ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ใบไม้ไหว

๒๖ พ.ค. ๒๕๕๕

 

ใบไม้ไหว
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๕
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ข้อ ๙๐๐. ข้อ ๙๐๑. มันไม่มีเนาะ

ข้อ ๙๐๒. นี่ข้อ ๙๐๒. เขาบอกว่า

ถาม : “สู้เวทนา”

ตอบ : เขาบอกว่านี่ให้เทศน์เรื่องเวทนา เขาจะเอาเทศน์เรื่องเวทนาไปเปิดให้พรรคพวกเขาฟัง เพราะเขาปฏิบัติกันอยู่ แล้วเขาได้เวทนา แล้วเขาแก้ไขไม่ถูก หลวงพ่อเทศน์นะแล้วผมจะเอาไปเปิดให้เขาฟัง

นี่ถ้าเปิดให้เขาฟัง เราเทศน์เรื่องเวทนาไว้เยอะมาก เรื่องเวทนานะ เวลาพูดถึงในเว็บไซต์ ในคำถาม คำตอบ ว่าเวลาเจอเวทนานี่แก้ไขอย่างใด? ทำอย่างใด? แล้วถ้าคนไม่เข้าใจ เขาไม่เข้าใจเรื่องเวทนา เห็นไหม เพราะทุกคนมาเขาบอกว่าสู้กับเวทนา

อย่างเช่นเรานั่งกันอยู่นี่ เราก็อยากเป็นเศรษฐีทุกคน ทุกคนก็อยากเป็นเศรษฐี พอเป็นเศรษฐีแล้วเราก็ตั้งโรงงานกษาปณ์กัน ปั๊มแบงก์กันใหญ่เลยอยากเป็นเศรษฐี ก็ตำรวจจับน่ะสิ มึงอยากเป็นเศรษฐีมึงก็ต้องทำมาหากิน มึงก็ต้องขยันหมั่นเพียร แล้วมึงก็จะเป็นเศรษฐี เห็นเขาเป็นเศรษฐีกัน กูก็อยากเป็นเศรษฐี กูตั้งโรงงานกษาปณ์เลย แล้วก็ปั๊มแบงก์กัน เวลาจะใช้ก็ต้องใช้ตอนสลัวๆ นะ ถ้าใช้ตอนไฟสว่างๆ ไม่ได้

นี่ก็เหมือนกัน เห็นเขาปฏิบัติกัน อยากจะสู้เวทนา สู้เวทนา แล้วเวทนามันคืออะไร? นี่เวทนา เห็นไหม เวลาเจอเวทนา เวทนาเวลาเจ็บ เวลาปวด เจอเวทนาก็ท้อถอยกันหมดแล้ว ทำไมไม่ทำความสงบของใจขึ้นมาก่อนล่ะ? พอใจมันสงบแล้วนะ ใจสงบมันคืออะไร? ใจสงบคือเราทำหน้าที่การงาน พอทำหน้าที่การงานแล้วนะ พอใจสงบแล้วมันไปจับเวทนาได้ มันพิจารณาเวทนา มันถึงจะมีพละกำลัง มีการต่อสู้กับเวทนา

ไอ้นี่ไม่มีอะไรเลย ตั้งโรงงานกษาปณ์เลย จะปั๊มแบงก์ จะปั๊มเวทนา จะปั๊มอริยทรัพย์ จะปั๊มอริยภูมิเลย นี่มันก็ว่ากันไปนะ ถ้าคนมีพื้นฐาน เงินทองทุกคนก็ปรารถนากันทั้งนั้นแหละ แต่วิธีจะได้เงินได้ทองมา มันก็อยู่ที่วิชาชีพของใครวิชาชีพของคนๆ นั้น แล้วทำสิ่งใดเป็นผลตอบแทนมา เป็นเงินเป็นทองขึ้นมา มันก็เป็นหน้าที่การงานของเขา นี่ก็เหมือนกัน เราจะพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม สติปัฏฐาน ๔ มันก็ต้องมีสมถะ คือมีจิตใจสงบร่มเย็นแล้ว แล้วไปเจอเวทนา พิจารณาเวทนา มันก็จะเป็นผลงานขึ้นมา

คนเรานี่ไม่รู้เหนือรู้ใต้เลยก็บอกจะสู้กับเวทนา สู้กับเวทนา คนเรานี่นะไม่มีการฝึกฝนเลย จับหัวมันขึ้นมา ยัดเข้าไปใส่เสือเลย บอกให้สู้กับเสือ เสือมันกินตายหมดเลย ถ้ามันจะสู้กับเสือ เออ ที่นี่มีเสือนะ ระวังตัวให้ดีนะ เอ็งมีอาวุธจะสู้กับเสือไหม? เสือมันเข้าไป ถ้าเผลอเสือมันตะปบนะ มันกินเลยนะ ถ้ามึงจะเข้าสู้กับเสือมึงต้องมีสติ มีปัญญานะ ต้องมีอาวุธไปสู้กับมันนะ ถ้าสู้กับมัน ถ้าจับเสือได้ เสือนั้นเอามาเป็นประโยชน์ได้นะ เสือเอามา ทุกคนก็จะมาดูว่าเสือนั้นมันรูปร่างเป็นแบบใด

นี่ถ้าจิตสงบแล้วไปเห็นเวทนาขึ้นมา มันจับเวทนาได้มันก็พิจารณาเวทนาได้ มันก็พอต่อสู้กับเวทนาใช่ไหม? ไอ้นี่ไม่รู้เหนือรู้ใต้เลยนะ จะตะบี้ตะตันล่อกับเวทนา พอเวทนามานี่หัวทิ่มดินเลย เจ็บปวดกันหัวปักดิน จิตสงบบ้างหรือยัง? จิตมันเป็นไปได้หรือไม่ ถ้าเป็นไปได้มันก็มีของมัน นี่มันมีพื้นฐานของมันมา ถ้ามีพื้นฐานของมันมา มันก็สู้กับเวทนาได้ แต่ถ้าคนไม่มีพื้นฐานเลยนะ เวทนามาก็จะสู้กับมันเลย เจอเสือก็วิ่งเข้าใส่เลย เรียบร้อย เสือมันกินหมดนะ

เวทนามันเป็นอย่างไร? เวทนานี่ เพราะกาย เวทนา จิต ธรรม มันเป็นสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ มันจะมีได้ต่อเมื่อจิตสงบ คำว่าจิตสงบหมายความว่าถ้ามีจิต จิตนี่มันไปจับกาย เวทนา จิต ธรรม พิจารณาได้ มันมีผู้พิจารณา เพราะผู้ที่ไปพิจารณา ผู้ที่มีอวิชชา ผู้ที่มีกิเลสในหัวใจ มันจะสำรอกกิเลสของมันออก มันก็ต้องตรวจสอบ ต้องพิจารณา ต้องใคร่ครวญในใจของตัวเพื่อให้มันคลายทิฐิมานะ คลายความเห็นผิดอันนั้นออกไป

การพิจารณาเวทนาก็พิจารณาเพื่อให้จิตมันฉลาดขึ้นมา จิตมันฉลาดขึ้นมา เวทนาก็สักแต่ว่าเวทนา เวทนามันหายไป เวทนามันก็ไม่มี แล้วเวทนาเป็นเรา เราเป็นเวทนา เพราะอะไร? เพราะมันไม่มีสมถะ เพราะมันไม่มีจิต ไม่มีผู้รับผิดชอบที่ไปพิจารณา แล้วพอทำจิตให้สงบ ทำจิตให้สงบก่อนแล้วไปพิจารณา ทำไมต้องทำความสงบ มันเป็นสมถะ มันไม่เห็นมีประโยชน์อะไรเลย มันไม่เห็นใช้ปัญญาเลย พวกสมถะนี่พวกโง่ พุทโธนี่พวกที่ไม่มีปัญญา ทำอะไรก็..

คนโง่นี่นะมันอวดฉลาด แล้วมันก็พูดพร่อยๆ ว่ากันไป เวลาครูบาอาจารย์ของเรา เห็นไหม ท่านเป็นนักปฏิบัติขึ้นมา ท่านบอกว่าต้องทำให้จิตสงบก่อนนะ ใครถ้าจิตสงบแล้วมันมีรากมีฐาน มีกำลังขึ้นมาแล้ว เราจะทำงานสิ่งใดมันก็เป็นประโยชน์ขึ้นมานะ ถ้าจิตไม่สงบเลย ทำสิ่งใดมันก็เป็นเรื่องโลกๆ นะ แล้วโลกก็เป็นตรรกะ เป็นวิชาการ เป็นสิ่งที่ใคร่ครวญขึ้นมากัน ใครๆ ก็พิจารณาได้ใช่ไหม? นี่ทุกคนก็นับเงินเป็น ทุกคนก็รู้ว่าเงินคืออะไร? ทุกคนนี่เห็นเงินก็นับได้ทั้งนั้นแหละ แต่เงินนั้นเป็นของเราหรือเปล่า?

