ค้นหากิเลส
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
ถาม : เรื่อง “วิธีการที่จะยกขึ้นสู่วิปัสสนา”
ตอนนี้ลูกพยายามนั่งฝึกสมาธิอย่างหนัก และเพิ่มเวลานั่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้นั่งอยู่ที่ ๒ - ๔ ชั่วโมงทุกวัน อาการเวทนาเจอ แต่เกาะพุทโธตลอด แต่พอเริ่มนั่งไปสัก ๔ ชั่วโมง พุทโธเริ่มขาดๆ หายๆ แต่สติก็จับดูเวทนาอยู่ เวลาปวดครั้งแรกไม่มี ครั้งที่ ๒ นั่งได้ แต่ฝืนนั่งเลยปวด เพราะลูกไม่พุทโธตลอดเวลา
๑. ลูกจะยกขึ้นสู่วิปัสสนาได้อย่างไร
๒. ถ้านั่งนานๆ ต้องเกาะพุทโธตลอดใช่หรือเปล่าครับ หรือมีอย่างอื่นให้เกาะ อย่างเช่น สติ
๓. ลูกเริ่มเห็นสมาธิตัวเองที่จะเข้าสู่ชำนาญในวสีแต่ยังไม่ดีพอ ลูกต้องปรับปรุงอย่างไรครับ
๔. เรื่องภาพลวงตาที่เกี่ยวกับกิเลสปรุงแต่ง ลูกตัดออกหมด ยึดถือพุทโธและสติตามที่หลวงพ่อสอน ตามที่เทศน์อย่างเคร่งครัด ขอหลวงพ่อแนะนำทางให้ลูกด้วยครับ
กราบขอบพระคุณ
หลวงพ่อ : กราบขอบพระคุณนะ
ตอบ : การที่จะเริ่มภาวนาจะเริ่มพยายามค้นคว้าหาใจของตน ถ้าค้นคว้าหาใจของตนเสร็จ เจอแล้วเป็นสัมมาสมาธิ จิตตั้งมั่น จิตที่มีกำลังของเราแล้วเราจะยกขึ้นสู่วิปัสสนา วิปัสสนาคือวิถีแห่งการรู้แจ้ง วิถีแห่งการรู้แจ้งในใจของตน ถ้าวิถีแห่งการรู้แจ้งในใจของตน เห็นไหม ตนเห็นอะไร ใจของตนเห็นอะไร ทั้งรู้ทั้งเห็น ทั้งรู้ทั้งเห็นแล้วใช้สติปัญญาไล่ต้อนเข้าไป ถ้าไล่ต้อนเข้าไปถึงที่สุดแล้วมันจะไปเห็นกิเลส แล้วถ้ามันถอดถอนกิเลสได้ เห็นไหม การถอดถอนกิเลสได้มันจะมีความสุขมาก ความสุขจากหัวใจของเรา ความสุขจากภายใน
ทีนี้ความสุขจากภายใน สิ่งที่ความสุขจากภายใน เวลาทุกข์เวลายาก ทุกข์ยากจากภายในมาก่อน เวลาทุกข์ยากจากภายในแล้วมันเครียด มันมีความกดดัน ทำให้เราเจ็บช้ำน้ำใจ ทำให้เราเจ็บปวด ทำให้เราเสียใจ ทำให้เราถึงกับทำลายตนเองได้ นั้น เวลากิเลสมันหลอกกิเลสมันทำอย่างนั้น
ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนามารื้อสัตว์ขนสัตว์ ถ้าปรารถนามารื้อสัตว์ขนสัตว์ เวลารื้อสัตว์ขนสัตว์มันต้องอยู่ที่อำนาจวาสนาของสัตว์ด้วย อำนาจวาสนาของคน คำว่า “อำนาจวาสนา” คือความชอบ ความชอบของคนมันแตกต่างหลากหลาย ความชอบของคน จริตนิสัยของคนมันแตกต่างหลากหลาย
การภาวนามันต้องให้สมดุล สมดุลคือความมัชฌิมา-ปฏิปทาคือความพอดี ความสมดุลกับใจดวงนั้น ถ้าความสมดุลกับใจดวงนั้นเราก็ต้องปฏิบัติอย่างนั้น เขาเรียกคิดนอกกรอบ อริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค สิ่งที่เป็นสัจจะความจริงมันเป็นกรอบ แต่กรอบนั้น ถ้ากรอบอย่างนั้นถ้าคนมีอำนาจวาสนาทำอย่างนั้นแล้วประสบความสำเร็จอย่างนั้น
คนที่บกพร่อง คนที่ขาดบ้างเต็มบ้าง เขาต้องหาหนทางของเขา ฉะนั้น หาหนทางของเขา เวลาเราทำของเรามันต้องอยู่กับปัจจุบันไง มันต้องอยู่กับปัจจุบัน คือว่าถ้าเราทำความสงบของใจเข้ามา คำว่า “ทำความสงบของใจ” ใจเราโดยปกติของเรา เราขุ่นมัว เรามีความทุกข์ยาก เรามีความวิตกกังวลในใจร้อยแปดพันเก้า พอทำสิ่งใดไปแล้วมันก็เป็นการวิตกวิจารณ์ เป็นการจินตนาการ เป็นการที่ว่ามันไม่สะอาดบริสุทธิ์พอ เขาถึงต้องทำความสงบของใจเข้ามาไง ทำความสงบของใจเข้ามาเพื่อให้มันสะอาดบริสุทธิ์
มาตรฐานถ้าทางกีฬาเขาเรียกความฟิต ถ้ามันมีความฟิตพร้อม ทักษะมันก็ไปฝึกหัดเอาอีกทีหนึ่ง แต่ทักษะมันดีขึ้นมา แต่มันไม่ได้ซ้อมเลย ความฟิตไม่มีเลย ลงไปนะ ทักษะดีมาก แต่ไม่มีกำลังเลย ลงไปก็แพ้ทั้งนั้น ไอ้กำลังคือสมาธิ ทักษะคือเราต้องฝึกหัด ฝึกหัดของเราเอง ทีนี้พอเราปฏิบัติใหม่มันเกร็งไปหมดไง มันเกร็งไปหมดเลย มันต้องทำอย่างนั้น ทำอย่างนั้นให้ครบสูตร ให้ครบรูปแบบไง ถ้าไม่ครบรูปแบบ เราทำของเรา พยายามทำความสงบของใจเข้ามา
เพราะเขาบอกว่า “เขานั่ง ๒ - ๔ ชั่วโมงทุกวัน” ถ้านั่ง ๒ - ๔ ชั่วโมงทุกวันมันก็ไปจริงจังเอาตอน ๒ - ๔ ชั่วโมงนั้น แต่ในปัจจุบันในเวลาทั้งวันของเรา เราก็ดูแลใจของเรา คืออย่าให้มันฟุ้งซ่านเกินไป เวลาทำงานมันก็อยู่ที่งานน่ะใช้ได้ อยู่ที่งานของเรา อยู่ที่ชีวิตประจำวันของเรา รักษาหัวใจอย่าให้มันเกินขอบเขต
แล้วพอมานั่งใน ๒ - ๔ ชั่วโมงนั้น ถ้านั่ง ๒ - ๔ ชั่วโมงนั้นถ้ามันสงบขึ้นมาได้ ถ้ามันสงบแล้วเราฝึกหัดใช้ปัญญา คำว่า “ฝึกหัดใช้ปัญญา” ปัญญามันต้องฝึกหัดใช้ไง ถ้าคำว่า “ฝึกหัดใช้ๆ” ปัญญามันจะมาพิจารณาในการกระทำของเรา เช่น การนั่ง การกำหนด การควบคุมดูแลของใจ ใจมันดีหรือไม่ดี ใจมันเป็นไปได้หรือเป็นไปไม่ได้ เราต้องตรวจสอบ ต้องใช้ปัญญาไปตลอดๆ
ฉะนั้น บอกว่า ถ้าเราทำของเรา เราจะไปบังคับไง บังคับว่า ๒ - ๔ ชั่วโมงหรือทั้งวันนี้จะให้มันเข้าสู่สมาธิ เวลาถ้าจิตมันฟุ้งซ่านมันคิดออกไปโดยที่ไม่เป็นประโยชน์ อย่างนี้เราต้องมีสติ เราต้องกำหนดพุทโธชัดๆ แต่ถ้าจิตเราคิดออกไปแล้วมันเป็นประโยชน์ เราฝึกหัด เราฝึกหัดเพราะอะไร เพราะจิตมันไม่เหมือนปกติ ไม่เหมือนชีวิตประจำวัน
ชีวิตประจำวันเราคิดงาน ปกติเราคิดงาน เราคิดของเราโดยสมองของเรา ไอ้นี่คิดแบบโลกียะ คิดแบบโลก แต่ถ้าเราพุทโธๆ จิตมันสงบเข้ามาแล้วจิตมันปล่อยวาง พอมันปล่อยวางเข้ามาบ้าง มันมีกำลังของมัน แล้วถ้ามันมีความคิดมันมีสิ่งใดที่มันดูดดื่ม เราฝึกหัด คือเราคิดของเราไปไม่เสียหาย ถ้าเราคิดของเราไป ฝึกหัดอย่างนี้ไง ไม่ใช่ว่าถ้ามันเป็นตามสูตร ห้ามหมดเลย จะต้องสมาธิ แล้วเราก็พยายามจะบีบคั้น จะตรวจสอบให้มันลงสมาธิให้ได้
