ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ขัดใจ

๕ ก.พ. ๒๕๖o

ขัดใจ

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรมวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ถาม เรื่อง การใส่อังสะแสดงธรรมถูกวินัยหรือไม่

ตอนนี้หลายๆ คนได้เห็นพระหลายๆ รูป แสดงธรรมหรือสอนธรรมะให้แก่ศรัทธาญาติโยมที่มาฟังธรรมที่วัด ด้วยการนุ่งห่มเพียงสบงและอังสะ รู้สึกขัดนัยน์ตามาก เพราะศรัทธาญาติโยมที่มานั่งกราบฟังธรรมไม่ใช่น้อย แต่ละครั้งมากกว่า ๑๐ คน ถึง ๒๐ คนขึ้นไป ท่านน่าจะนุ่งห่มให้มิดชิด ไม่ทราบว่าพระเหล่านั้นทำถูกหรือไม่

ตอบ พระเหล่านั้นส่วนเป็นพระเหล่านั้น แต่พระเหล่านี้นั่งอยู่นี่ คำถามถามมาอย่างนี้ นี้คำถามถามมาอย่างนี้แสดงว่า เขาบอกว่า เขาขัดนัยน์ตามาก ที่พระนุ่งห่มไม่เรียบร้อยแล้วแสดง-ธรรม เพราะว่าญาติโยมเขามาฟังธรรม ๑๐ คน ๒๐ คนขึ้นไป

๑๐ คน ๒๐ คนขึ้นไปนะ ไอ้กรณีอย่างนี้มันกรณีของศรัทธา ถ้าศรัทธาของเขา เขาศรัทธาของเขา ถ้าศรัทธาของเขา เขามีศรัทธาความเชื่อของเขา เขาฟังด้วยหัวใจของเขา เขาต้องการเนื้อธรรม ถ้าเขาได้เนื้อธรรม เนื้อธรรมอันนั้นน่ะมันมีคุณค่ามากกว่า

เฉพาะคำว่า มีเนื้อธรรมและไม่มี” ถ้าไม่มีก็เป็นเสียงเฉยๆ ไง ถ้ามีเนื้อธรรมนะ มีเนื้อธรรม เห็นไหม หลวงตาท่านบอกว่า คนที่มีคุณธรรมเวลาแสดงธรรมออกมา เสียงนั้นส่วนเสียง แต่มันมีเนื้อหาสาระ คนฟังแล้วมันซาบซึ้งมาก ไอ้การซาบซึ้งมากนี่การแสดงธรรม ถ้าการแสดงธรรมแสดงได้ประโยชน์ การฟังธรรมที่แบบว่าการฟังนี้เป็นการหาได้ยากยิ่ง การฟังนี้แสนยาก แสนยากตรงไหนล่ะ แสนยากเพราะสมัยพุทธกาลมันไม่มีวิทยุ ไม่มีคลื่นโทรศัพท์ มันไม่มีสิ่งใดทั้งสิ้น

ฉะนั้น การแสดงธรรมมันต้องแสดงจากโอษฐ์ไง จากพระโอษฐ์จากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมะจากโอษฐ์ๆ ไง คือฟังธรรมะจากปาก มุขปาฐะ เวลาท่องจำ ท่องจำกันมา ถ้าท่องจำกันมาการฟังธรรมมันถึงแสนยาก อานิสงส์ของมันน่ะ อานิสงส์ของมัน สิ่งที่เรายังสงสัย สิ่งที่ยังไม่แน่ใจ สิ่งที่มีความขัดข้องในใจฟังแล้วแจ่มแจ้ง อานิสงส์ของมันคือสว่างไสว อานิสงส์คือมันมีคุณธรรม นั่นคือฟังธรรม นี้การฟังธรรมกับการแสดง-ธรรมนี้เป็นเรื่องหนึ่ง

ฉะนั้น สิ่งที่บอกว่า ตอนนี้มีหลายคนเห็นพระหลายๆ รูป แสดงธรรมหรือสอนธรรมโดยที่มีศรัทธาญาติโยมมานั่งฟัง ด้วยนุ่งห่มเพียงสบงและอังสะ การนุ่งห่มมีสบงและอังสะไม่ได้ห่มจีวรแล้วแสดงธรรมมันขัดตามาก” แต่มันไม่ขัดกิเลส ถ้ากิเลสของคนนะมันกิเลสตัณหาความทะยานอยาก

ถ้าแสดงธรรมๆ นะ คนที่มีธรรมจริงนะ เวลาหลวงตาท่านพูด เวลาแสดงธรรมถ้ามีสัจจะความเป็นจริงมันจะทิ่มเข้าไปในหัวใจเลย เพราะกิเลสมันอยู่ที่จิตใต้สำนึกนั้น ถ้าจิตใต้สำนึก เวลาการแสดงธรรมๆ มันแสดงธรรมคือมันจี้เข้าไปในหัวใจไง มันจี้เข้าไปที่กิเลสมันอยู่ ถ้าอันนั้นถึงจะเป็นประโยชน์” แต่แสดงธรรมฉาบฉวย ฉาบฉวยแล้วก็สาธุ ฟังธรรมเอาบุญ ฟังธรรมเอาบุญกันไง ถ้าฟังธรรมเอาบุญนั่นเป็นเรื่องหนึ่งนะ

ฉะนั้น เรื่องที่ว่าไม่ห่มจีวรๆ การห่มจีวรมันก็เป็น มันเป็นแบบว่าถ้าในวัด ในวัดทั่วไป วัดในกรุงเทพฯ วัดในกรุงเทพฯ วัดในเมืองเขามีกติกาของเขาว่าออกจากกุฏิต้องห่มจีวร ห่มจีวรของเขา แล้วการแสดงธรรม การแสดงธรรมก็ต้องแบบว่าห่มจีวรด้วยนะ บางทีพาดสังฆาฯ ด้วย ฉะนั้น การแสดงธรรมเพื่อเป็นกิจจะลักษณะเราก็เห็นด้วย เพราะเวลาเราแสดงธรรมเป็นกิจจะลักษณะ เราก็ห่มจีวร เราก็ห่ม ยิ่งแสดงธรรม แสดงธรรมเทศน์สอนพระ อุโบสถ ไปดูสิ พาดสังฆาฯ ด้วย ห่มจีวรพาดสังฆาฯ หมด เพราะมันเป็นสังฆกรรม

ถ้าทำการสังฆกรรมมันก็ต้องครบสงฆ์ สงฆ์เวลาลงสังฆกรรมมันก็ต้องไตรจีวรครบสมบูรณ์ เวลาแสดงธรรมๆ บนศาลา ห่มจีวรก็คือห่มจีวร แต่เวลาถาม-ตอบปัญหา เราถือว่ามันเป็นการสนทนาธรรมๆ มันเป็นเรื่องแบบว่าเพื่อประโยชน์ เพื่อเนื้อธรรม แต่ไม่ได้เอารูปแบบ ถ้าจะเอารูปแบบก็เป็นรูปแบบอย่างนั้น ถ้ารูปแบบอย่างนั้น สิ่งอย่างนั้นเราบอกว่าการที่แสดง-ธรรมต้องห่มจีวรมันเป็นการต้อนรับแขก มันเป็นทิฏฐิมานะของผู้ฟังน่ะ มันเป็นทิฏฐิมานะของคน

ถ้าทิฏฐิมานะของคน เราเคยเจอพวกโยมที่เขามีศักยภาพ เขาถามเราเลยภิกษุเปลือยกาย ภิกษุเปลือยกายเป็นอย่างไร” เขาถือว่าถ้าไม่ห่มจีวรคือการเปลือยกายไง ถ้าการเปลือยกาย เพราะภิกษุเปลือยกายเป็นอาบัตินะ ภิกษุเปลือยกายเป็นอาบัติ ฉะนั้น ภิกษุเปลือยกายถ้าเปลือยกายโดยที่โล่งแจ้งเป็นอาบัติถุลลัจจัย ภิกษุเวลาเข้าห้องน้ำอาบน้ำมันก็ต้องเปลือยกาย การเปลือยกายนั้นมันมีกำแพงมีห้องหับอยู่นั้น อันนั้นถือว่าไม่เป็นอาบัติ ถ้าเราเปลือยกายในที่แจ้งเป็นอาบัติ เป็นอาบัติเลย

