ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ใจไม่เป็น

๑๘ ก.ย. ๒๕๕๙

ใจไม่เป็น

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๙

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

ถาม : เรื่อง “กราบขอบพระคุณ

กราบนมัสการหลวงพ่อที่เคารพ ลูกจะขอกราบขอบพระคุณหลวงพ่อที่ได้เมตตาตอบคำถามเรื่อง “จิตที่หนัก” เมื่อวันก่อนค่ะ เมื่อก่อนตอนนั่งสมาธิ ลูกจะมีอาการแผ่นเสียงตกร่องตามที่หลวงพ่ออธิบายไว้หลายอย่าง และเมื่อวันก่อนที่จะกราบเรียนถามหลวงพ่อ ลูกนั่งสมาธิแล้วอาการต่างๆ ที่เดิมเคยเกิดหนึ่งอาการตอนนั่งแต่ละหน แต่คราวนี้มันเกิดครบทุกอาการต่อเนื่องกันไปในท่านั่งหนนั้น เช่น รู้สึกตัวขยายแล้วมีอาการมีน้ำลาย ต่อมาก็คอแห้งมากจนต้องไอออกมา ๒-๓ ครั้ง แล้วสักพักก็เหมือนตาที่หลับอยู่ไปจ้องเพ่งอะไรข้างหน้าแต่ไม่ได้เห็นสิ่งต่างๆ มีแต่ความรู้สึกว่าจ้องมองความมืดอยู่ แต่เวลาอาการพวกนี้เกิด ลูกก็พยายามไม่สนใจและพยายามท่องพุทโธต่อไปจนเกิดอาการปวดหลัง นั่งต่อไปไม่ไหว จึงหยุดนั่งสมาธิ

ส่วนอาการจิตหนักๆ นั้น ลูกมีอาการตอนกลางวันขณะที่ไม่ได้นั่งสมาธิด้วย แต่เพิ่งเป็นเมื่อหนึ่งอาทิตย์ที่ผ่านมา หลังจากที่ได้ฟังคำตอบจากหลวงพ่อแล้วจึงเพิ่งเข้าใจว่าจะต้องทำอย่างไร จึงกราบขอบพระคุณหลวงพ่อด้วย

ตอบ : นี่กราบขอบพระคุณเนาะ อันนี้มันเป็นการกล่าวคำขอบคุณเฉยๆ แต่เวลาอาการต่างๆ ทั่วไปที่เวลาคนที่ประพฤติปฏิบัติ เวลาพูดมา เวลานักปฏิบัติเริ่มต้นทั่วๆ ไป ที่เวลาหลวงตาท่านเคยพูดไว้ว่า คนเราปฏิบัติยากอยู่สองคราว คราวหนึ่งคือคราวเริ่มต้นกับคราวสุดท้าย

คราวเริ่มต้นๆ แล้วเราจะบอกว่า ไปอ่านประวัติหลวงปู่มั่นสิ เวลาหลวงปู่มั่นท่านออกปฏิบัติใหม่ๆ ท่านบวชเป็นเณรไง แล้วหลวงปู่เสาร์ท่านไปเอามา แล้วหลวงปู่มั่นท่านมีโรคประจำตัว ท่านมีโรคท้องเสีย ท่านจะมีโรคท้องนะ อย่างพวกเราเป็นโรคกระเพาะ โรคต่างๆ มันต้องรักษาตัวเองไง

เวลาหลวงปู่มั่นท่านบวชใหม่ๆ นะ เวลาจะประพฤติปฏิบัติขึ้นมามันมีอุปสรรคไปหมดน่ะ แล้วพอมีอุปสรรคไปแล้ว เวลาท่านสึกไปนะ สึกไป หลวงปู่เสาร์ท่านก็ไปเพียรพยายามจะเอาหลวงปู่มั่นกลับมาบวชใหม่

พอหลวงปู่มั่นเข้ามาบวชเป็นพระแล้ว ในประวัติหลวงปู่มั่น เวลาหลวงตาท่านเขียนท่านจะบอกว่า ท่านเขียนประวัติหลวงปู่มั่น ท่านเขียนหนังสือ ส่วนใหญ่แล้วท่านจะเขียนในทางบวก ท่านบอกว่าสังคมน่าจะเป็นสังคมที่คิดบวก สังคมที่น่าจะเป็นสิ่งที่ว่ามีความสามัคคีกัน สิ่งใดที่เป็นสิ่งที่ไม่ดีท่านพยายามจะไม่ให้เป็นประเด็นไง นี่นิสัยหลวงตาท่านเป็นแบบนั้น เวลาท่านพูดนะ ท่านพูดสั่งสอนพวกเราให้รักกัน ให้สามัคคีกัน ให้มีความมีน้ำใจต่อกัน ท่านจะพูดอย่างนี้

แต่สังคมในความเป็นจริง ในความเป็นจริงมันมีพวกที่มีกิเลสหนา พวกที่คอยทำลาย ในประวัติหลวงปู่เสาร์ ฟังแล้วเศร้าใจมาก หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นเวลาท่านวิเวกออกมาจากอุบลฯ เวลาพระผู้ใหญ่จะให้ท่านเป็นเจ้าคณะจังหวัด จะให้เป็นเจ้าคณะอำเภอ ท่านเสียสละ ท่านไม่ต้องการตำแหน่ง ท่านหนีมาไง พอหนีมา อู้ฮู!

ประวัติหลวงปู่เสาร์ ท่านจะกลับอุบลฯ นะ ท่านเขียนหนังสือกลับไปขออนุญาตเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอว่า “ผมอยากจะกลับบ้าน กลับได้หรือไม่

ในตู้นี้มี ประวัติหลวงปู่เสาร์ ข้อมูลอย่างนี้ ถ้าว่าหลวงตาท่านไม่รู้ เป็นไปไม่ได้ ท่านรู้ทั้งนั้นน่ะ แต่ท่านบอกว่า สิ่งที่ในประวัติหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นเอามาเขียนแค่ ๗๐ เปอร์เซ็นต์ ส่วนใหญ่แล้วสิ่งใดที่มันเป็นที่กระทบกระเทือนใจท่านจะไม่เขียนถึงๆ ไง นี่พูดถึงว่าเวลาหลวงตาท่านสอน สอนอย่างนั้นนะ

แต่ในความเป็นจริงๆ ในโลกนี้ในโลกแห่งความเป็นจริง ในชีวิตจริงน่ะ ในชีวิตจริงมันมีกระทบกระทั่งทั้งนั้นน่ะ มีคนเห็นด้วย คนที่ขัดแย้ง คนที่ขัดขวาง มันมีทั้งนั้นน่ะ แต่เวลาท่านทำของท่าน ท่านบอกว่าท่านจะให้คิดบวก ให้คิดแต่สิ่งที่ดีๆ นี้ในประวัติหลวงปู่มั่น ในประวัติหลวงปู่เสาร์ ถึงจะเป็นคติธรรมทั้งนั้นน่ะ ทีนี้เป็นคติธรรม

ทีนี้เพียงแต่ว่าวันนี้จะตอบปัญหาเรื่องเขาขอบพระคุณมาไง คำว่าขอบพระคุณมา” เราจะยกให้เห็นว่า ประวัติหลวงปู่มั่น ประวัติหลวงปู่เสาร์ ประวัติครูบาอาจารย์ของเราที่ท่านเป็นพระอรหันต์น่ะ ตอนที่ปฏิบัติใหม่ๆ ทุกข์ยากเหมือนเรานี่ การปฏิบัติเริ่มต้นมันเหมือนเรานี่แหละ แล้วมันไม่ใช่เหมือนเราธรรมดานะ มันจะทุกข์ยากกว่าเราอีกด้วย ทุกข์ยากกว่าเราเพราะท่านมีโรคประจำตัวด้วย แล้วท่านขวนขวายของท่านด้วย นี่ในประวัติหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นนะ

