ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

พาลพาไปหาผิด

๓o มิ.ย. ๒๕๕๕

 

พาลพาไปหาผิด
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๕
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ข้อ ๙๗๓. เนาะ

ถาม : ๙๗๓. เรื่อง “กรรมที่ทำไว้กับมารดา”

(เขาว่า) ครั้งหนึ่งพี่สาวกับมารดามีปัญหากันเรื่องเงิน และจะกระทำอีก ครั้งแรกพี่น้องทุกคนก็รู้อยู่ แต่ก็วางเสีย ตอนนี้กำลังจะทำอีก

ตอบ : นี่ปัญหามันยาว ปัญหามันยาวว่ามันเป็นปัญหาระหว่าง นี่ถ้าพูดถึงนะ พูดถึงเวลาในครอบครัว ในครอบครัว ในพี่ ในน้องต่างๆ กำลังเกิดขึ้นมา ถ้าคนในพ่อแม่เดียวกัน ความเห็นเดียวกัน ตามกฎหมายมีสิทธิเสมอภาค กองมรดกทุกคนก็มีสิทธิคนละเท่าๆ กัน ฉะนั้น เวลาพี่สาว เวลาเขาไปทำกับแม่ แล้วพี่น้องเห็นอยู่เขาก็วางเฉย วางเฉยเพราะอะไรล่ะ? วางเฉยเพราะว่ามันเป็นพี่น้องกัน เวลาคนทางโลกนะ แม้แต่เงินบาทเดียวเขายังมีปัญหากันเลย เงินบาทนะ เงินบาทเดียวถ้ามันเป็นการคดโกงกันมันรับไม่ได้ แต่ถ้าเขาพอใจเขาจะให้กัน เป็นร้อยเป็นพันเขาก็ให้กันได้นะ

อันนี้ก็เหมือนกัน สิ่งที่ว่าถ้าเรามีสติมีปัญญา เห็นไหม ว่าสิ่งนี้เป็นพี่เป็นน้องกัน สมบัตินี้มันก็เป็นสมบัติเป็นกองมรดก เป็นของส่วนรวม แต่ถ้ามันเห็นว่าเขาบอกว่าสิ่งที่เขาทำไปเขาไม่ได้คิดที่เงิน เขาคิดถึงว่าบาป-บุญไง ว่าเป็นกรรมของพี่สาวที่ไปทำกับแม่ อันนี้พูดถึงเป็นกรรมนะ เรื่องของกรรม เวลาเกิดมันเป็นกรรมอยู่แล้วแหละ มันเป็นกรรม มันเป็นสายบุญสายกรรม ทีนี้สายบุญสายกรรมมา เห็นไหม นี่เวลาอวิชชา อวิชชาคือความไม่รู้ ความไม่รู้เป็นพาล เป็นพาลชน ถ้าเป็นพาลชนในหัวใจแล้ว ในหัวใจเป็นพาลชน คนที่เขาทำเขาคิดอย่างใด?

นี่ในมุมมองของเราว่าพ่อแม่ก็รักลูกเหมือนกัน ลูกก็อยากจะช่วยเหลือเจือจานเหมือนกัน ฉะนั้น เกิดถ้าเขามีเหตุจำเป็น เหตุจำเป็นนะคนเรามันมีเบื้องหลัง มีเหตุจำเป็นขึ้นมามันถึงจะมาเอาเงินของพ่อ ของแม่ ถ้ามันไม่มีเหตุจำเป็นขึ้นมามันก็ไม่มาเอา นี้พูดถึงว่าในมุมมองของเขา แต่ถ้าในมุมมองของเรา ถ้าเขามีเหตุจำเป็นเขาก็ควรจะแก้ไขของเขา เขาไม่ควรจะมาเบียดเบียนใครใช่ไหม? ถ้าเขาแก้ไขของเขา เขาทำของเขาได้ เขาสร้างปัญหาขึ้นมา เขาต้องแก้ปัญหาของเขา

ทำไมเขาสร้างปัญหาขึ้นมา แล้วเขามาทำร้ายกับแม่ของเขา มาเอาเงินแม่ของเขาไป แล้วพี่น้องเห็นแล้วทนไม่ได้ ทีแรก ครั้งแรกก็วางเฉยได้ แต่ครั้งต่อไปจะวางเฉยอย่างไร? ถ้าวางเฉย เห็นไหม ถ้าคนจิตใจเขาบอกว่าสิ่งนี้ เวลาในครอบครัวที่เขามีปัญหาเรื่องเงินทองกัน มันก็มีปัญหาในครอบครัวไป แต่ถ้าคนที่เขาดี คนที่เขาดีนะเขาว่าสิ่งนั้นเป็นของนอกกาย เขาให้อภัยได้ เขาไปหาของเขาเองได้ นี่พูดถึงหัวใจที่มันมีเหตุมีผล แต่ถ้าหัวใจที่เป็นพาลไง เขาบอกว่า

ถาม : จะแก้ไขอย่างใด? ให้หลวงพ่อช่วยแนะนำด้วยว่าจะแก้ไขอย่างใด?

ตอบ : ถ้าแก้ไขอย่างใดนะ สิ่งที่เวลาเราจะแก้ไข มันก็ต้องด้วยโลกใช่ไหม? เราต้องมองปัญหาเป็น ๒ ประเด็น ประเด็นหนึ่งคือโลก โลกหมายถึงว่าสิทธิความเสมอภาคในแง่ของกฎหมาย ในแง่ของความถูกต้อง นี่เป็นเรื่องของโลก เราต้องแก้กันตรงนั้น เราเอาเรื่องของโลกต้องคุยกัน พูดกัน ประสากันว่ามันจะเข้าใจกันได้ไหม?

นี่พูดถึงโลกนะ แต่ถ้าเป็นเรื่องของกรรมล่ะ? เรื่องของกรรมมันพูดกันไม่รู้เรื่องไง ถ้าเรื่องของกรรมมันพูดกันไม่รู้เรื่องหรอก ทุกคนก็ว่ามันถูกต้องทั้งนั้นแหละ เพราะอะไร? เพราะเป็นที่มุมมองไง ถ้ามุมมองเขาอย่างนั้น มุมมองเขาอย่างนั้นเขาว่าสิทธิของเขา เขาทำของเขาได้ คนอื่นเขาเอาตัวรอดได้ คนอื่นไม่มีความจำเป็น คนอื่นเขาอยู่ของเขาได้ แต่เรามีความจำเป็น เรามีความจำเป็นเราต้องขอสิ่งนี้ก่อน นี่เวลามันเป็นพาลนะ พาลนี่มันไม่ไว้หน้าใครเลยล่ะ

เวลาเขาดูคน เห็นไหม เขาดูคน เขาดูคนเขาให้ดูเขาคบเพื่อนใคร? เวลาเพื่อนเขา ถ้าเพื่อนเขา สิ่งแวดล้อมของเขาเป็นแบบนั้น จิตใจของเขาเป็นแบบนั้น ถ้าสิ่งแวดล้อมเขาดี เขาคบเพื่อนดี สิ่งต่างๆ ดี นี่ในมงคลชีวิต อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา ไม่ให้คบคนพาล ให้คบบัณฑิต ไม่ให้คบคนพาล ให้คบบัณฑิต เขาดูการคบเพื่อน ดูการดำรงชีวิตของเขา แต่ถ้าเวลาความรู้สึกนึกคิดในใจ นี่อันนี้มันแยกกันไม่ออกไง

เพราะเวลาเราดูเพื่อนเขา ดูสังคม ดูสิ่งแวดล้อมของเขา นี่คือนิสัยใจคอของเขา อันนั้นเราก็มองได้ แต่ถ้าความรู้สึกนึกคิดล่ะ? ความรู้สึกนึกคิดของเรานะ ถ้าเราคิดดี ทำดีขึ้นมาในหัวใจของเรามันก็ปลอดโปร่ง นี่แล้วมันจะไม่คิดอย่างนี้ มันจะไม่ทำอย่างนี้ ไม่ทำอย่างนี้เพราะอะไร? ไม่ทำอย่างนี้เพราะว่าหนึ่งพ่อแม่เป็นพระอรหันต์ของลูก ถ้าเราทำให้พ่อแม่เราลำบากใจ เราทำให้พ่อแม่ทุกข์ใจ นี่เวรกรรมทั้งนั้นเลย

