เทศน์บนศาลา

ไตรสิกขา

๑o ม.ค. ๒๕๕๒

 

ไตรสิกขา
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจฟังธรรมนะ ธรรมะไง เราเป็นชาวพุทธ พระพุทธศาสนาสอนถึงซึ่งที่สุดแห่งทุกข์นะ พระพุทธศาสนา แล้วเราเกิดเป็นชาวพุทธต้องภูมิใจ ภูมิใจในการเกิดของเรา การเกิดนะ การเกิดในประเทศอันสมควร องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดไว้ในธรรมะนะ การเกิดในประเทศอันสมควร ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ มันเป็นประเพณีวัฒนธรรม

เหมือนมวยไทย เราชาวไทยฝึกมวยไทยโดยสัญชาตญาณ มันจะคล่องแคล่วมาก ดูอย่างทางยุโรปเขาสิ เขาอยากมาศึกษา เขาอยากมาฝึกมวยไทย เห็นไหม มันเก้งๆ ก้างๆ เหมือนกัน เราเกิดเป็นชาวพุทธ มันเป็นพุทธโดยสายเลือดเลยนะ พุทธในสายเลือด พุทธในวัฒนธรรม ทีนี้พุทธในวัฒนธรรม เราเกิดมาพบพระพุทธศาสนา เราเกิดมาตั้งแต่เด็กนะ เห็นพ่อแม่ใส่บาตร เห็นพระเห็นเจ้ามาตั้งแต่เด็กแต่เล็ก นี่พระพุทธศาสนา

เราเกิดมาเจอศาสนาพุทธ พระพุทธศาสนา ศาสนาสอนถึงที่สุดแห่งทุกข์ แต่ในปัจจุบันนี้โลกเจริญ โลกนี้เจริญมาเมื่อ ๒๐๐ กว่าปีก่อนนี้เองนะ ในอุตสาหกรรม ยุคอุตสาหกรรม โลกนี้เจริญมาก ก่อนยุคอุตสาหกรรมนะ เวลาโรคภัยไข้เจ็บขึ้นมา เวลาอหิวาต์ระบาด เขาย้ายเมืองหนีเลยล่ะ ประเทศต่างๆ การแว่นแคว้นยังไม่มีที่มั่นคง ยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มันเคลื่อนย้ายได้ตลอดเวลา แต่พอยุคอุตสาหกรรม มันเพิ่มถึงการดำรงชีวิต การดำรงชีวิต เรื่องการสร้างเมือง การสร้างอุตสาหกรรมต่างๆ นี่เอาชนะธรรมชาติ สิ่งที่เป็นวิทยาศาสตร์ เราก็ยิ่งคึกคักกันไปใหญ่เลยนะ ว่าโลกเจริญๆ สิ่งนั้นสิ่งนี้เจริญ พอเราเจริญขึ้นมาเราก็ไปยึดสิ่งพึ่งข้างนอก

พุทธศาสนาสอนถึงการเกิดและการตาย พุทธศาสนาสอนถึงการดำรงชีวิต ชีวิตมนุษย์ ชีวิตมนุษย์เกิดมาทำไม เกิดมามีคุณค่าไง เกิดมาในศาสนาเรา เกิดมาทำบุญกุศลเพื่อให้เวรกรรม สร้างบุญกุศลเพื่อดำรงชีวิต เพื่อความสุข เพื่อปรารถนาของเรา เราก็คิดของเรานะ

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากว่าจะรื้อค้นศาสนามา แล้ววางไว้ให้เราเป็นสาวก-สาวกะ ดูสิเวลาเรากราบพระ เรากราบถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ กราบถึงเมตตาคุณ ปัญญาคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ได้รื้อค้นศาสนาไว้ให้เราก้าวเดิน เราก้าวเดินนะ นี้เราเกิดมาพบพระพุทธศาสนาแล้ว เราเกิดมาเป็นชาวพุทธพบพระพุทธศาสนา เกิดมาแล้วเหมือนกบเฝ้ากอบัว ไม่รู้คุณค่าของมันไง ไม่รู้คุณค่าของศาสนานะ เห็นเขาทำพิธีก็ทำตามๆ กันไป ทำบุญกุศลก็บุญกุศล

จนคนไม่เชื่อนะ คนไม่เชื่อว่าสิ่งนี้เป็นเขียนเสือให้วัวกลัว นรกสวรรค์เขียนเสือให้วัวกลัว ไม่มีหรอก พระไปเอาเปรียบสังคม พระไม่ทำหน้าที่การงาน เราเป็นชาวพุทธ เราต้องทำงานทำการกัน หาเงินหาทองมาแล้วต้องไปทำบุญกับพระ

พระก็ทุกข์นะ พระถ้าไม่ประพฤติปฏิบัติ พระมีคุณค่าอะไร โกนหัวมาห่มผ้าเหลือง ในสมัยนี้ พวกละครเขาเล่นกัน เขาก็โกนหัวห่มผ้าเหลืองเหมือนกัน เขาได้เงินได้ทองด้วย พระบวชมาเป็นสมมุติสงฆ์ บวชมาตามธรรมวินัย ที่เราเกิดมาเป็นชาวพุทธ ถ้าไม่มีพระสืบทอดศาสนามา ศาสนามันอยู่ที่ไหน

เวลาพระเจ้าพิมพิสาร เห็นเจ้าชายสิทธัตถะออกบวชมา คิดว่าโดนเขาปฏิวัติมา ให้กองทัพครึ่งหนึ่ง ให้กลับไปเอาเมืองคืน เจ้าชายสิทธัตถะบอก “ไม่ใช่ ปรารถนาโพธิญาณ ออกประพฤติปฏิบัติเป็นความจริง”

พระเจ้าพิมพิสารขอสัญญาไว้เลย “ถ้าปฏิบัติรื้อค้นได้แล้วขอให้กลับสอนมาสอนด้วย”

นี่เขารอกันนะ รอให้รื้อค้นแล้วกลับมาสอนด้วย องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมานะ เทศน์ปัญจวัคคีย์ ได้ยสะ ๖๐ กว่า ให้แยกย้ายกันไป แล้วมาสอนชฎิล ๓ พี่น้อง เพราะชฎิล ๓ พี่น้องเป็นอาจารย์ของพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าพิมพิสารเชื่อในชฎิล ๓ พี่น้องนั้น ต้องเอาอาจารย์ของพระเจ้าพิมพิสารก่อน พอได้อาจารย์ของพระเจ้าพิมพิสารก่อน แล้วมาสอนพระเจ้าพิมพิสารเป็นพระโสดาบันนะ

ไม่ใช่กบเฝ้ากอบัว ขนาดศาสนาไม่มีนะ พระเจ้าพิมพิสารยังขอเลย ขอไว้ว่า “องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมแล้ว ให้กลับมาสั่งสอนด้วย” แล้วนี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมแล้ว แล้ววางธรรมและวินัยไว้ตามความเป็นจริง แล้วเราเป็นชาวพุทธ เรากบเฝ้ากอบัวไหม เราทำบุญกุศล เรื่องของทาน ทานใครก็ทำได้ ที่ไหนก็ทำได้ แต่ทานของเขาเป็นทาน

แต่ชาวพุทธเราเป็นบุญ บุญเพราะอะไร บุญเพราะเนื้อนาบุญ ถวายพระ พระเป็นผู้ที่มีศีล พระเป็นผู้ที่ไม่มีอาชีพในทางโลก พระผู้มีศีล แล้วพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ญาย สามีจิปฏิปนฺโน เป็นเนื้อนาบุญของเรา เราทำบุญกุศล เราอาบเหงื่อต่างน้ำมา ได้เงินได้ทองมา เราทำบุญกุศล เราถวายพระไป ถวายท่านไปนะ แล้วท่านใช้ประโยชน์ในศาสนาไหม

พระถ้าพูดถึงถ้าไม่ประพฤติปฏิบัติ พระก็ทุกข์เหมือนเรา พระก็ทุกข์นะ แต่งานของพระไม่เหมือนงานของโยม งานของโยมอาบเหงื่อต่างน้ำมาเพื่อปัจจัยเครื่องอาศัย พระออกบิณฑบาตเพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมวินัยไว้ เรากราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา เสวยวิมุตติสุขอยู่ แล้วจะออกบิณฑบาตครั้งแรก ประเพณีของพุทธะทำอย่างไร

ย้อนนะ อนาคตังสญาณย้อนไป เทวดาเข้าใจถวายบาตร ๔ ใบ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสกให้เหลือเป็นใบเดียว “ออกบิณฑบาตเป็นวัตร” องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าออกบิณฑบาตเป็นวัตร นี่พุทธประเพณี แล้วเราสาวก-สาวกะอริยประเพณี ถ้าประเพณีของพระอริยเจ้า เราทรงธรรม ทรงวินัย เพื่อบุญกุศลของเขา แล้วงานของพระคืองานอะไรล่ะ? งานของพระคืองานเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา งานของพระ

ดูสิ หน้าที่ของโยมเขา เวลาเขาต้องมีการศึกษา ต้องมีวิชาชีพ วิชาชีพตามการศึกษาวิชาชีพตามใครถนัด

เวลาพระบวชขึ้นมา พระทุกองค์อุปัชฌาย์ต้องบอกกรรมฐาน ๕ เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ ถ้าอุปัชฌาย์ไม่บอก เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ เป็นพระไม่ได้ ญัตติจตุตถกรรมไม่สมบูรณ์ ไม่สมบูรณ์เป็นพระไม่ได้ หน้าที่ของพระอยู่ที่นี่ไง หน้าที่การงานของพระ เห็นไหม การศึกษาเล่าเรียน “ปริยัติ” การศึกษาเล่าเรียนธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าศึกษาเล่าเรียน ศึกษาแล้วต้องมีปฏิบัติ “ปฏิบัติ ปฏิเวธ” ศึกษาในอะไร? ศึกษาในไตรสิกขา “ศีล สมาธิ ปัญญา”

ศีลสิกขา สมาธิสิกขา ปัญญาสิกขา

แต่ปัจจุบันนี้โลกเจริญ โลกเจริญ เวลาเราไปศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมวินัย ศึกษา ดูสิ ศึกษาธรรมศึกษาเป็นปริยัติ ศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่ของเรา ในเมื่อไม่ใช่ของ เราไปศึกษาแล้ว เราว่าเรามีปัญญา เรามีความรู้ เรามีปัญญานะ

เวลาปฏิบัติธรรม “ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา เราต้องใช้ปัญญา”

ปัญญาอย่างนี้เป็นศีลสิกขา การสิกขาในระดับของศีล “ศีล สมาธิ ปัญญา” เห็นไหม ในระดับของศีล ศีลเพราะอะไร ศีล ในวัตรปฏิบัติก็เป็นศีลนะ

พระเวลาครูบาอาจารย์ของเรา หลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์ของเรา หลวงตาเวลาท่านเทศน์ ท่านเทศน์ตั้งแต่ความสงบของใจ ท่านเทศน์ตั้งแต่สมาธิขึ้นไปนะ สมาธิ-ปัญญา ศีลมันมีความปกติของใจ ผู้ที่บวชมาศีล ๒๒๗ สงฆ์นี่ศีล ๒๒๗ ยังมีธุดงควัตรอีก มีเสขิยวัตร มีสัลเลขธรรม ธรรมเป็นเครื่องอยู่อาศัย สิ่งที่เราศึกษา พระเราศึกษามาแล้ว ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ

ดูสิ โยมเวลาเขาเรียนจบมาทางวิชาชีพของเขา เขาทำงานแล้วเขาจะไปต่อวิชาของเขาเพื่อให้ตรงกับสาขาหน้าที่การงานของเขา นี่เขาศึกษาของเขามา พระก็เหมือนกัน พระเวลาศึกษามาศึกษามาเพื่ออะไร? ศึกษามาเพื่อประพฤติปฏิบัติใช่ไหม ไม่ใช่ศึกษามาเพื่อเป็นสมบัติของเรา เราศึกษามานั่นมันศีลสิกขานะ “ศีลสิกขา”

เวลาวัตรปฏิบัติ เวลาครูบาอาจารย์ของเราท่านประพฤติปฏิบัติมา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารื้อค้นธรรมวินัยมานะ เวลาตรัสรู้ธรรมขึ้นมาแล้ว โอ้โฮ! ทั้งๆ ที่สร้างสมบุญญาธิการมาเป็นพระโพธิสัตว์ หวังปรารถนามารื้อสัตว์ขนสัตว์ รื้อสัตว์ขนสัตว์คืออยากปรารถนา รื้อสัตว์ขนสัตว์พวกมนุษย์เรา สัตตะผู้ข้องในโลก อยากให้พ้นจากทุกข์ มีเมตตา อยากรื้อสัตว์ขนสัตว์มาก เวลาตรัสรู้ธรรมขึ้นมา ท้อใจเลยนะ ท้อใจเลยจะสอนได้อย่างไร เพราะมันเป็นสิ่งเหนือการคาดหมาย

