เทศน์บนศาลา

นักฉวยโอกาส

๒o ต.ค. ๒๕๕๘

 

นักฉวยโอกาส
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๘
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจฟังธรรม ธรรมะในวิกฤติ เราจะแสวงหาสัจธรรม วิกฤติเป็นวิกฤติโลก แต่สัจธรรม สัจธรรมคงที่ เขาว่าศาสนาเสื่อมๆ

ศาสนาไม่มีวันเสื่อม แต่บุคคลเสื่อมจากศาสนาต่างหาก คนเสื่อมจากศาสนา คนไม่เชื่อศาสนา นั่นเขาว่าศาสนาเสื่อม เพราะคนหยำเปไง คนเห็นแก่ตัว คนทำลายสังคม นี่เขาว่าศาสนาเสื่อม ว่าชาวพุทธเราต้องมีความเมตตา ชาวพุทธทำร้ายทำลายล้างกัน ว่าศาสนาเสื่อม ชาวพุทธทำไมจิตใจต่ำทรามขนาดนั้น ธรรมะจะเกิดในวิกฤติอย่างนั้น ถ้าวิกฤติอย่างนั้น เรามีสติมีปัญญาของเรา

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสวงหาโอกาส เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมๆ เวลาตรัสรู้ธรรมขึ้นมา แสวงหาโอกาส ถ้าแสวงหาโอกาส ใครให้โอกาสองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสวงหาโอกาสขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง เพราะยังไม่มีศาสนา ถ้าไม่มีศาสนา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นมาได้อย่างไร องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นมาด้วยอำนาจวาสนาบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้สร้างสมบุญญาธิการขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา เพราะการสร้างสมบุญญาธิการอย่างนั้น การทำคุณงามความดีอย่างนั้น พระโพธิสัตว์ได้เสียสละมามหาศาล เพราะว่าเสียสละมามหาศาล ถึงทำให้จิตใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีหลักมีเกณฑ์

จิตใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ไปเที่ยวสวน เห็นคนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย มันจุดประเด็นในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นมาเอง ถ้ามันจุดประเด็นขึ้นมา เราต้องเป็นเช่นนั้นหรือ เราต้องเกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายไปกับเขาใช่ไหม ถ้าเราต้องเกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายไปกับเขา เราจะแสวงหาทางออกของเรา เราจะไม่อยู่กับโลกอย่างนี้ โลกอย่างนี้ เขาแสวงหาอย่างนี้เพื่อความมั่นคงของเขา เพื่อความมั่นคงในชีวิตของเขา แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีความเห็นต่าง ถ้ามีการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย เราต้องเกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายกับเขา เราจะไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตายไปกับโลกนี้

เวลาออกแสวงหา แสวงหากับใคร ก็แสวงหา ไปหาเจ้าลัทธิต่างๆ เจ้าลัทธิต่างๆ ก็หลอกเอานั่นน่ะ เห็นว่าถ้ามีโอกาสๆ โอกาสที่จะประพฤติปฏิบัติ เวลาโอกาสจะประพฤติปฏิบัติ ไปหาเจ้าลัทธิต่างๆ เจ้าลัทธิต่างๆ ก็สอนตามความรู้ความเห็นของเขา ถ้าความรู้ความเห็นของเขา เพราะความรู้ความเห็นของเขามันไม่เป็นความจริง มันไม่เป็นความจริงคือมันแก้กิเลสไม่ได้จริง มันทำไม่ได้จริง แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไปศึกษากับเขา ทั้งๆ ที่สร้างอำนาจวาสนาบารมีมา แต่สัญชาตญาณของมนุษย์ไง สัญชาตญาณของคน ในเมื่อถ้ามันมีการที่เขาประพฤติปฏิบัติกันอยู่ เขามีการแสวงหากันอยู่ เราก็จะไปศึกษาเล่าเรียนกับเขา เพราะเราเป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติใหม่

เวลาประพฤติปฏิบัติใหม่ แสวงหาการไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย แต่เราไปศึกษากับเขา มันก็ศึกษาโดนหลอก หลอกเพราะอะไร เพราะไม่มีใครรู้จริง ถ้าไม่รู้จริง เขามีความเห็นของเขา เขาสอนได้ทฤษฎีของเขา ด้วยความรู้ของเขา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษากับเขาแล้ว เขามีความเชื่อ มีการทำทุกรกิริยากัน ว่ากิเลสมันอยู่ที่ไหน เราต้องมีความเข้มแข็ง เราต้องทรมานมัน ต้องทำลายกิเลส การทำลายกิเลสก็เป็นการทำลายร่างกายของตัวเอง เพราะจิตใจมันอยู่ในร่างกายนี้ กิเลสมันอยู่ที่หัวใจ กิเลสมันอยู่ที่ร่างกายนี้ แต่ความเห็นของตัว ความเห็นของคนที่คิดว่าจะทำร้ายกิเลสๆ ก็เป็นการทำทุกรกิริยา ทำทรมานตน ทรมานตน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษากับเขา ถ้าศึกษากับเขา ว่าเป็นการโดนหลอกๆ เพราะอะไร เพราะเขาหลอก เขาไม่มีความรู้จริง เขาไม่เป็นสุภาพบุรุษ เขาไม่บอกเป็นความจริงไง

แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ มีอำนาจวาสนาไปกับเขา ไปศึกษากับเขา ทั้งๆ ที่เป็นเจ้าชายสิทธัตถะ เป็นฆราวาสนี่แหละ แต่มีสติมีปัญญาว่ามันไม่สามารถชำระล้างกิเลสได้จริง เพราะอะไร เพราะเรายังมีความสงสัยอยู่ เพราะการเวียนว่ายตายเกิดมันมาจากไหนล่ะ ถ้าเราประพฤติปฏิบัติไปแล้วเราไม่รู้สิ่งที่มันไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย มันไม่มีเหตุไม่มีผล มันก็ไม่เป็นความจริง ไม่เป็นความจริง เขาก็ไม่เชื่อ ไม่เชื่อก็แสวงหาเอง เวลาแสวงหาเอง ไม่มีใครให้โอกาสองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เพราะอำนาจวาสนาบารมีการสร้างสมบุญญาธิการอันนั้นมันเป็นโอกาส มันเป็นโอกาส มันสะเทือนใจหมด เห็นสิ่งใดในโลกนี้มันสะเทือนใจทั้งนั้น เราต้องหาทางออกจากโลกนี้ หาทางออกจากโลกนี้ แต่มันหาทางออกไม่ได้ไง

เวลาอดอาหารอยู่ ๔๙ วันก็ออกไม่ได้ เพราะมันเป็นการทรมานร่างกาย ทำทุกรกิริยาขนาดไหนที่เขาทำกันๆ ในสมัยพุทธกาลเขาทำกัน เขาทำทุกรกิริยากันด้วยความอุกฤษฏ์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทำมากกว่าเขา แต่มันก็ไม่ได้ สลบถึง ๓ หน กลั้นลมหายใจ สลบถึง ๓ หน ย้อนกลับมาด้วยสติด้วยปัญญา ด้วยความนึกคิดได้ ถ้ามันไปไม่ได้อย่างนี้ เราจะต้องย้อนกลับมาจากภายใน ระลึกถึงการเป็นราชกุมาร กำหนดลมหายใจเข้าและลมหายใจออก อานาปานสติ มันมีความร่มเย็นในใจอันนั้น จำความอันนั้นได้ จำความอันนั้นได้ก็เป็นด้วยอำนาจวาสนาบารมีของเจ้าชายสิทธัตถะ ด้วยการสร้างอำนาจวาสนาบารมีมา พระเจ้าสุทโธทนะเลี้ยงดูทางโลก เลี้ยงดูอย่างดี ทะนุถนอมอย่างดี อยากให้เป็นจักรพรรดิ เวลาไปแรกนาขวัญนะ ให้อยู่โคนร่มไม้ กำหนดลมหายใจเข้าและลมหายใจออก นี่มันอำนาจวาสนาบารมีมันส่งเสริมกันมาๆ มันฝังใจไง เวลาไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ เขาหลอกทั้งนั้น จะไปทางไหน ได้ฌานสมาบัติอย่างไรมันก็เป็นทางหลอกทั้งนั้น เพราะฌานสมาบัติมันส่งออก ถ้าคนไม่มีสติมีปัญญา มันถือว่าตนเป็นผู้วิเศษ จะรู้จะเห็นอะไรต่างๆ แต่รู้เห็นมันก็รู้เห็นทางโลกเป็นฌานสมาบัติ เป็นอภิญญา มันรู้ได้ทั้งนั้นน่ะ ความรู้ได้ แต่ความรู้ได้ รู้ได้ด้วยกำลังของจิต แต่มันส่งออกไปรู้เรื่องของคนอื่น แต่มันไม่รู้เรื่องของตัวไง

แต่เวลากำหนดอานาปานสติ กำหนดลมหายใจเข้าและลมหายใจออก เวลามันสงบร่มเย็นเข้ามา สงบร่มเย็นเข้ามาที่หัวใจนี้ เวลาปฐมยาม บุพเพนิวาสานุสติญาณ มันเกิดญาณ เกิดความหยั่งรู้ ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ เวลาอาฬารดาบส อุทกดาบสเขาได้สมาบัติ ๖ สมาบัติ ๘ เวลาเข้าฌานสมาบัติของเขา ถ้าเขาน้อมจิตของเขาไป เขารู้วาระจิตของเขาได้ เขาสามารถระลึกอดีตชาติได้เหมือนกัน แต่ระลึกอดีตชาติได้มันก็ระลึกอดีตชาติได้ด้วยกำลังของจิต เวลาถ้าเข้าฌานสมาบัติ ถ้ามีกำลัง เวลากำลังมันเสื่อม ดูสิ พวกฤๅษีชีไพรเขาเหาะเหินเดินฟ้า ไปเจอนางสนมที่เขาเล่นน้ำในราชวัง ไปเห็นเข้า ตกเลย นี่ไง เวลามันควบคุมไม่ได้ เวลามันเจริญแล้วเสื่อมๆ

แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากำหนดอานาปานสติ จิตกำหนดเข้าไปถึงความสงบระงับอันนั้น ถึงกลางหัวใจอันนั้น บุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกอดีตชาติได้เหมือนกัน เพราะอะไร เพราะมันเป็นภวาสวะ เป็นภพ เป็นปฏิสนธิจิตเหมือนกัน จิตเหมือนกัน อำนาจวาสนาเหมือนกัน แต่เวลาคนใช้ ใช้ไปแล้ว ใช้ตรงนั้นว่าสิ่งนั้นเป็นสมบัติของตนไง แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาจิตสงบแล้ว บุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกไปตลอด มันไปตลอด มันไม่มีต้นไม่มีปลาย ระลึกไปตั้งแต่พระเวสสันดรไป เราเคยเป็นๆ ไม่มีต้นไม่มีปลาย เห็นไหม มันไม่ใช่ มันเป็นกำลังของจิต มันเป็นข้อมูลในหัวใจ ดึงกลับมาๆ ระลึกย้อนกลับมา ย้อนกลับมา เวลาจิตมันสงบระงับเข้ามามีกำลัง จุตูปปาตญาณ จิตดวงไหนรู้รอบขอบชิด จิตดวงไหนถ้ามันไม่ถึงที่สุด มันจะมีการเกิดอย่างนี้ๆ แม้แต่จิตของท่านก็จะมีการเกิดอย่างนี้ มีการเกิด เห็นไหม

บุพเพนิวาสานุสติญาณคืออดีตที่เคยได้สร้างสมมา อำนาจวาสนาของเจ้าชายสิทธัตถะที่ได้สร้างสมบุญญาธิการมา นี่แสวงหาโอกาสแล้วใครจะให้โอกาส ไม่มีใครให้โอกาส ไม่มีใครสามารถชี้นำได้ ถ้าไม่มีใครสามารถชี้นำได้ ไปศึกษากับเขาก็โดนเขาหลอก นี่ธรรมะหลอกๆ ทั้งนั้นน่ะ ไม่มีความเป็นจริงเลย แต่พอความเป็นจริงขึ้นมา มันยังไม่จริงขึ้นมา เวลามันสงบเข้ามา มันก็เป็นข้อมูลเหมือนกัน เป็นบุพเพนิวาสานุสติญาณที่เวลาเข้าฌาน เขาเข้าอภิญญา เขาก็รู้วาระจิตได้เหมือนกัน เขาก็ระลึกอดีตชาติได้เหมือนกัน แต่เขาระลึกได้มีหลักมีเกณฑ์อะไร ระลึกได้แล้วเขาก็เอามากำหนดรู้ เอามาโอ้อวดกัน แต่มันเป็นประโยชน์อะไรล่ะ นี่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้ไปแล้ว รู้มันก็ไม่มีที่สิ้นสุด มันไม่มีที่สิ้นสุด มันไม่มีต้นไม่มีปลาย

