เทศน์บนศาลา

ธรรมะเป็นๆ

๒๑ ก.พ. ๒๕๕๕

 

ธรรมะเป็นๆ
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

เวลาฟังธรรม เห็นไหม การฟังธรรมนี้แสนยาก เพราะการฟังธรรม ธรรมะ ถ้าเป็นความจริงนะ การฟังธรรมนี้แสนยาก

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าออกแสวงหาธรรม ออกแสวงหานะ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับพระปัจเจกพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะตรัสรู้เองโดยชอบ สาวก-สาวกะก็ได้ยินได้ฟัง แต่เวลาในธรรมนะ เวลาพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นร้อยเป็นพัน บางสถานที่ เวลาพระปัจเจกพุทธเจ้าอยู่ด้วยกัน เห็นไหม พระปัจเจกพุทธเจ้าท่านจะสอนของท่านในชีวิตของท่าน แต่เวลาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องสร้างบุญญาธิการมามากกว่านั้น แล้วเวลาวางธรรมและวินัยไว้ สิ่งที่วางธรรมวินัย วางธรรมวินัยไว้ เพื่อการประพฤติปฏิบัติ

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสวงหาอยู่ เห็นไหม “ธรรมะมีอยู่โดยดั้งเดิม” ถ้าธรรมะมีอยู่โดยดั้งเดิม ที่มันมีอยู่แล้ว ทุกคนว่า ธรรมะ นิพพานอยู่ในหัวใจแล้ว นิพพานมีอยู่แล้ว

ถ้ามันมีอยู่แล้วนะ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์ธัมมจักฯ เทวดาจะส่งข่าวเป็นชั้นๆ ขึ้นไป เทวดาท่านต้องรู้ได้ เทวดาส่งข่าวเป็นชั้นๆ ขึ้นไปว่า “บัดนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เคลื่อนธรรมจักรแล้ว จักรนี้จะย้อนคืนอีกไม่ได้” จักรนี้ย้อนคืนไม่ได้เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ธรรมขึ้นมาในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว

นี่ธรรมะแบบนี้ “ธรรมะเป็นๆ” ธรรมะที่มีชีวิต

แต่เวลาศึกษาธรรมวินัย เห็นไหม วางธรรมไว้ นี่ธรรมะที่ไม่มีชีวิตไง จะว่าธรรมะตายก็ได้ แต่ถ้าว่าตาย เขาก็ว่าดูถูกว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต มันตายไปหมด ไม่มีความหมายเลยเหรอ เห็นไหม ธรรมและวินัย เวลาศึกษาขึ้นมาแล้วอยู่ที่การตีความ ถ้าการตีความว่าทำถูกต้องมันก็เป็นประโยชน์ ถ้าเวลาตามตีความ เห็นไหม เพราะคนเรามีกิเลส

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ เขาก็มีธรรมเหมือนกัน เจ้าลัทธิต่างๆ เขาบอกเขาเป็นศาสดาทั้งนั้น แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยบุญญาธิการ เวลาศึกษามาแล้วนะ พิสูจน์ตรวจสอบด้วยความเป็นจริงในหัวใจ เวลาพิสูจน์ตรวจสอบ

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมวินัยไว้ “กาลามสูตร ไม่ให้เชื่อ ไม่ให้เชื่อว่าเป็นอาจารย์ของเรา ไม่ให้เชื่อว่ามันจะเข้ากับความรู้สึกนึกคิดเราได้ ไม่ให้เชื่อว่าสิ่งทำแล้วมันจะเป็นจริงขึ้นมา ไม่ให้เชื่อ” เพราะความเชื่อไม่ใช่ความจริง

ถ้าเป็นความจริงขึ้นมา สิ่งที่มีชีวิตนะ สิ่งมีชีวิต ดูสิ เวลาปลานะ ถ้าปลาเป็นมันว่ายทวนน้ำของมันขึ้นไป มันว่ายทวนน้ำของมัน มันต้องทรงตัว มันต้องดำรงชีวิตของมัน มันต้องมีอาหารของมัน มันต้องแข็งแรงของมัน ถ้ามันเจ็บไข้ได้ป่วยนะ มันจะรักษาตัวมันให้จนกว่ามันจะหาย ถ้ามันเจ็บไข้ได้ป่วยมันรักษาตัวมันหายไม่ได้มันก็จะเป็นปลาตาย

เวลาปลาตาย เห็นไหม ปลาตายนี่เป็นเหยื่อ สัตว์มันจะกินซาก แต่ถ้าปลาตายนั้น เวลาตายแล้ว เวลาเอามาเป็นทางวิชาการ เอาปลานั้น เห็นไหม ดู เอาปลาชนิดนี้มีเกล็ดอย่างนั้น มีรูปร่างอย่างนั้น มีความเป็นไปอย่างนั้น นี่ก็เหมือนกัน ธรรมและวินัย ดูสิ เราศึกษาขึ้นมา เหมือนกับปลาตาย มันเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนั้น...มันเป็นความจริงไหมล่ะ? นี่มันเป็นความจริงตามปริยัติ

ถ้าปริยัติ ปลาก็คือปลา ปลาเป็นกับปลาตายมันต่างกันตรงไหน

“ปลาเป็น” มันมีชีวิตเท่านั้นเอง มันดำรงชีวิตของมันได้ มันจะเติบโตของมันได้ ถ้ามันมีอาหารของมัน มันกินอาหารของมัน มันเจริญเติบโตขึ้นมา ชีวิตดำรงอยู่ได้

“ปลาตายแล้ว” ปลาตายแล้วก็คือปลา ปลาตายแล้ว เห็นไหม ซากของมันเขาเอามาเป็นอาหาร นี่ปลาเป็นกับปลาตายมันต่างกันตรงไหน? มันไม่เห็นต่างกันตรงไหนเลย ต่างกันที่มีชีวิตกับไม่มีชีวิตเท่านั้นเอง

ธรรมะก็เหมือนกัน ถ้าธรรมะที่ไม่มีชีวิต ธรรมะที่เราศึกษานี่มันมีชีวิต มีความรู้สึกไหม มันไม่มีชีวิตเพราะอะไรล่ะ มันไม่มีชีวิตเพราะเรา เพราะกิเลสตัณหาความทะยานอยาก เวลากิเลสตัณหาความทะยานอยากขึ้นมา เห็นไหม นี่เราเหมือนปลาตาย นี่ไง เวลาศึกษา เราเกิดมาเป็นมนุษย์ เรามีกิเลสตัณหาความทะยานอยาก เวลาเราศึกษาขึ้นมา นี่เป็นธรรมๆ...มันธรรมเมา

เวลาปลามันเมาน้ำนะ เวลามันเมาน้ำของมัน ถ้าในน้ำจืด เวลาฝนตก เวลาสิ่งที่มันชำระสิ่งที่สารมีพิษออกไปในน้ำ มันไม่มีออกซิเจน ปลามันก็กระเสือกกระสนของมัน ปลามันกระเสือกกระสนของมัน นี่มันเมาของมัน มันต้องรักษาชีวิตของมันนะ ถ้าผู้ที่มาเห็น ผู้นั้นเขาก็เอาไปเป็นอาหาร ปลาในน้ำเค็ม น้ำเค็มมันต้องมีคุณค่าความเค็มของมัน เวลาน้ำจืดลงไปนะ คุณค่าความเค็มของมัน มันไม่ได้ส่วนของมัน มันก็เมาของมัน มันเมาของมัน มันดิ้นรนของมัน นี่ชีวิตของมันอยู่ในวิกฤต

เวลาเราศึกษาธรรมและวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าเราเมาธรรมล่ะ เห็นไหม เราศึกษากันว่า เรารู้แล้วๆ สิ่งที่ศึกษาธรรมๆ ศึกษามาแล้วมันเมา มันเมาของมันนะ มันเมาธรรมะ เวลาเมาธรรมะขึ้นมา เห็นไหม เวลาบอก ทุกคนบอกว่า เวลาปฏิบัติทางโลก เขาปฏิบัติกันแล้วเขาสะดวกสบาย ทำไมเราต้องมาทุกข์มายาก ทำไมเราต้องมาปฏิบัติด้วยความเข้มข้น ด้วยความเข้มข้นเห็นไหม

สิ่งที่ปลามันจะผ่านวิกฤต ปลามันต้องฉลาด มันจะไม่เข้าไปสู่ในวังวนอย่างนั้น ถ้ามันมีโอกาสของมัน มันจะเอาตัวมันรอดจากสภาพน้ำที่ไม่มีออกซิเจน จากสภาพน้ำที่ความเค็มของมันไม่ได้ถึงค่าของมัน มันจะต้องฝึกตรึกตัวของมัน ตรึกตัวของมันเพื่อมีสติมีปัญญาของมัน เพื่อจะเอาตัวมันรอดจากการเสียชีวิตนั้น

เวลาเราศึกษาธรรมะๆ ศึกษาแล้วสบาย เวลาปฏิบัติ ดูสิ เขาบอกว่าเขาใช้ปัญญา ปริยัติ ศึกษามาแล้วต้องปฏิบัติ เวลาปฏิบัติ ปฏิบัติแล้วเขามีความสะดวกสบายมาก ธรรมะนี่สุดยอดมาก สบาย ว่างหมดเลย นี่มีคุณค่ามาก...ธรรมะตาย มันเมาธรรมน่ะ มันมีสติปัญญาไหม

แต่เวลาเราจะปฏิบัติตามความเป็นจริง ปลาที่มันจะมีคุณค่า มันจะมีความเข้มแข็งของมัน มันต้องออกจากวิกฤตนั้น ออกจากวิกฤตนั้นคือออกจากความรู้สึกนึกคิดในหัวใจนั้น ถ้ามันออกจากความรู้สึกนึกคิดมันไม่เมาไง

เวลามันเมานะ เวลามันเมาขึ้นมามันก็บอกว่ามันสบายๆ มันไม่มีสติ เห็นไหม นี่ธรรมะตาย จากเมาแล้วมันก็จะตาย เวลาตายขึ้นมา มันได้ผลอะไร

แต่ถ้าธรรมะเป็นๆ นะ ธรรมะเป็นๆ มันจะเกิดมาจากไหน? มันจะเกิดมาจากความจริงของเรา ถ้าความจริงของเรานะ มันสื่อสารกันได้

เวลาครูบาอาจารย์ของเรานะ หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่ฝั้นนี่เวลาท่านขึ้นไปเชียงใหม่ ขึ้นไปหาหลวงปู่มั่น เวลาขึ้นไปหาหลวงปู่มั่นนะ หลวงปู่มั่นท่านประพฤติปฏิบัติของท่านมา ท่านผ่านวิกฤตของท่านมา ท่านรู้ว่าสิ่งใดเป็นจริงและไม่จริง นี่ธรรมะที่มีชีวิตที่มันเป็นๆ อยู่นี่ เวลาท่านอยู่ในป่าที่เชียงใหม่นะ ท่านรู้ รู้ว่าหลวงปู่ฝั้นกับหลวงปู่อ่อนจะขึ้นไปหาท่าน

เวลาหลวงปู่ฝั้นกับหลวงปู่อ่อนท่านไปถึงวัดเจดีย์หลวง นั่งพักอยู่ หลวงปู่มั่นเอารถมาจอดเลย หลวงปู่ฝั้นกับหลวงปู่อ่อนท่านบอกว่า “ครูจารย์ ครูจารยมาทำไมเนี่ย”

“เอ้า! ก็มารับท่านไง ก็มารับท่านนั่นแหละ...เก็บของ เก็บของ”

เอารถออกไปเข้าป่า ถึงสุดทางแล้วออกไปวิเวก ออกไปวิเวกในป่านะ ไปอยู่กับหลวงปู่มั่น นี่หลวงปู่ฝั้นนะ เวลาจิตใจของท่าน ท่านก็อยากออกเที่ยว ออกวิเวก ออกมาที่ในเที่ยวป่าเขา พอท่านขึ้นไปเชียงใหม่ ป่าเขาสมัยนั้นป่าดงดิบ มันเป็นที่วิเวก อยากจะไปมาก เช้าขึ้นมานะไปทำข้อวัตร คือไปรับบาตรหลวงปู่มั่น

พอรับบาตรหลวงปู่มั่น “จะไปไหน จะไปไหน? ที่ไหนมันจะดีกว่าที่นี่ ที่นี่ดีที่สุด”

หลวงปู่ฝั้นท่านเงียบ อุปัฏฐากบาตร เอาบาตรมาจัดแล้วออกบิณฑบาต เช้าขึ้นมาทำข้อวัตรปฏิบัติมีอยู่แล้ว เป็นอยู่อย่างนั้นน่ะ จิตใจมันคิดอยากจะออกเที่ยว จิตใจมันคิดจะไป ไปเที่ยว พอไปขึ้นมา เช้าขึ้นมาไปนะ เพราะความคิด นี้หลวงปู่มั่น

นี่ “ธรรมะเป็นๆ” ธรรมะที่มีชีวิต

พอเช้าขึ้นมา “ไม่ดี ที่ไหนก็ไม่ดี...ที่นี่ดีที่สุด ที่นี่ดีที่สุด”

หลวงปู่ฝั้นท่านก็ประพฤติปฏิบัติของท่าน ท่านพิจารณากายของท่าน คืนที่พิจารณากายของท่านนะ หลวงปู่มั่นท่านเล็งญาณดูหลวงปู่ฝั้น เล็งญาณดูทั้งคืนเลย หลวงปู่ฝั้นท่านพิจารณาของท่าน มันเลาะ มันถอด มันถอน มันเลาะของมันนะ

เวลาปฏิบัติ เขาบอกว่า ทำไมจะต้องปฏิบัติให้มันทุกข์มันยาก เราศึกษาธรรมมา เรามีปัญญาของเราแล้ว เราพิจารณาของเราแล้ว...นั่นล่ะมันธรรมเมา ปลานั้นกำลังจะตาย ตายอะไร? ตายจากคุณงามความดี ตายจากความจริง ตายจากสิ่งที่มันจะได้เป็นผลประโยชน์ของมัน

