ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

เป็นประเพณี

๓๑ ธ.ค. ๒๕๕๙

เป็นประเพณี

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๙

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ถาม เรื่อง กราบขอบพระคุณหลวงพ่อที่ตอบปัญหาธรรม

เรื่องชำนาญในวสี

เรื่องอาการจิตเสื่อม

เรื่องรายงานผลการฝึกตลอดปีที่วัดและที่บ้าน ลูกขอกราบขอบพระคุณหลวงพ่ออย่างสูงครับที่ตอบให้ลูกคลายสงสัย วันนี้คำถามไม่มีครับ กราบขอบพระคุณหลวงพ่ออย่างสูง

หลวงพ่อ : อันนี้วางบิลไง เวลาตอบไปแล้ว เขาเข้าใจแล้ว เขาก็ขอบคุณกลับมา ที่เขาถามๆ มา

เรื่องชำนาญในวสี

ตอบ : เพราะว่าชำนาญในวสี ชำนาญในวสี คนที่ประพฤติปฏิบัติแล้วมันก็แปลกใจไง ชำนาญในวสี มันเป็นภาษาบาลี ชำนาญในวสี คือ การเข้าและการออก

นี้ชำนาญในวสีจริง คำว่า ชำนาญในวสี” เราอยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะ หลวงปู่เจี๊ยะท่านชอบใช้คำนี้มาก มันอยู่ที่คนถนัดไง คนที่ถนัดสิ่งใด คนที่มีความชำนาญสิ่งใด คำว่า ถนัด” หมายความว่าเวลาท่านประพฤติปฏิบัติไปแล้ว ท่านมีอุปสรรคอย่างใด แล้วท่านแก้ไขอย่างใด เพราะหลวงปู่เจี๊ยะท่านกำหนดพุทโธ พุทโธเร็วๆ พุทโธถี่ๆ ท่านบอกเลย พุทโธช้าๆ ไม่ได้กินหรอก

ท่านพูดแรงกว่านี้นะ แต่เราพูดกลัวมันจะเสียมารยาท ท่านบอกไม่ได้กินหรอก ไอ้พวกนั้นไม่ได้กินหรอก เวลาท่านปฏิบัติขึ้นมาแล้ว โอ๋ยพวกมึงปฏิบัตินะ กูนั่งฉี่ยังดีกว่าอีก” คนเป็นพูด มันถูกหมดล่ะ ไอ้เราทั้งวันทั้งคืนเลย อู้ฮูสู้กันแทบเป็นแทบตายเลย ท่านบอก ท่านนั่งปัสสาวะทีเดียว ดีกว่าเราปฏิบัติอีก” ก็จริง เพราะจิตท่านสมบูรณ์แล้ว จิตท่านดีแล้ว ท่านไม่ต้องทำ ท่านยังดีกว่าเราอยู่แล้ว คือไม่ได้ทำก็ดีอยู่แล้ว แล้วถ้าทำดีกว่าเราอีกหลายเท่าเลย

เวลาท่านติงลูกศิษย์ประจำ แล้วคำว่า ชำนาญในวสี” เพราะท่านเป็นเจโตวิมุตติ เจโตวิมุตติมันก็มีหลวงปู่เจี๊ยะ หลวงปู่ชอบ หลวงปู่คำดี ครูบาอาจารย์ที่พิจารณากายส่วนใหญ่จะเป็นเจโตวิมุตติ เจโตวิมุตติคือว่าต้องอาศัยกำลังของสมาธิ ถ้าอาศัยกำลังของสมาธิ คือ จิตมีกำลัง จิตมีกำลังเหมือนเราแข็งแรง เราแข็งแรงก็ทำงานได้ เราเจ็บไข้ได้ป่วย เราอ่อนแอก็ทำงานไม่ได้ เวลาคนที่จะทำอย่างนั้นต้องแข็งแรง พอคนแข็งแรง เห็นไหม แข็งแรงก็ต้องเพราะจิตมันจะแข็งแรงจริงก็ต้องทำสมาธิให้มั่นคง ถ้าสมาธิมั่นคงมันก็แข็งแรง

นี้คำว่า แข็งแรง” เวลาทำถ้าเจโตวิมุตติมันใช้สมาธิเป็นพื้นฐาน ก็เราอยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะนี่แหละ นั่งต่อหน้า นั่งทำวัตรเสร็จก็นั่งต่อหน้ากัน แล้วท่านก็บอกว่า ทำไมเรานั่งตัวเอียงๆ ล่ะ” “ก็หลวงปู่ให้สมาธิก็สมาธิกัน” แล้วเวลาพิจารณานะ เราก็กำหนดแบบท่าน คือว่า อยู่กับท่าน ต้องทำตามท่าน ถ้าทำตามอื่นท่านไม่ค่อยยอม นี้พอพิจารณากายไปแล้ว อู้ฮูมันใสหมด คำนี้เราก็ได้มาจากหลวงปู่เจี๊ยะ เป็นโครงกระดูกนี่ใสหมดเลย เราบอก โครงกระดูกใสหมดเลย

ท่านพูดเลยนะ คนชำนาญคำเดียวเลย สมาธิมึงดีไป” ถ้าสมาธิมันแรงเกินไป สมาธิเข้มเกินไปนะ มันจะแบบว่าเข้มข้น พอเข้มข้นภาพมันจะเป็นใส เป็นแก้วเลย มันไม่เป็นไตรลักษณ์ ถ้าเป็นไตรลักษณ์มันต้องแปรสภาพ มันต้องคลายตัวออก ถ้าคลายตัวออก สมาธิมันต้องกำลังพอดี สมาธิเสื่อม สมาธิไม่มีแรง ภาพนั้นก็อยู่ไม่ได้ ภาพนั้นก็เคลื่อนไหว ภาพนั้นก็ไม่ชัดเจน สมาธิเข้มงวดเกินไป ภาพนั้นก็เข้มข้นเกินไป เข้มข้นเกินไปแล้วทำอย่างไรให้มันพอดี

หลวงปู่เจี๊ยะท่านชำนาญ เวลาเราทำอะไรแล้วท่านสวนกัน นั่งคุยกัน นั่งภาวนาต่อหน้า ท่านสวนเลย ท่านสวนเลย มันก็ผลัวะเลย เออใช่ พอใช่ปั๊บเราก็เทียบได้ใช่ไหม อ๋อถ้าอ่อนไปเป็นแบบนี้ ที่เราทำกันเวลาภาวนาแล้วพิจารณากายแล้วมันไหลไปหมด กายมันเห็นแวบๆ แวบๆ เห็นบ้าง ไม่เห็นบ้าง นั่นแหละสมาธิไม่เข้มแข็ง ไม่มีกำลังพอ

ถ้าสมาธิกำลังพอดี คำว่า พอดี พอดี” เหมือนเรา เงินพอใช้ชนเดือนๆ แหมมันชนเดือนเฉียดๆ ทุกทีเลย เออถ้ามันใช้แล้วมันมีเหลืออยู่บ้าง เอออย่างนี้ค่อยยังชั่วหน่อย แล้วใช้ชนเดือนๆ ก็สมาธิกำลังดี กำลังดี มันไม่มีความชำนาญ แต่พอทำให้ดีมากขึ้น สมาธิเราดีขึ้น ดีขึ้นมันทำอะไรปั๊บ เหมือนกับพลังงานมันเหลือใช้ใช่ไหม ไฟฟ้าฝ่ายผลิตเขาต้องมีพลังสำรองไว้เท่าไร เพื่อความมั่นคงของการใช้ไฟในประเทศ นี่ก็เหมือนกัน สมาธิของเรามีกำลังมากเท่าไร เพื่อการกระทำ แต่ถ้ามันมากเกินไป ผลิตไฟฟ้าได้ทั่วประเทศเลย ไม่มีใครใช้เลย โอ้โฮไฟฟ้าฝ่ายผลิตก็เจ๊งน่ะสิ

