ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

รูปอันวิจิตร

๑๙ มี.ค. ๒๕๖o

รูปอันวิจิตร
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๐
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

ถาม : เรื่อง “เรียนถามท่านอาจารย์เรื่องของอาการของจิต”
กราบนมัสการหลวงพ่อ ผมขอเรียนถามดังนี้ เมื่อเห็นผู้หญิงสวยแบบที่ชอบ จึงรู้สึกชอบ การที่ชอบนี้มาจากปัจจัยต่างๆ เช่น กรรมวิบากของจิตที่เคยชอบเช่นนี้มาก่อน เป็นต้น ถ้าเราทราบว่าชอบคือสภาวะ ไม่ใช่อารมณ์ ข้อนี้คือวิปัสสนาใช่หรือไม่ครับ
หรือในกรณี เช่น ได้กลิ่นควันจากคนสูบบุหรี่ เห็นความอึดอัดในใจ ความอึดอัดนี้เราเห็นเป็นสภาวะ เราก็แค่เดินหนี เราจะไม่โกรธ ไม่หงุดหงิด ไม่ฉุนเฉียวหรือรำคาญ จิตจะไม่กระเพื่อม เห็นเป็นเพียงอาการของจิต การที่เห็นเป็นอาการของจิต เราก็จะไม่ไปตอบรับ หรือปฏิเสธอาการนั้นๆ ไม่ไปอะไรกับมันเช่นนี้ใช่วิปัสสนาหรือไม่ครับ
สรุป คือ เราจะเห็นสภาวะของจิต เช่น ความโกรธ เป็นต้น แล้วจิตตัวเองแยกออกจากอาการนั้นๆ เห็นเป็นสภาวะนั่นคือไม่ทำให้เกิดอาการที่ทำให้อารมณ์กระเพื่อม หรือจิตหมองจากอาการของจิตนั้นๆ คือวิปัสสนาใช่หรือไม่ครับ
กราบขอบพระคุณอย่างสูง
ตอบ : ไม่ใช่ครับ ไม่ใช่วิปัสสนาใดๆ ทั้งสิ้น ไม่ใช่ครับ
วิปัสสนาจะเกิดขึ้นจากจิตสงบแล้วเห็นสติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริง
ไอ้นี่จิตมันไม่สงบ จิตมันไม่สงบมันรับรู้ไปเฉยๆ แล้วก็มีสติปัญญาไป มันเป็นการปฏิบัติแนวทางหนึ่ง แนวทางหนึ่ง เห็นไหม เวลาบอกว่า “ถ้าใครกำหนดพุทโธๆ มันเป็นสมถะ มันไม่มีประโยชน์ ต้องใช้ปัญญา” ไอ้สมถะนั่นน่ะมันเป็นสมาธิ “มันเป็นสมถะแล้วถ้าปฏิบัติไปแล้วมันจะเห็นนิมิตๆ มันจะติดในนิมิต มันไม่เป็นประโยชน์ในการประพฤติปฏิบัติ” นี่เป็นความเห็นของแนวทางปฏิบัติแนวทางหนึ่ง
แต่ถ้าเป็นความเป็นจริง ศีล สมาธิ ปัญญา ศีลความปกติของใจเกิดสมาธิ เกิดสมาธิแล้ว สมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิ สมาธิที่มีกำลังแล้ว สมาธิที่เป็นสัมมาทิฏฐิความเห็นถูกต้องดีงามแล้ว ถ้ามันเห็น เห็นอาการของจิต เห็นตามความเป็นจริง อันนั้นถึงจะเป็นวิปัสสนา
แต่คนเรามันไม่มีสมาธิ มันไม่มีสมาธิเป็นนักปฏิบัติได้อย่างไร “โอ้! เขาปฏิบัตินะ รู้ตัวทั่วพร้อม เขาขยับ โอ๋ย! สมาธิเขาพร้อมนะ เขาทำอะไรนุ่มนวลไปหมดเลย” ไม่ใช่สมาธิ อันนั้นเป็นการสตัฟฟ์จิต จิตสตัฟฟ์ไว้ มันไม่ลงสมาธิ
ถ้าจิตเป็นสมาธินะ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนา-สมาธิ สมาธิคือจิตตั้งมั่น จิตไม่พาดพิงอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น จิตเป็นอิสระ จิตเป็นจิต จิตที่เป็นสัมมาสมาธิ จิตเป็นจิต จิตที่เป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ไม่พาดพิงอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น
ไอ้นี่มันพาดพิงอารมณ์อะไรล่ะ มันพาดพิง รู้เท่าไง รู้สภาวะไง มันรู้อะไรน่ะ มันก็รู้แค่นั้น เพราะอะไร เพราะตำราสอนไว้อย่างนั้น ตำราสอนไว้ว่าเป็นอาการ สิ่งนี้เป็นอาการ เห็นไหม รู้ตัวทั่วพร้อมให้รู้เท่าทันจิตของตน แล้วคิดว่านี้เป็นวิปัสสนาไง ไม่ใช่ เป็นการสตัฟฟ์ไว้ คำว่า “สตัฟฟ์ไว้” คือว่า บล็อกไว้จิตอยู่แค่นี้ บล็อกไว้ด้วยอะไร บล็อกด้วยการคาดหมาย บล็อกด้วยสัญญาอารมณ์ บล็อกไว้ด้วยการศึกษาว่ามันเป็นวิปัสสนา มันเป็นวิปัสสนา
เหมือนกับเราทำสิ่งใดเรารู้เป้า ถ้ารู้เป้าแล้ว เห็นไหม ที่ว่าฝึกสมาธิ ฝึกสมาธิ แล้วสมาธิก็มาอยู่ในตำราหมดเลย พอตอบคำถามได้เป็นสมาธิ ห๊า! เออ! สมาธิมันตอบถามได้ด้วยหรือ สมาธิเป็นสมาธิ สมาธิไม่ใช่เกี่ยวกับการตอบถาม สมาธิไม่เกี่ยวกับอาการเคลื่อนไปของจิต การพูดการจา การรับรู้ อาการเคลื่อนไป จิตมันเคลื่อนไปแล้วไม่ใช่สมาธิ ถ้าไม่ใช่สมาธินะ มันไม่มีหลักเกณฑ์ สิ่งที่เห็นนั้นไม่ใช่วิปัสสนา ไม่ใช่ใดๆ ทั้งสิ้น ไม่ใช่!
