ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ไฟในใจ

๑ ก.ค. ๒๕๖o

ไฟในใจ

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ กรกฎาคม ๒๕๖๐

วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) .หนองกวาง .โพธาราม .ราชบุรี

ถาม : เรื่องใจที่คิดพุทโธ

หนูมีความเห็นว่า อารมณ์ความรู้สึกของเรานี่แหละเป็นสิ่งที่น่าเบื่อหน่าย มันหนักหน่วง ส่วนที่เรียกว่าสบายที่สุดคือจิตในขณะที่เป็นสมาธิ อารมณ์หนึ่งเดียวรองลงมา สิ่งสบายคือใจที่คิดพุทโธ นอกนั้นเป็นทุกข์

หนูพยายามฝึกใจให้คิดพุทโธตลอดเวลา ให้เกาะไว้ให้มากที่สุดตลอดทั้งวัน เว้นแต่หลับ เมื่อมีเวลาว่างจากการทำงาน หนูจะอยู่ในห้องเงียบและคิดแต่พุทโธ แต่ละครั้งนาน ชั่วโมงอยู่อย่างนั้นสบายดี

ทีนี้พอไปทำงาน ความคิดมันก็โผล่มา หนูตกใจและมีความเห็นต่อความคิดนั้นว่า เฮ้ย! ไม่เห็นจะต้องคิดแบบนั้นเลย จะคิดแบบนั้นทำไม คิดแบบนั้นมันร้อน มันหนัก ไม่จำเป็นเลยที่จะต้องคิดแบบนั้น เป็นอาการแบบนี้กับความคิดสองตัวติดกัน จากนั้นหนูทำหน้าที่การงานของหนูไป ใจหนูสิค่อยๆ เย็นลงๆ สบายมาก รื่นเริง สดชื่นแจ่มใส มันดีจริงๆ เลย

เดิมที่คิดว่าอารมณ์ความรู้สึกของเรานี้เป็นสิ่งน่าเบื่อหน่ายที่สุด แต่เราก็ไม่สามารถสลัดมันออกไปได้ แต่ตอนนี้หนูเห็นช่องทางแล้ว ควรให้ใจคิดพุทโธให้มากๆ เพราะความคิดอะไรก็ตามไม่ใช่ของจริงเลย และคือทุกข์ ส่วนใจที่คิดพุทโธนี้สิมีอานุภาพมาก มากเกินกว่าที่เราจะคาดได้เสียอีก หรือแม้แต่เราไม่ได้อะไร แต่ใจก็คิดพุทโธนี้สบายดี ทำได้ง่าย เบื่อความคิดเต็มที หยุดก็หยุดมันไม่ได้ อย่างนั้นให้คิดพุทโธแทน กราบขอบพระคุณหลวงพ่อมาก

ตอบ : นี่เขาพูดถึงว่าเวลาเขาคิดไง เวลาโดยความรู้สึกความนึกคิดของตนมันก็คิดแบบนั้นน่ะ เห็นไหม อารมณ์ความรู้สึกนี้มันน่าเบื่อหน่าย มันเป็นความทุกข์ความยากทั้งนั้นน่ะ พอมันเป็นความทุกข์ความยาก สิ่งนี้มันเป็นกิริยาของจิต มันเป็นอาการ มันเป็นความรู้สึกนึกคิดของคนโดยธรรมชาติของคน

แต่โดยธรรมชาติของคนใช่ไหม เวลาเราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราก็ไปพูดถึงธรรมะ เรื่องธรรม เรื่องกิเลส เรื่องธรรมต่างๆ เราก็ไปคิด อันนั้นมันเป็นสัจจะเป็นความจริง แต่เป็นสัจจะความจริง สัจจะความจริงมันมาจากไหนล่ะ มันมาจากคนที่ปฏิบัติ คนที่รู้จริงตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านตรัสรู้แล้ว แล้วท่านมาชี้บอกเรา

ทีนี้เราไปศึกษา เราไปศึกษามา เราไปศึกษามา ศึกษามาเป็นทฤษฎี เป็นความเข้าใจของเรา แต่ความเข้าใจของเรา เราก็ว่าอันนั้นเป็นกิเลส เราก็เลยเหมือนมีตุ๊กตา กิเลสเป็นตัวหนึ่ง ธรรมะเป็นตัวหนึ่ง แล้วเราก็เป็นตัวหนึ่ง แล้วเราก็ทำกันอยู่อย่างนั้นน่ะ

แต่ถ้าเราฝึกหัด เราจะมาประพฤติปฏิบัตินะ เราหายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ เราท่องพุทโธๆ ของเรา พุทโธๆ ของเรา พอจิตมันสงบ ตัวจิตน่ะมันเป็น ถ้าตัวจิตมันเป็น นั่นน่ะมันจะเป็นความจริง

ฉะนั้น เวลาความคิดเขาบอกเลย เขาบอกว่า อารมณ์ความรู้สึกนี้มันน่าเบื่อหน่าย อารมณ์ความรู้สึกต่างๆ

แต่เวลาได้เป็นความจริงๆ กิเลสต่างหากมันน่าเบื่อหน่าย เวลามันน่าเบื่อหน่ายเพราะกิเลสตัณหาความทะยานอยากในหัวใจต่างหาก มันก็อาศัยความคิด เห็นไหม เวลาความคิดเป็นกิเลส ก็ความคิดมันเป็นกิเลส

เวลาเราทำความสงบของใจเข้ามา พอใจมันสงบระงับแล้วมันเป็นสมาธิ โอ๋ย! มีความสุขมาก มีความสุขมาก ถ้าคนไม่รู้จักรักษา เดี๋ยวมันก็เสื่อม

แต่ถ้าคนที่รู้จักรักษา พอจิตมันสงบแล้วฝึกหัดใช้ปัญญา ฝึกหัดใช้ปัญญา ปัญญามันคืออะไรล่ะ ปัญญามันก็คือความคิดนั่นแหละ ปัญญาก็คือสังขารนั่นน่ะ เวลาความคิดอันหนึ่งมันรุ่มร้อน มันแผดเผานะ ความคิดมันเป็นแต่ฟืนแต่ไฟ มันเป็นฟืนเป็นไฟไปทั้งนั้นน่ะ ในใจเราฟืนไฟทั้งนั้น มันเผาเราทั้งนั้นเลย โดยกิเลสตัณหาความทะยานอยากก็ความคิดเรานี่แหละ

ทีนี้เราก็พยายามทำความสงบของใจเข้ามา หายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ ให้จิตมันสงบเข้ามา พอจิตสงบระงับแล้ว จิตเป็นสัมมาสมาธิแล้วฝึกหัดใช้ปัญญา ปัญญาก็คือความคิดนั่นน่ะ แต่ความคิดมีศีล สมาธิ ปัญญา เพราะมันมีสมาธิไง เวลาปัญญามันเกิดขึ้นมามันก็ถึงเป็นภาวนามยปัญญา

ภาวนามยปัญญามันคืออะไร

ภาวนามยปัญญาคือปัญญาเกิดจากการภาวนา นี่เราฝึกหัด เราภาวนา เราภาวนาของเราขึ้นมา เวลามันเกิดปัญญาขึ้นมา ปัญญาที่มันเกิดจากสัมมาสมาธินะ ปัญญาเกิดจากการภาวนา ปัญญาเกิดจากการค้นคว้า ปัญญาเกิดจากหัวใจของเราแสวงหา แล้วหัวใจเราพบหัวใจเราเจอ โอ๋ย! มันตื่นเต้นมหัศจรรย์

ฉะนั้น เราบอกว่า วิธีการดับไฟในใจไง สิ่งที่มันเป็นอยู่เป็นไฟในใจ

อารัมภบทแรกเขาพูด เขาบอกว่า ความคิดมันน่าเบื่อหน่าย ความคิดมันทุกข์มันยาก เพราะความคิดเรานี่แหละมันทำให้หนักให้หน่วง มันมีความทุกข์ความยากมาก

ความทุกข์ความยากนี่ไฟในใจ ไฟในใจ เราจะดับไฟในใจของเรา จะดับไฟในใจ ชักฟืนออก เราชักฟืนออกของเราคือชักความคิดออก ชักความคิด ชักตัณหาความทะยานอยากในใจของเรา พยายามดึงมันออกๆ พอดึงมันออกมา พอดึงออกมา นั่นเป็นสมาธิหรือ ไม่ใช่ จิตต่างหากที่เป็นสมาธิ

