รู้ไม่เท่ากัน
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
เทศน์บนศาลา วันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๘
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
ตั้งใจฟังธรรมะ ธรรมะคือสัจธรรม สัจจะในชีวิตไง ถ้าสัจจะในชีวิต สัจธรรมในชีวิต ถ้าเราประพฤติปฏิบัติตามสัจจะความจริง เรารู้รอบ เข้าใจชีวิตนี้จนถึงที่สุด เข้าใจในชีวิตนี้ ชีวิตนี้การเวียนว่ายตายเกิด เราจะไม่เวียนว่ายตายเกิดอีกถ้าเราเข้าใจสัจธรรมตามความเป็นจริง แต่ที่เรายังเวียนว่ายตายเกิด เพราะเราศึกษาไง ศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราศึกษา ศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั้นคือธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราถึงไม่รอบรู้ในสัจจะความจริงในชีวิตของเรา แต่เรารอบรู้สัจธรรม สัจจะ ธรรมะเป็นธรรมชาติๆ เราเข้าใจได้สิ่งที่เป็นธรรมชาติ แต่เราไม่เข้าใจสัจจะความจริงในชีวิตของเรา
ถ้าเราจะเข้าใจสัจจะความจริงในชีวิตของเรา เราต้องประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริง เหมือนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ออกประพฤติปฏิบัติ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าออกประพฤติปฏิบัติ เกิดมาเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ สร้างอำนาจวาสนาบารมีมาขนาดนั้นนะ เวลาออกไปประพฤติปฏิบัติอยู่ ๖ ปี ค้นคว้าๆ อยู่ สิ่งที่สร้างอำนาจวาสนามาขนาดนั้น เวลาสร้างอำนาจวาสนามาขนาดนั้น เป็นผู้ที่ยังไม่มีธรรมและวินัย ยังไม่มีธรรมวินัยที่สามารถจะศึกษา
เวลาไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ เขาพาขึ้นเขาลงห้วยไปไหนไม่รู้เรื่อง เขาพาไปไหนก็ไปกับเขา แต่เวลาได้สติขึ้นมาแล้ว ไม่ใช่ ได้สติมาแล้ว ไม่ใช่ ฉะนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงได้ไปศึกษามากับเจ้าลัทธิต่างๆ ทั้งหมดแล้ว ศึกษามาหมดแล้ว มันไม่ใช่ทางๆ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสรู้เอง เข้าใจในสัจจะความจริงในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้าใจสัจจะความจริงในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามความเป็นจริง อาสวักขยญาณ ทำลายอวิชชาในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมด ทั้งหมด อย่างนี้สิมันเป็นความจริง อย่างนี้สิมันเป็นความจริง แล้วความจริงเสวยวิมุตติสุขๆ แล้วเวลาจะเผยแผ่ธรรมมันจะสอนใครได้อย่างไร เพราะมันเป็นคนละเรื่องกับโลก
โลกเป็นเรื่องของโลก สัจธรรมเป็นเรื่องสัจธรรม สัจธรรมเป็นธรรมเหนือโลก เพราะธรรมะเป็นธรรมชาติๆ ในเมื่อในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์ถึงมองสัจจะในโลกนี้ว่าเป็นธรรมชาติ แต่ของเรา เราว่าเป็นธรรมชาติ มันก็เหมือนธรรมวินัย เป็นธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราไปศึกษามา แต่สัจจะในชีวิตเรา เราไม่รู้
นี่ก็เหมือนกัน ธรรมะเป็นธรรมชาติๆ ธรรมชาติมันก็เปลี่ยนแปลงอยู่อย่างนี้ ในชีวิตมันก็เวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างนี้ มันก็เป็นธรรมชาติอันหนึ่ง แล้วมันเข้าใจไหมล่ะ มันเข้าใจสัจจะความจริงอันนี้ไหมล่ะ? มันไม่เข้าใจสัจจะความจริงอันนี้เพราะอะไร เพราะเราไม่ได้ประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริงของเรา เราไปศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง ธรรมะเป็นธรรมชาติไง
เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จิตใจที่พ้นจากกิเลสไปแล้วเป็นธรรมธาตุ ถ้ามองว่าธรรมะเป็นธรรมชาติ มองได้ มองได้เพราะมันไม่มีตัวตน มันไม่มีตัวตน มันไม่มีทิฏฐิมานะ มันไม่มีสิ่งใดในหัวใจแล้ว มันเหนือโลกอยู่แล้ว ถึงมองโลกเป็นธรรมชาติได้ไง ไม่เกี่ยวไม่ข้องไม่แวะไง แต่ของเราว่าธรรมะเป็นธรรมชาติ ธรรมชาติก็ขอมีเอี่ยวหน่อยหนึ่ง ขอมีข้องแวะหน่อยหนึ่ง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลก็ไม่พอใจ แดดออกเกินไปเราก็ไม่ชอบ ไม่มีสิ่งใดถูกใจสักอย่างเลย แล้วธรรมะเป็นธรรมชาติ ทำไมเวลาเกิดวิกฤติต่างๆ ตามธรรมชาติ ทำไมใจรับไม่ได้ล่ะ นี่ธรรมะเป็นธรรมชาติไง
แต่ถ้าเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ ท่านทะลุปรุโปร่ง ท่านรู้หมดว่ามันเป็นเพราะเหตุใด ทำไมถึงเป็นเช่นนี้ แล้ววิธีแก้ แก้อย่างไร ถ้าแก้ได้ นี่มันเหนือโลกไง ถ้ามันเหนือโลก สัจจะความจริงอันนั้นถึงเป็นสัจจะความจริงอันนั้น เป็นความจริงอันนั้น
แต่ของเราถ้ามันยังไม่เป็นความจริง ศึกษามา ศึกษามาเป็นทฤษฎี เวลาศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ เราเกิดมา เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดมาเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ เราจะเกิดชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย แต่เวลาไปศึกษามา ดูสิ พระเจ้าสุทโธทนะเลี้ยงดูมา ให้การศึกษามา จะให้เป็นกษัตริย์ นี่ไง สิ่งที่ว่าเวลาเกิดมา เราจะเกิดชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย มันก็ยังครองเรือนมา เวลามีสามเณรราหุล มันเห็นการเกิด มันสะเทือนหัวใจ มันสะเทือนหัวใจ สะเทือนมากว่านี่โซ่ทองเกิดแล้ว ต้องทำให้เราจมปลักอยู่กับภาวสวะ อยู่กับภพนี้ อยู่กับความเวียนว่ายตายเกิดในโลกนี้ เพราะไปเที่ยวสวนมาเห็นคนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย มันจะออกจากการเวียนว่ายตายเกิด แต่เวลามันมีภาระรับผิดชอบไง สุดท้ายแล้วจะต้องเสียสละไป เวลาเสียสละไป ไปค้นคว้าอยู่ ออกไปค้นคว้าๆ
เวลาเกิด องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดมา เวลาคนเกิด อวิชชาพาเกิดหมด ความไม่รู้ถึงได้พามาเกิด ทั้งๆ ที่มีอำนาจวาสนาบารมีถึงได้พามาเกิด เกิดแล้วด้วยอำนาจวาสนาบารมีได้สร้างมาเต็มถึงได้ประพฤติปฏิบัติได้ตามความเป็นจริงในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ ศึกษากับเขา เขาประพฤติปฏิบัติของเขา เขามีความเห็นของเขาว่าเขาสิ้นกิเลส เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปปฏิบัติแล้วมันไม่ใช่ มันไม่ใช่ มันไม่ใช่ที่ไหน มันไม่ใช่เพราะในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันบอกไง แต่เวลาเจ้าลัทธิต่างๆ เขาว่าใช่ของเขาไง เขาว่าใช่ของเขา เพราะวุฒิภาวะของเขา เขาว่าใช่ของเขา แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกไม่ใช่ ไม่ใช่ พอไม่ใช่ มาตรัสรู้เอง เวลาตรัสรู้ ตรัสรู้ขึ้นมาจากไหนล่ะ ตรัสรู้ขึ้นมา อาสวักขยญาณ ตรัสรู้ในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เวลาเกิด องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดมาด้วยอำนาจวาสนาบารมี ก็ยังรื้อค้น ก็ยังประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริง ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เราก็เกิดมาเหมือนกัน เวลาเราเกิดมา อวิชชาพาเกิดทั้งนั้นน่ะ เวลาอวิชชาพาเกิดมา ด้วยจริตด้วยนิสัย ไปศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศึกษามาทำไม เวลาครูบาอาจารย์ของเรานะ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น เจ้าคุณอุบาลีฯ ท่านศึกษามาทำไม
ท่านศึกษามาเพื่อประพฤติปฏิบัติ ท่านศึกษามาเพื่อจะพ้นจากทุกข์ ท่านศึกษามาเพื่อเข้าใจในชีวิต เข้าใจในสัจจะ เข้าไปในภวาสวะทำลายให้หมด ถ้าทำลายแล้วมันก็พ้นจากทุกข์ไป เวลาศึกษามา ศึกษามีเป้าหมาย ศึกษามาเพื่อประพฤติปฏิบัติ ศึกษามาเพื่อเป็นแนวทาง
เวลาทางโลกปัจจุบันนี้เขาไปศึกษากัน ศึกษามา พอจบแล้ว ศึกษาจบแล้วแล้วทำอย่างไรต่อ จบแล้วก็ยังจะเผยแผ่ จบแล้วก็ยังสงสัย จบแล้วยังจะค้นคว้า จบแล้วได้ทำอย่างไรต่อ นี่ไง ภาคปริยัติไง เป้าหมายของคนว่าศึกษา ศึกษามาทำไม
ถ้าเป้าหมายของกรรมฐานเรา เราศึกษา ศึกษามาเพื่อประพฤติปฏิบัติ ศึกษามาเพื่อเป็นความจริง ศึกษามาเพื่อค้นคว้า ศึกษามาเพื่อเป็นแนวทาง ถ้ามันมีการศึกษา แล้วถ้าศึกษา ศึกษาทางโลกเขาล่ะ โลกเขาศึกษามา ศึกษาเป็นวิชาชีพ เขาศึกษามาแล้วเขามีความรู้ของเขา เขาเอาไปเป็นวิชาชีพของเขา อาชีพของเขา เขาต้องมีอาชีพ เขาบอกว่าเขาศึกษาธรรมะมาเพื่อเขียนหนังสือ ก็ศึกษาจริงๆ เขาต้องมีอาชีพของเขา