นี่เวลาเรามีเงิน มีทองมาเลี้ยงจุนเจือพ่อแม่ต่างๆ นี่พ่อแม่มีความสุขมาก พ่อแม่มีความปลื้มใจมาก ทั้งๆ ที่เงินทองพ่อแม่ก็มีอยู่ ความจริงชีวิตท่านท่านก็รักษาของท่านได้ แต่ถ้ามีลูกมาดูแลมันชื่นใจ ถ้ามันชื่นใจ น้ำใจ ค่าของน้ำใจมันมีความสำคัญมาก ทีนี้ค่าของน้ำใจมีความสำคัญมาก เห็นไหม พ่อแม่เป็นพระอรหันต์ของลูก แล้วเราไปเบียดเบียน คำว่าไปเบียดเบียนแล้วมันพี่น้องหลายคนไง ถ้าพี่น้องหลายคน พี่น้องเขาจะประชุมกัน เขาบอกพี่น้องเขาจะประชุมกัน แล้วเขาจะไปพูดกับพี่สาวเขาอย่างไร ว่าให้พี่สาวเขาเข้าใจเรื่องอย่างนี้ได้

นี่ไงแม้แต่ในพี่น้องเขายังมองเห็นของเขาได้ มองเห็นของเขาได้ ฉะนั้น สิ่งที่ว่าเรื่องมองไปทางธรรม มองไปทางธรรมเราก็ต้องแก้ไข ปัญหาคือว่าเราจะต้องแก้ไขของเรา แก้ไขของเราให้ได้ แก้ไขในทางโลกนะ ในทางโลกเขาทางสิทธิ ทางต่างๆ ที่ว่าจะคุยกัน จะพูดกันเราก็ทำได้ ถ้าเราทำของเรานะ ถ้าทำแล้วมันดีขึ้นมา แต่ทำแล้ว นี่พอทำแล้วมันเกิดความบาดหมาง ทำแล้วมันเกิดไม่ได้ผล ทำแล้วมันยิ่งถลำลึกไป ไอ้นี่นะเวรกรรม ถ้าเวรกรรม ถ้าเราไม่ทำ ไม่ทำมันไม่เกิดสิ่งนี้ไหม?

ฉะนั้น พาลพาไปหาผิด ถ้าใจเขาเป็นพาลแล้วมันพูดกันยาก ถ้าใจเขาเป็นพาลนะ แต่ในเมื่อเกิดมาเป็นพี่เป็นน้องกัน มันจะแก้ไขกันอย่างไรล่ะ? เป็นพี่เป็นน้องกันเราก็ต้องดูแลกัน ถ้าคำว่าดูแลกันนะ ถ้าดูแลกัน ถ้าในทางธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดยิ่งกว่านี้อีก ในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ บอกว่าเพื่อน การที่เราคบกันเป็นเพื่อน แล้วไปมาหาสู่กัน ดูแลกัน มีความเข้าใจดีต่อกัน เห็นไหม มันมีความผูกพันยิ่งกว่าญาติ คำว่าญาติพี่น้องนะ แต่ถ้ามีความบาดหมางกัน มีต่างๆ นี่อยู่ด้วยกันมันเหมือนห่างกัน เพราะมันไม่เข้าใจกันไง

ถ้าความเข้าใจกัน ฉะนั้น สิ่งนี้เวรกรรมนะ คำว่าเวรกรรม ทุกอย่างเวลาพุทธศาสนาสอนให้เวรกรรม คำว่าเวรกรรมในพุทธศาสนามันโดยหลัก แต่ไม่ใช่โดยที่เขาทำกัน สิ่งที่เขาทำกัน เห็นไหม ถ้าเวรกรรม เวรกรรมเขาก็ต้องแก้ไข เขาต้องทำดีของเขาไง เขาต้องแก้ไขของเขา ต้องมีสติปัญญาของเขา ถึงจะมีเวรกรรมอย่างไร เพราะความดียิ่งกว่านี้ยังมีอยู่ ทำดีที่ยิ่งกว่านี้ยังมีอยู่ เพราะเราอยากจะพ้นจากทุกข์ ถ้าเราอยากจะพ้นจากทุกข์เราต้องทำคุณงามความดีของเรา

แล้วคุณงามความดีหยาบๆ ข้างนอก เห็นไหม เราก็ทุกข์ยากพอแรงอยู่แล้ว แต่ถ้าเวลาเรานั่งสมาธิล่ะ? เวลานั่งสมาธิเราต้องเอาชนะตัวเราเอง ถ้าชนะตัวเราเองนะถ้ามันเกิดปัญญา ไม่เกิดปัญญาขึ้นมาอีกล่ะ? มันละเอียดเป็นชั้นๆๆ เข้าไปไง นี่ความดีที่ดีกว่านี้ยังมีอยู่ เราต้องพัฒนาของเรา ฉะนั้น ความเป็นเรื่องของโลกๆ ไง เรื่องของโลกๆ ก็บอกว่าสิ่งนี้เป็นกรรม สิ่งนี้เป็นกรรม นี่ถ้าเวรกรรม เขาไปแก้กรรมกัน ไอ้นั่นมันเป็นธุรกิจ มันเป็นการซื้อขายแลกเปลี่ยน คำว่าธุรกิจ ซื้อขายแลกเปลี่ยนมันจบไหม?

ทีนี้เวลากรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูสิมันมีสมัยพุทธกาลนะ มันมีเพื่อนกัน ๒ คน ผลัดกันฆ่าอีกคนตลอดไป ฉะนั้น เวลาชาตินั้นเพื่อนคนหนึ่งเขาก็ไปเที่ยวป่ากลับมา คนหนึ่งนอนหลับ อีกคนหนึ่งกำลังจะฆ่าเพื่อนอีกคนหนึ่ง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาด้วยฤทธิ์เลย นี่เวลารื้อสัตว์ ขนสัตว์ อนาคตังสญาณเห็นไง นี่มาด้วยฤทธิ์ พอมาด้วยฤทธิ์ก็ยับยั้งคนที่จะฆ่าไว้ก่อน แล้วบอกให้คนที่จะฆ่าให้ปลุกเพื่อนขึ้นมา แล้วให้อโหสิกรรมต่อกัน ให้อโหสิกรรมต่อกันจะได้ไม่คิดจองล้างจองผลาญกันไป นี่เป็นเพื่อนกันนะ ผลัดกันฆ่าคนละชาติ ผลัดกันฆ่ากันอยู่อย่างนั้นแหละ

นี่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะปลุกให้ตื่นขึ้นมา แล้วให้เขาอโหสิกรรมต่อกัน ทีนี้การกระทำขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่มันมีอดีตชาติมา เห็นมาโดยทั่ว นี้ของเรา ถ้าเราอโหสิกรรมต่อกัน เราทำความดีต่อกัน แต่ถ้าแก้กรรมอย่างอื่น ถ้าเป็นธุรกิจเกินไปมันไม่ใช่หรอก ตอนนี้แก้กรรมกันจนเป็นธุรกิจนะ แต่ถ้าเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุกคนมีกรรมดี กรรมชั่ว ทุกคนมีสิ่งที่มีมา เพราะเรามีต้นทุนของเรามา ถ้ามีต้นทุนของเรามามันแก้ที่เรา มันแก้ที่เรา มันแก้ไขที่เรา ถ้าแก้ไขที่เราได้มันก็จบได้

ตอนนี้ทางโลกนะ เรื่องการแก้กรรม เรื่องต่างๆ มันเป็นธุรกิจไปหมด แล้วเป็นธุรกิจแล้วมันมี เพราะมีคนที่ไปตกหลุมพรางแล้วมาปรึกษาเราหลายคน ทุกคนทุกข์ยากมาก เริ่มต้น เห็นไหม ส่วนใหญ่แล้วคนเดือดร้อน พอคนเดือดร้อนก็อยากหาที่พึ่ง พอหาที่พึ่งก็บอกว่าทางนี้เป็นทางที่พึ่ง แต่ทางที่พึ่งอย่างนี้แล้วมันก็เหมือนกับทางโลกเลย มันต้องเสียค่าใช้จ่าย พอเริ่มเสียค่าใช้จ่าย พอค่าใช้จ่ายไปเรื่อยๆ ค่าใช้จ่ายไปเรื่อยๆ แล้วมันไม่ประสบความสำเร็จสักที เขาก็เสียค่าใช้จ่ายไปเรื่อยๆ

อ้าว นี่ไงที่เป็นธุรกิจไง นี่ไปตกหลุมพรางเขา แล้วก็ถอนตัวไม่ขึ้น แต่ถ้าพูดถึงเรื่องเวร เรื่องกรรม นี่ก็กรรมอันหนึ่ง กรรมเพราะเราหลงเชื่อเขา กรรมเพราะเราหลงเชื่อเขา แต่ถ้าเราไม่หลงเชื่อเขานะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่ากาลามสูตรไม่ให้เชื่อใคร ไม่ให้เชื่อว่าสิ่งนี้ทำแล้วอาจจะได้จริง ทำแล้วมันจะเป็นไปได้ นี่อนุมานเอาได้ ต่างๆ ได้ นี้เป็นอาจารย์เรา