เวลาจิตมันเป็นสมาธิ รสของธรรมชนะซึ่งรสทั้งปวง รสของสมาธิธรรมไง สุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบไม่มี เราเน้นย้ำประจำ เน้นย้ำประจำว่า สุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบไม่มี แล้วถ้าใครทำสมาธิได้แล้วมันจะตื่นเต้นมาก ร้องเอ้อเหอ! เอ้อเหอ! เลยนะ เวลามันเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก ถ้าเป็นความจริง เป็นความจริงอย่างนี้

แต่ความจริง สุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบไม่มี แต่คนจิตมันไม่เคยสงบแท้ไง ว่างๆ ว่างๆ มันพูดแต่ว่างๆ ว่างๆ

ว่างๆ เป็นอารมณ์หนึ่งนะ เวลาอารมณ์ที่มันทุกข์มันยาก อารมณ์ความคิดมันแผดเผา ไฟในใจมันแผดเผาเรา แต่เราคิดเรื่องดีๆ มันก็บรรเทา บรรเทามันก็ไม่ต้องอื้อหือ! ไง

สุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบไม่มี ทุกคนก็ยังงงนะ สุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบไม่มี ลองมาสงบจริงๆ สิ ถ้าสงบจริงๆ มันต้องมีตรงนี้ ตรงที่ว่าสุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบไม่มี ถ้าจิตสงบมันจะมีความสุขมาก ถ้าจิตสงบมันจะมหัศจรรย์มาก ถ้าจิตสงบ แค่จิตสงบนี่แหละ สัมมาสมาธินี่

แต่โดยปัจจุบันนี้โดยส่วนใหญ่คนที่ทำสมาธิมันไม่ใช่สมาธิ มันเป็นภวังค์ มันเวิ้งว้าง เวิ้งว้างไปอย่างนั้นน่ะ มันเป็นภวังค์ มันถึงไม่มีรสชาติไง

ถ้ามีรสชาติ สุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบไม่มี ถ้าจิตมันสงบ มันสงบระงับ มันมีสมาธิมันถึงมีความสุขใช่ไหม ไอ้นี่มันเวิ้งว้างๆ เวิ้งว้างก็จืดๆ เวิ้งว้างก็ธรรมดา เวิ้งว้างก็เหมือนอารมณ์ปกติเรานี่ แล้วมันสุขที่ไหนล่ะ ถ้ามันไม่สุขเพราะมันไม่ใช่จิตสงบไง ถ้ามันไม่สุขมันก็ไม่ใช่สมาธิไง

แต่ถ้ามันเป็นสมาธิ สุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบไม่มี โอ้โฮ! มันมหัศจรรย์นะ แค่สมาธินี่แหละมหัศจรรย์มาก ถ้ามันเป็นสมาธิจริงๆ นะ สมาธิแท้ๆ สมาธิจริงๆ โอ้โฮ! มันจะมีความสุขมาก

แต่ความสุขอย่างนั้น เพราะถ้าเป็นสมาธิแล้ว คนเข้าสมาธิเข้าได้ยาก ทำได้ยากมาก พอทำได้ยาก พอเข้าถึงสมาธิแล้ว ทุกคนจะคิดว่าอ๋อ! นิพพานเป็นเช่นนี้เองทั้งๆ ที่มันเป็นสมาธิ จะบอกว่าไม่ใช่ มันเป็นสมาธิ แต่ไม่ใช่นิพพาน

แม้แต่โดยทางโลก ดูครูบาอาจารย์พระที่มีชื่อเสียงเขาบอกไงนิพพานของคนมีกิเลส นิพพานของคนดิบๆ คือนอนหลับแค่จิตมันมีความสุขเขาว่านิพพาน นิพพานคือสงบเย็นไง พอจิตมันปล่อยวาง มันเป็นเอกเทศ มันบอกคือนิพพาน นี่พระที่เขาเทศน์สอนกัน นิพพานของคนมีกิเลส นิพพานของทางโลกเขาไง

แต่ทีนี้พอจิตมันเข้าสู่ภวังค์ มันเวิ้งว้างอ๋อ! นิพพานเป็นเช่นนี้เองแล้วที่เป็นสัมมาสมาธินิพพานเป็นเช่นนี้เอง”...ไม่ใช่

เราจะบอกว่าไฟในใจนะ ทุกคนมันมีความทุกข์ความยากทั้งนั้น เราเกิดมาเรามีอวิชชาคือความไม่รู้ คือตัณหาความทะยานอยากในหัวใจ มันก็คิดของมันโดยสัญชาตญาณ คิดของมันโดยวุฒิภาวะ คิดของมันโดยคนที่บุญบาปตามแต่บุญบาปมากน้อยแค่ไหนในใจ มันคิดได้อย่างนั้นน่ะ

แต่ถ้าเรามีศรัทธามีความเชื่อ เราจะพยายามฝึกหัดของเรา ถ้าเราฝึกหัดของเรา เราทำความสงบของใจของเราเข้ามา แล้วถ้าใจสงบแล้วฝึกหัดใช้ปัญญา ถ้าเกิดภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการภาวนา

ภาวนามยปัญญาคือวิปัสสนา วิปัสสนา วิปัสสนาคือปัญญารู้แจ้ง รู้แจ้งในตัวของตัวเองไง ถ้ารู้แจ้งในตัวของตัวเอง จะย้อนกลับไปทำความสงบง่าย แล้วถ้าทำความสงบแล้วฝึกหัดใช้ปัญญา พอมันเกิดขึ้น พอมันเดินเป็นแล้ว คนเรามีสองเท้า เท้าหนึ่งคือสมถะ เท้าหนึ่งคือวิปัสสนา คนมีสองเท้าจะเดินไปพร้อมกัน ทั้งสมถะ ทั้งวิปัสสนา

แต่โดยปัจจุบันนี้คนเราเอากระสอบมาใส่ในตัวเอง แล้วก็กระโดดไปไง ถ้าเป็นสมถะก็ว่าเป็นสมถะ ถ้าเป็นวิปัสสนาก็บอกไม่ต้องทำสมถะ คนเราโดยปกติมีสองเท้าก้าวเดินโดยปกติ เอากระสอบมาใส่ไว้ซะ แข่งวิ่งกระสอบกันไง อันนั้นเป็นสมถะ อันนั้นวิปัสสนา โต้แย้งกันไปก็โต้แย้งกันมาว่าไอ้นั่นเป็นสมถะ ไอ้นี่วิปัสสนา

แต่ความจริงคนเรามีสองเท้า สมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน มันจะไปด้วยกันถ้ามีครูบาอาจารย์ที่ทำถูกต้อง แล้วถ้าทำถูกต้องแล้ว ธรรมะนี่เรียบง่าย ง่ายๆ เรียบง่าย เรื่องเรียบง่ายมาก ติดดินเลย

แต่นู่น มันจะไปอยู่บนก้อนเมฆ อิทปฺปจฺจยตา อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา ปัจจยาการ โอ๋ย! คุยกันนู่น บอกก้อนเมฆ

แต่ไอ้โดยปกติเรามีสองเท้า เราเดินอยู่บนแผ่นดินนี้

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราฝึกหัดภาวนาของเรา โดยปกตินี่ โดยปกติเรียบง่าย เราหายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ แล้วถ้าทำไม่ได้ ทำไม่ได้หรอก ทำได้ยาก เพราะทำได้ยาก หลวงตาท่านพูดประจำ การประพฤติปฏิบัติที่ยากก็ยากตอนเริ่มต้นนี่

ตอนเริ่มต้นคนไม่เคยทำ ไปทำงานโดยธรรมนะ ทางโลกยังลุ่มๆ ดอนๆ ทางโลก โดยวิชาชีพ ดูสิ เรียนแล้วจะเรียนวิชาการใด เรียนแล้วจบแล้วได้มีงานทำ พอเรียนจบแล้วยังวิ่งหางานกันกระหืดกระหอบ พอได้งานทำแล้วกว่าจะทำงานได้ แม้แต่งานทางโลกมันยังต้องลงทุนขนาดนั้น แล้วเวลาจะแก้กิเลสมันจะทำอย่างนั้นหรือ มันต้องทำมากกว่านั้น ละเอียดกว่านั้น

ถ้าละเอียดกว่านั้นนะ เวลาหายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ ไอ้นี่เวลาพูดทางทฤษฎีเรียบง่าย ง่ายๆ นี่แหละ แต่ทำยาก ทำยากเพราะอะไร ทำยากเพราะกิเลสหนา ทำยากเพราะกิเลสมันไม่ต้องการ ทำยากเพราะกิเลสมันต่อต้าน เวลามันต่อต้านขึ้นมามันทุกข์มันยากไง เวลาไม่ประพฤติปฏิบัติก็บอกว่าปกติดี เวลาปฏิบัติแล้วทุกข์ยากมากขึ้นอีก