ฉะนั้น เวลาโยมเข้ามา ถ้าเป็นกลางวันเราจะวิสาสะด้วยสบายๆ เขาถือว่าเขาเป็นผู้ใหญ่ เขาถาม ถามตรงๆ อย่างนี้ บอกว่า ภิกษุเปลือยกาย แล้วต้อนรับแขกมันสมควรไหม” คือเขาจะสอนเรานั่นแหละ เราก็อธิบายให้เขาฟัง มันจะเปลือยกายที่ไหน อังสะมันพร้อมอยู่ มันเปลือยกาย เปลือยกายก็ต้องเปลือยกาย ภิกษุเปลือยกายคือไม่มีสิ่งใดในร่างกายเลยคือภิกษุเปลือยกาย ภิกษุเปลือยกายเป็นอาบัติถุลลัจจัยเป็นอาบัติ

แต่ถ้านุ่งห่ม เห็นไหม มีนุ่งผ้าอาบ นุ่งสบง แล้วมีอังสะ มีอังสะอย่างนี้ไม่ถือว่าเปลือยกายแล้ว ทีนี้พอไม่เปลือยกายปั๊บ พอบอกว่า ถ้าพูดถึงว่า การนุ่งสบง อังสะ แล้วแสดงธรรม รู้สึกขัดตา ขัดตา” ขัดตาส่วนขัดตาแต่มันไม่ขัดกิเลส ถ้ามันขัดกิเลสของคน ถ้าคนมันมีธรรมในหัวใจนะ ถ้ามีครูบาอาจารย์ที่เขาไว้ใจ เขาแสวงหาๆ ขอให้พูดมาเถิดๆ ขอให้แสดงธรรมมาเถิด

ดูสิ เวลาพระสารีบุตรไปฟังพระอัสสชิ ขอให้ท่านแสดงธรรมมา หน้าที่ขบปัญหาคือหน้าที่ของเกล้ากระผมเอง ขอให้แสดงธรรมมาเถิด” คนหิว คนกระหาย คนเขาก็ต้องการ เวลาคนต้องการนะ สิ่งที่มันเป็นธรรมชาติ สิ่งที่มันเป็นความสะดวก เวลาออกมา โอ้โฮมันเหมือนน้ำป่าน่ะ มันพรั่งมันพรูออกมา เขาต้องการความพรั่งพรูออกมาจากเนื้อหาสาระ เขาต้องการสัจจะความจริงอันนั้น

แต่ถ้าโดยพระในเมือง เห็นไหม มันก็ต้องแบบว่า เออต้องเจริญพร อาตมาจะแสดงธรรม โยมจะตั้งใจฟังหรือยัง ถ้าตั้งใจฟัง... นั้นมันเป็นอีกเรื่องหนึ่งเลย ถ้าเป็นอีกเรื่องหนึ่งนะ ฉะนั้น การที่ว่าจะต้องห่มผ้าหรือไม่ห่มผ้ามันอยู่ที่กาลเทศะ ถ้ากาลเทศะเราก็เห็นด้วยนะ เราเห็นด้วยเวลาที่แบบว่าแสดงไม่มีกาลเทศะ แล้วกิริยาที่มันไม่เป็นธรรมๆ นั้นอีกเรื่องหนึ่งนะ เวลาสิ่งที่ทำที่มันผิด สิ่งที่ทำที่ไม่ถูกต้อง เราก็ไม่เห็นด้วยทั้งนั้น แต่เวลาที่ความสะดวกๆ เพราะว่าครูบาอาจารย์ของเราท่านจะให้มันไหลออกมาเลย ถ้ามันไหลออกมาเป็นความจริงนะ

เวลาครูบาอาจารย์เรา เวลาหลวงปู่มั่นท่านแสดงธรรม เวลาหลวงปู่เจี๊ยะท่านพูดให้เราฟังประจำ เฮ้ยฟ้าร้องแล้วเว้ยฟ้าร้อง เวลาพระเล็กคุยกันไง ฟ้าร้อง ฟ้าร้องคือหมายความว่า ท่านแสดงกิริยาท่านจะแสดงธรรมแล้ว พอฟ้าร้อง ฟ้าร้องฝนมันจะตก พอฝนมันจะตก พวกเรามันหิวกระหายใช่ไหม หิวกระหาย ถ้าฝนตกมา โอ้ยชุ่มเย็นน่ะ เวลาฟ้าร้องเว้ยฟ้าร้องเว้ยคือว่าฝนมันจะตก เพราะฝนมันจะตกมันจะแสวงหา ถ้ามันแสวงหาอย่างนี้ได้มันก็จะได้ฟังธรรมอันนั้น ถ้ามันฟังธรรมอันนั้นสิ่งนั้นมันเป็นความจริง

แต่ถ้ามันเป็นความผิดพลาด เป็นความที่ว่า เราเห็นแล้วมันขัดตา ขัดตา” เวลาขัดตา มันก็เป็นสิ่งที่ว่าถ้าเขาทำผิดนะ แต่ถ้าเขาไม่ได้ทำผิดแบบว่าเอาความสะดวก ถ้าเอาความสะดวกสิ่งที่มันเป็นจริงขึ้นมาเขาต้องการความจริงอันนั้น แล้วถ้าพูดถึงว่าผิด ไม่ผิด ถ้าผิดก็อย่างที่เราว่าเปลือยกายนั่นน่ะ มันไม่ผิดเพราะมันเป็นเขตวัด เวลาเขตวัดนะ อยู่ในอาวาสหรือนอกอาวาส มันเป็นพระป่า พระป่ากับพระบ้าน

พระบ้านของเขา ถ้าเขากติกาอย่างนั้นมา เวลาออกจากกุฏิมาต้องห่มผ้า เวลาห่มผ้าของเขา แต่เวลาพระป่ามันอยู่ในป่า อยู่ในป่า มันมีวินัยบังคับทั้งนั้น ไม่ใช่อยู่ในป่าแล้วจะอิสระนะ ไม่ใช่อยู่ในป่าถ้าเข้าเขตบ้าน เพราะเราธุดงค์ไปนะ เวลาธุดงค์ไปเราอย่างนี้ แล้วเอาผ้าผูก ผูกแล้วขึ้นหลังเหมือนทหารเลย แต่เวลาจะเข้าหมู่บ้านเขาเรียกเขตบ้าน เขตบ้านต้องวางบริขารลง วางบริขารแล้วห่มผ้าก่อนเข้าไปในเขตบ้านไง แล้วเขตบ้านเพราะอะไร

เพราะธรรมและวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านบัญญัติไว้อย่างนี้ บัญญัติว่า ธรรมและวินัยนี้บัญญัติไว้เพื่อคนที่ไม่ศรัทธาให้ศรัทธา คนที่ศรัทธาแล้วให้ศรัทธามากขึ้น บัญญัติเพื่อเหตุนั้น แล้วถ้าภิกษุทำให้ศรัทธาไทยตกล่วงไปเป็นอาบัติทั้งนั้น ทำศรัทธาไทยให้ตกล่วง ไอ้นี่เราไม่ทำศรัทธาให้ตกล่วง มันต้องดูสถานที่ไง สถานที่ควรหรือไม่ควร ถ้าสถานที่ควรที่จะต้องห่มผ้าต้องเรียบร้อย เราก็เห็นด้วย

แต่ถ้าพูดถึงว่าเวลาเป็นกาลเทศะ ความเป็นอยู่ของภิกษุนะ เวลาท่านมีข้อวัตร เขาเรียกว่าทำข้อวัตรนะ เวลาทำความสะอาดทำนวกรรมในวัดนั่นแหละ แล้วเวลาญาติโยมเขามา เวลาญาติโยมเข้ามา ถ้าท่านต้อนรับแขกอย่างนั้นมันก็เป็นอย่างนั้น การต้อนรับอย่างนั้นมันเป็นความสะดวกถ้าเป็นความสะดวก ความสะดวกแล้วไม่ผิดวินัย

ความสะดวกที่ไม่ผิดวินัย จะเอาคำว่า สะดวก” หรือคำว่า ไม่สะดวก” มาเหยียบย่ำวินัยไม่ได้ เพียงแต่ว่าเวลาเราไปเห็นไง ไปเห็นว่าเวลาแสดงธรรมต้องห่มจีวร ต้องให้เรียบร้อยถึงจะแสดงธรรมได้ แล้วเกิดถ้าคนคนนั้นเขามีปัญหาในหัวใจของเขา แล้วเขาจะถามธรรมะ แล้วครูบาอาจารย์จะตอบตอนนั้น เขาจะได้ตอบตอนนั้น บอก ไม่ได้ รอก่อน ไปเอาจีวรก่อน แล้วต้องมาห่มผ้าให้เรียบร้อยก่อน แล้วค่อยมานั่งเทศน์อย่างนั้นหรือ?”

