ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ว่างแล้ววาง

๒๑ ต.ค. ๒๕๕๕

 

ว่างแล้ววาง
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๕
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ข้อ ๑๑๘๕. เนาะ

ถาม : ๑๑๘๕. เรื่อง “วางอย่างใดคือวาง” (เขาบอกวางอย่างใดคือวางนะ)

ผมศรัทธาในข้อวัตรปฏิบัติ และคำสอนของครูบาอาจารย์สายท่านพระอาจารย์มั่นมาก บังเอิญกัลยาณมิตรท่านหนึ่งได้แนะนำให้ผมฟังเทศน์ของพระอาจารย์ ผมฟังดูแล้วรู้สึกกินใจมาก ทำให้อยากขอโอกาสให้พระอาจารย์ช่วยแนะนำสั่งสอน เพื่อการปฏิบัติใจเป็นไปอย่างที่ถูก ที่ควร จึงขออนุญาตถามข้อสงสัยเป็นข้อๆ ดังนี้ครับ

๑. ผมมีความรู้สึกว่าการคิดหาเหตุผลเรื่องอะไรเป็นเรื่องๆ ไป เช่นคิดว่าความทุกข์และเหตุมาจากอย่างไร? ตัวเราคืออะไร? หรือแม้กระทั่งขณะคิดตาม เมื่อได้ฟังหรืออ่านธรรมะของครูบาอาจารย์ เมื่อคิดอย่างต่อเนื่องไประยะหนึ่งใจก็สามารถเป็นสมาธิได้ ข้อนี้ผมทำได้ถูกต้องหรือไม่ อย่างไรครับ และควรทำอย่างไรต่อไปครับ

๒. ระยะหลังนี้ผมคิดพิจารณาว่า การวางควรจะเป็นอย่างไร? ผมเริ่มสงสัยว่าการวางที่ผมเข้าใจมาตลอดคือไม่สนใจ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งนั้นยังไม่ใช่การวางที่แท้จริง ตอนนี้ผมคิดว่าการวางไม่ใช่อาการทางกายอย่างที่ผมเข้าใจ แต่น่าจะเป็นอาการทางใจ ที่ใจไม่วุ่นวายไปกับสิ่งนั้น แม้ว่าสิ่งนั้นจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม ส่วนอาการทางกายอาจจะยังต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งนั้น หรืออาจจะไม่ต้อง อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับการเลือกของบุคคล ข้อนี้ถูกต้องหรือไม่ครับ

๓. ผมสังเกตว่าตัวเองไม่ค่อยให้ความสนใจกับเรื่องของคนอื่นเลย ส่วนหนึ่งเพราะผมเห็นว่าเรื่องของคนอื่นมาจากความคิดของคนๆ นั้น เราไปแก้ความคิดเขาไม่ได้ เราควรระวังใจเรา ความคิดเราเองไว้ก่อน แต่มาพักหลังนี้ผมเริ่มกังวลว่า คิดแบบนี้ผมจะเป็นคนเห็นแก่ตัวเกินไปหรือเปล่า แต่ในทางกลับกัน หากเราแสดงความสนใจโดยที่ใจเราไม่สนใจ เราจะกลายเป็นคนไม่จริงใจหรือเปล่า จึงขอคำแนะนำว่าเรื่องของตัวเอง เรื่องของคนอื่นควรจะจัดการอย่างใดจึงจะพอดีครับ

ตอบ : เสียดายเพราะเขาเรียนอยู่ต่างประเทศ จะกลับมาอีกตั้งหลายปี อยากกลับมากราบอาจารย์ ตอนนี้เรียนอยู่ต่างประเทศ เออ ฉะนั้น สิ่งที่เขาสนใจนะ เขาปฏิบัติอยู่ ขณะที่เรียนอยู่คนเรามีความคิด มีคนแนะนำให้เขามาฟังในเว็บไซต์ แล้วเขาก็ฟังเว็บไซต์อยู่ แล้วเขาปฏิบัติอยู่เขาก็เทียบเคียงเข้ามา เทียบเคียงเข้ามาว่ามันจะเป็นจริงไหม? แล้วปฏิบัติไป คนที่ปฏิบัติมันก็เข้าใจได้ รู้ได้โดยคิดว่าตัวเองเป็นไปได้

อย่างเช่นข้อที่ ๑. บอกว่า

ถาม : ผมมีความรู้สึกว่า การคิดหาเหตุผลเรื่องอะไรเป็นเรื่องๆ ไป เช่นคิดว่าความทุกข์มาจากสาเหตุอันใด ตัวเราคืออะไร หรือแม้กระทั่งความคิดติดตามเรื่องที่ได้ฟังครูบาอาจารย์

ตอบ : อันนี้ถ้าเราคิดอย่างนี้ เขาคิดมันเป็นการปล่อยวาง เป็นการปล่อยวาง ถ้าคิดอย่างนี้ นี่ถ้าปัญญาอบรมสมาธิมันเป็นแบบนี้ ถ้าอบรมสมาธิ ทำไมถึงเป็นปัญญาอบรมสมาธิล่ะ? ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิหมายถึงว่ามันมีสติ เห็นไหม นี่เราคิดหาเหตุผลเป็นเรื่องๆ ไป ถ้าเราคิดหาเหตุผลเป็นเรื่องๆ ไป สติมันตามเรื่องนั้นไป มันไม่คิดไปนอกเรื่อง

สิ่งที่เวลาเราพุทโธ พุทโธ เห็นไหม ถ้าใครกำหนดพุทโธ มีคำบริกรรมพุทโธ พุทโธนี่พุทธานุสติ ให้จิตนี้มันเกาะอยู่ที่พุทโธไว้ พุทโธ พุทโธ พุทโธ ถ้าพุทโธจริงๆ นะมันไม่คิดไปนอกเรื่อง มันจะคงที่ของมัน มันจะคงตัวของมัน ถ้าคงตัวของมันนะ มันทรงตัวของมันได้ ถ้ามันละเอียดเข้ามาๆ มันเป็นสมาธิได้

ถ้าเราคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยที่มีสติ มันคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มันคิดอย่างนั้นมีสติตามไป แต่ส่วนใหญ่ที่อารมณ์ความรู้สึกของเรา ที่เราเป็นอารมณ์ที่เราคิดของเรามันคิดต่อเนื่อง อย่างเช่นเราดูหนัง ดูละคร หรือเราคิดเรื่องอะไรต่างๆ ไปมันคิดต่อเนื่องๆ จบเรื่องหนึ่ง ต่อเรื่องหนึ่ง จบเรื่องหนึ่ง ต่อเรื่องหนึ่งไง คิดเรื่องนี้เสร็จจะต่อเรื่องนั้น คิดเรื่องนี้เสร็จต่อเรื่องนั้น มันต่อไปเรื่อยๆ

แต่คิดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ถ้าคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ถ้าอยู่กับมัน อยู่กับมันถ้ามีสติอยู่ มีสติตามความคิดนั้นไป นี่ความคิดเรื่องต่างๆ ไป ถ้าคิดต่างๆ ไปใจนี่สามารถเป็นสมาธิได้ เขาบอกใจของเขาสามารถเป็นสมาธิได้ คือสามารถปล่อยวางได้ ถ้าเขาปล่อยวางได้ แต่ถ้ามันขาดสตินะมันวาง มันวางแบบไม่มีสติ มันวางแล้วมันไม่คิดต่อไง มันวางไม่คิดต่อ ดูสิเราต้มน้ำหรือเราทำสิ่งใดก็แล้วแต่ ถ้าไฟมันอุณหภูมิไม่พอ มันอยู่แค่นั้นแหละมันไม่สุก คือมันไม่สุก มันไม่สำเร็จไปได้

