ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

คุณพระพุทธเจ้า

๒o พ.ย. ๒๕๕๙

คุณพระพุทธเจ้า

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

ถาม : เรื่อง “หัดสวดมนต์

กราบนมัสการหลวงพ่อ ลูกพยายามหัดสวดมนต์ ในหนังสือเล่มนี้มีบทสวดชัยปริตรคาถา ปัตติทานคาถา กรณียเมตตสูตร ขันธสูตร มหาสติปัฏฐานสูตรด้วย ลูกก็สวดทั้งหมดเลยค่ะ (สวดไปๆ ก็มีคำถามในใจว่า ผู้หญิงที่เป็นฆราวาสธรรมดาๆ สมควรสวดมนต์บทแบบนี้หรือไม่เจ้าคะเนื้อหาดีๆ ทั้งนั้นนะคะ แต่บางส่วนดูคล้ายๆ เหมือนของพระนะคะ กราบขอบพระคุณค่ะ

ตอบ : นี่คำถามเนาะ คำถามเวลาถาม กรณีอย่างนี้มันเป็นวัฒนธรรมนะ วัฒนธรรม ดูสิ เมื่อก่อนเราบวชใหม่ๆ เราไปทางภาคอีสาน เราไปภาคอีสานนะ เวลาพระเดินไปทางไหน ชาวบ้านเขาจะก้มลงแล้วกราบ เดินไปทางไหนเขาเจอพระเขาจะหลบหลีกให้

พอไปอยู่ทางภาคอีสาน วัฒนธรรมมันบังคับเลยนะ บังคับว่าพระต้องเป็นพระที่ดี ดูสิ เขาเคารพบูชากันขนาดนี้แล้วเราจะทำตัวไม่ดีได้อย่างไร เวลาเราอยู่ทางภาคกลาง เข้าไปในกรุงเทพฯ ไปดูสิ เวลาพระเดินไปไหน โยมมันจะเดินชนพระกระเด็นไปเลย ไม่มีใครหลบใครหลีกให้หรอก นี่เป็นวัฒนธรรม เพราะว่าด้วยศรัทธาความเชื่อของเขา

แต่พอไปทางภาคอีสาน เวลาเขาจะพูดกับพระเขาพนมมือนะ แล้วพระเดินไปไหนเขาหลีกทางให้ เวลาเขาเจอพระในวัด เขากราบกับพื้นดินเลย เขาก้มลงที่ดินแล้วกราบกับดินเลย ถ้าเราเป็นพระบวชใหม่ๆ มันสะเทือนใจนะ เรามีคุณธรรมอะไร เรามีสมบัติอะไรเขาถึงเคารพบูชาขนาดนั้น แต่ถ้าในปัจจุบันนี้เราเข้าใจได้ว่าเป็นวัฒนธรรมของเขา เป็นวัฒนธรรมของพื้นถิ่น พื้นถิ่นเขามีเคารพบูชาอย่างนั้น เห็นไหม มันออกมาจากหัวใจของเขา

ฉะนั้น เวลาอยู่ในสภาวะแบบนั้นน่ะ เราควร เขาบอกว่า เราจะไม่ดูถูกดูแคลนความเชื่อของคน ความเชื่อไง ความเชื่อ ฉะนั้น นี้เป็นความเชื่อใช่ไหม ฉะนั้น ในภาคอีสานเขาจะบอกว่า ไปตามวัดตามวา บนอาสน์สงฆ์เขาจะเขียนว่าผู้หญิงห้ามขึ้นๆ ที่ไหนก็ได้ผู้หญิงห้ามขึ้น ทีนี้พอคำว่า “ผู้หญิงห้ามขึ้น” นั่นมันก็เป็นวัฒนธรรมใช่ไหม

ถ้าผู้หญิงห้ามขึ้น เราย้อนกลับ เราย้อนกลับมา ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนนะ สอนภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุณี ภิกษุณีก็เป็นพระอรหันต์เหมือนกัน ภิกษุ ภิกษุณีก็เป็นเอตทัคคะเหมือนกัน เป็นภิกษุณีก็เป็นเอตทัคคะ แล้วดูสิ ในสมัยสองพันกว่าปี ในสมัยพุทธกาล เรื่องผู้หญิงผู้ชายมันเป็นความเชื่อนะ เรื่องผู้ชาย ผู้ชายมีศักยภาพมาก เวลาผู้หญิงเป็นสมบัติของผู้ชาย ฉะนั้น นี่ความเชื่อของเขา

แต่พระพุทธศาสนาอนุญาตให้ผู้หญิงบวชมาตั้งสองพันกว่าปีแล้ว ถ้าอนุญาตให้บวชมาสองพันกว่าปีแล้ว แต่ในวินัยของภิกษุณี ภิกษุณีจะจำพรรษาอยู่เฉพาะภิกษุณีเองไม่ได้ ภิกษุณีจำพรรษาอยู่ด้วยตัวเองไม่ได้เพราะภิกษุณีเป็นผู้หญิง พอเป็นผู้หญิงแล้ว ภิกษุณี ในพระไตรปิฎก ภิกษุณีโดนพวกนักเลงหัวไม้ทำร้ายร่างกายเยอะแยะ

ฉะนั้น พอโดนทำร้ายร่างกาย สมัยนั้นเพราะเป็นความเชื่อใช่ไหม สมัยพุทธกาลน่ะ สมัยสองพันกว่าปีแล้ว สมัยปัจจุบันนี้ผู้หญิงในบางประเทศเขายังไม่ได้รับสิทธิเสมอภาคคนอื่นเลย แล้วสมัยนั้นสิทธิเสมอภาคมันจะมีไหม ถ้าสิทธิเสมอภาคมันไม่มีอย่างนั้น ฉะนั้น วินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นการปกป้อง ภิกษุณีจะจำพรรษาได้ต่อเมื่อจะมีภิกษุอยู่ด้วย มันมีอย่างนั้นไง มันเป็นวัฒนธรรมเป็นความเชื่อ นี่เราพูดเรื่องวัฒนธรรมความเชื่อก่อน

ถ้าวัฒนธรรมความเชื่อแล้ว ทีนี้เราจะบอกว่ามีคนคิดน้อยใจบอกว่า ไปตามวัดตามวาแล้วเขาเขียนไว้บนอาสน์สงฆ์ บนศาลาว่าผู้หญิงห้ามขึ้นๆ แล้วก็ไปคิดแบบเด็กสมัยรุ่นใหม่ไง อ้าวอย่างนี้มันก็กดขี่กันน่ะสิ มันไม่เสมอภาค

ความเสมอภาคมันเสมอภาคในหัวใจเราไง ไอ้นี่มันเป็นวัฒนธรรม วัฒนธรรมที่เขาดูแลกันมา เราควรเคารพ เราควรเคารพความเชื่อของเขา วัฒนธรรมของเขา แต่ความเชื่อของเรา ความคิดของเรา เราก็เก็บไว้ในใจของเรา แล้วถ้าเวลาเราจะมาประพฤติปฏิบัติขึ้นมามันเป็นสิทธิ์ของเราไง ถ้าเป็นสิทธิ์ของเรา เราทำสิ่งใดก็ได้

นี่พูดถึงไง พูดถึงเวลาตอบคำถาม คำถามบอกว่า เวลาเขาเป็นผู้หญิง เขาเป็นผู้หญิง แต่เขาสวดมนต์ได้ไหม เขาสวดมนต์ มันมีความคิดขึ้นมา เขาสวดไปๆ แล้วเป็นผู้หญิงด้วย เป็นฆราวาสด้วย เป็นคนธรรมดาด้วย สมควรสวดมนต์แบบนี้หรือไม่

สมควร เพราะว่าการสวดมนต์ การสวดมนต์มันเป็นเจริญพุทธมนต์ พุทธมนต์อันนี้เป็นธรรมะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการไว้ ถ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการไว้ เวลาสวด พระทำวัตรๆ สวดธัมมจักฯ สวดอาทิตตปริยายสูตร อนัตตลักขณสูตร มันก็เป็นคำสอน ธัมมจักฯ พระอัญญาโกณฑัญญะมีดวงตาเห็นธรรม สวดอนัตตลักขณสูตร ปัญจวัคคีย์เป็นพระอรหันต์ สวดอาทิตตปริยายสูตร ชฎิล ๓ พี่น้องเป็นพระอรหันต์ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการจบบทนั้นเป็นพระอรหันต์เป็นพันๆ น่ะ