แล้วเราก็คิดย้อนถึงเราออกปฏิบัติใหม่ๆ ออกปฏิบัติใหม่ๆ ก็อย่างนี้ จับต้นชนปลาย จับผิดจับถูก อู๋ยร้อยแปด เราเองนะ เวลาคนที่บวชนะ พ่อแม่ใช่ไหม เอาลูกมาบวช หรือลูกมาบวชแล้วพ่อแม่ระลึกถึง เราเองในความผูกพันในทางโลกเราก็มีความรับผิดชอบ มีสิ่งที่มันกระทบกระเทือนใจอยู่แล้ว แล้วพอบวชมาเป็นมนุษย์ใช่ไหม มนุษย์มาอยู่ในสังคมของพระนะ ถ้าพระสักห้าองค์สิบองค์ขึ้นไปนะ มันก็มีจริตนิสัยที่แตกต่างกัน

ในความเป็นอยู่นะ เราเองเรามาจากโลก มาจากโลกคือว่าถ้าอยู่เป็นฆราวาสมันก็ยังเป็นชีวิตของฆราวาส มาบวชเป็นพระแล้วก็เหมือนกับโดนทอดทิ้งน่ะ เราบวชเป็นพระแล้ว เรามาแล้ว เราเป็นศากยบุตรพุทธชิโนรส เราเป็นลูกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นบุคคลสาธารณะแล้วมันต้องดูแลตัวเอง ต้องขวนขวาย ทั้งๆ ที่เรามีครูบาอาจารย์นั่นแหละ แต่ใจเขาคิดไป พอใจคิดไป เราก็มีความเศร้าหมองในใจอยู่แล้ว แล้วมันยังต้องมาภาวนาอีก พอภาวนาเข้าไปก็จับต้นชนปลายล้มลุกคลุกคลานทั้งนั้นน่ะ

นี่เราจะพูดให้เห็นว่า ผู้ที่ปฏิบัติ เวลาเราฝึกหัดปฏิบัติกัน มันจะเป็นอย่างนั้นจะเป็นอย่างนี้ จะเป็นร้อยแปด แล้วเราก็มาคร่ำครวญกันว่าเราไม่มีวาสนา เรามาคร่ำครวญกันว่าเราเป็นคนทุกข์คนยาก แล้วครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นพระอรหันต์ อย่างครูบาอาจารย์ของเราเป็นพระอรหันต์แล้วท่านมาอย่างไรล่ะ

ก็มาเหมือนเรานี่แหละ ท่านก็มาเหมือนเรานี่แหละ แล้วครูบาอาจารย์ยังโดนผลกระทบรุนแรงกว่าเราอีก เห็นไหม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านเทศน์ไว้ในพระไตรปิฎก “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอโดนโลกธรรมกระทบรุนแรง

ถ้าพวกเธอโดนโลกธรรม” โลกธรรมก็เหมือนโดนอิจฉาตาร้อน โดนเขาเสียดสี โดนเขาทำลายนั่นน่ะ “ให้ระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะสิ่งที่จะโดนโลกธรรมที่รุนแรง ไม่มีใครโดนรุนแรงเท่ากับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ท่านจะบอกว่าท่านโดนกระหน่ำมาด้วยลัทธิ ด้วยลัทธิอื่นศาสนาอื่นที่เขาพยายามจะทำลาย ท่านโดนมาเยอะแยะ ท่านโดนมามากกว่าเราอีก ถ้าท่านโดนมามากกว่าเราแล้วทำไมท่านให้อภัยล่ะ ทำไมท่านทำใจของท่านได้ล่ะ ท่านบอกว่าให้เอาท่านเป็นตัวอย่างไง

นี่เวลาเราอ่านพระไตรปิฎกไปแล้วเจอคติธรรมอย่างนี้ซึ้งใจมากนะ แล้วจำแม่น ชอบด้วย เอามาพูดบ่อยเลย เพราะเราพูดคำนี้บ่อยๆ ถ้าคำไหนที่มันฝังใจ คำไหนที่ชอบ เก็บจำแม่นเลย ถ้าคำไหนไม่ชอบ ไม่เอา แต่คำไหนถ้าชอบนะ ชอบ

ท่านพูด “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอโดนโลกธรรมเบียดเบียน อย่าน้อยใจ อย่าทุกข์ใจ ให้คิดถึงเรา ให้คิดถึงพระพุทธเจ้า เราตถาคตโดนโลกธรรมมารุนแรงกว่าพวกเธอมากมายนัก” ท่านพูดอย่างนี้

แล้วเราคิดดูสิ ขนาดองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังเป็นขนาดนั้น ครูบาอาจารย์ของเรายังเป็นขนาดนั้น แล้วเราล่ะ

ถ้าเรา จะย้อนกลับมาเรื่องเวลาเราพุทโธไปแล้วมันจะเกิดอาการอย่างนั้น มันจะเกิดอาการอย่างนี้ มันจะทุกข์มันจะยากไปทั้งนั้นน่ะ

ถ้ามันจะทุกข์มันจะยากไปขนาดไหนมันก็อยู่ที่วาสนา เวลาพูดอย่างนี้แล้วคิดถึงอาจารย์สิงห์ทองเวลาบวชขึ้นมา คนเขาบอกว่าบวชไม่ได้หรอกเพราะท่านเป็นคนที่ดื้อมาก นี่เวลาท้าทายกัน ถ้าบวชได้ ถ้าบวชได้พรรษาจะให้ไปขี้บนที่นอนเลย

แล้วท่านบวชแล้ว ท่านเล่าต่อๆ กันมา บอก นั่งสมาธิที่ไหนมันก็ลง จะทำอะไรมันก็เป็นสมาธิหมด แล้วจิตที่เป็นสมาธิมันมีความสุขไง เออมันทำได้ง่ายๆ อย่างนี้ ท่านทำแล้ว โอ้โฮสะดวกสบายไปหมดเลย ก็คิดว่า ถ้าอย่างนี้บวชตลอดชีวิต ถ้าอย่างนี้ไม่สึกเลย ใครว่าบวชไม่ได้ๆ ถ้าบวชได้แล้วบวชไม่สึกเลย แล้วพอบอกว่าบวชไม่สึกเลยเท่านั้นน่ะ เท่านั้นเอง สมาธิที่ทำได้ง่ายๆ หายหมดเลย คราวนี้ยากแล้ว ดูกิเลสมันหลอกสิ

ท่านเล่าให้ฟัง ท่านเล่าให้พระฟังต่อๆ กันมานะ จะสวดมนต์ จิตก็จะลงเป็นสมาธิ จะทำอะไร จิตก็เป็นสมาธิ จิตมันลงได้ง่ายๆ

จิตมันเป็นได้มันก็วาสนาของคนนะ วาสนาของคน วาสนาของท่าน ท่านคงจะต้องทำบุญมาเยอะ ท่านคงต้องบวชมาจะเป็นพระอรหันต์น่ะ เพราะทีแรกจะบวชเขาก็ท้าทายกันแล้วว่าท่านบวชไม่ได้พรรษาหรอก ท่านบวชไม่ได้หรอก คนอย่างนี้บวชไม่ได้หรอก เขาท้าทายกันว่าพรรษาหนึ่งก็ยังบวชไม่ได้ แต่พอบวชมาในพรรษาเริ่มต้น อู้ฮูดีไปหมด ทำอะไรดีไปหมด สมาธินี่ลงได้ง่ายๆ

พอลงสมาธิได้ง่าย หมายความว่า ถ้าเป็นสมาธิแล้ว สุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบไม่มี ถ้าลงสมาธิได้คือว่าท่านมีความสุขไง ถ้าลงสมาธิได้ จิตมันก็สุขมาก จิตมันก็สุขมาก จิตมันก็อุดมสมบูรณ์มาก จิตมันดีมากๆ แล้วใครอยากจะสึกล่ะ ถ้าใครจะไม่สึก ถ้าอย่างนี้บวชตลอดชีวิต พอตั้งใจว่าบวชตลอดชีวิตเท่านั้นแหละ ตอนนี้เกลี้ยงเลยไอ้ที่ว่าง่ายๆ ง่ายๆ น่ะ ทีนี้ก็ต้องลงทุนลงแรงแล้ว แต่ท่านก็ลงทุนลงแรงของท่าน

