เทศน์บนศาลา

รสของธรรม

๑๓ ก.ค. ๒๕๔๖

 

รสของธรรม
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๖
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจฟังธรรม วันนี้วันอาสาฬหบูชา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม เสวยวิมุตติสุขก่อน พอเสวยวิมุตติสุขวันนี้ไปเทศน์ที่ป่า เทศน์ให้ปัญจวัคคีย์ฟัง พอเทศน์ธรรมจักรจบ เทวดาส่งข่าวต่อๆ กันไป กลิ่นของธรรม เทวดาได้กลิ่นของธรรม แต่เวลาเทศน์ธรรมจักรจบ พระอัญญาโกณฑัญญะได้รสของธรรม

รสของธรรม คือว่า พระอัญญาโกณฑัญญะรู้ธรรมไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า “อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ” เพราะเป็นเครื่องพิสูจน์กันว่า พระอัญญาโกณฑัญญะเป็นโสดาบัน

“สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ้นนั้นย่อมดับ ย่อมแปรสลายเป็นธรรมดา” ความเห็นธรรมดาของใจปล่อยวางสิ่งนั้น ได้รสของธรรม

แต่เทวดาได้กลิ่นของธรรม กลิ่นเพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธรรมจักร ส่งข่าวขึ้นไปเป็นชั้นๆ ขึ้นไป ได้กลิ่นของธรรม แล้วเราล่ะ เราเกิดเป็นเทวดาช่วงนั้นไหม แล้วเรามาเกิดในปัจจุบันนี้ เราก็ได้กลิ่นของธรรม เราได้กลิ่นเห็นไหม กลิ่นของธรรมคือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า วางธรรมไว้ให้เราก้าวเดินตามนั้น เรายังไม่ได้รสของธรรม

ถ้าเรายังไม่ได้รสของธรรม เราต้องฝืนตน ตั้งแต่เริ่มต้น ตั้งแต่ทาน ตั้งแต่ศีล ตั้งแต่ภาวนา มีความเห็นของใจ ใจเปิดขนาดไหนก็ทำได้ขนาดนั้น ถ้าจะทำได้ขนาดนั้น ทำตามศรัทธา ความเชื่อ สิ่งที่เชื่อ ถ้าเชื่อส่วนหนึ่งก็ได้ส่วนหนึ่ง ถ้าเราเชื่อมาก ทุ่มทั้งชีวิต ผู้ที่ปฏิบัติ “ธรรมะนี้อยู่ฟากตาย” ธรรมะนี้ไม่เกิดขึ้นโดยที่ว่าเจริญงอกงามโดยกิเลสเปิดให้เกิดหรอก กิเลสจะไม่ให้เกิดเลย

เวลากิเลสอยู่ในหัวใจ มันต้องมีความพลิกแพลงของมันตลอดไป มันจะไม่ยอมให้ธรรมะเกิด เพราะเราเกิดมากับกิเลส กิเลสก็มีอยู่ เวลาเราทำ เวลาเราต้องใจ ปรารถนาจะทำคุณงามความดี กิเลสมันจะผลักไส ผลักไสเพราะว่า เขาต้องการมีอำนาจเหนือกว่าเรา มีอำนาจเหนือกว่านะ แล้วก็พาทุกข์พายาก เรานี่ทุกข์ยากแสนเข็ญนะ

การเกิดขึ้นมา เราว่าปรารถนามีความสุข สิ่งใดมีความสุขจะปรารถนาสิ่งนั้น แสวงหาสิ่งนั้น แล้วพอถึงจุดแล้ว ตรงไหนมีความสุข มันเป็นความพอใจของใจที่แสวงหาเท่านั้น ตัณหาความทะยานอยาก สิ่งที่อยากขึ้นมา อยากตามกลิ่น กลิ่นของกิเลสมันเป็นไปส่วนหนึ่ง กลิ่นของกิเลส รสของกิเลส ทำให้เราเจ็บแสบปวดร้อนในหัวใจ ในหัวใจมันเจ็บแสบปวดร้อน เพราะรสของกิเลสมันขับไส มันทำให้เราเจ็บแสบปวดร้อน แต่เราก็ไม่รู้ เราพอใจ

เราว่าเราพอใจสิ่งนั้น เราพอใจในการกระทำของเรา เราว่าเราทำคุณงามความดี ทำคุณงามความดีตามอำนาจการขับดันของกิเลส สิ่งที่กิเลสเห็นไหม แต่เวลาเราจะออกประพฤติปฏิบัติล่ะ เราต้องออกประพฤติปฏิบัติ ความเห็น เวลาฟังธรรมเห็นไหม ถ้าเรายังมืดบอดอยู่นะ ธรรมมีอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่มีใครเคยได้ยินได้ฟัง เพราะไม่สนใจจะฟัง ถึงว่า “ฟังธรรมเป็นกาลเป็นเวลา” อันนี้เป็นมงคลอย่างยิ่ง

ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ การสนทนาธรรมเป็นครั้งเป็นคราว จะเป็นมงคลกับผู้ที่ได้ยินได้ฟัง การเกิดในประเทศอันสมควรก็เป็นมงคลอันหนึ่ง มงคลที่เราเกิดมาในประเทศเห็นไหม ในศาสนาพุทธ ในประเทศที่ว่านับถือศาสนาพุทธ แล้วเราได้ประพฤติปฏิบัติ

คนเขาไปเกิดในประเทศต่างๆ เวลาเขาศึกษาพระไตรปิฎกนะ เขาก็ต้องการประพฤติปฏิบัติ เขาไม่มีสิ่งแวดล้อมไง เขาไม่มีพระ เขาไม่สามารถจะบวชได้ เขาต้องมาบวชในประเทศไทยของเรา ชาวยุโรปมาบวชในประเทศไทยเพราะอะไร เพราะว่าเขาได้กลิ่นของธรรม เขาศึกษาพระไตรปิฎก เขาได้กลิ่นของมัน แต่เขายังไม่ได้สัมผัสเพราะอะไร เพราะเขาสัมผัสสิ่งนั้นไม่ได้ เพราะไม่มีใครชี้นำ

สิ่งที่ชี้นำเห็นไหม ครูบาอาจารย์ชี้นำเรา ชี้นำว่าต้องทวนกระแส คำว่าทวนกระแสของเรา เราก็ว่าเราทวนกระแสของเราแล้ว เราประพฤติปฏิบัตินี่เราทวนกระแสแต่ทวนกระแสของเรา เดินเวียนเทียนเมื่อกี้เห็นไหม เด็กมันก็เวียนได้ ผู้ใหญ่ก็เวียนได้ เวียนร่วมกัน เด็กก็เวียนประสาเด็ก เดิน ๓ รอบ เหมือนกับผู้ใหญ่เดินเหมือนกัน

ใจของเด็กๆ พอเวลามันคิดสิ่งที่ว่ามันเป็นทวนกระแส ว่านั้นสิ่งเป็นสิ่งที่อุกฤษฏ์กับมันแล้ว แต่เวลาเราประพฤติปฏิบัติเข้าไปนะ ได้ธรรมเข้าไปเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป กิเลสมันจะละเอียดเป็นชั้นเป็นตอน แล้วมันคอยขับไส คอยต่อต้านความประพฤติปฏิบัติของเรา ถ้าเราประพฤติปฏิบัติ ความทุกข์ความยากนั้นคือกิเลส มันไม่ให้เราประพฤติปฏิบัติ ธรรม-สภาวธรรม เห็นไหม

ฝนตกฟ้าร้อง ฝนตกมีแต่ความร่มเย็น ความชุ่มเย็น เวลาแดดออกมีแต่ความเร่าร้อน เวลาแดดออก เวลาความเร่าร้อนของใจ นี่กิเลสมันเป็นอย่างนั้น เหมือนกับแดดออก สภาวธรรมเกิดขึ้นมา ฝนตกต้องเจริญงอกงาม จะเจริญงอกงาม.. จิตใจเราจะเจริญงอกงามขึ้นมา เราต้องรดน้ำพรวนดิน พยายามทำให้ธรรมเกิดขึ้นจากหัวใจของเรา ถ้าเรามีความคิดอย่างนั้น มีความคิดอย่างนี้มันการเป็นเริ่มต้นศรัทธา หัวรถจักรมันจะดึงเรามาเลย ดึงให้เราแสวงหาธรรม แสวงหาสิ่งนี้เข้ากับหัวใจ ให้หัวใจได้สัมผัส สัมผัสความสุขของใจ ความสุขของใจเห็นไหม

ผู้ที่ปฏิบัติธรรมเห็นไหม กษัตริย์ในสมัยพุทธกาล เขาออกมาบวช เวลาเขาสำเร็จแล้ว “ที่นี่สุขหนอ สุขหนอ.. สุขหนอ..” จนพระเขาเห็นว่าพูดอย่างนั้น เขาคิดว่าเป็นการกล่าวตู่ เป็นการว่าอวดว่ามีธรรม ไปฟ้องพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเรียกมาถาม เป็นเพราะเหตุใดถึงกล่าวว่า “สุขหนอ สุขหนอ” ล่ะ

สุขหนอเพราะแต่ก่อนเป็นกษัตริย์ แม้แต่จะนอน จะทำอะไรก็แล้วแต่ กลัวแต่เขาจะยึดอำนาจ กลัวแต่เขาจะปองร้าย ขนาดมหาดเล็กเฝ้าตลอดเวลาก็กลัว หวาดระแวงไปตลอด จะไม่มีความสุขในหัวใจนั้นเลย แต่เวลาเราประพฤติปฏิบัติถึงที่สุดแล้ว อยู่โคนไม้มันไม่มีใครมารังแกหรอก มันไม่มีใครมายุ่งกับเรา เพราะว่าเขาไม่สนใจ

เราเหมือนกับนักรบเห็นไหม รบกับตนเอง สละสิ่งต่างๆ ออกทั้งหมด สิ่งที่เป็นสาธารณะ ชีวิตนี้เป็นสาธารณะเห็นไหม การครองเรือนเป็นสาธารณะ เราก็สละออก เราไม่เอา เราสละออกมาเพื่อบวช บวชขึ้นมาเพื่อถือพรหมจรรย์ ปฏิบัติพรหมจรรย์ พรหมจรรย์ของใจ บวชเข้ามาแล้วได้เทศน์ออกมาก่อน ได้เทศน์ขึ้นมาประกาศเป็นสมมุติสงฆ์

ออกประพฤติปฏิบัติก็เหมือนกัน ผู้ที่ปฏิบัติ มีศีลมีธรรมคอยควบคุมจิตใจ สิ่งที่ควบคุมจิตใจ เริ่มต้นตรงนี้ เหมือนกับเด็ก เด็กถ้าปล่อยให้เล่นตามสบาย เขาจะอยู่ของเขาได้ เด็กลองให้ทำงาน เด็กจะต่อต้าน ใจก็เหมือนกัน ใจเด็กๆ เห็นไหม เวลาเอาเข้าทางจงกรมนั่งสมาธิ ให้นั่งสมาธิภานามันจะต่อต้าน มันจะไม่อยากทำตาม มันต้องแต่ใจเด็กๆ มันก็ฝืนมาเด็กๆ เพราะอะไร

เพราะเราเคยปล่อยใจตามสบายของเรา ความปล่อยใจ ความคิดของเราไป คิดออกไปต่างๆ นั้น เราว่ามันเป็นผลเป็นประโยชน์กับเรา เพราะเราใช้ปัญญาเราใช้ความคิด ไม่เข้าใจเลยว่าอันนั้นเป็นฟืนเป็นไฟทั้งหมด ความคิดของเรา คิดไปตามกิเลสตัณหา ย้อนไปตลอด ต่อกระแสยืดยาวออกไป เอาแต่ความเร่าร้อนมาให้กับใจ สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ว่าเป็นเรื่องของกิเลส เพราะความความคิดของเราเห็นไหม

กิเลสเกิดจากเรา กิเลสเกิดจากเบื้องหลังของความคิด ความคิดนี้มันเป็นขันธ์ แล้วกิเลสมันอยู่ที่จิต จิตนี้มันเป็นเรื่องของกิเลสอยู่กับหัวใจของเรา สิ่งนี้มันขับไสไปตลอด มันถึงต้องทำสัมมาสมาธิไง มันถึงต้องทำความสงบของใจไง ถ้าใจสงบเข้ามามันจะเห็นโทษของมัน ถ้าผู้เห็นโทษนะ เห็นโทษของความคิด ความคิดของเรามันคิดไปตามอำนาจของกิเลสที่อยู่เบื้องหลัง

สิ่งที่อยู่เบื้องหลังเป็นความเคยใจ เป็นจริตนิสัยของแต่ละบุคคล คนชอบ คนรักสิ่งใด มันจะแสวงหาสิ่งนั้น ถ้าคนไม่ชอบเกิดมาเห็นซึ่งๆ หน้า เราก็ไม่ปรารถนา เพราะเราไม่รู้ว่าสิ่งนั้นมันชอบจากจริตนิสัยของเรา แต่ถ้าสิ่งใดมันชอบ มันจะเอาสิ่งนั้น นี่กลิ่นของกิเลสไง

รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมาร แล้วใจมันอาศัยสิ่งนี้เกิด เดินอยู่ตลอดเวลา เดินอยู่กับเรื่องของ รูป รส กลิ่น เสียง แล้วอุปาทานก็ยึดมั่น ถือมั่น ไปตลอดทุกอิริยาบถที่มันคิดไป ธรรมดาของใจเป็นแบบนั้น ธรรมดาของใจต้องอาศัยสิ่งเกาะเกี่ยวไป แล้วมันก็โดนกิเลสหลอกไป มีแต่ความเร่าร้อนของใจ เผาใจดวงนั้นตลอดไป มันก็แก้ไม่เป็นไง ถ้าเราไม่เจอธรรม

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม ธรรมจักร จักรนี้ได้เคลื่อนแล้วเห็นไหม ส่งต่อขึ้นไป เป็นกลิ่นหอมฟุ้งไปตลอด

“กลิ่นของศีล กลิ่นของธรรม หอมทวนลม”

จะทวนกระแสไปตลอด ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติทำคุณงามความดีไป ผู้ใหญ่จะพูด จะชมคนนั้น นี่กลิ่นของธรรมมันจะย้อนไป ทวนลมไปตลอด นี้ก็เหมือนกัน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุข

พระอรหันต์มีแต่ตำรา..