แล้วเราก็มาสวดกัน ทำไมเราจะสวดไม่ได้ สวดนี่ประเสริฐ สวดนี่เลอเลิศ เพราะอะไร เพราะเป็นคำสอนไง เป็นคำสอน สอนอนัตตลักขณสูตร สอนปัญจวัคคีย์

ขันธ์ ๕ เป็นของเราหรือไม่เป็น

ไม่เป็นพระเจ้าค่ะ

ไม่เป็นแล้วมันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์

เป็นทุกข์พระเจ้าค่ะ

แล้วเป็นทุกข์แล้วเธอยึดไว้ทำไม ทำไมไม่ทิ้งไม่ขว้างมันไป

ก็ทิ้งมาเป็นชั้นๆๆ เข้ามา จนถึงที่สุดแล้วเป็นพระอรหันต์เลย พอเป็นพระอรหันต์ขึ้นมา

สวดมนต์นี้ เป็นผู้หญิงสวดมนต์ได้ไหม

ได้ ทำไมมันจะไม่ได้ ได้ทั้งนั้นน่ะ สวดมนต์น่ะได้ มันเป็นเจริญพุทธมนต์ เป็นพุทธคุณด้วย คุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันประเสริฐทั้งนั้นน่ะ ทีนี้เวลาสวดๆ ขึ้นมา สวดนี่ดีมากๆ เราสวดขึ้นมา สวดแล้วนะ เขาบอกเขาสวดแล้วเนื้อหาสาระดีมาก

มหาสมัยฯ ในมหาสติปัฏฐาน หลวงปู่มั่นสวด หลวงปู่มั่นสวดมนต์ทุกวัน หลวงตาท่านบอกท่านก็สวด ท่านสวดของท่านอยู่องค์เดียว เวลาอยู่กับครูบาอาจารย์นะ มันเป็นแบบว่าความถนัด

เวลาหลวงปู่มั่นท่านมีปัญหา ท่านรวมก็รวมที่ศาลา ศาลาที่วัดหนองผือน่ะ แต่ถ้าเป็นปกติจะไปที่กุฏิของท่าน กุฏิของท่าน เราไปอุปัฏฐากใช่ไหม ไปอุปัฏฐากท่าน ไปฟังเทศน์ มันมีข้อสงสัยก็ขึ้นไปถามท่าน ท่านก็เทศน์ให้ฟัง แต่ถ้าท่านจะเทศน์เป็นทั้งวัดท่านจะเทศน์ที่ศาลา

นี่ก็เหมือนกัน หลวงตาท่านบอกว่า เวลาท่านรวม ท่านรวมที่ศาลา แต่เวลามีปัญหาก็ไปหาที่กุฏิท่าน แล้วเวลาสวดมนต์ท่านให้สวดส่วนตัว คือต่างคนต่างสวด ต่างคนต่างสวดเพราะการภาวนาจริตของคนไม่เหมือนกัน ถ้าจริตของคนไม่เหมือนกัน คนที่นั่งทั้งคืนก็ได้ นั่งเจ็ดชั่วโมงก็ได้ นั่งมากนั่งน้อยแต่ละคนไม่เท่ากัน ถึงให้ทำเต็มที่เลย มันเป็นเหมือนการศึกษาของผู้สูงวัยผู้มีอายุ เห็นไหม

แต่ถ้ามันเป็นจัดระเบียบ จัดต่างๆ มันเป็นการศึกษาของโรงเรียนอนุบาล โรงเรียนอนุบาลถึงเวลาก็ทำวัตรสวดมนต์ ทำวัตรสวดมนต์ นั่งภาวนาที่ศาลา นี่มันโรงเรียนอนุบาล โรงเรียนประถม แต่ถ้าโรงเรียนผู้ใหญ่เขาวัดหน่วยกิต ถ้าพร้อมเขาก็สอบได้ นี่พูดถึงแนวทางในการปฏิบัติมันมีแบบว่าจริตนิสัยครูบาอาจารย์

เราอยู่มาทั้งนั้นน่ะ อยู่สายหลวงปู่ฝั้นท่านสวดมนต์ทุกเย็นแล้วก็นั่งสมาธิ ท่านจะเทศน์ทุกวันเลย หลวงปู่ฝั้นนี่ ท่านเทศน์นะ เทศน์ด้วยคุณธรรมของท่าน โอ๋ยฟังแล้วขนลุกทั้งนั้นน่ะ เพราะคำเทศน์ของท่าน ท่านเทศน์นะ “พุทโธสว่างไสว พุทโธผ่องใส

อู้ฮูมันสะเทือนใจ สะเทือนมาก สะเทือนเพราะอะไร คุณธรรมของท่านน่ะ บารมีของท่านน่ะ เวลาไปฟังคนอื่นพูดมันไม่เห็นกินใจอย่างนั้นเลย เวลาคนอื่นพูดมันฟังแล้วจืดๆ เวลาฟังท่านพูดนะ อู้ฮูขนลุกขนพอง นี่บารมีธรรมของท่าน เวลาท่านเทศน์อย่างนั้นปั๊บ เรานั่งภาวนาไป จิตมันก็แน่น จิตมันก็ดูดดื่ม จิตมันไม่แส่ส่ายอยู่อย่างนั้นน่ะ มันทำง่าย นี่พูดถึงว่าสายหลวงปู่ฝั้น เราเคยอยู่กับสายหลวงปู่ฝั้นมา ท่านทำวัตรเย็น ทำวัตรเช้า แล้วก็นั่งภาวนาต่อ

แต่ถ้าสายหลวงตา อาจารย์สิงห์ทองท่านพูดเอง อาจารย์สิงห์ทองท่านพูดกับพระนะ ครูบาอาจารย์เราท่านไม่พาทำ ท่านให้ต่างคนต่างสวด ต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างทำมันเป็นผู้ใหญ่ ใครทำมากทำน้อยให้มุมานะกันไป นี่พูดถึงเวลาสวดมนต์

ทีนี้บอกว่าการสวดมนต์สุดยอดไหม สุดยอด สุดยอดเลย แต่สวดมนต์แล้วอย่าลืมพุทโธนะ สวดมนต์แล้วต่อเนื่องไปก็คือภาวนา ถ้าบอกว่าสวดมนต์สุดยอด เราก็จะสวดมนต์สุดยอด สวดมนต์นี่จิตลงได้ จิตเป็นสมาธิได้ แต่ว่าพุทโธๆ เป็นคำบริกรรม มันเป็นเหมือนเราเข้าเผชิญกับความจริงเลย เราจะบอกว่า สวดมนต์นี้มันก็เป็นบุญกุศลอันหนึ่ง แต่ขั้นต่อไปเราก็ต้องภาวนาไง

ถ้าบอกว่า อย่างนี้ดีมากๆ เพราะทุกคนน่ะ ทุกคนจะแสวงหาความดี แล้วพออันนี้ดีก็ติดตรงนั้นเลย อย่างอื่นไม่ทำต่อ

การสวดมนต์ การสรรเสริญพุทธคุณ เป็นการสรรเสริญธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สุดยอด แล้วสวดแล้วแปลนะ สวดแล้วมีความเข้าใจนะ โอ้โฮมันซาบซึ้งมาก ท่านซาบซึ้งกินใจเราเลย แต่เวลาจะเอาจริงๆ ขึ้นมา เราต้องบริหารจัดการได้ เราต้องทำจิตของเราให้สงบ

เวลาจิตสงบแล้วเดี๋ยวมันคลายตัวออกมา เราจะทำให้มันสงบต่อเนื่องอย่างไร แล้วทำให้สงบต่อเนื่องไปแล้ว เพราะจิตสงบแล้วออกมาฝึกหัดใช้ปัญญา มันจะเป็นศีล สมาธิ ปัญญา ปัญญาอย่างนั้นมันก็เข้าสู่มรรคไง เข้าสู่มรรค มรรค ๘

ศาสนาไหนไม่มีมรรค ศาสนานั้นไม่มีผล ถ้ามรรคมันไม่ครบไง คือสวดมนต์มันก็เป็นศรัทธาใช่ไหม มันก็เป็นการสรรเสริญพุทธคุณ แล้วปัญญาของเราล่ะ แต่ถ้ามันแปลความหมายมา ปัญญาของเราใคร่ครวญไปด้วยนะ ปัญญาเรามันก็แตกแขนงออกไป เห็นไหม