คำว่า “ไม่มีต้นไม่มีปลาย” จิตดวงหนึ่งเวียนว่ายไปในวัฏฏะ ไม่มีต้นไม่มีปลาย ดึงกลับมา พอดึงกลับมา จุตูปปาตญาณ มันจะไปอย่างนี้ มันไปอนาคต มันมีอดีตอนาคต แต่ไม่มีใครเห็นปัจจุบัน ไม่มีใครรู้ความเป็นจริง ปฏิจจสมุปบาท ความเป็นปัจจุบัน ปฏิจจสมุปบาท อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขาราปจฺจยา วิญฺญาณํ เวลามันเคลื่อนของมันไปโดยฐีติจิต เวลาสิ่งที่รับรู้ๆ นั้นเป็นขันธ์ข้างนอกทั้งนั้นน่ะ ถ้ามันยังไม่มีใครรู้ มันไม่มีโอกาส องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีใครให้โอกาสเลย แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้เองโดยชอบ คำว่า “โดยชอบ” โดยความเป็นจริงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่รื้อค้นขึ้นมาด้วยความเป็นจริง พอความเป็นจริง อาสวักขยญาณ ชำระอวิชชาในหัวใจ พอชำระอวิชชาในหัวใจ สิ่งนี้ นั่นน่ะ เวลาพญามาร ครอบครัวของมารมันได้หมดสิ้นไปจากธรรมในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เวลาไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ ที่เขาศึกษา มันไม่มีใครให้โอกาส แล้วหลอกลวงเสียอีกด้วย เพราะไปศึกษากับใคร ใครก็ปฏิญาณตนว่าเป็นศาสดา ใครก็ปฏิญาณตนว่าเป็นพระอรหันต์ ว่ามีคุณธรรม แต่ไปศึกษากับเขาแล้วเขามีคุณธรรมที่ไหน เพราะเขาไม่มีคุณธรรม เขาถึงสอนให้เป็นความจริงไม่ได้ แต่สอนเป็นความจริงไม่ได้ เวลาเจ้าชายสิทธัตถะ ด้วยอำนาจวาสนาบารมี สร้างสมบุญญาธิการมาเป็นพระโพธิสัตว์ ด้วยอำนาจวาสนาเต็ม มันถึงรู้ว่ามีความลังเลสงสัยในหัวใจ มันยังมีสิ่งขุ่นข้องหมองใจ มันยังมีอวิชชาในหัวใจ ฉะนั้น เวลาย้อนกลับมาประพฤติปฏิบัติด้วยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง วิชชา ๓ เวลาสิ้นกิเลสไปแล้วมันแตกต่างกันอย่างนี้ไง

เวลามันแตกต่าง ถ้ามันยังมีกิเลสอยู่ มันไม่รู้ มันมืดบอด ถ้าเชื่อตามๆ กัน นรกสวรรค์มีก็มีแบบมืดบอด ถ้าบอกเป็นพระอรหันต์ เป็นพระอรหันต์เพราะเหตุใดล่ะ มันจะสิ้นกิเลสไปเพราะอะไรล่ะ

แต่เวลาอาสวักขยญาณทำลายอวิชชาในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่! มันต้องเป็นอย่างนี้! มันจบสิ้นไง เพราะอะไร เพราะบุพเพนิวาสานุสติญาณก็เห็นแล้ว อดีตของจิตดวงนี้ก็เห็นแล้ว อนาคตที่มันจะเวียนว่ายตายเกิดไปก็รู้อยู่ แล้วมันจบอย่างไรล่ะ มันทำอย่างไรให้มันจบล่ะ มันจบลงไม่ได้

แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อาสวักขยญาณ ทำลายอวิชชาในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจบสิ้นไปแล้ว นี่ไง มันเป็นอย่างนี้ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุข สุขอย่างนี้ สุขมาก สุขแบบโลกเขาก็แสวงหาของเขาขนาดไหน ความสุขของเขามันก็ความสุขของทางโลกเขา ความสุขทางโลกเขามันก็ความสุขแบบสุขเวทนา-ทุกขเวทนา มันเป็นสุขในขันธ์ สุขเวทนา-ทุกขเวทนา เขาไม่เข้าถึงจิต เขาไม่เข้าถึง อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขาราปจฺจยา วิญฺญาณํ วิญญาณในปฏิจจสมุปบาท วิญญาณปฏิสนธิจิต

แต่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ วิญญาณในขันธ์ โลกเขามีความสุขความทุกข์กันอยู่ตรงนั้น เขาสุขทุกข์กันด้วยทุกขเวทนา สุขเวทนา อุเบกขาเวทนา เขาก็อยู่เวทนาของเขา เขาไม่รู้ไม่เห็นอะไรของเขา แต่เวลาวิมุตติสุขในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันจบสิ้นกระบวนการของมัน วิมุตติสุขๆ เวลาจะสอน จะสอนได้อย่างไร

แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการ เวลาเทศน์ธัมมจักฯ เทวดาส่งเป็นชั้นๆ ขึ้นไปนะ เทวดาส่งเป็นชั้นๆ เพราะอะไร เพราะเวลาอภิญญา ๕ หูทิพย์มันได้ยินไปหมดน่ะ หูทิพย์ เทวดาพูดอย่างไร เสียงตกที่ไหน หูนี้ได้ยินหมด หูทิพย์ ตาทิพย์มันมีของมันอยู่แล้ว นี่เหมือนกัน เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธัมมจักฯ เทวดาส่งเป็นชั้นๆๆ เพราะเขาได้ยินของเขา เขารู้ของเขา เขามีความปลื้มใจของเขา มันมีผู้อนุโมทนา ความจริงมันเป็นแบบนั้น เห็นไหม

นี่วางธรรมวินัยนี้ไว้ เราเกิดเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา เวลาเกิดเป็นมนุษย์ เรามีอำนาจวาสนานะ เรามีโอกาส เราจะเลือกเอา เลือกเอาทางโลกก็ได้ จะเลือกเอาทางธรรมก็ได้ ถ้าเลือกเอาทางธรรม เรามีสติมีปัญญาของเรา เราออกประพฤติปฏิบัติ ถ้าเราออกมาบวชเป็นพระ พระเป็นนักรบ เราภูมิใจกันว่าเราเป็นพระป่า พระปฏิบัติๆ เราภูมิใจ ปฏิบัติ ปฏิบัติแนวทางไหนล่ะ ถ้าปฏิบัติแล้วได้ผลบ้างไหมล่ะ ดูสิ เวลาเจ้าชายสิทธัตถะไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ ว่าประพฤติปฏิบัติเป็นการหลอกลวงอีกต่างหาก นี่หลอกลวงให้ไขว้เขว เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามารื้อค้นเองๆ

ทีนี้เราเกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา เราเกิดมา เราจะประพฤติปฏิบัติ เราจะเอาจริงเอาจังของเรา ถ้าเรามาบวชเป็นพระ เราจะเอาจริงเอาจังกับเรา ถ้าจริงจัง ถ้ามาจากทางโลก ถ้าทางโลกเขาจริงจังนะ เวลาเขาเกิดทางโลก ดูความจริงจังของเขา แต่มันต้องเป็นโอกาสของเขา ถ้าเป็นโอกาสของเขา

ดูสิ ดูพวกชนเผ่า เขาเสียโอกาสของเขาเพราะเขาไม่มีสัญชาติ เขาบอกว่าเขาไม่มีโอกาสการศึกษา โอกาสของเขา เขาจะทำธุรกิจของเขา โอกาสของเขาไม่สมบูรณ์ ทำอะไรติดขัดไปหมด นี่เขาไม่มีโอกาสของเขา แต่เรามีสัญชาติ เราทำสิ่งใด เรามีโอกาสทั้งนั้นน่ะ แต่ทีนี้พอมีโอกาสขึ้นมา คนทุกข์คนจน ถ้าคนทุกข์คนจน โอกาสมันก็ด้อยกว่าเขา นี่ขาดโอกาสๆ ขาดโอกาสการศึกษา

คนจะทำหน้าที่การงานก็ขาดโอกาสของเขา เขาไม่มีโอกาสของเขาได้ทำหน้าที่การงานของเขา คนที่มีโอกาส คนที่มีสติมีปัญญาเขามีโอกาสของเขา แต่มีโอกาสของเขา ถ้าคนกิเลสหนามันก็ทำลายโอกาสของตัวเอง ทำลายโอกาสของตัวเอง ทำสิ่งใดก็ด้วยความอ่อนแอ ทำสิ่งใดก็ทำด้วยความไม่จริงจังของตัวเอง ถ้าไม่จริงจังของตัวเอง นี่มีโอกาสแต่ทำไม่ได้ คนที่เขาไม่มีโอกาสเขาก็แสวงหา เขาอยากมีโอกาสอย่างนั้น เขาเรียกร้องอยากให้มีโอกาสอย่างนั้น

นี่ก็เหมือนกัน เราเกิดเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา เราเลือกทางโลกก็ได้ เลือกทางธรรมก็ได้ แต่ถ้าเลือกทางโลก พอมีความจำเป็นต้องอยู่กับทางโลก แต่เวลาถ้าเขามีโอกาสของเขา เขาจะประพฤติปฏิบัติของเขาถ้าเขามีศรัทธาความเชื่อ แต่บางคนถ้าเขาไม่มีศรัทธาไม่มีความเชื่อของเขา เขาก็ว่า “ศาสนาก็เขียนเสือให้วัวกลัว นรกสวรรค์มันก็ไม่มีอยู่จริง เราแสวงหาความสุขของเราทางโลกดีกว่า” นี่เขาก็คิดของเขาไปอย่างนั้น ถ้าเขามีความคิดของเขา ถ้าเขาบอกเขาเป็นคนดี บางคนว่า “เขาเป็นคนดีนะ เขาดีอยู่แล้ว ทำไมต้องมาทุกข์มายาก เขาเป็นคนดี”...ก็ดีแบบโลกไง ก็ดีแบบโลก ก็คนดีแล้วไง

แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเที่ยวสวน ด้วยอำนาจวาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย เห็นมาหมด เราก็ต้องเป็นอย่างนั้น นี่ก็เหมือนกัน เวลาเป็นคนดี เราจะดีขนาดไหน เราจะมีคุณงามความดีขนาดไหน เราก็ต้องเกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายเหมือนกัน แต่เราเกิดมาเรามีโอกาส เราเกิดมา ถ้าเราศึกษาพระพุทธศาสนา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สิ่งที่เป็นความสำคัญที่สุดคือการเกิดและการตาย เราจะแทงทะลุ

เวลาเรามาบวชพระ อุปัชฌาย์ยกเข้าหมู่ เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ เธอพิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ถ้ามันแทงทะลุได้ มันก็แทงทะลุได้ด้วยความเป็นจริง เวลาเราเกิด เราแก่ เราเจ็บ เราตาย เราเกิดมาจากท้องพ่อท้องแม่ เกิดมาก็มีธาตุ ๔ และขันธ์ ๕

เพราะธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ เกิดมาก็เกิดมาศึกษานี่แหละ เกิดมาก็ทำหน้าที่การงานนี่แหละ เกิดมาก็หาผลประโยชน์ ดูสิ เราใช้มือทำงาน เราใช้สมองคิด เราทำสิ่งใดเราต้องมีสติปัญญาของเรา เราทำเพื่อประโยชน์กับเรา นี่ประโยชน์ทางโลก เพราะเราเกิดมา เรามีอำนาจวาสนา เราเกิดเป็นมนุษย์ การเกิดเป็นมนุษย์นี้แสนยาก การเกิดเป็นมนุษย์นี้เป็นอริยทรัพย์ การเกิดเป็นมนุษย์ แล้วมนุษย์ก็เอาสมอง เอามือทำงาน ทำมาหากินเพื่อการเลี้ยงชีพ เลี้ยงชีพแล้วเป็นคุณงามความดีก็ความดีของโลก ถ้าความดีของโลกมันก็เวียนว่ายตายเกิด บุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ มันมาจากอดีต เพราะอดีตสร้างสมบุญญาธิการมาถึงได้มาเกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นมนุษย์แล้ว ด้วยสติปัญญาอ่อนด้อยอย่างนี้ก็คิดว่ามนุษย์ก็ยังทำหน้าที่การงานของเราเพื่อความเป็นมนุษย์ เพื่อความสมบูรณ์ของความเป็นคนดี ถ้าคนดี คนดีก็คนดีไง

แต่ถ้าคนดีแล้วเขามีสติปัญญาของเขา หน้าที่การงานก็หน้าที่การงานนะ ถึงเวลาแล้วเขาอยากจะประพฤติปฏิบัติ คนเราก็พยายามหาทางออก หาประพฤติปฏิบัติ ถ้าประพฤติปฏิบัติเพื่ออริยทรัพย์ เพื่อทรัพย์ภายใน ทรัพย์ภายนอกเราก็หามาพอแรงแล้ว ทรัพย์ภายนอกเราก็หามาสมบูรณ์แล้ว ชีวิตนี้ก็มีเท่านี้แหละ ถ้ากิเลสตัณหาความทะยานอยากมันไม่โลภจนเกินไป ถ้าโลภเกินไป มันจะไขว่คว้ามา มันจะครองโลก มันจะยึดทรัพย์สมบัติเข้ามาเป็นของมันทั้งหมด แล้วพอยึดมาแล้ว ทรัพย์สมบัติก็ไม่ได้กินไม่ได้ใช้หรอก เวลากินใช้ก็กินอาหารนี่แหละ เวลากินอาหาร นอนก็นอนเฉพาะที่นอนที่เรานอนนั่นล่ะ ทรัพย์สมบัติมันก็ไว้นั่น แต่กิเลสมันก็อยากเอามาเพื่อเป็นสมบัติของตน ถ้าเอามาเป็นสมบัติของตน แสวงหาขึ้นมา แสวงหาด้วยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก แสวงหาด้วยความทุกข์ความยาก เวลาใช้ขึ้นมาก็ไม่ได้ใช้เป็นประโยชน์กับตัวเอง

