เทศน์เช้า

เทศน์เช้า

๒๔ เม.ย. ๒๕๕๙

เทศน์เช้า วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๙

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

วุฒิภาวะของจิตนะ เวลาเราเห็นแล้วมันสังเวชไง โง่แล้วอวดฉลาด เวลาโง่ คิดว่าตัวเองฉลาด พอตัวเองฉลาด แสดงไปด้วยความเห็นของตน คิดว่าไม่มีใครตามตัวเองทันไง แต่คนเขามีหูมีตาน่ะ เขาทันได้หมดแหละ ทำไมจะทันไม่ได้ เพียงแต่ว่าคนมันโง่ โง่แล้วอวดฉลาดนะ แล้วถ้าโลภด้วยยิ่งตายเลย ไอ้ที่มีปัญหาๆ อยู่นี่ก็เพราะความโลภทั้งนั้นน่ะ ถ้าเราไม่มีความโลภนะ เรามีสติปัญญายับยั้งนะ มันจะคิดได้ทั้งนั้นน่ะ อะไรควรไม่ควร

คนเราเกิดมา ทุกคนปรารถนาความสุข เกลียดความทุกข์ทั้งนั้นน่ะ นี่ผู้คนปรารถนาคุณงามความดี ความดี ความดีก็เป็นความดีไง ความดี แต่คนเวลามันจะทำความดี ทำความดีด้วยการเสแสร้ง เวลาเสแสร้งเป็นความดีๆ น่ะ คำว่า เสแสร้ง” นี่นะ มันกิเลสสองชั้นสามชั้นน่ะ เพราะอะไร เพราะเราก็รู้ว่ามันไม่จริง มันไม่จริงใจ มันทำด้วยความไม่จริงใจ ความไม่จริงใจทำออกมาด้วยความเสแสร้ง ความเสแสร้งทำออกมาแล้วคิดว่าเป็นคุณงามความดีไง แต่มันบังกิเลสนั้นไว้ไง เวลานิสัยแท้จริงมันแสดงออกมา มันเปิดเผยหมดน่ะ ถ้ามันเปิดเผย ถ้ามันไม่เสแสร้งนะ คำว่า เสแสร้ง” ไง เห็นไหม

เวลาเราฟังธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เราพยายามทำคุณงามความดีกัน ทำคุณงามความดีกัน แต่คุณงามความดีของเราเวลาทำขึ้นมา กิเลสมันก็ขัดแย้งทั้งนั้นน่ะ

ดูสิ ของได้มา ได้มาด้วยน้ำพักน้ำแรงของเรา น้ำพักน้ำแรงของเรา ด้วยจิตใจที่มันสูงส่งนะ เวลาหลวงตาท่านพูดไง คนที่เสียสละทานได้ จิตใจของเขาต้องเหนือกว่าวัตถุทานอันนั้น ถ้าจิตใจเขาต่ำกว่าวัตถุทานอันนั้นน่ะ มันจะกอดวัตถุทานอันนั้นว่าเป็นของเราๆ

วัตถุทานนั่นน่ะมันมีค่าไหม มันมีค่าทั้งนั้นน่ะ มันมีค่าสูงค่าต่ำแล้วแต่วุฒิภาวะของใจ แต่ใจมันสูงส่งกว่า ถ้าใจมันสูงส่งกว่านั้นน่ะ มันเสียสละสิ่งนั้นไป นี่มันพัฒนาหัวใจตรงนี้ไง แต่ที่จิตใจมันต่ำกว่าล่ะ จิตใจต่ำกว่า ของกูๆ มันให้ไม่ได้หรอก เวลามันให้นะ จิตใจมันก็ตระหนี่ถี่เหนียว โอ้โฮ! มันเจ็บซ้ำน้ำใจนะ มันต้องฝืนน่ะ