แต่เวลาหลวงปู่ฝั้นท่านพิจารณาของท่าน อยู่ในป่าในเขาท่านพิจารณาของท่าน เห็นไหม หลวงปู่มั่นท่านบอกว่า ท่านใช้จิตของท่าน ดูหลวงปู่ฝั้นท่านทำอะไรของท่านอยู่ พิจารณาแล้วพิจารณาเล่า พิจารณาของท่านไป จนมันเลาะไป เพราะจิตมันพิจารณามันถึงมีกำลังของมัน มีสติ มีปัญญาของมัน พิจารณาแล้วมันปล่อย มันปล่อย มันปล่อยแล้วมันก็ยังไม่ขาด เห็นไหม พิจารณาซ้ำๆ จนโลกนี้ราบหมด พิจารณากายปล่อยหมด ว่างหมดเลย

หลวงปู่มั่นท่านก็พิจารณาของท่าน ท่านจะส่งจิตดูอยู่

เช้าขึ้นไป หลวงปู่ฝั้นท่านจะไปรับบาตร รับบาตรมาจัดบาตร

“เห็นหรือยังว่าที่นี่มันดี เห็นหรือยังว่าที่นี่มันดี ธรรมะมันอยู่ที่ไหน ธรรมะมันอยู่ที่ป่าเขา มันอยู่ในตำรา มันอยู่ที่ไหน? ธรรมะมันอยู่ในหัวใจใช่ไหม แล้วยังสงสัยสิ่งใดอยู่ มีสิ่งใดยังสงสัยในหัวใจอีกไหม”

นี่ไง ความจริงมันอยู่ที่นี่ นี่ความเป็นจริงมันเป็นความจริง มันมีชีวิต มันตรวจสอบกัน มันเป็นความจริงอย่างนี้ นี่ธรรมะที่มีชีวิต ธรรมะเป็นๆ ไม่ใช่ธรรมะที่ตายแล้ว ธรรมะที่ตายแล้วมีแต่ความพร่ำเพ้อ มีแต่ความเพ้อฝัน “สบายๆ” สบายอะไร นั่นน่ะ ธรรมะที่มันตายแล้วนะ

แต่ถ้าธรรมเป็นๆ มันจะเริ่มมีการกระทำของมันนะ

เวลาหลวงตานะ ท่านพิจารณาของท่าน อยู่กับหลวงปู่มั่น พิจารณาของท่าน พิจารณาไปแล้ว สิ่งนี้พิจารณาจนโลกนี้ราบหมดเลย พอโลกนี้ราบหมด มันมีความสุข มีความสุข มีความตื่นเต้นดีใจมาก

เวลาเข้าไปหาหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นบอกว่า “สิ่งนี้เหมือนเราเลยที่ถ้ำสาริกา เหมือนเราเลย แต่ของเรามียักษ์” มีสิ่งต่างๆ เพราะมีอำนาจวาสนาบารมีต่อไป

แต่ของท่านไม่มี พอไม่มี พิจารณาซ้ำๆ แต่เพราะว่าคนเรามันยังมีกิเลสอยู่ กิเลสที่ละเอียดมันยังมีอยู่ มันก็อยากได้อย่างนี้ คำว่า “อยากได้อย่างนี้” อยากได้สิ่งที่มันมีความสุข เพราะจิตเวลามันพิจารณาแล้วโลกนี้ราบ มันปล่อยหมด ว่าง เวิ้งว้างไปหมด มีความสุขมาก มันมีความจริงของมัน มันมีความดูดดื่ม นี่มันอยากได้ ความที่มันมีชีวิต มีความรู้สึกนึกคิด

จิตใจมันดีไง “จะเอาอย่างนี้อีก”

“มันก็เป็นหนเดียวเท่านั้นแหละ”

นี่พอมันเป็นหนเดียว สิ่งที่พอเป็นหนเดียว มันหนเดียวมันก็เป็นแล้ว เป็นแล้วทำอย่างไรต่อล่ะ ก็สิ่งนั้นต้องเป็นธรรม เพราะมันมีความสุข มีความสงบระงับ แล้วด้วยความเคารพว่าหลวงปู่มั่นท่านว่าอย่างนั้น

นี่ไง หลวงปู่มั่น ดูสิ เวลาหลวงปู่มั่นท่านดูหลวงปู่ฝั้นอยู่ ท่านดูว่าพิจารณาอย่างไร ปล่อยวางอย่างไร แล้วเป็นประโยชน์อย่างไร แล้วส่งเสริม นี่เหมือนกัน พิจารณาอย่างไร แต่เพียงแต่ว่าที่เวลาพูดแล้ว สิ่งนี้มันได้สัมผัสแล้ว

ทีนี้ คำพูด การตีความ เวลาธรรมะที่มันเป็นๆ ขนาดนี่มีชีวิตนะ สิ่งที่ธรรมะมีชีวิตคือสิ่งที่มีขั้นมีตอน สิ่งที่มีคุณธรรม แล้วคุณธรรมนี่สื่อสารกัน สื่อสารเพราะสิ่งที่มีชีวิตสัมผัส ความสัมผัส จิต เวลาสัมผัสธรรมขึ้นมา มีสติธรรม สมาธิธรรม ปัญญาธรรมที่มันสัมผัสกับจิต แล้วจิตมันออกรื้อค้น ออกพิจารณาของท่านในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม พิจารณาซ้ำพิจารณาซาก จนมันปล่อยวาง เพราะมีความรู้สึก มีความสุข มีความสงบ มีความระงับ มีการสมุจเฉท มีการกระทำขึ้นมา มันสิ้นสุดกระบวนการของมันไปแล้ว ทั้งๆ ที่สิ่งที่มีชีวิต ทั้งๆ ที่แตะมือกันอยู่อย่างนี้

ธรรมะกับกิเลสมันต่อสู้กันหัวใจของผู้ที่ปฏิบัติ แต่ธรรมที่มีชีวิตต่างๆ ก็แตะมือกันได้ พอแตะมือกันแล้ว แต่ผู้ที่แตะมือแล้วมันก็ยังมีความคิดว่าสิ่งที่หนเดียวก็เป็นอย่างนี้ เวลาเห็นเป็นอย่างนี้นะ เวลาประพฤติปฏิบัติไป หลวงปู่มั่นท่านถามประจำ “จิตเป็นยังไง จิตเป็นยังไง” เห็นไหม หาทางออก หาทางออก สิ่งที่มีชีวิตมันสัมผัส มันตรวจสอบ มันกระทบกระเทือน มันเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา มันมีการกระทำได้

แต่ถ้ามันเป็นธรรมเมา เวลามันเมา คนเรานะ เวลาประพฤติปฏิบัติ เวลามันเมาขึ้นมา คนเรานะ เวลาขับรถหลับในมันก็ตายนะ แต่ถ้ามันเมานะ เวลาปฏิบัติมันเป็นโลก ธรรมะตายๆ นี่มันเป็นสัญญา มันเป็นเรื่องโลกียะ มันเป็นเรื่องสิ่งที่จดจำมา แล้วคนเรา จิตใจมันมีความมหัศจรรย์ เวลาคิดสิ่งใดมา สิ่งใดที่มันเป็นสิ่งที่รกพะรุงพะรังในหัวใจ

ถ้ามันคิดเป็นธรรม มันก็คือจัดกระบวนการของความคิด กระบวนการของความคิดที่มันจับต้องให้มันเป็นระบบ เห็นไหม อืม! สบาย ว่างหมดเลย โอ๋ย! ธรรมะนี่สุดยอดเลย

พวกเรานี่นะ มีบารมีธรรมแค่นี้เหรอ มีอำนาจวาสนาเท่านี้ใช่ไหม เกิดมาเป็นชาวพุทธนี่ พบพระพุทธศาสนานี่ แล้วประพฤติปฏิบัติ เวลาขบวนของความคิดถ้ามันฟุ้งมันซ่าน ถ้ามันขัดแย้งในหัวใจ มันเอาแต่ความทุกข์ยากมาทับถมหัวใจ เวลาศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วก็จัดเป็นหมวดหมู่เท่านั้นเอง

ขันธ์เป็นขันธ์ จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ เวลามีสติมีปัญญา มีสติยับยั้งขึ้นมาแล้วมันก็จะเป็นอย่างนั้น นี่มีสติควบคุมมัน เวลาการเคลื่อนไหวต่างๆ ก็มีสติรู้พร้อม พอรู้พร้อมแล้วมันก็หยุดนิ่ง ความหยุดนิ่งแล้วมันก็ไม่มีสิ่งใดที่มันเสวยอารมณ์ มันก็...

เรามีปัญญากันแค่นี้เหรอ เรามีสติปัญญา เรามีอำนาจวาสนากันเท่านี้ใช่ไหม ถ้าเรามีอำนาจวาสนาบารมีเท่านี้มันก็เป็นธรรมะตายๆ ไง มันจะตายไปจากธรรม มันจะตายไปจากข้อเท็จจริง มันจะไปอยู่กับซากศพที่ปลาตายที่มันลอยขึ้นมาเป็นอาหารของสัตว์นั่นน่ะ

แต่ถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมามันต้องมีความจริงของมัน ถ้ามันมีความจริงของมัน มันจะมีความสงบระงับ มันจะมีการเป็นไป แล้วความเป็นไป ครูบาอาจารย์ที่เป็นจริงๆ เขาสัมผัสเหมือนกัน สัมผัสที่ไหน ขนาดว่าทำความสงบของใจยังไม่รู้จักว่าใจสงบหรือว่าใจไม่สงบ ถ้าใจมันสงบขึ้นมา ใจเป็นสัมมาสมาธิขึ้นมา มันออกใช้ปัญญาอย่างไร แม้แต่ความสงบระงับในใจยังไม่รู้

แต่เวลามันจัดกระบวนการของความคิดขึ้นมา พอมันเข้าสู่ระบบของความคิดขึ้นมามันก็ไม่มีสิ่งใดขัดแย้ง พอไม่มีสิ่งใดขัดแย้งก็บอก “นี่ไง ปล่อยวางหมดเลย” แล้วปล่อยวางทำไม? ปล่อยวางไว้เวลาเราประพฤติปฏิบัติไปเพื่อมรรคผลอีกแสนชาติข้างหน้านั้น เพราะเราทุกคนคิดว่า ถึงมรรคถึงผลมันเป็นไปไม่ได้ เราจะมีอำนาจวาสนาเข้าถึงมรรคถึงผลเชียวเหรอ เราเป็นจริงเหรอ

เพราะสิ่งนี้ นี่ไง มันตายหมดแล้วไง มันตายจากคุณงามความดี มันตายจากความตั้งใจจริง มันตายจากการกระทำของมันหมดถ้าจิตใจมันตายจากคุณงามความดี แต่จิตใจมันไม่ตาย แต่มันได้แต่สิ่งที่เป็นเหลือซาก กิเลสมันหลอกแล้วมันเหลือซากไว้ ก็ได้ซากสิ่งนั้นมาเท่านั้นเอง

ฉะนั้น เวลาหลวงปู่มั่นท่านพิจารณาของท่าน “จิตสบายดีไหม จิตสบายดีไหม”

ถ้า “จิตมันสบายดี”

“ถ้าสบายดีแล้วมันควรออกใช้ปัญญา ออกเพื่อเป็นประโยชน์”

“อ้าว! มันจะประโยชน์อะไร นี่ไง นี่ก็สัมมาสมาธิ นี่ก็ความถูกต้องดีงามแล้ว”

นี่ธรรมะเป็นๆ มันแตะมือกัน พอแตะมือกันนี่มีการกระทำ มีการกระทำมันมีเหตุมีผล มีเหตุมีผล นี่ไง ความจริงไง ความจริงมันเป็นของมันอย่างนั้น มันถึงกระบวนการ ถึงมีการเกิดขึ้นด้วยมรรคญาณ ด้วยความเป็นจริงในหัวใจ ถ้าด้วยความเป็นจริงในหัวใจมันจะเกิดขึ้น กระบวนการเกิดขึ้น นี่มรรคญาณมันเกิดขึ้น พอมันเกิดขึ้น นี่ไง สิ่งที่มีชีวิต ธรรมะเป็นๆ นะมันจับต้อง มันสัมผัส

แต่สิ่งที่เป็นความจำ ความจำมันได้สิ่งใดมา แล้วความจำได้สิ่งใดมาน่ะ เพียงแต่มันเป็นกระแส กระแสที่สังคมโลกที่มันมีความเจริญขึ้นมา เราก็อยู่ในสังคมโลกนั้นเท่านั้นเอง สังคมโลกไม่ใช่สังคมธรรม ถ้าสังคมธรรม เวลาพูดถึงความสงบระงับ พูดถึงศีล สมาธิ ปัญญา สังคมธรรมเขาต้องรู้กันได้ว่าเป็นอย่างไร ถ้าเป็นความจริงนะ

สิ่งที่ว่าหลวงปู่มั่นท่านพิจารณาของท่าน นี่ไง เวลาหลวงปู่มั่นท่านพูด “หมู่คณะให้ประพฤติปฏิบัติมานะ แก้จิตนี้แก้ยาก ผู้เฒ่าตายไปแล้วไม่มีใครแก้นะ”

แก้จิตนี้แก้ยากเพราะเหตุใด แก้จิตนี้แก้ยากเพราะหลวงปู่มั่นท่านต้องพลิกประสบการณ์ของท่านมา ถ้าประสบการณ์ของท่านมา ท่านออกประพฤติปฏิบัติ เพราะท่านเกิดมา เห็นไหม ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก “เกิดมาชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย” ที่สวนลุมพินี ขณะที่ว่ากำลังดำรงชีวิตขึ้นมา เวลาพระเจ้าสุทโธทนะให้มีคู่ครอง มีคู่ครองมาจนมีสามเณรราหุล แต่ก็ยังมีใฝ่ใจอยู่ว่าจะออกหาโพธิญาณให้ได้ เวลาออกประพฤติปฏิบัติขึ้นมาก็สิ้นสุดไปเพราะอะไร