ถ้าใช้เป็นประโยชน์กับตัวเอง ใช้สอยในความเป็นอยู่ด้วยความประหยัดมัธยัสถ์ ที่เหลือก็เจือจานแก่สังคม สร้างอำนาจวาสนาบารมี ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีใครให้โอกาสเลย ท่านได้การสร้างสมบุญญาธิการมาเป็นพระโพธิสัตว์ นั่นล่ะเป็นโอกาสที่หนุนตัวเองขึ้นมา นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราประพฤติปฏิบัติแล้วมันติดขัด ขัดข้องขึ้นไป เพราะอะไร เพราะอำนาจวาสนาของเราไง กรรมจำแนกสัตว์ให้เกิดต่างๆ กัน เพราะเราเกิดเป็นมนุษย์เหมือนกัน เพราะว่ากรรมของเรา เพราะเรายังมีกรรมดีของเรา เราถึงยังมีสติมีปัญญา เรายังระลึกถึงหัวใจของเรา หัวใจมันเรียกร้องให้คนช่วยเหลือ แล้วคนช่วยเหลือเป็นใครล่ะ

คนช่วยเหลือข้างนอกเขาช่วยเหลือ เขาก็ให้ปัจจัยเครื่องอาศัยเราเท่านั้นแหละ แต่ถ้าเราจะช่วยเหลือเรา เราจะต้องมีศีล สมาธิ ปัญญา เพราะศีล สมาธิ ปัญญาเป็นมรรค กิจจญาณ สัจจญาณ ถ้าไม่มีกิจจญาณ สัจจญาณ จิตใจดวงนี้มันไม่มีการประพฤติปฏิบัติ

เวลาประพฤติปฏิบัติ ศึกษามาๆ ศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศีล สมาธิ ปัญญาเหมือนกัน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนวิธีการมหาศาล ศึกษามา ศึกษามาเป็นทางวิชาการ ศึกษามามันเป็นสุตมยปัญญา การศึกษา ศึกษาจากสมอง การศึกษา ศึกษาจากการจำมา นี่ไง แล้วก็เรียกร้องหาโอกาสๆ ของตัวเองไง

ถ้าตัวเองมีโอกาส การกระทำหน้าที่การงาน ทุกอย่างถ้ามีโอกาสแล้ว เขาจะขวนขวายของเขา ทำเพื่อประโยชน์กับเขา

คนที่อ่อนด้อย มีโอกาสก็ทำลายโอกาสของตัว เขาเรียกร้อง เขาแสวงหา เขาขอโอกาสกันนะ แล้วเรามีโอกาสแล้วเราจะทำเพื่อประโยชน์กับเราไหม ถ้าเราทำเพื่อประโยชน์กับเรา

เวลาเกิดมา ทุกคนก็จะระลึกว่าเราเป็นคนทุกข์คนจน เราเป็นคนด้อยโอกาส คนด้อยโอกาส...คนก็เหมือนคน คนเกิดมาก็มีลมหายใจทุกคน เห็นไหม หลวงปู่ฝั้นท่านพูดประจำ หายใจทิ้งเปล่าๆ จะทำหน้าที่การงานอะไรก็แล้วแต่ ถ้าเรามีสติปัญญา เด็ก เด็กถ้ามีการศึกษา ถ้ามีสติมีปัญญา มีสติ การศึกษานั้นก็เข้าใจ การศึกษานั้นก็ดี เด็กถ้ามันเคร่งเครียดเกินไป การศึกษานั้นมันก็ไม่จำ ศึกษาแล้วอ่อนด้อย

นี่ก็เหมือนกัน เวลาทำหน้าที่การงานของเรา ว่าเราทุกข์เราจนๆ เราลำบากของเรา ถ้าเรามีสติปัญญา ลมหายใจเข้านึกพุท ลมหายใจออกนึกโธ ถ้ามันมีการศึกษา มีการประพฤติปฏิบัติของเราอยู่ ถ้าเราทำหน้าที่การงานที่มันทุกข์มันจนขนาดไหนมันก็ไม่ทุกข์จนจนเกินไป แต่กิเลสมันก็เสี้ยมไง “ถ้าจะมาพุทโธอยู่นี่ เราจะมีอะไรกิน เราก็ต้องไตร่ตรองๆ” ไตร่ตรองไปด้วยความทุกข์เครียดกดดันในหัวใจทั้งนั้นน่ะ

แต่ถ้าลมหายใจเข้าออก พุทโธๆ แล้วเวลาทำงานก็ทำงานของเราไป มันไม่ตึงเครียด มันไม่บีบคั้นชีวิตจนเกินไป ถ้ามันไม่บีบคั้นชีวิตจนเกินไป เราก็ทำงานของเราได้ จะทุกข์จนขนาดไหน มันทำแล้วมันก็ปลอดโปร่ง ทำแล้วมันก็เป็นผลงานของเราขึ้นมา มันไม่ได้ทำด้วยความขาดสติ ทำด้วยความพลั้งเผลอ ทำด้วยไม่มีประโยชน์สิ่งใดเลย

นี่พูดถึงขอโอกาสๆ ไง ถ้าโอกาสการทำคุณงามความดีเป็นโอกาสนะ มีแต่ว่าผู้ที่ฉวยโอกาส คนฉวยโอกาส มันเป็นความดีของเขา แล้วเราไปฉกฉวยของเขามา แข่งฉกฉวยความดีไง แย่งดีแย่งเด่นกัน ถ้าฉกฉวย ไปฉวยโอกาสของเขา เราไม่ได้ทำ เขาทำ เราไม่ได้ทำ พอเขาทำ เราไม่ได้ทำ เราไปฉกฉวยโอกาสเขามา ฉกฉวยมาเพื่อเอาคุณงามความดีของเราไง นี่กิเลสซ้อนกิเลส แม้แต่หน้าที่การงานของเรา การกระทำของเรามันก็ไม่ประสบความสำเร็จของเราอยู่แล้ว มีโอกาสก็ทำสิ มีโอกาสก็ทำของเราให้มันเป็นความจริงขึ้นมา ถ้าเป็นความจริงขึ้นมาก็เป็นสมบัติของเรา แล้วเรายังเจือจานคนอื่นได้

ดูสิ เวลาครูบาอาจารย์ของเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมาตามความเป็นจริง ถ้าใจดวงหนึ่งมันมีองค์ความรู้ของมัน ทำไมมันจะบอกคนอื่นไม่ได้ ทำไมมันจะมีจุดยืนไม่ได้ เพราะใจของคนมันไม่มีจุดยืนนี่สิ ใจของคนไม่มีหลักมีเกณฑ์ขึ้นมา มันถึงโลเล เพราะความโลเลอันนั้น เวลาคำสั่งสอน วันหนึ่งก็พูดอย่างหนึ่ง วันต่อไปก็พูดอย่างหนึ่ง พูดแล้วพูดเล่า มันไม่เหมือนกันสักที แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาเทศน์อริยสัจ อริยสัจมีหนึ่งเดียว ๔๕ ปี ไม่มีคลาดเคลื่อนเลย

นี่เหมือนกัน ถ้าครูบาอาจารย์ของเราท่านประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ในหัวใจมีความจริงขึ้นมาแล้ว มันเป็นธรรมในใจ ถ้าธรรมในใจ มันอยู่ที่ไหนมันก็เป็นธรรม ถ้าเป็นธรรมขึ้นมา การกระทำอันนั้นมันจะถูกต้องดีงามไปทั้งหมด แต่ถ้ามันไม่เป็นธรรมขึ้นมา มันไม่เป็นความจริงขึ้นมา มันโลเลทั้งนั้นน่ะ ถ้ามันโลเล มีแต่ความเสียหาย นี่ไง ถ้ามันเอาความจริงๆ ต้องเป็นความจริงอย่างนี้ ถ้าเราจะประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริงของเรา เราต้องทำความจริงของเรา

เรามีโอกาสไง เรามีโอกาส เราเกิดเป็นมนุษย์นะ มนุษย์ ดูสิ สัตว์มันอยากทำคุณงามความดีของมัน มันเรียกร้องหาแต่คุณงามความดี มันก็ได้ทำแต่บุญแต่บาปเท่านั้นน่ะพวกสัตว์ แต่มนุษย์ มนุษย์เราจะพ้นทั้งดีและชั่ว ความดี เราจะทำมากกว่าความดีอันนี้อีก ดูสิ เวลาครูบาอาจารย์ของเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา หามรุ่งหามค่ำๆ ทำได้เพราะอะไร ทำได้เพราะมันมีงานภายใน เวลางานภายในมันเกิดขึ้น ดูสิ เวลาเราทำหน้าที่การงานของเรา ทำแล้วมันประสบความสำเร็จ ทำแล้วมันได้รับผลชื่นชม มันขยันหมั่นเพียรๆ มันอยากทำของมันน่ะ แต่ถ้าทำแล้วมันขาดทุน ทำสิ่งใดแล้วไม่เป็นประโยชน์สิ่งใดเลย ทำแล้วมันก็ไม่อยากทำ มันแห้งแล้งน่ะ

ถ้าครูบาอาจารย์ของเรา เวลาประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริงได้ขึ้นมาแล้ว เพราะทำแล้วมันมีงานในหัวใจไง จิตมันสงบได้ พอจิตสงบแล้ว ถ้ามันใช้ปัญญาของมัน มันเพลิดมันเพลิน มันทำของเราแล้วมันตักตวง ตักตวงเอามรรคเอาผลใส่หัวใจ ทุกคนมันทำได้ เดินจงกรมทั้งวันทั้งคืน มันทำของมันได้ แล้วมันเป็นประโยชน์กับเราไง นี่เรามีครูมีอาจารย์ ท่านทำสิ่งใดเป็นคติเป็นแบบอย่าง

เวลาเราเป็นชาวพุทธนะ เวลาเราจะมีรัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แก้วสารพัดนึก เราจะระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อน เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา สอน สตฺถา เทวมนุสฺสานํ สอนตั้งแต่เทวดาลงมา สอน ๓ โลกธาตุ สอนได้ทั้งหมดเลย

เวลาครูบาอาจารย์ของเรา ดูสิ เวลาหลวงปู่มั่นท่านประพฤติปฏิบัติของท่าน เวลาในประวัติหลวงปู่มั่น เวลาท่านปฏิบัติของท่าน เวลาสิ้นกิเลส องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาอนุโมทนา พระอรหันต์แต่ละองค์มาอนุโมทนากับหลวงปู่มั่น มาอนุโมทนา นี่เวลาความเป็นจริงขึ้นมา ครูบาอาจารย์ที่ท่านมีอำนาจวาสนาของท่าน เขามาอนุโมทนา เขามาชื่นชมๆ

นี่ไง เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการ เทวดาส่งเป็นชั้นๆๆ ขึ้นไป เวลาหลวงปู่มั่นประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริงขึ้นมา มีแต่มาอนุโมทนาโดยความรู้ของหลวงปู่มั่นท่านรู้ท่านเห็นของท่าน นี่เวลาเขาชื่นชม ชื่นชมกันอย่างนั้น แล้วเวลาเราล่ะ เวลาเรา ถ้าเราเอาจริง เราเกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา เกิดมาแล้วมาบวชมาเรียน มาประพฤติปฏิบัติ ถ้าเรามีครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์สั่งสอนอย่างใด ถ้ามีครูบาอาจารย์สั่งสอนอย่างใด เรามีโอกาส นี่มีโอกาส โอกาสของเรา เห็นไหม

ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ใครยื่นโอกาสให้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบ้าง ไปศึกษากับเขาก็ไปโดนหลอก โดนหลอกขึ้นมา ทุกคนฟื้นตัวมาไม่ได้ แต่เวลาเจ้าชายสิทธัตถะโดนเขาหลอก ฟื้นตัวมาได้ เพราะโดนหลอกมันก็ทิ้งหมด วางหมด “ไม่ใช่ ไม่ใช่แนวทาง ไม่ใช่แนวทาง” องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาประพฤติปฏิบัติเอง เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นไป ตรัสรู้เองโดยชอบ โดยชอบธรรม ดูสิ ความลังเลสงสัยที่เป็นตะกอนในหัวใจ มันทำลาย ชำระล้างหมดสิ้น

นี่เหมือนกัน เวลาครูบาอาจารย์ของเรา เวลาท่านประพฤติปฏิบัติขึ้นไป ถ้ามันหมดสิ้นอย่างนั้นแล้ววางข้อวัตรปฏิบัติไว้ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านสอน ดูสิ หลวงปู่เสาร์ท่านบอกไว้ “ทำให้มันดูมันยังไม่เอา แล้วจะไปสอนมันอย่างไร” เพราะท่านไม่ถนัดเหมือนหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นจี้เอาๆ เลย จี้เอาๆ ในหัวใจ เพราะเรามีโอกาสแล้วเราต้องทำความเป็นจริงของเราขึ้นมา ถ้าคนมีโอกาสแล้วไม่ทำความเป็นจริงขึ้นมา เห็นไหม อย่าให้กิเลสมันฉกฉวยไปนะ ถ้ากิเลสมันฉวยโอกาสเข้าไป มันหลอกลวงเลยล่ะ