ถ้าเงินของเรา เงินนี้มันได้แต่ใดมา? เงินที่ได้มาเราก็ต้องมีหน้าที่การงานขึ้นมา เราทำหน้าที่การงาน เราทำธุรกิจของเราขึ้นมา มันก็มีเงิน มีทองขึ้นมา ถ้ามีปัญญาขึ้นมา จิตเป็นสมถะ จิตมีความสงบแล้ว จิตพิจารณาของมัน มันก็มีของมัน มันก็เป็นของมัน มันก็ทำของมันได้ ถ้าทำของมันไม่ได้นะ เวทนาสู้กับเวทนา มันจะให้คนมือเปล่า มือเปล่ายังพอทนนะ ให้เด็กไร้เดียงสาไปสู้กับเสือ ไอ้เด็กมันก็ว่ามันเก่งๆ มันก็วิ่งไปสู้กับเสือ โธ่ มันตบทีเดียวเท่านั้นแหละ เข้าไปนี่มันตบทีเดียวกระเด็นเลยนะ

นี่ก็เหมือนกัน โอ๋ย แล้วพอตบทีเดียวเด็กมันก็ไม่รู้ใช่ไหม? พอเด็กไม่รู้นะมันก็จะสู้ใช่ไหม? สู้กับเวทนา จะสู้กับเสือ แล้วก็ร้องโอดโอยกัน อู๋ย เจ็บ อู๋ย ปวด อู๋ย ลำบาก มันไปสู้กับเสือด้วยมือเปล่า มันไม่ทำความสงบของใจก่อน ถ้าใจมันสงบระงับแล้ว มันจะไปสู้กับเสือ อืม มา เราก็พร้อมแล้วว่ะ อาวุธก็มี ทุกอย่างก็มี อ้าว เสือก็เสือเว้ย วันนี้จะสู้กับเสือ มันก็ได้ไง นี่ถ้าครูบาอาจารย์ท่านเป็นธรรมขึ้นมานะ ท่านค่อยๆ สอนขึ้นมา

ไอ้พวกเรา เห็นไหม เวลาไม่ศรัทธาก็ไม่ศรัทธาเลย พอศรัทธาขึ้นมาก็จะเป็นพระอรหันต์ให้ได้ ต้องพิจารณาสติปัฏฐาน ๔ จะเป็นพระอรหันต์ให้ได้ พอศรัทธาแล้วพรุ่งนี้จะเป็นพระอรหันต์เลยล่ะ แต่ถ้าไม่ศรัทธานะ ไอ้คนไปวัดนี่โง่ เขาอยู่บ้านหน้าที่การงานเขาก็มีทำ ไอ้คนไปวัดนี่ทำไมมันไม่มีงานทำหรือ? เออ ไม่รับผิดชอบเนาะ คนไปวัดเป็นคนที่ไม่รับผิดชอบ สังคมนี่นะ รับผิดชอบสังคม ต้องรับผิดชอบสิ ช่วยกันดูแลสังคมสิ ไอ้นี่ปลีกตัวคนเดียวจะไปเอาตัวรอด อู๋ย หนีสังคม ใจไม่สู้ เวลามันไม่ศรัทธานะ เวลามันศรัทธาบอกพรุ่งนี้มันจะเป็นพระอรหันต์

นี่เวลากิเลสมันอยู่กับใจมันทำให้เสียหายไปหมด ฉะนั้น วิธีสู้กับเวทนา นี่มันมีอยู่แล้ว เราพูดไว้เยอะมาก ฉะนั้น จะเทศน์ว่าให้ไปบอกกันมันเกินไป มันเหมือนมันง่ายเกินไป เวลาสมัยพุทธกาล เห็นไหม เวลาเขาจะไปศึกษาเขาต้องไปตักศิลามันเป็นแดนไกลมากนะ เขาต้องเตรียมอาหาร เตรียมทุกอย่างไปพร้อม นี่เวลาเขาไปศึกษา เขาไปศึกษาด้วยความจริงใจ ไอ้นี่มันจะกดในอินเตอร์เน็ตไง โอ้โฮ อาจารย์มันอยู่ในห้อง เออ กูนอนด้วย แล้วก็กดอินเตอร์เน็ตด้วย เออ อาจารย์ก็สอนกูด้วย กูก็นอนกระดิกตีนด้วย ต่อไปมันเป็นอย่างนั้นไปหมด แล้วคิดดูสิมันจะภาวนา มันจะภาวนา เออ นี่พูดถึงเวทนานะ

ข้อ ๙๐๓. ไม่มี

ข้อ ๙๐๔. นะ นี่เขายกเลิกแล้วล่ะ

ถาม : ๙๐๔. เรื่อง “เราเผลอ แล้วเขาฉวยโอกาส”

ตอบ : นี่คำถามเขียนมาเยอะ ทีนี้เราก็ตั้งใจว่าคำถามนี่เราไม่อ่านอยู่แล้ว เพราะว่าคำถามมันเป็นการถามแบบว่า คำถามแบบเด็กไร้เดียงสานะ เด็กไร้เดียงสาหมายความว่า ถ้าเมื่อจิตใจของเรายังไม่เข้มแข็ง เราจะเห็นสิ่งใดเป็นเรื่องทุกข์ยาก เรื่องสิ่งที่หนักหนาสาหัสสากรรจ์ไปหมด แต่ถ้าเรามีความเข้มแข็งขึ้นมา สรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้มันอยู่ข้างนอก มันทำลายหัวใจเราไม่ได้หรอก มันจะเข้ามาไม่ได้เลย สังเกตได้ไหม เรื่องนอกบ้านเรา ถ้าเราไม่เอาเข้ามาในบ้านเรา มันจะเข้ามาในบ้านเราได้ไหม?

ไฟในไม่เอาออก ไฟนอกไม่เอาเข้า ถ้าไฟนอกเราไม่เอาเข้ามานะ ไฟนอกบ้านเราไม่เอาเข้ามา นี่มันจะเผาเราได้ไหม? ไฟนอกบ้านมันเอามาเผาเราไม่ได้หรอก แต่นี้เราไปเอามันเข้ามาเอง เวลาไฟในนี่นะ ไฟในมันก็เผาลนหัวใจเราอยู่นี่ ไฟในต้องให้ดับ มันไม่ดับ มันจะไปเผาคนอื่นไง เวลามันทุกข์ร้อนขึ้นมามันจะไปจุดไฟเผาคนทั้งบ้านทั้งเมืองเลยนะ แต่ถ้าเรามีสติปัญญาขึ้นมา เห็นไหม นี่เวลาลมพัดใบไม้ไหว

ถ้าเราไม่ให้ลมพัดใบไม้ไหวนะ ดูเวลาลมพัดสิใบไม้ไหว แล้วมันได้ประโยชน์สิ่งใดล่ะ? มันก็เป็นเรื่องธรรมชาติใช่ไหม? ถ้าใบไม้มันแก่ มันโดนลมแรงใบหลุดนะ ใบนี่หลุดจากขั้วเลย ตกจากต้นลงดินเลย นี่ถ้าเราไม่ให้เป็นใบไม้ไหว ดูสิหมาเห่าใบตองแห้ง เวลาใบไม้มันไหวนี่มันมีเสียงดังขึ้นมา หมามันเห่านะ นี่ก็เหมือนกัน จิตใจของเรา เราไม่เข้มแข็งของเรา ถ้าจิตใจของเราเข้มแข็งนะ เราจะไม่ให้สิ่งที่ว่าเราเผลอขึ้นมา แล้วจะมีสิ่งใดเข้ามาทำลายเรา เราเผลอ เราเผลอก็คือเราเผลอ เราเผลอก็คือเราเป็นของเราเอง ถ้าเราไม่เผลอ

ถ้ามีครูบาอาจารย์ที่ดี สิ่งที่ครูบาอาจารย์ที่ดี เราก็เอาสิ่งนั้นนะ ดูสิผู้ที่สูงกว่า จิตใจที่สูงกว่า เขาจะดึงจิตใจที่ต่ำกว่าขึ้นมา จิตใจที่ต่ำกว่า มันจะดึงจิตใจที่สูงกว่าไม่ได้หรอก จิตใจนะ ดูสิเราไปศึกษากับพระองค์ไหนก็แล้วแต่ ถ้าพระองค์นั้นจิตใจเขาต่ำกว่า ต่ำกว่าที่ไหน? ของเหลือทิ้ง ของเศษ ของทิ้งนะ โยมเอามาทำบุญนี่ของเศษ ของทิ้ง ของเศษ ของทิ้งเพราะอะไร? เพราะสิ่งนี้เราแสวงหามาใช่ไหม? เราจะทำทานเราเสียสละใช่ไหม? ของเศษ ของทิ้ง นี่ฆราวาสเขาทิ้งแล้ว หัวดำๆ เขาทิ้งทั้งนั้นแหละ

สิ่งปัจจัยเครื่องอาศัยนี่เขาทิ้งแล้ว แล้วไอ้หัวโล้นๆ มันไปหาของที่เขาทิ้ง ของเขาทิ้งแล้ว แล้วมันยังไปหามา จิตใจเขาต่ำกว่าหรือจิตใจเขาสูงกว่า? ถ้าจิตใจเขาต่ำกว่าเราต้องไปกลัวเขาอีกไหม? นี่ถ้าจิตใจเขาต่ำกว่า เขาจะทำสิ่งใดเราได้? นี่เขาบอกว่าเขามาครอบงำจิตใจของเรา แล้วเขาก็มาเรียกร้องเอาผลประโยชน์นะ เราก็ต้องเอาผลประโยชน์ไปส่งส่วยเขา เราต้องไปให้เขา นี่ถ้าเรารู้ เรารู้ว่าของทิ้ง ดูสิเราเป็นฆราวาสหัวดำๆ เรายังเสียสละ เรายังทิ้งได้ แล้วเขาเป็นอาจารย์ของเรา เขาเป็นพระของเรา เขายังแสวงหาสิ่งนี้อยู่ จิตใจเขาต่ำกว่าเราหรือสูงกว่าเรา?

