ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

จิตอยู่ที่จิต

๒๕ พ.ย. ๒๕๕๕

 

จิตอยู่ที่จิต
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ข้อ ๑๒๐๑. คำถามเนาะ

ถาม : ๑๒๐๑. เรื่อง “จิตซ่อนอยู่ที่ไหน?”

(คำถาม) หากจิตไม่ได้ซ่อนอยู่ที่กาย แต่ไร้พลังงานที่จะเคลื่อนไปทั้งที่ภูเขา ที่ภูเรา แล้วจิตอยู่ที่ไหน? หาจิตที่ซ่อนได้ไหม?

ตอบ : นี่จิตซ่อนอยู่ไหน? เขาว่าจิตซ่อนอยู่ไหน? เขาจะหาจิตหาไม่เจอไง ถ้าหาไม่เจอมันก็ไม่เจอหรอก หาไม่เจอ เพราะทำสมาธิไม่เป็น ถ้าใครทำสมาธิได้นะ เวลาพุทโธ พุทโธ พุทโธโดยจิตสงบเข้าไป พอจิตสงบแล้วมันจะรู้จักตัวมันเอง ถ้ารู้จักตัวเอง เห็นไหม แล้วถ้าคนใช้วิปัสสนาเป็น นี่จิตเห็นจิตเป็นอย่างไร? นี่ขนาดตัวจิตยังไม่เห็น แล้วจะไปหาว่าจิตมันซ่อนอยู่ที่ไหน? จิตอยู่ที่จิต จิตมันซ่อนอยู่ที่จิตนั่นแหละ ตัวจิตนั่นแหละคือตัวมันเอง มันไม่มีที่ซ่อนที่ไหนหรอก มันเปิดเผยอยู่ตลอดเวลา

จิตนี้เปิดเผยนะ ถ้าจิตนี้ไม่เปิดเผยเราจะไม่รู้จักตัวเราหรอก นี่ที่เรายังมีสติสัมปชัญญะกันอยู่นี่ พลังงานของจิต จิตมันทำงานของมันโดยธรรมชาติของมัน ถ้าธรรมชาติของมันอย่างนี้มันก็เป็นเรื่องของมนุษย์นี่ไง เป็นเรื่องของการเกิดและการตาย มันเป็นเรื่องธรรมดา จิตมันแสดงตัวชัดเจนอยู่แล้ว จิตมันเปิดเผยอยู่แล้ว แต่เราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วเราปฏิบัติกัน เห็นไหม เราจะค้นหาจิตของเรา นี่มันก็จิตค้นหาจิต แล้วตัวจิตมันค้นหาจิตมันจะเจอจิตได้อย่างไรล่ะ? มันจะเห็นจิตได้อย่างไร?

ถ้ามันไม่เห็นจิต จิตซ่อนอยู่ที่ไหนล่ะ? จิตมันซ่อนอยู่ที่ไหน ไม่เคยเห็นจิตเลย แต่เวลาศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นมาแล้วมันรู้ไง รู้ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อ้างอิงไปหมด ยกตัวอย่างอย่างนั้นๆๆ แต่ตัวมันไม่เคยเห็นตัวมันหรอก นี่มันเป็นสัญญา เป็นความจำ เป็นวิชาการทั้งนั้นแหละ แต่มันไม่มีความจริงเลย ทีนี้เวลาเรียนมามันเป็นปริยัติ เวลาปฏิบัติขึ้นมามันถึงรู้จริงของมันตามความเป็นจริงของมันขึ้นมา แล้วถ้าปฏิบัติรู้ความจริง อะไรรู้ล่ะ?

แต่ถ้ายังใช้ปริยัติ คือใช้การจำ ใช้การศึกษา ใช้การที่เราค้นหากันอยู่นี่มันก็เป็นเหมือนกับเขาเรียนหนังสือกันนี่แหละ สุตมยปัญญา จินตมยปัญญา แต่ไม่มีภาวนามยปัญญา ภาวนามยปัญญามันเกิดขึ้นมาไม่ได้ เพราะหาจิตไม่เจอ ถ้าหาจิตไม่เจอ เขาบอกถ้าพุทโธ พุทโธเป็นสมถะๆ มันอย่างที่ว่านี่สมถะสมาธิ สมาธิก็คือฌาน ฌานก็คือไม่มีปัญญา ผู้ใดไม่มีปัญญาทำฌานไม่ได้หรอก คนที่จะทำฌานได้ต้องมีปัญญานะ แต่ปัญญาของโลกๆ ไง ปัญญาที่รู้เท่าทันตัวเองไง นี่ถ้าผู้มีฌาน ไม่มีปัญญาจะมีฌานขึ้นมาไม่ได้ แต่ถ้ามีปัญญาขึ้นมาจะมีฌานไหมล่ะ? ถ้ามีฌานขึ้นมาจะมีปัญญาไหมล่ะ?

ฉะนั้น สิ่งที่ว่าจิตซ่อนอยู่ที่ไหน? นี่ซ่อนอยู่ในกายนี้ไหม? มันอยู่ในกายนี้อยู่แล้ว ถ้ามันปฏิสนธิอยู่ในไข่มันมีชีวิตแล้วล่ะ ที่ไหนมีชีวิต ชีวะไง ตัวจิตคือตัวชีวะ สันตติตัวธาตุรู้ นี่เวลามันปฏิสนธิมันปฏิสนธิที่ไหนล่ะ? มันเกิดที่ไหน? มันเกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหมก็จิตไปเกิดทั้งนั้นแหละ จิตไปเกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม เห็นไหม เกิดนรกอเวจี จิตเวลาไปเกิดเป็นบาปอกุศลมันก็ไปเกิดทั้งนั้นแหละ จิตมาเกิดเป็นเดรัจฉาน จิตมาเกิดเป็นมนุษย์ ถ้าจิตเกิดเป็นมนุษย์จิตซ่อนอยู่ในกายไหมล่ะ?

ทีนี้เพียงแต่เขาถามแบบวิทยาศาสตร์ ถามแบบกำปั้นทุบดิน ถามแบบวัยรุ่นที่ไม่เชื่อศาสนาไง ศาสนามีจริงอยู่หรือ? นรกมีจริงอยู่หรือ? สวรรค์มีจริงอยู่หรือ? คิดแบบโลกๆ ไง คิดแบบมิติของโลก แล้วอยากจะรู้มิติของธรรม ถ้าอยากจะรู้มิติของธรรม เอามิติของโลกมารู้มิติของธรรมได้อย่างไร? แม้แต่การศึกษา เรียนมาคนละสาขายังมาเถียงกันอยู่นี่ว่าใครจะมีความฉลาดกว่ากัน เรียนหนังสือมาด้วยกันนั่นแหละ แต่ความรู้ ความเห็นมันก็ไม่เหมือนกัน ถ้าไม่เหมือนกันแล้วจะรู้ จะเห็นได้อย่างไร? จะมีความจริงขึ้นมาได้อย่างไร?

ถ้าจะมีความจริงขึ้นมา เห็นไหม จิตซ่อนอยู่ที่ไหน? ถ้าจิตไม่สงบเข้ามามันไม่เห็นตัวมันเองหรอก สิ่งที่เห็นออกมา นี่เปลือก เปลือกคือขันธ์ เปลือกคือความคิด ความคิดเกิดจากจิต แล้วเวลาคิดมันก็คิดโดยสามัญสำนึก นี่สัญชาตญาณมันเป็นอย่างนี้ แล้วสัญชาตญาณมันส่งออกไปแล้วมันจะรู้อะไรล่ะ? ถ้ามันไม่รู้อะไรแล้วมันซ่อนอยู่ที่ไหน? จิตมันซ่อนอยู่ที่ไหน? นี่จิตอยู่ในกายนี้หรือเปล่า? มันอยู่ชัดเจนมาก เพราะอะไร? มันอยู่เฉพาะมนุษย์นะ เวลาเป็นเทวดามันอยู่ในกายไหม? เป็นพรหมมันอยู่ในกายไหม? เวลาเป็นผีมันไม่มีกาย มันเอาจิตไปไว้ที่ไหน? อ้าว มันอยู่ที่ไหนล่ะ? จิตมันก็คือจิต มันอยู่สถานะไหน?