มันอยู่ที่กาลเทศะไง ถ้ากาลเทศะมันเป็นความจริงมันก็เป็นความจริงได้ ถ้ากาลเทศะเวลาคำว่า มันขัดนัยน์ตา” ถ้ามันขัดตาของเขา ไอ้ขัดตาเขามันก็เป็นนิสัย ดูสิ เวลาไปวัดไปวา คนที่ชอบ ชอบพระที่พูดนุ่มนวลอ่อนหวานนั่นก็อีกเรื่องหนึ่ง นุ่มนวลอ่อนหวานที่มีธรรมก็มี

แต่ถ้าพูดถึงว่าเวลาครูบาอาจารย์ของเรา อย่างเช่น เรา เราต้องการครูบาอาจารย์ที่เป็นความจริง ถ้าพูดความจริงๆ ความจริงอันนั้นมันเหนือโลก ถ้ามันเหนือโลกขึ้นมา ไอ้สิ่งที่ว่ากิริยามันเรื่องเป็นรองเลย ฉะนั้น เวลาหลวงตาท่านแสดงธรรม หลวงปู่มั่นแสดงธรรม ถ้าคนไม่เคยฟัง โอ้โฮตกใจ อู้ฮูมันออกมาพรู มันเหมือนหลวงตาท่านพูดประจำ เวลาถ้าธรรมของท่านไหลนะ มันจะกัด มันจะฉีก มันรู้สึกเหมือนจะกัดจะฉีกเลยน่ะ” แต่มันจะกัดฉีกอะไรล่ะ มันกัดฉีกกิเลสของคนไง มันจะกัดจะฉีกหัวใจของคนเลย ถ้าการแสดงธรรมอย่างนั้น นั่นน่ะธรรมแท้ๆ เลย

แต่กิริยา กิริยา เห็นไหม ดูสิ เวลาคำว่า กิริยา” เวลาคนโกรธ คนโกรธมันจะแสดงด้วยท่าทางของความโกรธ ท่าทางของโทสะ ท่าทางของความอาฆาตมาดร้าย เวลาธรรมมันออก ธรรมมันออกมันเป็นพลังของธรรม กิริยาอย่างนั้นน่ะกิริยาเหมือนคนโกรธเลย แต่ไม่โกรธ มันกลับเมตตา กลับสงสารนะ กลับเมตตากลับสงสารคนปฏิบัติ แต่ถ้ามันเคียดมันแค้นมันก็เคียดแค้นกิเลสตัณหาความทะยานอยาก เคียดแค้นครอบครัวของมารที่อยู่ในหัวใจของสัตว์โลกน่ะ

คำว่า เคียดแค้น” เพราะอะไร เพราะมันเคยอยู่ในหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันเคยอยู่ในหัวใจของครูบาอาจารย์ของเรา แล้วครูบาอาจารย์ของเราท่านเผชิญกับมัน ท่านต่อสู้กับมัน แล้วเผชิญกับมันน่ะ มันน่าโกรธ มันน่าเคียดแค้น แต่เวลาผู้ฟังมันไม่เข้าใจไง ฉะนั้น เวลาท่านจะชี้ ชี้ให้เห็นนะว่าอะไรเป็นธรรม อะไรเป็นกิเลส มันจะออกอย่างนั้นเลย มันจะเป็นกิริยากัดฉีกกิเลสเลย แต่ไม่ได้กัดฉีกคน แต่คนไปมองว่าท่านจะกัดฉีกกิเลสของคน

แต่ไอ้คนตกใจ คนมันไปกลัวไง โอ้โฮโอ้โฮแล้วมันก็มีคำร่ำลือออกมาไง บอกว่า ธรรมะผ่านจากโทสะ” เวลาไอ้พวกบาลี ไอ้พวกได้ภาษา เขาจะไปบิดเบือนไง เขาจะไปจับ จับกิริยาของครูบาอาจารย์ของเรา แล้วบอกว่า ธรรมะผ่านความโกรธออกมา” อะไรเป็นความโกรธ มีความโกรธด้วยหรือ ความโกรธมันอยู่กับปุถุชน ความโกรธมันอยู่กับเรา ความโกรธมันอยู่กับคนที่ไม่มีสติ คนที่พลั้งเผลอ ความโกรธมันถึงได้เหยียบย่ำหัวใจ ครูบาอาจารย์ที่ท่านทันของท่านแล้ว ความโกรธของท่านมันไม่มี ถ้าความโกรธของท่านไม่มี แต่การแสดงออกมาอย่างนั้น มันแสดงออกมาโดยพลังของธรรม

เวลาพลังของธรรม กิริยาไง คนเหมือนกันไง เหมือนสายพาน สายพานการผลิตมันจะบรรทุกอะไรมา สายพานที่มันเดินอยู่นี่ เห็นไหม วัตถุที่วางบนสายพานนั้น ถ้าวัตถุที่บนสายพานนั้นมันเป็นโกรธ สายพานนั้นมันก็ลำเลียงความโกรธนั้นออกมา สายพานนั้นถ้าเขาเอาคุณธรรมไปวางบนสายพานนั้น สายพานนั้นก็ลำเลียงคุณธรรมออกมา สายพานมันก็คือสายพานใช่ไหม

นี่ก็เหมือนกัน กิริยาของมนุษย์ มันก็คือกิริยาของมนุษย์นี่แหละ แต่กิริยาของมนุษย์ที่มีความโกรธ ความโกรธเกรี้ยวมันก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง กิริยาของมนุษย์ที่ไม่มีความโกรธมีด้วยหรือ?” กิริยาของมนุษย์ที่ไม่มีความโกรธ สอุปาทิเสสนิพพาน พระอรหันต์ที่สิ้นกิเลสแล้ว กิริยาคือกิริยา แต่คนมองไม่ออก ถ้าคนมองออก คนมองเข้าใจมันก็เป็นเรื่องหนึ่ง

อันนั้นพูดถึงว่าเวลาแสดงออกทางกิริยานั้นอย่างนี้ขัดตาหรือไม่ เขาบอกว่า เวลานุ่งเพียงสบง อังสะ มันขัดตามากๆ” มันขัดตาแล้วมันขัดกิเลสหรือไม่ล่ะ มันขัดกิเลสเราบ้างหรือไม่ มันไม่ขัดกิเลสของเราบ้างเลยหรือ เราต้องการความดีงาม ความเรียบร้อยอันนั้นทั้งนั้น เราไม่ต้องการสิ่งใดเลย ถ้าไม่ต้องการสิ่งที่มันมองแล้วมันขัดกับวัฒนธรรม วัฒนธรรมมันส่วนวัฒนธรรม แต่ถ้าเป็นความจริงเป็นความจริงอย่างนั้น

ถ้าความจริงเป็นความจริงอย่างหนึ่ง แต่นี้พูดถึงว่า การใส่อังสะแล้วแสดงธรรม” ถ้ามันกรณีอย่างนี้มันเป็นเรื่องแบบว่า เวลาศึกษามันก็มีเขาเรียกถึงว่าสังฆาธิการ เวลาพระสังฆาธิการเวลารับแขกต้องทำอย่างไร ต้องทำอย่างไร มันเป็นเรื่องมารยาทสังคม ถ้ามารยาทสังคมก็ทำได้ทั้งนั้น แต่มารยาทสังคมถ้าทำอย่างนั้น แต่เวลาพระที่อยู่ทั้งชีวิต พระอยู่ในชีวิตของพระ สิ่งที่เขาต้อนรับแขกนั้นเป็นนิสัย นิสัยของเขา