ถ้าจิตใจเขาต่ำกว่าเรา เขาจะมาสอนสิ่งใดเราได้? แล้วพอจิตใจเขาต่ำกว่าเรา เราไปกลัวสิ่งใดว่าเขาจะมาครอบงำจิตใจของเรา เขามาครอบงำจิตใจของเรา เขามาทำให้เราทุกข์ร้อน เขามาทำให้ทุกข์ร้อนเพราะอะไร? เพราะเราไปหาเอง เราไปหาเอง ไฟนอก เห็นไหม ไฟในไม่ให้ออก ไฟนอกไม่ให้เข้า เราไปเอาไฟจากข้างนอกเข้ามาเผาเราเอง เพราะอะไร? เพราะลมพัดใบไม้ไหวไง ถ้าลมพัดใบไม้ไหว ลมพัดใบไม้ไหวหมายถึงว่าจิตใจเราอ่อนแอ จิตใจเราไม่มีจุดยืนเลย ถ้าจิตใจเรามีจุดยืน เห็นไหม เรามีศีลเป็นความปกติของใจ

ถ้าเรามีศีลเป็นความปกติของใจ ดูสิเขาจะทำสิ่งใดส่งมา เขาจะทำสิ่งใดต่อเรานะ เขาทำก็เขาทำ นี่ฝ่ามือจะไปปิดกั้นท้องฟ้าได้อย่างไร? ฝ่ามือปิดกั้นท้องฟ้าไม่ได้หรอก เราจะบอกให้สังคมในโลกนี้ ทุกคนเป็นคนที่มีศีลธรรม เป็นคนที่เรียบร้อยทั้งหมดมันเป็นไปได้อย่างไร? มันเป็นไปไม่ได้หรอก โลกธรรม ๘ สรรเสริญ นินทามันมีอยู่อย่างนี้ ของเก่าแก่ ธรรมะเก่าแก่นะ สรรเสริญ นินทาเป็นธรรมะเก่าแก่ มีลาภเสื่อมลาภ มียศเสื่อมยศ มันของเก่าแก่ทั้งนั้นแหละ แล้วเราบอกว่าจะให้มันเรียบร้อย ให้มันอยู่ในกรอบหมด

เราเองนี่ลมพัดใบไม้ไหว จิตใจเราอ่อนแอ จิตใจเราสั่นไหว จิตใจเราเจอสิ่งใดเราก็หวั่นไหวไปกับเขา ถ้าจิตใจเราไม่หวั่นไหวไปกับเขานะ ถ้าเขาดี เป็นครูบาอาจารย์ของเรา ดูสิคนจนผู้ยิ่งใหญ่ ดูหลวงตาเรานี่คนจนผู้ยิ่งใหญ่ มีบริขาร ๘ หาเงินเพื่อสังคม หาเงินเพื่อประเทศชาติ ทองคำ ๑๓ ตัน เงินดอลลาร์เงินสด นี่หาเงิน นี่คนจนผู้ยิ่งใหญ่ เห็นไหม ดูสิเขาเสียสละไง คนจนผู้ยิ่งใหญ่ คือคนเสียสละให้เห็นๆ เสียสละแม้แต่ปัจจัยเครื่องอาศัย

นี่เรามองกันอย่างนั้นนะ แต่ถ้าเราเป็นลูกศิษย์ เราอยู่กับครูบาอาจารย์ เราจะรู้เลยว่าเวลาผู้ที่ปฏิบัติขึ้นไป ธรรมะมันอยู่ฟากตาย ชีวิตนี้เสียสละมาแล้ว เวลากิเลสมันโดนเบียดเบียนเข้าไป มันจะเข้าไปครอบงำ นี่ไฟใน ไฟในมันจะเข้าไปครอบงำหัวใจเลย มึงต้องตายนะ มึงต้องตาย มันจะบอกว่าเราทำไม่ได้ไง คือมันจะบอกว่าถ้าทำต่อไป ถ้าจะชนะกิเลสไป ต้องตาย ต้องวิกฤติ เพื่อให้ทุกคนอ่อนแอ ให้ทุกคนยอมรับกับกิเลสนั้น แล้วถ้าคนจะไปสู้กับมัน เห็นไหม ธรรมะอยู่ฟากตาย อยู่ฟากตาย เวลาเข้าไปถึงกิเลส ถึงอวิชชาภายใน มันจะเข้ามาวิกฤติ มันจะมาปั่นป่วนจากภายในให้เราไปไม่รอดเลย แล้วถ้าจะไปรอดมันเสียสละชีวิตกันเลย เอาชีวิตนี้เป็นเดิมพัน เอาชีวิตนี้มาตีแผ่กันว่ามันจะเหลือสิ่งใด

ฉะนั้น สิ่งที่บอกว่าสิ่งที่เป็นสมบัติภายนอก มันเรื่องเล็กน้อยมากนะสำหรับผู้ที่มีคุณธรรมจริง ถ้าสมบัติผู้ที่มีคุณธรรมจริง สมบัตินี่เรื่องของทิ้งมันของเล็กน้อยมาก ดูสิคนจนผู้ยิ่งใหญ่ ทอง ๑๓ ตันโลกเขามีค่าไหม? โลกเขามีค่าใช่ไหม? เงินดอลลาร์ล่ะ? เงินบาท แล้วยังช่วยเหลือโรงพยาบาลในประเทศไทยทั้งประเทศไทย นี่คนจนผู้ยิ่งใหญ่ไง ของทิ้ง ของทิ้งแต่มันเป็นประโยชน์โลก เขาเอามาเป็นประโยชน์กับโลก แม้แต่ชีวิตนี้ยังทิ้งได้

ถ้าครูบาอาจารย์ของเราท่านเป็นจริงอย่างนั้น เราสาธุ เราฟัง นี่ไงอันนี้เป็นน้ำอมตะธรรมข้างนอก ไฟนอกไม่เอาเข้าใน ไฟในไม่เอาออก แต่ถ้าเป็นครูบาอาจารย์ของเรานะเราอยากได้ เราอยากได้คุณธรรมอันนั้น เราอยากได้ฟังคำสั่ง คำสอนอย่างนั้น เราอยากได้คำเตือนใจแบบนั้น ถ้าคำเตือนใจแบบนั้นมันจะสะกิดหัวใจ มันจะทิ่มเข้าไปหัวใจให้เราถึงกับผงะเลย ถ้าถึงกับผงะ เห็นไหม กิเลสมันเผลอ กิเลสมันคิดว่ามันไม่มีคุณธรรมสิ่งใดจะเข้าไปถึงตัวมันได้ แต่ถ้าครูบาอาจารย์ของเรามีธรรมจริงนะ นี่เวลาแสดงธรรมออกมา ธรรมอันนั้นมันจะทิ่มเข้าไปกลางหัวใจ เพราะมันทิ่มกิเลส พอมันทิ่มกิเลสเราก็ผงะเลย

สิ่งนี้ ถ้าสิ่งนี้ เราแสวงหาสิ่งนี้กัน เราแสวงหาความจริงกัน แต่ถ้าเขาต่ำกว่าเรา เห็นไหม เขาแสวงหาเพื่อปัจจัย เขาแสวงหาของทิ้งไง ของโลก ของทิ้ง ถ้าแสวงหาของทิ้งเพราะมันเป็นสมบัติสาธารณะ ไม่มีใครเป็นเจ้าของจริง อาศัยเป็นเครื่องอยู่อาศัยชั่วคราว แล้วถ้าใครแสวงหาสิ่งนั้น จิตใจเขาต่ำขนาดนั้น เราไปฟังเขาทำไม? เราทำไมต้องไปฟังเขา? ถ้าเราไม่ฟังเขา สิ่งที่ว่าเขาทำมาถึงเรา เขากลั่นแกล้งเรา เขาทำลายเรา ไม่มีใครทำลายเรา เพราะลมพัดใบไม้ไหว มันทำลายตัวมันเองไง ถ้าลมพัดมาใบไม้มันจะไหวธรรมชาติของมัน

ในมหายาน เห็นไหม นี่ลมพัด ลมพัดหรือธงไหว ธงไหวหรือลมไหว? นี่เขาเถียงกันไง นี่เวลาลมพัดมาธงมันสะบัด เขาบอกว่าธงมันสะบัดเพราะลม อีกองค์หนึ่งก็บอกว่าถ้าไม่มีธงมันจะสะบัดได้อย่างไร? แต่อาจารย์ที่เขาเห็นพระเถียงกันอยู่นะ อาจารย์เขารู้จริงนะบอกว่า

“หัวใจของท่านสององค์นี่ไหว”

หัวใจท่านสององค์นี่ไหว ไอ้คนที่เถียงกันนี่ไหว มันไม่ใช่ธงไหวหรือลมพัดไหว ใจมึงนี่ไหว พอใจปล่อยหมด ไอ้นั่นมันก็ธรรมชาติใช่ไหม?