ฉะนั้น

ถาม : หากจิตไม่ได้ซ่อนอยู่ที่กาย แต่ไร้พลังงานที่จะเคลื่อนไปทั้งภูเขา ภูเรา จิตอยู่ที่ไหน?

ตอบ : หาจิตซ่อนที่ไหน ให้หาจนตาย ถ้าจิตนะมันก็ตะครุบเงา ถ้าเราจะตะครุบเงาของเรา เราจะได้ตัวเราไหม? เงามันเกิดจากใคร? เงาก็เกิดจากมีเราถึงมีเงาใช่ไหม? ถ้ามันมีจิตมันก็มีความคิดใช่ไหม? เพราะเราเกิดมามีธาตุ ๔ ใช่ไหม? มีธาตุ ๔ ก็มีร่างกายใช่ไหม? จิตมันก็อยู่ในร่างกายนี่แหละ แล้วทำอย่างไรมันจะหาให้เจอล่ะ? ไม่มีทางเจอ

แม้แต่รู้ตัวทั่วพร้อม เราย่องกันอยู่อย่างนั้นน่ะมันเจอจิตไหม? ไม่เจอจิต พอความคิดมันดับ พอความคิดมันดับนะ ว่างๆ ว่างๆ สบายมาก เมื่อก่อนเป็นคนทุกข์มาก เดี๋ยวนี้ปฏิบัติแล้วนะมันสบาย มันว่างไปหมดเลย แล้วจิตอยู่ไหนล่ะ? จิตอยู่ไหน? มันว่างไปหมดเลย มันปล่อย มันว่าง เดี๋ยวนี้มันสบายมาก เมื่อก่อนทุกข์มาก เมื่อก่อนเป็นคนทุกข์ คนยาก พอมาเริ่มปฏิบัติมันรู้ตัวทั่วพร้อม เดี๋ยวนี้ว่างหมดเลย แล้วทำอย่างไรต่อ? สตัฟฟ์มันไว้ใช่ไหมจิตนี่ ขึงพรืดมันไว้ใช่ไหม? ขึงพรืดไม่ให้มันคิดไง เอาจิตมาสตัฟฟ์ไว้ ขึงพรืดไว้ แล้วบอกทำพุทโธไม่ได้ ทำพุทโธเป็นสมถะ

ตัวพุทโธนั่นแหละมันจะเข้าไปสู่จิต จิตอยู่ที่จิต ถ้าจิตมันปล่อยทั้งหมดเข้ามา มันเป็นตัวของมัน เห็นไหม เป็นตัวมัน เป็นอิสรภาพของมัน ตัวของมันตัวจิต นี่ตัวจิต คนเป็นสมาธิแล้วนะ ถ้าคนมีสตินะ อืม สมาธิเป็นแบบนี้ รู้สึก อู้ฮู จิตนี้มหัศจรรย์ นี่มันเห็นจิตของมัน รู้ตัวจิตของมัน แล้วถ้าจะเกิดวิปัสสนาล่ะ? ถ้าจะเกิดวิปัสสนา จิตเห็นอาการของจิต จิตเห็นกาย จิตเห็นเวทนา จิตเห็นจิต จิตเห็นธรรม

จิตเห็นจิต เห็นไหม ดูจิตๆๆ ดูจิตจนจิตเห็นอาการของจิต ดูจิตจนจิตเห็นจิต ถ้าจิตเห็นจิตเป็นมรรค ผลที่เกิดจากจิตเห็นจิตมันเป็นปัญญา เกิดปัญญาขึ้นมาแล้วมันจะเกิดนิโรธคือเกิดผล ถ้าเกิดผลอันนั้น นี่มันจะเข้าใจได้หมดเลยว่าจิตอยู่ที่ไหน จิตอยู่ที่ไหน แต่ถ้าไม่เข้าใจนะจิตซ่อนอยู่ที่ไหน? คำถามไง

ถาม : จิตซ่อนอยู่ที่ไหน? จิตหาในกายเราได้ไหม? อยู่ที่ภูเขาไหม? อยู่ที่ภูเราไหม?

ตอบ : ธาตุมันเป็นธาตุ ธาตุ เห็นไหม ดูสิสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีวิญญาณครอง ต้นไม้นี่ ต้นไม้มันก็มีชีวิตนะ แต่มันไม่มีวิญญาณครอง แล้วเราไปหาจิตเจอไหม? มันมีความรู้สึกนะ ต้นไม้มีความรู้สึกนะ เพราะมันมีชีวิต แต่มันมีจิตไหมล่ะ? มีวิญญาณครองและไม่มีวิญญาณครอง ธาตุมันไม่มีวิญญาณครอง แล้วจะหาจิตที่ไหนล่ะ? แล้วจะหาจิต เทวดา อินทร์ พรหมยังหาจิตไม่เจอเลย ถ้าเทวดา อินทร์ พรหมหาจิตเจอนะ เทวดา อินทร์ พรหมไม่มาเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรอก

เวลาพระพุทธเจ้าเทศนาว่าการเทวดาสำเร็จเป็นแสน เป็นล้าน เทวดาสำเร็จ อะไรสำเร็จ? เทวดาฟังเทศน์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์ขึ้นมา เอาอะไรมาสำเร็จล่ะ? นี่สิ่งที่สำเร็จขึ้นมามันก็ต้องจิตของเขา จิตเห็นจิตของเขา แต่เทวดา อินทร์ พรหมเขาไม่เห็นจิตของเขา เขาถึงมาฟังเทศน์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงเทศนาว่าการให้พิจารณาอะไร ให้พิจารณาสิ่งใด ให้พิจารณาสิ่งที่จิตมันเห็นของมัน มันเกาะของมัน แล้วพิจารณาให้มันปล่อยวางเข้ามา

“เธอจงมองดูโลกนี้เป็นสักแต่ว่า”

เธอจงมองโลกนี้เป็นสักแต่ว่า มันก็เป็นสักแต่ว่าหมด ต่างคนต่างเป็นอิสระหมดเลย แล้วมันเห็นไหมล่ะ? มันรู้ไหมล่ะ? มันรู้หรือยัง? ถ้าเราไม่เป็นสักแต่ว่ามันเป็นเราหรือเปล่าล่ะ? มันก็เป็นสักแต่ว่ามาตั้งแต่ต้นแล้ว แต่เราไม่ได้เข้าใจ เราไม่ได้พิจารณาของเราเอง

“เธอจงมองโลกนี้เป็นสักแต่ว่า โลกนี้มันไม่มีสิ่งใดยึดมั่นถือมั่น เธอจงปล่อยวางสิ่งในโลกนี้”

ปล่อยวางสิ่งในโลกนี้ แล้วปล่อยแล้วไปอยู่ไหนล่ะ? นี่ปล่อยเข้ามา

“เธอจงถอนอัตตานุทิฏฐิในใจของเธอ เธอจงถอนความรู้สึกยึดมั่นถือมั่นในใจของเธอ”

นี่มันวางข้างนอกเข้ามา ถ้ามันไม่วาง ว่างข้างนอก ข้างในไม่ว่างมันเป็นอย่างไรล่ะ? จิตเห็นจิตไง ถ้าจิตเห็นจิต จิตมันอยู่ที่จิต ทีนี้คำว่าจิตมันอยู่ที่จิต เห็นไหม มันเป็นความจริงแบบนี้ ทั้งๆ ที่จิตอยู่กับเรานะ คนที่จะมีความรู้สึกนึกคิด คนที่จะมีความวิตกกังวล มีความลังเลสงสัย จะมีความสุข ความทุกข์มันต้องมีจิตเป็นตัวรับรู้สิ ทั้งๆ ที่มันอยู่กับเรา แต่เราไม่รู้ ไม่เห็นมันไง

ฉะนั้น มันเป็นอุบาย นี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนไว้ การทำกรรมฐาน ๔๐ ห้อง การทำความสงบ ๔๐ วิธีการ พุทโธ ธัมโม สังโฆ เทวตานุสสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ เรื่องกสิณ กรรมฐาน ๔๐ ห้อง นี่มันเป็นอุบายที่จิตจะหดตัวเข้ามา ถ้าจิตมันหดตัวเข้ามา เราจะทำสิ่งใดเราต้องมีต้นขั้ว เราต้องมีบัญชี เราถึงโอนเข้า โอนออกได้ ถ้าเราไปสู่ฐีติจิต เข้าไปสู่สัมมาสมาธิให้จิตตัวนี้มันเป็นอิสระเข้ามา ไม่ตกอยู่ในการปกคลุมของอวิชชา

