เทศน์เช้า

เทศน์เช้า

๔ ต.ค. ๒๕๕๑

 

เทศน์เช้า วันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๑
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

เวลาพูดเรื่องธรรมะ บอกว่ามีหยาบ มีกลาง มีละเอียด พวกเราไม่ค่อยยอมรับกันไง พวกเราคิดว่าธรรมะคือธรรมะ คือพวกเราต้องรับรู้เหมือนอากาศ อากาศถ้าเราหายใจออกซิเจน ทุกคนต้องได้ธรรมะหมด

ดูสิ เวลาทางโลกเห็นไหม ช้าง ม้า วัว ควาย เขามาฝึกใช้งานได้นะ เขาใช้ประโยชน์มาก ช้าง ม้า วัว ควายยังฝึกได้ แต่เราเป็นมนุษย์ เราเป็นมนุษย์เวลาศึกษาธรรม เป็นคนดีๆ คนดีนะมันดีของโลกๆ เขา ความดีเห็นไหม ดูเด็ก เราให้มีศึกษาเด็ก เราสอนให้ดีเป็นคนดี สิ่งแวดล้อมเป็นคนดี แต่เด็กถ้าสิ่งแวดล้อมดีขนาดไหน สิ่งแวดล้อมนั้นนะ ในพระไตรปิฎก โจรนะเขาเอาเด็กมาเลี้ยง จากเป็นครอบครัวโจร แต่เด็กมันเป็นเด็กดี

นี่ก็เหมือนกัน สิ่งที่ดี ดีทางโลกๆ นะ ดูสิ เวลาเราทำความดีกัน โลกจะคิดอย่างนั้นว่าเราเป็นคนดี เป็นคนดี ทำไมต้องไปวัด แล้วเวลาพูดถึงธรรมะ เห็นไหม มีเปลือก มีแก่น มีกระพี้ เราก็ว่าเราเป็นแก่นๆ เพราะว่าทุกคนก็ว่าเรารู้มาก แต่ความรู้ของโลกนะ เพราะอะไร ยิ่งรู้มากขนาดไหนนะ ความรู้ของกิเลส กิเลสมันใช้ความรู้เราหลอกเรา

นี่ธรรมะเป็นอย่างนั้น ธรรมะเป็นความว่าง ก็ว่างกันหมดเลย ทุกคนว่าว่างหมดนะ ว่าง.. ว่างในอะไร อากาศมันก็ว่าง ทุกอย่างก็ว่าง ว่างไม่มีใคร ไม่รับรู้อะไรเลย มันว่างแบบไม่รับผิดชอบไง มันว่างแบบปฏิเสธ แต่ถ้าเป็นว่างในศาสนานะ ความว่างมันมีกิจจญาณ มันมีกิจจะ มีการกระทำของใจ ใจมันกระทำ

แล้วเวลามันศึกษาเห็นไหม ดูสิ ทางการศึกษาบอกว่าประเทศชาติจะเจริญต้องมีการศึกษา ใช่ ! ต้องมีการศึกษา มีการศึกษานะ แต่การศึกษานั้นต้องมีศีลธรรมจริยธรรมด้วย ถ้าศึกษาไม่มีศีลธรรมจริยธรรมนะ มันมีฉลาดแล้วโกง ฉลาดแกมโกงเยอะมาก เพราะอะไร เพราะมันไม่ซื่อสัตย์กับตัวเอง เวลาธรรมะนี่สอนให้ซื่อสัตย์กับตัวเองนะ

เพราะดูสิ ดูพระที่ประพฤติปฏิบัติ ตั้งใจนะ ตั้งสัจจะ เวลาถือก่อนเข้าพรรษา ถือธุดงค์ตั้งสัจจะเลย แล้วมันซื่อสัตย์กับตัวมันเองไหม ครูบาอาจารย์บางองค์ท่านพูดนะ เวลาเราโกหกคนอื่นเป็นปาจิตตีย์ เวลามุสานี่ แต่เราตั้งสัจจะนี่เหมือนโกหกตัวเอง ท่านเปรียบเหมือนกับเราโกหกตัวเอง