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราคิดนะ ถ้าเราคิดโดยขาดช่วง โดยที่สติมันไม่ตามไปมันขาดช่วง มันขาดช่วงมันไม่สามารถลงสู่สมาธิที่ลึกได้ไง มันวางไว้เฉยๆ วางแบบโลกๆ วางแบบโลกๆ แต่ถ้าสติตามไปมันจะเป็นปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าหาเหตุผลเป็นเรื่องๆ ไป มันมีได้นะถ้าปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าปัญญาอบรมสมาธิ ข้อที่ ๑ นี่ใช้ได้เลย ใช้ความคิดไป

ความคิดเป็นปัญญา ถ้ามีสตินะ แต่ถ้าขาดสติความคิดนี่เป็นโลก ความคิดเป็นโลกเพราะมันคิดโดยสัญชาตญาณ แต่ถ้าความคิดมีสติเขาเรียกมีปัญญา มีปัญญาเพราะอะไร? เพราะมีสติ พอมีสติ มีความรับรู้มันมีความรับผิดชอบ นี่มันก็เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา มันเป็นสิ่งที่มีกรอบ มีระเบียบขึ้นมา มันก็เป็นปัญญา แต่ถ้าความคิดของเรานี่เป็นปัญญาไหม? ความคิดมันเป็นปัญญาไหม? มันคิดไปไม่มีขอบเขต พอมันคิดไม่มีขอบเขตเป็นโลก เป็นโลกหมายความว่ามันมีตัณหาความทะยานอยาก ตัณหาคือความอยากได้ อยากดีไม่มีขอบเขตมันคิดเลยไป นี่เป็นสมุทัย

สมุทัยคือมันล้นฝั่ง แต่ถ้ามันมีสติ เห็นไหม มีสติมันมีขอบเขต พอมีขอบเขตขึ้นมา ถ้ามันหดตัวเข้ามามันมีขอบเขต มันหดตัวเข้ามาคือมันปล่อยเข้ามา ปล่อยเข้ามาถึงตัวจิต ตัวจิตมีสติอยู่มันรู้ได้ มันชัดเจนมากเลย แต่ถ้าขาดสติมันปล่อย ขาดสติมันปล่อยเหมือนกัน แต่มันไม่มีผู้ดูแล ไม่มีผู้รับผิดชอบ พอไม่มีผู้รับผิดชอบ สัมมาสมาธิคือจิต คือสมาธิที่มีสติที่รับผิดชอบ มีสติรับผิดชอบปั๊บ ถ้ามันละเอียดเข้าไปๆ พอมันคลายออกมามันก็รับรู้ว่าคลายออกมา คือมันเสื่อมออกมา แต่ถ้ามีสติ สตินี่มันจะเริ่มรำพึง รำพึงให้สมาธิให้ฝึกหัดใช้ปัญญา

ถ้าปัญญาที่เกิดจากสัมมาสมาธินะ ปัญญาอย่างนี้ปัญญาที่มันจะเข้าสะเทือนกิเลส แต่ถ้ามันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ ผลของมันคือสมาธิ แต่ถ้ามันเป็นปัญญาที่ชำระล้างกิเลส ผลของมันคือชำระล้างกิเลส มันคนละขั้นตอนกัน มันคนละขั้นตอนหมายความว่ามันเป็นโลกียปัญญากับโลกุตตรปัญญา ปัญญาเป็นโลกกับปัญญาเป็นธรรม ถ้าปัญญาเป็นโลกคือโลกียปัญญา ปัญญาโลก ถ้าเป็นโลกุตตรปัญญานี่ปัญญาธรรม

ปัญญาโลก ปัญญาธรรมมันก็เกิดจากจิตดวงเดียวกันนั่นแหละ เกิดจากความรู้สึกเรานี่แหละ แต่ถ้ามันขาดสติ เห็นไหม ขาดสติความรับผิดชอบมันไม่มี มันก็เป็นปัญญาโลกเพราะเกิดจากสัญชาตญาณ เกิดจากธรรมชาติของมัน แต่ถ้ามีสติ มีสติดูแลรักษาอยู่จนมันสงบเข้ามา มีสติรับรู้ มีผู้บริหาร มีผู้จัดการ ถ้ามันเป็นปัญญาธรรม ธรรมเพราะอะไร? ธรรมเพราะจิตมันมีอวิชชา

จิตเรามันทุกข์ มันยากใช่ไหม? จิตมันเวียนตายเวียนเกิดใช่ไหม? จิตนี้มันมีกิเลสใช่ไหม? จิตนี้มันลุ่มๆ ดอนๆ ใช่ไหม? จิตนี้โดนกิเลสบังคับใช้ใช่ไหม? จิตนี้มันโดนกิเลสขับไสไป แต่ถ้ามีสติมันย้อนกลับหมดเลย ย้อนกลับเพราะอะไร? เพราะมันจะเข้ามาชำระล้างตัวมันเอง ถ้ามีสติ เห็นไหม มีสติปั๊บเราควบคุมได้ นี่ทวนกระแสได้ ทวนกระแสเข้าไปสู่ฐีติจิต ทวนกระแสเข้าไปสู่ต้นตอของจิต ทวนกระแสเข้าไปสู่ตัวเอง

นี่ไงมันถึงเป็นธรรม เป็นธรรมเพราะอะไร? เพราะจิตมันเวียนตายเวียนเกิด ถ้าจิตเวียนตายเวียนเกิด การเกิดและการตายเป็นปัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาสำคัญที่สุดคือการเกิดและการตาย นี่เห็นไหม เราเกิดมาแล้ว เราเกิดมาเป็นมนุษย์ แล้วถ้าตายล่ะ? ตายก็จบ นี่ปัญหามันคือการเกิดและการตาย ที่ไหนมีการเกิด ที่นั่นมีการตาย ฉะนั้น อารมณ์มันเกิดล่ะ? อารมณ์มันเกิด เห็นไหม มันเกิดโดยสัญชาตญาณของมัน เกิดโดยธรรมชาติของมัน แต่เราไม่รู้ไม่เห็น แต่ถ้ามีสติขึ้นมา สติเราควบคุมดูแล เราบริหารจัดการมันแล้ว ถ้ามันวางมันก็วางได้ ถ้าวางอย่างนี้ ถ้าเราพิจารณาของเรามันเป็นปัญญาอบรมสมาธิได้

นี้ข้อที่ ๑ นะ นี่ข้อที่ ๑ เป็นได้ แล้วตั้งสติ แล้วพิจารณาของเราไป แต่ปัญหามันเกิดขึ้นข้อที่ ๒ นี่ไง ปัญหาข้อที่ ๑ คือบรรทัดฐาน เขาบอกว่า

ถาม : ผมมีความรู้สึกว่าการคิดหาเหตุผลเป็นเรื่องๆ ไป เช่นคิดว่าความทุกข์สาเหตุมาจากอะไร ตัวเราคืออะไร หรือแม้กระทั่งขณะคิดตาม เมื่อได้ฟังหรืออ่านธรรมะของครูบาอาจารย์ เมื่อคิดอย่างต่อเนื่องไประยะหนึ่ง ใจก็สามารถเป็นสมาธิได้ ข้อนี้ผมทำมาได้ถูกต้องหรือไม่อย่างไรครับ

ตอบ : ข้อที่ ๑ โดยบรรทัดฐานอย่างนี้ใช้ได้ ถูกต้อง ถ้าทำแล้วทำต่อเนื่อง ทีนี้พอถูกต้องแล้ว พอมันเริ่มสงสัย เริ่มต่างๆ มันก็จะเริ่มไขว้เขว แต่ถ้ามันทำของมันโดยสติปัญญา โดยความมั่นคง ทำต่อไปมันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ แล้วถ้าเกิดสมาธิ ถ้าเกิดใช้ปัญญามันจะเป็นโลกุตตรปัญญา นี่ข้อที่ ๑ โดยบรรทัดฐานถูกต้อง แต่ปัญหามันมาเกิดข้อที่ ๒