ถ้าเป็นแนวทางปฏิบัติของหลวงตา หลวงตาท่านสอนว่า “ปัญญาอบรมสมาธิ แล้วถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธินะมันต้องมีสติ ต้องมีสติแล้วมีปัญญารู้เท่า รู้เท่าว่านี้คือปัญญาอบรมสมาธิ นี้คือการใช้ปัญญา พยายามแยกแยะ พยายามแหวกจอกแหน แหวกจอกแหนที่มันปกคลุมหัวใจ หัวใจ จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส มันผ่องใสแต่มันมีจอกแหน มีอารมณ์ มีความรู้สึกนึกคิดทับถมมันไว้ แหวกจอกแหน แหวกด้วยปัญญาเรียกว่าปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าแหวกจอกแหนออกเห็นน้ำ เห็นน้ำใสๆ นั่นน่ะจิตเดิมแท้คือสมาธิ”
ถ้ามันมีสติมีปัญญาว่าเราทำอะไร เรารู้ว่าเราทำอะไร มันก็เป็นสัมมาทิฏฐิความถูกต้องดีงามใช่ไหม แต่ถ้าเราไม่มีสติปัญญา เราก็นี่วิปัสสนานะ แหวกจอกแหนๆ แหวกจอกแหนไม่มีจะแหวก แหวกอย่างไร แหวกจนไม่มีจะแหวก แหวกไปแหวกมามันก็อยู่นั่นน่ะ จอกแหนมันจะไปไหน จอกแหนมันก็อยู่ในสระนั่นน่ะมันไปไหน มึงแหวกก็แหวกไปสิ แหวกแล้วกูก็กลับมาใหม่ไง มึงแหวกกูก็วนอยู่ข้างหลัง แหวกไปข้างหลัง ข้างหลังก็วนกลับมาแล้ว
แหวกจอกแหน แหวกจอกแหน เขาแหวกจอกแหน ถ้าเรารู้ว่าเป็นปัญญาอบรมสมาธิไง เพราะมันแหวกอย่างไรก็ไม่จบ แต่เราต้องเห็นน้ำ เราต้องแหวกจอกแหนออก เพื่ออะไร เพื่อเห็นน้ำ เราจะตักน้ำมาใช้ เราจะใช้น้ำนั้นเพื่อประโยชน์กับเรา ถ้าเราใช้น้ำเพื่อประโยชน์กับเรา เห็นไหม นั่นน่ะวิปัสสนาอยู่ตรงนั้น
นี่ก็เหมือนกัน “สิ่งที่เขาทำๆ มา ใช่วิปัสสนาหรือไม่ครับ”
ไม่ใช่ ไม่ใช่ วิปัสสนึก นึกไปเรื่อย เห็นสภาวะอย่างนั้น เห็นสภาวะอย่างนี้ ก็นึกไปเรื่อย แต่ถ้ามีสติเท่าทันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิ มันอย่างที่ว่า ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิ เราต้องรู้ว่าเราทำอะไรอยู่ เรามีสติสัมปชัญญะพร้อมไง
นี่ไง กาลามสูตร ไม่ให้เชื่อไง ไม่ให้เชื่อว่าตำราว่าไว้อย่างนั้น ตำราพูดไว้จริง พุทธพจน์ๆ ที่องค์สมเด็จพระสัมมา-สัมพุทธเจ้าวางธรรมวินัยไว้ถูกต้องดีงามทั้งนั้น แต่ไอ้เราโจรปล้น โจรปล้นทฤษฎีของพระพุทธเจ้า โจรปล้นธรรมะขององค์สมเด็จ-พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วสำคัญตนว่าเป็นอย่างนั้นๆ แต่ไม่เป็น ไม่เป็นหรอก แต่ถ้าเป็นความจริงๆ นะ เป็นความจริง รสของธรรมชนะซึ่งรสทั้งปวง มันจะรู้เท่าหมดล่ะ
เวลาหลวงตาท่านไปหาหลวงปู่มั่น เห็นไหม ที่ท่านศึกษามามากเป็นถึงมหา “มหา สิ่งที่ศึกษามา ธรรมะขององค์สมเด็จ-พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเราเทิดใส่ศีรษะไว้นะ เราเชิดชูไว้นะ” เราเชิดชูไว้ แต่! แต่การศึกษามาเป็นการศึกษา แล้วถ้าท่านไม่บอก ท่านประพฤติปฏิบัติมาก่อน คนเรามันจะสวมรอย กิเลสมันจะบังเงามันจะอ้างอิงไปหมด เหมือนเรารู้โจทย์หมดแล้ว เพราะเราศึกษาตำราหมดแล้ว เรารู้หมดแล้ว นิพพานเป็นอย่างนั้น ว่าอย่างนั้นเลย แล้วทำไปเถอะ มันก็นิพพานๆ ทั้งๆ ที่ทำยังไม่ได้อะไรเลยจะนิพพานๆ
หลวงปู่มั่นท่านบอก “มันจะเตะ มันจะถีบกัน” คือมันจะมีสัญญา คือมันจะมีอาการที่ทำให้การปฏิบัตินี้มันมั่ว มั่วนิ่มๆ มั่วไปเรื่อย มั่วจนเป็นธรรม มั่วจนว่าเป็นธรรม แต่มั่ว ธรรมมั่ว ไม่จริงหรอก หลวงปู่มั่นท่านบอกว่า “ให้เอาการศึกษานั้นใส่ในสมองลิ้นชักไว้ก่อน เพราะเราศึกษามาเป็นความจำ ในสมองเราใส่ลิ้นชักไว้ แล้วล็อกกุญแจไว้ อย่าให้มันออกมา แล้วปฏิบัติไป”
ถ้าปฏิบัติไป พอถึงที่สุดแล้ว ไอ้สิ่งที่เรียนมากับความเป็นจริง อันเดียวกันเลย ที่พุทธพจน์ที่องค์สมเด็จพระสัมมา-สัมพุทธเจ้าพูดไว้จริงหมดเลย แล้วเราก็ปฏิบัติได้จริงด้วย แล้วเข้ามานะ กราบแล้วกราบเล่า กราบพระพุทธเจ้า กราบธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันละเอียด มันลึกซึ้ง มันซาบซึ้ง มันไม่ใช่บอกว่า “อย่างนี้เป็นวิปัสสนาหรือไม่ครับ” ถ้าอย่างนี้เป็นวิปัสสนาหรือไม่ครับแสดงว่าเอ็งไม่รู้ ถ้าใครยังถามอยู่คือไม่รู้หมด
ฉะนั้น สิ่งที่บอกว่า “สิ่งที่เขาเห็นมันเป็นวิปัสสนาหรือไม่”
ไม่ ไม่ใช่ ถ้าเป็นวิปัสสนาทำอย่างไร ก็ต้องกลับมาพุทโธ หายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ หรือใช้ปัญญาอบรมสมาธิให้มีบาทมีฐานก่อน เราเป็นสมาธิเราก็รู้ว่าเป็นสมาธินะ เป็นสมาธิ หลวงตาท่านพูดเอง คนที่ภาวนาเป็นแล้วท่านบอกเลย “ถ้าใครทำสมาธิได้นะพออยู่พอกิน” เพราะในสมาธิ ในพุทธพจน์ ในธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกไว้เลย ในพระ-ไตรปิฎกน่ะ “ถ้าใครทำสมาธิได้เหมือนกับมีบ้านมีเรือนอยู่หลังหนึ่ง สุขสบายเลย คนที่ไม่มีสมาธิเหมือนคนไร้บ้าน คนอยู่กลางถนนตากแดดตากฝนตลอด”
