ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ตามวินัย

๑๓ ก.พ. ๒๕๖o

ตามวินัย

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ถาม : เรื่อง เรียนถามปัญหาเรื่องการสร้างกุฏิของพระตามวินัยครับ

กราบเรียนท่านพระอาจารย์ที่เคารพ กระผมมีปัญหาสงสัยเรื่องการสร้างกุฏิของพระที่ชอบด้วยวินัย

การสร้างกุฏิโดยไม่มีชานรอบได้หรือไม่

ลักษณะของกุฏิต้องมีลักษณะอย่างไร

คำว่า อันหาชานรอบ” ตามวินัยหมายความว่าอย่างไร

อนึ่ง ภิกษุใดให้สร้างกุฏิอันหาเจ้าของมิได้ เฉพาะตนเอง ด้วยอาการขอเอาเอง จึงสร้างให้ได้ประมาณในการสร้างกุฏินั้นดังนี้ โดยยาว ๑๔ คืบ โดยกว้างโดยรวมใน ๗ คืบ ด้วยคืบพระสุคต พึงนำภิกษุทั้งหลายไปเพื่อแสดงที่ภิกษุเหล่านั้นพึงแสดงที่อันไม่มีผู้จองไว้ อันมีชานรอบ หากภิกษุสร้างกุฏิด้วยอาการขอเอาเอง ในที่อันมีผู้จองไว้ อันหาชานรอบมิได้ หรือไม่นำภิกษุทั้งหลายไปเพื่อแสดงที่ หรือสร้างให้ล่วงประมาณนั้นเป็นสังฆาทิเสส

ขอเมตตา หลวงพ่อตอบแบบอธิบายขยายความให้แจ่มแจ้งด้วยครับ หากยกตัวอย่างอันประกอบคำบรรยายให้เห็นภาพพอสังเขป จะดีมากเลยครับ

ตอบ : บางทีพูดถึงการศึกษานะ การศึกษาเรื่องภาคปริยัติ การศึกษาเรื่องภาคปริยัติเขาศึกษากันแล้วเขาศึกษาเพื่อเอาวุฒิ วุฒิภาวะ เขาต้องสอบ มันเป็นระบบ

แต่พระกรรมฐาน พระกรรมฐานเขาศึกษานะ จะบอกว่า พระกรรมฐานไม่มีการศึกษา วันๆ หนึ่งมีแต่เอาหลับหูหลับตา พุทโธๆ มันจะรู้อะไร” พระกรรมฐานเขาศึกษานะ แต่ศึกษาโดยไม่สอบเอาวุฒิไง ศึกษามาเพื่อคุ้มครองตัวเองไง ศึกษามาเพื่อประพฤติปฏิบัติไง

ถ้าศึกษามาเพื่อประพฤติปฏิบัตินะ ประพฤติปฏิบัติ เวลาปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ฉะนั้น เวลาการศึกษา ศึกษาแล้วทางวิชาการเขาโต้แย้งกันไปโต้แย้งกันมา แต่ถ้าในภาคปฏิบัติสิ่งนี้มันมีอยู่แล้ว ถ้ามันมีอยู่แล้วเพราะอะไร เพราะสวดปาฏิโมกข์ทุก ๑๕ ค่ำ แล้วเวลาพระกรรมฐานส่วนใหญ่ต้องสวดปาฏิโมกข์ได้ คำว่า สวดปาฏิโมกข์ได้” หมายความว่าพระถ้าจะพ้นนิสัยต้อง ๕ พรรษาขึ้น ต้องเป็นผู้ฉลาดถึงพ้นนิสัย ถ้าพระเรา ๑๐ พรรษาขึ้นแต่ไม่เป็นผู้ฉลาดเขาไม่พ้นนิสัย

คำว่า พ้นนิสัย” เวลาคำว่า พ้นนิสัย” พ้นนิสัยทางโลกก็เหมือนบรรลุนิติภาวะ ถ้าไม่บรรลุนิติภาวะทำสิ่งใดต้องมีผู้ดูแล ฉะนั้น เวลาผู้ดูแล ฉะนั้น สิ่งที่จะพ้นนิสัยได้ สิ่งที่จะพ้นนิสัยได้ต้องผู้ฉลาด ฉลาดในอะไร คำว่า ภิกษุต้องพ้น ๕ พรรษาเป็นผู้ที่ฉลาดถึงพ้นนิสัย ก็นี่ไง เพราะอะไร ส่วนใหญ่เพราะสวดปาฏิโมกข์ได้ สวดปาฏิโมกข์ได้ประสาเรานะ ถ้าสวดปาฏิโมกข์ได้ก็จบนิติศาสตร์ เพราะสวดปาฏิโมกข์ได้มันก็รู้กฎหมายไง ถ้ารู้กฎหมายมันก็เอาตัวรอดได้ไง

ส่วนใหญ่แล้วพระ พระกรรมฐานเนี่ยส่วนใหญ่ ว่าส่วนใหญ่จะบอกว่าทั้งหมดไม่ใช่ บางองค์ก็สวดไม่ได้ แต่บางองค์พยายามแสวงหาสวด เพราะในวงกรรมฐานเขาพยายามจะประพฤติปฏิบัติกัน มีความเพียรไง ทีนี้ความเพียรขนาดว่ามันมีตัวหนังสือให้ท่องยังท่องไม่ได้ แล้วเวลาเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนาเพื่อเอาจิตสงบ เพื่อจะเกิดปัญญา เรื่องนั้นมันละเอียดรอบคอบกว่าไง นี้ครูบาอาจารย์บอกว่า มันมีตัวหนังสือให้ท่องยังท่องไม่ได้หรือ

เวลาครูบาอาจารย์เรา อย่างเช่น หลวงปู่ชอบ ครูบา-อาจารย์หลายๆ องค์ของเรามากเลย ๗ วัน บวชแล้ว ๗ วัน ปาฏิโมกข์ท่องจบๆ พอท่องจบ ปาฏิโมกข์ ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ อนิยต ๒ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ปาจิตตีย์ ๙๒ แล้วก็เสขิยวัตร เวลาสวดก็นี่ไง ถ้าสวดได้แล้ว แล้วมีครูบา-อาจารย์เป็นหลัก ครูบาอาจารย์ที่เป็นธรรม พอครูบาอาจารย์ที่เป็นธรรมท่านทำให้ดูเป็นตัวอย่างไง ถ้าครูบาอาจารย์ที่เป็นธรรมท่านทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ได้ทั้งการศึกษา ได้ทั้งแบบ ทั้งรูปแบบ ทั้งตัวอย่างที่ให้เห็น

กรณีนี้ มันก็กรณีเหมือนกับว่าในวินัยบอกว่า ไม้สีฟันยาว ๔ นิ้ว แล้ว ๔ นิ้วเป็นอย่างไร” เรื่องนี้เมื่อก่อนนี้การศึกษาหรือพระเรายังไม่เข้มงวด เขาศึกษาแล้วเขาก็งง ไม้สีฟันมัน ๔ นิ้วอย่างไร” ทีนี้พอดีมีกรรมฐานอยู่ในที่ประชุมด้วยก็หยิบไม้เจียขึ้นมาให้ดูเลย นี่ไง ๔ นิ้ว” “อ๋อๆเลย” แล้วหลวงปู่มั่นทำมามากน้อยขนาดไหน เราทำมานานแล้ว พอทำมานานแล้ว เราทำเป็นข้อเท็จจริงเลย ถ้าข้อเท็จจริงเลยแต่การศึกษายังไม่เข้าใจ เพราะไม่ได้มีการทำไง

ฉะนั้น พอบอกว่า พระกรรมฐานไม่มีการศึกษา พระ-กรรมฐานหลับหูหลับตา พระกรรมฐานจะไม่รู้เรื่องธรรมวินัย ไม่รู้ได้อย่างไรถ้าไม่รู้จะเอาตัวรอดได้อย่างไร การจะเอาตัวรอด แต่เขาเอาตัวรอดด้วยการประพฤติปฏิบัติแล้วมันแบบว่าไม่มีวุฒิ ในระบบเขาต้องมีใบประกาศกัน แล้วประสาเราใบประกาศก็เหมือนกับปัจจุบันนี้ มหาวิทยาลัยเกือบทุกมหาวิทยาลัยเลย ให้ตรวจสอบอาจารย์ทั้งหมด เพราะวุฒิภาวะปลอมเอามาจากไหนก็ไม่รู้ ดอกเตอร์เรียนกันอย่างไรมาก็ไม่รู้ ตอนนี้ต้องตรวจสอบกันแล้ว ขนาดมีใบประกาศมันยังปลอมกันเลย

