เทศน์บนศาลา

ขโมยปัญญา

๑๒ ต.ค. ๒๕๕๘

 

ขโมยปัญญา
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๘
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจฟังธรรม สัจธรรมนะ เราฟังธรรม ฟังธรรมเพื่อประพฤติปฏิบัติธรรม เราจะปฏิบัติธรรมให้หัวใจของเราเข้าสู่สัจธรรม ถ้าเข้าสู่สัจธรรม เราปฏิบัติเองด้วยตัวของเราเอง ปฏิบัติแล้วลุ่มๆ ดอนๆ ฉะนั้น เราฟังธรรมๆ ฟังธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราเอาจิตใจของเราเกาะธรรมนั้นไปๆ ถ้าเกาะธรรมนั้นไป จิตเราสงบได้ ถ้าจิตเราสงบได้ ถ้าจิตสงบ มันสงบ ผู้ที่เทศน์ก็เทศน์ไป ถ้าจิตมันสงบ แต่ถ้าจิตมันยังไม่สงบ มันจะได้ยินเสียงนั้น เอาเสียงนั้นเกาะไป เกาะให้จิตนั้นมีที่พึ่งที่อาศัย จิตของเรา หัวใจของเราแท้ๆ เราควบคุมดูแลไม่ได้ เราต้องอาศัยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่อาศัย เกาะไปๆ นี่ฟังธรรม

ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเสริฐมากนะ ในโลกนี้ ใน ๓ โลกธาตุนี้ไม่มีสิ่งใดประเสริฐเท่ากับธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากราบธรรมๆ พระถาม “องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากราบอะไรน่ะ”

“กราบธรรม กราบสัจธรรมอันนั้น กราบสัจธรรมอันนั้น”

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ถ้าเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะมีความทุกข์ยากมาก มีความบีบคั้น เพราะเป็นภาระที่จะเป็นกษัตริย์ไง ภาระสังคม ภาระหน้าที่ทางสังคมบีบคั้นมา แล้วยังภาระในเรื่องครอบครัวของเจ้าชายสิทธัตถะ เห็นไหม บีบคั้นเข้ามาๆ เพราะสามเณรราหุลจะเกิดไง ถ้าสามเณรราหุลจะเกิดแล้ว เราไม่มีโอกาสจะได้ออกประพฤติปฏิบัติ เพราะสิ่งนั้นจะรั้งไว้ๆ นี่มันเผาลนเข้ามาในใจทั้งนั้นน่ะ ถ้ามันเผาลนเข้ามาในใจ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงสละทิ้ง ออกประพฤติปฏิบัติ ออกค้นคว้าในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาตามสัจจะความจริงอันนั้น ถ้าสัจจะความจริงอันนั้น

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าละล้าละลังๆ ที่จะออกประพฤติปฏิบัติ สามเณรราหุลเกิดแล้ว ละล้าละลังอยู่อย่างนั้นน่ะ ความละล้าละลังนะ หัวใจ ดูสิ กิเลสตัณหาความทะยานอยากมันบีบคั้น มันมีความทุกข์ยากขนาดไหน เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปประพฤติปฏิบัติอยู่ ๖ ปี พยายามขวนขวาย พระเรา พระที่ประพฤติปฏิบัติ เวลาเราเร่งความเพียร เราจะรู้ว่าเราเร่งความเพียร ถ้าจิตมันสงบมันก็มีความสุขมีความสงบของเรา ถ้าจิตไม่สงบ เราต้องต่อสู้กับกิเลสตัณหาความทะยานอยากในหัวใจของเรา เราจะเอาวิชาสิ่งใดที่จะไปต่อสู้กับมัน

กิเลสของเราแท้ๆ มันเป็นนามธรรมที่เราไม่รู้จักมัน เราหามันไม่เจอ เวลาพระที่ประพฤติปฏิบัติเร่งความเพียรๆ ไป มันเผชิญกับความหิวกระหาย ความทุกข์ความยาก จะเผชิญกับกิเลสตัณหาความทะยานอยาก มันปลิ้นปล้อน เราต้องเผชิญกับมัน เราต้องต่อสู้มันอย่างเต็มที่

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสวงหาอยู่ ๖ ปี ทุกข์ยากอยู่ขนาดนั้นน่ะ เวลาทุกข์ยากขนาดนั้น ทุกข์ยากที่ไม่มีครูบาอาจารย์สอนนะ ทุกข์ยากที่ไม่มีคนชี้นำนะ ทุกข์ยากด้วยเผชิญด้วยสัจจะความจริงของเจ้าชายสิทธัตถะ เวลาเจ้าชายสิทธัตถะตัดสินใจแล้วว่าสิ่งที่เราศึกษามาๆ กับเจ้าลัทธิต่างๆ นั้นมันไม่สามารถชำระกิเลสได้ คิดถึงโคนต้นหว้านั้น เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติในอำนาจวาสนาบารมีที่สร้างสมบุญญาธิการมาเป็นพระโพธิสัตว์ที่บารมีเต็ม ที่จะได้ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่ต้องตรัสรู้เอง ต้องค้นคว้าเอง ต้องเข้ามาในหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง เวลาชำระกิเลสไปแล้วเสวยวิมุตติสุขๆ

ดูสิ เวลาที่จะออกประพฤติปฏิบัติ ละล้าละลัง มีความทุกข์บีบคั้นในหัวใจอันนั้น เวลาประพฤติปฏิบัติ ๖ ปี ก็ถูลู่ถูกัง เพราะไม่มีใครสั่งใครสอน ขวนขวายเองด้วยจำเพาะเจ้าชายสิทธัตถะนั้น เวลาพิสูจน์จนถึงอิ่มเต็มแล้วว่ามันเป็นไปไม่ได้ ย้อนกลับมาถึงบารมีของท่านเอง เวลาท่านประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริงของท่าน คืนนั้นได้ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสวยวิมุตติสุข ความแตกต่างไง จิตใจที่ล้มลุกคลุกคลาน จิตใจที่มีความทุกข์ความยากในหัวใจ จิตใจที่มันทุกข์มันยาก เราก็สัมผัสได้ เราเป็นคนรู้ได้เอง แต่เมื่อประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เวลาถึงที่สุดแห่งทุกข์ไปแล้ว วิมุตติสุขอันนี้เราก็รู้ได้เอง นี่กราบธรรมๆ กราบธรรมอันนี้ไง มันลึกลับมหัศจรรย์อันนี้ไง มันลึกลับมหัศจรรย์สำหรับคนที่ไม่รู้ไม่เห็นไง แต่มันสว่างกระจ่างแจ้งสำหรับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา มันมีความสุข มันมีความลึกลับมาจากไหน มันสว่างแจ้งกลางหัวใจนี้ มันจะลึกลับมาจากไหน แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสรู้ มันลึกลับๆ ไปศึกษาค้นคว้าขนาดไหนมันก็ไม่ได้ๆ

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธรรม แสดงธรรมขึ้นไป ปัญจวัคคีย์มีดวงตาเห็นธรรม เป็นพยานต่อกัน เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนารื้อสัตว์ขนสัตว์ เวลาแสดงธรรม แสดงไปโดยสัจจะความจริง นี่ความจริง แต่ที่เวลาพระอัญญาโกณฑัญญะมีดวงตาเห็นธรรม เพราะพระอัญญาโกณฑัญญะมีอำนาจวาสนา ทำความสงบของใจเข้ามา เวลาสิ่งที่เป็นสัจธรรมอันนั้นเข้าไปสะเทือนใจของพระอัญญาโกณฑัญญะ พระอัญญาโกณฑัญญะใช้ปัญญาของท่านเอง เพราะจิตท่านสงบแล้ว จิตท่านมีกำลังแล้ว เพราะอุปัฏฐากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา ๖ ปี นี่มีกำลัง มีอำนาจวาสนามาพอสมควร เวลาฟังธรรมๆ มีดวงตาเห็นธรรมๆ สัจธรรมความจริง ปรารถนารื้อสัตว์ขนสัตว์ รื้อสัตว์ขนสัตว์อย่างนี้ มันเป็นความจริงอย่างนี้ไง ถ้าความจริงอย่างนี้ นี่ความจริง

ความจริงมันเกิดจากไหน? เกิดจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธรรม เกิดจากพระอัญญาโกณฑัญญะ จิตที่สงบ จิตที่ระงับแล้ว จิตที่ค้นคว้าสิ่งสัจจะความจริงอันนั้น เกิดกิจจญาณ สัจจญาณขึ้นมาในใจของพระอัญญาโกณฑัญญะ พระอัญญาโกณฑัญญะมีดวงตาเห็นธรรม นี่ไง สิ่งที่เป็นธรรมๆ มันเป็นความจริงขึ้นมาได้จากผู้ที่มีอำนาจวาสนา ผู้ที่ขวนขวาย ผู้ที่มีการกระทำ มีอำนาจวาสนา แต่ไม่กระทำ ไม่ขวนขวาย อำนาจวาสนาก็เป็นอำนาจวาสนาอยู่อย่างนั้นแหละ แต่ถ้ามีอำนาจวาสนาแล้ว มีสติปัญญา มีการค้นคว้าขึ้นมา มันจะเป็นความจริงอย่างนั้น

เวลาปรารถนารื้อสัตว์ขนสัตว์ วางธรรมวินัยนี้ไว้ๆ เราศึกษากันๆ ศึกษามาโดยทางวิชาการ ทางวิชาการนี้เป็นสมบัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราศึกษาเป็นความจำๆ เราไปขโมยมา เราไปขโมยธรรมะมาว่าเป็นของเราไง คนที่ศึกษามาแล้วมีความเข้าใจ ศึกษาธรรมะแล้วมีความร่มเย็นเป็นสุขในหัวใจ มีความร่มเย็นเป็นสุขในหัวใจจริงๆ เห็นไหม ถ้าเราไม่รู้สิ่งใดเลย เราก็มีความสงสัย แต่ถ้าเรารู้สิ่งใดกระจ่างแจ้งแล้ว ความสงสัยนั้นก็ไม่มี เราก็สบายใจ

เราก็มีความทุกข์ความยาก เราเป็นคนที่ไม่มีที่พึ่งที่อาศัย เราเป็นคนเร่ร่อน เราไม่มีหลักความจริงในหัวใจ ว่าเราเกิดมาเป็นชาวพุทธ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาก็เป็นประเพณีวัฒนธรรม เราก็ได้ทำบุญกุศลของเรามาพอสมควร ฉะนั้น เวลาเราศึกษาๆ เราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันได้ไตร่ตรอง มันได้พิจารณาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันก็มีความสุข มีความสงบ มีความระงับอย่างนั้นน่ะ นี่มันเป็นความจำๆ ขนาดความจำมันยังมีคุณสมบัติขนาดนี้ นี่เป็นความจำนะ

ความจำๆ เราจำแล้วเดี๋ยวมันก็ลืมไง เพราะสัญญา ศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเราก็ตู่เอา ขโมยเอา ขโมยเอาว่าเป็นของเราๆ...มันไม่เป็น มันเป็นของเราไปไม่ได้หรอก มันเป็นสุตมยปัญญา มันเป็นการศึกษา มันเหมือนทางโลก เขาศึกษาทางโลก เขาศึกษาด้วยคุณสมบัติของเขา คนที่มีปัญญาเขามีโอกาสของเขา เขาศึกษามาจนเขาจบกระบวนการของเขา นี่เขาศึกษามาๆ แล้วศึกษามาแล้วเขามาทำหน้าที่การงานของเขา ถ้าทำหน้าที่การงานของเขา เขาคิดสิ่งใด วิเคราะห์วิจัยสิ่งใดเป็นปัญญาทางโลก ปัญญาทางโลก ถ้าใครมีปัญญานะ เขาต้องจดสิทธิบัตรเลย จดสิทธิบัตรของเขา เป็นสมบัติของเขา ถ้าเป็นสมบัติของเขา กี่ปี เราใช้ เราต้องเสียค่าลิขสิทธิ์เขา ถ้าเราจะใช้ประโยชน์จากปัญญาที่เขาคิดค้นขึ้นมา นี่ไง ถ้าศึกษาทางปัญญาๆ เขายังมีลิขสิทธิ์ของเขา แล้วเวลาเขาจะลอกเลียนแบบกัน ลอกเลียนแบบๆ นี่เขาขโมยกัน ขโมยเพื่อเป็นประโยชน์ไง เพื่อประโยชน์ทางโลกของเขา นี่ขโมยปัญญาของคนอื่นมาใช้ ถ้ามันขโมยปัญญาของคนอื่นมาใช้ เราต่อยอดได้หรือเปล่า เราวิเคราะห์วิจัย เราสร้างสมของเราได้ไหม นี่พูดถึงการขโมยไง