แต่เราศึกษามา ชีวะคือชีวิต ชีวิตของเรา เราดำรงชีวิตของเรา เวลาเราเห็นภัยในวัฏสงสาร เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเที่ยวสวนเห็นคนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย เราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราก็มีความเศร้าสลดใจ แล้วเรามีเป้าหมายของเรา ถ้าเรามีเป้าหมายของเรา เห็นภัยในวัฏสงสาร ภัยในวัฏสงสาร กาลเวลามันกลืนกินทุกๆ อย่าง วันเวลามันกลืนกินหมด ชีวิตเรามันต้องสิ้นสุดไป ถ้าเรามีสติมีปัญญาขึ้นมา เราศึกษามาเพื่อจะออกประพฤติปฏิบัติ
เวลาออกมาประพฤติปฏิบัติ ถ้ามันปฏิบัติได้จริง มันก็เป็นความจริงของเรา ถ้ามันปฏิบัติ ถ้าอำนาจวาสนาบารมีของเรามันไม่มีกำลังพอ ถ้ามันไม่มีกำลังพอ เราปฏิบัติเพื่อให้ภพชาติสั้นเข้า เราปฏิบัติเพื่อสร้างสมบารมีของเรา ปฏิบัติเพื่อบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราทำตามความเป็นจริงไง ถ้าทำตามความเป็นจริง ดูสิ เวลาจะประพฤติปฏิบัติมันก็ต้องดูสัปปายะ ๔ เวลาคนเขาจะประพฤติปฏิบัติกันนะ ถ้าคนมีอำนาจวาสนา เขาจะแสวงหาครูบาอาจารย์ของเขา ดูสิ เวลาหลวงตาท่านศึกษามาจบเป็นมหา ศึกษามาจบแล้ว นิพพานก็เรียนมาแล้ว เข้าใจหมด แต่นิพพานมันจะมีจริงหรือเปล่า แต่ถ้ามีครูบาอาจารย์องค์ใดท่านบอกทางเราได้ เราจะมอบกายถวายชีวิตกับพระอาจารย์องค์นั้นเลย แล้วก็แสวงหา เวลาไปแสวงหา มีครูบาอาจารย์ ท่านก็ไปเรียนมา ใครก็อยากรั้งท่านไว้ แต่ท่านมีเป้าหมายอยู่แล้วว่าท่านจะไปหาหลวงปู่มั่น
เวลาไปถึงหลวงปู่มั่น นิพพานมันอยู่ที่ไหน นิพพานมันอยู่ในอากาศไหม อยู่ในดินฟ้าอากาศ อยู่ในวัตถุ อยู่ในที่ไหน ไม่มีอยู่ในที่ไหนเลย มันอยู่ในจิตใจของคน นี่เวลาท่านพูดขึ้นมามันมีเหตุมีผลไง คนมีปัญญากับคนมีปัญญาเขาสนทนากัน เขามีเหตุมีผล ถ้ามีเหตุมีผล ท่านก็พยายามค้นคว้าของท่าน พยายามกระทำของท่าน เพราะอะไร เพราะมันมีคนบอกทางไง ฉะนั้น เวลาคนที่จะประพฤติปฏิบัติเขาจะแสวงหาของเขา จะมีครูบาอาจารย์ที่ดีที่จะชี้นำเขา แล้วสัปปายะ ๔ หมู่คณะที่ดี สิ่งต่างๆ ที่ดี มันจะทำให้การประพฤติปฏิบัติเรามันตรงต่อธรรม ตรงต่อธรรมคือตรงต่อสัจจะความจริง ไม่ตรงต่อความรู้สึกนึกคิดของใคร ไม่ตรงต่อความชอบพอของใครๆ
ความชอบพอของเขา สังคมของใครมีทัศนคติอย่างใด เขาก็มีความพอใจอย่างนั้น แล้วเราเข้าไปในกลุ่มชนอย่างนั้น เราจะคล้อยตามเขาไปหรือ เห็นไหม ถ้าความเห็นมันเหมือนกันๆ สิ่งที่มันเหมือนกัน มันก็เหมือนกันในทางถูกหรือทางผิดล่ะ แต่ถ้าความเห็นไม่เหมือนกัน คนเราความเห็นไม่เหมือนกัน ถ้ายิ่งคนละวัฒนธรรม ถ้าคนละวัฒนธรรม เราจะไม่เข้าใจวัฒนธรรมของเขาเลย เขาทำสิ่งใด เรายังสงสัย เราไม่กล้าไปแสดงออก เพราะเรากลัวว่าจะไปกระทบกระเทือนกับความรู้สึกของเขา ถ้าคนมีสติปัญญานะ เราจะไม่ไปดูถูก เราจะไม่ไปพูดให้ผิดความรู้สึกของเขา นี่มันคนละวัฒนธรรม
แล้วถ้าเป็นวัฒนธรรมเดียวกันล่ะ ถ้าเป็นวัฒนธรรมเดียวกัน มันก็ยังมีจริตนิสัย ถ้าจริตนิสัย จริตนิสัยของคน ถ้าจริตนิสัยของคน วัฒนธรรมเดียวกัน ความเห็นเหมือนกัน ถ้าความเห็นอยู่ในวัฒนธรรมเดียวกัน ถ้าอยู่ในวัฒนธรรมเดียวกัน เราก็มีความรู้เหมือนกัน แต่ความชอบไม่ชอบมันก็แตกต่างกันไป ความพอใจและไม่พอใจของคนมันก็แตกต่างกันไปนะ แม้แต่ในวัฒนธรรมเดียวกัน
คนเราความเห็นมันไม่เหมือนกัน ถ้าความเห็นของคนไม่เหมือนกัน มันมีความขัดแย้งกันเป็นเรื่องธรรมดา มันมีความขัดแย้งกันอยู่แล้ว ถ้ามีความขัดแย้ง มันอยู่ที่ว่าผลของกรรม ผลของวัฏฏะๆ เพราะใครสร้างบุญกุศลสิ่งใดมา ใครทำคุณงามความดีมามากน้อยขนาดไหน มันจะเกิดพละ เกิดกำลังของใจ
ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างสมบุญญาธิการมาสมบูรณ์ อุทกดาบส อาฬารดาบส มีความรู้เสมอเราๆ ถ้าครูบาอาจารย์องค์ใดบอกว่าเรามีความรู้เสมอครูบาอาจารย์นั้นน่ะ เราจะเคลิบเคลิ้มไหม แต่เจ้าชายสิทธัตถะทำไมไม่เชื่อล่ะ เจ้าชายสิทธัตถะมีความรู้เหมือนเรา มีปัญญาเหมือนเรา สั่งสอนได้ ก็เป็นศาสดาได้ แต่เจ้าชายสิทธัตถะไม่รับ เพราะอะไร เพราะเรารู้ตัวเราเองอยู่ ตัวเราเองมันมีความสงสัยอยู่ ถ้าคนที่มันรู้จริงเห็นจริง มันต้องสำรอกมันต้องคายกิเลสออกไป
แล้วเวลาคายกิเลสออกไป เวลาศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยความซื่อสัตย์ ยถาภูตํ เวลากิเลสมันขาดไป เกิดญาณทัสสนะ มันรู้ของมัน แล้วรู้จริงเห็นจริง แต่นี่เรารู้อย่างไรล่ะ เรารู้อย่างไร เห็นไหม มันเกิดความสงสัย เจ้าชายสิทธัตถะถึงไม่รับๆ มันต้องมีความจริงสิ มันต้องมีเหตุมีผลของมัน มันถึงเป็นความจริงขึ้นมา
เวลาผู้ปฏิบัติจริง ดูสิ เวลาสิ่งที่เป็นวัตถุ เวลามันย่อยสลายไป มันเสื่อมสภาพไป เราก็เห็นว่ามันเป็นวัตถุ ขนาดวัตถุ เขายังรักษาไว้ แต่ความรู้สึกนึกคิดของคนล่ะ สิ่งที่เห็นความคิดมันเกิดขึ้น ทิฏฐิมานะความเห็นผิดมันเกิดกับใจเรามาตลอด อวิชชาพาเรามาเกิดนะ ศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมะเป็นธรรมชาติ ที่เรารู้เราเห็นกันอยู่นี่ ที่มันทุกข์ยากอยู่นี่ ทุกข์ยากอยู่นี่มันก็เป็นธรรมชาติอันหนึ่ง แต่แยกแยะไม่เป็น ทำไม่ได้ นี่ความเห็นมันไม่เท่ากัน ความเห็นแตกต่างกัน มันก็มีความขัดแย้งกัน
แล้วเวลาความเห็นที่มันขัดแย้งกัน แล้วมันสร้างสิ่งใดมาล่ะ สร้างแต่ความบาดหมาง สร้างแต่ความกระทบกระเทือนกัน แล้วเวลาสังคม ผู้ที่ปกครองเขาก็ต้องการความสามัคคีกัน สิ่งใดที่เห็นต่าง เก็บไว้ก่อน เราสามัคคีกันได้
มันเข้ากันไม่ได้หรอก กิเลสกับธรรมเข้ากันไม่ได้ แม้แต่กิเลสๆ ด้วยกันก็เข้ากันไม่ได้ เพราะกิเลสมันต้องมีการแย่งชิง กิเลสมันต้องเรารัดเอาเปรียบ กิเลสมันจะนั่งอยู่บนหัวคน กิเลสมันไม่ยอมใครหรอก แล้วเวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมาก็ประพฤติปฏิบัติด้วยความทิฏฐิมานะ ถ้าทิฏฐิมานะ นั่นมันเป็นธรรมตรงไหน มันเกิดกิเลสทั้งนั้นน่ะ
เวลาเราเห็นภัยในวัฏสงสาร พระเราเวลามาบวช พระใหม่มาบวช สิ่งที่เป็นภัยกับพระใหม่ อันดับแรกเลยคือทนคำสั่งสอนไม่ได้ พระใหม่ เพราะอะไร เพราะเราเป็นฆราวาส ฆราวาส ยิ่งสมัยปัจจุบันนี้ปัญญาชน สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค จะพูดอะไร แม้แต่ครูจะตีเด็กต้องขออนุญาตก่อนนะเดี๋ยวนี้ สิทธิเสรีภาพความเสมอกันไง ความเสมอกัน ความเท่าเทียมกัน แล้วเวลาบวชมาแล้วมันไม่ลงใครหรอก
คนเรานะ เวลาทุกข์จนเข็ญใจก็เรื่องหนึ่งนะ คนเราถ้ามีฐานะขึ้นมา มีทรัพย์สมบัติขึ้นมา มันเกิดทิฏฐิมานะในใจมันแน่นอน ถ้าเราไม่มีทรัพย์สมบัติ เราก็เป็นคนธรรมดาคนหนึ่ง แต่ถ้ามันมีทรัพย์สมบัติ มันมีสิ่งใดขึ้นมา มันว่ามันมีฐานะแล้ว ถ้ามันได้ตำแหน่งหน้าที่การงานมานะ ยิ่งไปใหญ่เลย
นี่ก็เหมือนกัน เวลาเราจะบวชพระ เราก็ เออ! บวชพระ พระ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระสงฆ์นี้เป็นสมมุติสงฆ์ สังคมไทยเคารพพระสงฆ์ เราก็อยากจะบวชของเรา บวชโดยประเพณี คนเขาบวชประเพณีเขาบวชมาแล้ว พ่อแม่ได้บุญ สิ่งใดถ้าบวช บวชด้วยความเชื่อของสังคม เพราะเราเกิดมาเป็นชาวพุทธไง
เราเกิดเป็นชาวพุทธนะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฝากศาสนาไว้กับบริษัท ๔ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา แล้วเราเป็นอุบาสก อุบาสิกา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฝากศาสนาไว้กับเรา แล้วเราเกิดมาเป็นชาวพุทธ เราอยู่ในวัฒนธรรมของชาวพุทธด้วยกัน ในเมื่อวัฒนธรรมของเรา เราเคารพบูชา พระสงฆ์ๆ แล้วเราก็อยากบวชพระ เวลาบวชขึ้นมาเป็นประเพณี มันได้จริงๆ นะ มันได้จริงๆ คือมันมีการกระทำ มันมีเหตุมีปัจจัย มันมีเหตุนะ สายเลือด ลูกของเราอยู่ในท้องเรา แล้วคลอดมันออกมา มันกินน้ำนม กินเลือดของเรา แล้วเอาสายเลือดเข้าไปบวช มันจะไม่ได้บุญที่ไหน พ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้วก็แล้วแต่ ในเมื่อลูก สายเลือดของเรา เลือดเนื้อเชื้อไขของเราไปค้ำจุนศาสนา มันจะไม่ได้บุญที่ไหน มันได้บุญแน่ๆ อยู่แล้ว โดยข้อเท็จจริงมันก็ได้บุญของมันตามความเป็นจริงนั่นแหละ เป็นข้อเท็จจริง ด้วยสัจจะ ด้วยเหตุด้วยผล
แต่อีโก้ ทิฏฐิมานะ เวลายังไม่ได้บวชก็เห็นภัยในวัฏสงสาร เราอยากจะพ้นจากทุกข์ เวลาบวชไปแล้วสิ พอบวชเป็นพระขึ้นมา บวชเป็นพระ พระบวชใหม่ขึ้นมา บวชมาวันแรกมันจะอิ่มบุญมาก มันจะมีบุญของมัน มันจะมีความอิ่มเอิบใจทั้งนั้นน่ะ แล้วเวลากิเลสมันพลิกขึ้นมา เราได้สถานะนี้มาแล้ว มันจะฟังใครล่ะ