เราจะบอกว่า คนที่กิริยาเรียบร้อยที่เป็นธรรมก็มี แต่ส่วนใหญ่แล้วสิ่งที่เป็นธรรมมันก็คือธรรม มันจะเป็นกิริยาเรียบร้อยหรือไม่เรียบร้อยก็แล้วแต่ สิ่งที่นุ่งอังสะและไม่นุ่งอังสะมันก็เป็นเรื่องของว่ามันเป็นกาลเทศะ แต่ถ้าเวลาเราจะวัดกันมันจะวัดกันด้วยความผิดวินัยหรือถูกวินัย ถ้ามันผิดวินัยคือผิด อย่างที่ว่าถ้าพระเปลือยกายผิด

แต่ถ้าพระนุ่งสบง นุ่งอังสะ นุ่งผ้าอาบด้วย เวลาพระป่านุ่งผ้าอาบทั้งนั้น เพราะว่าเรื่องผ้าเราจะถือกันแบบว่ารักษากันแบบสุดยอด เพราะว่า อย่างเช่น ผ้าไตรของหลวงปู่มั่น เวลาหลวงปู่เจี๊ยะท่านรักษา แล้วต่อมาก็เป็นหลวงตาเป็นผู้รักษา โอ้โฮต้องเปรี๊ยะเลยนะ ต้องผึ่ง ต้องผึ่งไว้เพื่อไม่ให้มีกลิ่น เวลาบิณฑบาตกลับมาแล้วจะผึ่งแดดไว้ชั่วคราว ไม่ผึ่งแดดก็ผิด ผึ่งแดดไว้นานเกินไปก็ผิด ต้องผึ่งแดดไว้พักหนึ่ง พอมันดับกลิ่นเสร็จแล้วต้องพับ พับเก็บส่งให้อย่างเรียบร้อย พับเก็บแล้วต้องเป็นผู้ที่ดูแล

ฉะนั้น สิ่งที่ดูแลพระป่าเวลาเรื่องบริขารเป็นการฝึกสติ เป็นการฝึกหัด แล้วครูบาอาจารย์ท่านจะดูจริตนิสัย คนที่รักษาถูกต้องและไม่ถูกต้อง ถ้ารักษาสิ่งนี้ไม่ถูกต้องมันจะไปภาวนาอะไรของมัน ถ้ามันรักษาถูกต้องนะ เพราะอะไร เพราะพระเรามันไม่ใช่อยู่ที่เรื่องผ้า พระ บริขาร ๘ ส่วนบริขาร ๘ แต่ความเป็นอยู่ของพระเขาจะวัดกันที่สติ ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา ถ้ามีสติ มีสมาธิ มีปัญญาแล้วเรื่องอย่างนี้มันไม่รู้เป็นไปได้อย่างไร เรื่องอย่างนี้มันต้องรู้อยู่แล้ว

ถ้ารู้อยู่แล้วเวลาฝึกฝนของเขา มันฝึกฝนขึ้นมา ที่ว่าข้อวัตรปฏิบัติขึ้นมา เพื่อเป็นที่อาศัยของใจ เป็นเครื่องอยู่ๆ ถ้าใจเป็นเครื่องอยู่ ถ้ามันเครื่องอยู่อย่างนี้มันรักษาของมันแล้ว พอทำข้อวัตรเสร็จมันก็ต้องมีสติมาภาวนา ถ้าภาวนาขึ้นมา จิตมันสงบ จิตมันมีปัญญาขึ้นมา มันจะได้คุณธรรมขึ้นมาทางนี้ ถ้าได้คุณธรรมขึ้นมา เห็นไหม สิ่งที่รักษาๆ มันรักษาอยู่แล้ว

เพียงแต่ว่าที่เขาว่า ขัดตา ขัดตาเพราะว่าเขาไปเห็นไง เห็นสภาพแบบนั้น” เราจะต้องศึกษา ต้องเข้าใจเรื่องวินัยก่อนว่าอะไรถูก อะไรผิด ถ้าผิดก็คือผิด ถูกก็คือถูก ไม่มีการยกเว้น ไม่มีการยกเว้นธรรมและวินัย ถ้ายกเว้นนะ อย่างที่หลวงตาท่านพูดไง เหยียบหัวพระพุทธเจ้าไปแล้วแสดงธรรม เหยียบหัวพระพุทธเจ้าคือทำผิดวินัยไง แล้วแสดงธรรม

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเขานุ่งสบง เขามีอังสะ แล้วแสดงธรรมผิดอาบัติไหม ผิดวินัยไหม ถ้ามันไม่ผิดวินัย เพียงแต่ว่าถ้าทำที่มันที่ถูกต้อง คนเห็นแล้วคนก็ชื่นใจ ถ้าบอกว่ามันไม่ผิดวินัย แต่เป็นโลกวัชชะโลกเขาติเตียน โลกเขาติเตียนนั้นเป็นเรื่องโลก ความเห็นของโลก แล้วความเห็นของธรรมล่ะ ถ้าความเห็นของธรรมนะ ถ้าทำถูกต้องดีงาม ถ้าห่มผ้าสังฆาฯ ทำเรียบร้อยแล้วเทศน์ เราก็เห็นด้วย เออ!ทำถูกต้อง แต่ถ้ามันจำเป็นแบบว่าคนเจ็บคนป่วยมา เขาต้องการธรรมะต้องการเดี๋ยวนั้น เพราะการแสดงธรรมการคุยกับโยมว่าอย่างนั้นเถอะ มันอยู่ที่ว่าจังหวะ มันอยู่ที่เดี๋ยวนั้น อยู่ที่ปัจจุบันนั้น ถ้าปัจจุบันนั้นเป็นอย่างนั้นก็เป็นอย่างนั้น ถ้ามันไม่ผิดวินัยก็คือไม่ผิดวินัย

นี้พูดอย่างนี้ เพียงแต่เขาพูดต่อไปว่า ท่านน่าจะนุ่งห่มให้มิดชิด ไม่ทราบว่าพระเหล่านั้นทำถูกหรือทำผิด” ถ้าทำถูกหรือทำผิดมันก็อยู่ตรงนี้แหละ อยู่ตรงที่ว่าเขาผิดวินัยหรือไม่ เขาทำผิดวินัย เพราะถ้าทำผิดวินัย ยืนอยู่แสดงธรรม ถ้าพูดถึงว่าอย่างนี้มันขัดตานะ แล้วเวลาพระบิณฑบาตแล้วให้พร ขัดตาไหม พระบิณฑบาตตอนเช้าแล้วคนมาใส่บาตรแล้วให้พรน่ะ สมัยเราเด็กๆ สังคมบ้านเราเคยมีอย่างนี้ไหม มันไม่เคยมี แล้วพอมันมีขึ้นมาอย่างนี้ขัดตาไหม กลับไม่ขัดตา เพราะอะไร เพราะปันพร อู้ฮูชื่นชม ยินดี

ภิกษุยืนอยู่ ฆราวาสนั่งอยู่ ภิกษุแสดงธรรม เสขิยวัตรไปดูผิดหมด ภิกษุยืนคือการเคารพ เคารพผู้นั่งอยู่ แล้วแสดง-ธรรม คนที่แสดงธรรม การที่แสดงธรรมมันต้องมีเหตุมีผล แล้วแสดงธรรม เว้นไว้แต่ฆราวาสคนนั้นเป็นคนเจ็บไข้ได้ป่วย ถ้าเขาป่วย เช่น คนใกล้ตายเขานอนอยู่ เขานั่งไม่ได้ แล้วภิกษุยืนแสดงธรรมไม่เป็นอาบัติ แต่ถ้าเขาเป็นคนปกติ เขานั่งอยู่ หรือนอนอยู่ ภิกษุยืนอยู่แสดงธรรมเป็นอาบัติ เว้นไว้แต่ภิกษุนั่ง ถ้านั่งเสมอกันก็ได้ อย่างนั้นก็ได้