แต่ถ้าคนมีสติปัญญา จะทุกข์ยากมากขนาดไหนมันพอใจ มันพอใจเพราะเราเลือกแล้ว เราเลือกแล้ว สิ่งที่ทางโลกมันเป็นของจำเจ มันจะมีความทุกข์อย่างนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ แต่ถ้าเรามาประพฤติปฏิบัติขึ้นมามันจะมีความทุกข์ความยากเพิ่มขึ้น ถ้าความทุกข์ความยากเพิ่มขึ้น ทุกข์เพื่อจะพ้นจากทุกข์

ถ้าทุกข์เพื่อจะพ้นจากทุกข์ มันทุ่มเทได้ มันทุ่มเทได้ มันพอใจ มันทำได้ ถ้ามันทำได้นะ จะทุกข์ขนาดไหนมันก็สู้ทนของมัน มันก็ทำของมัน นี่จะดับไฟภายใน ถ้าดับไฟภายในมันจะเป็นแบบนี้

ฉะนั้นบอกว่า อารมณ์ที่เขาคิดของเขาทั้งวันๆ มันทุกข์มันยากมาก

เราจะบอกว่า นั่นน่ะไฟในใจ

แต่เขาบอกว่า คำถามว่าจิตที่มันคิดพุทโธ

ถ้ามันคิดพุทโธๆ มันก็เป็นประโยชน์ไง

แต่คิดพุทโธ เขาบอกว่าคิดพุทโธ เขาจะหาที่อยู่ของเขา เขาจะเข้าไปปฏิบัติของเขาวันหนึ่งครั้งละนานๆ ชั่วโมง ชั่วโมง แล้วมีความสุขมาก มีความสุขมาก

นี่มีความสุข มีความสุขมาก ถ้ามีความสุขมาก มันแบบว่าเราเป็นคนฉลาดไง คนฉลาดที่เราหาความสุขในตัวเราเองได้ไง เราหาความสุขจากจิตใจของเรานี่

จิตใจของเราว้าเหว่ จิตใจของเรานี้มันทุกข์ยาก จิตใจของเราต้องอาศัยสังคม อาศัยอามิสมันถึงมีความสุขบ้าง แล้วเกิดมาในชีวิตเราก็ลุ่มๆ ดอนๆ เราก็มีความทุกข์ความยากโดยปกติ แล้วเราจะหาที่พึ่งที่อาศัยบ้างก็ต้องไปหาจากข้างนอก

แต่ถ้าเราเป็นชาวพุทธ เราฝึกหัดภาวนาของเรา หายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ เราอยู่กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาท่านเผยแผ่ธรรมโลกนี้เร่าร้อนนัก โลกนี้เร่าร้อนนัก

โลกนี้ก็โลกในหัวใจนั่นแหละ โลกในหัวใจมันเผาลนทุกคน

โลกนี้เร่าร้อนนัก เธออย่าไปซ้อนทางกันท่านมาอบรมสั่งสอน เผยแผ่ธรรมมา ทีนี้ทำมาจนศาสนามั่นคง เราเกิดมาในพระพุทธศาสนา เกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา เราได้ศึกษาเล่าเรียน เรามีวาสนา

เพราะคนที่เกิดมา เกิดมาเป็นมนุษย์เหมือนกันทั้งนั้นน่ะ ดูสิ ในวัดในวาก็อยู่ในประเทศไทยเรานี่แหละ คนในประเทศไทยก็มหาศาล เขาคิดอย่างนี้บ้างไหมล่ะ แต่ในปัจจุบันนี้เราจะบอกว่าสังคมดีขึ้นเยอะนะ ดีขึ้นเยอะเพราะเดี๋ยวนี้คนมาฝึกหัดปฏิบัติเยอะขึ้น

แต่ก่อนนี่ไม่ใช่ ห้ามปฏิบัตินะ เดี๋ยวบ้า

ไอ้นั่นมันไสยศาสตร์ เราดูกันทางไสยศาสตร์ เราดูทางประวัติศาสตร์ของคนไทยชอบเรื่องเครื่องรางของขลัง มันก็มองไปทางนั้นน่ะ มันเป็นเกจิอาจารย์ไง มันไม่ใช่ประพฤติปฏิบัติด้วยความเป็นสัจจะ ด้วยความเป็นอริยสัจไง

ถ้าความเป็นอริยสัจมันจะเข้ามาที่นี่แหละ เพราะความเป็นอริยสัจมันเกิดจากหัวใจ ถ้ามันเกิดจากหัวใจ คนที่เริ่มจะประพฤติปฏิบัติขึ้นมาก็ต้องพยายามทำความสงบของใจเข้ามา

ทีนี้โดยทั่วไปเขาบอกว่าไม่ต้องทำหรอก ทำความสงบของใจ ทำไปทำไมมันจะใส่กระสอบไง มันจะใส่กระสอบ คนเรามีสองเท้าแล้ว มันจะปฏิเสธให้เหลือเท้าเดียว

เราก็ทำความสงบของใจเข้ามา ทำมาเพื่ออะไร ทำมาเพื่อให้สุขภาพจิตมันดี สุขภาพจิตดีแล้วเราจะทำงานที่มีวุฒิภาวะ ทำงานแล้วเพื่อจะเป็นธรรม ถ้าเป็นธรรมๆ มันก็เริ่ม

นี่พอย่อหน้าที่สอง พอเริ่มทำงานมันก็มีความคิดโผล่มา หนูก็ตกใจว่าความคิดของเขา เขาก็พูดขึ้นมาเฮ้ย! ไม่เห็นจะต้องไปคิดเลย

คำว่าเฮ้ย!” นี่จิตเห็นอาการของจิตไง

โดยธรรมดาความคิดความยากเป็นเราทั้งนั้นน่ะ เวลาจะคิดเรื่องอะไรจะทำอะไรก็เราคิดเราทำไง เพราะเราคิดเราทำ เราก็ว่าเราทำดีทั้งนั้นน่ะ ทุกคนก็บอกว่าเราทำถูกต้องดีงามทั้งนั้น

แต่ถ้าเราเคยฝึกหัดของเราขึ้นมาบ้าง เขาบอกว่าเขาหายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ เป็นทีหนึ่ง ชั่วโมง ชั่วโมงไง แต่มันต้องไปทำงาน ทำงาน ความคิดมันโผล่มา

นี่ความคิดมันโผล่มา แต่เดิมความคิดเป็นเรา เห็นไหม โดยธรรมชาติที่เราหายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ มันเป็นเราทั้งนั้นน่ะ เราคิดเอง เรารู้เอง เราสติสัมปชัญญะพร้อมสมบูรณ์ นี่มันเป็นเรา แต่เราไม่เห็นความคิด

แต่ถ้าเราฝึกหัดๆ ของเรา เวลาเรามาเห็นความคิดของเรา เวลาความคิดเกิดขึ้นมา เขาบอกว่าเขาเป็นอย่างนี้สองครั้ง พอมันเป็นครั้งแรกแล้ว ถ้ามันเห็นความคิด มันจับความคิดได้ นี่เราจับของเรา เราพิจารณาของเรา เราเป็น

เขาบอกว่าเขามีความคิดแบบนั้น อาการแบบนี้ มีความคิดแล้ว สองตัวติดกัน

เห็น พอเห็นแล้วมันจับได้ พอจับครั้งแรกได้มันก็จับได้เรื่อยๆ แล้วแหละ พอจับได้เรื่อยๆ ถ้ามันจับได้ มันพิจารณาได้ เราก็ทำของเราไป ถ้ามันจับไม่ได้ มันพิจารณาไม่ได้ เราก็กลับไปพุทโธ

เราจะบอกว่า เพราะมันมีพุทโธ เพราะมันมีสัมมาสมาธิ เพราะมันมีกำลัง มันถึงมีสติสัมปชัญญะ จับต้องได้ พิจารณาได้

ความคิดมันเป็นอาการ เกิดจากจิตๆ ความคิดไม่ใช่จิต แล้วความคิดมันก็ไม่มีถ้าไม่มีจิตนะ ความคิดมันจะเกิดจากที่ไหน มันเกิดไม่ได้หรอก มันเกิดบนหัวใจของคนนี่แหละ เกิดบนสิ่งที่มีชีวิตนี้ เพราะมันเกิดบนสิ่งที่มีชีวิตนี้ โดยสัญชาตญาณ โดยธรรมชาติของมัน มันก็คิดแบบนี้โดยความเป็นมนุษย์

แต่ถ้าเป็นมนุษย์ เพราะเราเกิดเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนาไง เรามาทำความสงบของใจ เราหายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธนี่ไง พอหายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ เราหายใจบ่อยๆ ครั้งเข้ามันมีกำลัง จิตมันมีจุดยืนของมัน พอมันเห็นความคิดของตน นี่เห็นความคิดของตน ความคิดไม่ใช่จิตเพราะเราเห็น เห็นไหม