ถาม : ๒. ระยะหลังนี้ผมคิดพิจารณาว่าการวางควรจะเป็นอย่างใด ผมเริ่มสงสัยว่าการวางที่ผมเข้าใจมาตลอดคือไม่สนใจ

ตอบ : คำว่าไม่สนใจคือว่ามันขาดสติ ไม่สนใจคือไม่สนใจ ไม่รับผิดชอบ ไม่ดูแล นี่ผิดแล้ว คำว่าไม่สนใจคือเหม่อลอย คำว่าไม่สนใจ เห็นไหม คนที่แบบว่าเวลาเขาเหม่อเขาลอยของเขา เขาไม่รับผิดชอบอะไร เขาก็ว่างๆ ของเขา มันต้องสนใจ ถ้าไม่สนใจนี่ผิด

ถาม : การวางที่ผมเข้าใจมาตลอดคือไม่สนใจ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งนั้นยังไม่ใช่การวางที่แท้จริง ตอนนี้ผมคิดว่าการวางไม่ใช่การวางทางกายอย่างที่ผมเข้าใจ แต่น่าจะเป็นอาการทางใจที่ใจไม่วุ่นวายกับสิ่งนั้น แม้ว่าสิ่งนั้นจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้น ส่วนอาการทางกายอาจจะยังต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งนั้น หรืออาจจะไม่ต้อง อันนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกของบุคคล

ตอบ : มันเกี่ยวอยู่แล้วกายกับใจ เวลาเกิดมาเป็นมนุษย์มีกายกับใจ ถ้าร่างกาย ซากศพคือร่างกาย คนตายปั๊บ ซากศพใน ๒๔ ชั่วโมงมันยังไม่แข็ง ๑๒ ชั่วโมงนู่น ถ้าจิตออกจากร่าง ๑๒ ชั่วโมงเริ่มแข็งแล้ว ถ้าแข็งแล้วมันก็เป็นท่อนฟืนแล้ว แต่ถ้ามันมีความรู้สึกอยู่ ถ้ามีจิตอยู่ นี่กายกับใจมันอาศัยเกี่ยวเนื่องกัน

ฉะนั้น สิ่งที่ว่าอาศัยเกี่ยวเนื่องกัน เพราะเราเกิดเป็นมนุษย์มีกายกับใจ ฉะนั้น เวลากายกับใจเราต้องรับผิดชอบร่างกายนี้ ฉะนั้น กระทบกระเทือนมันเกี่ยวเนื่องกัน มันส่งต่อผ่านกันได้ แต่ แต่เรื่องของกายมันเป็นเรื่องธาตุ เรื่องสถานะที่จิตมันมาอาศัยร่างกายนี้ตั้งแต่อุบัติในครรภ์ของมารดา แล้วมันก็เจริญเติบโตขึ้นมา จนคลอดออกมาจนเป็นเรา แล้วพอเราสิ้นอายุขัยจิตก็ไปเกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม เป็นทิพย์ ถ้าเกิดนรกอเวจีล่ะ? เกิดเดรัจฉานล่ะ?

ฉะนั้น กายกับใจมันเกี่ยวเนื่องกัน แต่ แต่ร่างกายมันแค่เป็นที่อาศัยชั่วคราว แต่จิตมันเกี่ยวเนื่องที่จะต่อไปภพหน้าต่อไป ถ้าภพหน้าต่อไป ถ้าแก้ไขมันต้องแก้ไขกันที่ใจ ถ้าแก้ไขกันที่ใจ แล้วใจมันอยู่ไหนล่ะ? ใจมันปฏิสนธิจิต เวลามาเกิดเป็นเรา พอเกิดเป็นเรา ถ้าเราเกิดมามีบุญวาสนา เกิดมาพบพุทธศาสนาแล้วเราสนใจในการปฏิบัติเราก็จะเริ่มปฏิบัติ

ถ้าปฏิบัติไป เวลานั่งนะ นั่งสมาธิทั้งคืนๆ เดินจงกรมมันเดินด้วยอะไร? ก็เดินด้วยกายทั้งนั้นแหละ มันต้องเอาร่างกายนั่ง เอาร่างกายเดิน แต่ไม่ได้เอาร่างกายนั่ง เอาร่างกายเดินเพื่อเอาร่างกายนี้ให้มันสมบูรณ์แบบ ร่างกายนี้ทางโลกว่าร่างกายนี้เป็นเรื่องของร่างกาย เรานั่ง เราเดินเพื่อจิตสงบ เห็นไหม เรานั่ง เราเดินเพื่อความสงบของใจ ทีนี้ความสงบของใจ จิตนี้มันเร็วมาก ร่างกายจะวิ่งเร็วขนาดไหนมันก็แค่นั้นแหละ แต่ถ้าเวลาความคิดมันพุ่งไปไกลกว่านั้นอีก

ฉะนั้น เราต้องเอาความคิดเราให้หยุดนิ่ง ถ้าความคิดเราหยุดนิ่ง เวลามันหยุดมันหยุดที่ใจ ถ้าใจมันหยุดนิ่ง สิ่งที่เคลื่อนที่ที่เร็วที่สุด พอหยุดนิ่งมันจะมีพลังของมันมาก พลังคืออะไร? พลัง เห็นไหม ดูสิเข้าฌานสมาบัตินี่เหาะเหินเดินฟ้าได้นะ รู้วาระจิตของคนได้ รู้ความรู้สึกเคลื่อนไหวของจิตคนอื่นได้ อันนั้นเรื่องของใจทั้งนั้นเลย

ฉะนั้น สิ่งที่คำว่า

ถาม : การวางของผมที่เข้าใจมาตลอดคือการไม่สนใจ

ตอบ : นี้เข้าใจผิดเต็มๆ เลยล่ะ มันต้องสนใจ อย่างเช่นข้อที่ ๑ เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เราคิดหาเหตุหาผลในเรื่องใด คิดหาเหตุหาผลนั้นเป็นนามธรรม คิดหาเหตุหาผลมันก็เรื่องของใจทั้งนั้นแหละ ถ้าโดยวิทยาศาสตร์เขาคิดโดยสมอง คิดโดยเราคิดกันเอง อันนั้นเป็นที่ว่าเราคิดโดยวิทยาศาสตร์ แต่วิทยาศาสตร์มันก็พิสูจน์ทางพุทธศาสตร์ พุทธศาสตร์ว่าจิตมันเป็นอย่างไร วิถีแห่งจิต เห็นไหม มันตกภวังค์ออกจากเริ่มกำหนดคิดขึ้นมาจากฐีติจิตมันออกมาอย่างไร

นี่อภิธรรมอธิบายไว้หมด นี้อธิบายนี่อธิบายโดยความเห็นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราก็ได้ทางวิชาการมา มันก็ทางวิทยาศาสตร์อีกแหละ แต่ถ้าเป็นความเห็นของเรานะ ถ้าจิตสงบเข้ามามันจะรู้ของมัน แล้วถ้าจิตมันตามทันมันจะเห็นอาการของมัน ถ้าเห็นอาการของมัน มันจะบอกว่าคำว่าไม่สนใจยกทิ้งเลย มันกลับเป็นการสนใจเพราะมันเห็นสิ่งที่มหัศจรรย์ไง มันเห็นสิ่งที่มันฟุ้งซ่าน มันฟุ้งซ่านมาก มันทำไมฟุ้งซ่านมาก เวลาสงบมันสงบได้อย่างไร? เวลามันคิดมันคิดได้อย่างไร?