เวลาเราปฏิบัติไปแล้ว เราปฏิบัติ ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมะของครูบาอาจารย์ เราก็ศึกษามา พอศึกษาขึ้นมามันเกิดจินตนาการ จินตมยปัญญา จินตนาการมันเพริศแพร้วไปหมด จินตนาการมันเวิ้งว้างไปหมด มันรับรู้ไปหมดเลย แล้วจินตนาการ เพราะจินตนาการ คำว่า “จินตนาการ” จินตมยปัญญามันมีสมุทัยอยู่แล้ว เพราะใครเป็นคนจินตนาการ? ก็จิตใจของเราเป็นผู้จินตนาการ จินตนาการมันก็สมุทัยไง มันไม่เป็นภาวนามยปัญญา เพราะจิตมันไม่สงบ ไม่ลึกซึ้งพอ

ถ้าจิตมันสงบลึกซึ้งพอ เริ่มต้นจากปัญญา คำว่า “ปัญญาของเรา” ปัญญาของมนุษย์ ปัญญาของโลก เราทำหน้าที่การงานก็ใช้ปัญญา ความเป็นอยู่ในชีวิตเราก็ใช้ปัญญา แต่ปัญญาอย่างนี้เป็นปัญญาการดำรงชีพ มันเป็นปุถุชนคนหนา คนหนามีกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ถ้าปัญญาดำรงชีพก็เป็นปัญญาของเรา ถ้าเราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเราเป็นมนุษย์ เราอยากจะพ้นจากทุกข์ เราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์เป็นหลักเป็นเกณฑ์ เราก็จินตนาการของเรา เราก็คิดของเราไป ถ้าเราคิดของเราไป

สุตมยปัญญา เริ่มต้นจากปัญญาเรานี่แหละ เวลาประพฤติปฏิบัติก็ประพฤติปฏิบัติจากเรานี่แหละ ประพฤติปฏิบัติจากมนุษย์ มนุษย์ที่เกิดมาเป็นอริยทรัพย์ เกิดจากมนุษย์ แต่เราใช้อะไร มนุษย์มีธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ มีมือและมีสมอง ถ้ามือก็ทำหน้าที่การงานของเราไป สมองก็คิด สมองก็จินตนาการไป ศึกษาก็ศึกษามาด้วยสมอง ศึกษาแล้วมาประพฤติปฏิบัติ เวลาศึกษามาแล้วเราวางสิ่งที่เราศึกษามา เราจะทำความเป็นจริงของเราให้ขึ้นมา

ถ้าทำจริงขึ้นมา ถ้าใครกำหนดพุทโธ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าจิตมันสงบเข้ามา คำว่า “สงบ” มันก็ปล่อยวาง มันทิ้งเข้ามา มันปล่อยอะไร? ก็ปล่อยขันธ์ ๕ ปล่อยความรู้สึกนึกคิด พอปล่อยความรู้สึกนึกคิด มันปล่อยเข้ามาๆ คำว่า “ปล่อยเข้ามา” ปล่อยเข้ามา กับที่ว่าเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุข พอมันเวิ้งว้าง มันวิมุตติสุข มันวิมุตติสุขเพราะว่ามันได้ชำระล้างกิเลสแล้วมันถึงจะเป็นอย่างนั้น แต่ของเรามันยังมีกิเลสอยู่ แต่ด้วยอำนาจวาสนาของเรา ด้วยการประพฤติปฏิบัติของเรา เราได้โอกาสแล้วเราจะทำความจริงขึ้นมา อย่าให้กิเลสมันฉกฉวย อย่าฉวยโอกาสนั้น

ถ้าฉวยโอกาสนั้น คำว่า “ฉวยโอกาสนั้น” เวลาศึกษามาแล้วก็จินตนาการ มันก็ได้แค่นั้น พอได้แค่นั้น แล้วก็คิดว่าเป็นธรรมๆ กันอยู่อย่างนั้น ถ้าเป็นธรรมอยู่อย่างนั้นมันก็ได้แค่นั้นไง คำว่า “ได้แค่นั้น” มันก็แค่โลก แค่กิเลสมันปิดหูปิดตาไว้ มันมืดบอดอยู่อย่างนั้นน่ะ แต่อารมณ์ที่เกิดขึ้นก็เกิดเป็นมนุษย์นี่ไง มนุษย์มีธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ เพราะขันธ์ ๕ การจินตนาการ ความรู้สึกนึกคิดมันร้อยแปดอยู่แล้ว จิตนี้เป็นได้หลากหลายนัก จิตนี้มันปลิ้นปล้อนนัก จิตนี้มันสร้างภาพได้มากมายนัก จิตนี้ทำสิ่งใดขึ้นมาได้ แล้วเราบวชมาเป็นพระป่าเสียด้วย ด้วยศักยภาพของความมั่นคงของศาสนา

ก่อนหน้านั้นเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกกึ่งพุทธกาลศาสนาจะเจริญอีกหนหนึ่ง ก่อนที่จะเจริญอีกหนหนึ่ง ศาสนาก็เป็นศาสนา ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เพราะการเกิดเป็นมนุษย์ มนุษย์รวมชุมชนขึ้นมาเกิดเป็นชาติ ศาสนาหล่อหลอมให้คนอยู่ด้วยกันร่มเย็นเป็นสุข นี่ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์คือผู้นำ นี่ไง ในเมื่อมันมีครบองค์ประกอบอย่างนั้น สิ่งที่ทำมาๆ มันก็อยู่ในชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ก็อยู่กันอย่างนั้น ถ้าทำอย่างนั้น อยู่ด้วยทางโลก มันก็ทำให้ความเชื่อถือความศรัทธาน้อยลง นี่อยู่กันแบบประเพณีวัฒนธรรม พอเป็นพิธี พระก็อยู่แบบพระ

แต่เวลาหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านออกประพฤติปฏิบัติของท่าน ท่านเข้าป่าเข้าเขาของท่าน ท่านไปแสวงหาความเป็นจริงในหัวใจของท่าน ท่านทำความเป็นจริงของท่านขึ้นมา ศาสนาจะเจริญกึ่งพุทธกาล กึ่งพุทธกาลศาสนาจะเจริญอีกหนหนึ่ง เจริญในหัวใจของหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น เจริญในหัวใจของครูบาอาจารย์เรา ถ้ามันเจริญในหัวใจของครูบาอาจารย์เรา เพราะอะไร เพราะมันมีสัจจะมีความจริง

ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์ธัมมจักฯ เทวดาส่งข่าวเป็นชั้นๆๆ ขึ้นไป เวลาหลวงปู่มั่นท่านประพฤติปฏิบัติของท่าน มันสะเทือนในหัวใจของท่าน พระอรหันต์มาอนุโมทนากับท่าน ถ้ามาอนุโมทนากับท่าน นี่ความจริงๆ แล้วท่านวางธรรมและวินัยนี้ไว้ มันเป็นโอกาสของเราไง ถ้ามันเป็นโอกาส โอกาสที่เรา เราได้โอกาสแล้ว ได้ทำคุณงามความดีของเราไง ถ้ากิเลสมันฉกฉวยไป มันจะฉวยโอกาสไง ฉวยโอกาสให้ภาวนาไปอย่างไร มันก็เป็นมนุษย์ปุถุชนไง มีความคิด มันก็มีจินตนาการ แต่มันมีร่องมีรอยของครูบาอาจารย์ที่ท่านเทศนาว่าการไว้ มันก็จินตนาการอย่างนั้นไป นี่มันฉวยโอกาส

โอกาสที่จะเกิดขึ้นมา ใครเป็นคนสร้างสมขึ้นมา หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นเป็นพระสงฆ์ขึ้นมา ครูบาอาจารย์ที่เป็นธรรม เพราะความที่เป็นธรรมจะอ่อนน้อมถ่อมตน หลวงปู่มั่นท่านอยู่ในป่าของท่านด้วยความมั่นคงของท่าน เพื่อเป็นหลักเป็นเกณฑ์ของท่าน เวลาหมู่คณะไป เอาหมู่คณะเพื่ออะไร? เพื่อเป็นศาสนทายาท เพื่อกระจายไป

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาไปเทศน์ปัญจวัคคีย์ มาได้ยสะ ได้บริวารยสะ พระอรหันต์ ๖๑ องค์ “เธอกับเราทั้งหลายพ้นจากบ่วงที่เป็นโลกและเป็นทิพย์ เธอจงอย่าไปซ้อนทางกัน โลกนี้เร่าร้อนนัก โลกนี้เร่าร้อนนัก”

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา “จะสอนใครได้หนอ จะสอนใครได้หนอ” เพราะใครมันจะรู้ได้ ความสุขนี้มันเป็นความตัดความกังวลในใจ อาลัยอาวรณ์ มันทำลายอวิชชาหมดแล้ว มันไม่มีความอาลัยอาวรณ์ มันเป็นอิสระ มันเป็นอิสรภาพ มันเป็นวิมุตติ แล้วโลกจะรู้ได้อย่างไร โลกจะรู้ได้อย่างไรล่ะ แต่เวลาไปเทศน์ปัญจวัคคีย์ ปัญจวัคคีย์รู้ รู้เพราะมีอำนาจวาสนา เห็นไหม ยสะมีอำนาจวาสนาเหมือนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะมีปราสาท ๓ หลัง เหมือนกัน “ที่นี่เดือดร้อนหนอ ที่นี่วุ่นวายหนอ”

“ยสะมานี่ ที่นี่ไม่เดือดร้อน ที่นี่ไม่วุ่นวาย” เทศนายสะขึ้นมาเป็นพระอรหันต์ ทีนี้ คำว่า “เป็นพระอรหันต์ขึ้นมา” มันวิมุตติสุข ตัดความกังวล ตัดการเวียนว่ายตายเกิด

เราต้องเกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายใช่ไหม ถ้ามีธัมมจักฯ ขึ้นมา เราจะพ้นจากการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย เป็นความจริงขึ้นมา พอเป็นความจริงขึ้นมา “เธอพ้นจากบ่วงที่เป็นโลก” ลาภสักการะ ชื่อเสียง ทั้งกิตติศัพท์กิตติคุณ นี่บ่วงที่เป็นโลก บ่วงนี้มันรัดคอ

บ่วงที่เป็นทิพย์ สิ่งที่ทำอะไรก็ไม่ได้ จะไปเกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหมต่างๆ บ่วงที่เป็นทิพย์ เห็นไหม “เธอพ้นจากบ่วงที่เป็นโลกและบ่วงที่เป็นทิพย์” ผู้ที่พ้นจากบ่วงที่เป็นโลกและเป็นทิพย์ไปแล้วมันจะมีอะไรติดข้องในหัวใจ สิ่งใดบ้าง โลกธรรม ๘ มันจะมีน้ำหนัก มันจะมีคุณค่ามาจากไหน มันจะมาเหยียบย่ำหัวใจของพระอรหันต์ เป็นไปไม่ได้

หลวงปู่มั่นท่านเอาหมู่เอาคณะ ท่านพิจารณาของท่าน ศาสนทายาท ท่านรวบรวมไว้เพื่อกึ่งพุทธกาลศาสนาจะเจริญอีกหนหนึ่ง ถ้าศาสนาเจริญขึ้นมา เจริญในใจของหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นขึ้นมา บ่วงที่เป็นโลกและบ่วงที่เป็นทิพย์ ไม่มีความหมายกับหัวใจของหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น เพราะสิ่งที่เป็นบ่วงที่เป็นโลกและเป็นทิพย์ไม่มีความหมายในใจดวงนั้น เพราะใจดวงนั้นถึงได้เผยแผ่ธรรม ถึงได้วางธรรมวินัยด้วยความสะอาดบริสุทธิ์ มันเลยเป็นความเชื่อถือศรัทธาของสังคม เพราะสังคมฟื้นฟูมาๆ เพื่อให้ชาวพุทธเรา ให้ประชาชนของเราได้มีหลักมีเกณฑ์ ได้มีการประพฤติปฏิบัติ ได้มีแนวทาง ได้มีโอกาส

อย่าทำลายโอกาสของตัว โอกาสมีแล้วควรทำให้มันเป็นจริงขึ้นมา ถ้ามันเป็นจริงขึ้นมา ดูสิ เวลาศึกษา ปัญญาๆ ก็ปัญญาปฏิบัติจากนี่แหละ มันไม่ใช่จากพระอรหันต์มาปฏิบัติหรอก เพราะเขาปฏิบัติจนสิ้นกิเลสแล้วถึงเป็นพระอรหันต์ไป ไอ้เรานี่มันปุถุชนคนหนาด้วยกิเลส เริ่มต้นก็ต้องเริ่มต้นจากความรู้สึกนึกคิดเรานี่แหละ แต่เริ่มต้นขึ้นมาก็ “ว่าง เป็นพระอรหันต์ ว่างหมด” ไม่มีกิจจญาณ ไม่มีสัจจญาณ ไม่มีความเป็นจริงอะไรขึ้นมาในหัวใจนั้นเลย นี่เป็นมนุษย์แท้ๆ เห็นภัยในวัฏสงสาร มาบวชเป็นพระ บวชเป็นพระปฏิบัติ พระป่าเสียด้วย เป็นผู้มีชื่อเสียงเสียด้วย ฉวยโอกาส ไม่มีสัจจะความจริงในใจ ไม่มีสิ่งใดตกค้างในใจเลย เพราะไม่มีสิ่งใดตกค้างในใจ ถึงได้โป้ปดมดเท็จ

