เทศน์เช้า

เทศน์เช้า

๑๔ ต.ค. ๒๕๖o

เทศน์เช้า วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๐

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตอนนี้ตั้งใจฟังธรรมะแล้ว ธรรมะเป็นสุดยอด ธรรมะเป็นสัจจะ ธรรมะเป็นที่พึ่งของหัวใจ ธรรมะเท่านั้น กิเลสกลัวธรรมๆ เพราะธรรมเป็นความจริงไง กิเลสเป็นความจอมปลอมไง ถ้าเป็นความจอมปลอมนะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาเทศนาว่าการกับพระนะ ท่านโขกท่านสับ ท่านโขกท่านสับ ท่านพูดเอง พระเรานี่เหมือนกันดิน เราจะปั้นโอ่งปั้นไห ใครที่เป็นช่างปั้น เวลาเขานวดดินเขาจะนวดดินให้มีคุณภาพเพื่อจะปั้นสิ่งนั้นขึ้นมา

นี่ก็เหมือนกัน เวลาเทศนาว่าการขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ ท่านโขกท่านสับเพื่ออะไร เพื่อคุณงามความดีทั้งนั้นน่ะ เวลาโขกสับ โขกสับอะไร โขกสับกิเลสของคนไง โขกสับกิเลสในหัวใจที่มันปลิ้นมันปล้อนน่ะ แต่ถ้าเอาความจริงๆ ฟังธรรมๆ เพื่อเหตุนี้ไง ถ้าฟังเพื่อเหตุนี้ ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนให้อยู่กับปัจจุบันๆ ไง

ถ้าเป็นความอยู่กับปัจจุบัน ดูสิ ในปัจจุบันนี้ดูวิกฤติของประเทศในปัจจุบันนี้ ผู้นำ ผู้นำท่านสิ้นพระชนม์ไป เห็นไหม นี่เราอยู่กับปัจจุบันๆ เราเห็นในปัจจุบันนั้น ถ้าใครอยู่ในปัจจุบันนั้น เด็กน้อยที่ยังไม่มีประสบการณ์นะ มันก็ไม่ซาบซึ้ง ไม่ซาบซึ้งเหมือนผู้ทุกข์ผู้ยากนะ เวลาคนที่อยู่บ้านนอกคอกนาได้รับความอุปถัมภ์ค้ำชูจากท่าน ไอ้คนนั้นนะ มันจะฝังหัวใจ ไอ้คนที่ไม่มีจะกินๆ สภาวะแวดล้อมที่มันเสียหาย แล้วมีคนมาช่วยเหลือเจือจาน มีคนมาคุ้มครองดูแลน่ะ เขามาทำคุณงามความดี นั่นน่ะ นั่นน่ะไอ้นั่นจะซาบซึ้ง คนที่มีอายุเห็นการกระทำของท่าน เห็นความเป็นแบบอย่างของท่าน เห็นท่านจากไป มันสะเทือนหัวใจทั้งนั้นน่ะ

เพราะว่าปัจจุบันๆ มันก็มาจากอดีตอนาคต สิ่งที่อดีตมันส่งมาปัจจุบัน แล้วปัจจุบันนี้ไปอนาคตไง แต่เวลาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาสอน สอนที่ปัจจุบันนี้นะ เวลาแก้ไข แก้ไขที่ในปัจจุบันนี้

แต่ในปัจจุบันนี้ สรรพสิ่งในโลกนี้เป็นอนิจจัง ไม่มีสิ่งใดคงที่หรอก มันแปรสภาพของมันอยู่ตลอดเวลา เวลามันแปรสภาพไปๆ พอแปรสภาพไป ความแปรสภาพที่ตลอดเวลา ความทุกข์มันเกิดตรงนี้ เกิดที่ว่า สิ่งที่ถูกใจ สิ่งที่เราพอใจ เราจะยับยั้งมาอยู่กับเรา เราจะให้อยู่กับเราตลอดไปไง แต่มันก็เป็นไปไม่ได้ มันเป็นอนิจจัง สรรพสิ่งในโลกนี้เป็นอนิจจัง มันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เห็นไหม

