เทศน์เช้า

เทศน์เช้า

๑๒ เม.ย. ๒๕๕๙

เทศน์เช้า วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๙

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ไอ้คนที่มาอยู่วัดเนาะ คนที่มาอยู่วัด แดดมันแรง แดดมันแรง ไอ้พวกนี้ ไอ้พวกครีมกันแดดใช้ได้ ครีมกันแดดเราถือว่ามันเป็นยา เราไม่ถือว่ามันเป็นเครื่องสำอาง เวลาคนมาก็คิดแต่เป็นเครื่องสำอาง ก็ไม่กล้าใช้ไง

เวลามันร้อน มันร้อนร่างกาย ร้อนอากาศ แต่ถ้าเราทำความสงบของใจเข้ามา เราจะร่มเย็นในหัวใจของเรา ถ้าหัวใจมันร่มเย็นนะ ให้มันร้อนมาเลย ลุยไฟยังลุยได้เลย แต่ถ้าหัวใจมันหงุดหงิดนะ อากาศ มันโทษไปหมดน่ะ อ้างเล่ห์ไง หนาวนักไม่ทำงาน ร้อนนักไม่ทำงาน มันอ้างเล่ห์ไปเรื่อยน่ะ

แต่ครูบาอาจารย์ของเรานะ เวลาจะประพฤติปฏิบัติขึ้นมา กลางแดด เดินจงกรมได้เลย กลางแดดกลางฝนนี่ลุยได้เลย ลุยได้เลยเพราะอะไร เพราะมันจะได้จะเสียในหัวใจไง ถ้าหัวใจมันจะได้จะเสียอยู่ คือมันก้ำกึ่งๆ มันจะได้จะเสีย มันมีความมุมานะนะ ความมุมานะของเราน่ะ ความมุมานะเพื่อเอาใจไว้ในอำนาจของเราไง ใจของเรานี่

ในหัวใจของเรา ปฏิสนธิจิตเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ มันเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ เราได้แต่เปลือกไง ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว เวลาใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว เราอยากได้เจ้านายนั้น แต่สุดท้ายแล้วเราได้มาที่บ่าวไพร่ บ่าวไพร่ขึ้นมานะ หาอยู่หากินไง เลี้ยงปากเลี้ยงท้องไง ชราคร่ำคร่าไง เจ็บไข้ได้ป่วยไง ร่างกายนี้เป็นเรือนรังของโรคนะ โรคภัยไข้เจ็บมันจะเกิดบนร่างกายนี้ ถ้าเกิดถ้าคนดูแลสุขภาพที่ดีนะ ต่อไปมันก็ชราภาพ ความชราภาพ ชราคร่ำคร่า

ชีวิตนี้มีการพลักพรากเป็นที่สุด ชีวิตนี้มีการพลัดพรากเป็นที่สุด แล้วชีวิตนี้เป็นของเรา ในปัจจุบันนี้หนึ่งอายุขัยของเรามีโอกาสของเรา ทำไมเราไม่ค้นคว้าเราไม่ค้นหา ไม่ค้นหาสัจจะความจริงในใจของเรา เห็นไหม

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมอยู่โคนต้นโพธิ์ ตรัสรู้ที่ไหน ตรัสรู้ในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง ในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปรื้อค้นกับเจ้าลัทธิต่างๆ ๖ ปี ค้นคว้ามาทั่วน่ะ มันก็สงสัย มันก็สงสัย ใครจะรับประกันขนาดไหน ใครจะเยินยอขนาดไหน เราก็ยังสงสัย เราก็ยังสงสัยในหัวใจของเราไง

ระลึกถึงนะ ใครๆ ก็สอนเราไม่ได้ ใครๆ ก็สอนเราไม่ได้นะ ระลึกถึงตอนเป็นราชกุมาร พระเจ้าสุทโธทนะไปแรกนาขวัญ ทิ้งเอาไว้ที่โคนต้นหว้านั้น กำหนดหายใจเข้าและหายใจออก

เขาบอกองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ปฏิบัติพุทโธ แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนพุทโธไง เขาบอกองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ปฏิบัติพุทโธ