นี้อยู่ในพระไตรปิฎกนะ ใครทำสมาธิได้เหมือนมีบ้านมีเรือนหลังหนึ่ง คนที่ไร้บ้านกับคนมีบ้านต่างกันไหม คนที่มีบ้านมีเรือนหลังหนึ่ง ทำแค่สมาธินี่แหละ ฉะนั้น คนมันยังไม่รู้จักไง มันก็คนไร้บ้านใช่ไหม แล้วมันก็สำคัญตนว่ามันมีบ้าน แต่มันก็ไร้บ้านอยู่อย่างนั้น “ว่างๆ ว่างๆ อย่างนี้เป็นวิปัสสนาหรือไม่” คือคนไร้บ้าน คนไร้บ้านไร้ที่อยู่อาศัย ไร้สาระ
แต่กรรมฐานเราหาบ้านหาเรือน พุทโธๆ จนจิตสงบไง จิตสงบคือบ้านเรือนของเรา เราทำสิ่งใดขึ้นมามันก็ซับเข้าบ้านเราใช่ไหม เรามีบ้าน เราเก็บเงินเก็บทองได้ แต่คนไม่มีบ้านมันจะเก็บไว้ไหนล่ะ ผูกไว้ตามเนื้อตามตัวนี่แหละ แล้วก็เดินเร่ร่อนไป เดี๋ยวโจรปล้นหมดล่ะ นี่พูดถึงข้อเท็จจริงไง ทำสมาธิ สมาธิมันมีผลขนาดนั้น แต่ที่ทำๆ กันนี้มิจฉาสมาธิส่วนใหญ่ แล้วทำแล้วมันเป็นการสตัฟฟ์จิตไว้ เป็นการกดจิตไว้ ไม่ใช่หรอก
ถ้าใครได้สมาธิแล้วนะ ถ้าคนได้สมาธินะ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต ถ้าได้สมาธิแล้วจะเชื่อธรรมะขององค์สมเด็จ-พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาก แต่พวกเรานี่พวกเร่ร่อน ยังทำอะไรไม่ได้มั่นคง ยังสงสัยธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ใครทำสมาธิได้ปั๊บ โอ้โฮ! พุทธะ สมาธิคือพุทโธไง พุทโธคือพุทธะ พุทธะคือผู้รู้ แล้วผู้รู้มันแจ่มแจ้งขึ้น ใครได้สมาธินะ เว้นไว้แต่เป็นมิจฉา มิจฉาพอได้สมาธิแล้วมันอยากแสดงฤทธิ์แสดงเดช อันนั้นเป็นมิจฉา มิจฉามันก็ไม่นึกถึงพระพุทธเจ้า แต่ถ้าใครเป็นสัมมาทิฏฐินะ พอจิตสงบแล้ว เพราะมันเห็นพุทธะไง มันเห็นผู้รู้ในตัวเราไง ถ้าเป็นสมาธิแท้ๆ นะ
ส่วนใหญ่เป็นสมาธิปลอมๆ ไง สมาธิปลอมๆ ก็สมาธินึกเอา สตัฟฟ์ไว้ กดจิตไว้ มันไม่ซาบซึ้งอะไรหรอก เหมือนคนวางยาสลบตัวเอง ดูดแล้วก็สลบไปเลย เออ! สมาธิตาลอยหรือ ไม่มีหรอก สมาธิไม่มีตาลอย นี่พูดถึงว่าถ้าไม่ทำสมาธิก่อน ปัญญาเกิดขึ้นเป็นโลกียปัญญา แล้วโลกียปัญญาโดยกิเลสตัณหาความทะยานอยากด้วย บอกว่าอันนี้เป็นวิปัสสนา ไม่ใช่ ไม่ใช่ทั้งสิ้น แต่ถ้าเป็น ใช่นะ เราต้องทำสมาธิของเรา
ทีนี้อยู่ที่คำถามไง คำถามที่เขาถามมาว่า “ผมขอถามท่านอาจารย์ครับ ขอเรียนถามดังนี้ครับ เมื่อเห็นผู้หญิงสวยที่แบบว่าชอบ จึงรู้สึกว่าชอบ การที่ชอบนี้มันเป็นปัจจัยให้เกิดวิบากกรรมของจิต เช่น มีความคิดต่างๆ” ไอ้นี่มันคิดอย่างนี้ปั๊บ แล้วก็แต่งนิทานเลย จะเขียนธรรมะแล้ว เห็นผู้หญิงว่าชอบก็ว่าชอบเลย เขียนไปเลย เวลาคนน่ะกิเลสเป็นเรา เราเป็นกิเลสเป็นอย่างนี้
แต่เวลาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วครูบาอาจารย์ที่เป็นธรรมนะ รูปอันวิจิตรไม่ใช่กิเลส ไม่ใช่! ผู้หญิงสวยขนาดไหนก็ไม่ใช่กิเลส เฉพาะตัวของเรานะ แต่ตัวผู้หญิงมีกิเลส แต่ชี้ถูกชี้ผิด ตัวผู้หญิงตัวเขามีกิเลสเพราะเขาเกิด แต่ตัวผู้หญิงกับเราไม่ใช่กิเลสของเรา ไม่ใช่! รูปอันวิจิตรไม่ใช่กิเลส ผู้หญิงมันจะสวย มันจะไม่สวยขนาดไหน ตัวมันเป็นกิเลสไหม ไม่ใช่! เพราะเขาเป็นคน ไม่ใช่เรา
เราต่างหากมีกิเลส รูป รส กลิ่น เสียงอันวิจิตรไม่ใช่กิเลส ตัณหาความทะยานอยากของเราต่างหากคือกิเลส เราไปเห็นผู้หญิงแล้ว เราชอบผู้หญิงใช่ไหม ไอ้ความชอบนั้นน่ะเป็นตัณหาความทะยานอยาก แต่ตัวผู้หญิงก็เป็นตัวผู้หญิงใช่ไหม ตัวผู้หญิงจะเป็นกิเลสไหม รูป รส กลิ่น เสียงไม่ใช่กิเลส ไม่ใช่! ตัณหาความทะยานอยากของคนต่างหาก ตัณหาความทะยานอยากในใจของเราต่างหาก ไอ้ความอยากได้เขามาเป็นสมบัติของเราคือกิเลส
แต่ผู้หญิงของเรา โอ๋ย! คนนี้ถูกสเปคเราเลย ไปให้อีกคนมาดู โอ้โฮ! เฮ้ย! มึงชอบได้อย่างไรวะ ดูไม่ได้เลย มันเป็นกิเลสของเรา แต่ไม่ใช่กิเลสของคนอื่น เพราะความชอบมันไม่เหมือนกัน คนเราชอบผู้หญิงในรูปร่างอย่างนี้ อีกคนหนึ่งชอบผู้หญิงในรูปร่างอีกแบบหนึ่ง ถ้ามันรูปร่างที่ตรงกับกิเลสเรา เราก็ชอบ แต่มันไม่ตรงกับกิเลสคนอื่น เขาก็ไม่ชอบ เขาเป็นกิเลสหรือ ตัณหาความทะยานอยากของคนต่างหากเป็นกิเลส รูปอันวิจิตร ข้าวของเงินทอง แก้วแหวนเงินทองในโลกนี้ไม่ใช่กิเลสทั้งนั้น ไม่ใช่ ไม่ใช่