คำว่า “โป้ปดมดเท็จ” ผู้ใดยังโกหก จะทำความชั่วอย่างอื่นๆ ใดๆ อีก ไม่มีเลย ทำได้ทั้งนั้น เพราะอะไร เพราะว่ามันมีอวิชชาในหัวใจ ถ้าสิ่งที่รู้ก็จินตนาการ จินตนาการมันคงที่ไหม มันเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา นี่จุดยืนถึงไม่มี คำสั่งคำสอนถึงเหลวไหลไปหมด ไม่มีสิ่งใดเป็นชิ้นเป็นอัน นี่เราฉวยโอกาส ฉวยโอกาสจากคุณงามความดีของครูบาอาจารย์ของเรา ฉวยโอกาสจากสิ่งที่สังคมเขาเชื่อถือ ฉวยโอกาสๆ เพราะสังคมเขารู้เท่าทันไม่ได้ ถ้ารู้เท่าทัน ดูสิ สิบแปดมงกุฎจะหลอกลวงอย่างไรก็ได้ เพราะอะไร เพราะศรัทธามันบังตา พอความเชื่อถือจากภายนอก เห็นกิริยานุ่มนวลก็เชื่อถือ...นุ่มนวลแต่ต่อหน้าสิ ลับหลังเป็นเปรต เราก็ไม่รู้

แต่ถ้าเป็นความจริงล่ะ ถ้าความจริงขึ้นมา ดูสิ เวลาครูบาอาจารย์ของเราท่านนุ่มนวล หลวงปู่ฝั้นท่านนุ่มนวลอ่อนหวานมาก ดูหลวงตาเราเป็นปืนกลเลย นี่มันอยู่ที่จริตนิสัย อยู่ที่คุณสมบัติ คุณสมบัติความเป็นจริง แต่ขอให้ใจมันสะอาดบริสุทธิ์เถอะ

หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านสร้างของท่านมา เป็นคุณประโยชน์มา เป็นการยืนยันให้พวกเราชาวพุทธมีที่ยึด มีแบบอย่าง เป็นคติเป็นแบบอย่างให้เราก้าวเดินตาม ถ้าเราก้าวเดินตาม อย่าให้กิเลสมันฉกฉวยนะ โอกาสเรามีนะ

ดูสิ เวลาทางโลกเขา ชาวป่าชาวเขา เขาไม่ได้สัญชาติ เขาเรียกร้อง เขาขาดโอกาส เขาจะมีการศึกษา ศึกษาจบแล้วก็ไม่มีโอกาสได้ทำงาน เพราะเขาไม่มีสัญชาติ ก็ร้องเรียนกัน วิ่งเต้นกันทั้งชีวิต เขายังขวนขวายของเขา เราเป็นชาวไทย เรามีชาติมีตระกูล แล้วเรามีทุกอย่างพร้อมเลย ทำไมเราทำของเราไม่ได้ คนอื่นเขาไม่มีโอกาสเขายังขวนขวายของเขา ดูสิ คนทุกข์คนจนของเขา เขาเรียกร้องโอกาสทั้งนั้นน่ะ เพราะเขาด้อยโอกาส เขาไม่มีโอกาสเหมือนคนมีสถานะ คนมีสถานะ มีหมู่มีคณะ มีพรรคมีพวก มีโอกาส ทำสิ่งใดก็มีโอกาสหมด แต่ใครทำแล้วประสบความสำเร็จอะไรได้บ้าง นี่ไง นี่ทางโลกเขา

แต่เราเกิดมาอยู่กับโลก เราเกิดมากับโลก แต่เราจะเอาความจริงของเรา เราเกิดมากับโลก ดูสิ ทางโลกเขาต้องมีหน้าที่ของเขา เขาต้องหาปัจจัยเครื่องอาศัยของเขา เวลาเราบวชเป็นพระ พระเรามีสมบัติคือบริขาร ๘ ชีวิตฝากไว้กับศรัทธาไทย อยู่ที่ศรัทธาไทยเขาจะดูแล มีหน้าที่อย่างเดียวคือพยายามค้นคว้า พยายามกระทำในหัวใจของเราให้ได้ ไม่ฉวยโอกาส มีโอกาสแล้วทะนุถนอมโอกาสนี้ไว้ โอกาสของเรา แล้วเราฝึกฝนของเรา ถ้าด้วยความเป็นจริง ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี อย่างน้อยต้องเป็นพระอนาคามี ถ้าเป็นพระอนาคามีแล้ว มันก็อุ่นใจแล้วล่ะ มันไม่เกิดบนกามภพ แล้วทำถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ ทำความจริงของเราให้เกิดขึ้นมา โอกาสมาถึงตัวแล้ว โอกาสมาอยู่ในมือเราแล้ว ถ้าโอกาสอยู่ในมือเราแล้ว เราทำลายโอกาสของเราเองด้วยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก แล้วอ่อนด้อย เห็นสิ่งใดที่เขานุ่มนวลก็คิดว่าจะเป็นความจริง...ไม่ใช่

ความจริงมันเกิดจากสัจธรรม ถ้ามีสัจธรรม จะไม่โกหกมดเท็จ ครูบาอาจารย์ของเราท่านมีคุณธรรมในหัวใจ จิตใจนี้สูงสุดสู่สามัญ พระธรรมดานี่ ดูภายนอกนี่พระธรรมดา ครูบาอาจารย์ท่านพูด ทุกคนแสวงหาพระอรหันต์ อยากมีครูบาอาจารย์ที่ดี แล้วพระธรรมดาที่อยู่ด้วยกัน เดินสวนกันไปสวนกันมา ไม่รู้องค์ไหนหันไม่หัน ไม่รู้องค์ไหนมีคุณธรรมไม่มีคุณธรรม แต่เวลาพระสารีบุตรไปเห็นพระอัสสชิเดินบิณฑบาต มันเห็นแล้วกิริยามันบอก เดินตามไปๆ เพราะเวลาท่านแสวงหาของท่าน ท่านไปศึกษากับสัญชัยมา “นั่นก็ไม่ใช่ นี่ก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ก็คือไม่ใช่” ไม่ใช่อย่างนั้นน่ะ ปฏิเสธไปทั่ว ก็เหมือนเรานี่แหละ ว่างๆ ว่างๆ ว่างๆ ไม่มีเหตุมีผลอะไรเลย

ศึกษาจนหมดไส้หมดพุงแล้วมันยังไปไม่รอด แต่ไปเห็นกิริยาของพระอัสสชิ ตามไปเลย เวลาถามทีเดียว พระอัสสชิบอกว่า “ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ”

เป็นพระโสดาบันขึ้นมาทันทีเลย เพราะมันมีเหตุมีผล เหตุผลมันสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ปัญญา ด้วยที่หิวกระหาย ด้วยความต้องการปรารถนา ใช้สติปัญญาไตร่ตรองตาม ตามความเป็นจริง

มันจะ “ไม่ใช่ๆ” มันจะหมดไปโดยที่ไม่มีเหตุมีผลได้อย่างไร เห็นไหม “ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ” เหตุมันอยู่ที่ไหนล่ะ? เหตุมันอยู่ที่หัวใจไง หัวใจนี้ ความคิดเกิดจากไหน? ก็เกิดจากใจไง เกิดแล้วมันดับไหม ดับแล้วมาเกิดใหม่อยู่นั่นน่ะ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายต้องดับเป็นธรรมดา ถ้ามันดับ มันเกิดดับด้วยสติด้วยปัญญา มันเห็นตามความเป็นจริงของมัน มันปล่อยวางของมัน ถ้ามันปล่อยวางของมัน ถ้าได้ตามความเป็นจริง สิ่งนี้มันเป็นธรรมขึ้นมา

สิ่งที่ว่าพระสารีบุตรเห็นพระอัสสชิเดิน เดินบิณฑบาต ยังเห็น ยังรู้ได้ว่า นี่ผู้ที่มีคุณธรรม ไอ้เราแสวงหาๆ เดินชนกันยังไม่รู้ว่าองค์ไหนเป็นหันไม่หัน แต่เวลาไอ้พวกฉวยโอกาสขึ้นมา มันทำนิ่มนวล มันทำกิริยาน่าเคารพนับถือ แล้วเราก็ไปเชื่ออย่างนั้นน่ะ เราเชื่ออย่างนั้นน่ะ แต่ไม่รู้ว่าเบื้องหลังเป็นอย่างไร ไม่รู้

แต่ถ้าเป็นครูบาอาจารย์ของเราไม่มีเบื้องหน้าและเบื้องหลัง ดูสิ เวลาบันลือสีหนาท เทศนาว่าการออกมาจากใจทั้งนั้นน่ะ ถ้าเทศนาว่าการ มันมีเหตุมีผลขึ้นมาเป็นขั้นเป็นตอนของมันขึ้นมา ของเรา เราเกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา เราจะประพฤติปฏิบัติของเรา เราแสวงหาของเรา ถ้าแสวงหาของเรา เราต้องทำความจริงของเราขึ้นมา

เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ถ้ามันเป็นสมาธิได้ก็มีความสุขของเรา แต่เวลาทำสมาธิไม่ได้ มันล้มลุกคลุกคลาน มันต้องความต่อเนื่องไง ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในพระไตรปิฎกทุกข้อ สิ่งที่เราประพฤติปฏิบัติไม่ได้ผลก็เพราะการปฏิบัติไม่สม่ำเสมอ คือการปฏิบัติต่อเนื่องเราปฏิบัติไม่สม่ำเสมอ เดี๋ยวเราก็เข้มแข็ง เดี๋ยวเราก็ทำจริงจัง เดี๋ยวเราก็ทอดหุ่ย เดี๋ยวเราก็ปล่อยวาง เราทำอยู่อย่างนั้นน่ะ ไม่เสมอต้นเสมอปลาย

การทำเสมอต้นเสมอปลายด้วยสัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกต้องดีงาม ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี อย่างน้อยต้องเป็นพระอนาคามี นี่ถ้าเราทำตามความเป็นจริงของเรา ถ้าเราทำความสงบของใจของเราได้ มันก็มีความสุขของเรา ถ้าทำความสงบของเราไม่ได้ เราต้องหาเหตุหาผลว่าทำไมมันทำไม่ได้ ครูบาอาจารย์ของเราท่านประพฤติปฏิบัติ ท่านแสวงหาหมดล่ะ มันเป็นเพราะอะไร มันเป็นเพราะอะไร

ศีล ศีลของเราสมบูรณ์ไหม ถ้าศีลสมบูรณ์ มันขาดตกบกพร่องอย่างใด ถ้ามันขาดตกบกพร่องอย่างใดก็ปลงอาบัติเสีย สิ่งใดที่มันขุ่นข้องหมองใจ เราก็ปลงอาบัติ เพราะความขุ่นข้องหมองใจ ความกังวลใจ เวลาไปนั่งพุทโธๆ มันโผล่มาทั้งนั้นน่ะ เวลาจะทำความสงบของใจ เราจะทำความสะอาดบ้านของเรา ถ้าบ้านมันสะอาด เราเข้าบ้านของเรา ถ้าใครทำสมาธิได้ก็มีบ้านมีเรือนหลังหนึ่งให้จิตได้พึ่งอาศัย แล้วในหัวใจของเรามันสกปรกโสโครก เราจะทำอย่างไร ก็ศีล อธิศีล เราก็ปลงอาบัติของเรา ทำความสะอาดในบ้านของเรา

ถ้าเราทำสมาธิ ถ้ามันลง ถ้าไม่ลง ดูสิ เราอดนอนผ่อนอาหาร เราจะทำอย่างไร เราต้องมีวิธีการต่อสู้กับมัน มันต้องมีอุบายไง เห็นไหม เราไม่ฉวยโอกาส จะเอาศีล สมาธิขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเป็นของเรา เราจะไม่ฉวยโอกาสว่า “เวลาปฏิบัติ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ ผมมีพร้อมเลย ผมจะได้สมบัติอะไร”

ก็สมบัติบ้าไง มันจินตนาการเอาทั้งนั้น มันเอาแต่ชื่อเขามา ตัวจริงมันไม่รู้จัก

แต่ถ้ามันรู้จักขึ้นมา โอ้โฮ! นี่จิตมันลง ถ้าจิตมันลงมันก็เป็นประโยชน์กับเรา ถ้าเราไม่ฉวยโอกาส เราได้โอกาส เราจะทำความเป็นจริงของเรา ถ้าไปฉวย ฉกฉวย มันเป็นกิเลสทั้งนั้นน่ะ เราไปฉกฉวยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาได้เป็นของเรามาได้อย่างไร เราจะไปฉกฉวยธรรมะของครูบาอาจารย์มาเป็นของเราได้อย่างใด

สาธุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมานี่ตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นศาสดาของเรา ถ้าไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันจะมีศาสนาพุทธมาให้เราได้พึ่งพาอาศัยหรือ สาธุ ถ้าครูบาอาจารย์เราท่านประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เพราะท่านมีคุณธรรมในหัวใจของท่าน ท่านปฏิบัติของท่านมา ท่านมีเหตุมีผลของท่านมา แล้วท่านวางข้อวัตรปฏิบัติของเราให้เราก้าวเดิน ให้เราประพฤติปฏิบัติ สาธุ ถ้าไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีครูบาอาจารย์ เราจะเอาศาสนาที่ไหน