แต่การศึกษานี้มันไม่มีใบประกาศๆ เอ็งมีวุฒิภาวะไหม เอ็งมีความสามารถไหม ถ้ามีความสามารถสิ่งนั้นเป็นความจริง ฉะนั้น เป็นความจริงแล้ว ไอ้เรื่องที่ว่าเวลาพระเราเวลาออกวิเวกนะ ธุดงค์ไป เวลาธุดงค์ไป เห็นไหม อย่างเช่น เช่น ในประวัติปฏิปทาธุดงคกรรมฐาน เวลาไปแล้วในป่าในเขา ถ้าชาวบ้านเขารู้เขาเห็น เขาก็มาสร้างกระต๊อบห้อมหอให้ เขามาสร้างให้ๆ เพราะเราไปเที่ยว มันไปนะแถวภูพาน มันจะมีเป็นแคร่ เป็นแคร่ทำทิ้งไว้ๆ เวลาพระไปก็ไปพักที่นั่นๆ ในป่ามันจะมีแคร่เขาทำทิ้ง ทำทิ้งไว้นะ ทำทิ้งไว้

เหมือนชาวบ้านไง มันมีเส้นทางที่พระเดินธุดงค์ พอเส้นทางพระเดินธุดงค์ เส้นพระเดินธุดงค์มาเขาก็จะมาพักที่นั่น แล้วพระเขาจะรู้กันว่าพระกลุ่มนี้ไปแล้ว เดี๋ยวเขาก็เดินธุดงค์มาไปพัก อันนั้นเป็นของใคร นั่นเป็นของสาธารณะ เป็นแบบว่า ถ้ามันเป็นเหมือนกับที่รกร้างว่างเปล่า เหมือนกับที่ปู่ตาของชาวหมู่บ้าน เป็นที่ฝังศพๆ เป็นที่ทิ้งศพของชาวบ้าน แล้วเวลาพระเขาธุดงค์มา เขาไปพักมา ฉะนั้น ผู้ที่เขาไปทำบุญกุศลที่เขามีใจที่เป็นธรรม เขาก็ไปสร้างแคร่ไว้ให้ ฉะนั้น สร้างแคร่ไว้ให้ อันนั้นจะบอกว่าพระเที่ยวไปไม่มีใครเป็นเจ้าของ แล้วไม่มีใครไปยึดมั่น ไปยึดให้มันเป็นอาบัติขึ้นมา

ฉะนั้น เวลาคำถาม พอเข้ามาคำถามใช่ไหม คำถามบอก เดี๋ยวนี้พอโลกมันเจริญขึ้น เวลาสร้างวัดก็ต้องมีใบอนุญาต” เวลาไปพักที่ไหนถ้าเป็นป่า เจ้าหน้าที่ป่าไม้ก็จะไล่พระออกจากป่า เพราะว่าเข้ามาพักไม่ได้เดี๋ยวจะมายึดสร้างวัด แล้วถ้าเป็นบ้านของคน เป็นบ้านชาวบ้าน มันก็มีเจ้าของทั้งนั้นๆ ไปทำรุ่มร่ามไม่ได้เพราะมันผิดกฎหมาย ถ้ามันผิดกฎหมายเรื่องอย่างนี้มันก็เลยเกิดขึ้น

ถ้าเกิดขึ้นมา ไปที่คำถามนะ การสร้างกุฏิโดยไม่มีชานรอบได้หรือไม่” การสร้างกุฏิโดยมีชานรอบไม่มีชานรอบ ชานรอบนี้มันเป็นวัดประเภทใด วัดอะไร แต่ถ้าพูดถึงถ้าเป็นพระกรรมฐานไม่เกี่ยวเพราะอะไร เพราะอยู่ในเงื้อมผา อยู่ในเรือนว่าง อยู่โดยทั่วไป ฉะนั้น ไอ้ที่เป็นชานรอบไม่เป็นชานรอบมันเป็นกฎหมายนะ ถ้าเวลามีชานรอบ นี่ข้อที่ ๑ เพราะมันเป็นกฎหมายอย่างไร กฎหมายหมายความว่า คำว่า ตามวินัย ตามวินัย” วินัยพระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ ถ้าบัญญัติขึ้นมาแล้วมันเป็นกฎหมาย ถ้าทำผิดกฎหมายมันก็เป็นอาบัติทั้งนั้น ถ้าเป็นกฎหมาย

ฉะนั้น บอกว่า ต้องมีชานรอบ” ชานรอบมันมีตั้งแต่อุทายี สมัยพุทธกาลพระอุทายีเป็นนายช่างเก่า พอนายช่างเก่าเขามาบวชแล้วเขาก็ปั้นดินไง ปั้นดินแล้วเขาก็เผา เขาเผา โอ๋ยมันขึ้นเป็นแบบว่าเป็นเหลือบเลยล่ะ ใครๆ ก็ไปดู ใครๆ ก็ไปดู ร่ำลือถึงพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าบอกว่า ให้ทุบทิ้ง” สั่งให้ทุบทิ้งเลย พระอุทายีๆ อยู่ในพระไตรปิฎก สิ่งนั้นเวลามันเป็นวัดเป็นวาขึ้นมา เวลามันสร้างขึ้นมาๆ แล้วถ้ามันทำสิ่งใดที่มันเป็นโลกวัชชะ โลกเขาติเตียน ๑.

. สมัยพุทธกาลนะนี้สมัยพุทธกาลไม่สมัยปัจจุบันนี้ชาวบ้านเขาเห็นนะ เห็นวัว วัวสีเหลืองๆ มันเดินมานะ เขาตกใจวิ่งหนีหมดเลยเพราะอะไร เพราะพระไปเรี่ยไรจนเขาทนไม่ไหว นี่สมัยพุทธกาลมันก็มี เพราะถ้าไปเรี่ยไรเขามา นี่ไง ถ้าจะสร้างกุฏิโดยที่ไปขอเขาไปเรี่ยไรเขาๆ ถ้ามันเรี่ยไรจนสังคมเขาเบื่อหน่าย ไปเบียดเบียนเขาจนเขาเบื่อหน่าย พอเบื่อหน่ายเห็นวัวเดินมานึกว่าพระ หนีก่อนเลย ตกใจขนาดนั้น นี่อยู่ในพระไตรปิฎกนะ มันไม่มีสมัยนี้หรอก

อย่างนี้มันถึงมีการห้ามไง ห้ามว่า ถ้าจะขอเขาได้มากได้น้อยแค่ไหน ไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปวารณาถ้าขอสิ่งนั้นได้มา ใครขอมาวัตถุนั้นเป็นนิสสัคคิย ตัวเองเป็นปาจิตตีย์ ไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปวารณาห้ามขอ ห้ามเด็ดขาด แต่ถ้าเป็นขณะเขาปวารณาแล้ว ปวารณาเท่าไร ปวารณามากน้อย นี่พูดถึงถ้าตามวินัยนะ ถ้าตามวินัย ถ้ามันตามวินัยมันเป็นแบบนั้น ถ้าตามวินัย