นี่ก็เหมือนกัน สมาธิมึงเข้มข้นเกินไป” มันก็แข็งอยู่อย่างนั้นน่ะ แล้วท่านสวนกลับเลย สมาธิมึงดีเกินไป” อู้โฮเราสะอึกเลยนะ ถ้าเราแก้ไม่เป็น แก้ไม่ได้หรอก ถ้าแก้ไม่เป็น เราก็จะไปแก้ที่ผิดๆ แก้ที่ผิดๆ มันก็ยิ่งซ้ำความผิดให้ลึกเข้าไปอีกนะ แทนที่ว่าจะไปแก้ให้มันถูกต้อง มันกลับไปซ้ำรอยให้มันผิดพลาดลึกลงไปเลย แต่ถ้าพอทำอย่างนั้นปั๊บ อ๋อเราเข้าใจแล้ว อ๋อถ้าสมาธิมันเข้มเกินไป สมาธิแรงเกินไป ใสอยู่อย่างนั้นน่ะ มันไม่เป็นไตรลักษณ์ไง

อุคคหนิมิต จิตสงบแล้วมันเป็นอุคคหนิมิต แล้วเราพิจารณา เราแยกแยะ วิภาคะคือแยกส่วน ขยายส่วน คือทำให้มันแปรสภาพ การแปรสภาพนั่นน่ะคือไตรลักษณ์ ไอ้แปรสภาพ นั่นน่ะ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ไอ้ที่ว่าอนัตตา อนัตตา มึงเคยเห็นอนัตตากันหรือเปล่าวะ อยากจะพูดอย่างนี้ว่ะ ไอ้ที่เป็นอัตตา เป็นอนัตตา พวกมึงเคยเห็นกันไหม ไอ้นั่นมันเป็นชื่อ เอาชื่อในตำรามาแล้วก็มาเถียงกัน เป็นอย่างนั้นๆ ตามตำราพูดถึงตัวอักษร มึงเคยเห็นจริงๆ กันบ้างหรือเปล่า แล้วถ้าเห็นจริงๆ มันเป็นอย่างไร อะไรเป็นอัตตา อะไรเป็นอนัตตา แล้วอะไรที่มันเป็นจริงหรือไม่เป็นจริง นี่คือชำนาญในวสีไง

เวลาเขาถามเรื่องชำนาญในวสี เพราะหลวงปู่เจี๊ยะ ในเทศน์หลวงปู่เจี๊ยะไปฟังสิ จะมีตรงนี้เยอะ แล้วเรากับท่านเคย ไม่ใช่โต้แย้งนะ คุยกัน เวลานั่งภาวนา เพราะสมัยที่เราอยู่กับท่าน มันทำวัตรตอนเย็น ทำวัตรตอนเย็นแล้วก็นั่งสมาธิทุกเย็น นั่งกันตรงนี้ นั่งเหมือนโยมกับเรานี่แหละ นั่งตรงข้ามกัน แล้วท่านก็คุม ใส่กัน อู้ฮู!

เพราะธรรมดาท่านก็อยากจะได้ ธรรมดานะ ครูบา-อาจารย์อยากจะสร้างศาสนทายาท พ่อแม่อยากให้ลูกเป็นคนดีทั้งนั้น พ่อแม่คนไหนไม่ต้องการให้ลูกเป็นคนเลวหรอก พ่อแม่ที่ไหนก็อยากให้ลูกเป็นคนดีทั้งนั้น แต่เพียงมันจะฝึกลูกขึ้นมาได้หรือไม่ได้ นั่นอีกเรื่องหนึ่งนะ แต่แรงปรารถนาอยากทำให้ลูกเราเป็นคนดีเต็มหัวใจเลยล่ะ แต่ทำแล้วลูกมันจะได้ดีเหมือนที่เราปรารถนาหรือไม่ นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง นี้พูดถึงว่าเราอยู่กับท่าน แล้วเราทำมา

ฉะนั้น คำว่า ถามเรื่องชำนาญในวสี” คำว่า ชำนาญในวสี” อย่างที่เรายก เราพูด กับที่หลวงปู่เจี๊ยะสอน แล้วเราก็ย้อนกลับมาพวกโยมทำ นี้พอโยมทำ ทำไมเป็นอย่างนั้น ทำไมเป็นอย่างนี้ แล้วบางทีคำนี้มันก็หลุดออกไป เขาก็เลยถามกลับมา เราก็อธิบายไป นี่เขาบอก เขาเข้าใจแล้ว

และเรื่องอาการจิตเสื่อม

อาการจิตเสื่อมเราก็ได้มาจากหลวงตา หลวงตาท่านบอกว่าจิตท่านเสื่อมไป ๕ ปี บวชตั้งแต่ทีแรก บวชทีแรก เห็นไหม ศึกษามาไปภาวนาอยู่วัดโยธาพิทักษ์ แล้วมาเรียน ท่านบอก ๗ ปี พุทโธๆๆ เป็นสมาธิ จิตรวมได้ ๓ หน แล้วเวลาออกปฏิบัตินะ ๙ พรรษาออกปฏิบัติครั้งแรก เวลาฝึกกับที่อุปัชฌาย์ท่านกำหนดพุทโธ เพราะกรรมฐานกำหนดพุทโธ พอพุทโธ พุทโธคือพุทธานุสติ

คำว่า พุทธานุสติ” จิตของเรา จิตของเราเป็นนามธรรม ผู้ที่ปฏิบัติใหม่ๆ อะไรเป็นกาย อะไรเป็นใจ แล้วใจมันเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ แล้วใจมันอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ แล้วจะหาใจอย่างไรก็ไม่รู้ ไม่รู้ ไม่รู้ ไม่รู้ ก็พยายาม เห็นไหม พยายามทำให้มันชัดเจนขึ้นมา คือว่าหายใจ หายใจมันอุ่นๆ ที่ปลายจมูก ฟืด เอ้ออย่างนี้แล้วก็ท่องพุท เวลามันหายใจออกก็ท่องโธ มันท่องไปเรื่อย พุทโธๆ เป็นอุบาย พุทธานุสติ คือว่า เราระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมา-สัมพุทธเจ้า พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ ถ้ากำหนดลมหายใจก็เป็นอานาปานสติ