เวลาอจินไตย ๔ อจินไตย ๔ โลกนี้เป็นอจินไตย แต่ความเป็นอจินไตยนี้มันอจินไตยจนคาดหมายไม่ได้ แต่ในไตรลักษณ์ สิ่งใดเป็นอนิจจัง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ มันเป็นอนิจจังน่ะ เป็นอนิจจัง ไม่มีใครห้ามได้ มันเป็นสัจจะความจริง นี่สัจจะความจริง สัจจะความจริงมันต้องเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โลกนี้มีแต่การเปลี่ยนแปลงทั้งนั้น แต่มันเปลี่ยนแปลงไปทางที่เลวหรือเปลี่ยนแปลงไปทางที่ดีล่ะ

ถ้าเปลี่ยนแปลงไปที่เลว เราเปลี่ยนไปที่เลว เราก็ได้สร้างแต่ความเลวทรามให้เป็นกรรมไง กรรมจำแนกสัตว์ให้เกิดต่างๆ กัน ใครสร้างกรรมชั่วมันก็ทำให้ชื่อเสียงกิตติศัพท์กิตติคุณของคนนั้นเหม็นโฉ่ไปไง ถ้าใครไปสร้างคุณงามความดี คุณงามความดีนั้น ให้สร้างอำนาจวาสนาบารมี แล้วถ้าสร้างอำนาจวาสนาบารมี นี่พูดถึงสังคมนะ แต่ถ้าความจริงๆ มันลงอยู่ที่ใจนี่ไง

ใครทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว คนทำนั้นได้ คนทำนั้นล่ะ ใครทำดีต้องได้ดี ใครทำชั่วต้องได้ชั่ว ความชั่วที่กระทำแล้วมันก็ให้ผลเป็นความชั่ว ให้ผลเป็นความชั่วแล้วเวลาเราตกทุกข์ได้ยากเราก็บีบคั้น เราก็เจ็บปวดแสบร้อน เราก็ตีโพยตีพายไง แล้วใครเป็นคนทำ ก็จิตนั้นเป็นคนทำ

แต่ถ้าทำคุณงามความดี ทำคุณงามความดี ทำคุณงามความดีก็เรียกร้อง ทำดีแล้วไม่ได้ดี ทำดีแล้วไม่ได้ดี

ทำดีทำไมจะไม่ได้ดี ทำดีก็คือมันไม่สร้างเวรสร้างกรรมไง ไม่สร้างกรรมชั่วไง มันสร้างคุณงามความดีของมันไง แล้วคุณงามความดีที่มันให้ผล ให้ผลเมื่อไหร่ล่ะ ความดีที่จะให้ผลของมัน มันก็เป็นสัจจะเป็นความจริงในหัวใจนี้ไง

ทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่ว แต่ความดี ความดีกับเรา ทำดีทิ้งเหวๆ ทำแล้วความดีก็คือความดีโดยสมบูรณ์ของตัวมัน โดยสมบูรณ์ของตัวมันคือเราปลอดโปร่ง เราอบอุ่นในหัวใจของเรา เห็นไหม สุจริตคุ้มครองเรา ไม่มีบาดแผล ไม่มีสิ่งใดเลย มือที่ไม่มีบาดแผลมันจะหยิบลงไปน้ำที่เป็นกรดเป็นด่าง มันไม่แสบไม่ปวดไม่ร้อน จิตใจที่คนมีบาดแผลไม่กล้าจับทำสิ่งใดเลย หัวใจที่มันมีบาดแผลมันไม่กล้าหยิบจับสิ่งใด แล้วก็ลับๆ ล่อๆ อยู่นั่นไง