นี่ผิดวินัย เวลาผิดขัดตาหรือไม่ แต่เวลาใส่อังสะแสดงธรรมขัดตามาก อ้าวขัดตามันไม่ขัดกิเลสในหัวใจหรือ ถ้ามันถูกกิเลสๆ มันเป็นการส่งเสริมกัน ถ้าถูกกิเลสก็เป็นการยกย่องสรรเสริญกัน แต่ถ้ามันไม่ยกย่องสรรเสริญกันมันก็เป็นความผิด มันไปขัดกิเลสของเรา ถ้าขัดกิเลสก็เรื่องหนึ่ง ไอ้นี่พูดถึงความเห็นเป็นความเห็นน่ะ คือว่าเขาบอกเขาขัดตา เขาไม่เห็นด้วย ถ้าไม่เห็นด้วยมันก็เป็นความเห็นไง แต่เราต้องพูดกันว่าเขาผิดอะไร เขาผิดอะไร ผิดวินัยข้อไหน

แต่ถ้ามันไม่ผิดอะไร สิ่งที่เราพูดมันเป็นข้อกติกาในวัดนะ คือหัวหน้าวัดไหนก็แล้วแต่ ผู้นำเป็นคนตั้งข้อวัตรปฏิบัติขึ้นมา ถ้าตั้งข้อวัตรปฏิบัติขึ้นมามันก็อยู่ที่จริตนิสัย เช่น เมื่อก่อนเราออกเที่ยวธุดงค์อยู่ เราไปไหนนะมันแบบว่าสะดวกสบายมาก เพราะส่วนใหญ่ช่วงนั้นส่วนใหญ่แล้วจะเป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่น พอลูกศิษย์หลวงปู่มั่นการประพฤติปฏิบัติมันจะมาแนวทางเดียวกัน แล้วพอมารุ่นหลานใช่ไหม ลูกศิษย์ใคร ลูกศิษย์ใคร มันมีความเห็นอย่างนี้ ความเห็นแตกต่างกันแล้ว ไอ้อย่างนี้ทำไม่ได้ อย่างนี้ทำได้ อย่างนี้ทำไม่ได้

นี้พอทำได้หรือทำไม่ได้ ๑ ข้อวัตรปฏิบัติ หลวงปู่มั่นท่านเป็นคนพาบุกเบิกมา แต่เวลาบุกเบิกแล้วมันก็ต้องมาจากธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉะนั้น เวลาเราเปรียบเทียบ เราจะเปรียบเทียบว่าในวินัย ในวินัยผิดหรือไม่ ถ้าในวินัยมันผิดเราจะไม่ทำ ถ้าในวินัยถูกเราถึงทำ ทีนี้บางอย่างในปัจจุบันนี้ สิ่งที่มันเกิดขึ้นมา มันเกิดขึ้นมา อย่างเช่น ของใช้ของสอย โลกมันเจริญไง กฎหมายมันควบคุมไม่ถึงไง แล้วเวลาควบคุมไม่ถึงเราจะตัดสินอย่างไร เวลาตัดสินขึ้นมา เวลาตัดสินขึ้นมาบางคนก็เห็นดีงามไปด้วย บางฝ่ายก็บอกไม่สมควร

เวลาครูบาอาจารย์เราไปถามหลวงตา สมัยที่หลวงตาท่านมีชีวิตอยู่ บอกว่า อย่างนี้ฉันได้หรือไม่” ท่านบอก ไม่ได้” “ไม่ได้เพราะอะไร” “ไม่ได้เพราะมันไปบำรุงปอบ” ปอบคือกิเลส ท่านไม่พูดวินัยนะ สมัยนั้นเราฟังแล้วอืมก็แปลกๆ แต่เดี๋ยวนี้พอโตขึ้นมาเราเข้าใจ อ๋อถ้าไปพูดเรื่องกฎหมาย กฎหมายเป็นมุมมอง เป็นมุมมอง เป็นคนมีมุมมองแตกต่างกัน ทัศนะแตกต่างกัน มันก็จะเถียงกันไม่จบ แต่ท่านบอกว่า มันไปบำรุงปอบ ไปบำรุงกิเลส” เออจบ กินไม่ได้

ของนี้ฉันได้ไหม” ท่านบอกว่า ไม่ได้” พระถามว่า ไม่ได้เพราะเหตุใด” “ไม่ได้เพราะมันไปบำรุงปอบ มันไปบำรุงกิเลส” คือไม่ฉันมันก็ไม่เห็นมันเป็นไร ก็ไม่ต้องไปยุ่งกับมันไง โลกมันจะมีก็เป็นเรื่องของโลกไง เราเป็นพระ เราก็อยู่ส่วนพระของเรา สิ่งใดที่เขาใส่บาตรมา เขาถวายมา สิ่งใดที่ใช้ประโยชน์ได้ก็ใช้ ใช้ประโยชน์ไม่ได้ก็แจกทานต่อไป จบ เพราะเราไม่ไปเดือดร้อน ไม่ไปแบกโลก ถ้าไปแบกโลกมันก็มีปัญหา ถ้ามีปัญหาขึ้นมาก็อีกมุมมอง

ฉะนั้น ผิดถูกมันต้องบอกว่าวินัยห้าม ห้ามทำอะไร ถ้าการแสดงธรรมอยู่ในวัด โอเค เว้นไว้แต่นอกวัด นอกวัดก็ต้องห่มผ้า ถ้าอยู่ในวัดนะ เพราะอยู่ในวัดมันก็เหมือนอยู่ในบ้านของเรา ในบ้านของเรา ออกจากนอกวัด เว้นไว้แต่ทำสังฆกรรม ทำสังฆกรรมต้องครบ ถ้าไม่อย่างนั้นมันไม่ครบ มันก็ทำไม่ได้ นี่พูดถึงว่ามันอยู่ที่กาลเทศะ กาลเทศะ

ฉะนั้น ถ้าจะบอกว่า ที่เขียนมาก็เพราะหลวงพ่อนั่นแหละ ถ้าเขียนมา หลวงพ่อ หลวงพ่อก็พูดนี่ เพราะเราเอาเนื้อหาสาระ ถ้าจะเอาจริงๆ นะ จะเอาแบบว่าเอาใจสังคม เราก็ทำเป็น จะแต่งตัวให้สวยๆ เลย เวลาเขาจะใช้ผ้าเวอร์ซาเช่ก็ไม่พอใจเขา เวลาเขาจะขัดผิวก็ไปว่าเขา ถ้าอย่างนั้นเดี๋ยวจะขัดผิวเลย ถ้าจะห่มผ้า ห่มถ้าไม่เวอร์ซาเช่ไม่รับ เอาอย่างนั้นไหม ถ้าจะว่าหลวงพ่อ เราเก็บผ้าบังสุกุลทั้งนั้น ไร้สาระ ทำถูกทำผิดเอาเนื้อหาสาระกัน

ถ้าเป็นเรื่องของพระทั่วไปก็เป็นกาลเทศะ ถ้าเรื่องของหลวงพ่อ เอาว่ามันผิดวินัยข้อไหน มันไม่ผิดวินัยข้อไหน แล้วอย่างที่ว่า เราต้องการเนื้อหาสาระ ต้องการสัจจะ ต้องการความจริง เวลาทำเป็นกิจจะลักษณะก็ห่มผ้า เวลาจะตอบปัญหาถือว่าเป็นการสนทนาธรรม กาลเทศะ จบ

ถาม : เรื่อง แม่ชอบไหว้เจ้า

ขอความเมตตาพระอาจารย์ครับ แม่ผมชอบไหว้เจ้าจีนมากครับ จะไหว้เจ้าทุกงาน ทุกเทศกาลที่มีตามปฏิทินจีน แล้วเวลาไหว้แต่ละครั้ง แม่ผมจะซื้อของไหว้เจ้าเยอะมาก เสียเงินเยอะมาก ผมพยายามชวนแม่มาใส่บาตรที่วัด มาทำทานที่วัดดูบ้าง แม่ผมก็ไม่ค่อยจะมา อย่างนี้พระอาจารย์พอจะมีกลอุบายอะไรที่จะทำให้แม่ผมได้มาวัดบ้างครับ แม่ผมอายุมากครับ ผมอยากให้แม่ผมได้ทำบุญทำทานบ้าง จะได้มีบุญติดตัวแม่ไปยังภพหน้าครับ