อานาปานสติ ไอ้จิตของเราที่ว่าเราๆ เหมือนกับเรา เป็นเราไปหมดเลย แล้วเราก็ไม่เห็นตัวเรา เราไม่เห็นตัวเรา เวลาความคิดมันคิดไม่ดี แล้วพอมาคิดได้ก็เสียใจ มันก็แค่นั้น แต่มันก็ยังไม่รู้ว่ามันเป็นอย่างไร แต่ถ้าเราเริ่มฝึกหัดใช่ไหม ฝึกหัด เราก็ต้องเอาจิตที่มันเป็นบาทฐาน จิตนี้เป็นพื้นฐาน ความคิด สัญชาตญาณทุกอย่างมันเกิดบนจิต เกิดบนจิตทั้งนั้น แต่มันเป็นนามธรรมที่จะจับต้องกันไม่ได้ แล้วเราก็สงสัยกันเยอะมาก ฉะนั้น เวลาถ้าจะค้นหาความจริงของเรา เราก็มีคำบริกรรมค้นหาจิตของเราไง

เวลาท่านเข้ามาศึกษา ศึกษาบาลีได้ ๓ ประโยค หลวงตาท่านบอก จะออกปฏิบัติ เวลาออกปฏิบัติมันมีปัญญาแล้วไง มีปัญญาแล้วท่านก็ใช้ดู ใช้พิจารณา ท่านบอกว่า ก็ใช้ดูจิตนี่แหละ มันก็ดีได้ มันดีได้เพราะอำนาจวาสนา แต่พอไปทำกลด เวลากลับไปจะออกธุดงค์ เวลาทำกลดที่บ้านของท่านเอง จิตเสื่อมหมดเลย” นี่จิตเสื่อม อาการจิตเสื่อม ท่านเริ่มตั้งแต่ตรงนั้น มันเป็นอำนาจวาสนาของครูบาอาจารย์แต่ละองค์นะ ประสบการณ์ของจิต จริตนิสัยของคนไม่เหมือนกัน หลวงปู่เจี๊ยะท่านก็ไปอย่างหนึ่ง หลวงปู่ชอบก็ไปอย่างหนึ่ง คนละอย่าง คนละอย่าง ก็จิตมันไม่เหมือนกัน วาสนาคนไม่เหมือนกัน

คน โดยหลัก โดยหลักในพระไตรปิฎก สติปัฏฐาน ๔ การภาวนา เห็นไหม กรรมฐาน ๔๐ ห้อง โดยหลักพระพุทธเจ้าวางไว้ แต่ของเรา เราจะเข้าตรงไหน ตรงไหนมันจะพอดีกับเรา แล้วเวลาจะพอดีกับเรา วันนี้พอดี พรุ่งนี้ไม่พอดีอีกแล้ว วันนี้พอดี วันนี้กิเลสยังไม่ทัน ไม่มีใครมายุมาแหย่ ก็พอดีเลย พอมันทำแล้ว พอมันได้บ้าง ไม่ได้บ้าง พรุ่งนี้จะทำ เอาวันนี้มาเทียบ มันมายุแหย่แล้ว วันนี้พอดี พรุ่งนี้ไม่พอดีอีกแล้ว

ฉะนั้น ๔๐ วิธีการมันก็ให้อุบาย ให้เราสลับ ให้เราพลิกแพลงไง อย่างเช่น อาหารกินทุกวันๆ มันก็เบื่อใช่ไหม นี่ก็เหมือนกัน เราก็พลิกแพลงของเรา กำหนดลมหายใจ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เรากำหนดลมหายใจ ไม่ใช่ว่าเราทำ ครูบาอาจารย์จะบอกว่าการปลูกต้นไม้ ถ้าย้ายต้นไม้บ่อยๆ ต้นไม้มันจะไม่โต ก็ต้องปลูกไปที่เดียว ไอ้บางคนก็โทษนะ ตะบี้ตะบันอยู่อย่างนั้น กูอยู่นี่แหละ กูกลัวย้ายต้นไม้ มันก็เลยซึมเศร้าอยู่นั่น เราไม่ได้ย้ายต้นไม้ แต่ตอนนี้เราเปลี่ยนวิธีการ เราปลูกต้นใหม่เลย ปลูกต้นใหม่ ปลูกเลย ปลูก นี่กรรมฐาน ๔๐ ห้อง ก็เราก็จริงจัง จริงจัง แต่ทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้ชัดๆ

ฉะนั้น เวลาหลวงตาท่านไปศึกษามา เห็นไหม ไปศึกษาท่านก็บอกว่า ท่านก็กำหนดดูเฉยๆ พอดูเฉยๆ มันก็เป็นสมาธิได้นะ แต่เวลามันเสื่อมแล้วมันไม่มีที่เกาะไง” พอไม่มีที่เกาะ โอ้โฮพอจิตท่านเสื่อมไง คำว่า จิตเสื่อม จิตเสื่อม” คำว่า จิตเสื่อม” หลวงตาท่านเผชิญกับเรื่องนี้มาเยอะมาก ทีนี้เรื่องจิตเสื่อม ท่านถึงเตือนลูกศิษย์มาก

คนใดนะ เคยทุกข์เคยยาก เคยผิดพลาดอะไรมา มีความบกพร่องสิ่งใดมา มันจะบอกเลยนะ ไอ้หนู หนูอย่าทำนะ หนู หนู กูทุกข์มาแล้ว กูทุกข์มาแล้ว แต่ไอ้พวกเรายังไม่เชื่อ ไม่เชื่อหรอก

แต่ไอ้ที่ว่าครูบาอาจารย์ที่ท่านสอนๆ เพราะท่านเผชิญมาแล้วไง พอจิตมันเสื่อม เห็นไหม โอ้โฮจนไม่มีทางไป สุดท้ายก็ไปพบหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นบอกเลย จิตนี้มันเหมือนเด็กๆ นะ เด็กๆ นี่นะมันวิ่งเล่นขนาดไหน เด็กมันก็ต้องมีอาหารนะ” เห็นไหม เอาไว้ให้เด็กมันอยู่นิ่งๆ

นี่ก็เหมือนกัน ท่านบอกว่า อย่างนั้นเรารักษาอาหารมันไว้ ให้กำหนดพุทโธไว้” ท่านก็กำหนดพุทโธ แต่แต่เพราะมันดูจิตเฉยๆ พอดูจิตเฉยๆ มันปล่อยตามสบายไง พอมันปล่อยตามสบาย จะบังคับจิตให้มันมาอยู่กับพุทโธ ท่านบอกว่า อกแทบระเบิด” มันต้องตั้งใจจริงๆ ต้องกัดฟันกันจริงๆ เลย เพราะจิตของเราเองนะ ความคิดของเราเองมันไม่ยอมพุทโธ เวลาให้คิด ไม่ต้องให้คิด ธรรมดามันคิดของมันไปแล้ว ธรรมดามันส่งออกหมด แล้วบังคับให้มันคิดพุทโธ ท่านบอกว่า ๓ วันแรกอกแทบระเบิด

เวลาท่านพูดอะไร เราซึ้งมาก เพราะอะไร เพราะเคยเป็น เพราะเคยทุกข์เคยยากมาอย่างนั้นไง ไอ้คนไม่เคยทุกข์ยากอย่างพวกเราเวลาฟังเทศน์เราก็ฟังเฉยๆ เนาะ พวกเราฟังเทศน์ ฟังแล้ว เอ้อท่านเทศน์ดี ท่านเทศน์ดี แต่ไอ้คนที่เคยทุกข์เคยยากมาด้วยกัน แหมเวลาฟังแล้วมันสะเทือนใจ สะเทือนใจมาก ท่านบอก โอ้โฮอกแทบระเบิดนะ กัดฟันทน พุทโธๆ พุทโธอยู่ ๓ วัน พอวันที่ ๔ เข้าไปค่อยยังชั่วหน่อย พอกำหนดไปเรื่อยๆ ขึ้นไป หลายๆ วันเข้า เออเป็นแบบนั้นจริงๆ พอมันอยู่กับพุทโธๆ มันฟื้นกลับมาหมดเลย