ไม่ให้เชื่อเลย กาลามสูตรไม่ให้เชื่อเลย ให้เชื่อกรรมคือการกระทำ ทำดีทำชั่ว ทีนี้ทำดีทำชั่วขึ้นมา ทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่ว สิ่งที่เราทำคุณงามความดีของเรา เห็นไหม ทำความดีของเรา ให้ทานร้อยหน พันหน ไม่เท่ากับถือศีลบริสุทธิ์หนหนึ่ง ถือศีลบริสุทธิ์ร้อยหน พันหน ไม่เท่ากับทำสมาธิหนหนึ่ง ทำสมาธิร้อยหน พันหน ไม่เท่ากับเกิดปัญญาหนหนึ่ง

ฉะนั้น เราจะทำคุณงามความดีของเรานะ ถ้าใครทุกข์ร้อนมาก ใครมีความลำบากลำบนมากให้ตั้งสติไว้ แล้วยับยั้งไว้ แล้วนั่งลง กำหนดลมหายใจเข้าออกพุทโธ พุทโธนี่นะ แล้วถ้าจิตมันสงบได้นะ สิ่งที่เกิดในชีวิตของเรา เราแก้ไขได้หมดเลย แต่ แต่เวลาถ้าคนเรามันเร่าร้อนนะ จิตมันฟุ้งซ่านมาก มันบังคับไม่ได้หรอก ไม่ได้นะ เดินจงกรม ยืน แล้วตั้งสติไว้

นี่ถ้าตั้งสติไว้ พอจิตมันปล่อยวางประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะมันปล่อยประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นมันจะมองเห็นทางออก มันจะมองเห็น มันจะแก้ไขได้ แต่ในเมื่อจิตใจมันโดนบีบคั้นอยู่ แล้วมันก็ย้ำคิดย้ำทำอยู่อย่างนั้นแหละ มันทุกข์ยากมาก มันปล่อยวางไม่ได้ แล้วถ้ามันปล่อยวางได้นะ มันปล่อยวางได้ ทีนี้คนมันปล่อยวางได้ แต่มันปล่อยวางศักดิ์ศรีไม่ได้ ปล่อยวางความเป็นมนุษย์ไม่ได้ มันจมไม่ลงว่าอย่างนั้นเถอะ ถ้ามันจมลงทุกอย่างนะมันจะมีอะไร?

นี่ในเมื่อปัญหาทุกอย่างมันแก้ไขได้ทั้งนั้นแหละ ถ้ามันแก้ไขได้ เพียงแต่ศักดิ์ศรีของเราไง เรามีต้นทุนของเราคือศักดิ์ศรีของเราที่เราข้ามไม่พ้นตัวเอง ถ้าเราข้ามไม่พ้นตัวเองเราจะแก้ปัญหาใดๆ ไม่ได้เลย ถ้าเราข้ามพ้นตัวเราเองนะ เราจะแก้ไขปัญหาอะไรก็ได้ เพราะมันไม่มีเสียศักดิ์ศรี ไม่มีเสียหน้า ไม่มีอะไรเลย มนุษย์ก็เป็นอย่างนี้ แต่เพราะว่าศักดิ์ศรี อีโก้มึงไง มึงไปยึดไว้เองไงว่าตรงนี้เป็นศักดิ์ศรีของเรา แล้วพอศักดิ์ศรีของเรามันมองอะไรไม่ออกสักอย่างหนึ่ง

นี่พูดถึงว่าถ้าเราไปเชื่อกรรมโดยทางธุรกิจนะ แบบว่าเป็นธุรกิจ เป็นการแลกเปลี่ยนไปไม่มีวันจบหรอก กรรมอันหนึ่งก็เจอกรรมอันหนึ่ง ในเมื่อมีการกระทำ มันมีการต่อเนื่องไปตลอดไม่จบหรอก แต่ถ้าเราวางใจของเรา พาลพาไปหาผิด สิ่งนั้นเป็นพาล ถ้าเป็นพาลในหัวใจของพี่น้องของเรา เราก็ยืนดู มันแก้ยาก มันแก้ยากเพราะว่าเป็นสายเลือดนะ ยิ่งพ่อแม่พูดสิ่งใด ลูกนี่ไม่ค่อยเชื่อฟัง ไม่ค่อยเชื่อฟัง เพราะความคุ้นชินว่าพ่อแม่ของเรา ถ้าพ่อแม่ของเรานะมันใกล้ชิดกันไง แต่ถ้าเป็นคนอื่นพูดนะมันได้คิด ยิ่งถ้าเจ้าหน้าที่ราชการ สรรพากร ตำรวจนี่กลัว ถ้าเขาพูด เพราะอะไร? เพราะมันมีผลเสียหายกับเรา แต่ถ้าคนใกล้ชิดพูดไม่เชื่อ ไม่ค่อยฟัง

ฉะนั้น สิ่งที่ไม่ค่อยฟัง นี่ถ้ามันใกล้ชิดเกินไป แล้วพูดไม่เชื่อเราตั้งสติของเราไว้ ถ้าเราเป็นกลางได้มันจะเห็นปัญหานี้ขึ้นมา ถ้าปัญหาอย่างนี้ขึ้นมาเราวางสิ่งนี้ แล้วเราค่อยๆ แก้ไขปัญหาของเรา นี่เขาว่าเรื่องพาลชนเนาะ พาลพาไปหาผิด เพราะมันพาลมาตั้งแต่ต้นมันก็จะผิดไปเรื่อย

ข้อ ๙๗๔. ไม่มีนะ

ข้อ ๙๗๕. นี่เขาขอบพระคุณมานะ คำถามเลยล่ะ

ถาม : ๑. มีหลายครั้งที่นั่งสมาธิกำหนดลมหายใจเอาความรู้สึกที่ปลายจมูก นึกบริกรรมว่าเข้า-ออก พอทำไปแล้วมีสิ่งเกิดขึ้นดังนี้ ลมหายใจแผ่วบางลงไปเรื่อยๆ คำบริกรรมและลมหายใจในตอนนั้นก็ไม่รู้ คล้ายๆ กับว่าเราหรี่ช่องสัญญาณที่ติดต่อกับโลกภายนอกนะครับ และมารู้ตัวอีกทีหนึ่งก็รู้ตัวเสียแล้ว และลองมาทบทวนดูแล้วมันก็ไม่น่าจะใช่หลับ มันไม่น่าจะใช่หลับ เพราะว่าเมื่อรู้ตัวก็ไม่มีอาการสัปหงก และความรู้สึกมันก็ไม่ค่อยเหมือนตอนที่เราหลับจริงๆ อาการแบบนี้คืออะไร? ต้องแก้ไขอย่างไรครับ?

๒. ถ้าจะบวชแล้วไปอยู่วัดป่านี่ต้องทำอย่างไรถึงขั้นตอนอย่างไรบ้างครับ ตอนนี้ได้ยินว่าที่วัดป่านี้จะไม่มีพิธีบวชโดยตรง แต่ต้องบวชจากที่อื่นแล้วไปอาศัยอยู่ ต้องไปศึกษาให้เจ้าอาวาสดูพฤติกรรมก่อนใช่ไหมครับ ถ้าบวชจากวัดแล้วไปอยู่ได้ไหมครับ ถ้าอยากเตรียมตัวไปพร้อมก่อนบวช จะได้ไม่ทำผิดวินัยต้องอ่านหนังสือ (นี่เขาว่าไปนะ นี่พูดถึงการบวช)

ตอบ : ฉะนั้น ประเด็นมันอยู่ที่ปัญหาข้อแรกนี่ไง เพราะว่าเขาบอกว่าเขานั่งสมาธิ แล้วกำหนดลมหายใจเข้า-ออก เข้า-ออก แล้วนี่บอกว่า

ถาม : เหมือนกับคล้ายๆ ว่าหรี่ช่องสัญญาณจากโลกภายนอก และมารู้ตัวอีกทีก็รู้ตัวเสียแล้วว่าหรี่สัญญาณไง

ตอบ : นี่ตกภวังค์แน่นอน อาการที่ตกภวังค์มันเป็นแบบนี้ โดยปัญหาข้อแรก นี่เป็นปัญหาที่ว่าคนอื่นมองเห็น คือว่าพี่น้องมองเห็น มองเห็นว่าพี่น้องของตัวไปสร้างเวรสร้างกรรม สร้างเวรสร้างกรรมคือไปขอเงินขอทองจากพ่อแม่ อันนี้หนึ่ง แต่ไปทำให้พ่อแม่เจ็บช้ำน้ำใจนั่นอีกหนึ่ง นี่เขาบอกคนอื่นเขาเห็น

ฉะนั้น เวลาเรามานั่งภาวนา ข้อนี้เรามานั่งภาวนา พอเรานั่งภาวนาเรากำหนดลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก แล้วนี่มันเหมือนหรี่ช่องสัญญาณ แล้วหรี่ช่องสัญญาณมันหายไปเลยไง แล้วมารู้สึกตัวอีกทีหนึ่ง นี่อาการอย่างนี้อาการตกภวังค์ พออาการตกภวังค์ เห็นไหม นี่สิ่งที่ว่าเวลาความเห็นของเราไง เราจะรู้สึกตัวของเราเอง เรารู้ได้ยากมาก โดยธรรมชาติของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติจะไม่รู้สึกตัวเราเอง พอไม่รู้สึกตัวเราเอง ผู้ที่กำหนดพุทโธก็เหมือนกัน พุทโธ พุทโธ พุทโธแล้วแว็บหายไป แว็บหายไป พอแว็บหายไป นั่นแหละมันตกภวังค์ แต่เพราะคนเรามันไม่รู้จักภวังค์ ไม่รู้จักว่าจิตโดยสามัญสำนึกในจิตปุถุชนแล้วจิตมันลงสมาธิเป็นอย่างไร? แล้วจิตมันตกภวังค์มันหายไปอย่างไร?