เราอยู่ใกล้ชิดหลวงปู่เจี๊ยะ อยู่ใกล้ชิดกับหลวงตา ท่านชื่นชมความเพียรของอาจารย์สิงห์ทองมาก ท่านชื่นชมถึงความเพียร หลวงปู่เจี๊ยะ หลวงตา ท่านเป็นคนที่เป็นบุรุษอาชาไนย ท่านเป็นคนที่ทำอะไรจริงจังมาก ท่านจะชมใครได้ยากมาก แต่ท่านชม ท่านชมว่าอาจารย์สิงห์ทองเดินจงกรมจนทางเป็นร่องไปเลย ท่านชมมาก

เราจะบอกว่าท่านชมมากๆ ก็สิ่งที่ว่าจะจิตสงบได้ จิตที่มันจะมีหลักมีเกณฑ์ได้มันก็มาจากความมุมานะ ความบากบั่น ความพากเพียรอันนั้นไง ความพากเพียรอันนั้นน่ะ

มันจะย้อนกลับมา ย้อนกลับมาคำถามของเรา คราวนี้ขอบคุณ เวลาจิตมันตัวหนักๆ จิตมันมีอาการตัวขยาย มีอะไรร้อยแปด

เรากำหนดพุทโธไว้ เรากำหนดพุทโธไว้ เราพยายามทำความสงบของใจเราเข้ามา หนึ่ง กิเลสมันยังหยาบๆ อยู่ กิเลสมันยังแบบว่ารุนแรงอยู่ ทำสิ่งใดมันจะมีความผิดพลาดมากกว่าความถูกต้อง แล้วพอจิตมันมีอาการต่างๆ มันเริ่มต้นจากการที่มันไม่จริงจัง มันยังไม่ถูกต้องดีงาม อาการต่างๆ มันก็มีร้อยแปดไป ถ้ามีร้อยแปดไป เห็นไหม

เหมือนกับเราทำความสะอาดบ้านหรือทำความสะอาดสิ่งใดก็แล้วแต่ วัตถุที่มันสกปรก เวลาทำความสะอาดครั้งแรกเขาก็ต้องเอาน้ำล้างไปก่อน หรือทำให้ไอ้ความสกปรกที่มันหยาบๆ หลุดไปก่อน แล้วมันยังมีความสกปรกที่มันละเอียด ความสกปรก เราก็ค่อยๆ ค่อยๆ ค่อยๆ ทำไปไง

ถ้าค่อยๆ ทำไป อาการต่างๆ ที่มันเกิดขึ้นมันก็ค่อยๆ พัฒนาขึ้นดีขึ้น คือเราเริ่มต้นจากแยกแยะได้ อะไรถูก อะไรผิด อะไรควรเอาไว้ อะไรไม่ควรเอาไว้ อะไรควรจะระลึกถึง อะไรควรจะไม่ระลึกถึง เราก็ค่อยๆ ฝึกหัดคัดแยกของเรา ทำของเราไป เริ่มต้นเป็นอย่างนี้ทั้งนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกข์กว่าเราเยอะ

แล้วนี่เวลาเรามาปฏิบัติแล้วพอมาเจอสิ่งใดที่เป็นอุปสรรคมันจะโลเลไง นี่พูดถึงว่าคนที่ฝึกหัดนะ แล้วพอมันโลเล แล้วพวกเราพวกที่ประพฤติปฏิบัติ ด้วยอำนาจวาสนาไง ก็คิดว่าเวลาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปฏิบัติแล้วต้องมีความสุข ปฏิบัติแล้วต้องมีความเจริญ ปฏิบัติแล้วต้องมีความงอกงาม เราก็จะคิดอย่างนั้น

มันก็มีสังคมทางโลกปฏิบัติแบบโลกๆ เขาก็สร้างทฤษฎีกันขึ้นมา สร้างวิธีการกันขึ้นมา ทำอย่างนั้นๆๆ ทีนี้เราก็เป็นเหยื่อเขาหมดแล้ว ชอบ ชอบอะไรที่ง่ายๆ ชอบอะไรที่มันสะดวก

ไอ้อย่างนั้นเขาเรียกว่าอุปาทานหมู่ พอเข้าไปเป็นหมู่แล้ว พอเขาบอกว่าดีก็ต้องดีตามเขาไป ทั้งๆ ที่มันไม่ดีหรอก ทั้งๆ ที่มันไม่ว่างหรอก แต่บอกว่าว่างๆ อย่างนี้ไง เธอก็ว่าง เราก็ว่างไง ก็ว่างด้วยกันอย่างนี้ไง อืมถ้าพูดอย่างนั้นแล้วเราก็ต้องว่างด้วย ไม่ว่างก็ต้องว่างไปกับเขา นี่มันเป็นอุปาทานหมู่ นี่มันไม่มีข้อเท็จจริงอยู่ ถ้าอย่างนี้ชอบไปอย่างนั้น

แต่เวลาจะเอาจริงเอาจัง มันเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก รู้จำเพาะจิตของเรา จิตของเราทุกข์ จิตของเรายาก จิตของเราลำบาก แล้วถ้าจิตของเราจะเป็นสุขมันต้องเป็นสุขที่จิตของเรา ไม่ต้องให้ใครมาชักนำ เธอก็ว่างๆ ฉันก็ว่างๆ เราก็ว่างๆ ด้วยกันไง

คำพูดนี่เขาพูดค้ำคอเลย “ของเราก็ว่างๆ ของเธอก็ว่างๆ” มันเหมือนกันไง ไอ้ทั้งๆ ที่เราสงสัยอยู่นะ เรายังไม่แน่ใจนะ แต่บอกว่าเหมือนกันน่ะ เออใช่ เหมือนกัน ค้ำคอเลย พอค้ำคอก็ต้องว่างๆ ไปกับเขา นี่เป็นปฏิบัติแบบไม่มีข้อเท็จจริง

แล้วถ้ามีข้อเท็จจริง มันจะทุกข์มันจะยาก ทุกข์ยากเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก ถ้ามันทุกข์มันยาก เรารู้เราเห็น เราเป็นคนทุกข์คนยากเอง แต่ถ้ามันจะดีมันก็ต้องดีขึ้นมาจากใจของเราเอง มันต้องว่าง ถ้ามันจะเป็นสมาธิมันจะปล่อยวางอย่างไร มีสติสัมปชัญญะ มันจะรับรู้อย่างไร เราพิสูจน์ได้ เราตรวจสอบได้ มันชัดเจนได้ มันไม่มีช่องว่างให้เราได้เผลอ ไม่มีช่องว่างให้เราสงสัยเลย มันจะเป็นจริงๆ จริงๆๆ ตลอดเลย เออถ้าเป็นจริงๆ อย่างนี้มันเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก

แล้วถ้าเป็นจริงขึ้นไปๆ ไอ้พื้นฐานของความเป็นจริงอย่างนี้มันจะรองรับมรรคผลจากใจของเรา มันจะรองรับความจริงที่เป็นจริงขึ้นไปไง จากความเป็นจริงที่มันรองรับผลของความเป็นจริงไง ไม่ใช่ความที่ไม่มีตัวตน ไม่มีสิ่งใดเลย แล้วก็ไม่มีอะไรรองรับมันได้เลย แล้วก็ว่างๆ อย่างเราเป็นอุปาทานหมู่ไปเลย

มันสังเวชอย่างนั้นน่ะ เรามันถึงเสียใจ เวลาพูดอะไรไปแล้ว ที่เวลาพูดออกไป ทั้งๆ ที่อยู่กับหลวงตามาเหมือนกัน ท่านไม่ให้พูดบาดหมางกัน ไม่ให้พูดเพื่อทำลายต่อกัน แต่เวลาพูดชี้ถูกชี้ผิดเพื่อความถูกต้องดีงาม บางทีต้องพูดออกไป อย่างเช่นกรณีนี้