เพราะได้สร้างสมบุญญาธิการมา สร้างสมบุญญาธิการมา “เราเกิดชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย” แต่คำว่า “เกิดชาตินี้ชาติสุดท้าย” นี่คือการเกิดในวัฏฏะ แต่เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมามันต้องเป็นสัมผัสความจริง ไปสัมผัสกับเจ้าลัทธิต่างๆ ประพฤติปฏิบัติขึ้นมาจนเป็นความจริงในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นมา ในใจมา ตั้งแต่ปฏิบัติกับเขามานี่ธรรมะตายๆ ทั้งนั้น

บอก ธรรมะมีอยู่โดยดั้งเดิม ของมันมีอยู่แล้ว คนเกิดมา ธรรมะมีอยู่แล้ว

ถ้ามีอยู่แล้วนะ มันขุด มันค้นหา มันต้องเจอสิ แต่นี่มันมีอยู่แล้ว ทำไมมันทุกข์ยากขนาดนี้ เลยย้อนกลับมาถึงอานาปานสติ เวลาย้อนกลับมาถึงอานาปานสติ ทำความสงบของใจเข้ามา เห็นไหม ต้องมีความสงบของใจ ถ้าใจมันสงบขึ้นมาแล้วมันจะไปสู่ความจริง ถ้าสู่ความจริง มันมีสัมผัส มันมีชีวิต มันมีการกระทำ

เวลามันสงบ มันสงบเข้ามา มันจะเข้าไปสู่ข้อมูล ข้อมูลความเป็นจริง บุพเพนิวาสานุสติญาณ ถ้ายังไม่สิ้นสุดกระบวนการของมัน มันไปจุตูปปาตญาณ แล้วพอกระบวนการของมรรคมันเกิด นี่ไง เป็นๆ ทั้งนั้น จับต้อง สัมผัส มันจับต้อง สัมผัส มันชำระออกมา มันสำรอกกิเลสออกไป อาสวักขยญาณทำลายถึงสิ้นกระบวนการออกไปแล้ว นี่เสวยวิมุตติสุข สุขเพราะอะไร สุขเพราะมันสำรอกคายออกหมด

สิ่งที่ว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขาราปจฺจยา วิญฺญาณํ ความไม่รู้จริง ความไม่รู้ในหัวใจของเรา เพราะใจมันไม่รู้ มันถึงได้เกิดได้ตายอยู่อย่างนี้ แม้แต่เป็นพระโพธิสัตว์ เวียนตายเวียนเกิดขึ้นมาก็เวียนตายเวียนเกิดในคุณงามความดี เพราะสร้างคุณงามความดี สิ่งที่เป็นคุณงามความดีเสริมที่เป็นคุณงามความดี จนถึงที่สุดมันก็ต้องมาประพฤติปฏิบัติจนถึงที่สุดนะ

เวลาหลวงปู่มั่นก็เหมือนกัน หลวงปู่มั่นท่านออกบวช ออกบวชเป็นเณร เณรท่านก็บวชมาแล้วสึกไป ไปช่วยพ่อ แล้วหลวงปู่เสาร์เอามาบวชใหม่ พอบวชใหม่นี่ประพฤติปฏิบัติ เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นไปนี่ความจริงมันเกิดตรงนี้

สิ่งที่ว่าเวลาปฏิบัติขึ้นไป เห็นไหม ปฏิบัติขึ้นไปแล้วมันรู้เท่า รู้สิ่งต่างๆ แล้วนี่มันจะทำอะไรสิ่งใดต่อ ทำจนจิตสงบนะ พอจิตสงบขึ้นมาแล้วพิจารณากายไปแล้ว พิจารณาไปแล้วมันก็ยังเป็นปกติ เวลาพิจารณากายออกไปแล้วมันก็คลายตัวออกมา มันก็ไม่มีสิ่งใดที่มันจะก้าวหน้าเลย นี่หาทางออก หาทางแล้วหาทางเล่า หาทางออก หาทางแล้วทางเล่า

คนที่มีอำนาจวาสนาบารมีนะ เขาไม่จม ไม่จมไม่เมาความรู้สึกนึกคิด เขาไม่เมาในสิ่งที่ว่าเราศึกษาว่าธรรมะๆ ธรรมะขึ้นมา ดูสิ เวลาธรรมะ โลกเขาไม่สนใจกันก็ไม่มีใครสนใจ พอโลกเขาสนใจกันก็สนใจกันขึ้นมา เห็นไหม น้ำ น้ำโดยธรรมชาติของมัน มันมีอยู่โดยระดับน้ำของมัน มันเกิดฝนตก เกิดกระแสน้ำ เกิดต่างๆ มันชะสิ่งใดๆ มา น้ำนั้นมีออกซิเจน

นี่ก็เหมือนกัน ศึกษาธรรมๆ ก็ศึกษาธรรมกัน ศึกษาธรรมเมากันไปหมดเลย แล้วความเป็นจริงอยู่ไหน แล้วไอ้ปลาตัวที่มันเข้มแข็ง ไอ้ปลาตัวที่มันจะฝ่ากระแสนี้ไปให้มันได้สัมผัสความจริง มันอยู่ไหน นี่ไง มันเมากันไปหมดเลย

พอเมาขึ้นไป เห็นไหม พอปฏิบัติขึ้นมาก็ อย่างนี้ปล่อยวางอย่างนี้ กามสุขัลลิกานุโยค เวลาถ้ามันปฏิบัติไป อัตตกิลมถานุโยค แล้วมัชฌิมามันอยู่ที่ไหน มัชฌิมามันเป็นอย่างไร นี่มัชฌิมา ศึกษาแล้วมัชฌิมา

สิ่งที่กระทำมันเป็นความจริงมาจากตรงไหน ถ้ามันไม่มีความจริงขึ้นมา เพราะมันขาดผู้นำ

แต่เวลาหลวงปู่มั่นเข้ามา ท่านปฏิบัติของท่าน ท่านไม่มีใคร ไม่มีใครเพราะการสร้างบารมีมาของท่าน ท่านปฏิบัติของท่าน เวลาปฏิบัติของท่านจนจิตสงบระงับ นี่พิจารณากายแล้วออกมามันก็เท่านั้นน่ะ พิจารณากายนี่แหละ พอพิจารณากายๆ พิจารณากายด้วยปากไง แต่หลวงปู่มั่นท่านพิจารณาของท่านจริงๆ นะ เพียงแต่ว่าพิจารณาไปแล้วมันธรรมะมันยังไม่เป็นขึ้นมา นี่ไง มันธรรมะเหมือนกัน ธรรม ที่ปฏิบัติธรรม

หลวงปู่เสาร์ท่านเป็นใคร? หลวงปู่เสาร์ท่านเป็นอาจารย์ของหลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ท่านประพฤติปฏิบัติมา ท่านบวชมาแล้วท่านศึกษาของท่านมาทั้งนั้นน่ะ แต่ท่านทำของท่านขึ้นมา นั่นคือธรรมอะไร นี่ไง ในเมื่อธรรมะมันยังไม่เป็นขึ้นมา มันจะก้าวเดินไปไหน ถ้าธรรมะมันยังไม่มีความจริงขึ้นมา จนประพฤติปฏิบัติขนาดไหนมันก็ไปไม่ได้

ด้วยอำนาจวาสนานะ ย้อนกลับมาลาสิ่งที่เราได้สร้างสมบุญญาธิการ สร้างสมบุญญาธิการมาเป็นพระโพธิสัตว์ เป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป ฉะนั้น สิ่งที่จะเป็นต่อไปก็ต้องพิจารณาเป็นฌานโลกีย์อย่างนี้ นี่ภาวนาขึ้นมาก็เป็นความรู้ขึ้นมา แต่มันไม่มีชีวิต มันไม่มีชีวิตจิตใจที่จะสร้างสมให้มันเข้มแข็งขึ้นมา ให้หน่อแห่งพุทธะเกิดขึ้นมาได้ นี่ท่านถึงได้ลาโพธิสัตว์ พอลาโพธิสัตว์ขึ้นมา พอพิจารณากายเข้าไป ทำความสงบของใจ แล้วพิจารณากายเข้าไป พอพิจารณากายเข้าไปมันสำรอก มันคายแล้ว มันคายเพราะอะไร เพราะมันเป็นสัจจะ มันเป็นสัจจะ มันเป็นความจริง

แต่ถ้ามันเป็นธรรมะแห้งๆ ธรรมะที่ตายแล้วล่ะ ธรรมะที่ตายแล้วมันพิจารณาของมัน แต่มันไม่เข้าถึงสัจจะความจริง มันไม่เข้า ฉะนั้น เวลาเราพิจารณา ก็ว่าเราพิจารณากาย เราพิจารณากันอยู่ ทำกันอยู่นี่ เราปฏิบัติกันอยู่นี่ ปฏิบัติเพื่ออะไร? นี่ไง มันเมาธรรมะไหม ถ้ามันเมาธรรมะ มันเป็นความจริงไหม แม้แต่ทำความสงบของใจเข้ามา พิจารณาเข้ามาถ้าเป็นความจริงนะ ความจริงเข้ามามันจะเข้ามาแยกแยะของมัน แต่นี่เป็นอะไร? นี่เป็นความจริง แต่เพราะมีอำนาจวาสนา วาสนาที่ว่าอยากเป็นพระโพธิสัตว์ มันเป็นฌานโลกีย์ มันจะเข้าสู่อริยสัจไม่ได้

ทีนี้พอลาโพธิสัตว์แล้วจะเข้าสู่อริยสัจแล้ว ถ้ามันเข้าสู่อริยสัจ เห็นไหม พิจารณากายเหมือนกัน พิจารณากายมาแล้วมันเป็นปกติ มันไม่มีสิ่งใดเลย แต่พอพิจารณากายที่เราเปิดหัวใจ เปิดความเป็นจริง สิ่งมีชีวิต มีออกซิเจน มีต่างๆ ในการดำรงชีวิตขึ้นมา พอมันเป็นขึ้นมานี่มันเป็น มันสัมผัสแล้ว พอมันเป็นขึ้นมา พิจารณาแล้ว พิจารณากาย มันปล่อย มันปล่อย อืม! อย่างนี้ใช่ อย่างนี้ใช่ นี่ไง มันมีจุดเริ่มต้น

ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย้อนกลับมาที่อานาปานสติ พออานาปานสติเข้าไป พอพิจารณาเข้าไปแล้วมันจะมีบุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ นี่ไง นี่มันยังไม่เข้าสู่มัชฌิมาปฏิปทา นี่กามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค นี่มันเป็นทาง ๒ ส่วน เวลามันลงมัชฌิมาปฏิปทาล่ะ มันลงสู่มรรคญาณล่ะ นี่สำรอกหมด คายหมด อวิชชา...ได้ทำลายพญามารหมดสิ้น

เวลาหลวงปู่มั่นท่านปฏิบัติของท่าน มันพิจารณาของท่าน พอพิจารณา พิจารณากาย พิจารณากายมาแล้วมันปล่อยอย่างไร มันวางทำไม พิจารณากายซ้ำแล้วซ้ำเล่า นี่เวลามันขาด เวลาขาด ขาดไป พิจารณากายซ้ำอีก มันก็เป็นราบ โลกนี้ราบหมด

เวลาหลวงปู่มั่นบอก “จิตนี้แก้ยาก” แก้ยากเพราะอะไร

แก้ยากเพราะท่านได้สมบุกสมบันมา ท่านได้สัมผัสมา ธรรมะเป็นๆ เกิดจากหัวใจของท่าน ถ้าธรรมะเป็นๆ เกิดจากหัวใจของท่าน ธรรมะเป็นๆ คือธรรมะที่มีชีวิต ธรรมะที่มีความรู้สึก ดูสิ เวลาเราปลูกต้นไม้ ต้นไม้ เวลาถ้ามันยังเป็นอยู่ มันจะเติบโตของมัน ถ้าต้นไม้ที่ตายแล้ว ไม้ที่ปักไว้นี่รดน้ำพรวนดินมันจะขึ้นไหม รดน้ำพรวนดิน ต้นไม้ที่มันตายแล้วมันจะงอกงามไหม

นั่นน่ะ ต้นไม้ที่มันตาย พอต้นไม้ที่มันตาย ก็จิตที่มันตายไง จิตที่มันตายจากคุณงามความดีไป แล้วมันจะได้เอาสิ่งใดขึ้นมาให้ต้นไม้นี้มันได้งอกงามขึ้นมา ธรรมะมันจะมีชีวิตขึ้นมา มันจะเป็นขึ้นมาได้อย่างใด

แต่ถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมา เห็นไหม เวลาปลูกขึ้นมา สิ่งที่มันมีชีวิตขึ้นมา เวลามันเติบโต นี่ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้ามันมีความสงบระงับของมันขึ้นมา เวลามันใช้พิจารณาของมัน นี่หน่อพุทธะมันเกิด พอหน่อพุทธะมันเกิด มันเจริญงอกงามของมันขึ้นมา มันออกดอกออกผล มันมีความจริงของมันขึ้นมา เห็นไหม ถ้าความจริงขึ้นมามันจะเป็นประโยชน์กับใคร? มันก็ประโยชน์กับใจดวงนั้น นี่ถ้ามันทำจริงมันเป็นแบบนี้