อย่างเรา ดูสิ ปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ ปรารถนาเป็นพุทธภูมิ เราก็สร้างบุญกุศลกัน ก็คิดว่าสร้างบุญกุศล อาบเหงื่อต่างน้ำ ดูสิ ดูองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑๐ ชาติสุดท้าย เป็นพระเวชสันดร เป็นพระเตมีย์ใบ้ ขันติบารมี ทานบารมี ศีลบารมี บารมี ๑๐ ทัศ ครบ นี่เราก็ทำกัน เราปรารถนาพุทธภูมิ เราทำบุญกุศล สร้างบุญกุศล พาสร้างบุญกุศล การสร้างบุญกุศลสร้างจากใคร สร้างจากที่เราเข้าใจใช่ไหม สร้างจากโลกียปัญญาคือปัญญาของเรา ปัญญาที่ปรารถนาจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนาจะรื้อสัตว์ขนสัตว์

ก็สร้างปัญญาขึ้นมา สร้างบุญญาธิการขึ้นมาเพื่อให้ภาระ ให้จิตใจมันมีบารมีเต็ม เพื่อจะรื้อค้นโพธิญาณ “โพธิญาณ” โพธะ โพธิ โพธิญาณ โพธิ-พุทธะ ญาณ-ญาณหยั่งรู้ โพธิญาณศึกษาสิ่งสภาวะแบบนั้น นี่สร้างสมบุญญาธิการมาถึงขนาดนั้นนะ เวลาตรัสรู้ธรรมขึ้นมายังท้อใจ

นี้เราคิดของเรา เราปรารถนาพุทธภูมิ เราก็ปรารถนาพุทธภูมิ พุทธะของเรามันโดนปกคลุมด้วยพญามาร ด้วยอวิชชา ด้วยความไม่เข้าใจของเรา คิดว่ามันเป็นสิ่งเดียวกัน

แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา จนวางนะ ทอดธุระ “มันจะสอนเขาได้อย่างไร” มันเป็นสิ่งที่ลึกลับมหัศจรรย์ แต่พวกเราในปัจจุบันนี้เราเป็นชาวพุทธ เกิดมาพบพระพุทธศาสนาเป็นบุญกุศลมาก พุทธศาสนานะ สิ่งที่พุทธศาสนาเป็นประเพณีวัฒนธรรม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า “พุทธประเพณี” บิณฑบาต เราจะเห็นพระบิณฑบาตตลอด บิณฑบาตมาเป็นสิ่งที่จรรโลงไว้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฝากศาสนาไว้กับภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุให้ออกบิณฑบาตเป็นวัตร

เราเป็นคฤหัสถ์ เราได้ทำบุญตักบาตร ทำบุญตักบาตร สิ่งนี้ฝากไว้กับบริษัท ๔ สิ่งที่บริษัท ๔ ศาสนามันก็มีการศึกษามีการค้นคว้า มันจะมีการเจริญเติบโตขึ้นมา สิ่งที่เราทำเป็นประเพณีกัน เวลาเราอยากพ้นทุกข์ อยากพ้นทุกข์เราต้องออกประพฤติปฏิบัติ เราออกประพฤติปฏิบัติด้วยความรู้สึกของเรา เราเชื่อใครไม่ได้ กิเลสมันใหญ่มาก กิเลสมันมีทิฏฐิมานะในหัวใจมาก การศึกษาของเรา เรากลัวแต่ผิดพลาด กลัวแต่คนโน้นจะหลอก คนนี้จะไม่เชื่อ

องค์หลวงปู่มั่นเรา เวลาประพฤติปฏิบัติ ตำราก็มีนะ สาวก-สาวกะ หลวงปู่มั่นท่านเล่าไว้ในลูกศิษย์สืบต่อๆ กันมาว่าท่านก็ปรารถนาเป็นพุทธภูมิเหมือนกัน เวลาปฏิบัติไป ปฏิบัติไปมันไปไม่ได้ พุทธภูมิจะได้แต่ฌานโลกีย์ จิตมีความสงบ แล้วจะรู้สิ่งต่างๆ รู้เป็นฌานโลกีย์ สิ่งที่เป็นฌานโลกีย์จะรู้ถึงบาปบุญกุศลต่างๆ จะเห็นเหตุการณ์ล่วงหน้าต่างๆ ยิ่งถ้าเข้าใกล้ บารมีใหญ่จะรู้ชัดเจนมาก

เวลาหลวงปู่มั่นท่านประพฤติปฏิบัติ เห็นกาย พิจารณากายไป มันไปถึงทางตันตลอด ทางตันตลอด จนท่านกำหนดลาโพธิสัตว์ของท่าน แล้วท่านมาประพฤติปฏิบัติ พอปฏิบัติไปมันเป็นปัญญา

“ศีล สมาธิ ปัญญา”

“ศีลสิกขา สมาธิสิกขา ปัญญาสิกขา”

“ปัญญาสิกขา”

ปัญญาอย่างที่ปรารถนาโพธิสัตว์ ปัญญาอย่างนั้นมันปัญญาโลกียปัญญา ปัญญาเกิดจากกิเลส สิ่งที่ปัญญาเกิดจากกิเลส มันเข้าไปชำระกิเลสไปไม่ได้หรอก ปัญญาจากสิ่งที่เป็นตัวตนของเรา มันเข้าไปมันไม่สว่างกระจ่างแจ้งออกไป มันต้องมีสมาธิ ถึงจะมีสมาธิขึ้นมา ถ้าเป็นโลกียปัญญา ปัญญาของโลก มันก็ปัญญาความเป็นไป

ครูบาอาจารย์ท่านต้องผ่านวิกฤต ผ่านการขัดแย้ง ผ่านกิเลสตัณหามาหลอกในหัวใจ จนเห็นความทะลุปรุโปร่ง ท่านถึงเวลาสอน เวลาเทศนาว่าการ ในครอบครัวของกรรมฐาน เวลาครูบาอาจารย์ท่านจะเทศนาว่าการ ท่านเทศน์ถึงความสงบเข้ามาก่อนเลย

เพราะศีลมันเป็นพื้นฐานของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ผู้ที่หวังพ้นทุกข์มันต้องเตรียมตัวพร้อมใช่ไหม เราหวังพ้นทุกข์ เห็นไหม ดูสิ ร่างกายเราแข็งแรงไหม ถ้าร่างกายเราแข็งแรง เราทำหน้าที่การงานใดใดก็ได้ใช่ไหม ร่างกายเราไม่แข็งแรง เราเป็นคนเจ็บไข้ได้ป่วย เราจะทำหน้าที่การงาน งานนั้นจะประสบความสำเร็จได้อย่างไร

นี่ก็เหมือนกัน จิตใจของเราอ่อนแอ จิตใจของเราไม่มีหลัก จิตใจไม่มีหลักคือจิตมันทรงตัวมันเองไม่ได้ มันไม่มีศีล “ศีละ” คือความปกติของใจ จิตมันไม่ปกติมันก็ฟุ้งซ่าน มันคิดประสาของมันออกไป พอคิดประสามัน มันอ่อนแอ พออ่อนแอเราไปศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เหมือนกับเราศึกษาวิชาชีพ คนศึกษาวิชาชีพใดมา เขาจะศึกษา ศึกษาวิชาชีพนั้นมามันไปประกอบสัมมาอาชีวะของเขา นี่เหมือนกัน จิตเรามันมีกิเลส มันไปศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา ก็เป็นวิชาชีพ

“วิชาธรรมะ”

ธรรมะๆ ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่เป็นปัญญาๆ

ปัญญาที่ทำนะ ข้อวัตรปฏิบัติ สิ่งที่เราทำ เดินจงกรมนั่งสมาธิภาวนา นี่มันเป็นข้อวัตรนะ การเดินจงกรม เดินจงกรมอย่างไร? การเดินจงกรม ให้มือขวาทับมือซ้ายไว้ ระหว่างสะดือแล้วเดินจงกรมไปเพื่อไม่ให้มันแตก ไม่ให้สติ ถ้าเราแกว่งแขนไป สติมันแตกออกไป การนั่งสมาธิ นั่งสมาธิอย่างไร?

ข้อวัตรปฏิบัติ ครูบาอาจารย์มีอาจริยวัตร อาคันตุกวัตร เสขิยวัตร วัตรต่างๆ วัตรปฏิบัติมันเป็นศีล แล้วเราไปปฏิบัติกัน ว่านี่ปฏิบัติ ใช้ปัญญาของเรา

มันเป็นปัญญาระดับศีล มันปัญญาของศีล ของธรรม เราปฏิบัติกัน ศีลของธรรม เพราะอะไร เพราะเราไม่ทำความสงบของใจเข้ามาก่อน ทำความสงบใจเข้ามานะ ครูบาอาจารย์ในวงกรรมฐาน ครูบาอาจารย์ของเรา เพราะฝึกกันมา เราทำข้อวัตรปฏิบัติกัน เราถืออาวุโส ภนฺเต เพื่อเคารพบูชากันด้วยธรรมวินัย ในเมื่อมีธรรมวินัย ธรรมวินัยเป็นอะไร มันเป็นศีลไหม นี่เป็นธรรมนะ เป็นศีล แล้วข้อวัตรล่ะ

ข้อวัตรนี้มันเป็นการฝึกสติ ดูสิ เราเช็ดบาตร เราล้างบาตร เรามีสติไหม เราเช็ดบาตร เราล้างบาตร เราจะไม่คุยกัน เราจะตั้งสติของเราไว้ เวลาตักอาหารใส่บาตร เราตักอาหารใส่บาตร เรามีสติไหม เวลาก่อนฉันเราปฏิสังขาโย สิ่งนี้ปฏิสังขาโย ปัจจัย ๔ เครื่องอาศัย สิ่งนี้มันหล่อเลี้ยงร่างกาย แล้วเวลาเราจะฉัน เราจะมีสติไหม เราจะทอดสายตาลงต่ำไหม บิณฑบาตเป็นวัตร สายตาทอดไป ๓ ก้าว เราจะไม่ชะเวิกผ้า เราจะชะเวิกผ้าออกต่อเมื่อรับบาตร

นี่คืออะไร? นี่ข้อวัตร ข้อวัตรเพื่อฝึกสติ

แล้วเราเดินจงกรมกัน เราเดินจงกรมด้วยศีลสิกขา มันไม่เป็นไตรสิกขา มันเป็นศีลสิกขา ในเมื่อเป็นศีลสิกขา ความเห็นของเรา ความรู้ของเรา ความรู้ของเรามันเป็นความรู้เรื่องโลกๆ พอความรู้เรื่องโลกมันก็เป็นศีลสิกขา มันออกมาจากใจ ออกมาจากภพนะ

แล้วศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาเป็นปัญญาๆ รู้กัน

สัตว์มันก็รู้นะ สัตว์มันก็มีปัญญา ดูสิ เขาฝึกสัตว์พูด ดูนกมันพูดได้ มันพูดของมันได้ แต่มันไม่เข้าใจเนื้อหาสาระหรอก มันไม่เข้าใจความหมายหรอก มันพูดของมัน คือพูดแล้วคนให้รางวัล คนพอใจ ทำประจบเจ้านาย ประจบเพื่อเอาอกเอาใจกัน

นี่ก็เหมือนกัน ความคิดของเรา ความคิดของใคร? ความคิดของโลกียะ ความคิดของภพ ความคิดของมนุษย์ มันปัญญาความคิดอย่างนี้มันปัญญาของใคร มันคนละมิตินะ ปัญญามันมีปัญญาตั้งหลายระดับ ปัญญาอย่างนี้ปัญญาเพื่อมีสติ ปัญญาในระดับของศีลเท่านั้นน่ะ ศีลธรรม จริยธรรม มันไม่ใช่โลกุตตรปัญญา มันไม่ใช่ปัญญาแก้กิเลส

ครูบาอาจารย์ของเรา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทอดธุระว่า “จะสอนได้อย่างไร” บอกเขาเขาก็เข้าใจประสาของเขา ยิ่งบอกเขาว่าให้ชำระกิเลส บอกให้เอาชนะตนเอง เขาจะว่าเราบ้านะ

นี้ในทางโลก ดูสัตว์สังคม เขาจะบอกเลยว่า ผู้ที่เสียสละอย่างพวกเรา ผู้ที่เห็นประโยชน์ของการทำบุญกุศล เราเสียสละออกไป ทำไมต้องไปให้พระ คนที่นอกรีตนอกรอย พระก็มีมือมีเท้าเหมือนกัน พระก็ต้องทำมาหากินสิ ทำไมพระต้องมาบิณฑบาต ทำไมพระไม่ไถนาเอง

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็โดนพราหมณ์ต่อว่า ในพระไตรปิฎก องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกเลยนะ “เราไถอยู่ตลอดเวลา ปัญญาเป็นแอกและไถ สติเป็นผาลและปฏัก”

การไถ ไถไปที่ไหน? ไถไปที่หัวใจ ขุดคุ้ยมัน ทำงานอยู่ทั้งวันๆ สิ่งที่ขุดคุ้ยไปทั้งวันๆ แล้วออกมาบิณฑบาตเป็นวัตร เลี้ยงชีพด้วยปลีแข้ง

ได้เห็นสมณะ เราได้เห็นสมณะเป็นมงคลอย่างยิ่ง แล้วสมณะ สมณะที่มีบุญกุศล

สมณะที่ ๑ พระโสดาบัน

สมณะที่ ๒ พระสกิทาคามี

สมณะที่ ๓ พระอนาคามี

สมณะที่ ๔ พระอรหันต์

สมณะมันมีความสงบลึกซึ้งต่างกัน เราได้บุญกุศล เราได้พบสมณะ สมณะมาบิณฑบาตต่อบ้านเรา ครูบาอาจารย์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านรู้สัจธรรม รู้ครอบจักรวาล วางธรรมวินัยไว้เพื่อประโยชน์กับสังคม แต่เราเข้าไม่ถึงศาสนา

ทำไมพระต้องมาบิณฑบาต ทำไมพระไม่ไถนาหาเลี้ยงชีพด้วยตัวเอง?