นี้พอฟื้นกลับมาหมด มันมีอานาปานสติใช่ไหม มีลมหายใจใช่ไหม มันมีพุทโธใช่ไหม ถ้ามันมีอานาปานสติ มีพุทโธ มันมีที่เกาะ คือ มันมีสายพานการผลิต มันมีที่มาที่ไป มันมีเหตุมีปัจจัย ถ้ามันจะเสื่อมอีก กูก็อยู่ตรงนี้ไง ถ้ามันเสื่อมอีกก็พุทโธนี่ไง ถ้ามันเสื่อมอีก ถ้ามันเสื่อมให้มันเสื่อมไป อยู่กับพุทโธ กูไม่เกี่ยว จิตเสื่อมให้มันเสื่อมไป แต่ไม่เสื่อมจากพุทโธ ไม่ละคำบริกรรม เราอยู่กับพุทโธ อยู่กับพุทโธ

คนเราถ้าทำพุทโธไม่ถนัด ก็อยู่กับลมหายใจ ถ้าเราเกาะลมหายใจไว้ๆ จิตมันจะเสื่อมไปไหน มึงเสื่อมไป ใครจะไปไหน ไป เชิญ ไปให้มันหมดเลย อยู่กับลมหายใจ เออถ้ามันจะเสื่อมให้มันเสื่อมไป ไปง้อมันไง เอ็งอย่าเสื่อมนะ เอ็งอยู่กับข้านะ มันเสื่อมหมดเลย ไปง้อมัน ไปอะไรมัน เสื่อมหมด อยู่ที่เหตุ อยู่ที่เหตุอยู่ที่ลมหายใจ อยู่ที่ลมหายใจ แต่เพราะเราไปอยู่กับลมหายใจแล้วเราเบื่อไง เราอยู่กับลมเราก็เบื่อ เซ็ง เครียด ตึง มันปวดนู่นปวดนี่ร้อยแปด อันนี้มันวาสนาของคน

แต่ถ้ามันทำได้จริงนะ ตรงนี้มันคือเหตุ เหตุ มันจะเจ็บ มันจะปวด มันจะตรงไหนนะ อันนี้มันอาการ อาการที่มันเข้ามาแทรกระหว่างกลาง แต่เราไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น มันจะเกิดอะไรขึ้น เรื่องของมึง จริงๆ นะ เวลาหลวงตาท่านเทศน์สอนนะ ท่านกำหนดพุทโธนะ แม้แต่ดินฟ้าจะถล่ม ไม่สน อยู่กับพุทโธ ดินฟ้าจะถล่มเลย บ้านนี้จะเป็น เป็นไปเลย พุทโธอย่างเดียว ต้องตั้งสัจจะขนาดนี้ แล้วก็อยู่กับพุทโธๆ ไปนะ สงบหมด นี่เวลาจิตเสื่อม

นี้พูดถึงว่า อาการแก้อาการจิตเสื่อม แล้วท่านเป็นอย่างนี้มาหลายรอบ แล้วพอเจริญขึ้นไป เจริญขึ้นไป เห็นไหม ที่ไปติดสมาธินั่นก็ประสบการณ์ของหลวงตา

ฉะนั้น อาการชำนาญในวสี เราอยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะ ทีนี้ไอ้อาการจิตเสื่อม อยู่กับหลวงตา หลวงตาซัดเอา มันก็เป็นอย่างนี้ มันเป็นอย่างนี้เพราะอะไร เพราะอาจารย์ทำ ลูกศิษย์ทำ คนทำด้วยกัน คนทำอยู่ด้วยกันถ้ามันไม่มีอะไรติดไม้ติดมือ ไม่เป็นชิ้นเป็นอันมันแปลกๆ นะ คนเรามันอยู่ด้วยกัน ทำงานเหมือนกัน มันก็ต้องมีผลงานใช่ไหม มันต้องจับเป็นชิ้นเป็นอันสิ พอเป็นชิ้นเป็นอันมันก็เข้าใจไง นี่พูดถึง... เรื่องชำนาญในวสี๒เรื่องอาการจิตเสื่อม

เรื่องอาการผลการปฏิบัติตลอดปีที่วัดและที่บ้าน

ผลการปฏิบัติ เห็นไหม วงกรรมฐานเขาคุยกันอย่างนี้ เวลามงคล ๓๘ ประการไง ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ เวลาสนทนาธรรม เวลาสนทนาธรรมเอาอะไรมาสนทนาล่ะ ถ้าสนทนาทางโลกเขาก็ตั้ง ทางการศึกษาเขาก็ตั้งบาลีขึ้นมา แล้วก็โต้เถียงกันว่าถูกหรือผิด

แต่ถ้าในวงกรรมฐานนะ จิตเป็นอย่างไร ใครภาวนามีประสบการณ์อย่างไร ถ้ามีประสบการณ์อย่างไร ใครทำสมาธิมาก สมาธิน้อย แล้วสมาธิของแต่ละคนมันก็ไม่เท่ากัน แล้วสมาธิของคนระดับนี้เขาพิจารณาได้แล้ว บางคนสมาธิหยาบๆ ยังพิจารณาไม่ได้ เพราะจิตเขาหยาบ เขาต้องมีสมาธิลึกซึ้งกว่านี้ เขาถึงจะภาวนาได้ คนที่ได้สมาธิแล้วจะภาวนาก็แล้วแต่ว่าคนมีความถนัดนะ มันเหมือนงานศิลปะ งานศิลปะ อารมณ์ศิลปินนะ วันไหนอารมณ์ดี แหมพูดแจ้วๆ เลย วันไหนอารมณ์ไม่ดีพูดมาจืดชืด

นี่ก็เหมือนกัน เวลาปฏิบัติขึ้นมามันเป็นอย่างนั้น ผลของการปฏิบัติ ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ เวลาสมัยครูบา-อาจารย์ของเราท่านจะคุยกัน ท่านจะสนทนาธรรมกัน ถ้าสนทนาธรรม ใครจะมีความสามารถมากน้อยแค่ไหน สมาธิของคนจะเข้มข้นขนาดไหน หลวงตาท่านพูด เวลาหลวงปู่เจี๊ยะนะ เวลาพูดถึงหลวงตาท่านจะเล่าเรื่องหลวงปู่บัวให้หลวงปู่เจี๊ยะฟังไง ท่านชี้ไง เจี๊ยะๆ พระหลวงตาองค์นั้นกำลังพิจารณากายเข้มข้นเลยน่ะ องค์นี้ องค์นี้ ทำไมมันพูดได้อย่างนี้ล่ะ

มันก็เหมือนเรา เรามีความสามารถแค่ไหน เรามีความรู้แค่ไหน นี้คุยกับครูบาอาจารย์ เขาจะรู้เลยว่าเด็กคนนี้มีความสามารถอย่างนี้นะ เด็กคนนี้มีความสามารถอย่างนี้นะ เด็กคนนี้ ในวงกรรมฐานเขาคุยกัน ถ้าเขาคุย ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺ-คลมุตฺตมํ นี้วงกรรมฐานเขาจะรู้เรื่องอย่างนี้กัน ถ้ารู้เรื่องอย่างนี้กัน นี่เก็บไว้ในวงกรรมฐาน