ในการขโมย ขโมยโดยผิดตามกฎหมาย แต่ด้วยปัญญาของคน เขาไปทัศนศึกษา เขาไปรู้สิ่งใดมา เขาคิดทำได้ เขาทำต่อเนื่องได้ ถ้าทำต่อเนื่องได้มันก็เป็นปัญญาทางโลกนั้นน่ะ ถ้าปัญญาทางโลก มันขโมยกันได้ มันก็อปปี้ได้ มันทำเลียนแบบได้ มันก็ทำเลียนแบบมาอย่างนั้นน่ะ

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าพูดถึงทางการค้า เขาก็มีความลับทางการค้าของเขา เขาก็พยายามจะสืบสานเสาะหามาเพื่อเป็นประโยชน์กับเขา ถ้าเป็นความมั่นคงล่ะ ถ้าความมั่นคง ความลับทางความมั่นคงของเขา เวลาเขาแฮกกันเพื่อจะเอาความลับต่างๆ สิ่งต่างๆ เขาต้องขวนขวายของเขา นี่พูดถึงทางโลกนะ ทางโลกมีการแข่งขันการกระทำต่างๆ การเอารัดเอาเปรียบกัน มีผู้ได้ผู้เสีย โลกเขามีคนได้มีคนเสีย ถ้ามีคนได้มีคนเสีย มันสร้างเวรสร้างกรรมกันไปทั้งนั้นน่ะ มันมีเวรมีกรรมต่อกัน

เวลาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ ให้ธรรมเป็นทานๆ ธรรมะนี้ให้ธรรมเป็นทานนะ ถ้าให้ธรรมเป็นทาน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนารื้อสัตว์ขนสัตว์ สอนทางวิชาการๆ ต้องมีปริยัติ มีปฏิบัติ มีปฏิเวธ ในสมัยพุทธกาล ธรรมกถึก ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริง วินัยธรก็ศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่บวชมา บวชมาเวลาศึกษา ศึกษาแนวทางไหน ถ้าบวชมา ศึกษามา ชอบทางไหน แต่ถ้าเป็นการออกประพฤติปฏิบัติล่ะ ถ้าออกประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริง เราจะทำของเรา ถ้าทำได้จริงนะ ฉะนั้น ศึกษามา ศึกษามาให้ประพฤติปฏิบัติ

ทีนี้ศึกษามา ศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ขโมยธรรมะมาไง ทั้งๆ ที่ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้ธรรมเป็นทานๆ ให้ธรรมเป็นทานนี้ประเสริฐที่สุดในการให้ทาน เราให้ปัญญาเขา เราให้ทางวิชาการเขา มันเป็นบุญกุศลทั้งนั้นน่ะ เพราะเขาจะได้ฉลาดขึ้น เขาจะได้ดีขึ้น แต่มันก็เป็นการฉลาดทางโลก ทางโลกเท่านั้น ดูสิ มีการศึกษา ศึกษามาจนจบ ๙ ประโยค ๑๐ ประโยคขนาดไหนก็แล้วแต่ เราเป็นนักเขียนนักต่างๆ ที่มีปัญญามากน้อยขนาดไหนก็แล้วแต่ แต่เขาไม่รู้เท่าทันตัวเขาหรอก รู้เท่าทันตัวเขาเองไม่ได้ มันเป็นไปไม่ได้เลย มันเป็นไปไม่ได้เพราะอะไร เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกสุตมยปัญญา จินตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา เวลาปัญญาที่มันจะเกิดขึ้น แล้วภาวนามยปัญญามันจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ถ้าคนไม่เคยประพฤติปฏิบัติ ไม่รู้ความจริงขึ้นมา เราจะเอาภาวนามยปัญญามาจากไหน มันก็เป็นสัญญาทั้งนั้นน่ะ ทีนี้พอเป็นสัญญาขึ้นมา ดูสิ เวลาคนเราจะประพฤติปฏิบัติ เราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาแล้ว เวลาปฏิบัติไป มันเกิดจินตนาการ เวลาเกิดจินตนาการ มันจินตนาการของมันไป มันไม่เป็นความจริง ถ้ามันไม่เป็นความจริง

เวลาทางโลกเขา เวลาเขาขโมย เขาขโมยเพื่อประโยชน์กับเขา เขาขโมยปัญญาของคนอื่นมาใช้เพื่อประโยชน์ เห็นไหม ลอกเลียนแบบๆ สิ่งนั้นมันก็ผิดกฎหมายทั้งนั้นน่ะ มันผิดกฎหมาย เพราะมันมีกฎหมายบังคับไว้ แต่ถ้าเป็นทางธรรมล่ะ ทางธรรม เวลาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธศาสนา ถ้าใครศึกษา ใครเชื่อในพระพุทธศาสนา จะต้องบังคับตนเอง บังคับตนเองให้เข้าสู่ศีลสู่ธรรม เพราะเราเชื่อเราศรัทธาของเราเอง เราถึงบังคับตัวเราเองไง เพื่อจะทำให้มันเป็นความจริงของเราขึ้นมา ถ้าเป็นความจริงขึ้นมา

เวลาเราศึกษามาแล้วเราจะประพฤติปฏิบัติ ถ้าเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เวลาปฏิบัติขึ้นมา เราศึกษามา เรามีความรู้ใช่ไหม ถ้ามีความรู้ขึ้นมา เราก็บอกเราทำแล้วมันเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก เป็นความจริง มันก็เป็นความจริงของใจดวงนั้นน่ะ ใจดวงนั้นน่ะ

แต่เวลาทางโลกเขา เวลาเขาขโมยปัญญากัน เขาขโมยคือเขาฉ้อฉลเลย เขาลักขโมยของเขามา ก็อปปี้ของคนอื่นมา แต่เวลากิเลสมันขโมย เราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเราจะประพฤติปฏิบัติ เราเป็นลูกศิษย์กรรมฐาน เราอยากจะประพฤติปฏิบัติของเรา ถ้าสติปัญญาของเราอ่อนด้อย เวลาศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา แล้วเวลาจะประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ประพฤติปฏิบัติ ว่างๆ ว่างๆ แต่จิตมันไม่ว่างจริง มันไม่เป็นสัมมาสมาธิจริงไง ถ้าไม่เป็นสัมมาสมาธิจริง เวลามันเกิดมิจฉาทิฏฐิ ถ้าเกิดมิจฉาทิฏฐินั่นแหละกิเลสมันขโมย เกิดมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นผิดไง ความเห็นผิด ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในทางธรรมวินัยมันเป็นข้อเท็จจริงแน่นอน แต่เวลาเราไปศึกษามาๆ แต่เรามีกิเลสตัณหาความทะยานอยากของเรา เราจะประพฤติปฏิบัติ

เวลาเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา จิตมันจินตนาการของมันไป สมาธิมันก็ไม่เป็นสมาธิ แล้วบอกมันเป็นปัญญา ปัญญาก็ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอันนั้น แล้วเกิดมิจฉาทิฏฐิไง ถ้าเกิดมิจฉาทิฏฐิ มันเริ่มต้นจากสัญญามา สัญญาคือความจำได้หมายรู้ สัญญามา สัญญากลัวมันจะผิดจะพลาด ทำสิ่งใดก็ต้องพุทธพจน์ๆ ต้องให้มันตรงตามนั้นเลย มันก็เกร็งไปหมดเลย จิตมันไม่เป็นความเป็นจริง เราทำของเรา เราดูแลของเรา มันก็เกิดจินตนาการ จินตนาการไปมันก็สร้างภาพอารมณ์ไปอย่างนั้นน่ะ

นี่ไง เวลาขโมยปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาด้วยมิจฉาทิฏฐิ ด้วยความเห็นผิด พอความเห็นผิดขึ้นมามันเกิดอาการต่างๆ ขึ้นมาในหัวใจ มันเป็นความจริงตรงไหน มันเป็นความจริงตรงไหน? มันไม่เป็นความจริงตรงไหนเลย เพราะอะไร เพราะถ้าเป็นสมาธิจริง มันก็ไม่เห็นเป็นสมาธิ

ถ้าเป็นสมาธิจริงๆ ขึ้นมา จิตมันสงบโดยสัมมาสมาธิ ถ้าสัมมาสมาธิ มันปล่อยวางทุกๆ อย่างเข้ามาหมด ตัวมันเอง ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ แล้วมันรู้ได้ด้วย เวลาพุทโธๆๆ จนเวลาลงสู่อัปปนาสมาธิ สักแต่ว่ารู้ นี่มันรู้ในขั้นของสมาธิ แล้วขั้นของสมาธิ สูงสุดของมันมีแค่นี้ แล้วถ้าผู้ที่มีอำนาจวาสนา จิตคึกจิตคะนองนะ เวลาเขาทำพุทโธๆ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าเวลาจิต ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ เวลาเขาเข้าของเขาอย่างนั้นน่ะ มันยิ่งมหัศจรรย์เข้าไปใหญ่ แต่มันก็รู้นะ ถ้าไม่รู้มันจะเป็นปฐมฌานอย่างไร มันจะเป็นทุติยฌานอย่างไร มันจะเป็นตติยฌานอย่างไร มันจะเป็นจตุตถฌานอย่างไร อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ มันมีระดับของมัน ถ้าคนเป็น คนเป็นมันก็ชัดเจน นี่พูดถึงสมาธิก็คือสมาธิ ถ้าเป็นสัมมาสมาธิ ไม่มีมิจฉาทิฏฐิเข้าไปจินตนาการ เข้าไปสร้างภาพให้มันเป็นอย่างที่เรา เห็นไหม

เวลาทางโลกเขา ถ้าเขาขโมยปัญญากัน เขาก็ขโมยของเขาเพื่อผลประโยชน์ ประโยชน์ทางโลก แต่เวลากิเลสของเรามันไปขโมยปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยมิจฉาทิฏฐิ คำว่า “มิจฉาทิฏฐิ” คือสร้างภาพ สร้างภาพเพราะมันมีกิเลสตัณหาความทะยานอยาก มันมีสมุทัยของมัน สมุทัย เห็นไหม ตัณหาความทะยานอยากคือสมุทัย มันพลิกมันแพลงของมัน มันทำของมัน แล้วเราก็จะล้มลุกคลุกคลานอยู่อย่างนี้ นี่ไง เวลาการปฏิบัติเริ่มต้น การปฏิบัติเริ่มต้นนี้แสนทุกข์แสนยากนะ เพราะการปฏิบัติครั้งแรกครั้งต้นนี้แสนทุกข์แสนยาก เพราะอะไร เพราะจิตมันยังดิบๆ อยู่ไง มันเป็นปุถุชน ปุถุชนคือคนหนา พอคนหนาขึ้นมา กิเลสมันหลอกง่ายๆ กิเลสมันไม่ต้องหลอกหรอก เราตามกิเลสมันไปอยู่แล้ว เพราะเราเกิดมา เพราะกิเลสเป็นเรา สรรพสิ่งเป็นเรา

นี่ก็เหมือนกัน สิ่งที่เราไปขโมยมา ปัญญาเป็นของเรา สรรพสิ่งเป็นของเรา...มันจะเราตรงไหน พอมันขโมยมามันก็เป็น เวลาสมุทัยมันนอนเนื่องมากับจิต คิดสิ่งใดมันมีสมุทัยนอนเนื่องมาอยู่แล้ว ถ้าสมุทัยนอนเนื่องขึ้นมา ทำสิ่งใด สมุทัยตัวนั้นล่ะ นี่ตัวสกปรก ตัวสมุทัยนี่ตัวเห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัว เราทำสิ่งใดมันไม่เป็นความจริง มันเป็นความเห็นแก่ตัว นี่เพราะเห็นแก่ตัวมันถึงเกิดมิจฉาทิฏฐิ ถึงมีความเห็นผิดไง ถ้าความเห็นผิด แล้วมันว่างๆ ว่างๆ

ดูสิ เวลาทำความสงบของใจใช่ไหม ถ้าใจมันสงบเข้ามาได้ กิเลสมันสงบตัวลง มันถึงเป็นสมาธิ แล้วเป็นสมาธิขึ้นไปมันยังเป็นกิเลสอยู่นะ เป็นอุปกิเลส ไอ้ว่างๆ แสงสว่าง ความเวิ้งว้าง อุปกิเลส กิเลสอย่างละเอียด

กิเลสอย่างหยาบ กิเลสอย่างหยาบก็คือความรู้สึกนึกคิดของเรา นี่กิเลสอย่างหยาบๆ เวลาจิตมันปล่อยวางอะไรเข้ามานะ มันไปติดกับความเวิ้งว้างของตัว ไปติดกับความเห็นของตัว นั่นน่ะอุปกิเลส นี่ไง แล้วมันจะเป็นสัมมาสมาธิตรงไหน มันจะเป็นสัมมาทิฏฐิตรงไหน มันจะเป็นความจริงอยู่ตรงไหนล่ะ เวลาเกิดมิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิดๆ แล้วความเห็นผิดนี้มันมีกับเราตลอด

