ปัญหาเทคนิค
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๕
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
ข้อ ๑๑๗๙. เรื่อง พระสอนผิดไหม
เขาถามว่าพระสอนผิด เพราะเขาฟังเราพูดเอง แล้วเขาเขียนมาถามเราเองว่าสอนผิดนะ
ถาม : พระสอนผิดไหม เทศน์สอนพวกโยมในวันพระที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๕ ว่าเวลาใส่บาตรพระให้คิดว่ากำลังใส่บาตรพระอริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันถึงพระอรหันต์ อย่าคิดว่ากำลังใส่บาตรพระสมมุติลูกชาวบ้าน แล้วจะได้บุญเท่ากันจริงไหมครับ แล้วเรื่องนาบุญของโลกที่สวดกันล่ะครับ ความจริงเป็นอย่างใด พระผู้สอนจะมีบาปไหมถ้าสอนผิด ส่วนตัวผมไม่เชื่อครับ
ตอบ : นี่เขาว่าอย่างนั้นเลยนะ เขาบอกว่าเขาไม่เชื่อครับ...ถูกต้อง ถูกต้องเลยนะ อย่าเชื่อ เพราะว่าในกาลามสูตรพระพุทธเจ้าไม่ให้เชื่ออยู่แล้ว ไม่ให้เชื่อแม้แต่อาจารย์ของตัว ท่านไม่ให้เชื่อ
ถาม : ส่วนพระผู้สอนผิดบาปไหมครับ ส่วนตัวผมไม่เชื่อ
ตอบ : ไม่เชื่อนี่กาลามสูตร ไม่เชื่อแล้วเราต้องค้นคว้า ไม่เชื่อแล้วเราต้องพิสูจน์ ถ้าพิสูจน์แล้วให้เห็นตามความเป็นจริงของตัว ถ้าตัวพิสูจน์ได้ขนาดไหน เราก็รู้ได้ขนาดนั้น แต่สิ่งที่ตัวยังพิสูจน์ไม่ได้ล่ะ สิ่งที่ตัวยังพิสูจน์ไม่ได้เราก็ต้องพิสูจน์ต่อไป
ถาม : ส่วนตัวผมไม่เชื่อครับ
ตอบ : แหม ถูกเลยนะ เพราะเวลาใครมาหาเรา เวลาเขาบอกว่าไม่เชื่อหลวงพ่อ ไม่เชื่อหลวงพ่อ เราบอก เออ! ถูก ถ้ามึงเชื่อกูนี่มึงโง่ฉิบหายเลย เพราะมึงยังไม่ได้คิดอะไร มึงเชื่อกูได้อย่างไร เกิดถ้ากูเมายาแล้วกูพามึงหลงทาง มึงก็ไปกับกูหรือ ไม่เชื่อนี่ถูกแล้ว ไม่เชื่อนี่ถูกต้อง แต่ไม่เชื่อแล้วนี่พิสูจน์หรือเปล่า มันเป็นจริงหรือไม่เป็นจริงล่ะ ถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมา เห็นไหม ถ้าเรายังไม่ถึงสิ่งนั้น จิตใจที่สูงกว่า ถ้าจิตใจที่ไม่สูงกว่า ไม่สามารถดึงจิตใจที่ต่ำกว่าขึ้นไปได้
ฉะนั้น ถ้าเรานี่ จิตใจที่ต่ำกว่า ถ้าสูงกว่า เขาบอกนี่เชื่อหรือไม่เชื่อ ไม่ต้องเชื่อ แล้วพิสูจน์ ถ้าพิสูจน์ ถ้าเราขึ้นไปได้นะ เราขึ้นไปถึงจุดนั้นนะเราจะไปรู้เหมือนกัน ถ้าไม่รู้เหมือนกันนะแสดงว่าต้องใครผิดคนหนึ่ง ฉะนั้น คำว่า ไม่เชื่อ กาลามสูตรพระพุทธเจ้าสอนแล้วไม่ใช่เชื่อ ไม่ให้เชื่อนี่ถูก ไม่ให้เชื่อ ไม่ให้เชื่อแล้วพิสูจน์เอาสิ ไม่ให้เชื่อเพราะอะไรล่ะ เพราะตัวเองยังไม่เกิดเหตุการณ์อย่างนั้น
ฉะนั้น เขาบอกว่า
ถาม : หลวงพ่อเทศน์สอนโยมเมื่อวันพระที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๕
ตอบ : เราก็นั่งพิจารณาอยู่นะ เอ๊! สอนเรื่องอะไรก็งงอยู่ เพราะมันพูดทั้งวัน มันพูดเยอะ พูดจนเขาถามว่าเทศน์วันพระ สอนเขานี่สอนวันพระ เทศน์สอนเรื่องใส่บาตร ก็งงๆ อยู่นะ แต่ แต่ถ้าเป็นเรื่องเรามาทบทวน ถ้าเป็นเรื่องภายใน วันนั้นมีคนเขาถาม เขาถามว่าเวลาเขาจะใส่บาตรพระ เขารู้พฤติกรรมของพระแล้วจิตใจมันกระด้าง จิตใจมันไม่อยากใส่ จิตใจมันต่อต้าน ถ้าจิตมันต่อต้านมันจะเสียประโยชน์อันนั้น
ฉะนั้น เราบอกเขา บอกว่าให้คิดถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หมายถึงว่า ในเมื่อของเราจะทำบุญ เราเห็นพระแล้วจิตใจเรามันกระด้าง จิตใจมันไม่เห็นด้วย จิตใจมันต่อต้าน แล้วเราก็ไม่ทำ พอไม่ทำมันก็เสียผลประโยชน์ไง ฉะนั้น ถ้าไม่ให้เสียผลประโยชน์นี่เราให้คิดถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แก้วสารพัดนึกของเรา คือของนี่เราถวายพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รัตนตรัย แล้วใส่บาตรพระองค์นั้นไป เราพูดอย่างนั้น
ฉะนั้น ถ้าเราพูดอย่างนั้น เพราะคนเรานี่นะ ถ้าจิตใจมันไม่มีปัญหา เป็นเรื่องปกติถูกต้องนะ นี่เพราะว่าเขาเขียนมา เขียนสิ่งที่ว่าฟัง เห็นไหม ไม่เชื่อเรา แล้วเวลาเขียนมาก็เขียนผิด เขียนผิดว่าตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป เราไม่ได้พูดอย่างนั้น แต่เราบอกว่า กำลังใส่บาตรพระอริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปถึงพระอรหันต์ อย่าคิดว่าใส่บาตรลูกชาวบ้าน อย่าคิดว่าใส่บาตรสมมุติสงฆ์ แล้วบุญมันจะได้เท่ากันไหมล่ะ บุญมันจะได้เท่ากันไหม? มันไม่เท่าอยู่แล้ว มันเป็นไปไม่ได้ ลูกชาวบ้านก็คือลูกชาวบ้าน ถ้าลูกชาวบ้านใส่บาตรสมมุติสงฆ์ก็สมมุติสงฆ์