ตอบ : มันเป็นความวิตกกังวลของผู้ที่ศึกษาธรรมะ เวลาถ้าไม่ศึกษาธรรมะนะ เราก็ไม่มีเวลาให้กับหัวใจเราเลย ว่าอย่างนี้นะ เวลาเราศึกษาธรรม ธรรมะ ธรรมะสัจธรรมมันเป็นเครื่องอยู่ของใจ ถ้าใจเรามีเครื่องอยู่นะเหมือนใจเรามีอาภรณ์ที่อาศัยมีที่หลบแดดหลบฝน เราจะมีที่พึ่งทางใจ

พอเรามาศึกษาธรรมะแล้ว พอศึกษาแล้วอะไรเป็นบุญ อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นแบบว่าถือมงคลตื่นข่าว เราก็พยายามจะพัฒนา เราก็พยายามจะทำตัวให้เราดีขึ้น นี่เป็นเรื่องธรรมดา เพราะเราก็เป็นอย่างนี้มาก่อน เราเป็นอย่างนี้มาก่อน หมายความว่าตอนที่เราเป็นฆราวาสน่ะ เราก็จับต้นชนปลายไม่ถูกหรอก แต่เราก็พยายามศึกษา แล้วเราก็พัฒนาขึ้นมา

กรณีนี้มันก็เป็นความคิดทั้งนั้นน่ะ อยากจะทำอะไรให้มันมีผลมากๆ เวลาทำบุญกุศลก็อยากจะตักบาตรพระ อยากจะได้บุญมากๆ แล้วเวลาไปทำนอกจากได้บุญน้อยเราก็ไม่อยากทำ นี่ก็เหมือนกัน บอกว่าเราไปเห็นแม่ไหว้เจ้า ไหว้เจ้านี่ พูดถึงนะ เราก็น่าเห็นใจแม่อันหนึ่ง เห็นใจแม่อันหนึ่งเพราะว่าเขาเกิดจากวัฒนธรรมอย่างนั้น เพราะพ่อแม่เราก็เหมือนกัน พ่อแม่เราก็ไหว้เจ้าเหมือนกัน เราก็เคยคิดอย่างนี้ แต่สุดท้ายแล้วเรามาเห็นว่าให้เขาทำ ให้เขาทำนะ ให้เขามีที่พึ่งของเขา ให้มีความสุขของเขา ยังดีกว่าเราไปขัดใจเขา แต่ถ้าพูดถึงว่าถ้าเราพูดได้ เราพูดได้

เพราะว่าเวลาเขาโต้แย้งกันทางสังคม เขาบอกว่า เวลาใส่บาตร ไหว้เจ้ายังได้กิน ใส่บาตรไม่ได้กินเลย” เวลาเขาพูดอย่างนี้ เป็นคำพูดที่เขาภูมิใจว่าเขาไหว้เจ้าแล้ว เจ้าได้กินแล้ว ดูสิ เวลาเอาไก่ไปไหว้ เราเอาไก่มาทำอาหาร ไก่จื๊ดจืด แสดงว่าเจ้ากินแล้วมันเหลือแต่เนื้อไว้ให้เรา เขาก็ภูมิใจของเขา สิ่งที่เขาภูมิใจของเขา ไหว้เจ้ายังได้กิน ใส่บาตรแล้วไม่ได้กินเลย แต่เวลาใส่บาตรไป เวลาเราให้ของใคร เราให้ของเขาไปแล้ว ให้ไปแล้วเราได้บุญไหม เราภูมิใจไหม คนที่ได้รับแล้ว เราให้ของแล้วเราเอาของเรากลับ เขาจะได้ไหม

นี่ก็เหมือนกัน เวลาเราไปไหว้เจ้าแล้วเราก็เอากลับบ้าน แต่การเสียสละทาน เสียสละทานจริงๆ นะ สละทานไปแล้วก็คือทาน แล้วเราจะภูมิใจของเรามาก ถ้าภูมิใจอย่างนี้บุญกุศลมันเกิดตรงนี้ไง ถ้ามันเกิดจากตรงนี้นะ แต่ถ้าพ่อแม่เขามีวัฒนธรรมของเขา เราจะบอกว่าเป็นวัฒนธรรม วัฒนธรรมความเชื่อ ความเชื่อเขาไหว้เจ้าอยู่ ถ้าเขาทำแล้วเขามีความสุข โอเค แต่เราก็พยายามแบ่งครึ่งหนึ่งนะ ไหว้เจ้าด้วย ใส่บาตรด้วย ใส่บาตรพระที่ไหนก็ได้ ขอให้ได้ใส่บาตร

คำว่า ใส่บาตรนะ” แล้วสละทานจริงๆ สละทานไปเลย ทานอันนั้นจะเป็นของเรา สิ่งที่เราเสียสละทานได้จริงมันได้ มันได้ความกตัญญูกตเวทีไง ความระลึกถึงพระถึงเจ้า ระลึกถึงคนที่ทำประโยชน์สังคมน่ะ สิ่งที่ไหว้เจ้าๆ คือทำประโยชน์กับสังคม แล้วเรานับถือเขา นับถือเขา เราระลึกถึงบุญคุณของคน ระลึกถึงคุณงามความดี มันเป็นกตัญญู มันก็ได้ระดับหนึ่ง

แต่ถ้าเอาเรื่องผลของวัฏฏะๆ นะ ผลของวัฏฏะ ทาน ศีล ภาวนา การเสียสละทาน เสียสละทาน ทำบุญ พอเวลาทานไปแล้ว เสียสละแล้ว เขาว่าเป็นทิพย์ๆ เราย้อนกลับไปสิ เราเคยทำบุญมาตั้งแต่เมื่อไหร่ เรานึกถึงบุญของเรา นึกถึงอาหารที่เราใส่บาตรวันนั้น หรือเราเสียสละวันนั้น มันยังไม่เน่าไม่เสียเลย เป็นทิพย์ สิ่งที่เป็นทิพย์เวลาทำมากขึ้นๆ ถ้าทำมากขึ้นทำเสียสละมากขึ้น ทำแต่ความดีมากขึ้น มันก็เหมือนพระพุทธเจ้าๆ จะเป็นพระพุทธเจ้าได้ต้องเป็นพระโพธิสัตว์

พระโพธิสัตว์ สิ่งที่จะเป็นพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์คือการเสียสละทั้งนั้น การเสียสละอย่างนั้น เสียสละอย่างนั้นมันทำให้บารมีเต็ม คำว่า บารมีเต็ม” มันเปลี่ยนแปลงนิสัยมาตลอด มันเปลี่ยนแปลงความคิดความเห็นเรามาตลอด เพราะการให้ การให้มันก็มีมุมมองหนึ่ง การให้มากขึ้น การกระทำความดีมากขึ้น มุมมองของใจมันก็พัฒนาขึ้น มันพัฒนาขึ้นๆ จนมันคิดแต่เรื่องดีๆ ทั้งนั้น พอคิดแต่เรื่องดีๆ ทั้งนั้นถึงเวลาแล้วที่มันจะเป็นประโยชน์ ผลของการให้เสียสละทาน

แต่ถ้าเป็นการไหว้เจ้าๆ ไหว้เจ้ามันก็เป็นความระลึกถึงกัน ระลึกถึงกันแล้ว ระลึกถึงกันมันก็เป็นสายบุญสายกรรม สายบุญสายกรรมมันก็เป็นอย่างนั้นตลอดไปไง แต่ถ้าเราพูดได้นะ เราจะบอกว่า ถ้าเราไปพูดโดยความขัดแย้ง มันจะไม่เกิดประโยชน์ มันทำให้เป็นความทุกข์ทั้งแม่ทั้งเรา แต่ถ้าเราพูดด้วยความเป็นสัมมาทิฏฐิ เราพูดด้วยเหตุด้วยผล จะไม่ทำให้พ่อแม่เราจะมีความทุกข์