ถ้าเราเห็นถูกต้องดีงาม มันจะลงสู่สัมมาสมาธิได้ ถ้าลงสู่สัมมาสมาธิ มันถึงจะไม่เป็นขโมยไง มันเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก เราปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ถ้าเราปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากราบธรรมๆ กราบธรรมคือสัจธรรม แล้วคนมืดบอดมันจะรู้สัจธรรมอย่างนั้นไม่ได้ แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีอำนาจวาสนาบารมี ได้สร้างอำนาจวาสนาบารมีมา พยายามค้นคว้าขวนขวายมา เวลาไปได้สัจจะความจริงอันนั้น

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ดูสิ เวลากิเลสตัณหาความทะยานอยากมันบีบคั้นน่ะ ละล้าละลังๆ อยู่อย่างนั้นน่ะ แล้วเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปขวนขวายกับเจ้าลัทธิต่างๆ มันสิ้นสุดกระบวนการแล้ว ไปไม่รอดแล้ว เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าระลึกถึงโคนต้นหว้านั้น เราเคยกำหนดลมหายใจเข้าและลมหายใจออก อานาปานสติ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษากับอุทกดาบส อาฬารดาบส ได้สมาบัติ ๖ สมาบัติ ๘ มันก็เป็นฐานแล้วก็ขึ้นปัญญาไปเลยสิ ทำไมมันไม่ไปล่ะ มันไม่ไป เพราะอะไร เพราะฌานสมาบัติมันส่งออก ฌานสมาบัติมันมีกำลังของมัน มันจะไปของมัน แล้วควบคุม ถ้าคนไม่มีสติปัญญาควบคุมได้ยาก

แต่ถ้าเราทำความสงบของใจเข้ามา พระพุทธศาสนาสอนเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา ไม่ใช่ศีล สมาบัติ ๘ ปัญญา...ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะตัวสมาบัตินั้นน่ะตัวพาทำให้ส่งออก ตัวสมาบัติจะทำให้ติดขัดได้ เว้นไว้แต่จิตที่คึกคะนอง ดูสิ เว้นไว้แต่ที่ว่าฤๅษีชีไพรที่เขาได้สมาบัติ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปทรมาน นี่เราก็เคยทำ ดูสิ อย่างพวกพราหมณ์เขาบูชาไฟๆ เราก็เคยบูชา ไหว้ทิศๆ เราก็เคยไหว้ แต่เราไม่ไหว้แบบพวกเธอ

นี่บูชาไฟ ไฟเป็นของร้อน โทสัคคินา โมหัคคินาเป็นของร้อน ถ้าเป็นของร้อน แต่สัจธรรมมันดับไฟนั้น ชำระล้างความโลภ ความโกรธ ความหลงได้

เวลาเขาไหว้ทิศ เราก็ไหว้เหมือนกัน แต่เราไม่ไหว้แบบนี้ เราไม่ไหว้แบบนี้ เราไหว้ครูบาอาจารย์ของเรา เราไหว้พ่อไหว้แม่ ญาติของเรารอบทิศ เราบริหารจัดการของเรา มันเป็นมรรค เห็นไหม

ถ้าเขาล้างบาปด้วยน้ำ ถ้ามันล้างบาปด้วยน้ำ ปลาในน้ำ เต่า สัตว์น้ำก็เป็นพระอรหันต์ไปหมดแล้วล่ะ มันก็พ้นทุกข์ไปหมดแล้ว มันก็ไม่เห็นเป็นจริงเลย

นี่เวลาคนที่มีปัญญาๆ มันมีองค์ความรู้ มีความจริงขึ้นมา มันต้องมีความจริงขึ้นมา สิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศีล สมาธิ ปัญญา ไม่ใช่บอกว่าสมาบัติ สมาบัติเป็นสมาบัติ ถ้าคนที่มีจริตนิสัยอย่างนั้น ถ้ามีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นครูบาอาจารย์ที่ดี มันก็ชักนำเข้ามาถูกต้องได้

แต่ถ้าของเรา เราประพฤติปฏิบัติ เราไม่มีหลักมีเกณฑ์ของเรา ถ้าเข้าฌานสมาบัติมันก็อุปกิเลส มันสงบเข้ามา มันมีทิฏฐิมานะ มันมีความรู้ความเห็น มันว่ามันปฏิบัติแล้วมันรู้มันเห็นไง นี่ไง มิจฉาทิฏฐิไง ถ้ามิจฉาทิฏฐิขึ้นมา ขโมยธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา แล้วมีมิจฉาทิฏฐิด้วยนะ มันส่งออกหมด แล้วมันสร้างภาพ มันไม่เป็นความจริงเลย

แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาระลึกถึงโคนต้นหว้า ลมหายใจเข้า อานาปานสติ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก แล้วในสมัยปัจจุบันนี้เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาแล้ว หายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ เพราะอะไร เพราะเราระลึกถึงพุทธะ พุทธะ องค์ของสมาธิ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์

วิตก วิจารไง วิตกขึ้นมา ถ้าเราไม่กำหนดพุทโธ จิตใจมันก็เร่ร่อน กำหนดลมก็กำหนดได้ ทำสิ่งใดก็ทำได้ทั้งนั้นน่ะ นี่ไง มันจะเป็นมิจฉาทิฏฐิไง มิจฉาทิฏฐิคือความเห็นผิดไง ความเห็นผิดว่ามันสะดวกมันสบาย มันไม่ต้องบังคับกัน เริ่มต้นประพฤติปฏิบัติใหม่ก็นึกพุทโธ โอ้โฮ! มันเครียด มันตึงเครียดไปหมด มันจับต้นชนปลายอะไรไม่ถูกเลย นี่มันจะเอาสะดวกสบายอย่างนั้นมันก็เป็นมิจฉาทิฏฐิไปไง

ถ้าลมหายใจเข้านึกพุท ลมหายใจออกนึกโธ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ ถ้ามันครบองค์ประกอบของมัน มันก็เป็นสัมมาสมาธิ แต่เราไม่ทำกันอย่างนั้น ผู้ที่ปฏิบัติบอกว่าเราก็วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ ไปตั้งมั่นก็ไปตั้งมั่นไว้นู่น นี่ไง มิจฉาทิฏฐิทั้งนั้นน่ะ เพราะอะไร เพราะท่องจำมา ท่องจำแล้วสร้างอารมณ์แบบนั้นไง “นี่ผมทำครบกระบวนการจบแล้ว วิตกก็วิตกแล้ว วิจารก็วิจารแล้ว ปีติก็มีพอสมควรแล้ว แล้วเกิดสุขก็สุขแล้ว มันจะเกิดเอกัคคตารมณ์” ก็สร้างอารมณ์ทีละอารมณ์ๆๆ สร้างอารมณ์แต่ละอารมณ์มา แล้วก็มาบวกรวมกันแล้วคิดว่ามันจะเป็น นี่ไง ขโมยปัญญา ขโมยปัญญามามันเป็นอย่างนี้ มันไปขโมยของเขามา ขโมยของเขามาแล้วก็ทำให้เหมือนเขาอีกเสียด้วย ขโมยของเขามาแล้วก็มาพลิกแพลงเปลี่ยนแปลงให้เหมือนเขา ว่าเราเป็นนักปฏิบัติ เรามีความรู้ความเห็นไง นี่ขโมยเขามาแล้วก็ใช้ไม่เป็น

ฉะนั้น เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่ากำหนดอานาปานสติ ถูกต้อง ถูกต้อง เพราะว่าพุทธะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสรู้ธรรม ถ้ายังไม่ตรัสรู้ธรรม ท่านก็กำหนดลมหายใจ อานาปานสติน่ะถูก พอถูกแล้ว บุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ ครูบาอาจารย์ที่ท่านประพฤติปฏิบัติ ท่านจะเข้าใจอย่างนั้น แต่คนที่ปฏิบัติใหม่มันเข้าใจได้ยาก ถ้าบุพเพนิวาสานุสติญาณ ทุกคนก็อยากรู้อยากเห็น อยากระลึกชาติได้ อยากจะส่องดูคนอื่นหมดล่ะ แต่ตัวเองยังไม่รู้ แล้วมันส่องใครล่ะ แต่มันเป็นคุณสมบัติคือเนื้อของจิต จิตมันมีคุณสมบัติอย่างนั้น ถ้ามันเข้าไปอย่างนั้น มันเป็นอย่างนั้น

แต่ผู้ที่มีสติปัญญาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันจะรู้เห็นไปขนาดไหน มันไม่มีต้นไม่มีปลาย กระบวนการจบสิ้นมันไม่มี ดึงกลับ ดึงกลับมาตั้งสติ ระลึก ย้อนกลับ มันก็ย้อนกลับขึ้นมา นี่ถ้าคนทำเป็น ทุกอย่างมันเป็นไปหมดล่ะ ถ้าคนทำไม่เป็นนะ มันถูลู่ถูกัง เป็นมิจฉาทิฏฐิด้วย ความเห็นผิด แล้วก็ส่งออก แล้วก็ไปจับต้องสิ่งใดมันจะล้มลุกคลุกคลานอยู่อย่างนั้นน่ะ

ดึงกลับมา พอดึงกลับมา ด้วยอำนาจวาสนา ทำความสงบให้มากขึ้น จุตูปปาตญาณ ก็ออกอีก เรารู้ว่าจิตยังไม่ชำระล้างกิเลส เพราะจิตมันมีกรรมไง จิตมันมีกรรมดีกรรมชั่ว ถ้ามันมีกรรมดีกรรมชั่ว มันก็ไปตามนั้นไง ถ้าไปตามนั้น จุตูปปาตญาณ อนาคตมันจะเป็นอย่างนี้ๆๆ มันก็ไม่จบอีก ดึงกลับ พอดึงกลับมา ทำความสงบให้มั่นคงขึ้น เวลาอาสวักขยญาณ อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขาราปจฺจยา วิญฺญาณํ ปัจจยาการของจิต เห็นไหม ทฤษฎีสัมพันธ์ของจิต ที่กระบวนการของจิตที่มันจะขับเคลื่อนน่ะ ความคิดนี้มาจากไหน จิตนี้มันมาจากไหน แล้วอะไรเป็นความคิด อะไรเป็นจิต แล้วอะไรเป็นมรรค แล้วอะไรเข้ากระบวนการของมันจะเกิดขึ้นมาได้อย่างไร กระบวนการมันเกิดขึ้น การกระทำของมันขึ้นมา นี่อาสวักขยญาณ ชำระอวิชชา นี่ไง ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าศีล สมาธิ ปัญญา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา ชำระล้างอย่างนี้ขึ้นมา

ถึงจะบอกว่า ถ้าเราระลึกพุทโธ เราระลึกขึ้น จิตมันก็มีการกระทำ ถ้าเราไม่ระลึก เราก็ปล่อยมันตามสะดวกตามสบาย แล้วตามสะดวกตามสบาย นั่นน่ะ มิจฉาทิฏฐิทั้งนั้นน่ะ เพราะมันจับต้นชนปลายไม่ได้ แล้วมันตั้งต้นขึ้นมาไม่ได้ แล้วถ้ามันตั้งตัวขึ้นมาไม่ได้ แล้วเอาอะไรประพฤติปฏิบัติ

สมถกรรมฐาน ฐานที่ตั้งแห่งการงาน หน้าที่การงานของเขา เขาทำงานสิ่งใดเขาก็ได้ผลประโยชน์ของเขา ถ้าเขาทำถูกต้องดีงามของเขา ทำงานของเขา ถ้าทำแล้วประสบความสำเร็จหรือไม่ประสบความสำเร็จก็อยู่ที่อำนาจวาสนาของเขา อยู่ที่ความขยันหมั่นเพียรของเขา อยู่ที่สติปัญญาของเขา แล้วเราจะประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เราละเอียดกว่านั้นนะ นี่พูดถึงทางโลก ถ้าทางโลกเป็นวัตถุ วัตถุที่เปรียบเทียบได้ ถ้าทางธรรมๆ ทางธรรมก็คือนามธรรม ทางธรรมก็ทางความรู้สึกไง ความรู้สึกนี้สัมผัสธรรมะได้ ความรู้สึกนี้สัมผัสความทุกข์ความสุขได้ ความรู้สึกนี้โดนกิเลสตัณหาความทะยานอยากมันบีบคั้นมา ใครสร้างสมบุญญาธิการมาขนาดไหน มีความยึดมั่นถือมั่นสิ่งใด ของเล็กน้อยมันก็เหยียบย่ำหัวใจให้มันทุกข์ยากขึ้นมา

แต่คนที่มีสติปัญญาขึ้นมา ของจะใหญ่โตขนาดไหน เขามีสติปัญญาพิจารณาของมัน ปล่อยวาง พยายามปล่อยวางให้มันเล็กลงๆ นี่ปัญหาใหญ่โตขนาดไหนมันก็แก้ไขได้ด้วยสติปัญญาของเรา สติปัญญาของเราเท่านั้นที่มันจะแก้ไขวิกฤติในชีวิตของเรา ถ้ามันแก้ไขวิกฤติในชีวิตของเรา มันมีสติมีปัญญา นี่จิตเข้มแข็ง ถ้าจิตเข้มแข็งแล้ว ถ้าเราจะมาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา หน้าที่การงาน เราก็ทำของเรามาแล้ว ถ้าเราจะประพฤติปฏิบัติ มันก็ต้องเป็นรูปธรรมที่จับต้อง ที่มันเป็นชิ้นเป็นอัน ถ้าเป็นชิ้นเป็นอัน แล้วตรงไหนเป็นชิ้นเป็นอันล่ะ