แต่เดี๋ยวนี้มันเป็นเรื่องการตามใจตัวเองไง พอตามใจแล้วก็ไปตามกิเลส พอตามกิเลสไป มันก็มีปัญหาขึ้นมา พอมีปัญหาขึ้นมา พูดถึงว่า ถ้าตามวินัยต้องเป็นตามวินัยนั่น ฉะนั้น เวลาการสร้างถ้าตามวินัยสร้างเป็นของส่วนตนๆ แต่ความจริงมันไม่ใช่ มันไม่ใช่เพราะอะไร มันไม่ใช่เพราะถ้าขออนุญาตสร้างวัดๆ สร้างวัดเสร็จแล้วขออนุญาตตั้งวัด พอตั้งวัดเสร็จแล้วมันเป็นสมบัติของชาติ วัดมันเป็นสมบัติสาธารณะ มันไม่ใช่ของของใคร ถ้าไม่เป็นของใคร อย่างเช่น เจ้าอาวาสเขาก็อยู่แค่ชีวิตเขา พอสิ้นชีวิตไปมันก็ตั้งองค์ใหม่ขึ้นมาเป็นเจ้าอาวาส โดยการปกครองตามกฎหมายของคณะสงฆ์ ถ้าเป็นของคณะสงฆ์นะถ้ามันเป็นวัดเป็นวามันเป็นของสาธารณะ มันไม่ใช่ของบุคคล ต้องแยกตรงนี้ก่อนไง

แต่ถ้าเป็นของบุคคล เวลาของบุคคลมันก็เข้ากับคำถามนี้ ถ้าคำถามนี้สร้างให้ใคร สร้างให้ใครก็เป็นของของเขา แล้วสิทธิ์ล่ะ เพราะสมมุติว่าสร้างให้เรา เราเป็นพระนะ สร้างให้เราเป็นของของเรา แต่พอเราตายไปแล้ว สมบัติของพระตายไปแล้วสมบัตินั้นตกเป็นของใคร มันก็ต้องเป็นของศาสนาอย่างเดิมนั่นแหละ นี่ตามกฎหมายนะ ตามกฎหมาย สมมุติว่าพระองค์ใดก็แล้วแต่มีสมบัติส่วนตัว ถ้าไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ไม่ได้ทำพินัยกรรมยกให้ใครไว้ เวลาเขาตายสมบัตินั้นตกเป็นของศาสนานะ

ทีนี้ย้อนกลับมา นี่พูดถึงกฎหมายก่อน ฉะนั้น คำถามเขาต้องแยกก่อนไง เขาต้องแยกก่อนว่าสิ่งที่ว่าสร้างกุฏิ สร้างกุฏิให้เป็นของบุคคล แล้วของบุคคล ของบุคคลก็เป็นสิทธิของเขานะ เป็นสมบัติส่วนตัวว่าอย่างนั้นเลย ถ้าเป็นของบุคคลก็เป็นสมบัติส่วนตัว แต่ส่วนใหญ่ที่เราไปสร้างกันในวัดๆ เป็นของส่วนตัวหรือของวัด ส่วนใหญ่แล้วเป็นของวัด ถ้าเป็นของวัดปั๊บไอ้สิ่งที่คำถามที่ถามมาต้องชี้ที่ก่อนต้องอะไรก่อน มันก็ยกเว้นไป สิ่งที่จะต้องมีคนมาชี้ที่ก่อน จะต้องให้สงฆ์บอกที่ มันยกไปเพราะว่ามันไม่ได้สร้างให้บุคคลไง

เพราะสร้างให้บุคคลวินัยบังคับไว้ ๒ ชั้น ชั้นหนึ่งคือขอเองไม่ได้ เพราะถ้าขอมาจะสร้างเป็นของบุคคล คนคนนั้นจะสร้างนะ อย่างเรา โอ้โฮเราเคยอยู่คอนโดมิเนียมมา ๕๐๐ ชั้น เวลาบวชพระขึ้นมาเราก็จะสร้างกุฏิส่วนตัว เราจะสร้าง ๔๐๐ ชั้น มันก็บังคับไว้ใช่ไหม เพราะอะไร เพราะมันเป็นกิเลส ถ้าตามใจคนคนนั้น คนคนนั้นกิเลสมาก พอคนคนนั้นกิเลสมากเวลาเข้ามาเป็นพระแล้วเขามีศักยภาพ เขาจะสร้างที่อยู่ของเขา เขาก็จะสร้างมหัศจรรย์น่ะสิ

พระพุทธเจ้าถึงบอกว่า ถ้าเป็นของบุคคลไม่ได้ โดยยาวได้ ๑๒ คืบ โดยกว้างได้ ๗ คืบ ถ้าโดยรอบก็โดยระเบียง ระเบียงโดยรอบ โดยรอบระเบียงนั้นแล้วจะสร้างเพราะมันเป็นที่ของวัด ที่ของสาธารณะ เอ็งจะเอามาสร้างได้อย่างไร ก็ต้องเอาพระมาชี้ที่ไง เอาพระในที่นั้นมาชี้ที่ ชี้ขอบเขตไม่ให้มันขอบเขตมา

แต่ถ้าเป็นของวัด ถ้าเป็นของวัดคณะกรรมการมันตกลงกันแล้ว เราจะสร้างสิ่งใดในวัด มันอีกเรื่องหนึ่งนะ มันเป็นประเด็นซ้อนกันอยู่ไง เป็นของบุคคลหรือของวัด ถ้าเป็นของวัดไอ้ที่ว่าต้องชี้ที่ก่อนต้องบอกให้มาชี้ที่อันนี้จบไปๆ แต่มันก็เป็นของวัด กรรมการเขาทำกันอยู่แล้ว ทีนี้มันมีกรรมการของวัดก็คือคณะสงฆ์ คณะสงฆ์เป็นผู้ดูแลของของวัด แล้วถ้าของบุคคลมันซ้อนมาไง บุคคลมันซ้อนมาในคณะสงฆ์นั้น คณะสงฆ์นั้นมันต้องมีสงฆ์ครบถึงเป็นสงฆ์ขึ้นมาใช่ไหม แล้วบุคคลคนนั้นแล้วบุคคลไปสร้างขึ้นมามันจะมีอำนาจซ้อนกัน ว่าอย่างนั้นเถอะ ถ้ามีอำนาจซ้อนกันมันก็ต้องใช้มติสงฆ์นั้น ต้องให้สงฆ์ชี้ที่ก่อน

ฉะนั้น คำถามข้อที่ ๑ การสร้างกุฏิโดยไม่มีชานรอบได้หรือไม่” อันนี้บอกว่า เพราะมันก็มีนะ ระเบียงมันก็มีของมัน ได้หรือไม่ เพราะว่าเราไม่อยากฟันธงไง พอฟันธงเดี๋ยวว่าขัดพุทธพจน์อีก ไปขัดพระพุทธเจ้ายิ่งยุ่งใหญ่เลย ฉะนั้น การสร้างกุฏิโดยไม่มีชานรอบได้หรือไม่” เราไม่ใช่บอกว่าได้หรือไม่นะ แต่ในปัจจุบันนี้เราบอกว่าไม่เห็นมีชานรอบเลย เขาก็สร้างกันโดยปกติ นี่อันหนึ่งนะ

ลักษณะของกุฏิที่ถูกต้องมีลักษณะอย่างใด” ลักษณะของกุฏิที่ถูกต้อง ถ้ากุฏิที่ถูกต้อง ไปดูที่วัดป่าบ้านตาด ตอนที่หลวงตาท่านอยู่ที่ว่าวิมานๆ นั่นวิมานของหลวงตานะ หลวงตาท่านบอกว่า วิมานคือเรือนว่าง คือที่เราสร้างเป็นร้านแล้วมีผ้าล้อม ท่านบอกว่านี่วิมาน วิมานของพระ ๑อากาศถ่ายเท ๒ไม่มีสิ่งใดเป็นความกังวล การภาวนาสะดวกสบายทั้งนั้นวิมาน นี่ไง ถ้าลักษณะถูกต้องคือเรือนว่าง ถ้าเรือนว่าง ในเงื้อมผา นี่ไง ลักษณะถูกต้อง ลักษณะถูกต้อง

แต่ในปัจจุบันนี้มันต้องติดกระจกนะ มันติดกระจกหมดนะ ลักษณะที่ถูกต้อง อันนี้เราจะบอกว่ามันเป็นยุคสมัยด้วยนะ ยุคสมัยนี้ไง ยุคสมัยนั้นสิ่งปลูกสร้างมันยังไม่แข็งแรง ยุคสมัยนี้มันแข็งแรงแล้วนั่นก็อีกเรื่องหนึ่ง นี่ลักษณะที่ถูกต้อง