ฉะนั้น มันต้องสนใจ คำว่าสนใจ นี่สติคือความระลึกรู้ ถ้าปัญญาที่เกิดจากสติ เกิดจากความรู้สึกนึกคิดมันเป็นวิถีแห่งจิต คืออาการของจิต แล้วถ้าจิตมันปล่อยวาง ปล่อยวางอาการแล้วมันเข้ามาเป็นตัวมันอย่างไร? ถ้าสนใจมันจะรู้จะเห็นอย่างนี้ นี่ถ้าปัญญาอบรมสมาธิมันจะรู้เห็นอย่างนี้เลย ถ้ารู้เห็นจิตมันสงบแล้ว จิตมันเสวยอารมณ์ จิตที่มันเริ่มต้นจากความรู้สึกที่มันจะคิดอย่างไร แล้วมันคิดในอะไร อะไรที่มันเสวย อะไรที่มันเป็นที่อาศัย

อย่างเช่นพุทโธ พุทโธให้มันเกาะไว้คือให้มันอาศัย พุทโธ พุทโธ พุทโธ หรือปัญญาอบรมสมาธิมันอาศัย แล้วถ้ามันปล่อยเข้ามาล่ะ? เห็นไหม พุทโธจนพุทโธไม่ได้เลย เราอาศัยพุทโธอยู่ เวลาพุทโธจนพุทโธไม่ได้จิตมันอยู่ได้อย่างไร? นี่ปัจจัตตังมันจะรู้ของมัน

ฉะนั้น สิ่งที่ว่า

ถาม : ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งนั้น นั่นไม่ใช่อาการวางที่แท้จริง

ตอบ : อันนั้นเราไปสนใจ เห็นไหม มันว่างไง ถ้าว่างมีสติมันว่าง ว่างแล้วมันจะวาง ถ้ามันวางของมันนะ มันว่างมันยังวางไม่ได้ วางไม่ได้เพราะอะไร? เพราะมันไม่มีเหตุมีผลให้วาง เราจะวางอะไร? เราจะวางอะไร? เราว่างแล้วเราจะวางอะไร? เราวางไม่ได้หรอก นี่ถ้ามันวางได้มันก็ปฏิเสธไงว่าไม่มี มันวางด้วยการปฏิเสธ วางด้วยการไม่รับรู้ วางด้วยการไม่สนใจ นี่เพราะจิตมันมหัศจรรย์นะ พอมันว่างของมัน มันคิดหมดแล้ว มันคิดมันวางแล้ว มันวางหมด

หลวงตาบอก “ว่างข้างนอก ไม่ว่างข้างใน”

ว่างข้างนอกเราฟุ้งซ่านไปข้างนอก เราไปคิดเรื่องข้างนอก พอเราวางจากข้างนอกมันไปติดข้างใน ติดตัวเราเอง นี่เราพุทโธ พุทโธมันว่างหมดเลย วางพุทโธหมด พุทโธจนพุทโธไม่ได้เลย แล้วมันวางไหม? มันปล่อยวางมาจากข้างนอก แต่ตัวมันเองข้างในมันเต็มตัวมันไง นี่ภพ ภวาสวะ ตัวมันทั้งตัวเลย จิตเดิมแท้นี้ผ่องใสคือตัวมันชัดๆ เลย ตัวภพ ตัวชาติมันจะวางอย่างไร? มันวางไม่ได้ ถ้าวางไม่ได้ วิธีการวางมันต้องวิปัสสนา วิปัสสนาในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม ถ้าเวทนาในกายพิจารณาเพื่ออะไร? เพื่อให้มันปล่อยวางอย่างไร?

ถ้ามันพิจารณาไปแล้ว มันพิจารณาจนหมด มันจับต้องมันได้ มันพิจารณามันได้ ถ้ามันว่างแล้วมันจะวาง มันวางมันมีเหตุผลอีกขั้นตอนหนึ่ง ถ้ามันจะวาง วางตามความเป็นจริงนะ ถ้ามันพิจารณา มันว่าง ว่างเสร็จแล้วมันจับ ว่างปั๊บมันเป็นนามธรรม เพราะจิตนี้เป็นนามธรรม จิตที่เป็นนามธรรม เวลามันจับกาย เวทนา จิต ธรรม จิตจับที่เป็นนามธรรม ถ้าเป็นรูปธรรมล่ะ? รูปธรรมทางการแพทย์ เห็นไหม เขาผ่าตัด เขาเปลี่ยนหัวใจก็เปลี่ยนอวัยวะ เขาเห็นกายไหม?

นี่เขาเห็นกายสิ เขาเห็นกายด้วยตาเนื้อของเขา ด้วยวิทยาศาสตร์ของเขา เพราะเวลาเขาเปลี่ยนหัวใจนี่นะ ดูสิกว่าเขาจะเปลี่ยนหัวใจได้เขาต้องต่อเส้นเลือด ต่อต่างๆ เขาเปลี่ยนตับ เปลี่ยนไต เขาเปลี่ยนของเขา ทำไมเขาเปลี่ยนของเขาได้ล่ะ? นี่แล้วเขาเห็นกายไหม? เขาเห็นกายเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นทางการแพทย์ เป็นทางการโลก แต่ถ้าจิตมันสงบเข้ามา เวลามันเห็นกาย เห็นกายมันเห็นโดยตาของใจ ใจมันเห็นกายนะ มันพิจารณา มันเห็นกายขึ้นมาแล้วพิจารณาเป็นปัญญา ปัญญามันจะแยกแยะของมัน มันจะทำลายของมัน เวลามันปล่อยวางของมัน นั่นมันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง อันนี้แหละมันถึงจะวางได้จริง

ถ้าวางได้จริง เห็นไหม เวลาสังโยชน์มันขาดนี่มันขาดเลย นี่วางแท้คืออกุปปธรรม คือมันขาดเป็นชั้นเป็นตอนเข้ามา ว่างแล้วมันวางไม่ได้หรอก ว่างคือสัมมาสมาธิ แล้วสัมมาสมาธิมันจะเข้าใจอย่างไรให้มันวาง แล้วเวลามันวาง วางแล้วนี่วางชั่วคราว ตทังคปหาน นี่จับต้องได้ วางได้ วางได้ตทังคปหาน ไม่สมุจเฉท เดี๋ยวมันก็เกิดอีก เพราะมันเป็นนามธรรม ความคิดมันเกิดดับๆๆ ความคิดเกิดดับเพราะอะไร? เพราะมันมีสังโยชน์ มันมีกิเลสร้อยรัด พอมีกิเลสร้อยรัดมันก็เกิดดับ แต่พิจารณานี่พิจารณาเพื่อละสังโยชน์ เพื่อทำลาย ทำให้มันขาดไป พอมันขาดไป พอมันขาดไปแล้วสิ่งที่มันเกี่ยวเนื่องกันไม่มี สิ่งที่เกาะเกี่ยวกันไม่มี ไม่มีมันจะเกิดอีกไหม? นั่นล่ะวางที่แท้จริง ว่าง ว่างมันเป็นส่วนหนึ่ง แล้วมันจะวางได้มันต้องมีการกระทำของมัน

ฉะนั้น คำที่เขาบอกว่า สิ่งที่เขาเข้าใจเพราะมันเป็นเรื่องของกาย เห็นไหม วางที่กาย แล้วคราวนี้เริ่มเข้าใจแล้วว่ามันเป็นเรื่องของใจแล้ว สิ่งที่วางมาเพราะไม่สนใจมัน ไม่สนใจก็ได้ ไม่สนใจปฏิเสธมัน มันก็ไม่มี ไม่มีเพราะการปฏิเสธ แต่ความจริงมันมี แต่ถ้าความจริงมันมี มันมีอยู่แล้ว ไม่มีก็ไม่มีชีวะ ไม่มีก็คือไม่มีชีวิต