ถ้าเป็นความฟิต ดูสิ ออกกำลังกาย ๔ ชั่วโมง ๘ ชั่วโมง เขาต้องออกกำลังกายของเขา เขาดูกำลังร่างกายเขาทนได้หรือไม่ได้ นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราจะเอาสมาธิของเรามันก็แบบพุทโธๆ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ใช่! แต่ถ้าไปฝึกทักษะแล้ว เราจะฝึกทักษะ ความคิดที่มันจะออกจากนี้ ไอ้นี่เราต้องเปิดโอกาสไง คือต้องคิด ว่าอย่างนั้นเถอะ ต้องคิด ต้องฝึกหัดอย่างนี้
มันถึงจะเข้ามาคำถามที่ “๑. ลูกจะยกขึ้นสู่วิปัสสนาอย่างไร” ถ้าเป็นตามสูตรๆ จิตเป็นสมาธิแล้วยกขึ้นสู่วิปัสสนา ก็เหมือนกับ เห็นไหม ถ้าทำระดับที่ ๑ เสร็จ เราก็ต้องขึ้นระดับที่ ๒ แล้ว ๑ กับ ๒ มันไปอย่างไรล่ะ ๑ กับ ๒ ขึ้นไปสงบแล้วจะยกขึ้นสู่วิปัสสนาอย่างไร การจะยกขึ้นสู่วิปัสสนามันจะเห็นสติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริง
ถ้าจิตมันสงบแล้วถ้ามันไม่รู้ไม่เห็น คำว่า “ไม่รู้ไม่เห็น” มันหาไม่เจอไง กายก็ไม่เคยเห็น เวทนาทั้งๆ ที่มันอยู่กับเรานะ ความที่วิตกกังวลคือเวทนาแล้ว เวทนาของจิต มันก็ยังจับตัวเองไม่ได้ ถ้าจิตมันเศร้าหมอง นั่นน่ะคือจิต กาย เวทนา จิต ธรรม มันจับต้องสิ่งใดไม่ได้เลย เพราะว่ากิเลสมันคอยหลบหลีก กิเลสมันคอยบิดเบือน บิดเบือนให้เราเคว้งคว้างให้เราสับสน มันจะทำให้เราสับสน เพราะกิเลสมันเป็นฝ่ายทำลาย มันจะทำลายตลอดไป เห็นไหม
แต่เราก็ฝึกหัดคิด ฝึกหัด มันเป็นการต่อสู้กันระหว่างสัจธรรม สัจธรรมคืออะไร สัจธรรมคือสติกับสมาธิของเรา คือความรู้สึกของเรา กับไอ้ความหลอกหลอน ไอ้กิเลสที่มันหลอกหลอน กิเลสมันเป็นมาร กิเลสมันเป็นอวิชชา คือความไม่รู้ตัวในใจของเรา มันก็อยู่กับใจนี้แหละ มันก็หลบหลีกกันอยู่ในนี้ แต่ถ้าเรามีสติปัญญา สติปัญญาเราจับ เราจับคือว่าสิ่งใดที่เป็นความรู้สึก ความรู้สึกแม้เฉยๆ อยู่มันก็เป็นอัพยากฤต มันก็เป็นเวทนาอันหนึ่ง มันจับได้ทั้งนั้น ถ้าคนจับได้ คนจับได้มันจะจับได้ ถ้าคนจับไม่ได้ คนจับได้หมายความว่าจิตดวงนั้น ถ้าจิตดวงนั้นมันจับได้ จิตดวงนั้นมันมีเชาวน์มีปัญญามันก็จับได้ ถ้าจิตดวงนั้นพลั้งเผลอ จิตดวงนั้นมีความสามารถไม่พอ จิตดวงนั้นอำนาจวาสนาไม่มีมันก็ย่ำอยู่นั่นน่ะหาไม่ได้ไง
นี่จะบอกว่า “ลูกจะยกขึ้นสู่วิปัสสนาอย่างใด” ถ้ายกขึ้นสู่วิปัสสนาโดยสูตรๆ ไง จิตสงบแล้วเป็นสมถะต้องยกขึ้นสู่วิปัสสนา วิปัสสนาจิตเห็นสติปัฏฐาน ๔ จิตเห็นกาย จิตเห็นเวทนา จิตเห็นจิต จิตเห็นธรรม จิตเห็นอาการของจิต จิตเห็นอาการของจิต คือจิตโดยธรรมดา พลังงานเป็นพลังงาน มันเสวย พอมันเสวยนั่นน่ะอาการ อาการที่มันจับต้องถ้ามันจับได้มันก็จับได้
ถ้าจับไม่ได้เราก็ต้องฝึกหัดอย่างนี้ ฝึกหัดของเราคือฝึกหัดใช้ปัญญา ปัญญามันต้องเกิดจากการฝึกหัด มันไม่ใช่สูตรสำเร็จว่า ๑ ๒ ๓ ๔ หนึ่งแล้วต้องเป็นสอง หนึ่งก็หนึ่งอยู่นั่นแหละ มันไม่ขึ้นสองหรอก สองมันต้องเราพยายามของเรา เราค้นคว้าของเรา เราแสวงหาของเรามันจะขึ้นเป็นสองได้ แล้วสองมันจะสองอย่างไร
ฉะนั้น ตรงนี้สำคัญที่สุด สำคัญที่ว่า “ลูกจะยกขึ้นสู่วิปัสสนาอย่างใด” ทำความสงบของใจนี่แหละ ถ้าใจมันสงบระงับได้ ถ้าสงบระงับได้เวลาออกมา ออกจากความสงบแล้ว เรามีความรู้สึกนึกคิด เราคิดนั่นล่ะ เราคิดหรือเราเปรียบเทียบเรื่องกายก็ได้ เปรียบเทียบเรื่องชีวิตก็ได้ เปรียบเทียบเรื่องสิ่งใดก็ได้ ถ้ามันเป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา มันพิจารณาแล้วเดี๋ยวมันจะละเอียดขึ้น มันจะรับรู้ได้ เขาเรียกว่าการประพฤติปฏิบัติรู้จำเพาะตน รู้จำเพาะตน รู้จำเพาะความรู้สึกในใจดวงนั้น ในใจดวงนั้นทุกข์ก็รู้ว่าทุกข์
ถ้าพิจารณาโดยที่มันไม่เป็นธรรมมันสับสน สับสนคือว่ามันไม่มีเนื้อหาสาระ แต่ถ้ามันเป็นธรรมๆ มันจับแล้วมันสะเทือน มันจับแล้วโอ้โฮ! มันดูดดื่ม แล้วมันพิจารณาไปแล้วมันมีผล มันมีผลคือมันสำรอกมันคายนั่นน่ะวิปัสสนา มันเป็นสันทิฏฐิโกรู้จำเพาะตนในใจดวงนั้น แต่ครูบาอาจารย์ท่านรู้ได้ นี่พูดถึงว่า “ลูกจะยกขึ้นสู่วิปัสสนาอย่างใด” ค่อยๆ ฝึกหัดเอา
“๒. ถ้านั่งภาวนาไปนานๆ ต้องเกาะพุทโธตลอดไปใช่หรือเปล่าครับ หรือมีอย่างอื่นให้เกาะ อย่างเช่น สติ” สติเราระลึก สติก็คือสติ ถ้ามีสติแล้วเราพุทโธก็ชัดเจน เราพุทโธได้ก็พุทโธได้ เราเกาะพุทโธเราไป เพราะไอ้ที่ว่าเราให้พุทโธชัดๆ พุทโธชัดๆ เราเพื่อต้องการไม่ให้กิเลสมันหลอกไง ไอ้นู่นดีกว่าอันนี้ อันนี้ดีกว่าอันนั้น อันนั้นดีกว่าอันนี้แล้วมันก็มาต่อรองตลอด แล้วไอ้คนทำงานอยู่ก็ล้มลุกคลุกคลาน
เราอยู่กับพุทโธๆ ถ้าเราทำของเราได้ พุทโธคือพุทธา-นุสติ เป็นชื่อของพระพุทธเจ้า พุทธานุสติระลึกถึงองค์สมเด็จ-พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราอยู่กับศาสดาปลอดภัยที่สุด
เราให้ว่าอยู่ในที่ความปลอดภัย แล้วเวลาปฏิบัติไปตามความเป็นจริงโดยที่ซื่อสัตย์ ซื่อสัตย์ต่อคุณธรรมอันนั้น ซื่อสัตย์กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ใจของเราพุทโธไปเรื่อยๆ พุทโธไปเรื่อยๆ เดี๋ยวผลมันจะเกิดขึ้นไง มันอยู่ที่กิเลสของเราไม่ซื่อสัตย์ พุทโธสักแต่ว่า พุทโธด้วยความหลบหลีก พุทโธด้วยความสะเพร่า พุทโธด้วยความไม่จริงไม่จัง ไม่ซื่อสัตย์ ไม่ซื่อสัตย์ผลของมันก็ไม่เกิดขึ้น ถ้ามันซื่อสัตย์แล้วมันทำความเป็นจริงของเราขึ้นมา เดี๋ยวผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
นี่พูดถึงว่า ในเมื่อนั่งภาวนาไปนานๆ แล้วเราเกาะพุทโธของเราไปเรื่อยๆ เกาะพุทโธของเราไป เวลาเกาะพุทโธของเราไป ถ้ามันเป็นไปได้ เราทำของเราไป แล้วให้มีสติ สติชัดเจนอยู่แล้ว สติก็คือสติ ถ้ามีสติดี สติมันต้องมี ตั้งแต่ทานก็ต้องมีระดับของสติ มีสติสัมปชัญญะทำสิ่งใดจะไม่ผิดพลาด สติสำคัญมาก แต่สติมันก็คือสติ เราไปกำหนดอยู่กับสติอย่างไร เราต้องกำหนดพุทโธ ถ้าระลึกถึงมรณานุสติ ระลึกถึงสิ่งต่างๆ ก็ได้ แล้วถ้ามันถึงที่สุดถ้ามันคุ้นชินมากเกินไป ถ้ามันออกมา ถ้ามันใช้ปัญญาก็ปัญญาอบรมสมาธิใช้ปัญญาไปเลย ถ้าใช้ปัญญาไปได้มันจะเป็นไปได้