คนถ้าฝึกหัดๆ ฝืนใจ เวลาคำว่า เสียสละทานๆ” มันก็เป็นเจตนาไปแก้ไขหัวใจของเราไง หัวใจของเรา ถ้าหัวใจเรามันต่ำใช่ไหม มันก็ว่าของนี้มีค่าๆ โอ้โฮ! มันละล้าละลังไง ละล้าละลังนะ

แต่จิตใจที่มันสูงส่ง จิตใจมันต้องสูงกว่าสิ่งของที่มีค่านั้น มันถึงจะสละสิ่งที่มีค่านั้นได้ เห็นไหม จิตใจมันสูงส่งๆ ถ้ามันสูงส่ง มันสูงส่งมาจากไหนล่ะ สูงส่งมาจาก หนึ่ง พันธุกรรม เพราะมันตัดแต่งมาดี จิตที่มันตัดแต่งมาดีมันมีพัฒนาการของมันดี มันคิดแต่เมตตาคนนะ มันเห็นคนทำความเลวทรามนะ เอ๊! ทำไมเขาคิดได้อย่างนั้นน่ะ เอ๊! ทำไมเขาทำได้อย่างนั้นน่ะ เพราะอะไร เพราะเราเห็นเรื่องบาปบุญกุศลไง เราเห็นเรื่องบาปบุญคุณโทษ แต่เขาทำๆ เขาคิด จิตใจเขาต่ำช้านะ เขาเห็นแต่ประโยชน์ส่วนตนของเขา ที่เขาทำไปเขาทำลายคนอื่นนะ เขาทำ เขาเบียดเบียนคนอื่นไง เบียดเบียนคนอื่น เขาคิดว่าเขาจะได้ของสิ่งนั้นมา แต่มันสร้างบาป บาปนั้นเป็นของคนทำ บาปนั้นเป็นผู้ที่กระทำ

แต่เขาเบียดเบียนคนอื่น คนอื่นโดนเบียดเบียนแน่นอน แต่บาปอันนั้นมันเกิดจากใคร มันเกิดจากคนที่โดนเบียดเบียนไหม คนโดนเบียดเบียนนั้นทุกข์ แต่บาปมันเกิดจากคนทำนะ คนทำบาปกรรมมันเกิดแล้ว บาปกรรมมันฝังลงที่ใจแล้ว เพราะเจตนามีการกระทำ

นี่ไง เวลาคนถ้าจิตใจมันต่ำ จิตใจมันต่ำมันไม่เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ ที่ทำไปๆ บอกของเราๆ เราได้ประโยชน์ไง เราได้ประโยชน์ เราได้ทุกอย่างเลย แต่นั้นน่ะ นั่นน่ะมันแสวงหานรก มันทำแต่ความเจ็บช้ำน้ำใจคนอื่นเขา มันจะมีคุณงามความดีมาจากไหน

แต่จิตใจคนที่สูงส่งเขาเสียสละของเขาไปๆ มันได้อะไรมา ได้แต่ความชุ่มฉ่ำมา ความชุ่มฉ่ำมันคืออะไรล่ะ บุญกุศล บารมีมันเกิด เกิดตรงนี้ไง ถ้าบารมีมันเกิด นี่ถ้าทำคุณงามความดีด้วยความจริงใจ มันเป็นความจริง

แต่ถ้ามันเป็นความเสแสร้ง ทำคุณงามความดีด้วยความเสแสร้ง มันบิดเบือน บิดเบือนในหัวใจของตนทั้งนั้นน่ะ แล้วมันบิดเบือนในหัวใจของตน ก็หัวใจของเรามันก็ไม่เชื่ออยู่แล้วเพราะมันเสแสร้ง ก็มันไม่เชื่อ ถ้ามันเชื่อมันจะเสแสร้งหรือ มันก็ทำดีตามเนื้อผ้าใช่ไหม