ด้วยความไม่รู้ของเรา เห็นไหม นี่พาลภายในเลยแหละ พาลในหัวใจเรา ลองได้มันหรี่ช่องสัญญาณนะ แล้วมันหายไปนะ มารู้ตัวอีกทีหนึ่งก็รู้ตัวเสียแล้วนี่ตกภวังค์แน่นอน ทีนี้พอตกภวังค์แน่นอน ถ้าเรายอมรับว่าเป็นการตกภวังค์ แล้วภวังค์มันคืออะไร? ภวังค์ก็คืออาการที่มันหายไปนั่นไง อาการที่รู้สึกตัวอีกทีหนึ่ง แล้วก็บอกว่ามาตรวจสอบดูแล้วมันก็ไม่มีอาการสัปหงก ไม่มีอะไร คนเราเวลาสัปหงกเราเป็นเองไง เวลาคนเมานี่ว่าฉันไม่เมา ฉันไม่เมา คนเมาไม่ยอมรับว่าตัวเองเมา เพราะอะไร? เพราะเขาไม่รู้ว่าตัวเองเขาเมา

อันนี้ก็เหมือนกัน เวลาตัวเองมันหายไป แล้วมาตรวจสอบว่ามันไม่สัปหงก มันไม่สัปหงก อันนั้นอาการที่ตกภวังค์มันแปลกนะ อาการตกภวังค์ ถ้าพอเราตกภวังค์มันแว็บๆ มันจะรู้สึกตัวเหมือนกัน เหมือนคนขับรถ จะหลับ จะไม่หลับ อืม มันก็ยังรู้สึกตัวนะ ถ้าตั้งสติปั๊บนะมันก็ไม่หลับอีกเลย แต่ถ้าคนเวลามันหลับนะ หัวนี่นะมันสัปหงก หัวนี่มันทิ่มพวงมาลัยแล้วยังไม่รู้ตัวหลับ พอหลับในนั่นคือหลับไปแล้ว ถ้าหลับลึกเป็นแบบนั้น แต่ถ้ามันง่วงนอน ขับรถกำลังง่วงนอน กำลังพยายามสะบัดหน้า สะบัดตาเพื่อจะให้หายง่วงนอน

นี่เวลาจิตลงสมาธิ เวลาจิตมันลงสมาธิ ขณิกสมาธิมันจะรับรู้ของมัน แต่ถ้ามันลงอุปจาระมันก็ชัดเจนของมัน เหมือนคนขับรถ คนขับรถที่เขาหูตาสว่างเขาขับรถไป เห็นไหม นี่เที่ยงคืน ค่อนคืนเขาขับของเขาไป เขาดูแลรถของเขา เขาตรวจสอบพวกเกจ์น้ำมันต่างๆ ของเขาได้ตลอดเวลา อันนั้นลงสมาธิ ลงสมาธิโดยปกติเลย แต่ถ้ามันหลับในนะ ทีนี้หลับใน ขับรถหลับในนะมันก็ต้องมีอุบัติเหตุ แต่นี้มันนั่งภาวนา พอนั่งภาวนา พอเราลงภวังค์มันเหมือนหลับใน พอหลับในนี่มันหายไป หายไปเราก็นั่งอยู่นี่มันไม่มีอาการกระทบสิ่งใด แต่สิ่งที่มันสำคัญๆ คือใจ ใจมันตกภวังค์มันหายไป พอมันหายไป แล้วมันหายไป พอมันรู้สึกตัวขึ้นมา พอมารู้สึกตัวอีกทีหนึ่งนี่ออกจากภวังค์ แต่ก็ยังไม่เข้าใจ เพราะคนทำผิด ส่วนใหญ่แล้วจะไม่รู้ตัวเองว่าผิด

นี่ก็เหมือนกัน เวลาจิตมันตกภวังค์ไม่รู้หรอก ไม่รู้ว่าตกภวังค์ แต่นั่นคือภวังค์ ทีนี้แต่นั่นคือภวังค์ แต่เรายังไม่รู้จักมันใช่ไหม? พอเราไม่รู้จักมัน เหมือนคนเคยขับรถนะแล้วหลับใน แต่เวลารู้สึกตัวอีกทีมันมีรถที่มันอยู่บนถนน มันมีอาการตกถนน มีอะไรมันรู้ มันบอกได้ว่าเราหลับใน แต่เวลาจิตมันลงภวังค์ เรารู้สึกตัวอีกทีมันไม่มีอะไรบอก มันไม่มีอะไรบอกแล้วมันย้อนกลับด้วย มันตีกลับ มันตีกลับว่า อืม นั่งภาวนาดี แหม นั่งภาวนามาวันนี้ดีมากเลย มันนิ่ง มันดีมากๆ เลย ไม่รู้ตัวนะ คนที่ตกภวังค์แล้วจะรู้ตัวน้อยมาก ถ้าตกภวังค์มันไปนะ เพียงแต่ว่าถ้ามันจะมานั่งทบทวนว่าเราภาวนาไปแล้วทำไมมันไม่เจริญก้าวหน้า ไอ้ตัวนี้เป็นตัววัด

เอ๊ะ ภาวนาไปแล้วมันก็ไม่เจริญก้าวหน้าเนาะ ภาวนาไปแล้วทำไมมันติดขัดอยู่อย่างนี้เนาะ นี่เอ๊ะ ทำไมมันไม่เป็นอย่างนั้น? แล้วถ้ามาทบทวนนะเราก็ดีไปหมดเลย แต่ถ้าให้ใครพิสูจน์นะ ถ้าตัวเองมีวาสนาพิสูจน์มันจะรู้ของมัน ถ้าอาการอย่างนี้มันตกภวังค์แล้ว ตกภวังค์เราก็เริ่มเลย นี่เวลาคำบริกรรมนะ เขาบอกว่าเขากำหนดลมหายใจเข้า-ออก มีคำบริกรรม มีกำหนดลมหายใจเข้า-ออกที่ปลายจมูกชัดๆ ไว้ ชัดๆ ไว้

ถ้าชัดๆ ไว้นะ ถ้าจิตมันเป็นสมาธินะมันจะเริ่มละเอียดขึ้น ลมหายใจจะแผ่วเบา แล้วถ้าจิตมันแบบว่าจิตมันเข้มแข็งแต่มันไม่ลงสมาธิ มันจะเห็นลมหายใจชัดเจนมาก เป็นลำแสง เป็นอะไร เป็นไปได้เลยล่ะ นี่เหมือนกับจิตที่มันสงบแล้วมันเห็นแสงสว่าง เห็นต่างๆ แต่นี้จิตมันสงบแต่มันไม่ลงลึกมันจะเห็นอย่างนั้น แล้วถ้ากำหนดลมหายใจ ถ้าละเอียดลึกซึ้ง ละเอียดจนจะไม่มี จนจะหายใจไม่ได้ จนไม่หายใจเลย แต่รู้อยู่ มันรู้อยู่ นี่มันเข้าสมาธิอย่างนี้ ถ้าอย่างนี้มันไม่มีลงภวังค์เลย แต่ถ้ามันหายไป ๑๐๐ นี่เปอร์เซ็นต์

ฉะนั้น เราจะอธิบายเรื่องพาลของกิเลสไง นี่พาลพาไปหาผิด พาลจากข้างนอกเราไม่รู้ตัวของเราเลย คนอื่นเขาดูแลให้ เขาบอกเราได้ว่าคนไหนเป็นคนพาล คนพาลเพราะมันทำลายตัวมันเอง จิตมันภาวนา พอกิเลสมันเป็นพาล พอกิเลสเป็นพาล นี่พาลของเราเอง เห็นไหม นี่อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา ไม่คบคนพาลจากภายนอก ไม่คบคนพาลจากภายใน คนพาลจากภายในคือความไม่รู้ ถ้าความไม่รู้มันจะพาตกภวังค์อย่างนี้ ถ้าพาตกภวังค์อย่างนี้ นี่มันตกภวังค์แล้ว