คำว่าพระอรหันต์นี้เป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมเป็นพระอรหันต์ขึ้นมา มีความผูกพัน มีความยึดมั่น มีความต้องการจะแสวงหาสิ่งนั้น ถ้าทำสิ่งนั้นจะทำได้อย่างไร อ้อนวอนก็ไม่ได้ จะให้ช่วยเหลือสิ่งใดก็ไม่ได้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม เข้าใจเรื่องของกิเลส กิเลสมันอยู่ที่ใจ สิ่งที่จะชำระล้างได้ต้องเกิดอาการธรรม ธรรมจักรเกิดขึ้นจากอาการของใจ

สิ่งที่ธรรมจักรจะเกิดขึ้น อาการของใจนั้นต้องมีความสงบของเราขึ้นมาก่อน สิ่งที่มีความสงบของเราขึ้นมา มันพ้นจากความคิดของกิเลส ความคิดต่างๆ ที่มันเร่าร้อนอยู่นี้ เพราะเป็นความคิดของกิเลส สิ่งที่เป็นความคิดของกิเลส กิเลสมีความร่วมคิดกับเรา เวลาคิดกิเลสมันไปด้วย เพราะกิเลสเป็นเนื้อเดียวกับใจ สิ่งที่เนื้อเดียวกับใจตามพร้อมไปกับความคิดของเรา เป็นเรื่องของกิเลส ถึงต้องต่อสู้ไง ต้องมีความทำความสงบของเราเข้ามา ต้องใช้คำบริกรรม จะใช้คำบริกรรมขนาดไหน สติสัมปชัญญะพร้อมตลอด

ถ้ามีสติ สิ่งนั้นจะเป็นงาน ถ้าขาดสติไป สักแต่ว่าทำ มันก็เผลอไป เพราะอะไร เพราะกิเลสทำให้เผลอ กิเลสทำให้สตินี้อ่อนไป ทำแล้วมันจำเจ มันทำให้ไม่มีสติสัมปชัญญะคอยระวังตัวตลอดไป นี่สติเผลอ พอเผลอไป แล้วโทษใครล่ะ จะบอกว่าปฏิบัติธรรมแล้วทุกข์ ทุกข์ได้อย่างไร ถ้าปฏิบัติธรรมมีสติอยู่ กำหนดคำบริกรรมอยู่ สืบต่อไปอยู่ มันต้องเป็นไป

สิ่งที่เป็นไปเห็นไหม พระอาทิตย์ขึ้นแล้วต้องตก ตกแน่นอน พระจันทร์ขึ้นก็ตก สิ่งใดก็ตก เพราะมันหมุนเวียน โลกมันหมุนไปโดยธรรมชาติของมัน

“สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นต้องแปรสภาพไปตลอดเลย”

นี้ก็เหมือนกัน อาการของใจ ความคิด มันหยุดของมันได้ แต่เราไม่เคยทำให้มันหยุดต่อ ห่วงโซ่ของความคิดมันคล้องกันไป แล้วก็มันหมุนกันไป

ห่วงโซ่นั้นโดนไฟเผาด้วยความร้อน แล้วเราเอามือไปจับห่วงโซ่นั้น รูดห่วงโซ่นั้น เป็นความร้อนตั้งแต่ปล้องแรก ปล้องต่อๆ ไป แต่ถ้าเรารูดเร็ว ความคิดของเรา บางคนคิดได้เร็ว มันก็ให้ความร้อนกับใจตลอดเลย นั่นน่ะ มันถึงต้องให้มีความสงบเห็นไหม นี่พระอาทิตย์ขึ้นต้องตก เพราะเป็นอย่างนั้น เป็นธรรมชาติของเขา ความคิดก็เป็นแบบนั้น แต่เราไม่เคยใช้ความคิดให้มันเป็นประโยชน์ เราไม่เคยใช้ความคิด

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเห็นโทษของความคิด ว่าปัญญา ปัญญา คนที่มีปัญญา จะชำระกิเลสได้ ต้องใช้ปัญญาเท่านั้น ทำความสงบของใจนี้ชำระกิเลสไม่ได้ อันนั้นเป็นความถูกต้อง ทำความสงบของใจนี้ชำระกิเลสไม่ได้ แต่ถ้าไม่มีความสงบของใจ ปัญญานั้นเป็นปัญญาโลกียะ ปัญญานั้นเป็นปัญญาที่กิเลสพาใช้ แต่ถ้ามีความสงบของใจ แล้วเราต้องฝึกฝนปัญญา จนปัญญามันจะออกก้าวเดินของมันไป

ถ้าปัญญาออกก้าวเดินของมันไป เราจะมีความมหัศจรรย์ มีความแปลกประหลาดว่าสิ่งนี้มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร นั่นล่ะสภาวธรรมเกิดขึ้น นี้สภาวธรรมฝ่ายเหตุนะ “สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา” ธรรมทั้งหลายแปรสภาพตลอดเลย “สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา” สิ่งนี้เกิดดับ เกิดดับไง เราสร้างขึ้นมา เราพยายามจงใจสร้างขึ้นมา เราพยายามรดน้ำพรวนดินให้เจริญงอกงามขึ้นมาจากใจของเรา ให้มีความสงบ มีความสุขพร้อมกับจิตสงบ จิตนี้สงบเข้ามาแล้วมันจะเป็นความพร้อม มันตรงข้ามกับความฟุ้งซ่านไง นั้นล่ะบ่วงของมาร

สิ่งนั้นเป็นบ่วง มันถึงเกาะเกี่ยว เพราะความจงใจของมัน ถ้าเราพยายามทำความสงบเข้ามา มันจะปล่อยสิ่งนั้นเข้ามา ปล่อยเข้ามา จนเป็นกัลยาณปุถุชนนะ สิ่งที่เป็นปุถุชนคนหนาไปด้วยกิเลส จะฟังสิ่งใดก็ฟังด้วยกิเลสพาฟัง กิเลสพายึดมั่นถือมั่น กิเลสพาความพอใจ มันก็จะฟัง ถ้ากิเลสไม่พอใจจะฟัง มันก็จะต่อต้านเห็นไหม แล้วธรรมเป็นสิ่งที่ว่าไปชำระกิเลส มันจะฟังธรรมได้อย่างไร มันก็ต้องฟังกิเลสสิ

กิเลสว่า “สิ่งนั้นไม่มี ธรรมนี้ไม่มีแล้ว หมดกาล หมดสมัย หมดเวลาแล้ว สิ่งนี้มันสำหรับแต่ผู้ที่ว่า ผู้เป็นพระ เป็นเจ้านั้น ที่เป็นผู้ปฏิบัติ เราไม่ต้องหรอก..”

แม้แต่พระก็เหมือนกัน ถ้าพระประพฤติปฏิบัตินะ “หมดกาล หมดเวลา ครูบาอาจารย์ทำได้ เราทำไม่ได้..” เราทำไม่ได้เห็นไหม

สิ่งที่ว่าเราทำไม่ได้ ทำไมมันมาอยู่ที่เราล่ะ กิเลสมันทำให้เราท้อถอยไง ถ้าเราท้อถอยนะ มนุษย์เกิดมา ทุกคนมีศีล ๕ ศีล ๕ คือ ขา ๒ แขน ๒ หัว ๑ ศีล ๕ มีอยู่แล้ว ถ้าเราจะวิรัติขึ้นมาเอง ถ้าเราไม่เจอพระ เราวิรัติของเราขึ้นมาอย่างนั้นก็เป็นศีล ๕ ศีลเกิดขึ้นจากเจตนา เกิดจากการกระทำ เราเจตนาขึ้นมาจากใจ มันก็เป็นศีลแล้ว แล้วมนุษย์ปฏิบัติเหมือนกัน สิ่งที่เป็นมนุษย์ทำไมจะทำไม่ได้

อำนาจวาสนาก็เป็นส่วนหนึ่ง ส่วนที่ว่า ถ้าอำนาจวาสนามันถึงเวลา มันมีความสะดวกสบาย การประพฤติปฏิบัติมันจะสมความปรารถนาไปเป็นชั้นเป็นตอน แต่ก็มีอุปสรรค เพราะคนมีอำนาจวาสนาก็มีกิเลส ขึ้นชื่อว่ากิเลสแล้ว มีอำนาจเหนือสัตว์โลกทั้งหมด คนที่เกิดมา ตั้งแต่มีการเกิดขึ้นมา นั้นกิเลสพาเกิด เพราะใจนั้นมียางเหนียว

สิ่งที่มีกิเลสพาเกิด กิเลสในหัวใจของเรานั้นมันต้องมีอำนาจเหนือกว่าเรา แล้วขับไสไป เว้นไว้แต่ ถึงที่สุดแล้ว สิ่งนั้นเรื่องของใจ จะพ้นจากสิ่งนี้ไปได้ นี่กิเลสมันบังไว้ไง จะประพฤติปฏิบัติก็ผัดวันประกันพรุ่ง เกิดขึ้นมาเป็นเด็ก มีโอกาสขึ้นมา มีพ่อแม่เลี้ยงดูอยู่ มันก็เพลินไป พอโตเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมา ก็ว่าแก่แล้วค่อยประพฤติปฏิบัติ พอแก่แล้วก็ว่าปฏิบัติแล้วจะไม่ได้ผล ก็จะไม่ทำ แล้วแต่คิดออกไปอย่างนั้น นี่บังไว้ไง กาลเวลาบังสิ่งนี้ไว้ วุฒิภาวะบังสิ่งนี้ไว้

คนเรานะ ตั้งแต่เล็กจนโต ประสบการณ์ของเราในชีวิต มันจะก้าวเดินไป เป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป พบสิ่งใด สิ่งนั้นมันก็เป็นปัจจุบัน แล้วก็คาดหมายไป อดีต อนาคตว่า เมื่อนั้นจะเป็นอย่างนั้น เมื่อนี้จะเป็นอย่างนั้น ความที่เป็นปัจจุบัน มันต้องทำความสงบของใจด้วย ถ้าใจสงบขึ้นมา มันเป็นปัจจุบันเห็นไหม

สิ่งที่เป็นปัจจุบัน แล้วมันจะค้นคว้าได้ ถ้าค้นคว้าเห็นไหม ถ้าใจไม่สงบ การค้นคว้านั้นเป็นของชั่วคราว แต่ถ้าจิตนั้นสงบขึ้นมา สิ่งนี้เกิดขึ้นมา มันจะเกิดปัญญาจากภายใน ปัญญาเกิดขึ้นมาจากภายในนี้ จะเป็นสิ่งที่ชำระกิเลสไง ปัญญาจากภายนอกทำให้เราฟุ้งซ่าน ปัญญาจากภายนอก จะทำให้เราคาด เราหมาย

สิ่งที่คาดที่หมายมันมีอยู่ด้วยกันทุกคน แล้วสิ่งนี้จะเกิดขึ้นมาได้ เกิดขึ้นมาตลอด ถ้าสติอ่อนขึ้นมา สัญญาจะเกิดขึ้นมา การคาดการหมาย ฟังเทศน์ครูบาอาจารย์ไม่ใช่ว่าจะเอามาใช้ประโยชน์ไม่ได้ เอามาใช้ประโยชน์เป็นสิ่งที่ว่าจุดไง จุดไฟนั้นจะจุดได้ มันต้องมีความกระทบกัน มันถึงเกิดขึ้นมาเป็นไฟ ถ้ามันเป็นไฟขึ้นมา

