เทศน์บนศาลา

ต้นทางธรรม

๑ ก.ย. ๒๕๕๗

 

ต้นทางธรรม
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจฟังธรรม ตั้งใจฟังธรรมะเนาะ เราแสวงหาธรรม เราปฏิบัติธรรมเพื่อความสุข ความสงบ ความระงับ เราปฏิบัติธรรมเพื่อพ้นจากทุกข์ เรามีความปรารถนาที่จะพ้นจากทุกข์ เพราะเราเกิดมาเป็นชาวพุทธ เกิดมาพบพุทธศาสนา เรามีศรัทธามีความเชื่อในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้รื้อค้นสัจธรรมอันนี้ขึ้นมา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างสมบุญญาธิการมามหาศาล ถึงได้ค้นคว้าสิ่งนี้มา ค้นคว้าในใจองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นความจริงในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุข วิมุตติสุข เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ สร้างสมบุญญาธิการนั้นมหาศาล เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะออกบวช ละล้าละลังๆ กับความเป็นอยู่ของชีวิต นั่น อันนั้นคือความทุกข์ ความกลัดหนอง ในเมื่อกิเลสตัณหาความทะยานอยากกลัดหนอง กลัดในหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าออกบวช ออกประพฤติปฏิบัติกับเจ้าลัทธิต่างๆ อีก ๖ ปี แสวงหาอยู่นั่น ความกดดันของกิเลส ความอยากจะพ้นจากทุกข์ มันมีความกดดันในหัวใจทั้งนั้น แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตั้งต้นได้ ต้นทางแห่งธรรมๆ ต้นทางแห่งธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตั้งต้นได้ตั้งแต่ อานาปานสติ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าค้นคว้าไปบุพเพนิวาสานุสสติญาณ จุตูปาตญาณ อาสวักขยญาณ ในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำลายอวิชชาทำลายกิเลสตัณหาความทะยานอยากสิ้นซากไปในหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงเสวยวิมุตติสุขๆ สุขอันยิ่ง ในที่ว่าวัฏฏะนี้ไม่เคยได้สัมผัส ในวัฏฏะนี้ไม่เคยรู้ ไม่เคยเห็น แต่มันจะไปรู้เห็นในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่น สัจธรรมๆ

เราเกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา เรามีความเชื่อ เรามีศรัทธา เราก็ต้องการสัจธรรมอันนั้น เราถึงได้ทุ่มเทชีวิตเราทั้งชีวิต เพื่อมาค้นคว้าสิ่งนี้ตามความเป็นจริงขึ้นมาในใจของเรา ถ้าเราค้นคว้าสิ่งที่เป็นความจริงของเรา เราต้องตั้งต้นให้ถูกต้อง ถ้าความถูกต้องของเรา เราประพฤติปฏิบัติของเรามันจะเข้าสู่สัจธรรมอันนั้น ต้นทางแห่งธรรมของเรามันจะเข้าสู่สัจธรรม เหมือนในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตั้งแต่ออกบวช ที่ว่ากลัดหนองๆ ความทุกข์มันโถมเข้าใส่นะ เวลาเป็นกษัตริย์ ความเป็นอยู่ทางโลกก็ประณีตในฐานะของกษัตริย์ เวลาออกไปแสวงหา ออกไปบวช ยังไม่มีศาสนา ความเป็นอยู่เป็นยังไง ราวฟ้ากับดินนะ สิ่งที่เป็นราวฟ้ากับดิน แล้วศักดิ์ศรี ความเป็นอยู่ของกษัตริย์ แล้วออกไปเป็นนักบวช มันแตกต่างกันขนาดไหน

พูดถึงว่า ตั้งต้นของธรรมๆ มันมีความทุกข์ทั้งนั้น มันมีแต่ความทุกข์ ความเหยียบย่ำในหัวใจ คนถ้ามีทิฐิมานะก็รับสภาวะแบบนั้นไม่ได้ แต่คนที่มันสร้างสมบุญญาธิการมา รับสภาวะแบบนั้นได้ แล้วมุ่งมั่น ค้นคว้ามุ่งมั่นปฏิบัติตามความเป็นจริงขึ้นมา จนเป็นความจริงขึ้นมา ถ้าเป็นความจริงขึ้นมา ในเมื่อเสวยวิมุตติสุข สุขที่ในโลกที่ไม่มี สุขที่ความเป็นจริงในโลกนี้ไม่ได้

แต่เวลาเราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในทางทฤษฎี ในสัจธรรม ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค สัจธรรมคือสัจธรรม คือความทุกข์ นั่นความทุกข์มันเกิดขึ้น ทุกข์ตั้งอยู่และทุกข์ดับไป เราจะแสวงหาความจริงขึ้นมา เราต้องเข้าเผชิญหน้าสู่ความจริง เราถึงบอกว่าทุกข์เกิดขึ้น ทุกข์ตั้งอยู่ ทุกข์ดับไป เราแสวงหา เราพยายามจะหาเหตุหาผล เห็นไหม ทุกข์ควรกำหนด สมุทัยควรละ เราจะละทุกข์ เราจะละความทุกข์ แต่จะละความทุกข์ต้องเผชิญกับความจริงอันนั้น

ถ้าเผชิญความจริงอันนั้น เราก็บอกว่าทุกข์เป็นทุกข์นิยมๆ เราไม่ต้องการ เราจะปรารถนาแต่ความสุข เวลาเขาปฏิบัติกัน เขาปรารถนาความสุข ปรารถนาความสะดวก ปรารถนาความสบาย ปรารถนาสิ่งต่างๆ นั่นล่ะทางแห่งกิเลส นั่นล่ะทางแห่งความประมาท

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปรินิพพาน “ภิกษุทั้งหลาย เธอจงพิจารณาสังขารด้วยความไม่ประมาทเถิด ด้วยความไม่ประมาทเถิด” แล้วถ้าไม่ประมาท แล้วเข้าไปเผชิญความจริงมันเป็นอะไรล่ะ มันก็เป็นความทุกข์ทั้งนั้นแหละ ทุกข์คือความทนอยู่ไม่ได้ แล้วมันทนอยู่ได้ไหมในหัวใจเรา เราหงุดหงิดขัดข้องใจตลอด มันทนอยู่ได้ไหม แต่เราต้องทนอยู่กับมันไง เราต้องทนอยู่กับมันเพราะอะไร เพราะเราไม่มีทางออก เพราะเราไม่รู้จักหน้ามัน เพราะเราปฏิบัติโดยความไม่ถูกต้อง เราถึงต้องยอมจำนนทนอยู่กับมัน

แต่เพราะเรามีศรัทธา เรามีความเชื่อ เราได้ศึกษามา เวลาศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธนั้นเป็นปริยัติ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธวางธรรมวินัย วินัยเห็นไหม ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ การศึกษานั่นนะ ใช่ต้องศึกษา โลกก็มีการศึกษา โลกก็ต้องค้นคว้ากันเพื่อความเจริญก้าวหน้า อันนั้นมันต้องมีการศึกษาอยู่แล้ว เชาวน์ปัญญาของคน คนก็มีปฏิภาณไหวพริบ อันนั้นมันก็เป็นเชาวน์ปัญญา เป็นพันธุกรรมของจิต นั่นมันก็มีความก้าวหน้าของใจ

ฉะนั้น มีความก้าวหน้าของใจนะ การศึกษาศึกษาแล้ววางไว้ พอศึกษา เราศึกษาแล้วมาทบทวนกับชีวิตของเรา เพราะเราเวลาปฏิบัติเราจะปฏิบัติเพื่อตัวของเรา ต้นทางแห่งชีวิต เวลาเราศึกษาของเรา เราต้นทางของชีวิต เราเกิดมาจากไหน เวลาเราเกิดมาต้นทางแห่งชีวิต ต้นทางแห่งชีวิตลุ่มๆ ดอนๆ คนที่มีอำนาจวาสนา เขาเกิดมา มีแต่ความอบอุ่น มีแต่ความสุข มีแต่ความสะดวก มีแต่ความสบาย

เพราะพ่อแม่ของเขา ดูแลเขารักษาเขาด้วยบุญบารมี ด้วยอำนาจวาสนาของเขา นั่นต้นทางแห่งชีวิต แต่ถ้าเขาไม่มีสติ ไม่มีปัญญา ถ้าเขาไม่ค้นคว้าของเขา ชีวิตของเขา มันก็ชีวิตที่เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ แต่ชีวิตเรา ชีวิตเราเกิดมาจะขาดตกบกพร่องบ้าง เกิดมาไม่สมบูรณ์-สมบูรณ์บ้าง อันนี้มันก็เป็นอำนาจวาสนาของเรา ถ้าเป็นอำนาจวาสนาของเรา เราเกิดมาแล้ว ต้นทางแห่งชีวิต

ใครดูแลมา พ่อแม่ดูแลรักษามา พ่อแม่ส่งเสียมา ให้การศึกษาเรามา เราศึกษามาแล้วจนเรามีหน้าที่การงานของเรา เราทำงานของเรา เรามีวิชาชีพ เราเลี้ยงชีพของเรา ถ้าเลี้ยงชีพของเรา ต้นทางแห่งชีวิต ถ้าชีวิตต้นทางแห่งชีวิตชีวิตก็เป็นแบบนี้ แล้วถ้าเรามีศรัทธา มีความเชื่อล่ะ ถ้าเรามีศรัทธา มีความเชื่อนะ เราจะมาประพฤติปฏิบัติ ถ้าเราจะมาประพฤติปฏิบัติ เราจะเริ่มประพฤติปฏิบัติที่ไหน

ต้นทางแห่งนักบวช เรามาบวชเป็นพระเป็นเจ้ากัน เรามาบวชเพราะอะไร เพราะเรามีศรัทธา ผู้ที่บวชเป็นประเพณีวัฒนธรรมนั้นก็เป็นอำนาจวาสนาของเขา เขาบวชเป็นประเพณีเป็นวัฒนธรรมเพราะเกิดมาเป็นชาวพุทธ ไม่เหยียบแผ่นดินผิด เขาก็ยังได้บวชเป็นพระ ได้ศึกษาธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อยากให้เป็นคนสุก คนสุกคือคนรู้ประเพณีวัฒนธรรม รู้ข้อธรรมเพื่อไปดำรงชีวิต

ถ้าต้นทางแห่งชีวิตของเขา เขาตั้งความปรารถนาของเขาแบบนั้นก็มี แล้วเวลาคนบวช บวชชั่วคราวๆ อยู่จนแก่จนเฒ่าไปก็มากมาย มากมายเพราะอะไร เพราะเวลาเข้ามาศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันเห็นคุณค่าไง ไก่ได้พลอยๆ เวลาไก่มันได้พลอยขึ้นมา มันไม่ต้องการพลอย มันอยากได้แลกข้าวเปลือกสักเม็ดหนึ่ง นั่นไก่ได้พลอย

นี่ก็เหมือนกัน พอเราเป็นไก่ตัวหนึ่ง เรามาคุ้ยเขี่ย เรามาศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นมันเพชรนิลจินดาทั้งนั้น เราเสียดายไง ถ้าเราเป็นไก่ตัวหนึ่ง แต่เราไม่เห็นเพชรนิลจินดา เรารู้สามารถว่ามันมีค่าๆ เราสละชีวิตทางโลก เราสละชีวิตทางโลกเราจะอยู่ต้นทางแห่งนักบวช ต้นทางแห่งนักบวชถ้ามันค้นคว้าไป ชีวิตของเขา ถ้าทำความเป็นจริงของเขา ชีวิตของเขาจะราบรื่น ชีวิตของเขาจะประพฤติปฏิบัติขึ้นมาจะมีคุณธรรมในหัวใจ

ถ้ามีคุณธรรมในหัวใจต้นทางแห่งธรรมๆ เพราะศึกษามาเพชรนิลจินดานั้นเป็นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเราไปศึกษา แต่มันมีคุณค่าไง เพราะเรามีศรัทธา เรามีความเชื่อ เราเปรียบเทียบได้ไง เราเปรียบเทียบได้ ถ้าเราอยู่ทางโลก เรามีหน้าที่การงานของเรา เราหาทรัพย์สมบัติของเรา มันก็เป็นเพชรนิลจินดาเหมือนกัน แต่เพชรนิลจินดานี้เขาเอาไว้ใช้ดำรงชีวิต เพชรนิลจินดานี้เขาเอาไว้ใช้เพื่อสถานะทางสังคมของเขา แต่หัวใจของเขา เขาไม่ได้ดื่มกินธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง ในใจของเขาไม่มีคุณธรรมมีความเป็นจริงในใจของเขาไง

ความสุขมันแตกต่างกัน ความสุข ความสถานะที่การได้รับทรัพย์มันแตกต่างกัน ทรัพย์ทางโลกกับทรัพย์ทางธรรม ทรัพย์ทางโลกมันก็แก้วแหวนเงินทอง นั่นทรัพย์ทางโลกของเขา เขาสร้างบุญญาธิการของเขา เขาทำบุญกุศลของเขา เขาก็เกิดเทวดา อินทร์ พรหมของเขา เขากลับมาเกิดเป็นมนุษย์ใหม่ก็ได้ในทางวัฏฏะ วัฏวนของเขา การเวียนตายเกิดในวัฏฏะมันก็จะเป็นผลของวัฏฏะ การทำคุณงามความดีระดับนั้น มันก็ได้ระดับนั้น