แต่ถ้ามันเป็นความจริงๆ มันเปิดเผย มันทำด้วยบุญกุศลคุ้มครอง เห็นไหม เวลาทำดีๆ เวลาทำดีทำที่นี่ ถ้าทำที่นี่ ทำที่หัวใจของเราไง ทำดีต้องได้ดี

แต่ส่วนใหญ่เราบอกทำดีแล้วไม่ได้ดี ทำดีแล้วไม่ได้ดี แล้วดีคืออะไรล่ะ ไอ้นั่นมันโลกธรรม ๘ มีลาภเสื่อมลาภ มียศเสื่อมยศ มันเป็นของคู่ สิ่งนี้โลกธรรม โลกธรรมมันธรรมะเก่าแก่ แต่ความจริงๆ ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ประเสริฐมากนะ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้อยู่กับปัจจุบัน อยู่กับปัจจุบันนี้

สรรพสิ่งในโลกนี้เป็นอนิจจัง มันแปรสภาพของมันตลอด มันแปรสภาพของมันตลอด ถ้าแปรสภาพของมันตลอด ใครเกิดยุคใดคราวใดได้เห็นสิ่งใดแล้ว สิ่งนั้นน่ะมันเป็นความประทับใจ เป็นความประทับใจ

เราศึกษาๆ มา มีการศึกษาทั้งนั้นน่ะ พระโพธิสัตว์มีอำนาจวาสนามาขนาดไหน ดูสิ เวลาพระโพธิสัตว์ เวลาเกิดมา เกิดมาด้วยยังมีใครรู้จักก็เกิดมาในครอบครัวของท่าน แต่เวลาท่านสร้างคุณงามความดีของท่าน เวลาจากไปมันสะเทือน ๓ โลกธาตุแล้วกันล่ะ สะเทือน ๓ โลกธาตุ สะเทือนไปหมด สะเทือนนี่มันก็ต้องเป็นคนที่มีอำนาจวาสนาบารมี คำว่า อำนาจวาสนาบารมี” คือได้สร้างสมมามากน้อยแต่ไหน การสร้างสมมามากน้อยแค่ไหน ผลมันสะเทือนมากน้อยแค่นั้นน่ะ นี่ไง ความสะเทือนมากก็คุณงามความดีนั้นมันสะเทือน

แต่ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมๆ สดๆ ร้อนๆ นะ ๒,๐๐๐ กว่าปี เวลาครูบาอาจารย์ของเราท่านบรรลุธรรม กราบแล้วกราบเล่าๆ กราบอะไร กราบสิ่งที่มันกังวานในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒,๐๐๐ กว่าปีน่ะ แล้วมันก็มากังวานในหัวใจของหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์ของเราในปัจจุบันนี้ ในปัจจุบันนี้สดๆ ร้อนๆ ไง

คำว่า สดๆ ร้อนๆ” มันไม่กาลไม่มีเวลา โอปนยิโก เรียกร้องสัตว์ทั้งหลายมาดูธรรม มาดูหัวใจข้า หัวใจข้า ดูหัวใจข้า หัวใจข้านี่มันหลุดพ้นไปได้อย่างไร หัวใจข้าที่หลุดพ้น หลุดพ้นไปเพราะอะไร

ถ้ามันหลุดพ้นไปได้ หลุดพ้นไปเพราะว่าศีล สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา หลุดพ้นไปด้วยการกระทำ หลุดพ้นด้วยความเพียร ความวิริยะ ความอุตสาหะ แล้วความอุตสาหะ ความอุตสาหะจากภายในหัวใจนี้มันเกิดมรรคเกิดผล เกิดภาวนามยปัญญา ปัญญาที่มันเกิดขึ้นในหัวใจอันนี้ไง ถ้าปัญญามันเกิดขึ้นในหัวใจ เราทำบุญกุศล ทำมากน้อยขนาดไหน เราก็ปรารถนาตรงนี้ไง ปรารถนาให้เรามีเชาวน์มีปัญญา ให้เราระลึกถึงหัวใจของเราได้ เราจะคุ้มครองหัวใจของเราได้ เราจะปกป้องคุ้มครองดูแลหัวใจของเราได้ หัวใจของเรา หัวใจของเรา เห็นไหม