ปัญญาอยู่ที่เราพิจารณา มันจะแตกแขนงออกไป มันจะกว้างขวางออกไป มันจะรื้อค้นกลับมาในใจของเรา ปัญญาของเราๆ ถ้ามันเกิดขึ้นมันก็ศีล สมาธิ ปัญญา ปัญญาอย่างนี้เกิดจากภาวนามยปัญญา

ฉะนั้น สิ่งที่เขาบอกว่าเขาสวดมนต์ เขาเป็นผู้หญิงสวดได้หรือไม่ เป็นบุคคลธรรมดาด้วยนะ เขาว่านะ เป็นผู้หญิง เป็นฆราวาสธรรมดาๆ คนหนึ่ง จะสวดมนต์อย่างนี้ได้หรือไม่ เพราะเขาเห็นว่าบทสวดมนต์มันสูงส่งมาก

ใช่ สูงส่งมาก เพราะเป็นคำพูดขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเราเอามาสาธยายกัน สาธยายเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยว สาธยายคุณของพระพุทธเจ้า อันนี้ประเสริฐมาก อันนี้ดีมากๆ แต่ต้องภาวนาต่อนะ สวดมนต์ส่วนสวดมนต์ ภาวนาส่วนภาวนา

ก่อนที่จะภาวนาจิตใจมันฟุ้งซ่านมาก สวดมนต์ก่อน สวดมนต์มันก็เหมือนให้น้ำ สวดมนต์ก็เหมือนนักมวยไหว้ครู ให้น้ำเสร็จแล้วก็พุทโธต่อเนื่อง เราสวดมนต์ก่อน สวดมนต์เตรียมความพร้อมของจิตใจของเรา เตรียมความพร้อมร่างกายของเรา แล้วเราก็ภาวนาพุทโธหรืออานาปานสติต่อเนื่องไป

เรายังแบบว่า ทำได้ไหม ได้ ดีไหม ดี แต่ความดีที่มันจะดีกว่านี้ ความดีที่จะเอาหัวใจของเราไว้ มันยังมีการกระทำข้างหน้าต่อไป เราต้องทำสิ่งที่ดีขึ้นๆ ไปเพื่อให้เราดีขึ้นต่อเนื่องไป นี่พูดถึงว่า สวดมนต์แล้วอย่าลืมภาวนาด้วย

ถาม : เรื่อง “ซ้ำ

หลวงพ่อครับ ถึงตอนนี้ผมยังภาวนาแบบเดิมอยู่ครับ พอกำหนดลมหายใจถึงขั้นรู้สึกว่าลมหายใจแทบไม่มี แต่รู้สึกได้ว่ายังมีอยู่ ร่างกายนี้ก็ตั้งไว้เฉยๆ เลยครับ ผมก็เริ่มออกมาพิจารณาอาการความเจ็บปวดบ้างเวลานั่ง บางทีมันก็เอากายมาเทียบเคียง ประมาณว่า ความเจ็บปวดนี้เกิดจากอะไร ร่างกายของเราหรือ กายเป็นอย่างไร ประกอบด้วยอะไร ก็ลึกๆ ลงไปเรื่อยๆ จนรู้สึกว่าร่างกายนี้พิจารณาปล่อยในระดับหยาบๆ

จากนั้นก็กลับมาพิจารณาความเจ็บ ความเจ็บนี้ทำไมถึงเจ็บ ใครเจ็บ ทำไมถึงบอกว่าเจ็บ ตัวเราหรือ มันก็ไม่ใช่ กายก็เพิ่งพิจารณาไป มันก็ไม่ใช่ คราวนี้มันก็ปล่อยของมันอีก ความรู้สึกว่ามันยังอยู่ขั้นหยาบๆ บางทีผมก็คิดว่ามันเป็นสัญญา แต่มันก็ไม่ใช่ เพราะภาวนาจิตมันสงบได้ที่แล้ว เหมือนมันพร้อมที่จะออกทำงานแล้ว หลวงพ่อครับ จากที่ผมเล่ามานี้การพิจารณาของผมถูกหรือเปล่าครับ ขอบพระคุณครับ

ตอบ : นี่พูดถึงว่า ซ้ำ คือถามซ้ำน่ะ คือยังไม่แน่ใจ ถ้าถามซ้ำ เห็นไหม

ในการพิจารณาของเรา การพิจารณาอย่างนั้น ถ้าการพิจารณาแบบว่า การพิจารณาร่างกายของเรา การพิจารณาความเจ็บปวดถูกต้องไหม ถูก แต่มันเป็นอดีตอนาคตหรือเปล่า

ถ้ามันไม่ใช่อดีตอนาคต มันก็ต้องเราทำความสงบใจเข้ามา เวลาใจสงบแล้วเป็นปัจจุบัน เราพิจารณาปัจจุบัน คำว่า “ปัจจุบัน” มันสดๆ ร้อนๆ พอมันสดๆ ร้อนๆ ถ้ามันปล่อยมันก็ปล่อยสดๆ ร้อนๆ แต่คนเรามันเคยปล่อยหนหนึ่ง เวลามันพิจารณาแล้วมันก็จะเอาของเดิมมาอุ่นกิน ถ้าเอาของเดิมมาอุ่นกิน นี่ไง ครูบาอาจารย์เราที่ประพฤติปฏิบัติมาท่านถึงห่วงตรงนี้ไง ห่วงเรื่องสัญญาๆ สัญญาคือความจำ ความจำ เห็นไหม

เวลาอาหาร เวลาเราทานหมดไปแล้ว อาหารที่เหลือเก็บไว้จะเน่าบูดหมดเลย แต่ความจำตั้งแต่ชาติที่แล้วมันยังไม่เน่าไม่บูดเลย ความจำมันจำมาตั้งแต่สมัยไหนมันก็ยังบอกของมันใหม่ๆ “อันนี้ไม่ใช่สัญญา สดๆ ร้อนๆ” ทั้งๆ ที่มันจำมาจนขึ้นราแล้ว มันแบบว่ามันเข้าข้างตัวเองทั้งนั้นน่ะ เวลากิเลส เราเองเราจะแยกตรงนี้ไม่ถูกหรอก

ฉะนั้น สิ่งที่จะถูกนะ วางให้หมด แล้วกลับไปพุทโธ พุทโธๆ จนจิตสงบแล้วค่อยมาพิจารณา ถ้าพิจารณา ถ้ามันสดๆ ร้อนๆ นะ มันสดๆ ร้อนๆ ของมันสดๆ ร้อนๆ มันทำสิ่งใดมันจะได้ผลทั้งนั้นน่ะ เวลาพิจารณาไปถ้าสดๆ ร้อนๆ โอ้โฮมันเวิ้งว้าง มันปล่อยหมดเลย แล้วก็ชอบ แล้วก็จะทำเหมือนเดิมน่ะ

กิเลสมันรู้เท่าแล้ว คราวนี้มันเอาเปลือกกล้วยไปวางไว้ เดินไปเหยียบเปลือกกล้วยลื่นไปเลย มันหลอกน่ะ แต่เราไม่รู้ว่ากิเลสเรามันหลอก สิ่งที่หลอก กิเลสที่มันร้าย มันร้ายอย่างนี้ มันก็เอาของที่เราเคยทำ เอาของที่เราทำแล้วได้ประโยชน์เอามาทำซ้ำ ทำซ้ำขึ้นมา เราก็ไม่ได้

แต่เวลาคนที่ถามปัญหาเรามานะ บอกหลวงพ่อมันติดขัดอย่างไร เราบอกให้ทำซ้ำ ทำซ้ำ หมายความว่า ถ้ามันยังสงสัยอยู่ ทำความสงบของใจเข้ามา พอใจมันสงบแล้วฝึกหัดพิจารณา ถ้าสดๆ ร้อนๆ นะ มันจะเป็นของปัจจุบัน มันมีรสมีชาติ แล้วมันจะปล่อย ปล่อยจริงๆ