ไม่ได้ปฏิบัติพุทโธเพราะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นราชกุมาร องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ เขาไม่ได้สอนพุทโธเพราะไม่มีใครรู้ แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ยังไม่รู้ ถ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่รู้ ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกมันเป็นสามัญสำนึกของมนุษย์ไง แต่ถ้ามันมีสติปัญญา จิตมันเกาะลมหายใจนั้นถึงเป็นอานาปานสติไง พวกลัทธิต่างๆ เขาก็หายใจของเขาไง หายใจทิ้งเปล่าๆ ไง

แต่เพราะเรามีสติมีปัญญาของเรา เพรามีสติมีปัญญา เราให้หัวใจนี้มันเกาะกับลมหายใจนั้น ถ้าหัวใจนี้เกาะกับลมหายใจนั้น มันมีความรู้สึกการหายใจเข้าและหายใจออก เพราะความรู้สึกอันนั้น เขาเรียกอานาปานสติ แต่ถ้าไม่มีจิตนี้ไปเกาะตรงนั้น เราหายใจทิ้งเปล่าๆ ไง ถ้าหายใจไม่ได้ก็ให้ออกซิเจนไง ให้สายยางไง ให้เข้าไปถึงปอดเลยไง แล้วมันก็ไม่ได้อะไรมาเลยไง

แต่ถ้ามันจะได้ขึ้นมา เวลาเราจะทำสิ่งใดเราก็เกี่ยง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ทำพุทโธ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะบอกพุทโธมาจากไหนล่ะ แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ขึ้นมาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยอานาปานสติ จิตทำความสงบของใจเข้ามา พอใจสงบแล้ว ใจสงบแล้วแต่ยังไม่มีปัญญานะ บุพเพนิวาสานุสติญาณ คือสัจธรรมที่ได้สร้างสมมา สิ่งที่ได้ทำมาซับมาที่ใจๆ เรื่องพันธุกรรมของจิต จิตที่ได้สร้างสมมาสิ่งใดมันลงที่ใจไง

กรรมจำแนกสัตว์ให้เกิดต่างๆ กัน จริตนิสัยของคนไม่เหมือนกัน ไม่เหมือนกันเพราะพฤติกรรมของความเป็นอยู่ของแต่ละภพแต่ละชาติ แต่ละภพแต่ละชาติ ดำรงชีวิตอย่างไร เธอคิดอย่างไร เธอย้ำคิดย้ำทำอย่างไร จะเป็นจริตจะเป็นนิสัยของเธอ จะเป็นความชอบของเธอ นี่ไง จิตมันย้ำคิดย้ำทำ พันธุกรรมของมันน่ะ เวลาจิตมันสงบแล้ว บุพเพนิวาสานุสติญาณ มันก็ไม่ใช่ มันเป็นอดีต อดีตเรารู้มา อดีตน่ะ ตอนนี้เป็นเจ้าชายสิทธัตถะดีกว่าอดีตตั้งเยอะ มันไม่ใช่

เวลาจิตดึงกลับมา จิตสงบเข้าไป จุตูปปาตญาณ จิตดวงนี้ถ้ายังไม่มีการแก้ไข จิตดวงนี้ ถ้ายังมีเวรมีกรรมของมันอยู่ จิตดวงนี้ต้องใช้กรรมอันนั้น ต้องได้รับผลของกรรมอันนั้น กรรมนี้เป็นกมฺมพนฺธุ กมฺมปฏิสรโณ กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ กรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมคือการกระทำ จิตที่ได้ทำแล้วมันมีเวรมีกรรมของมัน มันต้องไปตามเวรตามกรรมอันนั้น จุตูปปาตญาณ ดึงกลับมา

เวลาอาสวักขยญาณ อาสวะ อาสวักขัย อาสวะคืออวิชชา คือความไม่รู้ คือตัวตนที่มันฝังอยู่นี่ ปัญญามันเข้ามาตีแตก ตีสิ่งที่ความไม่รู้ แตกมันเป็นวิชชา วิชชาเกิดขึ้น ญาณเกิดขึ้น มรรคเกิดขึ้น ธรรมเกิดขึ้นไง นี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาแล้ว พุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงได้สอนพุทโธ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพุทธะ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพุทธะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงสอนพุทโธ ธัมโม สังโฆ มรณานุสติ ไม่ใช่พุทโธอย่างเดียว ถ้าคนมีจริตนิสัยอย่างไรก็เอาอย่างนั้น ขอ ขออย่างเดียว ขอให้ทำ ให้ทำแล้วให้จิตมันสงบ ถ้าจิตสงบแล้วจิตร่มเย็น ถ้าจิตร่มเย็นแล้ว ร่มเย็นแล้ว จะทำงานสิ่งใดมันจะขวนขวายของมันไง