ถาม : เรื่อง “มุตโตทัย

กราบเรียนหลวงพ่อเรื่องมุตโตทัยที่พิมพ์แจกเป็นการจดจารึกคำเทศน์ของหลวงปู่มั่นถูกต้องหรือไม่ แล้วผู้จดจารึกที่เป็นพระมหาเถระองค์หนึ่งที่เป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่นท่านดำเนินสอนตามแนวทางหลวงปู่มั่น ถูกต้องแบบหลวงปู่มั่น ในการสอนพลังจิต พลังสมาธิ สถาบันจิตตานุภาพ ซึ่งดูคล้ายสถาบันการศึกษาแบบมีหลักสูตรครูสมาธิ

ตอบ : นี่คำถามนะ คำถามมาแล้ว ฉะนั้น เป็นคำถามนะ คำถามส่วนคำถามไง แต่คำถามแล้ว เวลาโดยทั่วไป เวลามุตโตทัยๆ มุตโตทัยมันจดจารึกมาโดยสำนวนของหลวงปู่หลุย สำนวนของมหาเส็ง มันมีมาหลายสำนวน

ทีนี้ว่าสำนวนๆ อย่างนี้ เวลาอยู่ที่บ้านตาด หลวงตาท่านพูดเอง เวลาหลวงปู่มั่นเทศน์มุตโตทัย หลวงตาท่านก็นั่งฟังอยู่ด้วย พอหลวงตาท่านนั่งฟังอยู่ด้วย มันก็เป็นเทศน์กัณฑ์หนึ่งนี่แหละ

ทีนี้เทศน์กัณฑ์หนึ่ง คนที่นั่งฟังอยู่ด้วยกัน เพราะสมัยนั้นมันไม่มีเทป พอไม่มีเทป มันก็อยู่ที่คนจดจารึกใช่ไหม คนจดจารึก ใครที่มีสติปัญญามากมันก็เข้าได้ลึกซึ้ง จดจำได้ชัดเจน คนที่สติปัญญาน้อยมันก็จำได้น้อยใช่ไหม คนที่สติปัญญาทางโลกเขาก็จำแบบโลกๆ ไง นี่จำแบบโลก

หลวงตาท่านบอกว่า สิ่งที่จดจารึกมาในมุตโตทัย เวลาหลวงปู่มั่นเทศน์ละเอียดกว่านั้น ลึกกว่านั้น นี่ในคำพูดของหลวงตา เราฟังกับหูเลยเรื่องมุตโตทัย เพราะมุตโตทัยเวลาพิมพ์มานะ ทุกคนชื่นชมมาก พอทุกคนชื่นชมมากก็ไปชื่นชมหลวงปู่มั่นให้หลวงตาท่านฟัง หลวงตาท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่นท่านก็ต้องภูมิใจในอาจารย์ของท่านใช่ไหม เขาไปชื่นชมว่ามุตโตทัยมันสุดยอดๆ อย่างนั้นน่ะ

หลวงตาท่านบอกว่า “มุตโตทัย” เราก็นั่งฟังอยู่ “มันดีกว่านี้อีก มันลึกซึ้งกว่านี้อีก” ไอ้นี่เขาไปจดเป็นข้อๆๆ คือเป็นวรรคเป็นตอนไง แล้วเป็นวรรคเป็นตอนแล้วมันก็อยู่ที่คนที่มีวุฒิภาวะมากน้อยแค่ไหนไง คนที่มีวุฒิภาวะมาก มุตโตทัยไปอ่านแต่ละสำนวนมันก็ไม่เหมือนกัน

แต่กรณีอย่างนี้ยกผลประโยชน์ให้กับหนังสือนะ เราไม่ได้ติเตียนตัวหนังสือนั้น แต่นี้เขาถามเรื่องมุตโตทัยใช่ไหม เรามีโอกาสได้พูด เราก็อยากจะพูดบ้าง เราอยากจะพูดบ้าง พูดในทางที่ว่าหลวงตาท่านพูดให้ฟังอธิบายให้ฟัง แล้วครูบาอาจารย์ท่านมีหลักเกณฑ์ในการเคารพบูชาหลวงปู่มั่นมาอย่างไร

ถ้าการเคารพบูชาหลวงปู่มั่น ท่านจะเคารพบูชาหลวงปู่มั่น ถ้าสิ่งใดที่มันไม่เป็นจริงๆ ท่านจะไม่เอาไปกระทบกระเทือนหลวงปู่มั่น ไม่เอาไปกระทบกระเทือนอ้างว่าหลวงปู่มั่นว่าอย่างนั้น หลวงปู่มั่นว่าอย่างนี้

หลวงตาท่านไม่เคยพูดอย่างนั้น เวลาหลวงตาท่านเขียนประวัติหลวงปู่มั่นท่านจะบอกว่า “กระผมเป็นผู้ที่มีสติปัญญาน้อย ถ้ามีสิ่งใดขาดตกบกพร่อง ขอโทษขออภัยให้กับผู้ที่มีสติปัญญาน้อย อย่าไปละลาบละล้วงถึงหลวงปู่มั่น

เวลาหลวงตาท่านเขียนประวัติหลวงปู่มั่น ท่านพูดถึงเรื่องของครูบาอาจารย์ของท่าน ท่านจะบอกว่าครูบาอาจารย์ของท่านเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้ที่ประเสริฐ เป็นผู้ที่ให้ชีวิตทั้งชีวิตทางโลกและชีวิตทางธรรม

เวลาพวกเราปัญญาที่อ่อนด้อย ปัญญาที่เราไม่ถึง เราจะไม่ยกเปรียบเทียบตัวเรามีปัญญาระดับนั้น ถ้าท่านทำสิ่งใดท่านจะพูด ท่านจะขออภัยไว้ตั้งแต่ต้นว่าข้าพเจ้าเป็นผู้ที่มีปัญญาน้อย เป็นผู้ที่ไม่มีความรอบคอบพอ ถ้าทำสิ่งใดถ้าเกิดอะไรที่มันผิดพลาด ที่มันสะเทือนใจ ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบ ให้ขออภัยแก่ผู้ที่มีปัญญาน้อย ผู้ที่มีปัญญาน้อย” นี่เวลาครูบาอาจารย์ที่ท่านเคารพบูชา ท่านเคารพบูชาอย่างนี้ ทำอะไรที่ว่าทำเหมือนไม่เหมือน ท่านทำอย่างนี้

แต่ที่ว่าเวลาทางนั้น “หลวงปู่มั่นว่าอย่างนั้น” คือตัวเองไม่เชื่อมั่นในตัวเอง ตัวเองยังไม่เชื่อใจความคิดของตัวเอง ตัวเองยังไม่เชื่อใจไง ถ้าตัวเองไม่เชื่อใจก็บอกว่า “หลวงปู่มั่นว่าอย่างนั้น หลวงปู่มั่นว่าอย่างนั้น

หลวงปู่มั่นท่านเทศน์ ครูบาอาจารย์ท่านก็ฟังอยู่เยอะแยะ ถ้าครูบาอาจารย์ฟังอยู่เยอะแยะ ครูบาอาจารย์ที่ฟังแล้วมันก็เป็นประโยชน์ใช่ไหม ถ้าคนยิ่งเป็นด้วย เห็นไหม ดูสิ เวลาหลวงปู่มั่นท่านจะเทศน์ ท่านพูดกับหลวงปู่ชอบ พูดกับหลวงปู่ตื้อ “ให้ช่วยจับขโมยให้ผมที ให้ช่วยจับขโมยให้ผมทีขณะที่ผมเทศน์

เวลาท่านเทศนาว่าการ ครูบาอาจารย์ที่ท่านมีคุณธรรมท่านเทศนาว่าการให้เรา ท่านจะให้เราเก็บประโยชน์ให้ทั้งหมดเลย นี่เก็บประโยชน์ๆ ท่านเทศน์ออกมามันเป็นวรรคทอง มันเป็นสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ ให้เก็บๆ