เพราะกรณีนี้มันก็เหมือนกรณีของเรา เราเคยพูดอย่างนี้แล้วแม่มีความทุกข์มาก มีความทุกข์มากว่าไม่ให้ทำอย่างนี้หรือ ไม่ให้ทำอย่างนี้หรือ ไม่ให้ทำอย่างนี้แล้ว พอไม่ให้ทำแล้ว เขาไม่มีที่พึ่งไง เพราะเราไม่ได้ฝึกใจเขามาก่อนไง ไม่ให้ทำอย่างนี้หรือ ไม่ให้ทำแล้วจะให้ทำอะไรล่ะ จะให้มาทำเรื่องทาน เพราะถ้าเขาไม่ได้ศึกษาก่อน เขาก็จะไม่เข้าใจนะ แต่เขาศึกษาก่อนเพราะอะไร โอ้โฮถ้าไหว้เจ้า เจ้ามีฤทธิ์นะ โอ้โฮเจ้าบันดาลอะไรให้เราก็ได้ พระยังมาขอเรากินอยู่เลย พระยังมาบิณฑบาตเลย แล้วพระจะทำอะไรให้เราได้ล่ะ คนมันคิดไปนู่นน่ะ

แต่ถ้าเราคิด เรามีสติมีปัญญา ศากยบุตรพุทธชิโนรสเป็นบุตรขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาชาวบ้านเขาติเตียนนะ เวลาไหว้พระไม่เคยโดนตัวพระเลย โดนแต่ลูกชาวบ้าน โดนแต่ลูกชาวบ้าน” เวลากิเลสมันถากมันถางไง ใช่พระก็มาจากลูกชาวบ้านทั้งนั้น พระก็มีพ่อมีแม่ ในสมัยพุทธกาล พ่อแม่ของพระเป็นเศรษฐีแล้วพระมาบวช จนพวกคนใช้โกงจนหมดตัวนะ ให้พ่อแม่เป็นขอทานไง พระองค์นั้นจะสึกไปเลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ ก็ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าก่อน พระพุทธเจ้าบอก ไม่ต้องสึกหรอก เอาพ่อแม่มาไว้ที่วัดแล้วบิณฑบาตมาเลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่

โอ้โฮพระเขาติเตียนใหญ่เลย บอกพระองค์นี้เห็นแก่ตัว ไปบิณฑบาตชาวบ้านมาเลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ ไปฟ้องพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าบอกถูก พระพุทธเจ้าบอกว่าก็พ่อแม่มีบุญคุณขนาดนี้ พ่อแม่ให้ชีวิตนี้มา เราเป็นพระ พระสามารถบิณฑบาตเลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ได้ พระสามารถเช็ดขี้เช็ดเยี่ยวแม่ได้ ถ้าไม่มีใครดูแลนะ พระห้ามโดนตัวผู้หญิง ยกเว้นไว้แต่แม่ วินัยเปิดช่องไว้หมดเลย ฉะนั้น พระองค์นั้นก็เลยเฝ้าพระพุทธเจ้าก่อน พระพุทธเจ้าก็เลยบอกให้เอาพ่อแม่มาเลี้ยง พอเอาพ่อแม่มาเลี้ยง พระองค์นั้นก็บิณฑบาตเลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ แล้วก็อุปัฏฐากพ่อแม่ จนพ่อแม่เสียชีวิตไปนะ พระองค์นั้นมาปฏิบัติต่อเนื่องไป จนพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์

พระก็มีพ่อมีแม่ ถ้าพระมีพ่อมีแม่ สิ่งที่ว่า เวลายกมือไหว้มันก็ได้โดนแต่ลูกชาวบ้าน โดนแต่ลูกชาวบ้าน” พระก็มีพ่อมีแม่ แต่พระมาบวช บวชแล้วเป็นลูกศิษย์ขององค์สมเด็จพระ-สัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศากยบุตรพุทธชิโนรส แล้วถ้าประพฤติปฏิบัติขึ้นไปจนมีคุณธรรมในหัวใจ เป็นธรรมทายาท เป็นศาสนทายาท แล้วจรรโลงศาสนาต่อไป มันต่อเนื่องไป มันเป็นคำพูด มันเป็นความคิดเห็นของคนต่างหาก ถ้าเป็นความคิดเห็นของคน พระยังมาขอเรากินเลย แล้วเราไหว้เจ้า เจ้ามีฤทธิ์นะ

อันนี้เราเปรียบเทียบเฉยๆ นะ ไม่ได้พูดเพื่อให้ใครสูงใครต่ำนะ เราพูดถึงมุมมอง มุมมองของคนน่ะ เราจะพัฒนาคน เราจะเปลี่ยนแปลงคน เราก็ต้องค่อยๆ พัฒนา อย่าให้ไปขัดแย้งกัน เพราะความคิดไม่รอบคอบ เพราะเราเองเราเป็นพระ เราก็มีพ่อมีแม่ เราเคยทำมาแล้ว แล้วมันขัดแย้ง แล้วเดี๋ยวนี้มันเลยเป็นบทเรียน ใครจะถามปัญหามา คอยตอบ คอยตอบเพราะอะไร คอยตอบเพราะเราเคยทำผิดมา เราเคยทำมาแล้ว แล้วมันผิดพลาด แล้วเราก็คิดได้เองนะ

พอคิดได้เองว่า อ๋อแม่เรายังไม่มีภูมิทางหัวใจ เราไปพูดให้ท่านทุกข์ทำไม ก็ปล่อยให้ท่านทำตามสบาย พอปล่อยท่านตามสบายนะ กลับมาอีกปีหนึ่ง โอ้โฮศาลพระภูมิทำขึ้นมาใหม่อย่างดีเลย ทีแรกจะให้เอาศาลพระภูมิออกหมด มันเฮี้ยนน่ะ ตัวเองเฮี้ยน แล้วจะไปสอนคนอื่น ไอ้คนอื่นเขายังไม่เฮี้ยนเหมือนเราไง

พอเราไปคิดได้ เสียใจนะ พอพูดเสร็จแล้วเห็นท่านเศร้า คอตกเลย เราก็กลับไปอีสาน ไปคิดได้ เราไม่น่าไปทำให้พ่อแม่ทุกข์เลย ทีนี้เลยไม่พูดอีกแล้ว ตามสบาย กลับมาอีกทีนะ โอ้โฮไปทำไอ้นั่นน่ะ ศาลพระภูมิ ไปทำอย่างดีเลย เราเฉยๆ ไม่พูดเลย เฉย ตามสบาย สุดท้ายแล้วท่านวางกันเอง สุดท้ายแล้วก็เห็นในทางศาสนานี้มีคุณค่า สุดท้ายแล้ว ท่านพัฒนานะจนไปอยู่วัดอยู่วาได้ ถ้าไปอยู่วัดอยู่วาได้มันก็วางสิ่งนั้นได้ไง

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน มันเป็นวัฒนธรรมนะ วัฒนธรรมของคนจีนจะเป็นอย่างนี้ ถ้าวัฒนธรรมของคนจีน เราจะบอกว่า ถ้าวัฒนธรรมของคนจีน เราไปอีสาน เห็นคนจีนคนเจ๊ก โอ้โฮเข้าวัดเยอะมาก แล้วถ้าพ่อแม่เรายังไม่มีภูมินะ ให้ได้ไปคุยกับเจ๊กทางอีสานนะ เจ๊กทางอีสาน โอ้โฮศรัทธามาก เจ๊กอีสาน วัดทางอีสาน เจ๊กทั้งนั้นเป็นผู้อุปัฏฐาก ไม่เจ๊กก็แกว มีอยู่สองอย่าง แล้วถ้าไปเจอเจ๊กอีสาน โอ้โฮไอ้เจ๊กภาคกลางต้องไปคารวะเลยน่ะ พอมันคุยด้วยกัน เจ๊กคุยด้วยกัน มันคุยด้วยกันแบบภูมิมันใกล้กันน่ะ มันจะเชื่อฟัง