คำว่า อันหาชานรอบ” ตามธรรมวินัยหมายความว่าอย่างใด” คำว่า หาชานรอบตามวินัย” ถ้าในความเห็นเรานะ ก็แบบว่าให้มันเป็นกิจจะลักษณะ ว่าอย่างนั้นเลย เป็นกิจจะลักษณะ เพราะในเมื่อถ้าเป็นของบุคคลแล้วถ้ามันไม่มีกิจจะลักษณะ ไม่ชัดเจนขึ้นมา เดี๋ยวมันพาดพิงกับคนอื่นไง พาดพิงกับของของสงฆ์ แล้วเดี๋ยวพระทะเลาะกัน ว่าอย่างนั้นเลย

แต่ถ้ามีลักษณะมีชานรอบ ลักษณะมีชานรอบ ประสาเราก็ไปดูกุฏิหลวงปู่มั่นสิ มีชานรอบไหม แล้วถ้ากุฏิกรรมฐานมันมีชานรอบแล้วยังมีทางจงกรมอีกด้วย ทำเป็นทางจงกรมไว้เลย เวลาครูบาอาจารย์เราท่านทำ พระกรรมฐานศึกษามาจากโคนต้นไม้ ศึกษามา เวลาศึกษาๆ ศึกษาธรรมะของตน ศีล สมาธิ ปัญญา เราปรารถนาศีล สมาธิ ปัญญา เราปรารถนามรรคปรารถนาผล เราบวชมาเพื่อมรรคเพื่อผลไม่ได้บวชมาเพื่อกุฏิ ไม่ได้บวชมาเพื่อความอยู่สุขอยู่สบาย หลวงตาท่านเทศนาว่าการตลอดเวลา ถ้ายังเห็นแก่ปากแก่ท้อง ธุดงค์ไม่ได้

ถ้ายังติดนะ วัดไม่ให้มีตู้เย็น ถ้ามีตู้เย็นแล้วมันกินแต่น้ำเย็น พอกินน้ำเย็นเสร็จแล้วออกธุดงค์ไม่ได้แล้ว เพราะในป่ามันไม่มีตู้เย็น มันกินจนติดเป็นนิสัย พอเป็นนิสัยแล้วมันออกไปลำบากไม่ได้แล้ว ฉะนั้น พระไม่ให้มีอะไรเลย ให้มันทุกข์ให้มันยาก มันจะไปอยู่ป่าไหนก็ได้ มันจะอยู่บาดาลก็ได้ มันจะไปไหนก็ได้ ฝึกไว้ตั้งแต่ตอนนี้ไง

ถ้าฝึกไว้ตั้งแต่ตอนนี้แล้ว เห็นไหม สิ่งนี้มันฝึกไว้ ถ้ามันฝึกขึ้นมา ครูบาอาจารย์ที่ท่านสั่งสอน สั่งสอนอย่างนี้ ถ้าสั่งสอนอย่างนี้แล้วๆ ไม่ได้สอบเอาวุฒิด้วย ไม่ได้สอบเอาใบประกาศด้วย แต่ทำขึ้นมาเพื่อไม่ให้มีความกังวล ไม่ให้มีสิ่งใดมากดถ่วงในใจของตน แล้วภาวนาขึ้นไปมันก็ถูกต้องๆๆ ถ้าถูกต้อง ถ้าบอกว่าสิ่งที่กุฏิที่มันถูกต้องมันควรจะเป็นอย่างใด” ฉะนั้น อันนี้เป็นคำถามใช่ไหม คำถามข้อ ๑.

ฉะนั้น บอกว่า คำถาม อนึ่ง ภิกษุใดที่จะสร้างกุฏิอันหาเจ้าของมิได้ โดยเฉพาะตนเอง โดยอาการขอเอาเอง” โดยอาการขอเอาเอง ไปขอเขา ดูสิ สร้างแล้วจะได้วิมานนะ สร้างแล้วมันจะได้บุญกุศลมากนะ” แล้วพอสร้างเสร็จแล้ว แล้วใครไปอยู่ในวิมานนั้นล่ะ เออสร้างเสร็จแล้วใครไปอยู่ในวิมานนั้น เขาสร้างขึ้นมาเพื่อให้ภิกษุ ให้ผู้ที่เห็นภัยในวัฏสงสารเป็นผู้ที่หลบแดดหลบฝนเท่านั้น แล้วประพฤติปฏิบัติ นี่คือเป้าหมายของศาสนาไง

แต่ถ้าเวลาเป้าหมายในปัจจุบันนี้ทุกคนก็บอกว่าศาสนาต้องเจริญ ศาสนาเจริญก็ไปแข่งขันกันเจริญ แล้วเวลาเจริญขึ้นมา ศาสนาประจำชาติๆ หลวงตาเลยบอก ศาสนาประจำหัวใจ ถ้าหัวใจของคนดีหมดแล้วนะสิ่งปัญหาอย่างนี้มันไม่เกิดขึ้น ทีนี้ปัญหามันไม่ได้เกิดขึ้นอย่างนั้น ปัญหาคนที่มันมีเป้าหมายว่าอยากจะแข่งขันกัน อยากจะเชิดหน้าชูตา พอเชิดหน้าชูตา แต่ไม่ได้เชิดชูธรรม ถ้ามันเชิดชูธรรมนะมันจบเลย ถ้าเชิดชูธรรมในหัวใจนะ ถ้าหัวใจมันเบิกบานแล้วเรื่องอย่างนี้มันเป็นส่วนประกอบ แต่เนื้อหาสาระคือความจริงๆ มันไม่จำเป็นต้องไปเถียงกันตรงนั้นไง

ฉะนั้น ไม่เถียงกันตรงนั้น เห็นไหม สิ่งที่ว่าโดยอาการขอเอาเอง ขอมาเพื่อใครล่ะ เวลาครูบาอาจารย์ของเราไม่ปรารถนา ไม่ต้องการสิ่งใดเลย มันไหลมาเทมาทั้งนั้น ถ้าไหลมาเทมาขึ้นมา ท่านก็ทำประโยชน์ของโลกไป ถ้ามันเป็นประโยชน์ เพราะคนมันมีมันก็ต้องมี เราจะบอกว่า คำว่า มี” มันจะมีหมายความว่า ท่านได้สร้างของท่านไว้แล้วมันจะมีมันต้องมี ถ้าไม่ได้สร้างไว้คือมันไม่มี ถ้ามันไม่มีอยากจะมี ถ้าอยากจะมีขึ้นมา เห็นไหม โดยขอเอาเองมันก็จะเกิดขึ้น

กรณีนี้ถ้าพูดถึงมันสะเทือนใจไปถึงเทวทัตทุกทีเลย พระ-เทวทัต เวลาที่นางวิสาขามาเยี่ยมพระๆ พอมาเยี่ยมพระก็มีน้ำปานะมาฝากองค์นั้นองค์นี้ มาฝากพระนันทะ มาฝากพระ-อานนท์ ทำไมไม่ถามถึงเทวทัตสักที ถ้าเทวทัตมันก็เสมอกัน ลูกกษัตริย์เหมือนกัน ทำอย่างไรจะให้เขาเห็นความสำคัญของเรา จะให้เห็นความสำคัญของเรามันก็ต้องมีตัวตนใช่ไหม มีตัวตนก็เอาใครดีก่อน เอาอชาตศัตรูเพื่อจะเอาความสำคัญเพื่อจะเอาตัวตน เพื่อจะให้คนเห็นความสำคัญของตน สุดท้ายแล้วก็ถลำลึกไปจนเป็นเทวทัต จนทำลายสงฆ์นั่นน่ะก็เกิดจากตรงนี้ เกิดจากเท่าเขาเทียมเขา

จะไปเท่าเทียมใคร เทียมกิเลสในใจนี่สิ ถ้ามันเทียมกิเลสในหัวใจเนาะ ถ้ามันเทียมกิเลสในหัวใจมันเอาธรรมะทัดเทียมแล้วเอาธรรมะบดบี้มัน เอาธรรมะสูงส่งกับมัน อันนี้มันเป็นไปได้