เรากระเสือกกระสน เรามีแต่ความทุกข์ความร้อน เรามีแต่ความบีบคั้นในหัวใจ แล้วก็ขวนขวายจะทำงานๆ เตี้ยอุ้มค่อม ตัวเอาไม่รอด ตัวเองเอาไม่รอดจะไปช่วยใคร ตัวเองยังยืนขึ้นมาไม่ได้แล้วตัวจะทำอะไร ลังเลสงสัยไปหมด ว่างๆ ว่างๆ

ว่างๆ อากาศมันก็ว่าง ว่างๆ ในห้องในหับมันก็ว่าง ว่างๆ ในเรือนว่างมันก็ว่าง ว่างๆ ในป่าในเขามันก็ว่าง แต่หัวใจของคนมันติดขัด หัวใจของคนมันทุกข์ร้อนไง เราถึงกำหนดพุทโธ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิของเราเพื่อให้จิตมันสงบเข้ามา

จิตสงบระงับเข้ามาแล้ว สุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบไม่มี จิตสงบที่มันปล่อยวางสิ่งต่างๆ เข้ามา มันมีสติมีสัมปชัญญะรับรู้อยู่ไง พอรับรู้อยู่ มันมหัศจรรย์ไง มหัศจรรย์นี้คือนิพพานๆ...ไม่ใช่ เวลาคนเราว่างๆ ว่างๆ ก็จินตนาการสร้างอารมณ์ว่าง เราคิดให้ว่างสิ เราคิดให้ว่าง เราคิดถึงความว่าง มันก็ว่างไง เพราะเรามีสติปัญญาควบคุมได้

แต่ถ้าเรามีสติมีปัญญา เราเท่าทันความคิด เพราะความคิดเป็นสังขาร ความคิด ความปรุง ความแต่ง จากสัญญาเทียบเคียง จากจริตนิสัย จากความชอบ ความชอบและความไม่ชอบให้ผลเป็นสุขและเป็นทุกข์ ถ้าสิ่งที่ให้ผลเป็นสุขและเป็นทุกข์ ถ้าเรามีสติปัญญาแยกแยะมันด้วยปัญญาของเรา นี่ปัญญาอบรมสมาธิไง ปัญญาที่รอบรู้ในกองสังขาร ปัญญาที่รอบรู้ในความคิดไง

ความคิด ความปรุง ความแต่ง มันเกิดจากจิต เกิดจากจิตโดยอวิชชา โดยตัณหาความทะยานอยาก โดยความไม่รู้เท่าของมัน ก็ไปยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเรา ยึดมั่นถือมั่นว่าคิดถูก ยึดมั่นว่าคิดดี ยึดมั่นถือมั่นว่าคิดแล้วมันเป็นประโยชน์กับเราไง แล้วมันก็ไปกว้านเอาทุกข์ร้อนมาใส่ตัวเราไง

ถ้ามีสติปัญญาเท่าทันมัน มันปล่อย ทำไมมันถึงปล่อยล่ะ มันปล่อยเพราะมันรู้เท่าไง มันปล่อยเพราะว่า เมื่อก่อนเอ็งมันโง่ไง เมื่อก่อนนี้โง่มากเลย ใครเอาอะไรมายัดเยียดก็รับเขาไปหมดเลย แต่พอเรามีสติปัญญา ไม่เอา ไม่คิด ถ้าเป็นธรรมะจะคิด คิดแต่สิ่งที่ดีๆ คิดสิ่งที่อยากทำคุณงามความดี คิดถึงพ่อถึงแม่ คิดถึงสังคม คิดถึงความเป็นธรรม ธรรมาภิบาลๆ ถ้าคิดเป็นธรรม จิตใจมันสร้างบารมีตรงนี้ไง