ใจก็เหมือนกัน สิ่งที่จะจุดประเด็นให้เราขึ้นมา ให้เราคิดด้วยปัญญาออกไป มันก็ใช้ได้ ใช้ได้เป็นปัจจุบันตลอดไป สิ่งที่เป็นปัจจุบันอยู่ที่เราใช้ตลอดไป เราใช้ขึ้นมา เรายกขึ้นมา มันก็เป็นเห็นไหม เราไม่ยก มันก็ไม่มี ยกขึ้นมามันก็มี หัวใจนี้มันแปลก.. แปลกอย่างนั้นจริงๆ มันมหัศจรรย์.. มหัศจรรย์มาก คิดสิ่งใดมันก็จะเกิดสิ่งนั้น คิดเป็นกิเลสจะเป็นกิเลส คิดเป็นธรรมมันจะเป็นธรรม แต่คิดเป็นธรรมมันไม่อยากคิด เพราะกิเลสมันขับไส ถ้าคิดเป็นกิเลสนี้มันพอใจ แล้วมันส่งเสริมกัน มันพุ่งออกไปเลย มันถึงจะเป็นแบบนั้น ชีวิตเราถึงลุ่มๆ ดอนๆ ไง ลุ่มๆ ดอนๆ ในชีวิตนะ

ในการประพฤติปฏิบัติก็ต้องลุ่มๆ ดอนๆ ถึงต้องพยายามตั้งใจ แล้วคำบริกรรมนี้กำหนดให้ได้ คำบริกรรมกำหนดขึ้นมา ลมหายใจเข้านึก “พุท” ลมหายใจออกนึก “โธ” ทำสิ่งนี้ไปเรื่อยๆ เราจะปั้นโอ่ง ปั้นไห ถ้าเราจะปั้นโอ่ง ปั้นไห ดินของเราไม่ดีนะ เราปั้นเข้าไปแล้ว ถึงเป็นรูปทรงขึ้นมา มันก็ใช้ประโยชน์ไม่ได้ เพราะน้ำมันจะรั่วออก แต่ถ้าดินมันดีขึ้นมา ปั้นขึ้นมา มันจะเป็นประโยชน์ขึ้นมา เราถึงต้องใช้เวลาตรงนี้ไง เราอย่าเห็นว่าอันนี้เป็นการเสียเวลา

สมาธิไม่สามารถชำระกิเลสได้ ก็จะไม่สนใจสมาธิ จะใช้ปัญญาๆ ปัญญาอันนั้นเป็นปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาเราคิดออกไป คิดตามความคิดออกไป เป็นปัญญาอบรมสมาธิเหมือนกัน แต่เราก็ไม่เข้าใจไง เราไม่เข้าใจ เราใช้ปัญญาแล้ว เราก็เรียกร้องเอาผลประโยชน์

สิ่งที่เป็นผลประโยชน์ พอทำไม่ได้ก็ท้อใจ ถ้าปฏิบัติผิดหรือปฏิบัติไม่ถูกทาง มันจะไม่ได้ผลขึ้นมา พอไม่ได้ผลขึ้นมา เราก็โทษเลย โทษว่าเราปฏิบัติแล้ว ถึงที่สุดแล้ว ทำไมธรรมมันไม่เกิด มันคงไม่มีแล้วล่ะ เห็นไหม

กิเลสตั้งแต่ปฏิบัติ มันก็ทำให้เราท้อถอย ปฏิบัติขึ้นไปแล้วมันก็ไม่ทำให้เราสมความปรารถนา นี่รสของกิเลสจะเป็นแบบนั้นตลอด แล้วกิเลสก็มีหยาบ มีกลาง มีละเอียด เริ่มต้นประพฤติปฏิบัติ กิเลสอย่างหยาบๆ ลูกหลานมันเท่านั้น เรายังต้องต่อสู้เข้าไปจนถึงตั้งแต่ฆ่าลูกมันตาย ฆ่าพ่อมันตาย ฆ่าปู่ย่ามันตาย จนเข้าไปชำระกิเลส นั่นล่ะถึงจะเป็นรสของธรรม เป็นชั้นๆ เข้าไปนะ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวิมุตติสุข สุขโดยที่ไม่มีสิ่งใดเจือปนเลยนะ นางวิสาขาเป็นพระโสดาบัน แต่มีครอบครัว มีบุตร-ธิดา ถึง ๒๐ คน นั้นเห็นไหม รสของธรรมต่างกัน พระโสดาบันก็ยังมีครอบครัวได้ แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพ้นออกไปจากกิเลส กิเลสมันถึงมีหยาบ มีกลาง มีละเอียด

อวิชชาก็เหมือนกัน กิเลสตั้งแต่หยาบๆ ขึ้นไป มันทำให้เราล้มลุกคลุกคลานอยู่นี้ อย่างหยาบๆ สิ่งที่หยาบ แล้วมันทำได้ยาก เพราะเราไม่เคยทำ เราถึงต้องตั้งใจ ตั้งใจแล้วเราประพฤติปฏิบัติ ตั้งใจนี้เป็นสิ่งที่ว่า เราเริ่มต้นนับหนึ่ง แล้วก้าวสอง สาม เดินขึ้นไปเรื่อยๆ ตั้งใจตลอดไป ล้มแล้วลุก ไม่พ้นจากความพยายามของเราหรอก ความเพียรชอบไง ถ้ามีความเพียรชอบ ความเพียรของเราชอบหรือไม่ชอบ มันก็ต้องเริ่มต้นล้มลุกคลุกคลานไปก่อน

ความเพียรเริ่มต้นปฏิบัติ จะทำอย่างไร จะตั้งสติอย่างไร จะตั้งใจไว้อย่างไร ทำไปตั้งไว้ ถ้าล้มเอาใหม่ ล้ม เอาใหม่ สิ่งที่ล้มมันจะเป็นครูสอนเราไปในตัว มันจะทำแล้วประสบความสำเร็จ งานนี้งานชำระกิเลส งานเอาชนะตนนะ มันจะเกิดขึ้นมาโดยที่ว่าง่ายๆ ไม่ได้ แล้วถ้าเราคิดมาว่า “ผู้ที่ปฏิบัติธรรมรู้ธรรมแล้ว ต้องบอกได้สิว่าทำถึงขนาดไหนถึงจะเป็นไป” อันนั้นพอทำขึ้นมามันเป็นสัญญาทั้งหมดเลย นี่กิเลสมันร้ายมาก ถ้าเราว่าจะทำ ก้าวเดินไป๑๐ ก้าวแล้วจะเป็นสมาธิ มันก้าวไปแล้ว กิเลสมันก็ไปดักหน้า

ถ้าเราไม่ได้ศึกษามา เราไม่คาดหมาย ๑๐ ก้าวจะสงบก็ได้ แต่ถ้ามันมีความคาดหมายเห็นไหม ๑๐ ก้าว ตัณหาซ้อนตัณหาไง ความอยากอันนั้นมันไปบังหน้าเอาไว้ ความอยากที่เราไปกั้นว่า “จะได้ผล.. จะได้ผล..” จะได้ผลหรือไม่ได้ผล ผลเราไม่ต้องไปปรารถนามัน เราตั้งเป้าหมายไว้แล้ว ขณะที่ทำนั้นคืออธิษฐานบารมี ชาตินี้เกิดมาปฏิบัติ ต้องให้สมความปรารถนา ต้องให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ให้ได้ ต้องตั้งเป้าหมายไว้ แล้วเราจะเดินถึงหรือไม่ถึง นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

แล้วเราพยายามทำความสงบของใจ เน้นความสงบของใจ ใจต้องสงบเข้ามา ถึงจะเป็นประโยชน์กับเรา ถ้าใจไม่สงบเข้ามา มันเป็นเรื่องของโลก โลกหมุนไป โลกเปลี่ยนไป เห็นไหม โลกหมุนไป ดึงไป ดึงไป ปฏิบัติอยู่กับโลก อยู่กับโลก เรื่องของโลก มันเป็นเรื่องของกิเลสล้วนๆ

ถ้าเรื่องของธรรม ธรรมเกิดขึ้นมา ธรรมของครูบาอาจารย์ส่วนหนึ่ง ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าส่วนหนึ่ง แล้วแต่ธรรมของครูบาอาจารย์อยู่ที่ในหัวใจของครูบาอาจารย์ แล้วชี้นำเราไง ถ้าเราปฏิบัติถูกต้อง เป็นปัจจัตตัง สิ่งที่เป็นปัจจัตตัง มันจะเกิดขึ้นจากภายใน รู้จักความสงบของใจ สิ่งนี้ถึงหลอกกันไม่ได้ไง

ถ้าผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ มันเกิดขึ้นมาจากใจของเรา เราไปถามครูบาอาจารย์ ทำไมครูบาอาจารย์รู้ว่าควรจะทำสิ่งใด เรานะ ประสบการณ์ตรงของเราเอง แต่เรายังไม่สามารถว่า จะก้าวเดินอย่างไร เราลังเลในความเห็นของเรา เพราะว่ากิเลสมันปิดบังไว้ไง ครูบาอาจารย์ผ่านอย่างนี้ไป จากใจดวงหนึ่ง ใจที่มีกิเลสปกคลุมอยู่ ล้มลุกคลุกคลานมาจนเปิดใจออกมา เห็นสว่างกระจ่างแจ้งในหัวใจ มันถึงจะเห็นโทษของกิเลส แล้วเป็นชั้นเป็นตอนเข้ามานะ เห็นเป็นความอย่างที่ว่าสิ่งที่หยาบ ตรงไหนมันจะเป็นความทุกข์ยาก

ความทุกข์ยากนั้น เราก็ต้องต่อสู้ ถ้าพ้นจากความทุกข์ยากได้ มันก็ปล่อยวาง ครูบาอาจารย์ที่พ้นจากกิเลสแล้วเห็นไหม พระจักขุบาลพ้นจากกิเลสแล้ว เดินจงกรมอยู่ เป็นวิหารธรรม สิ่งที่เป็นวิหารธรรม ให้ร่างกายกับจิตใจอยู่กันด้วยความเป็นสุข แต่ถ้าเราประพฤติปฏิบัติ มันทุกข์เพราะรสของกิเลส สิ่งนี้จะขัดขวาง มันถึงต้องพยายามต่อสู้ไง กัดฟันอดทนเอา ถ้าอดทนนะ ทุกข์ไม่สนใจ ไม่สนว่ามันจะเป็นทุกข์ขนาดไหน เราต้องทำของเรา เราทำของเราไป ทุกข์นี้ควรกำหนด ถ้ามันเป็นทุกข์ของเรา เรากำหนด กำหนดขึ้นมาให้มันไปละที่ความตัณหาทะยานอยาก สิ่งที่ตัณหาความทะยากเห็นไหม ความเป็นอุปาทาน เป็นนามธรรม

สิ่งที่เป็นนามธรรมเราปล่อยวางได้ เราชำระกิเลสได้ แต่ต้องให้เห็นตามความเป็นจริง ให้เห็นจากดวงตาของใจ ดวงตาเห็นไหม จากสัญญาของเรา “ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา สรรพสิ่งนี้ไม่ใช่เรา เราก็เข้าใจว่าสิ่งอย่างนี้ไม่เป็นเรา” นี่กลิ่นของธรรม กลิ่นของธรรมเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่เรา เราก็ว่าไม่ใช่เรา มันรู้อย่างนี้ แต่มันชำระกิเลสไม่ได้ไง มันถึงเป็นสมบัติของคนอื่น มันถึงว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ยืมมาไง

เรายืมมา แล้วเราพยายามตั้งของเราขึ้นมาให้ได้ ตั้งของเราขึ้นมา ถ้าจิตมันสงบ มันจะเห็นกายโดยที่ว่าผู้ที่มีอำนาจวาสนา ผู้ที่ไม่มีอำนาจวาสนาต้องรำพึง สิ่งที่รำพึงเห็นไหม

“จิตสงบนี้คิดไม่ได้” เวลาปฏิบัติส่วนใหญ่จะว่าอย่างนั้น จิตนี้สงบแล้วคิดไม่ได้ เพราะถ้ามันคิด มันจะเป็นความฟุ้งซ่าน ถ้าความฟุ้งซ่าน มันจะสงบได้อย่างไร

แต่ถ้าผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ พอจิตมันสงบ รำพึงขึ้นมาได้ ทำไมจะรำพึงไม่ได้ ความคิดอันละเอียดในสมาธินั้นเป็นไปได้ มันถึงควบคุมได้ไง เวลาเข้าสมาบัติเห็นไหม ตั้งแต่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ เวลาขึ้นไปมันเป็นสมาธิ มันเป็นความสงบอยู่ ทำไมเราส่งใจเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไปได้ล่ะ เราให้ใจส่งขึ้นไปเป็นชั้นเป็นตอน เข้าสมาบัติไป จิตมันจะละเอียดมาก

สิ่งที่เป็นละเอียดเข้าไป เป็นชั้นเข้าไป ละเอียดลึกเข้าไป ลึกเข้าไป แล้วถอยออกมา มันจะมีพลังงานของมัน แล้วสิ่งนี้ทำให้ติด เราว่าเราประพฤติปฏิบัติต้องให้ได้ฌาน ได้สมาบัติ แล้วมันจะเข้ามาวิปัสสนา ฌานสมาบัตินี้ส่วนหนึ่ง แต่สัมมาสมาธินี้พอ มรรค ๘ มันอยู่ในสัมมาสมาธิ