นี่พูดถึงธรรมะแท้ๆ นะ แต่โดยสามัญสำนึก คนเราฆ่ากันตายเพราะเงินบาทเดียว เงินบาทเดียวก็แย่งชิงกันจนฆ่าตายเป็นกิเลสไหม ไอ้นั่นมันไปเห็นแต่วัตถุภายนอกไง ไอ้ของมีค่า ของมีค่า มันทำให้คนทำร้ายกัน คนฆ่าทำลายกัน นั่นเพราะอะไร เพราะคนมันตะเกียกตะกาย ต้องการชิงทรัพย์กัน อันนั้นมันฆ่ากันเพราะในใจของเขาหยาบช้าไง
แต่ดูเวลาคนที่เขามีศรัทธา เขาเสียสละได้มหาศาล เขาเสียสละได้ทั้งนั้น เวลาพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์แม้แต่ชีวิตยังสละได้เลย ทุกอย่าง ดูพระเวสสันดร เห็นไหม สละจนประชาชนในบ้านในเรือนเขาไล่ออกจากราชวังเลย นั่นเพราะเป็นชาติสุดท้ายของพระพุทธเจ้า เป็นชาติสุดท้ายที่ว่าเสียสละทั้งนั้น เวลาเสียสละ เพราะเสียสละ เพราะเห็นคุณค่าของใจไง เพราะเสียสละเห็นคุณค่าของบุญกุศลในใจของตนไง
เวลาเขาทำ ทำอย่างนั้น แต่เวลาคนที่เขาแย่งชิงกัน ฉะนั้น บอกว่า รูป รส กลิ่น เสียง รูปอันวิจิตร เสียงอันวิจิตร ทรัพย์สินอันวิจิตร วิจิตรขนาดไหนก็ไม่ใช่กิเลส มันเป็นแร่ธาตุ มันเป็นธาตุ มันไม่มีชีวิต กิเลสตัณหาความทะยานอยากในใจเราต่างหาก ถ้ามีสติปัญญาอย่างนี้ปั๊บมันก็จะโทษตัวเราคนเดียวไง
ไม่ใช่หรอก เห็นผู้หญิงที่สวยที่ชอบ มันถึงรู้สึกว่าชอบ โอ๋! โทษผู้หญิงเลยนะมึง ไปโทษแร่ธาตุข้างนอกว่ามันทำให้เราชั่ว แต่ความจริงคือเราชั่วเอง เราชั่วเอง แล้วเราไปแสวงหาสิ่งนั้นเอง ถ้าเราชั่วเอง เราก็ต้องควบคุมตัวเราเองใช่ไหม
ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงสอนเข้ามาที่ใจของสัตว์โลกไง สอนเข้ามาที่ใจของเรา ถ้าใจของเรานะ แผ่นดินธรรม ถ้าหัวใจมันเป็นธรรมแล้ว ไอ้สิ่งนั้นน่ะไม่มีการแย่งชิง ไม่มีการทำลายกัน ไอ้คนที่ทำลายกัน ทำร้ายกัน เพราะว่าไปแย่งชิงสิ่งนั้น เพราะจิตใจมันหยาบ จิตใจมันต่ำต้อยกว่าวัตถุอันนั้น มันถึงแย่งชิงอันนั้น ถ้าหัวใจมันสูงกว่าวัตถุอันนั้น มันจะไปแย่งชิงอันนั้นทำไม เรามีวัตถุน้อย เรายังจะให้เขาเลย แล้วเราจะไปแย่งชิงอะไร
อันนี้พูดถึงสิ่งที่ว่า “เห็นผู้หญิงว่าสวย มันถึงเป็นสภาวะ เป็นปัจจัย มันเป็นอารมณ์ใช่ไหม อย่างนี้เป็นวิปัสสนาหรือไม่”
ไม่ ไม่ใช่ แต่ถ้ามันมีสติมีปัญญานะ มีสติปัญญาเรารู้เท่าทันอารมณ์ของตน ไม่ใช่รู้เท่าทันผู้หญิงนะ ผู้หญิงเป็นเหตุผลกระทบเท่านั้น เป็นภาพที่เห็นมันไม่ใช่กิเลส ไม่ใช่อะไรทั้งสิ้น มันเป็นเรื่องของเขา ความทะยานอยากในใจของเราต่างหาก ถ้าเรารู้เท่า รู้เท่า เห็นไหม ผู้หญิงนั้น ในสมัยพุทธกาล เห็นไหม นางอะไรที่สวยที่สุดไง แล้วไม่ยอมไปฟังเทศน์พระพุทธเจ้าเลย สุดท้ายแล้วมาฟังเทศน์พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเนรมิตให้มีผู้หญิงคนหนึ่ง แล้วสวยกว่าคนนั้นอีก แล้วมันก็แก่ชราภาพไปเรื่อยๆ ชราภาพไปเรื่อยๆ ไอ้ผู้หญิงนั้นบรรลุธรรมเลยนะ
ไอ้นี่ก็เหมือนกัน ไอ้ผู้หญิงที่เราไปเห็น ไปเห็น ถ้าเราเห็นมันชราภาพ เห็นอย่างนั้นนะ เห็นอย่างนั้นแล้วถอนที่ใจนี่ ถ้าเรารู้เท่าทันอารมณ์ของเรา เห็นไหม รู้เท่าทันอารมณ์ของเรานะ ผู้หญิงก็เป็นผู้หญิง เราไปชอบเขา เรามันโจร เราแอบรักภาพลักษณ์เขามา ถ้ามันมีสติปัญญาอย่างนี้ เราเท่าทันนะ ตอกย้ำเลยมึงน่ะโจร เขาไม่รู้ตัวเลย เขาเดินผ่านไปแล้ว แอบไปชอบเขา แอบไปรักเขา ถ้ามันรู้เท่าทันอย่างนี้ปั๊บมันอายนะ พอปัญญามันรู้เท่ากิเลสมันอายนะ มันสงบลง
นี่ปัญญาอบรมสมาธิ ไม่ใช่วิปัสสนา ปัญญาอบรมสมาธิ ถ้ามีปัญญาอบรมสมาธิ เห็นไหม แค่นี้ก็เป็นปัญญาอบรมสมาธิ ไม่ใช่วิปัสสนาหรอก วิปัสสนามันต้องจิตสงบแล้ว พอจิตสงบแล้ว พอไปเห็นสติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริงนะ มันขนพองสยองเกล้า มันสะเทือนกิเลส อันนั้นมันถึงจะเป็นวิปัสสนา วิปัสสนาปัญญามันลึกซึ้งกว่านี้เพราะมันเป็นภาวนามยปัญญา
ไอ้นี่มันเป็นโลกียปัญญา ปัญญาความคิด สัญชาตญาณ คิดด้วยสมอง คนคิดด้วยสมองวิทยาศาสตร์ โลกมาจากอวิชชา คิดด้วยกิเลส
เวลาจิตสงบแล้วกิเลสสงบตัวลง สัมมาสมาธิ กิเลสสงบตัวลง ถ้ามีภาวนามยปัญญา ปัญญาของธรรม เรียกว่าโลกุตตรปัญญา ปัญญาเหนือโลก ไอ้โลกียปัญญา ปัญญาใต้โลก ปัญญาแบกโลก แบกกิเลสตัณหาความทะยานอยากของตน แต่ถ้าเป็นวิปัสสนา มันปัญญาเหนือโลก มันเป็นโลกุตตรธรรม มันเป็นโลกุตตรปัญญา ถ้าปัญญาอย่างนี้เกิดขึ้นถึงจะเป็นวิปัสสนา วิปัสสนาเป็นแบบนี้