ชีวิตนี้มีมาจากไหน? นี่มันเป็นนามธรรมที่มันปฏิสนธิในครรภ์มันมาจากไหน? มันมาจากไหนนั่นล่ะคือตัวต้นเหตุ พอต้นเหตุมันมาเกิดในครรภ์ มันก็เกิดมาเป็นมนุษย์ นี่มันเป็นเราแล้ว ถ้าเราพิจารณาของเราไป หรือเราทำของเราด้วยความไม่ถูกต้อง ต่อไปข้างหน้ามันจะไปดับ คือมันจะไปหมดอายุขัย พออายุขัยจิตมันก็จะออกไป มันจะไปเกิดใหม่ แต่ร่างกายก็ทิ้งไว้นี่ เผา ฝัง จบ แต่จิตมันไม่จบ มันไปอีก

นี่ผลของวัฏฏะ ภพชาติมันหมุนเวียนอย่างนี้ ฉะนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงมาประพฤติปฏิบัติอย่างนี้ ทำอย่างนี้เพื่อประโยชน์กับจิตขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะนิพพานนะ บอกว่า

“อานนท์ เราเอาแต่ธรรมของเราไป เราไม่ได้เอาธรรมของใครไปเลย”

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ พร้อมสมบูรณ์แล้ว เสร็จแล้วสละราชสมบัติมา ไปรื้อค้นอยู่ ๖ ปี จนตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่ธรรมแท้ นี่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเผยแผ่ความรู้จริงอันนี้อีก ๔๕ ปี ๘๐ ปีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานไป นี่เอาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไป

สิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารื้อค้นมา ๖ ปี แล้วปฏิบัติจนถึงสิ้นสุดแห่งทุกข์ เอากิริยาอันนั้นน่ะ เอาวิชาการอันนั้นน่ะวางไว้ เผยแผ่ไว้เป็นทางวิชาการให้เราได้ศึกษา ให้เราได้มีการกระทำ ถ้าเราทำได้จริงเราก็จะวางจริง ถ้าเราทำไม่ได้จริง มันว่างเห็นไหม นี่มันคิดว่าเราปล่อยวาง วางอย่างไรจะเป็นวางที่แท้จริง อันนี้มันวางไม่แท้จริง เพราะการวางไม่แท้จริงเราศึกษาโดยการสัญญาไงว่าจะทำให้เหมือน ทำให้เป็นอย่างนั้น แต่มันยังไม่เป็นจริง ถ้าเป็นจริงนี่ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิบัติเป็นจริงขึ้นมามันจะเป็นอันเดียวกัน

ฉะนั้น สิ่งที่บอกข้อที่ ๑ ถูกต้องไหม? ถูกต้อง เป็นปัญญาอบรมสมาธิ ข้อที่ ๒ คือการปฏิบัติของเราไป เริ่มต้นการปฏิบัติด้วยความเข้าใจว่าการวางคือวางที่ร่างกาย คือวางที่วัตถุ วางสิ่งที่เรารับรู้ได้ ฉะนั้น เราคิดว่าสิ่งนี้คือการวาง ทีนี้พอการวางไปแล้วมันวางแล้วเดี๋ยวมันก็เกิดอีก ฉะนั้น มีความสงสัยถึงถามว่า สิ่งที่เขาเข้าใจว่าวางที่ร่างกาย วางที่วัตถุนั้นคือไม่น่าจะเป็นจริงแล้วล่ะ คือต้องวางทางใจใช่ไหม? ใช่

นี่ก็เหมือนกัน การวางทางใจนี่วางอย่างใด? วางอย่างใดก็วางด้วยการใช้ปัญญา ปัญญาที่เกิดจากสัมมาสมาธิมันก็เป็นมรรค ถ้าเป็นมรรค มีการแก้ไขแล้วมันก็จะประสบความสำเร็จ นี้เป็นข้อที่ ๒

ถาม : ๓. ผมสังเกตเห็นว่าตัวเองไม่ค่อยให้ความสนใจกับเรื่องของคนอื่นเลย ส่วนหนึ่งเพราะผมเห็นว่าเรื่องของคนอื่นมาจากความคิดของคนๆ นั้น เราไปแก้ไขความคิดเขาไม่ได้ เราควรจะวางใจของเรา คิดเอาเองไว้ก่อน แต่มาพักหลังนี้เริ่มมีความกังวลว่า ถ้าคิดแบบนี้จะเป็นคนเห็นแก่ตัวเกินไป

ตอบ : นี่เวลาเราคิด เห็นไหม เราคิดนี่กึ่งๆ ครึ่งๆ กลางๆ ไปทั้งหมดเลย เพราะมีความคิดกันแบบนี้ถึงได้คิดกัน แล้วทางโลกบอกว่าพระเวสสันดรเห็นแก่ตัวมาก เวลาเขามาขอก็ให้กัณหา ชาลีไป ให้ลูกไป ทำไมไม่ให้ตัวเองไป? พระเวสสันดรเห็นแก่ตัวมาก นี่เราคิด เราคิดกึ่งๆ มันคิดแล้วมันเห็นว่าเป็นเห็นแก่ตัว แต่ในทางธรรมนะ เพราะว่าชูชกขอกัณหา ชาลี ไม่ขอพระเวสสันดร

นี่ชูชกมาขอกัณหา ชาลี ถ้าขอกัณหา ชาลี ความรู้สึกเจ็บช้ำน้ำใจ มันรู้สึกเจ็บช้ำน้ำใจ เพราะอะไร? เพราะพ่อที่ดีจะรักลูกมาก ภัยอะไรที่เข้ามาถึงลูก พ่อจะมาจัดการให้หมดเลย แล้วถึงเวลาเขามาขอลูก เขาไม่ได้ขอพ่อ ขอพ่อ เอาพ่อไปดีกว่า พ่อยังแก้ไขตัวเองได้ นี่เขาไม่เอา เขาจะเอาลูก มันเจ็บช้ำน้ำใจนะ แต่ก็ให้ ให้เพราะอะไร? ให้เพราะต้องการเสียสละ เสียสละถึงที่สุด เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องสละลูก สละเมีย ถ้าไม่สละลูก ไม่สละเมียจะเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ ชาติสุดท้ายต้องเสียสละหมด องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกองค์ต้องเป็นแบบนั้น ถ้าเป็นแบบนั้นขึ้นมา

ฉะนั้น การเสียสละแบบนั้น ถ้าทางโลกเขาบอกว่านี่คือการเห็นแก่ตัว นี่ไงการเห็นแก่ตัวไง แต่ไม่ได้เห็นแก่ตัว เห็นแก่ธรรม เห็นแก่สัจธรรม เห็นแก่โพธิญาณ ถ้าได้โพธิญาณแล้วมันจะเป็นประโยชน์มหาศาล นี่โลกคิดได้แค่นี้เอง โลกยังติดตัวเอง เวลาใครคิดอะไรติดข้องในตัวเรา แต่ถ้ามันไม่ติดข้องในตัวเรา ไม่ติดข้องในตัวเรา ไม่ติดข้องในตัวเขามันจะเห็นสภาวะ นี่ไงธรรมะที่เหนือธรรมชาติมันเป็นแบบนั้น

ฉะนั้น สิ่งที่ว่าเห็นแก่ตัวๆ เพราะเราคิดแบบกึ่งๆ ไง ถ้าเราคิดว่าเราจะเห็นแก่ตัว เราเห็นแก่ตัวเราก็ไม่ต้องปฏิบัติ เราก็อยู่กับโลกเขานี่แหละ โลกเขาทุกข์อย่างไรเราก็ทุกข์อยู่กับเขา ถ้าโลกเขาไม่มีจะกิน แอฟริกาเขาไม่มีจะกิน เราก็ไม่กินด้วย ถ้าเรากินเราเห็นแก่ตัว แอฟริกาเขาไม่มีจะกินนะ แอฟริกานี่น้ำสะอาดเขาไม่เคยได้กินเลย แหล่งน้ำเขาก็ไม่มี สระใหญ่ๆ เขาก็ไม่มี ถ้าเรามากินน้ำสะอาดอยู่นี่เป็นคนเห็นแก่ตัว ทุกคนเห็นแก่ตัวหมด