เวลาเทวดาไปถามพระพุทธเจ้าว่าควรทำบุญที่ไหน แล้วทำบุญได้ผลอย่างใด พระพุทธเจ้าบอกว่า ตั้งแต่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ พระอนาคามี สกิทาคามี โสดาบัน แล้วถ้าไม่มี แล้วถ้าไม่มีพระอย่างนั้นให้ทำสังฆทาน เห็นไหม ถ้าทำสังฆทานแล้วนี่ เพราะอะไร เพราะพระมันเห็นแล้วมันรู้ มันเข้าใจ มันไม่อยากทำ นี่ให้ทำสังฆทาน
สังฆทานคืออะไร? คือสงฆ์ ๔ องค์ขึ้นไป เป็นพระสมมุติไหม เป็นลูกชาวบ้านไหม? มันก็ลูกชาวบ้านเหมือนกัน นั่นไงให้ทำอย่างนั้น พระพุทธเจ้าสอนให้ทำอย่างนั้น อันนี้ตามข้อเท็จจริง
ทีนี้ตามข้อเท็จจริงแล้วมันจะได้บุญเท่ากันไหมล่ะ แล้วเนื้อนาบุญล่ะ
ใช่ เนื้อนาบุญ เห็นไหม เพราะเขาถามพระพุทธเจ้าว่า แล้วถ้าทำบุญควรทำที่ไหน
ควรทำที่เธอพอใจ
คำว่าพอใจนี่นะ เราศรัทธา เรามีความเชื่อเราก็อยากทำ พออยากทำ ไอ้ตัวอยากทำนี่ปฏิคาหก ผู้ให้ให้ด้วยความชุ่มชื่น ขณะให้แล้วนี่บุญมหาศาล ผู้รับสะอาดบริสุทธิ์ ถ้ารับแล้วใช้ประโยชน์ ขณะรับได้เป็นประโยชน์ รับแล้วใช้ประโยชน์ นี่บุญมหาศาลเลย นี่ปฏิคาหก คือสะอาดบริสุทธิ์ทั้ง ๒ ฝ่าย
ฉะนั้น พอจิตใจของเรานี่เราไม่อยากใส่ เราไม่อยากใส่แต่เราฝืนใส่ เห็นไหม ทีนี้ไม่อยากใส่ แต่นี้เราบอกว่าให้ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้ระลึกถึงรัตนตรัยแล้วใส่บาตรไป เพื่อให้จิตใจที่มันกระด้าง จิตใจมันกระด้าง จิตใจมันต่อต้าน ถ้าจิตใจมันต่อต้าน ทำอย่างดีนี่จิตใจมันไม่ต่อต้านเลย นี้พูดถึงผลประโยชน์ไง พูดถึงคนกระทำ อย่างเช่นเรานี่เราทำงานจะผิดหรือถูกก็แล้วแต่ ถ้าเราทำนี่มันมีประสบการณ์ใช่ไหม
นี่ก็เหมือนกัน ทำบุญกุศล ถ้ามันไม่ทำก็อด แล้วไม่ทำก็อด มันแปลกนะ ถ้าไม่ทำนะ นี่ทำบุญร้อยหนพันหน ไม่เท่ากับถือศีลบริสุทธิ์หนหนึ่ง ถือศีลบริสุทธิ์ร้อยหนพันหน ไม่เท่ากับทำจิตสงบหนหนึ่งหรือภาวนาหนหนึ่ง ถ้าจิตสงบหนหนึ่งเกิดภาวนามยปัญญาหนหนึ่ง ถ้าเราภาวนาก็ได้ ถ้าจิตใจเราไม่ขัดข้อง จิตใจเราไม่ติดขัดสิ่งใดนะเราปฏิบัติบูชา ปฏิบัติบูชามันก็ได้บุญ
นี่มันเป็นปัญหาเทคนิค มันเป็นเรื่องของเทคนิค เทคนิคคือว่าถ้าจิตใจมันต่อต้าน จิตใจมันดื้อ ถ้าจิตใจมันดื้อนะ แล้วเราจะทำอย่างไร เราจะปราบกิเลสในใจของเรา เราจะปราบกิเลสในใจของเรา ถ้าเรามันต่อต้าน มันไม่พอใจมันเป็นอย่างไร
ทีนี้ถ้ามันต่อต้าน เห็นไหม พอมันต่อต้าน บอกว่า ถ้าพระองค์นี้เราต่อต้าน พระองค์นี้เราไม่เห็นด้วย เราก็ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รัตนตรัย ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ระลึกถึงอริยสงฆ์แล้วใส่บาตรไป ใส่บาตรไปเพื่ออะไร? เพื่อปราบความดื้อรั้นในใจของเราไง
มันเป็นปัญหาเทคนิค เทคนิคว่าเราจะเอาชนะตัวเราเพื่อเราจะทำประโยชน์กับเราไง แล้วทำแล้วสบายใจ แต่นี้นะ จะทำก็ละล้าละลัง วันนั้นเขาถาม เขาถามว่าเขาอยากใส่บาตร เขาอยากทำบุญ แต่เขาต้องมาทำบุญที่นี่มันไกล ข้างๆ บ้านเขาก็มี เราถึงบอกว่าให้ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์แล้วใส่ไป นี่ข้างๆ บ้านเขาก็มี แต่เวลาเขามาทีหนึ่งเขาต้องมาที่นี่มันไกลมาก แล้วควรทำอย่างใด
ให้ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เราไม่ได้พูดถึงพระอรหันต์ สกิทาคามี อนาคามี มันเหมือนกับแบ่งแยกชนชั้นน่ะ ถ้าเราระลึกถึงรัตนตรัยของเรานี่มันเป็นพื้นฐานของเราเลย รัตนตรัยนะ เราระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ระลึกถึงพระพุทธ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ถ้าสงฆ์ตั้งแต่พระสารีบุตรลงมาเลย แล้วเราใส่บาตรไป เราใส่บาตรไป เราปราบไง เราปราบหัวใจของเราไม่ให้มันดื้อ ไม่ให้มันดื้อแล้วทำบุญไป
ทีนี้พอทำบุญแล้วจะได้ผลเท่ากันหรือไม่ นี่เขาบอกว่า
ถาม : ในเมื่อเนื้อนาบุญที่เราสวดกันทุกวัน เนื้อนาบุญจะได้ผลเท่ากันหรือไม่
ตอบ : ได้ผลเท่ากันนี่ อ้าว! แล้วถ้าเราบอกว่าองค์นี้เป็นพระอรหันต์ แล้วเราไปใส่บาตร แล้วพระอรหันต์จริงหรือพระอรหันต์ปลอม รู้ได้อย่างไร มันเท่ากันหรือไม่เท่ากันล่ะ
นี่ถ้ามันไม่เท่ากันนะ เพราะมันมีมาไง มันมีมาในสมัยพุทธกาล เวลาพระสารีบุตร พระกัสสปะออกจากนิโรธสมาบัติ แล้วออกมาใส่บาตรน่ะคนเขาได้บุญมหาศาล แล้วเราก็คิดกันอย่างนั้น แล้วปัจจุบันเขาก็บอกเข้านิโรธๆ กัน เราก็เชื่อกันไป แล้วนิโรธจริงหรือนิโรธปลอมก็ยังไม่รู้เลย เพราะเราก็ไม่รู้ว่านิโรธเป็นอย่างไร นี่สิ่งที่เราเข้าใจได้อย่างไร แต่เขาทำกัน นี่ทำกัน แล้วมันเป็นอย่างนั้นไหมล่ะ