แต่นี่มันเป็น ถ้าเป็นความถูกต้องดีงาม มีสติสัมปชัญญะ จะเป็นปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าเป็นจริงนะ ที่มันไม่เป็นจริง เราถึงยกตัวอย่าง เห็นไหม รูป รส กลิ่น เสียง อันวิจิตรไม่ใช่กิเลส เราเห็นพระพูดบ่อย นู่นก็กิเลส นี่ก็กิเลส ไปชี้แต่กิเลสอยู่ข้างนอก แต่มันไม่ชี้กิเลสที่ใจมันเลยนะ มันไม่เคยชี้ตัวมันเองเลยนะ แต่ถ้ามันชี้ตัวมันเอง อันนี้ต่างหากแก้กิเลส อันนี้ต่างหาก อันนั้นไม่ใช่ อันนั้นเรื่องของเขา อันนั้นเรื่องของเขา กิเลสมันอยู่ที่นี่ มันอยู่ที่ใจเรานี่
มันเรื่องของเขาใช่ไหม สังคมมันก็เป็นอย่างนี้ สังคมเขาก็มีอย่างนั้น คนมีบุญกุศล คนตกทุกข์ได้ยาก มันก็มีอย่างนี้ เรามีสติปัญญา เรามีความสามารถจะอุ้มชูเขาได้ไหม ถ้าเรามีสติปัญญาสามารถจะอุ้มชูเขาได้ เราก็อยากจะอุ้มชูเขา ถ้าเราไม่มีสติปัญญาสามารถจะอุ้มชูเขา เตี้ยอุ้มค่อม ตัวเองก็จะตายอยู่แล้ว จะไปให้มันตายเร็วขึ้นหรือ
แต่ถ้าตัวเองมีสติปัญญา มีความสามารถจะช่วยเหลือเจือจานเขา เราก็ควรทำ ถ้าเราไม่มีสติปัญญาจะช่วยเหลือเจือจานเขา เห็นไหม อิทธิบาท ๔ พรหมวิหาร ๔ ช่วยเต็มที่แล้วช่วยไม่ได้ก็อุเบกขา ช่วยเต็มที่แล้ว ไม่อย่างนั้นมันตายเลย จะช่วยเขาจนไม่มีสติปัญญา แต่ถ้าเราช่วยเขาจนสุดความสามารถแล้วมันเป็นกรรมของสัตว์แล้ว อุเบกขา คือ ไม่ทุกข์ไม่ร้อนไปกับเขา เออ! กรรมของสัตว์ ทางใครทางมัน เออ! จบ
นี่ไง อิทธิบาท ๔ ผู้ที่มีคุณธรรมเขามีคุณธรรมอย่างนี้ ไอ้ไม่ช่วยเป็นไปไม่ได้ เขาช่วยเต็มที่แล้ว แต่ช่วยแล้ว ช่วยถึงที่สุดแล้ว มันเวรกรรมของสัตว์ เวรกรรมของเขา ไส้เดือนน่ะ เราเห็นไส้เดือนใช่ไหม เราสงสารมันนะ เอาไส้เดือนมาไว้บนโต๊ะมันอยู่ไหม ไส้เดือนมันอยู่ในดินใช่ไหม ไส้เดือนมันจะกลับลงดิน เราเห็นไส้เดือนขึ้นมา โอ้โฮ! น่าสงสารๆ อู้ฮู! ทะนุถนอม ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไส้เดือนเอามันกลับไปในที่ดินนั้นนั่นคือบ้านเรือนของเขา
นี่ก็เหมือนกัน มันเรื่องของเขา อิทธิบาท ๔ ไง พูดถึงเวลาว่า รูป รส กลิ่น เสียงอันวิจิตรไม่ใช่กิเลส หากิเลสให้เจอ หาให้เจอก่อน
นี่ไง แล้วกรณีที่ว่า “ถ้าได้กลิ่นควันบุหรี่เป็นความอึดอัดและเป็นสภาวะหรือไม่ มันเป็นวิปัสสนาหรือไม่”
ไม่ ไม่ทั้งนั้น มันเป็นสภาวะว่าปัญญาชนเขาก็รู้ได้เรื่องการสูบบุหรี่ ตอนนี้เขารณรงค์เลย งดสูบบุหรี่มันจะได้ไม่เอาโรคภัยไข้เจ็บเข้ามาสู่ตัวเรา มันอยู่ที่สมองของคน อยู่ที่วุฒิภาวะของคน อาหารสิ่งใดที่เป็นพิษเรายังไม่เอาเข้ามาร่างกายเราเลย ไอ้นี่เอาบุหรี่มาสูบ มาสูบของเขา เว้นไว้แต่ถ้ามันเป็นโรคภัยไข้เจ็บนะ มันมี มันมียาที่เขาพวกเป็นไซนัสพวกเป็นอะไร มันมียาพ่น ไอ้พวกยาพ่น ยาสูบ เขาแก้ไซนัสแก้นั่น ไอ้กรณีที่เจ็บไข้ได้ป่วยนั่นอีกเรื่องหนึ่งนะ เพราะสรรพสิ่งในโลกนี้ ยาสูบ ฟังสิ ยาสูบมันเป็นยา แต่เราสูบกันมากเกินไป เราสูบกันจนเป็นกิเลสไง ยาสูบ ยา ยา แต่กินยาจนร่างกายมีสารพิษ มันอยู่ที่ความพอดีไง ยาสูบ มันมียานะ ยาพ่นควัน ยาต่างๆ มันมี
ฉะนั้น เราบอกว่าธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมา-สัมพุทธเจ้า ท่านรู้ว่าอะไรควรไม่ควร มันเหรียญมีสองด้านเท่านั้น บัญญัติธรรมวินัยไว้แล้ว บัญญัติกฎหมายไว้แล้ว ถ้าเป็นปัญญาชน กฎหมายนั้นก็ทำให้สังคมร่มเย็นเป็นสุข แต่ถ้าคนเล่ห์เหลี่ยมก็ใช้กฎหมายนั้นแสวงหาประโยชน์กับตน นี่ก็เหมือนกัน สิ่งใดองค์-สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมวินัยนี้ไว้ ถ้าทำถูกต้องดีงามแล้วมันไม่เบียดเบียนเราหรอก นี่พูดถึงว่าเวลายาสูบ เห็นแล้วมันอึดอัดขัดข้อง ปัญญาชนเขาคิดได้ แล้วมันเป็นวิปัสสนาหรือไม่ เป็นปัญญาอบรมสมาธิทั้งนั้น เพราะจิตยังไม่สงบ ถ้าจิตสงบแล้วเห็นสติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริงมันถึงจะเป็น
บทสรุป สรุปว่า “ถ้าเป็นสภาวะจิต ความโกรธ เป็นต้น แล้วจิตตัวเองแยกออกมาจากอาการนั้นๆ เป็นสภาวะ” แยกออกจากอาการนั้นๆ มันก็กดไว้ มันก็แยกได้ทั้งนั้น แบ่งข้าง อ้าว! ความดีไปอยู่ตรงนั้น ความชั่วไปอยู่ทางนี้ จัดหมดเลยบอกว่ามันจะเขียนได้ไง มันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาอบรมสมาธิมันทำได้ ปัญญาความคิด เวลาคนนอนหลับแล้วฝัน มันจะเร็วมาก พับๆ ความเห็นจากนามธรรม นี่ก็เหมือนกัน ความคิดคนมันเร็วมาก มันจะคิดอย่างไรก็ได้ จะคิดอย่างไรก็ได้ จะเป็นจริงไม่จริง ไม่มี เพราะไม่มีรสของธรรม