นี่พูดถึงว่า เพียงแต่ว่าขอบคุณไง เออนานๆ เจอทีหนึ่ง เขาบอกว่า ลูกกราบขอบพระคุณหลวงพ่ออย่างสูงครับที่ตอบให้ลูกคลายสงสัย วันนี้คำถามไม่มี กราบขอบพระคุณหลวงพ่ออย่างสูงครับ

เพียงแต่ว่าเราเองกลับมาสะเทือนคำว่า ชำนาญในวสี กับจิตเสื่อม” เพราะว่าเราอยู่กับครูบาอาจารย์มา ครูบาอาจารย์องค์อื่น ถ้าองค์ที่ท่านปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ท่านก็ดีหมด แต่เพียงแต่ว่ามันถูกจริตหรือไม่ เวลาคนที่ปฏิบัติมันก็อยากให้ครูบา-อาจารย์ ครูบาอาจารย์ที่เข้มข้น ครูบาอาจารย์ที่ทันกับความคิดเรา ถ้าทันกับความคิดเรา ทันกับกิเลสเรา การปฏิบัติของเรามันก็กิเลสมันจะโดนต้อน มันจะไม่ค่อยหลอกเรามากนัก ทีนี้เคยอยู่กับครูบาอาจารย์องค์ใดมา มันก็ฝังใจอย่างนี้ ถ้าฝังใจแล้ว มันก็เหมือนท่านปั้นเรามา ว่าอย่างนั้นเลย

เวลาหลวงตาท่านพูดถึงหลวงปู่มั่น เห็นไหม หลวงปู่มั่นท่านเป่ากระหม่อมเรามา เวลาท่านพูดบ่อย หลวงตาเนี่ย หลวงปู่มั่นเป่ากระหม่อมเรามา หลวงปู่มั่นเป่ากระหม่อมมา ไม่มีครูบาอาจารย์เป่ากระหม่อมมา มันไม่รู้ไปอยู่ไหนกันแล้ว ครูบาอาจารย์ท่านจะซาบซึ้งกันอย่างนี้ มันความผูกพันไง ความผูกพันระหว่างผู้ที่เป็นธรรม จบ

ถาม : เรื่อง ใช้หนี้สงฆ์

กราบนมัสการหลวงพ่อเจ้าค่ะ เมื่อตอนเด็กขโมยผลไม้ในวัดที่ติดกับบ้านมาตลอดหลายหนหลายครั้ง ดิฉันนึกขึ้นมาแล้วจะไปใช้หนี้สงฆ์ที่วัดบ้านเกิด ขอกราบเรียนถามว่า จะต้องไปแจ้งพระที่วัดว่าอย่างไรเจ้าคะ และพระที่วัดต้องจัดการเช่นไร จึงจะให้ดิฉันจัดการใช้หนี้สงฆ์สำเร็จเจ้าคะ

ขอหลวงพ่อเมตตาแนะนำดิฉันด้วยเจ้าค่ะ

ตอบ : นี่พูดถึงว่าการใช้หนี้สงฆ์ การใช้หนี้สงฆ์มันเป็นประเพณีของชาวพุทธเรา ประเพณีของชาวพุทธ เราต้องมีความสัมพันธ์กับวัดตลอด ถ้ามีความสัมพันธ์กับวัดตลอด ถ้าเป็นครูบาอาจารย์ที่ดีนะ ครูบาอาจารย์ที่ดีท่านจะอนุญาตอยู่แล้ว อย่างของเราส่วนใหญ่แล้วเราจะอนุญาต อย่างเช่น เช่น ที่บ้านตาด บ้านตาดเวลาเขาปลูกต้นขนุนต้นอะไร เขาให้สัตว์นะ ปลูกไว้เพื่อสัตว์ เพราะเราอยู่ที่นั่นใหม่ๆ ไปปลูกไอ้นี่กัน ท่านสั่งให้ปลูก ไม่ได้ปลูกกันเอง ท่านสั่งให้ปลูกสับปะรด อู๋ยเข็นน้ำไปรดกัน รดสับปะรด ปลูกไว้ให้กระรอกมันกิน คนไม่ได้หรอก ปลูกไว้ให้สัตว์

นี้กันไว้ให้สัตว์ เราปลูกตั้งใจให้อยู่แล้วไง ครูบาอาจารย์ที่เป็นธรรมนะ อย่างเช่น ตอนนี้ ปัจจุบันนี้ ช้าง เห็นไหม พวกช้างที่มันออกมาจากป่า มีพระหลายๆ วัดเลยจะหาอาหารช้างไปทิ้งไว้ตามนั่นเป็นของสงฆ์หรือเปล่า แต่ของสงฆ์เขาสงเคราะห์ ศาสนสงเคราะห์ ภาษาเราว่ามันพ้นจากความลัก พ้นจากการลักขโมย ไม่เป็นหนี้ ไม่เป็นบาป เพราะอะไร เพราะว่าเป็นศาสนสงเคราะห์ คือพระเป็นผู้ให้ คือไม่มีการลักขโมย เป็นการให้ ถ้าการให้นี่จบ

ฉะนั้น เวลาการให้ เห็นไหม สิ่งที่ว่าเป็นของสงฆ์ แต่ถ้ามันเป็นประเพณี ประเพณีว่าชาวพุทธเราไปตามวัดตามวา แล้วตามวัดตามวา สิ่งที่มันเกิดขึ้น เห็นไหม เราปลูกไว้เพื่อสงเคราะห์ สงเคราะห์บริษัท ๔ อยู่แล้ว ถ้าสงเคราะห์บริษัท ๔ ใครหยิบ ใครอะไรไป มันก็จะไม่เป็นหนี้สงฆ์ เพราะว่าพระให้แล้ว แต่แต่ถ้าความที่เรายังไม่เข้าใจ เราไม่เข้าใจว่าที่วัดบางวัด พระที่วัด หรือวัดเขาได้ทำสิ่งนี้หรือเปล่า ถ้าเขาไม่ทำสิ่งนี้หรือเปล่า ถ้าอย่างนั้นเราก็ควรจะคิดแบบโยมนี่ถูกกราบนมัสการหลวงพ่อเจ้าค่ะ เมื่อตอนเด็กขโมยผลไม้ที่วัดติดกับบ้านมาตลอดหลายหน

เราก็เป็น เราคนโพธาราม ที่วัดโพธารามเมื่อก่อนสมัยเราเด็กๆ มันมีต้นจันทน์อยู่ต้นเบ้อเร่อเลย ใหญ่มาก ผลจันทน์มันตกเต็มไปหมดเลย ก็ไปเก็บเหมือนกัน เก็บเล่นเหมือนกัน มันเป็นต้นจันทน์น่ะ ที่วัดโพธาราม สมัยก่อนใครจำได้ มันมีอยู่ต้นหนึ่ง ต้นจันทน์ใหญ่มาก แล้วผลลูกจันทน์ แล้วเด็กๆ มันชอบ มันสวย กินไม่ได้กินหรอก แต่มันหอม ลูกจันทน์น่ะ แล้วเก็บเล่นกันอยู่ แต่ต้องไปใช้หนี้สงฆ์หรือเปล่าไม่รู้ เราคิดว่ามันเป็นอย่างนั้นน่ะ