มันตกอยู่ในการปกคลุมของอวิชชาคือความไม่รู้ ถ้ามันตกอยู่กับอวิชชาเราก็คิดกันไปตามสามัญสำนึกนี่แหละ ใครมีการศึกษามาก ใครมีความรู้มาก ใครมีปฏิภาณไหวพริบมาก ใครหาเงิน หาทองได้มาก ใครสร้างศักยภาพขึ้นมาเป็นผู้มีอำนาจ นี่ยึดมั่นถือมั่นเข้าไป อันนั้นเป็นอะไรล่ะ? นี่เป็นเรื่องโลกๆ ทั้งนั้นแหละ นี่มันจริงตามสมมุติทั้งนั้นแหละ แต่ถ้าเวลาจะหาจิตของตัวเองมันต้องปล่อยวางทั้งหมดเลย ปล่อยวางที่เราแสวงหามาทั้งหมด ปล่อยวางที่ไหน? มันไม่ได้ปล่อยวางที่ข้าวของนั้น มันปล่อยวางที่จิตไง

ดูสิเรามีสมบัติอยู่ในเซฟ สมบัติของเราที่เก็บไว้นี่ แล้วถ้าจิตเราไปวิตกกังวล นี่สมบัติมันอยู่ในเซฟ สมบัติมันอยู่ที่เราเก็บซ่อนไว้ แต่มันหนักอยู่ที่หัวใจไง หัวใจนี้มันแบกหนักไว้ อู๋ย หนักมาก เป็นห่วงมาก กังวลมากว่าสมบัติของเราอยู่ที่ไหน? สมบัติของเราใครจะมาลักของเราไปไหม? มันหนักที่สมบัตินั้นไหม? สมบัติมันเก็บไว้มันไม่มีชีวิต มันไม่รู้เรื่องเลย แต่ไอ้หัวใจมันแบกไว้มันจะตาย นี่เวลาเขาปล่อยเขาปล่อยกันที่นี่ ถ้ามันปล่อยที่นี่ สิ่งที่หัวใจมันจะไปแบกรับศักยภาพ อำนาจต่างๆ ที่มันจะไปยึดมั่นถือมั่นนั่นล่ะ กลับไปพุทโธ พุทโธ พุทโธ ให้มันหดสั้นเข้ามา

จิตซ่อนอยู่ที่ไหน? ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ขณิกสมาธิมันก็ เออ สมาธิก็เป็นแบบนี้ ว่างๆ มันจะไม่รู้เรื่องอะไรเลย มันจะไปเห็นจิตไหม? ขณิกสมาธิมันแว็บๆ แว็บๆ เท่านั้นแหละ ถ้าอุปจารสมาธิ พอเข้ามามันสงบระงับมากเข้าไป แล้วมันอุปจาระคือวงรอบของมันที่มันออกรู้ นี่จิตเห็นอาการของจิต ถ้าจิตมันออกรู้ รู้ในอะไร? ถ้าจิตมันไปเกาะ ไปเกี่ยวมันถึงรู้ว่าไปเกาะ ไปเกี่ยวอะไร เกาะ เกี่ยวอะไรมันก็เป็นภาระไปทั้งนั้นแหละ มันเกาะ เกี่ยวแล้วมันก็หนักไปทั้งนั้นแหละ

นี่จะไปหาจิตหาที่ไหน? จิตเห็นจิต ถ้ามันสงบเข้ามา เห็นไหม พอสงบเข้ามาเป็นอัปปนาสมาธิเวลามันปล่อย จิตมันสงบเข้ามาแล้วนะมันจะรู้ว่าจิตอยู่ที่จิต แล้วเห็นได้ รู้ได้ จับต้องได้ เห็นได้ รู้ได้ จับต้องได้มันถึงจะเป็นวิปัสสนา มันถึงจะเป็นเริ่มต้นของการประพฤติปฏิบัติ มันเป็นการเริ่มต้นของการพาจิตนี้รอดพ้นจากอวิชชา มันจะพาจิตดวงนี้ให้รอดพ้นจากมาร พาจิตดวงนี้ให้รอดพ้นจากการครอบงำของอวิชชา การครอบงำของมาร ถ้าเราไม่รู้จักจิตของเรา เราจะเอาอะไรไปทำ

ไอ้นี่สมถะไม่ต้องไปยุ่งกับมัน สมถะมันเป็นสมถะ มันไม่เกิดปัญญา พุทโธมันไม่รู้เรื่อง พุทโธมันไม่มีประโยชน์อะไรเลย ทิ้งไปหมดเลย แล้วใช้ปัญญาเลย นั่นจริงตามสมมุติ จริงตามสมมุติ จริงตามโลก จริงตามสัญชาตญาณ จริงตามสิ่งที่เกิดขึ้น ที่เขาบอกเป็นจริงๆ น่ะ เป็นจริงเพราะมันเป็นวิทยาศาสตร์เป็นจริงไง แล้วมิติมันล่ะ? คนที่ปฏิบัติจะรู้นะ ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าเรามีสติ มีปัญญา นี่พิจารณาสัญชาตญาณ พิจารณาถึงชีวิต เวลามันปล่อยเข้ามานั่นก็คือสมถะ ที่ปล่อยนั้นคือสมถะทั้งนั้นแหละ ที่เขาปล่อยมานั่นคือสมาธิทั้งนั้นแหละแต่มันเป็นมิจฉาไง

ถ้ามีสตินะ มันปล่อยเข้ามามันรู้สึกตัวเข้ามา เห็นไหม นี่จิตเห็นจิต ถ้ามันปล่อยเข้ามา จิตมันจะรู้ว่านี่คือสมาธิ จิตจะรู้ว่าจิตนี้เป็นอิสระ ถ้าจิตรู้ว่าจิตนี้เป็นอิสระ เห็นไหม นั่นแหละมันจะเป็นสัมมาทิฏฐิ นี่สติชอบ งานชอบ เพียรชอบ แต่ถ้ามันปล่อยแล้วว่างๆ ชีวิตนี้เมื่อก่อนทุกข์ยากมาก เดี๋ยวนี้มาปฏิบัติแล้วสบ๊าย สบาย มิจฉานั่นน่ะ มันมิจฉาเพราะอะไร? เพราะมันไม่รู้จักตัวมันเองไง มันรู้จักในปัจจุบันนี้ ปัจจุบันคนเคยทุกข์ แล้วพอมันปล่อยมันก็ปล่อยวาง มันก็ว่าง ว่างแล้วมันก็เป็นสามัญสำนึก มันก็เป็นจริงตามสมมุติใช่ไหม? มันขาดสติใช่ไหมมันถึงไม่รู้ว่าสิ่งนี้เป็นสมถะไง

แต่ถ้ามันมีสติขึ้นมา พอมันปล่อยขึ้นมามันว่าง ว่างแล้วทำอย่างไรต่อ? เวลามันปล่อยแล้วสบ๊าย สบาย สบายนี่อะไรสบาย? ถ้าสบายขึ้นมา มิติของมันนะ ปุถุชน กัลยาณปุถุชน ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ทำไมสมาธิมันมีลึก มีตื้น สมาธิทำไมมีหนัก มีเบาล่ะ? นี่ไงเวลามันปล่อย ปล่อยมาก ปล่อยน้อยล่ะ? เวลามันว่างๆ ว่างๆ มันปล่อยอะไรมา? ถ้ามีสติขึ้นมา ถ้ามีสติขึ้นมามันก็เริ่มลังเลใจแล้วนะ