ถ้าเป็นความจริงนะ ศีล สมาธิ ปัญญา มันมีเหตุมีผล ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ มันต้องมีเหตุ มันต้องมีศีล มันต้องมีสมาธิ มันต้องมีปัญญา สมาธิก็รับรู้ได้ว่ารสของสมาธิมันมีความสุขมาก รสของปัญญามันลึกซึ้งกว่ารสของสมาธิหลายร้อยหลายพันเท่า รสของปัญญาที่พร้อมสัมมาสมาธิ มันเป็นดาบเพชรมันฟาดฟันกิเลสขาดเป็นชั้นๆ เข้าไปเลย แล้วมันไม่รู้จักหรือ ยังซื่อบื้ออยู่เนาะ ยังตาปรืออยู่บอกอันนั้นเป็นธรรม ไม่มี ถ้าเป็นปัญญาต้องเป็นอย่างนี้มันมีรสมีชาติของมัน มันมีความจริงของมัน ถ้ามีความจริงของมัน มันถึงจะเป็นความจริงของมัน แต่นี้บอกว่า “กายกับใจมันแยกจากกัน” มันก็แยกได้ แยกได้ทั้งนั้น ฉะนั้น “มันเป็นวิปัสสนาหรือไม่” ไม่
เราพูดถึงความเห็นของโลกไง ความเห็นของโลก ปัญญา ปัญญาคือความคิดไง ความคิดอย่างนั้นมันเป็นโลกียปัญญาไง ถ้าเป็นโลกียปัญญาแล้วเดี๋ยวนี้เป็นปัญญาชนใช่ไหม พอปัญญาชนถึงบอกว่าเป็นปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาอบรมสมาธิ ไม่ใช่วิปัสสนา วิปัสสนาเป็นภาวนามยปัญญา ภาวนามยปัญญามันจะมีสัมมาสมาธิที่ลึกซึ้งกว่า แค่สมาธิมันก็สุขแล้ว แล้วถ้ามีปัญญาอีก โอ้โฮ! มหาศาลเลย แต่นี่ไม่เป็นอย่างนี้หรอก
ฉะนั้น คนที่เป็นจริงมันต้องมีครูบาอาจารย์ที่เป็นจริง ท่านถึงวินิจฉัยเรื่องอย่างนี้ได้ ฉะนั้น คำถามนี้ก็เป็นอันว่า ไม่ใช่! เด็ดขาด ไม่ใช่วิปัสสนา สูงที่สุดคือปัญญาอบรมสมาธิ สูงที่สุดนะ ถ้ามีความเห็นผิดไม่ใช่ เป็นมิจฉาสมาธิ มิจฉา มิจฉา มิจฉาการประพฤติปฏิบัติ เป็นมิจฉาทั้งหมด ถ้าเป็นสัมมาก็อีกอย่างหนึ่ง นี่พูดถึงว่าความเห็น จบ
ถาม : เรื่อง “คนไม่สู้ชีวิต”
กราบท่านอาจารย์ที่เคารพ
ผมมีคำถามที่อยู่ในใจที่อยากถามท่าน ผมภาวนาโดยใช้พุทโธกับตามดูลมหายใจ และถือศีล ๕ แบบเคร่งครัด และพยายามนั่งให้ได้เช้าหนึ่งชั่วโมง เย็นหนึ่งชั่วโมง และพยายามลดละเลิกความอยากที่ไม่จำเป็นในชีวิตลงบ้าง ทำแบบนี้มาเกือบจะ ๓ ปีแล้วครับ แล้วช่วงหลังมานี้ผมเริ่มรู้สึกเบื่อการทำงาน เบื่อกับเพื่อนร่วมงาน เบื่อที่จะรับผิดชอบ เบื่อที่จะดิ้นรนทำงานให้ได้ผลตามที่บริษัทตั้งเป้า รู้สึกเครียดและเหนื่อยใจ แต่ผลตอบแทนที่ผมได้รับทุกเดือนก็คุ้มค่ากับการทำงานลงไปครับ แต่ผมกลับรู้สึกไม่อยากจะใช้ชีวิตแบบนี้ครับ มันเหมือนจะหมดไฟ มันเหมือนเราทำงาน ทำเพื่อแลกกับเงิน แล้วพอได้เงินมาก็เอาเงินมาสนองความต้องการของชีวิตทั้งสิ้น ทั้งสิ่งที่จำเป็น และสิ่งที่ไม่จำเป็น วนอย่างนี้ไปเรื่อยๆ
ผมเลยมีความคิดแวบเข้ามาว่า ถ้าผมจะต้องสู้ดิ้นรนให้กับชีวิตการทำงานจนวันตาย ทำไมผมไม่ไปดิ้นรนต่อสู้ในเพศบรรพชิตเลย ถ้าบางทีมีบุญบารมีมากพอ อาจส่งให้ได้มรรคผลก็ได้ ผมเคยบอกความรู้สึกนี้ให้แม่กับเพื่อนสนิทฟัง เขาแย้งว่าอาจจะเป็นแค่ความเบื่อชั่วคราวก็ได้ ถ้าเข้าไปบวชแล้วคนเขาจะมองว่าเราเป็นคนไม่สู้ชีวิต หนีปัญหา แล้วถ้ามาบวชแล้วอยู่ไม่ได้ต้องสึกออกมาจะทำงานอะไร อายุก็มากแล้ว (ปัจจุบันผมอายุ ๓๘ ปี) คนเขาจะนินทาเอาว่าทางโลกก็อยู่ไม่ได้ ทางธรรมก็ไปไม่รอด
ผมขอความเมตตาจากท่านอาจารย์ชี้ทางแห่งปัญญาให้ผมที และเราจะทราบได้อย่างไรว่า เราพร้อมที่จะออกบวชได้แล้ว กราบขอบพระคุณครับ
ตอบ : ถ้าเรารู้สึกว่าเราพร้อมที่จะออกบวชได้แล้ว เพราะเรามาบวชเสร็จแล้วก็จบไง เราบวชแล้วเป็นพระ ก็บวชแล้ว แต่ถ้ายังไม่ได้บวช ยังไม่ได้บวชยังวิตกกังวลอยู่ ยังอยู่กับชีวิตนี้ ถ้าอยู่กับชีวิตนี้ เห็นไหม คนที่มีสติปัญญาคิดได้อย่างนี้ มีสติปัญญาคิดได้อย่างนี้ ถ้าคิดได้ว่าเราอยากบวช มีคนคิดว่าอยากบวช อยากบวช อยากจะไปเยอะแยะมากเลย
ฉะนั้น เวลาบวชไปแล้ว ชีวิตของโลกประจำวัน หน้าที่การงานของเราก็เป็นสังคม สังคมหนึ่ง บางคนนะเบื่อโลกมากเลย อยากจะหนีสังคมนะ แล้วจะบวชเป็นพระ นึกว่าบวชเป็นพระแล้วจะมีเราอยู่คนเดียว อยู่กับป่า ไม่ใช่ พอบวชมาเป็นพระปั๊บ พระก็มีพระเยอะแยะเลย ก็เป็นสังคมอีกสังคมหนึ่ง สังคมของพระมันก็มีการกระทบกระทั่งกันเป็นเรื่องธรรมดา
แต่นี้สังคมของพระมันก็มีศีลนะ ถ้ามีศีลนะ แล้วถ้ามีครูบาอาจารย์ที่ดี เห็นไหม ครูบาอาจารย์ที่ดีท่านจะคุ้มครองดูแล คุ้มครองดูแลพระบวชใหม่ เพราะเวลาพระบวชมาแล้วต่างคนต่างตีอกชกตัว คนที่ไม่มีบารมี “พระพุทธเจ้านิพพานไปแล้ว ครูบาอาจารย์เราก็ตายไปแล้ว เหมือนกับเป็นคนกำพร้าไม่มีพ่อไม่มีแม่” แต่ความจริงธรรมวินัยมันมี มีอุปัชฌาย์อาจารย์ อุปัชฌาย์เหมือนพ่อเหมือนแม่ ถ้าอุปัชฌาย์สิ้นชีวิตไปให้อยู่กับอาจารย์ ถ้าอาจารย์เราขอนิสัยแล้วต่างคนต่างรับผิดชอบดูแลกัน