เราตั้งสัจจะ คือเราคุยกับตัวเราเองว่าเราจะอย่างนั้น แล้วเราทำไม่ได้ พอเราทำไม่ได้ขึ้นมา เราเสียสัจจะเป็นอาบัตินะ แต่ในบัญญัติพระพุทธเจ้าไม่มี นี่พูดถึงว่าเวลาอาจารย์องค์ไหน คิดแง่มุมอะไรขึ้นมาเพื่อจะต่อสู้กับความเห็นของตัวไง ถ้าต่อสู้กับความเห็นของตัว แล้วเราเอามาประพฤติปฏิบัติ เวลาเรามาเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา แล้วงานของเราล่ะ ถ้ามันเหมือนกันหมดมันต้องเป็นไปได้สิ ดูสิ ดูอย่างทางอุตสาหกรรม ถ้าทำก็ทำอย่างนั้นหมด

ทางวิทยาศาสตร์ก็เหมือนกัน ถ้าพิสูจน์โดยทฤษฎีแล้ว ต้องเป็นอย่างนั้น ต้องเป็นอย่างนั้น แล้วแค่ ๒๕ % ถือว่าถูกต้อง ๒๕ % นะ หรือว่า ๙๙.๙๙ แต่ถ้าเป็นธรรมะเป็นไปไม่ได้ ปรมัตถธรรมต้องสะอาดบริสุทธิ์ ๑๐๐ % ถ้าไม่ ๑๐๐ % นะ ๙๙.๙๙ ไม่ได้ กิเลสมันอยู่ตรงจุดหนึ่งนั่นน่ะ มันมีอยู่ตรงอยู่จุดหนึ่งนะ แล้วเดี๋ยวมันหดตัวได้ เพราะมันเป็นนามธรรมใช่ไหม

ดูสมาธิสิ ความคิดเราฟุ้งซ่านมาก เวลาสงบเข้ามามันรวมเป็นหนึ่งเดียว มันรวมเข้ามาได้อย่างไร นี่ก็เหมือนกัน เวลามันจุดหนึ่งนั่นน่ะ จุดหนึ่งนั่นน่ะ มันอยู่ที่นั้น แล้วเดี๋ยวมันคลายตัวออกมานะ มหาศาลเลย กิเลสเรานี่มหาศาลเลย ฉะนั้น มันจะให้เหลือสิ่งใดๆ ไม่ได้เลย ต้อง ๑๐๐ % เลย ไม่อย่างนั้นมันจะมรรคสามัคคี มรรคสามัคคีไปทำอย่างไร

ทีนี้เวลาเราเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา เห็นไหม งานอย่างผู้บริหาร เดินไปเดินมาเดือนละ ๑,๕๐๐ นั่งๆ เฉยๆ เดือนละ ๕,๐๐๐ ผู้บริหารไง เดินไปเดินมา เขาทำอะไร แล้วเราต้องอาบเหงื่อต่างน้ำ แต่ผู้บริหารนั่งอยู่เฉยๆ นะ บริหารอยู่บนโซฟานะ แต่ความรับผิดชอบ นั่งเฉยๆ แต่บริหารจัดการความรับผิดชอบสูงมาก

นี่ก็เหมือนกัน เวลาเราวิปัสสนาเข้าไปนะ เวลาตั้งแต่เราวิปัสสนาเข้าไป มันปล่อยขันธ์อย่างหยาบ ขันธ์อย่างกลาง ขันธ์อย่างละเอียดเข้ามา โดยตัวมันเอง เห็นไหม ตัวมันเองเฉยๆ นะ มันเศร้าหมอง มันผ่องใส มันเป็นไฟสุมขอน มันอยู่กับตัวมันเอง นั่นกิเลสอย่างละเอียดนะ

แต่เวลาความคิดฟุ้งซ่าน ความคิด ความปรารถนา ความต้องการ เห็นไหม มันเป็นเรื่องหยาบๆ ทั้งนั้นเลยนะ เวลาหยาบๆ เรายังจับมันไม่ได้เพราะอะไร เพราะความหยาบๆ นี่มันหลอกว่าความคิดเป็นเรา สรรพสิ่งเป็นเรา ความคิดเป็นเรา ธรรมะเป็นเรา มันขี้โกง มันไปโกงธรรมะของพระพุทธเจ้านะ มันไปโกงธรรมะของพระพุทธเจ้าว่าสิ่งต่างๆ เป็นของเรา แต่จริงๆ มันยังไม่รู้อะไรเลย ยังไม่ได้จัดการอะไรเลย