แต่ถ้าเราเป็นไก่ตัวหนึ่ง เราบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา เรามาคุ้ยเขี่ยในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราเห็นคุณค่าของเพชรนิลจินดา คำเพชรนิลจินดาคือคำสั่งสอนคือหลักธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันมีค่า ถ้ามันมีค่า เรามีค่ากับใคร มีค่ากับผู้ที่มีสติ มีปัญญา รู้คุณค่าของมัน ถึงเห็นคุณค่าของมัน ถ้าเราขาดสติ เราไม่มีปัญญา เราก็เห็นคุณค่า แต่เห็นคุณค่าด้วยกิเลสมันข่มขี่เอา กิเลสมันครอบงำเอา มันก็บอกว่าเราก็เป็นฆราวาส เราเป็นมนุษย์ เราก็ปฏิบัติธรรมได้ เราศึกษาได้ เขาก็ออกไปใช้ชีวิตของเขาทางโลก ต้นทางแห่งนักบวช ต้นทางแห่งนักปฏิบัติ

ต้นทางแห่งนักปฏิบัติ แล้วชีวิตของเราเราเลือกเอง เราทำสิ่งใดก็ได้ เราจะใช้ชีวิตของเราอย่างไรก็ได้ แต่การใช้ชีวิต การเกิดเป็นมนุษย์เป็นอริยทรัพย์ สิ่งที่การเกิดเป็นมนุษย์ มนุษย์มีสติมีปัญญา แล้วมนุษย์มีสติมีปัญญาก็ใช้ชีวิตกันไปโดยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ดูโลกเขาที่ใช้ชีวิตกันสิ กิเลสมันปิดตาไว้ แล้วก็จูงเข้าไปในชีวิตของเขา อาบเหงื่อต่างน้ำทำหน้าที่การงานของเขา แล้วถ้ากิเลสมันปิดหูปิดตา มันทำหน้าที่การงานแล้วมันก็ไม่พอใจ ว่ามันเสียเปรียบสังคม มันต้องการเอาชนะคะคานคนอื่น มันทำด้วยการปล้นชิงทรัพย์สมบัติของเขา

นั่น มันหาแต่โทษใส่ตัวไง ถ้ากิเลสมันปิดหูปิดตาแล้วใช้ชีวิตออกไป เพราะกิเลสปิดหูปิดตาก็คิดตามมัน คิดตามความคิดของตัวว่าตัวเองจะมือใครยาวสาวได้สาวเอา คิดแต่จะเอาแต่ผลประโยชน์ของตนๆ นั้นใช้ชีวิตทางโลกไง ถ้าใช้ชีวิตทางโลกของเขาโดยขาดสติ นั่นชีวิตทางโลกเขาจะเป็นประโยชน์สิ่งใดขึ้นมา ต้นทางแห่งธรรม ต้นทางแห่งนักบวช ต้นทางแห่งการนักประพฤติปฏิบัติ ถ้าเขามีเชาวน์เขามีปัญญาของเขา ปัญญาของเขาจะคิดเห็นคุณค่าอันละเอียด คุณค่าอันละเอียดคือศีล สมาธิ ปัญญา คือสัจธรรม คือความเป็นจริงในหัวใจไง

ถ้าความเป็นจริงในหัวใจ มันต้องเอาสิ่งใดเข้าไปสัมผัสความจริงอันนั้นล่ะ ถ้าเข้าไปสัมผัสความจริงอันนั้น ต้นทางแห่งนักปฏิบัติ ต้นทางแห่งนักบวช ต้นทางแห่งธรรม ถ้ามีต้นทาง ต้นทางมันมาจากไหน ต้นทางมันก็มีสติ มีปัญญานี่ไง

คนเหมือนกัน คนคนหนึ่งใช้ชีวิตของเขาสุรุ่ยสุร่าย ใช้ชีวิตสุรุ่ยสุร่ายคือค่าเวลาทิ้ง คำว่าใช้ชีวิตสุรุ่ยสุร่ายคือวันเวลามันล่วงไปๆ เราอยู่กันไปวันๆ หนึ่ง แล้วอายุขัยของคนมันก็ร้อยปีเท่านั้น เขาใช้ชีวิตของเขาสุรุ่ยสุร่ายของเขาไป แต่คนถ้ามีสติมีปัญญา มีลมหายใจเข้าให้นึกพุธ มีลมหายใจออกให้นึกโธ ระลึกถึงสติของเรา ระลึกถึงหัวใจของเรา ระลึกถึงความรู้สึกของเรา รักษาสิ่งนี้ไว้ ไม่ให้เวลามันล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์ไง

ถ้าไม่ให้ล่วงไปโดยเปล่าประโยชน์ไง เขามีสติมีปัญญา ชีวิตของเขามีค่ามันที เพราะเวลามันก็หมุนของมันไป ธรรมชาติของมันนั่นแหละ แต่เวลาที่มันผ่านไปแล้วเราเอาคืนมาได้ไหม ชีวิตที่มันผ่านไปมันจะเรียกร้องคืนมาได้ไหม ถ้าชีวิตนี้มันผ่านไปเรียกร้องคืนมาไม่ได้ขณะในปัจจุบันนี้ ร่างกายเรายังแข็งแรง เรายังหยิบจับหยิบฉวยสิ่งไรได้ เราควรทำของเราไง นี่พูดถึงร่างกายนะ แล้วถ้าจิตใจล่ะ จิตใจเวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา

เราต้องเอาความคิดเอาใจของเราไว้ในอำนาจของเรา ถ้าเราเอาใจของเราไว้ในอำนาจของเราได้ นั้นคือเรารักษาใจเรา ถ้าต้นทางแห่งการประพฤติปฏิบัติ เรามีศรัทธา มีความเชื่อ เราจะได้สถานะไหนมา เวลาเวียนว่ายตายเกิด ต้นทางแห่งชีวิต เราก็คิดว่าเราเกิดชาตินี้ชาติเดียว คนถ้าไม่มีมนุษย์สมบัติ มันไม่ได้มาเกิดเป็นมนุษย์หรอก แล้วได้เกิดเป็นมนุษย์ มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มนุษย์มีความแตกต่างหลากหลาย มนุษย์มีความคิดมหัศจรรย์

นี้ไม่ได้เลย ฉะนั้น ถ้าเราเกิดเป็นมนุษย์ มนุษย์เต็มโลกไม่ต้องห่วง ในทางโลกเขาบอกว่าจะบวชพระกันหมด จะประพฤติปฏิบัติกันหมด แล้วต่อไปจะมีมนุษย์เหลือตกค้างในโลกหรอ เวลากิเลสมันโต้แย้ง ไม่ต้องไปห่วงเขา มันต้องห่วงเรา เราต้นทางของเรา เราจะเป็นนักปฏิบัติ ถ้าเราจะเอาจริงเอาจัง เราก็ต้องทิ้งสถานะทางโลกนั้นมา เราจะมาบวชเป็นพระ บวชเป็นพระเราประกาศเลยนะ เราถือเพศบรรพชิต ถ้าเพศบรรพชิต สถานะของเรามันประกาศเลยว่าเราวางแล้ว สถานะทางโลกที่จะไปแข่งขันกับทางโลกเราได้วางแล้ว

เราประกาศตนว่าเราเป็นพระ เราประกาศตนว่าเราเป็นนักบวช ทางโลกเขาส่งเสริม เขาส่งเสริมเพราะอะไร ส่งเสริมเพราะว่าเขาต้องการหวังที่พึ่ง ว่าผู้ที่จะอยู่ในศีลในธรรม เพื่อเป็นครูบาอาจารย์ของเขา เพื่อประโยชน์ของเขา เขาหวังที่พึ่ง เราประกาศตนแล้ว ต้นทางของนักบวช ถ้าต้นทางของนักบวชชีวิตของเราจะดำเนินไปอย่างไร

ถ้าชีวิตของเรานะ จิตใจของเรายังอยู่ในร่างกายของเรา ความรู้สึกนึกคิด อุดมการณ์ของเรา ยังอยู่กับเรา ถ้าอุดมการณ์ยังอยู่กับเรา การกระทำสิ่งต่างๆ มันทำโดยเต็มไม้เต็มมือ หมายถึงว่า มันได้รับผลประโยชน์เต็มๆ ไง ถ้าเราใช้ชีวิตของเราโดยสัจจะ โดยข้อเท็จจริง เวลาเรานึกพุทโธ มันก็ได้พุทโธเต็มคำ แต่ถ้าจิตใจของเราอ่อนแอ จิตใจของเราวอกแวก จิตใจของเราเริ่มแปรปรวน เราทำสิ่งใด เราทำด้วยความละล้าละลัง การกระทำนั้นมันไม่ได้เต็มไม้เต็มมือ ผลมันไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ไง ถ้าผลไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ เราต้องตั้งสติสิ ระลึกรู้ว่าในปัจจุบันนี้เราเป็นพระ เราเป็นนักบวช เราอยากจะประพฤติปฏิบัติ เราอยากจะพ้นจากทุกข์

ดูสิเวลาเราระลึกได้เราต้องระลึกถึงชีวิตขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สละในสถานะของความเป็นกษัตริย์มา ชีวิตความเป็นอยู่ของกษัตริย์ ดูสิจะเพียบพร้อมไปทุกๆ อย่าง แล้วสละออกมาเป็นนักบวช มันมีสถานะอะไรที่จะไปเทียบเทียมกับสังคมเขา มันต่ำต้อยไปทุกๆ อย่าง ถ้ามองในสถานะทางโลกนะ มันต่ำต้อยไปทั้งนั้นนะ นักบวช แล้วศาสนาพุทธยังไม่ได้เกิดขึ้น เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ได้ตรัสรู้ธรรม ถ้าไม่ได้ตรัสรู้ธรรม

ดูสิ อนังคตาสญาณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้เห็นในความรู้สึกนึกคิดของเขาไปหมด คนที่เขามีปรารถนาสิ่งใด แล้วผู้ที่ตรัสรู้แล้ว ใครๆ ทุกคนก็ปรารถนาบุญกุศลจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชีวิตมันเปลี่ยนไปไง แต่ขณะที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ได้ตรัสรู้ธรรม ในสถานะของนักบวชที่ยังไม่มีพุทธศาสนา ยังไม่มีศรัทธาที่เลื่อมใสในพุทธศาสนา ความเป็นอยู่มันทุกข์ยากขนาดไหน

ทำไมเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาเผชิญชีวิตตามความเป็นจริง มันมีความทุกข์ยากอย่างนั้นมาอยู่แล้ว ความทุกข์ยาก ความทุกข์ยากในปัจจัยเครื่องอาศัย ความทุกข์ยากในสถานะทางสังคม เพราะมันมีกิเลสมาคอยแย่งชิงความรู้สึกนึกคิดของเราให้เทียบเคียงไปกับโลก ให้เกิดทิฐิมานะ เกิดศักดิ์ศรี เกิดการเปรียบเทียบ แต่ถ้ามันเป็นธรรม ก็เราเลือกเองทั้งนั้น เราปรารถนามาไง

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนามาเป็นพระโพธิสัตว์ เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย เวียนว่ายตายเกิดมามากกว่านั้น สละชีวิตมามากกว่านั้น สละทุกๆ อย่างมาแล้วในสถานะของความเป็นพระโพธิสัตว์ เวลามาเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ด้วยอำนาจวาสนา ด้วยบุญญาธิการอันนั้น ถึงได้สละสถานะอันนั้นออกมา เพื่อจะค้นคว้าไง พราหมณ์พยากรณ์แล้ว ถ้าอยู่ทางโลกจะได้เป็นจักรพรรดิ แต่ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดา แล้วออกบวชมันวิมุตติสุข สุขที่หาไม่ได้ทางโลก มันหาไม่ได้ แล้วเวลาจะหาได้มันจะหาได้ที่ไหนล่ะ มันหาได้ก็หาได้ด้วยการกระทำไง หาได้ด้วยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าค้นคว้าขึ้นมาไง แล้วต้องค้นคว้าตามความเป็นจริงขึ้นมา

จิตที่มันทุกข์มันยากอยู่ในหัวใจ มันจะต้องมีมรรคญาณเข้าไปทำลาย เข้าไปทำลายอวิชชา การฆ่าการประหาร ขณะจิตที่มันประหาร เป็นโสดาบัน เป็นสกิทา เป็นอนาคา เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดา มันมีความสุขขนาดไหน มันเป็นความจริงขึ้นมาในใจขนาดไหน เราแสวงหาสิ่งนี้ไง