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าลมพัดใบไม้ไหวมันก็เรื่องของธรรมชาติ นี่ก็เหมือนกัน ธรรมะเป็นธรรมชาติ ธรรมะเป็นธรรมชาติ แล้วลมพัดใบไม้ไหวเอ็งเป็นพระอรหันต์หรือยังล่ะ? เพราะธรรมะเป็นธรรมชาติไง เอ็งก็เห็นอยู่นี่เอ็งเป็นพระอรหันต์หรือยังล่ะ? เอ็งก็ไม่เป็น ไม่เป็นเพราะอะไร? ไม่เป็นเพราะมันไม่มีหัวใจ ไม่มีหัวใจที่พิจารณา ไม่มีหัวใจ ถ้ามีหัวใจมันก็เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง มันก็เป็นสติปัฏฐาน ๔ ถ้าเอ็งไม่มีหัวใจนะเอ็งก็เถียงกันไปสิ เอ๊ะ ลมไหวหรือธงไหว?

อ้าว เอ็งก็เถียงกันไปสิ เถียงกันไม่จบหรอก อีกคนหนึ่งก็ว่าเพราะมันมีลมธงมันถึงโบก อีกคนหนึ่งว่าถ้าไม่มีธงมันจะโบกได้อย่างไร? แต่สุดท้ายแล้วไอ้นั่นมันเป็นเรื่องธรรมชาติ เรื่องจากภายนอก แต่หัวใจเอ็งนี่ไหว แต่ถ้าหัวใจเราสงบแล้ว เห็นไหม นี่สิ่งนี้ไฟในไม่เอาออกแล้ว แล้วจะดับไฟจากภายใน แต่นี่มันไฟข้างนอกแล้วไปเอาเข้ามา มันเรื่องของเขา มันเรื่องของพระ เรื่องของพระ แล้วเราก็รู้ๆ เราก็บอกว่าเขาไม่ดี เขาเรียกร้องแต่ผลประโยชน์ แล้วเราเอาเข้ามาเผาเราทำไม? แล้วเอาเรื่องอย่างนี้มาเผาเราทำไม?

ถ้าเราไม่เผาเรา อ้าว มันมีผลกับร่างกาย มันมีผลกับการปฏิบัติ ร่างกายของเรา จิตใจของเรายังคุมไม่ได้แล้วใครจะคุม? ในเมื่อจิตมันอยู่กลางอก จิตมันก็ควบคุมร่างกายอยู่ แล้วถ้าจิตมันควบคุมร่างกายอยู่นี่ จิตมันไม่เข้าใจร่างกายอยู่นี่ แล้วใครจะคุม? เขาจะส่งอะไรเข้ามาเรื่องของเขา นี่เวลาว่าเรื่องของกรรมนะ เวลากรรม สิ่งที่ว่าเป็นเวร เป็นกรรมนี่นะ มันจะให้ผลตอบสนอง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เชื่อเรื่องกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

เวลาพระโมคคัลลานะท่านพิจารณาของท่าน จนท่านสมุจเฉทปหาน จนเป็นพระอรหันต์นะ นี่เวลาพิจารณา เห็นไหม ฟังธรรมจากพระสารีบุตรมาเป็นพระโสดาบัน ฝึกฝนมาเต็มที่แล้วไปฝึกกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาง่วงเหงาหาวนอน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปสอนโดยฤทธิ์เลย

“โมคคัลลานะ ถ้าเธอง่วงนอนให้ตรึกในธรรม ให้แหงนหน้าดูดาว ให้เอาน้ำลูบหน้า ถ้าเธอง่วงนอนนักก็ให้นอนซะก่อนแล้วค่อยมาพิจารณา”

ท่านพิจารณาจนเป็นพระอรหันต์นะ นี่ไงเศษของกรรม เวลาเศษของกรรม เห็นไหม นี่เวลาลิทธิอื่น ศาสนาอื่น บอกว่าจะทำลายศาสนาพุทธจะทำลายที่ไหนก่อน? ก็ต้องทำลายที่อัครสาวกเบื้องซ้ายนี่ก่อน เพราะว่าเป็นผู้มีฤทธิ์ เป็นผู้ส่งเสริมพระพุทธศาสนา นี่จ้างคนมาฆ่า เหาะแล้วเหาะเล่า เหาะหนีนะ สุดท้ายแล้วพิจารณานะ อ๋อ มันเศษกรรมของเรา

นี่คำว่าเศษกรรมนะ คนเรานี่เวลากรรม ตามกรรมตามเวรนั่นเรื่องหนึ่งนะ นี่พระอรหันต์เวรกรรมที่ใจมันไม่มี แต่เศษของกรรม เศษเหลือทิ้งที่ได้ทำไว้ยังตามมานะ อ๋อ นี่มันเศษกรรมที่เราสร้างไว้เอง เห็นไหม นั่งเฉยให้เขาทุบนะ ให้เขาทุบจนตาย พอตายเสร็จแล้วนะ นี่ด้วยใจที่เป็นธรรม ไม่หวั่นไหวกับสิ่งใดๆ เลย เพราะถ้าอย่างเรานี่นั่งปวดหน่อยก็ปวดแล้ว แล้วเขาทุบ จิตใจมันจะอยู่ในหัวใจไหม? เขาทุบทีหนึ่งก็มึงฆ่ากูทำไม? มันทุบก็จะล่อเขาแล้ว มันจะสงบได้อย่างไร? ถ้าสงบไม่ได้ ฤทธิ์มันจะอยู่ไม่ได้ไง

ฉะนั้น เวลาทุบจนตายไปแล้วนะ พอโจรก็ไปแล้ว เพราะตายแล้ว ผลงานสำเร็จแล้ว นี่จิตใจที่ยังอยู่ ด้วยฤทธิ์รวมร่างกายนี้ขึ้นมาเป็นปกติ แล้วเหาะไปหาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าจะปรินิพพาน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า “แล้วแต่สมควรแก่เวลาของเธอเถิด”

พอลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พอจะไปองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกให้เธอสอนน้องก่อน เหาะขึ้นไปลงมาแล้วก็เทศน์ เหาะขึ้นไปลงมาแล้วก็เทศน์ สุดท้ายแล้วก็เหาะกลับไปที่เดิม พอคลายฤทธิ์ออกนะ ร่างกายนั้นก็เละเหมือนเก่า แล้วพระตามไปก็ไปเก็บ ไปเก็บไว้แล้วทำฌาปนกิจเผา

นี่พูดถึงเศษกรรมนะ เศษกรรมมันมี ฉะนั้น คำว่าเศษกรรมมี เวรกรรมที่สร้างมาอย่างใด แล้วพอเราเจอเศษเวร เศษกรรม เราก็ต้องมีสติ มีปัญญา อย่าใบไม้ไหว อย่าสั่น อย่าไหว ถ้าสั่นไหวอย่างนี้ คิดดูสิถ้าสั่นไหวนะ ดูสิกีฬา เห็นไหม ฟุตบอล มวย ใครคุมเกม มวยเวลาต่อยกัน ถ้าเขาคุมเกมได้นะเขาชนะ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ นี่บอลก็เหมือนกัน ถ้าฟุตบอลนะ ถ้าเกมของเขานะ เขาคุมอีกฝ่ายหนึ่ง อีกฝ่ายหนึ่งเล่นไม่ได้เลย ขยับไม่ได้เลย มันแพ้วันยังค่ำ แล้วนี่เราภาวนาจะให้เขามาคุมใจเราทำไม?

ใจของเรา อยู่กลางหัวอกนี่ยังต้องให้ใครมาบัญชา ใจของเรานะ เราเลือกสิ อาจารย์องค์ไหนดี อาจารย์องค์ไหนไม่ดี อาจารย์องค์ไหนดีเราก็เชื่อฟัง เชื่อฟังด้วยเหตุด้วยผล พอคำว่าเชื่อฟังนะ เวลาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นไหม กาลามสูตร อย่าเชื่อว่าอาจารย์ของตัว อย่าเชื่อว่าสิ่งที่สอนมาแล้วเราเข้าใจได้ อย่าเชื่อว่าสิ่งที่สอนมาแล้วเราอนุโลมแล้วเหมือนกับเรา

กาลามสูตรนะไม่ให้เชื่อ ความเชื่อมันแก้กิเลสไม่ได้หรอก มันจะแก้กิเลสได้ต่อเมื่อเราพิจารณาของเราไป เราเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม ตามความเป็นจริง เห็นตามความเป็นจริงเพราะจิตมันสงบ พอจิตมันสงบมันจับได้ จับได้พิจารณาได้ พอพิจารณาได้มันปล่อยวางได้ ปล่อยวางคือตทังคปหาน แล้วถ้ามันสมุจเฉทปหานมันทำลายหมดเลย เราทำลายของเราเองนะ ดูสิแบงก์ต่อหน้านี่เผาหมดเลย แบงก์มากองไว้นี่แล้วเผาแบงก์หมดเลย อืม เงินล้านกูเผาเกลี้ยงเลย เงินล้านมันเผาหมดแล้ว อ้าว แล้วเหลืออะไรล่ะ? เหลืออะไร?