ฉะนั้น บอกว่า โดยการขอเอาเองใช่ไหม” ฉะนั้น บอกว่า การสร้างกุฏิโดยกว้าง ๑๒ คืบ โดยยาว ๑๐ คืบพระสุคต พึงนำภิกษุทั้งหลายไปเพื่อแสดงที่ ภิกษุเหล่านั้นพึงแสดงที่อันไม่มีผู้จองไว้อันมีชานรอบ” ไอ้นี่มันอยู่ในวินัยมุขๆ เพราะพวกนี้วินัยมุขเล่ม ๑ เล่ม ๒ เล่ม ๓ แล้วในวินัยมุขมันก็เป็นตำราการศึกษานั่นน่ะ พอศึกษามาแล้วมันก็เป็นความจริงนั่นแหละ ทีนี้แต่เราพูด เราพูดอย่างนี้ ฉะนั้น พอขอเมตตา เราก็จะบอกว่า ถ้าตามวินัยเราทำตามวินัยโดยที่เราต้องเข้าใจ

แต่ถ้าเราตามหัวใจของตน ตามกิเลสของตน ถ้าเราไม่ตามกิเลสของตนสิ่งที่ทำไว้ๆ ทำเป็นประโยชน์สาธารณะ ถ้าไม่ใช่ของบุคคล จบเลย คือไม่ใช่ของของเรา ถ้าไม่ใช่ของของเรามันก็ไม่มีอะไรเกี่ยวพัน เว้นไว้แต่ อย่างเช่น เช่นที่ว่าถ้าเป็นอาบัติเราทำผิดเอง เราก็ผิดหมด ถ้าเราไม่ได้ทำมันก็ไม่ผิด เว้นไว้แต่สภาคกรรม สภาคกรรมคือทำทั้งหมดมันเป็นไปโดยไม่รู้ตัว อันนั้นเป็นสภาคกรรม กรรมที่ว่ามันเกิดขึ้นร่วมกันไง แต่ถ้าเกิดขึ้นร่วมกันอย่างนั้นปลงอาบัติไม่ตก มันต้องอาบัติไม่ใช่เป็นตัวมันถึงปลงตก

นี่พูดถึงว่ากุฏิเนาะ เพียงแต่เราจะพูดว่าของที่เป็นของของตน ของของที่เป็นของบุคคล กับของของที่เป็นสาธารณะ หรือเป็นของของวัด ถ้าเป็นของของวัดนะ ของสาธารณะ ถ้าบอกอย่างนี้ปั๊บเป็นของของตนแล้วทำได้แค่นี้ แล้วที่เขาสร้างกันตึกใหญ่โตมหาศาล ๕ ชั้น ๑๐ ชั้น เดี๋ยวมันจะไปพาดพิงคนอื่นไง เราไม่พาดพิงเขา อันนั้นเราจะยกให้ว่าเขาสร้างเป็นของวัดๆ แต่ทุกคนก็ยังยึดว่าเป็นผลงานของตนนะ เพราะในการปกครองเขาจะเอาตรงนี้มาเป็นผลงาน แล้วขอความดีความชอบกันไง พระก็เลยแข่งขันกันสร้าง แต่ไม่แข่งขันกันสร้างธรรมในใจ

ฉะนั้น หลวงตาท่านบอกว่า สมบัติของพระคือคุณธรรม ถ้าพระยังทรงธรรมทรงวินัยไม่ได้ ใครจะทรง ธรรมะ ธรรมะสำคัญ เธอจงมีธรรมเป็นที่พึ่งเถิด อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย” แต่กูเห็นเอ็งวิ่งไปหาอย่างอื่นหมดเลย เอ็งไม่ได้หาธรรมกันเลย เอ็งจงมีธรรมเป็นที่พึ่งเถิด แล้วธรรมมันคืออะไร ก็ยังไม่รู้จักธรรมคืออะไรอีกด้วยนะ ถ้าทำได้จริงมันก็ย้อนกลับมา ฉะนั้น ของนี้ถ้ามันเป็นของบุคคลต้องทำตามวินัยทั้งหมด

ถ้าเป็นของบุคคลนะ แต่ส่วนใหญ่แล้วของบุคคลมันแทบจะไม่มีแล้วล่ะ เพราะมันเป็นวัด พอวัดนะระบบการปกครองมันไม่มีของบุคคลหรอก เว้นไว้แต่ๆ ที่เขาสร้าง เวลาเขาสร้าง สร้างกุฏิให้กับวัดต่างๆ แล้วก็จารึกชื่อผู้สร้างไว้ อันนั้นเป็นจารึกผู้เสียสละจารึกผู้ให้ทาน ไม่ใช่จารึกบอกว่าเป็นของพระองค์ใด แต่ส่วนใหญ่จะเป็นของวัด ต้องดูตรงนี้ ต้องดูว่าถ้าเป็นของวัดเป็นของสาธารณะ เรื่องขนาดว่า ๑๒ คืบ ๗ คืบ อันนี้ยกไว้ แต่อันนี้ถ้าเป็นของบุคคลคนคนเดียวไง พระองค์เดียวจะอยู่กว้างขวางขนาดไหน พระองค์เดียวก็อยู่แค่นี้ ถ้าไม่อย่างนั้นแล้วมันจะขอไม่มีที่สิ้นสุด

พระพุทธเจ้ามาให้เสียสละทาน แต่ไม่ใช่ให้มันเกินกว่าเหตุ ไม่ให้ไปเบียดเบียนเขาจนหมดเนื้อหมดตัว พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนอย่างนั้นหรอก พระพุทธเจ้าสอนนะ สอนทุกคนให้มีความสุข ไม่เบียดเบียนกันนะ ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน แต่ถ้าใครมีกำลังมากน้อยแค่ไหน อันนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง นี่พูดถึงการสร้างกุฏิเนาะ จบ

ถาม : เรื่อง วิธีปฏิบัติ

ผมมีคำถามเรียนถามพระอาจารย์ครับ

. ผมเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า พอจิตเป็นสมาธิแล้วก็ใช้ปัญญายกขึ้นเป็นวิปัสสนา หมายความว่าอย่างไรครับ

. ใช่แบบการที่เราใช้สติ ใช้สมองคิดพิจารณา เช่น พิจารณาร่างกายว่าเป็นไตรลักษณ์ หรือพิจารณาร่างกายว่าเป็นอสุภะ แบบนี้ใช่หรือไม่ครับ

. แบบนี้คืออยู่ในขั้นสุตมยปัญญาและจินตมยปัญญาใช่หรือไม่ครับ แล้วขั้นภาวนามยปัญญาจะต้องปฏิบัติอย่างไรครับ ปัจจุบันผมใช้พุทโธอยู่ครับ

ตอบ : ถ้าใช้พุทโธๆ อยู่ เราก็ระลึกพุทโธต่อเนื่องกันไป พุทโธต่อเนื่องไปก่อนเนาะ นี้ในการประพฤติปฏิบัติ วิธีปฏิบัติ เห็นไหม วิธีปฏิบัติการทำความสงบ ๔๐ วิธีการ พุทโธ ธัมโม สังโฆ มรณานุสติ เทวตานุสติ เพ่งกสิณ กสิณ ๑๐ วิธีปฏิบัติ วิธีการทำความสงบ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังเปิดไว้ถึง ๔๐ วิธีการ แล้วเวลาวิธีการวิปัสสนาวิธีการใช้ปัญญาไม่มีขอบเขตเลย

วิธีการทำความสงบของใจ ๔๐ วิธีการ ถ้าจิตมันสงบแล้ว เห็นไหม เหมือนภาชนะที่ใส่น้ำเต็มแล้วมันก็จะล้นภาชนะนั้นไป จิตของคนถ้าจิตมันสงบแล้ว ถ้ามันไม่รู้จักใช้มันก็จะล้น มันก็อยู่แค่นั้นน่ะ แล้วไม่ใช่อยู่แค่นั้นธรรมดานะ เวลามันเสื่อมไง เพราะคนถ้าไม่รู้จักว่ามันล้นหรือมันพอดี ถ้าไม่รู้จักล้นหรือพอดีหรือขาด มันจะรักษาไม่ได้หรอกว่าสมาธิควรเป็นอย่างใด