นี่ธรรมะเป็นๆ เป็นแบบนี้ ไม่ใช่ธรรมะที่ตายแล้ว

เราศึกษากัน เราปฏิบัติกัน เรามีความจริงของเรา เราจะเข้าไปสู่ความจริงของเรา ถ้าเป็นความจริงของเรา ครูบาอาจารย์ท่านประพฤติปฏิบัติมาแล้ว ถ้าปฏิบัติมาแล้วมันก็เริ่มต้นจากทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าใจมันสงบระงับเข้ามา กิเลสมันสงบตัวลง ถ้ามันสงบตัวลง ดูสิ กระแสของน้ำ กระแสของคลื่นมันซัดมาขนาดนี้ แล้วเราก็จัดขบวนความคิด จัดขบวนความคิดนะ

เวลาไปศึกษา เราเรียนปริยัติน่ะคืออะไร? มีสติ นี่กองของขันธ์ นี่รูป นี่เวทนา นี่สัญญา นี่สังขาร นี่วิญญาณ เห็นไหม เราจะคบเพื่อน คนเทียมมิตร มิตรแท้ มิตรเทียม เราต้องบริหารทิศ เราต้องมีคารวะ ๖ นี่ไง นวโกวาท เราก็ท่องกันทั้งนั้นน่ะ เราท่องมา ดูสิ เราจะดำรงชีวิตอย่างไร เราจะเป็นคนดี เราจะมีทาน เราจะมีศีล เราจะมีภาวนา นี่ศึกษามาๆ แล้วเราทำหรือเปล่า แล้วถ้าทำ ทำเป็นความจริง มันจะมีความจริงอะไรขึ้นมาบ้าง

นี่ไง พอเราศึกษาขึ้นมา เราก็เทียบอารมณ์เรา พอเราเทียบอารมณ์เรา เราก็เอาอารมณ์เราให้มันเป็นกระบวนการขึ้นมา เป็นกระบวนการขึ้นใช่ไหม อันนี้เป็นอารมณ์ความรู้สึก ถ้ามีสติปัญญามันก็จะดูแลรักษา เราจะมีจิตใจเป็นสาธารณะ เราจะมี...นี่ไง มันก็จัดกระบวนการความคิด

ในเมื่อเราศึกษามาแล้วมันเป็นทางวิชาการใช่ไหม วิชาการเราก็จำความคิด ความคิดจากอะไร? ความคิดจากชีวิตปกติ ทำชีวิตที่เราเป็นโลก เราเกิดมาเป็นมนุษย์ มนุษย์มันมีธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ แล้วเราศึกษาอย่างนี้ นี่ไง ธรรมะตายๆ

ธรรมะ ตำราขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่ปริยัติไง ปริยัติศึกษามาจากสุตมยปัญญา ศึกษาก็คือศึกษาข้อมูลนั้น ศึกษาคือจำสิ่งนั้นมา พอจำสิ่งนั้นมา เราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เพราะศึกษาแล้วต้องมีปฏิบัติใช่ไหม ศึกษาต้องมีปฏิบัติเพราะอะไร

เพราะในปริยัตินั้นก็บอกไว้แล้วว่า ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ การศึกษา ศึกษามาเพื่อปฏิบัติ พอเราปฏิบัติขึ้นมาเราก็ปฏิบัติด้วยกิเลสตัณหาความทะยานอยากของเรา พอเราจัดกระบวนการความคิดแล้ว เราบอกนี่คือปฏิบัติ นี่คือปฏิบัติ พอนี่คือปฏิบัตินะ มันก็ตายๆ ไง ตายจากคุณงามความดีไง

แต่ถ้าเรา ความสงบของใจ อันนี้เขาบอกอันนี้ไม่ใช่ปฏิบัติ อันนี้มันไม่เกิดปัญญา ไม่เกิดปัญญาเพราะอะไร เพราะพระพุทธศาสนา ศาสนาแห่งปัญญา แล้วถ้าไม่ใช้ปัญญา มันไม่ใช่พุทธศาสนา นี่เราก็ไปใช้ปัญญากัน เราใช้ปัญญา แต่ปัญญาอย่างนี้ ปัญญาจัดกระบวนการความคิด

เราศึกษามา กระบวนการความคิดเราตรวจสอบมาในใจหัวใจของเรา แล้วมากระบวนความคิดนี้มันก็เข้าระบบ พอเข้าระบบแล้วนะ กิเลสมันก็อาย พอกิเลสอายมันก็ไม่แสดงตัว ไม่แสดงตัวแล้วอย่างไรต่อไป อย่างไรต่อไป? ก็สบายๆ ไง...นี่มิจฉา มิจฉาสมาธิ ไม่มีสติปัญญาเข้าใจตัวความเป็นจริงของมัน

ดูสิ เราขับรถนะ คนขับรถไป ถ้าคนไหนคนขับรถ ขับรถแล้ว ด้วยการใช้งานร่างกายนี้มากเกินไป มันหลับในนะ พอมันหลับในแล้วมันได้อะไรขึ้นมา? พากันไปตายหมดน่ะ แต่ถ้าคนขับรถเขารู้จักพักผ่อนของเขา ถ้าเขามีสติปัญญาของเขา เขาจะเอารถของเขาไปสู่เป้าหมายของเขา ถ้าสู่เป้าหมายของเขานะ เขาต้องมีระยะทางของเขา เขาต้องมีกำหนดพักผ่อนของเขา แล้วเขาจะต้องดูแลรถของเขา

นี่ก็เหมือนกัน จิตใจที่มันจะก้าวเดินของมัน มันทำอย่างไร มันทำอย่างไรเพื่อประโยชน์กับมัน จิตใจนี่มันจะเป็นประโยชน์ของมันได้อย่างไร ถ้ามันจะเป็นประโยชน์ของมัน เห็นไหม เราไม่ใช่ธรรมเมาไง สิ่งใดก็เป็นสมบัติของเรา นี่หยิบฉวยเอาทั้งนั้น สมบัติที่เขาอยู่ในโลกนี้ เขาต้องมีการแลกเปลี่ยน เรามีสมบัติแค่ไหน เรามีเงินทองแค่ไหน เราถึงจะไปแลกสิ่งนั้นมาเป็นสมบัติของเรา

สติ ศีล สมาธิ ปัญญา จะไปหยิบฉวยมาจากไหน

แม้แต่ทางโลกเขา สติปัญญามันยังไม่มีขายเลย สิ่งที่เขามีขายกันนั่นเป็นขายแต่วัตถุ ไม่ใช่ขายคุณงามความดี ขายคุณงามความดี ขายความรู้สึกนึกคิดนี่ไม่มี ความรู้สึกนึกคิดมันก็ต้องศึกษาเรียนมา ประพฤติปฏิบัติขึ้นมาให้เป็นจริตนิสัยขึ้นมา ให้มันเป็นปัญญาขึ้นมาจากหัวใจจากภายใน นี่แม้แต่ทางโลกเขายังต้องมีการแลกเปลี่ยนซื้อขายกัน แล้วเวลาเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมานี่เราไม่ปฏิบัติขึ้นมา มันจะรู้มาจากไหน

แล้วเวลาเราไปศึกษาทางปริยัติมา สิ่งนั้นเป็นของเรา สิ่งนั้นเป็นของเราจริงๆ เหรอ เป็นของเราจริงๆ ไหม ถ้ามันเป็นของเราไม่จริง

นี่ไง ถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมา เราจะต้องตั้งสติ พอมีตั้งสติระงับแล้ว เราทำความสงบของใจ ใครเขาจะบอกว่ามันไม่เป็นปัญญา ไม่เป็นปัญญา มันเป็นคนละมิติกัน มิติหนึ่งนี้เป็นสุตมยปัญญา ศึกษามาเป็นแผนที่เครื่องดำเนิน เป็นกระดาษ สัญญาไปจำสิ่งที่กระดาษนั้นมามันก็เป็นสัญญาที่เป็นนามธรรม มันก็เป็นความรู้สึกนึกคิด มันไม่เข้าสู่ใจ

แต่เวลาเราทำความสงบของใจเราเข้ามานี่มันสงบที่ไหน? ฐีติจิต ธาตุรู้ ธาตุรู้ไง ธาตุที่มีชีวิต สิ่งที่ธาตุที่มีชีวิต พลังงานของมันโดนอวิชชาครอบงำอยู่ มันพลังงานอันนี้เวลามันเสวยอารมณ์ มันส่งออกไป ส่งออกไปคิดแล้วทุกข์นะ ศึกษามาจบแล้วนะ อืม! นิพพานไม่มี ศึกษามาจบแล้วมันหมดมรรคหมดผล หมดเขตหมดสมัยแล้ว นี่ไง เมากันไปหมดเลย

แล้วจะปฏิบัติขึ้นมาอย่างไร ปฏิบัติกันไปเพื่ออะไร? ก็ปฏิบัติไปเพื่อสร้างสมบุญญาธิการ ปฏิบัติไปเพื่อสร้างบารมี ปฏิบัติไปเพื่ออีกกี่พันชาติจะสำเร็จไปข้างหน้าโน่น

อันนั้นเรามองเห็นแต่สิ่งที่มันควบคุมไม่ได้

แต่ถ้าเรามีสติปัญญาของเรานะ นี่ไง ปัจจุบันธรรม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอน สอนปัจจุบันธรรม ถ้าปัจจุบันธรรม ปัจจุบันนี่มันเคลื่อนไปแล้ว เวลาส่งออกนี่พลังงานมันไปหมดแล้ว ความรู้สึกนึกคิดออกไปหมดแล้ว แล้วปัจจุบันอยู่ที่ไหน อะไรมันคือปัจจุบัน นี่ไง เราเริ่มต้น

ดูสิ หลวงปู่มั่นท่านบอกว่า “การแก้จิตแก้ยากนะ ให้ปฏิบัติมา ผู้เฒ่าอยู่ ผู้เฒ่าจะแก้ว่ะ ถ้าผู้เฒ่าตายแล้วใครจะแก้ ใครจะแก้”

นี่ก็เหมือนกัน เริ่มต้นน่ะ จิตอยู่ไหน ความรู้สึกนึกคิดอยู่ไหน ถ้ามันไม่มีสติปัญญา จิตมันจะสงบเข้ามาได้อย่างไร ถ้าจิตมันสงบเข้ามาแล้ว จิตสงบเข้ามา ถ้าจิตสงบเข้ามา นี่ไง จิตสงบเข้ามามีสติปัญญา นี่มันว่าง ว่างเราก็รู้ว่าว่าง ว่างเราก็ควบคุมความว่างของเราได้ ถ้ามันไม่มีสติปัญญามันก็แฉลบออก เวลามันว่างขึ้นมามันเห็นนิมิต มันรับรู้สิ่งต่างๆ

ถ้ามันรับรู้ รับรู้ไปทำไม เราไม่ต้องปฏิบัติ เราลืมตาเราก็เห็น เสียง หูเราก็ได้ยิน ทุกอย่างมันก็มีของมันแล้ว อายตนะกระทบอยู่แล้ว ของเรื่องนี้เป็นของโลกๆ แล้วเวลาจิตสงบเข้าไปแล้วมันทำไมต้องไปรู้ภายในอีก ถ้าเราไม่ต้องการรับรู้สิ่งใด เราต้องตั้งสติปัญญาของเรา กำหนดพุทโธๆ ให้มันมารับรู้สิ่งนี้เสีย ให้มันรับรู้

นี่ไง เวลาหลวงปู่มั่นท่านถึงบอกว่า “ทำความสงบของใจเข้ามาก่อน”

เวลาพระปฏิบัติขึ้นมา “มันจะไปไหน” เวลาหลวงปู่ฝั้นท่านคิดจะไปเที่ยวนะ “จะไปไหน ที่ไหนมันจะดี ที่ไหนมันจะดี? ที่นี่ดีที่สุด ที่นี่ดีที่สุด”

ที่นี่คือที่ไหน ที่นี่คือที่ไหน?

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม ตรัสรู้ที่ไหน? เราว่าตรัสรู้ที่โคนต้นโพธิ์ ต้นโพธิ์ แล้วโคนต้นโพธิ์แล้วใครนั่งอยู่โคนต้นโพธิ์ แล้วเวลาคนที่นั่งอยู่โคนต้นโพธิ์ คนนั่งมีหัวใจไหม แล้วความรู้สึกนึกคิดมันอยู่ที่ไหน เวลาจิตมันเข้าไปสู่ความสงบระงับอันนั้น อันนั้นต่างหากล่ะ นี่เวลาตรัสรู้ ตรัสรู้กลางหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ภาชนะที่จะบรรจุธรรม ภาชนะบรรจุธรรม สิ่งที่สัมผัสธรรมได้คือความรู้สึก คือพุทธะ พุทธะคือพุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ผู้ที่อยู่จิตใต้สำนึกนี่มันจะได้สัมผัส ถ้ามันได้สัมผัสขึ้นมา มันจะเอาอะไรสิ่งใดไปสัมผัส

นี่ไง ที่นี่คือที่ไหน ที่นี่คือที่ไหน?