ทีนี้ในการปฏิบัติที่ว่ารู้ตัวทั่วพร้อมก็จะบอกว่า ในการปฏิบัตินี้เราปฏิบัติด้วยความอยากไม่ได้ ถ้าใครมีความอยากมันจะเป็นกิเลส ถ้าไม่มีความอยาก ฉะนั้น ปฏิบัติแล้วถึงจะรับรู้ไม่ได้ว่ามันจะมีมรรค มีผล ไม่เกี่ยว มันว่างๆ นี่ถูกต้องแล้วแหละ แล้วทำอย่างไรต่อไป? ปฏิบัติเพื่อสร้างสมบารมีไง แล้วจะไปเอาผลเอาชาติหน้า ชาตินู้น ชาติต่อๆ ไปไง

คือสร้างสม คือมรรค ผลมันจบสิ้นแล้ว กึ่งพุทธกาลแล้วไม่มีมรรค ไม่มีผลแล้วแหละ นี่มรรค ผลก็ต่อไปข้างหน้าห้ามถามเรื่องมรรค เรื่องผล แต่ในวงกรรมฐานเราครูบาอาจารย์ท่านคอยซักนะ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านจะคอยซัก นี่ทำจิตสงบไหม? ออกพิจารณาเป็นหรือเปล่า? ออกพิจารณาเป็นคือสติปัฏฐาน ๔ จริงไง ถ้าออกพิจารณาไม่เป็นนั่นคือสติปัฏฐาน ๔ โดยสัญญาไง สติปัฏฐาน ๔ โดยที่ว่านี่เป็นสติปัฏฐาน ๔ นะ นี่เป็นกาย กายก็ที่เรารับรู้ เราเห็นกายก็คือกายนะ เวทนา เวทนาก็สุขๆ ทุกข์ๆ นี่ก็เป็นเวทนานะ จิตก็นี่ที่มันว่างๆ ก็เป็นจิตนะ ธรรมที่เราทำ

นี่อันนี้เป็นสัญญาหมดเลย อันนี้มันเป็นสามัญสำนึกหมดเลย อันนี้เป็นโลกหมดเลย มันไม่เป็นจริงสักอัน แต่พอจิตมันสงบนะ ถ้าจิตสงบ นี่จิตซ่อนอยู่ที่ไหน? พอจิตมันสงบเข้ามานะ อัปปนาสมาธิมันปล่อยกายเลยล่ะ เพราะมันสักแต่ว่ารู้ ไม่รับรู้กาย มันเป็นเอกเทศ เป็นสมาธิคือมันปล่อยความคิด มันปล่อยขันธ์ทั้งหมดมันถึงเป็นสมาธิได้ แล้วปล่อยได้มาก ปล่อยได้น้อย ปล่อยได้แว็บๆๆ ก็ขณิกสมาธิ ปล่อยได้มากกว่าก็เป็นอุปจาระ ถ้าปล่อยจนสักแต่ว่ามันปล่อยถึงร่างกาย คือมันปล่อยว่าง มันวาง มันเป็นอิสระจนไม่รับรู้อายตนะ

ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตนะ เห็นไหม อายตนะคือใจกระทบ มันปล่อยวางแม้แต่ความกระทบของใจ พอมันปล่อยวางเข้ามา มันไม่รับรู้สิ่งใด นี่สักแต่ว่ารู้มันปล่อยวางได้หมดเลย นี่คือสมาธิ คือจิต พอจิตเป็นอิสระเข้ามาแล้ว จากอัปปนาสมาธิมันคลายตัวออกมา มันเป็นอุปจาระมันรับรู้ได้ รับรู้ได้นะมันรับรู้อายตนะได้ ถ้ารับรู้ได้ ถ้ามันเห็นกายล่ะ? เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม ถ้ามันจับต้องได้ จับต้องได้มันจะวิปัสสนา

นี่จิตซ่อนอยู่ที่ไหน? เพราะจิตมันไม่มีตัวตน จิตเป็นนามธรรม จิตไม่มีตัวตน ไม่มีตัวตนแล้วรับรู้ได้อย่างไร? เป็นสมาธิได้อย่างไร? จิตไม่มีตัวตนคือว่ามันจะจับสิ่งใดล่ะ? แม้แต่ทางวิทยาศาสตร์นะ ทางการแพทย์เวลาเครื่องมือวัดเขาวัดหัวใจ นี่มันก็เป็นพลังงานทั้งนั้นแหละ แล้วตัวมันอยู่ไหนล่ะ? เขาไปดูที่จอภาพว่าคลื่นหัวใจมันมีมากน้อยขนาดไหน เขาไปมองกันตรงนั้นน่ะ แต่ตัวนามธรรมเขาเห็นไหมล่ะ? เขาก็ไม่เห็น แต่พอจิตมันสงบเข้าไปเป็นสัมมาทิฏฐิ จิตมีสมาธิขึ้นมาจิตมันรับรู้ไง

นี่ไงจิตอยู่นี่ พอจิตอยู่นี่ เวลามันออกรู้ เห็นไหม ออกรู้กาย ออกรู้เวทนา ออกรู้จิต ออกรู้ธรรม ออกรู้ ออกรู้อย่างไร? นี่พระเยอะมากจิตสงบแล้วยกขึ้นวิปัสสนาไม่ได้ หรือเวลามันยกขึ้นวิปัสสนาแล้วมันล้มลุกคลุกคลาน พอมันจับแล้วมันหลุดไม้หลุดมือไป หลุดไม้หลุดมือไปเพราะอะไรล่ะ? เพราะอำนาจวาสนาของคนไง เราต้องฝึกหัดของเราไง ถ้าทำไม่ได้กลับมาที่ความสงบ ถ้ามันสงบออกไป ออกรู้นี่มันรับรู้ มันรับรู้คือว่าจิตนี่ปัญญาเกิดจากจิต ไม่ใช่ปัญญาเกิดจากสมองแล้ว

ถ้าปัญญาเกิดจากจิต จิตมันทำเพราะอะไร? เพราะฐีติจิต เพราะภวาสวะ เพราะภพ เพราะสิ่งนี้มันสร้างบาป สร้างกรรมมา สร้างบาป สร้างกรรม เวลามันจับต้องของมันได้นะ นี่มันรับรู้ของมันสะเทือนถึงกิเลส แล้วเวลาวิปัสสนาไป ถ้ามันปล่อยวางขึ้นมา นี่มันคลายออก มันคลายอะไรออก? นี่ไงตทังคปหานเวลามันปล่อยวางกาย ปล่อยวางเวทนา ปล่อยวางจิต ปล่อยวางธรรมมันปล่อยวางอย่างไร? มันปล่อยวาง ตทังคปหานคือปล่อยวางชั่วคราวๆ พอพิจารณาไปถึงที่สุดแล้วมันขาด

เวลาขาดนี่อะไรขาดไป? สังโยชน์มันขาดไป สังโยชน์ที่มันร้อยรัดไว้ นี่สักกายทิฏฐิไง สักกายทิฏฐิ ทิฐิความเห็นผิดว่ากายเป็นเรา จิตเป็นเรา ทุกอย่างเป็นเรา เวทนาเป็นเรานี่ไง นี่เวลามันขาดมันขาดอย่างไร? เวลามันขาดออกไป เห็นไหม สังโยชน์ขาด พอสังโยชน์ขาดนี่กิเลสมันหลุดออกไปจากใจ กิเลสนี่สังโยชน์ขาดออกไปจากใจเลย

นี่ไงมรรค ผลมันเกิดเดี๋ยวนี้ไง ไม่ใช่ว่ารู้ตัวทั่วพร้อม พิจารณาแล้วว่างๆ ว่างๆ สุดท้ายแล้วนะมรรค ผล พูดถึงกติกาของเขาคือห้ามถามเรื่องมรรค เรื่องผล เพราะมรรค ผลมันเป็นเรื่องสุดวิสัย สุดเอื้อม ห้ามถามเรื่องมรรค เรื่องผลนะ แต่ครูบาอาจารย์ของเราจี้เขาตรงมรรค ตรงผลเลย ผลลัพธ์เป็นอย่างไร? ผลลัพธ์ที่ทำ นี่จิตสงบ สงบอย่างไร? จิตเวลาเป็นจริงเป็นจริงอย่างไร?

นี่จิตมันอยู่ที่จิต ถ้าจิตมันอยู่ที่จิต เห็นไหม คำถามไง

ถาม : หากจิตไม่ได้ซ่อนอยู่ที่กาย แต่ไร้พลังงานที่จะเคลื่อนไปทั้งที่ภูเขา ภูเรา จิตอยู่ที่ไหน? หาจิตที่ซ่อนได้ไหม?