ไอ้นี่เงินล้านหนึ่งนะจะเผา เอาเงินล้านไปซ่อนไว้ก่อนไง แล้วกูจะเผาเงินล้านนี้ไป แต่ไอ้เงินล้านกูยังนั่งทับอยู่นี่ อีก ๕ ปีมึงก็ไม่ได้ทำ มึงไม่มีสิทธิ์หรอก เงินล้านมึงเผามันต่อหน้า พอมันเผาแล้วนี่ อืม เพราะจิตมันสงบแล้ว พอจิตมันจับได้ กาย เวทนา จิต ธรรม ตามความเป็นจริง เวลามันพิจารณาของมันไปมันเป็นไตรลักษณ์ไง มันเป็นไตรลักษณ์คือมันตั้งอยู่ มันย่อยสลายไป ย่อยสลายไปต่อหน้า เหมือนเผาเงินล้านนั้น เผาเงินเอ็งกล้าเผาไหม? เอ็งกล้าเผาเงินล้านไหม?

เฮ๊อะ โอ๋ย เผาเงินล้านนี่สั่นเลย แต่เวลาถ้าจิตมันสงบนะ มันพิจารณาของมันนะ ธรรมะมันมีคุณค่ามาก จะกี่ร้อยล้านกูก็จะเผา มีคุณค่าขนาดไหนกูก็จะเผา แต่นี่ไม่อย่างนั้น พอจิตสงบมากอดไว้นะ อู๋ย นิพพาน นิพพาน ยังไม่ได้ภาวนาเลยมันบอกนิพพาน เงินบาทหนึ่งมันก็ไม่กล้าเผา อย่าว่าล้านหนึ่งเลย อยากได้ อยากดีจนไม่มีสติปัญญา อะไรผ่านมาก็กระโดดเกาะเลย นิพพาน นิพพาน นิพพาน มันจะพูด มันจะนิพพานอะไรของมัน? นี่ไงมันไม่กล้าทำ มันไม่กล้า มันไม่เป็นไป เพราะอะไร? เพราะมันอ่อนแอ ถ้าจิตสงบแล้วนะมันพิจารณาของมัน ถ้าพิจารณา พิจารณาอย่างไร?

นี่ครูบาอาจารย์ของเรา กรรมฐานของเราเป็นแบบนี้ คือทำตามความเป็นจริง แล้วเห็นตามความเป็นจริงกันมาตลอด แต่นี่เห็นครูบาอาจารย์ทำก็ไปจำกันมา ใครพูดมาก็ เออ นิทานก็จำไว้ แล้วก็ไปพูดต่อ ฟังเขาเล่าว่า แล้วก็ไปพูด อู๋ย บรรลุธรรม อู๋ย นี่บารมีสูงมาก อู๋ย รู้ไปหมด จำขี้ปากเขามา ฟังนิทานมา ฟังครูบาอาจารย์เทศน์มา แล้วมันก็ไปโม้ต่อ ไอ้คนที่มาปฏิบัติก็โง่ไปเชื่อเขาอีก เขาพูดอะไรก็ฟังเขา นี่ลมพัดใบไม้ไหว หัวใจเราอ่อนแอกันเกินไป ถ้าหัวใจมันอ่อนแอเกินไปนะ เพราะในวงกรรมฐานเรา ครูบาอาจารย์นี่ ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

หลวงตานี่นะท่านฟังอุปัชฌาย์ของท่าน คือหลวงพ่อจูม ธรรมเจดีย์ ท่านทำเป็นเจ้าคณะภาค เวลาท่านเทศน์นะ “นิพพานเป็นอนัตตา นิพพานเป็นอนัตตา” หลวงตาท่านนั่งฟังอยู่ด้วยนะ นี่เราจะบอกว่าในวงกรรมฐาน ในวงของครูบาอาจารย์เรา เวลาท่านนั่งฟังท่านรู้ของท่านนะ นี่หลวงตาท่านเทศน์บ่อย ท่านบอกว่าอุปัชฌาย์เราเทศน์เอง ที่วัดโพธิสมพร ท่านนิมนต์หลวงตาไปด้วย หลวงตาไปเทศน์เหมือนกัน แล้วพอฟังถึงอุปัชฌาย์เทศน์ “นิพพานเป็นอนัตตา นิพพานเป็นอนัตตา” ท่านฟังแล้ว ฟังแล้วท่านเก็บไว้ในใจ พอเก็บไว้ในใจท่านก็รออุปัชฌาย์กลับไปที่กุฏิ ท่านตามไปที่กุฏิ

“ทำไมท่านอาจารย์เทศน์ว่านิพพานเป็นอนัตตาล่ะ?”

“อ้าว ก็มันเป็นอนัตตาเพราะมันควบคุมไม่ได้ มันควบคุมไม่ได้มันก็เป็นอนัตตาไง”

นี่เวลาลูกศิษย์นะ ลูกศิษย์แบบว่าถนอมน้ำใจกันไง

“แล้วนิพพานมันเป็นนักโทษหรือ? นิพพานมันเป็นนักโทษใช่ไหม? นิพพานมันตกอยู่ในอำนาจอะไรมันถึงจะต้องให้เขาคุมขังไว้? มันคุมขังไม่ได้มันเป็นอนัตตา คำว่าเป็นอนัตตาคือมันรักษาไม่ได้ แล้วต้องรักษาได้ใช่ไหม? ต้องจับมันไว้ใช่ไหม?”

ท่านไปอธิบายให้อุปัชฌาย์ฟัง แล้วเคลียร์กับอุปัชฌาย์ บอกว่านิพพานก็คือนิพพาน นี่เวลาถามว่านิพพานเป็นอนัตตาๆ สรรพสิ่งเป็นอนัตตา มันเป็นสภาวธรรม สภาวธรรมเป็นอนัตตา นี่เวลาพูดกันเข้าใจแล้วนะ อืม เออ ก็จริงเนาะ แล้วตั้งแต่วันนั้นท่านก็ไม่พูดอย่างนี้อีกเลย นี่จะพูดถึงว่าเวลาที่จำเขาเล่าว่า แล้วมาเทศน์ต่อๆ กันไป ถ้าคนเขามีความรู้ คนมีสติปัญญาเขารู้นะ รู้อย่างไร? อย่างเช่นนะ อย่างเช่นเราเจอเหตุการณ์สิ่งใดก็แล้วแต่ เราเจอตามความเป็นจริงใช่ไหม? เวลาเราไปฟังเขาเล่ามา เราจะเรียงลำดับไม่ถูกหรอก

ในทางเทคนิคของช่าง ช่างนี่เวลาเขาทำของเขา เขาจะรักษา เขาจะซ่อมบำรุงของเขาตามวิชาชีพของเขา เขาทำได้เรียบร้อยหมดเลย แต่เราไปยืนดูนะเราว่าเราทำได้ เราทำได้ พอเราก็ซ่อมบ้างนะ พอซ่อมเสร็จนะ อะไหล่ยังเหลือเป็นกองเลยยังใส่ไม่ได้ อะไหล่เป็นกองยังกองอยู่นี่ เหมือนกัน ไปฟังเขาพูดถึงธรรมะ ฟังเขาเล่ามา แล้วไปพูดต่อ พูดจบแล้วนะมันประกอบขึ้นมาเป็นธรรมไม่ได้ แต่ไอ้คนฟังก็เชื่อๆ กันไป เห็นไหม นี่ถ้าเป็นแบบนี้ เราจะบอกว่าถ้าเป็นครูบาอาจารย์ของเรา ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ เวลาเขาพูดสนทนาธรรมกัน นี่อันนี้เป็นความจริง แล้วมันจะตรวจสอบกัน

เขาพูดบ่อย ว่าทำไมเราเชื่อมั่นว่าครูบาอาจารย์ของเราเป็นพระอรหันต์? อ้าว เราเชื่อมั่นว่าครูบาอาจารย์ของเราเป็นพระอรหันต์ เพราะนี่อาจารย์จูม ธรรมเจดีย์นี่แหละท่านเป็นเจ้าคณะภาค ท่านเป็นเจ้าคณะภาคนะ ท่านเป็นอุปัชฌาย์ ท่านบวชลูกศิษย์ลูกหามาทั้งนั้นแหละ หลวงปู่ขาว หลวงปู่แหวน นี่เจ้าคุณจูมเป็นอุปัชฌาย์หมด ฉะนั้น เวลาไปไหนท่านดูแลรักษา ท่านก็เอามาคุยกัน นี่เวลาเอาหลวงปู่ขาวมาคุยกับหลวงตา เอาหลวงตาไปคุยกับหลวงปู่บัว