ความเพียรชอบ ชอบในงานที่ถูกต้อง งานที่ถูกต้อง งานของความสงบ ก็ต้องทำความสงบของใจเข้ามา งานของปัญญา การชำระกิเลส มันต้องจับต้องก่อน ต้องขุดคุ้ยไง สิ่งที่จะขุดคุ้ยหางานของเรา ถ้าเราไม่มีตำแหน่งหน้าที่การงาน เราจะไปทำที่ไหนล่ะ เพราะเราไม่มีหน้าที่การงาน ถ้าเรามีตำแหน่งหน้าที่การงาน ในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม สิ่งนี้เป็นสิ่งที่จะเป็นการต่อสู้กัน

ถ้าเราชนะสิ่งนี้ กิเลสมันอยู่เบื้องหลังสิ่งนี้ แล้วสิ่งนี้อบเราไว้ เวลาเวทนาเกิดขึ้น เวลาความเจ็บปวดเกิดขึ้น เราจะพ่ายแพ้เลยว่าสิ่งนี้เป็นธรรมชาติ สิ่งนี้มันมีอยู่แล้ว เรายอมรับมัน เราเลิกก่อน หรือเราถอยไปเห็นไหม ถ้าเรามีปัญญา เรามีหลักของใจ เวทนาสักแต่ว่าเวทนา จะปวดขนาดไหน ถ้าเราทนเอานั้น ไม่ใช้ปัญญา ถ้าใช้ปัญญาจับเวทนาตั้งไว้เลย เวทนาเกิดขึ้นมา ถ้ามันเป็นของเราจริง เราลุกไปแล้วมันต้องติดกับเนื้อเราไปตลอด เวลาเราขยับตัว เวทนามันก็หาย สิ่งที่หายเห็นไหม ใจนี้ไปเกาะเกี่ยวเท่านั้นเลย

เวลาเราเพลินกับสิ่งต่างๆ เราเพลิน เรานั่งแล้วเพลิดเพลินในการนั่งของเรา มันไม่มีเวทนา มันยังเพลินอยู่ได้ แต่ทำไมเวทนามันเกิด ถ้าเวทนามันเกิด อยากให้มันหายเห็นไหม มันปวด ๒ ชั้น ๓ ชั้นขึ้นมา นั่นล่ะในเวทนานี้เราก็ใช้ปัญญา ถ้าเราใช้ปัญญามันปล่อยเวทนาเข้ามาเป็นชั้นเป็นตอนเข้ามา เห็นไหมเวลามันปล่อย

สิ่งที่มันปล่อยเวทนาเข้ามา มันก็กลับมาที่ความสงบ แล้วมันก็ออกไป เดี๋ยวเวทนาก็เกิดอีก สิ่งนี้เกิด นี่จิตมันติดอยู่อย่างนี้ แล้วถ้ามันต่อสู้กับเวทนา มันก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่ถ้ามันพิจารณากายล่ะ สิ่งที่พิจารณากายมันเป็นสิ่งที่ว่าง่ายที่สุด แล้วจับต้องได้สะดวกที่สุด ถือว่ากายนี้เป็นหลัก

การพิจารณากาย ให้ดูกาย ถ้าจิตมันสงบ ถ้าไม่สงบเราพิจารณากายของเราตั้งแต่เริ่มว่า กายนี้มันก็ต้องเน่า ต้องเปื่อยไป ต้องทิ้งไป อันนี้เราเริ่มต้นใช้ความคิดก่อน เป็นกายนอก ถ้าเรากำหนดพุทโธ พุทโธ มันไม่สงบเห็นไหม เราตั้งกายขึ้นมา แล้วกายเราพิจารณาของเราไป ด้วยนามธรรม ด้วยสติ ด้วยปัญญา

ปัญญาใคร่ครวญเข้าไปในเรื่องของกาย ไปเห็นคนเจ็บ คนป่วย ไปเที่ยวป่าช้า สิ่งที่ไปเที่ยวป่าช้า ไปดูซากศพไง เราก็ต้องเป็นซากศพแบบนั้น สิ่งนี้มันสะเทือนใจ ถ้าเราไปเที่ยวป่าช้า เราออกประพฤติปฏิบัติ ออกเที่ยวป่าช้ามันจะย้อนใจ มันสะเทือนใจ แล้วจะย้อนกลับมา แต่ถ้าเราไม่ไปเที่ยวป่าช้า โลกเห็นไหม เรื่องโลก เที่ยวของเราไปในตามความเห็น มันก็ผูกพันไป สิ่งที่ผูกพันมันจะยึดตลอดไป แล้วจะเพลิน ถ้ากิเลสมันได้ออกแสดงตัวแล้ว มันจะเพลินไปตามธรรมชาติของมัน

แต่ถ้าเราย้อนกลับเข้ามา เรื่องของกาย มันเป็นเรื่องขยะแขยง มันไม่อยากทำ ไม่อยากทำเพราะอะไร เพราะมันขัดกับความรู้สึกของมัน ถ้าขัดกับความรู้สึกของมัน ดูกายอย่างนี้เข้ามา กายนอกเข้ามา มันจะปล่อยวางเข้า ปล่อยวางเข้ามา จะเป็นกายในได้ ถ้าเป็นกายในเห็นความสงบของมัน นี่รสของธรรมจะเกิดตรงนี้

กลิ่นของธรรมคือเรามีแนวทาง แล้วเราพยายามสาวเข้าไปไง สาวเข้าไปในหัวใจของเรา ต้องมีพื้นฐานของใจ พิจารณากายก็แล้วแต่ พิจารณาเวทนาก็แล้วแต่ ต้องอาศัยใจนี้เป็นผู้ที่พิจารณา ใจนี้ต้องเป็นใจที่สงบแล้วมีสัมมาสมาธิ ถึงพิจารณาได้ ถ้าใจไม่มีสัมมาสมาธิ การพิจารณานั้นมันเป็นสัญญาทั้งหมด มันเป็นเรื่องของกิเลสหลอกเห็นไหม

ถ้ากิเลสหลอก.. กลิ่นของธรรม มันเป็นความถูกต้อง แต่ถ้าประพฤติปฏิบัติไม่สมควรแก่ธรรม แล้วจะเอาธรรมมากจากไหน มันก็เป็นไปตามอำนาจของกิเลส มันสร้างได้นะ เวลาจิตสงบขึ้นมา “นี้เป็นธรรม นี้เป็นธรรม” สิ่งนี้เข้าใจว่าเป็นธรรม เดี๋ยวมันก็เสื่อม พอจิตมันเจริญขึ้นมาแล้วก็เสื่อมไป เสื่อมไป แล้วเราก็ต้องตั้งต้นใหม่ เวลาจิตมันเสื่อมขึ้นมานะ

เราทำงานโดยที่ว่า เราสร้างบ้าน เราปลูกบ้าน เราสร้างใหม่ขึ้นมานี่ เราปลูกขึ้นมาง่าย แต่ถ้าบ้านที่มันพังลงมาอย่างนี้ เราจะสร้างบ้านขึ้นมา เราต้องรื้อบ้านเก่าของเราขึ้นมา แล้วซ่อมแซมขึ้นมา จิตเสื่อมก็เหมือนกัน เวลามันเสื่อมขึ้นมา พอเราเริ่มต้นใหม่ เราต้องซ่อมแซมบ้านของเราก่อน แล้วเราพยายามปรับพื้นที่ขึ้นมา เพื่อจะสร้างขึ้นมา ถ้าซ่อมแซมได้ก็ซ่อมแซม ซ่อมแซมไม่ได้เราก็ต้องปรับพื้นที่ใหม่ สร้างใหม่

นี้ก็เหมือนกัน จิต สภาวะจิตจะเป็นแบบนั้นตลอดไป ถ้าจิตเสื่อมนะ เริ่มต้นใหม่.. เริ่มต้นใหม่.. มันถึงว่าถ้าเราประพฤติปฏิบัติเลย “อย่างนี้จะดีกว่า..” เพราะว่าเรากำหนด พุทโธ พุทโธ เข้าไป ทำใจของเราให้สงบได้ นั่นล่ะถ้าเราก้าวเดินตามถูกต้อง มันจะสงบบ่อยครั้งเข้า มีสติ แล้วเราก็พยายามประคองใจไว้ ชำนาญในวสีไง เวลามันสงบขึ้นมา เราพยายามนึกถึงว่า เราตั้งอารมณ์ไว้อย่างไร เราทำจิตของเราได้อย่างไร เราคำบริกรรมได้อย่างไร แล้วเราก็พยายามเข้า

ถ้าเราชำนาญในวสี เข้าออกบ่อยครั้ง บ่อยครั้ง จิตนี้สงบบ่อยครั้งเข้าจนตั้งมั่น พอจิตตั้งมัน ถึงควรแก่การงาน การงานในการชำระกิเลส ปัญญามันจะก้าวออกตรงนี้ นี่ธรรมจักร องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมจักรเห็นไหม การงานชอบ ความเพียรชอบ จักรมันอยู่ตรงนี้ เกิดขึ้นมาจากใจ เป็นสิ่งที่ว่าเป็นรูปธรรมเลย จับต้องได้ เห็นจิตเราเป็นสมาธิ เห็นมันมีความสุขของใจขึ้นมา แล้วพอเวลามันก้าวเดินออกไป ตั้งมั่นแล้วก้าวเดินไป กำลังมันพอ มันจะออกวิปัสสนาไง

ถ้าวิปัสสนาปัญญามันเกิดแล้ว เกิดมาแยกแยะ จับกายแล้วพิจารณากายของเรา พิจารณากายให้มันแปรสภาพไป มันจะแปรตามธรรมชาติของมัน ตามอำนาจของธรรม รสของธรรมมันจะเกิดนะ มันจะปล่อยวาง ความเวิ้งว้าง ความว่างจากการวิปัสสนากับความว่างในการที่ว่าเรากำหนดคำบริกรรม ต่างกันมหาศาลเลย รสของธรรมจะเกิดขึ้นมา สัมมาสมาธินี่คือรสของธรรม รสของความสงบของใจ

การพิจารณาปล่อยวาง การปล่อยวางกิเลสมันเริ่มสะเทือนตัว สะเทือนตัวมันเองแล้ว รสของมันจะลึกซึ้งเข้าไป เราจะต้องพยายามรดน้ำพรวนดินตรงนี้ ตั้งสติของเราเข้ามา ถูกทางเข้ามา ถ้าเราเดินถูกทางเข้ามา มันจะทวนกระแสเข้าไปชำระกิเลส ถ้ามันไม่ถูกทาง เวลาวิปัสสนาแล้วมันปล่อย มันว่าง แล้วมันเก้อๆ เขินๆ จับต้องอะไรก็ไม่ได้ เราควรจะทำอย่างไรต่อไป สิ่งที่ว่าทำต่อไป มันจับแล้วก็หลุดมือไป แต่ถ้าเราทำเป็น นี่ผู้ที่ภาวนาเป็น เป็นอย่างนี้

ผู้ที่ภาวนาเป็นคือจับกายได้ จับเวทนาได้ จับจิตได้ จับธรรมได้ แล้ววิปัสสนา ปัญญามันจะเริ่มแผ่ออกไป ถ้าขั้นของปัญญาแผ่ออกไป มันจะกว้างขวางมาก แล้วแต่จริตนิสัย การวิปัสสนากาย ทุกๆ คนทำเหมือนๆ กัน แต่ผลของมันต่างกัน ต้องหนักเบาต่างกัน จะหนักเบาต่างกันเพราะว่าความยึดมั่นถือมั่นของใจไม่เหมือนกัน

กิเลสของคนหยาบละเอียดต่างกันมาก ความที่มันละเอียดหยาบต่างกันนี้ เวลาจงใจทำออกไปแล้ว ถึงไม่เสมอกัน ถึงไม่ต้องไปฟังว่า คนอื่นต้องทำแบบนั้นแล้วเราจะต้องทำแบบเขาไง เวลาประพฤติปฏิบัติ ผู้ที่ได้ผล เราจะฟังผู้ที่มีผล แล้วเราจะปฏิบัติตามอย่างนั้น... มันเป็นคติ เป็นตัวอย่างได้ ถ้าเราจะปฏิบัติตามอย่างนั้นเป็นคติ เป็นตัวอย่างของเรา เราทำของเราได้

แต่ถ้าผลจะเกิดอย่างนั้นมันเป็นสัญญาแล้ว มันเป็นตัณหาซ้อนตัณหา ถึงบอกว่ามันต้องเป็นปัจจัตตัง เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากใจ สิ่งที่เกิดขึ้นจากใจนี้เป็นความทุกข์ แล้วมันทุกข์เพราะมันยึด เพราะมันไม่เข้าใจ ถ้าเราวิปัสสนาเข้าไป มันแปรสภาพนะ แล้วรวดเร็วมาก เวลาเห็นกายขึ้นมาให้ไฟเผา มันจะเผาแล้วเลือนสภาพออกไป เห็นออกไป มันจะแปลกประหลาดมหัศจรรย์ “มันเป็นอย่างนี้หรือ? มันเป็นอย่างนี้หรือ?” แล้วมันปล่อย เห็นไหม พอมันปล่อยขึ้นไปแล้ว มันก็มีความสงบ มีความสุขมาก นี่รสของธรรม!