จิตที่เป็นนามธรรมที่เป็นชิ้นเป็นอัน ก็ระลึกนี่ไง ระลึกรู้นี่ ถ้าระลึกขึ้นมา จิตมันก็ทำงานเต็มไม้เต็มมือของมัน ระลึกพุทโธๆ ระลึก แล้วเกาะมันแน่นๆ เกาะมันชัดๆ เวลามันเป็นขึ้นมา ไม่ใช่ว่า “องค์ของฌาน วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ ผมก็ทำครบแล้ว” มันก็สร้างอารมณ์แต่ละชิ้นๆ ขึ้นมา มันสร้างขึ้นมา

คำว่า “สร้าง” ขโมยปัญญาเขา คำว่า “สร้างขึ้นมา” เพราะจิตอยู่ไหนล่ะ จิตนี้มันเป็นพลังงาน ความรู้สึกนึกคิดขึ้นมาเกิดจากจิต เราสร้างเป็นชิ้นๆ ให้มันอยู่ข้างนอก แล้วเราก็จะมาประกอบ เหมือนรถยนต์ไง เอาอะไหล่มาประกอบขึ้นมาเป็นรถยนต์คันหนึ่ง นี่ก็เอาความรู้สึกนึกคิดทั้งหมดแล้วมาประกอบเอาเป็นสมาธิ เป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา นี่ปัญญาขโมยเป็นอย่างนี้ ปัญญาที่มันขโมยเขามา มันไม่เป็นความจริง

แต่ถ้าเราระลึกพุทโธ ระลึกขึ้นมา จิตมันทำ จิตมันต้องเป็นอย่างนั้น ระลึกขึ้นมา พุทโธ วิตก วิจาร พุทโธๆๆ เราไม่ได้สร้างอารมณ์ เราไม่ได้ทำสิ่งใดทั้งสิ้น จิตของเราเกาะอยู่กับพุทโธนี้ ถ้าเกาะอยู่กับพุทโธนี้ ถ้ามันเกาะอยู่ ถ้ามันมีสติปัญญาหรือมีอำนาจวาสนาขึ้นมา มันกลมกลืนกัน มันก็พุทโธได้ง่ายๆ มันพุทโธขึ้นมาแล้วมีสติปัญญา ถ้าพุทโธๆ อืม! อยู่กับพุทโธนี่ก็สะดวกดีเนาะ ไม่ต้องไปเผาลนใจ ไม่ต้องให้อารมณ์มาบีบคั้นในหัวใจจนเกินไป อยู่กับพุทโธ ถ้ามันกลมกลืนกัน ถ้ากิเลสมันแฉลบ มันก็บอกว่า “โอ๋ย! พุทโธแล้วมันสะดวกเนาะ อย่างนี้เป็นสมาธินะ” นี่มันจะเป็นมิจฉาทิฏฐิแล้วแหละ มันจะออกไปสู่กิเลส กิเลสมันจะขโมยความเพียร ขโมยผลของการปฏิบัติเราไปหมดเลย แล้วมันก็จะพาให้เราเข้ารกเข้าพงไป

เรามีสติปัญญาของเรา เราได้ลุ่มหลงมาแล้ว เราได้ผิดพลาดมาพอแรงแล้ว เราจะไม่เชื่อใคร เราจะไม่ตามใคร อยู่กับพุทโธ พุทโธๆๆ ถ้าพุทโธอย่างเดียวก็ได้ พุทโธนี่พุทธานุสติ ถ้ากำหนดลมหายใจพร้อมพุทโธ มันเป็นอานาปานสติกับพุทธานุสติ เราทำร่วมกัน นี่พุทโธก็ได้ ใช้ลมหายใจก็ได้ แต่ถ้าเราใช้ร่วมกันก็ได้ อยู่ที่เทคนิคที่เราจะใช้ขึ้นมาเพื่อเราจะเอาชนะอารมณ์ตัวเราเอง

เวลาที่เราจะทำความสงบของใจใช่ไหม ถ้าเป็นครูบาอาจารย์ที่ท่านชำนาญ ท่านกำหนดเป็นสมาธิ ท่านกำหนดให้จิตสงบด้วยความชำนาญ ทำได้ง่ายๆ เลย ด้วยความชำนาญนะ แต่ของเรามันไม่ชำนาญ พอเราไม่ชำนาญ เราฝึกหัดใหม่ใช่ไหม เราฝึกหัดใหม่ เราต้องพุทโธชัดๆ พุทโธชัดๆ ไม่ให้มันแฉลบไปไหน ถ้ามันคล่องตัว มันเริ่มพุทโธ พุทโธกับเราเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พุทโธไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเวลาพุทโธแล้วมันติดขัด พุทโธแล้วมันมีปัญหา พุทโธต่างๆ เราก็พยายามฝึกหัดให้ใจเราชำนาญ เห็นไหม สัตว์ที่เขาจะมาฝึกใช้งาน เขาต้องฝึกมันก่อน เพราะมันสั่งได้ ทำได้ มันถึงเอามาใช้งานได้ประโยชน์ นี่ก็เหมือนกัน จิตของเราจะเปรียบเหมือนสัตว์ สัตตะผู้ข้องไง ถ้าเปรียบเหมือนสัตว์ขึ้นมาก็บอก “โอ๋ย! ดูถูกขนาดนั้นหรือ”

ผู้ที่ปฏิบัตินะ เวลาจิตใจของเรามันเร่ร่อน จิตใจของเราออกนอกลู่นอกทาง เราจะต้องกำราบ กำราบด้วยสติปัญญาของเรา ครูบาอาจารย์หลายองค์มาก ท่านบอกว่าท่านจะกำราบจิตของตัวเอง เวลามันแฉลบ มันคิดอย่างอื่น อัดมันแรงๆ เลย แต่ถ้าเราไม่กล้าคิด ไม่กล้าทำอย่างนั้นหรือ ไอ้นี่มันเป็นประโยชน์นะ เห็นไหม รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี เราตีลูกเรา เราดูแล เราผูกสัตว์ของเราไว้ เพราะความปลอดภัย ต้องการไม่ให้คนลักเด็กไป รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี เพื่อประโยชน์กับความดีงามของเขา ด้วยความปรารถนาดี

นี่ก็เหมือนกัน หัวใจของเรา กิเลสตัณหาความทะยานอยากมันบีบคั้น มันคิดร้อยแปด จะทำสิ่งใดมันก็อ้อยสร้อย มันก็ออเซาะอยู่อย่างนั้นน่ะ ในความคิดเราน่ะ ถ้าเราผิดพลาดไป อัดแรงๆ เลย อัดมันเลย ด้วยความคิด ด้วยปัญญา ถ้ามันอัดได้ อัดแรงๆ นี่เป็นการต่อสู้ เป็นการพลิกแพลง เป็นการต่อสู้ขึ้นมา ถ้าเวลาเรากำหนดพุทโธๆ มันจะเป็นข้อเท็จจริง ถ้าเป็นข้อเท็จจริง ถ้ามันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันก็พุทโธได้ง่าย

ถ้าพุทโธได้ง่าย ถ้าพุทโธละเอียดขึ้น จะละเอียดขึ้น พอละเอียดขึ้น ขนพองสยองเกล้า ตัวนี้เบา ตัวนี้เวิ้งว้าง ตัวเราเหมือนกับไม่มีเนื้อหนังมังสาเลย ข้างในมันกลวงหมดเลย นี่ไง ถ้าอย่างนี้จิตมันเป็น วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ ถ้าจิตมันเป็น ไม่ใช่ว่า คิดว่าวิตกก็วิตกแล้ว วิจารก็วิจารแล้ว ปีติก็ปีติแล้ว สร้างอารมณ์อยู่ข้างนอกนู่นน่ะ ขโมยปัญญาเขามา

แต่ถ้ามันเป็นความจริง มันเป็นความจริงจากการกระทำ ความจริง ปัจจัตตัง สันทิฏฐิโก เวลาจิตมันเป็น พุทโธๆๆ มันเวิ้งว้าง ขนพองสยองเกล้า นั่นเกิดปีติ แล้วปีติแล้วก็พุทโธต่อเนื่องไป ถ้ามันมีความสุข ให้มันปีติไป พอมีปีติขึ้นมา มีสิ่งใดขึ้นมา โอ้โฮ! นี่เป็นปีติหมดเลย ปฏิบัติแล้วต้องอยู่กับปีตินั้นน่ะ

เวลาจิตมันพัฒนาขึ้น พอมันผ่านไป ปีติก็มีอยู่นั่นแหละ แต่ปัจจัตตัง จิตนี้มันสัมผัสจนมันคุ้นชินแล้ว มันจะพัฒนาของมันขึ้นไป ขึ้นไปก็คือสุข สุขก็คือความเป็นสุขไง ไม่ต้องขนพองสยองเกล้า ไม่ต้องมีอาการอะไรมันก็สุขได้ เหมือนเรา เราทำสิ่งใดอยู่เราก็พอใจใช่ไหม พอเราทำเสร็จ เราวางไว้มันก็จบไง เป็นความสุขก็คือความสุข ถ้าเป็นความสุขแล้ว เอ๊! ทำไมมันไม่มีอาการอย่างนั้นเลย ไม่มีสิ่งใดเลย นี่มันจะแฉลบแล้ว ถ้ามันแฉลบไปมันก็เป็นมิจฉาทิฏฐิ มันไม่ใช่สัมมาทิฏฐิ

ถ้าสัมมาทิฏฐิ เราทำตามข้อเท็จจริงของเรา ถ้าทำตามข้อเท็จจริงของเรา ถ้ามันเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก มันเป็นปัญญาของเราไง มันเป็นประสบการณ์ของเราไง ศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราไม่ขโมยมา เราไม่ขโมยธรรมะของครูบาอาจารย์เรามา ครูบาอาจารย์ท่านเทศนาว่าการ ถ้าเราฟังธรรมๆ เกาะสิ่งนั้น ถ้าจิตที่มันพิจารณาของมันไป มันเป็นคุณสมบัติของจิตที่มันปล่อยวางได้ เป็นคุณสมบัติของจิตที่มันมีปัญญาต่อเนื่องได้ อันนั้นจะเป็นปัญญาของเรา แต่เราฟังๆ เราฟังเพื่อประโยชน์ไง เราฟังเพื่อประโยชน์ ฟังแล้วสาธุ ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็สาธุ ธรรมะของครูบาอาจารย์ก็สาธุ มันเป็นหัวเชื้อที่ทำให้เราเกิดปัญญาขึ้นมา

ถ้าเราเกิดปัญญาขึ้นมา ถ้าปัญญาทางโลกก็เป็นปัญญาอบรมสมาธิ เวลาปัญญามันเกิดนะ เวลาฟังสัจธรรมนี้มันสะเทือนหัวใจ ธรรมเกิดๆ เราใช้ปัญญาของเราไป ถ้าปัญญาของเราไปอย่างนี้ ปัญญาของเรา สิ้นสุดกระบวนการของมันก็คือสมาธิ คือปัญญาอบรมสมาธิ เอาสิ่งนั้นเป็นหัวเชื้อ ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิ เรามีสติปัญญารู้เท่าทัน มันจะเห็นเลย อ๋อ! สิ่งที่เป็นนามธรรมมันเป็นอย่างนี้ แล้วมันจับต้องได้ มันจับต้องได้นะ

เวลาผู้ที่ปฏิบัติใหม่ เวลาความรู้สึกนึกคิดมันเกิดขึ้นมามันก็บีบคั้นหัวใจ แล้วทำสิ่งใดก็ทำไม่ถูก ทำสิ่งใดก็ทำไม่ได้ จะทำสมาธิหรือ มันก็บีบคั้น มันก็ลำบากลำบนไปทุกเรื่องเลย จะเป็นปัญญาอบรมสมาธิหรือ สติปัญญาก็ไม่เท่าทันมัน แต่ถ้าเป็นมิจฉาทิฏฐินะ จินตนาการเอา คิดเอา คิดเอาเอง คิดเองเออเอง มันไปได้หมดล่ะ แล้วมันก็สร้างภาพไปหมด มันเป็นสัญญา สัญญาคือความจำได้หมายรู้ พอสัญญานี้มันร้ายนัก กิเลสมันเอาสิ่งนั้นมาพลิกแพลงว่าเป็นประโยชน์กับเรา กิเลส อุปกิเลส กิเลสอันละเอียดมันก็หลอกลวงเราไปเรื่อยล่ะ มันไม่เป็นความจริงไง เพราะขโมยปัญญาเขามา ขโมยปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขโมยปัญญาของครูบาอาจารย์เรามา แล้วเราก็มาสร้างภาพของเราไปเอง