ฉะนั้น ถ้าแสวงหาสิ่งนี้ต้องทำความเป็นจริง ถ้าทำตามความเป็นจริง เรานักพรต นักบวช นักปฏิบัติธรรม ผู้ค้นคว้าสัจจะความจริง เราจะต้องทำความสงบของใจเข้ามา เพราะเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะรื้อค้นสิ่งนี้ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าระลึกถึงอานาปานสติอยู่ที่โคนต้นหว้า เวลาไปศึกษามาศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ อภิญญาๆ สิ่งที่ศึกษามา ฌานโลกีย์ ได้ฌาน ๖ ได้ฌาน ๘

คำว่า "ฌาน" เราก็ยังติดกันอยู่ ฌาน ๔ ฌาน ๑ ๒ ๓ แต่พูดสมาธิไม่เป็น สมาธิ ความสงบของใจเรามันระดับไหน จิตที่มันสงบมันสงบระดับไหน จิตที่มันไม่สงบเข้ามา ความรู้สึกนึกคิด ดูในลัทธิอื่นที่เขาปฏิบัติ เขาบอกว่าต้องมีความสุขสิ ก็ต้องสุขนิยม ของเขาเป็นความสุข ของเขาไม่มีความทุกข์หรอก ความทุกข์เป็นความกดดัน ความทุกข์นี้ไม่ถูกต้อง ปฏิบัติไม่ปรารถนาความสุข

มันไม่เข้าเผชิญกับความจริง เวลาคิดเอา เวลาศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศึกษามาแล้ว มรรค ผล นิพพานเข้าใจได้หมด มันไปเอาที่ปลายเหตุไง มันไปเอาผลขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปเอาผลที่ว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมวินัยไว้ในภาคปริยัติ เวลาปฏิบัติมันมีตั้งแต่เริ่มต้นปุถุชน กัลยาณปุถุชน แล้วเข้าสู่มรรค สู่ผล มันเป็นขั้นเป็นตอนขึ้นมา จิตใจของคนมันพัฒนาขึ้นมาอย่างนั้น

มันเหมือนกับเด็กๆ เด็กๆ เวลาเกิดขึ้นมาช่วยตัวเองไม่ได้ พ่อแม่เลี้ยงดูมาทั้งนั้น กว่าจะโตขึ้นมา เวลาโตขึ้นมาเขามีความสามารถของเขา เขามีปัญญาของเขา เขาครองโลกนะ จิตใจของเรามันอยู่ใต้อำนาจของอวิชชา มันอยู่ใต้อำนาจอวิชชา มันอยู่ใต้อำนาจของตัณหาความทะยานอยาก เวลาศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ดูสิ เวลาพระบวชใหม่ บวชมาเพื่อเป็นประเพณีวัฒนธรรมเท่านั้น ก็เหมือนไก่ตัวหนึ่งเข้ามาคุ้ยเขี่ยธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือมาศึกษาธรรม มันเห็นคุณงามความดี สละชีวิตทางโลกเลย เพื่อจะอยู่ประพฤติปฏิบัติ อยู่จนแก่จนเฒ่า อยู่จนประพฤติปฏิบัติขึ้นมาได้เป็นครูบาอาจารย์ของเรา ได้มรรค ได้ผลในใจ มากมายเลย นั่นทำไมเขาทำของเขาอย่างนั้น

นี่ก็เหมือนกัน เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริง แล้ววางธรรมและวินัยนี้ไว้ เราไปศึกษาไง เราศึกษาเป็นภาคปริยัติ ศึกษาเป็นความรู้ก็คิดว่าเราศึกษามาเพื่อเป็นประโยชน์กับเรา ศึกษามาเป็นความรู้ ถ้าเป็นความรู้แล้วนี่ เพราะคนเรามีอวิชชา คนเรามีความไม่รู้คือกิเลสในหัวใจ พอไปศึกษาขึ้นมา ความไม่รู้มันตีความๆ มันพอใจสิ่งใด มันเข้าใจสิ่งใด ดูทางวิชาการเขาสิ เขามาโต้แย้งกันนะเรื่องพระไตรปิฎกว่าอันนั้นจริง อันนี้ปลอม อันนี้พระพุทธเจ้าบัญญัติ อันนี้พระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติ ก็ศึกษาพระไตรปิฎกตู้เดียวกันนี่แหละ

จะศึกษามาแล้วเขายังมีความขัดแย้งกัน เขายังมีมาโต้แย้งกันว่าอันนั้นถูก อันนั้นผิด เขาโต้แย้งกันภายนอก แต่ของเรามันลักไก่ เวลามันศึกษามาแล้วมันคิดเองไง มันรู้สึกว่ามันคิดเองเพราะมันลักไก่ มันคิดอยู่คนเดียวใช่ไหม มันไม่ไปโต้แย้งกับใครหรอก แต่กิเลสมันครอบงำ ครอบงำในหัวใจแล้วเราก็เชื่อเราก็ชอบ เราเชื่อด้วย เราชอบด้วย ชอบว่ามันพอใจของเรา มรรคผลมันเป็นแบบนั้น ปฏิบัติไปแล้วเป็นอย่างนี้ มันเชื่อมั่นของมันไป จินตนาการไป ปลายเหตุ

ปลายเหตุคือไปศึกษา ศึกษาแล้วจิตใจมันเป็นนามธรรม ความเป็นนามธรรม เราทำวิชาชีพของเรา เราได้เงินเป็นล้าน เป็นหลายๆ ล้าน คิดดูสิว่าเราเก็บมาเงินปึกมันใหญ่ขนาดไหน มันต้องรักษาให้ดีนะ พอเดี๋ยวมันตกหาย พูดถึงมันเป็นเงิน เป็นแบงก์ มันเป็นสิ่งที่จับต้อง เป็นวัตถุไง แต่เวลาเป็นนามธรรมเป็นความรู้สึก มันจินตนาการไปหมดล่ะ มันจินตนาการของมันไป มันไม่ได้เปรียบเทียบด้วยว่าเงินจริง เงินปลอม เงินเขายังเปรียบเทียบกันว่าเงินนี้มันจริงหรือปลอม เงินนี้ใช้ได้ถูกต้องตามกฎหมายหรือเปล่า เงินนี้ทำขึ้นมาเองหรือเปล่า มันพิสูจน์ได้

เวลาเราทำอาชีพเรา เราจะมีเงินมีทองเป็นเครื่องวัด แต่เวลาเราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศึกษามาแล้วเวลาปฏิบัติเราก็อยากจะปฏิบัติ พอได้ปฏิบัติไปมันจินตนาการของมันไป ปลายเหตุ มันไม่มีที่มาที่ไป มันปลายเหตุ มันเป็นทางของกิเลส กิเลสมันครอบงำ แต่ถ้าเราจะเอาความจริงนะ ต้นทางแห่งธรรมๆ ครูบาอาจารย์ของเราท่านปฏิบัติมาแล้ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทำเป็นแบบอย่าง แต่เราจะยึดแนวทางอย่างใดล่ะ เราจะยึดแนวทางไหนที่ว่าเราจะทำความเป็นจริงของเราขึ้นมา

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ ได้สมาบัติ ๖ สมาบัติ ๘ได้มาทุกๆ อย่าง แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้หมดว่ากิเลสของเราไม่ได้ยุบยอบเลย กิเลสของเรายังเต็มหัวใจของเราเลย เกิดมาเป็นเจ้าชายสิทธัตทะ เวลาไปเห็นยมฑูตในสวน คนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย มันมีความสลดสังเวช มันอยากจะมีฝั่งตรงข้ามว่าไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย แล้วก็ออกค้นคว้าออกประพฤติปฏิบัติมา ๖ ปีไปศึกษากับเขามาทั่ว ทุกคนก็ยกย่องสรรเสริญ เพราะคนจริง คนทำจริง คนปรารถนาดี คนขวนขวาย ทำอะไรก็ทำจริงทำจัง ทำจนครูบาอาจารย์ที่สั่งสอน สอนจนหมดไส้หมดพุง มันก็แก้กิเลสไม่ได้

มันแก้กิเลสไม่ได้เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าระลึกถึงในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันไม่ได้ชำระล้างสิ่งใดไปเลย เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอาจริงเอาจังขึ้นมา ทิ้งหมดเลย เราศึกษากับเขามาแล้วไม่มีทางเป็นไปได้ เราถึงต้องค้นคว้าของเราเอง แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ยังไม่ได้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็กลับมาทบทวนเอง กลับมาทบทวนว่าสิ่งที่เราเคยปฏิบัติมาสิ่งใดที่มันร่มเย็นเป็นสุขมากที่สุด ก็ระลึกถึงโคนต้นหว้า ตอนเป็นราชกุมาร กำหนดลมหายใจเข้าและลมหายใจออก

ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก อานาปานสติ ระลึกถึงตรงนั้นแล้วเริ่มต้นจากตรงนี้ เริ่มต้นจากการกระทำ ต้นทางแห่งธรรมๆ มันต้องมีต้นทางสิ มันมีต้นทาง มีการก้าวเดิน มีการกระทำ มันจะเป็นความจริงไง มันไม่ใช่ว่าเราศึกษามาแล้วด้วยรวบรัด ปลายเหตุ จะเอามรรคเอาผลกันทั้งนั้น ปฏิบัติก็จะเอามรรคเอาผล ล้มลุกคลุกคลานมันก็ปรารถนามรรคปรารถนาผล แล้วมันก็ไม่ได้มรรคได้ผลตามความเป็นจริงสักที มันจะล้มลุกคลุกคลานไปอย่างนี้ด้วยอำนาจวาสนา ด้วยวุฒิภาวะของใจที่อ่อนด้อย ด้วยวุฒิภาวะของใจไม่ได้เฉลียวใจเลย

ไม่ได้คิดทบทวนในใจของเราเลยว่ามันเป็นจริงเหรอ มันเป็นจริงเหรอ ที่มันเป็นๆ อยู่นี่มันเป็นจริงเหรอ ถ้ามันเป็นความจริง มันจะมีต้นทางแห่งธรรม มันเทียบเคียงได้ แล้วเวลาครูบาอาจารย์ท่านเทศนาว่าการ มันวัดกึ๋นกันได้ด้วยหัวใจไง การปฏิบัติรู้ทันกันได้นะ การศึกษา ศึกษาจบด็อกเตอร์เดี๋ยวก็จบ ไอ้คนรุ่นใหม่มันจบดีกว่าด้วย เพราะวิทยานิพนธ์ของมันต้องละเอียดลึกซึ่งกว่า

นี่ไง เหมือนเราปฏิบัติ เราต้องปฏิบัติทันครูบาอาจารย์เราได้ ถ้ามันเป็นความจริง ถ้าต้นทางแห่งธรรมมันเกิดขึ้นมา ต้นทางแห่งธรรมมันก็ต้องเข้าทางเดียวกันนั่นแหละ มันจะไปไหนล่ะ ถ้ามันจะเข้าต้นทางมันต้องเข้าสู่จิต ถ้าจิตมันสงบเข้ามา จิตมันเป็นความจริงขึ้นมา ต้นทางมันเปิดกว้าง ถ้าต้นทางเปิดกว้างมันจะเข้าสู่หัวใจของเรา เพราะหัวใจของเรามันทุกข์มันยาก ปฏิสนธิจิตเวลาเกิดขึ้นมาต้นทางแห่งความเกิด ต้นทางแห่งมนุษย์ก็ว่าเราเกิดมาเท่านี้แหละ มนุษย์ก็มีชาติเดียวเท่านั้นล่ะ กิเลสมันปิดหูปิดตาแล้วก็บังคับให้ใช้ชีวิตไปทางโลกนั่น

ถ้ามันเป็นต้นทางแห่งธรรม อานาปานสติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรากำหนดพุทโธของเรา เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิของเรา ถ้ามันทำจริงขึ้นมาต้นทางของมันต้องเกิดขึ้นมาอย่างนี้ ถ้าต้นทางเกิดขึ้นมาแล้วมันจะมีท่ามกลาง แล้วจะมีที่สุด มันจะมีเหตุมีผลของมัน มันต้องมีที่มาที่ไป ไม่ใช่ว่าไปเอาที่ปลายเหตุ เอาปลายเหตุเพราะเวลาเราทำสมาธิไง เวลาทำสมาธิทุกคนก็มีกำลัง ทุกคนก็มีความสุขทั้งนั้น เอาที่ปลายเหตุ เอาที่กำลัง

คนที่มีกำลัง เวลามีสติเราใช้คำบริกรรม จิตใจของเราชุ่มชื่น เวลามีอำนาจวาสนา มันก็เกิด สมาธิมันก็เกิดได้ ความร่มเย็นเป็นสุขในใจมันก็เกิดขึ้น แม้แต่ศึกษาธรรมนะ คนเราเวลาทุกข์เวลายากไม่มีทางออก ไม่มีทางออกไปหาครูบาอาจารย์ ไปหาพระ พระท่านเทศน์ให้ฟัง มันคิดได้ มันคิดได้มันก็วางทุกข์ได้ วางความทุกข์ได้ก็เชื่อมั่นในพุทธศาสนา ก็ใช้ชีวิตนะเกี่ยวพันกับพุทธศาสนามา เอาศาสนาเป็นเครื่องชี้นำชีวิตก็อยู่มา