เพราะเขาเขียนมาเลย เขาบอกว่าเฮ้ย!” เขาร้องเฮ้ย! เชียวนะ พอเห็นความคิดของตนเองเฮ้ย!” เหมือนขโมยไง เวลาขโมยเข้าบ้าน เราไม่เคยจับขโมยได้เลย วันนี้เห็นขโมยมันเปิดประตูเข้ามาเลยนะ ชี้หน้ามันเลยเฮ้ย! ขโมยๆ

นี่ก็เหมือนกัน เวลาจิตมันเห็นความคิดของตนเอง นั่นน่ะขโมย มันขโมยคิดทุกวัน มันมาคิดกับเรา มันลากจิตมันไปตลอดทั้งชีวิตเลย แต่ไม่เคยรู้ ไม่เคยรู้

แต่พอเราทำความสงบของใจเข้ามา หายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ

เขาบอกว่าเขาคิดพุทโธๆๆ ครั้งละประมาณ ชั่วโมงนะ เขาทำของเขาอยู่อย่างนี้ แต่เวลาเขาจะไปทำงาน พอทำงานแล้วมันโดยสัญชาตญาณ เขาเดินไปทำงานไง เขาบอกเวลาไปทำงาน ความคิดมันจะโผล่มา

ถ้าความคิดโผล่มา เราก็จับความคิดไว้ ความคิดมันบอกเฮ้ย!” นี่สติมันก็หยุดแล้ว พอหยุดแล้ว นี่เราพิจารณาของเราอย่างนี้ ฝึกหัดพิจารณาของเรา เราจะดับไฟในใจไง ไฟของเรา ไฟในใจมันมีขึ้นมาแล้วเราต้องพยายามดับ ถ้าดับ มันดับได้ นี่นักปฏิบัติ

ถ้าเรานักปฏิบัติ เราเกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา แล้วเราจะทำความจริงของเรา ถ้าทำความจริงได้ ถ้ามันเฮ้ย!” มันจับต้องได้ มันมีสติสมบูรณ์มันก็ทำของมันได้ ถ้าขาดสติมันก็ทำไม่ได้นะ

ขาดสติขึ้นมา หนึ่ง หงุดหงิด ฟุ้งซ่าน มีแต่ความรำคาญ

แต่ถ้าเราพุทโธได้ๆ หนึ่ง ปลอดโปร่ง มีความสะดวกสบาย ตัวเองเป็นอิสระ

ตัวเองเป็นอิสระตรงไหนรู้ไหม ตรงที่ว่าเวลาเราอยู่กับสังคม สังคมเป็นสังคม เราเป็นเรา แต่ถ้าตัวเองไม่อิสระนะ เวลามันคิดเรื่องสังคม เรื่องรอบข้าง มันเดือดร้อนไปหมดเลย นู่นก็ไม่ดี นี่ก็ไม่ดี ไม่มีอะไรดีสักอย่างเลยถ้าจิตมันไม่ดี

ถ้าจิตมันดีนะ เรื่องของเขา สังคมมนุษย์เป็นแบบนี้ มีสติสัมปชัญญะ ถ้าพูดถึงถ้ามีพุทโธ จิตมันเป็นอย่างนี้

ถ้าไม่มีพุทโธนะ เดือดร้อนไปหมด เขาก็เดือดร้อน เราก็เดือดร้อน แล้วมันก็เดือดร้อนไปหมด มันก็เหมือนกับความคิด เริ่มต้นถ้าไม่มีพุทโธ มันก็เป็นเราไปหมด เดือดร้อนกันไปหมด

แต่ถ้าเราพุทโธๆๆ จนมันปล่อยวาง มันอิสระขึ้นมา นี่ได้แล้ว เวลาพอมันไปเห็นความคิดเฮ้ย!” เลยนะ ร้องเฮ้ย! เลย ใช่ ร้องเฮ้ย! พิจารณา จับความคิด ความคิดไม่ใช่เรา แต่มันเกิดจากเรา แล้วฝึกหัดใช้ปัญญาขึ้นไป ถ้าฝึกหัดใช้ปัญญามันเริ่มพัฒนาขึ้นดีขึ้น

ฉะนั้นบอกว่าแต่ตอนนี้หนูเห็นช่องทางแล้ว ควรให้ใจคิดพุทโธให้มากๆ เพราะความคิดอะไรก็ไม่ใช่ความจริงเลย และคือทุกข์ ส่วนใหญ่ที่คิดพุทโธนั้นมีอานุภาพมาก มากเกินกว่าที่เราคาดได้เสียอีก หรือแม้แต่เราไม่ได้อะไร แต่ใจก็ได้พุทโธสบายดี ทำได้ง่าย เบื่อความคิดเต็มที หยุดก็หยุดไม่ได้ อย่างนั้นให้กลับไปคิดพุทโธแทน

นี่พูดถึงว่า เวลาเขาใช้ปัญญาของเขาฝึกหัดของเขา เขาจะได้ประโยชน์ของเขาอย่างนี้ แล้วประโยชน์แท้ๆ อย่างนี้ แล้วเราพยายามทำของเรา

เราจะบอกว่า การประพฤติปฏิบัติ ฝึกหัดสติ ฝึกหัดสมาธิ ฝึกหัดใช้ปัญญา ฝึกหัดๆ แล้วเรามีสติ มีสมาธิ มีปัญญา เราจะดับไฟในใจของเราไง

ไฟในใจมันทุกข์มันร้อน เวลาพระพุทธศาสนาสอนลงที่นี่ สอนลง เห็นไหม ดูสิ เราจะไปที่วัดไหนก็แล้วแต่ ที่เผยแผ่ธรรมที่ใดก็แล้วแต่ สิ้นสุดของเขาคือการภาวนา สิ้นสุดของเขา สูงสุด เริ่มต้นเริ่มทำทาน มีกิจกรรมต่อไป สิ้นสุดของเขาคือนั่งสมาธิภาวนา

นี่ก็เหมือนกัน เราก็ฝึกหัดภาวนาของเราอยู่แล้ว เราก็ฝึกหัดใจของเราอยู่แล้ว ถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมา มันเป็นความจริงขึ้นมา เราฝึกหัดของเรา เราฝึกใจเราให้ฉลาดขึ้นมา ถ้าใจมันฉลาดขึ้นมามันก็จะเป็นประโยชน์กับเรา นี่พูดถึงว่าทำอย่างนี้ถูกต้องแล้ว

ฉะนั้น คำถามเขาไม่มี เพียงแต่เขาบอกว่ากราบขอบพระคุณหลวงพ่อที่สั่งสอนหนูมาตั้งแต่หนูยังทำอะไรไม่เป็น

ตอนนี้เขาคิดว่าสั่งสอนหนูมาตั้งแต่ทำอะไรไม่เป็นสักอย่างแล้วตอนนี้เขาคงคิดว่า เดี๋ยวนี้หนูก็มีพุทโธแล้วใช่ไหม นี่เห็นความคิดของตน เห็นความคิดของตน ดับไฟในใจของตน นี่ปัจจัตตัง สันทิฏฐิโก การประพฤติปฏิบัติมันจะรู้จากภายใน ถ้ารู้จากภายใน เห็นไหม

พระในสมัยพุทธกาลถ้าเป็นลูกศิษย์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีคุณธรรมในใจจะเคารพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาก

ดูหลวงตาสิ หลวงตาเวลาท่านบรรลุธรรมของท่าน ท่านกราบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กราบแล้วกราบเล่า กราบทั้งน้ำตานองหน้า นั่นน่ะท่านซาบซึ้งบุญคุณไง

นี่ก็เหมือนกัน ประพฤติปฏิบัติไปเถอะ มันเป็นสมบัติของเรา เว้นไว้แต่เราปฏิบัติไม่ได้ต่างหาก เราทำของเราไม่ได้ ทำของเราไม่ประสบความสำเร็จก็กลับมาสงสัยหลวงพ่อเลย หลวงพ่อสอนถูกหรือเปล่าวะ กูทำเกือบตาย ไม่ได้เลย แต่ถ้าคนเขาทำได้ มันเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก เป็นสมบัติของคนคนนั้น นี่จบ