เลี้ยงแล้ว เลี้ยงในศีลธรรมจริยธรรม ในศาสนาพุทธของเรา “เลี้ยงชีพด้วยปลีแข้ง” เลี้ยงชีพด้วยปลีแข้งนะ ไม่ใช่ขอทาน ไม่ใช่วณิพก ไม่ออกเสียง วณิพกเขาออกเสียงของเขา เขาถึงได้สิ่งตอบแทนมา ขอทานเป็นการขอ

นี่ไม่ได้ขอ “เลี้ยงชีพด้วยปลีแข้ง” เพราะเลี้ยงชีพด้วยปลีแข้ง เพราะบิณฑบาตไป คำว่า “บิณฑบาต” บิณฑบาตเอาใคร? เอาข้าวเหรอ บิณฑบาตเลี้ยงชีวิต ได้ข้าวมาก็เพื่อดำรงชีวิตแล้ว บิณฑบาตเอาคน บิณฑบาตเอาหัวใจของเขา เขาเห็นพระบิณฑบาต

ดูสิ ดูพระสารีบุตร เห็นพระอัสสชิบิณฑบาตมา “พระอัสสชิทำไมมีความสงบเสงี่ยม ท่านมีสติสัมปชัญญะ มันน่าเลื่อมใส” ตามไปนะ ตามพระอัสสชิไปตลอด พระอัสสชิบิณฑบาตได้แล้ว ไปถึงที่โล่ง ที่พอจะทำภัตรกิจได้ ทำภัตรกิจเสร็จแล้วพระสารีบุตรเข้าไปกราบ ขอฟังธรรม พอฟังธรรมนะ

“เราเป็นผู้บวชใหม่นะ เราจะพูดให้พิสดารไม่ได้หรอก”

“ไม่ต้องพูดพิสดารหรอก ให้พูดธรรมะออกมา ความคิดพิสดารมันเป็นหน้าที่ของผู้ฟังเอง”

พระอัสสชิบอกเลย “เย ธมฺมา ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ดับที่เหตุนั้น ดับที่เหตุนั้น ดับที่เหตุนั้น” พระสารีบุตรเป็นพระโสดาบันขึ้นมาเลย ไปบอกพระโมคคัลลานะ พระโมคคัลลานะเป็นพระโสดาบันขึ้นมาเหมือนกัน

นี่ไง ดูคุณประโยชน์ของการบิณฑบาตสิ คุณประโยชน์ของผู้ที่มีคุณธรรมในหัวใจ มันทำหล่อหลอมสังคม หล่อหลอมมวลชน หล่อหลอมพระพุทธศาสนาให้มั่นคงขึ้นมา

แต่คนที่มันเข้าไม่ถึงมันก็ติเตียน “ทำไมเป็นอย่างนั้น ทำไมเป็นอย่างนั้น” แล้วก็ปัญญาอย่างนี้มาศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วก็รู้นะ “ธรรมะเป็นอย่างนั้น ธรรมะเป็นอย่างนั้น”

มันเป็นศีลสิกขาถ้าไม่ทำความสงบของใจเข้ามา จะทำความสงบของใจเข้ามา จะทำความสงบอย่างไร นี่ครอบครัวกรรมฐาน ครูบาอาจารย์ของเราสอนให้ทำความสงบ ให้มีคำบริกรรม ให้กำหนดพุทโธ ให้ปัญญาอบรมสมาธิ สิ่งนี้เป็นสมาธิขึ้นมา ให้เป็นสมาธิสิกขา สมาธิสิกขา เห็นไหม ศีลสิกขา สมาธิสิกขา แล้วมันจะเกิดปัญญาสิกขา สิ่งนี้มันเป็น “ไตรสิกขา”

ในหลักของศาสนาเรา “ไตรสิกขา” มันเข้ากับอริยสัจ เข้ากับมรรค ๘ มรรค ๘ แยกออกมามันก็เป็นศีล สมาธิ ปัญญา แต่มรรคมันมีหยาบ มีกลาง มีละเอียด มรรคมีชั้นมีตอนเข้าไป มรรค ๔ ผล ๔ สิ่งที่ละเอียดๆ ลึกซึ้งเข้าไป นี้ละเอียดลึกซึ้งเข้าไป เราก็ว่าเป็นมรรคๆ นี่มรรคของใคร

ดูสัตว์มันทำความดีเหมือนกันนะ สัตว์มันทำความดี มันทำความดีของมันได้ เราจะไปดูถูกไม่ได้หรอก สิ่งที่เป็นสัตว์ ดูสิ สุนัข เห็นไหม พระปัจเจกพุทธเจ้าสมัยพุทธกาล นิมนต์ฉัน ๓ เดือน แล้วถึงเวลาให้หมาตัวนี้ไปรับ ทีนี้หมามันไป มันผูกพัน พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ฉลาดด้วย ว่าจะให้บุญกุศลหมาเยอะ ทำเดินออกนอกทาง มันก็ไปคาบจีวรนั้นกลับมานะ

“ไม่ใช่ๆ ต้องไปทางนี้”

ไปฉันพอครบ ๓ เดือนแล้วประเพณีของพระอริยเจ้าเวลาออกพรรษาแล้วจะออกธุดงค์ ออกวิเวก พอออกวิเวกก็ลา สุนัขตัวนั้น มันด้วยความผูกพัน มันหอนจนขาดใจตาย ไปเกิดเป็นเทวดา โฆสกะ ท้าวโฆสกะที่มีเสียงเพราะที่สุด เราก็ทับศัพท์มาเป็นโฆษกๆ ท้าวโฆสกะเป็นเทวดาที่เสียงเพราะมาก เพราะเห่าหอนเพื่อไปนิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้ามาฉันข้าว นี่สัตว์มันก็ทำความดีได้ ความดีของสัตว์ ความดีของเขาก็หมุนไปในวัฏฏะ

แล้วเราเป็นมนุษย์ เราพบพระพุทธศาสนา ความดีของเราเอาแค่นั้นเหรอ ความดีของเราจะเอาแค่นี้ใช่ไหม ความดีของเราถ้าเราจะเอาความจริงขึ้นมา มันต้องพิสูจน์กันสิ ความดีของเรา สัตว์มันยังทำความดีได้เลย แต่นี่เราเข้าใจว่าเป็นความดีนะ คิดว่าเป็นปัญญาของเรา ศึกษาธรรมๆ ธรรมะเป็นปัญญา ศาสนาพุทธเป็นปัญญา เราใช้ปัญญาของเราแล้ว

ปัญญาอย่างนี้มันแก้กิเลสได้ไหม ปัญญาถ้ามันแก้กิเลสทำไมมันเกิดทิฏฐิมานะ ทำไมไม่ศึกษา ไม่ค้นคว้า ไม่ทดสอบใจของตัวว่ามันเป็นมรรคไหม มันชำระกิเลสได้ไหม แล้วเวลาศึกษาไปแล้วว่ากึ่งพุทธกาลแล้วมรรคผลไม่มี มรรคผลไม่มีน่ะ

กึ่งพุทธกาล “อกาลิโก” ไม่มีกาลไม่มีเวลา

เวลาพระอานนท์ถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปรินิพพาน “ในศาสนานี้มีผู้หญิงเข้ามาเกี่ยวข้องมาก จะทำอย่างไร”

“ถ้าเขามาเกี่ยวข้องมาก ก็อย่าได้ดู อย่าได้เห็นเลย เป็นสิ่งที่ดี”

“ถ้าต้องดูต้องเห็นล่ะ พระเจ้าค่ะ”

ความจำเป็นมันต้องเห็น เพราะพุทธบริษัท ๔ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา อุบาสก อุบาสิกามันต้องมีกัน เพราะอะไร เพราะมันเกี่ยวเนื่องกัน

“ถ้าจะดูจะเห็นต้องตั้งสติไว้ ตั้งสติไว้ อย่าไปตามอารมณ์ความรู้สึก ตั้งสติไว้”

“แล้วศาสนาต่อไปเมื่อไรมันจะหมดกาลหมดเวลา หมดมรรค ผล นิพพาน”

“อานนท์ เราบอกเธอแล้วไม่ใช่หรือ ธรรมและวินัยจะเป็นศาสดาของเธอ ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม โลกนี้จะไม่ว่างจากพระอรหันต์เลย”

นี่เป็นคำพูดขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ “ถ้าผู้ใดปฏิบัติธรรมสวมควรแก่ธรรม โลกนี้จะไม่ว่างจากพระอรหันต์เลย”

ถ้ากาลเวลาแล้วกึ่งพุทธกาลแล้วไม่มีพระอรหันต์ ในเมื่อกึ่งเวลามันเป็นไปจริง ๕,๐๐๐ ปีหมดมรรคผล แล้วพระศรีอริยเมตไตรยจะมาตรัสรู้ข้างหน้า ในเมื่อเวลามันเป็นแล้วมันก็ต้องหมดไปสิ อนาคตวงศ์อีก ๑๐ องค์นะ พระพุทธเจ้าจะมาตรัสรู้ต่อไปเรื่อยๆ นะ

เพียงแต่ว่ามันเป็นยุคสังคม มันเป็นยุคของโลก ยุคของโลกคนเรามันเสื่อมเรื่อยๆ คนเราถึงเวลามันเสื่อม เวลายุคของเราเกิด คนเกิดคนตายในวัฏฏะมันเวียนเกิดเวียนตาย ยุคเสื่อม ใครมันเสื่อม ศาสนามันเสื่อม

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา ธรรมนี้มีอยู่โดยดั้งเดิม ของมันมีอยู่ก่อนแล้ว ที่ตรัสรู้มาก่อน ๓ พระองค์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นองค์ที่ ๔ พระพุทธเจ้าตรัสมาแล้วกี่พระองค์ แล้วพระศรีอริยเมตไตรยจะมาตรัสรู้ข้างหน้า

แล้วบอกว่า “กึ่งพุทธกาลแล้วมรรคผลจะไม่มี”

มันจะไม่มีไปได้อย่างไร มันอกาลิโก ในเมื่อมันมีทุกข์นะ ในเมื่อมันเหตุมันจะไม่มีผลได้อย่างไร ในเมื่อมีทุกข์ ทุกข์มันดับได้ ดับได้ด้วยอะไร ศาสนาพุทธเป็นศาสนาให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์แล้วทุกข์มันจะดับได้อย่างไร

ทีนี้ มันดับได้ เวลาประพฤติปฏิบัติก็ว่าศาสนาแห่งปัญญา ก็ใช้ปัญญาในมิติของปุถุชน ปุถุชน-กัลยาณปุถุชนนะ จิตที่มันสงบเข้ามามันจะเป็นกัลยาณปุถุชน กัลยาณปุถุชนเป็นผู้สมควรเดินโสดาปัตติมรรค สิ่งที่เป็นมรรคเป็นผลขึ้นมา ปุถุชน-กัลปยาณปุถุชนมันต่างกันตรงไหน

ปุถุชนคนหนาด้วยกิเลส สิ่งที่หนาด้วยกิเลส สิ่งใดมันกระทบใจมันไปหมดเลย ไม่ต้องกระทบมันก็หาเรื่องมาใส่ตัวมันเองอยู่แล้ว จิตมันจะหาเรื่องใส่ตัวมันเองตลอด ศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามายังบอกว่าพระพุทธเจ้าฉลาดไม่เท่าเรา เราฉลาดกว่าพระพุทธเจ้าอีก

ดูสิ ดูกิเลสมันสิ ไปศึกษาธรรมไป พระพุทธเจ้าพูดผิด เราพูดถูก มันไปขนาดนั้นนะ

“พุทธวิสัย” ปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสุดยอดมาก แล้วถ้าสุดยอดขนาดไหน พระไตรปิฎก ไตรสิกขานี่วางไว้ ถ้าเราทำได้จริง สิ้นกิเลสแน่นอน เราทำได้จริงดับทุกข์ได้จริงๆ

ทีนี้มันดับทุกข์ไม่ได้ พอดับทุกข์ไม่ได้ สิ่งที่ไปประพฤติปฏิบัติ ปฏิบัติมาเพื่ออะไร?