รสของธรรมอย่างนี้ยังไม่เป็นอกุปปะ เราต้องซ้ำไง พยายามทำจิตให้สงบเข้าไป แล้วจับต้องขึ้นมา มันจะทำได้อีก วิปัสสนากาย ตั้งกายแล้วให้มันแปรสภาพไป มันเป็นอนัตตา ถ้าเห็นความเป็นอนัตตา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ธรรมชาติของมันส่วนหนึ่ง แล้วจิตนี้สงบ มันไม่มีมิติ มันไม่มีกาลเวลา

ความคิดของเรานี่เป็นมนุษย์ เราคิดอะไรเราคิดด้วยเวลาของมนุษย์ ถ้าเป็นมนุษย์ เวลาตายไป เวลาเปลี่ยนแปลงไป เราคิดของมนุษย์ แต่ถ้าจิตไม่มีกาล ไม่มีเวลา เพราะมันเป็นสัมมาสมาธิ มันตั้งมั่น พอไม่มีกาลไม่มีเวลา จิตมันเห็นสภาวะของกาย มันจะเปลี่ยนสภาวะนี้เร็วมาก ทำอยู่อย่างนั้น ซ้ำอยู่อย่างนั้น ถ้าเมื่อมันยังไม่มีผลออกมา สิ่งที่ไม่มีผลออกมา เวลามันปล่อยเห็นไหม กายนี้หลุดออกไป “กายนี้เป็นกาย จิตนี้เป็นจิต ทุกข์นี้เป็นทุกข์” หลุดออกไป พระอัญญาโกณฑัญญะเห็นอย่างนี้

“สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายต้องแปรสภาพเป็นธรรมดา”

ดวงตาเห็นธรรมเห็นไหม นี่รสของธรรม! รสของธรรมเข้าถึงใจ เข้าถึงใจของพระอัญญาโกณฑัญญะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เทศน์สอนต่อไป จนปัญจวัคคีย์มีดวงตาเห็นธรรมพร้อมกันหมดแล้ว ถึงเทศน์อนัตตลักขณสูตรอีกทีหนึ่ง ถึงพ้นออกไปจากกิเลส

เราก็เหมือนกัน ถ้าเราพิจารณากายของเรา พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า พิจารณาจิต จิตมันเป็นขันธ์ ถ้าพิจารณาจิตเห็นไหม รูปของจิต รูปความคิดเป็นจิต ความรู้สึกของเราจับต้องได้ ถ้าเราเห็น เราทำความรู้สึกเรา ความรู้สึกของเราหยุด อันนี้เป็นปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าปัญญาอบรมสมาธิมันจะเห็นสภาวะของใจ มันมีสติแล้วตามความคิดของเราทัน เราคิดอย่างนี้เป็นความที่ไม่ถูกต้อง ต้องปล่อย มันปล่อย ถ้าความคิดอย่างนี้ดี ดีก็เป็นโทษ ปล่อย ปล่อยตลอดไปเห็นไหม ปล่อยตลอดไป มันไม่เห็นรูปของจิตไง

แต่ถ้าจิตมันสงบเข้ามาบ่อยครั้งเข้า มันปล่อย ปล่อย.. เข้าไป แล้วเราสังเกตเข้ามาจากภายใน การปล่อยอย่างนั้น จิตมันก็ไม่เข้าไปเกาะเกี่ยวกับรูป รส กลิ่น เสียง ถ้ามันไม่เข้าไปเกี่ยวกับ รูป รส กลิ่น เสียง มันก็ปล่อยเข้ามา พอมันปล่อยเข้ามา เราพิจารณา สติเราย้อนกลับมา ใช้จิตพิจารณาของเราขึ้นมา มันจะเห็นเป็นรูป รูปของจิต คือความรู้สึก ความคิด

ความคิดของเราเปรียบเหมือนวัตถุสิ่งหนึ่งเลย ถ้าจับได้ เราสามารถแยกได้ แต่ถ้าเราจับจิตของเราไม่ได้ ความคิดของเราเป็นปัญญาอบรมสมาธิ เป็นความคิดไล่ต้อนความคิดเข้ามาตลอดเลย แต่ถ้าเราจับใจของเราได้ จับความรู้สึกของเราได้ เห็นความรู้สึกของเรา จับต้องขึ้นมา แล้ววิปัสสนา คือตั้งมั่นไว้ ความรู้สึกอันไหนเป็นปัญญา ความปรุงความแต่งที่มันซ้อนขึ้นมา จากวิญญาณรับรู้ จากเวทนา มันหมุนไปอย่างไร ปัญญามันจะไล่ต้อน แล้วมันจะแยกได้ เหมือนพิจารณากาย

การพิจารณากาย เวลาเห็นกาย กายมันแปรสภาพ มันหลุดออกไป แล้วมันปล่อยเข้า ปล่อยเข้ามา เราเห็นบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า มันจะถึงที่สุดแล้วเป็นอกุปปธรรม อันนี้ก็เหมือนกัน เราพิจารณาจิต เวลาสิ่งใดมันเกิดก่อน สัญญาเกิดอย่างไร สัญญาเกิดขึ้นมา สังขารปรุงแต่ง เวทนารับรู้อย่างไร เราต้องศึกษาขันธ์ ๕ ก่อน ถ้าเราศึกษาขันธ์ ๕ เห็นไหม กองของรูป กองของเวทนา กองของสัญญา กองของสังขาร กองของวิญญาณ มันเป็นแต่ละกอง แต่ละกอง แล้วมารวมตัวกัน ออกมาเป็นความรู้สึกของเรา แล้วเราแยกกลับเข้าไป แยกออกไป สิ่งนี้เกิดขึ้นไม่ได้ เราขึงเลยนะ

ขันธ์ ๕ ภูเขา ๕ ลูกแยกออกจากกัน แล้วอุปาทานกิเลส มันจะเข้ามารวมตัวได้อย่างไร มันรวมตัวสิ่งนี้ไม่ได้ มันก็ปล่อย หลุดไปเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป บ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า ซ้ำอยู่กับที่ไง ต้องซ้ำ ต้องหมั่นคราดหมั่นไถ ถ้าเราหมั่นคราดหมั่นไถกับความรู้สึกของเราตลอดไป ความรู้สึกอันนี้มันเป็นขันธ์เห็นไหม

“ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา”

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีขันธ์ ๕ เหมือนกัน แต่ขันธ์นี้เป็นภาระ ขันธ์นี้บริสุทธิ์ แต่ขณะที่เราวิปัสสนาอยู่นี้ นี่ขันธมาร มารนี่เป็นขันธ์ ขันธ์คือว่าความเห็นของเรามันก็เป็นมาร สังขารปรุงแต่งก็เป็นมาร สัญญาเวลามันแยบรู้ มันก็เป็นมาร มารเพราะมันยึด สิ่งที่ยึดนี้เป็นมารทั้งหมดเลย เราถึงว่าขันธ์นี้มันเป็นมาร เราถึงต้องแยกไง แยกออกมาแล้ว ถ้ามันขาด มันปล่อยวางแล้ว ขันธ์นี้บริสุทธิ์ กิเลสมันจะตาย แล้วมันจะถอยร่นเข้าไป จากกิเลสอย่างหยาบมันถอยร่นเข้าไปเป็นกิเลสอย่างละเอียด ถอยร่นเข้าไป เราก็ต้องก้าวเดินต่อไป

เพราะพระอัญญาโกณฑัญญะมีดวงตาเห็นธรรม เพราะปล่อยวางสิ่งนี้ขึ้นมา ถึงมีดวงตาเห็นธรรม แต่รสของกิเลสอันละเอียดมันก็ยังขับไส มันยังมีอยู่ในหัวใจ ถ้ามันมีอยู่ในหัวใจ มันก็คลายพิษของมันทำให้หัวใจของเราขุ่นมัว แล้วเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา มันมีรสของธรรมขึ้นมาในหัวใจ เป็นพื้นฐานเข้าไป ทำไมเราจะไม่ต่อสู้ เราจะต้องต่อสู้ขึ้นมา วิปัสสนาเข้ามา ผลของมันจะเกิดขึ้น เหมือนกับเราวิปัสสนาเป็นแล้วมันมีรากฐาน การทำปฏิบัติขึ้นไป มันจะทรงตัว มันจะง่ายขึ้นมา ง่ายเพราะเรามีช่องทาง แต่เดิมมืด ๘ ทิศ มรรค ๘ เห็นไหม เป็นมัคโค เป็นทางอันเอก ทางของใจนะ

มรรค ๘ นี้เป็นทางของใจ จิตนี้เข้าไปในมัคโค จิตตมัคโค จะก้าวเดินไปตามของธรรม แต่ถ้ากิเลสมันปิดบัง มันปิดมืดมิด ปิดมิด ๘ ด้าน แล้วเราจะไม่เห็นความรู้สึกของเรา เราจะไม่เห็นจิตใต้สำนึก ไม่เห็นความทุกข์ในหัวใจ ความทุกข์อย่างนี้มันก็เป็นโลก ทุกคนก็มี นี่กิเลสมันจะให้ยอมรับ กิเลสมันจะให้ทรงตัวอยู่กับกระแสของโลกเขา แต่ถ้าเรามีมรรคาเครื่องดำเนิน พอมันเปิดสิ่งนี้ขึ้นมา นี่ทางสว่างเกิดขึ้นจากใจ

ถ้าทางสว่างเกิดขึ้นจากใจ ผู้ที่ปฏิบัติยากตรงนี้ ยากตอนเริ่มต้นจะเขาหาชำระกิเลส แต่พอกิเลสหลานมันตายออกไปจากใจแล้ว เราสามารถรุกเข้าไปได้ ถ้าเราสามารถรุกเข้าไปได้ เราต้องทำความสงบของใจ แล้วใช้ปัญญา สิ่งใดที่มันทำให้เราท้อถอย สิ่งใดทำให้เราล้มลุกคลุกคลาน เราก็ต้องหลบหลีกมัน สิ่งนี้หลบหลีกเห็นไหม

ทำไมพระเราเวลาบิณฑบาตมา เวลาจะฉันทำไมต้องฉันแต่น้อยล่ะ เพราะเราเห็นว่าสิ่งนี้เราไม่มีกำลังเหนือมัน ถ้าธาตุขันธ์มันมีกำลังอยู่ ความคิดมันคิดโดยธรรมชาติของมัน มีโอกาสคิดได้มากเลย เราต้องบั่นทอนความคิดของกิเลส ทั้งๆ ที่ร่างกายทุกข์ใครจะไม่รัก ความอดอาหารใครจะไม่ทุกข์ ทุกคนทุกข์หมด แต่พอใจจะทำเพราะเราจะบั่นทอนกิเลสที่มันอยู่ในหัวใจของเรา ให้เรามีโอกาสของธรรมได้ก้าวเดินบ้าง เราต้องทำเห็นไหม

เวลาประพฤติปฏิบัติมันเห็นผล ทุกคนทำได้ เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา ๗ วัน ๗ คืนก็แล้วแต่ หลวงปู่ตื้อทำมาตลอด เดินจงกรม นั่งสมาธิ ๗ วัน ๗ คืน ท่านทำของท่านอยู่อย่างนั้น นั่นล่ะผู้ที่ประพฤติปฏิบัติมีจิตใจเข้มแข็ง แล้วก็เป็นครูบาอาจารย์ เป็นที่ยึดเหนี่ยวของเรา ต่อมาเป็นแต่ละองค์ แต่ละองค์ เห็นไหม ผู้ที่ผ่านไป มีแต่ผู้ที่มีจิตใจเข้มแข็ง

แล้วเราก็มีความทุกข์ในหัวใจ ความทุกข์ในหัวใจนี้มันเป็นสิ่งที่ยืนยันกับเรา ถ้าเราปฏิบัติจนความทุกข์หลุดออกไปเป็นชั้นเป็นตอน มันก็เป็นสิ่งที่ยืนยันกับเรา แต่ปัจจุบันนี้ มันทุกข์ขึ้นมาเพราะกิเลสหนึ่ง ทุกข์เพราะการประพฤติปฏิบัติหนึ่ง สิ่งที่ประพฤติปฏิบัติ เราประพฤติปฏิบัติเพราะกิเลสมันขับไส กิเลสมันพยายามต่อต้าน สิ่งที่ต่อต้านคือเรื่องของกิเลสทั้งนั้นเลย มันถึงน่าจะคิดถึงกิเลสในหัวใจของเรา มันน่าจะบอกว่า “ทำไมเป็นอย่างนั้น.. ทำไมเป็นอย่างนั้น..”