แต่ถ้ามันไม่สดๆ ร้อนๆ นะ เราคิดเอาเอง คาดหมายเอาเอง ปฏิบัติธรรมไม่สมควรแก่ธรรม มันก็ครึ่งๆ กลางๆ เก้อๆ เขินๆ จะได้ก็ไม่ใช่ ไอ้ไม่ใช่ก็ว่าจะใช่ ไอ้ใช่หรือมันก็ไม่ใช่ มันก็อย่างนี้ ไอ้ไม่ใช่ก็ว่าใช่ ไอ้ใช่ก็ว่าไม่ใช่ ไอ้ใช่ไม่ใช่ก็เลยมั่วกันอยู่อย่างนี้

วาง เวลาครูบาอาจารย์เราสอนให้วางให้หมดเลย กลับไปพุทโธ พุทโธให้จิตสงบ พอจิตสงบแล้ว พอจิตสงบแล้วมันก็ขี้เกียจแล้ว โอ้โฮกว่าจะสงบเกือบตาย สงบแล้ว “นิพพานแล้วแหละ สุขมาก

เวลาปฏิบัติไปขยับซ้ายก็ติด ขยับขวาก็ติด ไปข้างหน้าก็ลื่นล้ม ไปข้างหลังหรือมันก็จะตกเหว การปฏิบัตินี่ โอ้โฮนี่ไง ที่ว่าปฏิบัติต้องมีสติ ต้องรอบคอบ ต้องอะไร ครูบาอาจารย์ท่านปฏิบัติมาท่านรู้ว่ากิเลสนี้มันร้ายนัก ท่านบอกเหมือนยางเหนียวไง

ยางเหนียวคือมันเป็นยางเหนียวใช่ไหม แล้วเราขยับไม่ได้เลย ซ้ายก็ติด ขวาก็ติด ขยับไป แป๊ะติดแล้ว ค่อยๆ แกะ ตราช้างๆ ติด กิเลสมันคือยางเหนียว ขยับไม่ได้ ติดหมด ติดทุกแง่ทุกมุม ติดทั้งนั้น แต่จะทำอย่างไรให้มันสมดุลพอดีเป็นช่องพอไปได้ นี่ครูบาอาจารย์ท่านสอน สอนอย่างนี้ เราอยู่กับครูบาอาจารย์มานะ เวลาครูบาอาจารย์ท่านสอน ท่านสอนอย่างนี้

ถ้าสอนอย่างนี้ปั๊บ สิ่งที่เราทำ ทำไมจะพูดไม่ได้ การพิจารณากายเราก็พิจารณามาแล้ว คนที่ไม่พิจารณาเลยมันก็จำมาพูด แต่คนที่พิจารณาแล้วมันทำได้ มันเคยทำได้มันก็พูดได้ แต่การพูดนั้นมันพูดสมบัติเดิม พูดตั้งแต่ชาติที่แล้ว ชาติที่แล้วเคยทำได้ ชาตินี้กำลังขวนขวายอยู่นี่ ชาตินี้กำลังต่อสู้อยู่นี่ แต่นั่นมันชาติที่แล้ว ยังเอามาคุยโม้อยู่ได้นะ

ไอ้คำว่า “เอามาพูด” มันไม่เสียหายหรอก เพราะเรามีประสบการณ์มา แต่เวลามาทำปัจจุบันนี้ติดหมด แล้วพอติดหมดไปแล้วนะ พอติดบ่อยๆ ติดบ่อยๆ แล้วมันล้า พอติดบ่อยๆ แล้วมันล้า พอติดบ่อยๆ แล้วมันจะแบบว่าไม่อยากทำอีกแล้ว ทำไปแล้วก็เท่านี้ ทำไปแล้วก็ไม่ได้ ทำไปแล้ว โอ้โฮกิเลสนี้ร้ายนัก

ฉะนั้น สิ่งที่เขาพูดมาเขาบอกว่า เขาถามไง ถามว่า สิ่งที่เขาทำถูกหรือไม่

ถูก ถูกแล้วนะ ต้องให้เป็นปัจจุบัน ถูกแล้ว เห็นไหม พอบอกถูก “ก็หลวงพ่อบอกว่าถูกแล้วก็ต้องถูกสิ

ถูก ถูกที่พูดมาน่ะถูก แต่ปัจจุบันนี้ไม่ถูก ไม่ถูกเพราะอะไร ไม่ถูกเพราะมันงงๆ นี่ไง ไม่ถูกเพราะไม่เข้าใจนี่ไง แต่ถ้าถูกแล้วมันวางหมดนะ มันวางหมด นี่มัชฌิมาปฏิปทา สมดุลพอดีแล้วนะ รอบคอบ สุดท้ายดีหมด

แต่ถ้ามันยังไม่ถูก ไม่ถูกก็ทำซ้ำ ทำซ้ำ หมายความว่า กลับไปทำความสงบก่อน ถ้าทำความสงบแล้วมันปล่อยวางหมดไง แบบว่าล้างไพ่ พอถ้าเรากลับเข้าไปสู่พุทโธๆ ให้จิตสงบ เหมือนล้างไพ่หมดเลย เริ่มต้นกันใหม่ พอเริ่มต้นใหม่เราก็เริ่มต้นใหม่ เริ่มต้นใหม่ก็งานเก่านี่แหละ แต่เริ่มต้นใหม่ ทำใหม่ ขึ้นยกใหม่ ยกนี้ฟาวล์ ทำแล้วกรรมการจับแพ้ฟาวล์เลย ไม่ได้อะไรเลย อ้าวเริ่มต้นใหม่ๆๆ แต่เริ่มต้นใหม่ต้องกลับไปพุทโธให้มีกำลังขึ้นมา

ไอ้นี่มันไม่อย่างนั้น พอเริ่มต้นใหม่มันคิดเลย กายเป็นอย่างนั้น จิตเป็นอย่างนั้น มันคิดแต่ของเดิม มันเป็นความคิด มันไม่มีกำลัง มันไม่เป็นปัจจุบันน่ะ ไอ้ที่คิดมันเป็นอดีตหมดน่ะ เพราะยกที่แล้ว ยกที่แล้วโดนจับแพ้ฟาวล์ไป ก็จับแพ้ฟาวล์ไปแล้ว ไปคิดอะไรล่ะ พอจับแพ้ฟาวล์ไปแล้วก็จะมาเอาคะแนนยกนี้ได้อย่างไร ก็แพ้ฟาวล์ไปแล้ว เขาไม่ให้

นี่ก็เหมือนกัน เริ่มต้นใหม่ก็ต้องกลับมาเริ่มต้นใหม่ ไปคิดอย่างนั้นไม่ได้ ต้องเปลี่ยน นี่เขาเรียกอุบาย หลวงตาท่านพูดนะ ถ้าใครทำซ้ำๆ ซากๆ ท่านบอกว่า “โง่ยิ่งกว่าหมาตาย” เห็นหมาตายไหม หมามันตายแล้ว โง่กว่ามันน่ะ หมามันนอนตายอยู่นั่นมันไม่มีชีวิตนะ แล้วเราโง่กว่ามันนี่แสดงว่าขนาดไหน

นี่เวลาหลวงตาท่านเหน็บเอาให้คนได้คิดไง ท่านบอกว่า ทำภาวนาโง่อย่างกับหมาตาย ถ้าคนมันก็ต้องคิดบ้างสิเว้ย คนมันก็ต้องมีความคิดสิ มันต้องพลิกต้องแพลงสิ อะไรนี่ภาวนาแบบโง่ยิ่งกว่าหมาตาย ฟังแล้วชอบใจ โง่ยิ่งกว่าหมาตาย หมามันตายไปแล้ว เราโง่กว่ามันนี่แสดงว่า เพราะหมาตายมันไม่มีจิตไง ไม่มีชีวิต มันคือซาก ซากหมา แล้วเราโง่กว่ามันนี่แสดงว่า อู้ฮู!