ถาม : เรื่องเจอต้นเหตุกิเลสตนเอง

ลูกกราบขอบพระคุณหลวงพ่อที่หลวงพ่อตอบปัญหาธรรมะมาหลายๆ ฉบับครับ ล่าสุดเทคนิคการปราบกามราคะ ลูกรู้ว่ายังขาดด้านวุฒิภาวะ และหลายๆ อย่างที่หลวงพ่อเทศน์มาหลายกัณฑ์ ลูกก็ไม่นิ่งดูดาย พยายามพัฒนาจิตตนเองอย่างมากครับ จนจิตพิจารณาขึ้นอีกด้าน วุฒิภาวะอาจดีมาก แต่ก็พอดีขึ้นครับ จนล่าสุดลูกแน่ใจว่าต้นเหตุกิเลสตนเองมาแบบนี้ครับ

. ลูกนอนหลับไปแบบหลับๆ ตื่นๆ ลูกรู้สึกตัวเองดีครับ เห็นจิตตนเองวิ่งวูบๆ ออกมาจากจิตตนเองอีก อาการแสบร้อนที่ต่อมกระตุ้นให้เกิดกามารมณ์ออกมาครับ ครั้งนี้เป็นครั้งที่สองแล้วครับ ครั้งแรกที่ถามหลวงพ่อก็เพราะว่าลูกไม่อยากตกเป็นทาสกามารมณ์ตนเองครับ ก็พยายามหาวิธีที่ไม่ตกเป็นทาสกิเลสตนเองทางด้านกามราคะ จนครั้งที่สองเกิดขึ้นอีกแบบเดียวกันครับ อาการเดียวกัน จนลูกขอให้หลวงพ่อวินิจฉัยให้หน่อยครับ จะแก้อย่างไรดีครับ ลูกไม่ขอตกเป็นทาสกิเลสตนเองแบบนี้อีก

. ลูกควรไปพิจารณาซากศพจริงๆ เลยหรือเปล่าครับ เพราะว่าเคยคิดจะไปหลายหน แล้วไปนั่งดูศพจริงๆ ที่วัดวัดหนึ่ง แต่ไม่เคยไป ได้แต่คิดครับ

. ตอนนี้ด้านสมาธิก็ฝึกออกใช้ปัญญาพิจารณาได้คล่องขึ้นครับ อาจจะยังพิจารณายังไม่เห็นไตรลักษณะมาก แต่ก็เริ่มดีขึ้นครับ ขาดแต่ยังไม่มีเวลาฝึกหัดให้เต็มที่ครับ ยังทำงานทางโลกอยู่ครับ ถ้ามีโอกาส ใส่เต็มที่เลยครับหลวงพ่อ กราบขอบพระคุณ

ตอบ : นี่พูดถึงว่าคำถามเนาะ คำถามทีแรกเจอต้นเหตุแห่งกิเลสของตนเอง สิ่งที่ว่าเวลาเขาพิจารณาของเขา เขาก็พยายามฝึกหัดพิจารณาโดยความเข้าใจของเขา แต่เวลาปฏิบัติไปแล้วมันจะมีอุปสรรค อุปสรรคของเขาคือกามราคะ

เวลากามราคะ เวลาเขาปฏิบัติไปแล้ว คำถามข้อที่ . ข้อที่ . เวลาปฏิบัติไปแล้วก็ส่วนปฏิบัติ พอขาดสติ พอขาดสติ เขาบอกว่าลูกนอนหลับไปแบบหลับๆ ตื่นๆ รู้สึกตัวเองดีครับ แล้วจิตมันก็วิ่งออกไปวูบ

เวลาวูบนี่มันเกิดอารมณ์ เวลาเกิดอารมณ์ขึ้นมาแล้ว สิ่งที่พอเกิดอารมณ์ขึ้นมาแล้วเราก็จะโทษแล้ว จะโทษว่ามันเป็นกามราคะ พอกามราคะ เราจะฆ่ากามราคะ โดยธรรมชาติของคนคิดอย่างนี้ คิดแบบอยากได้ผลไง คิดแบบจะเอาตัวรอด

เราฟังผู้ปฏิบัติเยอะมาก เวลาปฏิบัติไปแล้วจะพิจารณาเป็นอสุภะ เห็นผู้หญิงแล้วพยายามพิจารณาให้เป็นอสุภะๆ

พอพิจารณาเป็นอสุภะมันเป็นเรื่องหนึ่งนะ แต่เวลาถ้าเป็นความจริงๆ ไม่ต้องทำอะไรเลย หายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ

เวลาจะพิจารณาอสุภะๆ เห็นผู้หญิงหรือเห็นรูปที่สวยงามแล้วมันเกิดความพอใจ พอเกิดความพอใจ จะไปแก้ที่รูปนั้นไง ถ้าไปแก้ที่รูปนั้นก็ตามมันไปๆ กิเลสมันก็หลอกไปอย่างนั้นไง

แต่เวลามันเห็นรูปสิ่งใด ถ้ามันสะเทือนใจ หยุดเลย กลับมาพุทโธอย่างเดียว กลับมาพุทโธๆๆ ให้จิตมันสงบเข้ามา

แต่เวลามันไปเห็นรูปนั้นแล้วมันไม่สงบหรอก เวลาโดยปกติเราหายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธก็ลำบากอยู่แล้ว เวลาเราไปเจอรูปที่มันชอบ พอรูปที่ชอบ พอมันเจอแล้วมันไปกระแทกหัวใจไง พอมันกระแทกหัวใจ อารมณ์มันก็ฟูไง พออารมณ์ฟูมันก็ยิ่งพุทโธได้ยากขึ้นไง พอยากขึ้นไปแล้วเราก็จะไปพิจารณาอสุภะ

ส่วนใหญ่ลูกศิษย์มานี่ พวกวัยรุ่นๆ เขาจะบอกเลยว่า พอเขาเจอรูปที่ชอบใจเขาจะพิจารณาอสุภะเลย พิจารณาซากศพเลย

เวลาโดยข้อเท็จจริงมันเป็นแบบนั้น ข้อเท็จจริงตั้งแต่พิจารณากายละสักกายทิฏฐิ พิจารณากายละอุปาทาน แล้วพิจารณากายเป็นอสุภะ ถ้าเป็นอสุภะนั่นน่ะมันจะไปกามราคะ

ทีนี้เริ่มต้นพิจารณา เราพิจารณา มันเป็นสักกายทิฏฐิ ความเห็นในกายที่ผิด แต่เพราะว่ามันไปกระเทือนหัวใจ พอกระเทือนหัวใจ สิ่งที่มันฝังในหัวใจระหว่างเพศตรงข้ามหญิงกับชาย พอหญิงกับชาย สิ่งนี้เป็นสิ่งที่กระเทือนหัวใจของสัตว์โลกมาก

พอสะเทือนหัวใจของสัตว์โลกมากก็บอกว่า พอมันกระเทือนใจปั๊บ นี่เป็นกามราคะ จะฆ่ากามราคะเลย

แล้วจะไปฆ่ากามราคะ จะไปฆ่าที่ไหน พอไปฆ่ากามราคะ มันก็ฉุดกระชากไปนะ กลับมาพุทโธซะ อย่าเพิ่งไปวิตกวิจารณ์ว่าจะต้องไปฆ่ากามราคะเลย พอกามราคะมันก็ไปใหญ่

โดยธรรมชาติคิดกันอย่างนั้นแล้วทำกันอย่างนั้น พอคิดอย่างนั้น ทำอย่างนั้น เราจะบอกว่า ถ้าคิดอย่างนั้น ทำอย่างนั้น มันไปเจอกิเลสตัวใหญ่ไง มันไปเจอกิเลสตัวใหญ่ แล้วถ้าทำอย่างนั้นแล้วจะล้มลุกคลุกคลานอยู่อย่างนั้นน่ะ

แต่ถ้าตั้งสติได้ หายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ หรือท่องพุทโธไวๆ พุทโธๆๆ ถ้ามันจิตสงบได้ ไอ้เรื่องที่ว่ามันไหลออกมาเลย อารมณ์มันวูบออกมาเลย เห็นหมดเลย ที่มันทำให้ร้อนๆ จบหมดน่ะ

พอจบหมดแล้วเราก็ค่อยมาพิจารณากายของเรา พิจารณากายละสักกายทิฏฐิ ละความเห็นผิดในกาย มันเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมาไง ฉะนั้น แล้วถ้ามันพิจารณาไปแล้ว กามราคะมันรออยู่ข้างหน้าแน่นอน

ผู้ที่นักประพฤติปฏิบัติมันจะไปเจอข้างหน้าแน่นอน แต่มันยังไม่ได้เจอทีแรก เราไปพิจารณาข้าศึกที่มันมีรุนแรงมากกว่า มันทำให้เราประพฤติปฏิบัติได้ยาก