“๓. ลูกเริ่มเห็นสมาธิตัวเองที่เข้าสู่ความชำนาญในวสี แต่ยังไม่ดีพอ ลูกถึงต้องปรับปรุงอย่างไรครับ” ฝึกหัดแล้ว ความดี สมาธิเกิดขึ้นจากจิต สมาธิไม่ใช่จิต ทีนี้คำว่า “สมาธิเกิดขึ้นจากจิต” ความคิดของคน ความคิดเกิดจากจิต ความคิดดีก็ได้ ความคิดเลวก็ได้ สมาธิเกิดขึ้นจากจิต ถ้าสมาธิมันดีขึ้นมา เห็นไหม เกิดจากจิต สมาธิเกิดมาจากอะไร เกิดจากสติและคำบริกรรม ถ้าเรามีสติมีคำบริกรรม ผลของมันคือสมาธิ ถ้าผลของมันคือสมาธิ เราไปหาที่เหตุ รักษาที่เหตุนั้น ผลของมันจะดีขึ้นไปแล้วฝึกหัดใช้ปัญญาๆ
ฝึกหัดใช้ปัญญาถ้าจิตมันสงบ มันสบาย จิตมันสงบมันสบายแล้วไม่มีความทุกข์บีบคั้นแล้ว ฝึกหัดใช้ปัญญาไปเลย แล้วเดี๋ยวเรามาคัดแยกกันเองว่า ปัญญาที่ว่าฝึกหัดใช้ปัญญา ปัญญาจะเกิดขึ้นจากจิตเราได้หรือไม่ ถ้าปัญญาจะเกิดขึ้นจากจิตเราได้ เดี๋ยวจะรู้จักภาวนามยปัญญาเป็นอย่างไร แล้วจะซาบซึ้งในภาวนามยปัญญา แล้วมันเกิดขึ้นมาจากที่ไหน มันเกิดขึ้นจากในหัวใจของเรา
“๔. เรื่องภาพลวงตาที่เกี่ยวกับกิเลสปรุงแต่ง ลูกตัดออกหมด ยึดถือพุทโธและสติตามที่หลวงพ่อสอนอย่างเคร่งครัด” ภาพลวงตาไม่เอาๆ แต่ถ้าจิตสงบแล้วเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม ถ้าเห็นกายนะเห็นกายเห็นเป็นอวัยวะเห็นเป็นต่างๆ เว้นไว้แต่เห็นกาย ภาพลวงตาทั้งหมดไม่เอา เว้นไว้แต่เห็นกาย ถ้าเราเห็นกายมันสะเทือนใจ ถ้าเราเห็นโดยภาพโดยสามัญสำนึกเห็นก็คือเห็น เห็นก็เหมือนกับฝันมันรับรู้ไปได้ แต่ถ้าจิตสงบถ้ามันเห็นนะ ถ้ามันเห็น เห็นอาการ เห็นอาการคือว่าจิตมันทำงานอย่างนี้ จิตเสวยอารมณ์ จิตมันต้องรับรู้ ถ้าจิตรับรู้โดยสามัญสำนึกของมนุษย์มันเป็นอย่างนี้
ทีนี้พอจิตสงบแล้วจิตเห็นไง เห็นถึงการกระทำ เห็นถึงการกระทำของใจเรา เห็นถึงการกระทำของใจที่มันระลึกถึงกายนะ โอ้โฮว! คือมันเห็นช่องทางเดินของกิเลส ถ้ามันเห็นอย่างนั้นน่ะ เว้นไว้แต่เห็นกาย ถ้าเห็นกายได้ เราฝึกหัดของเรา นี้จะเริ่มฝึกหัดอย่างนี้ พูดถึงว่าวิธีการที่จะยกขึ้นสู่วิปัสสนา เวลามันจะน้อยไง เอาแค่นี้นะ
ถาม : เรื่อง “โดนกิเลสรุมทำร้าย”
ตอนนี้หนูกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องกิเลสที่คอยรุมทำร้าย พอมีเหตุการณ์ที่ทำให้ต้องคิด กิเลสก็เข้ามาสอดสวมรอย ทำให้คิดไปอย่างหลากหลาย บางครั้งก็คล้ายกับของเดิมๆ ที่เคยโดนทำร้าย จนบางครั้งก็ทำให้รู้สึกสับสนเหมือนกัน แต่มาตั้งสติใหม่ก็จะคิดว่าสติยังไม่พอหรือเปล่า
๑. หนูควรตั้งรับกับกิเลสเช่นใดเจ้าคะ
๒. สมาธิกับสติยังไม่เข้มแข็งพอใช่ไหมคะ
ขอบพระคุณเจ้าค่ะ
ตอบ : อันนี้คำถามเนาะ คำถามว่า “เขาโดนกิเลสรุมทำร้าย” ถ้ามันโดนกิเลสรุมทำร้าย คนมีสตินะแล้วให้มีสติแล้วพยายามพิจารณาให้เป็นธรรมสังเวชๆ ว่าเราโดนกิเลสทำร้าย กิเลสของเราเองมันทำร้ายเรา ทำร้ายให้เรา เห็นไหม พลั้งเผลอ ทำร้ายให้เราผิดพลาด ทำร้ายเราให้เราพลาดจากความเป็นจริง เราประพฤติปฏิบัติเพื่อความเป็นจริงไง ถ้าคนมีสติ เห็นไหม คนมีสตินะ เวลากิเลสมันมีกำลังรุนแรง เราจะรู้ได้เลยว่าเราโดนกิเลสทำร้าย แต่ถ้าสติเราเบาบางลงหรือว่าเราเหนื่อยหน่าย เพราะเราโดนรุมทำร้ายมาจนสะเทือนใจ มันจะไปเสียใจไง เสียใจแล้วจะไปประชดประชัน เสียใจแล้วจะไปทำลายตัวเอง
ถ้าว่าเราโดนกิเลสรุมทำร้ายแสดงว่ามีสติ เรายังมีสติอยู่ เรายังมีสามัญสำนึกอยู่ เรายังเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ไง แต่ถ้าวันไหนมันเสียใจนะ โดนรุมทำร้ายแล้วเสียใจ มันจะแสดงออกเป็นทางกระทบกระเทือนไปที่อื่นนั่นน่ะคือขาดสติ แต่ถ้ามันมีสติอยู่มันก็ยังเป็นประโยชน์ ถ้าเราเป็นลูกศิษย์ เห็นไหม ลูกศิษย์ของพระ-กรรมฐาน แล้วเรายังประพฤติปฏิบัติอยู่ เรายังมีสติสัมปชัญญะรู้ว่าเราโดนกิเลสรุมทำร้าย แล้วเราก็ตั้งสติ ตั้งสติขึ้นมาว่าเราพยายามจะตั้งมั่น เราจะทำหัวใจเราให้มั่นคง แล้วเราจะเผชิญหน้ากับมัน เราจะเผชิญหน้ากับมันนะ
สิ่งต่างๆ ในโลกนี้ ครูบาอาจารย์ท่านกลัวที่สุดก็คือกลัวกิเลสของคน กลัวกิเลสของคนไง กลัวกิเลสก็กิเลสในใจของสัตว์โลกแล้วมันปรุงแต่ง มันปรุงแต่ง มันขับเคลื่อน มันขับไสให้มนุษย์ทำหลากหลายมาก มนุษย์ที่ดีๆ เห็นไหม มีคุณธรรมทำสิ่งที่ดีๆ นั่นน่ะ ถ้ามันเป็นความอยาก มันเป็นความอยากไหม แต่ความอยากนั้นเป็นมรรค
แต่ถ้าเป็นกิเลสที่มันทำร้ายเรา มันสร้างเวรสร้างกรรม อย่างที่ว่าทำสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ๆ กับเรา เวรกรรมทั้งนั้น เวรกรรม เห็นไหม คนที่เสียหาย คนที่ไม่พอใจเที่ยวทำร้ายคนอื่น ผลของมันคือคุกตะรางไง ผลของมันคือคุกคือตะราง โดนกิเลสทำร้ายๆ ทำร้ายอย่างนั้นน่ะ นี่พูดถึงว่าโดยธรรมชาติเป็นแบบนี้
แต่ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์-สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอาสวักขยญาณทำลายอวิชชาในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาฆ่าพญามารไง เยาะเย้ยมารเลย “มารเอย เธอเกิดจากความดำริของเรา เราจะไม่ดำริถึงเจ้า เจ้าจะเกิดบนดวงใจของเราไม่ได้อีกเลย” เรือนยอดของมาร ความโลภ ความโกรธ ความหลง เห็นไหม ความโลภ ความโกรธ ความหลง เรือน ๓ หลัง มันมีเรือนยอดคืออวิชชา เราได้หักเรือนยอดนั้นแล้ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัม-พุทธเจ้าได้หักเรือนยอดนั้นแล้ว จะเกิดในใจเราอีกไม่ได้เลย กิเลสมันตายหมดเลย เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเย้ยมันไง
ทีนี้มันอยู่ที่ไหนล่ะ? มันอยู่ที่ไหน?