คนที่จะรักษาได้ ๑ เวลามันพร่องอยู่ก็รู้ว่าพร่องอยู่ เวลามันเต็มก็รู้ว่ามันเต็ม เวลามันล้นก็ต้องรู้ว่ามันล้น แล้วล้นควรทำอย่างไรให้มันพอดี ถ้ามันพอดีนั่นแหละคือสัมมาสมาธิ ถ้ามันมีสัมมาสมาธิขึ้นมาแล้ว ถ้ารู้จักการฝึกหัดใช้ปัญญา ถ้ายกขึ้นสู่วิปัสสนาได้นั้นมันถึงจะเป็นวิปัสสนาตามข้อเท็จจริง แต่ถ้าวิปัสสนาตามข้อเท็จจริงนี้มันต้องมีครูบาอาจารย์คอยประคองคอยชี้แนะ

ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์ อย่างหลวงปู่มั่นไม่มีครูบาอาจารย์ ท่านฝึกหัดของท่านเอง เวลาถ้ามันผิด ภาวนาจบแล้วท่านก็มาทดสอบในใจของท่านว่ามันดีขึ้นหรือมันเลวลง มันไม่มีอะไรดีขึ้นเลย ไม่ดีขึ้นเลยท่านถึงได้ไปลาพระโพธิสัตว์ของท่าน แล้วท่านมาฝึกหัดทำความสงบของใจเข้ามา พอใจสงบแล้วท่านก็ฝึกหัดพิจารณากายของท่านขึ้นมา พอพิจารณากายไปโดยการใช้ปัญญานั่นน่ะ เพราะมันได้ละบุญกุศลอันที่ว่าจะต้องดำเนินการเป็นพระโพธิสัตว์ไปข้างหน้า มันก็เข้าไปเผชิญหน้ากับกิเลส เข้าไปชำระล้างกิเลสมันเบาบางลงๆ ท่านบอก อ๋ออย่างนี้มันใช่ อย่างนี้มันใช่” นี่พูดถึงคนที่มีอำนาจวาสนาไง

ถ้าคนไม่มีอำนาจวาสนานะ เวลามันใช้มันเถรตรงไง เถรส่องบาตรไง บอกว่าพอจิตมันสงบแล้วมันก็ใช้ปัญญา พอใช้ปัญญาแล้วมันก็คำถาม ปัญญาอย่างนี้เป็นปัญญาสมองหรือไม่ ปัญญาอย่างนี้เป็นปัญญาการใช้สติหรือไม่” พอบอกเป็นปัญญามันก็กลัวปัญญาที่ผิดไง เพราะมันไม่เคยเห็นประสบการณ์ถูกหรือผิด มันถึงได้ไขว้เขว พอไขว้เขวขึ้นไปแล้วมันก็ใช้แต่ธรรมะ ใช้แต่คำสอนของพระพุทธเจ้ามาอ้างอิงไง ก็สติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริง สติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริงไง ก็ใช้ปัญญาไปแล้วๆ ก็ความคิดทำไมไม่ใช่ปัญญา ก็นี่ปัญญาทั้งนั้นไง

มันเป็นปัญหาโลกแตก มันเป็นปัญหาโลกแตก ถ้าเป็นปัญหาโลกแตกขึ้นมามันก็เป็นปัญหาโลกแตก ฉะนั้น พอเป็นปัญหาโลกแตกมันก็ต้องเทียบเข้ามาที่หัวใจของคนก่อน หัวใจของคนมีเป้าหมายอย่างไร เรามีเป้าหมายใช่ไหม เป้าหมายของเราคือมันทุกข์ มันอยากจะพ้นจากทุกข์ มันจะให้ทุกข์เบาบางลงเราก็รู้ได้ แต่นี้คนเราวุฒิภาวะมันอ่อนแอไง พอจิตมันเคลิ้มๆ มันปล่อยปละละเลย มันโยนทิ้ง มันทิ้งมันขว้าง โอ๋ยสบายๆ

แต่ถ้าคนเขามีสติปัญญานะ เอ๊ะมันไม่ใช่นะ มันต้องมีเหตุมีผลมากกว่านี้นะ ถ้ามันจะปล่อยวางสิ่งใดมันก็ต้องรู้สิว่ามันถูกหรือผิด หรือว่ามันดีหรือชั่ว ปล่อยแล้วมันปล่อยอะไร” มันต้องมีสติปัญญาอย่างนี้สิ ถ้ามีสติปัญญาอย่างนี้เขาถึงต้องหาเหตุหาผล ที่มันปล่อยปละละเลยมามันไม่ใช่หรอก ถ้าไม่ปล่อยปละละเลยมามันต้องมีหลักมีเกณฑ์ มีหลักมีเกณฑ์ สมาธิเป็นอย่างไร ถ้าทำสมาธิแล้วยกขึ้นวิปัสสนาอย่างไร เพราะคำถามถามอย่างนั้นใช่ไหม บอกว่า

ผมเคยได้ยินมาว่าพอจิตเป็นสมาธิแล้วใช้ปัญญายกขึ้นวิปัสสนาหมายความว่าอย่างไร” ก็หมายความสิ่งที่พูดมานี่โดยสามัญสำนึก คำว่า สมาธิๆ” มันอยู่ที่บุญกรรมของคนไง บัว ๔ เหล่า ถ้าบัว ๔ เหล่า บางคนได้สร้างบุญกุศลของเขามามาก พอจิตของเขาเริ่มมีบาทฐาน พอจิตของเขาเริ่มสงบระงับพอสมควร เขาใช้ปัญญาแล้วเขาไปได้เลยนะ

แต่บางคนนะ บัว ๔ เหล่า บัวของเรามันไม่ปริ่มน้ำ บัวของเราอยู่ใต้น้ำ ใต้น้ำมันสำลักน้ำนะ มันหายใจมันสำลักน้ำตลอด มันจะพิจารณาอะไร หายใจยังไม่ออกอยู่นี่ พวกนี้พอจิตสงบแล้วจะให้พิจารณาปัญญามันไม่ก้าวเดินไง พิจารณาไปไม่ได้ไง ถ้าพิจารณาไม่ได้ก็พยายามทำสมาธิให้มากขึ้น พยายามเพิ่มสายบัวให้มันปริ่มๆ น้ำ ให้พ้นน้ำ มันจะได้หายใจคล่องๆ มันแตกต่างกันตรงนี้ไง มันแตกต่างกัน แตกต่างกันที่ว่าอำนาจวาสนาของคนมันมาเท่าใด

ฉะนั้น สิ่งที่ว่า มันพิจารณาไปเลย มันทำไปเลย แล้วเอาแค่ไหนเป็นมาตรฐานล่ะ” มันมาตรฐาน มาตรฐานก็คือว่ามันแก้สงสัยเราได้ไหม มันมาตรฐานนะ ถ้าวุฒิภาวะมันอ่อนแอมันก็ว่าใช่ อย่างนี้ถูกต้อง ฉะนั้น บอกว่า เคยได้ยินมาว่า” ถ้าเคยได้ยินมาว่า เราก็เคยตอบมาแล้วเยอะแยะ เคยได้ยินมาว่ามันก็เคยได้ยินมา แต่มันไม่เป็นความจริงของเราไง ถ้าเป็นความจริงของเราไม่ต้องไปสนใจมัน ยังไม่ต้องไปเอาสิ่งนี้มากวนใจเราไง เราปฏิบัติของเราไปก่อน ถ้ามันเป็นจริงมันต้องเป็นตามข้อเท็จจริงนั้น เพราะมันจะเข้าข้อที่ ๒

ใช่แบบการที่เราใช้สติใช้สมองพิจารณา เช่น พิจารณาร่างกายว่าเป็นไตรลักษณ์ หรือพิจารณาร่างกายนี้เป็นอสุภะ แบบนี้ใช่หรือไม่” แบบนี้ใช่หรือไม่ เห็นไหม เพราะคำว่า ใช้สติ ใช้สมอง” คำว่า ใช้สติ ใช้สมอง” มันก็เป็นความคิดของเราอยู่แล้วใช่ไหม แล้วคิดให้ลงเป็นไตรลักษณ์มันก็คิดของมันได้ว่าเป็นไตรลักษณ์ ถ้าคิดของมันได้ แล้วคิดของมันได้ พูดถึงในวงการศึกษา เวลาเขาถกกันเรื่องธรรมะมันก็เข้าใจได้ๆ เข้าใจได้ก็นี่ใช้สมองไง ถ้าใช้สมองขึ้นมามันก็เป็นแค่นี้ ถ้าเป็นแค่นี้คิดให้เป็นอสุภะ พิจารณาให้เป็นอสุภะเดี๋ยวมันก็เป็นมาได้ มันเป็นมาได้ มันเป็นได้เป็นครั้งเป็นคราว