เวลาคนเขาทุกข์เขายาก ฟังเทศน์ครูบาอาจารย์ยังแทงเข้าไปสู่ความรู้สึก ยังวางความทุกข์อันนั้นได้ แล้วพยายามใช้ชีวิตโดยมีพุทธศาสนาเป็นดวงตาของโลก เป็นผู้ชี้นำชีวิตของเรา เขาใช้ชีวิตของเขาไป โดยที่ว่าไม่ไปทุกข์ยากให้กิเลสมันหลอกลวง ที่ว่าเวลากิเลสมันปิดหูปิดตาใช้ชีวิตอย่างนั้นไป

นี่ก็เหมือนกันเวลาเรามาปฏิบัติของเรา เรากำหนดพุทโธ เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ อานาปานสติ จิตมันสงบลงได้ ถ้าจิตมันสงบลงได้ ถ้าเราไปรู้ไปเห็นสิ่งต่างๆ ต้นทางของวัฏฏะนะ มันไม่ใช่ต้นทางแห่งธรรมหรอก ต้นทางแห่งวัฏฏะดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บุพเพนิวานานุสติญาณ จิตสงบเข้าไปแล้วไปเห็นย้อนอดีตชาติไป เพราะไม่รู้จะทำสิ่งใดต่อไปไง แต่อดีตมันมีมาใช่ไหม สิ่งที่เป็นอดีตชาติองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตทะย้อนออกไปก็เป็นพระเวสสันดร ย้อนออกไป

นี่ไงผลของวัฏฏะนะ จิตสงบแล้วไปรู้เห็นต่างๆ ผลของวัฏฏะ นี่ล่ะวัฏวน แต่มันเป็นอดีตมา สิ่งที่เป็นวัฏวน ผลของวัฏฏะ วัฏฏะคือเวียนว่ายตายเกิด แล้วเราปฏิบัติต้นทางแห่งธรรม มันมีต้นทางแห่งธรรมมันจะเข้าไปนี่ เราไม่มีที่ใหม่มาได้เลยหรอ นี่คือต้นทางของวัฏฏะ ต้นทางของวัฏฏะมันมีต้นมีปลายเหรอ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า การเวียนว่ายตายเกิดไม่มีต้นและไม่มีปลาย คำว่าไม่มีต้นไม่มีปลาย เพราะเราเกิดมามากมายมหาศาลอยู่แล้ว แล้วไม่มีปลาย ถ้าไม่มีสติปัญญารักษาชีวิตของตัว ไม่มีสัจธรรม ไม่มีมรรคญาณในหัวใจของตัว ยังจะต้องเวียนว่ายตายเกิดไปไม่มีที่สิ้นสุด

ที่มาก็ไม่มีต้นไม่มีปลายเพราะอดีตชาติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย้อนไป มันไม่มีต้นไม่มีปลาย คือมันไม่จบ แต่ในพุทธศาสนา ในพระไตรปิฎก พระอรหันต์บางองค์ระลึกชาติได้ ๕ ชาติ พระอรหันต์บางองค์ได้ ๑๐ ชาติ พระอรหันต์บางองค์ได้เป็นร้อยชาติ พันชาติ แสนชาติ มันอยู่ที่อำนาจวาสนาบารมี คนที่สร้างมากและสร้างน้อย เวลาจะทำความสะอาดของใจ ใจสะอาดบริสุทธิ์เหมือนกัน แต่อำนาจวาสนาของคนมันไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน คนที่ได้สร้างคุณงามความดีมา พันธุกรรมของจิตที่ของเขามีอำนาจวาสนา เขาจะมีกำลังของเขา สาวไปได้มากกว่าคนอื่น

แต่ถ้าอำนาจวาสนาบารมีของเรา เราได้ชาติเดียว หรือไม่ได้สักชาติหนึ่ง แต่ถ้าเรามีมรรค เรามีต้นทาง เรามีท่ามกลาง และมีที่สุด ถ้าเรามีมรรคญาณ มีวิธีการมีการกระทำ มรรคมันสมดุลของมัน มันจะมีผลของมันไปภายภาคหน้า ในแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ แต่ถ้ามันไม่มีต้นทาง ไม่มีท่ามกลาง ไม่มีมรรคกับกิเลสต่อสู้กัน ไม่มีการวิปัสสนา ไม่มีการแยกแยะระหว่างกาย เวทนา จิต ธรรม ให้เป็นสัจจะเป็นความจริงอันนี้ขึ้นมา มันไม่มีผลหรอก เพราะมันเป็นทางของกิเลส มันไม่ใช่เป็นทางของธรรม

แม้แต่จะทำความสงบของใจขึ้นมา ถ้าจิตของเราสงบจิตของเรามีสงบเข้ามา จิตของเรามีกำลังขึ้นมา แต่เราควบคุมไม่ได้ เราใช้ของเราไม่เป็น ต้นทางของวัฏฏะ มันจะไปรู้ไปเห็น คนที่รู้ที่เห็นก็เห็นต่างๆ ไปนะ เวลาเห็นสงเห็นแสง เห็นต่างๆ อันนั้นเห็นเพราะจิตสงบแล้วเห็น ความจิตสงบคือจิตสงบ ความเห็นไม่เกี่ยวกับมรรค ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติ ความเห็นไม่เกี่ยวกัน สิ่งที่ไปรู้ไปเห็นต่างๆ ไม่เข้าทาง ไม่เข้าสู่ต้นทาง มันเป็นต้นทางของกิเลสต่างหาก ต้นทางของมาร ต้นทางของอวิชชา มันชักจิตใจนี้ให้ออกไปรับรู้ แต่ด้วยความด้อยวุฒิภาวะ

ในปัจจุบันนี้มีที่ปฏิบัติกันมากมาย ที่ว่าแก้กรรมๆ ต้นทางของวัฏฏะทั้งนั้น เพราะเราเกิดมา เราเกิดมาจากกิเลส เกิดมาจากความไม่รู้ พอเกิดมาจากความไม่รู้เราเวียนว่ายตายเกิดมา เวลามีทุกข์มียากขึ้นมาเราก็จะหาที่พึ่งๆ แล้วเราก็ไปหาสำนักที่ว่าแก้กรรมๆ เอาอะไรมาแก้ แก้อย่างไร กรรมนี้เป็นอจินไตย อจินไตย ๔ การแก้กรรมๆ แก้กรรมของเราแก้กรรมแบบกรรมฐาน แก้กรรมแบบครูบาอาจารย์ของเรา แก้กรรมคือการภาวนาไง แก้กรรมคือตั้งสติขึ้นมา สิ่งใดที่มันเป็นทุกข์เป็นยาก สิ่งใดที่มันครอบงำมาเราจะมีเมตตาธรรม เราจะมีเมตตาหัวใจของเรา เราจะพาหัวใจของเราหลบหลีกกับสิ่งที่เป็นเวรเป็นกรรม ให้มันผ่านพ้นไป

แล้วการผ่านพ้นไปด้วยอะไร ด้วยสติ ด้วยปัญญาไง มันด้วยสติด้วยปัญญา เพราะว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมวินัยนี้ไว้ แก้วสารพัดนึก พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เรานึกอะไรล่ะ เรานึกถึงการดำรงชีวิต เราก็มีสติปัญญา ดูสิ คนทุกข์คนยากไปหาครูบาอาจารย์ เวลาเทศนาว่าการขึ้นมา มันไปแทงถึงกิเลสของเขา มันปลดทุกข์ของเขาได้ เขาใช้พุทธศาสนาเป็นเครื่องดำเนินชีวิตของเขาไป แก้กรรมๆ ของเขาพอจิตใจเขาเบิกบานขึ้นมาเขาต้องไปพึ่งใคร มันแก้กรรมด้วยสติ ด้วยปัญญาอย่างนี้

นี้พูดถึงว่าจะเข้าต้นทางแห่งธรรมๆ พระพุทธศาสนาของเรา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แก้วสารพัดนึก มันเป็นดวงตาของโลก ดวงตาของชาวพุทธเราจะใช้เพื่อดำรงชีวิตนะ แต่นี้เรามาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา พอเราจิตสงบเข้ามา จิตมันละเอียดเข้ามา ไปรู้เห็นต่างๆ นี่มันต้นทางแห่งวัฏฏะ ต้นทางแห่งการเวียนว่ายตายเกิด เพราะจิตมันสงบแล้วมันไปรับรู้ มันไปรับรู้เขามันไปส่งออกไปไง นั่นล่ะผลของวัฏฏะนี้มันไม่เกี่ยวกับมรรคเลย มันไม่เกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติเลย

แต่ถ้าคนมันเป็น คนจะรู้จะเห็นของเขาอย่างนั้นมันจะมีครูบาอาจารย์ของเรา ครูบาอาจารย์ของเรานะห้ามส่งออกเด็ดขาด การส่งออกไป มันจะส่งออกไปสู่วัฏฏะ มันไม่เข้าสู่ธรรม ถ้ามันเข้าสู่ธรรม ถ้ามันสงบก็คือสงบ ถ้าพอจิตสงบเข้ามามันถึงไปรู้ไปเห็น แล้วรู้เห็นแล้วมันจะเสื่อม ถ้ามันส่งออกแล้วมันไม่มีการที่จะทรงตัวอยู่ได้ ในสำนักปฏิบัติที่เขาว่าไปรู้นู่นรู้ มันรู้แล้ว ใครบ้างที่จะรู้แล้วคงที่ ไม่มีหรอก

จิตถ้ามันส่งออกแล้ว กำลังมันต้องอ่อนแอไปเป็นธรรมดา ไม่มี จะมีก็มีแต่ผู้สิ้นกิเลส ผู้สิ้นกิเลสไม่มีอวิชชา ไม่มีพญามารแล้วอันนั้นถูกต้องดีงามไปหมด ถ้าการถูกต้องดีงามไป เวลาพระโมคคัลลานะ ไปสวรรค์ ไปนรก ไปต่างๆ จะมารายงานองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่กรุงราชคฤห์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพยากรณ์เป็นอย่างนั้นๆ จริงๆ มันเป็นอย่างนั้น นี่ผลของวัฏฏะ

วัฏฏะเพราะอะไร วัฏฏะเพราะคนที่เขาตายไป คนที่เคยอยู่ราชคฤห์แล้วตายไป เพราะชีวิตของเขา วัฏวนของเขา แต่พระโมคคัลลานะเป็นพระอรหันต์ ไม่ได้เป็นและไม่ได้ตายไปกับเขา แต่ด้วยอำนาจวาสนาของจิตที่มีฤทธิ์มีเดช ข้ามมิติเข้าไปสู่ภพ สู่นรกสวรรค์ อันนั้นเป็นด้วยอำนาจวาสนาบารมีของพระอรหันต์ แต่ไอ้คนที่เวียนว่ายตายเกิดนั่นต้นทางของวัฏฏะ ไอ้คนเวียนว่ายตายเกิดคือคนนั้นตายไปไหน มันไม่เกี่ยวกัน มันคนละมิติ แต่พระอรหันต์ พระอรหันต์แล้วมีอำนาจวาสนาบารมี แต่เรานักปฏิบัติล่ะ

แม้แต่ต้นทางแห่งการเกิดก็พ่อแม่เลี้ยงดูเรามา ต้นทางแห่งการเป็นนักบวช อุปัชฌาย์ยกเข้าหมู่ ยกเข้าหมู่มาแล้วก็มีแต่ทิฐิมานะ ทิฐิมานะว่าฉันมีปัญญา ของเล็กน้อย ทำไมใครจะรู้ไม่ได้ ภิกษุใหม่เป็นผู้สอนยาก ภิกษุใหม่ทนคำสอนของภิกษุเก่าไม่ได้ เพราะภิกษุเก่าเขาก็เป็นแบบภิกษุใหม่มานี่แหละ แต่เขาได้ขัดเกลา เขาได้ดัดแปลง เขามีข้อปฏิบัติของเขามา เขาถึงมีสมณะสารูป ไม่ใช่บวชเข้ามาเก้งๆ ก้างๆ อย่างนั้น เก้งก้างเหมือนทหารใหม่ ทหารใหม่มันก็ฝึกไม่เป็นหรอก แต่เขาก็ต้องฝึกมันจนกว่ามันจะเป็น แล้วเวลามันฝึก เหมือนกันสมณะสารูปยังไม่ได้ฝึกหัวใจ จะฝึกหัวใจเขาต้องเต็มใจของเขา เขาเต็มใจ เขามีสามัญสำนึกของเขา เขาจะแสวงหาความเป็นจริงของเขา