ถ้าเป็นครูบาอาจารย์ที่ดีท่านจะเลี้ยงดูเรา อย่างเช่น หลวงตา ครูบาอาจารย์เรา ท่านระลึกถึงหลวงปู่มั่นน้ำตาไหลทุกที หลวงปู่เจี๊ยะนะอย่าให้พูดถึงหลวงปู่มั่นเลย พูดถึงร้องไห้เลย เราเคยอยู่กับท่าน เวลาตักอาหารอยู่นี่แล้วท่านก็นั่งร้องไห้ ไอ้เราก็แปลกใจ ถาม “หลวงปู่ หลวงปู่ร้องไห้ทำไม” “คิดถึงหลวงปู่มั่น” เพราะวันนั้นอาหารมันมาแล้วอาหารมันมีคุณภาพหน่อย อาหารดีว่าอย่างนั้นเถอะ ท่านบอกว่า “เวลาตักอาหารทีไร คิดถึงหลวงปู่มั่น ท่านไม่เคยเจออาหารแบบนี้เลย”
เพราะตอนที่หลวงปู่เจี๊ยะอยู่กับหลวงปู่มั่นท่านอยู่ทางภาคเหนือ อยู่กับพวกคนไทยภูเขามันไม่มีอาหารอะไรหรอก มันก็มีของป่าทั้งนั้น ท่านไม่เคยอย่างนี้ไง เวลาตักอาหารดีๆ หลวงปู่เจี๊ยะนั่งร้องไห้เลยนะ นี่พูดถึงว่าเราอยู่กับครูบาอาจารย์ที่ดี หลวงปู่เจี๊ยะ หลวงตา ท่านจะเรียกพ่อแม่ครูจารย์เป็นทั้งพ่อทั้งแม่ ทั้งพ่อทั้งแม่ก็ดูความเป็นอยู่ถ้าเป็นอาจารย์ไง เราอยู่ทางบ้านเราก็มีพ่อแม่ พ่อแม่ก็เลี้ยงดูเราได้แต่ตัวเท่านั้น โลกนี้เลี้ยงกันได้แต่ตัว แต่ถ้าเป็นครูบาอาจารย์ที่ดีเลี้ยงทั้งตัว เลี้ยงทั้งใจหัวใจด้วย หัวใจมันคิดไม่ดีขึ้นมา คิดจะสึกคิดไปทางโลก ท่านกระหนาบแล้ว
นี่พูดถึงว่า ถ้าเรามีครูบาอาจารย์ที่ดีไง ทีนี้เราจะบอกว่า เวลาสังคมพระ สังคมพระก็เป็นสังคมแบบทางโลกนั่นแหละ แต่มันเป็นที่อำนาจวาสนาของเราไง ถ้าอำนาจวาสนาของเรา คำว่า “อำนาจวาสนา” อาจารย์ที่ดีขนาดไหน หลวงปู่มั่นเป็นครูบา-อาจารย์ที่โลกนี้แสวงหา โลกนี้ต้องการทั้งนั้น แต่สมัยหลวงปู่มั่นท่านดำรงชีพอยู่มีพระเข้าไปเยอะแยะ แล้วอยู่กับท่านไม่ได้ก็มี หนีจากท่านไปก็มี ท่านไล่ออกก็มี แล้วพระที่ท่านฝึกหัดขึ้นมาจนเป็นพระอรหันต์ก็เยอะ มันเป็นที่จะเข้ากันได้หรือเข้ากันไม่ได้ไง ถ้าเข้ากันได้มันชอบ ถ้าเข้ากันได้นะ ทำมาถูกหมดเลย ถ้าเข้ากันไม่ได้ทำอะไรผิดทั้งนั้นเลย มันเข้ากันโดยธาตุความชอบ แต่ถ้าเข้ากันได้ดีๆ นะ โอ๋ย! จะสุดยอดเลย พูดถึงว่าถ้าบวชนะ
ฉะนั้น เวลาบวชขึ้นมา เราจะบอกว่า บวชมาแล้วนะ สังคมพระนะเวลาที่มีปัญหากัน มันก็มีปัญหาแบบทางโลก เขาบอกว่า “เขาทำงานทางโลก เบื่อการรับผิดชอบ เบื่อเพื่อน เบื่อที่ทำงาน เบื่อ เบื่อ” เวลาเบื่อมันไปอยู่กับพระ เพราะถ้าพระนะ ถ้าเราบวชแล้ว ถ้ามีพรรษาแล้ว เราออกวิเวก ออกปฏิบัติของเรา ออกวิเวกของเรานะ แต่ในสมัยปัจจุบันนี้โลกมันเจริญไง เดี๋ยวนี้ในป่าในเขา เขาจะไม่ค่อยอนุญาตให้พระเข้าไปแล้ว เพราะพระที่เข้าไปแล้วไปทำสิ่งที่ไม่ดีก็เยอะในป่า ถ้าพระที่ดีๆ ขึ้นไป เขาอาศัยป่า เขาไม่ไปยึดป่า เขาอาศัยป่าเป็นที่ภาวนา เดี๋ยวเขาก็ย้ายไป เขาไม่ไปยึดกันหรอก ที่วิเวกเขาไปอาศัยสถานที่เป็นที่ภาวนา เสร็จแล้วเขาก็เปลี่ยนที่ไปเรื่อยๆ เขาไม่ยึดหรอก แต่ไอ้พวกที่เข้าไปยึดๆ มันก็มีปัญหาเหมือนกัน
ถ้ามีปัญหา เราต้องมองภาพกว้างไงว่าพระก็ไปทำกระทบกระเทือนกับสังคมเหมือนกัน สังคมก็ทำกระทบกระเทือนกับพระเหมือนกัน ต่างคนต่างไม่ไว้ใจกัน พอต่างคนต่างไม่ไว้ใจกัน เราก็ต้องมาคิดถึงตัวเราไง ว่าเราจะหวังให้เขาเชื่อใจเรา หวังให้เขาดูแลเรา มันเป็นไปไม่ได้หรอก เราก็ต้องอยู่ในศีลในธรรมของเรา อยู่ที่วาสนาของเรา ได้แค่ไหนก็แค่นั้น เขาจะอุปัฏฐากดูแลแค่ไหนก็แค่นั้น แต่เราก็พยายามภาวนาของเราเพื่อสัจจะความจริงของเรา โลกนี้มันซับซ้อนนัก
นี่พูดถึงว่าเวลาจะบวชเป็นพระนะ ถ้าพูดอย่างนี้จบปั๊บ อย่างนี้ผมไม่บวชดีกว่า ถ้าไม่บวชดีกว่าก็อยู่กับทางโลกนั้นไป ถ้าอยู่กับทางโลกไปนะ เราจะบอกว่า มันอยู่ที่เราคนเดียวเท่านั้นแหละ มันอยู่ที่เราคนเดียว คนที่จะเห็นดีเห็นงามยาก เห็นดีเห็นงามนี่ยากมาก แล้วเวลาจะบวชมาแล้ว คนที่จะเจ็บช้ำน้ำใจที่สุดคือพ่อแม่ เพราะพ่อแม่เสียลูกที่รักไป พ่อแม่เสียคนที่จะเป็นกำลังไปคนหนึ่ง พ่อแม่จะสะเทือนมาก
แต่ถ้าคนที่พ่อแม่ที่เป็นธรรมนะ ก็ต้องบอกว่าเป็นวาสนาของเขา เป็นวาสนาของเขา เราเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะร่วมกัน แต่ถ้าใครมีไอเดียมีความคิดที่จะทำคุณประโยชน์ ถ้าเราจะส่งเสริมได้ เราควรส่งเสริม แต่คนที่จะเจ็บช้ำน้ำใจที่สุดคือพ่อแม่แน่นอน ของรักที่สุดในชีวิตนะ คนที่มีลูก ลูกคือแก้วตาดวงใจของพ่อแม่ แล้วต้องหลุดไปจากมือเรา เป็นสิ่งที่กระทบกระเทือนใจที่สุด แต่เราจะแลกมาด้วยการบวชและประพฤติปฏิบัติให้ได้คุณธรรมขึ้นมา ให้พ่อให้แม่ได้บุญกุศลมากที่สุด ให้พ่อให้แม่ เห็นไหม