ตอบ : หาจิตที่ซ่อนได้ไหม? คนภาวนาเป็นเขาหาได้ ถ้าคนภาวนาไม่เป็นเขาหาไม่ได้ เขาหาได้แต่ตัวอักษร จ.จาน สระอิ ต.เต่า เขาหาได้ จ.จาน สระอิ แล้ว ต.เต่า คือจิต เขาเขียนได้ รู้ได้คือตัวจิต แต่เขาหาตัวจิตแท้ๆ ไม่เจอ แต่พระกรรมฐาน พระป่าหาเจอ เขาหาจิตของเขาได้ แล้วเขาพาจิตของเขาออกวิปัสสนา เขาพาจิตของเขาออกไปในสติปัฏฐาน ๔ ออกไปในกาย ออกไปในเวทนา ออกในจิต ออกในธรรมเพื่อรื้อค้น ชำระล้าง สำรอก คลายสักกายทิฏฐิ คลายสังโยชน์ของเขาออก

จิตอยู่ที่จิต แล้วจิตเห็นจิตมันเป็นมรรค จิตเห็นจิตเป็นมรรค จิตไม่เห็นจิต นี่จิตไม่เห็นจิตมันเป็นสมุทัย จิตไม่เห็นจิต จิตก็เลยเป็นสัญชาตญาณ จิตก็เลยไปศึกษาทางวิชาการ แล้วบอกว่าสิ่งนั้นเป็นธรรมๆ แต่เวลาครูบาอาจารย์ของเรานะท่านบอกว่าสิ่งที่เป็นธรรม

“เธอจงมีธรรมเป็นที่พึ่งเถิด อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย”

แล้วธรรมมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร? เห็นไหม โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร? ถ้ามันเกิดขึ้นมาในจิตดวงนั้นแล้ว นี่จิตดวงนั้นมันเป็นจริงขึ้นมาแล้วจะสงสัยสิ่งใด? ถ้าไม่สงสัยสิ่งใดเขาถึงเห็นจิตของเขาไง เขาเห็นความเป็นไปของเขาตามความเป็นจริง

ถาม : จิตซ่อนอยู่ที่ไหน?

ตอบ : จิตอยู่ที่จิต แล้วการประพฤติปฏิบัติมันก็อยู่ที่ครูบาอาจารย์ท่านจะแนะนำของท่านไป มันจะเป็นไปตามจริงอันนั้น

ถาม : ข้อ ๑๒๐๒. เรื่อง “การบวช”

(เขาถามว่า)

ข้อที่ ๑. เขาเคยมาอยู่วัด แล้วเขาอยากบวชจะทำอย่างใด?

ข้อที่ ๒. เขาบอกว่าขอยกเลิกคำถามนี้

ตอบ : ฉะนั้น เรื่องการบวชนี่นะ การบวชมันก็บวชโดยญัตติจตุตถกรรม บวชโดยสงฆ์ยกเข้าหมู่ ฉะนั้น เขาบอกว่าเขาอยากบวช ถ้าจะบวชวัดนี้ทำอย่างไร? ฉะนั้น ไม่พูดออกไปมาก ถ้าอยากบวช บวชที่วัดไหนก็ได้ แต่ถ้าจะบวชที่วัดนี้ก็มาคุยกับพระที่วัดนี้ก็จบ มาคุยกับพระที่วัดนี้ พระวัดนี้เขาจะบอกวิธีการบวชแล้วก็จบ ไม่พูด

ถาม : ข้อ ๑๒๐๓. เรื่อง “ฆราวาสบรรลุธรรม”

กราบนมัสการหลวงพ่อที่เคารพยิ่ง หนูขอรบกวนถามคำถามที่สงสัยค่ะ

๑. หนูได้เจอฆราวาสท่านหนึ่งที่ท่านบอกว่าชาติหน้าจะไม่มาเกิดแล้ว ซึ่งหนูก็เคยฟังมาว่าคนที่จะบรรลุธรรมเข้าพระนิพพานจะดำรงในเพศฆราวาสได้ไม่เกิน ๗ วัน แต่นี้เวลาผ่านไปเป็นเดือนแล้วท่านก็ยังเป็นฆราวาสอยู่ แสดงว่าท่านยังไม่บรรลุธรรมใช่ไหมคะ?

๒. การที่เห็นพ่อแม่ผิดศีล ลูกจะตักเตือนเป็นบาปไหม? ได้ยินมาเสมอว่าพ่อแม่ไม่ควรเถียง จะเป็นบาป หรือทำเป็นไม่รู้ ไม่เห็นไป ช่วยชี้แจงด้วยค่ะ

ข้อ ๑. หนูเจอฆราวาสคนหนึ่งเขาบอกชาติหน้าจะไม่มาเกิด

ตอบ : คำว่าชาติหน้าไม่มาเกิดเขาก็เกิดแล้วล่ะ เพราะชาติหน้า เห็นไหม เขาไม่เกิดก็ไม่เกิดที่ชาตินี้ เขาไม่ได้ไปเกิดที่ชาติหน้า อะไรชาติหน้ามันกลับมาเกิด? โอ้โฮ ก็ไปเกิดเป็นชาติหน้าไปแล้วมันจะกลับมาเกิดอะไร? ก็เกิดเป็นชาติหน้าไปแล้ว เขาไม่เกิดตั้งแต่ชาตินี้ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายจะไม่เกิดอีกแล้ว ไม่ใช่ชาติหน้า ชาติหน้าจะไม่มาเกิดอีกแล้ว ไม่เกิดแต่ชาตินี้ถ้าเป็นความจริง นั้นถ้าเป็นความจริงนะ ฉะนั้น สิ่งนั้นถ้าเป็นความจริงเขาจะเป็นความจริงของเขา แล้วความเป็นไปนะ การกระทำมันจะบอกเองว่าเป็นจริงหรือไม่เป็นจริง

ฉะนั้น คำว่าฆราวาสเขาพูดอย่างนี้เขาพูดเล่นไหม? คำพูดมันมีพูดเล่นก็ได้ พูดจริงก็ได้ ถ้าคนสนิทเขาพูดเล่นกัน นี่พูดเล่น หลวงตาท่านเคยพูดนะ เวลาเอาธรรมะมาพูดเล่นๆ ท่านบอกนั่นน่ะหมาบ้า มันกัดไม่เลือก กัดแม้แต่ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เอาธรรมมาพูดเล่นหยอกกันไง ถ้าเอาธรรมมาพูดเล่น พูดหัวกัน เห็นไหม นี่หมาบ้า แม้แต่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันก็เอามาหยอก มาล้อเล่นกัน แต่ถ้าเป็นความจริงมันจะเป็นความจริงนะ

ฉะนั้น ถ้าบอกชาติหน้าไม่มาเกิด ถ้าเขาพูดเล่นมันเรื่องของเขา ถ้าเขาพูดจริง นี่ไม่จริง ไม่จริง ไม่เชื่อ ฉะนั้น อันนี้อันหนึ่ง

ถาม : ข้อ ๒. ได้ยินมาว่าถ้านิพพานแล้วต้องบวชภายใน ๗ วัน

ตอบ : อันนี้หลวงตาท่านบอกแล้วว่าธรรมะไม่เคยทำร้ายใครหรอก นี่คำว่าถ้าสำเร็จแล้วต้องบวชภายใน ๗ วัน แต่ถ้าไม่บวชแล้วจะตายมันอีกเรื่องหนึ่ง มันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ถ้าเขาบรรลุธรรมขึ้นมาจริงเขาคิดของเขาเอง เขาควรทำอย่างไรเขาจะรู้ของเขาว่าควรจะอยู่ในเพศใด ควรจะอยู่ในเพศของฆราวาส หรือควรอยู่ในเพศของภิกษุ ของพระ อันนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งนะ แต่ที่บอกนี่เพราะมันหาได้ยาก การประพฤติปฏิบัตินะมันฟากตาย สิ่งที่เขาบอกว่าปฏิบัติง่ายรู้ง่าย ที่เขาเอามาคุยกัน กาลเวลานะ ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน

คำว่ากาลเวลาพิสูจน์คน คำพูดถ้ามันพูดบ่อยครั้งเข้าๆ คำพูดจะเป็นนายเราแล้ว เพราะเราพูดผิด พูดถูกไป อันนั้นมันจะบอกเลยว่าเรารู้จริงหรือเปล่า นี่ก็เหมือนกัน ถ้าบอกชาติหน้าไม่มาเกิดแล้ว ทำไมถึงไม่มาเกิด ถ้าไม่มาเกิด จะบอกเขา จะสอนเขา จะบอกเขาด้วยความเป็นจริง แต่ถ้าชาติหน้าไม่มาเกิด แต่ชาตินี้มันยังเกิดอยู่ พูดออกไปมันผิดทั้งนั้นแหละ

ฉะนั้น ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน เราจะรู้เองว่าเขาจะพูดจริงหรือไม่จริง นั้นกรณีหนึ่ง นี้พูดถึงความเป็นธรรม ธรรมคือความเป็นกลางนะ แต่ถ้าพูดถึงความเป็นจริงเราไม่เชื่อ เราไม่เชื่อเรื่องอย่างนี้เลย เราคิดว่าเขาพูดเล่น พูดเล่น พูดหยอก พูดล้อกัน ทีนี้คนที่ไปยึดว่าเป็นความจริงก็อีกอย่างหนึ่ง แต่ถ้าเป็นความจริง ความจริงต้องพิสูจน์กันตามข้อเท็จจริงแล้วนะ แต่ถ้าเป็นการพูดเล่นมันจบแล้ว อันนี้จบ

ถาม : ข้อ ๒. การที่เห็นพ่อแม่ผิดศีล ลูกจะตักเตือนเป็นบาปไหม? ได้ยินมาเสมอว่าพ่อแม่ไม่ควรเถียง เป็นบาป หรือว่าทำเป็นไม่รู้ ไม่เห็น

ตอบ : อันนี้รับไม่ได้ ทำเป็นไม่รู้ ไม่เห็น ถ้าพ่อแม่ทำผิดศีลอยู่เสมอ ไอ้การตักเตือน เราตักเตือนมันต้องมีอุบายสิ เราตักเตือนนะ เด็กตักเตือนผู้ใหญ่มันพูดยาก แต่ผู้ใหญ่จะสั่งสอนเด็กมันง่าย ฉะนั้น เวลาพูดยากเราไม่ใช่ไปเถียงไง ทีนี้ด้วยความใกล้ชิดระหว่างพ่อแม่จะเถียง นี่ไม่ควรเถียงใช่ไหม? ใช่ไม่ควรเถียง มันเป็นบาปไหม? เป็น เพราะอะไร? เพราะเราไปสร้างให้ท่านขุ่นข้องหมองใจไง ใครก็แล้วแต่ไปพูดให้ผิดใจเขาจะไม่สบายใจเป็นธรรมดา พ่อแม่ของเรา เราไปทำให้ท่านไม่สบายใจมันเป็นบาปแน่นอน แต่ แต่ทำเป็นไม่รู้ ไม่เห็นไม่ได้ ถ้าทำเป็นไม่รู้ ไม่เห็นนี่เราไม่รักจริงหรือ?

เรารักจริงนะ เรารักของเราจริง เรากตัญญูเห็นคุณของท่านจริงๆ ถ้าเห็นคุณของท่านจริงเราจะต้องมีอุบายของเราไง เวลาบอกมันต้องมีอุบายวิธีการบอกว่าอะไรดีและไม่ดี เราต้องใช้อุบายสิ ใช้อุบายนะ เราไม่บอกตรงๆ ไม่เอาสีข้างเข้าสีกัน ไม่เถียงกันตรงๆ ไง แต่เขาถามว่าอันนี้มันดีหรือไม่ดีล่ะ? บอกไม่ดี ไม่ดีแล้วแม่ทำทำไมล่ะ? แม่ก็ไม่ควรทำ แต่ถ้าบอกว่าไม่ดีแต่แม่เคย แม่เคยแม่ก็พยายามระงับ พยายามงดเว้น พยายามทำสิ่งที่ดีสิ ถ้าเราพูดได้นะ

ถ้าทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น นี่มันรู้มันเห็นอยู่ มันรู้มันเห็นอยู่ เพียงแต่ว่ามันรู้มันเห็นอยู่แล้วเราจะแก้ไขได้หรือแก้ไม่ได้ ถ้าแก้ไม่ได้เราก็รู้ เราก็เห็น แล้วเราก็ทำของเรา เราก็พยายามของเรา แต่ถ้ามันสุดวิสัยท่านจะทำของท่านอย่างนั้น ท่านจะทำเพราะเป็นความเคยชินของท่าน เป็นความเคยชินของท่าน นี่อันนี้เราก็รับรู้อยู่ ถ้าเราช่วยเหลือได้เราก็ควรช่วยเหลือ ถ้าช่วยเหลือไม่ได้มันก็กรรมของสัตว์ไง กรรมของสัตว์เขาเรียกว่าสิ่งนี้มันเป็นสิ่งที่เขาเคยของเขา เขาทำของเขาอย่างนั้น อันนี้มันกรรมของสัตว์นะ ถ้าเป็นกรรมของสัตว์เราก็ต้องทำใจเรา

ธรรมของผู้บริหาร เห็นไหม ธรรมของผู้บริหาร พรหมวิหาร ๔ เราจะช่วยเหลือเขาเต็มที่เลย นี่พรหมวิหาร ๔ ถึงที่สุดแล้วนะช่วยเหลือขนาดไหนเขาก็ยังอยู่ของเขาอย่างนั้น ต้องอุเบกขา คำว่าอุเบกขานะ ถ้าเราไม่อุเบกขามันจะต้องมีการกระทบกระทั่งกัน ถ้าเราอุเบกขา อุเบกขาก็ไม่ใช่ว่าไม่รู้ ไม่เห็น มันก็เห็นของมัน แต่เราอุเบกขาไง อุเบกขาว่ามันสุดวิสัย มันเป็นสิ่งที่ว่าเราทำไม่ได้ แต่เราก็พูดของเราไป เราไม่ชักสะพานไง

ถ้ากรณีอย่างนี้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาการประหารขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือไม่พูดด้วย การไม่พูดด้วยคือการชักสะพาน การชักสะพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือประหารความดีของเราหมดเลยนะ คุณงามความดีที่เราจะได้จบเลย นี่คือการประหารขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ไอ้การประหารของเรานี่เราต้องทำร้ายกัน ต้องฆ่ากันถึงเป็นการประหาร แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแม้แต่ไม่พูดกับเรานั้นก็เป็นประหารคุณงามความดีของเราแล้ว ท่านไม่พูดกับเรา เราจะไม่ได้ประโยชน์มากขึ้นไปกว่านั้น เห็นไหม อันนี้มันเป็นสิ่งที่เป็นคุณสมบัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ถ้าของเรานี่เราทำของเรา

ถาม : ข้อ ๒. การที่เห็นพ่อแม่ผิดศีล ลูกจะตักเตือนเป็นบาปไหม? ได้ยินมาเสมอว่าพ่อแม่ไม่ควรเถียง เป็นบาป หรือทำเป็นไม่รู้ ไม่เห็น

ตอบ : พ่อแม่ไม่ควรเถียง ไม่ควรทำให้ท่านขัดใจไง แต่ในเมื่อความผิดศีล พอเห็นท่านผิดศีล แต่เราล่ะเราอย่าผิดศีลนะ เราก็ต้องดูแลตัวเราด้วย ถ้าเราทำของเราดี อันนี้จะเป็นสิ่งที่เป็นตัวอย่าง แล้วพ่อแม่จะได้คิดเองนะ เราทำตัวเราให้ดีๆ แล้วถ้าพ่อแม่เห็นว่าเราทำได้ท่านก็จะคิดได้ นี้เป็นข้อที่ ๒. เนาะ

ถาม : ข้อ ๑๒๐๔. เรื่อง “นั่งสู้เวทนา”