นี่ไงถ้าเป็นความจริงของเขา ต้นทางแห่งชีวิต ต้นทางแห่งนักบวช ต้นทางแห่งนักปฏิบัติ แล้วต้นทางแห่งการปฏิบัติ ต้นทางแห่งธรรมมันอยู่ที่ไหนล่ะ ถ้าอยู่ที่ไหน เราแสวงหาอยู่นี่ ถ้าเรากำหนดพุทโธ เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าจิตมันสงบเข้ามา มันจะรู้มันจะเห็นสิ่งใด นั่นล่ะทางให้เสื่อมทั้งนั้น มันเป็นทางให้เสื่อม แต่ถ้ามันจำเป็นต้องเห็นเพราะมันเห็น เห็นโดยธรรมชาติของมัน ก็พุทโธไว้ เห็นแล้วมันเป็นโทษไหม พอจิตมันสงบมันก็เห็น พอเห็นแล้วพอมันคลายออกมาจิตมันเสื่อมมา มันเห็นอยู่อีกหรือเปล่า แล้วมันไม่เห็นอย่างนั้นเพราะอะไร ก็เพราะส่งออกไปอยู่กับมันไง แล้วโทษของมันก็คือเสื่อมนี่ไง โทษของมันก็คือไม่ก้าวหน้า

เวลาเห็น เห็นขึ้นมาแล้วเป็นประโยชน์กับใคร มันชักออกนอกลู่นอกทางทั้งนั้น แต่ถ้ามันจะเห็นเรากำหนดพุทโธชัดๆ เราต้องต่อสู้กัน ดึงจิตไว้ให้ได้ การดึงจิตไว้ให้ได้ อยู่กับผู้รู้ อยู่กับพุทโธ ไม่ส่งออกไป ถ้ามันสงบเข้ามา เวลาเขาพูดถึงฌาน ๔ ปฐมฌาน ตติยฌาน ทุติยฌาน มันพูดได้เพราะอะไร มันพูดได้เพราะมันมีตำราไง มีวิตก มีวิจาร มีปีติ มีสุข มีเอกัคตารมณ์ ถ้าพุทโธชัดๆ ขึ้นมาก็เป็นฌานที่ ๑ ถ้ามีปีติขึ้นมามันวางพุทวางโธ มันเกิดปีติเป็นฌานที่ ๒ ถ้าจิตมันมีความสุขฌานที่ ๓ ถ้ามันทิ้งทั้งหมด

เพราะอะไร เพราะมันมี มันมีตำรา เพราะองค์ของฌาน องค์ของสมาธิ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคตารมณ์ ก็พูดกันตรงนี้ ก็พูดตรงนี้เพราะอะไร นี่ไงสิ่งที่มันมี มันไปพูดที่ปลายเหตุ แล้วสมาธิเป็นอย่างไร จิตสงบเป็นอย่างไร จิตสงบ ถ้าพุทโธๆๆ ถ้าจิตมันสงบเข้ามา ถ้ามันออกรู้ ถ้ามันมีอำนาจวาสนา คือคนวาสนามากว่างั้นเถอะ มันจะรู้อย่างเดียว รู้แล้วทำไม รู้แล้วทำไม นั่นล่ะต้นทางแห่งความเสื่อม

มันออกไปข้างนอก มันไม่เข้าสู่มรรค ถ้าไม่เข้าสู่มรรค ต้นทางแห่งธรรมมันต้องมี ถ้าไม่เข้าสู่มรรคมันจะเป็นมรรคเป็นผลไหม ถ้ามันไม่เป็นมรรคเป็นผล แต่พูดปากเปียกปากแฉะ เวลาพูดปากเปียกปากแฉะเลย มันพูดมาจากไหนถ้าไม่มีธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันจะพูดมาจากไหนแล้วถ้ามันไม่ได้ศึกษา ไม่ได้เล่าเรียนมาในพระไตรปิฎกมันจะเอาอะไรมาพูด แล้วในกึ่งพุทธกาลศาสนาจะเจริญรุ่งเรือง รุ่งเรืองในใจของหลวงปู่เสาร์หลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นท่านเทศนาว่าการท่านไม่บอกถึงผลเลย เพราะท่านกลัวกิเลสของลูกศิษย์ กิเลสของผู้ฟังนั่นล่ะ มันจะเอาไปคาด มันจะเอาไปหมาย มันจะเอาไปเป็นสมบัติของมัน มันจะขี้โกง แล้วขี้โกงมันเป็นโทษกับใคร มันจะเป็นโทษกับหลวงปู่มั่นไหม มันไม่เป็นโทษกับหลวงปู่มั่น เพราะหลวงปู่มั่นเป็นพระอรหันต์ ใครจะไปโกงสมบัติของท่านได้

แต่เวลาท่านเทศนาว่าการ เพื่อประโยชน์กับลูกศิษย์ลูกหา แต่กิเลสในใจของลูกศิษย์ลูกหานั่น ไอ้กิเลสตัวนั้นมันสำคัญ ไอ้กิเลสตัวนั้น เพราะลูกศิษย์ไม่เท่าทันกิเลสของตัว มันก็ไปหยิบไปฉวย มันเป็นสัญญา ฉะนั้น เวลาหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านเทศนาว่าการ ท่านจะเทศน์ถึงเหตุวิธีการการกระทำ แต่ผลของมัน ใครเห็นใครก็รู้ มันจะรู้เองเห็นเองเป็นความจริงเอง แล้วถ้าเป็นความจริงขึ้นมา ไม่ต้องมาอวดไม่ต้องมาพูด มันเป็นความจริง ความจริงเขาไม่เอามาโชว์ใครหรอก เพราะความจริงเป็นความจริง

ฉะนั้น ถ้าต้นทางแห่งธรรม ถ้าจิตมันสงบเข้ามา จิตสงบนะ พุทโธให้ชัด พุทโธให้มั่นคง ให้มันสงบระงับขึ้นมาเป็นความสุข สมาธิจริงๆ เป็นความสุข แต่นี้มันไม่ใช่ แค่มันวางอารมณ์อย่างอื่นเข้ามา แล้วออกรู้ออกเห็นไปแล้ว แล้วมันวางมาแล้วมันได้ประโยชน์อะไร เป็นมรรคตรงไหน อะไรเป็นมรรค มันไม่ใช่ แต่ถ้ามันจะเป็นมรรค พุทโธ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าพุทโธใช้ปัญญาอบรมสมาธิ จิตใจมันจะเป็นอิสระ แม้แต่ทางโลก คนที่เขามีความทุกข์ความยาก ที่กระทบ ผลกระทบกับชีวิตของเขา เขาไปหาครูบาอาจารย์ที่เป็นธรรม ครูบาอาจารย์ที่เป็นธรรมท่านเทศนาว่าการ เขาวางทุกข์ได้ เขาวางทุกข์ได้เลยนะ แล้ววางทุกข์แล้วเขากราบด้วยความซาบซึ้ง เพราะกิเลสมันข่มขี่หัวใจ มันทุกข์ยากขนาดนี้ เวลาได้ฟังธรรมแล้วธรรมะของครูบาอาจารย์สะเทือนหัวใจของเขา เขาสามารถวางทุกข์ได้ แล้วเขาปฏิญาณ เขาขอใช้ชีวิต โดยการชี้นำของพุทธศาสนา

เขายังมีความสำนึกขนาดนั้น แล้วเวลาเรานักปฏิบัติล่ะ เราจะเอาความจริงมากกว่านั้น ถ้าเราพุทโธๆ ถ้าจิตมันสงบเข้ามา ถ้ามันสงบจริงๆ มันแปลกประหลาด แล้วมันมหัศจรรย์ แต่ในปัจจุบันนี้มันไม่สงบจริง มันแค่วางอารมณ์ๆ เท่านั้นนะ จะว่าเผลอ เรายังจะพูดอย่างนั้นเลย ถ้าเป็นมิจฉาทิฐิล่ะได้ มิจฉาสมาธิถูก แล้วจะเป็นความจริงล่ะ

ความจริง จิตสงบแล้วมันสงบเข้ามา ถ้าจิตสงบแล้ว ถ้าไม่มีสมาธิ มันก็เกิดภาวนามยปัญญาไม่ได้ ถ้าไม่เกิดปัญญาในการดูแลรักษา มันจะเกิดสมาธิได้อย่างไร อย่างพุทโธๆ มันก็มีเหตุให้ขัดข้องหมองใจไปทุกเรื่อง เราก็ต้องใช้ปัญญามาพิจารณาว่าอันนี้มันอารมณ์อย่างนี้เราก็เคยคิดมาแล้ว เวลาพุทโธแล้วไม่ได้ผล ไม่ได้ประโยชน์ เราก็เป็นมาตลอดชีวิต แล้วมันจะเอาอย่างไร เราจะทำอย่างไร มันก็มีปัญญา ปัญญาอย่างนี้คือปัญญาในการศึกษา ปัญญาในภาคปริยัติ ปัญญาศึกษาในธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วเทียบเคียง เทียบเคียงคนมีสติมีปัญญาเขาก็หาเหตุหาผล

ดูสิ ภิกษุบวชชั่วครั้งชั่วคราว มาศึกษาพระพุทธศาสนาเหมือนไก่ตัวหนึ่งมาคุ้ยเขี่ยธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เจอแก้วแหวนเงินทอง เจอเพชรนิลจินดา เขาสละชีวิตทางโลกของเขาเลย บวชตลอดชีวิต ประพฤติปฏิบัติจนมาเป็นครูบาอาจารย์ของเราเยอะแยะ แล้วเขามีปัญญาอย่างนั้น เขาเลือกเฟ้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ สิ่งที่เขาเปลี่ยนแปลงชีวิตของเขาไปเลย เราเป็นนักปฏิบัติ เราบอกว่าเราจะเข้าถึงวิมุตติสุข เราจะต่อสู้กับกิเลสของเรา ทำจิตสงบมันยังทำไม่ได้ พอมันวางอารมณ์ก็ไปทางอื่น เพราะเวลามันแบกรับอารมณ์ไว้ ไฟ มันก็มาทุกข์มันก็มายาก พอวางอารมณ์ มันเริ่มไม่ร้อนแล้ว เพราะมันวางไฟแล้ว มันไปแล้ว ออกนอกเรื่องละ

ทำให้บ่อยครั้งเข้า ครูบาอาจารย์ท่านจะเน้นย้ำให้ชำนาญในวสี เอาแค่ความสงบของเรานี่แหละ ถ้าจิตมันสงบแล้ว เราจะเห็นจิตของเราเอง คนเราจิตสงบแล้วนะมันจะซาบซึ้งกับธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ที่ใช้ชีวิตทางโลกเขามีความทุกข์ในใจของเขา เขาฟังธรรม เขายังวางทุกข์ของเขาได้ แล้วเราเราประพฤติปฏิบัติเอาข้อเท็จจริง เราพุทโธๆ ของเรา ใช้ปัญญาอบรมสมาธิเรามีความศรัทธามีความเชื่ออยู่แล้ว เพราะเราก็ใช้ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชี้นำชีวิตของเรา เราใช้ชีวิตอยู่ในสัจธรรม ในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเรามีความเชื่อเรามีความศรัทธา เราถึงได้มาประพฤติปฏิบัติ เราถึงได้มาค้นคว้าเอาความจริงของเรา เราจะเอามรรคเอาผลของเรา เราจะหาหัวใจของเรา ถ้าเราทำเราพุทโธก็ต้องพุทโธของเรา

พุทโธเป็นคำบริกรรม ใครระลึกก็ได้ แต่ถ้าจิตดวงใดระลึกพุทโธแล้วอยู่กับพุทโธ อยู่กับผู้รู้ให้มันรู้ซึ้งขึ้นมา ถ้ารู้ซึ้งขึ้นมา มันเป็นตัวของมันเองมันเข้าสู่จิตของตัวเราเอง มันซาบซึ้ง มันซาบซึ้งนะ อื้ม มันมั่นใจว่า อื้ม เราก็ทำได้ มันเป็นหนทางไง หนทางทางเดิน คนหลงทาง คนไม่มีทางออก มันบีบคั้นตนเอง แล้วไม่รู้จะไปทางไหน นี่ก็เหมือนกัน จิตใจถ้ามันไม่เจอสัมมาสมาธิจิตใจยังไม่เจอจิตใจของตัวเอง เพราะอะไร เพราะมรรคไง มัคโค ทางอันเอง มรรคเป็นทางก้าวเดินของใจ ถ้าเราไม่มีถนนหนทางที่จะก้าวเดินไป เราหลงทาง คนหลงทางไปทางไหนก็ไปไม่ถูก มันหันรีหันขวางอยู่นั่น คนหลงทาง

แต่จิตมันไม่มีต้นทาง มันไม่มีหนทางที่มันจะไป ไม่มีตัวตนของมันที่มันจะไป ถ้ามันไม่มีสติ ไม่มีปัญญาเข้าถึงฐีติจิต เข้าถึงสัมมาสมาธิ มันจะเอาอะไรไปวิปัสสนา มันจะเอาอะไรไปคิดไปเห็น คนเราแบกอารมณ์ไว้ รับอารมณ์ไว้ มันก็มีแต่ฟืนแต่ไฟ สิ่งที่เราคิดเป็นฟืนเป็นไฟทั้งนั้น แล้วความคิดมันก็คิดในเรื่องพุทธศาสนา เวลาศึกษามามันศึกษาเรื่องนี้ แล้วมันวางได้ มันวางได้เพราะความคิดมันวางได้ ความร้อนที่เราแบกไว้เราวางได้ มันวางอย่างนั้นเป็นสมาธิไหม มันวางอารมณ์ความรู้สึกมันเป็นสมาธิไหม มันวางชั่วคราว คนที่เวลาเขามีความสุขของเขา เขานั่งเขาแล้วเย็นใจของเขา เขามีความสุข เขาไม่มีอารมณ์ เขาก็มี เขาก็วางได้ เพราะอะไร เพราะทุกข์เกิดขึ้น ทุกข์ตั้งอยู่และทุกข์ดับไป ความคิดเกิดขึ้น ความคิดตั้งอยู่ ความคิดดับไป