นี่ก็เหมือนกัน ต้องใช้หนี้สงฆ์ ฉะนั้น เวลามันเป็นของของสงฆ์ ใช้หนี้สงฆ์ แบบว่ามันเอาของสงฆ์มาใช้ มันมีเวรมีกรรมทั้งนั้น ฉะนั้น ถ้ามันได้ศึกษามันก็เรื่องหนึ่งนะ ฉะนั้น พอศึกษาแล้วมันก็เป็นผล ถ้าเป็นผลปั๊บ เห็นไหม เราก็สั่งสอน สั่งสอนลูกหลานของเรา จะเอาอะไรของในวัด เราก็ต้องขอซะก่อน ไปขอพระก็จบ คือถ้าอาการให้คือเจ้าของให้ เราได้ขอมา ไม่มีผลเสียเลย แต่ถ้าหยิบฉวยเอาโดยเจ้าของไม่ได้ให้ หรือไม่ได้ขอ หยิบไป มันเป็นอาการของการขโมย ถ้าการขโมยมันก็มีส่วนแล้ว

ถ้ามีส่วนนะ ฉะนั้น เขาบอกว่า ดิฉันจะไปใช้หนี้สงฆ์ที่บ้านเกิด กราบเรียนหลวงพ่อ จะต้องแจ้งพระที่วัดอย่างไรเจ้าคะ” เราก็ไปหาท่านเลยแหละ ไปหาเจ้าอาวาสนั่นน่ะ เอาผู้ที่มีอำนาจเลย หาเจ้าอาวาส หรือพระผู้มีอำนาจนะ แล้วก็บอกว่า ขอทำผาติกรรม ใช้หนี้สงฆ์” แล้วบอกเลยว่า เราเคยทำไป” ถ้าเราได้พูดมากเท่าไรนะ ไอ้บาปกรรมจะหมดมากเท่านั้น ชัดเจนเท่านั้น

เพราะ เพราะเวลาพระไง เวลาพระเราปลงอาบัติ เห็นไหม สาธุ สุฏฐุ พระเราเป็น เวลาพระจะลงอุโบสถ พระเป็นอาบัติ อาบัติคือการประจานความผิดของตนไง คือเอาความผิดของตน เราเป็นอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ถ้านิสสัคคิยปาจิตตีย์ เราสละสิ่งของนั้นแล้วก็ปลงอาบัติ ถ้าเราเป็นอาบัติปาจิตตีย์ เราก็ปลงอาบัติปาจิตตีย์ ทุกกฏเราก็ปลงอาบัติทุกกฏ การปลงอาบัติ เห็นไหม พระที่เขาปลงอาบัติกัน นั่นน่ะเขาปลงอาบัติ

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เรามีความผิดพลาด เราก็ไปบอกท่าน บอกเลยว่า ตอนเด็กๆ ดิฉันไม่รู้ค่ะ ดิฉันก็เคยมาเก็บของในนี้ค่ะ ขอทำผาติกรรม” ถ้าเขารับรู้ เขาสาธุก็จบ แล้วพระต้องทำอย่างไรเจ้าคะ” บอกให้รู้ไง พอบอกให้รู้มันปลดเปลื้องไปจากใจเรานะ ความลับไม่มีในโลก ความลับไม่มีในโลก มันไม่มีในโลกในใจเรานี่ ถ้าใจเราได้ทำแล้วก็จบ ใจเราได้ทำแล้วเราก็สบายใจ มันไม่มีไง ถ้าไม่มี ดูสิ อย่างกรณีนี้ความเห็นต่างกัน เราก็เห็นอย่างนี้ อีกฝ่ายหนึ่งก็เห็นอย่างนั้น ก็แจ้งเป็นคดีกันไป เป็นศาลตัดสิน ยกฟ้อง จบ

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราไม่มีในใจเราแล้ว ถ้าคนอื่นเขาจะเห็น เขาว่าเรามี มีก็ต้องตัดสินกัน ถ้าตัดสินกัน แต่ถ้าเราไม่มี อย่างไรๆ ก็ไม่มี มันไม่มีเหตุมีผล มันไม่มีหรอก นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราทำแล้ว จบก็คือจบ ฉะนั้น เราก็ไปทำที่วัดอย่างนี้ เราไปที่วัดนั้น ไปที่วัดนั้นเนาะ แล้วก็บอกเขาเลยน่ะ บอก หนูขอทำผาติกรรม ขอทำผาติกรรม” บอกเขาหมด

เพราะความผิดของการไร้เดียงสา ความผิดของเด็ก ความผิดของคนไม่รู้ มันไม่น่าอายเลย ให้เราพูดเมื่อไร เราก็พูดได้นะ ถ้าเราทำผิดโดยที่ไม่รู้ มันเป็นความผิดของคนไร้เดียงสาใช่ไหม เราไม่รู้ เราไม่รู้เราทำไป เราทำไป ตอนนี้รู้แล้วไง ตอนนี้มาศึกษาธรรมะ พอเข้าใจแล้วว่า เออของอะไรที่เป็นของสงฆ์ เราไม่ใช่สงฆ์ เราเอาสิ่งนั้นไป เอาสิ่งนั้นไปมันรู้ พอรู้แล้วมันก็ไม่สบายใจ พอไม่สบายใจเราก็ยังดีนะ ยังได้ทำ เพราะถ้าไม่ได้ทำแล้วมันก็เป็นเวรเป็นกรรมไปทั้งนั้น

คำว่า เป็นเวรเป็นกรรม” ก็นี่ไง กรรมจำแนกสัตว์ให้เกิดต่างๆ กัน ดูสิ ดูนักปราชญ์ของสังคมไทย วันสงกรานต์ วันสงกรานต์ไอ้ก่อเจดีย์ทราย ก่อเจดีย์ทรายเขาก็ทดแทนตรงนี้แหละ เข้ามาในวัดมันมีเศษดิน เศษทราย ติดรองเท้าไปไหม มาเดินในวัด แล้วออกไปจะมีเศษดินเศษติดรองเท้าเราไปไหม เขาก็มาคืนไง ก่อเจดีย์ทรายก็คือเอาทรายมาคืนวัดไง เอาของที่มันติดตัวเราออกไปกลับมาคืนวัด นี่เป็นอุบายของประเพณีของชาวพุทธ ที่ชาวพุทธก่อเจดีย์ทรายๆ

เดี๋ยวนี้ไม่ ก่อเจดีย์ทรายก็เป็นประเพณีไง ก็เลยจ้างรถดัมพ์ไปดัมพ์ให้เลย ต้องทำให้มันครบ แบบว่าเถรส่องบาตรไง ว่าก่อเจดีย์ทรายก็ต้องเอาทรายมา ก็ไปเอาทรายมา แต่ไม่ได้คิดว่าก่อเจดีย์ทรายมันมีเคล็ดของมันไง เคล็ดของมันคือว่าของสิ่งใดที่มันติดเท้าเราไป ของสิ่งใดที่ติดเราไป เขาเอามาคืน เอามาคืนวัด มันเป็นแบบว่านักปราชญ์เขาช่วย ช่วยสังคมนั้นไม่ให้มีเวรมีกรรมติดตัวไป