ย้ำคิดย้ำทำจะเป็นจริตเป็นนิสัยของเธอ ถ้าเธอคิดสิ่งที่ดีๆ เธอคิดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์กับเธอ เธอจะได้อาหารให้สัจธรรมในหัวใจของเธอ แต่ถ้าคิดว่าเขาเบียดเบียนเรา เขาทำลายเรา คิดแต่ความเจ็บซ้ำน้ำใจ นั่นคิดแต่เรื่องกิเลสไง ถ้าย้ำคิดย้ำทำนะ มันก็เป็นกิเลสไง มีสติมีปัญญามันรู้มันเห็นอย่างนี้ พอมันรู้มันเห็นขึ้นมามันก็เริ่มจะคิดแต่สิ่งที่ดี เราต้องอาศัยคุณงามความดีนี้ให้จิตใจนี้ก้าวเดินต่อไป จิตใจต้องก้าวเดินออกไป จิตใจก้าวเดินออก ถ้าจิตใจมันไม่ก้าวเดินออกไป มันไม่พัฒนาของมันเลย แล้ววิปัสสนามันเกิดอย่างไร จิตนี้มันก้าวเดินอย่างไร จิตนี้ก้าวเดิน การจิตนี้ก้าวเดินออกไปคือวิปัสสนาเป็น คือทำงานเป็น

คนทำงานเป็น คนทำงานเป็น จากที่วิ่งวุ่นวายไปหมดนั่นน่ะ ไม่เห็นสิ่งใดๆ เลยน่ะ กลับทำให้มันสงบใจเข้ามา ใจกลับสงบ เราเคลื่อนไหวอยู่ เราวิ่งแสวงหาอยู่ เราจะไม่เห็นอะไรชัดเจนเลย เราหยุดนิ่ง เราพิจารณาของเรา มันจะชัดเจนของมันขึ้นมา พอชัดเจนแล้วเราถึงใช้วิปัสสนา มันถึงจะก้าวออกเดินไป มันถึงเป็นวิปัสสนา มันถึงจะเป็นวิวัฒนาการไง จิตมันพัฒนาขึ้นไปเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไปไง ถ้าจิตพัฒนาขึ้นเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป มันจะรู้มันจะเห็นไง นี่ผู้ที่ภาวนาเป็น

ปุถุชนคือคนหนา ถ้าเราพิจารณาของเราแล้วจะเป็นกัลยาณปุถุชน ถ้ายกขึ้นเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง เห็นสติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริง เห็นสติปัฏฐาน ๔ คือจิตมันเห็น ไม่ใช่ตาเห็น ไม่ใช่ความรู้สึกเห็น ไม่ใช่จินตนาการเห็น มันเห็นขึ้นมาจากใจ พอเห็นขึ้นมาจากใจ มันเห็นขึ้นมาจากใจ

ความคิดเกิดจากจิต ถ้าจิตมันสงบแล้ว จิตมันเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง มันสะเทือนจิต มันสะเทือนจิตเพราะอะไร มันสะเทือนจิต เพราะจิตมันโง่ จิตมันโง่เพราะมันยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเป็นตนของมันไง ถ้ามันพิจารณาของมัน มันสะเทือนอันนั้นเพราะอะไร มันสะเทือนอันนั้น เพราะเราเข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นเราๆ ไง ร่างกายก็เป็นของเรา ทุกอย่างก็เป็นของเรา แล้วเป็นของเรา เป็นของเราโดยสังโยชน์ เป็นของเราโดยสักกายทิฏฐิ

สักกายทิฏฐิ ทิฏฐิความเห็นผิด เห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา แต่จริงๆ แล้วโดยวิทยาศาสตร์เป็นเราจริงไหม เป็น ทางโลกเขาเรียกจริงตามสมมุติ จริงตามสมมุติคือมันจริงชั่วครั้งชั่วคราว สิ่งที่เวียนว่ายตายเกิด อนิจจังทุกอย่าง สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา มันชั่วครั้งชั่วคราวทั้งนั้นน่ะ ว่าธรรมะเป็นอนัตตาๆ อนัตตาแล้วใครไปรู้ไปเห็นล่ะ เพราะความไปรู้เห็นอนัตตาอันนั้นมันถึงสำรอกมันถึงคายไง ถ้ามันคายขึ้นมาแล้ว มันรู้จริงขึ้นมาแล้ว นี่อกุปปธรรมๆ

สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา สัจธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา มันเป็นอนัตตาต่อเมื่อมึงรู้มึงเห็นจริงนะ ถ้ามันเป็นอนัตตาโดยวิชาการ เป็นอนัตตาโดยความเข้าใจ เป็นอนัตตาโดยจินตนาการ เพราะไม่รู้ไม่เห็นสติปัฏฐาน ๔

สติปัฏฐาน ๔ จิตเห็นตามความเป็นจริง ความคิดเกิดจากจิต สรรพสิ่งทุกอย่างเกิดจากจิต เกิดจากจิต โลกนี้มีเพราะมีเรา สรรพสิ่งที่มีเพราะมีเรา เราไม่รับรู้ เราไม่สนใจ มันมีไหม มันก็มีของมันอยู่ของมันเก้อๆ เขินๆ ไง มันไม่เข้ามาถึงเราไง

รูปอันวิจิตร สรรพสิ่งในโลกนี้อันวิจิตรไม่ใช่กิเลส ตัณหาความทะยานอยากของคนต่างหาก ความหลงผิดอันนั้นต่างหาก ถ้าความหลงผิดอันนั้น มันพิจารณาของมัน มันแยกแยะเข้ามา มันพิจารณาเข้ามา เวลามันสำรอกมันคายออกไปแล้ว ความคายเป็นอนัตตา สิ่งที่เป็นอนัตตา พอเป็นอนัตตาแล้ว ถ้ามันเป็นอนัตตา พอมันปล่อยวางหมดแล้ว อกุปปธรรม อกุปปธรรม ธรรมะที่คงที่ อฐานะที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทำไมอฐานะที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะถ้าไม่อฐานะที่ไม่เปลี่ยนแปลง จิตนี้เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะมันก็เปลี่ยนแปลงไง มันเปลี่ยนแปลงเพราะมันครอบงำด้วยอวิชชา เพราะความไม่รู้ตัวมันไง

พอมันรู้แจ้งขึ้นมา จิตเหมือนกัน จิตเหมือนกัน แต่ถ้าสำรอกคายออกไปแล้วมันไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะมันไม่เปลี่ยนแปลงมันถึงไม่เกิดไง เพราะมันไม่เปลี่ยนแปลงมันถึงรู้เท่าทันอารมณ์ไง อารมณ์เกิดอีกไม่ได้ สรรพสิ่งในโลกนี้เกิดอีกไม่ได้ เกิดอีกไม่ได้เพราะมันเป็นอัตโนมัติรู้เท่าทันหมด

เพราะมันเสวยมันถึงเกิด มันแตะมันถึงรับรู้ มันรับรู้มันถึงเป็นของมัน แล้วถ้ามันรับรู้ ไม่เป็น แล้วมันทรงตัวอย่างไรล่ะ มันทรงตัวของมันอยู่อย่างไร มันทำของมันอยู่อย่างไร ถ้ามันอยู่ของมัน นี่ไง ผู้ที่ปฏิบัติมีสัจจะความจริงอันนี้ไง

มันถึงว่า ถ้ามันมีความทุกข์ความยากอยู่ ความทุกข์ความยากมันเป็นสัจจะเป็นความจริง เราต้องมีสติปัญญาของเราไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงสอน “เธอจงมีธรรมเป็นที่พึ่งเถิด อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย”

แต่ในปัจจุบันนี้เราพึ่งตัวเองไม่ได้ แล้วธรรมะเราก็ค้นคว้าด้วยสัจจะความจริงไม่เกิดขึ้นมาเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก รู้จริงเห็นจริงตามความเป็นจริง เราศึกษามาด้วยสัญญาไง เราถึงต้องพึ่ง ต้องพึ่งก่อน เห็นไหม

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาถามพระสารีบุตร พระสารีบุตรบอกว่าไม่เชื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่เชื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระไปฟ้ององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงเรียกพระสารีบุตรมา “สารีบุตร เธอไม่เชื่อเราหรือ”