ฉะนั้น เวลากรรมฐานเรา เราจะบวชขึ้นมา เขาให้เป็นปะขาวก่อน ฝึกหัดข้อวัตรปฏิบัติขึ้นมาให้เป็นอะไร? ให้ความเห็นมันเหมือนกัน ให้ความรู้มันเหมือนกัน ความเห็นมันเหมือนกัน ทุกอย่างมันเหมือนกัน พอบวชแล้วมันเข้ากันได้ มันไม่มีใครรังแกใครหรอก ทางโลก สิทธิเสรีภาพมันมีความเสมอภาค บวชเป็นพระมันยิ่งกว่าอีก ศีล ๒๒๗ เท่ากัน เป็นสงฆ์เหมือนกัน เป็นอวัยวะเดียวกัน อยู่ในวัดใดวัดหนึ่งมันก็เหมือนบุคคลคนหนึ่ง คนคนหนึ่งก็ต้องมีอาการ ๓๒ สมบูรณ์ เราบวชเป็นพระขึ้นมาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่ง เราก็เป็นส่วนหนึ่งของสงฆ์นั้น เวลาสงฆ์ทำสามีจิกรรม ต้องเป็นฉันทามติ ค้านไม่ได้เลย จะค้านแม้แต่เสียงเดียวก็ไม่ได้ เวลาลงอุโบสถ เวลาทำสังฆกรรมต้องฉันทามติ พร้อมกันหมด พร้อมกันหมดเลย นี่มันเสมอภาคไง แต่ในใจล่ะ ในใจเรา
บวชมาแล้ว ภิกษุบวชใหม่ทนคำสอนได้ยาก มันอึดอัดขัดข้องไปหมดล่ะ ถ้าบวชใหม่ๆ มามันก็ยังดี แต่พอมันไป มีหมู่คณะคอยแนะคอยชี้ว่าอะไรควรไม่ควร เพราะสมณสารูป เราเป็นฆราวาสใช่ไหม เราก็ใช้ชีวิตเราโดยปกติ แต่เวลาเราบวชมาแล้ว พูดเสียงดังก็ไม่ได้ การเดินการเหิน ฉันน้ำ ยืนก็ไม่ได้ ปัสสาวะก็ยืนไม่ได้ ทุกอย่างไม่ได้หมด เป็นอาบัติหมด แต่เรามันเคยตัวไง ทำไมทำไม่ได้ เราทำของเรา นี่มันต้องฝึกหัด
ทีนี้คำว่า ฝึกหัด เวลาอย่างนี้จู้จี้มากอะไรก็ผิดๆ อ้าว! ทีแรกว่าทำได้ไง ถ้าเป็นปะขาว ถ้าได้ฝึกหัดมาแล้วมันรู้ ถ้ารู้แล้วก็จบ นี่แสดงว่าท่านคอยบอกสิ่งที่ดีงามกับเรา แต่ถ้ามันไม่ได้ฝึกหัดมาล่ะ ถ้ามันบวชประเพณีไง มาถึงก็บวชไง พอบวชมาแล้ว ภิกษุใหม่ทนคำสอนได้ยาก เพราะความรู้ไม่เท่ากัน ความรู้ไม่เห็นกัน แต่พอมาอยู่ด้วยกัน อยู่ด้วยกันแล้ว ถ้ามีจิตใจที่ประพฤติปฏิบัติ มีจิตใจที่ความเป็นจริง มีการใฝ่รู้ มีการฝึกหัด เพราะเรามีเป้าหมาย
เป้าหมายของเรานะ เราบวชมาเพื่อจะพ้นทุกข์ เราบวชมาเพื่อจะประพฤติปฏิบัตินะ เราบวชมาเราจะต่อสู้กับกิเลสนะ เราไม่ได้บวชพระมาเพื่อเอาศักยภาพของความเป็นพระมาเชิดชูกิเลสให้กิเลสมันพองตัวขึ้นมา เราบวชมาเพื่อจะชำระล้างมัน เวลาบวชขึ้นมา บวชมาเป็นพระไหม บวชมาเป็นพระแล้วจะเป็นพระอะไร เป็นสมมุติสงฆ์ไง
แล้วถ้าเราประพฤติปฏิบัติ ดูสิ ผู้ที่มาประพฤติปฏิบัติในวัด ถ้าเขาไม่ได้บวช แต่ว่าเขาปฏิบัติตามความเป็นจริงขึ้นมา เขายังเป็นอริยสงฆ์ในใจของเขาได้เลย ทำไมเราจะทำไม่ได้ ถ้าเราจะทำได้ เราจะประพฤติปฏิบัติ
แล้วประพฤติปฏิบัติขึ้นไปถ้ามีความเห็นผิด มีการประพฤติปฏิบัติผิดไป นี่มันเกิด แม้แต่สมัยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังดำรงชีพอยู่ พระก็ยังมีความเห็นแตกต่างกัน จนเกิดเป็นนานาสังวาส เกิดเป็นก๊ก เป็นฝักเป็นฝ่าย ถ้าเป็นฝักเป็นฝ่าย ความเห็นไม่เหมือนกัน ความรู้ไม่เท่ากัน ความเห็นแตกต่างกัน พอความเห็นแตกต่างกัน เกิดเป็นนานาสังวาสทันที ถ้านานาสังวาส พระพุทธเจ้าไปพยายามจะสมาน พระบอกว่า พระพุทธเจ้าขวนขวายน้อยเถิด ให้พระพุทธเจ้าอยู่เฉยๆ จะทะเลาะกัน พระพุทธเจ้าหนีเข้าป่าไป ช้างป่าเลไลยก์ ช้างกับลิงอุปัฏฐาก
ดัดนิสัยพระไง นิสัยพระที่มีความเห็นแตกต่างกัน มีความเห็นแตกต่าง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า ถ้าเธอมีความเห็นแตกต่างกันโดยศีล เธอจะกินด้วยกันไม่ได้ เธอจะฉันข้าวด้วยกันไม่ได้ เธอจะนอนในที่มุงที่บังเดียวกันไม่ได้ ถ้ามีความเห็นแตกต่างกัน
ขอให้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ที่ขวนขวายน้อยเถิด ฉันจะทะเลาะกัน
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทิ้งไปเลย พอทิ้งไปเลย ชาวบ้านเขาเคารพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เขาไม่ได้เคารพสมมุติสงฆ์ ไม่ได้เคารพสงฆ์ที่มีความเห็นผิด ไม่ได้เคารพสงฆ์ที่มีมุมมองแตกต่างกัน เขารวมตัวกันไม่ใส่บาตร เขารวมตัวกันไม่อุปัฏฐากพระนั้นเลย พระนั้นไม่มีปัจจัยเครื่องอาศัย ต้องยอมจำนนไปขอโทษเขา ขอโทษเขา โยมก็บอกว่าต้องให้ไปนิมนต์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากลับมา ถ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่กลับมา ไม่ให้กิน ไม่ใส่บาตรให้
นี่ความรู้ไม่เท่ากัน ถ้าความรู้เท่ากันจะทำอย่างนี้ไหม ถ้าความรู้เท่ากัน ความเห็นเหมือนกัน มันก็ต้องเหมือนกันสิ ถ้าความรู้ไม่เท่ากัน ความเห็นไม่เหมือนกัน แล้วเกิดทิฏฐิมานะ แบ่งฝักแบ่งฝ่าย แล้วก็ประหัตประหารกันด้วยคำพูด ประหัตประหารกันด้วยกำลัง ประหัตประหารกัน เห็นไหม นี่ความรู้ไม่เหมือนกัน ความรู้ไม่เท่ากัน นี่พูดถึงความรู้ไม่เท่ากันทางโลก
แล้วเราจะประพฤติปฏิบัติล่ะ ความคิดของเราล่ะ ความคิดของเรามันเท่ากันไหม เวลาศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่เชื่อไหม เวลาครูบาอาจารย์ท่านเทศน์นี่เชื่อไหม ศึกษาธรรมะของครูบาอาจารย์ ที่ประวัติของครูบาอาจารย์ของเรา เวลาท่านเทศนาว่าการ พิมพ์เป็นหนังสือมา นั่นล่ะวิธีการของท่าน ท่านทำของท่านมา เราทำตามได้ไหม ประวัติหลวงปู่มั่น ประวัติครูบาอาจารย์เรา เป็นประสบการณ์ของท่านทั้งนั้นน่ะ ถ้าเราศึกษาแล้วเราประพฤติปฏิบัติของเราตามความเป็นจริงให้มันเป็นจริงขึ้นมา มันจะเป็นความจริงกับเราไหม เราเชื่อหรือเปล่า
สิ่งที่ว่า ถ้าในใจของเราไง ถ้าในใจของเรามันรู้ไม่เท่ากัน ทั้งๆ ที่เวลาศึกษา ศึกษาได้หมด ดูสิ เวลาพระเราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ ๙ ประโยค ๙ ประโยคคือจบการศึกษา บาลีรู้หมด
หนังสือของครูบาอาจารย์เราที่พิมพ์ออกมา เราก็มี เขามีแจกกัน เราก็ได้รับมาทั้งนั้นน่ะ ก็ได้อ่านทั้งนั้นน่ะ เล่มไหนก็อ่านหมดแล้ว เล่มไหนก็เข้าใจหมดแล้ว ความรู้ก็ต้องเท่ากันสิ ก็ประสบการณ์ของท่าน สิ่งที่ท่านทำของท่านมา จนท่านทำของท่าน จนท่านประสบความสำเร็จของท่าน เราก็รู้หมด ตั้งแต่ต้นจนจบ แล้วเป็นอย่างไรต่อ มันเป็นอย่างไรต่อ ทำปฏิบัติได้ไหม
ถ้ามันปฏิบัติไม่ได้ ถึงว่า ปริยัติ ปฏิบัติ ความรู้ไม่เท่ากัน ถ้าความรู้ไม่เท่ากัน มีความขัดแย้งไปทุกที่ แต่ถ้าความรู้มันเท่ากัน เท่ากัน เวลาบวชมาแล้ว เรามีความตั้งใจของเรา เราพยายามขวนขวายของเรา ข้อวัตรเป็นเครื่องอยู่ จิตใจเป็นนามธรรมที่รักษามันได้ยาก เราบวชมาเป็นพระ เราบวชมา สมมุติสงฆ์ ผู้ที่มาเห็นภัยในวัฏสงสาร เรามาวัดมาประพฤติปฏิบัติกัน ก็จะมาดัดแปลงไง จะมาทรมานกิเลส เราจะทรมานกิเลสด้วยข้อวัตรปฏิบัติ เราจะทรมานมัน เวลาพระเรา เวลาเข้าพรรษา ถือธุดงค์ๆ ธุดงควัตรเป็นเครื่องขัดเกลากิเลส มันฆ่ากิเลสไม่ได้ ศีล สมาธิ ฆ่ากิเลสไม่ได้
ศีลฆ่ากิเลสไม่ได้ สมาธิฆ่ากิเลสไม่ได้ แต่มันต้องเป็นพื้นฐาน เพราะเราต้องการภาวนามยปัญญา เราต้องการสัจจะ ปัญญาตามความเป็นจริง ถ้าสัจจะ ปัญญาที่ตามความเป็นจริงขึ้นมา เราจะค้นคว้าอย่างนี้กัน เรามาประพฤติปฏิบัติเพื่อเหตุนี้ ถ้าเพื่อเหตุนี้ มันต้องมีพื้นฐานมา คนมีพื้นฐานมานะ ทำสิ่งใดนะ มันเป็นไปในทางเดียวกัน คนที่ไม่มีพื้นฐานมา มันเห็น ความรู้ไม่เท่ากัน
ศีล สมาธิ ปัญญา ศีลก็เป็นศีลขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาพระเราตั้งแต่เศรษฐีกุฎุมพี ทุคตะเข็ญใจมาบวชในพระพุทธศาสนา มีสิทธิเสรีภาพเท่ากัน จะมาจากชาติตระกูลใดก็แล้วแต่ บวชเป็นพระสงฆ์แล้วคือพระสงฆ์ คือศากยบุตรพุทธชิโนรส เป็นบุตรขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหมือนกัน แล้วเวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ถ้าปฏิบัติตามความเป็นจริง เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า ภิกษุอยู่ใกล้เรา แต่ไม่ปฏิบัติตามเรา เหมือนอยู่ไกลเรา ภิกษุอยู่ถึงภาคตะวันตก อยู่ไกลสุดขอบฟ้าเลย แต่เขาประพฤติปฏิบัติตามเรา เหมือนอยู่ใกล้เรา
นี่ไง ถ้ามันประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริง ประพฤติปฏิบัติด้วยหัวใจ ไม่ใช่ปฏิบัติโดยกิเลส ด้วยความแบ่งแยก ถ้าด้วยความแบ่งแยก ศีล ถึงว่ามีศีลบังคับไว้ ธรรมและวินัยๆ ศีลบังคับไว้ แล้วเราปฏิบัติตามนั้น
ศีลทุกข้อ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบัญญัติขึ้นมาเพื่อความเป็นอยู่สุขสบายของคณะสงฆ์ เพื่อปราบปรามคนหน้าด้าน เพื่อส่งเสริมผู้ประพฤติปฏิบัติ ส่งเสริมความเป็นจริง แล้วเพื่อคนที่ไม่ศรัทธาให้ศรัทธา คนที่ศรัทธามากอยู่แล้วให้ศรัทธามากขึ้น แล้วการประพฤติปฏิบัติให้เสมอต้นเสมอปลายเพื่อความเป็นจริง
ธรรมวินัยทุกข้อถึงที่สุดแล้วให้พ้นจากทุกข์หมด แต่เรามองข้าม เราไม่เห็นคุณค่า ไม่เห็นประโยชน์มัน เราก็ย่ำยีของเราไปเรื่อย นี่ความรู้ไม่เท่ากันๆ ไง เราถึงหาหมู่คณะ สัปปายะ ๔ หมู่คณะเป็นสัปปายะ ครูบาอาจารย์เป็นสัปปายะ อาหารเป็นสัปปายะ ที่อยู่เป็นสัปปายะ ถ้าเราแสวงหาสิ่งนั้นได้ เราก็ประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริง ถ้าประพฤติตามความเป็นจริง