คนเราน่ะทำความดีโดยเจตนาที่ดีมันจะผิดพลาดไปสิ่งใด เพราะว่าอะไร เพราะเราไปทำคุณงามความดีกับคนอื่น คนอื่นที่เขาไม่ต้องการ เขาก็ติฉินนินทาขึ้นมา ไอ้นั่นมันเรื่องของเขา แต่เรามีเจตนาที่สะอาดบริสุทธิ์ของเราไง เราทำของเรา

ดูสิ คนทำคุณงามความดีๆ ที่เขาเป็นคนที่มีชื่อเสียง ไปถามสิ มีคนเชื่อเขาไหม ไม่มีใครเชื่อเขาเลย พอเขาทำสิ่งใด มีคนบอกว่าทำเอาหน้าๆ เขาก็ทำของเขาไป ใครจะติฉินนินทา เขาก็ทำของเขาไป สุดท้ายแล้วสังคมต้องยอมรับเขา ถ้าเขาทำจริงของเขา นั่นน่ะไม่เสแสร้ง ที่ทำไม่เสแสร้งทำอย่างนั้น มันทำออกมาจากหัวใจของเขา ทำตามความตั้งใจของเขา เขาไม่ได้ทำด้วยความเสแสร้งไง นี่พูดถึงทางโลกนะ เพราะทางโลกมันเสแสร้งอย่างนั้น

แล้วถ้าเป็นทางธรรมล่ะ ทางธรรม เราต้องอาศัยคุณงามความดี พาหะ วิธีการ ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นวิธีการทั้งนั้น เป็นวิธีการเข้าไปสู่หาใจของตน ถ้าวิธีการที่จะเข้าไปสู่หาใจของตน ถ้าเราทำด้วยความไม่แน่ใจ นิวรณธรรม ๕ นิวรณธรรม ๕ กางกั้นสัมมาสมาธิ

ถ้านิวรณธรรมกางกั้นสัมมาสมาธิ เราต้องทำให้มันซื่อตรงกับความจริง จะพุทโธก็พุทโธของเราด้วยสัมมาทิฏฐิ ด้วยความเห็นที่ถูกต้องดีงาม ถ้าจะเป็นปัญญาอบรมสมาธิ เราก็มีสติมีปัญญากับหัวใจของเราไง เราไม่เสแสร้ง ไม่เสแสร้งทำกับมันไง

เพราะเราเสแสร้ง สักแต่ว่าทำๆ ผลนั้นมันก็ได้เป็นสักแต่ว่า จะว่าไม่ใช่ๆ มันก็ใช่ ถ้าใช่ก็ปฏิบัติไง แล้วปฏิบัติก็ทำเป็นพิธีกรรม เห็นไหม นี่พูดถึงเวลาทำความจริงๆ ถ้ามันไม่เสแสร้ง มันทำด้วยข้อเท็จจริง มันมีผิดพลาด มันเรื่องธรรมดา เพราะสิ่งที่กิเลสตัณหาความทะยานอยากในใจของเรามันล้นฝั่ง มันพรั่งพรูออกมา มันปะทะปะทังออกมาจากหัวใจ แล้วเราจะรักษาให้มันสงบระงับ เราจะรักษาให้มันสงบระงับมาจากไหน

มาจากเราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราเชื่อในธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรามีศรัทธามีความเชื่อ มีความมั่นคงของเรา เราจะประพฤติปฏิบัติ อันนี้มันมาจากที่ไหนล่ะ มันมาจากสัญญาความคิด สัญญาข้อมูล ความคิดคือสังขารที่ปรุงที่แต่งขึ้นมา แต่ตัวจริงของมันคือตัวกิเลสตัณหาความทะยานอยากมันอยู่ที่ใจนั้น เวลาเราพุทโธหรือใช้ปัญญาอบรมสมาธิ มันก็จากข้างนอกเข้าไป