แต่ก่อนที่มาประพฤติปฏิบัติ เคารพบูชาเชื่อถือ ถ้าไม่เชื่อถือจะมาบวชกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือ แต่ขณะที่นั่นน่ะ เพราะเชื่อถือ พอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชี้หนทางแล้วประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริงไง การประพฤติปฏิบัติ ศรัทธานั้นมันเป็นการฝึกฝน แต่ถ้าไปรู้จริงๆ ความเชื่อไม่ใช่ความจริง

ก่อนหน้านั้นเชื่อเคารพบูชามาก แต่พอรู้เท่า รู้สัจจะความจริง ถ้าเป็นสัจจะความจริงอันนี้ไม่เชื่อ แต่ด้วยบุญกุศล ด้วยความกตัญญูกตเวที ด้วยความเคารพนบนอบ เชื่อ เพราะอะไร เพราะคนรู้คุณน่ะ ไม่ใช่คนเนรคุณน่ะ คนที่มีบุญคุณ คนที่เป็นพระอรหันต์ แล้วจะเนรคุณคนอื่นมันเป็นไปไม่ได้หรอก แต่ข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริง อริยสัจ อริยสัจในใจอันนั้นน่ะ มันต้องเป็นอย่างนั้น มันต้องเป็นอย่างนั้น ถ้าไม่เป็นอย่างนั้นมันก็อาศัยกันน่ะสิ การอาศัยกัน ของยืมสิ การอาศัยกันก็ยังต้องพึ่งพาอาศัยกันใช่ไหม ไม่ใช่ มันต้องเกิดขึ้นจริงไง นี่ภาคปฏิบัติ

ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ปริยัติเราก็ศึกษา ศึกษามาเพื่อปฏิบัติ ศึกษามาเพื่อปฏิบัติ ศึกษามาแล้ววางไว้ ความดีนั้นเป็นเครื่องดำเนิน ความดี ความถูกต้องดีงามเป็นเครื่องดำเนิน ถ้าถึงที่สุดแล้วนะ ความดีอันนั้นก็ต้องทิ้ง เพราะจิตนี้มันจะข้ามพ้นทั้งดีและชั่ว ดีก็ข้ามพ้น

ถ้าดีไม่ข้ามพ้นนะ เห็นคนอื่นทำไม่ดี ไม่พอใจ ติดขัดไปหมดเลย มันยังติดดีมันอยู่ไง คนติดชั่วทำแต่ความชั่ว คนติดดีก็ทำแต่คุณงามความดี แต่ต้องอาศัยความดีนั้น แต่ถ้าข้ามพ้นทั้งดีและชั่วไปแล้ว กรรมของสัตว์

สัตว์ กรรมจำแนกสัตว์ให้เกิดต่างๆ กัน ธาตุของเขา ความรู้ความเห็นของเขา กรรมของสัตว์ เขารู้เขาเห็นของเขาอย่างนั้นน่ะ จะดัดแปลงอย่างไรก็เป็นอย่างนั้นน่ะ จะดัดแปลงอย่างไร ดูสิ เวลาเทวทัตๆ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้บวช แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสั่งสอนมาตลอด แต่เขาก็เป็นของเขาอย่างนั้นตลอด แล้วตามล้างตามผลาญมาตลอด แต่สุดท้ายแล้วเทวทัตก็กลับใจ เห็นไหม ธาตุของเขาเป็นอย่างนั้น แต่เขากลับใจ เขากลับใจ เขาถึงจะมาขอขมาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ

คำว่า กลับใจ” ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า “ผู้ใดกระทำความผิด แล้วสำนึกได้ นี่อริยวินัย” สิ่งที่เขาทำผิดแล้ว เขาทำผิดพลาดไปแล้ว ให้กลับใจ ให้กลับใจ ให้เปลี่ยนแปลง ถ้าการเปลี่ยนแปลงแล้วมันจะพัฒนาขึ้นไป

ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงนะ ทิฏฐิมานะอยู่อย่างนั้นน่ะ ทิฏฐิมานะอยู่อย่างนั้นมันก็นรกอเวจีอยู่อย่างนั้นน่ะ เพราะมันเผาในใจของมันเอง เพราะทิฏฐิมานะนั้นไม่ใช่ความจริง แล้วถ้าไม่ใช่ความจริง มันจะอยู่จริงได้อย่างไรล่ะเพราะไม่ใช่ความจริง ของที่ไม่จริงมันอยู่กับหัวใจเรามันจะเป็นจริงได้อย่างไร