ฉะนั้น สิ่งที่ว่าได้บุญเท่ากันหรือไม่
การได้บุญเท่ากัน ปฏิคาหกนะ อยู่ที่เจตนาของเรา อยู่ที่ความจริงของเรา แล้วเนื้อนาบุญด้วย ถ้าพูดถึง ถ้าเราบอกว่าที่เราสวดมนต์กันอยู่ทุกวันนี่ถูกต้องนะ อันนี้มันเป็นพระพุทธเจ้าบัญญัติพูดไว้เอง แล้วมันต้องทำตามนั้น แล้วมันเป็นผลทางวิทยาศาสตร์ เป็นวิทยาศาสตร์ ถ้าเนื้อนาที่ดี ถ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่สุดยอดของเนื้อนา ถ้าใครได้ทำบุญนะ แม้แต่ได้เห็นสมณะก็เป็นมงคลอย่างยิ่งอยู่แล้ว แค่ได้เห็น ได้ยิน ได้ฟัง แค่เข้าไปใกล้นี่มันเป็นมงคลหมดเลย องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วครูบาอาจารย์ที่เป็นธรรม นี่มันเนื้อนาบุญก็แตกต่างกันอยู่แล้ว
ทีนี้มันแตกต่างกัน ไอ้เรื่องนี้มันแตกต่างกันอยู่แล้ว เพราะมันเป็นวิทยาศาสตร์ ทีนี้วิทยาศาสตร์มันเป็นข้อเท็จจริง ถ้าเป็นปกติ ถ้าจิตใจเราเป็นปกติมันก็ไม่มีปัญหาไง แต่เวลาจิตใจของคนมันต่อต้าน มันไปรู้เข้า นี้ในพระไตรปิฎกก็มีนะ เขาจะทำทุคตะ มีพระองค์หนึ่งในสมัยพุทธกาลเป็นพระที่ว่าเป็นอลัชชี ทุกคนรังเกียจหมด แล้ววันนั้นเขาก็ทำทุคตะ คือเขาล้วงว่าพระองค์ไหนเขาจะนิมนต์ไปฉันที่บ้านไง มีตระกูลหนึ่งเขาได้พระองค์นี้ไป ทั้งๆ ที่เขาก็รู้นะว่าพระองค์นี้พฤติกรรมไม่ดี
ทีนี้พอไปนี่มันเป็นประเพณีไง เป็นประเพณีเขาจับสลากได้ พอจับสลากได้ พอไปถึงบ้านเขา นิมนต์พระคุณเจ้า แล้วก็ปูเครื่องลาดอย่างดี เขาอุปัฏฐากสุดยอดเลย พระองค์นี้ได้ใจนะ พระองค์นี้คิดว่าตระกูลนี้คงไม่รู้ว่าเรามันเป็นอลัชชี นี่เขาเข้าใจ พอวันรุ่งขึ้นไปอีกนะ พอไปอีก (นี่อยู่ในพระไตรปิฎกนะ) พอไปอีก ตระกูลนี้เอาเท้าเขี่ยอาสนะไป ถ้าท่านประสงค์จะนั่งก็เชิญ ถ้าท่านไม่นั่งก็กลับไป
เห็นไหม ขณะที่เขาจับสลากได้ทุคตะไปที่บ้านเขา มานี่เขาต้อนรับเต็มที่เลย เขาต้อนรับของเขาเต็มที่เพราะว่ามาโดยที่จับสลาก โดยที่เป็นวัฒนธรรม แต่ถ้ามาโดยส่วนตัวนี่เขาไม่รับเลย นี่ในพระไตรปิฎกก็มี นี่พูดถึงว่าถ้าจิตใจมันดื้อ จิตใจมันต่อต้านปัญหามันมี แล้วสังคมมันเป็นแบบนั้น
ฉะนั้น ที่เราพูดนี่ บอกว่ามันจะได้บุญเท่ากันหรือ
อันนี้เป็นข้อเท็จจริง เป็นข้อเท็จจริง ฉะนั้น เป็นข้อเท็จจริง แต่ที่พูดบอกว่าให้ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์แล้วใส่บาตรไป นี่เขาถามว่าได้บุญเท่ากันจริงหรือ ได้บุญเท่ากันจริงหรือ ถ้าเราทำ มันเป็นประโยชน์กับเราไง นี่ปัญหาโดยข้อเท็จจริงนั้นเรื่องหนึ่ง แต่นี่เป็นปัญหาเทคนิค ปัญหาเทคนิคที่เราจะเอาชนะตัวเรา ถ้าเราเอาชนะตัวเราเพื่อทำคุณงามความดี
ทีนี้ในศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา ใครทำความชั่วแล้วเราไปส่งเสริม เท่ากับเราก็ส่งเสริมทำความชั่วด้วย ถ้าใครทำความดี เราส่งเสริมคนทำดีเราก็ได้บุญกุศลอันนั้นด้วย ฉะนั้น พระองค์นั้นมันเป็นพระที่ไม่ดี แล้วเราตั้งใจจะไม่ทำ แล้วบอกว่าระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วทำไป มันจะได้ผลชั่วนั้นมาด้วยหรือเปล่า
ในพุทธศาสนามันเป็นแบบว่ามีเหตุและผล มีเหตุและปัจจัย มันให้ผลทุกอย่างตามที่เราทำแน่นอน ฉะนั้น เราบอกว่าถ้าพูดถึงเป็นอลัชชีล่ะ เราคิดอย่างนั้นไหม กฎข้ออย่างนี้เราก็รู้อยู่ พอเรารู้อยู่นี่ทุกคนก็ต้องหลบหลีก ทุกคนไม่ทำมันก็จบ แต่ขณะว่ามันก้ำกึ่งหรือมันเป็นโอกาส หรือมันเป็นประเพณี เป็นประเพณีในสังคมนั้นเป็นอย่างนั้น แล้วเราต้องเข้าไปอยู่ในสังคมอย่างนั้น มันจำเป็นไง เหมือนเหตุการณ์บังคับ เหมือนเหตุการณ์บังคับว่าเราต้องแสดงออกด้วยวัฒนธรรมของชาวพุทธ แล้วเรารู้ว่าสิ่งนั้นมันผิดพลาด สิ่งนั้นมันไม่สมควร มันไม่ดี เราจะทำอย่างไร
ทีนี้เราจะทำอย่างไร ในเมื่อเหตุภาคบังคับต้องทำอย่างนั้น เราก็บังคับว่าเราทำด้วยถวายพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นี่ในภาคบังคับ นี่ปัญหาเทคนิคไงเพื่อไม่ให้มีการกระทบกระทั่งกัน ไม่ให้เราเสียกันไป แล้วบุญกรรมเราก็ทำความดีของเรา รักษาผลประโยชน์ของเรา
ฉะนั้น บอกว่า
ถาม : พระผู้สอนจะมีบาปไหมถ้าสอนผิด