ที่นี่ดีที่สุด ที่นี่ดีที่สุด

แล้ว “ที่นี่ดีที่สุด” เวลาครูบาอาจารย์ ธรรมะที่มีชีวิตเขารู้กัน เพราะคำพูดมันแทงหัวใจ มันแทงเข้าถึงความรู้สึกนึกคิดเลย แต่ของเรานี่นะ พูดขนาดไหนก็ไม่รู้ ยิ่งพูดขึ้นมา นี่ไง พอพูดปั๊บก็เข้ากระบวนการของสุตมยปัญญา เป็นจัดระบบความคิดไง “เหมือนกัน พูดนี่เหมือนกัน”...มันจะเหมือนมาจากไหน มันคนละเรื่องกันเลย ธรรมะตายๆ นี่สัญญาอารมณ์ต่างๆ มันตายหมดแล้ว มันจะไม่เป็นประโยชน์กับใครเลย

แต่ถ้ามันเป็นสิ่งที่มีชีวิตล่ะ เราเป็นหรือเปล่า จิตเราเคยเป็นไหม

ถ้าจิตเราเป็น เวลาครูบาอาจารย์พูดน่ะอ๋อเลย นี่ไง เวลากรรมฐานเขาคุยกัน เขาคุยคำเดียวนะ เป็นอย่างนั้นๆ แล้วเป็นไหม ถ้าไม่เป็นท่านไม่พูดแล้ว เพราะส่งไม้แล้ว ยื่นมือแล้ว เราแตะมือไม่ได้ ถ้าเราแตะมือไม่ได้ แตะมือไม่ได้เราก็ต้องพยายามสร้างสมเราขึ้นมาสิ ถ้าเราแตะมือไม่ได้ แสดงว่าเราไม่มีพื้นฐาน เราไม่มีสิ่งใดที่เป็นความจริงของเราขึ้นมาเลย มันตายไปหมดแล้ว

แล้วเราทำอย่างไรให้มันเข้มแข็งขึ้นมา ท่านยื่นมือมาแล้วเราแตะมือได้ พอแตะมือได้...ถูกต้อง ถูกต้องมันก็ขยับขึ้นไป ขยับขึ้นไป นี่มันมีความสัมผัส มันมีความจริง เห็นไหม นี่ไง ความรู้สึกนึกคิดเท่านั้นที่สัมผัสธรรมได้ ถ้ามันสัมผัสขึ้นมา มันสัมผัสเพราะเหตุใด มันสัมผัสอย่างไร แล้วสัมผัสที่มันละเอียดลึกซึ้งขึ้นไป

คำว่า “ละเอียดลึกซึ้ง” เรามีสติปัญญา เราจะแก้ไขเรา เราจะทำความจริงของเรา ถ้าทำจริงขึ้นมา พอเป็นสมาธินี่หูตาสว่างหมดนะ คนที่ไม่เคยทำสมาธิได้ จะพูดถึงเรื่องสมาธิถูกต้องไม่มี นี่ไง แล้วที่ทำสมาธิไม่ได้มันเป็นอะไรล่ะ? มันก็อยู่เป็นเหยื่อไง เป็นแพลงก์ตอนอยู่ในโลกนี้ เป็นสิ่งดำรงชีวิตในโลกนี้แล้วก็ตายกับโลกนี้ไป มันเป็นโลกไง กามภพ รูปภพ อรูปภพ

ความรู้สึกนึกคิดเราสื่อสารกันด้วยสัญชาตญาณ

แต่ถ้าจิตมันสงบเข้ามา ถ้าจิตมันสงบเข้ามา นี่ไง สมถกรรมฐาน ฐานที่ตั้งแห่งการงาน ถ้าฐานที่ตั้งแห่งการงาน งานการที่ตั้ง งานจะเกิดตรงนี้ ถ้างานจะเกิดตรงนี้ ถ้าจิตมันสงบเข้ามา เราทำสมาธิใช่ไหม แล้วใครทำสมาธิได้ แล้วรู้จักรักษา มันมีความสงบร่มเย็นบ่อยครั้งเข้าๆ คำว่า “บ่อยครั้งเข้า”

ดูสิ เวลาคนที่ภาวนาไม่เป็น พอจิตสงบเข้าไป...นี่นิพพาน ไม่ต้องจิตสงบหรอก แค่จัดขบวนความคิดที่เขาทำกันนั่นน่ะ ปัญญาๆ นั่นล่ะ รู้เท่าหมดล่ะ...รู้เท่าแล้วเหลืออะไร รู้เท่าแล้วได้อะไร? รู้เท่าก็เมาในธรรมนั้นไง

แต่ถ้าเรามีสติปัญญา เราไม่เมา เรารู้เท่า เราต้องมีสติ มีสติ ใช้ปัญญา พอมีสติ ใช้ปัญญา ปัญญามันจะอบรมมัน อบรมบ่มเพาะ อบรมบ่มเพาะให้เห็นโทษของความนึกคิด ว่าความนึกคิดนี้มันนึกคิดเอาไฟมาเผาเรา ถ้าเรามีสติปัญญา ความนึกคิดนี้มีเหตุมีผล มีผิดมีถูก มันก็จะเริ่มปล่อยวาง ปล่อยวาง มันเริ่มปล่อยวางความรู้สึกนึกคิด เพราะมันเห็นโทษ พอเห็นโทษขึ้นมา โทษมันเกิดจากอะไร? เกิดจากการยุแหย่ของสมุทัย เกิดจากการยุแหย่ของตัณหาความทะยานอยาก

ทีนี้เราพิจารณาของเรา เวลาพิจารณาโดยปัญญาอบรมสมาธินี่เห็นความรู้สึกนึกคิด แล้วพอความรู้สึกนึกคิดนี่แยกออกมาจากตัณหาความทะยานอยาก เพราะเราเห็นโทษ ถ้าเราไม่เห็นโทษน่ะมันจะเป็นตัณหา ตัณหาเพราะอะไร? คิดเรื่องนั้นแล้วดี คิดเรื่องนั้นแล้วสมประโยชน์ คิดเรื่องนั้นแล้วเรามีอารมณ์ร่วม นี่ไง นี่ตัณหา ตัณหามันหามาตันตัวมันเอง

แต่ถ้าเรามีสตินะ เราจะละตัวนี้ ถ้าเราละตัณหา ละสมุทัย เห็นไหม นี่ปัญญาอบรมสมาธิ

นี่ไง มันถึงไม่เมาไง มันถึงไม่เป็นธรรมเมา มันไม่ใช่ว่าของตายแล้วไง ปลาแดดเดียวน่ะ ตากไว้นั่นน่ะ เขาจะเอาไว้ย่าง แต่จิตใจของเราไม่เป็นแบบนั้น จิตใจของเรามันไม่ตาย ถ้าปลาไม่ตาย ยังมีชีวิตอยู่ จับมันไม่ได้ มันว่ายหนี มันว่ายหนี จิตใจที่มันไม่ตาย กิเลสมันเอาไปกินไม่ได้ ถ้ากิเลสมันเอาสิ่งนี้ไปกินไม่ได้ เรามีสติปัญญาของเรา เราใช้สติปัญญาบ่มเพาะ

ไม่ใช่พอมันจัดขบวนความคิดเสร็จแล้วนะ ว่างๆ สบายๆ ว่างหมดเลย...แล้วอะไรต่อไป ทำอย่างไรต่อไป นี่ก็ใช้ปัญญาๆ ปัญญาอะไร แต่ถ้าเรามีสติปัญญา เขาว่าปัญญาอันหนึ่ง ปัญญาเป็นปัญญาโลก ปัญญาอันหนึ่งเรามีสติปัญญาของเรา ถ้ามีสติปัญญานี่มันบ่มเพาะของมัน ถ้าบ่มเพาะของมัน มันก็เป็นปัญญาอบรมสมาธิ

ถ้าอบรมสมาธินะ หัวใจมันจะเบิกบาน หัวใจมันจะผ่องแผ้ว ถ้ามันผ่องแผ้วขึ้นมา นั่นน่ะ มันเริ่มมีชีวิตแล้ว ธรรมะเป็นๆ มันจะเป็นของมัน ธรรมะเป็นๆ สัมผัส รับรู้ สุข มีความรื่นเริง มันอาจหาญ แล้วทำไมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมวินัย มันประเสริฐ นี่ไง แก้วสารพัดนึกไง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พุทธ ธรรม สงฆ์ แก้วสารพัดนึกของเรา ถ้าเราทำขึ้นมานี่มันรู้จริงของมันขึ้นมา

ถ้ากำหนดพุทโธล่ะ กำหนดพุทโธ เห็นไหม ถ้ามันเฉไฉ จิตใจมันเฉไฉ บังคับไว้ บังคับไว้กับสติ บังคับไว้กับพุทโธๆ ให้มันสงบระงับ ถ้าคนทำสมาธิเป็น มันจะรู้จักคุณค่าของสมาธิกับสามัญสำนึก สามัญสำนึก เห็นไหม ดู ว่างๆ ว่างๆ นี่สามัญสำนึกทั้งนั้นน่ะ แต่ถ้าเป็นสมาธินะ มันเป็นเอกเทศ ถ้ามีสติปัญญานะ ถ้ามีสติ เรารู้จักสมาธิแล้วมันจะเป็นเอกเทศ พอมันเป็นเอกเทศ เอกัคคตารมณ์ จิตตั้งมั่น

นี่ไง ธรรมะที่เป็นๆ มันต้องมีสิ่งที่เป็นๆ สิ่งที่เป็นๆ สิ่งที่มีสัมผัสตรวจสอบ

ไม่ใช่ของแห้งๆ ไม่ใช่ของตายแล้ว ไม่ใช่สิ่งที่ว่าไม่เป็นประโยชน์สิ่งใดเลย

มันมีชีวิตของมัน มันสัมผัสของมัน มันเป็นสัมมาสมาธิ เวลามันออกใช้ปัญญานะ เวลามันออกใช้ปัญญา นี่เราต้องดึงออกใช้ปัญญา

เวลาหลวงปู่ฝั้น หลวงปู่มั่นท่านมารับไป นี่ไง พิจารณากาย พิจารณากายแล้วก็อยากจะไปเที่ยวที่นู่น พิจารณากายไปก็อยากไปเที่ยวที่นี่ “ไม่มีที่ไหนดีเท่าที่นี่ ไม่มีที่ไหนดีเท่าที่นี่” ดึงกลับๆๆ

จิต เวลามันพิจารณา เวลามันจะออกพิจารณา เห็นไหม เราใช้ปัญญาอย่างไร ถ้ามันใช้ปัญญาของมัน มันพิจารณาสติปัฏฐาน ๔ ถ้าสติปัฏฐาน ๔ มันสัมผัส มันรู้ของมันนะ

เวลาเราพิจารณาเวทนา นี่เวทนานอก ถ้าเวทนานอกนะ เวทนานอก ถ้าจิตมันยังไม่สงบ ถ้ามันเวทนานอกน่ะ สิ่งนี้มันก็เหมือนกับที่หลวงปู่มั่นพิจารณากาย เวลาพิจารณากาย กายนอก กายใน พิจารณากาย เวลากายเป็นสมถะไง กายนอกหมายถึงพิจารณากายแล้วมันปล่อยวางเข้ามา มันก็เป็นสัมมาสมาธิ ถ้ามันปล่อยเข้ามาเป็นสมาธินะ แต่ถ้ามันมีอำนาจวาสนาบารมีที่มันเป็นโพธิสัตว์ มันปล่อยมาแล้วมันไม่มีสติ มันไม่คลายตัว นี่กายนอก กายนอกคือความสงบระงับ

นี่เหมือนกัน เวลาพิจารณาเวทนา เวทนานอก เวทนานอกพอพิจารณา ทุกคนบอกว่า บังคับพิจารณาเวทนา ถ้าปล่อยเวทนาแล้ว เวทนาไม่ใช่เรา เราไม่ใช่เวทนา เวทนาเราควบคุมได้หมดเลย นั่นล่ะ มันเมาแล้ว มันเมาแล้วเดี๋ยวมันจะไหลไป พอมันไหลไปด้วยอะไร? ไหลไปด้วยสมุทัยไง ไหลไปด้วยตัณหาความทะยานอยากไง ไหลไปว่าเราทำแล้ว สมบูรณ์แล้ว ครบถ้วนแล้ว

ดูสิ เวลาที่เขาพิจารณากัน ใช้ปัญญากัน เขาแค่จัดขบวนความคิดของเขาให้เป็นระเบียบเท่านั้นน่ะ เขาบอกว่านี่ว่างๆ แล้ว แล้วพิจารณาๆ เราได้พิจารณาเวทนาแล้วด้วย พิจารณาเวทนาแล้วมันยิ่งพิจารณาเวทนา นี่ไง กิเลสมันตามมาครอบงำ

เวลาไม่ปฏิบัติมันก็ว่าอยากปฏิบัติ

เวลาปฏิบัติแล้วมันก็บอกนี่เป็นธรรมๆ นี่เป็นธรรม แล้วธรรม ก็เวทนาก็รู้ว่าเวทนา

เวทนานอก เวทนาใน เวทนานอก เห็นไหม เวทนานอก พิจารณาเวทนาเข้ามาเพื่อความสงบระงับ พอจิตมันสงบระงับแล้วมันจะจับเวทนาของมันได้ มันเวทนาเข้ามาพิจารณาได้ ถ้าเวทนานอก พิจารณาเวทนา หลบเวทนาเข้ามา มันก็จะเข้ามาสู่ความสงบระงับ ถ้าความสงบระงับแล้วนี่มันมีกำลังแล้ว มันเป็นสมถกรรมฐาน ฐานที่ตั้ง

สิ่งที่มีชีวิต สิ่งที่รดน้ำพรวนดินมันจะเกิดนะ ต้นไม้ตาย เมล็ดพันธุ์พืชที่ตายแล้ว รดน้ำพรวนดินอย่างไรมันก็ไม่เกิด แต่เมล็ดพันธุ์ที่มันยังมีชีวิต มันยังไม่ตาย มันลงสู่ดิน ถ้าพรมน้ำหน่อยเดียวเดี๋ยวมันงอกแล้ว

จิตที่มันสงบระงับแล้ว มีพื้นที่การงาน สมถกรรมฐาน ฐานที่ตั้ง สิ่งมีชีวิตมันจะสัมผัส มันจะเริ่มต้นของมัน ถ้าเริ่มต้นของมัน มันพิจารณาของมัน พอพิจารณาของมัน นี่เหมือนรดน้ำพรวนดิน รดน้ำพรวนดินนี่มันจะงอกงามของมันขึ้นมา ถ้างอกงามของมันขึ้นมานะ พิจารณาเวทนาแล้วมันปล่อย เพราะอะไร เพราะมันมีชีวิต มันมีความสัมผัส มีตรวจสอบ