มันอยู่ในใจเพราะเรามีอวิชชา เรามีความไม่รู้ เราถึงได้มาเกิดอยู่นี่ไง ที่มานั่งกันอยู่นี่มาจากกิเลสทั้งนั้น แต่กิเลสนี้มันเป็นส่วนหนึ่ง มันอยู่บนหัวใจของสัตว์โลก เพราะหัวใจนี้ไม่เคยตายมันถึงเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะนี้ไง สิ่งที่น่ากลัวที่สุดในวัฏฏะไม่มีอะไรน่ากลัวเท่ากิเลสของคน แล้วไม่ต้องไปดูกิเลสใคร ดูกิเลสเรา กิเลสเราเองนี่แหละ เพราะกิเลสของเราเอง แล้วเวลาเรานับถือพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาสอนที่ไหน สอนการดับทุกข์ สอนถึงสิ้นสุดแห่งทุกข์ ถ้าสิ้นสุดแห่งทุกข์ก็สิ้นสุดกิเลสไง
ถ้าสิ้นสุด กิเลส เห็นไหม ถ้ากิเลสมันทำร้ายๆ โดยทั่วไปเป็นอย่างนั้นหมด แต่คนที่จะลืมตาอ้าปากได้ก็คนที่จะเริ่มประพฤติปฏิบัติ คนที่ทำความสงบของใจ ถ้าใจมันสงบได้มันมีข้อเปรียบเทียบว่า เออ! สงบได้ จิตสงบคือจิตที่ปล่อยวางกิเลสชั่วคราว สุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบไม่มี จิตมันสงบมันก็มีความสุขไม่ต้องไปหาที่ไหนเลย หาในใจของตน
ถ้าหาในใจของตนขึ้นมา เห็นไหม มันเทียบเคียง เวลาจิตที่มีกิเลสครอบงำ กับจิตที่กิเลสมันครอบงำไม่ได้ ครอบงำไม่ได้ชั่วคราวไง เพราะชั่วคราวอันนี้ เพราะเป็นสมถกรรมฐานยกขึ้นสู่วิปัสสนา เพราะมันครอบงำไม่ได้มันถึงจะปฏิบัติธรรมได้ เพราะมันครอบงำไม่ได้มันถึงจะค้นคว้าหาตัวมันได้ เพราะมันครอบงำไม่ได้ถึงจะพยายามค้นคว้าหามันไง ถ้าหามันเจอแล้ว เรามีสติมีปัญญาแล้วมันจะวิปัสสนาไง
ฉะนั้น วิปัสสนาขึ้นมา นี้มันถึงจะเป็นการต่อสู้กับกิเลส ค้นคว้าหามัน ค้นคว้าหากิเลส ถ้าค้นหากิเลสแล้ว พอเจอหน้ามันแล้วได้ใช้สติใช้ปัญญาวิปัสสนา คือสติปัญญาระหว่างกองทัพกิเลสกับกองทัพธรรมต่อสู้กันบนภวาสวะบนหัวใจของสัตว์โลก นักพรตนักบวชที่เขามีงานทำๆ ตรงนี้ไง งานทำตรงที่ว่าถ้าคุณธรรมมันเกิดขึ้น มรรคมันเกิดขึ้นมันจะเผชิญหน้ากับกิเลส มันจะเกิดสงครามใหญ่ สงครามที่ไหน สงครามในใจคนนั้นน่ะ คนอื่นไม่รู้ด้วยหรอก อยู่ในสงครามของผู้ที่ปฏิบัติ
ถ้าเกิดสงครามนั้นถ้ามันแพ้ก็กิเลสชนะ เราก็เป็นเบี้ยล่างมัน ถ้าเราชนะกิเลสมันแพ้ ธรรมก็มีอำนาจเหนือมัน เหนือมัน ก็มีความสุขไง สงครามจะเกิดการปะทะกันอยู่อย่างนั้น ถ้ามันปล่อยวางชั่วคราวเขาเรียกตทังคปหานคือกิเลสแพ้ชั่วคราว ต่อสู้กันๆ ถึงที่สุดเวลามันสมุจเฉทปหาน มันขาด กิเลสแพ้ราบคาบ ธรรมะชนะตลอดกาล เป็นอกาลิโกอยู่บนหัวใจดวงนั้น เวลาประพฤติปฏิบัติค้นคว้าหากิเลสแล้วจะต่อสู้กับมัน
ไอ้นี่โดนกิเลสทำร้าย แต่! แต่เราก็มีสติปัญญารู้เท่าทันมันเนาะ “หนูควรจะตั้งรับกับกิเลสอย่างไรเจ้าคะ” ตั้งสติไว้ ทำสิ่งใดครูบาอาจารย์ท่านให้มีสติ สติที่ว่าจะต้องอยู่กับสติใช่ไหม ตั้งสติ สติคือการระลึกรู้ ระลึก ระลึกรู้ตัว รู้ตัวทั่วพร้อม ระลึกรู้ รู้อะไร รู้ในพุทโธสิ มันจะได้ต่อเนื่อง ระลึกก็ระลึกอยู่อย่างนั้น แต่ถ้าเรามีพุทโธๆๆ ต่อเนื่องไป จนพุทโธมันละเอียด จนพุทโธไม่ได้ เป็นตัวพุทโธแท้ๆ คือพุทโธเสียเอง ตัวมันเป็นพุทโธ ไม่ต้องระลึกพุทโธ นั่นน่ะตัวพุทธะแท้
นี่พูดถึงว่า “หนูควรจะตั้งรับกับมันอย่างไร” ก็มีสติสัมปชัญญะแล้วค้นคว้าหามัน เห็นโทษของมันไง ถ้าเห็นโทษของมันนะ เราพยายามจะต่อสู้กับกิเลสของตน ถ้าผู้ปฏิบัติได้นะ
“๒. สมาธิกับสติไม่เข้มแข็งพอใช่ไหมเจ้าคะ” ถ้าสมาธิมันไม่เข้มแข็งมันก็ใช้ปัญญาได้อย่างหยาบๆ ถ้าสมาธิมันมั่นคงขึ้นแล้วมันเห็นตามความเป็นจริงนะ แล้วมีสติพร้อม แล้วมันเกิดปัญญาขึ้นมา เราจะรู้ได้ รู้จำเพาะตน รู้ในใจของเรา ผู้ที่ปฏิบัติมันจะรู้ของมัน
ถ้ารู้ของมัน ถ้าสมาธิหรือสติมันยังไม่เข้มแข็งพอ ถ้าพูดอย่างนี้ก็ถูก ถูกส่วนหนึ่ง ถูกส่วนหนึ่ง มันไม่เข้มแข็งพออยู่แล้ว แต่อีกส่วนหนึ่ง ส่วนหนึ่งคือมรรค ส่วนหนึ่งคือปัญญาไง ปัญญาถ้ามันรอบรู้ ปัญญาที่มันใช้ได้ถูกต้องดีงาม สมาธิกับสติก็จะเจริญขึ้น ถ้ามันใช้ไม่ถูกต้อง สมาธิกับสติมันก็จะเบาบางลง แล้วมันก็จะเสื่อมไป เพราะสมาธิมันเกิดจากจิต สมาธิคือความสุขความสบายของใจนั่นแหละ มันเกิดขึ้นจากการดูแลรักษา
แต่ถ้าเราใช้ไปๆ เห็นไหม มันเบาบางลง กิเลสมันก็จะมีกำลังมากขึ้น กิเลสมีกำลังมากขึ้นมันก็มีคำถามมาแล้ว “ปฏิบัติแล้วไม่ได้ ปฏิบัติแล้วไม่ดี เราทำไมต้องมาทุกข์มายากร้อยแปด” แต่ถ้ามันมีสตินะ ไอ้ทุกข์ยากเขาก็ทุกข์ยากกันทั่วโลกทั่วสงสาร เวลาครูบาอาจารย์ท่านทุกข์กว่านี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ-เจ้าทุกข์กว่านี้ แต่เพราะความเพียร ความเพียร ความวิริยะ ความอุตสาหะ มนุษย์ เห็นไหม มนุษย์จะมีคุณธรรมๆ เพราะมีความรับผิดชอบ ถ้ารับผิดชอบถึงที่สุดแล้วชนะขาด ถ้าอย่างนั้นแล้วคุณค่ามันยิ่งมหาศาลมากเลยนะ