ดูสิ พระพุทธเจ้ายังไปโปรดพ่อจนเป็นพระอรหันต์ ไปโปรดแม่บนดุสิต ครูบาอาจารย์เราท่านพยายามจะไปโปรด แต่บางองค์พ่อแม่ท่านก็ไม่ยอมรับ ท่านไม่ยอมรับ ก็เลือดเนื้อเชื้อไขของท่าน เราเกิดมาจากเลือดเนื้อเชื้อไขของท่านนะ ไข่ของแม่ สเปิร์มของพ่อ มาด้วยเวรด้วยกรรม รวมลงเป็นในร่างกายของเรา แล้วเราเอามาค้ำจุนศาสนา แล้วเรามาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ทำไมพ่อแม่จะไม่ได้บุญ แต่เจ็บช้ำน้ำใจหรือไม่ เจ็บ โลกนี้ไม่มีของฟรี พระพุทธเจ้าออกบวช พระเจ้าสุทโธทนะทุกข์มาก พระเจ้าสุทโธทนะทุกข์มาก แต่! แต่มันต้องมีการเสียสละ ถ้าไม่มีการเสียสละ เราก็จะไม่ได้สิ่งใดมา นี่พูดถึงนี่ความเห็นเรานะ แล้วเรื่องของโยม โยมต้องพิจารณาเอา จบ
ถาม : เรื่อง “กรรมฐานสำหรับผู้ป่วย”
กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ
ผมขอความเมตตาจากพระอาจารย์เรื่องตอนนี้คุณพ่อป่วย แต่อยากฝึกหัดนั่งสมาธิ ต้องให้เขาใช้กรรมฐานข้อไหนดีครับ ตอนนี้พ่อใช้พุทโธกับลมหายใจครับ แต่แกบอกได้ไม่นาน เพราะเจ็บ ไม่ค่อยไหว เวลาผมลองแนะนำดูท่านก็บอกว่าขอแบบง่ายๆ ไม่เอาอะไรเยอะ จำไม่ได้แล้วจะงง โดยปกติคุณพ่อไม่ค่อยฟังใคร
ปล. พ่อผมเพิ่งฝึกหัดใหม่ครับ
ตอบ : ถ้าพูดถึงผู้ฝึกหัดปฏิบัติใหม่ ยิ่งคนเฒ่าคนแก่ คนเฒ่าคนแก่นะมันน่าเห็นใจ น่าเห็นใจอย่างหนึ่งคนเฒ่าคนแก่ คนเฒ่าคนแก่ประสบการณ์ชีวิตมันเยอะ นี้ประสบการณ์ชีวิตเยอะ มันก็เลยมีปัญญาเยอะ คิดว่าตัวเองมีปัญญาเยอะนั่นคือสัญญา คนเฒ่าคนแก่ เวลากรรมฐานเขาบอกคนเฒ่าคนแก่เหมือนคนเป็นโรคภัยไข้เจ็บมาก มันมีสัญญามาก
ฉะนั้น เวลาเขาจะฝึกหัด พยายามให้ง่ายๆ ที่สุด หายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ ถูกต้องดีที่สุดแล้ว แล้วถ้าบอกว่าเขาทำไม่ได้ ทำไม่ได้สิ ทำไม่ได้เพราะสิ่งนี้เราไม่เคยทำไง นี่ยังดีนะ คนที่ทำได้ ทำได้ เพราะตอนนี้คุณพ่อป่วยครับ เพราะคนเจ็บไข้ได้ป่วยคนที่จะต้องไปเผชิญกับโลกหน้ามันละล้าละลังนะ มันรู้ว่าจะต้องไป มันไม่มีสมบัติสิ่งใดไง ถ้าไม่มีสมบัติสิ่งใดมันอยากทำ ถ้าอยากทำขึ้นมา หายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ ถ้ามีอำนาจวาสนา เอาสิ่งนี้ตามไป เอาสิ่งนี้แนบกับจิตไป
ถ้าสิ่งนี้แนบกับจิตนะ เรามีพระพุทธเจ้าไปกับเรา เรามีพุทธะไปกับเรา อยู่ที่ไหนมีพุทโธ มีพระพุทธเจ้าคุ้มครองเรา อยู่ที่ไหนก็ได้ บอกให้ท่านเลยบอกให้หายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธง่ายที่สุดแล้ว หายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ แล้วอธิบายบอก พุทโธคือชื่อพระพุทธเจ้า เป็นศาสดาของเราไง ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ ไปเป็นลูกศิษย์ขององค์สมเด็จพระสัมมา-สัมพุทธเจ้า สัญญาไว้กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ถ้าใครระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เขาจะคุ้มครองดูแลไม่ให้เข้ามารบกวนไง
เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ลูกศิษย์ลูกหาเป็นท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ พระอินทร์ พรหม เป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้าหมดเลย แล้วเราก็เป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้า เราอยู่กับพระพุทธเจ้า เราจะบอกว่าให้อธิบายอย่างที่เราพูดให้พ่อฟังๆ เพราะคนมันอยากมีที่พึ่งไง ถ้าอยากมีที่พึ่ง เรากำหนดหายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ เรามีพุทธานุสติ เรามีองค์-สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดา เรามีองค์สมเด็จพระ-สัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่กับเรา หัดทำอย่างนี้ง่ายที่สุด แล้วควรทำด้วย
กรรมฐานสำหรับผู้ป่วย แล้วถ้าพุทโธๆ จนจิตสงบแล้ว ร่างกายมันฟื้นฟูมาเดี๋ยวหายป่วย ถ้าไม่หายป่วยเรามีพุทโธของเรา ถึงวาระแล้วก็ให้เรามีบุญกุศลเป็นที่พึ่งไป นี่พูดถึง เห็นไหม เราเป็นชาวพุทธไง เราเป็นชาวพุทธ เราเชื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่าเสียใจ อย่ารำพึงรำพันถึงกัน ให้ระลึกถึงกันด้วย ด้วยบุญกุศล ด้วยคุณงามความดี เราทำคุณงามความดีถึงกัน แล้วเราระลึกถึงกันด้วยคุณงามความดี นี่เป็นสมบัติของชาวพุทธ เอวัง