ถ้ามันเปลี่ยนแปลงของมันแล้ว พิจารณาของมันแล้ว มันก็จะจริงขึ้นมา พอจริงขึ้นมาแล้วนะ จบ เพราะมันจริงอยู่กลางหัวใจ อย่างอื่นเครื่องอาศัยทั้งนั้น มันเป็นของอาศัย คำว่า ของอาศัย” คือไม่ใช่ของจริง ของจริงคือหัวใจดวงนี้ ถ้าหัวใจดวงนี้ แต่ถ้ามันมีทิฏฐิมานะ นั่นก็อารมณ์ ทิฏฐิคือยึดมั่นอันหนึ่ง แล้วไปเกาะอยู่อย่างนั้นน่ะ ทุกข์ตายห่าเลย แต่ถ้าเมื่อใดเขาสำนึกตน แล้วคายอันนั้นออก แล้วอาศัยคุณงามความดี อาศัยมรรค พวกเราประพฤติปฏิบัติคือเราสร้างมรรคสร้างผลขึ้นมา ศีล สมาธิ ปัญญาขึ้นมาน่ะ เราจะสร้างมรรคของเรา แล้วผลมันมา ผลมันมา ผล เพราะมันสมบูรณ์ของมันต้องเป็นผล

นี่มรรคมันไม่มี จะให้คนถวายพัดยศ พัดยศก็เป็นพัดอันหนึ่ง ตายแล้วเขาก็เอาคืน แต่สัจธรรมกลางหัวใจ จิตนี้กลั่นมาจากอริยสัจ จิตนี้ออกจากความจริง ความจริงอันนั้นจะเป็นความจริงอันนั้นตลอดไป ถ้าความจริงอันนั้น เห็นไหม

เราขวนขวายกันอยู่ที่นี่ เราขวนขวายกันด้วยเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนาด้วยความทุกข์ความยากนะ แต่ก็เพราะหัวใจดวงนี้ไง เพราะไอ้สัตว์ตัวโง่ๆ นี่ อย่าไปโทษใคร ไอ้สัตว์ตัวนี้ ไอ้ศัตรูหัวใจ สัตตะผู้ข้อง สัตว์ตัวนี้มันยังข้องแวะเขาอยู่ตลอดเวลา ใจดวงนี้มันยังเบียดเบียนเขาตลอดเวลา เอาตัวนี้ให้รอด เอาใจดวงนี้ให้รอด ถ้าใจดวงนี้รอด นี่ประเสริฐ ถ้าประเสริฐ ประเสริฐที่นี่

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนพุทโธ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพุทธะ พุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เพราะท่านรู้แล้ว แต่ถ้าเราทำความสงบของใจแล้วมันก็ตื่นโพลงขึ้นมาในหัวใจ แล้วถ้าทำความจริงขึ้นมา ใจดวงนี้มันจะเป็นพุทธะ ถ้าพุทธะ พุทธะนะ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์ของเราท่านพูดว่า แม้แต่นั่งอยู่ต่อหน้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไม่ถาม ไม่ถาม ถ้าถามยังสงสัย เพราะไม่มีความลังเลสงสัย เพราะไม่สงสัยในความจริงอันนั้น แล้วความจริงอันนั้นคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง มันถึงไม่สงสัย

แต่เดี๋ยวเฉา เดี๋ยวเหงา เดี๋ยวหงอยน่ะสงสัย เดี๋ยวมันเป็นอย่างนั้น เดี๋ยวมันเป็นอย่างนี้ เดี๋ยวมันเป็น เดี๋ยวมันเป็น ทำไมมันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาล่ะ ถ้ามันเปลี่ยนแปลง มันเปลี่ยนแปลงเพราะอะไรล่ะ ถ้ามันเปลี่ยนแปลงมันก็ไม่ใช่ความจริงสิ ถ้าเป็นความจริง ความจริงมันคงที่ของมันอยู่ไง แล้วคงที่น่ะ เวลามันแสดงตัว แสดงตัวอย่างไร มันเสวยอารมณ์ มันสื่อสารอย่างไร มโนสัญเจตนาหาร เอวัง