เหมือนกับเราไปศึกษา เราศึกษาวิชาการมาขึ้นมา เราศึกษาโดยเรายังไม่รู้ขึ้นมา เราได้วิชาการนั้นมา แต่เรายังทำของเราไม่ได้ไง เขาถึงว่าศึกษาปริยัติมา ศึกษาแล้วให้มาประพฤติปฏิบัติ ให้มาสร้างความจริงของเรา ฉะนั้น สร้างความจริงของเรา ถ้ามันเสแสร้งขึ้นมา การประพฤติปฏิบัติของเราจะล้มลุกคลุกคลาน มันจะไม่เป็นความจริงขึ้นมา

แต่ถ้าความจริงขึ้นมาๆ ถ้าความจริงขึ้นมามันก็เป็นสัมมาทิฏฐิ คือความเห็นที่ถูกต้องดีงาม ทีนี้ความเห็นที่ความถูกต้องดีงาม มันเห็นที่ความถูกต้องดีงามของธรรมะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะนี่เป็นสัจธรรม เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาแล้ววางธรรมวินัยนี้ไว้ นี่เป็นความจริงๆ แต่มันเป็นความจริงในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นความจริงที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติมา พิสูจน์มาเป็นความจริงแล้ว

แต่ของเรา เราไปศึกษา ศึกษามานะ ศึกษาภาคปริยัติ นี่คือวิธีการๆ นี่ไง ทฤษฎี วิธีการ เราศึกษามาๆ แต่เวลาศึกษามา เราต้องฝึกหัดประพฤติปฏิบัติให้มันเป็นความจริงขึ้นมา ถ้าเป็นความจริงขึ้นมา ความเสแสร้งนั่นน่ะ นั่นคือสมุทัย ความเสแสร้งคือกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ความเสแสร้งนี่แหละจะทำให้เราผิดพลาด ความเสแสร้งทำให้เราล้มลุกคลุกคลาน แล้วจะไม่เสแสร้งได้อย่างไร เพราะมันมีกิเลสอยู่ในใจ

เพราะมันมีกิเลสอยู่ในใจ เราถึงต้องตั้งสติไง เราตั้งสติปัญญาของเรา เราพยายามทำความจริงของเราขึ้นมาให้มันเป็นความจริงๆ ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คำว่า สมควรแก่ธรรม” คือสมดุลพอดีของมันน่ะ ถ้ามันสมดุลพอดีของมัน มันต้องแบบนั้นไง

ดูสิ ทางวิทยาศาสตร์ ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ต้องเป็นอย่างนั้น พุทธศาสน์มันยิ่งกว่าวิทยาศาสตร์อีก มันเป็นอย่างนั้นมาตั้งแต่ต้น แต่เราเองเราทำไม่ได้อย่างที่เป็นจริงอันนั้น แล้วทำไม่ได้อย่างที่เป็นจริงอันนั้นแล้ว ถ้าไม่เป็นจริงอันนั้นนะ การประพฤติปฏิบัติมันก็ด้วยความเสแสร้ง เสแสร้งด้วยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ด้วยสมุทัย ทีนี้พอไปทำขึ้นไปมันส้มหล่นบ้าง อะไรบ้าง พอมันได้ขึ้นมา สิ่งนั้นได้ขึ้นมา พอมันผ่านไปแล้วมันก็เป็นอดีต

สิ่งที่ผ่านไปมันเป็นอดีตไง วูบวาบๆ มันรู้เห็นสิ่งใดมันก็ว่ามันรู้ๆ ไง มันรู้ก็เป็นอดีต มันก็คิดเป็นวิทยาศาสตร์ไง วิทยาศาสตร์ ถ้าเราเขียนเลขได้ เราก็เขียนเลขได้ ถ้าเราคำนวณได้ เราก็คำนวณได้ มันก็คำนวณได้อยู่นั่นแหละ แต่มันมีมูลค่าตามความเป็นจริงไหมล่ะ นี่ไง สิ่งที่เราทำมาแล้วมันเป็นอดีตไปแล้ว ของเมื่อวานนี้มันไม่เป็นปัจจุบันไง