สภาวธรรมจะเกิดขึ้นมา เกิดขึ้นมาอย่างไร สภาวธรรมต้องก่อตัวขึ้นมา ต้องพยายามสร้างสมขึ้นมา จนถึงที่สุดแล้วมันจะเป็นวิหารธรรม สิ่งที่เป็นวิหารธรรม คือธรรมในหัวใจ มันมีอยู่โดยออกมาเห็นไหม จาก “อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา” อวิชชาคือมันไม่รู้ตัวมันเอง นั้นคือตัวกิเลส เพราะมันไม่รู้ มันออกไป มันจับเหมือนคนตาบอด คนที่ตาบอดจับสิ่งใดไป ก็จะคาดหมายตามความรู้สึกที่มือนั้นไปจับต้องสิ่งนั้น นั่นล่ะแค่นั้นเอง มันไม่รู้มัน

แต่ถ้าใจมันเป็นวิชชา วิมุตติหลุดพ้นใจเป็นวิชชา ออกมาพร้อมกับความรู้เห็นไหม วิหารธรรมสิ่งนั้น เวลาประพฤติปฏิบัติมันถึงไม่มีทุกข์ไง ทำแต่ว่าเป็นเพียงวิหารธรรมให้หัวใจ ความเพียรของพระอริยเจ้า ความเพียรขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความเพียรของครูบาอาจารย์เห็นไหม เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา จนวันตาย! แม้กิเลสตายไปแล้ว ท่านก็เดินจงกรมของท่าน ท่านก็นั่งสมาธิของท่าน เพื่อเป็นวิหารธรรม เพื่อให้ธาตุขันธ์มันคลายตัว

แต่ทุกข์ของการประพฤติปฏิบัติ ทุกข์ของเรานี่เป็นทุกข์เพราะกิเลสมันขับไส ทุกข์เพราะกิเลสมันเบี่ยงเบนไม่ให้เป็นมัชฌิมาปฏิปทา ถ้ามัชฌิมาปฏิปทาทรงคุณธรรม มัชฌิมาปฏิปทาเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในศาสนาพุทธเราสอนเรื่องนี้เลย มรรค ๘ มัชฌิมาปฏิปทา

ถ้ามรรค ๘ มันสามัคคี มัชฌิมาปฏิปทา คือมันชำระกิเลสได้ มันจะปล่อยวาง ถ้ามันไม่สมุจเฉทปหาน มันปล่อยวางนี้คือการฝึกไง ฝึกให้มรรคามันก้าวเดินไป ให้จักรมันหมุนตลอดไป จะเห็นจักรของใจหมุนตลอดไปนะ หมุนเข้ามาชำระกิเลส ปล่อยวาง.. ปล่อยวาง.. นี่ก้าวเดินอย่างนั้น จับต้องได้ ถ้ากายเราจับได้

พิจารณาสติปัฏฐาน ๔ เหมือนกัน สติปัฏฐาน ๔ มันก็มีหยาบ มีกลาง มีละเอียดเหมือนกัน เว้นไว้แต่พวกขิปปาภิญญาเห็นไหม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่งอยู่ คืนนั้น ตั้งแต่ปฐมยามออกไป บุพเพนิวาสานุสติญาณ อันนั้นย้อนอดีตก็ไม่ใช่ ถึงมัชฌิมยามออกไป จุตูปปาตญาณก็ไม่ใช่ ถึงว่าสุดสิ้นของการประพฤติปฏิบัติ นี้ทีเดียวทะลุไปเลย นั้นล่ะหมุนเข้าไปถึงชำระกิเลสขาดออกไปจากใจ ขิปปาภิญญาคือรู้เร็ว พยายามที่เดียวถึงที่สุด

แต่เวไนย์สัตว์ในการประพฤติปฏิบัติของเรา ถ้าก้าวเดินเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป มันก็เป็นธรรมแต่ละชั้นละตอนเข้าไป เหมือนกับพระอัญญาโกณฑัญญะมีดวงตาเห็นธรรม เป็นพระโสดาบันก่อน แล้วก็ปฏิบัติขึ้นไป เป็นสกิทาคา อนาคา จนถึงที่สุดได้ นี้ก็เหมือนกัน จากสติปัฏฐาน ๔ ที่มันมีหยาบ มีกลาง มีละเอียด จับตรงนี้ แล้วย้อนกลับเข้าไป ถ้าเราพิจารณากาย นิสัยวาสนาเรา เราก็จับกายต่อไป วิปัสสนาไป ปล่อยไป

ถ้าใจมันถึง มันพิจารณาได้ มันจะคืนตัวมันนะ กลายเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ แยกออกไป ธาตุ ๔ นี้กลับไปสภาวะเดิมของมัน สภาวะเดิมนะ ถ้าเราจับกายได้ เราวิปัสสนาไปด้วยปัญญาญาณมันจะเป็นอย่างนั้น คืนตัวมันเป็นสภาวะเดิม เพราะจิตนี้ไม่มีอุปาทานในกาย มันปล่อยกาย กายนี้ไม่ใช่เรา เรานี้ไม่ใช่กาย แต่ก็อาศัยอยู่ด้วยกัน แต่ความยึดมั่นถือมั่นของใจไม่มี มันปล่อยวางมาชั้นหนึ่ง แต่อุปาทานอันละเอียดเข้าไป มันยังยึด มันยังเกี่ยวอยู่ เราวิปัสสนาอยู่อย่างนี้ ให้เห็นสภาวะ มันไม่ใช่คงที่ มันต้องคืนสภาวะของมัน สิ่งนี้คืนสภาวะเดิม ถ้าเราตายไป มันก็เป็นธรรมชาติของมัน

ถ้าเราตายไป กิเลสอยู่กับใจของเรา เราก็ต้องไปเสวยภพ เสวยชาติตามอำนาจของกิเลสอันนั้นไป ทำบุญกุศลอยู่ก็ไปเกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม ก็เหมือนกัน ต้องไปเสวยภพชาติตามสถานะว่า ความดีของใจที่ประพฤติปฏิบัติมาแล้ว แต่ถ้าเราวิปัสสนาซ้ำเข้าไป วิปัสสนาให้เห็นตามความเป็นจริงว่า ในปัจจุบันนี้มันเห็นว่าเกิดขึ้นมาในดวงตา ในปัญญาญาณ สิ่งที่เป็นปัญญาญาณ เห็นอาการที่เคลื่อนไปนะ มันคลายตัวออก มันเป็นความมหัศจรรย์มาก

สิ่งที่มหัศจรรย์มากเพราะ ดวงตาเห็นจากภายใน เห็นจากภายในมันถอนอุปาทานของเรา อุปาทานอันนี้ไม่มีใครถอนได้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะรื้อสัตว์ขนสัตว์เห็นไหม สร้างบารมีมาเป็นพระโพธิสัตว์มหาศาลเลย เพราะปรารถนามารื้อสัตว์ขนสัตว์ แต่เวลาท่านตรัสรู้ขึ้นมาแล้ว ท่านก็รื้อสัตว์ขนสัตว์ด้วยการแสดงธรรม ด้วยการชี้ทางเห็นไหม

เราจะพ้นจากกิเลสได้ เราก็ต้องประพฤติปฏิบัติของเรา เพราะเวลาเกิดขึ้น กิเลสอยู่ใต้จิตใต้สำนึก ต้องจิตของเราเอง จิตของบุคคลที่มีกิเลสนั้น ชำระกิเลสนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่สอนคนสิ้นกิเลสแล้วหรอก เวลาพระอรหันต์จะไปถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกให้ไปอยู่ในวิหารธรรมไง พ้นแล้วไม่เกี่ยว

แต่ผู้มีที่มีกิเลสอยู่ ถ้าจะพ้นจากกิเลส อาสวักขยญาณนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ถ้าอาสวักขยญาณเกิดขึ้นมา “อาสเวหิ จิตฺตานิ วิมุจฺจิง สูติ” อาสวะนี้สิ้นไป จิตนี้หลุดพ้นไป อาสวักขยญาณเกิดขึ้นมา เป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด แต่อาสวักขยญาณจะเกิดขึ้นมา เกิดขึ้นตรงอวิชชา สิ่งที่เป็นอวิชชาต้องย้อนกลับเข้าไปถึงตรงนั้น

แต่อันนี้เราจะก้าวเดินของเราขึ้นไป มันเป็นสติปัฏฐาน ๔ อันกลาง เราก็วิปัสสนาไป มันจะเป็นตามธรรมชาติของมัน เป็นตามความเป็นจริง สภาวธรรมเห็นไหม

“ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม”

สภาวธรรมต้องเป็นแบบนี้โดยธรรมชาติ โดยความเป็นจริงธรรมชาติของเขาเป็นอย่างนั้น แต่เราไม่เห็นธรรมของเราน่ะสิ ธรรมที่เกิดขึ้นมาจากการประพฤติปฏิบัติ จากการที่เรารดน้ำพรวนดินให้มันเจริญงอกงามขึ้นมาจากหัวใจ ถ้าสิ่งนี้เกิดขึ้นมาจากการเจริญงอกงามในหัวใจของเรา เราจะเห็นสภาวธรรมที่มันแปรสภาพ จากเห็นกายนั้น กายนั้นจะกลับคืนสภาพ เป็นดิน เป็นลม เป็นน้ำ เป็นไฟ

จิตนี้จะปล่อย ว่างออกไปเลยนะ ปล่อยแล้วปล่อยเล่า จนถึงที่สุดมันขาด สิ่งที่มันขาด มันจะรู้ผลของมัน ผลของมันคือว่าอกุปปธรรม จะไม่เสื่อมจากกิเลสอย่างกลาง กิเลสอย่างกลางจะเกิดจากใจดวงนั้นไม่ได้ นี่รสของธรรมอีกส่วนหนึ่งเห็นไหม รสของธรรมกับใจดวงนั้น ได้ดื่มกินรสของธรรม มันก็มีความว่าง.. ติด! ติดในความว่างนั้น มีความสุขมาก ครูบาอาจารย์ต้องชี้นำนะ ชี้ว่าสิ่งนี้มันเกิดขึ้นมา รสของธรรมอันนี้ มันมีความสุขมาก

แต่รสของกามราคะสิ สิ่งที่เป็นกามราคะที่มันไม่แสดงตัว มันซ่อนอยู่ในหัวใจนะ มันซ่อนอยู่ในหัวใจดวงนั้น ใจดวงนั้นซ่อนอยู่เห็นไหม ดูนางวิสาขาเป็นพระโสดาบันสิ เป็นพระโสดาบันแต่มีครอบครัว เพราะกามราคะซ่อนอยู่ในหัวใจ พระอานนท์ เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เป็นพระโสดาบันเหมือนกัน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน พระอานนท์เสียใจมาก

“เรายังมีกิเลสอยู่ แล้วผู้ชี้นำก็จะมาจากเราไป”

เหมือนช้างตัวนี้มีควาญประจำช้างอยู่ แล้วควาญประจำช้างจากไป ช้างตัวนี้ว้าเหว่มาก จนร้องไห้นะ พระโสดาบันร้องไห้ออกมาจากหัวใจ เพราะไม่มีใครชี้นำไง แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า

“อานนท์เราปรินิพพานไปแล้ว พระอานนท์จะต้องถึงธรรม จะมีดวงตาเห็นธรรม ให้เชื่อพระพุทธเจ้าเถอะ ให้ปฏิบัติต่อไป”

พระอานนท์ปฏิบัติต่อไป ปฏิบัติต่อไปจนถึงที่สุดไง ถึงที่สุดคือเข้าไป ผ่านกามราคะเข้าไป จนเห็นจิตเป็นตัวอวิชชา เข้าไปทำลายตัวอวิชชาทั้งหมด

สิ่งที่เป็นตัวอวิชชาทั้งหมดนั้นพ้นออกไปจากกิเลสเห็นไหม พ้นออกไปจากกิเลส รสของธรรมอันละเอียดอันนั้นมีความเป็นวิมุตติสุข แล้วอธิบายให้โลกเข้าใจไม่ได้ สิ่งนี้มีอยู่ เหมือนกับไฟ แล้วเป่าไฟดับไป มันมีอยู่ นั้นคือนิพพาน

แล้วนิพพานมีความสุขได้อย่างไร มีความสุขมาก สุขเพราะหัวใจดวงนี้มันเป็นคุณค่าอิ่มตัวของมัน มันเป็นวิมุตติ มันไม่ใช่สุขเวทนา ทุกขเวทนา ความสุขของมนุษย์มีความสุขเวทนา เวทนาคือความพอใจไง สุขของคนหนึ่ง เป็นทุกข์ของอีกคนหนึ่งก็ได้ ทุกข์ของอีกคนหนึ่ง เป็นความสุขของอีกคนหนึ่งก็ได้ แต่วิมุตติสุขไม่มีสิ่งนี้ มันเสมอภาคกันหมด พระอรหันต์ถึงเท่ากันทั้งหมดไง

พระอรหันต์เวลาประพฤติปฏิบัตินี้ รสของธรรมอันนี้จะเสมอกันทั้งหมด พระอรหันต์ถึงเสมอกันโดยธรรม ต่างกันโดยอำนาจวาสนา อำนาจวาสนาคือการสะสมมา อดีตชาติสะสมมา สิ่งที่สะสมมาเราไม่ต้องไปกังวลใจ ในการประพฤติปฏิบัติของเราขึ้นมา มันถึงขนาดนี้แล้ว มันต้องถึงที่สุดได้