นี่ครูบาอาจารย์เอามาคุยกัน คือธัมมสากัจฉา คือตรวจสอบกันไง เอาศาสตราจารย์กับศาสตราจารย์มาชนกัน เพื่อให้ศาสตราจารย์กับศาสตราจารย์เคลียร์เรื่องปัญหาทางวิชาการต่อกัน นี่แล้ววิชาการถูกต้องไหม? ถ้ามันขบกัน มันลงกันไม่ได้ มันก็ต้องมีประเด็น แต่ถ้ามันลงกัน มันเหมือนกัน นี่ไง เราเชื่อตรงนี้ไง เราเชื่อเพราะครูบาอาจารย์ของเราท่านเป็นสุภาพบุรุษ ท่านเป็นผู้รู้จริง แล้วท่านเป็นผู้เอาความเป็นจริง ท่านไม่เอาของจอมปลอม ไม่เอา

แล้วในปัจจุบันนี้สังคมสงฆ์เรามันอ่อนแอลงเรื่อยๆ อ่อนแอเพราะว่ามันไม่มีสุภาพบุรุษไง ถ้ามีสุภาพบุรุษ จริงหรือไม่จริงเขาพูดออกมาตามความเป็นจริง ถ้าสุภาพบุรุษนะเขาจะพูดว่าสิ่งนี้จริง สิ่งนี้ไม่จริง แล้วพูดออกมาโดยมีเหตุผลรองรับ ไม่ใช่ว่า จริง จริงเพราะกูว่าจริงน่ะทำไม? จริงเพราะกูว่าจริง เออ กูว่าจริงน่ะทำไม? แล้วเหตุผลล่ะ? เหตุผลก็สีข้างนี่ไง สีข้างนี่แหละเหตุผล เหตุผลคือสีข้างไง

นี่ไงที่ว่าอ่อนแออ่อนแออย่างนี้ ถ้าอ่อนแออย่างนี้ ฉะนั้น ถ้าเขาเป็นอย่างไรมันก็เรื่องของเขา นี่เพราะว่าคำถามมันจะมาเรื่อยๆ มันเหมือนพ่อแม่เลี้ยงลูก ถ้าเราคิดว่าลูกของเรามันเป็นเหยื่อเพื่อนมันตลอด พ่อแม่นี่มึงต้องดูแลมันจนตายนะ อันนี้ก็เหมือนกัน นี่ก็ถามมาอย่างนี้ เดี๋ยวก็ถามมาอีกแล้ว เพราะอะไร? เพราะใบไม้ไหว พอใบไม้ไหวนะ (หัวเราะ) มันก็กดมาไง พอใบไม้ไหวทีหนึ่งนะมันพิมพ์มาแล้ว พั่บๆ พั่บๆ แล้วกูก็ต้องมานั่งอ่านใบไม้ไหวอยู่นี่ มันไม่ไหวเว้ย มันไม่ไหวกูถึงพูด ฉะนั้น กูไม่ได้ตอบปัญหานะ กูพูดถึงใบไม้ไหว

ฉะนั้น ข้อ ๙๐๕. ไม่มี

ข้อ ๙๐๖. ไม่มี

ข้อ ๙๐๗. ฟังอันนี้นะ

ถาม : ๙๐๗. เรื่อง “อาการระหว่างทำสมาธิ”

ผมมีอาการเกร็ง บิด จิกมือตัวเอง ยกมือขึ้นมาขณะเดินจงกรม บางทีก็เปลี่ยนมาเกร็งที่หัวไหล่ จะเหมือนพยายามทำให้ตัวเองเจ็บ เวลาเดินก็เหมือนเดินลากขาข้างหนึ่ง เหมือนนักโทษกัดฟัน จนบางครั้งตอนเดินลืมตาแทบไม่ขึ้น แต่ก็เดินกำหนดพุทโธไปครับ บางทีก็กำหมัดเกร็งเอาเล็บจิก บางทีก็หัวเราะเหมือนเยาะเย้ยตัวเอง บางทีก็หายใจไม่ออก เวลานั่งตัวเหวี่ยง บิดเอวจนทำให้ปวดเกร็งค้างเอาไว้ บางทีก็ต่อยหน้าตัวเอง บางทีก็เหวี่ยงจนล้มตัวมานอนกับพื้น แต่ก็พยายามรู้พุทโธตลอดครับ ช่วยตอบด้วยครับ เพราะกว่าจะหาหลวงพ่ออีกเดือน

ตอบ : นี่พูดถึงนะ ถ้ากำหนดพุทโธ พุทโธ อาการเกร็ง อาการต่างๆ มันไม่น่าเป็น มันไม่มี อาการเกร็ง อาการจิกเนื้อ จิกตัวอย่างนี้ นี่ถ้าเราพุทโธ พุทโธนี้เป็นอะไร? พุทโธนี่นะมันเป็นอาการของใจ เราระลึกพุท เห็นไหม เราระลึกพุท นี่วิตก วิจาร นึกนี่นึกคือระลึก วิตกขึ้นมา วิจาร พุทโธ พุทโธ นี่วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์

ถ้าเราทำความสงบของใจ นี่เราทำความสงบของใจ แต่พูดถึงนะ นี่เวรกรรม เวรกรรมของคนมันมี ถ้าเวรกรรมของคนมันมีนะ ถ้าคนพุทโธไม่ได้ ถ้าพุทโธไม่ได้เราก็ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ บางคนพุทโธไม่ได้ เขาพุทโธไม่ได้นะ อย่างเช่นเราเกิดมาใช่ไหม? เราเกิดมาจริตนิสัยของเราไม่เหมือนกัน ถ้าจริตนิสัยไม่เหมือนกัน บางคนทำอย่างนี้แล้วถนัดคล่องตัว บางคนทำไม่ได้ ทำไม่ได้ก็ควรทำอย่างอื่น ทีนี้ถ้าทำอย่างอื่นนะ นี่พอมันเกร็ง เห็นไหม นี่เดินจงกรม เดินจงกรมมันก็เกิดอาการเกร็ง หัวไหล่มันเกร็ง

การเกร็งอย่างนี้นะ ดูสิถ้าการเกร็งนะเราเปรียบเทียบให้เห็นอาการของตะคริว เวลาคนเป็นตะคริวมันควบคุมตัวเองไม่ได้ใช่ไหม? เพราะเวลาเกิดตะคริว เลือดลมมันทำเอา นี่มันจะมีอาการเกร็งเจ็บปวดมาก ทีนี้พอเราเดินจงกรมมันเกิดอาการเกร็ง อาการบิดตัว อาการตัวงอ อันนี้มันไม่ใช่การปฏิบัติแล้ว มันไม่ใช่การปฏิบัติหรอก มันเป็นโรค มันเป็นอาการของร่างกาย ร่างกายมันมีปฏิกิริยา ถ้าร่างกายมีปฏิกิริยา เราก็ต้องตรวจสอบว่าทำไมมันเป็นแบบนี้ เราก็ต้องรักษาร่างกาย

ถ้าใครภาวนานะเจ็บไข้ได้ป่วยให้ไปหาหมอ ต้องให้หมอรักษาสภาพร่างกายนี้ให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บก่อน ถ้าหายจากโรคภัยไข้เจ็บแล้ว เพราะการภาวนาคือมันรักษาไข้ใจ รักษาเพราะพวกเรามีกิเลสในหัวใจใช่ไหม? การภาวนาคือการเอาธรรมโอสถมารักษา ฟอกหัวใจให้มันสะอาด ทีนี้หัวใจของเรานี่มันปุถุชน เห็นไหม ปุถุชนคนหนาด้วยกิเลส ในเมื่อใจนี้มันหนาด้วยกิเลส มันปฏิสนธิจิตมันเกิดขึ้นมาเป็นมนุษย์ จิตใจอยู่ในร่างกายนี้ เพราะมนุษย์มันมีร่างกายและจิตใจ เพราะมีร่างกายขึ้นมา ดูสิฟักมาตั้งแต่เป็นน้ำมันใส น้ำมันข้น

จากน้ำมัน เห็นไหม จากน้ำมันใส น้ำมันข้นขึ้นมา เป็นปัจจยาการ เป็นมนุษย์ เป็นอะไรต่างๆ ขึ้นมา เป็นร่างกายขึ้นมา นี่การเกิดเป็นมนุษย์ ทีนี้มนุษย์มีร่างกาย ถ้าร่างกายสมบูรณ์ ร่างกายแข็งแรงมันก็เป็นเรื่องปกติใช่ไหม? ฉะนั้น เวลาภาวนาขึ้นมา ถ้ามันมีอาการ ถ้าเราไม่ภาวนาจะเป็นอย่างนี้ไหม? ถ้าไม่ภาวนาเป็นเรื่องปกติ แล้วภาวนาจะเป็นแบบนี้ ถ้าภาวนาเป็นแบบนี้ มีอาการเกร็ง อาการเกร็ง อะไร? เป็นตะคริวหรือ? เวลาไม่ภาวนาก็ไม่เป็นตะคริวนะ พอภาวนาจะเป็นตะคริวหรือ? ถ้าเป็นตะคริว เป็นตะคริวก็ต้องดูสิมันเป็นอะไร? ร่างกายนี้ขาดธาตุเหล็กหรือเปล่า? (หัวเราะ) นี่จะเป็นหมอแล้วนะมึง