ฉะนั้น ต้องทำลายหมดเลย น้ำสะอาดเอาขี้โคลนไปใส่ซะมันจะได้ขุ่นๆ เหมือนกัน เราจะได้ไม่เห็นแก่ตัวด้วยกันไง คนเรานี่นะมีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ เวรกรรมมันทำให้เกิดในประเทศอันสมควร เราไปเกิดในประเทศที่สมควร ประเทศที่สมบูรณ์ เกิดในสังคมที่เขาไม่เอารัดเอาเปรียบจนเกินไป นี่เราเกิดในสังคมอย่างนั้น แล้วเวรกรรมของเขา เขาเกิดในสังคมแบบนั้น

นี่เวรกรรมเกิดในประเทศอันสมควรไง ถ้าเขาเกิดอย่างนั้น แล้วเราจะบอกว่ากรรมของคนไม่มี คนเห็นแก่ตัว คนไม่ทำอะไรเลยก็ต้องแบ่งให้เท่ากัน คนที่ขยันหมั่นเพียรเขาต้องแบ่งปันให้ขนาดนี้ ไอ้คนที่นอนทั้งวันเลยแล้วแบ่งปันเท่ากัน มันก็ไม่ใช่ มันอยู่ที่เขาขวนขวายไหม? เขาทำของเขาไหม? เขามีความจำเป็นของเขาไหม? นี่ถ้าสิ่งอย่างนั้นแล้วเราเข้าใจได้ พอเราเข้าใจได้เราไม่มองแบบกึ่งๆ ไง

เราไม่มองแบบกึ่งๆ หมายความว่าถ้าเราอยู่กับโลก เราก็ต้องอยู่กับโลก ต้องเท่าทันโลก ถ้าเราจะประพฤติปฏิบัติเราก็ต้องเท่าทันธรรม เท่าทันหัวใจของเรา โลกกับธรรมอยู่ด้วยกันแต่ไม่เหมือนกัน โลกกับธรรมอยู่ด้วยกันแต่ไม่เหมือนกัน เหมือนกายกับใจ ร่างกายนี้เป็นโลก จิตใจถ้าคนไม่มีหลักมีเกณฑ์มันก็เป็นโลก จิตใจถ้าคนมีหลักมีเกณฑ์มันจะเป็นธรรม ถึงเป็นธรรม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์ แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เป็นมนุษย์ อีก ๔๕ ปีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเผยแผ่ธรรมมาด้วยร่างกายของมนุษย์

ฉะนั้น สิ่งที่โลกกับธรรมมันอยู่ด้วยกัน นี้อยู่ด้วยกัน ถ้าจิตใจเราเป็นโลก เราก็เพลิดเพลินไปกับโลกเขา ถ้าจิตใจที่เป็นธรรม เราอยู่กับโลก แต่เราประพฤติปฏิบัติตัวเราเป็นแบบอย่าง เป็นตัวอย่าง ถ้าเป็นแบบอย่าง เป็นตัวอย่าง เห็นไหม เขาจะบอกเราทำได้อย่างไร? เรามีความเห็นอย่างไรเราถึงทำตัวของเราเป็นแบบนี้ ถ้าเราทำตัวเป็นแบบนี้เขาจะตามเรามาไง เขาจะสนใจเรา เขาจะตามตัวเรา

ฉะนั้น เขาบอกว่า

ถาม : สังเกตเห็นว่าตัวเองไม่ค่อยสนใจความคิดของคนอื่นเลย

ตอบ : ถ้าความคิดของคนอื่นเราก็ดู เราก็เข้าใจ แต่เขาจะเข้าใจเราไม่ได้หรอก นี่เวลาปฏิบัติไปนะ จิตที่สูงกว่าจะดึงจิตใจที่ต่ำกว่าขึ้นมา จิตใจที่เราไม่สูงกว่าเหมือนคนจมน้ำ คนจมน้ำนะเราพยายามจะช่วยเหลือกันในขณะที่เราว่ายน้ำไม่เป็น อยู่ในน้ำจะจมตายกันไปหมดเลย ถ้าเราฝึกหัดว่ายน้ำเราให้เป็น ถ้าเราเคยจมน้ำนะเราจะเอาวัตถุ เอาเชือก เอาต่างๆ ให้เขาเกาะแล้วลากเขาเข้ามา ถ้าเราเข้าไปใกล้คนจมน้ำนะมันจะกอด แล้วทำให้เราจมน้ำไปด้วยกัน

ฉะนั้น ถ้าเราเห็นโทษของคนที่จมน้ำตาย แล้วเราพยายามฝึกฝนเรา เราพยายามปฏิบัติของเรา เราเห็นแก่ตัวไหม? ถ้าเราว่ายน้ำได้ เราว่ายน้ำเป็น แล้วเราไปหาวัสดุ หาเรือ หาแพมาช่วยเหลือคนจมน้ำ คนๆ นั้นเห็นแก่ตัวไหม? แต่ถ้าคนว่ายน้ำก็ไม่เป็น เห็นเขาจมน้ำอยู่ก็อยากจะช่วยเหลือเขา ถ้าไม่ช่วยเหลือเขาก็จะว่าเห็นแก่ตัว อย่างนี้ไปช่วยเหลือเขาแล้วจมน้ำตายกันหมด อย่างนี้ดีไหม? นี่พูดถึงเราตั้งประเด็นขึ้นมาให้ได้คิดไง

ฉะนั้น เขาบอกว่า

ถาม : ผมสังเกตเห็นว่าตนเองไม่ค่อยให้ความสนใจคนอื่น เพราะส่วนหนึ่งเห็นว่าเป็นเรื่องของคนอื่น

ตอบ : นี่กรณีคิดอย่างนี้ใช่ เราไม่ค่อยสนใจเรื่องของคนอื่น แต่เราพยายามรักษาตัวเรา เพราะคนอื่นเขาทำดีก็ได้ เขาทำชั่วก็ได้ แต่ตัวเรานี่เราพยายามรักษาตัวเรา ถ้ารักษาตัวเรานะ เราทำคุณงามความดีของเรา ถ้าวันไหนเขาขอคำแนะนำ ถ้าเขาเห็นว่าเวลาเหตุการณ์มันเกิดทุกข์ เกิดการบีบคั้น แล้วเราไม่ทุกข์เขาจะแปลกใจนะ นี่เวลาคนเขาทุกข์กันหมดเลย แล้วเราไม่ทุกข์เขาจะแปลกใจมาก เขาจะมาถามว่าทำไมเอ็งไม่ทุกข์? แล้วตอนนั้นล่ะเราจะช่วยเหลือเขาได้ทันทีเลย ถ้าเราไม่ทุกข์เพราะเหตุใด เราก็ทุกข์ ในเมื่อคนเกิดมาต้องมีอากาศหายใจ ในเมื่อคนเกิดมาต้องมีอาหาร มันเหมือนกันทั้งนั้นแหละ

นี่เราก็ทุกข์ แต่เราเข้าใจทุกข์ เราวางทุกข์ได้ เพราะคนเกิดมา เห็นไหม ในเมื่อยังมีความบกพร่องอยู่ มันมีความทุกข์ ทุกข์เป็นอริยสัจ ทุกข์เป็นความจริง เราก็ทุกข์ แต่เราไม่ตีโพยตีพายไปกับทุกข์ เราไม่เดือดร้อนไปกับมัน เรารับรู้ได้ แล้วเราก็วางได้ พอถึงที่สุดนะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ต้องมาปรินิพพาน เวลาถึงใครก็แล้วแต่ก็ต้องตายทั้งนั้นแหละ แล้วเวลาตาย ตายด้วยความพร้อมไง ตายด้วยความรู้เท่า มันไม่เดือดร้อน เพราะอะไร? เพราะกิเลสมันตายไปแล้ว ไม่มีสิ่งใดตาย แต่ถ้าเรายังไม่รู้เท่าสิมันเดือดร้อนไปหมด