พอมันตกภวังค์ เห็นไหม อาการของมัน ผลของมัน เพราะเวลาตกภวังค์ไป ภวังค์หมายถึงว่าขาดสติ ขาดการรับรู้ ถ้าขาดสติ ขาดการรับรู้ กับคนที่เป็นสมาธิ เวลาคนลงสมาธิมันต่างกันไหม? คนลงสมาธิมันว่างหมดนะ แต่มีสติรับรู้ มีสติ มีความพร้อมกับสติ กับจิตนั้นชัดเจนมาก แต่ถ้าตกภวังค์มันขาดหมด ไม่มีการรับรู้ ไม่มีสติ ไม่มีอะไรเลย แต่ทีนี้เรามีพื้นฐานของเรา เราก็บอกว่ามันเป็นความว่างไง

มันเป็นความว่าง มันไม่มีสิ่งใดเลย แล้วพอมันออกมามันสบายๆ ไง พอมันสบายก็เข้าใจว่านี้ฝึกหัดทำสมาธิ แต่เป็นอย่างนี้ แล้วไม่ใช่เป็นแบบนี้นะ มันจะหนักไปกว่านี้ หนักไปกว่านี้หมายความว่าถ้ามันตกภวังค์นะ ถ้าทำอย่างนี้ปั๊บ พอมันหายเลย การหายนั้นถ้ามันต่อเนื่องไปบ่อยครั้งเข้าเวลาจะยาวนานขึ้น อย่างเช่นหายไป ๑๐ นาที ๒๐ นาที ครึ่งชั่วโมง ต่อไปจะหายเป็นชั่วโมงหนึ่ง เพราะว่าคนที่เขาเคยภาวนาเป็นเขาหายทีหนึ่งหลายๆ ชั่วโมงเลย พอหลายชั่วโมง นี่ตกภวังค์ แล้วพอออกมาปั๊บมันเหมือนรู้สึกตัว เหมือนสะดุ้งตื่น นี่รู้สึกตัวอีกทีหนึ่ง นี้เหมือนกันรู้สึกตัวอีกทีหนึ่งชัดเจนมาก

ฉะนั้น คำว่าภวังค์กับสมาธิมันแตกต่างกัน ถ้าภวังค์มันขาดหมด ไม่มีความรับรู้สิ่งใดเลย ถ้าพูดถึงในการภาวนานะมันก็เป็นสมาธิอย่างหนึ่ง เป็นมิจฉาสมาธิ เพราะมันลงไป นี่จิตมันลงไปลงสู่ภวังค์ เห็นไหม แต่ขาดสติ ฉะนั้น เวลาวิธีการแก้ วิธีการแก้นะเราจะลงสู่สมาธิ ถ้ามันลงภวังค์มันจะหายไปเลย ขาดการรับรู้ ขาดสติ ขาดต่างๆ แต่ถ้าเราจะแก้ เรามีสติของเรา พุทโธ พุทโธ หรือว่ากำหนดลมหายใจเข้า-ออก หรือกำหนดเข้า-ออกชัดๆ เข้านี่ ถ้ามันละเอียดมันจะละเอียด มีสติพร้อมหมด พร้อมหมดเข้าไป พร้อมจนกว่ามันจะลงเข้าไปอุปจาระ ลงเข้าไปสู่อัปปนา มันจะชัดเจนมาก นี่มันถึงว่าถ้าภวังค์นี้ก็เป็นมิจฉาสมาธิ

แล้วถ้ามิจฉาสมาธิ คำว่ามิจฉามันก็ผิดไปตลอด แล้วพอมันหนักหนาเข้าไป ลงไปอย่างนี้บ่อยๆ ครั้งเข้ามันจะไม่ก้าวหน้าไง มันตัดคุณงามความดี ตัดผลประโยชน์ของเราหมด มันอยู่แค่นั้นแหละ แต่ความเข้าใจผิดของพาลชนในใจมันบอกว่านี่คือการภาวนา นี่เราภาวนาดี นี่เราภาวนามีพื้นฐาน นี่ทำสมาธิแล้วต่อไปมันจะเกิดปัญญา ต่อไปไง แล้วต่อไปเมื่อไหร่ล่ะ? ต่อไปมันก็ย่ำอยู่กับที่ มันจะไม่ได้สิ่งใดเลย

อันนี้มันสำคัญ สำคัญที่ นี่เวลาขอนิสัยครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์ท่านเคยผ่านอย่างนี้มาท่านจะเข้าใจ ถ้าอย่างนี้แล้ว ถ้ามันเป็นภวังค์ชัดเจน ฉะนั้น ภวังค์ชัดเจน วิธีการแก้ไง มันต้องแก้ เห็นไหม หนึ่งถ้ามันเคยชินนะเราพยายามเดินจงกรม นั่งสมาธิโดยไม่เอาสมาธิ โดยไม่เอาสมาธิเหมือนกับว่าเราต้องมาล้างพื้นฐาน ทำพื้นฐานเราให้มั่นคงก่อน

ถ้าพื้นฐานมันร่องน้ำไง ร่องน้ำคือร่องความเคยชินของใจมันลงช่องนี้ มันลงช่องนี้ พอกำหนดลมหายใจปั๊บมันเคยลงช่องนี้นะมันจะเป็นอย่างนี้ มันจะลงช่องนี้อยู่บ่อยๆ ครั้งเข้า แต่ถ้าเราเปลี่ยนทางน้ำ เปลี่ยนทางน้ำ สติชัดเจน แล้วสติชัดเจน แต่ความชัดเจนมันชัดเจนเริ่มต้น สักพักหนึ่งมันก็จะเริ่มจางลง แล้วร่องน้ำมันเคย

ความคุ้นเคยของใจมันคบพาลมาตลอด พาลจากภายในมันสร้างความเป็นมิจฉาไว้ในใจของเรา แล้วเราก็เป็นอย่างนั้น มันครอบคลุมใจเรามาตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว แล้วเราภาวนาขึ้นมา เราพยายามจะดึงใจของเราให้ออกห่างจากการควบคุมของมาร ควบคุมของพวกพาลชน ฉะนั้น พวกพาลชนเราจะแก้ไข สิ่งนี้มันถึงว่าสมุทัยไง

นี่ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค สิ่งนี้เป็นสมุทัย มันเป็นตัณหาความทะยานอยากมันมีในใจอยู่แล้ว นี่สิ่งนี้มันจะดึงกลับ ทั้งๆ ที่เราทำความเพียรอยู่นี่แหละ ฉะนั้น เราตั้งสติของเราไว้ กำหนดของเราไว้ แก้ไขของเราไป อยู่ที่ใจของใคร ใจของใครได้สร้างเวรสร้างกรรมมามากน้อยขนาดไหน ถ้าใจของใครนะมันสร้างเวร สร้างกรรมมามากขนาดไหน มันยับยั้งแล้วบังคับ นี่ดึงมันจะผ่านพ้นอันนี้ไป แต่ถ้าใจของคนที่มันสร้างเวร สร้างกรรมมาพอสมควร ต้องถูลู่ถูกังอยู่นะ ต้องถูลู่ถูกังแก้ปัญหา

พอแก้ปัญหา ถ้าภาวนาพอมันหายแว็บไปก็อยู่อย่างนั้นแหละ แล้วพอหายแว็บไป พอเราออกจากภาวนามามันก็คิดน้อยใจทุกที แล้วจะแก้ไขอย่างไร? เพราะมันเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน เหมือนกับสุดวิสัยที่เราจะควบคุม แต่ถ้าเราฝืนทนแล้วตั้งสติไว้จะแก้ปัญหานี้ได้ ถ้าแก้ปัญหานี้ได้ เวลาลงสมาธินะมันจะเห็นความแตกต่างแล้ว อ๋อ ไอ้ที่ผิดผิดอย่างนี้เอง แต่ถ้าไม่มีอะไรเปรียบเทียบนะมันจะผิดตรงไหน? ก็มันทำมาตลอด แล้วดีด้วย พอหาเหตุผลแล้วอาการสัปหงกก็ไม่มี สิ่งที่ว่าเป็นอาการหลับมันก็ไม่มี

ถาม : ความที่อาการแบบนี้มันคืออะไร?