ว่างๆ ว่างๆ มันปฏิบัติมามันเป็นสมาธิสิกขาหรือยัง เป็นศีลสิกขา สมาธิสิกขา มันศึกษาสมาธิ ศึกษาความสงบได้ความเป็นจริงหรือยัง ถ้าได้ตามความเป็นจริงจะพูดอย่างนี้ได้อย่างไร สิ่งนี้มันว่าง มันว่างเพราะเหตุใด ทำอย่างไรมันถึงจะว่าง ใจเรามันจะว่าง มันว่างเพราะอะไร เห็นไหม พื้นฐานมันมีจากไหน

พระป่าเรา พระกรรมฐานเรา เวลาเข้าป่าเข้าเขาไป ถ้ามีอาบัติ เราจะปลงอาบัติของเราตลอด สิ่งที่ไปด้วยกัน ถ้าไม่ไปด้วยกัน สมมุติเราไปป่าองค์เดียว เราเดินไปมันไปเตะหรือไม่มีสติ ไปทำถึงพรากของเขียว ของเขียวขาดเห็นต่อหน้ามันรู้ พอมันรู้ขึ้นมา เห็นไหม เราตั้งใจว่าถ้าเราเจอพระองค์ใดมาแล้วแต่ เราจะปลงอาบัติทันที เราเจอพระองค์ใด ถ้าเราออกเดินไปข้างหน้า หรือไปที่ไหน เจอพระที่ไหน เราจะปลงอาบัติเดี๋ยวนั้น นี่มันทำให้ความวิตกกังวลหยุดได้

มันจะมีของมันนะ สิ่งที่ว่าถ้าเรามีอะไรขุ่นใจอยู่ มันจะทำให้ความสงบมันเป็นไปไม่ได้หรอก เวลาเราธุดงค์ไป ธุดงค์ไปมันจะมีประสบการณ์มาก ธุดงค์ไป ธรรมวินัย “ภิกษุต้องขอนิสัย ถ้าไม่ได้ ๕ พรรษาขึ้นไป ยังไม่เข้าใจในธรรมวินัย ไปอยู่องค์เดียวไม่ได้”

ถ้าได้ออกประพฤติปฏิบัติ เวลาออกประพฤติปฏิบัติ บวชแล้วเราออกประพฤติปฏิบัติ เรามีการเดินทาง บางทีมันต้องไปคนเดียว แล้วถ้าประพฤติปฏิบัติ “ที่ใด ถ้าเธอไปอยู่ในที่ในใดแล้วทำปฏิบัติทำสมาธิได้ดี ปัญญาเกิดขึ้นได้ดี ให้อยู่ที่นั่น ถ้าไม่มีภิกษุที่ให้นิสัยได้ ให้กำหนดไว้ในใจ ถ้ามีภิกษุผ่านมา เราจะขอนิสัยทันที” ธรรมวินัย นี่ศีลสิกขา

แต่ในการปฏิบัติมันมีข้อยกเว้นนะ ยกเว้น เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในธรรมวินัย บางทีท่านจะหลีกวิเวก ในพรรษา ๓ เดือนนี้ห้ามพระภิกษุเข้าพบ ถ้าใครเข้าพบ พระพุทธเจ้าเหมือนกับกษัตริย์ กษัตริย์นี่คำพูดเป็นกฎหมาย พระพุทธเจ้าพูดคำพูดเป็นวินัยเลย พูดปั๊บใครฝืนเป็นอาบัติปาจิตตีย์ทันที

พอสั่งปั๊บ ห้ามพระเข้าพบ เว้นไว้แต่พระที่ปฏิบัติ เว้นไว้แต่พระที่ปฏิบัติเพราะอะไร เพราะพระที่ปฏิบัติขึ้นมาเวลามันติดข้องขึ้นมามันต้องคนแก้เดี๋ยวนั้น เว้นไว้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเว้นไว้ตลอด ห้ามภิกษุเข้าพบ เว้นไว้แต่คนที่ปฏิบัติ เว้นไว้แต่พระที่ปฏิบัติที่มีปัญหาให้เข้าพบเราได้

ดูสิ ดูน้ำใจสิ ดูผู้ที่ปฏิบัติมันจะเห็นโอกาสของการปฏิบัติ มันจะมีปัญหาตลอดนะ ปัญหาคือว่าเวลาเราเข้าไป กิเลสมันจะต่อต้าน สิ่งต่างๆ ที่มันเกิดขึ้นมามันจะโต้แย้งตลอดเวลา แล้วเราจะเอาใครเป็นที่พึ่ง ในเมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ใช่ไหม เราก็มีเป็นที่พึ่ง แต่ในปัจจุบันองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว เราก็เอาธรรมวินัยเป็นที่พึ่ง

ทีนี้ธรรมวินัยเป็นที่พึ่ง แล้วปัญญาสิกขา ปัญญาของเราปัญญาในระดับของศีลสิกขา มันก็อ่าน ต้องเป็นอย่างนั้น ต้องเป็นอย่างนั้น ต้องเป็นอย่างนั้น ต้องให้ได้ ๕ พรรษาก่อน ถ้าไม่ได้ ๕ พรรษายังไม่พ้นนิสัยห้ามอออกธุดงค์ แล้วพอ ๕ พรรษาแล้วก็ไฟมอดหมดเลย

ขนาดในธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ ในบุพพสิกขา ไปเปิดดูได้ ถ้าเธอไปอยู่ที่ไหน ถ้าเธอประพฤติปฏิบัติแล้วทำสมาธิสิกขา ปัญญาสิกขาได้ดี ให้อยู่ที่นั่นแล้วให้ตั้งใจว่าถ้ามีภิกษุมา มีผู้ที่ให้นิสัยได้คือ ๕ พรรษาขึ้น แต่ถ้ามีพรรษาไล่เลี่ยกันมาก็ให้นิสัยกันไม่ได้ ถ้าคนนิสัยให้นิสัยเราได้มาเราจะขอนิสัย

การขอนิสัยก็เหมือนว่ามีผู้ที่ดูแลพระไม่ให้เสีย มีผู้ดูแล แต่เดิมอยู่กับอุปัชฌาย์ บวชแล้วต้องอยู่กับอุปัชฌาย์ ทีนี้พออุปัชฌาย์ตาย พระแตกกระสานซ่านเซ็น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกให้อยู่กับอุปัชฌาย์ หรืออาจารย์ขอนิสัยได้ ให้ขอนิสัยเพราะมันต้องศาสนทายาทขึ้นมาใช่ไหม

สิ่งที่สร้างขึ้นมา สิ่งที่เป็นธรรมวินัย ถ้าปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มันจะได้ประโยชน์มาก ทีนี้ถ้าจิตเราสงบเข้ามา เราเห็นคุณค่าไหม ดูสิ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังอนุญาตเลย

“ถ้ายังไม่พ้นนิสัย ถ้าไปอยู่ที่ไหนแล้วไปประพฤติปฏิบัติ สมาธิสิกขา ปัญญาสิกขา เกิดขึ้นมาดี ปฏิบัติดี ให้อยู่ที่นั่นให้ประพฤติปฏิบัติเถิด”

ไม่ใช่บอกว่ามันจะเป็นอาบัติ เป็นอาบัติต่อเมื่อมีพระผู้ใหญ่อยู่ พอพระผู้ใหญ่อยู่ สังคมของสงฆ์ใช่ไหม สังคมทุกสังคมต้องมีกติกาใช่ไหม สังคมของสงฆ์ถ้ามีพระผู้ใหญ่อยู่ พระผู้ใหญ่ที่เราเข้าไปอาศัยท่านอยู่ เราเข้าไปอาศัยอท่านแล้ว ตรงจริตเราไหม ถ้าตรงจริต “ล่วงราตรีที่ ๗ ไม่ขอนิสัยเป็นอาบัติเป็นปาจิตตีย์” นี่เป็นธรรมวินัยนะ

แต่ถ้าครูบาอาจารย์ท่านมีความเห็นต่างๆ ที่ท่านสอน ถ้าท่านไม่ขอนิสัยท่านก็ไม่บอกไม่กล่าว มันเป็นความรู้สึก มันเป็นคุณธรรมของเรานะ สิ่งนี้ศีลสิกขา สมาธิสิกขา สมาธิสิกขามันจะมีความลุ่มลึก มันจะเห็นนะ เพราะอะไร เพราะเราทำสมาธิ เราทำความสงบของใจ เราจะรักษาใจของเราเพื่อให้เกิดปัญญา

“ศีล สมาธิ ปัญญา” ถ้ามันเกิดโลกุตตรปัญญา ปัญญาสิกขาที่จะเกิดขึ้นมา ปัญญาสิกขามันจะแก้ชำระกิเลส มันจะถอดถอน ถ้ามันถอดถอน ดูสิ กิเลสมันปักเสียบอยู่ในหัวใจ เราจะมีความทุกข์มาก เวลาเราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในระดับศีลสิกขา ว่าใช้ปัญญาๆ มันเข้าไปซาบซึ้งนะ ธรรมะที่อ่าน ธรรมะที่ศึกษามันจะซาบซึ้งอยู่ แต่มันไม่ถอดถอน มันไม่ถอนกิเลสหรอก ไม่ถอนอุปาทานหรอก

เหมือนกับเรารักษาตัวเรา รักษาตามอาการ ไม่ได้รักษาอาการไข้ ไม่ได้ถอดถอนไข้นั้นออกมา ไม่ได้รักษาเรื่องของสมุฏฐานของมัน แต่ถ้ามันเกิดสมาธิขั้นมา เพราะกิเลสมันเกิดที่ใจ กิเลสมันเกิดที่ใจนะ สิ่งที่เกิดที่ใจแล้วใจมันอยู่ไหนล่ะ ถ้ามันเกิดสมาธิสิกขาขึ้นมา มันเริ่มตั้งแต่ความสงบเล็กน้อย ความสงบมากเข้าไป ความสงบที่มันตั้งตัวได้ ความสงบอย่างนี้ แล้วความสงบ พอมันสงบขึ้นมา ความสงบมันก็ต้องใช้ปัญญา

ในปัญญานะ ปัญญาในศีลสิกขามันเป็นปัญญาของปุถุชน ถ้าเราทำความสงบของใจเข้ามา พอใจเราเริ่มสงบ มันสงบเข้ามามันเห็นโทษนะ ทำไมมันสงบ ทำไมมันถึงฟุ้งซ่าน? สิ่งที่มันฟุ้งซ่าน สิ่งที่มันไม่สงบ มันเป็นเวรเป็นกรรมอันหนึ่ง บางทีเวรกรรมของคนทำอย่างไรเวรกรรมมันโต้แย้ง มันขัดแย้งอยู่

แต่ถ้ามันเป็นความผิดพลาด ความผิดพลาดของเรา เราหาเหตุผลสิว่าทำไมมันถึงไม่สงบ ทำไมมันถึงเป็นอย่างนั้น ถ้ามันเห็นเหตุผล หาเหตุหาผลเข้าไป มันเริ่มตั้งแต่ให้ศีลบริสุทธิ์ ความกังวลของใจมันมีข้อใดให้ปลงอาบัติ สิ่งที่ปลงอาบัตินะ แต่ถ้าเป็นโลก เราต้องผ่อนอาหาร คำว่า “ผ่อนอาหาร” การมีสติปัญญาขึ้นมา มันไล่ต้อนกิเลสเข้าไป