แต่ถ้าเราพอไปเห็นสิ่งที่มันเป็นกามารมณ์ มันกระเทือนหัวใจ หายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธหนักๆ แล้วแผ่เมตตาเยอะๆ เราจะบอกว่า วิธีนี้มันไม่ต้องรุนแรงจนเกินไปไง มันทำถูกต้องชัดเจนไง

แต่ถ้าบอกว่าจะไปสู้กับกามราคะ

ไอ้กรณีนี้กรณีที่ว่า เวลาเดี๋ยวข้อที่ . ว่าจะไปดูซากศพ

ดูซากศพมันก็เป็นวิธีการหนึ่ง เราก็เห็นด้วยนะ แต่ถ้าเห็นด้วย มันก็ไปสุดโต่งทางหนึ่งไง

แต่ลูกนอนหลับๆ ตื่นๆ

นอนหลับๆ ตื่นๆ เพราะมันตกภวังค์ ถ้านอนหลับๆ ตื่นๆ แล้ว เวลาตื่นขึ้นมาแล้วตั้งสติก็จบ ตั้งสติ ตื่นจากนอนมันหลับๆ ตื่นๆ แล้วมันคิดอะไร คนนอนหลับแล้วฝัน ฝันขึ้นมาแล้วตกใจ คนนอนไปฝัน ฝันว่าเป็นเรื่องร้ายๆ ตื่นขึ้นมากระหืดกระหอบ คนนอนหลับไปฝันเรื่องดีๆ ฝันแล้วมันเป็นความฝันน่ะ ความฝันมันไม่ใช่ความจริง แต่ความฝันมันกระเทือนใจเราไง

ถ้ามันกระเทือนใจนะ เรากลับมาหายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ พยายามหายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ ให้จิตกลับมาเป็นปกติ ให้จิตกลับมาระงับเป็นปกติ แล้วจิตเป็นปกติแล้ว พอมีสติ มีสมาธิ มีสติสัมปชัญญะ แล้วจะทำสิ่งใดมันเป็นประโยชน์แล้ว นี่แก้อย่างนี้

นี่พูดถึงว่า . นอนหลับๆ ตื่นๆ แล้วเขาบอกว่าควรจะให้หลวงพ่อวินิจฉัยหน่อยว่าสิ่งที่เขาเป็นจริงๆ หรือเปล่า เป็นกามราคะ นี่เวลาพยายามหาวิธีแก้ไม่ให้เป็นทาสกามราคะ

วิธีแก้นะ หายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ ง่ายๆ

เราจะบอกว่า เวลากิเลสมันหลอกนะ มันหลอกให้เราออกจากบ้านเราไป ให้เราออกจากบ้านแล้วมันก็พาไปสมบุกสมบัน แล้วกลับมานะ บ้านเราก็ต้องแบบว่าชำรุดเสียหาย ต้องมาซ่อมแซม

แต่ถ้าเราหายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธนะ ใครจะมาหลอกก็แล้วแต่ เราไม่ออกจากบ้านเราไป แล้วดูแลรักษาบ้านเราไว้ให้ดีๆ เราจะออกจากบ้าน อยู่ในบ้าน บ้านเราก็ยังสมบูรณ์ดีอยู่ ไม่ใช่ว่าเวลามันหลอกออกไปนะจะไปสู้กามราคะมันพาไปเลยนะ โอ้โฮ! ไปเที่ยวป่าช้า ไปดูนะ กลับมาบ้านมันหลังคาผุหมดแล้ว จะเข้าบ้าน เข้าไม่สะดวกแล้ว

หายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ ดูแลรักษาบ้านเราไว้ให้ดี

แล้ววิธีการภาวนาไม่ใช่ฆ่ากามราคะหรือ ไม่ใช่ฆ่ากิเลสหรือ

วิธีการฆ่ากิเลสมันต้องฆ่าตามความเป็นจริง ถ้าฆ่าตามข้อเท็จจริง ไม่ใช่ฆ่าแบบการคาดหมาย ฆ่าแบบเราจินตนาการ

เราก็จินตนาการเลยนะ พอเกิดความรู้สึกกระเทือนอารมณ์ เราก็จะฆ่ากามราคะเลย มันก็เหมือนกันน่ะ ที่ไหนเกิดอาชญากรรม เราก็อยากจับผู้ร้ายทั้งนั้นน่ะ แต่ไปจับผู้ร้ายน่ะไปจับแพะ ไอ้ผู้ร้ายมันทำผิดแล้วมันก็มาอยู่ข้างๆ เรานี่ จับมันเลยๆ ไอ้เวลาจับก็ไปจับแพะไง

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เกิดกามารมณ์เลย จะไปสู้กับมันเลย แล้วมันก็มาหลอกอยู่ข้างๆ นี่ไง แล้วออกไปจับก็ไปจับแพะ ไอ้แพะมันก็ร้องแบ๊ะๆ แบ๊ะๆ แล้วกลับมาก็สิ้นเลย นี่ไง

ฉะนั้น จะบอกว่า ถ้าลูกนอนหลับๆ ตื่นๆ

ไอ้นั่นเราก็ตั้งสติไว้ก็จบ คนนอนหลับแล้วเกิดไปเห็นอารมณ์สิ่งใดนะ พอเราตื่นนอนขึ้นมา ตั้งสติก็จบ ไอ้นั่นเป็นความฝัน ไม่ใช่ความจริง

เอาความจริงนี่ ถ้าความจริงเราอยู่กับพุทธะ เราอยู่กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อยู่กับพุทโธ ธัมโม สังโฆ จบ ไม่ต้องไปตื่นเต้นอะไรกับมัน

แล้วสิ่งที่ว่ามันไปเห็นกามราคะ เห็นอะไร มันก็ไปกระตุ้นกิเลสเราเอง มันเป็นจริตนิสัยเราเอง เราก็ปล่อยวาง เพราะยังไม่ถึงเวลาที่เราจะจัดการไง

คนเราตื่นเช้าขึ้นมาก็ล้างหน้าแปรงฟัน อาบน้ำอาบท่า แล้วก็หาอาหารกินเป็นมื้อเช้า ออกไปทำงาน นี่ก็เหมือนกัน เราฝึกหัดของเรา เราก็ทำความสงบของใจเราเข้ามา ถ้าใจมันสงบระงับขึ้นมาได้ เราก็ทำความสะอาดหัวใจเราให้มั่นคง มั่นคงแล้วเราก็จะหาหน้าที่การงานของเรา

ไม่ต้องไปตื่นเต้นว่า อันนั้นอารมณ์กิเลส ไอ้นั่นเป็นกามราคะ เราจะไปฆ่ากามราคะ...กิเลสมันจะหลอกแล้วแหละ ออกไปจับแพะ แบ๊ะๆ แบ๊ะๆ อยู่นั่นน่ะ

หายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ ให้เห็นตามความเป็นจริง

เห็นตามความเป็นจริงหมายความว่าจิตสงบแล้ว เหมือนคำถามที่แล้วเขาบอกว่าเขาอยู่ในห้องของเขาว่างๆ แล้วก็หายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ ครั้งละ ชั่วโมง ทำแล้วทำเล่า เวลาความคิดมันมาน่ะ เห็นเลย เฮ้ยๆๆ! เลยนะ

นี่ก็เหมือนกัน เราทำความสงบของใจเราเข้ามา แล้วถ้ามันเกิดอารมณ์ความรู้สึก เกิดอะไร ให้จิตมันจับได้ ถ้าจิตมันจับได้ เห็นตามความเป็นจริง นั่นน่ะเห็นสติปัฏฐาน ตามความเป็นจริง

คนเรานะ ฝึกหัด ครูบาอาจารย์สอน ครูบาอาจารย์ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านสอนว่า อย่าทิ้งผู้รู้ อย่าทิ้งพุทโธ ให้พุทโธให้จิตมันสงบระงับ

จิตสงบระงับ เวลาเห็นอาการของจิต จิตสงบแล้วเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง ถ้าเห็นตามความเป็นจริง นั่นแหละเห็นสติปัฏฐาน ตอนนั้นน่ะเราถึงจะเริ่มพิจารณาของเราโดยความเป็นจริงของเรา ให้มันเป็นชิ้นเป็นอัน ทำสิ่งใดให้เป็นชิ้นเป็นอัน ไม่ใช่ว่าให้กิเลสมันหลอกไป

เวลาอารมณ์เกิดขึ้น นอนหลับๆ ตื่นๆ แล้วเกิดอารมณ์ขึ้นมา อารมณ์ขึ้นมาแล้วก็วิ่งตามไปหามันนะ กิเลสมันจะชวนกันไปไง ชวนกันไปพิจารณาอสุภะ แล้วกิเลสมันก็อยู่กับเรานี่ ไปยึดว่าอสุภะ เวลาไปจะไปที่ไหน ไปที่ไหนก็ไปตามมัน ก็อารมณ์มันเกิดจากตรงนั้น แล้ววิ่งไปหามัน มันก็ไม่ตายหรือ