แต่ถ้าจิตมันอคติ จิตมันคิดเรื่องอื่น จิตมันออกไป เขาเรียกว่าขโมย ท่านถึงให้ครูบาอาจารย์คอยจับขโมยให้ผมที เพราะขณะที่ผมเทศน์ ผมทำงานสองหน้าที่ มันไม่ถนัดไง เวลาท่านเทศน์ ท่านเทศน์ต้องให้ธรรมะไหลออกมาจากใจของท่าน แล้วท่านยังต้องมากำหนดจิตดูไอ้พวกขโมย ดูไอ้พวกคิดนอกลู่นอกรอยน่ะ ท่านบอกให้ครูบาอาจารย์ช่วยจับขโมยให้ผมที ฉะนั้น เวลาท่านเทศน์ขึ้นมา ถ้าใครคิดแฉลบออกไปน่ะ หลวงปู่ชอบกระแอม แสดงว่ามีคนคิดแล้ว แสดงว่ามีคนส่งออกแล้ว นี่พูดถึงว่าเวลาฟังเทศน์ ฟังเทศน์มาอย่างนั้น

แล้วเวลาฟังเทศน์มาแล้วมันจดจารึก จดจารึกก็จำมา จำมา ถ้าใจมันไม่เป็น ใจไม่เป็นมันจะรู้ได้อย่างไรล่ะ ใจไม่เป็นมันก็ขาดตกบกพร่อง แต่ใจของคนที่สมบูรณ์มันก็ได้มามากใช่ไหม แล้วได้มามาก มันจะเรียงลำดับได้ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง

นี่พูดถึงเฉพาะมุตโตทัยนะ นี่พูดถึงมุตโตทัย ถ้ามุตโตทัย สาธุ มันก็ไปเห็นร่องรอยว่าหลวงปู่มั่นเคยเทศน์อย่างไร หลวงปู่มั่นท่านแสดงธรรมอย่างไรในมุตโตทัย พวกเราก็ชื่นชมนะ เพราะคนเอาหนังสือมุตโตทัยไปชื่นชมกับหลวงตา เวลาหลวงตาท่านพูดอย่างนี้ เราก็นั่งฟังอยู่ด้วย เรานั่งฟังอยู่ด้วย

เพราะเรานั่งฟังอยู่ เราพยายามจะศึกษา ศึกษาว่าด้วยความเคารพบูชาของลูกศิษย์กับอาจารย์ท่านเคารพบูชากันอย่างไร แล้วเวลาความผูกพัน ความผูกพันระหว่างที่หลวงตากับหลวงปู่มั่นท่านอยู่ด้วยกัน ท่านมีความผูกพันกันมาอย่างไร แล้วเวลาหลวงตาเวลาท่านผูกพันกับหลวงปู่มั่น เวลาท่านบอกว่าถ้ามีพระอยู่ด้วยท่านจะเฉยๆ หลวงปู่มั่นก็จะเฉยๆ แต่ถ้าตัวต่อตัวเมื่อไหร่นะ ถ้าท่านไม่พูด หลวงปู่มั่นก็เอาก่อน หลวงปู่มั่นเอาก่อนเลย “อ้าวมหา จิตเป็นอย่างไร

ถ้าอยู่กันตัวต่อตัวมันเป็นส่วนบุคคลนะ มันเป็นเรื่องลึกๆ ในใจของแต่ละบุคคล ถ้ามีบุคคลที่สามมาฟังอยู่ด้วย หลวงปู่มั่นก็ไม่พูด ท่านก็ไม่พูด แต่พอท่านมาอยู่กันตัวต่อตัวนะ ถ้าท่านไม่พูด หลวงปู่มั่นเอาก่อน ถ้าหลวงปู่มั่นไม่เอา ท่านเอาก่อน เอาก่อน ระหว่างพ่อกับลูก จะส่งวิชากัน จะส่งเทคนิคส่งวิชาที่ลึกซึ้งต่อกัน ท่านผูกพันกันไง ถ้าความผูกพัน

เวลาเขาเอาหนังสือไปเสนอท่าน ท่านก็พูด แล้วเวลามีคนพิมพ์ประวัติหลวงปู่มั่น ทั้งๆ ที่ท่านเขียนเอง แล้วก็ไปถวายท่าน ท่านก็บอกว่า เราก็พิมพ์ เราก็พิมพ์ของเราเอง เราพิมพ์เราก็แจกเอง พวกลูกศิษย์พิมพ์ก็แจกกันไป ต่างคนต่างอยากจะยกตัวเองว่าหลวงปู่มั่นว่าอย่างนั้น หลวงปู่มั่นว่าอย่างนี้

แล้วหลวงปู่มั่นสอนอย่างไรล่ะ ถ้าหลวงปู่มั่นสอน ก็มาที่คำถามไง บอกมีพระมหาเถระองค์หนึ่งเป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่น เวลาสอนตามแนวหลวงปู่มั่นจริงหรือไม่

นี่ว่าจริงหรือไม่ เพราะหลวงปู่มั่นท่านสอนอะไรล่ะ ท่านสอนเรื่องอริยสัจ

ท่านสอนเรื่องสมาธิหรือ ใครสอนสมาธิ ถ้าสอนสมาธิมันก็มี มันมีสำนักปฏิบัติทั่วๆ ไปเขาก็ฝึกสอนสมาธิกัน ถ้าฝึกสอนสมาธิ พวกสำนักฤๅษีชีไพร เดี๋ยวนี้มันชักมีฤๅษีนะ พวกถือศีล ๘ แล้วพระก็แหมมาจัดกระบวนการกันใหญ่เลย นี่มันก็เป็นเรื่องตลาด พอเรื่องตลาด เพราะอะไร เพราะว่าเขาไม่มีธรรมวินัยไง

แต่ถ้าพระลองพูดเรื่องอุตตริมนุสสธรรม ธรรมเหนือมนุษย์สิ พระนี่พูดไม่ได้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้พระมีวุฒิภาวะภายใน ให้พระมีความมั่นคงจากภายใน ถ้าภายในแล้วทำให้ศาสนามั่นคงไง ถ้าพระมีหัวใจที่เป็นพระขึ้นมา ธรรมและวินัยมันจะมั่นคง มั่นคง มันจะสืบต่อเป็นรุ่นๆ ไป รุ่นๆ ไป สืบต่อกันไป

เวลาบวชพระขึ้นมาแล้วเข้ามาอยู่ในสังคมของพระ สังคมของพระ พระท่านจะสอนกัน อย่างเช่นหลวงปู่มั่นท่านสอนหลวงตา หลวงตาท่านพยายามขวนขวายหาความรู้จากหลวงปู่มั่น ถ้าใครไม่พูดก่อน ท่านพูดเลย เวลาเป็นเรื่องภายใน

แต่พอเป็นเรื่องภายใน จิตใจที่เป็นธรรม การแสดงออกมาด้วยการเป็นพระมันเป็นสมบูรณ์มาจากใจ จากใจของผู้ที่เป็นพระ ถ้ามันสมบูรณ์มาจากใจที่เป็นพระแล้วมันมีอะไรมีคุณค่าไปกว่าหัวใจที่เป็นพระล่ะ ถ้าหัวใจที่มันไม่เป็นพระไง หัวใจไม่เป็นพระมันก็ไปเรื่องนอกๆ เห็นไหม

ฉะนั้นถึงบอกว่า เวลาหลวงปู่มั่นท่านสอน ท่านสอนเรื่องอะไร สอนเรื่องอริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค สอนเรื่องสุตมยปัญญา จินตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา เวลาหลวงปู่มั่นจะสอนนะ สอนตั้งแต่ผู้ที่จะเข้าไปบวชต้องเป็นปะขาว เป็นปะขาวต้องให้ท่องปาฏิโมกข์ได้ ตัดผ้าได้ ตัดผ้าจีวรได้ ตัดสังฆาฯ ได้ ตัดผ้าได้ รู้จักธรรมวินัยถึงจะให้บวช