นี่ไง ฉะนั้น เวลาที่จะทำซ้ำๆ ต้องเป็นคนมีชีวิตด้วย ไม่ใช่โง่กว่าหมาตาย มันก็ต้องใช้ปัญญาอย่างนี้ไง แล้วมันจะได้

ไม่อย่างนั้น โอ้โฮท่านพูดน่ะ คงจะแบบเต็มทีของท่าน คงจะถามซ้ำถามซาก ถามแล้วถามอีกมันไม่ไปไหนไง ท่านบอกเลย นักภาวนาโง่ยิ่งกว่าหมาตาย โอ้โฮโง่ยิ่งกว่าหมาตายนี่ โอ้โฮสุดๆ เลย มันจะได้ขึ้นมาเฉลียวฉลาดบ้าง ได้คิดขึ้นมาเพื่อหาทางออกบ้าง ไม่อย่างนั้นโง่อย่างกับหมาตายอยู่นั่นน่ะ จบ

ถาม : เรื่อง “พุทโธผุด

กราบนมัสการหลวงพ่อ ลูกได้มีโอกาสมาปฏิบัติธรรมในพรรษานี้ ได้พบความรู้สึกมากมาย ได้รับความรู้ความสะเทือนใจจากการฟังเทศน์ ได้รับรู้ว่าจิตสงบเป็นอย่างไร ได้รู้สติอยู่กับกายเป็นอย่างไร ได้เห็นโทสะเวลาโกรธมันวิ่งและรุนแรงอย่างไร ทำให้เกิดระงับและปล่อยวางได้มากขึ้นและนานขึ้น

ขณะที่ลูกได้ปฏิบัติ ลูกกำหนดพุทโธพร้อมลมหายใจและขาที่ก้าวเดิน เกิดเหตุมากมายกับลูก ขอกราบเรียนในเรื่องเดินจงกรม

วันนั้นลูกรู้สึกสบายๆ เดินจงกรมรู้สึกวันนี้อากาศดีมาก ลมเย็นๆ พัด อาจมียุงบ้างแต่น้อยกว่าวันอื่นๆ เดินกำหนดพุทโธพร้อมเท้าทีละก้าว สักพักรู้สึกได้ว่าเหมือนผ่านประตูบานหนึ่ง แล้วเสียงปั้นจั่นที่เขาทำงานกัน เสียงจิ้งหรีด แสงเทียนก็หายไป ลูกรู้สึกได้ถึงว่า พื้นจงกรมที่แข็งๆ มันนิ่มเหมือนฟูก ตัวเราเบาสบายๆ เหมือนไม่ได้เดินกระทบกับพื้นเลย ไม่มีตัวตนเราเลย พอจิตถอนออกมา เหมือนโลกนี้เราได้ชาร์จแบตเต็มๆ เบาๆ และชุ่มเย็นในจิตใจอย่างบอกไม่ถูก

ระหว่างปฏิบัติใหม่ๆ ก็ทรมานมากจนคิดว่าจะอยู่ไม่ได้ แต่นึกถึงแม่และสัจจะในตนเองที่ตั้งไว้ตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ ลูกก็เดินท่องแต่คำว่า “เพียรๆๆ” ให้ตัวเองจนอยู่ได้อย่างสงบ ลูกได้ลากลับบ้านในวันออกพรรษา วันจันทร์ที่ ๑๘ ด้วยหัวใจที่พองโต เบาสบาย ชุ่มชื่นอย่างอธิบายไม่ถูก พบใครก็ต้องการให้เขาสุขแบบเรา ไม่ต้องการอะไรอีกแล้ว มีแต่อยากให้ทุกคนมีความสุข กราบเรียนมาดังนี้

อาการที่เกิดจากการเดินจงกรมคือสมาธิหรือเปล่าคะ

ช่วงเวลาภาวนาได้ประมาณสองเดือนกว่า เกิดเหตุการณ์คือภายในจิตของลูกผุดภาวนาเอง จนวันที่ลูกขับรถก็ยังพุทโธๆ เอง ซึ่งลูกไม่สามารถกำหนดให้วางได้ ต้องจอดรถและรวบรวมสติจึงวางได้ ก่อนหน้านี้เคยนอนไม่ได้หนึ่งวัน เพราะพุทโธ เดินตลอดไม่หยุด ลูกไม่แน่ใจว่าเป็นอะไร แล้วควรทำอย่างไร

การนั่งภาวนาไปได้ระยะหนึ่ง เมื่อลูกรู้สึกจิตสงบ สิ่งที่เกิดขึ้นคือเหมือนลมหายใจสะดุดและจิตก็จะหลุด แต่หากลูกนั่งภาวนาต่อไป ลมหายใจก็สะดุดถี่มาก ประมาณครึ่งชั่วโมง ลมหายใจจึงหยุด อยากกราบหลวงพ่อ ตั้งใจกราบเรียนถามหลวงพ่อ แต่พอถึงเวลาพูดไม่ออก จบ

ตอบ : เอาข้อที่ ๑อาการที่เดินจงกรมแล้วที่ว่าผ่านบานประตูเข้าไปแล้วเกิดความสุขความสบายนั่นน่ะ อันนั้นเป็นสมาธิหรือเปล่า

การที่จะเป็นสมาธิ สมาธิคือจิตตั้งมั่น จิตที่มันสงบ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ การเป็นสมาธิ สมาธิคือจิตมันปล่อยวางเป็นอิสระในตัวของมันเอง เห็นไหม จิตที่เป็นอิสระที่เป็นตัวของมันเอง สมาธิคือจิตที่ไม่พาดพิงอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น สมาธิคือจิตที่มันไม่พาดพิงอารมณ์ใด มันเป็นอิสระของมัน ถ้าเป็นอิสระของมันอย่างนี้ นี่สัมมาสมาธิ

ทีนี้เป็นสัมมาสมาธิแล้วมันอยู่ที่จริตนิสัยของคน ถ้าจริตนิสัยของคน ถ้ามันเห็นนิมิต มันไปรับรู้สิ่งต่างๆ อันนั้นมันเป็นกรณีๆ ไป บางคนสงบเฉยๆ สงบที่ไม่มีอะไรเลย สงบที่เป็นสงบเฉยๆ อันนั้นน่ะสมาธิที่สมบูรณ์

แต่ถ้ามันเห็นว่าตัวเองหลุดเข้าไปในบานประตู ในบานประตูหนึ่ง มีความสุขมีความสงบมาก มีสิ่งต่างๆ นี่มันรู้มันเห็นของมัน ถ้ามันรู้มันเห็นอะไรของมัน นี่มันออกรับรู้แล้ว ถ้าออกรับรู้อย่างนั้นมันเป็นสมาธิหรือไม่

สมาธิส่วนสมาธิ อาการที่เห็นนั้นอีกเรื่องหนึ่งนะ อาการที่เห็นเขาเรียกว่าเป็นนิมิตไง แต่ถ้าอาการที่ไม่เห็น ถ้ารู้สึกในตัวของเราเอง ตัวพอง ตัวใหญ่ ตัวโต นี่เกิดอาการปีติ อย่างเช่นที่ว่า เวลาเสียงต่างๆ มันหายไป ตัวนี้มันเบามาก สิ่งต่างๆ มันเหมือนลอยไปลอยมา ถ้าอย่างนี้ มันเป็นปีติไง

วิตก วิจาร พุทโธนี่วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ มันจะเกิดสิ่งใดกับจิตนั้น อันนี้มันเป็นจริตนิสัย จริตนิสัยอันนี้คืออาการ แต่จริงๆ แล้วเราต้องการความสงบไง

ทำความสงบเข้ามา ถ้าจิตมันสงบแล้ว ศีล สมาธิ ปัญญา พอจิตสงบแล้วเราอยากเกิดปัญญา ปัญญาในอะไร ปัญญาการรู้แจ้ง รู้แจ้งในอะไร รู้แจ้งในสติปัฏฐาน ๔ เพราะในสติปัฏฐาน ๔ มันเป็นที่อยู่อาศัยของจิตไง ถ้ารู้แจ้งอันนี้มันเป็นวิปัสสนา วิปัสสนาเพื่ออะไร วิปัสสนาไปเพื่อสอนหัวใจของตนให้ละสักกายทิฏฐิ ละสักกายทิฏฐิ ทิฏฐิความยึดมั่นถือมั่นในกาย ถ้ามันเห็นตามความเป็นจริง อันนี้จะเป็นมรรค

แต่ถ้าข้อที่ ๑สิ่งที่ว่าเดินจงกรมนั้นมันเป็นสมาธิหรือเปล่า

เราเข้าใจว่าเป็น แต่เราเข้าใจว่านะ คำว่า “เข้าใจว่า” เพราะอะไร เพราะเราไม่พูดเต็มๆ ไง เพราะสมาธิ สมาธิต้องเป็นอย่างนั้น ทุกคนก็ต้องทำสมาธิให้หลุดเข้าไปในประตูบานหนึ่ง อย่างนั้นเราก็ไปซื้อบ้านกันมีประตูเยอะๆ เข้าหลายๆ บาน มันจะได้เข้าสมาธิได้ มันไม่เป็นอย่างนั้นไง