ฉะนั้น สิ่งที่ว่าเราไม่ค่อยสนใจใครเลย วิธีการปฏิบัติมันต้องปลีกวิเวก มันต้องการเวลา มันต้องให้เราได้มีความสงบ ฉะนั้น เราจะคิดโดยที่บอกว่าเป็นการเห็นแก่ตัว นี่ไม่ใช่การเห็นแก่ตัว การจะเอาตัวรอด แล้วเราจะช่วยเหลือคนอื่น เราจะช่วยเหลือเพื่อประโยชน์กับเขาถ้าเราเอาตัวรอดได้ ถ้าเราเอาตัวรอดไม่ได้เราจะไปช่วยเหลือใคร? นี่ถ้าคิดได้อย่างนี้นะมันจะมีจุดยืน พอมีจุดยืน การปฏิบัติมันก็จะก้าวเดินได้ ถ้าไม่มีจุดยืนนะปฏิบัติไปก็ติด จะถอยก็ไม่ได้ จะก้าวหน้าก็ก้าวหน้าไม่ได้ แต่ถ้ามันมีจุดยืนขึ้นมานี่เราไม่ถอยหลัง เราจะก้าวหน้าของเราไป เราจะก้าวหน้าเพื่อประโยชน์กับเรานะ

ฉะนั้น เวลาเราคิดว่าถ้าเรื่องคนอื่นเราแก้ไขความคิดเขาไม่ได้ นี่ถูกต้องมากเลย ถ้าเรื่องของคนอื่นนะเวรกรรมของเขา ถ้าวันไหนเขาหมดเวรหมดกรรมนะ เขาจะบอกว่า เออ เลิกกันเสียที นั่นล่ะเราช่วยเขาได้แล้ว แต่ถ้าเขายังมีความเห็นเดิม มีความคิดเดิมๆ มีความย้ำคิดย้ำทำว่าตัวเองมีทุกข์ ตัวเองมียาก ตัวเองมีความบกพร่อง เขาคิดย้ำอยู่อย่างนั้นแหละ เขาจะแก้ไขตัวเขาเองได้ยาก แต่ถ้าเขาได้คิดของเขาใหม่ นั่นล่ะเราแก้ไขเขาได้ เราแก้ไขเขาได้ด้วยการกระทำของเรา เพราะเขาเห็นว่าเราทำไมเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างนี้ ถ้าเขาเปลี่ยนความคิดมามันก็จบ เพราะเวลาหลวงตาท่านสอนนะ

“อย่าเสียดายความรู้สึกนึกคิดของตัว”

ทุกคนที่มันทุกข์อยู่นี่เพราะมันย้ำคิดย้ำทำแต่ความคิดเดิม มันไม่เปลี่ยนแปลงไง ถ้ามันเปลี่ยนแปลง เพราะความคิดเก่ามันผิด ถ้ามันใช้ความคิดใหม่คือปัญญา ปัญญามันชำระล้าง ชำระล้างกิเลสคือทิฐิมานะ คือความเห็นผิด ถ้ามันมีปัญญาขึ้นมามันก็มาชำระล้าง ชำระล้างความคิดเดิม แล้วความคิดเดิมมันใช้อะไรมาชำระล้างล่ะ? ปัญญาก็คือความคิดที่มีสัมมาสมาธิ สัมมาสมาธิมันมาใช้ความคิดที่เป็นมรรคมาชำระล้างมันก็เปลี่ยนความคิด พอเปลี่ยนความคิดมันก็เป็นมรรค เป็นมรรคมันก็แก้ไข ถ้าแก้ไขเขาก็แก้ไขของเขาไปได้

นี่มันก็เป็นความคิดเหมือนกัน แต่ความคิดที่มันมีสัมมาสมาธิ นี่ถ้าเป็นปัญญาอย่างหยาบๆ มันเป็นสังขาร แต่ถ้าเป็นปัญญาอย่างละเอียดมันเป็นญาณนะไม่ใช่สังขาร ไม่ใช่ความคิดเลย มันเป็นความรู้สึกที่ละเอียดกว่านั้นอีก เห็นไหม ปัญญามีเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป ฉะนั้น สิ่งที่เราคิดของเราว่าเราเห็นแก่ตัว เราไม่ได้ยุ่งกับคนอื่น อันนั้นเป็นความคิดแบบก้ำๆ กึ่งๆ นะ คนเราเป็นอย่างนี้ถ้าติดในโลก ยิ่งวัยรุ่นด้วยนี่รักเพื่อนๆ

คำว่ารักเพื่อนเราก็รักทั้งนั้นแหละ พอคำว่ารักเพื่อนมันกึ่ง เห็นไหม พอรักเพื่อนไปแล้วมันปัญญาของเพื่อน ปัญญาของวัยรุ่นมันก็แค่นั้นเอง แต่พอเราผ่านวัยนั้นไปสิ เรามาทบทวนเพื่อนก็ส่วนเพื่อน แต่ถ้าเราทำผิดพลาดไป กฎหมายมี ทุกอย่างมี มันดับอนาคตไปเลย แต่ถ้ามันมีต่างๆ เราพยายามชักนำให้เพื่อนมาทางที่ถูก พยายามชักนำให้เพื่อนมาทางที่ดี มันก็ผ่านวิกฤติอันนั้นมาได้ นี่คือปัญญาทางโลกนะ แล้วถ้าเกิดปัญญาทางธรรมมันจะเกิด มันจะเกิดอีกชั้นหนึ่ง เกิดอีกชั้นหนึ่งคือเวลามันสงบแล้วไง

นี้พูดถึงว่าข้อที่ ๑ นี่ถูกเป็นปัญญาอบรมสมาธิ

ถาม : ข้อที่ ๒ ความเห็นผิด เห็นผิดว่าสิ่งที่มันเกิดขึ้นเกิดขึ้นจากกาย เกิดขึ้นจากวัตถุ การวางคือวางวัตถุ

ตอบ : ไม่ใช่ เวลามันว่างแล้วมันต้องมีปัญญาขึ้นมามันถึงจะวาง วางกิเลสไง มันชำระกิเลสออกไป จิตใจมันพ้นเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป ถ้าข้อที่ ๒ เห็นไหม การวางที่ถูกต้อง

ถาม : ข้อที่ ๓ ถ้าการปฏิบัตินี้เป็นการเห็นแก่ตัว

ตอบ : ปัญญามันเกิดเหมือนกับเห็นแก่ตัว นี่กิเลสมันสวมรอย กิเลสมันสวมรอย กิเลสมันบังเงา กิเลสมันคือพญามาร กิเลส เห็นไหม เทพฝ่ายมาร เทพมีฝ่ายมารกับเทพฝ่ายเทพ นี่ก็เหมือนกัน จิตใจถ้ามันมีปัญญาขึ้นมามันเป็นฝ่ายเทพ ถ้าจิตใจที่มันมีมารควบคุมมันเป็นฝ่ายมาร ฉะนั้น เวลาปฏิบัติขึ้นไป เวลาจิตละเอียดขึ้นไปมันก็มีความเห็นอย่างนี้ ความเห็นของมาร ความเห็นของมารเป็นการเห็นแก่ตัว เป็นการเอาตัวรอด เป็นการที่.. ถ้าไม่เอาใจรอด แล้วไปคลุกคลีกับเขามันจะรอดไปด้วยกันไหม?