กิเลสเรามันหยาบๆ มันดิบๆ นะ อย่างที่เราศึกษากัน ปัญญาๆ นี่มันไม่มีการโต้แย้ง มันไม่มีการชำระล้าง มันเป็นการลูบคลำ ศีลสิกขามันเป็นการลูบคลำ เป็นการก็อปปี้มา ดูสิ เราอ่านหนังสือออก แต่เราไม่เข้าใจความหมายอย่างนั้นเพราะเรายังไม่ได้ลิ้มรสของความสงบ

เรานะ “สุขใดเท่ากับจิตสงบไม่มี” พอจิตมันสงบเข้ามา มันจะสงบ พอสงบก็อยากได้ อยากได้มันก็มีความต่อต้าน มันก็ความโต้แย้งในใจ เราโต้แย้งในใจ สิ่งใดมันโต้แย้งมัน แล้วเราไล่ไป พุทโธๆ ถ้าจิตมันสงบขึ้นมา แล้วทำไมมันพุทโธไม่ได้ล่ะ นี่ไง ทำไมจิตมันเป็นอย่างนี้ ทำไมมันมีปัญหาอย่างนี้ นี่มันก็จะไปหามีสติ มีปัญญาไล่ต้อนเข้ามา

ในความสงบของใจ ถ้าจิตมันสงบเข้าไป มันมีความชำนาญเข้าไป ชำนาญเข้าไป กำหนดพุทโธเข้าไปพร้อมสติตามเข้าไป สติพุทโธย้ำเข้าไป ย้ำอยู่ตรงนั้นล่ะ มันต้องสงบได้ เพราะถ้าเราบริกรรมพุทโธ ใครเป็นคนบริกรรม? จิตเป็นคนบริกรรม สติเหนี่ยวรั้งไว้ไม่ให้มันออก ถ้ามันออกขึ้นไป มันออกเพราะอะไร เพราะแรงขับของอะไร? แรงขับของกิเลสทั้งนั้น

แล้วมันเห็นโทษของมันนะ เพราะมันอยากคิด อยากรู้ อยากเห็นเพราะอะไร เพราะจิตมันหิวโหยไง เพราะธรรมชาติของมัน ธรรมชาติพลังงานเหมือนกาว มันโดนอะไรมันก็ติดหมด จิตก็เหมือนกัน มันหิว มันโหย สิ่งใดผ่านมามันก็คิด มันก็พอใจ แต่เวลาพุทโธมันไม่กินล่ะ ทำไมพุทโธมันไม่บริกรรมล่ะ

พุทโธมันเป็นธรรมะ เป็นกรรมฐาน ศรัทธาจริต มันเป็นกรรมฐานที่เรากำหนดพุทโธๆๆ มันไม่เอา ไม่เอาเพราะอะไร เพราะกิเลสมันกลัวธรรม มันกลัวสิ่งนี้ มันกลัวไปทำลายมัน มันกลัวไปทำลายมัน มันซ่อนเร้น มันหลีกเร้น มันมีความโต้แย้งตลอด เราต้องตั้งสติ แล้วเอาให้ได้ ถ้าเป็นศรัทธาจริต

ถ้าเป็นพุทธจริต มันไม่ได้ เราก็ใช้ปัญญาไล่ต้อน ไล่ต้อนเข้าไป เห็นไหม มันติดในอะไร มันติดในอยากรู้ อยากเห็น อยากคิดนี่แหละ อยากไปหมด ความอยากอันนั้นมันมาจากไหน มันขับดัน นี่ปุถุชน

ถ้าเร้าเห็นโทษของมัน เห็นโทษของมัน ปัญญาไล่ต้อนเข้าไปบ่อยครั้งเข้า มันเห็นโทษ “รูป รส กลิ่น เสียงเป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร” เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร เราไม่เข้าใจเลย เราไม่เห็นอะไรเลย เพราะสิ่งที่พูด เหมือนเราเห็นเป็นวัตถุ เป็นวิทยาศาสตร์ทุกอย่างเราพิสูจน์ได้ แต่พอเป็นความรู้สึกเราล่ะ เป็นจิต มันเป็นอันเดียวกัน มันเป็นเรา เราชอบ เราพอใจ เราอยากได้ ก็เราทั้งนั้นน่ะ มันเลยไม่เห็นโทษไง แต่เวลามันไม่สงบ มันฟุ้งซ่านใครเป็นคนทำเราล่ะ

ถ้าเราเห็นโทษอย่างนี้ปั๊บ ในระดับของศีลสิกขา เราจะเข้มงวดขึ้นมาได้ ถ้าเข้มงวดศีลสิกขาขึ้นมา ตัวนั้นมันเป็นตัวพื้นฐาน ศีลสิกขาเราต้องเริ่มรัดเข้าไป

สิ่งที่มันเป็นสัลเลขธรรม ความมักน้อย ความสันโดษ พูดถึงความสงบของใจ สิ่งนี้สัลเลขธรรม ธรรมของผู้ที่จะพ้นจากทุกข์ ธรรมของผู้ที่จะพ้นจากทุกข์ พูดถึงนิพพาน คิดถึงนิพพาน คิดถึงความมักน้อย พูดถึงความสันโดษ พูดถึงความวิเวกต่างๆ มันจะย้อนกลับเข้ามาที่นี่ เพราะมันเห็นผลของความสงบของใจไง มันเป็นสมาธิสิกขา สมาธิสิกขาเราได้สัมผัสใช่ไหม สิ่งที่สัมผัสมันรู้จริงใช่ไหม สิ่งที่รู้จริงเห็นจริงมันมีสติ มันเอ๊อะ! เอ๊อะ! อย่างเดียวนะ มันเป็นความมหัศจรรย์นะ

ถ้าไม่เป็นความมหัศจรรย์ทำไมพระติดล่ะ ติดว่าสมาธินี้เป็นนิพพาน เพราะอะไร เพราะปัญญาของเราระดับขั้นของศีลสิกขา มันเป็นปัญญาในธรรมะของพระพุทธเจ้า มันไม่ใช่ปัญญาของเรา มันไม่ใช่ธรรมของเรา มันเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มรรคก็มรรค ๘ มรรคขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศีล สมาธิ ปัญญาของพระพุทธเจ้าทั้งหมด ศึกษาจากธรรมพระพุทธเจ้าทั้งหมด มันเป็นชื่อ มันเป็นเหมือนทฤษฎี แล้วเราไปศึกษา เพราะมีความรู้สึก มีใจของเราไปศึกษา มันก็ซาบซึ้ง มันซาบซึ้งธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

แต่กิเลสมันสงบตัวอยู่นะ มันหลบอยู่ในใจเรา แต่พอจิตสงบตัวเข้าไป ไปถึงตัวของมัน ถ้าถึงตัวของมัน เอ็งทำงานเป็นไหม ดูสิ เราเห็นเขาทำงานกัน เราเห็นเขาทำทุกอย่างประสบความสำเร็จ เราก็อยากประสบความสำเร็จกับเขา แล้วประสบความสำเร็จเรามีความชำนาญไหม เรารู้จักเหตุปัจจัยไหม ไม่มีปัจจัยขึ้นมามันจะประสบความสำเร็จได้อย่างไร

จิตสงบแล้วให้มันออกค้นหา ให้ออกค้นหากาย เวทนา จิต ธรรม การเห็นกายโดยจิตนะ กับการเห็นกาย เวทนา จิต ธรรมโดยจิต มันไม่ใช่เห็นกายโดยศีลสิกขา กาย เวทนา จิต ธรรม มันก็สร้างภาพ มันก็เห็นได้ นึกเอาก็เห็นได้

ความนึกเอา นึกเอามันเป็น ๒ เพราะนึกกับจิตมันไม่เหมือนกัน แต่ตัวจิตที่มันเป็นสมาธิมันเห็นสิ่งใดมันสะเทือนมัน เหมือนมือเราไม่ได้ใส่ถุงมือ มือเราไม่มีอะไรมาปิดบัง มือเราจับสิ่งใดเราจะรู้ว่าสิ่งนั้นมันจะร้อนมันจะเย็น มันจะสัมผัสได้เลย จิตถ้ามันถึงเวลาสงบขึ้นมา จิตที่มันเห็นเอง มันสัมผัสได้เลย สิ่งที่สัมผัส มันสัมผัสเข้าไป มันรู้ถึงการถอดถอนไหม เพราะอะไร

สิ่งที่สัมผัส ดูสิ เวลาเราเหยียบหนาม เหยียบหนามตำเท้าเรามา เราจะบ่งหนามออก มันจะเจ็บไหม เราบ่งหนามออกจากเท้าเรา ไม่บ่งมันก็เป็นหนอง ไม่บ่งมันก็ต้องเดินกะเผลกไปอย่างนั้น ขณะนี้กิเลสมันปักเสียบอยู่ในใจของเรา เราบ่งไม่ถูก เราบ่งไม่เป็น เราไปคิดเอาว่าหนามมันปักที่เท้า เราจะไปบ่งเอาที่เท้าคนอื่น เพราะอะไร เพราะถ้าบ่งที่เท้าเรามันเจ็บ ถ้าไปบ่งหนามจากเท้าคนอื่นเราไม่เจ็บ

จิตมันไม่เห็น มันก็ไปบ่งเท้าคนอื่น มันเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช่ไหม ถ้าเป็นธรรมของเรา จิตมันสงบ พอมันเห็นมันสะเทือนใจมาก เวลาจิตมันเห็นกาย เวทนา จิต ธรรมมันสะเทือนหัวใจมาก แล้วมันวิปัสสนาของมันไป พิจารณาไปมันแปรสภาพของมันไปตลอดนะ เพราะอะไร

เพราะมันเป็นสัจธรรม มันเป็นมรรคไง ดูในมรรคสิ ดำริชอบ งานชอบ เพียรชอบ ในมรรค มรรค ๔ ผล ๔ ถ้ามรรคมันเกิด มรรคญาณมันเกิด ธรรมจักรมันหมุน จักรมันจะเกิด นี่ธรรมจักร ถ้าใครไม่เห็นสัจธรรม ไม่เห็นจักรของปัญญามันเคลื่อนไป ถ้าจักรของปัญญามันเคลื่อนไป มันเป็นศีลสิกขา มันเป็นปัญญาของศีล ศีลคือภพ คือตัวใจ คือความคิดของเรา เราไม่ปัญญาเคลื่อน เราไม่เห็นสัจธรรมเคลื่อน เราไม่เห็นปัญญามันเคลื่อนหมุนไป เราไม่เห็นมรรคญาณ

มรรคญาณมันเคลื่อนเข้าไป ถ้ามันรวมตัวขึ้นมา มรรคสามัคคี ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕ มันขาดอย่างไร มันทำลายอย่างไร สิ่งที่เป็นปัญญาสิกขา มันเป็นมรรคญาณ มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ปัญญาอย่างนี้ต่างหากมันถึงว่าเป็น “ไตรสิกขา”

“ศีล สมาธิ ปัญญา” ปัญญาอย่างนี้เป็นปัญญาของเรานะ ปัญญาที่เราขุดค้นขึ้นมา ปัญญาที่เราสร้างขึ้นมา ปัญญาที่ว่าเราเป็นชาวพุทธ พุทธะมันมีพร้อมอยู่แล้ว หัวใจของเราเป็นพุทธะ แล้วหัวใจของเราโดนอวิชชามันครอบงำอยู่ แล้วสิ่งที่ครอบงำอยู่แล้วเราก็ศึกษาโดยความครอบงำของอวิชชา

แล้วก็ครอบงำว่า “สิ่งนี้เป็นปัญญาๆ” วางไว้ก่อนอย่าสุขเอาเผากิน อย่าเอาไม้ดิบๆ มาสีเพื่อจะให้มันเกิดไฟ เราต้องตากไม้ไว้ให้แห้งก่อนใช่ไหม

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเรามีศีล มีสมาธิขึ้นมา ธรรมเป็นสัจธรรมขึ้นมา ให้เป็นศีล สมาธิ ปัญญา เป็นไตรสิกขา เป็นสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนานะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นมา “จะสอนได้อย่างไร” มันท้อ ทดท้อใจเพราะปัญญาที่เกิดมันเป็นปัญญาไม่ใช่โลกียปัญญา มันเป็นปัญญา มันเป็นสัจธรรม เป็นปัญญาที่เกิดขึ้น

ดูสิ จิตสงบขึ้นมาก็เป็นสัจธรรมอันหนึ่ง “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต” จิตสงบขึ้นมา “ความสุขใดเท่ากับความสงบไม่มี” สงบมันก็มีความสุข แต่ความสุขอย่างนี้มันเป็นเงา มันเป็นเงาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรายังไม่เห็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยแท้จริง