คนเหมือนกัน คนเกิดมานี่คนเหมือนกัน แต่หัวใจแตกต่างกัน แตกต่างกันด้วยบุญกุศลในหัวใจอันนั้นน่ะ ถ้าบุญกุศลอันนั้นมันยิ่งใหญ่ ยิ่งใหญ่มันทำสิ่งใดทำด้วยเต็มหัวใจ เต็มไม้เต็มมือนะ คนทำดี ดูจิตอาสาสิ จิตอาสาเขาไปทำของเขาด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส เขาทำด้วยความสุขใจของเขา เขาทำด้วยเต็มไม้เต็มมือ นี่เพราะใจมันลง ใจมันยอมรับไง

นี่ก็เหมือนกัน เราเกิดเป็นชาวพุทธ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาสอนเรื่องอะไร สอนเรื่องหัวใจๆ แล้วหัวใจเป็นอย่างไร แล้วก็มาวิเคราะห์วิจัยหัวใจเป็นอย่างไร ก็ทุกข์ในใจเอ็งนั่นน่ะ หัวใจเป็นอย่างไร หัวใจที่มันทุกข์อยู่นี่ แต่เราไม่คิดว่านั่นเป็นหัวใจไง เราคิดว่ามันเป็นความทุกข์ของเราๆ ไง แล้วพยายามผลักไสๆ ไง

อาการ อาการของจิตๆ อารมณ์น่ะ อารมณ์ที่มันบีบคั้น อารมณ์ต่างๆ อู้ฮู! ทุกข์ อู๋ย! ทุกข์ นั่นก็ไม่ดี นี่ก็ไม่ดี...นั่นล่ะมันเกิดจากใจ แล้วธรรมะไปแก้ตรงนั้น แล้วธรรมะไปแก้ตรงนั้น แต่เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยไปโรงพยาบาล ไปถึงหมอ “หมอ หายไหม” ทุกคนไปหาหมอถามคำแรกเลย “หายไหม หายไหม”

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เวลาปฏิบัติจะบรรลุธรรมๆ

บรรลุธรรมมันอารมณ์ทั้งนั้นน่ะ สร้างภาพ ทุกข์ ทุกข์จากความทุกข์ยากบีบคั้น กิเลสตัณหาความทะยานอยากบีบคั้นในหัวใจของตน พอประพฤติปฏิบัติขึ้นมาก็ให้ธรรมะให้การคาดหมายบีบคั้นหัวใจอีกชั้นหนึ่ง ปฏิบัติแล้วต้องได้อย่างนั้น ปฏิบัติแล้วต้องได้อย่างนั้น...ได้อะไร เขามีแต่ละ เขาขว้างทิ้งน่ะ เขาโยนทิ้งเขาถึงจะได้ เขาโยนอารมณ์เขาทิ้ง

แต่ครูบาอาจารย์ของเรานะ ท่านมีข้อวัตรปฏิบัติให้ทำ มีข้อวัตรปฏิบัติให้ทำนะ ตั้งสติไว้ หายใจเข้านึกพุท หายใจออกโธ ใครเป็นคนทิ้ง เวลาบอกว่าโยนทิ้งมันก็โยนทั้งตัวเราทิ้งไปด้วย โยนทั้งคุณงามความดี โยนทั้งหลักการ โยนทุกอย่างทิ้งไปหมดเลย แล้วก็บอกว่าตัวเองเป็นนักปฏิบัติไง

แต่ครูบาอาจารย์เราท่านไม่เป็นอย่างนั้น ท่านตั้งสติไว้ โยนทิ้งแต่สิ่งเลวร้าย โยนทิ้งแต่สิ่งที่มันเป็นความเลวทรามในใจ แต่ให้มันมีสติสัมปชัญญะระลึกตัวอยู่ ระลึกตัวอยู่ ผู้ที่ทิ้งไง