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ ไปให้เขาหลอก ไปให้เขาหลอกอยู่นั่นน่ะ แต่ด้วยวุฒิภาวะของท่าน ด้วยภูมิปัญญาของท่าน เวลาใครหลอก ท่านก็สลัดทิ้ง ท่านมาหาความจริงในใจของท่านขึ้นมา เห็นไหม ฉะนั้น เวลาเป็นสมบัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เป็นสมบัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านวางธรรมวินัยนี้ไว้ จะรื้อสัตว์ขนสัตว์ไง ถ้ารื้อสัตว์ขนสัตว์ เราก็จะรื้อตัวเราเองด้วยศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา ด้วยสัจจะ ด้วยความจริงของเรา ถ้าเราจะประพฤติปฏิบัติขึ้นมา มันต้องให้เป็นความจริงของเรา

สิ่งที่เป็นธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สาธุ เคารพบูชา ถ้าเป็นสมบัติของครูบาอาจารย์ สาธุ ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์ขึ้นมา ไม่มีแบบอย่าง ไม่มีตัวอย่างขึ้นมา ขนาดมีแบบอย่างเรายังเดินกันไม่ถูกอยู่นี่ไง แล้วถ้ามีแบบอย่างนี้ เราจะไปลบหลู่ได้อย่างไร เราไม่ลบหลู่ แต่กิเลสของเรามันฉวย ยึดมั่นว่าเป็นของเราไง ศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาก็ว่าเป็นผู้รู้ ผู้รู้ทำไมแก้กิเลสไม่ได้

ผู้รู้ เห็นไหม ดูสิ คนเขากินอาหาร เขารู้จักรสชาติของอาหาร ผู้รู้ รสชาติอาหารไม่รู้จัก มันก็เหมือนกับเมนูอาหารนั่นน่ะ เห็นแต่รูปมัน ไม่เคยกินอาหารนั้นเลย ไม่เคยกินอาหารมันจะรู้ได้อย่างไรว่ารสชาติมันเป็นอย่างไร นี่ไง ผู้รู้เป็นอย่างนั้นใช่ไหม

แต่เวลาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ศึกษามา เมนูอาหาร ก็เราจะสั่งอาหารนั้นน่ะ เราก็ดูเมนูว่ามันมีอะไรบ้าง แล้วถ้ามีอาหาร เราสั่งมา สั่งมาจากร้านค้า แต่นี่เราจะทำของเราเอง การประพฤติปฏิบัติขึ้นมาต้องเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก ใครจะทำให้ใครได้ล่ะ ฉะนั้น เวลาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สาธุ เคารพบูชานะ แต่เราจะประพฤติปฏิบัติ เราไม่ฉกฉวย ไม่ฉวยโอกาส ไม่ไปเอาของใครมา ถ้าเอาของใครมานี่มันอยู่ข้างนอก

เวลาประพฤติปฏิบัติ จิตส่งออกๆ เวลาความคิด ความคิดมันอยู่นอกจิต พอเราพุทโธๆ จนจิตสงบเข้าไป มันผ่านจากขันธ์ ๕ เข้าไปมันถึงสู่จิต จิตมันถึงสงบได้ ถ้าจิตสงบเข้ามา มันวางจากขันธ์ ๕ เข้ามา มันเป็นสัมมาสมาธิ มันไม่ได้คิดแส่ส่าย เวลามันคิดแส่ส่าย นี่ขันธ์ทั้งนั้นน่ะ ขันธ์คืออารมณ์ความรู้สึกของเรามันเป็นขันธ์ ๕ เพราะขันธ์ ๕ รูป อารมณ์ความรู้สึกนี้เป็นรูป รูปมันก็แปรปรวนไปตามความพอใจ เห็นไหม รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร แล้วเราว่าเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เราก็อยู่แต่เปลือกอย่างนี้ แล้วเราคิดว่ามันจะเป็นความจริงอย่างไร ถ้าความจริงไม่ได้ คนที่อ่อนด้อยขึ้นมาก็จะฉวยเอาหยิบเอา ฉกฉวยขึ้นมา ถ้ามันเป็นสิบแปดมงกุฎ มันหน้าด้าน มันอวดรู้อวดเห็นว่ามันเป็นอย่างนั้น มันเป็นความจริงอย่างนั้น แต่มันเป็นจริงหรือเปล่า

ถ้าเป็นความจริง ความจริงอันนั้น ดูสิ เรากินอาหารจนอิ่มแล้ว มันกินลงไม่ได้หรอก อาหารนี้เรากินจนเต็มปากแล้วมันจะกินต่อไปได้ไหม? มันกินต่อไปไม่ได้ มันเต็มกระเพาะ

สัมมาสมาธิ ถ้ามันสงบระงับ มันจะเห็นคุณค่าของมัน เพราะใจมันอิ่มเต็มของมัน เพราะใจมันอิ่มเต็มของมัน ใจมันถึงทำงานได้ไง ใจ เพราะมันหิวโหย ดูสิ เราคนทุกข์คนจน หิวกระหายไปตลอด แต่อวดเขาว่าเราอิ่มหนำสำราญ เราเจออาหารอะไร ตามันก็มองทั้งนั้นน่ะ มันอยาก มันอยาก

จิตของเราถ้ามันทำความสงบของใจไม่ได้ อารมณ์อะไรผ่านมามันไปหมดล่ะ ที่ว่ามันสั่นไหวไปกับรูป รส กลิ่น เสียง มันสั่นไหวไปกับรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เพราะมันสั่นไหวอย่างนี้ไง ถึงว่าจะให้จิตอิ่มเต็มๆ ถ้าจิตอิ่มเต็ม จิตเห็นอาการของจิต ถ้าจิตมันไม่อิ่มเต็ม มันเสวย มันเสวยไปก่อน มันเสวยแล้ว นี่ด้วยความรู้สึกนึกคิดของเรา นั่นน่ะ ตัวจิตไม่ใช่ขันธ์ ๕ ตัวจิตไม่ใช่รูป ตัวจิตเป็นตัวจิต แต่มันเสวยมามันก็เป็นรูป เป็นสัญญา เป็นสังขาร เป็นวิญญาณ นี่มันเสวยมา เสวยโดยธรรมชาติของมัน

เพราะมนุษย์ทำงานด้วยสมอง ทำงานด้วยมือ ไอ้ความรู้สึกนึกคิด สมอง ว่าสมอง แต่ความจริง ขันธ์ ๕ อารมณ์ความรู้สึกมันเกิดจากไหน? เกิดจากจิต ก็จิตมันเป็นอย่างนั้นน่ะ แล้วก็ไปฉกฉวยเอาว่าเป็นของเรา เราเป็นคนรู้ เรารู้แล้ว เราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา อภิธรรม จิตกี่ดวงๆ ร้อยแปดดวง ว่าไปหมดเลยน่ะ แต่จิตหนึ่งมันไม่รู้จัก

ถ้าจิตสงบแล้วมันจบนะ สัมมาสมาธิ ไอ้ร้อยแปดดวง จบ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ สักแต่ว่า มันจะกี่ดวงล่ะ มันเป็นหนึ่งอยู่อย่างนี้มันจะกี่ดวง เอกัคคตารมณ์ จิตตั้งมั่นน่ะ มันจะกี่ดวง

แล้วเวลามันพิจารณาไป นี่ไง เพราะมันไปฉกฉวยมาๆ สิ่งที่มันว่าเป็นสมบัติของเรา มันก็เลยไม่เป็นความจริง แต่ถ้าเป็นความจริง เราพยายามทำของเรา เราได้โอกาสแล้วนะ เราได้โอกาสแล้วเราจะต้องทำความจริงของเราขึ้นมา

เวลาเขาแข่งขันกีฬาฟุตบอลน่ะ เวลาเขาติเตียน ยิงไม่เข้าๆ ทำลายโอกาส มีโอกาสเป็นร้อยครั้งสิบครั้ง ยิงไม่ได้สักที คนที่เขามีปัญญาของเขา เขาได้โอกาสหนเดียวเป็นประตูเลย นี่ถ้าเขาส่งใส่พานมาทีเดียว นั่นน่ะ ของเขาทำของเขา ไอ้เรานี่โอกาสมหาศาล เตะทิ้งเตะขว้าง ไม่ได้อะไรเลย ถ้าแข่งต่อไป ถ้าไม่ชนะเขาก็เสมอ แต่ถ้าเขามีกำลังมากกว่า เดี๋ยวก็แพ้ ถ้าทำไม่ได้ อย่างดีก็เสมอ อย่างน้อยพ่ายแพ้ พ่ายแพ้ก็เลิกดีกว่า จบเลย ถ้ายังเสมออยู่ ยังลุกขึ้นมาสู้ได้ นี่ก็เหมือนกัน มีโอกาสมาแล้วต้องทำให้ได้ ทำให้เป็นประโยชน์กับเรา ถ้าเป็นความจริง เป็นมรรค จะเป็นอย่างนี้

แต่ถ้าเป็นกิเลสนะ ความจริงมันจะเกิดกับเราขึ้นมา มันไปฉวย ไปฉกฉวยสิ่งที่หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ที่ครูบาอาจารย์ของเราทำไว้ให้สังคมเชื่อถือศรัทธา ให้ความมั่นคงในใจ เพราะมีศรัทธาความเชื่อ ศรัทธาความเชื่อของศรัทธาไทย ศรัทธาไทยมากมายเลย “ฉันศรัทธาพระป่า ฉันศรัทธาพระป่า”

พระป่าหรือพระบ้า มันมี ๒ อย่างนะ พระป่า เพราะคำว่า “พระป่า” อยู่ป่า ในพระไตรปิฎก ภิกษุอยู่ป่าจะต้องมีความละเอียดรอบคอบกว่าภิกษุอยู่บ้าน คำว่า “ภิกษุอยู่บ้าน” เขาต้องทำวัตรสวดมนต์ของเขา ภิกษุอยู่ป่าต้องทำมากกว่าเขา เพราะภิกษุอยู่ป่ามันมีภัยรอบตัว ภัยตั้งแต่สิงห์สาราสัตว์ ภัยทั้งมนุษย์ ภัยต่างๆ ต้องมีความรอบคอบ

ฉะนั้น คำว่า “พระป่า” พระป่าต้องมีความรอบคอบ พระป่าต้องมีสติสมบูรณ์ พระป่าต้องมีการกระทำ

พระบ้าน พระบ้านก็อยู่กุฏิ อยู่ร้าน อยู่ของเขา เขามีกลอนมีลั่นดาน พระบ้านเขาศึกษาธรรมวินัย เขาเป็นพระบ้าน เขามีสิ่งอำนวยความสะดวก เขามีสิ่งป้องกันภัยเขา

ถ้าเป็นพระป่า นี่อยู่ในพระไตรปิฎก องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกเลย ถ้าพระบ้านเขาทำสิ่งใดแล้ว พระป่าต้องทำมากกว่าเขา พระป่าต้องมีสติสัมปชัญญะมากกว่าเขา พระป่าต้องมีความระวังระแวงมากกว่าเขา พระป่าต้องมีสติปัญญา ต้องมีการกระทำ นี่คำว่า “พระป่า”

ทีนี้ชาวบ้านเขาบอกว่า “ศรัทธาพระป่ามาก”

พระป่ากับพระบ้า พระบ้านนี้ไม่มีหลักมีเกณฑ์อะไรเลย พูดจาแล้วแต่อารมณ์ อารมณ์พลิกแพลงไปตลอด นี่ไง มันก็เหมือนทางโลก ดูสิ ฆราวาสสอนธรรมนั่นน่ะ เพราะฆราวาสเขาไม่มีธรรมวินัย เขาจะพูดอะไรก็ได้ แต่ถ้าเป็นพระ ถ้าเราพูดไปแล้วมันผิดศีลทั้งนั้นน่ะ คำว่า “ผิดศีล” มนุษย์ ลองถ้าพูดจาโกหก จะทำความชั่วอย่างอื่นไม่มีเลย ทำได้ทั้งนั้นน่ะ นี่ไง ถ้าบอกศรัทธาพระป่าๆ นี่พูดถึงศรัทธาความเชื่อของเขา ถ้าศรัทธาความเชื่อของเขามันเกิดขึ้นมา เกิดจากครูบาอาจารย์ของเราท่านทำประโยชน์ของท่าน เพราะท่านสร้างศาสนทายาท

หลวงปู่มั่นเวลาตรัสรู้ธรรมขึ้นมา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาอนุโมทนา พระอรหันต์มาอนุโมทนาทั้งนั้นน่ะ มาอนุโมทนา เพราะกึ่งพุทธกาลศาสนาจะเจริญอีกหนหนึ่ง หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านค้นคว้า ท่านทำมาเป็นหลักเกณฑ์ของท่าน แล้วท่านวางข้อวัตรปฏิบัติไว้ให้พวกเราทำๆ ให้พวกเราทำนะ เพราะต้องการศาสนทายาท ต้องการให้ศาสนาสืบต่อไป ต้องการให้ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติขึ้นมาให้มีโอกาส ให้มีโอกาสเห็นร่องเห็นรอยในการประพฤติปฏิบัติ ครูบาอาจารย์ท่านทำมาให้เราเห็นแล้ว ครูบาอาจารย์ท่านทำมาให้เป็นร่องเป็นรอย แล้วเรายังศึกษา เรายังเห็นร่องเห็นรอยกันอยู่ ถ้าเราทำความจริงขึ้นมามันก็จะเป็นของเรา