แต่ถ้าไม่มีชีวิตล่ะ ไม่มีชีวิต เราไม่รู้ความสงบระงับ ไม่รู้สิ่งใดเลย แต่สู้กับเวทนา สู้กับเวทนามันก็ปล่อย มันก็ปล่อย เออ! ปล่อย ปล่อยแล้วไปไหน ปล่อยแล้วไปไหน เวลามันปล่อยแล้วเรามีสติปัญญาไหม ถ้ามีสติปัญญา ปล่อยแล้วนี่มีสติปัญญา แล้วเดี๋ยวเวทนามันเกิดซ้ำ เกิดซ้ำขึ้นมา พิจารณาซ้ำไป พิจารณาซ้ำไป พอพิจารณาซ้ำมันเริ่มเป็น รู้ เห็นไง

สิ่งที่ว่าเมล็ดพันธุ์มันเริ่มแตกออกมา เมล็ดพันธุ์มันเริ่มแตก มันจะเริ่มงอกของมัน นี่เรารู้เห็นนะ นี่มันสัมผัสได้ มันสัมผัสได้หมดน่ะ ถ้าเราปฏิบัติด้วยความตั้งใจ เราปฏิบัติด้วยความเป็นสัมมา ด้วยความถูกต้องดีงาม เราอยากปฏิบัติโดยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ถ้ากิเลสตัณหาความทะยานอยาก เห็นไหม มันคาด มันหมาย มันหวังผลโดยที่ไม่เป็นความจริง แล้วเหนื่อยมาก

แต่เราปฏิบัตินะ เราปฏิบัตินี่เราไม่หวังผลใช่ไหม

เราบอกว่า เวลามีกิเลสตัณหาความทะยานอยากนี่มันเป็นกิเลส มันหวังผล แล้วเราปฏิบัติเราก็หวังผล โดยจิตใต้สำนึกเราหวังผลทั้งนั้นน่ะ ทุกคนอยากจะสิ้นกิเลส ทุกคนอยากจะมีมรรคมีผล แต่นี่มีเป้าหมายแล้ว วางไว้ แล้วทำตามความเป็นจริง

หลวงปู่มั่นบอกว่า “แก้จิตแก้ยากนะ”

คนไม่เคยจิตเสื่อมจะไม่รู้ว่ามันเสื่อม แล้วเวลาจะเอาขึ้นนี่มันทุกข์ยากแค่ไหน แล้วถ้ามันมีตัณหาความทะยานอยาก เวลาจิตเราสงบระงับ เราพิจารณาของเราเป็นขั้นเป็นตอนของเราขึ้นไป แล้วมันมีตัณหาความทะยานอยากมา ตัณหาซ้อนตัณหา กิเลสซ้อนกิเลส ซ้อนขึ้นไป แล้วทำให้เราหมกมุ่น พอหมกมุ่นน่ะ จิตมันก็ทดท้อ จิตมันก็เสื่อม แล้วเราจะต้องประพฤติปฏิบัติฟื้นฟูขึ้นมานี่มันลำบากมาก เวลาฟื้นฟูลำบากมาก

แล้วคนที่มีจริตนิสัย คนที่มีอำนาจวาสนา เขาจะไม่ทิ้งการภาวนาของเขา ถ้าเขาจะไม่ทิ้งภาวนาของเขาน่ะ เขาจะทุกข์ร้อน เขาจะมีความคับแค้น เขาจะมีความกลัดหนองในหัวใจของเขา เขาก็จะพยายามของเขา เขาจะพยายามของเขาจนจิตเขาจะฟื้นขึ้นมาให้มันมีสัมมาสมาธิ แล้วออกใช้ปัญญาได้ ฉะนั้น เวลาจิตเขาจะฟื้นขึ้นมาให้มันมีกำลังขึ้นมาขนาดนั้นน่ะ เขาถึงเห็นโทษของตัณหาความทะยานอยากที่ซ้อนมาไง

ฉะนั้น สิ่งที่โดยสัญชาตญาณที่เรามีเป้าหมายนี่เป็นเป้าหมาย เป็นอธิษฐานบารมี เป้าหมายอย่างนี้ ทุกคนลบไม่ได้ แต่กิเลสตัณหาความทะยานอยากที่ปฏิบัติแล้วอยากได้อยากดี อยากให้มันเป็นไป โดยที่เราไม่มีสติปัญญา โดยที่เราไม่ได้รอบคอบ อันนี้มันจะทำให้เสื่อม เพราะเราอยากได้อยากดีโดยที่เราไม่มีสติปัญญารักษาใจเราให้มันเป็นไปตามข้อเท็จจริง

เพราะมันเป็นสิ่งที่มีชีวิต มันต้องทะนุถนอม มันต้องคอยดูเชื้อโรค คอยดูแมลง คอยดูต่างๆ ที่มันจะมาทำลายมัน เห็นไหม สิ่งที่มีชีวิตเราต้องทะนุถนอมแล้วคอยสังเกต คอยดูแล รักษาของเรา มันถึงจะได้ไม่เสื่อม แล้วเวลามันเจริญงอกงามขึ้นมา จนถ้ามันแข็งแรงขึ้นมา แม้แต่เชื้อโรค แม้แต่แมลงก็ยังทำร้ายมันไม่ได้ถ้ามันเข้มแข็งขึ้นมา

นี้จิตใจของเราก็เหมือนกัน ถ้าเรามีสติปัญญาของเรา เรารักษาของเรา เห็นไหม มันเป็นๆ นะ สมาธิ ศีล สมาธิ ปัญญานี่เป็นๆ หมดน่ะ มันสัมผัสจับต้องได้หมดน่ะ แล้วมันก้าวเดินของมันไปเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป แล้วเวลามันออก...จิตสงบระงับแล้ว แล้วออกพิจารณาของเรา มันจับ ดูสิ ต้นไม้กินแมลง มันรอนะ รอให้แมลงเข้ามานะ รองเท้านารีมันรอให้แมลงเข้ามา แล้วมันก็จะหุบ แล้วมันก็จะย่อยแมลง กินแมลง

จิต จิตถ้ามันมีจิตที่มีชีวิต เวลามันสัมผัสล่ะ มันสัมผัสกาย สัมผัสเวทนา สัมผัสจิต สัมผัสธรรม เห็นไหม กายที่สิ่งนี้ไม่มีชีวิต สัมผัสจิตอย่างไร? สัมผัสจิตที่ว่า จิตที่มันเศร้าหมอง จิตที่มันเสื่อม มันเสื่อมไปแล้วมันเจริญงอกงามอย่างไร แล้วมันจะเจริญงอกงามขึ้นมา เจริญงอกงามขึ้นมาด้วยธรรม หรือเจริญงอกงามขึ้นมาด้วยกิเลส เจริญงอกงามขึ้นมาด้วยคุณธรรม หรือเจริญงอกงามขึ้นมาด้วยเชื้อโรค ด้วยอกุศล นี่ไง มันพิจารณาของมัน มันแยกแยะอย่างนี้

พอมันแยกแยะอย่างนี้มันถึงจะเป็นความจริงขึ้นมา เพราะมันมีชีวิตขึ้นมา มันเจ็บมันปวดนั่นแหละ เวลามันผิดมันพลาด มันเจ็บมันปวด มันทำให้เราเศร้าหมอง แต่ถ้าเวลาเรารักษาแผล เรารักษาสิ่งที่มันดีงามขึ้นมาแล้วมันเป็นความสุขน่ะ นี่ไง มันสัมผัสของมัน มันรู้ของมัน ถ้ามันรู้ของมัน ถ้ามีครูบาอาจารย์คอยแนะคอยบอก แล้วเรามีการกระทำสิ่งนั้นเพื่อให้เป็นความจริงขึ้นมา มันทำได้ พอมันทำได้ขึ้นมา นี่ไง ธรรมะเป็นๆ

วงกรรมฐานเรา ครูบาอาจารย์ของเรามันมีสิ่งนี้มาเป็นการชักนำ เห็นไหม จิตที่สูงกว่า จะดึงจิตที่ต่ำกว่าขึ้นมา จิตที่ต่ำกว่าจะแก้จิตที่สูงกว่า หรือเห็นจิตที่สูงกว่าไม่ได้ นี้ครูบาอาจารย์ของเรา ถ้ามีคุณธรรม พวกเราเคารพบูชากันมาก เคารพบูชากันมาเพราะอะไร เพราะท่านล้มลุกคลุกคลานมาก่อน ท่านต้องทำความจริงของท่านขึ้นมาก่อน ท่านถึงรู้ในหัวใจของเรา

สิ่งที่เราไม่เคยรู้เคยเห็น ดูสิ สมบัติในบ้าน ใครจะรู้ สมบัติในบ้านเรามีมากน้อยแค่ไหน แม้แต่นอนฝันขึ้นมา ไปเห็นผีเห็นสางมา ตัวเองยังไม่รู้เห็นเลย ต้องถามอาจารย์ “นี่คืออะไรๆ” สมบัติของเราเรายังไม่รู้เลย

แต่ท่านอยู่ของท่าน ท่านรู้สมบัติของเราไหม ท่านรู้ว่าสมบัติอันนั้นมันเป็นคุณหรือเป็นโทษ สมบัติอันนั้นสมบัติของเรา เราต้องเก็บรักษาไว้ ข้าวของเงินทองขึ้นมานี่มันเป็นสมบัติของเรา อย่าเอาไปให้ใครเห็น ถ้าใครเห็นเขาจะช่วงชิง เขาจะเอาสิ่งนั้นไปเป็นโทษ นี่เรามีเงินเราจะอวดใครไม่ได้เลย

เรามีคุณงามความดีของเรา เราก็เก็บของเราไว้ ถ้าสมบัตินั้นเป็นโทษ เป็นโทษต้องทิ้งซะ นี่สมบัติเป็นโทษ เป็นไข้เป็นสิ่งที่มันทำให้เราเชื้อโรคขึ้นมาที่จะทำให้จิตใจนี้มันเศร้าหมอง ทิ้งซะๆๆ แต่ถ้ามันเป็นคุณงามความดี เป็นแก้วแหวนเงินทอง เก็บซ่อนไว้ๆๆ อย่าให้ใครเห็น นี่ครูบาอาจารย์จะคอยแนะนำ คอยบอกเรา คอยบอกเรานะ

เพราะภัยจากข้างนอกมันก็เป็นคอยจะทำลายเราอยู่แล้ว ภัยจากข้างใน เราจะไม่รู้จักเลย เราไม่รู้จักเลยว่ากิเลสตัณหาความทะยานอยากของเราในหัวใจมันเป็นภัยที่ร้ายกาจกว่า ร้ายกาจกว่า มีเงินมีทองไปชอบอวดเขา เวลาเขาช่วงชิงกันไปแล้วก็เสียใจ เวลาช่วงชิงไปแล้วเป็นเงินทองใช่ไหม แต่เวลาเราปฏิบัติเหมือนมีเงินมีทอง มีศีล สมาธิ ปัญญา นี่เที่ยวคุยโม้คุยบอกไป

เวลามันเสื่อมไปแล้วนะ นี่มันต้องการให้เสื่อมไง พอต้องการให้เสื่อม เวลาคนข้างนอกเขาแย่งชิงไปๆ อันนี้มันทำผลักไสให้สิ่งนั้นเศร้าหมอง ให้ทำสิ่งนั้น ผู้ที่ปฏิบัติเยอะมาก เวลาปฏิบัติไปแล้วมีสิ่งที่รู้ที่เห็น แล้วเวลาคุยกันแล้วกลับมาวิตกวิจารณ์แล้ว

“ปาราชิกหรือเปล่า ปาราชิกหรือเปล่า เราได้อวดมากเกินไปไหม”

นี่ไง กิเลสเวลามันสิ่งที่เป็นภัยจากภายในเรานี่มันสร้างขึ้นมา มันสร้างขึ้นมาว่าให้เราแสดงออกอย่างนั้นๆ เสร็จแล้วมันก็ตีกลับ ตีกลับว่าอันนี้มันเป็นอวดอุตริมนุสธรรมหรือเปล่า ถ้าอวดอุตริมนุสธรรมมันก็เป็นปาราชิก ๔ นี่มันก็สร้างสิ่งนี้ขึ้นมา

ภัยจากภายในเรามันยิ่งร้ายกว่า มันทำลายเราโดยที่เราไม่รู้ตัวเลย แต่ครูบาอาจารย์เราคอยบอกไว้ ครูบาอาจารย์เราคอยรักษาไว้ ถ้าไม่มีเจตนา เราไม่ได้อวดใคร ไม่ได้เจตนา แต่เพราะความโง่ โง่เพราะอะไร โง่เพราะกิเลสมันขับดัน ภาวนามาได้สลึงสองสลึงก็จะอวดเขา อยากคุยโม้กัน อยากจะคุยกันเพื่ออวดเงินอวดทองกัน เห็นไหม เพราะมันโง่

แต่ถ้าเราไม่มีครูบาอาจารย์นะ มันละล้าละลังนะ “อวดอุตริหรือไม่อวด อวดอุตริหรือไม่อวด” มันละล้าละลัง เห็นไหม นี่ไง ตัณหาซ้อนตัณหา เวลาตัณหามันซ้อนตัณหาทำให้เราเสื่อม ทำให้เราทุกข์เรายาก เวลาปฏิบัติขึ้นไปมีคุณธรรมมา กิเลสมันก็เอามาทำลายเราอีก ทำลายเรา เราจะก้าวเดินอย่างไร สิ่งที่เราจะก้าวเดิน

หลวงปู่มั่นท่านบอก “แก้จิตแก้ยากนะ แก้จิตแก้ยากนะ”

เราพยายามของเรา เราทำของเรา เราวงกรรมฐาน เราจะมีความจริงในหัวใจ สิ่งที่เป็นธรรมเป็นๆ สัมผัส รู้สึก แล้วควบคุม แล้วกระทำให้มันเจริญขึ้นมา พอมันเจริญขึ้นมา เราทำเพื่อเรา โลกเขาจะติเตียน โลกเขาจะรับรู้กับเราหรือเขาไม่รับรู้กับเรา มันเป็นเรื่องของโลก มันไม่ใช่เรื่องของธรรม เรื่องของโลก เห็นไหม โลกคือหมู่สัตว์ โลกคือโลกทัศน์ โลกคือความเป็นไปของโลก เป็นสังคม