เวลามันว่าง มันมีความสุข มันมีความสุขของมันขึ้นมา แล้วเราต้องพยายามรื้อค้นไง ถ้ามีการค้นคว้า มีการรื้อค้น มันจะเห็นสิ่งที่สกปรกอยู่ สิ่งที่เป็นความสกปรกของใจ นี่กามราคะมันซ่อนอยู่ในใจ ความฉันทะ ความพอใจ สิ่งที่ต่างๆ ไม่เห็นมันหรอก มันอาศัยความว่างนี้เป็นรสชาติ สิ่งที่เป็นรสชาติของความว่าง รสชาติความว่างของขั้นนะ ของขั้นอันกลางนะ นี่มันติดรสชาติอันนั้น

แต่กิเลสอันละเอียดเข้ามา มันก็อาศัยสิ่งนี้ซุกนอนไปในหัวใจของเรา ถ้าเราไม่ย้อนกลับเข้ามา เราจะไม่เห็นสิ่งนั้น ถึงต้องพยายามทำความสงบของใจให้ลึกเข้าไปไง สิ่งที่ว่าเป็นสัมมาสมาธิ สมาธิอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียดเห็นไหม อย่างละเอียดเข้าไปถึงที่สุด

ถ้าจิตนี้ละเอียดถึงที่สุด มันก็จะเข้าไปถึงตัวฐานของจิตเลย ฐีติจิตอยู่ที่ตัวจิตตัวสุดท้าย แต่เวลามันส่งออกมา มันไม่ละเอียด เพราะจิตนี้มันเป็นพลังงาน ตัวพลังงานนั้นส่งออกมาที่ขันธ์ ตัวขันธ์นี้เป็นขันธ์อันละเอียด ขันธ์อันละเอียดนี้เป็นกามราคะ โทสะ โมหะ อยู่ที่นี่ ความทุกข์ ความสุขต่างๆ อาศัยสิ่งนี้แล้วออกไปรับรู้สิ่งต่างๆ ในตัวมันเองเห็นไหม

เราปล่อยวางสิ่งต่างๆ เข้ามา เราเก็บกวาดบ้านเรา เราเก็บกวาดจากข้างนอกเข้ามา แต่ในตัวบ้าน เรายังไม่ได้เก็บกวาด เราเก็บกวาดตั้งแต่รั้วเข้ามา เราเก็บกวาดถอยเข้ามา กิเลสมันสะอาดเข้ามา สะอาดเข้ามา แต่ในตัวของมัน ในบ้าน มันมีฝาบ้านบังไว้เห็นไหม นี้ก็เหมือนกัน กามราคะในหัวใจของเรา มันมีสิ่งนี้บังไว้ มันจับต้องสิ่งนี้ไม่ได้ มันถึงต้องทำลายกำแพงบ้านไง ทำลายกำแพงบ้านเพื่อจะเข้าไปให้เห็นกามราคะ มันถึงต้องพยายามทำจิตสงบเข้ามา ลึกเข้าไปอีก แล้วยกขึ้นวิปัสสนา

ถ้ามันจับต้องได้ มันจะเป็นวิปัสสนากามราคะ ถ้ามันจับต้องไม่ได้ มันก็สงบอยู่อย่างนั้น จิตสงบ แล้วเข้าใจว่าสิ่งนี้เป็นธรรม สิ่งนี้เป็นวิมุตติสุขเห็นไหม

วิมุตติของผู้หลง ไม่ใช่ธรรมจริงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

กลิ่นของธรรมอันละเอียด มันยังซุกอยู่ในหัวใจ ถ้าเราพยายามปฏิบัติเข้าไป เราจะได้รสของธรรมตลอดไป

ถ้าปฏิบัติเข้าไปถึงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม สมควรแก่ธรรมอย่างละเอียด สมควรแก่ธรรมอย่างหยาบ มันก็ได้ผลอย่างหยาบเข้ามา อย่างหยาบเราก็ก้าวเดินต่อไป พยายามก้าวเดินเข้าไปให้มันละเอียดได้ ใจดวงนี้ทำได้หมด สิ่งที่เกิดขึ้นจากใจ มันดับไปจากใจ ดับด้วยปัญญาญาณ มันต้องพยายามย้อนกลับ สิ่งที่ย้อนกลับ จะจับต้องนี่มันจะมีความตื่นเต้นมหัศจรรย์นะ

มหัศจรรย์ว่ามันว่าง มันเวิ้งว่างอยู่ มันไม่มีสิ่งใดเลย แต่ทำไมเวลาเราจับต้องขึ้นมา นี้มันเป็นวัตถุอันหนึ่ง มันเป็นสิ่งที่ว่า มันเป็นความลึกลับ นี่คือสิ่งที่ว่าเป็นนามธรรม สิ่งที่เป็นนามธรรมละเอียดอ่อนเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป ถึงว่าเป็น มรรค ๔ ผล ๔ ความละเอียดอ่อนของใจตรงนี้ มันเคลิบเคลิ้มไปกับมัน มันเป็นกามฉันทะ มันเป็นกามราคะ เพราะมันมีกามราคะ มันถึงส่งออกไง ถ้าสิ่งนี้ส่งออกไปแล้ว

ความมีอยู่ในหัวใจมันมีอยู่แล้ว แล้วสิ่งนอกมันจะเป็นไปไม่ได้อย่างไร แล้วมันมีความเป็นไปนะ เราถึงพยายามจะฆ่ามันอยู่นี่ เราทำความสงบของใจ แต่มันคิดถึงสิ่งนี้ มันคิดได้เลย เวลามันคิดขึ้นมา เวลากิเลสมันทำงานไง มันทำงานในหัวใจของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ เราประพฤติปฏิบัติอยู่ ต่อสู้กับกิเลสอยู่ แต่กิเลสมันก็แสดงตัว แล้วมันทำงาน เป็นเชื้อของมัน อยู่ในตัวของเรา ทำอยู่ในตัวของเรา เราจะรู้ของเรา มันถึงทำให้เราล้มลุกคลุกคลานไง

ความล้มลุกคลุกคลานเพราะเราจับกิเลสได้ เราจับขันธ์อันละเอียดได้ เราจับอสุภะได้ นี้คืองาน เพราะงานอย่างนี้ปัญญามันต้องฟาดฟัน การฟาดฟันเห็นไหม “กามภพ” สิ่งที่เป็นภพ สิ่งที่เป็นอาศัย ถ้าเราทำสิ่งนี้ออกไปได้ ภพของใจจะไม่มีส่วนหนึ่ง ภพของขันธ์ไง ขันธ์ ๕ ที่มารวมตัว ขันธ์ไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่ขันธ์ แต่เวลาขันธ์ ๕ มารวมตัว มันหมุนออกไปมันเป็นกามราคะเพราะขันธ์อันละเอียดมันหมุนออกไป มันมีสัญญา สัญชาตญาณของมัน

สัญชาตญาณการดำรงชีวิตของมันมีอยู่อย่างนั้น มันก็สืบต่อสร้างโลกมาเป็นอย่างนั้น นี้เป็นส่วนหนึ่ง เป็นธรรมชาติของมัน แต่ธรรมที่ว่า ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ ชำระมันเห็นไหม ถึงมีอำนาจเหนือมัน ต้องวิปัสสนาไง สิ่งนี้เป็นความสกปรกโสมม เรื่องของโลก เวลาเสพกันมันต้องเสพ เพราะสิ่งที่กระทบกันจากภายนอก

สิ่งที่กระทบกันจากภายนอก ร่างกายเกิดขึ้นมาจากอะไร เกิดขึ้นมาจากของบูด ของเน่า ของเสีย อาหารนี้เป็นของบูด ของเน่า ของเสีย แต่ความหลงเห็นไหม หลงเข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่เราปรนเปรอเพื่อความสะอาด ถ้าใช้วิทยาศาสตร์ เราต้องใช้ดำรงชีวิต สิ่งที่ดำรงชีวิต มันเป็นธรรมชาติ มันเป็นการดำรงชีพอยู่ นี้เป็นความถูกต้อง นั้นเป็นความถูกต้อง เพราะการดำรงชีวิตเห็นไหม

เหมือนกับว่า จิตมันมีอยู่ในหัวใจ จิตของเราอยู่ในใจของเรานี่มันมีอยู่ แต่กิเลสมันอยู่ มันก็แสดงตัวของมันออกมา แล้วเราก็พยายามชำระของมัน ถ้าเราชำระอย่างนี้ มันก็เป็นธรรม แต่ถ้ามันอยู่ของมันอย่างนั้น มันก็เป็นสภาวะว่าเป็นธรรมชาติของมัน ธรรมชาติอันนี้มันมีอยู่ของมัน แต่สภาวธรรมที่เกิดขึ้น ถึงว่าเป็นธรรมของบุคคลไง ธรรมของบุคคล ธรรมของเรา ถ้าเราเกิดขึ้นมา มันเป็นธรรมของเรา เพราะเรามีธรรมจักร

สิ่งที่เป็นธรรมจักรมันเป็นปัญญาแยกสิ่งนี้ มันมีอยู่.. มีอยู่เพื่อทำให้ใจเจริญงอกงามขึ้นไป ไม่ใช่มีอยู่แบบยอมรับไง สิ่งที่ว่ามันเป็นธรรมชาตินี้ ถ้ายอมรับสิ่งนี้ มันก็ต้องอาศัยสิ่งนี้ดำรงชีวิตไป แล้วมันก็หมุนเวียนตาย เวียนเกิด โดยสภาวธรรมชาติ

แต่ธรรมเหนือโลก! ธรรมที่เหนือโลก ธรรมที่ชำระเข้ามา ธรรมมันเป็นธรรมเหนือโลก จะปล่อยสิ่งนี้ออกไปให้ได้ จะปล่อยสิ่งนี้ต้องเห็นโทษของมัน

ถ้าเห็นโทษของมัน มันจะเห็นเป็นจิตตั้งมั่น พอจิตตั้งมั่นจับเป็นอสุภะได้ มันจะเป็นอสุภะ เยิ้มเป็นอสุภะ จนว่าสิ่งนี้มันเป็นสิ่งที่ว่ามันไม่สวยไม่งาม มันปล่อยนะ มันปล่อย ปล่อยถึงที่สุด ปล่อยจนมันปล่อยหมดเลย แล้วมันไม่มีสิ่งที่เป็นไป ไม่ได้.. ต้องตั้งเป็นสุภะ ให้เห็นว่ามันเป็นสิ่งที่สวยงามขึ้นมา ให้จิตมันแสดงตัวไง ให้จิตแสดงตัวว่ามันจะปล่อย มันต้องมีเหตุผล เหตุผลว่านี้คืออะไร? สิ่งนี้คืออะไร? คือสภาวะเกิดขึ้นมาจากสภาวะของกรรม เรามีกรรม เราสร้างกรรมขึ้นมา เรามีอวิชชา สิ่งนี้ทำให้เราเกิดขึ้นมา ร่างกายอันนี้

แล้วร่างกายอันนี้เราเห็นสภาวะของมันเป็นอย่างไร ถ้าเป็นสภาวะของโลก มันก็เป็นสภาวะโลก การดำรงชีวิตออกไป แต่ถ้าเป็นสภาวธรรม เห็นจากตาภายใน มันลึกลับมหัศจรรย์ มหัศจรรย์จนละเอียดเข้ามา ลึกลับมหัศจรรย์จนมันเห็นโทษของมัน เห็นโทษ เห็นโทษ ปล่อย.. ปล่อย.. ปล่อยถึงที่สุดจนขาดออกไปจากใจ จะต้องขาดเห็นไหม

ขันธ์อันละเอียด สิ่งที่เป้าหมาย หมายกับสิ่งใดๆ สัญญาหมายกับสิ่งใด มันออกมาจากจิต หมายสิ่งใดได้ นั้นเป็นสิ่งที่รับรู้กัน มันยังต้องขาดออกไปจากใจ ใจนี้จะหมายสิ่งใดไม่ได้เลย ปล่อยวางหมดเห็นไหม นี่กามภพมันปล่อยวางสิ่งนี้ ถึงเป็นขันธ์มันก็ปล่อยเหมือนกัน ปล่อยอย่างนี้แล้วมันสะเทือนเลือนลั่นของใจ ใจนี้จะเป็นอิสระเลยนะ อิสระจากขันธ์ แต่ไม่อิสระจากอวิชชา เพราะตัวมันเองคือตัวอวิชชา สิ่งที่จะต้องรู้ตัวอวิชชาได้ ต้องย้อนกลับ ย้อนกลับเข้ามาเห็นไหม