ครูบาอาจารย์ของเรา หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านบอกว่า ทำความสงบของใจเข้ามาก่อน ถ้าคนเรานะ เวลาทำสมาธิให้ได้ ศีล สมาธิ ถ้าจิตใจมันร่มเย็นเป็นสุข จะทำสิ่งใดมันก็ทำเป็นชิ้นเป็นอัน จิตใจของเรามีแต่ความเร่าร้อน ทำสิ่งใดเราก็ทำตามหน้าที่
เวลาบวชมา เราบวชมาแล้ว กิเลสมันแผดเผาในหัวใจ เรามีข้อวัตรปฏิบัติเป็นเครื่องอยู่ มันก็แผดเผาเราน่ะ การแผดเผา เวลาทำโดยกิเลสแผดเผา มันจะสงบร่มเย็นไหม ฉะนั้น เวลาไม่สงบร่มเย็น มันอึดอัดขัดข้องไปหมดเลย เวลาพระออกธุดงค์ๆ ไป เวลาธุดงค์ไปก็หาใจของตัวนี่แหละ ถ้าหาใจของตัวเจอด้วยคำบริกรรมพุทโธ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าจิตมันสงบเข้ามา จิตสงบเข้ามา มันมีความสุขมีความสงบ สุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบไม่มี ถ้าจิตสงบขึ้นมาแล้ว เรามีคุณค่าแล้ว
ตั้งแต่บวชมานะ บวชมาตามประเพณีวัฒนธรรม บวชมาเพราะเห็นภัยในวัฏสงสาร บวชมาเพื่อจะประพฤติปฏิบัติ แต่ก็ยังประพฤติปฏิบัติโดยจับต้นชนปลายไม่ได้ นี่ความรู้ไม่เท่ากัน ความรู้ไม่เท่ากัน มีมุมมองแตกต่างกัน เวลาพูดธรรมะกันก็เถียงกันปากเปียกปากแฉะ
แต่เวลาถ้าผู้ที่ประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริง ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ การสนทนาธรรมโดยที่มีครูบาอาจารย์ของเรา มีพระผู้ที่ประพฤติปฏิบัติได้แนวทางมา แล้วสนทนาธรรมกัน ท่านคอยชักจูงเรา ท่านคอยบอกแนวทางเรา ท่านคอยบอก เห็นไหม สนทนาธรรมเพื่อหามุมมองหาแนวทาง
แต่ถ้าสนทนาธรรมกันโดยทิฏฐิมานะ โดยทิฏฐิมานะ โดยการชักนำ โดยความรู้ไม่เหมือนกัน ความเห็นไม่เหมือนกัน มันไม่มีประโยชน์อะไร นี่หมู่คณะไม่เป็นสัปปายะ ครูบาอาจารย์ไม่เป็นสัปปายะ
ถ้าเป็นสัปปายะ เราสนทนาธรรมกันเพื่อประโยชน์ในการประพฤติปฏิบัติ แล้วเราก็ปฏิบัติให้ตามความเป็นจริงของเรา ถ้าเราประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริง เราได้จริง เราจะวัดค่าได้เลยว่าครูบาอาจารย์ของเราหรือหมู่คณะที่สนทนาธรรมกันมันถูกหรือผิด
สนทนาธรรมกัน ยกย่องสรรเสริญกัน ยกย่องเยินยอกัน นี่หมู่คณะของเขา ความเห็นของเขา มันเป็นความจริงหรือเปล่าล่ะ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ เขาเยินยอสรรเสริญกัน เขาว่าเป็นศาสดา เขาเป็นกลุ่มชนที่ว่าเขาพ้นจากทุกข์กัน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษากับเขามาหมดแล้ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปฏิเสธหมดเลย
ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เวลาเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ถ้าความรู้ไม่เท่ากันๆ เขาจะเอาความรู้อะไรมา ถ้าความรู้ ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมะเป็นธรรมชาติ มันเป็นสาธารณะอยู่แล้ว ใครๆ ก็ศึกษาได้ ใครๆ ก็วิเคราะห์วิจารณ์ได้ แต่เป็นความจริงหรือเปล่าล่ะ
ถ้าเป็นความจริงขึ้นมา ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สาธุ อยู่ในตู้พระไตรปิฎกไว้ก่อน แล้วความจริงของเราล่ะ ความจริงของเราล่ะ ความจริงที่ประพฤติปฏิบัติ ความจริงนี้ ถ้าประพฤติปฏิบัติความจริงขึ้นมา เวลาหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ท่านบอกให้ทำความสงบของใจเข้ามา พุทโธก็ได้ ปัญญาอบรมสมาธิก็ได้ถ้าจิตสงบเข้ามา ถ้าจิตสงบเข้ามา ความที่จิตสงบเข้ามามันเห็นคุณค่า มันเห็นคุณค่าอะไร? ปฏิสนธิจิต
เรายังปฏิบัติไม่ถึงที่สุดแห่งทุกข์ เราจะไม่เห็นคุณค่าของมันเหมือนกับครูบาอาจารย์ที่ท่านปฏิบัติมาจนถึงที่สุดแห่งทุกข์ เพราะอะไร เพราะปฏิสนธิจิตมันเวียนว่ายตายเกิด ไอ้ที่ว่าเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะๆ ไอ้ตัวนี้เอง ภวาสวะ ไอ้ภพนี้ จิตใต้สำนึก ฐีติจิต มันเวียนว่ายตายเกิดด้วยความไม่รู้ของมันๆ ถ้าครูบาอาจารย์ท่านประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ท่านถึงที่สุดแห่งทุกข์แล้ว ท่านเห็นคุณค่ามาก เหมือนเราเริ่มต้นปฏิบัติ ที่ว่าท่านบอกว่าให้ทำความสงบของใจเข้ามา ให้ใจสงบเข้ามาก่อน ถ้าใจสงบเข้ามาก่อนนะ มันก็จะเป็นสมบัติของใจดวงนั้น ใจดวงใดก็แล้วแต่ ทำใจสงบเข้ามา เห็นคุณค่าแล้ว เห็นคุณค่าเพราะมันสงบ มันเป็นความจริง
ทางโลกเขาทำหน้าที่การงานกัน เขาเป็นเศรษฐีมหาเศรษฐีโลกกันนะ เขามีเงินมีทองท่วมท้นเลย ชีวิตเขามีค่าขนาดไหน แต่ถ้าเราประพฤติปฏิบัตินะ เรากำหนดพุทโธ จิตเรา เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ แค่จิตเราสงบเข้ามา มันมีคุณค่ามากกว่าข้าวของเงินทองที่ท่วมท้นชีวิตเขาอีก เพราะอะไร เพราะเขาเห็นแต่เงินแต่ทอง เขาเห็นแต่ธาตุ แร่ธาตุที่สมมุติกันเป็นเงินเป็นทอง แต่ของเรา เราเห็นใจของเรา จิตสงบเข้ามา จิตมันสงบเข้ามา
ทำความสงบของใจเข้ามาก่อน ถ้าใจสงบเข้ามา ใจสงบแล้วรักษามัน ถ้าใจสงบแล้วนะ ใจสงบแล้วมีความสุข มีความสุขแล้วอยากได้อยากดี อยากจะมีความสุขอย่างนี้ ความอยากได้อยากดีอย่างนี้มันเป็นตัณหาความทะยานอยาก แต่เวลาเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เรามีเป้าหมาย แล้วเราพยายามบริกรรมของเรา เรามีเป้าหมายจะพ้นจากทุกข์ แล้วเราวางไว้ แล้วกำหนดพุทโธๆ แล้วใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ถ้ามันเป็นจริง มันสงบได้
แต่ถ้าเราอยากได้อยากดี นี่ตัณหาซ้อนตัณหา ที่บอกว่ามีความอยากปฏิบัติไม่ได้ มีความอยากปฏิบัติไม่ได้
เรามีความอยาก อยากพ้นทุกข์ แต่เวลาปฏิบัติให้มันเป็นมัชฌิมาปฏิปทา ให้มันสมดุลของมัน เราบริกรรมพุทโธ ถ้าวันไหนเราเผลอ เราอยากได้ วันนั้นจะทำสมาธิไม่ได้ มันก็ลุ่มๆ ดอนๆ อย่างนั้นน่ะ มันเกินๆ เลยๆ อยู่อย่างนั้นน่ะ พุทโธก็เกินไป ล้นไป มันไม่พอดีหรอก แต่ถ้าวันไหนเราปฏิบัติโดยมัชฌิมาปฏิปทา เราพุทโธก็พุทโธออกมาจากหัวใจ ถ้าใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ก็คิดในปัจจุบันนี้ เห็นไหม มันไม่เลย มันไม่เกินไม่เลยไป ไม่ใช่ตัณหา
เราอยากพ้นทุกข์ เราอยากประพฤติปฏิบัติ เราอยากในเหตุ ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ มันต้องมีเหตุและมีปัจจัย ถ้ามันมีเหตุขึ้นมา เรากำหนดพุทโธ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ จิตมันต้องสงบเข้ามาได้ ถ้าเรามีความขยันมีความหมั่นเพียรของเรา เพราะเรามีเป้าหมายพ้นทุกข์นะ เราไม่ใช่มีเป้าหมายมาปฏิบัติเพื่อเอาคะแนนกับใคร เรามีเป้าหมายว่า เราอยากได้สัจจะ ได้ความจริง ใครจะพูดอย่างไร ใครจะสรรเสริญเยินยอ ใครจะยกย่องขนาดไหน มันเรื่องของเขา ไม่ใช่เรื่องของเรา เพราะใจเรายังไม่มีความจริงในหัวใจของเรา
ถ้าต้องการความจริงในหัวใจของเรา เราพุทโธๆ ของเรา พุทโธของเรา ใช้ปัญญาอบรมสมาธิของเรา ถ้ามันสงบเข้ามา มันต้องสงบ มันต้องสงบแน่นอน มันจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ ที่มันไม่เป็นอย่างที่เราปรารถนาก็เพราะเรามักง่ายไง เพราะเราเป็นคนไม่จริงไง เพราะเราทำแล้วมันไม่จริงจังกับการกระทำของเราไง ถ้าเราทำความจริงจังกับการกระทำของเรา พุทโธๆ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ มันต้องสงบได้
พอสงบแล้ว มันสงบเพราะเหตุใด เราตั้งอารมณ์อย่างใด เรากำหนดอย่างไรมันถึงสงบเข้ามา ถ้าสงบเข้ามา เราจำอารมณ์นี้ไว้ คราวหน้าเราทำอย่างนี้อีก พอทำอย่างนี้อีก มันก็อดีตอนาคต อยากได้อยากดี ไม่ได้ ไม่ลงสู่ความสงบนี้ ถ้าใครทำความสงบได้ ใครทำสมาธิได้โดยที่มีสติปัญญานะ นี่ความรู้เท่ากัน คนทำสมาธิได้กับคนทำสมาธิได้ คุยกันรู้เรื่อง
คนหนึ่งทำสมาธิได้ กับเราไม่เคยทำสมาธิเลย เราไปฟังคนที่ทำสมาธิพูดให้เราฟัง เราไม่เข้าใจนะ เราไม่เข้าใจหรอก แล้วคนที่พูดสมาธิ เขาก็พูดของเขาว่าเขาได้สมาธิๆ จริงหรือปลอมก็ยังไม่รู้เลย เพราะไม่มีใครรู้จริง
แต่ถ้ามีคนรู้จริงนะ คนที่ทำสมาธิได้กับคนที่ทำสมาธิได้ เขาคุยกันรู้เรื่อง ถ้าความรู้เท่ากัน ไม่มีปัญหาเลย ความรู้ไม่เท่ากัน มีปัญหาไปทั้งหมด แล้วถ้าความรู้ไม่เท่ากัน เราไม่อยากเอามาเป็นปัญหาของเรา เราวางไว้ก่อน เราก็อยากจะทำให้มันเท่ากันนี่แหละ มันอยากจะทำให้เป็นความจริงขึ้นมา
ถ้าคนที่ปฏิบัติได้ จิตมันสงบแล้วเรารักษาไว้ รักษาจิตสงบแล้วฝึกหัด น้อมไปที่กาย น้อมไป ถ้าคนมีอำนาจวาสนา จิตสงบแล้ว มีอำนาจวาสนานะ บางคนพอจิตสงบแล้ว กายจะมาให้เห็นเลย หนเดียว ถ้าหนเดียวแล้วคราวต่อไปล่ะ ถ้ามันมีหนเดียว มันเห็นหนเดียวไม่ได้ พอเห็นหนเดียวแล้วหนต่อไปล่ะ เราต้องรำพึงแล้ว บางคนไม่เห็นเลย หนเดียวก็ไม่มา หนเดียวก็ไม่มี