ถ้าเห็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยแท้จริง พอจิตสงบเข้าไปแล้ว มันมีการกระทำ นี่ไง มันเป็นการกระทำนะ ดูสิ ธรรมวินัยมันมาจากไหน ธรรมวินัยเป็นศาสดาของเรานะ สัจธรรมเกิด เราได้สัมผัสธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่เราศึกษาด้วยปัญญา แต่คราวนี้สัมผัสธรรมด้วยหัวใจ ที่ใจมันเป็น ใจที่สัจธรรมมันเกิดขึ้นมา มันซาบซึ้งนะ

ถ้ามันไม่ซาบซึ้งนะ ดูสิ ถ้าเราไม่เห็นโทษของมัน เราจะไม่เห็นประโยชน์ที่เราชำระโทษนี้ได้อย่างไร เราเห็นโทษ เห็นประโยชน์ “โทษ” โทษคืออะไร? โทษคือเราเข้าใจผิด โทษคือสิ่งที่เราไม่รับรู้สิ่งต่างๆ เราเห็นโทษของมัน แต่ประโยชน์ล่ะ พอเราชำระโทษอันนี้ สิ่งที่ชำระโทษอย่างนี้เราต้องมีปัญญา มีสิ่งสัจจะความจริงขึ้นมาให้เห็นโทษของอันนี้ สิ่งที่เห็นโทษของอันนี้คือประโยชน์ใช่ไหม

ถ้าเราเห็นโทษของกิเลส เราจะมีความวิริยอุตสาหะนะ ดูครูบาอาจารย์เราที่ประพฤติปฏิบัติของจริง ท่านเดินจงกรมนั่งสมาธิภาวนาของท่าน ท่านเอาจริงเอาจังมากเพราะท่านเห็นผล นี่ไง เวลาครูบาอาจารย์ ดูในครอบครัวกรรมฐานเรา เวลาเทศน์ เทศน์ตั้งแต่ความสงบขึ้นไป เพราะเรื่องศีล เรื่องข้อวัตร พระป่าพระกรรมฐานฝึกกันไว้เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว สิ่งนี้มันเป็นพื้นฐานไม่ต้องพูดถึงมัน

ถ้าพูดถึงเราก็อธิบายเรื่องศีลนะ อ้าว! ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ อธิบายทีละข้อมันผิดอย่างนั้น มันเป็นอย่างนั้น เราทำไมต้องไปอนุบาล ทำไมต้องให้พื้นฐานของเราชาวพุทธที่มีอยู่แล้ว ทำไมเราไม่มีพื้นฐานกันเลยหรือ ทำไมเราไม่เตรียมตัวความพร้อมเลยหรือ ชาวพุทธทำไมเราทำไมประมาทเลินเล่อขนาดนั้น ทั้งชีวิตนี้ยังไม่เข้าใจถึงพื้นฐานควรทำอย่างไรเลยหรือ

ชาวพุทธมันก็ต้องรู้ใช่ไหมว่าศีล เราต้องรักษาศีลของเรา ข้อวัตรปฏิบัติเรารักษาของเรา แล้วเพื่อปรารถนาจะพ้นจากทุกข์ จะพ้นจากทุกข์แล้วเราปฏิบัติ ครูบาอาจารย์พูดถึงสมาธิขึ้นมา พูดตั้งแต่สมาธิสิกขา ความสงบของใจ ทำความสงบของใจ วิธีการทำใจสงบเพราะอะไร เพราะจิตมันสัมผัสแล้ว ถ้าคนไม่เคยทำความสงบ จิตมันสัมผัสกับอะไร จิตมันก็สัมผัสกับสัญญาอารมณ์ มันเป็นปัญญาสิกขาในขั้นของศีล

“ศีลวัตร” เดินจงกรมก็เดินจงกรมกัน นั่งสมาธิกันไป ทำเป็นพิธีกรรมกันไปเฉยๆ อย่างนั้น นี่มันเป็นศีลสิกขา มันเป็นข้อวัตร มันเป็นวิธีการแสดงออกของชาวพุทธวิธีการของชาวพุทธ วิธีการไม่ใช่เป้าหมาย

เป้าหมายของเราคือต้องสมาธิสิกขา ปัญญาสิกขา ที่มันจะเกิดไปข้างหน้านั่น สิ่งที่จะเกิดข้างหน้านั่น เราก็ต้องขวนขวาย ต้องประพฤติปฏิบัติของเราขึ้นไป ถ้าประพฤติปฏิบัติขึ้นไป เวลาจิตมันสงบ ความสงบเป็นอย่างนี้ จิตสงบพูดไม่ถูกเลย แต่พูดได้ แต่จะพูดให้เหมือนจริงนั้นไม่ได้

เพราะมันเป็นสิ่งที่ว่ามันลึกซึ้งต่างกัน จริตนิสัยของคน สมาธิของคนที่กว้างขวาง จิตคึกจิตคะนอง จิตคึกจิตคะนองพอเป็นสมาธิขึ้นมามันจะไปเห็นสิ่งที่แปลกประหลาดมหัศจรรย์ แล้วเราก็สงบเหมือนกันทำไมเราไม่เห็นล่ะ เราก็จะเรียกร้องเอาสิ่งนั้นเหรอ

ต้นทุนคนไม่เหมือนกันนะ จิตของคนที่เกิดตายมันไม่เท่ากันหรอก เกิดเป็นคนเหมือนกันแต่ไม่เหมือนกันด้วยวุฒิภาวะ ไม่เหมือนกันด้วยหัวใจ ไม่เหมือนกันด้วยปัญญา ไม่เหมือนกันด้วยเหตุผลที่มันจะย้อนกลับ

ถ้าคนมีปัญญานะมันมองสิ่งใดมันจะย้อนกลับมาถึงตัวเรา “ทำไมมันเป็นอย่างนั้น ทำไมเราเป็นอย่างนั้น” ถ้ามีเหตุมีผล ครูบาอาจารย์ท่านสอนบ่อยนะ ให้ตั้งปัญหาถามเรา เราปฏิบัติทำไม ปฏิบัติเพื่ออะไร ปฏิบัติแล้วทำได้ดีหรือไม่ดี ถ้าไม่ดีเพราะเหตุใด มันมีการแก้ไข มีการปรับปรุง คนเรามีการแก้ไข มีการปรับปรุง คนเรามันต้องมีการพัฒนาขึ้นไปทุกวัน

ดูสามเณรราหุลสิ เป็นพระอรหันต์นะ ๗ ขวบนะ สามเณรราหุล เป็นพระอรหันต์แล้ว วันหนึ่งตักทรายทุกวันเลย วันละฝ่ามือ วันนี้จะขอปัญญาให้ได้ดั่งเม็ดทรายในกำมือ ศึกษาตลอด ศึกษามาก ขนาดเป็นพระอรหันต์แล้วนะ ดูสิ สามเณรราหุลเป็นพระอรหันต์ตั้งแต่ ๗ ขวบ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าธุดงค์ไป เพราะพระต้องได้กุฏิก่อนใช่ไหม เณรทีหลัง ทีนี้พอกุฏิเต็ม เณรไปอยู่ไหน? อยู่ในส้วม

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถามพระสารีบุตร “สารีบุตร เธอรู้ไหมว่าสัทธิวิหาริกเธออยู่ที่ไหน” ถามพระสารีบุตรเพราะเวลาไป องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระภิกษุ ๕๐๐ พระสารีบุตรก็มีภิกษุ ๕๐๐

“แล้วเณรไปอยู่ที่ไหน”

“เณรไปอยู่ในส้วมเพราะไม่มีกุฏิอยู่”

ถึงเวลาพระสารีบุตรไม่รู้ ไปดูมา สิ่งนี้ไม่ถือเนื้อถือตัวเลย เป็นถึงราชโอรสนะ เป็นลูกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บวชเป็นเณรแล้วเป็นพระอรหันต์ขึ้นมา ยังศึกษา ยังเข้าใจ ยังอุปัฏฐากพระตลอดเวลา

นี่ไง ถ้าธรรมมันเป็นอย่างนี้ธรรมไม่มีทิฏฐิมานะนะ ถ้าเป็นธรรม เป็นธรรมหมายถึงความถูกต้อง แต่ถ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นความเห็นผิด ธรรมนี้ไม่เข้าด้วย ธรรมไม่เข้าด้วยเพราะอะไร เพราะมันขัดแย้ง ดูสิ พระอรหันต์ จิตที่เป็นพระอรหันต์ เวลามันกระเพื่อม รับรู้ มันกุศล-อกุศล มันขัดแย้ง ขัดแย้งกับความรู้สึก มันทำไม่ได้หรอก มันไม่ทำสิ่งที่เป็นอย่างนั้นไป แต่ไม่มีทิฏฐิมานะ

ดูสิ อุปัฏฐากพระด้วย พระปุถุชนก็อุปัฏฐากได้ ทุกอย่างก็ทำได้ทั้งนั้น เพราะเคารพในธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สามเณรศีล ๑๐ ถึงจะเป็นพระอรหันต์ก็ศีล ๑๐ แต่ถ้าเป็นภิกษุศีล ๒๒๗

สังฆกรรม เวลาสามเณรราหุลเป็นพระอรหันต์ เวลาบวชแล้วถึงเข้าอุโบสถ แต่ยังไม่ได้บวชเข้าอุโบสถไม่ได้ เพราะสามเณร นี่เพราะธรรมวินัยนี้เป็นสมมุติ สมมุติบัญญัติ สมมุติบัญญัติ ศีลสิกขา สมมุติบัญญัติให้เป็นกรอบให้เราประพฤติปฏิบัติ แต่เวลาปัญญาสิกขามันเกิดนะ มันเกิด อันนี้เป็นสมบัติเราทั้งนั้นนะ

ศีลสิกขามันเป็นข้อศีลธรรม ธรรมและวินัยที่ศาสดาที่บังคับให้เราทำตามนั้น แล้วถ้าเราทำตามนั้น ผลที่เกิดขึ้นมาจากใจของเรามันจะพัฒนาการของมันเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมา ให้เรารู้จริงเห็นจริง รู้จริงเห็นจริงมันตัดสินธรรมวินัยหรือเข้าใจธรรมวินัยทุกอย่างโดยที่ถูกต้องๆ เพียงแต่เป็นจริตนิสัยว่าจะทำได้อย่างนั้น ถูกทั้งหมดหรือไม่

ทำอย่างนั้นทั้งหมด ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำไมนอนสีหไสยาสน์ ครูบาอาจารย์ของเรานอนอย่างนั้นไหม สิ่งที่มันเป็นไปมันเป็นอำนาจวาสนาของแต่ละบุคคลนะ ถ้าปัญญามันเกิด สิ่งที่ปัญญามันเกิด มันจะเห็นนะว่าปัญญาที่ว่ามันเป็นระดับของสิ่งที่เป็นวิธีการ พระไตรปิฎกเป็นวิธีการที่จะเข้าไปหาเป้าหมาย

เป้าหมายคือการดับทุกข์ของพวกเรา เป้าหมายคือการดับทุกข์ของผู่ที่ประพฤติปฏิบัติ

ทีนี้ เป้าหมายที่ไปประพฤติปฏิบัติ มันเป็นสัจจะความจริง มันเป็นสัจจะความจริงตามธรรมแต่บุคคลต้องทำขึ้นมา สิ่งที่ทำขึ้นมา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าเป็นผู้ชี้ทาง จะรื้อสัตว์ขนสัตว์ รื้อสัตว์ขนสัตว์ที่ไหน เวลารื้อสัตว์ขนสัตว์ ผู้ที่มีความพร้อมของหัวใจ หัวใจมันเปิดกว้าง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเทศนาว่าการผู้ที่พร้อม ผู้ที่ยังไม่พร้อมนะให้ระดับของทาน

ถ้าผู้ที่ไม่พร้อมนะ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเทศนาว่าการ พูดตั้งอนุปุพพิกถาขึ้นมา ตั้งแต่ระดับทาน ให้การทำทาน ทำทานไปบนสวรรค์ ให้เนกขัมมะ เนกขัมมะ ให้ออกวิเวก พอออกวิเวก จิตมันสมควรแก่ธรรม แสดงอริยสัจเลย อริยสัจ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ทุกข์ดับ วิธีการดับทุกข์ วิธีการดับทุกข์ดับอย่างไร

แต่ถ้าใจมันไม่พร้อม ระดับของทาน เตรียมความพร้อมของใจ ถ้าเตรียมความพร้อมของใจ ใจมันจะพัฒนาการของใจมันขึ้นมา ถ้าใจมันไม่พร้อม พูดเหมือนกัน แต่ความหมายตีไปคนละเรื่อง มันเป็นเรื่องของศีลสิกขา เพราะเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่ธรรมของเรา

แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการ ถ้าจิตใจมันพร้อมมันเป็นขึ้นมาที่ใจ “ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นตถาคต” ถ้าใจมันเป็นขึ้นมานะ จะกราบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยหัวใจเต็มหัวใจเลย เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เราจะรู้สิ่งใดก็แล้วแต่นะ ทำไมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอตทัคคะ ๘๐ องค์ คนที่ตั้งเอตทัคคะ ๘๐ องค์ ๘๐ องค์นั้นรวมอยู่ในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมดเลย องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องเหนือกว่า เหนือกว่า เหนือกว่าทุกข์องค์ เหนือกว่าทุกองค์ สิ่งที่แตกแขนงไปมหาศาลเลย

สิ่งที่ในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสิ่งที่รู้มหาศาลขนาดนั้น แล้วจะสั่งสอนพวกเรา จะรื้อสัตว์ขนสัตว์พวกเรา แล้วสิ่งที่รู้สิ่งที่เอตทัคคะ ๘๐ องค์ ใครเป็นคนทำ? องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ทำให้ พระอรหันต์ ๘๐ องค์นั้นท่านมีปฏิภาณไหวพริบ มีธรรมความเป็นสาธารณะของท่าน ในหัวใจของท่านเป็นอย่างนั้น

ของเราเหมือนกัน ถ้าเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ถ้ามันจะเป็นแก้กิเลสขึ้นมามันก็ต้องเป็นความจริงของเราใช่ไหม มันต้องเป็นความจริงของเรา มันจะต้องเป็นปัญญาของเรา นี่ไง ขั้นของปัญญาสิกขาที่มันเกิด สิ่งที่มันเกิดมันเป็นเหนือโลก มันเป็นสัจธรรมนะ ธรรมและวินัย สิ่งที่เป็นธรรมขึ้นมา ธรรมที่มันเป็นเหตุและผล

“ไตรลักษณะ” โลกนี้ทุกอย่างมันเป็นอนิจจัง สิ่งที่เป็นสมาธิมันก็เป็นอนิจจัง ปัญญาก็เป็นอนิจจัง “สิ่งที่เป็นอนิจจังเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นเป็นอนัตตา” มันเป็นอนัตตาอย่างไร สิ่งที่มันเกิดขึ้นกับความสัมผัสของจิต จิตมันสงบเข้ามามันจะเห็นสภาวะแบบนั้น เวลาตั้งกายขึ้นมา พอจิตมันสงบเข้ามาเห็นกาย เห็นกายนี่ตั้งกายให้มันเป็นไปได้ แล้วพิจารณาไปมันแปรสภาพอย่างไร

ดูสิ กายอย่างหยาบ เวลามันทิ้งกายอย่างหยาบไปมันจะเป็นโสดาบัน กายอย่างกลางมันจะแยกออก มันจะราบเป็นหน้ากลอง มันจะเป็นสกิทาคามี แล้วมันเป็นอนาคามี ถ้าเป็นอสุภะ เป็นอสุภะอย่างไร ใครมันเป็นอสุภะ สิ่งที่เห็นอสุภะ มันจะเป็นอสุภะที่ไหน? มันเห็นอสุภะเพราะจิตมันเห็น ตัวจิตมันเห็นอสุภะ เราไปดูซากศพสิ ซากศพทั่วๆ ไป สิ่งที่มันเน่า มันอยู่ข้างนอก มันเห็นแล้วมันก็สะเทือนใจ ความสะเทือนใจอย่างนี้มันขย้อน โลก ดูสิ เวลามันสะเทือนใจของมัน มันเป็นเรื่องโลกไง มันขย้อน

แต่ถ้ามันเป็นจริงนะ มันเป็นจริงมันถอนที่กิเลส มันถอนที่หัวใจเรา แล้วมันจะกลืนตัวเข้ามา มันรวมลงขนาดไหนมันเป็นสัจจะ มันเป็นความจริง พิจารณาไปมันปล่อย มันปล่อย มันปล่อยที่ไหน? มันปล่อยที่ใจนะ พอใจมันปล่อยปั๊บ ว่างหมด ว่างหมด เห็นปั๊บมันเข้ามา มันสะเทือนหัวใจ มันไม่ใช่ขยะแขยงนะ ความขยะแขยงมันเป็นสามัญสำนึก

แต่ถ้ามันเห็นจริงมันพรึ่บ มันเห็นสิ่งที่เหนือการคาดหมายเราทั้งหมด พอจิตมันเห็นมันปล่อย มันเห็นแล้วมันแปรสภาพ เหมือนของอยู่กับมือแล้วมันหายไปกับมือเรา ของอยู่บนมือ แก้ว แหวน เงิน ทองอยู่บนมือเรา แล้วเราพิจารณาไปมันหายไปหมดเลย มันปล่อยหมดเลย มันปล่อยหมดเลย

ดูสิ เวลาพิจารณาไป พิจารณาไป สิ่งต่างๆ มันเหลืออะไร ให้ดินมากลบ มันจะกลบพั้บ เป็นน้ำ เป็นดิน เป็นลม เป็นไฟ มันเป็นได้ทั้งหมด เป็นได้ทั้งหมดเพราะอะไร เพราะใจมันเป็นใช่ไหม เพราะใจมันเป็น ใจมันเป็นเพราะอะไร ใจมันเป็นเพราะมันมีสมาธิสิกขา พอเป็นสมาธิสิกขาขึ้นมามันมีกำลังของมัน พอกำลังมันพิจารณาของมันไป มันเป็นเพราะอะไร มันเป็นเพราะว่าสัจธรรมไง ที่ว่ามรรคญาณๆ ที่มรรคมันจะหมุน

ทุกข์ เหตุที่เกิดทุกข์

ทุกข์ดับ วิธีการดับทุกข์

วิธีการดับทุกข์ใครเป็นคนสร้างมันขึ้นมา มรรคญาณใครเป็นคนสร้างมันขึ้นมา ธรรมจักรใครเป็นคนทำมันขึ้นมา? ธรรมมันขึ้นมาเพราะใจมันทำ

“พุทธะ” คือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน พุทธะเป็นคนทำสร้างขึ้นมา

พุทธะคือใคร? พุทธะคือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่พุทธะคือใจของเรา คือภพ คือความรู้สึกของเรา ความรู้สึกมันมีหลักมีเกณฑ์ มันมีความสงบของมัน มันทำงานของมัน มันทำงานในอะไร? ทำงานในอริยสัจ นี่วิธีการดับทุกข์

ถ้าวิธีการดับทุกข์ ทุกข์มันเกิดขึ้นที่ไหน? ทุกข์มันเกิดที่ใจใช่ไหม แล้วสมาธิเป็นใจไหม แล้วผู้เห็น จิตผู้เห็น จิตเป็นใจไหม นี่ทุกข์มันเกิดที่ใจ แล้วใจเป็นคนเคลื่อนออกไปทำมัน เคลื่อนออกไปทำสิ่งต่างๆ นี่ปัญญาสิกขามันเกิดอย่างนี้ มันเกิดจาการกระทำของใจ

ดูสิ เราศึกษามา เราศึกษามานี่เราศึกษามาโดยศีลสิกขา เราศึกษาจำมา เวลาเราลืม เราทบทวนใช่ไหม การทบทวน ความรู้ความเห็นของเรา เราต้องทบทวน คือสมอง คือความคิด แต่ขณะที่จิตมันเป็น ดูสิ เวลาเราวิปัสสนาไป สมาธิมันอ่อนลง พออ่อนลง มันเสื่อม พอมันเสื่อม ปัญญามันหมุนไม่ได้ พอปัญญามันหมุนไม่ได้ มันจะเคลื่อนไปอย่างไร มันเป็นอนิจจังไหม มันเป็นปัจจุบันไหม มันขับเคลื่อนไปในปัจจุบันตลอด

แล้วสิ่งที่เป็นศีลสิกขา สมาธิสิกขา ปัญญาสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญารวมกันมาเพื่อเป็นธรรมจักร เพื่อจักรให้มันเคลื่อนไป แล้วสิ่งที่กำลังมันไปไม่ได้ พอไปไม่ได้ มันไปไม่ได้แล้ว มันก็ยื้อกันอยู่อย่างนั้น ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์เราก็พยายามจะทำให้ได้เพื่อประโยชน์ของเรา มันก็จะเสื่อมไปเรื่อยๆ

พอจิตยิ่งเสื่อมการกระทำของเรา เหมือนมีดที่มันทื่อ มีดที่เราฟันไม้จนมันเป็นสันแล้ว มันไม่เป็นมีด ไม่มีคมแล้ว เราก็ตะบี้ตะบันฟันไปอย่างนั้นน่ะ ไม้ก็เสีย ไม้ก็แตกยับ มีดของเราก็ฟันไปไม่ได้ มือเราก็สั่นสะท้านไปหมด แล้วเรายังไม่รู้ตัวอีกเหรอ สัจธรรมมันเกิดอย่างนี้ โลกุตรธรรมมันเกิดอย่างนี้ โลกุตรธรรมมันต้องเกิดโดยความเป็นจริง

ถ้าเรากลับมาทำความสงบของใจ เป็นสมาธิสิกขา กับเราไม่ฟันแล้ว เราเอามีด มีดคืออะไร มีดคือจิต เอาจิตมาลับพุทโธๆๆ พุทโธจนมันคม มันคมกล้าขึ้นไป เรากลับไปฟันสิ กลับไปฟันในอะไร ถ้าพุทโธ เราจับกายได้แล้วใช่ไหม เรากลับไปเราพิจารณากาย เห็นกายขึ้นมาแล้วพิจารณาไป พิจารณาไปมันฟันไป มันขาด ขาด ขาดก็ปล่อย ขาดก็ปล่อย แล้วมันเกิดอย่างไร โลกุตตรธรรมเกิดอย่างไร ปัญญาอย่างนี้เกิดอย่างไร

ปัญญาอย่างนี้ ถ้าไม่มีปัญญาเกิด สิ่งที่เกิดขึ้นมากับใจใครเป็นคนพูด ใครเป็นคนรับรู้ ใครเป็นคนเห็นผล ผลที่เกิด ผลที่เกิดจากใจ โลกุตตรธรรมมันต้องถอนกิเลสได้ มันต้องถอนสังโยชน์ สักกายทิฏฐิความเห็นผิดของใจได้ ถ้ามันถอนสังโยชน์ความเห็นผิดของใจได้ นี่ไง “ศีล สมาธิ ปัญญา” ปัญญาสิกขามันเป็นต้องประโยชน์ ประโยชน์ความจริงขึ้นมา

เราเกิดเป็นชาวพุทธนะ อย่าไปทำเป็นประเพณี อย่าไปทำด้วยปัญญาที่เขาใช้กันกลาดเกลื่อนอย่างนั้น สัตว์มันก็มีปัญญา ความคิดของสัตว์มันก็มี แล้วสัตว์มันทำคุณงามความดีมันยังเกิดในวัฏฏะ ไอ้เราทำความดีเราก็จะหมุนไปในวัฏฏะ มันเป็นความดีอันหนึ่ง แต่ตายไปแล้วนะ ไปเกิดเป็นเทวดา อินทร์ พรหม จะไปนั่งเสียใจอยู่นั่นนะ เพราะอายุขัยมันจะมียาวนาน แล้วศาสนามันก็หมุนไปๆ พอศาสนาหมดภัทรกัป เวลาศาสนาไม่มี ลงมา ว่า “ศาสนาเสื่อมๆ”

ศาสนาไม่เคยเสื่อม ใจของคนเสื่อม ยุคสมัยเสื่อม แล้วเราไปเกิดในยุคเสื่อม โลกมันเร่าร้อนนะ โลกมันฆ่าแกงกัน นี่ยุคเสื่อม

ยุคที่เจริญ มันมีคุณธรรมศีลธรรม เขาจะเชิดดูกัน เชิดชูกัน แล้วศาสนาเชิดชูด้วยศีลธรรม ใครเชิดชูของใคร ถ้าเชิดชูของศาสนา เชิดชูของครูบาอาจารย์ เชิดชูขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่ไง มันเชิดตามความเป็นจริง แล้วเราเกิดในยุคอย่างนั้น มันก็มีโอกาส สิ่งที่เรามีโอกาส โอกาสทำไปก็ไปกับโลก

แต่ถ้าของเรา เวลาครูบาอาจารย์เราให้ออกวิเวก ให้ไปคนเดียว ถ้าไปคนเดียวนะ สิ่งที่ไปคนเดียว “อยู่คนเดียวระวังความคิด” ถ้าเราไปอยู่คนเดียวเหมือนกับว่าเราอยู่กับสังคม สังคมมันก็ช่วยเหลือเจือจานกัน แต่ไปคนเดียว กิเลสมันจะดิ้น สิ่งที่ดิ้น เห็นไหม เอาตัวเราให้รอดได้