แต่ถ้าการปฏิบัตินะเขาเสมอต้นเสมอปลายไง ในพระ-ไตรปิฎก เห็นไหม การปฏิบัติที่มันยังขาดตกบกพร่องอยู่เพราะขาดการปฏิบัติความสม่ำเสมอ เสมอต้นเสมอปลาย ความปฏิบัติเสมอต้นเสมอปลาย แล้วจิตใจที่มันเสมอต้นเสมอปลายปฏิบัติต่อเนื่องกันไป ต่อเนื่องไปๆ เห็นไหม ถ้าคนปฏิบัติถูกต้องดีงาม ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี ต้องเป็นพระอนาคามีอย่างน้อย ถ้ามันถูกต้องนะ

ฉะนั้น คำว่า ใช้สมองๆ” สมองมันส่งออกแล้ว เพราะเราใช้สมอง เรากลัวว่าผิดไง แต่จริงๆ ถ้าจิตมันละเอียดมันจะเห็นจิตเลย เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม เห็นสติปัฏฐาน ๔ เห็นสติปัฏฐาน ๔ ได้เพราะจิตสงบ จิตสงบแล้วมันถึงเห็นได้

ถ้าจิตไม่สงบมันส่งออก จิตไม่สงบเป็นอารมณ์หมด สิ่งที่เป็นความคิดๆ ความคิดโดยสมอง ความคิดต่างๆ ขันธ์ ๕ มันเป็นข้อเท็จจริงของมนุษย์ที่มีธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ แล้วออกมามันก็ส่งออกมาแล้วมันอวิชชาทั้งนั้น เวลาศึกษาก็ศึกษาด้วยขันธ์ ๕ ศึกษาด้วยสมองทั้งนั้น ทุกคนศึกษาด้วยสมอง ทุกคนจดจำด้วยสมอง แล้วมันเป็นผลของสมองทั้งนั้น นี่พูดถึงขันธ์ ๕ ไง

แล้วขันธ์ ๕ มันส่งออก แล้วพิจารณาให้เป็นไตรลักษณ์ใช่ไหม” มันก็ใช่ พอพิจารณาแล้วมันปล่อย มันเข้าใจเรื่องไตรลักษณ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มันก็เป็นไตรลักษณ์ แล้วไตรลักษณ์ของใครล่ะ ไตรลักษณ์ของกิเลสไง ไม่ใช่ไตรลักษณ์ของเรา มันทำตามใจ มันไม่ได้ทำตามข้อเท็จจริง ทำตามใจได้หมดนี่ล่ะ ทำตามเสร็จแล้วได้ผลอะไร

ฉะนั้น พอข้อที่ ๓ แบบนี้ถือว่าอยู่ในขั้นสุตมยปัญญาใช่ไหม และจินตมยปัญญาใช่หรือไม่ แล้วขั้นภาวนามยปัญญาจะต้องปฏิบัติอย่างไรครับ ปัจจุบันผมใช้พุทโธๆ อยู่” ก็พุทโธไปก่อน พุทโธไปก่อน พุทโธให้จิตมันสงบก่อน พอจิตสงบแล้ว ความคิดที่ก่อนที่จิตสงบเราคิดอย่างไร จำไว้ให้ดีนะ ความคิดความเห็นของเราก่อนที่จิตมันสงบมันคิดอย่างไร มองกายแล้วคิดอย่างไร

คนที่ไม่มีสมาธินะ เพศตรงข้ามอันตรายมากเลย เพศตรงข้ามยิ่งมองยิ่งสวย ยิ่งมองยิ่งสวย แต่ถ้าจิตมันสงบแล้วนะ จิตสงบแล้วพอมันเห็นเข้า โอ้โฮทำไมมันเยิ้มอย่างนั้นล่ะ โอ๋ยทำไมหนังมันลอกหมดเลยล่ะ ถ้าจิตสงบแล้วมันเป็นอีกเรื่องหนึ่งนะ ถ้าจิตไม่สงบเพศตรงข้ามอย่าอยู่ใกล้กัน อย่าสุงสิงกัน เดี๋ยวเถอะเดี๋ยวมีเรื่อง แล้วจิตมันเคยสงบ แหมมันเคยทำได้ แอ๊ก อวดดีนะ เดี๋ยวพอจิตมันเสื่อม เรียบร้อย

นี่ก็เหมือนกัน บอกว่าสิ่งที่ว่า มันเป็นจินตมยปัญญาใช่ไหม” แล้วถ้าจิตมันสงบแล้ว ถ้าจิตมันมีสมาธิขึ้นมา เห็นไหม คนเราถ้ามีสมาธิมันดีงามอยู่พักหนึ่ง พอสมาธิมันเสื่อมไง ฤๅษีไง ฤๅษีอยู่ในพระไตรปิฎก ฤๅษีกินเหี้ย แหมเป็นฤๅษีนะ นั่งสงบเชียว เหี้ยมันก็เข้ามาใกล้เข้ามาดูแล เพราะมันอยากได้บุญของมัน ฤๅษีก็ทำนั่งนิ่ง เข้าไปใกล้ เอาหินปา คือจะฆ่าเหี้ย จะกินเหี้ย ท่าทีดูสงบเชียว เข้ามาใกล้ๆ เถอะ เสียชีวิตเชียวนะ ถ้าเป็นฤๅษีชีไพร เห็นไหม เพราะไม่ได้ใช้ปัญญา ไม่ได้ใคร่ครวญ มันไม่เป็นอย่างนั้นไง

ฉะนั้น บอกว่า ถ้าเราพุทโธ” เราพุทโธไปก่อน พุทโธไปก่อน จนจิตมันสงบเป็นพื้นฐานขึ้น แล้วฝึกหัดใช้ปัญญา อย่างที่ว่าฝึกหัดใช้ปัญญา หมายความว่า อย่างข้อที่ ๑ พอจิตสงบแล้วฝึกหัดใช้ปัญญาๆ พอจิตมันสงบแล้ว เห็นไหม จิตที่มันสงบเรามีความรู้สึกนึกคิดอย่างไร จำสภาพนี้ไว้ พอจิตมันสงบแล้ว แล้วถ้ามันเกิดความคิดอันเดิมนี่แหละ ความคิดเหมือนตอนที่จิตไม่สงบมันคิดอย่างนี้ จำอารมณ์นี้ไว้ ถ้าจิตมันสงบแล้วมันคิดเหมือนเดิม แล้ววัดค่ามันสิ วัดค่าของมันว่ามันแตกต่างกันอย่างไร ถ้าวัดค่าได้นั่นจิตสงบแท้ ถ้ามันยังคิดเหมือนเดิมเลย เอออันนั้นจิตไม่สงบ จิตไม่มีกำลัง ถ้าจิตไม่มีกำลังระวังให้ดีนะ ระวังให้ดี หมายความว่ารักษาตัวไง รักษาตนเอาไว้

ฉะนั้น สิ่งที่ว่าจิตสงบนี่แหละ พอตัวจิตสงบนี่สำคัญมาก แต่คนไปเย้ยหยันไปเหยียบย่ำไง หินทับหญ้าๆ” ประสาเรา เราพูดบ่อย เพราะเขาเหยียดหยามมาก บอกหินทับหญ้าก็ดีนะ บ้านของฉันทับไว้หมดเลย ไม่มีหญ้ารกเลยแล้วกันล่ะ เออบ้านเอ็งรกไปหมดเลย แต่บ้านข้าเอาหินทับหญ้าไว้ หินทับหญ้ามันก็มีคุณสมบัติของมัน คุณสมบัติทับไว้ที่มันไม่มีหญ้าโผล่ขึ้นมาไง ถ้ามันไม่มีหญ้าโผล่ขึ้นมามันก็เรียบร้อยดีใช่ไหม