แต่เวลาปฏิบัติขึ้นมานี่เราคนเดียว เราคนเดียวนะ เราคนเดียว เราเป็นคนเดียว เป็นเหมือนนอแรด เพื่อจะเอาใจของเราไปให้พ้นจากกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ฉะนั้น เวลาเราปฏิบัติขึ้นมาแล้วนี่ โลกเขาเป็นโลก เราเก็บงำของเราไว้ แล้วเราพิจารณาของเรา แก้ไขของเรา เห็นไหม แต่ถ้ามีครูบาอาจารย์น่ะ ท่านรู้แล้วล่ะ ท่านรู้ของท่าน แล้วพัฒนาของมันขึ้นไป มันพัฒนาขึ้นมา มันจะก้าวเดินแล้ว

ถ้ามันก้าวเดินขึ้นไป จิตเวลาออกพิจารณาของมัน พิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม พิจารณากาย ถ้ามันเจโตวิมุตติ มันจะเห็นกายของมัน เห็นกายแล้วเราก็แยกส่วนขยายส่วน อุคคหนิมิต เป็นวิภาคะ แยกส่วนขยายส่วน สิ่งที่มันแยกส่วนขยายส่วนมันเป็นไตรลักษณ์ เพราะเป็นไตรลักษณ์มันขยายส่วนออกไป สิ่งที่มันคาดไม่ถึง หมายไม่ถึง

เวลากิเลส เวลาธรรมะตายๆ นี่มันจำได้หมดนะ “นี่นิพพาน โอ๋ย! นี่ได้สกิทาแล้ว โอ๋ย! อย่างนี้มันจะบรรลุธรรมแล้ว” นี่เวลามันจำมา มันจำมา

แต่เวลาเราพิจารณาของเรานะ พอมันเป็นวิภาคะ มันกระจายตัวมันออกไป พอมันลงสู่สัจธรรมของมัน ลงสู่สัจธรรมของมัน เพราะโลก สรรพสิ่งในโลกนี้เป็นอนิจจัง ไม่มีสิ่งใดคงที่ ไม่มี พอไม่มีสิ่งใดคงที่นี่มันเปลี่ยนแปลงของมัน แต่เราไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง

แต่เวลาจิตมันสงบระงับขึ้นมา พอมันจับขึ้นมา มันรวดเร็ว เพราะความเร็วของแสง ความเร็วของจิต ความเร็วต่างๆ มันขึ้นมามันเป็นสัจจะ มันเป็นอริยสัจจะ มันเป็นสัจจะ มันวิปัสสนา มันมีปัญญาของมัน พอมันเป็นไตรลักษณ์ขึ้นมานี่มันขยายส่วนแยกส่วน พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า เวลามันแยกส่วน มันทำลายของมันออกไป นี่มันรู้มันเห็นอย่างนี้ไง นี่ปัญญามันเกิดอย่างนี้ไง นี่ไง มันสัมผัส แล้วมันเห็นชัดเจนมาก ชัดเจนในสิ่งที่มันเป็นไป พอมันเป็นไตรลักษณ์ขึ้นมา มันเห็นขึ้นมา เห็นเพราะว่าอะไร เพราะมันควบคุมไม่ได้

ถ้าเป็นธรรมะตายๆ นะ มันจะเป็นไตรลักษณ์ มันจะเป็นเหมือนกับเราฉายหนังเลย มันจะเป็นสภาวะแบบนั้นน่ะ แต่ความจริง หนังนี่เขาถ่ายไว้เสร็จแล้วนะ ฟิล์มมันต้องฉายออกมาอย่างนั้นน่ะ ธรรมะพระพุทธเจ้าเหมือนกัน ออกมาเป็นอย่างนั้นน่ะ แต่ความจริงไม่ใช่

ความจริงมันจะเป็นแต่อำนาจวาสนาบารมีของตน

หนังแต่ละเรื่องของจิตดวงนั้น มันเคยเกิดเคยตายในวัฏฏะเป็นไม่มีต้นไม่มีปลาย หนังของมันนะ มันจะมีส่วนลึก มันมีส่วนฝังในใต้จิตใต้สำนึก มันจะมีบุญกรรมของมันที่มันสร้างมาสะสมมาซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซ้ำแล้วซ้ำเล่า แล้วมันพัฒนาจนเป็นจริต เป็นนิสัย เป็นพันธุ์ เห็นไหม เป็นพันธุกรรมของมัน มันจริตนิสัยคนถึงไม่เหมือนกัน การพิจารณากายของแต่ละคนมันก็ไม่เท่ากัน พิจารณามาก พิจารณาน้อย พิจารณาอย่างไรนี่มัน...

นี่ไง หนังวัฏฏะนี้มันไม่มีเรื่องสำเร็จมา ฉะนั้น สิ่งที่มันเกิดขึ้น เวลาพิจารณาไปแล้วมันจะไม่เป็นอย่างที่ว่าเราจะต้องฉายตามฟิล์มนั้น

ถ้าฉายตามฟิล์มนั้นก็ธรรมะตายๆ ไง

แต่ธรรมะที่มีชีวิตน่ะ มันมีชีวิตเพราะอะไร มีชีวิตเพราะจิตนี้เวียนตายเวียนเกิดมา จิตนี้ไม่มีต้นไม่มีปลาย พอจิตนี้ไม่มีต้นไม่มีปลาย มันก็ได้สะสมสิ่งนี้มา สะสมสิ่งนี้มาจนเป็นนิสัยใจคอ นิสัยใจคอนะ แล้วจิตใต้สำนึกน่ะ ใครรู้อะไรกับเรา เวลาคุยโม้คุยอวดกันมันมีแต่ภาษาคำพูด แต่ความรู้สึกข้างใน ใครจะไปรู้กับเรา

แต่เวลาเราปฏิบัติธรรมขึ้นมานี่เรารู้ ปฏิบัติธรรมขึ้นมา ธรรมะมันจะเข้าไป มรรคญาณมันเข้าไปทำลาย มรรคญาณมันเข้าไปตรวจสอบ มรรคญาณมันเข้าไปตีแผ่ ตีแผ่น่ะ เอาสิ่งที่อยู่จิตใต้สำนึกนี่เอาออกมา เอาสิ่งที่ฝังใจ รู้สึกนึกคิดในหัวใจนี่ออกมา ออกมาด้วยอะไร? ออกมาด้วยศีล สมาธิ ปัญญาที่มันใคร่ครวญของมันเข้าไป

ฉะนั้น ถ้ามันเป็นหนังของกิเลส กิเลสมันสร้างภาพ ถ้าเป็นสัจธรรม เป็นไตรลักษณะ เป็นความจริงของมันขึ้นมา มันพิจารณาของมัน มันแยกแยะๆ ของมัน ถ้ามันสมดุล คำว่า “สมดุล” นี่ไง เวลาศึกษาธรรมขึ้นมามันก็ธรรมเมา เมานะ รู้ เห็น แล้วก็ไม่ฝึกฝน

แต่ถ้าศึกษานี่มันเป็นอย่างนี้ มันเป็นอย่างนี้เพราะว่าในการก้าวเดินของจิต ในการก้าวเดินของมนุษย์ ในการก้าวเดินของปฏิบัติ มันก็เริ่มต้นมาจากเรานี่แหละ มันก็เริ่มต้นมาจากจิตที่เกิดเป็นมนุษย์ แต่มีอำนาจวาสนาขึ้นมา มีการใฝ่รู้ ก็มีการศึกษา สังคมเขากำลังกระแสการประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เราก็ศึกษาธรรมะกัน ศึกษาธรรมะ นี่มันเป็นสิ่งที่เป็นสัญญา เป็นธรรมเมาที่เราเมาขึ้นมา

แต่เราประพฤติปฏิบัติเข้าไป เราแยกแยะของเราไป เราฝึกฝนของเราไป จนมันเป็นความจริงขึ้นมา คำว่า “ความจริง” หมายถึงว่า มันเป็นจริง มันเป็นจริง พอมันเป็นจริงขึ้นมา เวลาออกใช้ปัญญา ปัญญาที่เกิดขึ้นมันไม่เป็นแบบสัญญานี้แล้ว มันไม่เป็นแบบนี้เพราะมันไม่มีเริ่มต้น ท่ามกลาง และที่สุด ที่โดยกระบวนการที่มันสำเร็จรูป ไม่มี

ถ้ากระบวนการเริ่มต้น ท่ามกลาง ที่สุด โดยสำเร็จรูปมา นั่นล่ะ ธรรมะตายๆ นี่ไง หนังที่เขาถ่ายไว้เสร็จแล้ว หนังที่เขารู้แล้ว หนังที่เคยฉายแล้วฉายเล่า นี่กิเลสมันก็หัวเราะเยาะสิ แต่ถ้าจิตมันสงบแล้วมันพิจารณาของมันไป มันจะเป็นภาคปฏิบัติมันจะเป็นขณะปัจจุบัน ถ้าปัจจุบัน สิ่งใดเกิดขึ้นเราพิจารณาของเรา แก้ไขของเรา พิจารณาเกิดขึ้นนะ นี่ไง เป็นๆ ธรรมะเป็นๆ สัมผัสได้

เดี๋ยวหลุดไม้หลุดมือ พิจารณาไปแล้วได้หรือไม่ได้ พิจารณาไปแล้วล้มลุกคลุกคลาน ถ้าจิตมันดี เห็นภาพชัดเจน เห็นไหม หนังนั้นฉายชัดเจนมาก เวลาจิตเราไม่ดี หนังขมุกขมัว เราทำไม่ได้ นี่มันต้องมีวิธีการแก้ไข ถ้ามีวิธีการแก้ไข มันต้องฝึกจนมันรู้มันเป็น

นี่ไง ถ้าเรามีวิธีการแก้ไข เราภาวนาแล้วใช่ไหม เราเลิกภาวนาแล้วมันถึงไปถามอาจารย์ “อาจารย์ทำไมมันเป็นอย่างนั้นล่ะ ทำไมเป็นอย่างนี้ล่ะ ทำไมเป็นอย่างนั้นล่ะ” แล้วเราก็กลับมาตั้งใหม่ กลับมาตั้งขึ้นมาเลยนะ พอขึ้นมาแล้วมันจะเป็นอย่างนั้นไหม แต่ขณะที่ในปัจจุบันนั้น ถ้าเรามีสติปัญญา ถ้าเราทำอย่างนี้แล้วภาพมัว ถ้าเราตั้งสติขึ้นมา เรากำหนดจิตให้เรามั่นคงขึ้นมา ภาพนั้นจะแจ่มชัดขึ้นมา

ถ้าแจ่มชัดขึ้นมา ถ้าสมาธิมันดีน่ะแจ่มชัดแล้วมันไม่ปฏิภาคะ คือมันแจ่มชัดขึ้นมาคงที่ ถ้ามันแจ่มชัดขึ้นมาคงที่ เราต้องใช้ปัญญากระจายออก กระจายให้สิ่งนั้นมันกระจายออกไป ถ้ามันกระจายออกไป นี่ไตรลักษณ์ สิ่งที่เป็นอนิจจังไง

“สิ่งใดเป็นอนิจจัง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา”

อนัตตามันเป็นอย่างไร พอมันพิจารณาไปแล้วมันพิจารณาเป็นอนัตตา ซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ พอซ้ำแล้วซ้ำเล่า เวลามันปล่อยๆ พอปล่อยขนาดไหน ปล่อยแล้วมันเหลือสิ่งใด สิ่งใดทำให้คิด สิ่งใดทำให้เกิดความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ สิ่งที่เห็น นี่ไง มีบวกกับลบไง มีตัณหาความทะยานอยากไง ตัณหา วิภวตัณหาไง มีการผลักไส มีต่างๆ นี่มันเป็นของมันตลอดเวลา พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า

ถึงที่สุดนะ เวลามันขาด นี่ไง เวลากิเลสมันขาด สังโยชน์มันขาด สิ่งที่มันร้อยรัดมานี่ ดูสิ สิ่งที่ว่าหนังชีวิต สิ่งที่จิตใต้สำนึก ที่มันเกิดตายๆ จนมันจริตนิสัยเป็นกรรมพันธุ์ เวลาเป็นพันธุกรรมของจิต เวลามันขาดน่ะ มันขาดลงถึงจิตใต้สำนึก พอมันขาดขึ้นมาแล้ว อะไรมันขาด ใครเป็นคนบอกว่าขาด แล้วสิ่งใดมันเป็นความจริงขึ้นมา นี่ไง ธรรมะเป็นๆ มันขาดต่อหน้าต่อตา มันขาดแล้วมันรู้ว่าขาด

รู้ว่าขาด ยถาภูตํ เกิดญาณทัสสนะ ขาดแล้วรู้ว่าขาด ขาดอย่างไร

สิ่งถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมา นี่ไง ถ้ามันเป็นจริงขึ้นมา สิ่งที่เป็นจริงขึ้นมามันต้องเป็นจากใจดวงนั้น ถ้าใจดวงนั้นเป็นขึ้นมาแล้วนะ ใครจะคัดค้าน? คนที่คัดค้านก็ตำราไง ธรรมะตายๆ มันจะค้านกันไปก็ค้านกันมา เพราะมันสิ่งที่ตายแล้วมันไม่มีชีวิต มันไม่มีชีวิตคือมันสัมผัสไม่ได้ ดูสิ ขนาดเราพิการหูหนวก เราก็ยังฟังไม่ได้ ตาบอดไม่เห็นอะไรเลย แล้วนี่มันตายไปแล้วมันจะรู้อะไร

แต่ธรรมะเป็นๆ นะเขารู้ เขารู้ หลวงปู่มั่นนี่รู้ ครูบาอาจารย์นี่รู้ รู้หมดน่ะ เพราะธรรมะเป็นๆ มันสัมผัสกันได้