สิ่งที่ว่ากระทบกัน มือสองข้างจับกัน มันมีส่วนหนึ่งกระทบกับส่วนหนึ่ง แต่มือข้างเดียว พยายามจับให้รู้สึกตัวเองนี่ จะทำสิ่งนั้นได้อย่างไร จิตก็เหมือนกัน จิตลองไม่มีขันธ์กระทบ มันไม่หมายกับสิ่งใดแล้ว มันปล่อยวางสิ่งต่างๆ เข้ามาหมด เป็นความว่างหมด นี่ติดตรงนี้มหาศาลเลย.. ติดว่าสิ่งนี้คือความวิมุตติ เพราะมันว่างหมด

เรือนว่าง บ้านนี้ว่าง ทำให้บ้านนี้สะอาด แต่คนทำความสะอาดบ้านอยู่ไหน เราทำความสะอาดบ้าน บ้านนี้สะอาดหมดเลย แล้วเราก็อยู่ในบ้าน เห็นว่าบ้านนี้สะอาดหมดเลย เราไม่เห็นตัวมันเอง อวิชชาเป็นอย่างนั้น! มันส่งออก! มันรู้ตัวมันเองแล้วส่งออกไป มันรู้อย่างนั้น มันไม่เป็นวิชชา ถ้ามันเป็นวิชชา มันต้องย้อนกลับ สิ่งที่ย้อนกลับ มรรคจะสมบูรณ์ สมบูรณ์ตรงนี้ สติ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ สมาธิ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แล้วถึงจะย้อนกลับเข้ามาได้

ถ้าสมาธิไม่ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ จะจับสิ่งนี้ไม่ได้เลย “อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ” ปัจจยาการของใจมันรับรู้แล้วก็ส่งออกไป แต่เดิมมันเป็นขันธ์ เห็นไหม กองของรูป กองของเวทนา กองของสัญญา กองของสังขาร กองของวิญญาณ จะรับรู้สิ่งใด มันภาพชัดมาก มันเป็นกองที่ให้จิตนี้เห็นได้ วิปัสสนาได้ แต่ปัจจยาการของมันจะไม่เห็นสิ่งนี้เลย มันซึมไหลออกไป โดยที่เราจับต้องไม่ได้เลย มันถึงเป็นการค้นคว้ายากไง

จะเห็นอวิชชานี้เห็นได้ยากมาก เห็นตอของจิต ถ้าตอของจิต ใครจับตอของจิตได้นะ นั่นล่ะอรหัตตมรรค! สิ่งที่เป็นอรหัตตมรรคเห็นไหม อรหัตตมรรค-อรหัตตผล สิ่งที่เป็นผลของมันในการประพฤติปฏิบัติ มันต้องพยายามค้นคว้า สังเกตใจของตนเอง เราประพฤติปฏิบัติมันว่าง ให้มันว่างขนาดไหน ต้องตรวจสอบตลอดเวลา

การตรวจสอบใจนั้นเป็นมรรค มันเป็นความรำคาญไง เราจะยังมีความสงบแล้วจะว่างอยู่อย่างนั้น ถ้ามีความว่าง หลบอยู่ในความว่าง แล้วมันมีพอใจว่า “นี้ว่าง นี้ว่าง” แต่อวิชชานี้ถ้าดับเดี๋ยวนั้น ไปเกิดเป็นพรหม แล้วจะไปสุกเอาข้างหน้า แต่เวลาของพรหมมันยาวนานเท่าไร

แต่ในการประพฤติปฏิบัติของเรานี่ ในชีวิตเราจะกี่วัน กี่เดือน กี่ปี ก็แล้วแต่ ถ้าเราต้อนเข้ามาสิ่งนี้ทัน เราจะจับตัวอวิชชาได้ การจับตัวอวิชชาได้เห็นไหม การจะทำงาน ตำแหน่งหน้าที่การงาน อย่างนี้เห็นไหม มรรค ๔ ผล ๔ ตำแหน่งหน้าที่การงาน ตั้งแต่หยาบขึ้นมาจนถึงละเอียด ถ้าเราจับสิ่งนี้ไม่ได้ เรายกขึ้นวิปัสสนาไม่ได้ ปัญญามันไม่ก้าวเดินหรอก ปัญญาในการโลกุตระเห็นไหม

โลกุตตรปัญญาจะเห็นความเป็นไปของกิเลส ว่ามันเกาะเกี่ยวกันอย่างไร มันเกาะเกี่ยวแล้วมันออกยึดมั่นถือมั่น โลกนี้มีเพราะมีเรา โลกนี้ว่างหมดเลย แต่อัตตานุทิฏฐิเห็นความว่างหมดเลย แต่ไอ้ตัวที่เป็นคนเห็นเขาอยู่ไหน นี่เวลาอวกาศมันว่าง มันไม่รู้ตัวมันเอง อากาศมันว่างมันก็ไม่รู้ตัวมันเอง วัตถุที่ไม่มีชีวิตมันก็ไม่รู้ตัวมันเอง แต่อันนี้มันรู้ตัวเอง รู้ตัวเอง ว่างออกไปข้างนอก รู้ตัวเองตลอดเลย มันว่างออกไป แต่มันไม่ยอมย้อนกลับเห็นไหม ต้องพยายามสังเกตสอดรู้เข้าไป แล้วมันจะย้อนกลับเข้าไปสิ่งนี้

ถ้าย้อนกลับเข้าไปจับตรงนี้ได้ นี่อาสวักขยญาณ ญาณการชำระกิเลส กิเลสมันอยู่ที่ใจ อยู่ที่ใจตรงนี้ ตรงที่เป็นตอของจิต ตรงที่จิตเป็นปัจจยาการ ปัจจยาการเป็นความสัมพันธ์ของมัน สืบต่อไป เป็นกระแสออกไป มันถึงเข้าไปเกี่ยวพันกับขันธ์ได้ไง มันถึงออกไปเกี่ยวพันกับขันธ์ แล้วซึมซาบไปกับขันธ์ ถ้ากิเลสอยู่ มันก็ออกไปเกี่ยวพันกับรูป รส กลิ่น เสียง ตั้งแต่ภายนอก

เราวิปัสสนามา ปล่อยรูป รส กลิ่น เสียงเข้ามา ปล่อยบ่วงของมาร มันก็เป็นขันธ์ แล้วเราวิปัสสนาขันธ์ วิปัสสนากาย มันปล่อยกายเข้ามา มันก็เป็นกายใน พิจารณากายในเข้ามา มันก็เป็นอสุภะ จนพิจารณาอสุภะ มันก็ถึงตัวมันเอง นี่ปัจจยาการมันเป็นอย่างนี้ ถ้าปัจจยากรเป็นแบบนี้ เวลาเราวิปัสสนาเห็นไหม วิปัสสนาตั้งแต่กายภายนอกก็เหมือนกัน เราจะใช้อย่างนี้ก็ได้ ปัญญาอย่างไรก็แล้วแต่ ถ้าเราใช้ปัญญาขั้นละเอียดมาพิจารณาขนาดไหน เราเข้าใจว่าละเอียด แต่ความนั้นมันคือพิจารณากายเหมือนกัน

พิจารณากายจะใช้อุบายอย่างไรมันก็คือพิจารณากาย เวลาขาดมันขาดที่กาย มันปล่อยเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป จนถึงที่สุดแล้ว ตัวมันเองเป็นปัจจยาการ แต่ความคิดอย่างนี้เกิดไม่ได้ ความคิดที่บังเกิดเป็นปัญญานี้ มันเป็นปัญญาของขันธ์ มันเป็นปัญญาของการต่อสู้กัน

แต่ปัญญาญาณนี้มันซึมซาบนะ มันเป็นอัตโนมัติ มันไหลเข้าไปข้างใน แล้วมันพลิกคว่ำจิตนี้ นี่ตัวอวิชชา ถอนอัตตานุทิฏฐิ จากอวิชชาความไม่รู้เป็นวิชชา รู้สมบูรณ์แบบ ความรู้สมบูรณ์แบบ นี่รสของธรรม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ดื่มกินรสอันนี้ แล้วก็เทศน์ธรรมจักรสอนพระอัญญาโกณฑัญญะ ตั้งแต่รสของธรรม มีดวงตาเห็นธรรม จนเข้าไปเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป จนเข้าไปถึงธรรม นี่รสของธรรม

กลิ่นของธรรม คือการศึกษาเล่าเรียน การศึกษาเล่าเรียนเป็นกลิ่น กลิ่นของธรรม เพราะเราได้กลิ่น เราเชื่อกลิ่นนั้น แล้วเราพยายามค้นคว้าสืบเข้าไป แล้วกลิ่นเราไปถึงที่ไหน กลิ่นหอมก็ได้ กลิ่นเหม็นก็ได้ เราไม่เข้าใจ แต่กลิ่นของใจ กลิ่นของกิเลสสิ กิเลสมันพลิกแพลงต่อไป มันเป็นเชื่อไฟไง ถ้าจุดไฟติดมันจะเผาเข้าไป เผาเข้าไปเป็นชั้นเป็นตอนนะ

เผาเข้าไปส่วนหนึ่ง มันจะเป็นกองเห็นไหม กองของกายภายนอก หมดเชื้อของไฟ เราต้องจุดไฟใหม่ มรรค ๔ ผล ๔ เวลาพิจารณากายขึ้นมา เผากองของกายหมดออกไป เผากองของธาตุ ๔ ออกไป เผากองของอสุภะเห็นไหม สิ่งที่เป็นอสุภะ แล้วก็เผากองธาตุของกายของจิต ตัวจิตน่ะ เผาตลอดเข้าไป ถึงที่สุด ถ้าเราเผาออกไป นี่ปัญญาญาณมันเผา มันทำลาย มันจะปล่อยวางออกไป นี่รสของธรรม

รสของธรรมเกิดขึ้นมาจากหัวใจนะ ถ้าเราเป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ เวลาทุกข์ ทุกคนรู้ว่าทุกข์ เวลาทุกข์มันไม่ต้องบอกกันเลย แต่เวลาธรรมเกิดขึ้นในหัวใจ ถามนะ เราพยายามจะถาม เราไม่ต้องถาม เราพยายามก่อร่างสร้างตัวขึ้นมา จิตนี้มันจะประพฤติปฏิบัติ มันก็เป็นปัจจัตตัง มันจะต้องรู้ตามความเป็นจริง แล้วความเป็นจริงนั้นสื่อกันได้ ถ้าเราเป็นความเป็นจริงของกิเลส กิเลสเข้าใจว่าสิ่งนั้น เราเข้าใจว่าเป็นอย่างนั้น เดี๋ยวมันก็เสื่อม เราเก็บไว้นานๆ มันต้องเสื่อมโดยธรรมชาติของมัน

แล้วถ้าเจอครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์ฟังทีเดียวก็รู้ สิ่งที่เกิดขึ้นมากับเรา เราต้องสามารถพูดสื่อความหมายได้ จะชักใบให้เรือเสียขนาดไหน เดี๋ยวกลับมาก็ตอบได้ แต่ถ้ามันเป็นกิเลสนะ ชักใบให้เรือเสียแล้วก็ตอบไม่ได้ นั้นเห็นไหม นี่กลิ่นของกิเลส รสของกิเลส ถ้ารสของธรรม เป็นความสุขตลอดไป เป็นความสมบูรณ์ เป็นความสมความปรารถนา ถ้ารสของกิเลส ประพฤติปฏิบัติแล้วไม่สมกับธรรม มันก็เป็นกิเลส แต่ในการประพฤติปฏิบัติเรา เราก็ต้องทำตลอดไป เพราะเราไม่รู้ว่า วันไหน เดือนไหน เห็นไหม

เวลาประพฤติปฏิบัติ เราสร้างสมของเราขึ้นมา รดน้ำพรวนดินของเราขึ้นมา ถึงที่สุดแล้ว เวลาสมุจเฉทปหาน “ช้างกระดิกหู งูแลบลิ้นเท่านั้น” ทีเดียวเท่านั้น พลิกจากปุถุชนเป็นอริยบุคคล เป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป จนถึงที่สุดนะ พ้นออกไปจากกิเลส รสของธรรมเข้าถึงใจ เต็มส่วนของใจเลย มันถึงต้องพยายามสะสม เราไม่รู้ว่ามันจะเป็นอย่างไร เพราะเราคาดเราหมาย เราถึงเป็นตัณหา เป็นตัณหาซ้อนตัณหา ตัณหาความทะยานอยากจะไม่สมความปรารถนา แต่ถ้าเราทำ สร้างเหตุเป็นมรรค

ความอยากนี้เป็นมรรค อยากในการทำงาน แต่ผลของงานอยู่ข้างหน้า เราก็รู้อยู่ เราพยายามสร้างเหตุ แล้วมันจะเข้าไปสมกับอันนั้น แต่เราสร้างเหตุอย่างนั้น แล้วเราคาดหมายเลยว่า “จะได้ผลอย่างนั้น ได้ผลอย่างนั้น” นั้นคือว่าเราจะโดนรสของกิเลสมันเสียบแทงใจตลอดไป แล้วเราประพฤติปฏิบัติถึงที่สุดแล้ว ถ้ามีการปฏิบัติอยู่ ธรรมจักรเคลื่อนอยู่ในหัวใจของเราอยู่ มันจะชำระกิเลสของเราสิ้นไป แล้วจะได้รสของธรรม เอวัง