กราบนมัสการหลวงพ่ออย่างสูง ปกติผมมีโรคประจำตัวปวดหลัง ปวดเอว แรกๆ ก็นั่งสมาธิแล้วรู้สึกอาการดีขึ้นจากการนั่ง แต่ระยะหลังมีอาการปวดมากขึ้น บางครั้งปวดหลังจนนั่งไม่ได้ ลุกไม่ไหว ถ้าอาการหลังปวดเนื้อตัวไปมากจึงนั่งสมาธิ บางทีนั่งไปขาจะเจ็บก็ตามดูจนมันหาย นั่งต่อไปมันก็มีการขาชาอีก บางวันร่างกายสบายดีก็ไม่มีอาการ ผมพยายามสู้กับมันตามลำพัง แต่บางครั้งมันเจ็บปวดจนมันดีดออกมา ผมควรสู้ต่อหรือพักรบ พอมีกำลังแล้วสู้ต่อ หรือว่าสู้ทนให้มันขาดใจ ถ้าขาดใจกิเลสมันจะขาดไปกับเราไหมครับ หรือถ้าเป็นโรคภัยรุมเร้า มันเจ็บปวดจะนั่งสมาธิได้อย่างไรดีครับ บางทีนั่งนาน

ตอบ : นี่พูดถึงอาการปวดหลังไง ถ้าร่างกายของเรามีโรคภัยไข้เจ็บนะ เราต้องรักษาอาการร่างกายของเรา แต่การที่บอกว่าเราจะนั่งจนขาดใจไปเลย กิเลสจะขาดไปกับเราไหม? ถ้าเรานั่งขาดใจไปตาย กิเลสจะขาดไปกับเราไหม?

ถ้าเรานั่งไปนะ ถ้าเราขาดใจนั่นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ถ้าเรานั่งไปแล้วเกิดปัญญา ปัญญาที่มันพิจารณาเวทนา เวลามันปล่อยเวทนานะมันปล่อยหมดเลย แม้มันปล่อยนะ แต่ถ้าเราเจ็บป่วยใช่ไหม? เราเจ็บป่วย เวลาเวทนามันปล่อยนะอาการเจ็บป่วยเป็นธรรมโอสถ อาการเจ็บปวดนั้นมันจะหายได้เลย แต่ถ้าเรานั่งพิจารณาเวทนานะด้วยปัญญาที่ฟาดฟันกับเวทนา จนเวทนามันดับใช่ไหม? เวลาเวทนามันดับนะ เวทนาไม่ใช่เรา เราไม่ใช่เวทนา เวทนาไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่เวทนา

นี่ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕ นี่ถ้ามันปล่อยวาง มันสมุจเฉทปหานมันขาด นี่บรรลุธรรม ถ้าบรรลุธรรมบรรลุธรรมด้วยปัญญา ถ้ามีปัญญาแยกแยะขึ้นมามันจะเป็นความจริงของมันขึ้นมา แต่นั่งทนกับเวทนาจนขาดใจตาย กิเลสจะขาดไปกับเราไหมล่ะ? อันนี้มันนั่งนะ นี่การนั่งโดยการอดทนเอา เห็นไหม การนั่งโดยการอดทนเอามันไม่ใช่มรรค การนั่งถ้ามันใช้ปัญญา ถ้าใช้ปัญญามันจะมีกำลังพอจะใช้ปัญญาได้ไหม?

ถ้าเวลาสติ จิตมันสงบมาแล้วนะ ถ้าจิตสงบแล้ว เวลาจิตมันสงบ เห็นไหม จิตเห็นอาการของจิต จิตอยู่ที่จิต จิตสงบแล้ว พอเวทนามันรับรู้จิตมันออกไปจับเวทนา ถ้าจิตมันออกไปจับเวทนา ตัวจิต ตัวจิตเป็นอิสรภาพ ตัวจิตไม่มีกิเลสครอบงำ ตัวจิตไม่มีกิเลสครอบงำ ไม่เป็นพระอรหันต์หรือ? ไม่มีกิเลสครอบงำ ถ้ามีกิเลสครอบงำ เวทนาเป็นเรา เราเป็นเวทนา ความรู้สึกนึกคิด ความไม่พอใจ ความขัดข้องหมองใจ นี่เวทนาทั้งนั้นแหละ เวทนาจิต เวทนากาย

ถ้าเวทนาจิตมันรับรู้มันถึงเป็นเวทนาไง ถ้าจิตไม่รับรู้มันจะรู้สุข รู้ทุกข์ รู้ดี ไม่ดีหรือ? รู้ดี รู้ชั่วนี่มันรู้หมดเลย นี่มันเป็นเวทนาของจิต ถ้าเวทนาของจิต ถ้าเวทนากับจิตเป็นอันเดียวกันมันก็มีอารมณ์ความรู้สึก มันก็มีความรู้สึกนึกคิด ถ้าเราพุทโธ พุทโธ หรือเราพิจารณาเวทนาจนมันปล่อยเข้ามา พอมันปล่อยมา นี่จิตเป็นจิต เวทนามันก็ดับไป ถ้าเวทนาดับไป พอจิตมันออกรับรู้เวทนา นี่จิตออกมาจับเวทนา ถ้าเวลาจิตมันรับรู้เวทนาของจิต ความสุข ความทุกข์ ความชอบ ความพอใจ ไม่พอใจ เห็นไหม นี่เวทนาจิต เวทนากายถ้าเวทนาจิตนะ ความไม่พอใจ ความพอใจ ความสุข ความทุกข์ในใจ นี่เวทนาของมัน

ฉะนั้น ถ้าจิตสงบแล้วมันปล่อยเวทนาทั้งหมด เห็นไหม ทีนี้มันปล่อยเวทนาทั้งหมด เวทนาไม่ใช่เรา ถ้าเวทนาเป็นเรา เราคิดตามเวทนาไป พอมันพิจารณาเวทนา มันปล่อยเวทนาแล้วจิตมันก็เป็นสัมมาสมาธิ พอจิตเป็นสัมมาสมาธิ พอเวทนามันเกิดขึ้นมา จิตนี้ไปจับเวทนา ตัวจิตมันเป็นอิสระ มันจับเวทนา พอมันจับเวทนา มันพิจารณาเวทนาไง

นี่เวทนามันคืออะไร? เวทนา ความรู้สึกนี้มันคืออะไร? นี่มันมีสมุฏฐานมาจากอะไร? ต้นเหตุมาจากอะไร? แล้วมันตั้งอยู่อย่างไร? แล้วมันดับไปอย่างไร? นี่มันพิจารณาไป เห็นไหม อ๋อ เพราะจิตมันโง่ นี่จิตมันโง่ จิตมันไม่รู้เท่า มันแบกรับอารมณ์ว่าอารมณ์เป็นเรา ความพอใจ ไม่พอใจก็เป็นเราไง แต่ถ้ามันไม่มีความพอใจไม่พอใจบวกกับเวทนา เวทนามันก็สักแต่ว่าเวทนา ถ้าเวทนาสักแต่ว่าเวทนามันไม่มีใครส่งเสริมมัน ไม่มีสมุทัยไปยุแหย่มัน เวทนามันก็ดับ ถ้าเวทนามันดับไปแล้วมันเหลืออะไรล่ะ?

นี่ไงปัญญามันเกิดอย่างนี้ไง เวลาปัญญาพิจารณาเวทนาไง ไม่ใช่นั่งทนเวทนาไป นั่งทนไป ทนไปจนตายมันจะบรรลุธรรมไหม? มันจะบรรลุธรรมอะไร? ก็มันเจ็บปวดจนตาย มันก็ตายไปกับความเจ็บปวด มันจะบรรลุธรรมที่ไหนล่ะ? แต่ถ้ามันบรรลุธรรม บรรลุธรรมด้วยปัญญา ปัญญาที่มันจับเวทนาพิจารณาไง เวทนานี่เป็นนามธรรมนะ ร่างกายมันเจ็บปวดได้ไหม?