นี่พูดถึงว่า “โดนกิเลสรุมทำร้าย” เราก็ต้องตั้งสติแล้วทำให้มันเบาบางลง ให้มันอยู่ในการควบคุมของเรา สุดท้ายแล้วให้มันหายไปจากใจชั่วคราวๆ คือสัมมาสมาธิ แล้วเราจะต้องไปเห็นจริง เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม เห็นสติปัฏฐาน ๔ นั้นจะเข้าไปเผชิญหน้าแล้ว นั้นจะเป็นขั้นของปัญญาแล้ว นั่นในขั้นของการชำระล้าง แต่สัมมาสมาธิ เห็นไหม เราควบคุมดูแลให้มันอยู่ในอำนาจของเรา แล้วเราใช้ขั้นของปัญญาไปกำจัดปราบปรามมันนั้นเป็นวิปัสสนา แล้วมันจะเป็นผลของเราขึ้นมาในการประพฤติปฏิบัติเนาะ จบ
ถาม : คำถามสดนะ คำถาม “ศาสนาพุทธสำคัญที่สุดคือพระวินัย ฉะนั้น แล้วทำไมยังต้องมีพระพุทธรูป ในเมื่อพระศาสดาสามารถจะระลึกถึงได้ด้วยหัวใจ”
ตอบ : ศาสนาพุทธเป็นยอดศาสนา ในศาสนาต่างๆ เห็นไหม ศาสนาอื่นเขายังมีที่พึ่ง พึ่งว่าขอให้ผู้อื่นเป็นผู้ตัดสิน ผู้บันดาล คือยังมีที่พึ่ง พึ่งข้างนอก แต่พระพุทธศาสนาปฏิเสธหมด พระพุทธศาสนาปฏิเสธหมดเลย ในโลกนี้ไม่มีที่พึ่ง ไม่มี! ในโลกนี้ไม่มีที่พึ่งนะ
เวลาที่พึ่ง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอน “เธอจงมีธรรมเป็นที่พึ่งเถิด” มีธรรมก็พระพุทธ พระธรรม “เธอจงมีธรรมเป็นที่พึ่งเถิด เธอไม่ควรมีอย่างอื่นเป็นที่พึ่งเลย” ไม่มีอะไรเป็นที่พึ่งได้เลย ไม่มี! ศาสนาพุทธปฏิเสธหมดเลย ปฏิเสธแล้วนะ เวลาพึ่ง พึ่งหัวใจของตน ถ้าปฏิบัติแล้วถ้ามันเป็นธรรมขึ้นมา เธอจงมีธรรมเป็นที่พึ่งเถิด ไม่ให้มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย ศาสนาพุทธนี่เพราะจะไปพึ่งใคร จะให้ใครตัดสิน จะให้พระเจ้าไหนตัดสิน ก็เราทำเอง ไม่มี ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เราเป็นที่พึ่งเอง ไม่มีอย่างอื่นเป็นที่พึ่ง แต่มันมีกิเลสอยู่ไง มันเลยพึ่งตัวเองไม่ได้ มันก็เลยกลัวไง
แต่ถ้าครูบาอาจารย์ที่ท่านปฏิบัติตามความเป็นจริง ท่านมีคุณธรรมในใจ รู้แจ้งแทงตลอดหมด มันไม่มีสิ่งใดเลย มันเหมือนเราเป็นผู้ใหญ่เห็นเด็กมันเล่นๆ กัน แล้วเด็กมันแย่งของเล่นกันแล้วร้องไห้ ผู้ใหญ่นั่งดูแล้วตลกไหม เราจะไปแย่งกับเขาไหม นี่ก็เหมือนกัน ถ้ารู้แจ้งในหัวใจทั้งหมดแล้ว ในโลกนี้มันเป็นอนิจจังทั้งนั้น มันเป็นไฟทั้งหมด มันไม่มีอะไรเป็นที่พึ่งเลย แล้วจะไปพึ่งอะไรล่ะ ไม่มี ไม่มีหรอก
ฉะนั้น บอกว่า “ศาสนาพุทธสำคัญที่สุดคือพระธรรมวินัย ฉะนั้น แล้วทำไมต้องยังมีพระพุทธรูปอยู่อีก” มันมีพระ-พุทธรูปอยู่อีกนี้มันเป็นที่ว่าพระพุทธรูปเป็นสัญลักษณ์ เราพูดอย่างนี้เขาเรียกส่งออกแล้ว เป็นสัญลักษณ์ พระพุทธศาสนาจะเจริญจะมั่นคงได้อย่างไร พระพุทธศาสนาจะเจริญมั่นคงตั้งแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเผยแผ่ธรรม พอเผยแผ่ธรรมไปแล้ว เวลาไปเทศน์ปัญจวัคคีย์ก็ไม่มีพระพุทธรูป ไม่มีอะไรเลย ปัญจวัคคีย์เป็นพระอรหันต์ ไปเทศน์ยสะยังไม่มีวัดไม่มีวาอะไรทั้งสิ้น เป็นพระอรหันต์ ไปเทศน์ชฎิล ๓ พี่น้องอีกพันกว่าเป็นพระอรหันต์ ยังไม่มีอะไรเลย เป็นพระอรหันต์เยอะแยะเลย
ทีนี้พอเป็นพระอรหันต์เข้ามา เห็นไหม เวลาพระอรหันต์ ๖๐ องค์ “เธอจงไปอย่าซ้อนทางกันนะ โลกนี้เร่าร้อนนัก หัวใจของสัตว์โลกมันเร่าร้อนนัก อย่าไปซ้อนทางกัน” มันเสียดาย ไปแต่ละสายๆ ไปเอาหัวใจของสัตว์โลก ไม่มีอะไรเลย พระพุทธรูปก็ไม่มี แต่พอศาสนามันกว้างขวางขึ้น ใครๆ ก็จะเข้ามาหวังพึ่ง แล้วชาวบ้านชาวเรือนเขาไม่รู้จักอะไรเลย เราจะสอนเขาอย่างไร อย่างเด็กเข้ามาวัด มาวัดให้กราบ มันถามว่า “กราบอะไร” “กราบพระพุทธเจ้า” “แล้วพระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน” “นี่ไง ก็กราบพระพุทธเจ้าไง”
ถ้าเป็นนักวิทยาศาสตร์ “กราบทำไม ทองเหลืองกราบทำไม” จะกราบพระพุทธเจ้าไม่ได้กราบทองเหลือง ไม่ได้กราบอิฐหินทรายปูน เราจะกราบพระพุทธเจ้าไม่ได้กราบอิฐหินทรายปูน อิฐหินทรายปูนเขาไปก่อสร้างเป็นอะไรก็เป็นรูปแบบนั้น อิฐหินทรายปูนเขามาปั้นเป็นพระพุทธรูป เป็นพระพุทธรูปเป็นสัญลักษณ์ ก็สอนคนที่จิตใจเขายังไม่มีหลักเกณฑ์ ให้เขากราบพระพุทธเจ้า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วถ้าผู้ปฏิบัติจริงๆ แล้ว พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หลวงตาท่านปฏิบัติเวลาใจของท่านรวมลง เวลาท่านจะหักกิเลสนะ พุทธ ธรรม สงฆ์เป็นหนึ่งเดียว รวมลงอยู่ที่หัวใจ นั่นของแท้ ฉะนั้น ของแท้ พอของแท้แล้วมันไม่มีอะไรขัดแย้งเลย
แต่การที่สร้างพระพุทธรูปมันมีพระพุทธรูป ถ้าเป็นพระป่านะ ส่วนใหญ่จะมีองค์เดียว ถ้าทั่วไปมันก็จะมีมาก มีคนมาถวายพระพุทธรูปหลวงตา หลวงตาบอกว่าเอากลับไปบูชาที่บ้าน คือให้คนที่ถวายนั้นได้กราบก่อน ถ้ากราบก่อนคือใจเขาถึงพระ แต่นี้เราอยากได้บุญ เราเอาสัญลักษณ์มาถวายเพื่อจะเอาบุญกัน นี้เหมือนกันบอกว่า ศาสนาพุทธนี้สำคัญคือพระธรรมวินัย สุดยอด สุดยอดอยู่แล้วเพราะเป็นศาสดา