ถ้ามันเป็นสมาธิมันก็สุขสงบใช่ไหม ก็ค่าของสมาธิก็เป็นอย่างนั้น ทำไม แต่ฝึกหัดใช้ปัญญา ฝึกหัดใช้ปัญญายกขึ้นวิปัสสนา โอ๋ยไม่มีหินทับหญ้าไว้เลย มีแต่ดงหนา มีแต่ป่าหญ้า ป่ารกชัฏ งูเงี้ยวเขี้ยวขอเต็มไปหมดเลย แล้วบอกว่าตัวเองยอดเยี่ยมกระเทียมดอง ไปโดนงูกัดตายหมดล่ะ นี่ก็เหมือนกัน ไม่ต้องใช้สมาธิ ไม่ต้องใช้สมาธิ” เข้าไปมันมีแต่งูพิษคอยจะกัดเรา แล้วก็ว่า สติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริง สติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริง” เข้าไปเถอะ เดี๋ยวเถอะ งูเห่ามันฉกเอาเลยล่ะ สติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริงนั่นน่ะ

แต่ถ้ามันหินทับหญ้าไว้ไม่มีงูสักตัว เข้าไปราบเรียบ คุณสมบัติสมาธิมันเป็นอย่างนั้นก็เป็นอย่างนั้น แต่คุณสมบัติของสมาธิถ้ามันเกิดปัญญาขึ้นมา หินทับหญ้า ดูสิ มันเรียบไปหมดเลย มันน่ารื่นรมย์ไหม มันเป็นสถานที่ควรแก่การงานไหม มันควรเป็นพื้นที่ที่ไม่มีพิษใช่ไหม ไม่มีสัตว์พิษอยู่ในนั้นเพราะมันเรียบหมด มันเห็นหมดล่ะ แล้วฝึกหัดใช้ปัญญา มันปลอดภัย แล้วฝึกหัดใช้ปัญญา ถ้าปัญญาเกิดขึ้นนั้นวิปัสสนา

จิตสงบดีแล้ว พอจิตเป็นสมาธิแล้วฝึกหัดใช้ปัญญา นั้นคือยกขึ้นสู่วิปัสสนาเป็นอย่างนั้นจริงหรือไม่” เพราะได้ยินเขาเล่าว่า เขาเล่าว่า แล้วเขาเล่าว่าแล้วเขาก็ชักจูง เขาเล่าว่าคืออะไรรู้ไหม เขาเล่าว่า หมายความว่า เราเป็นพวกเดียวกันเนาะ เราก็ปฏิบัติอย่างนี้ แล้วปฏิบัติแล้วมันไม่ได้ผล เราไปรู้ตัวทั่วพร้อมดีกว่า เราไปสติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริงนะ พุทโธๆ อยู่ไม่มีประโยชน์หรอก ไม่มีประโยชน์” พอเขาได้ยินมาว่าอย่างนั้น เขาก็ชักจูงกันไป แล้วชักจูงกันไปมันก็เป็นคนที่มีวุฒิภาวะหรือไม่มีวุฒิภาวะ

คนที่มีวุฒิภาวะเขาไม่เชื่อฟังใครทั้งสิ้น เขาต้องการความเป็นจริง เขาต้องการความสุขความทุกข์ในใจของเรา เราทำเพื่อประโยชน์กับเรา เราไม่ใช่เป็นเหยื่อของใครทั้งสิ้น เราไม่ยอมลงตัวเป็นเหยื่อของใครทั้งสิ้น เราต้องการความจริงๆ เราเป็นลูกศิษย์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราเป็นศากยบุตร องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามอบมรดกไว้ให้ ธรรมและวินัยมอบไว้ให้เลย บริษัท ๔ พระพุทธเจ้าให้พินัยกรรมไว้ทุกคนเลย แล้วทุกคนหาสมบัติของตนไม่เจอ ได้พินัยกรรมมาทุกๆ คน เรามีสิทธิ์ทุกคน เราเป็นชาวพุทธแล้วสมบัติเอ็งอยู่ไหนล่ะ อยู่ในใจๆ แต่หาสมบัติของตนไม่เจอ ได้พินัยกรรมกันมาแต่ยังหาทรัพย์อันนั้นยังไม่เจอ ถ้าได้เจอขึ้นมานะเขาจะว่าอย่างไร มันเรื่องของเขา

ฉะนั้น เขาบอก ได้ยินมาว่าพอจิตสงบเป็นสมาธิแล้วฝึกหัดใช้ปัญญายกขึ้นวิปัสสนาหมายความว่าอย่างใด” หมายความว่าเรากลับมา เรากลับมาเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้า พุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราอยู่ใกล้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วถ้าฝึกหัดใช้ปัญญา ปัญญามันเกิดขึ้นมันจะเกิดภาวนามยปัญญาอย่างที่โยมต้องการ

โยมถามมาว่า แล้วภาวนามยปัญญามันเป็นอย่างไร มันเป็นอย่างไร” เราพูดอีก ๑๐ ปี เราพูดด้วยความว่าเราอธิบายภาวนามยปัญญาชัดเจนนะ แต่คนฟัง ฟังอยู่ ๑๐ ปีก็แค่ฟัง ไม่รู้ แต่ถ้าไปฝึกหัดเวลามันเกิดปัญญาขึ้นมามันตื่นเต้น มันขนลุก หัวใจมันแช่มชื่นนั่นของจริง เวลามันเป็นจริงๆ ขึ้นมามันเป็นในหัวใจนั้น ถ้ามาถามอยู่อย่างนี้ เราตอบอยู่อย่างนี้อีก ๑๐ ปี ไปซื้อไมค์ใหม่มาให้ใหม่นะ เดี๋ยวตัวนี้มันเสื่อม จะคุยได้อีก ๑๐ ปี ก็นั่งพูดอยู่ที่เดิมนี่แหละ ไอ้คนฟังก็ฟังมา ๑๐ ปีก็ฟังอยู่อย่างนั้น

แต่ถ้าไอ้คนฟังมันไปทำขึ้นมาเดี๋ยวจะขนลุกๆ ธรรมสังเวชนะ ขนลุกขนพองหมดเลยนะ ตัวพอง ถ้ามันเป็นจริงนะ ถ้าบอกว่า อ้าวขนลุกขนพองอย่างนี้มันก็แค่ปีติ มันไม่เห็นเป็นธรรม” ไม่ใช่มันเกิดจากการภาวนา เกิดจากภาวนามยปัญญา เกิดจากปัญญามันแยกแยะ มันค้นคว้า มันใช้พิจารณาจนมันมีความรู้แจ่มแจ้ง มันแจ่มแจ้งมันมีรสมีชาติ มันก็เกิดการขนลุกขนพอง มันก็เกิดอาการสะเทือนหัวใจ มันเกิดธรรมสังเวช ฉะนั้น มันต้องปฏิบัติขึ้นมาให้เป็นความจริง ถ้าเป็นความจริงขึ้นมาแล้วมันก็จะเป็นภาวนามยปัญญาแบบที่โยมต้องการไง ที่โยมต้องการ ที่โยมถามมา

วิธีการปฏิบัติภาวนามยปัญญา ถ้ามันเป็นจริงขึ้นมามันเป็นจากการปฏิบัติ เราทำความสงบของใจก่อน เราพุทโธของเราไป ใครจะเยาะเย้ยถากถางเสียดสีเหมือนคนโง่ย้ายภูเขา เรื่องของเขา เราก็ย้ายของเรา มีค้อนอยู่อันหนึ่งกับมีสิ่วอยู่อันหนึ่ง เราก็ทุบของเราไป เฒ่าโง่ย้ายภูเขาแล้วย้ายสำเร็จด้วย ไอ้คนที่ฉลาดๆ ไป มันขึ้นเครื่องบินไปตกทั้งลำเลย ลงทะเลไปทั้งลำเลย ของเราเฒ่าโง่ย้ายภูเขา พุทโธๆๆ พุทโธของเราไป แล้วจะประสบความสำเร็จ เอวัง