ถ้าเรารักษาปัจจุบันมาไม่ได้ เราดำเนินการประพฤติปฏิบัติของเราไปไม่ได้ มันเป็นไปไม่ได้ มันเป็นไปไม่ได้นะ แต่พอเป็นไปไม่ได้แล้วก็เสแสร้ง คำว่า เสแสร้ง” เสแสร้งเรื่องของสมุทัย อันนี้มันเสแสร้งด้วย แล้วมันไปยึดเอาอดีตมา คือว่าเคยทำได้ไง พอเคยทำได้มันก็ขายของเก่าไง ขายของเก่ากันไปว่าเคยทำได้อย่างไรก็พูดธรรมะไปอย่างนั้น แล้วมันไม่เป็นความจริง มันไม่มีความจริงในใจเลย ไม่มีความจริง เพราะอะไร เพราะมันได้เสื่อมสภาพไปหมดแล้ว

ปัจจุบันนี้ถ้ามันไม่เสื่อมสภาพไป มันยังไม่ทุศีล ถ้าไม่ทุศีล เรายังอยู่ในศีลในธรรม ถ้าในศีลในธรรม เราต้องพูดความจริงตลอด ถ้ามันทุศีล ทุศีลมันก็โกหกโป้ปดมดเท็จ เพราะมันพูดแต่อดีต มันไม่พูดเป็นความจริง นี่มันพูด

แล้วเวลาถ้ามีครูบาอาจารย์ที่เท่าทัน “มันเป็นอย่างนั้นอยู่หรือ มันเป็นอย่างนั้นอยู่หรือเปล่า จิตมันยังเป็นอย่างนั้นอยู่หรือเปล่า”

“มันเคยเป็นนานมาแล้ว ตอนนี้ไม่เป็น”

ถ้าตอนนี้เป็นต้องพูดออกมาเป็นความจริงสิ ถ้าความจริง ความจริงมันเป็นอย่างนี้ เห็นไหม แล้วถ้าประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริงนะ เวลาเรามีสติมีปัญญา เราไม่เสแสร้ง เรายึดธรรมะ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แก้วสารพัดนึก แล้วพยายามดัดแปลง อย่าให้กิเลสตัณหาความทะยานอยากมันเสแสร้ง มาบิดเบือนสัจจะความจริงของเรา แล้วเราทำของเราไปน่ะ มันจะล้มลุกคลุกคลานนะ เพราะเวลาสมุทัยมันมีกำลังของมัน มันท่วมท้นออกมา มันทำให้เสื่อมสภาพหมด เสื่อมตรงไหน เสื่อมทำให้ทุกข์ ให้ท้อแท้ ให้น้อยเนื้อต่ำใจ

แต่ถ้ามันเป็นธรรมขึ้นมา เวลาเราภาวนาของเรา จิตมันสงบเข้ามา มันจะมีความสุข มีแต่ความปลื้มใจ มันมีแต่ความรื่นเริง มันมีแต่ความองอาจกล้าหาญ กิเลสอยู่ไหน กิเลสอยู่ไหน มันจะกำจัดกิเลสให้ได้เลย เพราะจิตมันสงบ จิตมันมีกำลังไง แต่ถ้ามันด้วยความไม่ละเอียด เดี๋ยวมันก็เสื่อมของมันไป

เวลาที่เราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ระหว่างกิเลสกับธรรมที่มันต่อสู้กัน เห็นไหม คนเรามันมีกิเลสอยู่แล้ว ถ้าไม่เห็นกิเลส ไม่เห็นกิเลส ไม่มีการวิปัสสนาคือไม่มีการต่อสู้ แล้วมันจะชำระล้างอย่างไร มันจะกำจัดกิเลสจากใจอย่างไร จิตของเรามันมีกิเลสอยู่แล้วใช่ไหม ถ้ามันมีกิเลสอยู่แล้ว แต่ธรรมะ เราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราฟังธรรมจากครูบาอาจารย์ แต่สัจจะความจริงยังไม่เกิดจากใจของเราไง