ฉะนั้น “ทำไมยังต้องมีพระพุทธรูป ในเมื่อศาสดาสามารถระลึกได้ด้วยหัวใจ” ก็ระลึก พุทโธมันก็จะได้ระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่แล้ว แต่! แต่มันเป็นปัญหาสังคม มันเป็นปัญหาสังคม ถ้าไม่มีเลย อ้าว! สมมุติวัดเราไม่มีอะไรเลย พระพุทธรูปก็ไม่มี เดี๋ยวเถอะสำนักพุทธจะมาจับแล้ว หาว่าเป็นเดียรถีย์ออกนอกลู่นอกทาง ในสังคมความคิดมันแตกต่างหลากหลายนัก ฉะนั้น เราก็มีไว้เป็นสัญลักษณ์
แล้วพอพวกฤๅษีชีไพร ไอ้พวกที่ว่าหมอดู เห็นไหม เราไปดูก็บอกว่าไม่ใช่พุทธ เขาก็เอาพระพุทธรูปมาตั้งไว้องค์หนึ่ง บอกนี่ศาสนาพุทธเพราะมีพระพุทธเจ้า เออ! เวลาเขาจะหลอกนะ เขาก็เอาพระพุทธรูปไปหลอก เวลาเขาสอนผิดๆ เขาบอกนี่ศาสนาพุทธๆ ทำไมล่ะ ก็มีพระพุทธรูปตั้งอยู่ไง แต่คำสอนไปไหนก็ไม่รู้
ฉะนั้น เรื่องพระพุทธรูปมันเป็นปัญหาไก่กับไข่อันไหนเกิดก่อนกัน ไก่กับไข่ ศรัทธาเกิดก่อนหรือปัญญาเกิดก่อน ถ้าศรัทธาเกิดขึ้นมาแล้ว มันก็ต้องให้เป็นศรัทธาที่มีปัญญา ถ้าศรัทธามีปัญญาแล้วมันก็จะเข้าสู่พระพุทธศาสนา ศรัทธาที่เกิดขึ้นขาดปัญญาเขาก็หลอกกันอยู่นู่นไง เห็นเขาหลอกกันไหม เขาหลอกกันอยู่นั่นน่ะเพราะมันขาดปัญญา ฉะนั้น ถ้าเขาศรัทธาแล้วจะสู่เส้นทาง เวลาเด็กๆ เขาพาลูกๆ มา กราบพระๆ บอกให้กราบๆ มันไม่ยอมกราบ
เราจะบอกว่าจิตใจคนมีสูงมีต่ำ จิตใจของคน ให้เข้ามาแล้วให้มีสัญลักษณ์ ให้มีที่ยึดที่เคารพ เวลาพระกรรมฐานแม้แต่เข้าไปในวัดเขายังเคารพสถานที่ เพราะสถานที่ของผู้ทรงศีล ผู้ทรงศีลเขาเคารพผู้ทรงศีล สถานที่นั้นมันควรเป็นที่สงบระงับ เวลาจิตใจที่มันเป็นธรรมเขาเคารพกันแบบนั้น นี่พูดถึงว่า “ศาสนาพุทธมันสำคัญอยู่แล้ว ทำไมถึงต้องมีพระพุทธรูป”
ถาม : “พระพุทธศาสนาสอนให้ปล่อยวาง แต่มีเรื่องอะไรบ้างที่ควรปล่อยวาง เช่น กำลังเสียเปรียบอยู่ ใครจะไปปล่อยวาง”
ตอบ : ศาสนาพุทธให้ปล่อยวางกิเลส ศาสนาพุทธให้ปล่อยวางสิ่งที่กิเลสมันหลอก กิเลสมันหลอก นั่นของกู นี่ของกูๆ นั่นน่ะให้ปล่อยวาง อะไรๆ ก็ของกูๆ นั่นน่ะให้ปล่อยวางตรงนั้น ไม่มีอะไรเป็นของเราหรอก ทั้งๆ เงินทองในกระเป๋าเรา เราก็ไปแลกเปลี่ยนเป็นอาหารมา เราก็ไปแลกเปลี่ยนมาทั้งนั้น สมบัติของเรา เราไม่พลัดพรากจากเขา เขาก็ต้องพลัดพรากจากเรา เราใช้สอย เขาพลัดพรากจากเรา แล้วเราพลัดพรากจากเขา เราก็ต้องตายไป ไม่มีอะไรเป็นของกูหรอก ไม่มี ถ้าปล่อยวาง ปล่อยวางตรงนั้น ไอ้นี่คืออัตตา การยึดมั่นถือมั่นเป็นทุกข์
แต่การที่ว่าเรากำลังเสียเปรียบอยู่ เสียเปรียบอะไร เสียเปรียบใคร อ้าว! เสียเปรียบ เสียเปรียบทางไหน มีอะไรเป็นการยืนยันว่าเสียเปรียบ ถ้าเสียเปรียบนะ เสียเปรียบก็ฟ้องศาลสิ ศาลแพ่งเขาพิจารณาเองด้วยความเป็นธรรม อันนี้คำว่า “เสียเปรียบ” มันเป็นเรื่องระหว่างบุคคลไง ระหว่างบุคคล ความรู้สึกของคนมันแตกต่างกัน ถ้าความรู้สึกของคนแตกต่างกัน ดูสิ พ่อแม่หลายคนเลย ลูกบอก พ่อแม่ไม่รักๆ “พ่อแม่รักน่าดูเลย แต่พ่อแม่เขาก็พยายามจะชักนำให้ไปอีกทางหนึ่ง ไอ้ลูกก็ประสาเด็กมันไม่มีประสบการณ์มันก็ชักนำไปอีกทางหนึ่ง แล้วก็บอกว่าพ่อแม่รังแกๆ
นี่ไง คำว่า “เสียเปรียบ” คำว่า “เสียเปรียบ” มันต้องบอกว่าเสียเปรียบอะไร เสียเปรียบเรื่องอะไร วัดทั่วๆ ไป เห็นไหม เขาเสียสละที่ให้ประชาชนอยู่อาศัย พอเขาจะเอาที่คืนเขาบอกว่าวัดไปรังแกเขา เขาให้อยู่อาศัยนะ ในกรุงเทพฯ เราเช่าที่วัดที่วาอยู่กัน แล้วถึงเวลาเขาจะขึ้นค่าเช่า “เอาเปรียบๆ” ไม่รู้ใครเอาเปรียบใคร มันเป็นมุมมอง มุมมองคนคิดว่าตัวเองเสียเปรียบ แต่จริงๆ ใครเสียเปรียบ เอ็งเอาเปรียบเขาอยู่ เอ็งเอาเปรียบเขาอยู่ เอ็งเอาแต่ได้อยู่ แล้วเขาจะทำให้เป็นธรรม เอ็งบอก เอ็งเสียเปรียบ
นี่ไง ไอ้นี่คำว่า “เสียเปรียบ” เรากำลังเสียเปรียบอยู่ อย่างเช่น จะปล่อยวาง ปล่อยวางอะไร ปล่อยวางการยึดมั่นถือมั่น อ้าว! ถ้าเขาจะทวงคืนให้เขาไป เราก็ไปแสวงหาของเรา ทีนี้แสวงหาแล้วเอ็งไม่มีที่อยู่ ที่อยู่ที่ทุกข์ที่ยาก ไอ้นี่มันเป็นเรื่องของความสามารถ เรื่องของเวรของกรรมของคนเนาะ อันนี้พูดถึงว่าศาสนาพุทธสอนให้ปล่อยวาง ปล่อยวางทิฏฐิมานะ ปล่อยวางสิ่งที่มันไปคว้าเป็นฟืนเป็นไฟ คำว่า “ทิฏฐิมานะ” ด้วยความไม่เข้าใจของเราไปจับต้องสิ่งใดสิ่งนั้นเป็นโทษเป็นภัย สิ่งนั้นทางการแพทย์สอนกินอาหารให้รู้จักว่ามันเป็นโทษ อาหารอะไรที่ควรไม่ควรกิน
นี่ก็เหมือนกัน สอนให้ปล่อยวาง ปล่อยวางความผิด ปล่อยวางสิ่งที่มันเป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยาก แต่ถ้ามันเป็นบุญกุศลมันเป็นประโยชน์กับเราๆ คือทำให้ใจเราปลอดโปร่ง ทำให้ใจเราเจริญงอกงาม สิ่งนั้นเราต้องเหยียบคันเร่ง เราต้องแสวงหาของเรา ต้องมีการกระทำ นี่พูดถึงว่าศาสนาพุทธสอน สอนให้ปล่อยวาง ปล่อยวางเรื่องอะไร เพราะประสาเรา เราก็ไม่รู้ต้นสายปลายเหตุ ไม่รู้จะปล่อยวางอะไร จะเอาอย่างเดียว จะปล่อยวางอะไร ปล่อยวางมันต้องศึกษาไปแล้วมันจะรู้