ตอบ : นี่อาการแบบนี้คือเราไม่เข้าใจ เราสงสัย แต่อาการแบบนี้คืออาการตกภวังค์ แล้วตกมากตกน้อย ถ้าตกมากนะมันก็เข้าไปอยู่ในอาการที่ว่าขาดสติ ขาดความรับรู้ไม่มาก แต่ถ้ามันมากนะหลายๆ ชั่วโมง มันมากหลายๆ ชั่วโมง แล้วถ้ามันมากนะมันเป็นมิจฉาสมาธิ เป็นสมาธิอย่างหนึ่ง แต่ถ้าเป็นกรรมฐานเราเรียกภวังค์ ถ้าเรียกว่าสมาธิปั๊บ ทุกคนอยากได้สมาธิ ทุกคนต้องแสวงหา ก็บอกว่า อ้าว ก็มันถูกไง ก็มันถูกอยู่แล้ว แต่อันนี้มันเป็นมิจฉา แล้วมันทำให้จิตใจนี้ให้ตกอยู่ในการควบคุมอย่างนี้แล้วก้าวหน้าไม่ได้ ถ้าจะแก้ไขต้องเปลี่ยนแปลงตรงนี้ เปลี่ยนแปลงให้มันดีขึ้น นี่ข้อที่ ๑.

ถาม : ข้อที่ ๒. เรื่องการบวช

ตอบ : ไอ้นี่เป็นความเข้าใจของเรานะ นี่ถ้าวัดทั่วไปมันก็อยู่ที่ว่าเราจะดูที่ไหน จะบวชอย่างไรใช่ไหม?

ถาม : แล้วก็ข้อ ๓. การเตรียมตัวอย่างไร? จะบวชจะผิดวินัย อ่านหนังสืออย่างไร?

ตอบ : อันนี้อย่างหนึ่ง

ถาม : แล้วข้อที่ ๔. เรื่องฉันน้ำปานะ เรื่องต่างๆ

ตอบ : เรื่องอย่างนี้ ถ้าพูดถึงนะเวลาบอกว่ามันไม่จำเป็นมันก็จำเป็น ถ้าบอกว่าจำเป็นมันก็เป็นเรื่องเปลือกๆ ในข้อวัตรปฏิบัติ เวลาหลวงตาท่านบรรลุธรรมขึ้นมา ท่านถึงบอกว่ามันละเอียดอ่อนลึกซึ้งนัก แล้วจะสอนกันได้อย่างไร? จะสอนกันได้อย่างไร? แต่ท่านก็มีวาสนาไง ท่านย้อนกลับมา แล้วเรามาได้อย่างไร? เรามาได้เพราะท่านอยู่กับหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นท่านเข้มงวดมาก แต่การเข้มงวดอย่างนี้ เข้มงวดเพื่อจะให้ข้ามพ้นมันไป ไม่ใช่เข้มงวดเพื่อเอาสิ่งนั้นเป็นศักยภาพนะ

ในปัจจุบันนี้เราไปเอาสิ่งนั้นมาเป็นศักยภาพไง คือว่ามันเป็นประเพณีวัฒนธรรม มันเป็นระเบียบ คำว่าระเบียบนะ ระเบียบ เห็นไหม สังคมถ้าไม่มีกฎหมาย สังคมนั้นก็อยู่ไม่ได้ แต่ถ้าเขาเอากฎหมาย ทำเฉพาะเรื่องกฎหมาย สังคมนั้นมันก็เอากฎหมายมาเป็นผลประโยชน์ได้

นี่ก็เหมือนกัน สิ่งที่ว่าถ้าแบบว่าเรื่องข้อวัตรปฏิบัติ ถ้าข้อวัตรปฏิบัติ ก็เอาแต่เรื่องข้อวัตรปฏิบัติ มันก็เหมือนหุ่นยนต์ไง ทีนี้ทำข้อวัตรปฏิบัติเขาทำเพื่อบุญกุศล ถ้าจิตใจของพระ ได้ทำข้อวัตรแล้วมันสบายใจไง มันโล่ง มันโปร่ง มันโถง มันภาวนาก็ดีใช่ไหม? ถ้ามันไปติดข้อง ติดข้องกับข้อวัตร ข้อวัตรไปติดข้องอย่างนั้นเพราะเอาสิ่งนั้นเป็นเป้าหมาย สิ่งนั้นเป็นเป้าหมายก็ทำอยู่อย่างนั้นแหละ ทำเพื่อเอาสิ่งนั้นมาให้คนเห็นคุณงามความดี

ถ้าเราทำแล้วผ่าน ความดีทำแล้วทิ้ง แต่ใจเราดี ทำข้อวัตรไว้นี่ทุกคนได้มาใช้มาสอย เพราะความสะอาดใครก็พอใจ ความดีใครก็ต้องการทั้งนั้นแหละ แล้วทำความดีไว้ทำไม? ทำความดีไว้ให้สัตว์โลกได้มาพึ่งพาอาศัย เราก็ได้อาศัยด้วย แล้วคนอื่นได้มาอาศัยใช้สอยด้วยก็เท่านั้น แต่ถ้าทำคุณงามความดีไว้แล้ว เราทำความดีแล้วเราจะติดมัน พอติดมันว่าสิ่งนั้นเป็นความดี พอติดมันจิตใจนี้ไม่พัฒนาขึ้น

นี่ตรงนี้สำคัญ ตรงนี้สำคัญว่า ใช่ สิ่งที่ว่ามันต้องอย่างนั้น ต้องอย่างนั้น ถูกต้องๆ แต่เราทำเพื่อดัดตน ทำเพื่อดัดแปลงกิเลสของเรา เราไม่ได้ทำเพื่อเอาสิ่งนั้นเป็นที่โฆษณา ดูสิแม้แต่กัปปิยัง กโรหิยังเอามาคุยโม้กัน เอามาอวดกัน แต่พระเขาทำเขาทำเพื่อปกป้องอาบัติของเขา ถ้าเขาไม่ทำมันเป็นอาบัติปาจิตตีย์ แต่เวลาทางโลกนะ โอ้โฮ ดูธุดงค์สิ เดี๋ยวนี้มีการล้างเท้านะ เขามีธุดงค์ล้างเท้าอีกแล้ว

เพราะเราเห็นแล้วมันสังเวช สังเวชที่ไหน? สังเวชที่เขาทำกันแบบนี้ มันเป็นความเคารพระหว่างลูกศิษย์กับอาจารย์ ในเมื่อลูกศิษย์เขาไปอยู่กับครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์ถ่ายถอดวิชาให้ ครูบาอาจารย์ท่านให้ทั้งชีวิต ให้ชีวิตคืออะไร? ให้ชีวิตคือปัจจัยเครื่องอาศัย อาหารเครื่องดำรงชีวิต แล้วท่านยังให้วิชาการ ท่านคอยเตือนเรา ไอ้ลูกศิษย์มันซึ้งบุญคุณ พอซึ้งบุญคุณ เห็นไหม อยากจะล้างเท้า อยากจะอุปัฏฐาก อยากจะดูแลอาจารย์ เขาทำด้วยหัวใจที่เคารพบูชา เขาไม่ได้ทำเพื่อเอามาเป็นสินค้า ทำมาเพื่อว่านี่ไงพระธุดงค์เขาล้างเท้ากันๆ

เวลาโรงฆ่าสัตว์นะ มันจะฆ่าสัตว์มันต้องเอาสัตว์นั้นไปทำความสะอาดก่อน สัตว์เขาเอาน้ำฉีด ล้างทำความสะอาด แล้วเขาก็ฆ่าสัตว์ ล้างไว้เพื่อฆ่าใช่ไหม? ล้างไว้เพื่อฆ่า เพื่อเอามาเป็นสินค้าใช่ไหม? แต่ถ้าล้างด้วยความเคารพบูชา จิตใจของลูกศิษย์เคารพบูชาอาจารย์ อย่างหลวงปู่มั่น ลูกศิษย์นี่เคารพมากนะ เวลาเช้าขึ้นมา นี่ครูบาอาจารย์เล่าให้ฟังประจำ เช้าขึ้นมาทุกคนก็อยากจะเอาน้ำอุ่น อยากต่างๆ ให้ท่านได้ล้างหน้า ให้ท่านได้ใช้ประโยชน์ แล้วลูกศิษย์ทุกคนก็อยากจะยื่นให้ เพราะใครได้อุปัฏฐากแล้ว

ดูภาวนาสิ อย่างเช่นภาวนาตกภวังค์ ภาวนานี่มันทุกข์ยากไปหมดเลย แล้วอะไรหนอที่มันจะมาช่วยเจือจานให้การภาวนาของเราให้มันประสบความสำเร็จ อะไรหนอที่มันจะทำให้เราภาวนาแล้วดีขึ้น แล้วอะไรล่ะ? ก็บุญไง ก็บุญกุศลคุณงามความดีมันจะมาช่วยเจือจาน ฉะนั้น เวลาคนไปอยู่กับหลวงปู่มั่นนะ เช้าขึ้นมาก็จะไปจองคิว จองคิวเพื่อจะได้อุปัฏฐากท่าน ได้เอาน้ำร้อน