นี่เวลาถ้าหลวงปู่มั่นสอนอย่างไร เวลาท่านสอน ท่านสอนถึงการสวดมนต์ การกราบ กราบ กราบถูกต้องไหม เพราะเราอยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะ หลวงปู่เจี๊ยะเล่าให้ฟังตลอด สอนตั้งแต่เรื่องกราบเลย กราบเข้ามาก่อน เบญจางคประดิษฐ์นี่กราบให้เป็นก่อน ตอนนี้พระกราบเบญจางคประดิษฐ์กันไม่เป็น ก้นโด่งกันหมดเลย นี่ไง ท่านสอน

หลวงปู่มั่นสอนเรื่องการกราบหรือ หลวงปู่มั่นไม่ได้สอนให้เป็นพระอรหันต์หรือ แล้วพระอรหันต์มันมาจากไหนล่ะ พระอรหันต์มันมาจากไหน

ดูสิ ท่านก็สอนอย่างนั้นน่ะ แต่ท่านสอนถึงคนว่า ถ้าคนพื้นฐานมันมาดีมันก็มาดีไง ฉะนั้นที่ว่าเรื่องสอนสมาธิๆ ท่านสอนให้ทำความสงบของใจ ถ้าใจมันสงบขึ้นมาแล้วท่านถึงสอนให้ฝึกหัดใช้ปัญญา

ถ้าใช้ปัญญาไปแล้วปัญญาแบบโลกๆ ปัญญาแบบกราบพระ ปัญญาแบบท่องปาฏิโมกข์ ปัญญาแบบธรรมวินัย แล้วถ้าปัญญารักษาจิตให้เป็นสมาธิ ปัญญารักษาจิตให้เป็นสมาธิให้จิตตั้งมั่น จิตตั้งมั่นแล้ว นี่ปัญญาเกิดขึ้นจากจิต ปัญญาจะเกิดขึ้นจากจิตแล้วปัญญาขุดคุ้ยหากิเลส ขุดคุ้ยหากิเลส ชำระล้างกิเลสเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป นี่ปัญญาซักฟอก ซักฟอกจิต ทำลายอวิชชาเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป นี่หลวงปู่มั่นท่านสอนอย่างนี้ ครูบาอาจารย์ท่านสอนกันอย่างนี้ ถ้าทำสมาธิ ทำสมาธิแล้วเป็นสมาธิก็เป็นสมาธิ

นี่มันไม่ใช่อย่างนั้นน่ะ ของเขาทำสมาธิแล้วเขาบอกว่า มันเปิดเป็นหลักสูตรเป็นครูสมาธิ เปิดเป็นครูสมาธิ

แล้วถ้าเป็นสมาธิขึ้นมาแล้ว สมาธินะ ถ้าเป็นสัมมาสมาธิ สมาธิมันจะมีความสุข มีความสุขมีความสงบ มีความสุขนะ แต่ถ้ามันไปติดสมาธิก็เป็นมิจฉาแล้ว เพราะสมาธิมันมีสัมมาสมาธิกับมิจฉาสมาธิ ถ้าเป็นมิจฉาตกภวังค์แล้วเป็นสมาธิ

ดูสิ ที่ว่าอจินไตย ๔ เรื่องของฌาน ถ้าเรื่องของฌานนะ เรื่องของฌานมันอยู่ในอจินไตยเลยล่ะ แล้วอจินไตย จิตมันเป็นได้หลากหลายนัก แล้วจิตเป็นได้หลากหลายนัก มันอยู่ที่บุญกุศลของคน ถ้าบุญกุศลของคน ถ้าทำมานะ ถ้าจิตมันเป็นสมาธิแล้วมันเป็นสัมมาได้

ถ้าเป็นสัมมาได้ สัมมาได้คือพอเป็นสัมมาได้มันรื้อค้นมันตรวจสอบจิต ถ้าจิตมันไม่มีสัมมา มันเป็นมิจฉา ถ้ามันเป็นสมาธิแต่มันไม่ค้นคว้า มันก็เป็นมิจฉาแล้ว ถ้าเป็นมิจฉาสมาธิ มิจฉาสมาธิก็เข้ามรรคไม่ได้ไง นี่ไง มิจฉามรรคหรือ

มรรคมันต้องมีสัมมาสิ สัมมาทิฏฐิ สัมมากัมมันโต สัมมาๆ สัมมาคือความถูกต้องดีงาม แล้วทำสมาธิๆ ทำสมาธิทำไมล่ะ ทำสมาธิทำไม ทำสมาธิมันต้องสมาธิเกิดที่ใจสิ ถ้าใจมันเป็นๆ ใจมันเป็นสมาธิมันมีความสุข ถ้าใจมันเป็นนะ ถ้าใจมันเป็น ครูบาอาจารย์ที่ใจมันเป็น ใจมันเป็นน่ะมันรู้ว่าควรจะทำอย่างไร เช่น หลวงปู่มั่นท่านสอน ท่านเป็นศากยบุตรพุทธชิโนรส ท่านสอนให้พระเราประพฤติปฏิบัติ อยากให้พระเราเป็นศาสนทายาท

หลวงปู่มั่นท่านก็สอนอยากให้คนเป็นพระอรหันต์ แต่เวลาคนเป็นพระอรหันต์มันก็ต้องมีเบสิกพื้นฐานจากการกราบการไหว้ การสวดมนต์ให้อักขระ ฐานกรณ์มันถูกต้อง นี่มันถูกต้อง คนที่ทำอะไรมาถูกต้องมันก็จะสอนให้คนอื่นถูกต้องต่อไปใช่ไหม

เพราะคำว่า “ถูกต้อง” ดูสิ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นกว่าท่านจะทำสมาธิได้ พอทำสมาธิแล้วกว่าท่านจะยกขึ้นวิปัสสนาได้ เพราะหลวงปู่มั่นท่านเล่าของท่านให้หลวงตาฟังไว้เยอะว่า ท่านเป็นพระโพธิสัตว์มาก่อน ความติดในพระโพธิสัตว์เป็นอย่างไร ในการลาเป็นพระโพธิสัตว์เป็นอย่างไร พอการลาเป็นพระโพธิสัตว์แล้วมันจะเข้าสู่สมาธิอย่างไร พอเข้าสู่สมาธิแล้วมันยกขึ้นพิจารณากายอย่างไร การพิจารณากายโดยขณะที่เป็นพระโพธิสัตว์กับการพิจารณากายขณะที่เป็นสัมมาสมาธิ ที่เป็นสาวกสาวกะ เป็นผู้ที่จะเป็นพระอรหันต์เป็นอย่างไร อารมณ์แตกต่างมันเป็นอย่างไร

เพราะคนมันติดไง คนทำผิดถ้าสำคัญว่าถูก มันก็ผิดอยู่นั่น คนทำผิดแล้วรู้ว่าผิด ผิดแล้วหาทางออกมาทำให้มันถูกต้อง ถ้าทำให้มันถูกต้องเป็นสัมมาสมาธิ เวลามันยกขึ้นสู่วิปัสสนามันมีปัญญาของมัน นี่เวลาความถูกต้อง เพราะมันเห็นผิดแล้วมาฝึกหัดให้มันถูกต้อง เวลามันถูกต้องมันถูก ถูกกับผิดมันแตกต่างกันอย่างไร นี่ไง พอมันถูก มันถูกต้องขึ้นมา เห็นไหม

ว่าหลวงปู่มั่นสอนอย่างไร หลวงปู่มั่นสอนอย่างไรไง

หลวงปู่มั่นท่านมาสอนให้ถูก เวลามันถูกมันก็ถูกขึ้นมา

ฉะนั้นว่าพลังจิตๆ การสอนแบบนั้นใจมันไม่เป็นน่ะ เพราะอะไร เพราะเอาสมาธิไปไว้อยู่ในตำราไง เขาบอกว่าสอนเป็นสถาบัน สอนเป็นเอกสารน่ะ สมาธิอะไรกลายเป็น ส.เสือ ม.ม้า สระอา ธ.ธง สระอิ แล้วก็อธิบายกัน มันสมาสกัน มันอะไรกัน เป็นสมาธิ สมาธิในตำราหรือ