แต่ถ้าเราฟัง ฟังเทศน์ครูบาอาจารย์ ฟังแล้วมันสลดหดหู่ มันเกิดธรรมสังเวช มันสะเทือนใจ ถ้ามันสะเทือนใจ แสดงว่ากิเลสของเรามันสั่นไหว ถ้ากิเลสมันสั่นไหว เราก็ตั้งใจทำของเรา ตั้งใจทำของเราให้มันเป็นความจริงของเรา เป็นของเรา ไม่ใช่ขโมยเขามา ทำสมาธิ ถ้าเป็นสมาธิขึ้นมาก็เป็นสมาธิของเรา ถ้าเป็นสมาธิของเราก็มีความสุขแล้วล่ะ ถ้าความสุขของเรา นี่ไง ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะเรามีศีล เรามีสมาธิ สมาธิมันเกิดจากไหน? เกิดจากจิต จิตเวลามันฟุ้งมันซ่านขึ้นมา จิตที่มันมีกิเลสตัณหาความทะยานอยาก มันเอาแต่ฟืนแต่ไฟมาเผาลนตัวมันเอง แต่เวลามันสงบระงับขึ้นมา ก็จิตดวงเดิมนั่นแหละ จิตดวงเก่านี่แหละ เวลาถ้ามันทำสมาธิได้ มันมีคุณงามความดีขึ้นมาได้ มันก็เป็นคุณประโยชน์กับมัน แต่เวลากิเลสตัณหาความทะยานอยากท่วมหัวใจของมัน มันก็เผาลนหัวใจของมัน ก็จิตดวงนี้แหละ แต่เพราะเรามีสติปัญญา เรารักษาตัวเราไง

หน้าที่การงานทางโลกเราทำมาหมดแล้วนะ งานสิ่งใดเราก็ทำได้ งานสิ่งใดเราขวนขวายทำมา แต่หัวใจนี้เราค้นหาเราไม่เจอ ถ้าเราค้นหาของเราเจอ ถ้ามันเป็นสัมมาสมาธิของเราขึ้นมา มันเป็นสมบัติของเรานะ มันเป็นสมบัติของเรา มันเป็นความจริงของเรา นี่มันเกิดจากการกระทำของเรา ถ้าการกระทำของเรามันเป็นความจริงของเรา

ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์ธัมมจักฯ เวลาพระอัญญาโกณฑัญญะมีดวงตาเห็นธรรมๆ มันมีดวงตาเห็นธรรมมาจากไหนล่ะ มีดวงตาเห็นธรรมเพราะจิตของพระอัญญาโกณฑัญญะมีความสงบระงับแล้ว ใคร่ครวญธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยปัญญาของพระอัญญาโกณฑัญญะ จนพระอัญญาโกณฑัญญะเห็นจริงรู้จริงตามความเป็นจริง สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายต้องดับเป็นธรรมดา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสาธุการเลย “อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ”

ของเรา ถ้าเราประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริงของเรา ไม่ต้องให้ใครมาพยากรณ์ ไม่ต้องให้ใครมาอนุโมทนา เราจะเอาความจริงของเรานี่แหละ ถ้าเอาความจริงของเราขึ้นมา เราก็ต้องปฏิบัติตามความเป็นจริงของเรา ถ้าตามความเป็นจริง เอาธรรมจริงๆ อย่าสร้างอารมณ์ สร้างอารมณ์คือสัญญาทางอารมณ์ทั้งนั้นน่ะ มันเกิดขึ้นจากจินตนาการ มันไม่เป็นความจริง

ถ้าเป็นความจริง จิตสงบแล้วเราก็รู้ว่าสงบ เพราะจิตสงบมันมหัศจรรย์ ถ้ามหัศจรรย์ ถ้าเราน้อมไปเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง มันสะเทือนหัวใจ มันมีรสของธรรม นี่กิจจญาณ สัจจญาณ มันเป็นสัจจะเป็นความจริงอยู่แล้ว มันเป็นสัจจะเป็นความจริงนะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมนะ วิมุตติสุข องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยมาแล้วนะ แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการขึ้นมา พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระอรหันต์ในสมัยพุทธกาลมหาศาลเลย แล้วก็ต่อเนื่องมา ถ้าผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ เวลาพระอานนท์ถามว่า “องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านิพพานไปแล้ว มรรคผลนิพพานจะหมดลงเมื่อไหร่”

“อานนท์ ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม โลกนี้จะไม่ว่างจากพระอรหันต์เลย”

คำว่า “สมควรแก่ธรรม” สมควรคือสัจจะความจริงอันนั้น ถ้าสมควรแก่สัจจะความจริงอันนั้น เวลาเราประพฤติปฏิบัติ ถ้าผู้ที่ประพฤติปฏิบัติด้วยความอ่อนด้อย มันไปขโมยของเขามา แล้วถ้าผู้ที่ไปปฏิบัติมีกำลังขึ้นมา ถ้าไม่มีวุฒิภาวะ มันก็เป็นมิจฉาทิฏฐิอีก มิจฉาทิฏฐิคือเอากิเลสตัณหาความทะยานอยากของตัวบวกกับธรรมะเข้าไป บวกกับธรรมะก็เป็นสัญญาไง บวกกับธรรมะก็เป็นข้อมูลขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง มันก็เป็นข้อมูลของครูบาอาจารย์ที่ท่านเทศนาว่าการไว้ไง ด้วยมิจฉาทิฏฐิของเรา ด้วยความเห็นผิดขึ้นมามันก็บวกเข้าไป มันก็เหมือนกับการขโมยมา การขโมยมาแล้วเอามายำจนไม่เป็นความจริง ถ้าไม่เป็นความจริงมันรู้ได้อย่างไร ไม่เป็นความจริงมันอยู่ที่พฤติกรรมนั้นน่ะ พฤติกรรมนั้นไม่คงที่

ธรรมะมีหนึ่งเดียว อริยสัจมีหนึ่งเดียว พระโสดาบันเป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามีเป็นพระสกิทาคามี พระอนาคามีเป็นพระอนาคามี พระอรหันต์เป็นพระอรหันต์ จริงๆ ตามความเป็นจริงอย่างนั้น แล้วถ้าตามความเป็นจริงอย่างนั้นแล้ว ถ้ามีคุณสมบัติอย่างนั้นแล้ว สีลัพพตปรามาส ไม่ลูบไม่คลำ มันไม่ลูบไม่คลำในธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันเป็นความจริง มันเป็นจริง ถ้าเป็นจริงแล้ว พฤติกรรมที่แสดงออกจะลงธรรมะ จะลงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่แถออกนอกลู่นอกทาง

ยิ่งพระสกิทาคามี กามราคะปฏิฆะมันอ่อนลง มันสูงส่งกว่า แล้วพอพระอนาคามี กามราคะปฏิฆะมันขาดไปเลย ถ้าขาดไปเลย มันเหมือนกับผู้ที่ประพฤติพรหมจรรย์ เวิ้งว้างไปหมด แต่มันยังมีภวาสวะ ยังมีภพ ยังมีจิตอยู่ ถ้ามันไปเจอตัวจิตก็ไปเจออวิชชา พอทำลายภวาสวะ นี่วิมุตติสุขที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านเสวยของท่านอยู่ นี่ถ้ามันเป็นความจริง มันเป็นความจริงอย่างนี้ เพราะมันเป็นความจริง ถ้ามันไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิ

ถ้ามันเป็นมิจฉาทิฏฐิขึ้นมา เอาความรู้ความเห็นของตัวบวกเข้าไปกับธรรมะ ถ้าบวกเข้าไปกับธรรมะ ธรรมะเป็นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขโมยมา แล้วพอความจริงล่ะ ความจริง จิตใจมันก็สั่นไหวไง จิตใจมันก็ไม่มีหลักมีเกณฑ์ไง ทำสิ่งใดมันก็เป็นทุศีล ว่าอย่างนั้นเลย มันเป็นการทุศีล มันเป็นการไม่ลงสัจจะ เพราะไม่มีสัจจะความจริงในหัวใจ ถ้ามีสัจจะความจริงในหัวใจ ถ้าเป็นสัมมาสมาธิก็เป็นสัมมาสมาธิ มันมีรสมีชาติ รสชาติของสมาธิ เวลาน้อมไปเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง ถ้าเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง มันเป็นอีกรสชาติหนึ่ง

เพราะรสชาติของสัมมาสมาธิเป็นรสชาติของสัมมาสมาธิ เพราะชื่อมันก็คนละชื่ออยู่แล้ว ความเป็นไปมันก็ต้องต่างกัน แต่ถ้าพอเป็นสัมมาสมาธิ ศีล สมาธิ เกิดปัญญา ปัญญามันจะเกิดขึ้นได้ เพราะเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง

ถ้าเห็นเวทนา เวทนา อะไรคือความเศร้าหมอง คือความคับแค้นหัวใจ เวทนาคือสิ่งที่เวทนาจิต เวทนาจิตที่มันคับข้องใจต่างๆ

เวลาจิตสงบแล้วมันจะมีความคับข้องใจได้อีกหรือ

จิตมันสงบแล้วมันก็สงบสิ แต่เวลามันจับความคับข้องใจ มันคือขันธ์ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ถ้ามันจับของมันได้ มันจับของมันได้ มันก็พิจารณาได้ ถ้ามันเป็นเวทนานะ

ถ้ามันจับจิต จิตมันเศร้าหมองผ่องใส

ถ้าธรรมารมณ์มันก็เป็นปัญญาไปเลย

ถ้ามันเห็นกายล่ะ กายนอก กายใน ถ้าเห็นกายนอก สิ่งต่างๆ ถ้ากายภายใน ถ้ามันจับได้ มันยิ่งสั่นไหวเข้าไปใหญ่ในหัวใจ มันสั่นไหวเพราะอะไร มันสั่นไหวเพราะเป็นปัญญาของจิตดวงนั้นไง เพราะจิตดวงนั้น ดูสิ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ มันมีระดับของมันที่มันจะพัฒนาของมันขึ้นไป

นี่ก็เหมือนกัน ของเรา เวลาจิตที่มันฟุ้งมันซ่านอยู่นี่ จิตที่มันมีกิเลสตัณหาความทะยานอยากบีบคั้นอยู่นี่ เพราะเรามีความเชื่อมีความศรัทธาขึ้นมา เราถึงมาประพฤติปฏิบัติ เราถึงพยายามรักษาศีล ศีลภายนอกก็คือศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ เราไม่ทำความผิดมันก็ไม่ผิด แต่ถ้าเราทำสัมมาสมาธิ เราจะรักษาหัวใจไม่ให้มันคิด ไม่ให้มันแฉลบออก มโนกรรม มโนกรรมคือความรู้สึกนึกคิด ความรู้สึกนึกคิดที่มันฟุ้งมันซ่านอยู่นี่ เรากำหนดพุทโธๆ เสีย บังคับ ต้องบังคับขู่เข็ญ ต้องมีการกระทำ ถ้าไม่มีการบังคับ ไม่มีการขู่เข็ญ ไม่มีการกระทำ ใครเป็นคนทำ ถ้าไม่มีคนทำ จิตมันไม่กำหนดระลึกถึงพุทโธ ไม่กำหนดถึงพุทธะ ไม่วิจาร มันจะเอามาจากไหน จิตมันจะมีการขับเคลื่อนอย่างไรมันถึงจะสงบเข้ามาได้ ความจริงมันอยู่ที่นี่ ถ้าความจริงอยู่ที่นี่ ถ้าทำความเป็นจริงขึ้นมามันก็เป็นความจริงขึ้นมา ศีล สมาธิ ปัญญา

แล้วปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ถ้าปริยัติก็ศึกษามาแล้ว ถ้าโดยกิเลสมันก็ว่ามันมีความรู้ๆ นี่ขโมยปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา สำคัญตนว่าเป็นปัญญาของเรา เดี๋ยวก็ลืม สัญญาคือความจำ ถ้าปริยัติ ถ้าปฏิบัติ ปฏิบัติ เราฝึกฝน ปฏิบัติคือการฝึกฝน มีการกระทำ ประสบการณ์ของจิต จิตที่มันกระทำ ฝึกฝน พุทโธ เวลาระลึกขึ้นมาให้จิตมันทำงาน ให้จิตมันเป็นความจริง พอเป็นความจริง มันก็เป็นปัญญาของจิตดวงนั้นใช่ไหม มันก็เป็นปัญญาของเรา ปัญญาของเราถ้ามันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ เป็นปัญญาของเรา เป็นปัญญาจริงๆ ไม่ใช่ขโมยใครมา แต่ศึกษามาเป็นปริยัติ ศึกษามาเป็นแนวทาง แต่เวลาปฏิบัติขึ้นมา เราต้องให้เป็นความจริงของเราขึ้นมา