ตอบ : ถ้าพระนี่นะ แม้แต่ในวินัยเขามีความศรัทธา เขาเรียกว่าพระนี่ทำศรัทธาไทยให้ตกล่วง เป็นอาบัติปาจิตตีย์ เขามีความศรัทธาอยู่ เขามีความมั่นคงอยู่ แล้วเราไปทำให้เขาขาดศรัทธาไป แล้วศรัทธานี่ศรัทธาจริงหรือเปล่า ศรัทธานี่
นี่พูดถึงว่า พระผู้สอนจะบาปหรือเปล่า
พระผู้สอนนะมันก็เหมือนหมอ หมอเวลารักษาคนไข้ ถ้ารักษาคนไข้หายนี่หมอบาปหรือเปล่า? หมอได้บุญ แล้วเวลาหมอรักษาคนไข้ แล้วคนไข้ตายหมอบาปหรือเปล่า...เออ! นี่ก็เหมือนกัน รักษาเขา สอนเขาให้เขาเอาชนะตัวเองไง จิตใจของเขามันอย่างนั้นเราก็บอกว่าถ้าเขาเอาชนะตัวเขาได้เขาจะเป็นประโยชน์กับเขา ฉะนั้น เป็นประโยชน์กับเขา มันเป็นเฉพาะกรณีว่าจิตใจเขามีปัญหา จิตใจเขามันมีความสงสัย แต่ถ้าโดยปกติพระเขาไม่พูดอย่างนั้นหรอก พระก็ต้องบอกว่าให้ทำดีทั้งนั้นแหละ
สิ่งดีและชั่วเราก็คัดแยกได้ถูกว่าสิ่งดีและชั่ว ถ้าสิ่งดีเราก็ทำแต่สิ่งที่ดี สิ่งที่ชั่ว เห็นไหม เขาบอก ดอกไม้และก้อนอิฐ เวลาได้ก้อนอิฐ นี่ได้แต่คำติเตียนมา ถ้าได้ดอกไม้มา ได้แต่คำชื่นชมมา นี่ก็เหมือนกัน ดอกไม้และก้อนอิฐใครก็เห็นได้ ดอกไม้ เห็นไหม พวงดอกไม้มันก็สวยงาม ก้อนอิฐมันมามันก็รุนแรงมา
ไอ้กรณีอย่างนี้พระผู้สอนจะเป็นบาปไหม เพราะคนเขียนเข้าใจว่าบาปแน่ๆ ก็บอกว่าเนื้อนาบุญ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นพระโสดาบัน แล้วไปใส่บาตรกับพระสมมุติมันจะมีบุญเท่ากันหรือเปล่า แสดงว่าพระผู้สอนผิด พระต้องเป็นบาป (หัวเราะ) พระเป็นบาป อ้าว! กรณีนี้นะเราคิดถึงบ่อยมาก โดยทั่วไป อย่างเช่นสารเสพติด ถ้าเราให้ลูกหลานเราไปเสพสารเสพติดเขาจะเสียอนาคตเลยนะ แต่เวลาคนเจ็บไข้ได้ป่วย เวลาเขาปวดมาก ไปโรงพยาบาลหมอเขาให้มอร์ฟีนนะ หมอเขาให้มอร์ฟีนเพราะระงับความปวด
จิตใจของคนถ้ามันเจ็บปวด มันมีทุกข์มีภัย เขาให้มอร์ฟีนเพื่อระงับความเจ็บปวด หมอคนนั้นผิดไหม หมอคนนั้นเขาดูแลเพื่อคนไข้ระงับความปวด ให้คนไข้นั้นเพื่อให้ร่างกายมันทนกับสภาพแบบนั้นได้ เขาให้มอร์ฟีน แต่ถ้าจิตใจ เด็กๆ เราไปหลอกลวงล่อลวงเขาให้เขาใช้สารเสพติด ถ้าเขาใช้สารเสพติด เขาเสียอนาคตไปเลยนะ
นี่ก็เหมือนกัน พระนี่ ถ้าบอกว่าเราให้มอร์ฟีนกับคนที่จิตใจของเขาเจ็บปวด ให้เขาหายจากความเจ็บปวด เราให้มอร์ฟีนเพื่อระงับความเจ็บปวดเป็นครั้งเป็นคราว กรณีอย่างนี้นะเขาไม่ค่อยพูดกัน เพราะพูดไปแล้วมันกระจายไปข้างนอกไง ฉะนั้น เวลาวันนั้นเขาถาม โยมเข้ามาเขาถามว่าเขาอึดอัดมาก ในการทำบุญของเขา เขาอยากทำ แต่อึดอัดมาก เราก็บอกว่าเพื่อความสบายใจ เห็นไหม ให้ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์แล้วใส่บาตรเข้าไปถ้าโยมอยากทำ นี่ให้ชนะความอึดอัดของตัวไง
ถาม : ส่วนตัวผมไม่เชื่อ
ตอบ : สาธุ เราชอบตรงนี้มากนะ นี่มันสะใจตรงนี้ ตรงที่ว่า ส่วนตัวผมไม่เชื่อ เราอยากให้คนเป็นอย่างนี้ทั้งหมด แล้วเวลาเจอพระที่มันสอน อย่าไปเชื่อ พระโดยทั่วไปที่เขาสอนอย่าเชื่อ แล้วต้องพิสูจน์ก่อน
นี่ส่วนตัวผมไม่เชื่อ ถ้าส่วนตัวผมไม่เชื่อ คำว่าสอนผิดนะ เวลาหลวงปู่ตื้อ ในวงกรรมฐานบอกว่าหลวงปู่ตื้อท่านอยู่ที่ทางภาคเหนือ ท่านคุยกับพระองค์หนึ่ง ลูกศิษย์ท่าน พูดถึงธรรมะนี่ แล้วท่านลงจากเขามา พอลงจากเขามาท่านระลึกได้ว่าท่านพูดคำผิดคำสองคำ ท่านขึ้นเขาไปใหม่ ไปบอกลูกศิษย์ว่าคำที่ท่านพูดคำนั้นผิดนะ ลูกศิษย์ท่านสะอึกเลยนะ
โอ๋ย! หลวงปู่ หลวงปู่มาบอกเมื่อไหร่ก็ได้ ทำไมหลวงปู่ต้องขึ้นมาอีกรอบหนึ่ง
หลวงปู่ตื้อบอกว่า ไม่ได้ เดี๋ยวท่านเอาไปบอกคนอื่น มันเป็นความผิดต่อเนื่องกันไป มันเป็นบาปเป็นกรรม
นี่สอนผิด สอนผิดนะ มันสอนถึงเรื่องอริยสัจ เรื่องสัจจะความจริง การภาวนานี่สอนผิด สอนผิดหมายถึงแผนที่ผิด หมายถึงเข็มทิศผิด หมายถึงการตั้งใจผิดมันจะออกจากนอกทางไปเลย นี่เวลาสอนผิด แต่เรื่องของพื้นฐาน เรื่องของทาน เรื่องของการปฏิบัติให้มันสะสมขึ้นมา แต่ถ้ามันสอนผิดนะ สอนผิดมาตั้งแต่ศีล สมาธิ ปัญญา ตรงนั้นแหละสอนผิด ถ้าสอนผิดคนมันจะเข้าสู่หลักไม่ได้ ถ้าเข้าสู่หลักไม่ได้ เพราะคำสอนมันจะฟ้องเอง แล้วคนปฏิบัติไปนี่ ไปไหนมาสามวาสองศอกนี่นะ เวลาคนปฏิบัติไปมันไม่เป็นตามนั้นหรอก พอไม่เป็นตามนั้น นี่ไงกาลามสูตร นี่เทียบได้เลย เทียบได้เลยถ้าสอนผิดนะ