ถาม : ๑. บาปคืออะไร
๒. ถ้าเราพบคนตกทุกข์ได้ยาก แต่ไม่ช่วยเหลือทั้งที่เราก็มีกำลัง บาปไหมคะ
ตอบ : บาปคืออะไร บาปคือบาปอกุศล กุศล อกุศล กุศลนี้เป็นบุญ กุศล เห็นไหม กุศลสิ่งที่กระทำเป็นบวก กุศลสิ่งดีงามเป็นกุศลทั้งนั้น เห็นเขาทำคุณงามความดีเขาเรียกกุศล กุศลมันพัฒนาให้ใจเป็นสุจริต ใจมันมั่นคง ใจมันอบอุ่น
บาปอกุศล บาปอกุศลคือเอารัดเอาเปรียบเขา บาปอกุศลการทำการรังแกเขา การทำความผิดพลาดเป็นบาปทั้งนั้น รังแกตนด้วย รังแกผู้อื่นด้วย รังแกตนก่อนไง ทำร้ายตนๆ ทำร้ายตนให้หลุดออกไปจากความดีงาม ทำร้ายตนให้ไปอยู่ในทางเล่นการพนัน ดื่มเหล้า ทำร้ายตนทั้งนั้น ดื่มเหล้าเอาโรคภัยไข้เจ็บเข้ามาสู่ร่างกายยังชอบนะ เล่นการพนันๆ บาปอกุศล บาปคืออะไร บาปคือความชั่ว บุญคือความดี ชัดๆ
“๒. ถ้าเราพบคนที่ตกทุกข์ได้ยาก แต่ไม่ช่วยเหลือทั้งที่เราก็มีกำลัง บาปไหมคะ” ตกทุกข์ได้ยาก คนตกทุกข์ได้ยาก โทษนะ ถ้าเขาตกทุกข์ได้ยาก เขาเป็นตกทุกข์ได้ยาก เรามีกำลัง ถ้าเราช่วยเหลือมันจะเป็นสิ่งที่มีค่ามากน้ำใจมาก แต่เราจะพูดอย่างนี้นะ ไอ้ตกทุกข์ได้ยากก็ไอ้พวกแชร์ลูกโซ่ ไอ้พวกหลอกลวง แหม! น่าเสียใจ แม้แต่งานในหลวงยังมีคนมาแอบอ้างไปหาเงินกัน ไปจับเลยนะ บอกว่าเข้าได้โดยที่ไม่ต้องไปเข้าแถว ไม่ต้องไปเข้าคิว เขาจับๆ งานไหนงานนั้น ถ้าเป็นงานบุญมันจะมีพวกเอาเปรียบมา
ฉะนั้น บอกว่า “ถ้าตกทุกข์ได้ยาก ถ้าเราไม่ช่วยเหลือเขาทั้งที่มีกำลังจะเป็นบาปไหม” ถ้าเขาตกทุกข์ได้ยากด้วยความเป็นจริง ทีนี้ไอ้ตกทุกข์ได้ยากโดยที่ว่ามันมีเยอะแยะเลย เราดูข่าวอยู่ ไอ้ที่ว่าทีแรกก็ไปถ่ายรูปหมาว่าหมามันทุกข์มันยาก โอ๋ย! คนเรี่ยไรกันมากเลย ทีนี้ก็เลยกลายเป็นว่าไปจับหมามาเพื่อเรี่ยไร ถ้าอย่างนั้นถ้าเขาเป็นการที่ว่าฉ้อฉลไม่ช่วยน่ะเป็นบุญ แต่ตรงนี้มันจะแบ่งได้ ต้องมีปัญญานะ เราอยากให้ทำความดีทั้งนั้น แต่ก็ไม่อยากให้ใครโดนหลอก ฉะนั้น ไอ้คนที่ใจเขาเป็นธรรมนะ เขาทำแล้ว แล้วกัน ถ้าบอกว่าไม่กลัวโดนหลอกหรือ เออ! ทำแล้วก็จบ นี่พูดถึงคนที่ใจเขาเป็นธรรมได้
ฉะนั้น บอกว่า “ถ้าเราพบคนที่ตกทุกข์ได้ยาก แต่ไม่ช่วยเหลือทั้งๆ ที่มีกำลัง” แต่ถ้าไม่ช่วยเหลือ ตอนนี้นะถ้าอย่างนี้ไปทำที่ไหนให้เขาเห็นนะ เขาถ่ายคลิปไปหน้าแตกเลยนะ เขาเรียกว่าใจดำ คนใจดำตอนนี้โดนประจานนะ แต่เราก็ทำของเรา อยู่กับโลก อยู่กับโลกต้องเท่าทันนะ ต้องเท่าทัน ให้ทำความดี ความดีเป็นสมบัติของเรา ทำความดีจนความดีเป็นนิสัย ทำดีจนเป็นความเคยชิน สุดยอด แล้วอย่างใดมันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ปล่อยไปตามกรรม
ถาม : สำหรับศาสนาพุทธ ความหมายคำว่า “ชีวิตคืออะไร”
ตอบ : สำหรับศาสนาพุทธนะ ศาสนาพุทธ เวลาพระสารีบุตรไปถามนักบวชนอกศาสนาว่า “ชีวิตคืออะไร” ทีแรกเขาถามมาก่อน เขาตอบปัญหากัน แก้ปัญหากันไง มันเป็นภิกษุณี พระ-สารีบุตรไปถาม เขาเป็นนักบวชนอกศาสนา เขาคุยว่าเขาเก่งมากเลย เขาก็ถามปัญหา พระสารีบุตรตอบได้หมดเลย แต่เวลาพระสารีบุตรถามเขากลับ “หนึ่งไม่มีสองคืออะไร” ตอบไม่ได้ ตอบไม่ได้
หนึ่ง หนึ่งคือชีวิต หนึ่งไม่มีสอง หนึ่งไม่มีสองคือนิพพาน หนึ่งไม่มีสอง ในโลกนี้มีของคู่ ถ้ามีคู่กับไม่มี มืดคู่กับสว่าง ทุกข์คู่กับสุข ชีวิตมีคู่กับชีวิตสิ้นไป หนึ่งไม่มีสองคือพลังงาน พลังงานคือชีวิต ชีวิตตั้งอยู่บนกาลเวลา ชีวิตนี้มันจะเป็นชีวิตได้มันต้องสืบต่อกับเวลา นับได้ว่าชีวิตนี้ต่อเนื่อง ถ้าชีวิตมันดับจากกาลเวลานั้นจบ ชีวิตในพระพุทธศาสนาๆ คือจิตนี้ที่เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะที่ยังดำรงชีพอยู่คือยังอยู่กับกาลเวลา คือยังสืบต่อได้ ถ้าหลุดจากกาลเวลาคือดับ ชีวิตจบ
ชีวิตคือพลังงาน พลังงานคือไออุ่น ไออุ่นคือพลังงาน คือปฏิสนธิจิต ปฏิสนธิจิต นั่นล่ะคือชีวิตในพระพุทธศาสนา สิ่งมีชีวิตในพระพุทธศาสนาแล้วทำให้ตกล่วงไม่ได้ ทำให้ตกล่วงเป็นอาบัติหมด ปาณาติปาตาฯ ไม่ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ถ้าใครทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงคือผิดศีลข้อที่ ๑ ผิด นี่ชีวิตในพระพุทธศาสนา จบ
ถาม : ๑. จิตคืออะไร
๒. ความเป็นไทยคืออะไร
๓. นิพพานแล้วมีจิตหรือวิญญาณเกิดขึ้นใหม่หรือไม่
ตอบ : จิตคืออะไร จิต เห็นไหม จิตที่ไม่เคยตายๆ ที่หลวงตาท่านพูดอยู่ประจำ “จิตที่ไม่เคยตายๆ” พอจิตที่ไม่เคยตาย ไอ้พวกเรานักศึกษาขึ้นมาเดี๋ยวนี้ใครๆ ก็เทศน์จิตไม่เคยตายๆ แต่จิตเป็นอย่างไรวะ ถามมันซิ จิตเป็นอย่างไรวะ มึงเคยทำสมาธิไหม สมาธิมึงเคยสงบไหม มึงเคยเห็นจิตมึงหรือเปล่า จิตไม่เคยตายๆ ก็จิตไม่เคยตายก็พูดเป็นนกแก้วนกขุนทองไง แล้วจิตอย่างไรไม่เคยตายล่ะ แล้วจิตอย่างไรที่มันตาย เออ! จิตที่มันตายกับจิตที่ไม่ตายมันเป็นอย่างไร