นี่ร่างกายมันขาดอะไร? สารอาหารขาดอะไร? เราก็ต้องเติมตัวนั้น เพราะคนเรามันเจ็บไข้ได้ป่วยได้ แล้วเจ็บไข้ได้ป่วย ดูร่างกาย นี่ร่างกายเป็นปกติ แล้วก็มาพิจารณา มาพิจารณา ถ้ามันเป็นโรคเวรโรคกรรมละ ถ้าโรคเวรโรคกรรมนะ มันจะเกิดอาการเกร็ง ถ้าโรคเวรโรคกรรมนะเราจะภาวนาแบบใด? มันต้องแก้ไขเป็นขั้นเป็นตอนไปนะ ไม่ใช่ว่า เออ พอภาวนาแล้วมันเกร็ง มันจิกอะไรนี่ เพราะโดยทั่วไปเขาจะบอกว่าการทำสมถะมันจะเป็นอย่างนี้ มันจะเกิดนิมิต มันจะทำให้หลงใหล แล้วถ้าเกิดมาใช้ปัญญารู้ตัวทั่วพร้อม พอรู้ตัวทั่วพร้อมอาการนั้นจะหายหมด เพราะจิตมันจะเข้าสู่สถานะ คือว่าจิตของเขาจะพ้นจากสิ่งที่เป็นนิมิต นี่เขาพูดกัน

นี่เขาพูดกันนะ แต่เวลาเราทำอย่างนี้มันจะเข้าทางเลย เห็นไหม เพราะพุทโธนี่แหละมันถึงได้เกร็ง เพราะพุทโธนี่แหละถึงได้จิกตัวเอง นี่ไปโทษพุทโธเลยนะ ไม่โทษกิเลสของตัว ไม่โทษเรื่องความเป็นไปของร่างกายนะ นี่พุทโธมันจะไปทำร้ายใคร? พุทโธ พุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน พุทโธคือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่ผู้ที่ประเสริฐนะ อันนี้เรากราบนะ เรากราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รัตนตรัยของเรา นี้เราระลึกพุทโธ พุทโธ เราระลึกพุทโธแต่จิตมันมีเวรมีกรรม ถ้าจิตมันมีเวรมีกรรม จิตมันรู้ว่ามันเป็นอย่างไรไป มันก็ต้องแก้ไขกัน

ถ้าแก้ไข ถ้าจิตมันเป็นอย่างนั้น อาการของจิตนะ อาการของจิตถ้ามันไม่ได้ ดูสิเวลาพระโมคคัลลานะ พุทโธ พุทโธนี่เจโตวิมุตติ พุทโธ นี่เวลาพุทโธไปแล้วง่วงเหงาหาวนอน พระพุทธเจ้าไปด้วยฤทธิ์เลย ไปสอน

“เอาน้ำลูบหน้านะ ตรึกในธรรมนะ อ้าว แหงนดูดาวนะ เออ ถ้าง่วง ง่วงนอนเลย แล้วเดี๋ยวค่อยลุกมาภาวนาใหม่”

เวลาไปสอนพระสารีบุตร นี่เวลาพุทโธมันเกร็งไหม? เวลามันแก้ไขไป ไปสอนพระสารีบุตร เห็นไหม นี่ใช้ปัญญา เวลาสอนไปนี่ พระสารีบุตรมีปัญญามาก องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนสิ่งใดนะก็ไปใคร่ครวญ จริงหรือเปล่า? ถูกหรือเปล่า? มันเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า? นี่คนมีปัญญามากนะ มีปัญญามากมันระวังตัวมาก เวลาได้สิ่งใดมาใคร่ครวญจนไม่กล้าลงใจนะ แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการ เพราะว่าพระสารีบุตรกำลังถวายงานพัดพระพุทธเจ้าอยู่ หลานพระสารีบุตรจะมาต่อว่าไง

ต่อว่านี่เอาพระสารีบุตรบวช เอาพระจุนทะบวช เอาตระกูลพระสารีบุตรบวชหมดเลย จะมาต่อว่าพระพุทธเจ้า แต่ทีนี้พอจะต่อว่าก็ไม่กล้าใช่ไหม? ไม่กล้าเพราะมีมารยาท นี่ไม่พอใจอันนั้น ไม่พอใจอันนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า

“ถ้าเธอไม่พอใจสิ่งต่างๆ เธอต้องไม่พอใจอารมณ์ของเธอด้วย เพราะอารมณ์ของเธอ อารมณ์ที่เธอไม่พอใจ เพราะเราไม่พอใจสิ่งต่างๆ ความรู้สึกที่ไม่พอใจเขา ก็ต้องไม่พอใจความรู้สึกตัวเราด้วย”

พระสารีบุตรถวายงานพัดอยู่นะ เพราะเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการกับหลานพระสารีบุตร ท่านไม่ได้เทศน์สอนพระสารีบุตรนะ ทีนี้เวลาสอนตัว ตัวก็ใช้ปัญญามากก็คิดมากไง เวลาไม่สอนตัวสอนคนอื่นนะ อืม ใช้ปัญญา เวลาสอนคนอื่นนะ เออ ได้ประโยชน์นะ แต่ถ้าสอนฉันปิดหมดเลย ฉันผู้รู้นะ ฉันเก่งนะ ฉันไม่รับฟังใคร แต่เวลาสอนคนอื่นนะหูมันยาวไง เออ ดีเนาะ ปิ๊ง! เป็นพระอรหันต์เลย

นี่พูดถึงถ้าเข้ามาแล้วมันบีบคั้นตัวเอง จนเกร็ง จนมีปัญหาไป เราต้องพิจารณาของเรา จิตเรา จิตของคนมันหลากหลายนะ ฉะนั้น สิ่งที่ว่าเราพุทโธ พุทโธนะ สิ่งที่มันเป็นไปต้องหยุดให้ได้ หยุดให้หมด อาการเกร็ง เห็นไหม อาการเกร็ง พออาการเกร็งขึ้นมา เรานั่งอยู่นี่ ขณะเรานั่งอยู่ เวลามันเจ็บมันปวด เวทนาเกิดเราก็ยังปวดนะ ถ้าเกร็งขึ้นมา เห็นไหม ตัวบิด ตัวงอ นี่แล้วเดินจงกรมขนาดที่ว่าตัวเองล้มลุกคลุกคลาน ไอ้นี่มันนักมวยแล้ว มึงจะขึ้นเวทีชกมวยหรือ?

ไม่ใช่ เรานักปฏิบัติใช่ไหม? สถานที่วิเวก กายวิเวก จิตวิเวก แล้วสถานที่วิเวก กายวิเวก กายวิเวกแล้วกายอยู่นี่วิเวกไหม? ถ้ากายมันไม่วิเวก เห็นไหม พอนั่งสมาธินี่กายวิเวกไหม? กายวิเวกแล้วจิตวิเวกไหม? นั่งสมาธิก็นี่งสงบเสงี่ยมหมดเลย หัวใจมันอยู่กับเราไหม? หัวใจมันคิดไปที่ไหน? หัวใจมันส่งออกไปไหน? นี่เขาเอาตรงนั้นต่างหากล่ะ คือว่าเรานะ ถ้าเราคิดกันเอง เราคิดเลยว่าเราจะมีมรรค มีผลขนาดนั้น แต่เราไม่ได้คิดเลยนะว่าหัวใจเราอยู่ไหน?

เราจะมีมรรค มีผล ถ้าเป็นมรรคผลนะเราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฟังเทศน์ของครูบาอาจารย์ นี่มีมรรคมีผลไปหมดเลย แล้วของเราล่ะ? ของเราติดลบ หาตัวเองไม่เจอ แต่ถ้าเราพุทโธ พุทโธนะ จิตเราสงบขึ้นมานะ เราไม่ต้องหวังสิ่งใดเลย แค่จิตมันสงบนะ จิตมีพื้นฐานขึ้นมานะ อื้อฮือ ใครมีบ้านนะ นี่ออกจากศาลาทุกคนกลับบ้านหมดเลย แต่อย่างเรานี่ไม่มีบ้าน อารามิกคนทิ้งบ้านมา แล้วเราจะไปไหนล่ะ? พอออกนี่เขากลับบ้านหมดเลย เอ๊ะ แต่เราไม่มีบ้านไปเว้ย กูหาบ้านไม่เจอ นี่เวลาคนกลับบ้าน เห็นไหม เราจะบอกว่าถ้าคนกลับบ้านเราก็อุ่นใจใช่ไหมว่าเรามีบ้านไป

ในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า “ถ้าใครทำจิตสงบนะ แค่จิตสงบนี่เหมือนมีบ้าน มีเรือนที่อาศัย คนที่ทำจิตใจสงบไม่ได้เหมือนคนเร่ร่อนที่ไม่มีบ้านมีเรือน”