แต่ไอ้นี่มันกรณีหนึ่งนะ เป็นแม่กับลูกด้วย ถ้าแม่กับลูก เห็นไหม ทีนี้เขาเป็นห่วง ห่วงว่า แม่เขาอายุมากแล้ว เขาอยากให้ได้บุญติดตัวไปภพชาติหน้า” เราก็อุทิศส่วนกุศล เราทำเท่าที่ทำได้ เราทำได้มากน้อยขนาดไหนก็ทำได้ขนาดนั้น ชักนำ โน้มนำ ถ้าเขาเห็นว่าเป็นคุณงามความดี ถ้าเป็นคุณงามความดีเขาทำได้ ก็เป็นประโยชน์กับเขา

แม่เราก็เหมือนกัน เขาต่อรองอย่างนี้ ไหว้เจ้าด้วย ใส่บาตรด้วยได้ไหม คือจะใส่บาตรก็ขอไหว้เจ้า ยังละไหว้เจ้าไม่ได้ อันนี้เราก็ต้องเห็นใจนะ บอกว่าจะให้ใส่บาตรหมดเลย ไม่ไหว้เจ้า โอ้โฮเขาทุกข์ตายเลย แม่จะต่อรอง ถ้าใส่บาตรด้วย ไหว้เจ้าด้วยได้ไหม ถ้าใส่บาตรก็ใส่บาตร แล้วขอไหว้เจ้าด้วย อย่าให้ละไหว้เจ้าด้วยเลย อ้าวโอเค โอเค ทำอย่างไรก็ได้ ขอให้ได้ทำ แต่แต่ทำไปๆ แล้วโอ้โฮสุดยอดนะ เพราะว่าอะไร เพราะว่าไหว้เจ้าก็ส่วนไหว้เจ้า

เราคิดคนเดียว อาม่าเราใส่บาตรนะ พอวันไหนป่วยก็ไม่ได้ใส่ เว้นไว้ พอรุ่งขึ้นไปใส่บาตร พระเขามาบิณฑบาตเขาก็ถาม เมื่อวานไปไหนมา” อู๋ยภูมิใจมากนะ เขามาคุยให้ฟังไง บอกว่า เวลาใส่บาตร ถ้าวันไหนขาดไป รุ่งขึ้นพระมา พระถามว่าเมื่อวานไปไหนมา” คือคนแก่อยากให้คนระลึกถึง โอ๋ยท่านภูมิใจ ทีแรกไม่กล้าใส่ เราบอกม่าใส่บาตรนะ เขาว่าอย่างนี้นะบอกว่า อาย” เราก็บอกว่า ม่า คนให้กับคนรับ ใครจะอายกว่ากันล่ะ” ไม่กล้าใส่บาตรนะ ไม่เคยทำก็ไม่กล้าทำ พอไปใส่เข้า ใส่เข้า ก็ที่ว่านี่แหละ พอใส่เข้า ใส่เข้า วันไหนไม่ได้ใส่ พระมาถามเลยล่ะ พอถามมันภูมิใจ

นี่พูดถึงว่า พูดถึงคนเจ๊กด้วยกัน เห็นใจมาก เพราะวัฒนธรรมมันหลากหลาย นี่พูดถึง เวลาเป็นถึงสังคมนะ ยก ดูในวัดสิ วัดพระบวชมาแล้ว ดูสิ นิกายกี่นิกาย แล้วอาจารย์ใครอาจารย์มัน แนวทางปฏิบัตินี้ร้อยแปดพันเก้า ถ้าให้มันละเอียดเข้ามานะ แนวทางปฏิบัติ ไอ้นั่นก็ยุบหนอ พองหนอ ไอ้นู่นก็รู้เท่าตัว รู้ตัวทั่วพร้อม ไอ้นี่ก็พุทโธ ไอ้นู่นก็มรณานุสติ แล้วจะเอาทางไหนล่ะ

แต่ถ้าเราทำทางไหนก็ได้ ขอให้จิตใจสงบ เราทำทางไหนก็ได้ ขอให้จิตใจเราดีขึ้น ถ้าเราดีขึ้น ดีขึ้นนะ พอมันดีขึ้น มันภาวนาไปนะ มันจะไปติดข้างหน้า ถ้าผิดมันไปไม่ได้ ถ้าไปไม่ได้ไอ้คนคนนั้นมันจะแสวงหาเอง ถ้าคนคนนั้นนะพยายามจะไปแล้วมันติด คนคนนั้นไปไม่ได้ คนคนนั้นจะกลับมาแสวงหา แต่คนคนนั้นยังภาวนาไม่มีเหตุไม่มีผล มันไม่รู้ว่าอะไรถูก อะไรผิดหรอก เราภาวนาไป เราก็ท่องบ่นของเราไป แต่มันไม่มีเหตุมีผล แต่เราท่องบ่นของเราไปแล้ว ถ้ามันเป็นสมาธิได้ แล้วมันเป็นสมาธิทำไมมันไม่ก้าวหน้า

เวลาปฏิบัติไปแล้ว เวลาครูบาอาจารย์ที่ท่านสนทนาธรรมกัน เอ๊ะเราปฏิบัติมาถึงขนาดนี้ เอ๊ะท่านยังไปต่อได้อีก แสดงว่าเรายังไปได้อีกหรือ ยังไปได้อีกหรือ ไอ้พวกเราพอทำไปแล้ว โอ้โฮสุดยอด สุดยอด เรายังไม่ได้คุยกัน ยังไม่ได้สนทนากัน ยังไม่รู้ว่าใครสูงใครต่ำ พอไปสนทนากัน มีคนที่เขาสูงกว่า คนที่เขาไปได้มากกว่า เอ๊ะแสดงว่ามันไปได้อีก มันก็จะพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ

นี่พูดถึงว่า เวลาในพระในมุมมองต่างๆ มันยังมีมุมมองร้อยแปดเลย แต่ในทางโลกนะ แต่นี้เพียงแต่ว่ามันแบบว่าไฟแรงน่ะ ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติใหม่ๆ จะมีไฟแรงอย่างนี้ ถ้าไฟแรงอย่างนี้ ก็พยายามจะชักนำคนนู้น ชักนำคนนี้ แล้วมันจะมีปัญหา เวลาจะชักนำกันเราจะพูดประจำ เราต้องปฏิบัติตัวเราให้ได้ก่อน ปฏิบัติตัวเราให้เป็นประโยชน์ก่อน แล้วเป็นประโยชน์แล้ว เวลาเราจะสนทนาธรรม จะชักนำใคร เราจะชักนำใคร เวลาพูดด้วยเหตุด้วยผลมันฟังขึ้น เวลาเราชักนำใคร เราพูดตามตำรา พูดตามที่เราจำมา ว่าอย่างนั้นเถอะ พอเขาถามว่าแล้วมันเป็นเพราะเหตุใดล่ะ ตอบไม่ได้

แต่ถ้าเราปฏิบัติของเราก่อนนะ เราทำอย่างนี้ เราได้ผลอย่างนี้ แล้วมันดีขึ้นอย่างนี้ มันเป็นประโยชน์อย่างนี้ แล้วเขาถามมา ถามมา ถ้าทำอย่างนี้แล้วมันจะได้อย่างไร ทำอย่างนี้แล้วมันจะเป็นอย่างไร มันจะเป็นชั้นๆ ขึ้นไปไง นี่เรื่องของถ้าเรามีความจริงขึ้นมาเราจะอธิบายได้ พออธิบายได้มันก็เข้าใจได้ไง

นี่พูดถึงว่า แม่ชอบไหว้เจ้าเนาะ” ถ้าไหว้เจ้าก็สาธุนะ ขอเป็นพ่อเป็นแม่ เป็นพ่อเป็นแม่ที่ดี ถ้าเป็นลูก ก็เป็นลูกที่ดี ในสังคมที่ดีนะ ทุกคนปรารถนาความสุข เกลียดความทุกข์ทั้งนั้น ถ้าปรารถนาความสุข เกลียดความทุกข์ มันเป็นความจริงของเรา ถ้าเป็นความจริงของเรา สิ่งที่เป็นความจริง ทุกคนแสวงหาความจริง ความจริงที่เป็นความจริงในใจแล้ว มันจะเป็นประโยชน์กับคนคนนั้น เอวัง