นี่ไง เวลาจิตเป็นสมาธิๆ ใครเป็นสมาธิ ใครมีสติ ใครมีปัญญา ใครรักษาหัวใจของตน ถ้ารักษาหัวใจของตน การรักษาหัวใจของตนมันต้องมีสติใช่ไหม ถ้ารักษาหัวใจของตน เวลามันปลอดโปร่ง ปลอดโปร่งมันชัดเจนของมันไง ถ้าชัดเจนของมัน เห็นไหม

เราต้องมีสติ พอมีสติ ถ้าเราจะโยนทิ้ง โยนทิ้งมันต้องมีสติปัญญา แต่การโยนทิ้งของโลกมันโยนทิ้งทั้งตัวเราด้วย โยนทิ้งทั้งหลักการ โยนทิ้งไม่มีอะไรเลย แล้วก็ว่างๆ ว่างๆ เผอเรอ ไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน แต่ถ้าเป็นชิ้นเป็นอัน เราต้องคัดแยก อะไรที่ไม่ดีโยนทิ้งไป อะไรที่ดีเก็บไว้ อะไรที่ดีไง ความคิดที่ดี ความคิดความขยันหมั่นเพียร ความกตัญญูกตเวที การระลึกถึงคุณของคน น้ำใจของเรา สิ่งนี้มันเป็นน้ำเลี้ยงไง

ทุกข์ควรกำหนด แล้วสุขล่ะ เวลาจิตมันสงบแล้ว ทุกข์ควรกำหนด แล้วสุขล่ะ เวลาจิตที่มีความสุขมีความสงบระงับเข้ามามันเป็นอย่างไร เห็นไหม มันต้องมีอย่างนี้ไง ศีล สมาธิ ปัญญาไง

ถ้าสมาธิ สุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบไม่มี แล้วเอ็งมีสมาธิแล้วเอ็งไม่สุขหรือ สุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบไม่มี แล้วจิตที่มันสงบแล้วมันเวิ้งว้าง มันปล่อยวางมาแล้ว แล้วเอ็งมีความสุขหรือ มันเวิ้งว้างไปหมดเลย แล้วมันคืออะไร

มันคืออะไร คือเอ็งแห้งแล้ง คืออะไร เอ็งไม่รับรส

แต่ถ้าเขาเป็นสมาธิแล้ว เอ๊อะ! โอ้โฮ! โอ้โฮ! จิตเป็นอย่างนี้หรือ หัวใจเราเป็นอย่างนี้หรือ นี่มันได้รับรส รสของธรรม สุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบไม่มี ถ้ามันสงบมันก็ต้องมีควมมสุข ถ้ามันสงบมันต้องมหัศจรรย์ ถ้ามันสงบมันต้องมีคุณงามความดีของมัน แล้วคุณงามความดี คุณงามความดีของมันๆ ของมันคือใคร ของมันคือหัวใจของเรานี่ไง

หัวใจที่เร่ร่อน หัวใจที่ไม่มีอำนาจวาสนาบารมีพอที่จะค้นคว้ารู้จักใจของตน รู้จักแต่ใจของตนที่มันสร้างสรรค์อารมณ์มาหลอกลวง มันหลอกลวงนะ อาการของใจ อาการ อารมณ์เกิดจากใจ อารมณ์ที่เกิดจากใจสร้างสรรค์ พลิกแพลง พยายามล่อลวง แล้วเราก็เชื่อตามนั้น เพราะเราไว้ใจว่าเป็นความคิดของเรา เราไว้ใจว่าเป็นความคิดของเรา ถ้าเราคิดขึ้นมามันต้องเป็นความจริง ถ้าคนอื่นบอกเรา เราไม่เชื่อ แต่ถ้าเป็นความคิดของเรา ยอดๆๆ แล้วกิเลสมันก็พลิกแพลงสร้างอาการต่างๆ ให้เราเห็นอาการอย่างนั้นไป แล้วเราก็เชื่อตามอาการอย่างนั้นไป นี่ไง แล้วพอบอกขว้างทิ้งก็ขว้างทิ้งหมดเลย พอบอกให้วาง อ้าว! วางหมดเลย

แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาสอนผู้ที่ประพฤติปฏิบัตินะ การทำความสงบ ๔๐ วิธีการ กรรมฐาน ๔๐ ห้อง เพราะคนเราเกิดมาจริตนิสัย คนเราเกิดมา เวลาบุพเพนิวาสานุสติญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จิตนี้เวียนว่ายตายเกิดไม่มีต้นไม่มีปลาย การที่ไม่มีต้นไม่มีปลาย ขณะที่จะมานั่งอยู่นี่มันได้ผ่านการเวียนว่ายตายเกิดมามหาศาล การที่มันผ่านการเวียนว่ายตายเกิดมามหาศาล มันได้ซับสมเป็นจริตเป็นนิสัย เป็นนิสัยของตน เป็นจริตของตน เวลาเป็นจริตของตน เวลาจะมาประพฤติปฏิบัติให้ทำให้เหมือนกันมันเป็นไปไม่ได้ มันเป็นไปไม่ได้เพราะการเวียนว่ายตายเกิดมันได้สร้างสมมา กิเลสตัณหาความทะยานอยากมันได้เพาะบ่มหัวใจของคนมา ที่มีความรู้สึกนึกคิด ที่มีสติปัญญาที่แตกต่างกัน

ฉะนั้น เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ จะปรารถนาให้คนผู้นั้นให้รู้จักสำนึกถึงตัวของตนก่อน ถ้าสำนึกถึงจิตของตน แก้ไขที่จิตของตน ให้ถึงทำความสงบ ๔๐ วิธีการ การทำความสงบ ๔๐ วิธีการ เพราะให้เขาตรงกับจริตตรงกับนิสัย ตรงกับเหตุกับผลในใจของเขา ให้ของเขาทำของเขา ได้สำนึกในใจของเขา ถ้าใจเขาสำนึกในใจของเขา นั้นคือสัมมาสมาธิ มันต้องเริ่มต้นตรงนั้น

แต่เริ่มต้นมันไม่มีอะไรเลย ว่างๆ โยนทิ้งหมดเลย สมาธิก็โยนทิ้ง หัวใจก็โยนทิ้ง ทุกอย่างก็โยนทิ้ง แล้วเหยียดหยาม “ทำสมาธิแล้วมันไม่เป็นวิปัสสนา ทำสมาธิมันเป็นแค่สมถะ แค่สมถะมันจะเกิดนิมิต” เหยียดหยามแล้วยังทำความเลวร้ายให้เพ่งโทษว่าทำสมถะเป็นโทษ ทำสมถะไม่เป็นประโยชน์ แล้วคนเราไม่สำนึกตน ไม่เริ่มที่ตน มันจะไปเริ่มที่ไหน มันจะไปเริ่มต้นที่สัญญาอารมณ์ เริ่มต้นจากที่กิเลสมันพลิกแพลงหลอกลวงไว้อย่างนั้น ถ้าหลอกลวงไว้อย่างนั้น แล้วมันจะปฏิบัติเพื่อใครล่ะ ปฏิบัติเพื่อกิเลสมันหลอกลวงไง ปฏิบัติไม่เป็นความจริงขึ้นมาในหัวใจไง ถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมาในหัวใจ นี่ไง สดๆ ร้อนๆ สดๆ ร้อนๆ