แต่เวลาเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา สัจจะความจริงมันเกิดขึ้นมากับใจของเรา ถ้าสัจจะความจริงมันเกิดขึ้นมาจากใจของเราแล้ว เราพยายามแสวงหา พยายามค้นคว้า เราไปเห็นกิเลส เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง

คนที่เขาเห็นสติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริง เพราะกิเลสมันเป็นนามธรรม มันก็อาศัยกาย อาศัยเวทนา อาศัยจิต อาศัยธรรม เพื่อแสดงตนของมันเท่านั้นน่ะ เวลามันจับได้ มันจับกิเลสได้ มันจับกิเลสได้แล้วมันพิจารณาของมัน นี่กำลังต่อสู้ กิเลสกับธรรมมันต่อสู้กัน ต่อสู้คือว่า ถ้ามันวิปัสสนาไปด้วยกำลังของมัน ดูสิ ธรรมจักร จักรที่มันหมุนไป มรรค ๘ มันหมุน มรรค ๘ มันเคลื่อนไป มรรคญาณที่มันเกิดขึ้นน่ะ ศาสนาไหนไม่มีมรรค ศาสนานั้นไม่มีผล

จิตใจดวงใดประพฤติปฏิบัติมันไม่มีมรรค จะทำความเป็นจริง มันจะเกิดผลขึ้นมาไม่ได้ ถ้าจิตใจที่มันจะเกิดผลขึ้นมามันต้องมีมรรค แล้วเวลามรรค ๘ มันอธิบาย มันบอกถึงมรรค ๘ ไม่ได้ คนที่มันมีมรรคเกิดขึ้นกับหัวใจ แล้วของที่มันเกิดขึ้นมากับเรา เราอธิบายไม่ได้ มันจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่

แต่ถ้าคนที่มันมีความจริงเกิดขึ้นมา ศีล สมาธิ ปัญญา มรรค ๘ ที่มันเกิดขึ้นมา ถ้ามันยังต่อสู้กันอยู่ ถ้ามรรคมันมีกำลังขึ้นมา กิเลสมันจะเบาบางลง ถ้าพิจารณาไปคือมันปล่อย ตทังคปหานคือมันปล่อยแล้วปล่อยเล่า มันปล่อยไปแล้ว พิจารณาซ้ำๆๆ โดยที่มีสติมีปัญญา โดยที่ไม่มีความประมาทพลั้งเผลอ ทำแล้วทำเล่า ถึงเวลามันขาด นี่ไง เวลามันขาดไปแล้ว อกุปปธรรมๆ สิ่งที่มันเป็นของสัจจะความจริงในใจ ถ้าเป็นสัจจะความจริงในใจ มันอฐานะที่จะไม่เสื่อมสภาพไง

เวลาที่เราพิจารณาของเรา เราปฏิบัติของเรา เวลาปฏิบัติมา เราเคยได้แล้วมันเสื่อมไป พอมันเสื่อมไปแล้ว เวลาครูบาอาจารย์ถาม เวลาคุยกับครูบาอาจารย์ สถานะเป็นอย่างนั้น ขี่หลังเสือไง ก็พูดแต่ของเก่าๆ แล้วบอกยังเป็นอย่างนั้นอยู่หรือไม่

มันเคยเป็น มันเคยเป็น แต่ตอนนี้ไม่รู้

แต่ถ้ามันพิจารณาไปถึงเป็นสัจจะความจริงขึ้นมา เป็นอกุปปธรรม มันคงที่ตายตัว ถามเมื่อไหร่ บอกเมื่อไหร่ ได้ตลอดเวลา เพราะเวลามันเสื่อมก็รู้ว่ามันเสื่อม เวลามันเจริญขึ้นมา พัฒนาขึ้นมาอย่างไร เราแก้ไขของเราขึ้นมาอย่างไร