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราคิดของเราได้ เราคิดของเราได้ เราก็ทำของเรา ไปใช้หนี้สงฆ์ ก็ไปที่วัดนั่นแหละ ควรทำ เพราะสิ่งใดที่มันควรทำนะ ทำแล้วมันเป็นประโยชน์กับเรา แต่นี้คำว่า ใช้หนี้สงฆ์” เราพูดไปแล้วมันเป็นปัญหาอยู่ทีหนึ่งไง บอกว่ามีนายพรานป่า ไปเที่ยวป่า ไปเที่ยวป่าแล้วไปเก็บพริก แล้วพริกนั้นนกไปกินในวัดไง นกมันไปกินในวัด แล้วมันบินไปในป่า

นี่อยู่ในพระไตรปิฎกนะ นกมันไปกินพริกในวัด แล้วมันบินไปใช่ไหม มันก็ไปขี้ไว้ในป่า เม็ดพริกนั้นก็ไปเกิดในป่า พรานป่าไม่รู้มันก็ไปเก็บพริกนั้นกิน เพราะมันอยู่ในป่า ใครจะไปรู้ว่าเป็นของวัด ใครจะไปรู้ว่าเป็นของของสงฆ์ แล้วพริกต้นนั้นเป็นของของสงฆ์ พอของของสงฆ์ อยู่ในพระไตรปิฎก พอของสงฆ์นั้น ต้องไปใช้หนี้ ว่าต้องเป็นตกนรก

พอพูดไปแล้ว พูดไป เราพออย่างนี้ โอ้โฮชาวพุทธมันยุ่งยากขนาดนั้นเชียวหรือ” มันมีเด็กมันมาโต้แย้งไง อ้าวเพราะเราไม่รู้ ทุกคนจะปฏิเสธความว่าไม่รู้นะ ว่าเราไม่รู้ไง แล้วเราไปกินพริกในป่ามันจะเป็นของวัดได้อย่างไรล่ะ แต่ไม่ได้คิดหรอกว่านกมันกินไป นกมันกินพริกในวัด แล้วมันไปขี้ เม็ดพริกมันไปเกิดในป่า แล้วไปเก็บ มันก็เป็นของของสงฆ์อยู่ แล้วพอไอ้ที่ไปเก็บโดยไม่รู้ เก็บโดยไม่รู้แต่เอาไปกิน

ฉะนั้น เวลาในพระไตรปิฎกเป็นอย่างนั้น แล้วเวลาในพระไตรปิฎก โอ้โฮบอกตั้งแต่พระโมคคัลลานะ พระโมคคัลลานะจะเห็นเลยว่าในนรกอเวจีใครเป็นอย่างไร บ้านนั้น แหมมาฟ้องพระพุทธเจ้า มาบอกพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าว่าใช่ ว่าใช่ นี้ในพระไตรปิฎก แต่เราเคยพูดไป แล้วลูกศิษย์นี่แหละเขาเอาลูกๆ มา ลูกๆ เขาได้ยินได้ฟัง แล้วเขากลับไปบ้านเขาก็ไปวิตกวิจารณ์ ไปวิจารณ์กัน แล้วเขาก็พามาคุยกับเราไง

เราบอก ถ้าเราพูดแบบวิทยาศาสตร์ พูดแบบประชาธิปไตยไง ประชาธิปไตย สิทธิเสมอกัน เราไปเก็บของในป่า เรามีความผิดอะไร มันก็ยืนกระต่ายขาเดียวว่าไม่ใช่ของสงฆ์ ก็เกิดในป่า ไม่รู้เรื่อง ไอ้ไม่รู้เรื่องส่วนความคิดของเราไง แต่มันต้องมีที่มาที่ไป มันมีเหตุมีผลของมันมา ถ้ามีเหตุมีผลของมันมา มันก็ตามเหตุตามผลนั้น เวรกรรม เวรกรรม มันจะมีตามเหตุตามผลนั้น เหตุปัจจัยมันทำให้ก่อเกิดสิ่งนั้น แล้วเราไม่รู้ ไม่รู้มันก็เป็นคราวเคราะห์ คราวเคราะห์คราวกรรมของคน ที่ทำไมต้องไปใช้ของอย่างนั้น ต้องไปทำอย่างนั้น ให้มันเกิดเวรกรรมอย่างนั้น

ถ้ามันเกิดเวรกรรมอย่างนั้นนะ เพราะมันมีอย่างนี้ ประเพณีวัฒนธรรมของชาวอีสาน เข้าไปในป่านะ เวลาเขาจะเอาสิ่งใดนะ คนป่าเขาจะทำไม้ขอ เอาไม้นี่นะ ทำไม้ขอเกี่ยวไว้กับตามเถา ตามต้นนั้น ถ้าจะเอาสิ่งใดเขาขอ ขอ เขาขอนะ ถ้าเขาขอ เจ้าของมาเห็นไม้มันอย่างนี้ เขาก็ เออเห็นแล้วเขาขอ

คนเรานะ เวลามันหิวมันยาก มันก็ต้องดำรงชีพนะ ถ้าคนที่เขาศึกษา คนที่เขาเป็นเขาทำอย่างนี้ แล้วถ้าคนที่ปัญญามันเท่ากัน มันเห็นมันก็เข้าใจ ถ้าคนที่ไม่มีปัญญามันเห็น มันก็ไม่เข้าใจอะไร เพราะอะไร เพราะเราถือว่าน้ำใจเป็นใหญ่ ถือน้ำใจ ถือสิทธิ์ ถือความนักปราชญ์ที่คนเขาทำ เราเห็นแล้วมันอนุเคราะห์ ถ้าเขาขอ ให้เขาเลย โธ่ขนาดเขาไม่ขอนะ เขาทุกข์เขายาก เราก็ยังอยากจะให้เขาอยู่แล้ว แล้วเขาเดินทางมา เขาทุกข์เขายากมา เขาไม่มีอาหาร เขาอยากได้ เขาขอ ก็ให้เขา ถ้าให้เขามันก็จบ เห็นไหม

เพราะเราเห็น เราธุดงค์มา เราเที่ยวมา เห็นวัฒนธรรมประเพณีแต่ละท้องถิ่น ท้องถิ่นมา แล้วเราก็อ่านพระไตรปิฎก อ่านพระไตรปิฎกนะ ในพระไตรปิฎก นักปราชญ์ชุมชนนั้นเขามีศึกษาอย่างไร เขาจะเอาสิ่งนั้น มันมีหมด มันมีในท้องถิ่น ถ้ามันมีอย่างนั้น เขาศึกษาอย่างนั้น แล้วเขาทำอย่างนั้นมันเพื่อแก้ไขตรงนี้ไง แก้ไขเรื่องเวรเรื่องกรรม แล้วแก้ไขเพื่อความดี มันอยู่ที่หัวหน้าที่ดี หัวหน้าที่ดีมันก็เป็นประเพณีมา