ขณะที่ว่า สรรพสิ่งในโลกนี้เป็นอนิจจัง สิ่งใดเป็นอนิจจัง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา ให้อยู่กับปัจจุบันๆ ปัจจุบันก็ปัจจุบันขณะที่จิตมันเป็นปัจจุบันนั้น ถ้าจิตเป็นปัจจุบันนั้นมันก็เป็นสัมมาสมาธิในปัจจุบันนั้น ถ้ามันเกิดภาวนามยปัญญาขึ้นมา เกิดมรรคเกิดผลขึ้นมา ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่มันชำระล้างเดี๋ยวนั้น มันสำรอกมันคายเดี๋ยวนั้นขึ้นมา มันเป็นปัจจุบันเดี๋ยวนั้น

อกาลิโก ไม่มีกาลไม่มีเวลา เรียกร้องสัตว์ทั้งหลายมาดูธรรม เรียกร้องสัตว์ทั้งหลายมาดูธรรม มันดูธรรมเพราะมันยืนยันไง จิตนี้มันมืดบอดเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ เวลามันชำระล้างไป สังโยชน์ขาดไป ๓ ตัว มันเกิดอย่างมากอีก ๗ ชาติ มันยืนยันเลย ยืนยันกับวัฏฏะ ยืนยันกับพญามาร ยืนยันกับการเวียนว่ายตายเกิด ยืนยันๆ ยืนยันที่ไหน ยืนยันเพราะเรารู้เองไง เขาไปเกิดกันด้วยความไม่รู้ ไอ้เราอีก ๗ ชาติเพราะมันสุดวิสัย แต่ถ้าใครมีความสามารถแก้ไขปลดเปลื้องไปเรื่อยๆ เวลาถึงที่สุดแห่งทุกข์

เขาต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ เพราะความไม่รู้ของเขา เพราะอวิชชา เพราะความไม่รู้สึกตัวเขาถึงเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ ผู้ที่เป็นอัตโนมัติ จิตพร้อมหมด ธรรมธาตุ ไม่มีการเคลื่อนไปและเคลื่อนมา รู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา มันจะไปไหน คนมีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลามันจะหกล้มไหม

คนมีสติสัมปชัญญะมันจะก้าวพลาดไหม มันไม่ก้าวด้วย มันอยู่เฉยๆ มันไม่ก้าวหรอก นี่ไง มันยืนยันถึงการไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย แล้วมันเป็นปัจจุบันขึ้นมาในกลางหัวใจนั้น แล้วกลางหัวใจนั้นเป็นอย่างไรล่ะ มันเป็นเพราะต้องมีเหตุมีผลนี่ไง มันเป็นจะต้องมีเหตุมีผล ถ้ามันไม่มี หัวใจดวงใดไม่มีเหตุ หัวใจดวงนั้นไม่มีผล

เวลาพูด พูดธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาธรรมวินัย พุทธพจน์ๆ ทรงจำธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การทรงจำธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเป็นภาคปริยัติ การเป็นภาคปริยัติ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางปริยัติไว้ วางปริยัติไว้ให้เราศึกษา ให้ชาวพุทธได้ศึกษา ศึกษาไว้ทำไม

ศึกษาไว้ปฏิบัติ “อานนท์ เธอบอกเขานะ ให้ปฏิบัติบูชาเราเถิด ให้ปฏิบัติบูชาเราเถิด” เพราะการปฏิบัตินั้นมันจะได้เหตุได้ผล ถ้าคนไม่เคยปฏิบัติเลยมันก็จะไม่มีเหตุไม่มีผลอะไรเลย เราไม่เคยทำอะไรเลย เราก็ไม่มีเหตุสิ่งใดเลยที่จะไปถามว่าไอ้นั่นมันควรทำอย่างไร แต่เวลาท่องจำนกแก้วนกขุนทองปากเปียกปากแฉะนะ เวลามดแดงมันเฝ้ามะม่วง ของกูๆ ชาวพุทธเฝ้าแต่มะม่วงไง แต่ชาวพุทธไม่ได้กินมะม่วงไง