คำว่า สอนผิด นี่สอนให้คนหลงผิด สอนให้คนทำความผิด แล้วนี่ผิดไหม พระผู้สอนผิดจะมีบาปไหม นี่บอกว่าให้ทำบุญๆ ให้ทำบุญอย่างนี้มันก็เหมือน...เวลาเขาพูดนะ วิญญาณาหาร อาหาร ๔ วิญญาณาหาร อาหารคือความคิด คือวิญญาณความรู้สึกนึกคิด...อย่างนั้นเราก็นึกเอาเองก็ได้ เขาคิดกันอย่างนั้นนะ เวลาเขาคิดคิดอย่างนี้ แต่ความจริง สิ่งที่ไม่รู้ไม่เห็น นึกไม่ได้หรอก จินตนาการเป็นจินตมยปัญญาแก้กิเลสไม่ได้ สิ่งที่ไม่รู้ไม่เห็น นึกไม่ออก จินตนาการไปเป็นจินตมยปัญญามันเป็นไปไม่ได้ไง
ฉะนั้น สิ่งที่มันเป็นเรื่องของทานนี้มันแบบว่า คำว่าสอนให้เขาผิด มันก็เป็นความคิดอันนั้นไป แต่เวลาปฏิบัติ ปฏิบัติกับปฏิบัติเขาจะรู้กัน ถ้าเราปฏิบัติมา จิตเราเป็นสมาธิ เขาบอกสมาธิไม่ถูก เรารู้แล้วว่าเขาผิด ทีนี้ถ้าเราภาวนาไป ถ้าเรารู้นะ กรณีนี้ต่างหากที่สำคัญมาก นี่เวลาหลวงปู่ตื้อท่านผิดคำเดียวนะท่านขึ้นไปแก้เลย แล้วยิ่งหลวงปู่มั่น เวลาลูกศิษย์ ขนาดลูกศิษย์ยังไม่รู้ตัวเลย อย่างที่ว่าคำถามเวลาตั้งมา นี่เอ็งถามผิดนะ คำถามมันไม่ได้ตั้งมาอย่างนี้ ถ้าคำถามตั้งมาอย่างนี้นะมันไปเลย มันต้องออกนอกเรื่องเลย ถ้าคำถามมันถูกต้อง เอ็งทำมาเพื่ออะไร เพื่อความสงบ หรือเพื่อถอดถอนกิเลส เพื่อความสงบ มันเป็นเพื่อกำลัง แต่ถ้าขั้นของปัญญา ปัญญาคือการรื้อค้นแล้ว ปัญญาคือการถากถางแล้ว ปัญญาคือการสำรอกคายออก ถ้ามันเป็นปัญญา เป็นปัญญาอย่างใด
อันนี้พูดถึงถ้าผิดอย่างนี้ เออ! มันฟังกันออก มันเหมือนทางวิชาการ เวลาวิชาการถ้าพูดผิดมันก็คือผิด แล้วเรื่องอย่างนี้มันบอกพูดผิด นี่ก็พูดผิด หลวงพ่อนี่พูดผิด ผิดจากพระไตรปิฎก พระไตรปิฎกว่าเนื้อนาบุญไง เนื้อนาบุญๆ แต่เนื้อนาบุญโดยข้อเท็จจริงเราเห็นด้วยอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ว่าคนที่เขาฉลาดนะ เนื้อนาบุญที่ดีอยู่แล้ว แต่เขายังระลึกอย่างนี้ ความระลึกนี่ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มันก็เนื้อนาบุญเหมือนกัน แล้วทำไปๆ เพื่อให้เราได้ทำ
ฉะนั้น คำว่า
ถาม : ผู้สอนจะมีบาปไหม
ตอบ : บาปแน่นอนนะ เพราะว่าตัวเองหลงก็เรื่องหนึ่ง ตัวเองทำให้คนอื่นหลงนี่มันเสียหายมาก ทำเสียหายมาก ในมุมกลับ เห็นไหม ฆ่าคนอื่นตายก็ต้องติดคุกอันหนึ่ง เวลาฆ่าตัวเองตาย ทางโลกบอกว่าฆ่าตัวเองตายก็จบ แต่ในทางพระ ฆ่าตัวตายยิ่งบาปมากเข้าไปใหญ่ ฆ่าคนอื่นตาย เราเห็นประโยชน์ของคนอื่นนะ เวลาเราฆ่าเราตาย นี่บาปอีก ๕๐๐ ชาติ
นี่ก็เหมือนกัน ถ้าหลงผิด มันทำให้คนอื่นหลงผิดนี่อีกเรื่องหนึ่ง ทำให้เราหลงผิดเองเรื่องหนึ่งคือฆ่าตัวตาย แต่ทำให้คนอื่นหลงผิดนี่บาปมากขึ้นไปอีก
ฉะนั้น
ถาม : พระจะบาปไหม
ตอบ : บาป ถ้าสอนให้เขาผิด แต่นี้มันเป็นปัญหาเทคนิคเฉพาะ ฉะนั้น พูดออกไปกว้างๆ ไม่ค่อยได้พูด ปัญหานี้ไม่ค่อยได้พูด แต่วันนี้ถามมา นี่ออกเว็บไซด์เลยล่ะ (หัวเราะ) มันเป็นปัญหาเทคนิคเฉพาะคนไง อันนี้ปัญหาหนึ่งนะ แล้วดูปัญหานี้ นี่ปัญหาภาวนาจริงๆ เลย
ถาม : ข้อ ๑๑๘๐. เรื่อง เรียนถามเรื่องการภาวนาค่ะ
กราบนมัสการหลวงพ่อเจ้าค่ะ หนูภาวนาพิจารณากายเป็นอสุภะ โดยกระทำมาเรื่อยๆ รู้สึกว่าจิตใจและร่างกายเบาขึ้น ต่อมาขณะเดินจงกรมเห็นคางคก หนูก็เลยหยิบร่างกายคางคกมาพิจารณาเทียบกับร่างกายตน ตั้งแต่เป็นตัว กระดูก สุดท้ายก็สลายไป ในเมื่อสภาพกายตามจริงก็เป็นเช่นนี้ แล้วมาหลงมาติดอะไรถึงต้องพามาเกิดให้ทุกข์อยู่อย่างนี้ ใครมันเป็นผู้หลงกันแน่
หนูเทียบกลับไปกลับมาสักพักก็เกิดความรู้สึกซ่านไปทั่วตัว ขนลุก น้ำตาไหล อาการมารวมตรงกลางหน้าอกพร้อมกับมันเห็นเป็นภาพขึ้นมา จิตดวงนี้โดนร่างกายนี้ครอบอยู่ และรู้ว่าหนูมาหลงติดหนังที่หุ้มอยู่นี้ หนังที่หุ้มที่ว่าไม่ใช่แค่หนังหุ้มเพียงอย่างเดียว แต่มันรวมถึงกระดูก หนูหลงสมมุติเพราะหนัง อันนี้ว่าเป็นเรา เป็นเขา เป็นหญิง เป็นชาย สัตว์ทั้งโลกนี้เป็นไปไม่ต่างกัน ใจดวงนี้มันหลงกายนี้ทั้งร่าง ต้องหาอยู่หากินเพื่อกายนี้สืบพันธุ์แล้วก็ตาย
จากนั้นใจก็สบาย กายเบามากอยู่ประมาณ ๔ วันค่ะ ต่อมามันเกิดอาการยิบๆ ที่หน้าอก พอหนูเผลอมันก็ออกไปเป็นความคิด พอจ่อดูดีๆ ยิบยับมันก็กลายเป็นภาพ เดี๋ยวก็ออกไปเป็นความคิดอีก หนูลองตั้งยิบๆ ยับๆ ดูอยู่ข้างหน้า จ่อลงดูยิบยับนั้น สักพักหนูเห็นมันเป็นเหมือนห้วงอวกาศแล้วมีดวงสว่างอยู่ตรงกลาง แล้วเห็นคลื่นแผ่ออกไปตรงกลางสว่างนั้น คลื่นนั้นจะกระจายไกลออกไปก็กลายเป็นดวงขึ้นมาอีก พอดูดวงนั้นมันก็ดับมากลายเป็นยิบๆ ยับๆ อีก บางวันพอจ่อดูมันก็เห็นแค่ยิบๆ แล้ว เลยมีแต่ภาพและความคิดสลับขึ้นมาราวกับว่าหนูฟุ้งซ่าน หนูควรทำอย่างไรต่อไปคะ