สงบก็คือสงบ ถ้าสงบต้องรำพึง รำพึงไปสู่กาย สู่เวทนา สู่จิต สู่ธรรม ถ้าเรารำพึงไปสู่กาย สู่เวทนา สู่จิต สู่ธรรม จิตสงบแล้วเราจะยกขึ้นสู่วิปัสสนา ในเมื่อสู่วิปัสสนา เรายกขึ้นสู่วิปัสสนาด้วยใช้ปัญญา ปัญญาของเรานะ พิจารณากาย ถ้าเป็นเจโตวิมุตติ พิจารณากาย ตั้งภาพกายขึ้นมา รำพึงให้มันเป็นอย่างไรก็ได้ ให้มันแปรสภาพอย่างไรก็ได้ ถ้ากำลังมันพอ มันเป็นหมด ถ้ากำลังไม่พอ มันไม่ไป ถ้าจิตเราทำความสงบของใจขึ้นมา รำพึงไปที่กายได้ แต่กายนี้ตั้งอยู่ไม่ได้ นี่กำลังของจิตมันไม่พอ
แม้แต่ตั้งภาพขึ้นมามันยังไหว ตั้งภาพขึ้นมามันยังตั้งกับเราไม่ได้ คนที่จะประพฤติปฏิบัติ สติต้องมีพร้อมขนาดนี้ บุคคลคู่ที่ ๑ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ถ้าบุคคลคู่ที่ ๑ มันจะต้องมีความเห็นเหมือนกัน
ในความเห็นทางโลก ในความเห็นของในสังคม ในความเห็นต่างๆ ต่างจิตต่างใจ จะไม่มีสิ่งใดเสมอกัน ไม่มีสิ่งใดเท่ากัน แต่ถ้าในการประพฤติปฏิบัติเข้าสู่อริยสัจ บุคคล ๔ คู่ ความเสมอกันของโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล นี่เสมอกัน รู้เท่ากัน
จะมาจากแนวทางไหน จะประพฤติปฏิบัติมาในแนวทางไหน จะมีอำนาจวาสนามาขนาดไหน จะมีจริตนิสัยอย่างใดก็แล้วแต่ วิธีการ การกระทำเข้ามาแตกต่างกัน แต่ผลของมัน โสดาบันคือโสดาบัน โสดาบันจะในแนวทางใดก็แล้วแต่ ก็คือโสดาบัน สกิทาคามีก็ต้องเป็นสกิทาคามี อนาคามีก็ต้องเป็นอนาคามี พระอรหันต์ก็ต้องเป็นพระอรหันต์เหมือนกัน คำว่า เหมือนกัน นี่ความรู้เท่ากัน ความรู้เหมือนกัน มันถึงกลั่นออกมาจากอริยสัจอันเดียวกัน
แต่ถ้าความรู้ไม่เท่ากัน ความรู้ไม่เหมือนกัน มันไม่รู้เท่ามันถึงมีปัญหา เพราะไม่รู้เท่า มันจึงเข้าสู่อริยสัจไม่ได้ ถ้ามันจะเข้าสู่อริยสัจ เข้าสู่สัจจะความจริง นี่ไง เราประพฤติปฏิบัติกันอยู่นี่ เราจะเอาความจริง ถ้าเรามีครูบาอาจารย์ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านบอกไว้แล้ว ให้ทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าใจมันสงบแล้ว สิ่งที่ใจสงบ ใจสงบนะ เวลาเข้าสู่ปีติ คำว่า เข้าสู่ปีติ บางคนรู้วาระจิตของคนได้ บางคนเหาะเหินเดินฟ้าอากาศได้ บางคนรอบรู้สิ่งต่างๆ ได้ บางคนสงบเฉยๆ สิ่งอย่างนี้มันไม่ใช่อริยสัจ มันไม่ใช่การยกขึ้นสู่วิปัสสนา มันเป็นกำลังของใจ มันเป็นกำลังของใจ มันเป็นอภิญญา ความเป็นอภิญญาคือว่ากำลังของใจที่มันรู้มันเห็น ความรู้เห็นอย่างนี้ไม่ใช่อริยสัจ ความรู้ความเห็นอย่างนี้ไม่ใช่มรรค
ถ้าความเห็นเป็นมรรค จิตมันสงบแล้ว ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ แค่ความสงบของใจ เราต้องการความสงบของใจ เราต้องการกำลัง เราต้องการความองอาจกล้าหาญของหัวใจนี้ หัวใจ ดูสิ เวลาจิตสงบเข้ามาแล้ว ครูบาอาจารย์ท่านเห็นคุณค่าของมัน เพราะปฏิสนธิจิต การเวียนว่ายตายเกิดไง เพราะเราจะไม่เวียนว่ายตายเกิด แล้วต้นเหตุการเวียนว่ายตายเกิดก็ปฏิสนธิจิตนี้ แล้วปฏิสนธิจิตนี้เวลาสงบเข้ามาถึงตัวมันเอง แล้วทำงานเป็นไหม นี่พระพุทธศาสนา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนที่นี่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สอนถึงว่าภาวนามยปัญญา ปัญญาการถอดถอน ปัญญาการชำระล้าง ปัญญาการถอดถอนให้จิตใจนี้พ้นจากการครอบงำของอวิชชา
แล้วการครอบงำของอวิชชา อวิชชา ตระกูลของมัน มีปู่คืออวิชชา มีพ่อมันคือกามราคะ มีลูกคืออุปาทาน แล้วมีหลาน หลานมันก็สักกายทิฏฐิ ความเห็นผิด มันเป็นครอบครัวของมัน ถ้าเป็นครอบครัวของมัน ความครอบครัว เราจะต่อสู้แต่ละแขนงเข้าไปเพื่อจะชำระล้างหัวใจของเรา
เวลาชำระล้าง ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ เวลาสนทนาธรรมๆ การสนทนาธรรมกับครูบาอาจารย์ที่สนทนาธรรม เพื่อมุมมอง เพื่อตรวจสอบกัน เพื่อประโยชน์กับสังฆะ เพื่อประโยชน์กับสังคม เพื่อประโยชน์กับการประพฤติปฏิบัติ นี่มันเหมือนกัน มันรู้เท่ากัน ความรู้เท่ากัน ยอมรับกัน ครูบาอาจารย์ท่านสนทนาธรรมกัน ท่านรู้ถึงภูมิธรรมของแต่ละองค์ๆ ว่าใครมีภูมิธรรมมากน้อยขนาดไหน
อยู่ด้วยกัน ครูบาอาจารย์เราอยู่ด้วยกัน ลูกศิษย์หลวงปู่มั่นเหมือนกันอยู่ด้วยกัน มันคุยกันทุกวัน ทำไมมันไปขโมยธรรมะของคนอื่นมาไม่ได้ล่ะ องค์นี้ท่านพูดถึงที่สุดแห่งทุกข์ ไอ้เรายังประพฤติปฏิบัติใหม่ ก็นั่งฟังนั่งคุยทุกวัน ทำไมมันไม่ได้คุณธรรมอันนั้นมาล่ะ นี่ไง ความเห็นไม่เหมือนกัน ความรู้ไม่เท่ากัน เพราะความรู้ รู้ในทางปริยัติ ความรู้ รู้ได้จากการฟัง ความรู้ได้จากสัญญา ไม่ใช่ความรู้จากการประพฤติปฏิบัติตามความจริงของเราขึ้นมาไง เราถึงต้องปฏิบัติตามความจริงของเราขึ้นมา
เราไม่ต้องไปคิดว่าจะเหมือนคนนั้น ไปคิดว่าจะเอาจากธรรมะของครูบาอาจารย์องค์ใดมาแล้วก็จะเป็นสมบัติของเรา เวลาเราฟังท่าน เวลาท่านสนทนาธรรมกันให้เราได้ยินเป็นบุญหู เราฟังไว้ให้ตาพองไว้ ให้เราอยากได้อยากดี ให้เราอยากกระทำอย่างนั้น มันฟังเพื่อเหตุนี้ แล้วเราก็กลับเข้าไปสู่ทางจงกรม เราก็กลับไปสู่การนั่งสมาธิ เราก็ต้องกลับไปสู่หัวใจของเรา หัวใจของเราต่างหากที่มันจะได้มรรคได้ผลขึ้นมา
เราฟังมาเพื่อความชุ่มชื่นหัวใจไง ให้เห็นว่าครูบาอาจารย์ของเราท่านเดินนำหน้าเราไปแล้ว ท่านทำของท่านได้แล้ว มันเป็นการยืนยันว่ามรรคผลมันมีอยู่จริงไง ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติจริงก็ได้ตามความเป็นจริง ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ครูบาอาจารย์เราท่านปฏิบัติสมควรแก่ธรรมด้วยความมุมานะ ด้วยความบากบั่นของท่าน ท่านทำสมควรแก่ธรรม ท่านได้รสของธรรม แล้วท่านสนทนาธรรม เราได้นั่งฟังอยู่ด้วย มันก็เป็นสิ่งที่ให้เรามีความกระหาย มีการกระทำ ไม่อย่างนั้นพวกเราก็หงอยเหงาเศร้าสร้อย ปฏิบัติธรรมก็ไม่มีใครส่งเสริมเลย ปฏิบัติธรรมก็ไม่มีใครดูแลเลย
ไม่มีใครจะทำให้ได้หรอก มันก็ต้องทำเองทั้งนั้นน่ะ เวลาเกิดมาก็เกิดมาคนเดียว ถ้าเกิดมาแฝดก็สองคน เวลาแฝด ถ้าเป็นคู่แฝดก็เกิดคนละเวลา มันไม่มีใครเกิดมาด้วยกันหรอก ก็เกิดมาคนเดียว เวลาตายก็ตายคนเดียว แล้วจะได้นิพพานก็นิพพานของหัวใจเราได้ แล้วมันจะมีใครทำให้ล่ะ
แต่เราเกิดมาด้วยอำนาจวาสนา เกิดมาช่วงสังคมกำลังยกย่อง สังคมกำลังประพฤติปฏิบัติกัน แล้วมีครูมีอาจารย์ เกิดร่วมสมัยกับครูบาอาจารย์ มันมีบุญวาสนาอยู่แล้ว แล้วเรามีวาสนาแล้วเราต้องรีบขวนขวายให้เอาเป็นความจริงของเราสิ เวลาเราฟังมา ฟังมาเป็นคติธรรม ไม่ใช่ฟังแล้วจะเป็นสมบัติของเรา เป็นไปไม่ได้หรอก
ศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เป็นธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมและวินัยเป็นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา นิมนต์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ในตู้พระไตรปิฎกก่อน แล้วเราประพฤติปฏิบัติเอาความจริงขึ้นมา ถ้าเป็นสมาธินี่ตัวสมาธิเลย ไม่ใช่อ่านมาว่า ส. เสือ ม. ม้า สระอา ธ. ธง สระอิ ไม่ใช่
สมาธิคือความร่มเย็นเป็นสุขในใจนี้ เวลาเกิดปัญญาขึ้นมา อ๋อ! ภาวนามยปัญญามันเป็นอย่างนี้เอง ถ้ามันเป็นอย่างนี้เองนะ หลุดมือไปแล้ว เพราะอะไร เพราะมันไม่เป็นปัจจุบันแล้ว เราก็ต้องมาฟื้นฟูกันใหม่ ต้องมาตั้งสติกันใหม่ ตั้งสติแล้วทำของเราไป นี่ไง ทำแล้วทำซ้ำทำซาก ถ้าจิตมันสงบแล้วเราพิจารณาของเรา พิจารณาซ้ำพิจารณาซาก เวลามันปล่อย ปล่อยขนาดไหนก็คือปล่อย ถ้าปฏิบัติใหม่ๆ ไม่รู้เรื่อง พอปล่อยแล้วมันเวิ้งว้างก็แปลกประหลาดมหัศจรรย์ ไปไม่เป็นนะ หันรีหันขวาง เดินไม่ถูก แล้วก็มาให้ค่าตัวเอง พอปล่อยหนหนึ่งก็เป็นโสดาบัน พอปล่อยหนที่สองก็เป็นสกิทาคามี ปล่อยหนที่สามก็เป็นอนาคามี ปล่อยหนที่สี่ว่าเป็นพระอรหันต์ไปแล้ว ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้อะไรเลยนะน่ะ กิเลสมันทั้งครอบครัวเลย ตั้งแต่หลานมัน ลูกมัน พ่อมัน ปู่มัน มันสุมหัวกันหัวเราะเยาะเลยว่า โอ๋ย! ไอ้ปฏิบัติหน้าโง่ มันไม่รู้จักเราเนาะ เราหลอกมัน มันยังล้มกลิ้งล้มหงายอยู่นั่นเลย นี่ครอบครัวกิเลสมันหัวเราะเยาะอยู่เลย
แต่เราพิจารณาปล่อยๆ เราว่า ปล่อยหนหนึ่งได้โสดาบัน ปล่อยหนที่สองได้สกิทาคามี ปล่อยหนที่สามได้อนาคามี ปล่อยหนที่สี่ก็ได้เป็นพระอรหันต์
เวลาคนเขาทำงาน เขาทำจบแล้ว ถ้าเขาทำโครงการใหม่ เขาทำโครงการใหม่ของเขา ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เราทำงาน เราทำงานของเรา บากบั่นนะ เริ่มต้นตั้งแต่ตั้งใจจะประพฤติปฏิบัติ แล้วพยายามของเรา ขวนขวายของเรา ทำจนจิตมันสงบเข้ามาได้ แล้วถ้ามีอำนาจวาสนามันจะเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง มันเห็นจริงกับเห็นปลอม เห็นปลอมเห็นโดยอุปาทาน เขาบอกเห็นนิมิตๆ นั่นน่ะเห็นปลอม