แต่ธรรมะที่มันตายแล้วมันจะรู้อะไร? มันไม่รู้ พอมันไม่รู้ขึ้นมาแล้วยังบอกว่า มันจะเป็นไปได้อย่างไร เพราะมันใช้สมถะ มันใช้พุทโธ มันไม่มีปัญญา มันปัญญาไม่เกิด...ปัญญาอย่างนั้นมันเป็นธรรมเมา

ปัญญาที่เกิดขึ้น ปัญญาที่มีการกระทำมันเป็นปัญญาที่เป็นภาคปฏิบัติ คำว่า “ภาคปฏิบัติ” เห็นไหม ธรรมะเป็นๆ เวลาพระพุทธเจ้าตรัสรู้ ตรัสรู้ที่ไหน? ตรัสรู้ที่โคนต้นโพธิ์ นี่ไง สิ่งที่เกิดขึ้น แล้วผู้ที่ประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เวลามันชำระกิเลสมันชำระอย่างไร มันชำระอย่างไร เพราะอริยสัจมีอันเดียว

เวลาถึงที่สุดแห่งทุกข์นะ พระอรหันต์จะสิ้นกิเลสเหมือนกัน รับรู้เหมือนกัน พระอรหันต์จะมีรับรู้เหมือนกัน อำนาจวาสนาเท่านั้นที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่อริยสัจมันมีอันเดียว สิ่งที่ประพฤติปฏิบัติไปมันเป็นสิ่งเดียวกัน ถ้าสิ่งเดียวกัน พูดกันไม่รู้เรื่องนี่มันเป็นไปได้อย่างไร สิ่งเดียวกันมันต้องพูดเหมือนกัน

ถ้าพูดเหมือนกัน แล้วอธิบายมาสิ เวลากระบวนการของมัน มันทำอย่างไร กระบวนการที่ทำมานี่ทำมาอย่างใด ถ้าทำกระบวนการของมัน กระบวนการของมันที่ปฏิบัติขึ้นไปแล้ว เวลามันขาดไปแล้ว สิ่งที่เหลือ เหลืออะไร เหลืออะไร ขาดสูญหรือขาดมี ขาดมีหรือขาดเหลือ แล้วพิจารณาต่อไปอย่างไร การก้าวเดินอย่างไร

ถ้าเริ่มต้นกระบวนการของมัน เห็นไหม ดูสิ ในสมัยโบราณนะ เวลาเขาเดินเรือกันนี่เขาระวังมากว่ามันจะตกจากโลก เขาว่าโลกนี่นะ เวลาเดินไปขอบโลกแล้วเรือมันจะหลุดโลกไป แต่เวลาพอโลกมันเจริญขึ้นมา เขาเดินเรือรอบโลกนะ เดินเรือรอบโลก

นี้เหมือนกัน เวลาเราประพฤติปฏิบัติไปแล้ว เวลามันขาดไปแล้ว เราจะดำเนินงานต่อไปอย่างไร ปัญญามันจะเกิดอย่างไร ถ้าเราคิดว่า โอ๋ย! เดี๋ยวมันไปแล้วมันจะตกโลกนะ ออกไปแล้วเราจะหลุดออกไปนะ

นี่มันเป็นความจริงไหม ถ้ามันปฏิบัติต่อเนื่องกันไป เราจะเดินเรือรอบโลก เราจะทำลายโลกทัศน์ เราจะทำลายอวิชชาในหัวใจ นี่ไง พอปฏิบัติไปมันจะเป็นความจริงของมัน พอความจริงของมัน พอจิตมันสงบระงับขึ้นไป มันจะย้อนเข้าไปสู่กิเลสที่อย่างละเอียด ถ้ากิเลสที่อย่างละเอียด กิเลสคนมันมีหลายซับหลายซ้อน

คนเรา สิ่งที่มีชีวิต อายุขัยคนก็ไม่เหมือนกัน จริตนิสัยคนก็ไม่เหมือนกัน อำนาจวาสนาคนก็ไม่เหมือนกัน ฉะนั้น สิ่งที่ประพฤติปฏิบัติ ในกรรมฐานนี่มันถึงไม่มีสิ่งใดเหมือน

เวลาบอก อริยสัจมีหนึ่งเดียว เวลาผลตรวจสอบก็ต้องเหมือนกัน แต่เวลาปฏิบัติแล้วไม่มีสิ่งใดเหมือน ถ้ามีสิ่งใดเหมือนนะ อันหนึ่งตาย อันหนึ่งเป็น นี่ครูบาอาจารย์ของเราปฏิบัติมา ดูสิ เวลาหลวงปู่มั่นท่านพูดถึงว่า หลวงตานี่เหมือนเราที่ถ้ำสาริกา เหมือนเราที่ถ้ำสาริกา เหมือนอะไร เหมือนอะไร?

เหมือนที่โลกนี้ราบหมดไง เหมือนที่ผล แต่ปฏิบัติไม่เหมือน ปฏิบัติก็คือเหตุไง เหตุมันไม่เหมือนหรอก อริยสัจมีหนึ่งเดียว หนึ่งเดียวคือเหมือนกัน เหมือนกันคือว่าระดับนั้น ระดับขอบเขตไหนมันก็เหมือนกับระดับนั้น แต่วิธีการมาเหมือนไม่มี เหมือนไม่มี

เวลาท่านพูดถึงว่าเหมือนนะ เหมือนเมื่อเป็นผล เหมือนที่มันเข้าสู่อริยสัจไง เหมือนที่เวลามันสิ่งที่มีชีวิตมันได้เสียสละ ที่มันสำรอกออก มันคายออก มันเป็นอย่างนี้ แต่วิธีการสำรอกออก เห็นไหม ดูสิ เราเป็นอะไร เราเป็นโรคอะไร เราจะสำรอกสิ่งใดออกจากลำไส้เรา เราจะเอามือล้วงใช่ไหม หรือเราจะกินยา หรือเราจะเอาสายยางเข้าไป นี่วิธีการมันแตกต่างกัน มีการกระทำเพราะเป็นสิ่งใด จำเป็นอย่างใด แล้วคนไข้ คนไข้ที่หมดสติ เราจะทำอย่างไรให้มันออกมา คนไข้หมดสติก็ปลาตายไง สิ่งที่คนไข้หมดสติเพราะขณะหมดสติ นี่พูดถึงวิธีการเท่านั้น

แต่ถ้าเป็นความจริงนะ เป็นความจริงเขาจะทำของเขา แล้วครูบาอาจารย์ท่านคอยดูคอยแล คอยดูคอยแล นี้คือสังคมกรรมฐาน สังคมที่เราประพฤติปฏิบัติ

ฉะนั้น เวลาโลกเขามองนะ เขามองแล้วเขาประหวั่นพรั่นพรึงไง ทำไมมันต้องทุกข์ยาก

ความจริงนี่มันไม่ใช่ทุกข์ยากหรอก มันเข้าไปเผชิญสู่ความจริง

ในทางโลกเขาบอกนะ บอกพุทธศาสนานี่เป็นศาสนาแห่งทุกขสัจ เป็นศาสนาของความทุกข์ ไม่ใช่ศาสนาของความสุข เขาปรารถนาความสุขกัน เขาไม่ต้องการความทุกข์ แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงอริยสัจนี่มันเป็นความจริง

“ทุกข์นี้เป็นอริยสัจ ทุกข์นี้เป็นความจริง”

โลกนี้มีทุกข์เกิดขึ้น ทุกข์ตั้งอยู่ และทุกข์ดับไป พอทุกข์ดับไปเราก็มีความสุขพอสมควร มีความสงบระงับขึ้นมา อันนั้นก็เป็นความสุข เป็นความพอใจของเรา ฉะนั้น เราก็ไปปรารถนาแต่ความสุข นี่สมุทัยมันเลยหลอกเอาไง สมุทัยคือตัณหาความทะยานอยาก มันเลยหลอกเราว่าเราปรารถนาความสุข ปฏิบัติเพื่อความสุข

ปฏิบัติเพื่อความสุขเราก็ปฏิบัติสักแต่ว่า ทำกันเป็นพอพิธี แล้วก็ใช้ว่าสิ่งนั้นเป็นปัญญาๆ ปัญญาที่เกิดขึ้นแล้วในพุทธศาสนา

ฉะนั้น ถ้าเรามีครูบาอาจารย์ของเรา เห็นไหม ปัญญาอย่างนั้นมันเป็นปัญญาระบบความคิดเท่านั้น ระบบความคิดนะ แค่ระบบความคิดมันเรียงกัน แล้วก็มีสติรักษา แล้วพยายามทบทวนๆๆๆ เพราะไม่อยากให้มันสับกัน ถ้ามันสับกันแล้วเดี๋ยวมันจะเกิดอารมณ์ นี่มันก็ไม่มีอารมณ์มันก็อยู่อย่างนั้นน่ะ แต่อยู่ไม่ได้หรอก อยู่ไม่ได้เพราะอะไร เพราะเขาไม่ได้ปฏิบัติอย่างนั้นตลอดไป

แต่ถ้าการประพฤติปฏิบัติขึ้นมาตามความเป็นจริงขึ้นมา เวลากิเลสมันขาดนะ ขาดแล้วจบ สังโยชน์ขาดแล้ว เป็นโสดาบัน เป็นสกิทาคา เป็นอนาคา เป็นพระอรหันต์แล้วนะ ทำอย่างไรมันก็ไม่เกิด ถ้ามันไม่ขาด มันเกิด คำว่า “เกิด” เวลาเกิดขึ้นมานี่สมุทัยมันยังมีอยู่ มันเกิด พอเกิดขึ้นมาแล้วก็มีการเผาลนในหัวใจ เวลามันเสื่อม เจริญแล้วเสื่อมๆ แต่ถ้ามันขาดแล้วนะ ให้พลิกฟ้าคว่ำดินหาอย่างไรมันก็ไม่มี ก็ของไม่มีจะหาให้มีได้อย่างไร

ไม่มีอะไร? ไม่มีกิเลส

แต่มีอะไร? มีธรรม

มีธรรม มีสัจธรรม มีธรรมธาตุ มันจะเป็นธรรมของมัน จิตนี้ไม่เคยตาย จิตนี้มันหมุนเวียนตายเวียนเกิดโดยผลของวัฏฏะ ถ้ามันประพฤติปฏิบัติจนถึงที่สุดแล้ว ธรรมะเป็นๆ เวลากิเลสมันตายแล้วนี่มันเหลืออะไร สิ่งที่เป็นอยู่ในใจนี่มันเหลืออะไร สิ่งที่เป็นธรรมธาตุ ธรรมธาตุมันเป็นอย่างไร แล้วมันไม่เกิด ทำไมถึงไม่เกิด

ทำไมเขาเกิดกัน ทำไมมึงไม่เกิด? มันไม่เกิดก็เพราะมันไม่มีเชื้อ ไอ้ที่เขาเกิดเพราะเขามีเชื้อ แล้วพอเขามีเชื้อ เขาไม่เห็นธรรมด้วย ไม่เห็นใจด้วย เพราะเขาเห็นแต่เชื้อ เพราะเชื้อมันครอบงำอยู่ พญามารมันครอบงำอยู่ มันก็ไปตามประสามัน แต่ถ้าเวลาเราทำลายเชื้อหมดแล้วมันเป็นธรรมธาตุ ไม่มีเชื้อ ไม่มีขัย ไม่มีเทียบเคียงกับใคร มันเป็นอิสระของมัน นี่มันเป็นความจริงอย่างนั้น นี่ที่ผู้ปฏิบัติมันเป็นความจริง นี่ธรรมะเป็นๆ นะ

ฉะนั้น จะว่าทุกข์ว่ายาก เราไม่พูดว่ามันเป็นความทุกข์ความยาก มันเป็นการเข้าไปสู่ความจริง ความจริงหมายความว่า เราสร้างบุญญาธิการมาแค่ไหน ถ้าเราสร้างมามาก ในสมัยพุทธกาลนะ พาหิยะฟังพระพุทธเจ้าครั้งเดียวเป็นพระอรหันต์

ดูสิ พระพุทธเจ้าออกปฏิบัติอยู่ ๖ ปี เทศน์ให้ยสะฟัง ๒ ที ยสะฟังนะ

“ที่นี่เดือดร้อนหนอ ที่นี่วุ่นวายหนอ”

“ยสะมานี่ ที่นี่ไม่เดือดร้อน ที่นี่ไม่วุ่นวาย” เทศน์อีกทีหนึ่งจบ

นี่ไง แล้วเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำไมตั้ง ๖ ปี สมบุกสมบันอยู่อย่างนั้นน่ะ ทำไมผู้ฟัง ทำไมมันทีเดียวไปเลย ทีเดียวไปเลยน่ะ? เขาสร้างของเขามา

แต่ถ้าพูดถึงผู้ที่ปฏิบัติมันล้มลุกคลุกคลาน มันก็ต้องเข้มแข็ง แล้วเอาตัวรอดให้ได้

นี้หนังของวัฏฏะ หนังของชีวิต หนังของจิตที่มันเวียนตายเวียนเกิดมา มันสร้างสมมาแบบนี้ เราจะโทษใครไม่ได้หรอก เราโทษเรานี่แหละ เราทำของเรามากันเอง แล้วมาปัจจุบันนี้เราจะมาเรียกร้องสิ่งใด เราจะเรียกร้องเอากับใคร ก็เราทำเอง

มันถึงว่ามันเป็นปัจจุบันหมดไง มันเป็นเวรเป็นกรรมที่ทำ ก็เราทำมาเอง เราทำอย่างนี้ แต่จะไปเอาอย่างอื่นมันไม่มี เราทำอย่างนี้ เราถึงต้องปฏิบัติของเรา เพื่อความเข้มแข็งของเรา เพื่อความจริงของเรา เพื่อปฏิบัติขึ้นมาให้มันเป็นของที่มีชีวิต ธรรมะเป็นๆ เอวัง