แต่โดยกิเลส เวลาความคิดเกิดขึ้น เวลามันตั้งอยู่มันก็มีความทุกข์มาก เวลามันจะดับไปมันก็คิดอีก ดับไปมันก็คิดซ้ำ เพราะอะไร เพราะถ้าใครมีความทุกข์ มันจะย้ำคิดย้ำทำกับสิ่งที่เราไม่พอใจ สิ่งที่เป็นความทุกข์ความยาก มันจะคิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ เพราะอะไร เพราะมันคุ้ยเขี่ยตลอดเวลา พญามารมันเอาสิ่งนี้แปะไว้กับเราตลอดเวลา มันเลยหลุดไปไม่ได้

แต่เราพอมาศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันหลุดได้ มันวางได้ มันวางได้มันวางแล้วเป็นสมาธิหรือยัง แต่ถ้าเราพุทโธๆ ขึ้นมา เพราะโลกเขาแบกความเร่าร้อน แบกสิ่งที่เป็นฟืนเป็นไฟ เราเปลี่ยนเลย เรากำหนดพุทโธๆ พุทธานุสติ พุทโธแล้วมันไม่คิดต่อเนื่อง เวลามันมีความทุกข์พอจิตมันดับแล้วก็คิดต่อๆ ย้ำๆ ยิ่งคิดยิ่งทำ ยิ่งคิดมากขึ้นยิ่งทุกข์มากขึ้น พุทโธๆๆ เป็นคำบริกรรม เป็นพุทธานุสติ สติอยู่กับพุทโธๆ พุทโธๆ อยู่อย่างนั้น เวลามันละเอียดเข้ามา อย่าเผลอ ละเอียดก็คือละเอียด ละเอียดก็มีความสุข เขาปล่อยความเร่าร้อน เขาปล่อยแล้วจะมีความสุขเลย เราพุทโธๆ พุทโธ พุทธะ อยู่กับจิต จิตมีคำบริกรรม มันเคลื่อนไหวให้มันละเอียด มันกรองมันเข้ามา พุทโธๆๆ

เวลามันเป็นขณิกะสมาธิ มันก็พุทโธได้ มันก็ยังพุทโธอยู่ แต่จิตใจร่มเย็น จิตใจมีความสุข จิตใจมีหลักมีเกณฑ์ แล้วพุทโธต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ถ้ามันเข้าไปอุปจาระมันละเอียดเข้าไป ละเอียดแล้วมันยังรับรู้ได้ เรารู้ได้ ละเอียดแล้วรับรู้ได้ ละเอียดที่ว่าเห็นสงเห็นแสงมันจะออกตรงนี้ พอละเอียดเข้ามาแล้วที่ไปรู้ๆ นี่มันผลของวัฏฏะนะ ผลของวัฏฏะเพราะอะไร ต้นทางของวัฏฏะ เพราะมันออกรู้ เพราะการกำเนิด การเกิดในวัฏฏะ การเกิดนั่นก็คือภพชาติ การเกิดในความคิด ความคิดนี้เกิดดับๆ มันเกิดร้อยแปดๆ อยู่ วัฏฏะมันจะออกแล้ว

เราพุทโธไว้ เรามีสติปัญญาไว้ ขณิกะสมาธิเป็นอุปจาระ รับรู้ได้ รับรู้ได้ถ้ามันมีสติมีปัญญา เราควบคุมได้ ถ้ามันรู้เรื่องกาย รู้เรื่องธรรม เราฝึกหัดใช้ปัญญา ปัญญาต้องฝึกหัดใช้ ถ้ามีสมาธิ สมาธิน้ำล้นแก้ว ถ้ามีสมาธิ มีความสงบร่มเย็นขึ้นมามันก็มีความสุข ความสงบ ต้นทาง ต้นทางแห่งธรรมๆ ต้นทางแห่งธรรมคือเรามีต้นทุน เรามีสิ่งที่กิเลสมันครอบงำ ก็คือครอบงำหัวใจอันนี้ ศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุกข์แขนงย้อนชี้เข้ามาที่ความทุกข์อันนี้ทั้งนั้น ชี้เข้ามาที่หัวใจ ชี้เข้ามาที่ความทุกข์ความยาก

นั้นเรากำหนด เราศึกษามาแล้วเราก็วางไว้ นั่นเป็นปริยัติ เราจะปฏิบัติของเรา ถ้าปฏิบัติเราพุทโธๆ ถ้ามันละเอียดขึ้นมาเป็นความจริงขึ้นมา พอเป็นความจริงขึ้นมา สิ่งที่ชี้เข้ามาตอนนี้เป็นความจริง ตอนนี้รับรู้ด้วยความเป็นจริง ถ้ารับรู้ด้วยความเป็นจริง สิ่งที่ว่าจิตที่มันครอบงำจิตที่โดนกิเลสมันปิดหูปิดตา เวลาจะปฏิบัติขึ้นมาก็ต้องให้จิตมันรู้แจ้งขึ้นมา ถ้าจิตรู้แจ้งขึ้นมา จิตเวลาพุทโธขึ้นมา พุทโธๆ จิตละเอียดเข้ามา มันจะเข้าสู่ตัวจิต ต้นทุน ต้นทุนและต้นทาง

ถ้าต้นทางจะก้าวเดินทางนั้นได้ไหม ถ้าก้าวเดินทางได้ ถ้ามันเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง ธรรมคือความรู้สึกนึกคิด ถ้ามันจับได้ มันจับได้ความคิดที่มันเกิดดับๆ แล้วถ้ากิเลสมันคุ้ยเขี่ยให้คิดซ้ำคิดซาก แล้วเราก็คิดถึงพุทโธแล้วมันละเอียดเข้ามา ถ้ามันจับสิ่งนี้ได้ จับได้มันก็สะเทือนหัวใจ ถ้ามันยังจับไม่ได้ก็พุทโธต่อเนื่องไป พุทโธๆ จากอุปจาระจะเข้าสู่อัปปนา เอ้อ ถ้ามันทำอะไรไม่ได้ ถ้ามันทำสิ่งใดยังไม่เป็น เราก็พุทโธๆ พุทโธจน ลมหายใจมันจะขาด มันจะดิ่งเหว มันจะวูบวาบไปไหน ตั้งสติไว้ จะวูบก็เชิญเลย ฉันไม่วูบกับเธอ เธอวูบก็วูบไป ฉันพุทโธของฉันไปเอ้อ สบายๆ

มันจะไม่ออกไปต้นทางแห่งวัฏฏะไง ถ้ามันวูบก็ตกใจ ก็ออกมา ถ้าลมหายใจมันจะขาดมันก็กลัวตาย มันก็เกิดอารมณ์ไง แล้วเกิดวัฏฏะไง ก็เกิดความคิดไง ถ้าเราจะไม่เข้าสู่ต้นทางของวัฏฏะ เราไม่สู่ต้นทางแห่งการเกิดและการตาย เราจะพุทโธของเราไปเรื่อย พุทโธไปเรื่อย มันจะวูบวาบขนาดไหน มันจะตกที่สูงขนาดไหน มันจะละเอียดจนพุทโธไม่ได้ ฉันก็จะพุทโธล่ะ มันพุทโธไม่ได้แล้วมันละเอียดแล้ว มันจะเข้าสู่ต้นทางของวัฏฏะไง ไม่ได้ก็มานี่สิ ไม่ได้ก็มาอยู่กับฉัน เดี๋ยวฉันจะพาไปอยู่ได้ มันได้ทั้งนั้นแหละ แต่กิเลสมันขับมันไส กิเลสมันพลิกมันแพลง

ขณะจะเข้าต้นทางมันก็ยังมีกิเลส กิเลสคอยเบียดเสียด เบียดคอยพลิกแพลงให้เราผิดพลาดมาตลอด กิเลสตัณหาความทะยานอยากมันอยู่กับใจของเรา จะทำตามใจมัน ทำตามมันพอใจ มันก็สร้างแต่เวรแต่กรรม จะปฏิบัติธรรม จะพยายามสร้างคุณงามความดี มันก็ขัดแย้งกับกิเลสมาตลอด กิเลสมันก็บังเงา ว่าสิ่งนั้นถูก สิ่งนั้นชีวิตของเรายังหนุ่มยังแน่น ชีวิตของเรายังมีคุณค่า เราไปใช้ชีวิตนี้ก่อน มันบังเงา มันพลิกแพลง มันทำให้เราล้มลุกคลุกคลานทั้งนั้น

ถ้าเราพุทโธพอจิตมันจะสงบขึ้นมาได้บ้าง คนทำงานมันก็ต้องมีผลตอบแทนบ้าง เวลามีผลตอบแทนบ้างมันก็พลิกแพลงให้หวาดให้กลัว ให้กลัวเสื่อม กลัว ให้เกร็งไง ให้เกร็งทำไม่ได้ ความผิดพลาดเกิดจากกิเลสทั้งนั้น ต้นทาง นี่การหาต้นทางนะ ยังไม่ทำอะไรกันเลย แล้วเวลาเขาประพฤติปฏิบัติกัน อู๋ย เขาส่งออก เขารู้นั่นต้นทางของวัฏฏะ เขาหมุนเวียนไปโดยกิเลส อำนาจกิเลสครอบงำ แล้วอ้างอิงธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าไม่อ้างอิงธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันจะไม่สำคัญ มันจะไม่มีใครเชื่อฟัง กิเลสมันหลอกตัวเองแล้วให้ครอบงำหัวใจของตัวแล้ว ตัวเองเชื่อไปหมดตัวแล้ว ก็ยังเอาความเชื่อนี้ไปป้ายคนอื่นอีก แล้วไอ้สังคมไทยก็สังคมที่มักง่าย ใครพูดสิ่งใดก็เชื่อแล้วเขาบอกให้ทำตาม ก็ทำแล้วมันก็ได้จริงๆ

เพราะอาการของใจมันเป็นแบบนั้น อาการของใจมันแบกฟืนแบกไฟมา มันวางได้ อารมณ์มันวางได้ แล้วแค่นั้น แล้ววางได้ พอวางแล้วมันก็สร้างภาพ พอสร้างภาพปลายเหตุไง จะใช้กำลังของสมาธิ ใช้กำลังของสมาธิสร้างมรรค สร้างผล กำลังของสมาธิใช้กำลังกดขี่อย่างเดียวเป็นไปไม่ได้ กำลังของสมาธิกดขี่ข่มไว้เพื่อประโยชน์กับเรา แล้วยังไม่ได้ทำสิ่งใดเลย มันเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้ามันจะเป็นมรรค จิตสงบให้เป็นสัมมาสมาธิ พอจิตเป็นสัมมาสมาธิแล้ว ฝึกหัด ถ้ามันออกรู้ออกเห็น ถ้ามันออกรู้ออกเห็นตั้งแต่อุปจารสมาธิ อุปจาระคือจิตสงบแล้วมันออกรู้ ก็ฝึกหัดหัวใจแสดงว่าเรามีโอกาส

แต่ถ้ามันยังไม่ได้ เราก็ทำความสงบหัวใจเพื่อมีกำลังขึ้นมา ถ้ามีกำลังแล้ว จิตเห็นอาการของจิต มันเห็นของมันถ้ามีสติปัญญามันเห็นของมันได้ เวลาเห็นของมัน ถ้าเห็นแล้วมันจับ จับได้ ถ้าจับได้ จิตจับอาการของจิต ถ้าจิตเราจับจิตสิ่งใดไม่ได้ เราจะไม่เห็นหน้ากิเลส เราจะไม่สามารถวิปัสสนาสิ่งใดๆ ได้เลย เพราะเราไม่มีต้นทาง เราไม่มีเหตุมีผล เพราะไม่มีต้นทางแล้วเราจะก้าวเดินของเราไป ของก้าวเดินของเราไป จิตมันจะก้าวเดินของมันไป จิตมันต้องมีงานชอบ มีงาน มีความเพียร มีความวิริยะ มีความอุตสาหะ เวลามันจับกายได้ จับกายได้นะตั้งไว้ แล้วรำพึงให้มันเป็นไปให้เรารู้ให้เราเห็น สิ่งที่เราใช้ปัญญา ปัญญาที่มันจับอารมณ์ จับความรู้สึกนึกคิด ความรู้สึกนึกคิดเราเห็นโทษของมันไหม อารมณ์ความรู้สึกนึกคิด มันก็เกิดดับกลางหัวใจของเรานี่แหละ แต่เพราะมันมีกิเลสตัณหาความทะยานอยากปิดบังหัวใจของเราไว้ เราถึงเป็นขี้ข้าเป็นทาสของมันมาตลอดชีวิต ตลอดวัฏฏะเลยตั้งแต่เวียนว่ายตายเกิดมา