ถ้าเห็นจริง เห็นจริงก็เป็นนิมิตเหมือนกัน ถ้าเห็นเป็นนิมิต แต่มันมีสติสัมปชัญญะ มันเป็นปัจจุบัน มันเห็นเป็นปัจจุบันแล้วจิตมีกำลัง รำพึงให้เป็นอย่างใดเป็นได้อย่างนั้น ให้ย่อยสลายอย่างไร ย่อยสลายอย่างนั้น ให้พุพองอย่างใด ได้เป็นอย่างนั้น ให้ทำลายตัวเองอย่างใดก็ได้อย่างนั้น พอได้อย่างนั้น แล้วจิตเป็นคนดูอยู่ จิตเป็นคนดูอยู่ จิตที่เป็นดู ดูสิ่งที่มันเป็นต่อหน้า ที่มันเป็นไตรลักษณ์ ไตรลักษณะที่มันเป็นขึ้นมา แล้วมันเป็นขึ้นมาจากไหนล่ะ
เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมและวินัยนี้ไว้ เราศึกษามาจนหัวแทบระเบิด อ่านมา ศึกษามา ค้นคว้ามา จนจำจนฟั่นเฝือ แต่เวลาทำขึ้นมามันเป็นปัจจุบัน มันเป็นสมบัติของเรา มันเป็นจริงๆ มันเป็นจริงๆ อ๋อ! ไตรลักษณะมันเป็นอย่างนี้ มันเป็นอย่างนี้ แล้วมันเป็นอย่างนี้มันปล่อย มันปล่อย
เวลาปล่อยแล้วปล่อยเล่า นี่ตทังคปหาน มันอยู่ที่อำนาจวาสนา ขณะมันปล่อย พอปล่อยแล้ว ปล่อยแล้วจะมีครูบาอาจารย์ให้ซ้ำ เพราะพอปล่อยแล้ว ทำสมาธิมันยังเจริญแล้วเสื่อม เราใช้ปัญญาไปแล้ว เวลามันปล่อยแล้วจะทำซ้ำสอง หันรีหันขวางเหมือนกัน มันไม่มีแล้วล่ะ พิจารณาแล้วมันปล่อยวางหมดเลย
มันไม่มีแล้วใครพูดล่ะ มันไม่มีแล้วสังโยชน์มันอยู่ไหนล่ะ มันไม่มีแล้วอะไรมันสงสัยอยู่ล่ะ
มันไม่สงสัยหรอก มันว่างหมดเลย
ว่าง ใครเป็นคนพูดล่ะ ใครเป็นคนบอกล่ะ ถ้ามันมีสตินะ สติยับยั้งสติแล้วใคร่ครวญสักหน่อยนะ มันจะไปได้ แล้วสำคัญที่มีครูบาอาจารย์ ถ้าครูบาอาจารย์ท่านเป็นจริงนะ ขณะจิต ขณะจิตคนไม่เคยเห็น พูดขณะจิตไม่ถูก ถ้าขณะจิตมันเป็นจริง ขณะจิตนะ ขณะจิตที่มันเปลี่ยนจากปุถุชนเป็นกัลยาณปุถุชน โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติมรรค ถ้าเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม เราเดิมมรรค แต่มันไม่จบกระบวนการของมัน มันไม่จบกระบวนการของมัน มันเป็นตทังคปหาน เจริญแล้วเสื่อม
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา เป็นไตรลักษณ์ เป็นอนัตตา ไปรู้ไปเห็นไปหมดเลย แล้วเวลาศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ศึกษามาแล้ว ฟังครูบาอาจารย์พูดก็รู้หมดแล้ว แล้วเราก็เห็นจริงๆ ด้วย แล้วมันก็ปล่อยจริงๆ ด้วย
ตอนที่จิตมันเจริญ จิตมีสติมีปัญญา มันก็ร่มเย็นเป็นสุข แล้วภูมิใจ ถ้าจิตมันโดนกระทบด้วยอารมณ์ที่รุนแรง โดนสิ่งใดกระทบ เวลามันร้อน เวลามันเสื่อมนะ มันร้อนจนจะทำลายตัวเองน่ะ ถ้ามันยังไม่สมุจเฉทฯ ถ้าไม่สมุจเฉทฯ ไว้ใจไม่ได้
ความรู้ไม่เท่ากัน พูดอย่างไรมันก็ไม่เหมือนกัน แต่ถ้าพิจารณาซ้ำพิจารณาซาก เวลามันขาด กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ แล้วพิจารณาไปแล้ว ถ้าพิจารณากาย กายเวิ้งว้าง แยกออกจากกันได้หมด กายแยกไป จิตแยกไป จิตรวมลง ถ้ามันเห็นความเป็นจริง นี่ไง ความรู้เท่ากัน พระโสดาบัน จะพิจารณากาย จะพิจารณาจิต จะพิจารณาธรรม จะพิจารณาสิ่งใดก็แล้วแต่ จะเป็นปัญญาวิมุตติ เจโตวิมุตติ จะปฏิบัติอย่างไรก็แล้วแต่ พระโสดาบันก็คือพระโสดาบัน พระโสดาบันมันจะมีโสดาบันสูง โสดาบันต่ำที่ไหน พระโสดาบันก็คือพระโสดาบัน ถ้ามันเหมือนกัน ถ้าความรู้เท่ากัน ไม่มีปัญหา ไม่มีปัญหา
ที่มีปัญหาคือรู้ไม่เหมือนกัน รู้ไม่เท่ากัน รู้แตกต่างกัน ถ้ารู้แตกต่างกัน มันมีผิดอยู่คนหนึ่งแน่นอน ถ้าสองคนมีความเห็นแตกต่าง ต้องคนหนึ่งถูกและคนหนึ่งผิด หรือว่าผิดทั้งสองคนเลย เพราะไม่มีใครรู้จริงสักคนหนึ่ง แต่ถ้าปฏิบัติตามความเป็นจริง ปัจจัตตัง สัณทิฏฐิโก มันไม่รู้จริงตรงไหน ถ้ามันไม่รู้จริง มันสำรอกคายอย่างไร ถ้ามันรู้จริง นี่ความรู้เท่ากัน ความรู้เสมอกัน นี่บุคคลคู่ที่ ๑
ถ้าบุคคลคู่ที่ ๒ บุคคลที่ ๑ เหมือนกัน แต่จะยกขึ้นสู่บุคคลคู่ที่ ๒ ถ้าบุคคลคู่ที่ ๒ เวลาหลานนะ เราได้ฆ่าหลาน ได้ฆ่ากิเลส องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การเบียดเบียน การกระทบกระเทือนกัน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกเวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร ไม่จองเวรไม่จองกรรม ไม่ให้เบียดเบียนกัน ไม่ให้ทำลายกัน ไม่ให้ทำกระทบกระเทือนกัน ให้เสียสละต่อกัน ให้มีความเมตตาต่อกัน ให้สามัคคีต่อกัน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนามากเลย
แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชมเชย ชมเชยการฆ่ากิเลส เพราะการฆ่ากิเลส คือการตัดป่า ตัดป่าทั้งหมด แต่ไม่ตัดต้นไม้แม้แต่ต้นเดียว การตัดป่า ป่ารกชัฏด้วยอวิชชา ด้วยตัณหาความทะยานอยาก เราได้ถางจนโล่งจนเตียน แต่ไม่ได้ตัดต้นไม้แม้แต่ต้นเดียวเลยล่ะ เห็นไหม การฆ่ากิเลส องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสรรเสริญ
นี่ไง เวลาถ้าหลานมันตาย ตาย เราก็รู้ว่าตาย นี่มันเสมอกัน แต่ถ้าจะยกขึ้นสู่ สกิทาคามิมรรคล่ะ ถ้ายกขึ้นสู่สกิทาคามิมรรค ทำความสงบของใจให้มากขึ้น กำลังสมาธิต้องแข็งแรงขึ้น นี่หลานมัน หลานมันก็ตัวเล็กๆ หลานมันไร้เดียงสา ไม่มีความสามารถมากขนาดไหน แต่เวลาเป็นลูกล่ะ ลูกมันชักแข็งแรงแล้ว ลูกมันชักเล่ห์เหลี่ยมเยอะ เราจะทำสมาธิขึ้นมา สมาธิต้องสูงขึ้น นี่บุคคล ๔ คู่ บุคคลคู่ที่ ๑ เสมอกัน แล้วจะขึ้นบุคคลคู่ที่ ๒ ถ้าขึ้นบุคคลคู่ที่ ๒ วิธีการจะขึ้นสู่บุคคลคู่ที่ ๒ เล่ห์กลของมัน มันลึกลับซับซ้อนกว่า
การลึกลับซับซ้อนอย่างนั้น เวลาปฏิบัติมาแต่ละคน แต่ละแนวทาง คนละแนวทาง ความถนัดไม่เหมือนกัน นี่รู้ไม่เท่ากัน รู้ไม่เหมือนกัน มันก็มีมุมมอง มีแง่มุมของมัน คำว่า แง่มุม อย่างนี้ ระหว่างการประพฤติปฏิบัติ เวลาเราประพฤติปฏิบัติ เราเร่งความเพียรอยู่ แง่มุมนี้ไม่มีปัญหา ความรู้แตกต่าง ความรู้ไม่เหมือนกันเพราะอะไร เพราะมันเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ เวลาพิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต พิจารณาธรรม การพิจารณาแต่ละเหตุการณ์ แต่ละความหมายมันแตกต่าง
ความพิจารณาโดยแตกต่างไม่ถือว่าเป็นความเสียหาย ความพิจาณาโดยความแตกต่าง แต่พิจารณาแล้วพิจารณาเล่า เพราะกิเลสมันลึกลับซับซ้อนของมัน ถ้ากิเลสลึกลับซับซ้อนของมัน นี่รู้ไม่เท่ากัน รู้ไม่เหมือนกัน เพราะมันมีจริตนิสัย รู้ไม่เท่ากัน รู้ไม่เหมือนกันเพราะว่าอำนาจวาสนาของคน รู้ไม่เท่ากัน รู้ไม่เหมือนกันเพราะการกระทำ เวลาจิตมันเจริญ จิตมันเสื่อม กำลังมันแตกต่างกัน ความรู้ไม่เท่ากัน ความรู้ไม่เหมือนกันระหว่างการประพฤติปฏิบัติ ระหว่างเดินมรรคไม่มีความเสียหาย
สิ่งที่รู้ไม่เท่ากัน รู้ไม่เหมือนกัน รู้ไม่เท่ากัน เวลาคุยธรรมะกัน เวลาผู้ที่ปฏิบัติเป็นโสดาบันขึ้นมาด้วยกัน แล้วเวลาจะยกขึ้นสู่สกิทาคามิมรรค เวลาพูด พูดแตกต่างกัน ถ้าแตกต่างกัน แตกต่างกัน ถ้ามีครูบาอาจารย์ที่เป็นครูบาอาจารย์ที่ท่านปฏิบัติตามความเป็นจริง ท่านบอกความแตกต่างนั้นไม่มีผลเสียหายกับจิต ถ้าไม่มีผลเสียหายกับจิต ใครมีความชำนาญอย่างไรให้เข้มแข็งอย่างนั้น ใครมีความชำนาญอย่างไรให้จับต้อง ให้เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง ให้มีความมุมานะ ให้มีการกระทำขึ้นไป ถ้าการกระทำขึ้นไป
เพราะใครเป็นโรคภัยไข้เจ็บอย่างใด มันก็ต้องแก้ด้วยธรรมโอสถ ด้วยการแก้ความเจ็บไข้ได้ป่วย ด้วยธรรมโอสถของบุคคลคนนั้น การแสวงหา ศีล สมาธิ ปัญญาของใคร ใครพยายามแสวงหาขึ้นมา มันเป็นรากเหง้า ศีล สมาธิ ปัญญาคืออริยสัจ คือมรรค ๔ คืออริยสัจ ๔ สัจจะ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ความเป็นจริง ความเป็นจริงของมัน เราทำความจริงขึ้นมาให้เป็นความจริง ใครมีความมุมานะ มีการกระทำ ให้ทำขึ้นมา ครูบาอาจารย์ท่านจะส่งจะเสริมนะ
การประพฤติปฏิบัติมันไม่มีสูตรสำเร็จ มันไม่มีการทำให้เหมือนกันแล้วทุกคนจะฆ่ากิเลสได้เหมือนกัน มันเป็นไปไม่ได้ คนเรา จริตนิสัยคนไม่เหมือนกัน กำลังของคนไม่เหมือนกัน ความชอบของคนไม่เหมือนกัน จริตนิสัยคนไม่เหมือนกัน พอไม่เหมือนกัน มันไม่เหมือนกัน กิเลสมันก็ไม่เหมือนกัน กิเลสไม่เหมือนกัน เวลาการกระทำมันก็ต้องทำด้วยความเพียรของตัว
โรคชนิดใดใช้ยาชนิดใด โรครุนแรงขนาดไหน ต้องใช้ยาที่มีคุณภาพสูงเข้มข้นขึ้นไป โรคเบาบาง โรคเบาบางก็ใช้ยาพอบรรเทากัน มันอยู่ที่ความสมดุล อยู่ที่การกระทำ ครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นจริง ท่านจะสอนของท่านตามความเป็นจริงนั้นเพื่อให้จิตนี้ก้าวเดิน ไม่มีสูตรสำเร็จ ไม่มีว่าต้องทำอย่างนี้แล้วต้องเหมือนกันไปหมด ไม่มี