ถ้าเราทำความจริงขึ้นมา ทำความสงบของใจให้ได้ ถ้าจิตใจมันอิ่มเต็ม จิตใจเป็นสัมมาสมาธิ ฝึกหัดใช้ปัญญา ปัญญาเราฝึกใช้แล้ว ฝึกใช้ตั้งแต่เริ่มต้น ฝึกใช้ตั้งแต่เป็นฆราวาส ฝึกใช้ตั้งแต่ยังไม่ได้บวช ฝึกใช้ตั้งแต่เขาทำมาหากินกัน นี่ฝึกใช้ตั้งแต่เวลาเรียนธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นักธรรมตรี นักธรรมโท นักธรรมเอก แล้วก็ศึกษาปัญญาของเรามาแล้ว เราจะฝึกหัดใช้ปัญญาของเราแล้ว แต่ปัญญานี้มันเป็นโลกียปัญญา เวลาเราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมามันก็เป็นโลกียปัญญา เพราะอะไร

เพราะเราเกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นคน เป็นคนมันก็มีธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ มันก็คิดจากสมองเราทั้งนั้นน่ะ แต่เวลามันสงบระงับเข้ามา มันปล่อยวางเข้ามา พอจิตเป็นอิสระขึ้นมา มันรู้เลย สมองก็เป็นสมอง สักแต่ว่ารู้ เวลาจิตมันเป็นอัปปนาสมาธิ มันปล่อยร่างกายนี้เลย ไม่รับรู้อะไรเลย มันเป็นตัวของมัน แล้วสมองมันอยู่ไหน แล้วร่างกายมันอยู่ไหน เวลามันสงบระงับเข้าไป ถ้าสงบระงับเข้าไป เวลามันคลายตัวออกมาเป็นอุปจารสมาธิ รำพึงไปเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง เพราะเราจะฝึกฝนหัวใจของเรา ถ้าหัวใจของเราสงบระงับแล้วมันมีพลัง มันมีกำลัง นี่ไง พละ กำลัง อินทรีย์แก่กล้า

อินทรีย์แก่กล้าขึ้นมา มันฝึกหัด มันใช้ขึ้นไป ถ้ามันน้อมไปเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง ถ้าเห็น เป็นอุคคหนิมิต นิมิตที่เกิดขึ้นมาจากตาของใจ ไม่ใช่นิมิตที่เกิดจากตาเนื้อ มันเป็นความเห็นจากภายใน เพราะจิตมันสงบ มันไม่วอกแวกวอแว จิตมันอิ่มเต็มอยู่แล้ว มันทำสิ่งใดมันทำงานของมันได้ ถ้าทำงานได้ มันพิจารณาไป มันแยกแยะไป

เขาว่า “เห็นไตรลักษณ์ๆ” ไตรลักษณ์ที่มันพูด ไตรลักษณ์มันฉกฉวยเขามา คำว่า “ไตรลักษณ์” ก็จินตนาการไง ก็ต้มน้ำไง ต้มน้ำ น้ำเย็น เดี๋ยวก็น้ำร้อน น้ำร้อนก็น้ำเดือดไง เพราะอะไร เพราะมันมีอุณหภูมิ มันมีความร้อน ไตรลักษณ์มันอยู่ข้างนอก นี่เวลาไตรลักษณ์ขึ้นมาให้จินตนาการ คิดเป็นทางวิทยาศาสตร์ คิดออกไปโลก มันไม่เห็นไตรลักษณ์ในหัวใจนี่หว่า

ไตรลักษณ์ พอพิจารณาของมันไป มันย่อยมันสลายไป มันเห็นของมัน มันผงะเลย นี่ไง ถ้ามันจะเป็นความเป็นจริง ความเป็นจริงต้องเป็นอย่างนี้สิ แต่เวลาจะใช้ปัญญาก็ปัญญาข้างนอกนั่นแหละ เวลาเปรียบเทียบ เป็นปัญญาข้างนอกเพราะจิตมันส่งออก จิตมันหิวมันกระหาย มันก็ยึด มันก็มีสมุทัย มีสังโยชน์ มีการยึดมั่นถือมั่น พิจารณาไป ก็ด้วยสมอง ด้วยปัญญาของเรา เพราะเราเกิดเป็นมนุษย์ไง กำเนิด ๔ เกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม เกิดเป็นมนุษย์ กำเนิด ๔ เพราะมันกำเนิดมา มันคิดมา เพราะเราปฏิเสธต้นทุนเราไม่ได้ มันเป็นต้นทุน มันเป็นความเห็นของเรา เริ่มต้นจากตรงนี้

ถ้าเริ่มต้นจากต้นทุนของเรา ความรู้สึกนึกคิดที่พิจารณาไปแล้วมันจะละเอียดเข้ามา มันจะปล่อยๆๆ เข้ามา มันละเอียดเข้ามาจนตั้งมั่น จนเป็นสัมมาสมาธิ เวลามันคลายตัวออกมา มันเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง มันก็จับต้องของมันได้ พอจับต้องของมันได้ จิตมันจริงมันก็เป็นสติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริง ถ้าเห็นกายก็เห็นกาย เห็นกายโดยวิปัสสนา ถ้าเห็นกาย กายานุปัสนา เห็นเวทนาก็เวทนานุปัสสนา ถ้าเห็นจิตก็จิตนานุปัสสนา ถ้าเห็นธรรมก็ธัมมานุปัสนา นี่ถ้ามันเห็นจริง

สติปัฏฐาน ๔ เวลาพูด ไปฉกฉวยธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา แล้วก็บอกว่า “ปฏิบัติตามแนวทางสติปัฏฐาน ๔ ปฏิบัติตามแนวทางสติปัฏฐาน ๔” แล้วก็จินตนาการไปทั้งนั้น นึกเอาทั้งนั้นน่ะ มันสติปัฏฐาน ๔ ปลอมๆ มันฉกฉวยของเขามา ฉกฉวยธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเป็นของเราว่าเรารู้เราเห็น “ปฏิบัติตามแนวทางสติปัฏฐาน ๔” แต่มันไม่มีความจริงเลย เพราะมันไปฉกฉวยของเขามา

แต่ถ้ามีโอกาสแล้วทำความจริงขึ้นมา ทำความเป็นจริงในใจของเราขึ้นมา พอจิตมันสงบ จิตเป็นความจริง ถ้าเห็นกาย โอ้โฮ! มันสะเทือนหัวใจ ชี้ขุมทรัพย์ มันเหมือนคนเจ็บไข้ได้ป่วย แล้วพยายามหาว่าเป็นโรคสิ่งใด แล้วหาไม่เจอ ไปหาหมอโรงพยาบาลไหนก็วินิจฉัยไม่ได้ว่าเป็นโรคอะไร ไปหาใคร ใครก็วินิจฉัยว่าเป็นโรคอะไร มันเป็นโรคกรรม โรคกรรม เทคโนโลยีหาไม่เจอเลยล่ะ แต่ถ้าถึงเวลาเราทำด้วยบุญกุศลของเราขึ้นมา เห็นได้ว่าเป็นโรคภัยไข้เจ็บสิ่งใด

นี่ก็เหมือนกัน เวลาจิตมันเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง มันเห็นกิเลส มันเห็นความร้อยรัด มันเห็นนะ ถ้ามันเห็น นี่เวลาครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นธรรม ท่านถึงบอกว่า ถ้าไม่เห็นกิเลส ไม่รู้จักกิเลส จะไปแก้กิเลสกันได้อย่างไร

ถ้าเห็นสติปัฏฐาน ๔ ตามความฉกฉวยมา มันก็สร้างภาพได้ จินตนาการได้ กายใครก็จินตนาการได้ เราพิจารณากายนอก ไปดูซากศพก็ดูกายนอก ถ้ากายใน จิตมันยึด มันเห็นของมัน มันก็สร้างภาพได้ เป็นจินตมยปัญญา ปัญญาที่เห็นกาย

เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง จริงกับไม่จริงมันต่างกันอย่างไร

ถ้าไปฉกฉวยมามันเป็นจอมปลอมหมด จอมปลอมด้วยสมุทัย สมุทัยคือตัณหาความทะยานอยาก มันมีส่วนผสม คิดสิ่งใดทำสิ่งใดก็เป็นเหมือนกัน ว่างเหมือนกัน ปล่อยเหมือนกัน แต่มันสะอาดไปไม่ได้ มันสมุจเฉทปหานไปไม่ได้ เพราะมันไม่มรรคสามัคคี มันเป็นไปไม่ได้ เพราะมันยังมีสมุทัย มีกิเลสตัณหาความทะยานอยากนอนเนื่องมากับการกระทำนั้น ถ้านอนเนื่องมากับการกระทำนั้น มันถึงต้องทำความสงบของใจเข้ามาให้มากขึ้น แล้วจิตตั้งมั่น จิตอิ่มเต็มแล้วเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง แล้วจับแล้วพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า การว่าซ้ำแล้วซ้ำเล่า พยายามกลั่นกรอง พยายามกระทำ มีการกระทำบ่อยครั้งเข้าๆ มันจะรู้จะเห็นตามความเป็นจริง

ถ้ามันจะรู้จะเห็นตามความเป็นจริง การปฏิบัติตามความเป็นจริง มีกิจจญาณ สัจจญาณ มีการกระทำ ครูบาอาจารย์ของเราท่านให้ทำอย่างนี้ แล้วท่านสาธุจริงๆ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านรอตรงนี้ ดูสิ เวลาหลวงปู่มั่นท่านเป่ากระหม่อมหลวงตามา “มหา จิตเป็นอย่างไร” ถามทุกวัน มันพิจารณามาอย่างไรล่ะ นี่ผู้รู้กับผู้รู้เขาคุยกัน เขาวางรากฐานกัน เขาวางรากฐานมาจากความเป็นจริง กิจจญาณ สัจจญาณในหัวใจ คนไม่รู้มันจะรู้ได้อย่างไรว่ามันทำอย่างไร กิริยาอย่างไร ความรู้สึกอย่างไร

ความรู้สึกของเรานี่ความรู้สึกของโลก ความรู้สึกหยาบๆ ทั้งนั้นน่ะ ความรู้สึกสัญญาอารมณ์ แล้วเวลาจินตมยปัญญา จินตนาการมันรู้มันเห็นของมันไป มันเป็นได้ทั้งนั้นน่ะ คนภาวนารู้หมดน่ะ แต่ถ้ามันลึกซึ้งเข้าไปๆ ทำความสงบของใจให้มากขึ้น แล้วมันมากขึ้น

หลวงปู่มั่นท่านเป่ากระหม่อมหลวงตามา “มหา จิตเป็นอย่างไร จิตเป็นอย่างไร” ถามซ้ำๆ ซากๆ ถามซ้ำๆ ซากๆ แต่เวลาเราปฏิบัติไป หลวงตาท่านติดของท่าน ท่านก็ว่าของท่านถูก นี่คนเป็นกับคนเป็นมันเป็นความจริง ถ้าเป็นความจริง เรามีโอกาสแล้วเราไม่ฉวยโอกาส เราต้องทำความเป็นจริงสร้างโอกาสนั้นให้เป็นคุณงามความดี สร้างโอกาสนั้นให้เป็นคุณธรรมในหัวใจของเรา

แต่คนที่เกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา แล้วบวชเป็นพระด้วย แล้วเป็นพระป่าเสียด้วย แล้วเวลาประพฤติปฏิบัติไป ถ้ามันไม่จริง แล้วไปฉกฉวยของครูบาอาจารย์มา แล้วเอาไปปู้ยี่ปู้ยำเสียหายหมด คำว่า “เสียหาย” มันเสียหายกับจิตดวงนั้นนะ เสียหายกับผู้กระทำนั้น เพราะผู้กระทำนั้นถ้าปฏิบัติตามความเป็นจริง เขาจะได้เป็นมรรคเป็นผลขึ้นมาตามความเป็นจริงของเขา ถ้าเขาทำได้จริง

ถ้าเขาทำไม่ได้ ทำไม่ได้แล้วไปฉกฉวยมา เพราะฉกฉวยมา มันมีความสงสัย มันรู้ ดูสิ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรียนกับเจ้าลัทธิต่างๆ อาฬารดาบส อุทกดาบส “มีความรู้เหมือนเรา มีความเห็นเหมือนเรา มีความฉลาดเหมือนเรา” อุทกดาบส อาฬารดาบส บอกเลย “เจ้าชายสิทธัตถะมีความเห็นเหมือนเรา เป็นอาจารย์สอนได้เลย” เจ้าชายสิทธัตถะปฏิเสธ เรายังสงสัยอยู่ เรายังมีความวิตกกังวลในใจ