นี่ไงก็หลวงปู่ฝั้นท่านไปกับหลวงปู่อ่อน แล้วพอท่านจะไป หลวงปู่ฝั้นท่านเป็นโรคประจำตัว ท่านทำไม่ทันหมู่คณะไง ท่านถึงน้อยใจของท่าน ท่านถึงนั่งสละตาย นั่งสละตาย นั่งสละตายจนธรรมโอสถ จนโรคภัยไข้เจ็บของท่านหายไป แล้วท่านกลับมาทำตรงนี้ นี่ครูบาอาจารย์ท่านเล่ากันมาแบบนั้น เขาทำกันด้วยความเคารพบูชา เขาไม่ได้ทำเป็นสินค้า เขาไม่ได้ทำเป็นการอวดอ้างว่าฉันเป็นคนดี ฉันถึงล้างเท้าครูบาอาจารย์ แต่หัวใจของฉันลงครูบาอาจารย์ หัวใจของฉันเคารพบูชา ฉันทำด้วยหัวใจ มันแตกต่างกันกับทำเพื่อโฆษณา แตกต่างกันมาก

นี่พูดถึงข้อวัตรไง ข้อวัตรใครทำ? ข้อวัตรนี่ใครทำ? ทำเพื่ออะไร? ถ้าทำเพื่อลดกิเลสตัณหาความทะยานอยากก็อย่างหนึ่ง ทำเพราะซึ้งบุญ ซึ้งคุณ ทำเพื่อได้บุญกุศลที่เราได้อุปัฏฐาก เพราะเราเชื่อมั่นว่าครูบาอาจารย์ของเราเป็นพระอะไร พอทำเสร็จแล้วเราภาวนาขึ้นมา สิ่งนั้นมันจะส่งเสริม เพราะเราทำมาแล้วเราก็ภูมิใจ เราได้ทำแล้วเราจะอบอุ่นภูมิใจมาก พอมาพุทโธ พุทโธ มานั่งภาวนา อืม เห็นไหม มันมีเครื่องเสริม อันนั้นจะเป็นประโยชน์กับเรา

อันนี้เป็นปัญหาสดเนาะ

ถาม : ถ้าศีลเราถือไม่ครบ ๕ ข้อ จิตของเราจะสงบหรือไม่? แล้วเราทำสมาธิโดยที่เราถือศีลไม่ครบ เราจะได้บุญหรือเปล่าครับ?

ตอบ : นี่ถ้าศีล ๕ เราไม่ครบ ศีล ๕ ก็คือศีล ๕ ศีล ๕ มันก็ย้อนกลับมาที่ล้างเท้า ถ้ามีการล้างเท้า จิตมันลง เห็นไหม ล้างเท้าครูบาอาจารย์ ล้างเท้าเพราะอะไรล่ะ? เราจะไปล้างเท้าให้ใครล่ะ? หลวงตาท่านจบเป็นมหา ท่านจบ ๓ ประโยค แล้วท่านก็ศึกษา ท่านแปลบาลีได้ ท่านบอกว่าพระไตรปิฎกก็อ่านหมด นิพพานก็อ่านก็เข้าใจหมด แต่มันก็สงสัย พอมันสงสัยขึ้นมา

“ถ้ามีใครคนหนึ่งแก้ความสงสัยของเราได้ เราจะถือคนๆ นั้น พระองค์นั้นเป็นอาจารย์ของเรา”

ท่านก็แสวงหามาเรื่อยๆ จนไปเจอหลวงปู่มั่น เห็นไหม พอเจอหลวงปู่มั่น นี่อาจารย์องค์ใดแก้ความสงสัยเราได้ อาจารย์องค์ใดประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เพราะอะไร? เพราะเราก็สงสัย แล้วหลวงตาท่านก็เป็นมหานะ คำว่ามหา ธรรมวินัยนี่เข้าใจ ฉะนั้น เราจะหาคนที่จะสอนเรา คนๆ นั้นต้องประเสริฐ คนๆ นั้น ประสาเราว่าเราจับผิดคนๆ นั้นไม่ได้ ว่าอย่างนั้นเลย เพราะเรามีทางวิชาการใช่ไหม? ถ้าธรรมมันผิด เหมือนทางกฎหมาย เราเป็นนักกฎหมาย เราจะรู้เลยว่าคนนี้ทำผิดกฎหมาย ไม่ทำผิดกฎหมาย เราจะดูของเรา

ทีนี้พอจบ คนที่ไปอุปัฏฐากครูบาอาจารย์ เขาไม่ใช่อุปัฏฐากโดยที่ว่าเขาไม่รู้เหนือรู้ใต้นะ เขาพิสูจน์นะ ความคิดในใจเราท่านก็รู้ เราคิดอะไรท่านก็คอยบอกเรา เราจะทำอะไรท่านรู้หมดเลย แล้วเราก็ย้อนกลับมาดูพระไตรปิฎกมันก็ไม่แตกต่างกัน นี่เพราะแบบนี้จิตใจมันถึงลง พอจิตใจมันลงขึ้นมา เห็นไหม การที่ภาวนา หลวงตาท่านพูดบ่อย อยู่กับหลวงปู่มั่นนะทั้งกล้า ทั้งกลัว เวลากลัวก็กลัวนะ แต่เวลาเข้าไปฟังธรรมทั้งอยากได้ ทั้งกลัว กลัวอะไร? กลัวท่านล้วงตับไง กลัวท่านล้วงความคิดเราไปหมดไง อันนี้เพราะใจมันลงมันถึงภาวนาง่าย ภาวนาง่ายก็ย้อนมาที่ศีลนี่ไง

ถาม : ถ้าเราถือศีล ๕ ไม่ครบ ๕ ข้อ จิตเราจะทำความสงบได้หรือไม่?

ตอบ : ได้ แต่ถ้ามันสงบเข้ามาแล้ว มันสงบเข้ามาแล้วทำอย่างไรต่อไป แต่ถ้ามันมีศีล ๕ นะ ถ้าศีล ๕ ศีล ๕ คือไม่เบียดเบียนใคร ไม่ทำลายใคร พอจิตมันสงบมันก็เป็นสัมมา สัมมาเพราะอะไร? เพราะรักษาศีลไว้ แต่ที่เขาทำคุณไสยกัน ที่เขาทำมนต์ดำกัน เขาทำเรื่องนั้นเขาทำมาจากไหนล่ะ? ต้องมีสมาธิไหม? ถ้าเขาไม่มีสมาธิ ไอ้สิ่งที่เขาทำมันจะมีคุณสมบัติที่ให้เป็นผลของเขาไหม? มันก็ต้องมีสมาธิ ถ้ามีสมาธิทำไมเขาทำอย่างนั้น? เพราะเขาขาดศีลไง

ถ้าศีลไม่สมบูรณ์เขาจะเป็นอย่างนั้นแหละ แต่ถ้าเรามีศีล มีศีล เห็นไหม เราไม่เบียดเบียนใคร เราไม่ทำร้ายใคร แล้วเราจะไปทำลายคนอื่นไหม? เรามีศีล เรามีสมาธิเพื่อทำลายกิเลสเราใช่ไหม? เรามีสมาธิมาเพื่อจะทำลายกิเลสเรา เราไม่ใช่มีสมาธิไว้ว่าเราเป็นผู้วิเศษ เราเป็นคนดี เพราะมีสมาธิเดี๋ยวก็เสื่อม วันนี้ดูแลจิตใจของเราได้มันก็เป็นสมาธิ พอเป็นสมาธิ พอเคยเป็นสมาธิมันคุ้นเคย แล้วคราวต่อไปทำสมาธิไม่ได้ พอทำสมาธิไม่ได้นะมันมีแต่ความเร่าร้อน แล้วความเร่าร้อนมันเป็นประโยชน์อะไร?