แต่ในปัจจุบันนี้จิตเราสงบแล้ว เรามีต้นทุนของเรา เพราะเรามีความสงบของใจ ใจมันเป็นอิสระ ใจมันถึงจับความรู้สึกนึกคิดนี้ได้ ความคิดที่เกิดดับๆ ความคิดเกิดดับแล้วกิเลสมันพอกพูน กิเลสมันพยายามให้คิดซ้ำคิดซากกับเรื่องความทุกข์ความยาก คิดซ้ำคิดซากกับเรื่องสมุทัย คิดซ้ำคิดซากกับสิ่งที่เป็นตัณหา อยาก ไม่อยาก และไม่เข้าใจมัน ตัณหาคืออยาก อยากคืออยากได้ ไม่อยากคือผลักไส สิ่งที่เป็นทุกข์เป็นยากจะผลักไสมัน แล้วสิ่งที่ไม่เข้าใจเลยมันเกิดได้อย่างไร นั่นตัณหา ๓

สิ่งนี้มันทำให้ย้ำคิดย้ำทำอยู่อย่างนี้ แล้วถ้าจิตมันสงบมา จิตมันเป็นอิสระ มันไม่มีตัณหา ๓ นี้เข้ามาครอบงำ ถ้าไม่มีตัณหา ๓ เข้าครอบงำ ถ้ามันเห็นมันจับอารมณ์ความรู้สึกได้ จับอารมณ์ ทั้งๆ ที่อารมณ์นี้ก็เป็นเรา อารมณ์ก็เกิดจากจิตนี้แหละ แต่ไม่เคยจับได้ ไม่เคยเข้าใจมัน ถ้าเข้าใจมันก็เข้าใจโดยทางวิชาการ ทางวิชาการขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนไว้แล้วว่าความคิดมันก็เกิดดับ เราดูอารมณ์เกิดดับของเรามันก็อารมณ์ปุถุชน อารมณ์ปุถุชนมันเป็นเงา มันอยู่ข้างนอก เราก็ไปเห็นอาการของมัน ถ้าเห็นอาการของมันเวลาความเจ็บไข้ได้ป่วย เวลารักษาเขารักษาที่ไหน เขาต้องรักษาที่ตัวตนใช่ไหม เขาไม่รักษาที่เงาหรอก ฉะนั้นคนเจ็บไข้ได้ป่วยก็บอกเอาเงาไปรักษา เอาเงาไปโรงพยาบาล เรานอนอยู่บ้านให้มันหายใช่ไหม มันเป็นไปไม่ได้ ปุถุชนคนหนามันเป็นอย่างนั้น

แต่เวลาจิตใจที่มันสงบแล้วมันเป็นตัวของเรา เจ็บไข้ได้ป่วยเราก็ต้องไปหาหมอ เจ็บไข้ได้ป่วยเราก็รักษาตัวที่เรา ไม่รักษาที่เงานั้น ฉะนั้นถ้าจิตสงบแล้ว ถ้ามันจับได้ จิตเห็นอาการของจิต เห็นอาการของจิตคือเห็นความหลอกลวงของใจ ถ้าใจมันเคยหลอกลวงใจ ใจมันเคยย่ำยีหัวใจเรามาตลอด อารมณ์ความรู้สึกเคยย่ำยีหัวใจมาตลอด ถ้าจิตสงบแล้วมันจับอารมณ์สิ่งนี้ได้ เวลามันจับได้แล้วมันวิปัสสนา มันแยกแยะ อารมณ์มันเกิดมาได้อย่างไร เวลาเห็นกาย กายมันตั้งมา ตั้งมาจากไหน ถ้าตั้งมาจากไหนเวลาวิปัสสนาไป เวลากายมันแปรสภาพ มันจะพุพองอย่างไร มันจะแปรสภาพไป มันเป็นการย้อนศร ย้อนศรถึงว่าเวลาในหัวใจของเราเราก็ต้องการความดีงาม เป็นสุภะ เป็นความพอใจ เป็นความทนุถนอมทั้งนั้น

แต่เวลามันเป็นปัญญา เป็นมรรคขึ้นมา เวลามันพุมันพอง มันแปรสภาพมันพะอืดพะอม ถ้าพะอืดพะอมนี้เป็นโลกแล้วนะ มันเป็นปัญญาที่ทิ่มเข้าไปในใจเลย ถ้าคำว่าพะอืดพะอมมันเป็นทางแห่งวัฏฏะ พะอืดพะอม เห็นแล้วมันจะอ้วก มันจะออกแล้วล่ะ เวลาภาวนาไปสิ่งนี้มันจะเป็นการพิสูจน์ ถ้าพิสูจน์ถ้าเป็นมรรคนะ มันไม่ใช่การพะอืดพะอม พะอืดพะอมมันเป็นอารมณ์โลก อารมณ์ที่เราไปเห็นพวกชิ้นเนื้อแล้วมันขยักขย่อนจากท้อง จะกินไม่ได้อีก นั่นอารมณ์โลก แต่นั่นมันจะเคลื่อนออก

แต่ถ้ามันเป็นความจริง เวลามันพิจารณาไปแล้ว มันแปรสภาพ มันแทงหัวใจ มันเห็นแล้วมันมรรค มันสดชื่น มันเป็นของมัน ต้นทาง ท่ามกลาง ท่ามกลางที่มรรคมันเคลื่อนตัว ระหว่างมรรค ระหว่างธรรมกับกิเลสมันบดบี้กัน เวลานักวิปัสสนา ใช้ปัญญาการรู้แจ้ง ปัญญาการรู้แจ้งในหัวใจ ในเมื่อหัวใจนี้มันมีกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ในเมื่อกิเลสมันครอบงำหัวใจนี้มา เวลาเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา มันมีมรรค มันมีท่ามกลาง ผู้ที่ปฏิบัติเขาจะมีท่ามกลางของเขา ถ้ามีท่ามกลางของเขา การที่ปฏิบัติท่ามกลางที่มรรคมันก้าวเดิน เวลาวิปัสสนาไป

อารมณ์ความรู้สึกมันเกิดมาจากไหน เวลามันเกิดมันจะเกิดมาจากไหน มันต้องมีที่เกิด มันต้องมีคนยุแหย่ มันต้องมีเชื้อไข มันถึงได้เกิด พอเกิดแล้วสายใยของมัน มันก็รักษา รักษาคิดซ้ำคิดซาก คิดให้เจ็บช้ำน้ำใจ คิดให้มันเป็นความทุกข์ อยากจะเป็นพระอรหันต์ อยากจะพ้นจากทุกข์ คิดแล้วก็ไม่ได้อย่างใจสักทีหนึ่ง ก็จำตำรามาพูดกัน แล้วที่ไหนเขาปฏิบัติง่ายรู้ง่ายก็จะไปกับเขา กิเลสมันทำลายทั้งนั้น

เวลาท่ามกลางระหว่างกิเลสกับธรรมที่มันต่อสู้กัน ธรรมจักร เวลาจักรมันเกิดขึ้นมา หมุนขึ้นมา จักรมันเกิด เวลาจักรมันเกิด นี้เป็นบุคลาธิษฐานนะ เพราะคำว่าจักรมันเกิด แต่ขณะที่ปัญญามันเกิด ปัญญาล้มลุกคลุกคลาน ปัญญาที่เข้มแข็ง ปัญญาที่มีคุณธรรม ธรรมจักร มันหมุนของมัน มันทำของมัน แล้วถ้าเป็นกงจักร กงจักรภาวนาแล้วก็ไม่ได้ โอ้ย ภาวนาแล้วมันก็ยาก ที่ไหนจะมีง่ายกว่านี้ก็อยากจะไป ถ้าใครสอนง่ายๆ ลัดง่ายลัดสั้นอันนั้นจะดี แล้วถ้ามันเห็นวูบๆ วาบๆ ถ้าเห็นเทวดา อินทร์ พรหม ถ้าเห็นภพเห็นชาติ มันจะ... เห็นมันเป็นประโยชน์อะไร นั่นผลของวัฏฏะทั้งนั้น

เวลามันท้อมันถอย ระหว่างกิเลสกับธรรม กิเลสคือสมุทัย คือพญามารในหัวใจของเรา แต่ธรรมะๆ ที่เราสร้างต้นทางแห่งธรรมๆ ท่ามกลางแห่งธรรม ต้นทางที่สร้างมากว่าจะหาต้นทางได้ กว่าจะหาช่องทางได้ กว่าจิตมันจะเข้าไปสู่สัจธรรม สัจธรรมคือมรรค โสดาปัตติมรรค ถ้าโสดาปัตติมรรคมันเกิดขึ้น ปัญญาที่ความเป็นมรรค ปัญญาของมรรคที่มันเกิดขึ้น มันวิปัสสนาของมัน ท่ามกลางแห่งธรรม มันต้องมีเหตุมีผลสิ ในการประพฤติปฏิบัติ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกไว้กับพราหมณ์ ศาสนาไหนไม่มีมรรค ศาสนานั้นไม่มีผล จิตใจดวงใดที่ประพฤติปฏิบัติ ไม่มีมรรคญาณ ไม่มีสัจธรรมขึ้นมา มันจะเอาผลมันมาจากไหน ศาสนาไหนไม่มีมรรค ศาสนานั้นก็ไม่มีผล ถ้าต้นเหตุมันไม่มี ท่ามกลางมันไม่มี แล้วผลมันล่ะ ผลมันก็ใช้อำนาจของสมาธิบังคับเอา ปลายเหตุ ปลายเหตุคือจะนิพพาน ปลายเหตุคือหวังพ้นทุกข์ ปลายเหตุ แต่มันไม่มีต้นเหตุ ไม่มีท่ามกลาง ไม่มี แล้วท่ามกลางเป็นอย่างไร

สิ่งที่ว่าเวลาเป็นธรรมจักร จักรมันเกิดขึ้นอย่างไร เวลามรรคมันเกิดขึ้น ถ้าไม่มีธรรมจักร ไม่มีปัญญา ถ้าไม่มีปัญญา มันจะเป็นวิปัสสนาได้อย่างไร วิปัสสนาคือใช้ปัญญา ภาวนามยปัญญา ปัญญาการรู้แจ้ง รู้แจ้งในเรื่องอะไร รู้แจ้งในเรื่องหัวใจที่หัวใจเราตกไปในหล่มของกิเลสไง หัวใจของเราตกไปหล่มของกิเลส แล้วให้กิเลสมันเหยียบย่ำ เวลาปฏิบัติธรรมขึ้นมาก็ปฏิบัติธรรมกิเลสมันเปิดช่องให้ทำ กิเลสบอกทำอย่างนี้นะ ทำอย่างนี้แล้วจะได้ผลอย่างนี้นะ นี้เพราะอะไรเพราะเราศึกษามามาก เราก็ฟังเทศน์มาเยอะ เราก็รู้ไปหมดล่ะ ทำไมเราจะไม่รู้ ของง่ายๆ แค่นี้ใครทำไม่ได้ เวลาตกไปหล่มของกิเลสไง เวลาตกหล่มแล้วมันก็เหยียบย่ำ

ระหว่างกิเลสกับธรรมนะ เวลาเราวิปัสสนาไป ของสิ่งนี้สองสิ่งนี้ ระหว่างกิเลสกับธรรม มันจะต่อสู้ประหัตประหารกัน การประหารกิเลส องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ให้เบียดเบียนกันนะ เมตตาคุณ ปัญญาคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมตตามาก อยากรื้อสัตว์ขนสัตว์ ไม่ให้ทำ ไม่ให้เบียดเบียนกัน ไม่ให้ทำให้ชอกช้ำต่อกัน อย่าทำเบียดเบียนกัน การสร้างเวรสร้างกรรมนั้นไม่ดี ให้เมตตากัน เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร อย่าเบียดเบียนกัน อย่าทำลายกัน อย่าทำให้กระทบกระเทือนกัน แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่าประหารกิเลสเยี่ยมที่สุด ประหารกิเลสยอดเยี่ยม ยอดเยี่ยม ทั้งๆ ที่บอกว่าไม่ให้เบียดเบียนกัน ไม่ให้ทำลายกัน ไม่ให้ทำกระทบกระเทือนกันทั้งนั้นนะ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารักษาไว้มาก รักษาหัวใจนี้ไว้ให้มีกำลังให้ต่อสู้กับกิเลสไง แล้วเวลาเกิดปัญญาขึ้นมา เกิดวิปัสสนาญาณ เกิดปัญญาการรู้แจ้ง ถ้าปัญญาการรู้แจ้งเวลามันมีกำลัง มีสัมมาสมาธิเวลาเกิดขึ้น เวลาจักรมันหมุน จักรมันหมุนคือปัญญามันหมุน จักรมันหมุนคือว่าความพร้อมมัน สติก็พร้อม สมาธิก็พร้อม งานการนั่นกิเลสอยู่ไหนจับได้แล้ว ก็จับได้กาย จับได้เวทนา จับได้จิต จับได้ธรรม จับได้กิเลสแล้ว กิเลสก็เห็นหน้ามัน วิปัสสนาก็ต่อสู้กับมัน ความเพียรก็มีของเรา แล้วท่ามกลางการกระทำอย่างนี้ มีการกระทำ มีมรรค มีวิธีการมีการกระทำตามความเป็นจริง