นี่ก็เหมือนกัน ถ้ามันฉกฉวยมามันต้องมีเรื่องอย่างนี้ มันต้องมีตะกอนในใจ มันจะผ่องแผ้วไปไม่ได้ ในเมื่อมีพญามาร ครอบครัวของมารในหัวใจ มันจะผ่องแผ้วไป มันจะปลอดโปร่งไปในหัวใจ มันเป็นไปไม่ได้ แต่ด้วยความหน้าด้าน ด้วยการตีสองหน้า ด้วยการทำนุ่มนวลอ่อนหวาน มันไม่จริงหรอก ถ้ามันเป็นจริงนะ มันจะไม่โกหกมดเท็จ แล้วมันจะเป็นความจริงขึ้นมาในใจ ถ้ามีโอกาสแล้วเราจะทำโอกาสของเราให้เป็นความจริง ความจริง เราตั้งสติของเรา มันจะทุกข์มันจะยาก เราพอใจจะทุกข์นะ

เวลาเรามองหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ท่านอยู่ในป่าในเขาของท่าน ถ้ามองทางโลก ท่านมีความสุขตรงไหน ท่านมีความสุขตรงไหน ทางโลกเขา อะไร พระฉันมื้อเดียว มันจะมีความสุขได้อย่างไร เขาอยู่ทางโลก ๕ มื้อ ๑๐ มื้อ เขายังแสวงหาอยากจะกินกันอยู่อีกนะ ตี ๒ ตี ๓ มากินข้าวต้มนู่นน่ะ มันจะกินทั้งวันทั้งคืนน่ะ มันว่ามันมีความสุข ไอ้นี่ฉันมื้อเดียว แล้วไปอยู่ในป่าในเขาเสียด้วย อะไรก็ไม่มีในวัดเลย มันมีความสุขตรงไหน มันมีความสุขตรงไหน เห็นไหม ถ้ามองทางโลก มันความสุขตรงไหน แต่ในใจหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านมีความสุขของท่าน

เวลาหลวงปู่มั่น หลวงตาท่านอุปัฏฐากหลวงปู่มั่นมาเอง หลวงปู่มั่นท่านอยู่คนเดียวมีความสุขมาก แล้วภาระของท่าน ๔ ทุ่ม ๕ ทุ่ม มาแล้ว เทวดา อินทร์ พรหมมาฟังเทศน์ตลอด มาฟังเทศน์ท่านน่ะ แล้วพวกเรา คนที่กิน ๕ มื้อ ๑๐ มื้อ อยู่ตึกอยู่ร้าน อยู่สิ่งมหัศจรรย์ ใครไปหากับเขาบ้าง มีแต่คนไปยกมือไหว้จะขอสตางค์ทั้งนั้นน่ะ แต่หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านมีความจริง

ถ้ามองทางโลก ทางโลกว่ามันจะมีความสุขจริงหรือ วิมุตติสุขมันสุขอย่างไร แล้วเป็นจริงได้อย่างไร ทำไมหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านอยู่ในป่าในเขาของท่าน ท่านมีความสุขของท่านล่ะ นี่ถ้าเป็นความจริง ความจริงมันเป็นที่นี่ไง เพราะความจริงมันมีขึ้นมาแล้ว อะไรมันจะมีค่าไปกว่าคุณธรรม มันจะไปแสวงหาอะไร ปัจจัยเครื่องอาศัยน่ะ มันจะไปแสวงหาอะไรกับลาภสักการะ โมฆบุรุษตายเพราะลาภ ลาภสักการะที่แสวงหากันนั่นน่ะ นั่นน่ะมันจะเข้ามาทำลายในวงกรรมฐาน ในวงการปฏิบัติ

วงกรรมฐานมันต้องการอะไร โคนไม้ก็พอแล้ว ถ้าไม่มีโคนไม้ ดูสิ ชีวิตนี้ฝากไว้กับศรัทธาไทย เขามีศรัทธามีความเชื่ออยู่แล้ว ชีวิตนี้มันจะมอดไหม้ไปโดยที่มันขาดแคลน มันจะเป็นไปได้อย่างไร ถ้ามันเป็นไปไม่ได้แล้ว ทำไมจะต้องไปแสดงกิริยาอย่างนั้น ทำไมจะต้องแสดงกิริยามาดใหญ่โตอย่างนั้น มันแสดงไปทำไม นี่ไง ถ้าเป็นความจริงๆ ครูบาอาจารย์ของเราถ้าเป็นความจริงแล้วไม่ออกมาอย่างนี้หรอก ครูบาอาจารย์ของเราท่านอยู่ของท่านด้วยความสงบ เพราะอะไร เพราะท่านมีคุณธรรม ถ้าไม่มีคุณธรรมในหัวใจ มันจะสุขสงบระงับอย่างนั้นได้อย่างไร เพราะมันออกมาเป็นหมาบ้า มันจะเอาคุณธรรมมาจากไหน แต่ไปฉกฉวยไง ฉกฉวยคุณงามความดีของครูบาอาจารย์ของเราที่ได้สร้างสมไว้ ครูบาอาจารย์ท่านสร้างสมไว้ให้เป็นแนวทางของพวกเราไง ถ้าพวกเรามีความจริงแล้ว

เรามีโอกาสนะ เกิดเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา พยากรณ์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กึ่งพุทธกาลศาสนาจะเจริญอีกหนหนึ่ง ในพระไตรปิฎกพูดไว้ชัดๆ แล้วเราก็ได้เห็นกันมา เราเป็นมนุษย์นะ เราศึกษาได้ ศึกษาประวัติศาสตร์สิ ว่าเวลาศาสนาเจริญ เจริญอย่างไร เวลาศาสนาเสื่อม เสื่อมในสภาพแบบใด แล้วผู้ที่ฟื้นฟูขึ้นมานี่เป็นผู้ใด

เวลาพระประพฤติปฏิบัติ หรือพวกเราบอกว่าศาสนาไม่มีวันเสื่อม บุคคลต่างหากเสื่อมจากศาสนา มันก็จริงๆ นั่นแหละ เพราะบุคคลทำให้มันเสื่อม มันไม่มีบุคคลที่เข้มแข็ง บุคคลที่มีอำนาจวาสนากลับมาฟื้นฟูไง เพราะบุคคลเสื่อมจากศาสนาไป แต่มันก็ยังมีผู้จรรโลงไว้ ฉะนั้น เวลาครูบาอาจารย์ของเราท่านกลับมาฟื้นฟู เวลาฟื้นฟูแล้ว ทางโลกไง สุกก่อนห่าม อยากได้ก่อนซื้อ คือไม่ประพฤติปฏิบัติให้มันขึ้นมาตามความเป็นจริง สุกก่อนห่ามไง ครูบาอาจารย์ของเราท่านประพฤติปฏิบัติมาตามความเป็นจริง มีโอกาสแล้วทำความเป็นจริงขึ้นมา ในหัวใจของท่านมีแต่ความสุข วิมุตติสุข สุขของท่าน จะอยู่ที่ไหนมันก็เป็นความสุขทั้งนั้นน่ะ แล้วท่านอยู่เป็นแบบอย่างของพวกเราด้วย

ฉะนั้น เราสุกก่อนห่าม เรายังประพฤติปฏิบัติไม่มีหลักไม่มีความเป็นจริง เราก็แสดงออกว่าเราจะมีคุณธรรม แล้วคุณธรรมมันย้อนกลับมา ทำไมมันแสดงออกอย่างนั้นล่ะ นั่นมันสุกก่อนห่ามไง เพราะไม่มีอยู่จริง ธรรมปฏิบัติไม่ได้จริง แล้วเอาสิ่งนั้นว่ามีคุณสมบัติตามนั้นไง

แต่ถ้าเราทำความเป็นจริง เราเป็นจริง ทำจริง พอมันเป็นสัมมาสมาธิ แล้วพิจารณาของเราซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ เวลามันขาด มันรู้มันเห็นน่ะ อ๋อ! สติเป็นอย่างนี้ สมาธิเป็นอย่างนี้ เวลาพิจารณาไปแล้วเวลามันปล่อยวางก็เป็นอย่างนี้

ถ้าปล่อยวางๆ เมื่อก่อนเราก็โง่ เราก็เชื่อว่าการปล่อยวางนี้ เห็นไหม ปล่อยวางหนหนึ่งก็เป็นโสดาบัน ปล่อยวางหนที่ ๒ ก็เป็นสกิทาคามี ปล่อยวางหนที่ ๓ ก็เป็นอนาคามี ปล่อยวางหนที่ ๔ ก็เป็นพระอรหันต์ คิดว่าอย่างนั้น แต่เวลามันเสื่อมแล้วหมดเลย นี่คนปฏิบัติแล้วมันต้องเคยเจอประสบการณ์อย่างนี้ เคยเจอประสบการณ์มา

เราเดินมาแล้วลื่นหกล้ม เราเดินไปแล้วทำอะไรผิดพลาด การทำงาน ใครทำงานแล้วไม่มีผิดพลาด ไม่มี คนทำงาน ทุกคนมีผิดพลาดมาทั้งนั้นน่ะ ความผิดพลาดนั้นมันจะสอน เพราะความผิดพลาดมันมีกิเลส กิเลสมันต่อสู้ กิเลสมันต่อต้าน เวลาที่มันต่อต้านมันก็ต่อต้านให้เราล้มลุกคลุกคลานนั่นน่ะ แล้วเราประหัตประหารมัน เราต่อสู้กับมันมา เรารู้เห็น เวลาที่มันลงได้ ลงได้มันก็เป็นตทังคปหาน ถ้ามันไม่ขาดๆ พอมันเสื่อมไปแล้วนี่หมดเลย แล้วหมดเลยแล้วก็ต้องเริ่มต้นใหม่ เริ่มต้นใหม่ ทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าใจสงบแล้วฝึกหัดใช้ปัญญาเป็นไม่เป็น ใช้ปัญญาได้ไม่ได้ เพราะมันขยะแขยง มันกลัว ทำอะไรแล้วละล้าละลังไปหมด นี่ถ้าปฏิบัติมันจะมีอย่างนี้ แล้วมีครูบาอาจารย์ เอาอย่างนี้ๆ

หลวงปู่มั่นสอนหลวงตาน่ะ “เอาอย่างนี้นะ ทำอย่างนี้นะ ทำอย่างนี้นะ” นี่ท่านวางแนวทางให้ เพราะคนที่ปฏิบัติมันจะเจอสภาวะแบบนี้ กิเลสอะไรมันไม่ป้องกันตัว พญามาร ครอบครัวของมารที่มันไม่ป้องกันตัวมันเลย ที่ไหนมันมี ถ้ามันไม่ป้องกันตัว ทำไมคนเกิดมา ๗ พันกว่าล้าน ถ้ามันไม่ป้องกันตัว มันก็ไม่ป้องกันตัวมัน มันจะยึดหัวใจคน ยึดหัวใจสัตว์โลกไง แล้วเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เอาความจริงขึ้นมา ความจริงขึ้นมาจะไปทำลายมันน่ะ แล้วมันไม่ทำให้เราผิดพลาด ไม่ทำให้เราเหลวไหล มันเป็นไปได้อย่างไร

ปฏิบัติอย่างนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ ถึงเวลามันขาด เพราะมันเห็น ตทังคปหาน มันไม่จบไง แล้วไม่จบ ถ้าขาดสติ ไม่มีครูบาอาจารย์ พอมันเสื่อมแล้วจบนะ หลวงตาบอกว่า เศรษฐีล้มละลาย เวลาจะมาฟื้นฟู ทุกข์เหมือนเศรษฐีล้มละลาย ตัวแดงเถือกเลย ต้องประนอมหนี้ไม่รู้กี่รอบกว่าจะฟื้นฟูได้ นี่เวลาจิตมันเสื่อม คนจะรู้จัก ไม่เคยจิตเสื่อมไม่รู้หรอกว่าโทษของจิตเสื่อมเป็นอย่างไรหรอก แล้วเวลามันฟื้นฟูมา เวลามันดีขึ้นมา มีโอกาสแล้วทำโอกาสให้มันได้ โอกาส ได้โอกาสหนหนึ่งแล้วต้องยิงให้ได้ประตูเลย เขาส่งมาให้ ใส่พานมาให้ เตะออกๆๆ ไม่เคยได้สักประตูหนึ่ง

คิดอย่างนี้ ทำอย่างนี้ เอาจริงเอาจัง ถ้ามันได้ประตูมันต้องรู้สิ พอได้ประตูขึ้นมา โอ้โฮ! ผู้ดูฮือขึ้นเลย เพราะอะไร เพราะถ้าได้ประตู มันฮือเลย ไอ้นี่ยิงแล้วยิงเล่า นั่งเงียบ เป่าสาก ไม่เห็นมีใครพูดสักคน มันจะได้อะไรล่ะ ลองได้ประตูสิ

นี่เหมือนกัน ลองถ้ามันสมุจเฉทปหาน มันขาด โอ้โฮ! ครบองค์ประกอบเลย รู้เลย ศีล สมาธิ ปัญญา กุปปธรรม อกุปปธรรม แล้วพิจารณาต่อเนื่อง บุคคล ๔ คู่ ขยันหมั่นเพียรขึ้นไป ปฏิบัติซ้ำแล้วซ้ำเล่า ขยันหมั่นเพียร ทำถึงที่สุดแห่งทุกข์ ถ้าถึงที่สุดแห่งทุกข์ มีโอกาสแล้วทำให้ได้ผลของเรา ไม่ฉวยโอกาส เรามองสังคม แล้วเห็นเขาทำ เราไม่ทำตามเขา เราจะทำความจริงของเรา เพราะชีวิตของเรา จิตใจของเรา ทำเพื่อประโยชน์กับใจดวงนี้ เอวัง