สมาธิเดี๋ยวมันก็เจริญแล้วเสื่อม เสื่อมแล้วเจริญ แล้วเป็นอย่างไรต่อไป? แต่ถ้ามันมีศีล มันมีศีล ศีลแล้วมีสมาธิมันไม่ทำร้ายใคร นี่พูดถึงว่าถ้าศีลไม่ครบ ๕ ข้อทำสมาธิได้ไหม? ได้ แล้วก็ทำสมาธิแล้ว พอเป็นสมาธิขึ้นมาแล้ว เพราะคำว่าไม่มีศีล ศีลไม่ครบ ไม่ครบมันจะทำอะไรก็ได้ ข้อที่ยกเว้นนั่นน่ะ ข้อที่ยกเว้นมันก็ทำของมันตามข้อนั้น ฉะนั้น เราก็รักษาศีล ไม่ต้องไปเอาศีล ๕ หรืออะไรมาเป็นบรรทัดฐาน ถ้าจิตมันลงนะรักษาใจดวงเดียว รักษาใจดวงเดียว จะบอกว่าถ้าถือศีล ๕ ศีล ๕ นะ อยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไรมันก็ไม่ผิดศีลอยู่แล้วแหละ พอมีศีล ๕ ขึ้นมาก็ต้องไม่ทำตามข้อนั้น ไปทำทำไม? อยู่เฉยๆ มันก็ไม่ผิดอยู่แล้ว

นี่คนเรามันคิดกันอย่างนี้ ถ้าบอกว่าถ้าอยู่เฉยๆ ก็ไม่ทำอะไร อยากถือศีล ๕ พอถือศีล ๕ อืม เดี๋ยวจะโกหกคนนู้น กลัวไปหมดกลัวจะโกหก เอ็งยังไม่ได้พูดเลยกลัวโกหก ถ้าไม่ถือศีลล่ะ? ไม่ถือศีลสบาย ไม่ต้องถือศีลสบาย อ้าว ไม่คิดที่จะโกหกใคร ก็ไม่ได้โกหกอยู่แล้วไง แต่พอถือปั๊บกิเลสมันดิ้นเลยนะ เดี๋ยวเอ็งจะโกหกคนนั้นนะ เดี๋ยวเอ็งจะโกหกคนนี้ ยังไม่ทันพูดมันกลัวโกหกไปก่อน มันก็เลยยิ่งทำให้การภาวนายิ่งทำความสงบยากเข้าไปใหญ่

ฉะนั้น ศีลก็คือศีล ศีลคือข้อห้าม ศีลคือกฎหมาย ถ้าเราไม่ทำผิดกฎหมาย กฎหมายจะให้โทษอะไรกับเรา แต่นี้เราไปเกร็งกันไง เกร็งกันไปหมดเลย อู๋ย กลัวผิดๆ เอ็งยังไม่ทำอะไรเลยผิดอะไร? ไม่ได้ทำอะไรเลยผิดอะไร? แต่กลัว กลัวไปหมด ฉะนั้น เราอาราธนาศีล ๕ เลย อาราธนาศีลทั้งหมดแล้วเราตั้งใจของเรา แล้วเราดูแลของเราไป

ถาม : แล้วเราทำสมาธิโดยที่เราถือศีลไม่ครบ เราจะได้บุญหรือเปล่า?

ตอบ : บุญนะ บุญคือความสุขใจ ความพอใจคือบุญ บุญคือความอบอุ่นของใจ ถ้าใจมีหลักมีเกณฑ์ มีความอบอุ่นนั่นคือบุญ ทีนี้พอบุญของเรานะเราก็ไปมองแต่ลาภสักการะ มองแต่ความประสบความสำเร็จว่าเป็นบุญ ความสำเร็จนั่นแหละมันเป็นอำนาจวาสนา อำนาจวาสนาของคนทำมาไม่เหมือนกัน ถ้าอำนาจวาสนาของเขามา เขาจะประสบความสำเร็จเขาจะอะไร ถ้าอำนาจวาสนาของเราอย่างนี้เราก็ทำของเราอย่างนี้

ไอ้กรณีอย่างนี้เราก็มาเทียบเคียงกัน แล้วพอไปทางโลก ไปทางธุรกิจนะเขาก็สร้างภาพกัน อู๋ย เหมือนหน้าม้า พอจะออกมา แหม แต่งตัวเพียบเลย แล้วก็บอกว่ามีความสุขๆ ไร้สาระน่า ฉะนั้น กรณีอย่างนี้เราวางไว้ ถ้าเรายังไม่เข้าใจเรื่องบุญ คือเรายังไม่เข้าใจว่าจิตใจเรามันสุขสงบอย่างไร มีจิตใจแต่เร่าร้อน จิตใจเร่าร้อนเรารู้ได้ จิตใจทุกข์นี่เรารู้ได้ แล้วเราจะหาความสุขของเราอย่างไร?

ถ้าเอาความสุขนะเราใช้ปัญญา ปัญญาของเรา เห็นไหม นี่ชีวิตก็เป็นแบบนี้ เราก็ทำมาขนาดนี้แล้ว ถ้าเราไม่เห่อเหิม เราไม่เห่อเหิม ไม่ทะเยอทะยานไปกับเขา เรามีสติของเรา นี่เราดูแลแค่นี้นะจิตใจมันสงบเข้ามาได้ แล้วพอเราไม่เห่อเหิมเราทำตามความเป็นจริง ตามข้อเท็จจริง ทำงานตามหน้าที่ ถ้าหน้าที่เราทำงานอย่างนั้น เราขยันหมั่นเพียรของเราอย่างนั้น นี่เป็นให้มันเป็น ถ้าคนนะทำเหตุทำผลของเราสมควรมันมาเอง มันเป็นของมันเอง ถ้าเป็นของมันเอง นี่ว่า

ถาม : จะได้บุญหรือไม่?

ตอบ : ได้บุญ บุญคือความสุขใจ บุญคือความพอใจ ถ้าเรามีสติยับยั้งนะ เรามีสติรับรู้นี่ก็บุญแล้วแหละ บุญที่ไหน? บุญที่ไม่ประมาทไง เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปรินิพพานนะ

“ภิกษุทั้งหลาย เธอจงพิจารณาสังขารด้วยความไม่ประมาทเถิด”

ความประมาท องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่าเพราะมีความประมาท ความประมาทเป็นบ่อเกิดแห่งความตาย ความประมาทเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความฉิบหาย ต่างๆ เกิดจากความประมาทเลินเล่อทั้งนั้นเลย แล้วเรามีสติระลึกรู้ เราตรงข้ามกับความประมาทแล้ว นี่ตรงข้ามประมาทคือมีสติ มีปัญญาของเรา ถ้าเรามีสติปัญญา เราไม่ประมาทเลินเล่อกับชีวิต เราไม่ประมาทเลินเล่อกับต่างๆ เลยมันจะไปไหนล่ะ? นี่ก็คือบุญของเราแล้ว

บุญคือการรักษาชีวิตนี้ประสบความสำเร็จนะ เรื่องข้างนอกที่เรามองกันไปนั่นอีกเรื่องหนึ่ง นี้เขาบอกว่า ฉะนั้น อันนี้มันเป็นความวิตกกังวล ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้เกิดเลย แล้วปัญหานี่มันเป็นปัญหาที่มันไม่เป็นปัญหาไง มันไม่เป็นปัญหาอะไรเลย แต่ใจของเราวิตกกังวลแล้วไปสร้างปัญหาขึ้นมา มันก็เลยเป็นปัญหา

นี่เวลาพระสมัยพุทธกาลนะจะไปลาสึกพระพุทธเจ้านะ บอกว่า

“อู๋ย วินัยร้อยแปด ในพระปาติโมกข์ ๒๒๗ ในพระไตรปิฎกอีก ๒๑,๐๐๐ ข้อ อู๋ย วินัย กฎหมายเยอะแยะมากมายไปหมดเลยจะสึก”

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า “ถ้าวินัยเหลือข้อเดียวอยู่ได้ไหม?”

“ได้”

“แล้วทำอย่างไรล่ะ?”

“รักษาใจไง รักษาใจไว้”

ตั้งแต่นั้นมาพระองค์นั้นยังอยู่ได้ ไม่อย่างนั้นจะสึกนะ จะขอสึกเลยนะ อู้ฮู เยอะไปหมดเลย วินัยเยอะไปหมดเลย จะขอพระพุทธเจ้า ไปลาสึกพระพุทธเจ้า

“ทำไมล่ะ?”

“อู้ฮู วินัยมันเยอะมาก”

“ถ้าข้อเดียวได้ไหม?”

“ได้”

“ข้อเดียวคืออะไร?”

“ข้อเดียวคือรักษาใจเรา รักษาใจเราไว้”

พอรักษาใจเราไว้ พระองค์นั้น ในพระไตรปิฎกสิ้นกิเลสหรือเปล่า? ถึงกับสิ้นกิเลสไปเลย

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราไม่วิตกกังวล เราไม่ไปสิ่งต่างๆ นะ รักษาใจเราไว้ ศีล ๕ เป็นข้อห้าม ถ้าเราไม่ทำก็จบ ไม่ทำก็ไม่ผิด ถ้าผิดก็ขอวิรัติขึ้นมาใหม่เป็นไรไป ใครเกิดมาทำอะไรแล้วไม่มีความผิดเลย ทุกคนเกิดมา ทุกคนก็ทำความผิดพลาดเป็นธรรมดา พอผิดแล้วก็ทำใหม่ แต่เวลาไปทำอย่างอื่นมันไม่คิดอย่างนี้น่ะสิ พอจะทำความดีมันติดขัดไปหมดเลย

ฉะนั้น สิ่งนี้มันเป็นความวิตกกังวล ถ้าไม่เป็นไรมันก็จบ แล้วดูแลใจเราไป พอใจเราดีขึ้น พัฒนาขึ้น เรื่องอย่างนี้ก็เลยเป็นเรื่องเด็กๆ เอวัง