปทุกดวงใจ สิ่งที่มันเป็นธรรมมันก็จะเกิดขึ้น แต่สิ่งที่มันเป็นกงจักร สิ่งที่มันทำลายเรา มันไม่เห็นสิ่งใดเป็นธรรมหรอก ถ้าเป็นธรรมจักรขึ้นมานี่มันจะเกิดปัญญาของมัน มันจะเกิดการค้นคว้าของมัน มันจะเข้าไปรื้อค้นสิ่งที่เป็นความเศร้าหมอง สิ่งที่เป็นความผ่องใส สิ่งที่เป็นความขัดข้องหมองใจ นี่มันเศร้าหมอง มันผ่องใส มันเฉา มันเหงา มันหงอยอยู่ในหัวใจนี่จะจับอย่างไร

ถ้ามันจับต้องได้ พอจับต้องได้ อย่างเชื้อโรค เรารู้ว่าใครเป็นโรคสิ่งใด เขาไปเพาะเชื้อ เพาะเชื้อขึ้นมาเพื่อจะให้วินิจฉัยว่าคนคนนั้นเป็นโรคอะไร นี่ถ้าจิตมันจับเรื่องกิเลสได้ปั๊บ พอขยายความออกมา โอ้โฮ! มันเห็นไปหมด

แต่ถ้าจับไม่ได้มันก็หลบหลีก มันก็บังเงา สิ่งนี้เป็นธรรม สิ่งนี้เป็นธรรม พอใช้ปัญญาขึ้นมานะ มันก็มีเหตุผล นี่ไง ธรรมไง นี่ไง นิพพาน นี่ไง ความจริง นี่ไง ถูกต้อง...มันจะมีเหตุผลมา แล้วกิเลสเรา ความมักง่ายของเรา เราก็อยากได้อยู่แล้ว “อืม! ใช่” นี่กิเลสมันกรอกหูหัวใจอยู่ทุกวัน แล้วกิเลสในหัวใจเราก็เชื่อ นี่พูดถึงโลกอันละเอียดนะ

“รู้ได้เท่าที่โลกรู้” เท่าที่โลกรู้ ถ้าเป็นโลกแบบโลกโดยสามัญสำนึกเลย นี่เรื่องหยาบๆ แต่เวลาปฏิบัติขึ้นไป สิ่งที่โลกอันละเอียด ดูสิ เวลาสังโยชน์ ๓ เวลาสกิทาคามี กามราคะ-ปฏิฆะอ่อนลง เราพิจารณาเข้าไป กามราคะ-ปฏิฆะขาด

พอกามราคะ-ปฏิฆะขาดไปแล้ว มันมีรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา สิ่งนี้เป็นนามธรรมที่ละเอียดมาก “รูปราคะ-อรูปราคะ” รูปและนาม รูปราคะ รูป อรูป มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มันเป็นสิ่งที่ละเอียดลึกซึ้ง แล้วมันจะจับต้องอย่างใด

ถ้ามันมีสติปัญญาขึ้นไป ถ้ามรรคมันละเอียดขึ้นไป พอจับได้ปั๊บมันขยายความออกมา อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ เลย มันแยกออกมาเป็นภพเป็นชาติเลย เพราะถ้าเราทำสิ่งนี้ไม่ได้นะ มันเกิดบนพรหมไง ภพชาติ จิตใสๆ จิตเศร้าหมอง ผ่องใส นี่เกิดบนพรหมแน่นอน

แต่เวลาพิจารณา ถ้าจับต้องได้แล้วเราขยายความออกมา มันขยายออกมามันจะใช้ปัญญาเข้าไปชำระอย่างไร เพราะมันชำระกระบวนการของมันจบสิ้นแล้ว นี่ไง สิ่งนี้ ธรรมเหนือโลกไง ธรรมเหนือโลกคือไม่เกิดในวัฏฏะอีกแล้ว ไม่เกิดในที่ใดๆ ทั้งสิ้น ถ้าไม่เกิดที่ใดๆ ทั้งสิ้น มันไม่เกิดเพราะอะไร ถ้ามันไม่เกิดเพราะอะไร นี่ไง ครูบาอาจารย์ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านถึงแสดงธรรม คำว่า “แสดงธรรม” สิ่งที่เกิดขึ้นในหัวใจของท่าน แล้วท่านได้ชำระสะสางจนสิ้นกระบวนการทั้งหมด

แล้วถ้าเอาสิ่งนี้มาแสดงธรรม แสดงให้พวกสาวก-สาวกะ พวกที่มีการขวนขวาย สิ่งนี้มันเป็นการตรึงตราตรึงใจกับหัวใจเรานะ ธรรมของครูบาอาจารย์ของเรามันหาฟังได้ยาก เพราะมันเป็นประสบการณ์จริงของใจ มันไม่ใช่ว่าเราไปฟังนิยาย ละคร สิ่งที่เขาปั้นแต่งขึ้นมา แล้วปั้นแต่งขึ้นมา แม้แต่ครูบาอาจารย์ของเรามีอยู่แล้ว ทำความเป็นจริงไว้แล้ว ผู้ที่ไม่เป็นจริงก็ยังทำให้เป็นนิยายออกมาจนได้

แต่ถ้าเป็นความจริงขึ้นมานะ มันจะเป็นความจริง แล้วความจริงอันนั้นมันจะเป็นบรรทัดฐาน ถ้ามันเป็นบรรทัดฐาน เป็นกรณีตัวอย่าง เป็นสิ่งที่เราจะเป็นประโยชน์กับเรา สิ่งนี้มันควรจะถนอมรักษาไว้ เพื่อประโยชน์กับหมู่คณะ เพื่อประโยชน์กับการกระทำ เพื่อประโยชน์กับผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ เขาจะได้มีร่องมีรอย มีแนวทางปฏิบัติให้สิ้นสุดแห่งทุกข์ เอวัง