ถ้าเป็นความจริงขึ้นมา มันมีรสมีชาติ รสของสมาธิธรรม รสของปัญญา พิจารณาไปแล้วเวลามันปล่อย ตทังคปหานอีกแล้ว ถ้ามันปล่อย มันปล่อยด้วยการกระทำ ปล่อยด้วยความจริง มันมีรสมีชาติ มันเป็นความจริง ถ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ เวลาว่ามันปล่อยๆ มันสร้างภาพ มันสร้างอารมณ์ว่าปล่อย เวลามีอารมณ์ก็ว่ามีอารมณ์ของตัวเองขึ้นมา เวลามันปล่อยไปก็คิดว่าตัวเองปล่อย ปล่อยอะไร ถ้าเป็นความจริงสิ ความจริงมันก็เป็นความจริงของมันขึ้นมา ถ้าความจริงอย่างนี้มันถึงจะเป็นความจริง จริงเกิดจากการกระทำ ทำจริงๆ เป็นจริงๆ ถ้าทำจริงๆ นี่ปัญญาของเราๆ ปัญญาเกิดจากการภาวนา นี่ภาวนามยปัญญา

จินตมยปัญญาเป็นอย่างหนึ่ง ภาวนามยปัญญาเป็นอย่างหนึ่ง เวลาจินตมยปัญญา จินตนาการมันเป็นเรื่องกิเลส มันมีความเป็นไปของเราทั้งนั้นน่ะ แต่ถ้ามันเป็นภาวนามยปัญญาสิ เพราะภาวนามยปัญญามันครบองค์ประกอบ มันมีศีลธรรมของมัน มันเป็นความจริงของมัน ความจริงของมัน เวลามันปล่อย ปล่อยก็ตทังคปหาน มันเป็นตทังคปหาน เป็นของชั่วคราวๆ ของชั่วคราวแล้วมันต้องทำต่อเนื่อง ถ้าทำจริง ทำต่อเนื่องขึ้นมา ถ้าทำต่อเนื่องมันก็เป็นประโยชน์ใช่ไหม เป็นประโยชน์กับใคร

ทำจากใจดวงนี้ ถ้าใจดวงนี้มันทำ มันฝึกฝนๆๆ นี่มันเป็นจริง ความจริงก็คือความจริงไง ถ้ามันไม่จริงก็คือมันไม่จริงของมัน มันไม่จริง มันก็เป็นการขโมย การขโมยมา การลักมามันไม่ใช่ของเราทั้งนั้นน่ะ แต่ถ้าเวลาการประพฤติปฏิบัติมันเป็นของเรา เราทำจริงๆ ถ้ามันเป็นจริง เป็นของเรานะ เราก็จะแยกแยะของเรา ดูแลหัวใจของเรา มันเจริญเติบโตขึ้นมาได้

จากคนที่ล้มลุกคลุกคลาน ปุถุชน กัลยาณปุถุชน ปุถุชนคนหนา คนหนา กิเลสตัณหาความทะยานอยากมันบีบคั้นทั้งนั้นน่ะ เวลาเป็นกัลยาณปุถุชน รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร มันพิจารณาแยกแยะของมันนะ เวลามันปล่อยๆๆ พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ เวลามันขาด มันขาดเลย พอมันขาดขึ้นมา นี่กัลยาณปุถุชน ที่ว่าทำสมาธิแสนทุกข์แสนยาก ทำสมาธิที่ทำไม่ได้ขึ้นมา มันทำได้แล้ว มันทำได้เพราะอะไร เพราะมันฝึกฝนมาจนมันทำได้ นี่เพราะการฝึกฝน มีการกระทำ มันถึงเป็นของเรา ปัญญาของเราไง ไม่ใช่ขโมยใครมา ไม่ใช่ฉกฉวยของใครมา เข้าไปขโมย ไปฉกฉวยมา ไปฉกฉวย ไม่ได้ตั้งใจ

ใครๆ ก็ต้องการประพฤติปฏิบัติแล้วได้ผลใช่ไหม ใครจะไปลักไปขโมยของใครมา แต่กิเลส ความเห็นแก่ตัว ความเคยชินของมัน ใครจะรู้ได้อย่างไรว่าเราขโมยหรือไม่ขโมย ถ้าเราไม่ขโมย ตัณหาความทะยานอยากมันไปเอามาแล้ว เพราะมันเร็วจนเราไม่ทันมันไง แต่ถ้าเราฝึกหัดของเราบ่อยครั้งๆ มันจะรู้มันจะเห็น มันจะรู้จะเห็นแล้ว จะรู้จะเห็นของมันบ่อยครั้งเข้าๆ มันจะดีขึ้นเรื่อยๆ ดีขึ้นเรื่อยๆ จากปุถุชนเป็นกัลยาณปุถุชน ถ้าปุถุชน กัลยาณปุถุชน มันพิจารณาของมัน มันทำของมัน มันเป็นความจริงขึ้นมา นี่สัมมาสมาธิ

สมาธิที่มันฝึกหัดๆ จนมันตั้งมั่น พอตั้งมั่นขึ้นมาแล้วเราน้อมไปเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง แล้วแยกแยะๆ นี่มันเป็นปัญญาของเรา ปัญญาของจิตดวงนั้นนะ สมถกรรมฐาน ฐานที่ตั้งแห่งการงาน เพราะมันมีที่ตั้งของมัน มีฐานของมัน กรรมฐานของมัน มันถึงจะเป็นประโยชน์กับมัน ถ้าฐานที่ตั้งแห่งการงานมันไม่มี ล้มลุกคลุกคลานอยู่อย่างนั้นน่ะ มันเป็นการขโมยหมด มันเป็นอุปกิเลส กิเลสอย่างละเอียด พอกิเลสอย่างละเอียด คำว่า “กิเลสอย่างละเอียด” มันเป็นกิเลสอยู่ใช่ไหม เวลามันละเอียดมันก็ละเอียด เวลามันคลายออกมาน่ะร้อน เว้นไว้แต่คนหน้าด้าน คนหน้าด้านพยายามจะคิดถึงอดีตของตัวเองว่าเราเคยได้ๆ เราเคยได้ มันเป็นอะไรล่ะ

เราเคยได้ มันเป็นสิ่งที่เป็นอดีตอนาคตไป มันแก้กิเลสไม่ได้ ถ้าแก้กิเลสไม่ได้ คนที่ภาวนาแล้วถ้ามันเสื่อมไป มันเสียใจอย่างนี้ มันเสียใจที่ว่า เรากว่าจะมุมานะ เรากว่าจะทำของเราได้มันก็แสนทุกข์แสนยาก แล้วมันเสื่อมไปๆ มันเสื่อมไปหมดเลย นี่จิตเจริญแล้วเสื่อมไง ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติมันจะมีประสบการณ์อย่างนี้ ประสบการณ์ว่า เวลาเราปฏิบัติก็แสนทุกข์แสนยาก เวลามันเจริญขึ้นมา มันดีขึ้นมา มันก็เป็นนามธรรม เป็นนามธรรม ถ้าผู้ที่ปฏิบัติใหม่ เราจะรักษาอย่างไร เราจะดูแลรักษาอย่างไร เพราะเรายังเป็นผู้ปฏิบัติใหม่ไง

ที่ว่าครูบาอาจารย์ของเราเวลาท่านกำหนดแล้วเป็นสมาธิ ชำนาญในวสี ท่านเข้าได้เลยๆ พอเข้าได้เลย เวลายกขึ้นสู่วิปัสสนา วิปัสสนา พอมีสมาธิ มีกำลังแล้ว มันทำได้นะ พอมันทำได้ พิจารณาได้ มันแยกแยะของมันๆ นี่ปัญญามันเกิดเป็นชั้นเป็นตอน ที่ว่า คำว่า “ภาวนามยปัญญา” ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการภาวนา การศึกษาเป็นการศึกษา ปริยัติเป็นปริยัติ ศึกษามาเป็นสัญญาทั้งนั้น ศึกษามาเป็นสัญญา ศึกษามาแล้ว ถ้าเป็นวัฒนธรรมประเพณี คนที่มีปัญญาก็ไม่สงสัยเรื่องสิ่งใด คนนั้นก็คิดว่าเข้าใจ เข้าใจมันเข้าใจเรื่องโลกไง เข้าใจก็เข้าใจเรื่องชีวิตนี้ไง แต่มันไม่เข้าใจเรื่องกิเลสไง ถ้ามันไม่เข้าใจเรื่องกิเลส การเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ จิตนี้มันมาจากไหน เกิดเป็นมนุษย์มันเกิดมาอย่างไร

เกิดเป็นมนุษย์ ถ้าเราไม่ต้องทำสิ่งใดเลยนะ เราใช้ชีวิตของเราไป มันก็ไปตายเอาวันข้างหน้านั่นน่ะ ถึงที่สุดแล้วชีวิตนี้ก็ต้องพลัดพรากเป็นที่สุด มันก็ต้องตายไปเป็นธรรมดา เวลาเกิดขึ้นมา เกิดมาจากความไม่รู้ เกิดมาจากอวิชชาที่มันพาเกิด เกิดมาแล้ว ศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วว่าเข้าใจ นี่ขโมยธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาด้วยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก แล้วก็เข้าใจว่าตัวเองเข้าใจ ตัวเองรู้ มันก็มีความสบายใจ สบายใจว่าธรรมะเป็นอย่างนั้น รื่นเริงอย่างนั้น แต่เวลาตายไป ไม่ได้อะไรเลย ถ้ามีบุญกุศลก็ไปเกิดเป็นเทวดา อินทร์ พรหมเท่านั้นน่ะ มันก็อยู่ในวัฏฏะนี่ เพราะมันไม่มีการกระทำจริง

ถ้ากระทำจริง จิตมันสงบ จิตมันสงบขึ้นมามันเกิดปัญญาของเราขึ้นมาเอง ปัญญาเกิดจากการภาวนา ถ้าปัญญาเกิดจากการภาวนา ถ้าพิจารณากาย ให้มันเป็นไตรลักษณ์ ให้มันแยกแยะของมันไป ถ้าแยกแยะของมันไป มันปล่อยๆๆ ถ้ามันเป็นจริง มันปล่อย ถ้ามันไม่เป็นจริง สัมมาสมาธิ กำลังไม่พอ มันปล่อยไม่ได้ มันปล่อยไม่ได้เพราะยางเหนียว ยางเหนียวนี่มันรั้งไว้ๆ แต่ถ้าเป็นอุปกิเลส มันก็สร้างภาพไปอย่างนั้นน่ะ

นี่พูดถึงขโมยปัญญาเขาก็เป็นอย่างหนึ่ง ถ้ามีสติมีปัญญา มันจะแยกแยะ มันจะพิจารณาว่าเราเคยทำอย่างนี้ แล้วเราจะพัฒนาให้มันดีขึ้น ให้เป็นปัญญาของเรา แต่ถ้ามันไม่มีสติปัญญา มันขโมยเขามาอย่างไรมันก็ขโมยเขามาอยู่อย่างนั้นน่ะ แล้วมันก็ย่ำอยู่กับที่อย่างนั้นน่ะ แล้วมันไม่เจริญก้าวหน้าขึ้นมา ถ้าไม่เสื่อมนะ มันก็อยู่แค่นี้ แต่ถ้ามันเสื่อมล่ะ ถ้ามันเสื่อมมันก็คือไม่มีอะไรเลย เพราะเป็นปุถุชนไง มันยังไม่มีสัจธรรม ไม่มีอกุปปธรรมรองรับ เวลามันเสื่อมไปก็เสื่อมไป ทุกข์

ถ้าเสื่อมไป ทุกข์ แต่ถ้าเรามีสติมีปัญญา เสื่อมขนาดไหนต้องมีครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์จะคอยแนะคอยชี้คอยบอกให้ฟื้นฟูกลับมา ถ้าจะฟื้นฟูได้ ถ้าฟื้นฟูได้นะ ถ้าฟื้นฟูได้มันก็เจริญขึ้นมา ถ้าฟื้นฟูไม่ได้ เราก็ต้องพยายามของเรา นี่ไง มันอยู่ที่วาสนาของคน ถ้าขิปปาภิญญา ถ้าเขาได้สร้างอำนาจวาสนาของเขามา เวลาพิจารณาไปแล้วมันแยกมันแยะ มันพิจารณาของมันแล้วมันเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป อันนั้นเพราะเขาได้สร้างมา มันต้องมีที่มาไง ทุกอย่างมันต้องมีเหตุมีปัจจัย มันไม่ใช่ลอยมาจากฟ้า เป็นไปไม่ได้หรอก