“จากใจดวงหนึ่งสู่ใจดวงหนึ่ง” ใจดวงที่รอดได้แล้วจะสอนใครก็ได้ เพราะมันเหมือนกัน กิเลสอันเดียวกัน แต่มันหลากหลายโดยจริตนิสัย แต่โดยพื้นฐาน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้องค์เดียวนะ เป็นอาจารย์ของเทวดา อินทร์ พรหม ของมนุษย์ทั้งหมดนะ แล้วถ้าเราหลุดพ้นไป เราทำใจเราให้สงบขึ้นมาได้ เพราะกว่าจะสงบได้มันต้องมีเหตุมีผลที่เราที่เราทำสงบ สิ่งที่เราทำสงบ ประสบการ์ณนั้นเราเอาไว้เป็นศาสนทายาท เอาไว้บอกกล่าวกับอนุชนรุ่นหลัง

แล้วถ้าเกิดโลกุตตรปัญญา แต่ละชั้นแต่ละตอน โลกุตตรปัญญาของชั้นไหน? ชั้นของโสดาบัน อะไรมันขาดไป สังโยชน์ขาดอย่างไร มันปล่อยวางอย่างไร สกิทาคามีมันปล่อยอย่างไร มันขาดอย่างไร จับกิเลส จับอสุภะอย่างไร ขณะที่ทำไปมันปล่อยอย่างไร มันขาดอย่างไร เวลามันขาดมันหยาบ-ละเอียดต่างกันอย่างไร

แล้วจับตัวจิต “จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส” สิ่งที่ว่า “โลกนี้เป็นความว่าง” แล้วใครรู้ว่าว่าง จับความรู้อันนี้ได้ ความรู้ที่มันเป็นความรู้เฉยๆ ความรู้ที่เป็นพลังงานเฉยๆ ไม่แสดงออกเป็นความโลภ ความโกรธ ความหลงนะ ในกามราคะมันเป็นความโลภ ความโกรธ ความหลงถ้าไม่ได้ดั่งใจมันจะเกิดการกระฟัดกระเฟียด มันจะเกิดความไม่พอใจมัน

แต่ขณะนี้มันรู้เฉยๆ อาลัยอาวรณ์อยู่ มันไม่มีอะไร “อวิชชา” พญามารมันแนบเนียน มันแนบเนียนมาก มันเป็นพลังงานเฉยๆ นะ มันเป็นอาลัย มันเศร้าสร้อยหงอยเหงาของมันอยู่อย่างนั้น แต่ถ้าเราไปอยู่ในสถานะนั้นเราก็ไปหลงมันนะ ไปหลงมันว่าว่าง สบาย

ว่างๆ ข้างล่างก็อันหนึ่ง ว่างๆ ข้างล่างนั้นมันเป็นมิจฉาสมาธิ แต่ถ้าไปสุขไปสบายกับมัน ว่างๆ ว่างอย่างนี้ก็ผิด เพราะอะไร ว่างคู่กับไม่ว่าง สิ่งนี้ถ้าจะจับมันได้ พอจับมันได้ พลิกแพลงมันได้ ถึงที่สุดมันจบสิ้นกระบวนการเป็นธรรมธาตุ เป็นนิพพาน

แต่เวลาสมมุติกันว่าว่าง คนที่จริงแล้วพูดว่าง...ถูก ถ้าคนไม่จริงมันพูดว่าง ว่างอะไร ว่างในอากาศ ว่างในตุ่ม ในไหมันก็ว่าง ว่างที่ไหน ว่างโดยที่ไม่มีเหตุมีผล ว่างโดยที่ไม่รับผิดชอบ ว่างโดยปฏิเสธ...ไม่ใช่

ว่างโดยปฏิเสธไม่ใช่นะ ว่าง เศรษฐี มหาเศรษฐีแล้วเสียสละว่าง ว่างแบบรู้ ว่างแบบเจ้าของโครงการ ว่างแบบว่าเราใจเป็นสาธารณะ เราเสียสละให้ผู้อื่นหมดเลย นี่ไง ความว่างมันมีสติปัญญามันพร้อมหมดล่ะ สิ่งนี้มันทำมา ปัญญาสิกขามันเกิดขึ้นมามันจะเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมา ปัญญาสิกขา โลกุตตรปัญญา สิ่งที่โลกุตตระเกิดขึ้นมาจากโลกียปัญญา เกิดขึ้นมาจากตัวตนของเรา มันยากตรงนี้ไง

มันยากที่เหรียญมี ๒ ด้าน เราก็ว่าเราใช้ปัญญาแล้ว เราก็ว่าเราคิดด้วยปัญญา เราก็ว่านี่คือปัญญา มันไม่เป็นปัญญาได้อย่างไร มันเป็นความคิด แต่เวลาปฏิบัติไปเถอะ จะเห็นเลยว่าความคิดจากสมอง ความคิดแบบโลก ความคิดจากจิต ความคิดจากจิตมันเป็นปัจจุบันธรรม ปัจจุบันธรรมคือว่าจิตมันเป็นปัจจุบัน ใจมันเป็นปัจจุบัน แล้วมันเกิดปัญญาที่ว่าโลกุตตรปัญญา มันเกิดจากใจแล้วมันรื้อถอนที่ใจ

แต่ความคิดของเรานี่เราใช้ความคิดของเรา ความคิดของเรา ความคิดของเราสมองคิดไม่ได้ สมองคิดเองไม่เป็น สมองต้องใช้พลังงาน เหมือนเครื่องใช้ไฟฟ้า ไม่มีไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้ประโยชน์ไม่ได้เลย ต้องมีไฟฟ้าขึ้นมา จิตคือไฟฟ้านั้น จิตคือพลังงานตัวนั้น ทีนี้พลังตัวนี้มันส่งพลังงานมาที่สมอง พอส่งมาที่สมองมันก็ทำงานไปโดยสัญชาตญาณของมัน ทีนี้ก็มีข้อมูล ข้อมูลก็คือการศึกษาในวิชาชีพของใคร มันก็คิดแต่ตามวิชาชีพนั้น มันทบทวน มันตรวจสอบได้ มันรื้อค้นตามตำรับตำราได้

ความคิดจากสมอง กับความคิดจากใจ สิ่งที่ความคิดจากใจมันคิดอย่างไร มันเป็นอย่างไร ถ้าคนไม่รู้ไม่เห็นมันจะเกิดขึ้นมาได้อย่างไร เป็นในปัจจุบันธรรม ถ้าความคิดจากสมอง ความคิดโลกียปัญญา มันเกิดจากสมองใช่ไหม พลังงานที่เคลื่อนออกมาจากใจมันเป็นอนาคตแล้ว มันเคลื่อนออกมาจากใจใช่ไหม พลังงานมันเคลื่อนไปที่สมองใช่ไหม มันเกี่ยวเนื่องกันระหว่าง ธาตุ สสาร กับพลังงาน เกี่ยวเนื่องกัน มันเลยเป็นสามัญสำนึกของมนุษย์ ที่เกิดเป็นมนุษย์มีกายกับใจ แต่มีกายกับใจอย่างนี้มันใช้โดยสามัญสำนึก ใช้โดยโลก

แต่เวลาปฏิบัติธรรมขึ้นมามันย้อนกลับหมด ทวนกระแส จากสมองนี้แหละ จากความคิดนี้ เหรียญนี้มี ๒ ด้าน โลกียปัญญามันมีโดยธรรมชาติ เกิดเป็นคนมีความคิด เกิดเป็นคนมีกิเลสโดยธรรมชาติ เราก็เอาธรรมชาตินั้นมาประพฤติปฏิบัติ แล้วจะไปทำลายล้างมัน เราจะบอกว่าเราปฏิบัติแล้วมันจะเป็นโลกุตตรธรรม โลกุตตรปัญญา จะเป็นศีล สมาธิ ปัญญา เป็นปัญญาสิกขาเลยมันเอามาจากไหนล่ะ มันเป็นสิ่งที่เราพัฒนาการเปลี่ยนแปลงมันขึ้นมา ถ้าไม่มีพัฒนาการ ไม่มีวิวัฒนาการเลยมันจะลอยมาจากฟ้าหรือ

ศาสนาพุทธ พุทธศาสนา ไม่ใช่ศาสนาเลื่อนลอยนะ มันมีที่มาที่ไปนะ เราเกิดเราตายขึ้นมามันมาจากไหน มีบุญกุศลขึ้นมาได้เกิดมาเป็นมนุษย์ พบพุทธศาสนาแล้วมีความเชื่อมีความศรัทธา ศรัทธาแล้วออกบวชเป็นพระเป็นเจ้าต่อสู้กับมัน มันมาจากไหน มันมีที่ไปที่มาไปหมด แล้วพอมีที่มา แล้วเราจะมาต่อสู้กับมัน มันจะสู้กับใคร จะไปสู้กับยักษ์มารที่ไหนล่ะ มันก็ต้องสู้กับยักษ์มารในหัวใจใช่ไหม ในเมื่อยักษ์มารในหัวใจของเรามันก็เป็นสามัญสำนึกที่เราคิดอยู่ มันก็มีความคิดโดยธรรมชาติของมัน

ทีนี้ความคิดมันมีอยู่แล้วเราก็ใช้ธรรมะ ใช้ธรรมะแก้ไขดัดแปลง จากโลกียปัญญาจนเป็นสัมมาสมาธิขึ้นมา จนกลายเป็นโลกุตตรปัญญา ในการฝึกฝนนี่ไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงบอกว่า “การแก้ไขกิเลส การจะต่อสู้กิเลส เราเองเป็นผู้ที่กระทำ” องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ชี้ทาง ชี้ทางคือความรู้ คือมรรคญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

สิ่งที่เป็นมรรค ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารื้อค้นขึ้นมา สิ่งนี้เป็นแนวทาง ธรรมวินัยเป็นแนวทางที่เราจะต้องบังคับจิตใจของเรา ทำจิตใจของเราให้ได้เป็นธรรมขึ้นมา เป็นธรรมของเรา เป็นปัญญาของเรา เป็นสมาธิของเรา เป็นศีล สมาธิ ปัญญาของเราเอง ขึ้นมาจากเราเอง ไม่ใช่ศีล สมาธิ ปัญญาขึ้นมาจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่ศีล สมาธิ ปัญญากับชื่อที่อยู่ในพระไตรปิฎกนั้น ไม่ใช่ศีล สมาธิปัญญา ขึ้นมาจากตำรับตำราที่ไหน ตำรับตำรานั้นเป็นทฤษฎี เป็นเครื่องสอน เป็นวิธีการ

ในการประพฤติปฏิบัติของเรามันจะเกิดขึ้นมากับเรา เป็นความจงใจของเรา ความตั้งใจของเรา ให้ทำเป็นมัชฌิมาปฏิปทา ให้มันเป็นทางสายกลาง กลางในธรรม ไม่ใช่กลางของเรา กลางของเราคือกลางกิเลสนะ

กิเลสจะบอกเลย “อันนี้เป็นอัตตกิลมถานุโยค” อะไรก็แล้วแต่ ถ้าไปขัดแย้งกับกิเลสที่มันไม่ได้สะดวก ไม่ได้สบาย ไม่ได้ความพอใจ มันไม่ได้กินท้องอิ่มๆ ไม่ได้กิเลสตัวใหญ่ๆ มันจะบอกว่า “อันนี้เป็นอัตตกิลมถานุโยค” แต่ถ้าอันไหนเราไปขัดแย้งมันเพื่อจะให้มันอ่อนตัวลง มันบอก “อันนี้มันเป็นกามสุขัลลิกานุโยค” มันจะว่าของมันไปทั้งนั้นน่ะ กิเลสมันจะโต้แย้ง มันจะว่าไปโดยตลอด

เราจะไม่เชื่อมัน เราจะต้องกลางของเรา มัชฌิมาปฏิปทา กลางคือว่ากิเลสมันอ่อนตัวลง กิเลสมันสงบตัวลง ปัญญามีทางได้ก้าวเดินออกไป แล้วกลับมาทำลายมัน ปัญญาได้ก้าวเดินออกนะ ก้าวเดินออกจากจิตแล้วทำลายจิต ปัญญาเกิดจากจิตแล้วทำลายจิต ทำลายเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป จนถึงที่สุดนะ เราจะพบกับวิมุตติสุข เราจะพบกับความจริง เราเกิดมานี้เป็นชาวพุทธ พบพุทธศาสนา แล้วเกิดมาแล้วเราจะได้ประโยชน์กับเรา เพื่อประโยชน์กับเรา เอวัง