แต่ถ้ามันเป็นความจัดการเห็นไหม สิ่งที่ความดีอย่างโลกเขา ความดี การประพฤติปฏิบัตินะ แค่ทำสมถะ พุทโธๆๆ จิตมันก็สงบ ความสุขอื่นใดเท่ากับความสงบไม่มี ในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แค่จิตสงบนี่นะพระติดได้ ติดว่าเป็นนิพพาน

นิพพาน.. เวลามันเสื่อมออกมาล่ะ มันก็จำอารมณ์นั้นได้ เอ๊.. นิพพานเรานี่ จริงๆ แล้วผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ถ้าเข้าไม่ถึงสัจธรรมนะ รู้อยู่ในใจ มันมีความสงสัย ในใจเรานี่มันมีความสงสัย มันมีอะไร อืม.. อืม.. ในใจนี่ แต่ถ้าเป็นความจริงนะ มันต้องขาดหมด ! จะไม่มีสิ่งใดลังเลสงสัยในใจเลย ความลังเลสงสัยอันนั้นเห็นไหม นิวรณธรรมมันมีอยู่ในใจ สิ่งนี้เกิดไม่ได้

ถ้าเป็นธรรม ทีนี้มันเป็นสมาธิขึ้นมา มันเหมือนกิเลสมันสงบตัวมัน มันสงสัยไหม มันสงสัยล้านเปอร์เซ็นต์ ทีนี้มันจำอารมณ์นั้นได้ไง จำอารมณ์ที่มันสงบได้ พอจำอารมณ์ที่มันสงบได้ มันก็จำอารมณ์นั้นนี่เป็นธรรม อ้าง ! อ้างตลอดเวลาว่าสิ่งนี้เป็นธรรม สิ่งนี้เป็นธรรม แต่ความจริงมันไม่ใช่ ไม่ใช่เพราะอะไร ไม่ใช่เพราะ ๑. ไม่ซื่อสัตย์กับตัวเอง ๒. เป็นเพราะบารมีธรรม

บารมีนะ บารมีของเรานะ พูดถึงเราทำอะไรก็แล้วแต่ ใครติเตียนเรา ใครบอกจุดบกพร่องเรา เราจะขุ่นใจ เราจะไม่ค่อยพอใจ ถึงว่าดีมันก็ดีอยู่ เขาว่าเรานะ แต่มันก็มีอะไรในใจ แต่ถ้าเรารื้อค้นของเราเอง เราตรวจสอบเราเอง เราตรวจสอบเราเองนะว่าสิ่งนี้มันเป็นอะไร อยู่ในใจนี่มันเป็นอะไร

ถ้าเราซื่อสัตย์ นี่.. ไอ้ตัวนี้มันใช้ไม่ได้ ไม่มี ถ้าของมันมีอยู่ เรารื้อค้นของเรา เราพยายามแสวงหาของเรา มันต้องมี พอมันต้องมี จับมันให้ได้ ถ้าจับมันให้ได้ สิ่งนั้นมันเป็นอวิชชา มันเป็นสิ่งที่เป็นอนุสัย มันนอนเนื่องมากับใจ มันนอนเนื่องมากับความคิด มันตกตะกอนค้างอยู่ในใจนะ แล้วเราทำอย่างไรจะเอามันออกไปได้ ทำอย่างไรเราจะแก้ไขมันได้

สิ่งที่จะแก้ไขได้ ถ้าเราทำด้วยตัวเราเอง เราพยายามต่อสู้ด้วยตัวเอง ล้มลุกคลุกคลานขนาดไหน ถ้าไม่มีครูมีอาจารย์นะ เราก็ต้องเผชิญมันไปอย่างนี้ ทดสอบผิดทดสอบถูกไป เดี๋ยวมันก็ดี เดี๋ยวมันก็ไม่ร้าย มันจะเป็นอย่างนี้ตลอดไป มันเป็นอนิจจัง

ถ้าตรวจสอบไปมันต้องเสียเวลา หรือเวลามันสวม กิเลสมันบังเงา มันว่าสิ่งนี้เป็นธรรม แต่ถ้าเป็นครูบาอาจารย์นะ ถ้าหาครูบาอาจารย์ให้ครูบาอาจารย์คอยชี้นำ ครูบาอาจารย์คอยแนะเรานะ เราจะพยายามให้สิ่งที่ว่ามันจะเนิ่นนานให้มันสั้นเข้ามา ให้มันกระทำเข้ามา มันต้องมุมานะนะ