ทีนี้เหตุปัจจัยของคนมันไม่เท่ากัน ไม่เหมือนกัน ถ้าเหตุปัจจัยของคนไม่เท่ากัน ไม่เหมือนกัน การประพฤติปฏิบัติขึ้นมามันก็ต้องอยู่ที่สติปัญญาของเรา อยู่ที่เหตุปัจจัยของเรา ถ้าเหตุปัจจัยของเรา เราจะแยกแยะของเรา เราจะพิจารณาของเรา ถ้าพิจารณาของเราด้วยความสมดุล เพราะว่าคนหนักไปทางสมาธิ หนักไปทางปัญญา คนจะหนักไปในทางศรัทธา ถ้าคนที่หนักไปทางศรัทธา พวกนี้พุทโธชัดๆ ได้เลย แต่คนที่หนักไปทางปัญญา มันพุทโธแล้วจิตมันคัดมันค้าน มันก็ต้องใช้ปัญญาอบรมสมาธิ

แม้แต่ทำความสงบของใจ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกไว้ถึง ๔๐ วิธีการนะ เพราะเปิดโอกาสไง เปิดโอกาสให้ทุกคน ทุกจิตทุกดวงใจมีโอกาส ถ้ามีโอกาสขึ้นมา เปิดกว้างไว้ ทีนี้เปิดกว้างขึ้นมาแล้ว เราก็เลยสับสน ถ้าเปิดกว้าง จะหยิบจับให้หมดเลย หยิบจับให้หมด ดูสิ แม้แต่จิตดวงเดียวขึ้นมา เวลาภาวนาขึ้นไป เวลาทำอย่างนี้เคยสงบ ทำไมคราวนี้มันไม่สงบ แล้วทำอย่างไร มันจะพัฒนาอย่างไร มันจะมีความชำนาญ ถ้ามีความชำนาญ คนที่มีความชำนาญ คนที่ทำงานได้ มันบริหารได้ มันพลิกแพลงได้ ให้เรามีโอกาสก้าวหน้า

ถ้าเราพลิกแพลงไม่ได้ เราขวนขวายไม่ได้ นี่ไง มันอยู่ที่อุบาย อยู่ที่คนที่มีสติมีปัญญาขนาดไหน มีอุบายขนาดไหน คิดพิจารณาของเราเพื่อประโยชน์กับเราๆ ประโยชน์กับจิตดวงนั้น ให้เป็นปัญญาของใจดวงนั้น ให้เป็นปัญญาของผู้ที่ปฏิบัตินั้นให้เป็นภาวนามยปัญญา ให้มันเป็นปัญญาจริงๆ ขึ้นมา ปัญญาของเรา ปัญญาจริงๆ ขึ้นมา มันก็เป็นมรรค

เวลาปัญญามันหมุนนะ เวลาพิจารณาไปแล้วมันหมุน โอ้โฮ! มันมหัศจรรย์ โอ้โฮ! มันเป็นอย่างนี้หรือ มันเป็นขนาดนี้ได้หรือ เวลาล้มลุกคลุกคลาน เราล้มลุกคลุกคลาน เหมือนกับเราจะไม่มีวาสนาเลย แต่ถ้าใครทำความสงบของใจเข้ามาได้ แล้วไม่นอนใจ แล้วมีครูบาอาจารย์คอยชี้คอยแนะคอยบอก คอยบอกด้วยอุบาย เราพิจารณาซ้ำ เราตั้งตัวได้ พิจารณาได้ จับต้องได้ แยกแยะได้ มันเกิดภาวนามยปัญญาขึ้นไป เป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไปๆ เพราะมันพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ มันต้องมีความขยันหมั่นเพียรไง

ถ้าพิจารณาแล้วมันตทังคปหาน คือมันปล่อย เพราะมิจฉาทิฏฐิมันก็ทำให้ลุ่มหลงอยู่แล้วใช่ไหม ทีนี้เวลามันปล่อยก็คิดว่า “โอ้โฮ! ธรรมะเป็นอย่างนี้เอง” เดี๋ยวก็เสื่อม เพราะอะไร เพราะตทังคปหาน ไม่ใช่สมุจเฉทปหาน ถ้าสมุจเฉทปหาน เวลาพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ พิจารณาทีหนึ่งมันมีความสุข มันมีรสไง รสของสมาธิธรรม เวลาเป็นสมาธิมันก็รู้จักรสชาติของมัน เวลาเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง เราก็รู้รสชาติของการก้าวเดินทางปัญญา

เวลาพิจารณาด้วยปัญญา ตทังคปหาน เราก็รู้ได้ว่ารสของปัญญามันมีคุณค่ามากกว่ารสของสมาธิ รสของปัญญา ปัญญาที่มีศีล มีสมาธิ มีปัญญารองรับนะ ไม่ใช่รสของปัญญาล้วนๆ ปัญญาขโมยมา มันไม่ใช่ ปัญญาอย่างนี้มันเกิดจากศีลของเรา มันเกิดจากสมาธิของเรา มันถึงเกิดภาวนามยปัญญาของเรา ถ้าเกิดภาวนามยปัญญา พิจารณาไปแล้วมันปล่อยๆๆ มันปล่อยขนาดไหนนะ ถ้ามันไม่ถึงที่สุด มันก็ยังไม่ครบกระบวนการของมัน

แต่พิจารณาซ้ำๆๆ พิจารณาแยกแยะไป ถึงเวลามันขาด มันต่างกัน มันต่างกันเพราะอะไร สังโยชน์มันขาด สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส เวลามันขาดไป สังโยชน์มันขาด เหมือนกิเลสมันตาย ถ้าเรามีโรคภัยไข้เจ็บอยู่ มันมีอาการไข้ มันมี เวลาโรคมันหาย อาการไข้มันหายไปไหน นี่เหมือนกัน เวลาสิ่งที่ว่าเราทำอะไรก็ไม่ได้เลย ทำสิ่งใดก็ล้มลุกคลุกคลานหมดเลย ก็ไอ้ตรงนี้ ไอ้กิเลสที่มันร้อยรัดไว้นี่ ไอ้สังโยชน์นี่ แล้วพิจารณา ทุกคนจะบอกว่า “แล้วสังโยชน์ ตัวมันเป็นอย่างไรล่ะ จะไปละที่สังโยชน์เลย”

สังโยชน์เป็นนามธรรม เป็นชื่อ อาการที่มันเกิดขึ้น เกิดขึ้นจากทิฏฐิมานะ เกิดขึ้นจากความเห็นผิด แล้วเกิดขึ้นจากความเห็นผิด นี่ไง เราจะฆ่ากิเลส กิเลส ตัวมันเป็นอย่างไร เราจะฆ่ากิเลส กิเลสเป็นนามธรรม มันไม่ใช่วัตถุ มันไม่ใช่คน คนถ้าจะฆ่าเขา เขาทำลายคนอื่น คนนั้นก็ตายไป ตายไปแล้วจิตมันตายไหม จิตเขาไม่ได้ตาย จิตเขาเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ เขายังมีเวรมีกรรมตลอดไป นี่การฆ่ากิเลส กิเลสเป็นนามธรรมที่ทุกคนไม่รู้ไม่เห็นขึ้นมา แล้วจะเอาอะไรไปฆ่ามัน เอาอะไรไปจัดการมัน ถ้าจะจัดการมัน นี่ไง ต้องมีภาวนามยปัญญา ต้องมีมรรค ถ้ามีมรรค มันเกิดมาจากไหนล่ะ สิ่งที่เป็นนามธรรมๆ จิตมันสงบแล้วมันก็เป็นนามธรรม ความรู้ความเห็นจากภายใน เวลามันจับต้องได้ มันหมุนของมัน พอเวลาภาวนา ปัญญามันเกิด เราจะมีความมหัศจรรย์ อ๋อ! มรรคมันเป็นอย่างนี้ ปัญญามันเป็นอย่างนี้ มันหมุนเป็นอย่างนี้ นี่ไง นี่คืออะไร? นี่คือปัญญาของเรา มันเกิดขึ้นจากการประพฤติปฏิบัติ มันเกิดขึ้นจากความจริง ไม่ใช่ไปขโมยของใครมา

ศึกษามาเป็นปริยัติ ปริยัติศึกษามา แล้วไม่ขโมยด้วย ศึกษามาแล้ววางไว้ เวลาปฏิบัติขึ้นมา ถ้ามันมีหลักมีเกณฑ์ เพราะเรามีปัญญา เราถึงรักษาศีลได้ คนจะรักษาศีลได้มันต้องมีปัญญา ปัญญาของผู้ทรงศีล ถ้าทำสมาธิได้มันต้องมีปัญญา ปัญญาการควบคุมหัวใจ ปัญญาการควบคุม มีสติปัญญา มันถึงลงสมาธิได้ เวลาถ้ายกขึ้นสู่ปัญญา ปัญญาอย่างนี้เป็นภาวนามยปัญญาแล้ว เป็นปัญญาของจิตดวงนั้น เป็นปัญญาของผู้ที่ภาวนา ไม่ใช่เป็นปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่เป็นปัญญาของใครทั้งสิ้น

จิตดวงใดก็แล้วแต่ที่เวียนว่ายตายเกิดขึ้นมา มันเวียนว่ายตายเกิดขึ้นมาจากมีภวาสวะ จากฐีติจิต มีเวรมีกรรมของใจดวงนั้น มันมีพญามารครอบงำอยู่ พญามารๆ เพราะมีพญามารตัวนั้นมันถึงทำให้จิตนี้เวียนว่ายตายเกิดไง

ฉะนั้น เราพิจารณาของเรา เราทำความสงบของใจเข้ามา มันเกิดมรรค เกิดมรรค ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากราบธรรมๆ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค สัจธรรมอันนี้ที่มันมีอยู่ ถ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้เองโดยชอบ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างอำนาจวาสนาบารมีมา เราเป็นสาวกสาวกะ เพราะเราเป็นสาวกสาวกะ เราเป็นชาวพุทธ เรามีศรัทธาความเชื่อขึ้นมา เราจะประพฤติปฏิบัติ เราขวนขวายของเรา ถ้าเราขวนขวายของเรา ถ้าเราทำความเป็นจริงขึ้นมา มันจะเกิดมรรคเกิดผล เกิดจากความจริงอันนี้ไง ถ้าเกิดจากความจริงอันนี้มันก็เป็นปัญญาของเรา ปัญญาของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ปัญญาของจิตดวงนั้น เพราะจิตดวงนั้นเวียนว่ายตายเกิด จิตดวงนั้นมีเวรมีกรรม จิตดวงนั้นมีการกระทำดี กรรมดีคือทำศีล สมาธิ ปัญญา คือมรรค เวลามรรคขึ้นมา กรรมดีมันก็สำรอกมันก็คายของมัน มันก็เป็นความจริงของมัน ถ้าเป็นความจริงของมัน ศีล สมาธิ ปัญญาอย่างนี้ต่างหากมันถึงเป็นความจริง ถึงเป็นการประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริงของเรา

มันไม่ใช่ว่าให้เป็นมิจฉาทิฏฐินะ มิจฉาทิฏฐิคือความเห็นผิด เพราะความเห็นผิด เราถึงคิดว่าเรามีความรู้อย่างนั้นๆ เพราะเราศึกษามาไง แต่มันเป็นเพราะว่าความอ่อนด้อยของอำนาจวาสนา มันถึงได้เบี่ยงเบนไปอย่างนั้น ทั้งๆ ที่มีวาสนานะ ทั้งๆ ที่เราเกิดเป็นคน เกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นมนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ เกิดเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาสอนตั้งแต่เรื่องระดับของทาน ระดับของทานคือระดับของโลก โลกเขาให้มีการเสียสละ มีทานต่อกัน สังคมจะร่มเย็นเป็นสุข แต่ถ้าผู้ที่ปัญญามากขึ้น ผู้ทรงศีล รักษาศีลแล้ว แล้วถ้าประพฤติปฏิบัติขึ้นไป ถ้าใครมีปัญญาขึ้นมา แทงทะลุในหัวใจของตัว ปัญญามันแทงทะลุใจของตัวนะ ถ้าแทงทะลุ แทงทะลุภวาสวะ แทงทะลุสังโยชน์ ชำระสังโยชน์ขาดออกไปจากใจ ความมหัศจรรย์มันเกิดที่นี่ไง ถ้ามันเกิดที่นี่ สิ่งใดที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากราบธรรม ธรรมนี้ถึงมีคุณค่ามาก

ธรรมะนี้มีคุณค่ามาก แต่มีคุณค่ามากมันต้องเป็นคุณค่ามากจากความเป็นจริง เพราะรสของธรรมชนะซึ่งรสทั้งปวง รสของธรรมๆ รสของสติ รสของสมาธิ รสของปัญญา แล้วปัญญามันก็มีปัญญาหลายชั้น ดูสิ สติ-มหาสติ ปัญญา-มหาปัญญา ปัญญาที่ละเอียดขึ้นไป พอพิจารณาไปเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป มันจะมีคุณค่ามากกว่านี้ ถ้ามีคุณค่ามากกว่านี้ เราทำอย่างไร