แต่ถ้าอารมณ์เกิดตรงนั้น เรากลับมาที่ใจของเรา กลับมาหายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ ให้มันสงบระงับ เห็นไหม

บ้านเรือนของเราดูแลรักษาให้ดี ซ่อมแซมบำรุงรักษาไว้ไม่ให้ขโมยมันเข้ามา แล้วถ้าเราจะทำงาน จะสมบูรณ์แล้ว จะทำงานก็ทำตามหน้าที่ของเรา

ถ้าสมบูรณ์แล้ว ถ้าจิตสงบแล้ว ถ้าเห็นสติปัฏฐาน เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นกามราคะๆ นั่นน่ะ เห็นธรรมารมณ์นั่นน่ะ ถ้ามันจับได้ ถ้าพิจารณาอย่างนั้นเป็นชั้นเป็นตอน

เราจะบอกว่า ให้กลับมาตั้งสติให้มันสมบูรณ์ ให้สมบูรณ์ สติสัมปชัญญะสมบูรณ์ แล้วค่อยทำเป็นชั้นเป็นตอน ค่อยๆ ทำเป็นลำดับชั้นไป ไม่ใช่ว่าเราคิดของเราแล้วเราปรารถนาของเราไง นี่ข้อที่ .

. ลูกควรไปพิจารณาซากศพจริงๆ เลยหรือเปล่าครับ เพราะว่าเคยคิดจะไปหลายหนแล้ว ไปนั่งดูศพจริงๆ ที่วัดวัดหนึ่งครับ แต่ยังไม่เคยได้ไปเลย ได้แต่คิด

เวลาคิดก็คิดว่าจะไปดูซากศพ เวลาไปดูซากศพแล้ว ซากศพมันก็เหมือนกามราคะในใจเลย เวลากามราคะในใจมันเกิดนี่มันเกิดอารมณ์ เวลาไปเกิดซากศพ เห็นแต่ซากศพเหม็นๆ

คนเราพิจารณาไม่เป็นมันพิจารณาไม่ได้หรอก จิตถ้าไม่มีกำลังขึ้นมาจะพิจารณาอะไร ซากศพ มันไปเห็นซากศพก็วิ่งหนีไง

แต่เวลาคนที่ไปเห็นซากศพ เห็นซากศพในวิสุทธิมรรค คนจะไปเที่ยวป่าช้าต้องตั้งสติแล้วขึ้นไปเหนือลม เพราะซากศพมันจะมีกลิ่นเหม็น ถ้ากลิ่นเหม็น ถ้าเราเข้าไปตามกลิ่นเหม็น เราเข้าไปพิจารณาซากศพเพื่อจะพิจารณาให้เป็นอสุภะ เวลาได้กลิ่นเหม็นขึ้นมามันจะอ้วก มันจะอาเจียน มันกระเทือนหัวใจ มันไม่ได้เรื่องได้ราว เวลาทำ ทำพอเป็นพิธีไง ศึกษาพิธีมาแล้วจะทำตามนั้นไง แต่จิตใจมันไม่มีวุฒิภาวะมีตามนั้นไง เหมือนคนไม่มีองค์ความรู้ คนทำงานไม่ได้ มันทำงานไม่ได้หรอก

คนจะทำงานแล้วมันต้องมีองค์ความรู้นั้น ดูสิ เขาคัดเลือกคนทำงาน เขาต้องคัดเลือกคนทำงานจบทางวิชาการนั้นมา จบมาแล้วยังว่าประสบการณ์ทำงานกี่ปี มีความชำนาญการมากน้อยแค่ไหน ถ้าชำนาญแล้วเขาถึงรับเข้าสมัครงาน สมัครแล้ว พอเข้ารับสมัครงานแล้ว พอเข้าไปทำงานถึงมีตำแหน่งหน้าที่การงาน

นี่ก็เหมือนกัน หัวใจมันยังไม่มีวุฒิภาวะ ไม่มีสิ่งใดเลย แล้วมันจะทำอะไรล่ะ แล้วไปดูซากศพๆ ก็พิธีเท่านั้นไง เวลาไปดูซากศพ ก็งานศพน่ะ งานศพเห็นเต็มวัดไปหมด ทุกคนก็ไปฟัง กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา แล้วก็กินข้าวต้ม แล้วก็กลับบ้าน มันไม่นั่งดูศพเลยนะ ไปนั่งอยู่กับศพมันไม่ได้พิจารณาหรอก ไปนั่งคุยกัน นี่ก็เหมือนกัน มันทำพอเป็นพิธีมันก็เป็นพิธีอยู่อย่างนั้นน่ะ

นี่เราไม่ทำแบบนั้นไง อย่างที่ว่า ตั้งแต่ข้อที่ . แบบว่า เรากลับมาหายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ

ที่มันเกิดอารมณ์ เกิดกามราคะ เกิดอะไร มันก็เกิด มันอยู่ที่โทสจริต โมหจริต โลภจริต มันอยู่ที่จริตนิสัยของคน คนขี้โกรธมันก็โกรธวันยังค่ำ ไอ้โลภะ ไอ้ความโลภมันก็โลภวันยังค่ำ ไอ้โทสะก็โทสะวันยังค่ำ ไอ้โลภะก็โลภะวันยังค่ำ

นี่ก็เหมือนกัน ถ้ามันเป็นจริตนิสัยของเรา เราก็แผ่เมตตาซะ เราแผ่เมตตา แล้วหายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ

ไอ้เรื่องที่ว่าลูกควรพิจารณาซากศพหรือไม่

นั่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งนะ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง หมายความว่า คนต้องมีวุฒิภาวะพอสมควรถึงจะพิจารณาซากศพ ถ้าพิจารณาซากศพ เวลาเขาไปเขาก็ทำกัน เขามีของเขา เขาทำกันอย่างนั้น แล้วพระก็มีการทำกันอย่างนั้น ถ้าทำอย่างนั้นมันใช้ประโยชน์ได้ อย่างเช่นภาวนายังไม่เป็น ไปดูซากศพ มันไปเห็นซากศพมันก็สะเทือนใจเหมือนกัน

ดูสิ การศึกษาทางการแพทย์ อาจารย์ใหญ่เขาศึกษามาจากซากศพของมนุษย์นี่แหละ นั่นพูดถึงอาจารย์ใหญ่ นี่เขาอยู่กับศพ เขาจบแล้วเขาเป็นหมอ

ไอ้ของเรา เราจะเอาชนะหัวใจของเรา การพิจารณาซากศพก็ให้สะเทือนใจ ถ้าพิจารณาจริงๆ ก็ศพเรานี่ไง ร่างกายนี้เวลาถ่ายออกมามีแต่ของเหม็นทั้งนั้นน่ะ เช้าขึ้นมาแปรงฟันเหม็นคลุ้งเลย แล้วกามราคะคนอื่นก็เป็นแบบนี้ทั้งนั้นน่ะ ลองพิจารณาสิ ใช้ปัญญาสิ มันจะไปติเขาไหมล่ะ มันก็ไม่ไปติเขา นี่ข้อ .

. ตอนนี้ด้านสมาธิก็ฝึกออกใช้ปัญญาพิจารณาได้คล่องขึ้นครับ อาจจะพิจารณายังไม่เห็นไตรลักษณ์มากแต่ก็เริ่มดีขึ้น ขาดแต่ยังไม่มีเวลาฝึกหัดให้เต็มที่นี่เขาพูดของเขา

ถ้าเราทำได้ก็ทำได้ ถ้าทำของเรานะ ทำได้ ทำได้แล้วมันแบบว่ามันเบาใจ คนเรานะ เกิดมามีแต่ความทุกข์ความยากทั้งนั้นน่ะ แล้วขาดสติสัมปชัญญะนะ มันแบบว่าเป็นคนรกโลกอยู่อย่างนั้นน่ะ

แต่ถ้าคนมีสติสัมปชัญญะขึ้นมามันเป็นคนเหนือโลกนะ คนเหนือโลกเป็นคนที่มีคุณภาพ เป็นคนที่ดีขึ้นมา แล้วฝึกหัดภาวนาขึ้นมา เพราะตอนนี้สมาธิดีขึ้น ถ้าสมาธิดีขึ้น มันต้องมีสมาธิดีขึ้น ก็ต้องจับ จับกามราคะ ไม่ใช่แบบข้อที่ .