ความดีต่างๆ กัน ความดีของโลก ความดีของธรรม ความดีของโลก อาบเหงื่อต่างน้ำทำงานของเขานะเป็นประโยชน์ของเขา ความดีของเราเห็นไหม เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา ทางผลประโยชน์มันไม่มีเลย แต่มันจะไปเป็นผลประโยชน์ร่างกายแข็งแรง จิตใจเข้มแข้ง

แล้วถ้าเกิดมีปัญญาขึ้นมา ปัญญาที่เกิดขึ้นมาจากภาวนามยปัญญาขึ้นมานี่ มันไม่มีในโลกหรอก โลกหาไม่ได้ ถ้าคนไม่รู้คนไม่เห็น พูดกี่คำก็ผิดเท่านั้นคำ คนรู้คนเห็นไม่ต้องพูด แค่มองหน้าก็ถูก ถูกเพราะอะไร ถูกเพราะมันเป็นความจริงในหัวใจ ในหัวใจมันเป็นจริงขึ้นมานะ แล้วกว่าจะเป็นจริงขึ้นมาได้ เห็นไหม

เราไปฟังมหายานกัน เห็นไหม สว่างโพลง สว่างโพลง แค่ข้ามธรณี ธรณีประตูเดินข้ามก็สำเร็จแล้ว เราไปคิดกันอย่างนั้นนะ แต่เวลากรรมฐานเรานี่ ถ้าคนรู้จริงนะมันเหมือนกัน มันเหมือนกันที่หลวงปู่มั่นบอกว่า “ช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น” สว่างโพลง กับช้างกระดิกหูแว็บเดียวนะ แต่ขณะที่เราจะต้องสร้างสมาธิ เราจะต้องสร้างปัญญา เราต้องทดสอบตรวจสอบ สิ่งนี้หนักหนาสาหัสสากรรจ์เลย

แต่เวลามันเป็นนะ แค่สว่างโพลง แค่ช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น พั๊บ.. จบหมด แต่ขณะที่เราทำทดสอบตรวจสอบ อันนี้มันต้องต่อสู้ มันเหมือนกัน เพียงแต่ว่าเราไปฟังตรงนั้นปั๊บ เราก็มาสว่างโพลงของเราไง ทำให้มันจิตว่างๆ สว่างโพลงๆ แล้วมันเป็นจริงไหม มันไม่เป็นจริงหรอก

แต่ถ้ากรรมฐานเรานี่ ครูบาอาจารย์ที่เราพยายามต่อสู้ ถึงที่สุดแล้วมันสว่าง คำว่าสว่างโพลงคือมรรคสามัคคี ขณะจิตที่มันเปลี่ยน แต่ขณะที่เราต่อสู้ เวลาเราต่อสู้กันไป เพราะกิเลส มันแก่นของกิเลสใช่ไหม ถ้าเรามีครูมีอาจารย์คอยชี้นำ เพราะครูบาอาจารย์ท่านจะสว่างโพลง ท่านจะข้ามภพขณะจิตที่ท่านจะเปลี่ยนได้ ท่านต้องทำของท่านมา ท่านต้องมีการลองผิดลองถูกมา

ไอ้การลองผิดลองถูกนี่มันซ้ำๆ ซากๆ ครูบาอาจารย์ที่ภาวนาเป็นส่วนใหญ่ท่านตอบ “ให้ซ้ำลงไป ให้ซ้ำลงไป” แค่นี่เองนะ ! ให้ซ้ำลงไป เพื่อให้ความมั่นใจว่าเราต้องเข้มแข็ง เราต้องต่อสู้เข้าไปๆ แล้วเราจะบอกว่าให้จบๆ ไง ไปถามครูบาอาจารย์บอกให้จบ แต่ถ้ามันจบนะ ท่านจะบอก “เออ !” ร้อง “เออ !” ถ้า “เออ !” นี่มันจบ.. มันจบกระบวนการของมัน นี่ไง ความดีที่มันเป็นไปจากภายใน ความดีที่ละเอียดนะ