แล้วขณะที่กิเลสกับธรรมที่มันวิปัสสนากันอยู่นี่ เวลากิเลสที่มันท่วมท้นมานี่ โอ้โฮ! กิเลสมันท่วมท้นมานะ ทางจงกรมก็ยังเข้าไม่ได้ นั่งสมาธิภาวนามันเดือดร้อน จะไปทางไหนมันเดือดร้อนไปหมดล่ะเวลาจิตมันเสื่อมน่ะ

แล้วเวลามันมีสติมีปัญญารักษาขึ้นมา อดนอนผ่อนอาหาร เอาบารมีธรรมจากครูบาอาจารย์ เอาครูบาอาจารย์เป็นหลังอิงนะ เข้าไปหาท่าน ไปขอธรรมะจากท่าน ให้ท่านปลุกปลอบหัวใจของเรา พอจิตใจของเรามันมีกำลัง มีสติปัญญา ย้อนกลับมาเรื่องความเพียร พิจารณาต่อสู้กับมัน จนมันฟื้นกลับมา พอฟื้นกลับขึ้นมาแล้วย้อนกลับไปพิจารณาจับกิเลสได้ พิจารณากิเลส ระหว่างกิเลสกับธรรมมันพิจารณาครั้งแล้วครั้งเล่า มันมีงานทำตลอดไง

ถ้ามันไม่เสแสร้ง มันจะพูดเป็นชั้นเป็นตอน เป็นข้อเท็จจริงขึ้นไป ถ้ามันเสแสร้ง มันพูดถึงธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมาสัมพุทธเจ้า พูดถึงธรรมะของครูบาอาจารย์ แต่ตัวเองเป็นหมาห่มหนังเสือ

เสือเวลาบันลือสีหนาท ครูบาอาจารย์ที่ท่านเทศนาว่าการบันลือสีหนาท มันคำรามแบบเสือเลย เวลาหมาห่มหนังเสือ มันอยากเห่าแบบเสือบ้าง เห่าแล้วเห่าอีก มันไม่ใช่เสือ ใครฟังก็รู้ ใครฟังก็รู้ ถ้าใครฟังก็รู้แล้วเขายังคิดว่าฉลาดอยู่ไง ยังเสแสร้งอยู่ไง ยังมีการกระทำอยู่อย่างนั้นไง ถ้าการกระทำอยู่อย่างนั้น มันทุศีลไหม ถ้ามันทุศีลของมัน นี่ถ้ามันทุศีลของมัน

ถ้าคนมีสติมีปัญญาจะแก้ไขที่นี่ เพราะเราเป็นชาวพุทธนะ เกิดมาชีวิตหนึ่ง เกิดมาเป็นมนุษย์นี้แสนยาก แสนยากเพราะอะไร อยู่ในครรภ์ ๙ เดือน พ่อแม่อุ้มท้องมานะ คลอดออกมาเป็นทารก พ่อแม่ไม่เลี้ยงดูแลมา ตายหมด พ่อแม่เลี้ยงดูมาจนโตขึ้นมามีการศึกษา มีการศึกษาจนโตขึ้นมา จนเป็นหนุ่ม จนเป็นหนุ่มอายุบวชได้ เรามาบวชมาเรียนกัน เรามาบวชมาเรียนกัน เราหวังอะไรล่ะ

ชีวิตนี้มันมีค่าขนาดนี้ ดูสิ มันตั้งแต่เกิด ถ้าเราระลึกถึงชีวิตของเราที่ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ๙ เดือน ตั้งแต่เกิดมา พ่อแม่เลี้ยงดูมา เติบโตมา มันมีค่าไหม มันมีค่ามากๆ แล้วเราเห็นโทษในวัฏสงสาร เรามาบวชพระ เราเป็นนักปฏิบัติ เราจะมาทุศีล เราจะมาทำเอาแต่ของปลอม เอาแต่ของเทียม ของไม่จริง เราจะเอาไปทำไม เราจะเอาความจริงทั้งนั้นน่ะ