ไอ้ที่ทำอย่างนี้เหมือนกันหมด ไอ้นั่นมันฝึกทหาร เวลาเขาฝึกทหาร กองร้อยเขาฝึกเหมือนกันหมด แต่การประพฤติปฏิบัติ ครูบาอาจารย์เราไม่เคยสอนอย่างนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไม่สอนอย่างนั้น
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาสอน สอนแต่ละบุคคล พระอรหันต์ในสมัยพุทธกาลไม่เหมือนกันสักองค์หนึ่ง พระสารีบุตรก็ไปอย่างหนึ่ง พระโมคคัลลานะก็ไปอย่างหนึ่ง เพราะอะไร เพราะจริตนิสัยของคนไม่เหมือนกัน เพราะเวลาสำเร็จมาแล้วเป็นเสนาบดีทางธรรม เป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวา มันคนละแนวทาง เราปฏิบัติก็เหมือนกัน เราไม่ต้องไปยึดว่าจะต้องเป็นเหมือนใคร เราจะต้องทำว่าเราทำแล้วได้ผล เราทำแล้วมันเป็นประโยชน์กับเรา
ยก ทำความสงบของใจให้มากขึ้น จิตสงบแล้วน้อมไปที่กาย
อ้าว! ก็พิจารณากายมาแล้ว พิจารณากายมาแล้วก็ปล่อยวางมาแล้ว
นั้นตอนพิจารณาตั้งแต่ปุถุชน กัลยาณปุถุชน ขึ้นมาโสดาปัตติมรรค การเห็นกายนี้กายนอก กายนอก กายระหว่างหลานของอวิชชา เราได้ทำลายแล้ว ทำลายแล้วนั่นคือกายนอก จบไปแล้ว เวลาจบไปแล้ว แล้วเวลาจิตสงบแล้วยกขึ้นสู่วิปัสสนา แล้วจะไปเห็นกาย
อ้าว! ก็กายทำลายไปแล้ว
มันคนละกาย กายที่กิเลสมันอ้างอิง กายที่กิเลสตัวอ่อนๆ มันอ้างอิงอย่างหนึ่ง กายที่กิเลสที่มันเข้มข้น มันอ้างอิงอีกอย่างหนึ่ง กายนอก กายใน กายในกาย คนละส่วนกัน ไม่เกี่ยวกัน คนภาวนาเป็นเขาจะรู้ เพราะบุคคลคู่ที่ ๑ ส่วนคนบุคคลคู่ที่ ๑ จบแล้ว เสมอกัน เท่ากัน จะแนวทางไหนก็เหมือนกัน โสดาบันคือโสดาบันเหมือนกันหมด
แต่ถ้ายกขึ้นสู่สกิทาคามี เวลามรรค มรรค เวลาเดินมรรคมันจะแตกต่างกัน แล้วพิจารณาซ้ำๆๆ พิจารณาแล้วมันปล่อย เหมือนกัน ปล่อยเหมือนกัน แต่การปล่อยด้วยกำลังนะ การปล่อยด้วยการกระทำนะ ถ้าปล่อยเป็นความจริง ถ้ามันปล่อยแล้วปล่อยเล่า ถ้ามีครูบาอาจารย์ ให้ซ้ำๆ ซ้ำเข้าไปเรื่อยๆ พอมีความวิริยะ มีความอุตสาหะ จากสติปัญญานี้ก็เป็นสติปัญญา พิจารณาซ้ำๆๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ ถึงเวลาที่สุดแล้ว เวลามันสมุจเฉทปหาน มันขาด โลกนี้ราบหมดเลย กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ กามราคะ-ปฏิฆะอ่อนลง มันรู้ขึ้นมาได้อย่างไร มันรู้ขึ้นมาได้อย่างไร แล้วรู้ขึ้นมาโดยใครค้ำประกัน รู้ขึ้นมาโดยใครเป็นคนบอก รู้ขึ้นมาด้วยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาพยากรณ์ใช่ไหม
มันรู้ขึ้นมาที่คนกระทำนั้นเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก รู้กลางหัวใจนั้น ถ้ารู้กลางหัวใจนั้น มันมีความสุขขนาดไหน มันเวิ้งว้างขนาดไหน ที่ว่าทรัพย์สมบัติๆ ที่โลกเขาหากันอยู่นี่ เราอยากไปเกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม เราอยากจะให้เทวดา อินทร์ พรหมส่งเสริม เราอยากให้ เทวดา อินทร์ พรหมยกย่องสรรเสริญ จะเวียนว่ายตายเกิดไปกับเขาใช่ไหม ยังจะอยู่ในวัฏฏะใช่ไหม จะไม่พ้นจากวัฏฏะใช่ไหม ไม่ให้ใครส่งเสริม เขาส่งเสริมอะไร เขายังไม่รู้เรื่อง แต่เราประพฤติปฏิบัติ เราเห็นจริงอย่างนี้ เราเทศนาว่าการสอนเขาได้เลย แต่โลกนี้ราบหมด มันมีความสุข มันมีเวิ้งว้าง ความสุขอย่างนี้หาที่ไหน เวลามันทุกข์มันยาก มันทุกข์ยากกลางหัวใจเรา เวลามันมีความสุข ความสุข แล้วถ้ามีครูบาอาจารย์ ท่านยกขึ้น นี่บุคคลคู่ที่ ๒
ถ้ายกขึ้นสู่บุคคลคู่ที่ ๓ นี่บุคคล ๔ คู่ จิตดวงเดียวเป็นได้ทุกอย่าง เป็นได้หลากหลายนัก จิตนี้เป็นนักท่องเที่ยว จิตนี้เวียนว่ายตายเกิดมาตลอด จิตนี้ทำได้หลากหลายนัก จิตนี้พัฒนาของมันเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป ถ้ายกขึ้นสู่บุคคลคู่ที่ ๓
เวลาเสมอกัน เสมอกันโดยคู่ที่ ๒ ยกขึ้นสู่คู่ที่ ๓ นี่ความรู้เท่ากัน ความรู้เสมอกัน ไม่มีการบาดหมาง ไม่มีการกระทบกระเทือนกันเลย ของจริงคือของจริง แต่ถ้ารู้ไม่เท่ากัน นี่สำคัญ ถ้ารู้ไม่เท่ากัน ถ้ามันเอามรรคผลแค่นี้ มันก็รู้เท่ากัน มันก็จบ แต่มันยังเวียนว่ายตายเกิด มันยังเวียนว่ายตายเกิด ถ้าตายก็ไปเกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม เพราะเทวดา อินทร์ พรหมมันมีเทวดา อินทร์ พรหมปุถุชน และเทวดา อินทร์ พรหมอริยบุคคล เกิดเหมือนกัน เพราะอะไร
เพราะมันยังไม่รู้หลายเรื่อง มันยังไม่รู้ในตัวมัน หลานมันตาย ลูกมันตาย ยังไม่เจอพ่อมันเลย แล้วจะเจอพ่อมัน พ่อมันไม่ให้เจอ เพราะพ่อมันหลบๆ หลีกๆ เห็นไหม ว่าง ไม่มีอะไรเลย โอ๋ย! นิพพาน อ๋อ! นิพพานเป็นอย่างนี้ โอ๋ย! นิพพานมีความสุข นี่มันหลอกเอา มันหลอกเอามันก็ไม่ทำ ถ้ามีครูบาอาจารย์นะ ท่านก็ใช้ธรรมโอสถ
เวลาครูบาอาจารย์ท่านแสดงธรรม ท่านพยายามจะแก้ไข แล้วถ้าใครมีอำนาจวาสนา เวลาธรรมมันผุด เวลาธรรมมันผุด ความคิดมันเกิด ความคิดในสมาธินะ ความคิดมันผุดขึ้นมา มันคอยเตือนเรา คอยบอกเรา คอยชี้ทางเรานะ แล้วถ้าเราแสวงหา การขุดคุ้ยหากิเลสนี้เรื่องใหญ่ ว่าสติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรมนี้แหละ แต่เวลาจิตสงบแล้ว จิตปล่อยวางแล้ว เราจะหาแต่ละชั้นแต่ละตอน เพราะครอบครัวกิเลส หลานกิเลส ลูกกิเลสมันไม่มีชั้นเชิงเล่ห์เหลี่ยมมากเท่ากับพ่อกิเลส พ่อกิเลสนี่นะ มันยังมีปู่มันอีกนะ
พ่อกิเลสมันเป็นจอมทัพ กามราคะ-ปฏิฆะร้ายกาจนัก ในวัฏฏะนี้ที่เวียนว่ายตายเกิดกันนี้ก็เพราะยาพิษตรงนี้ ยาพิษนะ กามราคะเป็นสิ่งที่เป็นพิษเป็นภัยอยู่กับจิตทุกดวงจิต ทุกดวงจิตมีความพอใจคือกามฉันทะ ความพอใจในตัวเองนี้คือกามฉันทะ แล้วถ้ามันอยากออกไป มันก็ดิ้นรนออกมาจนเป็นกามราคะ
กามราคะ ใครเป็นพ่อมัน กามราคะ ใครเป็นพ่อแม่มันที่ฟักมันขึ้นมาจากใจของเรา ถ้าไม่มีความพอใจ ตัวตน กามฉันทะ ตัวตนรักสวยรักงาม รักสวยรักงาม มันก็ไปสู่ความเป็นกามฉันทะ กามราคะ แล้วใครจะไปเจอมัน สิ่งที่จะเข้าไปขุดคุ้ยหากิเลสนี้สำคัญ ครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นจริง ท่านประพฤติปฏิบัติของท่านมา เป็นชั้นเป็นตอนเข้ามา แล้วท่านล้มลุกคลุกคลานมา ท่านมืดบอดมา ท่านต้องมีอุปสรรคของท่านมา แล้วครูบาอาจารย์พยายามเปิดตาท่านมา พยายามให้อุบายมา คนที่ปฏิบัติไม่มีความผิดพลาด ไม่มีอยู่ในโลกนี้
แล้วคนที่ปฏิบัติ ปฏิบัติมันเป็นเรื่องนามธรรม เรื่องในหัวใจมันยิ่งแล้วใหญ่ ยิ่งแล้วหนักหนาสาหัสสากรรจ์กว่าการทำงานทางโลกหลายร้อยหลายพันเท่า ทางโลกมีงานอย่างไร เขายังแก้ไข เขายังจุนเจือกันได้ ในการประพฤติปฏิบัติ ครูบาอาจารย์บอกแล้ว เราก็ต้องไปกระเสือกกระสนกันเอง เวลาครูบาอาจารย์ท่านชี้นำแล้ว เราก็ยังกระเสือกกระสนหามันให้เจอ ถ้าหาให้มันเจอได้ บุคคลคู่ที่ ๓
การขุดคุ้ยหากิเลสนี้แสนยาก ถ้ายังไม่ปฏิบัติ มันยังโม้อยู่ มันยังขี้คุยอยู่ แต่ลงไปปฏิบัติ มันไม่เคยเจออย่างนี้ มันไม่เคยเห็นอย่างนี้ มันไม่เคยเห็นพ่อกิเลสหรอก เพราะถ้ามันเห็นพ่อกิเลส มันจะฟูขึ้นมาในหัวใจ หัวใจมันจะสะเทือนหวั่นไหวเลย แค่เจอ มันสะเทือนมาก แล้วพอสะเทือนมาก นี่เราได้แล้วจอมทัพ แม่ทัพนายกองมันคุมเสบียงกรัง มันคุมกำลังพล มันคุมไว้ทุกอย่างเลย มันเป็นเจ้าวัฏจักรพาจิตนี้เวียนว่ายตายเกิดเลย นี่บุคคลคู่ที่ ๓ แล้วเล่ห์กลของมันล่ะ
ถ้าความรู้ไม่เท่ากัน ความรู้ไม่เสมอกัน เล่ห์กลของมันลึกลับมหัศจรรย์ แล้วลึกลับมหัศจรรย์ มันทำให้ไขว้เขว มันทำให้ล้มลุกคลุกคลาน พอทำให้ล้มลุกคลุกคลาน แล้วจะพิจารณาอย่างไร ถ้าพิจารณาได้ จากสติจะเป็นมหาสติแล้ว ถ้าเป็นสติ ไม่เท่าทัน ต้องเป็นมหาสติ ถ้ามหาสติ-มหาปัญญามันเป็นน้ำป่าแล้ว มันเป็นเรื่องความรุนแรง ในการประพฤติปฏิบัติ ตรงนี้รุนแรงที่สุด ถ้ามันไม่รุนแรง มันจะรื้อภพรื้อชาติไม่ได้ ถ้ามันจะรื้อภพรื้อชาติ เพราะอะไร
เพราะการเวียนว่ายตายเกิดไม่มีต้นไม่มีปลาย สิ่งที่อวิชชาที่มันฝังไว้ในใจ มันฝังไว้ลึกลับซับซ้อนมาก ดูสิ อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขาราปจฺจยา วิญฺญาณํ สิ่งที่เป็นสัญญาอันละเอียด สิ่งที่มันละเอียด ดูสิ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บุพเพนิวาสานุสติญาณ ย้อนอดีตชาติไป มันอยู่ที่ไหน จิตที่มันเวียนว่ายตายเกิดมันเอาสิ่งใดซับสมในใจของมันบ้าง สิ่งที่เวียนว่ายตายเกิดทุกภพทุกชาติมันได้ใช้ดำรงชีวิตนั้นมา การดำรงชีวิตแต่ละภพแต่ละชาติ มันไม่มีความเจ็บช้ำน้ำใจ มันไม่มีสิ่งใดที่เป็นคุณประโยชน์กับมันใช่ไหม มันมีทั้งนั้นน่ะ แล้วสิ่งที่ทำ ใครเป็นคนทำ เจตนา ใจนี้เป็นคนทำ เสร็จแล้วมันก็ซับลงที่ใจ ซับลงที่ใจ ที่มันไปอยู่ใน อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขาราปจฺจยา วิญฺญาณํ มันอยู่ในจิตอันที่ละเอียด ฉะนั้น เวลาจิตสงบไป เราเจอกามราคะที่เราจะต่อสู้กับมัน เราเอาอะไรไปสู้กับมัน ถ้ามันเป็นมหาสติ-มหาปัญญาถึงจะสู้ได้