ข้อที่ . บอกว่าลูกนอนหลับ

ถ้านอนหลับๆ ตื่นๆ มันไม่ได้เรื่อง

แต่ถ้าบอกว่าตอนนี้สมาธิดีขึ้น

ถ้าสมาธิดีขึ้น ทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าใจสงบขึ้นมาแล้วฝึกหัดใช้ปัญญาเลย น้อมไปที่กายเลย นี่ถ้าสมาธิดีขึ้นนะ น้อมไปที่กาย น้อมไป นึกเลย ถ้าเป็นสมาธิแล้วให้นึกภาพกายขึ้นมา ถ้าภาพกายขึ้นมาแล้ว เราจะพิจารณาอสุภะไม่อสุภะ เดี๋ยวจะรู้กัน

จิตสงบแล้วให้นึกขึ้น นึกขึ้นเขาเรียกว่ารำพึง รำพึงให้มันขึ้นมา

เวลาคนที่มีอำนาจวาสนานะ พอจิตสงบแล้วมันเห็นกายโดยธรรมชาติเลย นั่นคือเขามีวาสนา ถ้าไม่มีวาสนา เขารำพึงขึ้นมา รำพึงก็คือนึกขึ้นมานี่แหละ แต่นึกขึ้นมาในสมาธิไง นี่รำพึงขึ้นมา รำพึงขึ้นมาถ้ามันเป็นก็เป็น ถ้ามันไม่เป็นก็รำพึงเรื่องอื่นไป

นี่พูดถึงว่าเราจะมาแก้เรื่องอสุภะนั่นแหละ เรื่องกามารมณ์ ฉะนั้น สิ่งที่มันจะกระทบกระเทือนบ้างมันก็เป็นเรื่องปกติ

แต่ทีนี้เขาบอกว่า ถ้าสมาธิมันดีขึ้น คล่องตัวขึ้น แต่พิจารณายังไม่เห็นเป็นไตรลักษณ์

การพิจารณาให้เห็นเป็นไตรลักษณ์ การพิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริง จับ พอจับขึ้นมา จิตเห็นอาการของจิต จิตเห็นกาย จิตเห็นเวทนา จิตเห็นจิต จิตเห็นธรรม มันไม่ใช่อันเดียวกัน แต่ถ้าไม่มีสมาธิ เป็นอันเดียวกัน

แล้วบางคนไม่เข้าใจไง บอกว่านี่ทำสมาธิๆ แล้วจะรู้ขึ้นมาเอง

ไม่ใช่ ทำสมาธิขึ้นมาให้มีกำลัง แล้วมีกำลังแล้วฝึกหัดใช้ปัญญา ถ้ามันฝึกหัดใช้ปัญญา มันใช้ปัญญาได้เป็น มันจะเห็นสติปัฏฐาน ตามความเป็นจริง ถ้าตามความเป็นจริง พิจารณาขึ้นไปแล้ว นี่ไง รสของธรรม รสของธรรมมันจะมีรสมีชาติ มันจะมีปัญญาของมัน มันจะดับกิเลสในใจของตน

เวลาทำสมาธิมันก็ดับไฟในใจ ดับกิเลสแล้ว กิเลสมันเบาลง ถ้าพิจารณาไปแล้วมันรื้อมันถอนเลย มันสำรอกมันคายเลย ถ้ามันคาย มันคายไปแล้วเป็นตทังคปหาน มันไม่จบ คาย รู้ว่าคาย คาย รู้ว่าคาย แต่มันไม่สมุจเฉทฯ

ถ้าสมุจเฉทฯ มันขาดเลย ถ้ามันขาด นั่นน่ะอกุปปธรรม อันนี้ อันที่ว่าเป็นอกุปปธรรมพ้นจากไตรลักษณ์ พ้นจากการเป็นสพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา พ้นจากอนิจจัง ถ้าอย่างนี้แล้วไม่เสื่อม

แต่ถ้าอย่างนี้มันเจริญแล้วเสื่อมๆ เวลาปฏิบัติขึ้นมาก็เป็นอย่างนี้ ทุกข์ๆ ยากๆ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย ถ้าเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เพราะมันเจริญแล้วเสื่อม ถ้าธรรมะหรือการกระทำดีขึ้นมันก็ดี แต่ถ้าเป็นกิเลสมันก็ร้าย ถ้ามันดีมันร้าย นี่ข้ามพ้นทั้งดีและชั่ว ถ้าปฏิบัติไปมันจะรู้ตามอย่างนั้น

นี่พูดถึงว่า ถ้าเขาปฏิบัติแล้วจะทำอย่างไรไง เจอต้นเหตุแห่งตนเอง เขาคิดว่าเวลาเขาไปเจออารมณ์ที่ผุดขึ้นมาเป็นต้นเหตุแห่งตนเอง เป็นต้นเหตุกิเลสของตน

ถ้าเป็นต้นเหตุกิเลสของตนนะ ถ้าจิตสงบแล้วพิจารณาอย่างนั้น ถ้าจับได้ ถ้าจับได้เป็นไปตามความเป็นจริง มันจะเกิดความรู้แจ้ง ความรู้แจ้งคือเกิดปัญญา คือเกิดปัญญา เกิดประสบการณ์ เกิดจากข้อเท็จจริง ถ้าข้อเท็จจริง อันนั้นน่ะปัจจัตตัง สันทิฏฐิโก

เวลาหลวงตาท่านพูด ท่านบอกองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายกให้ปัจจัตตัง ให้สันทิฏฐิโก

ฉะนั้น เวลาคนประพฤติปฏิบัติ ใครเป็นคนรับรอง ใครเป็นคนรับรอง ปฏิบัติแล้วที่ยืนยันกันว่ามีคุณธรรม ใครเป็นคนรับรอง

คนรับรองก็สันทิฏฐิโกนี่ไง คนรับรองก็รู้ตามความเป็นจริงนี่ไง นี่เวลาถ้าตามความเป็นจริง

เราเจอต้นเหตุแห่งกิเลส เราไปเจออารมณ์ ไปเจอกามารมณ์ๆ ไปเจออารมณ์ที่มันกระตุ้นหัวใจเท่านั้นเอง นี่ต้นเหตุแห่งกิเลส ถ้าเราจับได้นะ เราจับอย่างนี้ได้ เราพิจารณาได้ จับตรงนี้เป็นเห็นอาการของจิตก็ได้

ถ้าเห็นอาการของจิต เราพิจารณาของเราไป พิจารณาของเราไป พิจารณาของเรา เวลามันแยกมันแยะ มันจะเป็นขันธ์ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ความคิดที่ว่าเป็นต้นเหตุนี่ดับหมดเลย ต้นเหตุนี้ไปไม่ได้เลย ต้นเหตุนี้โดนทำลายหมดเลย เราต้องทำลาย เห็นไหม

จับอารมณ์ จับสิ่งที่ว่ามันเป็นกามารมณ์ กามารมณ์เกิดจากอะไร ใครไปรับรู้มัน ถ้ารับรู้มัน ถ้ากามารมณ์นั่นก็เป็นรูป ถ้ารูปมันก็มีเวทนา มีความพอใจไม่พอใจ มีสัญญาคือข้อมูลนั้น มีสังขารคือคิดตามนั้น มีวิญญาณคือรับรู้อารมณ์นั้น พิจารณาแล้วมันแยกหมดเลย พอแยกหมดมันก็แยกขันธ์ ถ้ามันแยกขันธ์ตามความเป็นจริง นั่นน่ะฝึกหัดใช้ปัญญาอย่างนี้ แล้วจะเห็นไตรลักษณ์ไม่เห็นไตรลักษณ์ เดี๋ยวตามความเป็นจริง นี่ทำตามความเป็นจริงไง

เขาถามมาว่า เขาเห็นต้นเหตุแห่งกิเลส คือเห็นกามารมณ์ในใจ ทีนี้คำถามข้อแรกมันแปลกๆ ไง นอนหลับๆ ตื่นๆ ขึ้นมาแล้วเห็น อันนี้มันไม่ชัดเจน

แต่ถ้าเป็นข้อที่ . ว่าจะไปดูซากศพนั่นเรื่องหนึ่ง

ข้อที่ . เข้าสมาธิได้ดีขึ้นๆ

เรียงลำดับให้ดีแล้วฝึกหัดทำซ้ำ ทำซ้ำขึ้นมาให้มีประสบการณ์ขึ้นมา ถ้ามีประสบการณ์ขึ้นมา เราจะปฏิบัติด้วยตัวของเราเอง นี่ทำปฏิบัติมาเพื่อจิตของตน ดับไฟในใจของตน ไฟในใจเราต้องชักออก ไฟในใจเราต้องประพฤติปฏิบัติ ไฟในใจเราจะรู้แจ้งในใจของตน เอวัง