คุณค่ามากกว่านี้ก็มีครูบาอาจารย์คอยชี้นำ ถ้าของเราภาวนาเป็นแล้ว ถ้าพิจารณาของเราไปจนถึงที่สุดแล้ว สมุจเฉทปหานไปแล้ว ครบกระบวนการของมัน กระบวนการสมุจเฉทปหาน ขาด พอขาดขึ้นมา กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ โอ้โฮ! มันรวมลงแล้วมันมหัศจรรย์ มหัศจรรย์นะ

เรามืดบอด เราไม่รู้อะไรเลย แต่เวลามันขาด มันกังวานกลางหัวใจนะ ถ้าจะเกิดอีกก็ ๗ ชาติ แต่เดิมจะเกิดจะตายเราก็ไม่รู้เลยว่ามาจากไหน จะเกิดจะตายมันก็ผลของวัฏฏะ เวลากิเลสมันขาดไป หูตามันสว่าง อ๋อ! ถ้าจะเกิดอีกก็เกิดอีก ๗ ชาติ ถ้าเกิดอีก ๗ ชาติ นี่ภาวนาเป็น ถ้าพระโสดาบันจะมีภูมิรู้อย่างนี้ ถ้ามีภูมิรู้อย่างนี้ คนเรา ดูสิ เราได้สลัดการเวียนว่ายตายเกิดไปได้ส่วนหนึ่ง แล้วมันมีอยู่ข้างหน้า จะขวนขวายไหม ฉะนั้น ถ้าเป็นพระโสดาบันแล้วไม่สีลัพพตปรามาส คือไม่ลูบไม่คลำแล้ว แล้วจะพยายามขวนขวายดั้นด้นไปให้ได้ ฉะนั้น คนที่ขวนขวายดั้นด้น เหมือนนักกีฬา นักกีฬาจะรักษาสุขภาพของตัวเพื่อจะให้เล่นกีฬานั้นได้สมความปรารถนา

จิตที่มันพิจารณาขึ้นมาจนมีคุณธรรมในหัวใจ แล้วมันอยากจะไปต่อ ฉะนั้น ถึงไม่สีลัพพตปรามาส ไม่ลูบไม่คลำ ไม่วิจิกิจฉา ไม่ลังเลสงสัยสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น แล้วจะไม่ถือมงคลตื่นข่าว จะไม่ออกนอกลู่นอกทาง ถ้ายังออกนอกลู่นอกทาง ยังสำมะเลเทเมาอยู่ มันไม่มีทางเข้าตรงนี้ได้หรอก ถ้ามันเป็นความจริงในหัวใจขึ้นมา มันไม่สำมะเลเทเมา แล้วไม่ออกนอกลู่นอกทาง แล้วจะไปให้ได้ๆ แล้วจะไปให้ได้ ศีลถึงได้สะอาดบริสุทธิ์ไง มันถึงไม่ลูบไม่คลำ แล้วเป็นศีลจริงๆ ด้วย ไม่ใช่ศีลความมั่นคงทางโลกที่พยายามจะทำให้มันเข้มแข็งขึ้นมา มันเป็นศีลในใจ มันอ่อนนุ่มอยู่ในหัวใจ แต่ไม่มีการกระด้าง ไม่มีการฝ่าฝืน ไม่มีการทำอะไรให้ผิดพลาดเลย เพราะมันเป็นความจริง มันเป็นปัญญาจากจิต เป็นปัญญาของจิตดวงนั้นไง เพราะจิตดวงนั้นมันเวียนว่ายตายเกิด เพราะจิตดวงนั้นฝึกหัดขึ้นมาจนเกิดปัญญาขึ้นมา เพราะจิตดวงนั้นได้สำรอกได้คายออกมา เพราะจิตดวงนั้นได้ทำลายอวิชชาในใจดวงนั้นไปแล้ว ความไม่รู้ในสักกายทิฏฐิ อวิชชาคือความไม่รู้ในสักกายทิฏฐิ แต่อวิชชาอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียดในหัวใจ มันก็ต้องพัฒนาขึ้นไป ต่อสู้ขึ้นไป ต่อสู้ขึ้นไปเพื่อกำลัง

เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา คนเขาทำงานกัน เขาอาบเหงื่อต่างน้ำขึ้นมาเพื่อผลงานของเขา จิตของเราถ้ามันมีสติมีปัญญาขึ้นมา รักษาให้มีกำลังขึ้นมา ถ้ามีสัมมาสมาธิเป็นกำลัง แล้วยกขึ้นสู่วิปัสสนาต่อเนื่องๆ ไป เพราะถ้ามันสมุจเฉทปหานแล้ว ครบกระบวนการของมัน เขาเรียกว่า “คนภาวนาเป็น” จิตที่ภาวนาเป็นแล้วมันจะก้าวเดินต่อไปด้วยความคล่องตัวเลย เพราะมันทำงานเป็น คนทำงานเป็นทำสิ่งใดก็ทำเป็น แต่เริ่มต้นตอนแสวงหา ตอนจะเข้า ตอนจะเข้าคือตอนจะจับกาย จับเวทนา จับจิต จับธรรม ถ้ากิเลสมันอย่างละเอียด มันก็พลิกแพลงหลบเลี่ยง คือมันจับไม่ได้ไง คนที่จะภาวนา จะภาวนาอะไร อย่างเรา เราทำความสงบของใจแล้ว ใจสงบแล้วเราจะเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิตอย่างไร นี่ก็เหมือนกัน เวลาถ้ามันจะติดขัดก็ติดขัดตรงกิเลสมันพลิกแพลง กิเลส มันไม่เห็นตัวมัน ฉะนั้น เวลาครูบาอาจารย์ท่านประพฤติปฏิบัติมา ท่านบอกว่า การขุดคุ้ยค้นหา นี่การขุดคุ้ยค้นหา

กิเลสตัวในมันจะวิ่งมาให้เราฆ่า มันไม่มีใครหรอกที่ทำผิดกฎหมายแล้วจะวิ่งมาให้เราจับ ไม่มีหรอก มีแต่เราไปหามัน นี่ก็เหมือนกัน พอจิตมันสงบแล้วต้องค้นคว้าต้องหามัน แล้วมันพลิกแพลงน่ะ การขุดคุ้ยค้นหามันเป็นวิธีการอันหนึ่งเหมือนกัน การทำงานมันต้องมีวิธีการขุดคุ้ยค้นหา ถ้าขุดคุ้ยค้นหา พอเจอตัวมันแล้ว เจอตัว จับได้แล้ว จับได้ พิจารณาได้แล้ว ก้าวเดินต่อไปได้แล้ว ถ้าพิจารณาก้าวเดินต่อไป เพราะภาวนาเป็น ภาวนาเป็นคือเราผ่านกระบวนการมาแล้วหนหนึ่งใช่ไหม ทั้งๆ ที่ว่ากิเลสมันอย่างหยาบ มันก็หลอกลวงได้หยาบๆ แต่ก็ทำเป็น

ทีนี้พอเราค้นหา พอเราเจอแล้ว กิเลสมันอย่างละเอียด เล่ห์กลมันละเอียดลึกซึ้งกว่า แต่เราก็มีพื้นฐาน คือเรามีประสบการณ์แล้ว เราจับได้แล้วเราพิจารณาต่อเนื่องไป ใช้ปัญญาแยกแยะในอริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคนี่แหละ มรรคที่มันพิจารณาไป มรรคมันจะละเอียดขึ้นไป ละเอียดขึ้นไป พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ เวลามันคายๆๆ เหมือนกัน แต่มันมีลูกเล่น กิเลสมันพลิกแพลงของมัน เพราะมันละเอียดกว่า เราจะต้องมีสติมากกว่า เพราะมันลึกซึ้งมากกว่า พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ เวลามันขาด โลกนี้ราบหมดเลย ราบหมด ถ้ามันขาดนะ เวลามันขาด เพราะเรามีสมุจเฉทปหานนะ พอขาดนี่เป็นอกุปปธรรม อกุปปธรรมไม่เสื่อม คงที่ของมันตลอด แล้วคงที่แบบนามธรรม คงที่แบบอากาศ ใครไปตีมัน จับต้องมันไม่ได้หรอก เพราะมันเป็นอากาศ

นี่ก็เหมือนกัน ในนามธรรมมันเป็นความรู้สึก แต่ถ้านามธรรมมันมีกิเลสอยู่ มันตีไปแล้วมันโดน โดนอะไร? โดนหัวใจ โดนความรู้สึกนึกคิด แต่ถ้ามันสำรอกมันคายไปแล้ว มันเป็นนามธรรม เป็นอกุปปธรรม มันมีของมันอยู่ แต่ไม่มีสิ่งใดจะไปกระทบกระเทือนมันได้ ถ้าไม่มีสิ่งใดกระทบกระเทือนมันได้ สิ่งนี้มันเป็นพื้นฐาน แต่สิ่งที่ละเอียดกว่ามันก็ยังปลิ้นปล้อนหลอกลวง พิจารณาซ้ำ จับขึ้นมาแล้วพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าขึ้นไป เวลามันขาด นี่ไง ปัญญาของเราๆ ปัญญาของเราคือภาวนามยปัญญา แล้วภาวนามยปัญญามันเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโกจำเพาะจิตดวงนั้นเท่านั้น จำเพาะจิตดวงนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากราบ กราบอย่างนี้ กราบสัจธรรมอันนี้ ถ้ามันเป็นเฉพาะใจดวงนั้น

แต่ทีนี้ใจของเราล่ะ ใจของเรา เราก็ต้องฝึกหัด จับต้องขึ้นไป เวลามันพิจารณาเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป ถ้ามันจับขึ้นมาได้มันก็เป็นอสุภะแล้ว ถ้าจับขึ้นมาได้เป็นอสุภะ อสุภะ ถ้าพิจารณาซ้ำๆ ละเอียดยิ่งกว่านี้ พอเป็นมหาสติ-มหาปัญญา ชำระล้างกามราคะ ชำระล้างกามราคะเสร็จแล้ว พิจารณาแล้วมันยังมีเศษส่วนของมันที่ละเอียดขึ้นไป ซ้ำแล้วซ้ำเล่า คายๆ ไปต่อเนื่อง ต้องถูกต้อง ถ้าเป็นปัญญาของเรา ปัญญาของเรา ไม่ใช่ขโมยปัญญาใครมา ปัญญาของเรา เราทำของเรา เรารู้ของเรา เราเห็นของเรา เราพิจารณาของเรา มันเป็นความจริงของเรา เป็นความจริงกับใจดวงนั้น ใจของครูบาอาจารย์ จากใจดวงหนึ่งสู่ใจดวงหนึ่ง ใจดวงหนึ่งที่มีความรู้จริง มีองค์ความรู้จริง มันจะรู้กระบวนการของมัน วิธีการปฏิบัติของมัน แล้วพยายามสำรอกคายอย่างไร ถ้าสำรอกคายอย่างไร ฉะนั้น เวลาลูกศิษย์ลูกหา ผู้ที่ปฏิบัติเป็นลูกศิษย์ลูกหา เวลาติดขัดอย่างไร ครูบาอาจารย์จะชี้นำได้ ชี้นำได้ บอกได้ แก้ไขได้ กระทำได้ ถ้าทำได้จริง

เรานักประพฤติปฏิบัติ เราทำความจริงของเราขึ้นมา ถ้ามันเป็นความจริงนะ ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ฉะนั้น ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงไม่มีลิขสิทธิ์ ไม่มีกำมือในเรา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแบมือตลอด ปรารถนาจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ แบมือตลอด เพียงแต่กิเลสตัณหาความทะยานอยากของเราต่างหากไปบิดเบือน ไปหยิบฉวย ลักขโมยปัญญาเขามา ศึกษามาเป็นปริยัติ ศึกษามาเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ แล้วก็ไปหยิบฉวยว่าเป็นปัญญาของตัว เวลามา จะประพฤติปฏิบัติขึ้นมา มันก็เป็นจินตนาการขึ้นมาโดยมิจฉาทิฏฐิ ก็ไปหยิบฉวย ขโมยเขามาอีก

แต่เวลาเราประพฤติปฏิบัติโดยความเป็นจริง โดยความซื่อสัตย์ โดยมรรค โดยความเป็นกลาง โดยความสมดุล เวลามันเป็นจริงขึ้นมา นี่สมบัติของเรา สมบัติของใจดวงนั้น นี่ภาวนามยปัญญา ปัญญาจากความจริง ปัญญาเกิดจากการปฏิบัติ พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าถึงที่สุดนะ มันชำระอวิชชา พลิกฟ้าคว่ำดินเลย สิ่งนี้มันไม่มีภวาสวะ ไม่มีภพ ไม่มีสิ่งใดทั้งสิ้น เป็นธรรมล้วนๆ ถ้าเป็นธรรมล้วนๆ มันเกิดมาจากไหนล่ะ เกิดมาจากว่าเราซื่อสัตย์ เราไม่ขโมย ลักของใครมา ไม่ฉกฉวยของใครมา แต่เราศึกษามา เพราะเราเป็นสาวกสาวกะ ศึกษามาเป็นแนวทาง ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เอวัง