นี่ไง จิตมันคืออะไร ถ้าจิตมันคืออะไร จิตมันคืออะไร ก็นี่ครูบาอาจารย์ท่านสอนนะ กลั้นลมหายใจๆ กลั้นลมหายใจไว้ ความรู้สึกนั่นแหละคือจิต กลั้นไว้เลย กลั้นลมหายใจไว้ พิสูจน์ว่าจิตมันคืออะไร ลองกลั้นลมหายใจสิ ความรู้สึกอันนั้นกลั้นให้นานๆ นั่นน่ะตัวจิต จิตมันก็คือจิตของเรานี่ไงที่เวลาเกิดมาแล้ว ทีนี้จิตนี้มันเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะใช่ไหม พอเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ มันเกิดเป็นพรหมมันก็ได้สถานะหนึ่ง สถานะของพรหม สถานะของเทวดา สถานะของมนุษย์ สถานะของสัตว์ของนรกอเวจี นรกอเวจีก็เป็นจิตอันนี้แหละ จิตเรานี่แหละ
ทีนี้ถ้าจิตที่มันเปลี่ยนแปลงๆ มันเปลี่ยนแปลง เวลาคุณ งามความดีมันเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะไปเกิดเป็นพรหมล่ะ สถานะของพรหมนะ รูปพรหม อรูปพรหมที่ไม่มีรูป แต่มีความรู้สึก พรหมที่มีรูปกับพรหมที่ไม่มีรูป แล้วเวลาไปเกิดเป็นเทวดาล่ะ ที่เป็นทิพย์ โอ้โฮ! งงใหญ่เลยนะ แล้วมาเกิดเป็นมนุษย์ล่ะ จิตดวงนี้เปลี่ยนสถานะของมัน
ทีนี้เวลาจิตมันคืออะไร ถ้าเราจะบอกว่าระหว่างกายกับใจของมนุษย์ แล้วจิตนี้เป็นแค่มนุษย์หรือ จิตนี้ถ้ามันเกิดเป็นพรหมล่ะ จิตนี้ไปเกิดเป็นเทวดาล่ะ จิตนี้ถ้าไปเกิดเป็นนรกล่ะ มันเป็นอย่างไร จิตก็คือจิตไง แต่สถานะของวัฏฏะอีกเรื่องหนึ่งไง นี่พูดถึงสถานะของวัฏฏะนะ ว่าจิตมันคืออะไร ทีนี้จิตมันคืออะไร จิตของใคร จิตของพรหม จิตของเทวดา จิตของมนุษย์ จิตของสัตว์นรก เออ! เขาก็มีจิตเหมือนกัน จิตคืออะไร
แต่จิตที่เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ เพราะพระพุทธเจ้าทำของพระพุทธเจ้ามา พระพุทธเจ้ารู้แจ้ง จิตมันคืออะไร จิตมันคือพลังงาน จิตคือจิตปฏิสนธิจิต แล้วทีนี้พอมันเกิดเป็นมนุษย์ แล้วมันมีผลกระทบอายตนะ อายตนะมันกระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย มันหยาบ มันเป็นสถานะของมนุษย์ไง เพราะเทวดาไม่มี พรหมก็ไม่มีสถานะอย่างนี้นะ พรหมไม่มีอายตนะอย่างนี้เพราะเป็นทิพย์ ถ้ามันไม่มีแล้วมันสถานะคนละสถานะ แต่จิตมันคืออะไร จิตก็คือจิตๆ จิตกับใจแทนกันก็คือนามธรรม แต่เวลาเสวยภพ เสวยภพเป็นภพอะไรนั่นอีกเรื่องหนึ่ง เดี๋ยวพูดยาวไป มันจะพูดรู้คนเดียว
“๒. ความเป็นไทยคืออะไร” ความเป็นไทยก็ประเทศไทย ความเป็นไทยมี ๒ อย่าง อย่างหนึ่งประเทศไทยนี่เรื่องหนึ่งนะ ความเป็นไทคือความเป็นอิสรภาพ ความเป็นทาส ถ้าความเป็นทาส เป็นทาส เห็นไหม ทาสในเรือนเบี้ย สมัยทาส ตอนนี้เป็นทาสทางเศรษฐกิจ ความเป็นไทก็พ้นจากความเป็นทาสเป็นอิสระไง ความเป็นไทไงพ้นจากการครอบงำทั้งหมด ความเป็นไท แต่ถ้าเป็นชาติไทย ชาติไทยเป็นชาติที่ไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใคร คุยโม้เสียหน่อย
“๓. นิพพานแล้วมีจิตเป็นวิญญาณไปเกิดใหม่หรือไม่” นิพพานแล้วจบ พอถึงนิพพานนะ ประพฤติปฏิบัติถึงนิพพานแล้วพระพุทธเจ้าถึงพูดตรงว่า นิพพานนี้ยังเป็นภาษาบัญญัติอยู่ พ้นจากนั่นไปท่านไม่พูดถึง ไม่พูดถึงเพราะอะไร เพราะว่ามันเป็นผู้รู้ระหว่างผู้ที่ปฏิบัติ เป็นสูงสุดของศาสนา แล้วเราจะน้อมกลับมาอธิบายอีกนะว่ามีวิญญาณหรือไม่ มีอะไรหรือไม่
ไอ้นี่มันเริ่มต้นตั้งแต่ ก.ไก่ ก.กา ตั้งแต่เราเกิดเป็นมนุษย์ไง เราเป็นปุถุชนคนหนา เรามาศึกษาพระพุทธศาสนา พระพุทธ-ศาสนาสอนถึงวิถีแห่งจิต การคิด การปรุง การแต่งมันเป็นวิถี คือมันมีจิตที่ขับเคลื่อน ถ้าไม่มีจิตที่ขับเคลื่อนจะไม่มีความรู้สึกนึกคิด แล้วเราศึกษาเรื่องความรู้สึกนึกคิด ศึกษาแล้วปฏิบัติธรรม ปฏิบัติธรรมจนเกิดมรรคเกิดผล มันไปแยกไปแยะไอ้ความรู้สึกนึกคิดแยกออกเป็นชิ้นส่วน ชิ้นส่วนประกอบของความคิดแยกออกไปเหมือนรถ แยกอะไหล่ออกไปแล้วมันก็ไม่มีอะไรเลย
นี่ก็เหมือนกัน พอเราไปศึกษาแล้ว เราปฏิบัติแล้วพอถึงนิพพานแล้วมันก็แยกชิ้นส่วนออก แยกสรรพสิ่งออก แยกกิเลสออกหมดแล้ว แล้วมันจะพูดอะไรต่อ มันจบแล้ว นิพพานคือนิพพาน ไม่ย้อนกลับมา ไม่ย้อนกลับมาอธิบายว่ามันเป็นอย่างไรๆ ถ้ามันเป็นอย่างไร เอ็งยังไม่รู้ไง ก็เอ็งศึกษาอยู่ไง นิพพานก็คือนิพพาน พอนิพพานแล้ว ถ้านิพพานแล้วก็จบ นิพพานแล้วจะเป็นอะไรต่อ นิพพานแล้วจะเป็นอะไรต่อ
ทีนี้เพียงแต่ว่า “นิพพานแล้วจะมีจิตหรือวิญญาณเกิดขึ้นใหม่หรือไม่” ไม่มีอะไรทั้งสิ้น นิพพานคือสิ้นสุดแห่งทุกข์ นี่ไง ว่าศาสนาพุทธมหัศจรรย์ มหัศจรรย์อย่างนี้ไง มหัศจรรย์จนว่าพระเจ้าไหน จิตวิญญาณดวงไหนที่จะมารู้ เทวดา อินทร์ พรหมมันยังมาฟังธรรมพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าสอนเทวดา อินทร์ พรหมทั้งหมด แล้วมันจะไปเกิดอะไรอีก มันจะเวียนว่ายไปไหน แล้วมันจบ จบแล้วไง ถ้าจบแล้วคือนิพพานแล้วก็จบ เอวัง