ขณะที่เราศึกษาปริยัติๆ การศึกษานั้นปริยัติ เป็นเรื่องของทฤษฎี เป็นเรื่องของตำรา มันเป็นสุตมยปัญญา แล้วเวลาจิตสงบแล้วเวลาฝึกหัดขึ้นมาแล้ว จินตมยปัญญา ภาวนามยปัญญาเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป ถ้าใจมันเป็นมันจะรู้เลยว่ามันจะเป็นขึ้นมาได้อย่างไร มันจะเป็นที่ไหน มันจะเป็นเพื่ออะไร

แต่ถ้ามันไม่เป็น เพราะมันไม่เป็น มันไม่เป็นมันเลยไม่รู้ว่าสมาธิเกิดที่ไหนไง สมาธิอะไรไปเกิดบนสมุดหนังสือนู่นน่ะ มันเลยกลายเป็นปริยัติไปเลย สมาธิไปเกิดในหนังสือไหม สมาธิมันไปเกิดในสมุดนั้นหรือ ไม่มีหรอก สมาธิมันเกิดจากจิต ถ้าไม่มีจิต ไม่มีสมาธิ แต่มันยังไม่รู้จักจิตเลย จิตตัวเองยังไม่รู้จัก แล้วก็ไปอ้างหลวงปู่มั่นๆ

เราถึงพูดตั้งแต่ต้นไง เวลาหลวงตาท่านพูดถึง เวลาท่านเขียนประวัติหลวงปู่มั่น เห็นไหม “ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่มีปัญญาน้อย เป็นผู้ที่ไม่รอบคอบ ถ้าทำสิ่งใดที่มันผิดพลาด ขอให้อภัยกับผู้ที่มีปัญญาน้อยด้วยเถิด ข้าพเจ้ามีปัญญาน้อย

เพราะว่าครูบาอาจารย์ของเราประเสริฐมากนะ แล้วเรามีปัญญาได้อย่างไร แต่นี่เวลาโดยทั่วไปนะ “หลวงปู่มั่นว่าอย่างนั้นๆ

ถ้าหลวงปู่มั่นว่าอย่างนั้นนะ อากาศออกซิเจนมันเป็นสิ่งที่คนพอใจทั้งนั้นน่ะ อากาศที่บริสุทธิ์ทุกคนก็ปรารถนา เราจะบอกว่ามันดีไม่ดีก็แล้วแต่ ใครเข้ามาสูดเข้าเต็มปอด โอ้โฮชื่นใจทั้งนั้นน่ะ ถ้าของมันดีนะ มันดีตั้งแต่ต้น ท่ามกลาง ที่สุด ดีไปหมด ถ้าของมันไม่ดีนะ อากาศที่เป็นพิษหายใจเข้าไปตายหมดน่ะ

นี่ก็เหมือนกัน หลวงปู่มั่น ทำไมต้องอ้างหลวงปู่มั่นด้วยล่ะ ถ้ามันเป็นอากาศที่บริสุทธิ์ เป็นโซนอากาศที่ดีที่สุด ทุกคนเขารีบไปซื้อที่จับจองกันสร้างบ้านทั้งนั้นน่ะ นี่ก็เหมือนกัน ถ้ามันถูก ทำไมต้องไปอ้างหลวงปู่มั่นล่ะ อ้างแล้วตัวเองไม่เชื่อมั่นในความคิดของตนไง “เอ๊เราว่าอันนี้มันบริสุทธิ์นะ มันมีกลิ่นตุๆ หรือเปล่าไม่รู้ อันนี้มันบริสุทธิ์นะ

มันบริสุทธิ์อะไร เขาขายที่หนีกันหมดเลยน่ะ ฟาร์มเต็มไปหมด อากาศอย่างนี้บริสุทธิ์ได้อย่างไร แมลงวันเต็มเลย “เออก็หลวงปู่มั่นว่ามันบริสุทธิ์” แล้วมันบริสุทธิ์ได้ไหมล่ะ มันไม่ได้หรอก เพราะแมลงวันเต็มไปหมดเลย มันจะบริสุทธิ์ได้อย่างไร ถ้ามันจะบริสุทธิ์ มันบริสุทธิ์ในตัวมันเองไง

ถ้าบริสุทธิ์ในตัวมันเอง สาธุนะ คำว่า “ครูบาอาจารย์” อย่างเรา เราเคารพบูชามากนะ ฉะนั้น เวลาเราจะอ้างหลวงปู่มั่น เราอ้างด้วยความบริสุทธิ์ใจนะ เราอ้างด้วยความบริสุทธิ์ใจเพราะเราจะเชิดชู การอ้างด้วยการเชิดชูครูบาอาจารย์นั้นมันรู้ได้ เราเคารพบูชาของเรา เราอ้างด้วยความเคารพบูชา เราอยากเคารพบูชา เพราะทำไม

เพราะเราเป็นมนุษย์ เวลาเราค้นคว้าในธรรมะ ท่านจะพูดเลยบอกว่า มันต้องมีเหตุมีปัจจัย อย่างมนุษย์ มนุษย์ก็ต้องเกิดมาจากพ่อจากแม่ ฉะนั้น พ่อแม่จึงเป็นผู้มีพระคุณ เราไม่ใช่เกิดมาจากกระบอกไม้ไผ่ มันเลยไม่มีที่มาที่ไป อันนี้ก็เหมือนกัน เวลาเราพูดธรรมะ เวลาเราพูดของเรา เราก็มีครูบาอาจารย์เหมือนกัน ทีนี้เวลาครูบาอาจารย์ แล้วครูบาอาจารย์ของเราคือใครล่ะ

ครูบาอาจารย์ เราจะอ้างหลวงตาๆ เขาก็จะหาว่าเราขายหลวงตาอีก เราก็เลยว่าอ้างหลวงปู่มั่นก่อน ต่อไปเราก็จะคิดของเรา เวลาหลวงปู่มั่นด้วย หลวงตาด้วย แต่ตอนนี้เรื่องหลวงตาๆ แบบว่าท่านสร้างศักยภาพของท่านสูงส่งมาก เราไม่อาจเอื้อม แต่ในใจเราเคารพนะ เราเคารพ อย่างที่ว่านี่แหละ ท่านให้ทั้งชีวิตโลกและให้ทั้งชีวิตธรรม

ชีวิตโลกนะ ตอนอยู่โพธารามนะ ถ้าท่านไม่มาเยี่ยม ไม่มาปกป้องดูแลนะ มันเป็นวัดขึ้นมาไม่ได้หรอก เพราะว่าระหว่างนิกายเขาไม่ให้เกิด แต่เพราะท่านมา ท่านใช้บารมีของท่านคุ้มครองดูแลมามันถึงได้เป็นวัดเป็นวาขึ้นมา นี่พูดถึงทางโลกนะ

ในทางธรรม ในทางธรรมเวลาปฏิบัติหัวหกก้นขวิด ความหลงผิด ดูสิ ลูกของเราเข้าใจผิดหลงผิด ลูกของเรามันต่อต้านทุกวันเลย แม่ไม่รักๆๆ มันประชดชีวิตมันตลอด เห็นไหม แม่ไม่รักๆ นั่นน่ะ นี่มันประชดชีวิตมัน

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เราอยู่กับครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์รักหรือไม่รัก เรารู้ได้ ถึงเราจะโดนยำขนาดไหนเราก็รู้ว่าท่านสอนเรา

ไอ้คำว่า “แม่ไม่รัก พ่อแม่ไม่รัก” แล้วมันก็ประชดชีวิตของมันไป ทำตัวมันเองเสียหายไปเยอะแยะเลย ไอ้ของเราไปอยู่กับครูบาอาจารย์ก็หาว่าครูบาอาจารย์ไม่รักเราหรือ ครูบาอาจารย์จะรักเราไม่รักเรา เราก็มีสติปัญญาแยกแยะได้