สุตมยปัญญา คือการศึกษาเล่าเรียน จินตมยปัญญาคือว่าเราภาวนาแล้วเกิดปัญญาขึ้นมา แต่ยังไม่ถึงที่สิ้นสุด จินตะ มันจินตนาการไปก่อน พร้อมกับความข้อเท็จจริงมากน้อย ถ้าจินตนาการได้ขนาดไหน แล้วข้อเท็จจริงมันรองรับขึ้นมานี่ มันก็ โอ้โฮ.. มีความสุขมีความพอใจ ถ้าเป็นภาวนามยปัญญานี่มันสรุปลง จบกระบวนการของมัน โครงการนั้นจบสิ้นกระบวนการของมัน

จิตนี้มหัศจรรย์มาก อกุปปธรรม คงที่ในจิตนะ มันไม่หวั่นไหวกับโลกแล้ว โลกก็คือโลก เราอยู่กับโลกนะมันรู้ทันหมด มันรู้ทันแล้วมันสงบนิ่งในตัวของมันเอง แต่ถ้ามันเป็นกิเลส.. มันไม่ได้ พอมันกระเทือนแล้ว มันมีแรงสูบฉีดของเลือด มันมีทุกอย่าง มันมีความรับรู้ มันมีความขับดัน

แต่ถ้าเป็นความจริงมันไม่มีความขับดัน.. รับรู้ไว้ เพียงแต่ว่าถ้าเป็นครูบาอาจารย์ เห็นไหม เวลาจะแสดงธรรม มันออกมา กิเลสกับธรรมกิริยาเหมือนกัน แต่อันหนึ่งออกมาเป็นธรรมล้วนๆ อันหนึ่งออกมาเป็นกิเลสล้วนๆ มันต่างกันตรงนี้ เราแยกตรงนี้ไม่ออก

แต่ถ้าเรามีพื้นฐานนะ เราฟังด้วยเหตุด้วยผล แล้วเอามาวิเคราะห์นะ ถ้าเราถึงนะ เหมือนประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศที่ยังไม่พัฒนา ห่างกัน ๒๐-๓๐ ปี เห็นไหม ประเทศที่พัฒนาขึ้นมาก็จะเหมือนกับประเทศที่พัฒนาแล้ว

จิตที่เรายังวุฒิภาวะเราไม่ถึง ครูบาอาจารย์ท่านแนะเรา เราก็ยังมีความลังเลสงสัย แต่พอจิตนี้พัฒนามาถึงกัน นี่มันเหมือนกัน มันอันเดียวกัน ถึงกราบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยหัวใจไง เราจะรู้มากรู้น้อยขนาดไหน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ผ่านไปแล้ว แล้ววางธรรมวินัยไว้ให้เราก้าวเดิน

ธรรมวินัยนี้เป็นพุทธพจน์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เรายังไม่รู้จริงหรอก แต่ถ้ารู้จริงขึ้นมานี่สมบัติของเราเห็นไหม สมบัติในใจของเราเป็นธรรมะส่วนบุคคล ไม่ใช่ธรรมะสาธารณะ เราจะต้องฝึกฝนหมั่นเพียรของเรา แล้วเราจะได้ประโยชน์ของเรา เห็นไหม

เรามาทำบุญกุศลของเรา สร้างบารมี.. สร้างบารมีให้ใจมันได้ฟังธรรม ให้มีการเคลื่อนไหว แล้วเคลื่อนไหวขึ้นมา อย่าให้มันนอนจมกับกิเลส ถ้าไม่นอนจมกับกิเลสนะ มีการเคลื่อนไหว มีการกระทำ เห็นไหม นี่ปฏิบัติบูชา แล้วถ้าใจมันมีการเคลื่อนไหวมันปฏิบัติขึ้นมานี่มันมีโอกาสไง เพราะโอกาสคือการกระทำของเรา

กรรมจำแนกสัตว์ให้เกิดต่างๆ กัน กรรมจำแนกวิธีการประพฤติปฏิบัติให้หัวใจมันได้ประสบการณ์ต่างๆ กัน ต่างๆ กันตามจริต ตามนิสัย ตามการกระทำเห็นไหม ทานส่วนทาน ศีลส่วนศีล ภาวนาส่วนภาวนา สุดท้ายแล้วมันต้องภาวนาเพื่อเอาใจรอด เพื่อเอาใจพ้นจากการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย พ้นจากทุกข์ เอวัง