ฉะนั้น พอประเพณีท้องถิ่น ท้องถิ่น เราไปเห็นแต่การเขาทำ แต่ไม่รู้ว่ามันมาอย่างไร ลองเปิดพระไตรปิฎกมันจะรู้เลย อ๋ออ๋อเลย เพราะเมื่อก่อนเราก็งงๆ นะ เห็นพระทิเบตไหม เวลาเขากราบ เขากราบ แต่พออ่านพระไตรปิฎกแล้ว อ๋อทันทีเลย อ๋อตอนที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตอนเป็นพระโพธิสัตว์ไง แล้วสร้างทางให้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทีปังกรเสด็จมา แล้วทำทางไม่ทัน มันเหลืออยู่ท่อนหนึ่ง พระ-โพธิสัตว์นอนเลย นอนแล้วพระพุทธเจ้าทีปังกรก็เดินบนถนนนั้นแล้วก็เหยียบพระโพธิสัตว์นั้นไป แล้วก็พยากรณ์ว่า

ต่อไปอนาคตกาล พระโพธิสัตว์นี้จะได้เกิดเป็นสมณโคดม เป็นพระพุทธเจ้าสมัยนั้น ชื่ออย่างนั้น อย่างนั้น” มันอยู่ในพระไตรปิฎกไง

ฉะนั้น พออย่างนี้ ถ้าความเชื่ออย่างนั้น คนเขาต้องมีความเชื่ออย่างนั้น ฉะนั้น เวลาเขากราบเขาไหว้เขาก็นอนหมดเลย อ๋อมันมาจากตรงนั้น มันมาจากตรงนั้นเพราะเขานอนราบเลย พระพุทธเจ้าเดินเหยียบร่างนั้นไป แล้วพยากรณ์เลยว่าต่อไปอนาคตจะได้เป็นพระพุทธเจ้า ชื่อสมณโคดม ตรงนี้มันก็ไปกินใจ กินใจมาก นี้เวลาความเชื่อมันสืบต่อมา สืบต่อมา นี้การกราบไหว้เขาก็เลยนอนหมดเลย เขานอนแบบนั้น แล้วเดี๋ยวนี้ โอ้โฮมันความเชื่อมาตั้งแต่นั้น แล้วประเพณีวัฒนธรรมก็เข้าไปในสายเลือดเลย ความเชื่อมันฝังกันมา

อ๋อเราคิดของเราเอง อันนี้ไม่มีเหตุมีผลที่ไหน คิดเอง เออเอง คิดเอง เออเอง จะถูกหรือเปล่าไม่รู้ แต่เราว่าถูก ด้วยสมองของเรา เราคิดของเรา มันยิ่งเห็นมาขนาดนั้น มันโอ้โฮความเชื่อ ความเชื่อแล้วก็เชื่อตามๆ กันมาขนาดนั้นเลย ต้องว่าอย่างนั้น แต่ของเราเบญจางคประดิษฐ์ การกราบไหว้ของเถรวาทเรา เบญจางคประดิษฐ์ ความสำคัญหน้าผาก ทุกอย่างจรดพื้น เคารพบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยปัญญาของแต่ละท้องถิ่น ด้วยปัญญาของแต่ละที่

อันนี้พูดถึงว่า ความเป็นหนี้สงฆ์เนาะ ความเป็นหนี้สงฆ์ เราจะบอกว่าจริงๆ แล้ว ศาสนานี่ก็อยากก็จะสงเคราะห์สงหาทั้งนั้น แต่นี้วินัยบังคับไว้อย่างนั้น มันเป็นอย่างนั้น วินัยคือว่าพระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ พอพระพุทธเจ้าบัญญัติไว้เป็นกฎหมายหมด พอเป็นกฎหมายหมดมันเป็นกฎกติกา พอกฎกติกา เราไม่ได้ตั้งใจทำผิด แต่มันมีกฎกติกา มันมีกฎหมาย กฎหมาย คือ พระแจกของ เห็นไหม ของที่เราแจกนี่เราแจกได้หมด เว้นไว้แต่โต๊ะนี่แจกไม่ได้นะ มีดแจกไม่ได้นะ ครุภัณฑ์ของวัดแจกไม่ได้ ถ้าแจกเป็นอาบัติเลย เว้นไว้แต่วัดแจกวัด วัดยกให้วัดได้ เช่น ธรรมาสน์ ธรรมาสน์ก็แจกไม่ได้ โต๊ะตั่งแจกไม่ได้ ถ้าแจกให้โยม ถุลลัจจัยเลย

ภิกษุจะแจกได้เป็นของใช้ มีดแจกไม่ได้ สิ่ว เครื่องซ่อมแซม เพราะสมัยพุทธกาลของมันหายาก พวกนี้แจกไม่ได้ ถ้าแจกนี่เป็นอาบัติทันทีเลย แต่วัดแจกวัด วัดให้วัดได้ เพราะเป็นของสงฆ์ด้วยกัน แต่วัดให้ฆราวาสไม่ได้ วัดให้ได้ของใช้ ปัจจัย ๔ ปัจจัย ๔ เจือจานญาติโยมได้ บัญญัติไว้เลย วินัยบัญญัติไว้หมด มันเป็นกฎหมายเป็นข้อบัญญัติ มันถึงมีผลไง ถ้ามีผลแล้วเราก็แก้ไขของเรา นี่ถ้าเป็นชาวพุทธนะ

ฉะนั้น สรุป ไม่เป็นชาวพุทธดีกว่า เป็นชาวพุทธยุ่งยากมาก ถ้าคุยกันเรื่องวินัยเยอะๆ นะ อู๋ยเป็นชาวพุทธมันยุ่งน่าดูเลย พระพุทธศาสนาทำไมมันยุ่งมาก ไม่ยุ่ง พระพุทธเจ้าสอนให้รักษาศีลข้อเดียว คือรักษาเจตนา รักษาใจของตน รักษาใจของเรา มีพระสมัยพุทธกาลนะ ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า

สึก อะไรๆ ก็ผิด อาบัติ อาบัติหมดเลย

พระพุทธเจ้าบอกว่า ทำไมล่ะ

โอ๋ยมันอาบัติเยอะเกินไปแล้ว รักษาไม่ไหว

ศีลข้อเดียวอยู่ได้ไหม

ได้

รักษาเจตนา รักษาหัวใจของตน

พระองค์นั้นเลยอยู่ต่อมา แล้วปฏิบัติมา ว่าสิ้นกิเลสด้วยนะ แต่ถ้ามันออกไปข้างนอกแล้วมันยุ่งมาก มันเยอะเกินไป แต่เจตนาเราไม่ทำผิด เจตนาเราไม่มี ความผิดพลาด ถ้ามันเป็นกฎหมาย กฎหมาย เราก็แก้ไขของเราเอง คำว่า ใช้หนี้สงฆ์นะ” เรามองแล้วเราศึกษา แล้วอย่าไปคิดว่ามันเป็นภาระรุงรัง อย่าไปคิดว่ามันอย่างนี้ พอคนคิดมาก อู้ฮูศาสนาพุทธยุ่งมากเลย” อ้าวศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญาไง ก็มีปัญญาเยอะไม่ดีหรือ โอ๋ยปัญญาเยอะเกินไป รักษายาก

รักษาเจตนาของเรา พยายามไม่ให้ผิด แล้วถ้าผิดแล้วแก้ไขเอา แล้วพยายามรักษาชีวิตของเราให้มันมีบุญกุศล ให้มันมีเจตนาที่พยายามจะค้นคว้า ค้นคว้าหาใจของเรา แล้วถ้าประพฤติปฏิบัติแล้ว เอาใจของเราพ้นออกไปจากกิเลสเลย แล้วจบเลย เอวัง