ถ้าความเป็นจริง ความเป็นจริงมันต้องรู้สิ รู้รสชาติสิ เวลาพ่ายแพ้ เวลากิเลสมันเข้มแข็งกิเลสมันรวมตัวขึ้นมา มันมีกำลังมากกว่า เราต่อสู้ไป เอาหัวชนภูเขา โอ้ยมันทุกข์ เวลาหาต้นทาง หาต้นทางก็ทำมาเต็มที่แล้ว เพราะเรามีอำนาจวาสนา ทำจนเห็นต้นทาง เห็นช่องทาง แล้วเจริญก้าวหน้ามาจนถึงท่ามกลาง แล้วท่ามกลางแล้วมันจะไปถึงที่สุดสิ มันต้องให้จบสิ้นกระบวนการมันไป แล้วทำไมไม่จบสิ้นล่ะ มันจบสิ้นได้อย่างไรกิเลสมันจะยอมใคร พญามารมันจะยอมใคร พญามารมันครอบครองหัวใจใบนี้แล้วมันจะยอมใครให้พ้นจากมือมันไป มันเป็นไปไม่ได้หรอก ยางเหนียว สิ่งที่ร้ายกาจ สิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือกิเลสของคน แล้วกิเลสของคนมันก็อยู่ในหัวใจของสัตว์โลก แล้วมันก็ทำลายชีวิตของคนคนนั้น

แล้วเราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศึกษาก็เป็นปริยัติ แล้วศึกษามาก็สร้างภาพ ศึกษามาก็ทำให้เป็นผลของวัฏฏะซะ ให้มันเวียนว่ายตายเกิดในใจ เวลามันเกิดดับๆ ในใจก็เหยียบย่ำมันไปอยู่นี่ มันไม่เป็นความจริงของมันสักทีหนึ่ง เวลาเป็นความจริงขึ้นมา เวลาจิตสงบเข้ามาก็เป็นจิตสงบจริงๆ สงบจริงๆ สัมมาสมาธิ คนไม่มีสมาธิ ไม่มีหลักมีเกณฑ์ มันจะยกขึ้นสู่ปัญญาได้อย่างไร แล้วภาวนามยปัญญา ไม่ใช่โลกียปัญญา ไม่ใช่ปัญญาจำ ไม่ใช่ปัญญาสร้างภาพ ไม่ใช่ปัญญาให้กิเลสใช้ กิเลสมันอ้างให้ใช้ ให้คิดตามนั้น ก็คิดตามมันไป

แต่ถ้าเวลาปัญญาของเรา ปัญญาการรู้แจ้ง ปัญญาการรู้แจ้งมันเกิดสัมมาสมาธิแล้วมันเห็นหน้าของกิเลส แล้วมันจะไปต่อสู้กิเลส พยายามใช้ปัญญาแยกแยะ ให้มันเห็นไตรลักษณ์ ให้มันเป็นอนัตตา ให้เป็นการย่อยสลาย ให้กิเลสฆ่ากิเลส จับประหารมัน การประหารกิเลส องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเสริฐ การประหารกิเลสขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายกย่อง การประหารกิเลส แล้วกิเลสเป็นอะไร กิเลสเป็นนามธรรม แล้วนามธรรมอยู่ที่ไหนล่ะ มันอยู่ในหัวใจของเรา มันไม่เกี่ยวกับใคร มันไม่ทำลายใคร มันไม่ได้ทำให้สิ่งใดสะเทือน แต่มันทำลายกิเลสในใจเรา

ถ้ามันทำลายกิเลสในใจ เราใช้ปัญญาของเรา มีการกระทำท่ามกลาง ถ้ามันมีกำลัง แล้วความฝึกฝนของเรา จากล้มลุกคลุกคลานมันก็จะเข้มแข็งขึ้น มันมีความชำนาญมากขึ้น ถ้ามีความชำนาญมากขึ้น พิจารณาไปแล้ว กำลังของมรรค กำลังของศีล สมาธิ ปัญญา ที่มีกำลังมากกว่า กิเลสมันไม่ใช่ยอมแพ้หรอก มันสู้ไม่ได้ ไม่มีใครยอมแพ้ แต่กำลังของมันสู้กิเลสไม่ได้ สู้ความมีสติของเราที่ละเอียดรอบคอบ สู้กำลังของสมาธิ สู้สิ่งที่เป็นสัมมาทิฐิ คือปัญญาญาณ มีกำลังมากขึ้น กิเลสหลบตัว ตทังคปหาน มันปล่อยชั่วคราว

เวลาปล่อยมันปล่อยก็หลบ มันปล่อยเพราะมันสู้ไม่ได้ แต่ไม่ได้สู้ไม่ได้เพราะประหารมันตายนะ สู้ไม่ได้แล้วมันหลบนะ มันหลบหลีกปลิ้นปล้อนอยู่ในใจนั่น แล้วถ้าคนประมาท คนประมาทหรือคนไม่รอบคอบ เวลามันคายตัวออกมา พอมันปล่อยมันจะว่าง เวลามันปล่อยมันมีความสุขมาก ความสุขเพราะอะไร ความสุขเพราะเราทำงานมาขนาดนี้ งานเสร็จแล้ว ได้พักผ่อน คนทำงานนะ อยากงานให้เสร็จ เสร็จแล้วอาบน้ำอาบท่า ชื่นใจ ชื่นบาน

นี่ก็เหมือนกัน เวลาตทังคมันปล่อย โอ๋ยมันมีความสุข แล้วความสุขถ้าไม่มีสติปัญญา ไม่มีสติปัญญาจริงๆ เพราะแก่นของกิเลส เพราะกิเลสมันหลบมันซ่อนเราก็สบายใจ เราก็ชะล่าใจ แล้วเราก็คลายตัวออกมา แล้วเราก็ทำสบายใจ สบายใจคือตั้งสติไว้ ตั้งสมาธิไว้ แล้วไม่ใช้สติปัญญาเข้าไปชำระ ไม่ใช้สติปัญญาเข้าไปครอบงำ เดี๋ยวพอกิเลสมันทรงตัวได้ เท่านั้นแหละ จบ เสื่อมหมดเลย ทำไม่ได้ สู้ไม่ได้

ระหว่างกิเลสกับธรรมที่มันต่อสู้ในใจอยู่นะ ระหว่างท่ามกลางกว่ามันจะลงสู่ที่สุด เราใช้กำลังของสมาธิเพื่อจะสร้างภาพเอา ใช้กำลังของสมาธิที่จะสร้างธรรมะเอา มันเป็นไปไม่ได้หรอก กิเลสมันยิ้มย่อง กิเลสมันย้อนรอยให้เราไม่ได้อะไรเลย แต่ถ้าพอมันเสื่อมแล้วเรามีสติปัญญา เราก็มีความละเอียดรอบคอบ ทำความสงบของใจเราทำได้แล้ว แล้วเราเคยใช้ปัญญาแล้วเราก็เคยใช้แล้ว ฉะนั้นสิ่งที่ทำความสงบของใจเข้าไป แต่กิเลสมันเคยพ่ายแพ้แล้วมันจะมีเล่ห์กลที่ละเอียดขึ้น เราจะต้องใช้ความรอบคอบมากขึ้น

แต่เรื่องการจับกาย จับเวทนา จับจิต จับธรรมจับได้ เพียงแต่ว่าเราไม่ชำนาญ เราก็บอกว่ามันไม่มีอะไรจับต้องไม่ได้ เราได้ปล่อยวางไปแล้ว มันเป็นไตรลักษณ์แล้ว เราหาไม่เจอ ก็มันอยู่กับเรา อยู่กับไอ้คนพูดนั่น ไม่เจอได้อย่างไร ก็เอ็งพูดอยู่นั่นแหละ มันอยู่พร้อมเลย ก็บอกว่ามันเป็นไตรลักษณ์ไปแล้ว แล้วพิจารณาไปแล้ว ไปแล้วทำไมเอ็งยังมีเอ็งอยู่ล่ะ กว่าจะรู้อย่างนี้ได้นะ มันก็ต้องใช้ความชำนาญ ใช้ความการผิดพลาด ใช้ความที่ว่าถ้าจับไม่ได้ เราก็มีแต่ฟืนแต่ไฟ ทั้งๆ ที่มีสมาธิอยู่ในใจนี้แหละ ทั้งที่มีปัญญาอยู่ แต่ก็ฟืนกับไฟ มีแต่ฟืนไฟ ฟืนไฟเพราะมันงงไง ฟืนไฟเพราะมันทำแล้วมันไม่ได้ดั่งใจไง

ถ้าเรามีสติรอบคอบ เราจับได้ จับแล้วพิจารณาของเราไป เดี๋ยวเป็นมรรค เป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา เป็นมรรคที่มีกำลังขึ้นมา ได้ฟาดฟันกับต่อสู้กิเลส ระหว่างธรรมกับกิเลสต่อสู้กัน มันมีความสุข มีความพอใจนะ เพราะทำงานไม่ได้เราก็ทุกข์ก็ร้อน พอทำงานได้ เอาแล้ว อยู่นี่ๆ ต้องจัดการ ใช้ปัญญาเลื่อย มีสติรอบคอบขึ้นไป ทำให้มันมั่นคง ทำให้มันแข็งแรง มันเป็นไตรลักษณ์บ่อยครั้งเข้าๆ ตทังคปหาน ระหว่างกิเลสกับธรรม เวลาพิจารณาซ้ำๆๆๆ ไป เวลามันจะขาด ไม่มีใครสามารถรู้ได้ว่าจะขาดตอนไหน คำว่าไม่มีใครสามารถรู้ได้ว่าขาดตอนไหนคือว่าเราคาดหวังไม่ได้ แต่พิจารณาซ้ำๆๆๆ มันปล่อยก็ตทังคปหาน ปล่อยแล้วปล่อยเล่าคือกิเลสกับธรรมมันสู้กัน เวลามันขาด ขาดซึ่งๆ หน้าเลย เห็นชัดๆ

เริ่มต้น ท่ามกลาง และที่สุด ที่สุดคือขณะจิต เวลามันขาดมันชัดเจนมาก กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ ดูจิตมันรวมลง โอ้โห มันขาดแล้วเพราะถ้าเวลามันปล่อย มันปล่อยแต่มันยังมีมันอยู่ แต่เราไม่รู้มันก็ว่าว่างๆ เวิ้งว้างๆ แต่เวลามันขาด กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ มันขาดหมดเลย จิตนี้รวมลงหมด สังโยชน์นี้ขาดไป ขึ้นมากลางหัวใจ ขึ้นมาเดี๋ยวนั้น เป็นชัดๆ อย่างนั้น ตั้งแต่ท่ามกลาง ตั้งแต่เริ่มต้น ท่ามกลาง ที่สุด มันมีเหตุมีผล เวลาปฏิบัติไปมันต้องมีเหตุมีผลของมัน มันต้องมีการกระทำของมันตามความเป็นจริง แล้วพอมันขาด พระโสดาบัน แล้วถ้าต่อเนื่องขึ้นไป สกิทาคามรรค อนาคามรรค อรหัตมรรค จะต้องละเอียดรอบคอบขึ้นไป ต้นทางแห่งธรรม ต้นทางแห่งธรรมแล้วปฏิบัติไป มันก็ท่ามกลาง ตั้งแต่โสดาบัน พิจารณาธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ เข้าไปก็จะเป็นสกิทา ถ้าเป็นอนาคามรรค เวลาจับขึ้นไปแล้วมันจะละเอียดรอบคอบขึ้นไป ท่ามกลาง ที่สุด ละเอียดไปเรื่อยๆ จนเป็นสติ มหาสติ จนเป็นสติอัตโนมัติ ปัญญา มหาปัญญา ต่อสู้มากมายไป

นี่ต้นทางแห่งธรรม ต้องมีต้นทาง ท่ามกลาง ที่สุดในการกระทำของเรา เราต้องมีสติปัญญา ฟังธรรมๆ เพื่อปลุกปลอบหัวใจของเรา ให้เรามีความเข้มแข็ง ให้เรามีกำลังของเราเพื่อประพฤติปฏิบัติขึ้นมาให้มันเป็นความจริงของเรา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุข เราปฏิบัติตามความเป็นจริงขึ้นมา เราจะเอามรรคเอาผล เพื่อให้หัวใจของเราเป็นธรรม เรียกร้องสัตว์ทั้งหลายมาดูธรรม เรียกร้องความเป็นธรรม แสวงหามาตลอด แต่ถ้ามันขึ้นมาในหัวใจเรา หัวใจเราเป็นธรรมเสียเอง เรามีคุณธรรมในใจ เอวัง