เวลาพูดกันไป ดูสิ เวลาอากาศ เขาดูความชื้นของมัน เขาดูความแห้งแล้งของมัน ในอากาศ อุณหภูมิยังไม่เท่ากัน แล้วในหัวใจๆ ในความรู้สึกนึกคิดมันเป็นนามธรรม แล้วมันจะมีสิ่งใดไปสู้กับมัน มันมีมรรคไง นี่บุคคล ๔ คู่ อนาคามิมรรค ถ้ามีอนาคามิมรรคขึ้นมา มันเป็นมหาสติ-มหาปัญญา มหาสติ-มหาปัญญามันจะต่อสู้กับน้ำป่า ต่อสู้กับพ่อมันน่ะ ต่อสู้กับจอมทัพ ต่อสู้กับสิ่งที่มันควบคุมกำลังทั้งหมด มันให้เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ พิจารณาซ้ำพิจารณาซาก นี่ไง ถ้าความรู้ไม่เหมือนกัน ความเห็นไม่เหมือนกัน ไม่เหมือนกันก็ด้วยกิริยา ไม่เหมือนกัน ไม่เหมือนกันก็ต้องต่อสู้ ต่อสู้ด้วยกำลังของตัว กำลังของตัวไง
มันไม่เหมือนกัน ไม่เหมือนกันด้วยมรรค ไม่เหมือนกันด้วยวิธีการ ไม่เหมือนกันด้วยการกระทำ เพราะการกระทำแต่ละรอบ เห็นไหม เราพิจารณาคราวนี้ พิจารณาแล้วไปไม่ได้ พิจารณาแล้วก็กลับมาพุทโธ กลับมาทำความสงบ ถ้าเราพิจารณาไปได้ มันผ่านไปได้ มันปล่อย ปล่อยแล้วทำอย่างไรต่อ ปล่อยแล้วทำอย่างไรต่อ ถ้ามันทำเท่าทันแล้วทำอย่างไรต่อ
ปล่อยก็มีความสุข เราเท่าทัน จอมทัพมันหลบหลีกเรา หลบหลีกเรา มันซ่อนตัว มันปล่อย มันปล่อย ถ้าเราชะล่าใจ เดี๋ยวมันฟื้นมานะ มันมีเล่ห์กลนะ มันบอก นี่ไง ผลมันเกิดแล้ว แล้วมันพิจารณาแล้วมันเป็นพระอรหันต์แล้ว มันไปหมด ลุ่มหลงอยู่อย่างนั้นน่ะ การหลงตรงนี้หลงมหาศาล แล้วมันรุนแรงด้วย รุนแรงจนเราจะต่อสู้กันอย่างไร เพราะมันปล่อยแล้ว ถ้าเราลุ่มหลง มันลุ่มหลง มันกระทืบซ้ำ เพราะอะไร เพราะมันปฏิบัติ มันรุนแรง นอนไม่ได้ อยู่กับหมู่คณะไม่ได้ ถ้าผู้ที่ปฏิบัติ ใครปฏิบัติได้ขนาดนี้นะ จะต้องเข้มข้นด้วยกิริยาของตัว
ทีนี้เขาก็บอกว่า การปฏิบัติต้องยุ่งยากขนาดนั้นเชียวหรือ การปฏิบัตินี้มันต้องวุ่นวายขนาดนั้นเชียวหรือ นี่การปฏิบัติธรรมนะ นี่ปฏิบัติธรรมนะ ไม่ได้มาฆ่ากันนะ จะฆ่าจะแกงกันเชียวหรือ อู๋ย! ปฏิบัติต้องลำบากขนาดนี้หรือ เลิกดีกว่า อันนั้นคือความเห็นของโลกไง
แต่ครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติจริง ท่านรู้จริงเห็นจริงของท่าน ตรงนี้สำคัญมาก จอมทัพนี่ต้องฆ่ามันให้ได้ ถ้าฆ่ามัน มันจะเกิดมหาสติ-มหาปัญญา พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ มันใช้เล่ห์กลทุกอย่างร้อยแปดพันเก้า เล่ห์กลเยอะมาก แล้วหลงใหลเยอะมาก เคลิบเคลิ้มไปกับมันเต็มที่ เดี๋ยวก็ได้ เดี๋ยวก็ไม่ได้ ล้มลุกคลุกคลานอยู่อย่างนั้นน่ะ เดี๋ยวเกินไป เดี๋ยวทำไม่เท่าทันมัน ล้มลุกคลุกคลานอยู่อย่างนั้น
มหาสติ-มหาปัญญาต้องต่อสู้เต็มที่ ต่อสู้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า มีครูบาอาจารย์คอยประคอง ถ้าแพ้มาก็กลับไปหาอาจารย์ อาจารย์ก็ให้อาวุธมา ให้คติธรรมมาก็ต่อสู้ใหม่ ต่อสู้เสร็จแล้วก็ล้มอีก มันไม่ผ่านสักที ไม่ทันสักที ซ้ำแล้วซ้ำเล่า พิจารณาของเราตามความเป็นจริงนะ เวลามันกลืนเข้ามาในใจ มันละเอียดเข้ามา มันปล่อย ปล่อยซ้ำเข้าไป มันละเอียดเข้าไปๆ มันจะกลืนเข้ามาๆ ถึงที่สุดแล้วมันไปชำระล้างกันในภวาสวะ ในภพ ในใจ ถ้ามันชำระล้างนะ ครืน! ในหัวใจเลยล่ะ นี่มหาสติ-มหาปัญญา
ถ้ามัน ครืน! ในหัวใจ มันยังมีเศษส่วนทิ้งอีก มันลึกลับซับซ้อน เศษส่วนนี้พิจารณาซ้ำๆ เข้าไปก็คิดว่าพิจารณาแล้วมันจะปล่อยวาง พิจารณาแล้ว มรรค ๔ ผล ๔ แล้วมันจะเป็นพระอรหันต์ มันเป็นคู่ที่ ๔...ไม่ใช่ มันมีหยาบมีละเอียด มันมีเล่ห์กลมหาศาล เพราะมันเป็นแม่ทัพ มันมีทุกอย่างพร้อม ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เห็นไหม
เวลาความเห็น ความรู้ไม่เท่ากัน ความเห็นไม่เหมือนกัน ระหว่างเป็นมรรค แล้วแต่อำนาจวาสนา แล้วแต่วิธีการ แต่ผล เวลามันขาด เหมือนกัน ความรู้เท่ากัน ธรรมะ คุณธรรมเหมือนกัน ภูมิจิตภูมิธรรมเท่ากัน มันจะแตกต่างกันตรงไหน ภูมิธรรมเท่ากันมันไม่แตกต่าง เพราะภูมิธรรมมันเท่ากัน แต่ถ้าไม่เท่ากัน มันแตกต่าง รู้ไม่เท่ากัน รู้ไม่เหมือนกัน เถียงกันจนตาย
พิจารณาซ้ำๆ เข้าไปถึงที่สุดแล้ว ว่างหมด ถ้ามีครูบาอาจารย์ที่แท้จริง ความว่างแบบนี้คือความว่างแบบไม่เห็นตัวตนของตน ไม่เห็นตัวตนของตนเพราะความว่าง เพราะจิตมันหยาบๆ เราก็จับตัวตนของเราได้ พอจิตมันละเอียด มันจับตัวตนไม่ได้ สว่างไสวไปหมด ว่างไปหมด พอว่างไปหมด ถ้าเรามีสติปัญญา มันจะย้อนกลับได้ การย้อนกลับ การขุดคุ้ยหากิเลสแสนยาก ไม่ใช่การวิปัสสนา การใช้ปัญญาแสนยาก การหามันนี้แสนยาก แล้วถ้าหามันด้วยอรหัตตมรรค แต่เดิม สติ ปัญญา สติ ปัญญา แล้วก็ยกขึ้นสู่มหาสติ มหาปัญญา ถ้าจะเข้าสู่สุดยอด ถึงปู่ของกิเลส
พ่อมัน เราได้ต่อสู้ด้วยอนาคามิมรรค บุคคลคู่ที่ ๓ ด้วยอำนาจวาสนา ด้วยความเพียรชอบ ด้วยความวิริยอุตสาหะ ได้กระทำกันไปถึงที่สุด ยกขึ้นสู่บุคคลคู่ที่ ๔ ถ้าบุคคลคู่ที่ ๔ มันเป็นปัญญาญาณ มันไม่ใช่ความคิดนะ ความคิดคือสังขาร ความคิด ความปรุง ความแต่ง ถ้ามีสัมมาสมาธิ มันจะเป็นมรรค แต่ถ้ามันเป็นปัญญาญาณ ญาณอันที่ละเอียด จะเข้าไปจับภวาสวะ จับภพ ถ้ามันจับได้ จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้หมองไปด้วยอุปกิเลส แต่อย่าเข้าใจผิดนะ
ถ้าเข้าใจผิด เวลาจิตสงบโดยปุถุชน จิตสงบแล้วมันสว่างไสว มันใสๆ นั่นไม่ใช่จิตเดิมแท้ นั่นเห็นแสง แต่ถ้าไปเห็นตัวมันจริงๆ ไม่ใช่เป็นอย่างนั้น มันเป็นอีกอย่างหนึ่ง ถ้ามันเป็นอีกอย่างหนึ่ง คนไม่เคยรู้ไม่เคยเห็นพูดตรงนี้ไม่ถูก พูดตรงนี้ไม่ได้
ถ้าคนไปรู้ไปเห็นนะ เพราะมันต้องเป็นบุคคลคู่ที่ ๔ ถ้าบุคคลคู่ที่ ๔ ความเห็นต่างกัน ความรู้ไม่เท่ากัน ความเห็นไม่เหมือนกัน ไม่เหมือนกันแน่นอน พระอรหันต์ไม่มีการซ้อนกัน พระอรหันต์ไม่มีความเห็นเหมือนกัน เพราะจิตดวงเดียวมีเห็นได้หนเดียว ไม่มีเห็นหนที่สอง จิตดวงอื่นจะเห็นอย่างนี้ไม่ได้ เพราะลายพิมพ์จิตคืออำนาจวาสนาของจิต กรรมที่การกระทำมาแตกต่างกัน กรรมที่กระทำมาแตกต่างกันจะให้รู้ให้เห็นเหมือนกัน เป็นไปไม่ได้
โรคที่เป็นโรคคนละโรค เชื้อโรคคนละเชื้อโรค ยาแก้ก็ต้องเป็นคนละยา แต่เป็นอริยสัจเหมือนกัน เป็นมรรค ๔ ผล ๔ เหมือนกัน นี่ไง สิ่งที่เหมือนกัน ถ้ารู้เหมือนกัน รู้เท่ากัน รู้เหมือนกัน ไม่มีปัญหา ไม่มีปัญหา
ถ้ามีปัญหานะ คือรู้ไม่เท่ากัน รู้ไม่เท่ากัน เวลากระทำ รู้ไม่เท่ากัน สิ่งที่ใช้ปัญญาเหมือนกัน ไม่เท่ากัน ไม่เหมือนกัน เพราะเป็นมรรค บุคคลคู่ที่ ๔ อรหัตตมรรค ถ้าทำความเป็นจริงขึ้นไป มันจะเป็นอรหัตตผล แล้วเป็นอย่างไรล่ะ
มรรค ๔ ผล ๔ บุคคล ๔ คู่ มรรคผลไม่เหมือนกันสักขั้นตอนเลยนะ โสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรคมันจะเหมือนกันได้อย่างไร แล้วอรหัตตมรรคมันจะเหมือนกันได้อย่างไร มันไม่เหมือนกัน มันไม่เหมือนกัน มันเหมือนกันไม่ได้ เพราะกิเลสมันคนละชั้น กิเลส ความหนักเบามันคนละเรื่อง มันจะเหมือนกันไม่ได้
แต่ถ้ามีครูบาอาจารย์ท่านเป็นจริง ท่านทำของท่าน นี่ครูบาอาจารย์ที่คอยควบคุมคอยดูแลเรา ถ้าครูบาอาจารย์คอยควบคุมคอยดูแลเรา นี่เวลาเราปฏิบัติเราถึงแสวงหาครูบาอาจารย์กันไง แล้วครูบาอาจารย์ท่านคอยชี้นำ คอยบอก ท่านคอยคอนโทรล แต่หน้าที่ทำคือเรา คอนโทรลเลย มันต้องเป็นอย่างนี้ มันต้องเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ เป็นอย่างนี้อย่างเดียว
แล้วเป็นอย่างไรล่ะ เวลาทำมันเป็นอย่างไร ถึงได้เป็นอย่างนี้
ถ้าเป็นจริง เวลาใช้อรหัตตมรรค บุคคลคู่ที่ ๔ ปัญญาญาณ เป็นปัญญาญาณ ปัญญาญาณเข้าไปทำลายตัวมันเอง ทำลายภวาสวะ ทำลายภพ พระอรหันต์ถึงไม่มีภพไม่มีชาติไง ไม่มีภพก็ไม่มีจิตไง แต่เป็นสมมุติ เวลาครูบาอาจารย์ท่านบอกว่าจิตพระอรหันต์เป็นอย่างนั้น เป็นสมมุติคุยกันเท่านั้นเอง ไม่มีภวาสวะ ไม่มีภพ ทำลายภพ ปฏิสนธิจิตได้ทำลายแล้ว จบสิ้น
การเวียนว่ายตายเกิด ตัวนี้เวียนว่ายตายเกิด แล้วเวลาจบสิ้นแล้วเป็นอย่างไรล่ะ
วิมุตติสุขไง วิมุตติสุข ไม่เวียนว่ายตายเกิด พอกันที พอกันที ไม่ไปอีกแล้ว แต่ถ้าไม่มีตรงนี้ เราบอกแต่ปากว่าพอกันทีนะ พอพูดจบมันก็เกิดอีกแล้ว ปากบอกว่าพอกันที มันจะไปเกิดอีกแล้ว เวียนว่ายตายเกิดไม่มีสิ้นไม่มีสุด แต่ถ้าการประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริง รู้เท่ากัน รู้เหมือนกัน รู้จากอริยสัจ รู้จากสัจจะความจริง จากธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ เอวัง