ตอบ : ปัญหาเมื่อกี้เป็นปัญหาทางเทคนิค เรื่องการสอนนะ เรื่องการสอนว่าการจะทำบุญ ถ้าจิตใจมันต่อต้าน ให้ปราบมันด้วยการระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพื่อจะได้เป็นประโยชน์กับตัว แล้วย้อนกลับมาปัญหานี้ นี่ปัญหานี้ เห็นไหม หนูเดินจงกรมอยู่ นั่งพิจารณาอยู่ พิจารณาอสุภะอยู่ของเราตลอดไป พิจารณาตลอดไป แล้วพิจารณาขณะเดินจงกรมอยู่แล้วนะมันมีของมันไง มันมีความสงบของมันบ้างก็เอาคางคกขึ้นมาดู ดูกลับไปกลับมาๆ แล้วมันปล่อย มันแผ่ซ่าน
นี่หนูเทียบเข้ามาสักพักก็เกิดความรู้สึกซ่านไปทั้งตัว ขนลุก น้ำตาไหล อาการต่างๆ เกิดมามีความพร้อมกับที่มันลงพร้อมกับหน้าอก แล้วก็มีความสุขอยู่ ๔ วัน แล้วต่อไปมันก็เป็นคลื่น เห็นตัวเองเป็นคลื่น เป็นอวกาศ เป็นแสง เป็นต่างๆ นี่ตรงนี้ ผิดถูกมันอยู่ตรงนี้ ถ้าเวลาเข้ามาสู่ภาวนามันจะเป็นอย่างนี้แล้ว
เวลาพิจารณาอสุภะ ถ้าจิตมันสงบมันทำตามความเป็นจริง ถ้าทำตามความเป็นจริงมันก็จะให้ผลตามความเป็นจริง ถ้ามันให้ผลตามความเป็นจริง นี่เพราะพิจารณาอสุภะอยู่แล้ว พอพิจารณาอสุภะนี่มันยันกันอยู่ พอเราไปจับคางคก จับคางคกนี่เป็นอุบายใหม่ จับคางคกพิจารณาของมัน คางคกมันก็คือสัตว์ มันก็มีกระดูก มีหนัง มีธาตุ ๔ เหมือนกัน พอพิจารณาไปมันกระทบเข้ามา มันกระทบถึงตัวเรา มันเปรียบเทียบ คางคกกับมนุษย์ คางคกกับตัวเรา เราก็มาหลงหนังเหมือนกัน แต่จิตใจมันหลงหนัง นี่ด้วยปัญญาของมัน เห็นไหม พอมันปล่อย พอมันวาง มันวางมันก็แผ่ซ่าน ตัวเบา น้ำหูน้ำตาไหลไปหมดเลย นี่มันเป็นผลอันหนึ่ง พอเป็นผลอันหนึ่งแล้วมันมีความสุขของมัน แล้วความสุขทำอย่างไรต่อไปล่ะ ทำอย่างไรต่อไป
พอไม่ทำต่อไปนะ พอจิตมันสงบเข้ามามันเห็นแสงต่างๆ ก็ตามยิบๆ ยับๆ ออกไป จับผิด จับถูกอยู่อย่างนี้ไง จับผิด จับถูก นี่ถ้ามันผิด มันผิดอย่างนี้ ถ้ามันผิด เห็นไหม
ถาม : แล้วหนูควรทำอย่างไรต่อไป
ตอบ : หนูควรทำอย่างไร หนูก็ต้องกลับมาพิจารณาอสุภะไง พิจารณาทำความสงบไง กลับมาทำที่เราสงบ ทำให้จิตใจเราสงบ แล้วเราพิจารณาของเรา พิจารณาของเราด้วยอุบายอันใหม่ เห็นไหม มันต้องซ้ำอยู่ที่เดิม นี่ถ้ามันผิดมันถูก มันอยู่ตรงนี้ ถ้ามันเริ่มพิจารณาผิด สอนผิด ถ้าสอนผิดมันต่อเนื่อง เห็นไหม ถ้าไม่มีหลักปั๊บ พอจิตมันพิจารณาอสุภะมาแล้ว มันเข้าใจร่างกายมาแล้ว นี่มันหลงที่หนัง มันเข้าใจหมดแล้ว มันปล่อยหมดแล้ว ปล่อยหมดแล้ว แล้วจะไปไหนต่อ จะไปไหนต่อ เห็นไหม
พอจิตมันสงบ กิเลสมันหลอกแล้ว กิเลสมันหลอกมาให้เห็นเป็นแสง ให้เห็นเป็นห้วงอวกาศ เป็นห้วงอวกาศ เป็นต่างๆ เราจะพิจารณาอะไรล่ะ เราจะพิจารณาอะไร เพราะในการพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม นี่มันติดในกาย ติดในเวทนา ติดในจิต ติดในธรรม มันติดกันอยู่ที่นี่ไง แล้วอวกาศ ความว่าง ไปแล้วมันได้ผลอะไรล่ะ มันได้ผลอะไร ทีนี้มันไม่ได้ผลอะไรเพราะมันไม่เกี่ยวกับกิเลสไง อวกาศมีกิเลสไหม อากาศมีกิเลสไหม แสงมีกิเลสไหม? มันไม่มี พอไม่มี มันจับสิ่งนั้นไปมันก็ออกไปข้างนอก แล้วมันก็จะรอวันเสื่อมไง
ถาม : แล้วหนูควรทำอย่างไร หนูควรทำอย่างไร
ตอบ : หนูก็ต้องกลับมา เรากลับมาทำความสงบแล้วพิจารณากายซ้ำ ถ้าจิตมันสงบได้มันจะเห็นได้ นี่สิ่งที่มันเห็นได้เพราะเดินจงกรม เห็นไหม เขาบอกว่าเขาเดินจงกรมแล้วพิจารณาอสุภะอยู่ เดินจงกรมมานานแล้วพิจารณา นี่การกระทำนั้นมันเป็นพื้นฐาน แต่เวลามันจะได้ผลนี่ได้ผลตรงที่ไปหยิบคางคกขึ้นมาดูนี่แหละ เพราะอะไร เพราะมันเป็นอุบายในปัจจุบันไง ถ้าจิตมันสงบแล้วนะเป็นปัจจุบัน เราทำในปัจจุบัน เพราะสิ่งที่เป็นปัจจุบันนั้นมันให้ผลในปัจจุบัน แต่เราพิจารณาอสุภะมานี่เป็นอดีตอนาคต
อดีตอนาคต หมายความว่า พอเราพิจารณาเห็นกาย ตั้งเป็นกายอยู่ นี่จิตใจมันพิจารณาของมันอยู่ มันไม่เป็นปัจจุบัน ผลมันยังไม่เกิด ผลไม่เกิด แล้วเราก็ทำด้วยความเคยชิน นี่สิ่งที่เคยชิน เคยชินนี่กิเลสมันบวกมาด้วย เพราะความที่เราเคยชิน มันสะดวกสบาย ทำแล้วมันไม่พิจารณาของมัน แต่ถ้าพอไปหยิบอุบายใหม่ขึ้นมา สิ่งที่อุบายใหม่มันเป็นปัจจุบัน ถ้าปัจจุบันกำลังมันพอมันก็ปล่อยได้ พอมันปล่อยได้ ปล่อยได้คือผล ถ้าผลคือตทังคปหาน คือของชั่วคราว พอของชั่วคราว จะทำต่อไปก็ต้องทำความสงบของใจเข้ามาอีก กลับไปพิจารณากายก็ได้ เวทนาก็ได้ จิตก็ได้ ธรรมก็ได้...จิตก็ได้ ธรรมก็ได้