นี่ไง เวลาผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเขาได้ดื่มได้กินนะ เขาได้ลิ้มรสอันนั้นนะ นี่ไง ปฏิบัติบูชา เวลามันทุกข์มันยาก เปลือกมันขมนะ มะม่วง ลองไปกัดสิ เปลือกนี่มันขม แต่เนื้อมันหวาน เนื้อมันหวาน แล้วเม็ดมันเพาะได้ด้วย นี่ก็เหมือนกัน ถ้ามันผ่านแต่ความเพียร ผ่านกิเลสตัณหาความทะยานอยากนะ รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร มันจะผ่านจากเปลือกเข้าไปไง แล้วมันจะได้ไปลิ้มรสในเนื้อมะม่วงไง แล้วมันจะได้เม็ดไปเพาะพันธุ์ของมันไง มันจะเป็นประโยชน์ขึ้นมาในหัวใจของมันไง นี่ถ้ามันเป็นความจริงๆ

นี่ภาคปริยัติ “อานนท์ เธอบอกให้เขาปฏิบัติบูชาเราเถิด” การปฏิบัติบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันก็ฝึกหัดหัวใจของตน การบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้รับรู้ของตน วิกฤติของประเทศตอนนี้ ใครทำคุณงามความดีเพื่อถวายในหลวง ใครทำคุณงามความดีเพื่อถวายในหลวง เขามีธุรกิจร้านค้า เขาก็เปิดให้ประชาชนได้ใช้บริการของเขา เขามีร้านอาหาร เขาก็ให้ประชาชนได้ทานอาหารของเขาเพื่อเป็นบุญกุศลๆ เขาทำของเขาน่ะ นี่บูชาในหลวง แต่เขาได้คุณงามความดีของเขา เขาบูชาในหลวง แต่เขาได้ประโยชน์ของเขา

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เราปฏิบัติบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยสติด้วยปัญญาของเรา แต่ผลที่มันเกิดขึ้น ดวงใจดวงใดไม่มีเหตุไม่มีผล มันจะเป็นความจริงขึ้นมาไม่ได้ไง ถ้ามันจะเป็นความจริงขึ้นมา มันต้องมีเหตุมีผลไง แล้วเหตุผลต้องสมบูรณ์อย่างนี้ไง ถ้าเหตุผลสมบูรณ์อย่างนี้ นี่ปฏิบัติบูชาแล้ว มันได้มรรคได้ผลได้ตามความเป็นจริง

ไม่ใช่ว่าปฏิบัติบูชาแบบกระแสสังคม หลวงตาใช้คำว่า ปฏิบัติพอเป็นพิธี” ในเมื่อศาสนาของเรายิ่งใหญ่ ศาสนาพุทธ หลวงตาท่านบอกว่า ใครไม่มีอำนาจวาสนา ไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ เพราะศาสนาพุทธสอนถึงที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ ศาสนาพุทธสอน อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ใจดวงนั้นเกิดมรรคเกิดผล เวลาสิ้นกิเลสไปแล้วนะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์ พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นก็เป็นพระอรหันต์ มีคุณธรรมเท่ากันน่ะ มีคุณธรรมเท่ากัน แล้วถ้าเราประพฤติปฏิบัติ เราก็จะได้มรรคผลอย่างนั้นถ้าเราทำได้จริง ถ้าเราทำได้จริง มันมีคุณค่าอย่างนี้ไง มันมีคุณค่า

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน หัวใจของเราจะต้องประพฤติปฏิบัติโดยหัวใจของเราเอง เราต้องมีสติมีปัญญา มีความหมั่นเพียร มีความละเอียดรอบคอบเข้าไปถึงหัวใจของเรา ว่าหัวใจของเรา ธาตุรู้น่ะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน มันเป็นอย่างใด แล้วเรารักษาสิ่งนั้นไว้ เริ่มต้นจากสิ่งนั้น ฝึกหัดใช้ปัญญา มันจะเกิดวิปัสสนาญาณ ญาณวิถี ญาณแห่งจิต พลิกแพลงหัวใจให้พ้นจากกิเลส เอวัง