เวลาเวทนากายมันปวดเมื่อย มันก็ปวดเมื่อยเพราะร่างกายมันปวดเมื่อย ร่างกาย เส้นเอ็นต่างๆ มันตึงของมัน มันก็ปวด มันก็เมื่อยของมัน จิตมันก็รับรู้ แต่จริงๆ ร่างกายนี้มันเจ็บปวดได้ไหม เนื้อหนังมังสามันเจ็บปวดได้ไหม? มันไม่ได้หรอก แต่จิตมันไปยึด ไปเกาะ เวลามันขุ่นข้องหมองใจนี่มันเวทนาของจิต นี่เวทนาของจิต เวลารับรู้มันมีเวทนาได้อย่างไรล่ะ? มีเวทนาเพราะมันมีสมุทัยไง มีความไม่รู้เท่าไง

สมุทัยคือตัณหาไง ไปรู้ไปรู้ในเวทนาไง แต่เราพิจารณาเวทนาจนปล่อยเข้ามามันเป็นอิสระ เห็นไหม พอเป็นอิสระ นี่สัมมาสมาธิ นี่ตัวจิต นี่สมถะที่ว่าไม่สำคัญๆ ถ้าไม่มีสมถะ มรรค ๘ มันไม่มีหรอก มรรค ๘ มันมีสัมมาสมาธิ ถ้าไม่มีสัมมาสมาธิมันจะเป็นมรรค ๘ ได้อย่างไร? ถ้ามรรค ๘ ขึ้นมามันออกไปจับเวทนาอีกเห็นไหม พอจิตนี้ออกไปจับเวทนา จิตไปจับเวทนา มันเหมือนกับเราติดเตา เราติดเตา เราติดไฟ เราจะเอาไฟมาทำอาหาร แต่เวลาไฟไหม้ตัวเรานี่ทุกข์ร้อนนะ แสบนะ

เวลาเวทนาเป็นเรานะมันก็ไฟเผาที่ตัวไง แต่เวลาเรารู้เท่า เราดับไฟที่ตัวเราแล้ว เห็นไหม เราจุดไฟที่ในเตา เตานั้นจะทำอาหาร พลังงานนั้นจะไปใช้เพื่อประโยชน์ เวทนามันอยู่ข้างนอกไง จิตจับเวทนาคือไฟในเตา แต่ถ้าไฟมันไหม้เรา ไฟมันเผาเรา นี่เวทนาเป็นเรา ถ้าเวทนาเป็นเรานี่มันเผาเลย มันเผาเรา มันเจ็บปวด เจ็บแสบร้อนนี่เวทนาเป็นเรา แต่พอจิตสงบเข้ามามันดับหมด เห็นไหม ดับหมดเวทนาก็อยู่ข้างนอก

เวลาจิตมันจับเวทนาได้มันก็พิจารณาเวทนาใช่ไหม พอพิจารณาเวทนา ถ้าเวทนามันดับ ดับเพราะอะไร? ดับเพราะปัญญา งานชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบเป็นมรรค พอมรรคมันพิจารณาแล้วมันปล่อย พอมันปล่อยขึ้นมา เห็นไหม มันปล่อยเพราะอะไร? มันปล่อยเพราะมรรคสามัคคี มรรคสามัคคีมันก็ปล่อยวางชั่วคราวๆ จนมันสมุจเฉทปหาน

นี่เพราะคำถามถามว่า

ถาม : ถ้ามันนั่งทนเวทนาจนตายไป เวลาตายไปแล้วกิเลสมันจะขาดไปพร้อมไหม?

ตอบ : อื้อฮือ ฉะนั้น เวทนานอก เวทนาใน เวทนาในเวทนา นี่พูดอย่างนี้เขาบอกว่ามันเป็นโวหาร ถ้าคนภาวนาไม่เป็น มันจะแบ่งแยกไม่เป็นหรอกว่าเวทนากาย เวทนาจิต ถ้าเวทนาจิต จิตมันมีเวทนาในเวทนา เวทนามันลึกซึ้งขนาดไหน? แม้แต่เวลาจิตเดิมแท้นี้ผ่องใส เวทนาอันละเอียดมันผ่องใส มันเศร้าหมอง มันแค่เศร้าหมอง ผ่องใส มันไม่ได้เจ็บปวดอะไรเลย เวทนาละเอียดๆ ละเอียดจนรับรู้ไม่ได้เลย แต่ถ้าอรหัตตมรรคมันรู้ได้ มันพิจารณาได้ มันก็สมุจเฉทปหานของมันได้ มันก็จบของมันได้ นี่พูดถึงว่า “การต่อสู้กับเวทนา” เนาะ

ถ้าเรามีร่างกายเจ็บไข้ได้ป่วย เราควรไปหาหมอ แต่ถ้าคนภาวนาเป็นนะเขาพุทโธ พุทโธ พุทโธเป็นธรรมโอสถ พอจิตมันสงบเข้ามามันปล่อยหมดนะ ความเจ็บไข้ได้ป่วยหายได้เลย แต่ต้องคนมีกำลัง คนต้องมีขันติธรรม คนต้องมีสติ มีปัญญาพร้อม แต่ถ้าคนไม่มีสติปัญญาพร้อม นี่จิตมันสงบก็ทุกข์ยากอยู่แล้ว แล้วร่างกายจะชำรุดไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเราไปหาหมอ ให้หมอรักษาร่างกายนี้ให้มันเป็นปกติ แล้วเราพยายามมาพิจารณาใจของเรา

คือใจเราไม่ไปเสริม ถ้าเวลาเจ็บไข้ได้ป่วยใจมันไปเสริม โรคเครียด วิตกกังวลมันทำให้ความเจ็บไข้ได้ป่วยนั้นบานปลายไป แต่ถ้าจิตเราไม่ไปส่งเสริมร่างกายนี้ให้ทางโรค ทางหมอเขาพิจารณา แล้วเรามาดูแลรักษาใจของเรา นี่ถ้ารักษาใจของเรานะ ใจของเรามันไม่ไปส่งไปเสริมให้โรคนี้มันบานปลายไป แล้วเราพิจารณาของเรา พิจารณาของเราเพื่อประโยชน์กับเรา นี่พูดถึงการพิจารณา การรักษาเนาะ การรักษาเรา การดูแลใจของเรา

ฉะนั้น สิ่งที่ทำนี้ทำเพื่อเรานะ ศึกษามาทางวิชาการ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการพระแต่ละองค์ พระอรหันต์ในสมัยพุทธกาลที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้สั่งสอนมา แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้อุบายแต่ละองค์ไม่เหมือนกันเลย ไม่เหมือนกันนะ สอนพระสารีบุตรกับสอนพระโมคคัลลานะก็แตกต่างกัน เวลาสอนพระอัญญาโกณฑัญญะ เห็นไหม นี่เทศน์ธัมมจักฯ พระอัญญาโกณฑัญญะเป็นพระโสดาบัน พระอัสสชิ พระมหานาม ปัญจวัคคีย์อีก ๔ องค์ไม่ได้อะไร การสั่งสอนมันสั่งสอนแต่ละองค์ๆ ไม่เหมือนกัน

ฉะนั้น ในการประพฤติปฏิบัติของเรา เราประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริงของเรา แล้วเราดูแลเรา ร่างกายนี้ไปหาหมอให้หมอรักษา แล้วจะภาวนา จะต่อสู้อย่างใดให้ตั้งใจจริงของเรา ทำของเราไป เพราะเราเกิดมามีร่างกายและจิตใจ ร่างกายนี้ได้มาจากพ่อ จากแม่ นี่กำเนิด พ่อแม่เป็นพระอรหันต์ให้ชีวิตเรามา แต่จิตใจนี้เราเกิดมาจากกรรม เพราะมีกรรมดี กรรมชั่วเราถึงได้มาเกิดเป็นมนุษย์ แล้วเรามีความรู้สึกนึกคิด เพราะกรรมอันนี้มันเป็นตัวส่งเสริมว่าเราจะคิดดี คิดชั่วได้มากน้อยแค่ไหน แต่ร่างกายนี้เป็นของพ่อ ของแม่

ฉะนั้น เราเกิดมาแล้ว เรามีโอกาสเราก็รักษา กายนี้ก็ให้หมอรักษา ใจนี้เราก็ต้องรักษาเพื่อประโยชน์กับเรา เห็นไหม ถ้าเป็นประโยชน์กับเราแล้วเราจะทำได้ประโยชน์กับเรา เราจะไม่สงสัย และเราจะไม่ทุกข์ร้อนกับเรา นี้คือการพิจารณาเวทนา เอวัง