แล้วเวลาพิจารณาเป็นความเวิ้งว้าง เวลาจิตมันละเอียดเข้าไปเป็นยิบๆ ยับๆ นี่ยิบๆ ยับๆ ถ้าเป็นจิต เป็นจิตก็ต้องจับจิต จับจิต จับอาการยิบๆ ยับๆ นั่นน่ะ พิจารณาว่ามันคืออะไร มันเกิดมาจากไหน มันมีมาอย่างใด นี่ถ้ามันจับได้ แต่ถ้าจับอย่างนี้มันไม่ถนัด เราก็ต้องกลับมาที่อสุภะ ที่กาย ถ้ากลับมาได้นะ
ถาม : หนูควรทำอย่างใด
ตอบ : หนูควรทำอย่างใด...หนูควรมาทำความสงบ หนูควรกลับมาทำความสงบ ถ้ามันไม่สงบมันจะยิบๆ ยับๆ ไหม มันจะเห็นเป็นห้วงอวกาศไหม เราจะบอกว่าสิ่งนั้นมันเป็นนิมิตแล้วล่ะ มันออกไปไง พอจิตสงบมันจะรู้ มันส่งออก มันส่งออกไป ถ้าส่งออกไปแล้วมันจะกระจายไปเรื่อยๆ แล้วเดี๋ยวมันก็จะเสื่อมหมด มันจะเสื่อมหมด พอเสื่อมหมดแล้วเราทำอะไรไม่ถนัดแล้ว
ฉะนั้น ถ้าเราจะไม่ให้มันเสื่อมหมด มันกระจายออกไป เราไม่ต้องกระจายออกไป ไม่ส่งออก เรากลับมาที่ตัวพุทโธ กลับมาพุทโธที่ผู้รู้ กลับมาที่ตัวพุทโธ กลับมาที่ผู้รู้มันก็มีกำลังของมันขึ้นมา แล้วเราพิจารณาของเรามันก็เต็มไม้เต็มมือ ทำสิ่งใดมันก็ชัดเจน แต่ถ้าเราส่งออกหมด เหมือนน้ำมัน เหมือนรถ พลังงานที่มันจะหมดแล้ว รถไฟฟ้าก็แบตเตอรี่หมดไฟแล้ว แล้วยังต้องขับไปอีก พอขับรถ รถนี่น้ำมันหมดก็จวนจะหมดแล้ว หาปั๊มก็ไม่เจอ ไม่มีปั๊มเลย เดี๋ยวมันก็ต้องเดินไปซื้อน้ำมันมาเติม
นี่ก็เหมือนกัน พอจิตมันเสื่อมหมดแล้วนะ พอมันออกไปยิบๆ ยับๆ มันออกไปหมดนะ เดี๋ยวจะทำอะไรไม่ได้เลย ล้มลุกคลุกคลานเลย ฉะนั้น ถ้ารถเรานะ ถ้ารถไฟฟ้าเราก็ชาร์จแบตของเรา ถ้าเป็นน้ำมันเราก็เติมน้ำมันของเรา เติมน้ำมันด้วยการพุทโธ พุทโธ เติมน้ำมันด้วยการอยู่กับผู้รู้ อยู่กับพุทโธ ถ้าของเราพร้อม ทุกอย่างเราพร้อมเราจะไปของเราได้
ฉะนั้น
ถาม : ควรทำอย่างไรต่อไป
ตอบ : กลับมาที่นี่ กลับมาที่ผู้รู้ กลับมาที่พุทโธ ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิก็ปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าเดินจงกรมก็เดินจงกรม แล้วพิจารณาของเราซ้ำเข้าไปๆ นี่ถ้าผิดถูกตรงนี้ ถ้าสอนผิด สอนผิดตรงนี้มันจะผิดไปเลย แต่ขณะระดับของทาน เราทำทานกันมาเพื่อบุญกุศล เพื่อความมั่นคงของเรา เพื่อความสงบของเรา อันนี้เราก็ทำประโยชน์ของเราเหมือนกัน ทำประโยชน์กับเรา แต่ประโยชน์ระดับทาน ศีล ภาวนา แต่ถ้าเวลาภาวนา เรื่องอริยสัจนี่ผิดไม่ได้เลย เห็นไหม
เวลาว่าแก้จิตๆ มันแก้ยากๆ แก้ยากก็ตรงนี้ แก้ยากเพราะว่าคนรู้จริงมันไม่มี ถ้าคนรู้จริงมันมี ตรงนี้ ถ้าผิดถูกตรงนี้สำคัญ ตรงนี้ไม่ให้ผิด เห็นไหม นี่ปัญหาเบื้องต้นเป็นปัญหาเทคนิค ปัญหาเทคนิคเพราะมันเป็นปัญหาที่ว่า คนเราถ้าจิตใจมันไม่เป็นอย่างนั้นมันก็ไม่ต้องเอามาใช้ไง มันใช้เรื่องปกติมันก็ได้ประโยชน์ แต่ขณะที่ปฏิบัติ ปฏิบัตินี่เป็นข้อเท็จจริงเลย ถ้ามันผิดนี่มันผิดไปเลย
พระสอนผิดไหม พระมีบาปไหม...ถ้ากรณีภาวนาขึ้นมาเขากลับสอนกันผิดๆ กลับสอนผิดๆ เพราะอะไร กลับสอนผิดๆ เพราะผู้สอนไม่มีวุฒิภาวะ แล้วถ้าผู้ฟังล่ะ ผู้ฟัง ในเมื่อเราปฏิบัติไม่เป็น เราไม่มีพื้นฐาน เราจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้สอนสอนผิด
อ้าว! ผู้สอนก็สอน เวลาสอนสอนเรื่องอะไร? ก็สอนเรื่องอริยสัจ สอนเรื่องสติปัฏฐาน ๔ สอนเรื่องการพิจารณากายไง เขาก็สอนของเขา แล้วพอเราทำไปมันเป็นอย่างนั้นจริงหรือเปล่า? มันเป็น มันเป็นเพราะอะไร มันเป็นเพราะอาการของใจ เรื่องของใจมันมหัศจรรย์มาก มันจินตนาการอย่างไร มันคาดหมายอย่างไร มันก็จะออกไปตามนั้นแหละ นี่มันเป็นจินตนาการไป จินตมยปัญญา มันไม่เป็นความจริงหรอก ถ้าเป็นความจริงล่ะ เป็นความจริง เพราะคนที่เป็นความจริงแล้วมันมี คนเป็นความจริงแล้วเขามีเหตุมีผลของเขา เขารู้ตามความเป็นจริงของเขา เขาจะแก้ไขไปตามกำลังของจิต
ไปตามกำลัง เห็นไหม เริ่มต้นปฏิบัติปฏิบัติอย่างไร แล้วปฏิบัติแล้วพื้นฐานของใครเป็นอย่างไร พื้นฐานนั้น ถ้าพื้นฐานของเรามาเป็นแบบนี้ แต่เวลาผู้สอนสอนให้เรายกกำลัง ใช้กำลังมากกว่ามันก็ไปไม่ได้ ฉะนั้น มันถึงมีจริตนิสัย มีพละกำลังของใจแตกต่างกันไป แตกต่างกันไปก็ต้องทำตามกำลังนั้น เพราะเวลามันสุกขวิปัสสโก เห็นไหม เวลากิเลสมันสิ้นไป สุกขวิปัสสโก เตวิชโช กำลังมันแตกต่างกัน