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อยู่พระองค์เดียวที่โคนต้นโพธิ์นั้น เวลาปัญจวัคคีย์ทิ้งไป นี่เวลาพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตรเป็นผู้ที่บรรลุเป็นพระโสดาบันก่อน ฟังธรรมจากพระอัสชิ ไปบอกพระโมคคัลลานะ พระโมคคัลลานะได้โสดาบันด้วยกัน นี่เวลาไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอาบริษัทบริวารมาด้วย องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการบริษัทบริวารเป็นพระอรหันต์หมดเลย อีก ๗ วันพระโมคคัลลานะเป็นพระอรหันต์ พระสารีบุตรยังไม่ได้เป็นเลย เห็นไหม มันเป็นในใจของพระโมคคัลลานะ ๗ วันเป็นพระอรหันต์ ในใจของพระสารีบุตร ๑๔ วัน เวลาในใจของสาวก บริษัทบริวารของพระโมคคัลลานะ ของพระสารีบุตรเป็นพระอรหันต์ก่อนด้วย

นี่ไงมันเป็นเรื่องจิตใจ เรื่องส่วนตน เวลาจิตใจที่ปฏิบัติมันเป็นเรื่องส่วนหัวใจดวงนั้น ถ้าใจดวงนั้นปฏิบัติแล้วมันพ้นไปแล้ว มันพ้นไปแล้ว เห็นไหม พอพ้นไปแล้ว เป็นพระอรหันต์ขึ้นมาแล้ว พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร อัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวา เวลาเทศนาว่าการพระสารีบุตรเป็นผู้เผยแผ่ธรรม เป็นผู้จรรโลง พระโมคคัลลานะด้วยฤทธิ์ ด้วยเดช ด้วยการต่อต้านจากลัทธิต่างๆ ที่จะเข้ามาก้าวก่ายในพุทธศาสนา เวลาชำระล้างกิเลส ทำตัวเองให้พ้นจากทุกข์แล้วยังกลับมาเป็นประโยชน์มหาศาลเลย นี่แล้วบอกว่าสิ่งนี้เห็นแก่ตัวๆ คำว่าเห็นแก่ตัวนี่กิเลสมันสวมรอย ถ้ามันสวมรอยมานะเราวางไว้ เราใช้ปัญญาของเราไปเอง

ฉะนั้น

ถาม : ถ้าคิดแบบนี้คือเห็นแก่ตัวเกินไป ในทางกลับกัน ถ้าเราไม่แสดงความสนใจโดยที่ใจเราไม่สนใจ มันจะกลายเป็นคนไม่จริงใจ

ตอบ : คือเราไปหลอกลวงเขา คือเราเห็นเขาทำผิดแล้วเราไม่อยากทำตามเขา หรือเขาเห็นสังคมเป็นอย่างไรเราไม่เป็นไปตามเขาเราก็ไม่กล้าพูด ถ้าพูดไปแล้วก็เป็นการที่ว่าไม่จริงใจ ถ้าไม่จริงใจเพราะว่าพูดกันคนละภาษา ภาษาโลกเขาก็ภาษาของเขา ภาษาโลกคือวิทยาศาสตร์ คือสิ่งที่พิสูจน์กันด้วยวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าภาษาธรรมมันมีเวรมีกรรมนะ เวรกรรมหมายความว่าพูดด้วยวิทยาศาสตร์แต่เขาไม่เชื่อ เขาไม่เชื่อ นี่เขาไม่เชื่อเพราะกรรมของเขา ความเห็นของเขาเป็นอย่างนั้น ทิฐิของเขาเป็นแบบนั้น แต่ถ้าเป็นธรรมล่ะ?

ถ้าเป็นธรรม เห็นไหม นี่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเผยแผ่ธรรมไปนะ สิ่งที่เล็งญาณ เล็งญาณไปก่อนว่าเขามีอำนาจวาสนาไหม? ถ้าเขามีอำนาจวาสนา แม้แต่องคุลิมาลฆ่าคนมา ๙๙๙ ศพ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไปชักนำมาเป็นพระอรหันต์ได้ แต่เวลาคนที่อยู่ใกล้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่ดึงชายจีวรอยู่เลย แต่ไม่ปฏิบัติตามเหมือนอยู่ไกล พระเทวทัตอยู่ใกล้ๆ อยู่ด้วยกันมา แต่ปฏิบัติแล้วไม่ได้ผล ถ้าไม่ได้ผล เวรกรรมคือทิฐิมานะ คือเวรกรรมของเขามันเป็นแบบนั้น ฉะนั้น คำว่าไม่จริงใจ เรารักษาใจเรามันจะเป็นอย่างนั้น

ฉะนั้น

ถาม : จึงอยากขอคำแนะนำว่าเรื่องของตัวเอง เรื่องของคนอื่นเราควรจะจัดการอย่างใดจึงจะพอดีครับ

ตอบ : จะพอดีก็อยู่ที่จังหวะ นี่ถ้านิสัยเขาเป็นอย่างไร เราจัดการเขาแค่นั้น แต่ถ้าเป็นเรื่องการงานก็เป็นเรื่องหนึ่ง ถ้าเป็นเรื่องส่วนตัวของเรา เห็นไหม นี่ในวงการปฏิบัติจะมีนะ ถึงเวลาจะปฏิบัติส่วนตัวเขาจะวางไว้ แล้วเวลาสมัยหลวงปู่มั่นนะ แม้แต่พระอยู่ด้วยกัน ใครแพ้อาหารอะไร ใครกินอะไรดีหรือไม่ดีเขาจะรู้กัน เขาจะช่วยดูแลกัน เวลาปฏิบัติเขาจะช่วยเหลือกัน

มันสะเทือนกันนะ มันสะเทือนกัน เรื่องของใจเวลามันหงุดหงิด เวลาใจของเรามันคับข้อง อะไรมันไม่พอใจไปหมดเลย ถ้าอย่างนั้นแล้ว จิตใจคนเวลามันสูงส่ง เวลาจิตใจเขาเป็นธรรม เขามองอะไรสวยงามไปหมด ทำอะไรก็ถูกต้องไปหมด ถ้าจิตใจเขาเสื่อมขึ้นมา พระด้วยกันเขาจะค่อยๆ ดูแลแล้ว แล้วเวลาปฏิบัติไปนะ บางคนหลุด พระก็ต้องค่อยๆ ดูแลกัน ถ้าพระไม่ดูแลพระ ใครจะดูแลใคร? นักปฏิบัติไม่ดูแลนักปฏิบัติ ใครจะดูแลใคร?

ฉะนั้น เวลาที่ว่าเราจะปฏิบัติกับเพื่อนเราอย่างใด? ถ้าใจเขาดีนะ เขาปฏิบัติดีนะ เราพูดเล่นอย่างไรเขาก็ดีใจไปกับเรา ถ้าเขาหงุดหงิดนะ เราพูดคำดีๆ กับเขา เขาก็ไม่พอใจ นี่มันอยู่ที่ว่าจิตเสื่อม จิตของคนเวลามันท้อแท้ จิตของคนเวลามันเจริญรุ่งเรือง นี่เราต้องดูตรงนั้น แล้วเราทำตามนั้น เวรกรรมของคนนะ รักกันขนาดไหน เวลามีสิ่งใดที่ขัดใจกันมันก็แตกกันไป แต่ถ้าคนเรามีสิ่งใดที่ออมชอมกันได้ สิ่งใดเป็นประโยชน์ มันจะเป็นประโยชน์กับเขา ถ้าประโยชน์กับเขามันจะเป็นประโยชน์กับเรา นี่ผลของการปฏิบัติ

เขาบอกว่าน่าเสียดายที่ผมอยู่ไกล อันนี้เวลากลับมาแล้วค่อยเจอกัน

ฉะนั้น เขาบอกว่า

ถาม : วางอย่างใดคือวาง

ตอบ : เราจะบอกว่า “ว่างแล้วต้องวาง” เอวัง