อย่างนั้นมันเป็นนิมิตของตนเอง เป็นความเห็นของจิตดวงนั้น เป็นอาการของใจดวงนี้ แต่จริงๆ แล้วจิตมันสงบเข้ามา จิตสงบเข้ามาแล้วถ้ามันรู้มันเห็นอะไรนั่นมันเป็นจริต มันเป็นสิ่งที่เห็น ถ้าบอกอันนี้เป็นสมาธิ เราก็จะไปยึดความเห็นอันนั้นเป็นสมาธิ ถ้าคนไม่เห็นแบบนี้ก็ไม่ใช่สมาธิน่ะสิ

ฉะนั้น สมาธิเป็นสมาธิ สมาธิคือจิตที่ตั้งมั่น แต่การรู้การเห็นมันรู้เห็นแตกต่างกันไปแล้วแต่จริตนิสัยของคน เห็นก็คือเห็น ไม่เป็นไร เราต้องการเอาความสงบ เพราะมันมีความสงบ มันมีสมาธิ มันถึงเห็น

ถ้าไม่มีสมาธิมันก็ทุกข์ ถ้าไม่มีสมาธิก็เสียงปั้นจั่นทำงานไง ถ้าไม่มีสมาธิ มันไปยึดเสียงข้างนอก ถ้าเป็นสมาธิ มันปล่อยเข้ามาไง มันปล่อยรูป รส กลิ่น เสียงเข้ามาเป็นตัวของมันเองไง แล้วพอเป็นตัวของตัวเองปั๊บ มันไปเห็นต่างๆ อันนั้นเป็นอาการ อาการของจิต ข้อ ๑.

ช่วงสองเดือนที่ผ่านมาเวลาขับรถไปแล้วพุทโธมันเกิดเอง พุทโธๆ มันผุดขึ้นน่ะ

ถ้าพุทโธกับจิตมันละเอียดเป็นอันเดียวกันนี่เรื่องหนึ่งนะ ถ้าพุทโธมันผุดขึ้นๆ ถ้ามันผุดขึ้นมา ถ้าผุดขึ้น ถ้ามันเป็นไปได้ ผุดขึ้นถ้ามีสติพร้อมนะ พุทโธๆๆ จนพุทโธไม่ได้ พุทโธนี่เป็นคำบริกรรม เราบริกรรมเพื่อค้นหาจิตของเรา

แต่ถ้ามันผุดขึ้นเอง มันผุดขึ้นเองแล้วมันทำให้เราเสียหาย อันนี้ต้องแก้ไขนะ เราพุทโธๆๆ จนขาดสติ พุทโธจนแบบว่ามันครอบคลุมตัวเรา คือพุทโธจนเราคุมตัวเองไม่ได้ เราพุทโธไปแล้วเราทำอะไรล่ะ

อาการ ๓๒ เราต้องเคลื่อนไหวใช่ไหม เราต้องสื่อสาร เราต้องอะไรถ้าเราออกไป แต่ถ้ามันอยู่ในกุฏิของเรา อยู่ในที่รโหฐานของเรา เราพุทโธๆ เราก็นั่งลงแล้วให้มันสงบ พุทโธแล้วต้องสงบเย็น ไม่ใช่พุทโธแล้วมันพุ่งออก พุทโธแล้วมันจะขับดันออก อย่างนี้ไม่ใช่ พุทโธแล้วขับดันเราออก มันให้เราออกไปวุ่นวายกับภายนอก อย่างนี้ไม่ถูก

พุทโธๆ เพื่อสงบระงับ พุทโธเพื่อพุทธะ พุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน มันตื่นไหม มันเบิกบานไหม ถ้าพุทโธๆ แล้วมันเฉา พุทโธแล้วมันจะพาเราไปชนไปมีอุบัติเหตุ นี้ไม่ใช่ พุทโธต้องเป็นผู้สงบ สว่าง สงบ เห็นไหม พุทโธเป็นผู้เบิกบาน เราต้องการตรงนั้น ถ้าพุทโธจริงๆ เป็นแบบนี้

แต่ถ้าพุทโธๆ เขาบอกว่า กำหนดพุทโธๆ แล้วพุทโธมันผุดๆ ผุดจนเป็นวันๆ นอนไม่ได้เลย

ใครบอกว่าศาสนาเป็นยาเสพติด หลวงตาท่านก็พูด ขอให้มันเสพเถอะ แล้วให้มันติดเถอะ ถ้าศาสนานี่ มันไม่ติดน่ะสิ เวลายาเสพติดไปเสพมัน เวลาศาสนาบอกว่ายาเสพติด แต่เสพแล้วมันไม่ติดไง พุทโธแล้วพุทโธไม่ได้ไง พุทโธก็ไม่ติดสักที

ไอ้ที่มันติดขึ้นมามันส่งออกอย่างนี้ไม่ใช่

มันมีสัมมาและมิจฉา สัมมาคือความถูกต้องดีงาม มิจฉาคือความผิด คือความไม่ถูกต้อง ถ้ามันพุทโธด้วยความไม่ถูกต้อง อย่างนี้เราต้องแก้ไข

แต่พุทโธด้วยความถูกต้องดีงามอย่างนี้ถูกต้อง พุทโธเป็นสัมมาทิฏฐิ ความเห็นดีงามถูกต้อง เราต้องการตรงนี้ พุทโธๆ ที่เป็นมิจฉาคือความหลงใหล คือความผิดพลาด อย่างนี้ไม่เอา ต้องแก้ไขนะ

พอนั่งภาวนาไประยะหนึ่งรู้สึกว่าจิตมันสงบ เกิดสิ่งขึ้นมาคือลมหายใจที่มันสะดุดและจิตมันก็หลุด

ถ้ามันสะดุด เราก็พยายามทำ เวลาภาวนาไปถ้าจิตมันสงบ ทุกอย่างมันดีงามทั้งนั้นน่ะ แต่เวลาภาวนาไปมันจะมีอุปสรรคแต่ละคนไม่เหมือนกัน แล้วอุปสรรคของแต่ละคนคราวนี้เป็นอย่างหนึ่ง คราวหน้าเป็นอีกอย่างหนึ่งนะ

เวลาพุทโธๆ แล้วมันสะดุด มันสะดุดแล้วมันกระเพื่อม สะดุดแล้วมันออก เวลาคนทำสงบ พอมันสงบแล้ว เวลาครั้งต่อไปทำแล้วมันทำได้ยาก กรรมของคนมันไม่เหมือนกัน

ฉะนั้น เวลามันพุทโธๆ แล้วมันสะดุด แล้วจิตมันหลุด หลุดออกมาเลย

เราต้องการให้มันทวนกระแสกลับเข้าไปสู่ใจของเรา ไม่ใช่สะดุดส่งออก ฉะนั้น ไอ้ที่จิตสะดุด จิตพุทโธ กับไอ้พุทโธที่มันผุด มันเป็นโรคเดียวกัน แต่มันแสดงอาการแตกต่างกัน เวลาเราติด เราติดในเรื่องร่างกายของเรา โรคเดียวกัน แต่ติดคนละเรื่องนะ ไอ้นั่นติดกระแสทางแง่มุมนี้ อันนี้ติดในทางแง่มุมนี้ มันติดโรคเดียวกันแต่อาการแสดงออกแตกต่างกัน

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน ไอ้ที่ผุดๆ นั่นก็โรคหนึ่ง ไอ้ที่ว่าจิตสะดุด จิตหลุด ก็อีกโรคหนึ่ง แต่มันออกมาจากจิตเดียวกัน

ค่อยๆ แก้ ค่อยๆ แก้ อาการมันจะแตกต่างไปเรื่อยๆ ถ้าเริ่มต้นนะ เราพยายามพุทโธๆ รักษาจิตไว้ให้มันสงบเข้ามาๆ ค่อยๆ แก้ มันจะค่อยๆ เบาลงๆ จนหายไป แล้วเราก็ภาวนาต่อเนื่องไป