คนทำจิตสงบนี่มีบ้าน มีเรือน คนมีบ้าน มีเรือน ฝนตก แดดออกมันยังมีที่พึ่ง ที่อาศัย ที่หลบแดด หลบฝน ถ้าจิตใจมันสงบแล้วมันมีที่หลบแดด หลบฝน คนเรามันไม่ทุกข์ร้อนจนเกินไปใช่ไหม? ถ้าคนมีที่หลบแดดหลบฝนแล้ว ถ้าเรามีกำลังขึ้นมา เราไปประกอบสัมมาอาชีวะ หรือเราทำหน้าที่การงานขึ้นมามันก็จะเป็นวิปัสสนา ถ้าวิปัสสนาขึ้นมามันก็จะถอดมาถอน

ฉะนั้น สิ่งที่ว่ามันเกร็ง มันอะไรนี่เราไม่เห็นด้วยเลยนะ แล้วเราจะบอกว่าการทำสมาธิไม่ใช่ทำให้ทุกข์ร้อนอย่างนี้ การทำสมาธินะ มีอาการเกร็ง มีอาการบิด จิกมือตัวเอง ชกหน้าตัวเอง ไหล่เกร็ง ลากขาไป อู๋ย ภาวนาแล้วมันต้องเป็นอย่างนี้ด้วยหรือ? โอ๋ย กูไม่เชื่อนะ ไม่เชื่อว่าภาวนาต้องเป็นแบบนี้นะ แล้วถ้ามันเป็นแบบนี้ ถ้าเป็นแบบนี้ ใครเป็นแบบนี้ก็ต้องค่อยๆ แก้ไง ถ้าเป็นแบบนี้ แล้วถ้าเราเชื่อมั่นแบบนี้ มันก็เหมือนกับวิตกจริต มันจะย้ำคิดย้ำทำจนเป็นจริต จนเป็นนิสัย ถ้าเราเคยเป็นแบบนี้ใช่ไหม? เราก็พยายามแก้ไข เกลื่อนมัน ลบให้จบ เหมือนกับที่ว่าแผ่นเสียงตกร่อง

เวลาเรานั่งอยู่นี่ เรานั่งคุยกันสนุกครึกครื้น เวลานั่งภาวนานะ พอกลืนน้ำลาย อึก! เดียว แค่กลืนน้ำลายทีเดียวเท่านั้นแหละ พอนั่งไปนะ อึก! อึก! อยู่นั่นแหละ กว่าจะแก้กลืนน้ำลายก็ล่อกัน ๕-๖ วันแล้ว จิตนี่นะพอมันซับสิ่งใดแล้ว มันจะซับลงที่ใจเลย แผลใจนี่แก้ยากมาก แผลจากร่างกายนะ เราใส่ยารักษามันยังหาย แผลใจนี่เวลามันฝังไปลึกแล้ว เวลาแก้มันจะแก้อย่างไร? จิตของคนนะถ้ามันเกิดร่องในใจ แบบว่ามันตกร่องแล้วนี่พอภาวนาไปจะเป็นอย่างนั้น จะเป็นอย่างนั้น

ค่อยๆ แก้ไป พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธจนจางลงๆ จนพุทโธเลยเข้าไป จากขณิกะเป็นอุปจาระ เป็นอัปปนา แล้วถ้าเกิดมันสงบแล้วใช้ปัญญาฝึกฝนไป ไอ้สิ่งที่เคยติดขัดมันจะหายไปเลย เหมือนกับไม่เคยเกิด ไม่เคยมี เพราะเราแก้ไขได้แล้ว แต่ถ้าสิ่งใดพอมันไปสะดุด แค่กลืนน้ำลายนี่ กลืนน้ำลายเท่านี้แหละ แล้วไปนั่งภาวนาสิ เดี๋ยวก็กลืนอึก! อึก! อยู่อย่างนั้นแหละ แล้วแก้ยาก แล้วอันนี้มันเกร็ง แล้วมันบิดด้วย มันจิกตัวเองอย่างนี้ มันต้องแก้ให้หายไป ถ้าแก้หายไปแล้ว สิ่งนี้มันจะเบาลงๆๆ

นี่ถ้ามันยังแก้ไม่ได้นะ เราก็ต้องพิจารณาแล้วว่าร่างกายนี่มันเป็นอะไร? ถ้าร่างกายไม่เป็นสิ่งใดเลย ภาวนาทำไมเป็นแบบนี้? ถ้าจะเป็น ขืน พอมันจะบิด ไม่บิด มันจะเอียง ไม่เอียง ฝืนกับมัน เดี๋ยวก็หาย เพียงแต่เราไปปักใจเชื่อว่าเราเคยเป็นแบบนี้ แล้วเป็นแบบนี้ก็เลยยอมรับ แล้วก็เป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเราจะเป็นแบบนี้เราไม่ยอมรับความเป็นแบบนี้ เราจะฝืนกลับมาให้เป็นปกติ แล้วฝืนได้ด้วย ฝืนได้ด้วย ถ้าเราฝืนด้วยสติ ด้วยปัญญาจะฝืนได้ แต่ถ้าเราฝืนไม่ได้ ทำแล้วมันไม่ไหว ทำแล้วมันไม่ได้ มันไม่ได้หรอกถ้าเอ็งทำแต่ปาก

เอ็งทำแต่ปากอย่างนี้ แล้วเอ็งก็เชื่อว่าเอ็งทำแบบนี้ ทำไม่ได้หรอก เพราะกิเลสมันอยู่ในจิตใต้สำนึก มันอยู่ลึกกว่านี้อีก ฉะนั้น จิตใจพูดอย่างนี้มันเหมือนคนยอมจำนน คนยอมรับ ยอมรับสิ่งที่มันเป็น พอยอมรับแล้วนะมันแก้ไขยาก แต่ถ้าเราเป็นนักปฏิบัติเราจะมาต่อสู้ ต่อสู้เพื่อเอาชนะตนเอง ถ้ามันเกิดสิ่งใดเราสู้ได้ เราขัดแย้งได้

อย่างเช่นพระเรานี่ ทุกวัน พระไม่เคยลงมาฉันครบ เขาอดอาหารของเขา เขาผ่อนอาหารของเขาทำไม? เออ กินอิ่ม นอนอุ่นมันเป็นความสุขใช่ไหม? แล้วทำไมกูไม่กินล่ะ? เออ ทำไมเขาไม่กิน เขาไม่ฉันข้าวเพราะอะไร? นี่พระลงมาฉันไม่เคยครบสักวันหนึ่ง การกิน การอยู่มันเป็นเรื่องความสุขของมนุษย์ใช่ไหม? แล้วทำไมพระเขาไม่ยอมฉันข้าว? ทำไมเขาไม่กินกัน? ไม่เคยลงมาฉันครบสักวันหนึ่ง เพราะอะไร? เพราะเขาจะขัดแย้ง เขาจะต่อสู้ของเขาไง เขาจะดูแลใจเขาไง เขาทำของเขาเพื่อเขา ไม่ใช่ว่าเรายอมจำนนแบบนี้

เราจะบอกว่าสถานที่วิเวก กายวิเวก จิตวิเวก ถ้ากายวิเวก กายวิเวกจะไม่เกิดอาการแบบนี้ ถ้าเกิดอาการแบบนี้คืออาการที่กายไม่วิเวก นี่กายไม่วิเวกแล้ว กายกดทับจิตแล้ว ถ้ากายกดทับจิตเราต้องมีสติ ฝืน ใช้ฝืน ถ้าพุทโธแล้วฝืนได้ ฝืนได้ มันจะบิดไม่บิด มันจะจิกไม่จิก ไม่ทำตามมัน เพราะทำตามมันนะ ทำตามมันแล้วต้องทำมากขึ้น ทำหนักขึ้น เห็นไหม นี่ขนาดที่ว่าเลยล่ะ ขนาดล้มลงนอนเลย มันกระชากจนล้มเลย อืม เราไม่ทำตามมันสิ คือว่าเรามีสติปัญญาที่เหนือกว่า เรามีสติปัญญาที่แยกแยะได้ ถ้าเรามีสติปัญญาที่เหนือกว่า แยกแยะได้นะ เรื่องสิ่งนี้มันจะจบไป นี่พูดถึงเรื่อง “ระหว่างการทำสมาธิ” นะ

โธ่ เราอ่านอย่างนี้แล้ว พูดถึงใจหนึ่งมันสังเวชนะ สังเวชว่าปฏิบัติมันเป็นแบบนี้หรือ? ปฏิบัติแล้วมันเกิดอาการแบบนี้หรือ? แต่อาการแบบนี้นะมันเหมือนทางโลกเลย โลกเขาเป็นไป ทางโลกเขาเป็นกันอยู่ แล้วทางโลกเขาเป็นกัน เพราะเราปฏิบัติจากโลกมาเป็นธรรมนี่ เราไม่ได้ปฏิบัติจากธรรมไปเป็นโลก โลกเขาเป็นกัน เป็นกันเขาก็ไปหาหมอ หมอก็ต้องแก้ไขไปตามนั้น ถ้าจบแล้วเรากลับมาภาวนา ถ้าเจ็บไข้ได้ป่วยเรายกให้หมอไป ร่างกายนี้ยกให้หมอไป จิตใจเราต้องฟื้นฟูของเราเอง จิตใจเราต้องฟื้นฟู ทำของเราให้เข้มแข็ง แล้วเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เราจะประสบความสำเร็จเนาะ เอวัง