นี่พูดถึงเวลายกพูดถึงครูบาอาจารย์ไง ถ้าเราพูดถึงครูบาอาจารย์ด้วยการยกย่องนะ แล้วเราไม่ทำตัวให้เราเสียหาย ถ้าเราเสียหายแล้วมันสะเทือนหมด เห็นไหม ลูก พ่อแม่ไม่สั่งสอน เวลาใครทำผิดเขาจะถามว่าลูกใคร ไอ้ลูกพ่อแม่ไม่สั่งสอน

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เวลาอ้างครูบาอาจารย์ๆ ถึงเวลาแล้ว ครูบาอาจารย์สั่งสอนมาอย่างไร เขาก็ย้อนกลับไปที่นั่นน่ะ นี่พูดถึงนะ

ฉะนั้นพูดถึงว่า ถ้าใจมันเป็นนะ ถ้าใจเป็นนะ เพราะว่ากรณีอย่างนี้เราพูดโดยหลักทั้งนั้นน่ะ เพราะถ้าเราพูดโดยรายละเอียดมันเป็นเรื่องส่วนบุคคลไป ถ้าเป็นเรื่องส่วนบุคคลนะ เพราะเป็นเรื่องส่วนบุคคลก็ให้สังเกตสิ ให้สังเกตใช่ไหม ถ้าเป็นอย่างหลวงปู่มั่นน่ะ ท่านอยู่ในป่าในเขา ทำไมประชาชน พระเณรทำไมกระเสือกกระสนเข้าไปหาท่านล่ะ

กลิ่นของศีลกลิ่นของธรรมมันหอมทวนลม มันถูกต้องดีงาม มันคงทนต่อการพิสูจน์ไง ดูสิ เวลาครูบาอาจารย์ของเราถ้าท่านเป็นธรรมๆ นะ อยู่ที่ไหนก็แล้วแต่ พระเณรไปล้อมเต็มเลยน่ะ เพราะพระเณรมันได้กลิ่นก่อน หลวงตาพูดประจำ พระนี่จมูกดี มันจะรู้เลยว่าถูกหรือผิด ถ้าผิดมันจะแสวงหาของมัน แล้วถ้าเป็นจริงนะ ไปหมด นี่ก็เหมือนกัน ครูบาอาจารย์ที่เป็นจริงๆ พระเณรล้อมรอบ ใครๆ ก็อยากแสวงหาไง

แต่ถ้ามันไม่เป็นจริงนะ มันไม่มีใครเข้าใกล้หรอก ถ้าไม่มีใครเข้าใกล้ มันก็เป็นเรื่องโลกๆ ไง เป็นเรื่องโลกๆ เป็นเรื่องมวลชน เป็นเรื่องเป็นอย่างนั้นไป แต่ถ้าเป็นพระนะ ถ้าเป็นพระเขาเคารพกันด้วยหัวใจ เคารพกันด้วยความเป็นจริง

นี่พูดถึงว่า มุตโตทัยเนาะ ถ้าใจไม่เป็นมันมีปัญหาไปหมด ถ้าใจไม่เป็น เหมือนช่าง ช่างที่ไม่เป็นเริ่มต้นก็ผิดแล้ว ระดับไม่ได้ พอเริ่มต้นผิดนะ ไปเละหมดเลย ถ้าเป็นช่างนะ โอ้โฮเริ่มต้นเขาต้องจัดปรับพื้นที่ เขาต้องปรับระดับของเขาก่อนเพื่อรองรับน้ำหนักที่เขาจะสร้างอะไร แล้วสร้างแล้วมันถูกต้องดีงามไปหมด

ฉะนั้น เวลาหลวงปู่มั่น หลวงตา อู้ฮูเดินจงกรมแกว่งแขนยังโดนเลย เพราะว่าสติมันแตกหมด เดินจงกรมนะ ท่านต้องให้เอามือพาดกันอย่างนั้นนะ หลวงตานี่เวลาท่านไปตรวจวัด ถ้าไปเห็นโยมมาอยู่วัดแล้วเดินแกว่งแขน ท่านบอกท่านรับไม่ได้เลย อู้ฮูท่านจะอัดเขาเลยนะ มันประมาทมาตั้งแต่ต้น จริงๆ แล้วคือท่านสงสารเราน่ะ คือคนทำอย่างนี้มันเป็นสมาธิยาก คือสติมันแตก สติมันไปรับรู้ กระจายออกไป แต่เราไม่รู้ตัวนะ ไอ้คนทำไม่รู้ตัว

ไอ้คนที่เขาเป็นเขารู้เลย เริ่มต้นอย่างนี้ความเป็นสมาธิมันจะเป็นได้ยาก เริ่มต้นอย่างนี้โอกาสจะไม่มี ถ้าโอกาสไม่มี เราก็ไปทุกข์ของเรา เราก็ไปบ่นพร่ำเพ้อของเราว่ามันทำไม่ได้ แต่ครูบาอาจารย์ท่านเห็น อู้ฮูท่านเทศน์เรื่องนี้บ่อยมาก เวลาท่านไปเดินตรวจวัด แล้วถ้ามีใครทำภาวนามีแต่ความประมาทเลินเล่อ อู้ฮูท่านรับไม่ได้เลย นี่ใจเป็น ครูบาอาจารย์ของเราใจเป็น พอใจมันเป็นมันจะรักษา รักษาเหมือนลูกเราเลย

ลูกเกิดมาแล้วใครจะเอายาเสพติดไปป้อนลูกบ้าง ลูกเกิดมานี่นมผงชนิดชั้นหนึ่งชั้นเลิศ ถ้ากินนมแม่ยิ่งยอดเยี่ยม ลูกเกิดมาพ่อแม่ดูแลอย่างดีเลย นี่ก็เหมือนกัน ถ้าใจมันเป็น ถ้าใจเป็นนะ ครูบาอาจารย์ดูลูกศิษย์ อู้ฮูอยู่ในร่องในรอยไง อยู่ในร่องในรอยมาเพื่อให้จิตมันลง เพื่อให้มันเป็นสมาธิ เพื่อให้มันปฏิบัติแล้วได้ผลไง นี่ถ้าครูบาอาจารย์มันเป็น ถ้าครูบาอาจารย์ไม่เป็นนะ ลูกเกิดมา นู่น ต้องกินวิสกี้ ต้องกินร้อยแปด

นี่ก็เหมือนกัน พลังจิตอยู่ในตำรา พลังจิตอยู่ในหนังสือหรือ มีครูสมาธิอีกด้วยนะ แล้วครูมันทำสมาธิเป็นหรือเปล่า ไอ้ครูสมาธินี่อยากจะคุยสักทีนะว่าสมาธิเป็นอย่างไร ไอ้ครูสมาธินี่มึงอธิบายสมาธิให้กูฟังทีวะ ไอ้ครูสมาธิๆ บอกซิว่าสมาธิมันเป็นอย่างไร บอกที บอกทีสมาธิมันเป็นอย่างไร ก็เอ็งเป็นครูแล้ว เอ็งเป็นครูสมาธิเอ็งต้องรู้ใช่ไหม เอ็งบอกกูทีว่าสมาธิเป็นอย่างไร ว่างๆ...ว่างๆ นั่นดาวเทียมไง อวกาศนู่นไง ว่างๆ ใจไม่เป็นมันทำให้เสียหายไปหมดแหละ นี่พูดถึงถ้าใจไม่เป็นนะ

ถ้าใจเป็นนะ ดูแลรักษาจะทำให้มันถูกต้องดีงามถ้าใจเป็น ถ้าใจเป็นขึ้นมาก็อย่างนี้ เวลามาแล้วก็เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา แล้วก็ “หลวงพ่อไม่เห็นสอนอะไรเลย

อ้าวก็ให้ใจเอ็งสอนไง ให้ใจเอ็งสอนขึ้นมาไง ให้ใจเอ็งเป็นขึ้นมาไง มันเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก เป็นสมาธิแท้ๆ เป็นมรรคเป็นผลจริงๆ เกิดขึ้นเป็นปัจจัตตัง สันทิฏฐิโกกลางหัวใจ เอวัง