ถ้าความจริงขึ้นมา เราต้องประพฤติปฏิบัติให้มันเป็นความจริงขึ้นมาสิ ถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมานะ ถ้าความจริงขึ้นมา ไอ้เรื่องการเสแสร้งไม่มี

ดูสิ เวลาครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นธรรมๆ ท่านคุยกันนะ ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดออกมาจากหัวใจ พูดออกมาจากธรรม โอ๋ย! มันยิ้มแย้มแจ่มใส มันวางใจได้ มันไม่ต้องระแวง ไม่ต้องระแวง แล้วไม่ต้องกลัวจะทิ่มแทงอยู่ข้างหลัง ถ้าเป็นธรรมนะ

แต่ถ้าเสแสร้ง ระวังนะ ระวังขัดพื้นไว้ลื่นเลยน่ะ ต้อนรับ ไปถึง เดินเข้าไปลื่นล้มทันทีเลย เพราะอะไร เขาปรารถนาดีไง เขาจะต้อนรับให้ดี เขาจะทำให้เรียบร้อย มันหวาดระแวงไปหมดน่ะ แต่มันเป็นเรื่องโลก

ในสังคมทุกสังคมมีคนดีและคนชั่ว จิตใจของคน ถ้าจิตใจของเรามีอวิชชาขึ้นมาแล้ว แต่เราก็มีศรัทธามีความเชื่อ มีคุณธรรมในใจเหมือนกัน เราถึงได้ฝืนทนกันอยู่นี่ เราถึงได้ทำคุณงามความดีกันอยู่นี่ ที่ทำกันอยู่นี่ทำคุณงามความดี ทำคุณงามความดีเพื่อให้กิเลสมันเบาบางลงไง

ถ้าไม่ทำคุณงามความดี กิเลสมันจะเฟื่องฟูขึ้น กิเลสมันจะมีอำนาจมากขึ้น แล้วชีวิตนี้มันจะติดอยู่กับกระแสโลก แล้วมันจะไประลึกได้ตอนใกล้ตาย วันจะตายนั่นน่ะ ทุกคนมีค่าเท่ากันไง เกิดเหมือนกัน เราก็ต้องตายเหมือนกัน วันจะตายนั่นแหละมันจะคิดถึง อยากจะมีคุณสมบัติ อยากจะมีคุณงามความดีเป็นสมบัติของเราไปไง มันจะไปคิดตอนนั้นน่ะ ตอนนี้มันยังประมาทเลินเล่อในชีวิตอยู่ ฉะนั้น เราทำคุณงามความดีของเรา เราจะเห็นโทษของกิเลสตัณหาความทะยานอยากด้วยความเสแสร้งของมัน เราไม่ตามมันไป เราจะมีสติปัญญาของเราเพื่อประโยชน์กับเรา

มองสิ่งใดก็แล้วแต่ มองสิ่งนั้นเป็นคติธรรม มองสิ่งนั้นให้เป็นสติปัญญา เวลาหลวงตาท่านไปเยี่ยมพระนะ ท่านบอกท่านไปที่ไหนถ้ามันผิดพลาด ท่านจะคุยกับตัวเองเลย อย่างนี้เราไม่ทำ อย่างนี้เราไม่ทำ อย่างนี้เราทำไม่ได้ ถ้าไปที่ไหนที่เป็นคุณงามความดี เออ! อย่างนี้เป็นตัวอย่างที่ดี อย่างนี้เป็นตัวอย่างที่ดี ท่านคิดของท่านเอง แล้วท่านพูดประจำ ไปที่ไหนที่เขาทำไม่ดี อย่างนี้ไม่เอานะ บอกกับตัวเองเลย อย่างนี้ทำไม่ได้ อย่างนี้ทำไม่ได้ แต่ที่ไหนที่ดีนะ เออ! อย่างนี้ดี อย่างนี้ดี

นี่ก็เหมือนกัน เราคัดเลือกของเรา เราทำของเราเพื่อประโยชน์กับหัวใจดวงนี้ เอวัง