ทีนี้คำว่ากำลังแตกต่างกัน ผลก็แตกต่างกัน แม้แต่กิเลสมันสิ้นเหมือนกันนะ กิเลสนี่ขาดเหมือนกัน แต่ความรับรู้ด้วยระดับของความชำนาญแตกต่างกัน นี่มันจะลงไปด้วยกำลัง หรือลงไปด้วยปัญญา มันจะลงไปด้วยความชอบธรรมหรือความไม่ชอบธรรม ถ้าไม่ชอบธรรมมันก็จบ ถ้ามันชอบธรรมมันก็ได้ แล้วถ้าชอบธรรมแล้ว อ้าปากพูดก็รู้เลย คนก็รู้เลย นี่อย่างนี้ถ้าผิดถูกตรงนี้สำคัญมาก
แต่โดยพื้นฐานนะ โดยพื้นฐานเราให้คนทั่วๆ ไป ถ้าสอนผิดนะ โดยทั่วไปในสังคมเราปัจจุบันนี้มันจะไม่เป็นชาวพุทธแล้วล่ะ เวลาพระสอนนี่มันสอนไปจนเป็นธุรกิจเลย สอนไปจนเป็นการแลกเปลี่ยน การทำบุญก็แลกเปลี่ยนเอา คาดหมายเอา เขาถึงบอกว่าค้ากำไรเกินควร ค้ากำไรเกินควร แต่ถ้าเป็นธรรมนะ ค้ากำไรไม่เกินควร ข้าวทัพพีเดียวตักบาตรพระสารีบุตรในพระไตรปิฎก ข้าวทัพพีเดียว ทุคตะเข็ญใจตักข้าว ๑ ทัพพีแล้วอยากบวชมาก ไปบวชกับใครใครก็ไม่ให้บวชเพราะถือว่าเขาเป็นคนทุกข์ คนยาก
ทีนี้เขามีวาสนาบารมี ไปขอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถามในสงฆ์ว่า
บุคคลคนนี้เคยมีคุณกับใคร
พระสารีบุตรยกมือเลย เคยมีคุณกับกระผมครับ
มีคุณเรื่องอะไร
เคยตักบาตรกับผม ๑ ทัพพีครับ เคยใส่ข้าวผม ๑ ทัพพีครับ
สารีบุตรเธอให้บวช
พระสารีบุตรเอาทุคตะเข็ญใจคนนั้นมาบวช บวชแล้วพระสารีบุตรสอนทุคตะเข็ญใจนั้นจนเป็นพระอรหันต์ เป็นพระอรหันต์แล้วไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถามว่า
สารีบุตร สัทธิวิหาริกของเธอสอนง่ายไหม
สอนง่ายครับ สอนง่ายครับ
นี่เป็นพระอรหันต์ขึ้นมาเลย ข้าวทัพพีเดียว มีบุญคุณกับพระสารีบุตรจนเป็นพระอรหันต์ขึ้นมา ฉะนั้น สิ่งที่ว่าถ้าเป็นความจริงบอกว่าค้ากำไรเกินควร ค้ากำไรเกินควร...ตรงไหนค้ากำไรเกินควร ถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมามันเป็นประโยชน์หมด แต่ในปัจจุบันนี้เขาบอกว่าสอนผิด แล้วเราจะชี้ว่าผิดถูกแตกต่างกันอย่างไร ผิดระดับไหน ถูกระดับไหน
ฉะนั้น ไอ้อย่างนี้มันต้องใช้ปัญญาเนาะ ใช้ปัญญาของเรา มันเป็นปัญญาของเรา เป็นอำนาจของเรา มันจะพิจารณาของมันเอง ถ้าพิจารณาเองมันเป็นความถูกต้องและเป็นความไม่ถูกต้อง อันนั้นอันหนึ่ง
แล้วเรื่องที่ว่า เรียนถามเรื่องภาวนา เห็นไหม ผิดถูกมันจะเป็นอย่างนี้ แล้วนี่ผิดถูก เริ่มต้นมา พอได้ผลมาเรารับรู้ได้ นี่ปัจจัตตัง ใครจะบอกหรือไม่บอกเรารู้เอง เห็นไหม มันว่างหมด มันปล่อยหมด ๔ วัน ๕ วัน มีความสุขมาก แล้วมันถลำไป เห็นเป็นแสงเป็นต่างๆ ต้องดึงกลับแล้ว ดึงกลับมา
ไอ้ที่ผลมันจบมันคือจบแล้ว สิ่งที่พิจารณาอสุภะมันปล่อยหมดแล้ว แล้วทีนี้พอมันปล่อยแล้ว นั่นคือเหตุและผลจบแล้ว จบหมายความว่ามันปล่อยวางหมดแล้ว นี่กำลังมันเป็นแบบนี้ แล้วพอจิตมันปล่อยแล้วมันยังไม่ถึงที่สุดมันก็อยู่ของมันอย่างนี้ แล้วมันออกรู้ ออกรู้มันขึ้นไป แล้วออกรู้ไป เห็นไหม แล้วทำอย่างไรต่อไปล่ะ? ก็ต้องกลับมา กลับมาที่ผู้รู้ กลับมาที่พุทโธ ถ้ามีกำลังอีกเดี๋ยวก็เห็นกายอีก ต้องเห็นกายอีก เห็นเวทนา เห็นจิตอีก แล้วพิจารณาต่อซ้ำไปๆๆ มันจะพัฒนาขึ้นไป
ถ้าเราคิดว่าพิจารณาแล้ว ปล่อยแล้วคือจบแล้ว...คนคิดกันอย่างนี้มันถึงเสื่อมหมดไง คิดว่าพิจารณาแล้ว ปล่อยวางแล้ว พอปล่อยวางแล้วมันชั่วคราว มันต้องซ้ำอีก เหมือนเด็ก เด็กป้อนอาหารมันแล้ว มันต้องพัฒนาของมันจะโตขึ้นมา ต้องหาอาหารที่ดีขึ้นมาให้มันกิน พอมันโตขึ้นมามันต้องใช้สารอาหารมากขึ้น เราก็ต้องให้อาหารที่มากขึ้น เด็กเล็กๆ เขาก็กินอาหารเล็กน้อย พอโตขึ้นมามันต้องเพิ่มอาหารมากขึ้น เพราะร่างกายมันต้องการสารอาหารมากขึ้น ก็ต้องมากขึ้น
จิตใจถ้ามันยังอ่อนแออยู่ มันทำขึ้นมา พิจารณามามันปล่อยแล้ว เห็นไหม ต่อไปมันต้องมีกำลังมากกว่านี้ มันจะปล่อยกิเลสหนักกว่านี้ มันต้องทำงานมากกว่านี้ สมาธิก็ต้องดีกว่านี้ สติก็ต้องดีกว่านี้ ต้องพัฒนาขึ้นไปเป็นชั้นๆ ขึ้นไป จนถึงที่สุด ปัจจัตตังรู้จำเพาะตน แล้วมันจะรู้ของมันตามความเป็นจริงของมัน อันนี้มันถึงว่าในภาคปฏิบัติมันจะรู้ได้ ถ้ารู้ได้ก็เป็นความจริง เป็นความจริงมันก็จบปัญหา จะเชื่อหรือไม่เชื่อ จะจริงหรือไม่จริง คนที่ปฏิบัติ เห็นไหม นี่เวลากรรมฐานเขาเชื่อเขาเชื่อกันที่นี่ เขาลง เขาลงกันที่นี่ ลงกันที่ความจริงกับความจริงมันเป็นอันเดียวกัน เอวัง