แต่คนเรา กิเลส ครอบครัวของมารมันเจ้าเล่ห์เจ้างอนมาก พอเราแก้ได้โรคหนึ่ง มันจะไปแสดงออกอีกโรคหนึ่ง แก้โรคหนึ่งแสดงออกอีกโรคหนึ่ง มันจะมีแสดงออกของมันไป พื้นเพก็คือเชื้อ เชื้อไขคือกิเลสนั่นน่ะ เวลาคนปฏิบัติมันจะมีอุปสรรคอย่างนี้ นี่อยู่ที่อำนาจวาสนาของคนนะ ค่อยๆ แก้ไป ค่อยๆ แก้ไขเนาะ

เขาถามว่า สิ่งที่ทำมาถูกต้องไหม ตั้งแต่ข้อที่ ๑สิ่งที่ทำมา เดินจงกรมเป็นสมาธิหรือไม่

ถ้าจิตใจไม่ละเอียด ไม่สงบเข้ามา จะรู้เห็นอาการอย่างนั้นไม่ได้ แต่การรู้เห็นอาการอย่างนั้นเป็นอาการ แต่เพราะจิตสงบมันถึงมีอาการอย่างนั้นเกิดขึ้น

ถ้าเกิดว่าพุทโธมันผุด ผุดจนเป็นวันๆ ผุดจนนอนไม่ได้ ผุดจนขับรถต้องจอดรถ

เออต้องจอดๆ แล้วออกมาเป็นปกติแล้วค่อยขับมันไปใหม่ ออกมาเป็นปกติ รับรู้โดยเส้นประสาทเรียบร้อยแล้วเราก็ทำของเราเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุใดๆ ทั้งสิ้น

เวลาจิตมันพุทโธๆ หายใจมันสะดุด จิตมันหลุดอะไรอย่างนี้

เราค่อยๆ ค่อยๆ ทำของเราใหม่ แค่เราได้ทำ เราได้ประพฤติปฏิบัติบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันนี้เราก็เป็นชาวพุทธ นี่สุดยอดแล้ว

เราต้องฝึกหัด ต้องพยายามประพฤติปฏิบัติเพื่อฝึกหัดใจของเราให้เราเกิดมาเป็นมนุษย์เกิดมาพบพระพุทธศาสนาแล้วเราได้ประพฤติปฏิบัติธรรม รสของธรรม สัจธรรม ให้จิตใจเราได้สัมผัสเพื่อเราเป็นชาวพุทธ ชาวพุทธที่มีสติมีปัญญา เป็นชาวพุทธในความต้องการขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกพระอานนท์เอง เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปรินิพพาน “อานนท์ เธอบอกบริษัท ๔ นะ ให้ปฏิบัติบูชาเราเถิด อย่าบูชาเราด้วยอามิส อย่าบูชาเราด้วยสิ่งอื่นเลย

เพราะอามิสสิ่งอื่นใครๆ ก็ทำได้ แต่การปฏิบัติบูชาต้องเข้าไปเผชิญหน้ากับกิเลสของเราเอง เข้าไปเผชิญหน้ากับครอบครัวของมารที่มันอยู่ในใจของเราเอง ทุกคนไม่อยากไปเผชิญหน้ากับมัน ทุกคนยอมจำนนกับมัน อยู่กับมันให้มันข่มขี่หัวใจ แล้วก็ไปทำเรื่องอย่างอื่นกันไง

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกไว้เลย “อานนท์ เธอบอกเขานะ ให้ปฏิบัติบูชาเราเถิด อย่าบูชาเราด้วยสิ่งอื่นเลย

ปฏิบัติบูชาก็เข้าไปเผชิญหน้ากับไอ้ครอบครัวของมารในใจของเรานั่นแหละ แล้วถ้าเข้าไปเห็นแล้วมันจะเป็นการปฏิบัติบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ต่อไป

ถาม : โยมปฏิบัติที่บ้านลุ่มๆ ดอนๆ ช่วงหลังเดือนกว่าที่ผ่านมาหยุดอ่านติดตามข่าวสาร ขึ้นรถฟังธรรมะตลอด ระหว่างขับรถไปทำงานมีจังหวะที่สามารถบริกรรมได้ก็ทำระหว่างใช้ชีวิตประจำวัน สองสัปดาห์ที่ผ่านมาเกิดเห็นเหตุการณ์ที่ทำไว้ในอดีตโผล่มาเทียบเคียงกันเป็นภาพซ้อนเข้ามาเร็วมาก ทำให้โยมเห็นว่า การกระทำโดยไม่มีสติ ไม่ยั้งคิด ก่อให้เกิดโทษคือบาป ตอนนี้กลัวบาปจนขนหัวตั้ง ชั่วแว็บที่เห็นและรู้สึกกลัว รู้ว่าตัวเองเห็นอารมณ์ชัดและเร็วขึ้น หยุดได้บ้าง กระทำไม่ได้บ้าง เห็นหน้าคนไม่ถูกกัน คำด่าโผล่ขึ้นมา แต่หยุดไว้ได้เหมือนเหยียบเบรก แล้วคุยกับเขาเป็นปกติ เสียดายอาวรณ์ของความคิดเห็นที่เตลิด โยมก็พลิกมาคิดอีกด้าน ความคิดก็หยุดลง สังเกตหยุดความคิดได้เร็วขึ้น แต่ความคิดต่อเนื่องมันต่อเนื่องสร้างเรื่องได้ไม่น้อย

ขอเรียนถามว่า ระหว่างใช้ชีวิตประจำวัน โยมเห็นอารมณ์ความรู้สึกแต่ละสถานที่และสถานการณ์ไม่เอื้ออำนวยให้ไล่พิจารณา ในตอนนี้โยมรับรู้และหยุดการสร้างภาพต่อ เพียงพอหรือไม่ หรือต้องทำอย่างไร แล้วกลับมาทำต่อที่บ้าน มันพิจารณาต่อไม่ได้ เหมือนมันขาดตอนไป โปรดแนะนำด้วยค่ะ

ตอบ : ไอ้นี่เวลาถ้ามันมีสติมันมีปัญญานะ เหมือนคนน่ะ ถ้าปล่อยธรรมดามันก็ไม่รู้ไม่เห็นอะไร แต่เวลามันตั้งใจแล้วมันจะมีอุปสรรคมหาศาล

นี่ก็เหมือนกัน เวลาที่ว่าโดยปกติมันก็อยู่โดยชีวิตประจำวัน แต่พอจะมาประพฤติปฏิบัติ พอมาประพฤติปฏิบัติมันจะไปรู้ไปเห็นสิ่งต่างๆ

การรู้การเห็นสิ่งต่างๆ วางทั้งนั้นๆ เราวางทั้งนั้นนะ เพราะการรู้การเห็นน่ะเหมือนสิ่งที่ว่ายังไม่ถึงเวลาที่เราจะมีโอกาสกระทำมัน เรายังทำอะไรไม่ได้หรอก แต่ถ้าเรามีสมาธิ เรามีกำลังแล้วเราจะทำมันน่ะ ตอนนั้นเราจะทำมัน

แต่เวลาเป็นสมาธิ เวลามันมีกำลัง จะหางานทำก็หาไม่ได้ เวลามันยังไม่มีสิ่งใดน่ะมันควรจะเอาความสงบของใจขึ้นมาเพื่อจะทำงานไง มันก็บอกว่าทำความสงบของใจไม่ได้ ไปรู้ไปเห็น มันชักนำไปหมด

ต้องตั้งสติ ต้องตั้งใจ ตั้งใจได้ เพราะเราทำสิ่งใดเราดูแลได้ไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนเรื่องสรรพสิ่งในโลกนี้เป็นอนิจจังใช่ไหม สรรพสิ่งในโลกนี้เป็นอนิจจัง สรรพสิ่งในโลกนี้เป็นอนิจจัง ไม่มีอะไรคงที่ ฉะนั้น ไม่มีสิ่งใดคงที่แล้ว เวลาสิ่งที่เกิดขึ้นมันก็เป็นอนิจจังทั้งนั้น สิ่งที่มันเกิดขึ้นๆ มันเกิดขึ้นมาจากสิ่งที่ไม่มี เวลามันไม่มี เราก็ไม่ทุกข์ไม่ยากขึ้นมา

เวลาเราจะประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ไปเอาสิ่งที่ไม่มีให้มันมีซะ แล้วเวลาเราจะปฏิบัติขึ้นมาก็ปฏิบัติไม่ได้ไง สิ่งที่มันมีขึ้นมา มันมีจากสิ่งที่มันไม่มี สิ่งที่ภาพที่เห็นมันมาจากไหนล่ะ มันมาจากสิ่งที่ไม่มี เพราะก่อนหน้านั้นมันไม่มี เวลามันมีขึ้นมา เราก็ไปติดสิ่งที่มันไม่มีว่ามันมี

ฉะนั้น สิ่งที่มันมีขึ้นมา ทำให้มันไม่มีก็ได้ คือว่าสิ่งที่มันเกิดขึ้น ภาพที่มันรู้มันเห็นขึ้นมา เราระงับได้ ไม่เอาๆๆ เพราะไม่ใช่เวลา

เวลาของเรา ดูสิ อยู่ในรถเราฟังธรรม เราขับรถ เรากำหนดพุทโธของเรา แล้วสิ่งที่มันไหลเข้ามาๆ จะทำอะไรก็ทำไม่ได้สักอย่าง

มันต้องเอาจริงเอาจังไง แต่สมถกรรมฐาน เราทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าใจสงบแล้วเราค่อยไปพิจารณามัน

แต่ถ้าตอนนี้จะพิจารณาอะไรก็ไม่ได้ จะทำอะไรมันก็ผุดขึ้นมาเรื่อยๆ แล้วจะจับก็จับไม่ได้ ไอ้ไม่จับหรือมันก็จะเสนอให้จับ ทำอะไรก็ทำไม่ได้สักอย่าง

ทีนี้ถ้าทำไม่ได้นะ วางหมด คำว่า “วางหมด” คือเราปฏิเสธได้ สิ่งที่มันเห็นๆ นี่นะ เหมือนสวิตช์น่ะ ถ้าเราดับสวิตช์ ภาพก็ต้องจบไป แต่นี่เราไม่ดับสวิตช์ไง เราไม่ดับสวิตช์ขึ้นมาแล้วเราจะทำอย่างไร ละล้าละลังๆ

ดับมันไปเลย ดับสวิตช์ไป สิ่งใดที่มันมากีดมาขวางมันทำแล้วไม่ได้เป็นประโยชน์ ไม่ต้องไปศึกษามันหรอก ศึกษาของที่ไร้สาระ ศึกษาของที่ไม่เป็นประโยชน์ ศึกษาทำไม

เราทำความสงบของใจเข้ามาให้มีกำลังก่อน ถ้ามีกำลังก่อนขึ้นมาแล้ว พอจะมาศึกษา ค่อยไปศึกษามัน เอาเป็นชิ้นเป็นอันน่ะ เอาเป็นชิ้นเป็นอัน เวลาไม่ศึกษา เราวางเลย ดับได้ ดับได้คือกำหนดพุทโธชัดๆ ดับได้โดยที่ไม่ต้องการรับรู้ภาพนั้น ไม่ต้องการรู้เห็นนั้น ไอ้ที่ว่าไม่เห็นๆ น่ะ

ไอ้นี่ไม่อย่างนั้นน่ะสิ เอ๊ะมันอะไร อยากรู้อยากเห็นน่ะ

อยากรู้อยากเห็นมันก็มา คือเราจะบอกว่า ขึ้นต้นก็ทำให้ล้มเหลว อนาคตก็จะล้มเหลว แล้วจะล้มเหลวอยู่อย่างนี้น่ะหรือ เราไม่เอาน่ะ เฮ้ยมันขึ้นต้นจะเอาความสงบเว้ย ขึ้นต้นจะเอาสมาธิ ขึ้นต้นจะเอาสมถกรรมฐาน ฐานที่ตั้งแห่งการงาน เอาตรงนี้ให้ได้ก่อน

แล้วพอตรงนี้ได้มันก็แหย่มาอย่างนี้ มันก็แหย่มา เห็นนู่นเห็นนี่ ควรจะพิจารณาได้แล้ว พอไปพิจารณาแม่งก็ล้มลุกคลุกคลานนั่นน่ะ

เอาเลย จบ ไม่เอา เอาความตั้งมั่นก่อน พอตั้งมั่นเสร็จแล้วนะ พอตั้งมั่นเสร็จ เข้มแข็งแล้ว มาๆ จะไปฟาดฟันกัน หาไม่เจออีกแล้ว

งานมันเป็นงาน งานเป็นงาน อริยสัจมีหนึ่งเดียว ศีล สมาธิ ปัญญา โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ อริยสัจมีหนึ่งเดียว จะทำแนวทางไหน จะทำอย่างใดก็แล้วแต่ มันต้องเข้าสู่อริยสัจทั้งนั้นน่ะ ถ้าพูดอริยสัจผิด จบ

จิตนี้กลั่นออกมาจากอริยสัจ จิตนี้จะเป็นอริยบุคคลตั้งแต่เป็นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี พระอรหันต์ ต้องกลั่นออกมาจากอริยสัจ ไม่ใช่ตระครุบเงาไปด้วย ทำอย่างไรก็ได้แล้วมันจะเป็นอริยสัจ ไม่มี

ทุกอย่างมันต้องเข้ามาสู่อริยสัจ เข้ามาสู่มรรคสู่ผลนี้ แล้วถ้าเข้าสู่มรรคสู่ผลนี้ ถ้าเราจะทำ เหมือนการศึกษาน่ะ ตั้งแต่อนุบาล ประถม มัธยม แล้วอุดมศึกษาเลย นี่ก็เหมือนกัน ตั้งแต่ทำความสงบของใจเข้ามา ตั้งสติระงับมัน ทำให้มันเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา พอเป็นจริงเป็นจังขึ้นมามันเป็นสเต็ปขึ้นไปเลย แล้วครูบาอาจารย์รู้หมด

ไอ้นี่ไม่อย่างนั้นน่ะ พอเด็กมาจะให้เรียนดอกเตอร์ พอเป็นผู้ใหญ่แม่งจะให้เรียนอนุบาล มันงงไปหมดเลย เด็กพอเข้าโรงพยาบาลมา มันต้องดอกเตอร์ ปริญญาเอกแล้ว เวลามันควรจะได้ปริญญาเอก ก.ไก่ ยังอ่านไม่ออก ยุ่งไปหมดเลย

วางให้หมด แล้วมาลำดับการปฏิบัติกันใหม่ แล้วทำตนให้ถูกต้องดีงาม ไม่อย่างนั้นมันก็สับกันไปสับกันมา สัพเพเหระแล้วมันจะไม่ได้ความจริง นี่พูดถึงสัจจะ เวลาพูดถึงการรู้การเห็นมันเป็นการรู้การเห็น แต่มันเป็นขั้นเป็นตอนหรือยัง มันเป็นควรที่จะเป็นจังหวะ เห็นไหม

ดูสิ บุคคล ๔ คู่ ถ้าเป็นปุถุชนก็ทำอะไรไม่ได้ ถ้าทำจิตสงบระงับเข้ามาเป็นกัลยาณชน กัลยาณชนนั่นแหละ กัลยาณชนทำความสงบของใจได้มั่นคงถึงจะยกขึ้นสู่โสดาปัตติมรรค มันจะก้าวเดินของมันเป็นอย่างนี้

ถ้ายังสับปลับอยู่ ยังอะไรอยู่ แล้วก็บอกว่าเป็นปุถุชนคนหนาหยิบจับไปทั่ว อะไรมา อารมณ์อะไรมาก็ไปคว้ามาหมด แล้วบอกจะเข้าสู่อริยสัจ จะเข้าตรงไหน

จากปุถุชนเป็นกัลยาณชน รูป รส กลิ่น เสียงเป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร พอมันวางได้หมดมันก็เป็นกัลยาณชน ถ้าเห็นสติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริงมันเข้าสู่โสดาปัตติมรรค ถ้าเข้าสู่โสดาปัตติมรรคมันเข้าไปโดยที่สติสัมปชัญญะสมบูรณ์ เข้าไปโดยคนที่ทำงานชัดเจน นี่มันถึงเข้าไปเป็นสัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกต้องดีงาม ชัดเจนแจ่มแจ้ง มันทำงานเป็นชิ้นเป็นอัน นี่ถึงเป็นอริยสัจ เอวัง